The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รายงานผลการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และของต้นสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ของสถานศึกษาในจังหวัดปัตตานี

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี

รายงานผลการนิเทศ ติดตาม การด าเนินงานตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ และของต้นสังกัด ประจา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรยีนที่๒/๒๕๖๖ ของสถานศึกษาในจังหวัดปัตตานี กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ส านักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เอกสารวิชาการลา ดบัที่๑/๒๕๖๗


คำนำ รายงานผลการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และต้นสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ของโรงเรียนในสังกัดต่าง ๆ ของจังหวัด ปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการลงพื้นที่นิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ การดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการ สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ของสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานีของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีและใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษาบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดปัตตานี ในครั้งถัดไป สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีขอขอบคุณคณะกรรมการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และต้นสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ สถานศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือ ร่วมใจ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการ ปฏิบัติงานตามนโยบาย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ และต้นสังกัด ทำให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร ศึกษานิเทศก์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในส่วน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี และหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพผู้เรียนในพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ต่อไป นายสุริยา หมาดทิ้ง ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี


สารบัญ หน้า คำนำ สารบัญ ส่วนที่ ๑ บทนำ…………………………………………………………………………………………........ ๑ ความเป็นมาและความสำคัญ ๑ วัตถุประสงค์ของรายงาน ๒ ส่วนที่ ๒ ผลการดำเนินงาน ๓ รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ สายที่ ๑ ๓ รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ สายที่ ๒ ๖ ส่วนที่ ๓ รายละเอียด เอกสาร ภาพกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ๑๒ ๑. แบบนิเทศ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ๑๒ ๒. คำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีที่ ๑๒๓/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิด ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามกำหนดการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิด ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ๑๕ ๓. ภาพกิจกรรมการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิด ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ สารการรับรู้ประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี และภาพกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปและจัดทำรายงานผลการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ๒๐


ส่วนที่ ๑ บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญ สืบเนื่องจาก กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ได้รับมอบหมายจากศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ให้ดำเนินการวางแผนเพื่อลงพื้นที่นิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ การดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาเชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และการเปิด ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ของสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานี ร่วมกับผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่ม และ ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี โดยได้บูรณาการประเด็นติดตาม ร่วมกับกลุ่มพัฒนาการศึกษา และกลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน เพราะมีความสอดคล้องของภาระ งานที่เกี่ยวข้อง โดยได้ดำเนินการ ดังนี้ ๑. กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ประชุมร่างเครื่องมือนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ การดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ของสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานี ๒. แต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ๓. ประชุมพิจารณาร่างเครื่องมือฯ ร่างกำหนดการลงพื้นที่ฯ และวางแผนการลงพื้นที่ตามกำหนดการฯ โดยคณะกรรมกรรมการดำเนินงานนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ โดยกำหนดระยะเวลาและสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ๓.๑ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีสถานศึกษาของสำนักงานการศึกษา เอกชนจังหวัดปัตตานี จำนวน ๑๑ แห่ง คือ ๑) โรงเรียนศานติวิทยาโสร่ง อำเภอยะรัง ๒) โรงเรียนพีระยานาวิน คลองหินวิทยา อำเภอโคกโพธิ์ ๓) โรงเรียนแสงประทีปวิทยา อำเภอหนองจิก ๔) โรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษา อำเภอหนองจิก ๕) โรงเรียนนูรูลมูฮัมมาดี อำเภอแม่ลาน ๖) โรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิ อำเภอแม่ลาน ๗) โรงเรียน วัฒนธรรมอิสลาม อำเภอปะนาเระ ๘) โรงเรียนภักดีวิทยา อำเภอทุ่งยางแดง ๙) โรงเรียนสายธารเมตตาธรรม อำเภอกะพ้อ ๑๐) โรงเรียนกูตงวิทยา อำเภอยะหริ่ง และ ๑๑) โรงเรียนอัล-กุรอานและภาษากาลามุลลอฮ.อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ๓.๒ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยมีสถานศึกษาของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ๔๔ จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๔ อำเภอมายอ ๓.๓ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี รวมจำนวน ๑๖ แห่ง ดังนี้ ๓.๓.๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี จำนวน ๒ แห่ง คือ ๑) โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี อำเภอมายอ ๒) โรงเรียนบ้านเขาตูม อำเภอยะรัง ๓.๓.๒ เทศบาลเมืองปัตตานี จำนวน ๕ แห่ง คือ ๑) โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านจะบังติกอ) ๒) โรงเรียน เทศบาล ๒ (วัดตานีนรสโมสร) ๓) โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปากน้ำ) ๔) โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดนพวงศาราม) และ ๕) โรงเรียนเทศบาล ๕ (เทศบาลเมืองปัตตานี) /๓.๓...


- ๒ - ๓.๓ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน ๖ แห่ง คือ ๑) โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านตะลุบัน) ๒) โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านปากน้ำฯ) ๓) โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปาตาตีมอ) ๔) โรงเรียน เทศบาล ๔ (บ้านอุเมะ) ๕) โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านกาหยี)และ ๖) โรงเรียนเทศบาล ๖ (บ้านบางตาหยาด) ๓.๔ องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนตัรบียะห์ ๓.๕ เทศบาลตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาประดู่ ๓.๖ เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง ซึ่งได้กระจายไปทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานีมีกำหนดระหว่างวันที่ ๒๑ , ๒๒ , ๒๘ และ ๒๙ พฤศจิกายน - วันที่ ๑ , ๔ และ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ รวมระยะเวลา ๗ วัน ตามกำหนดการ ที่แนบ โดยมีศึกษาธิการ จังหวัดปัตตานี รองศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่มและผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน ศึกษานิเทศก์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตามคำสั่งที่แนบ ร่วมปฏิบัติหน้าที่ ในครั้งนี้ ๔. คณะกรรมการแต่ละชุด ลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเพื่อปฏิบัติ หน้าที่ตามคำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ๕. ประสานหน่วยงานต้นสังกัดเป้าหมายของการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามฯ เพื่อให้แจ้งสถานศึกษาในสังกัด ได้เตรียมความพร้อมและเตรียมรายงานข้อมูลตามประเด็นที่กำหนด ๖. สรุปผลการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ตามประเด็นที่กำหนด ๗. รายงานผลการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ต่อผู้บังคับบัญชา รับทราบ ประเด็นการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ประกอบด้วย ๑. การเปิดภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ในประเด็น ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาคารสถานที่ ด้านครูผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ การดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ๒. การดำเนินงานตามจุดเน้นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด ในประเด็น การน้อมนำ พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การปฏิบัติการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย การจัดการเรียนรู้ สู่การสร้าง Soft Power ๓. สถานการณ์การดำเนินงานและความต้องการในการพัฒนา ในประเด็น การอ่านออกเขียนได้ การแก้ปัญหา เด็กตกหล่นและออกกลางคัน สุขภาพผู้เรียน นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (การเจ็บป่วย/ ความพิการ/ ปัญหาสายตา/การฉีดวัคซีน และอื่น ๆ) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การแนะแนว แผนการรักษาความปลอดภัย ๔. โครงการอื่น ๆ ที่โรงเรียนเข้าร่วม วัตถุประสงค์ของรายงาน เพื่อรายงานผลการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี และ รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา/โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ไว้วางแผนพัฒนา ต่อไป /ส่วนที่ ๒...


ส่วนที่ ๒ ผลการดำเนินงาน ตามคำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีที่ ๑๒๓/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ กำหนดการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงาน ต้นสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ มีหน้าที่ ติดตามการดำเนินงาน ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานต้นสังกัด และติดตามการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ รวมทั้งให้ ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และด้านต่าง ๆ กับสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย และ สรุปข้อมูลการลงพื้นที่สถานศึกษาที่รับผิดชอบตามกำหนดการ พร้อมรวบรวมข้อมูลส่งเลขานุการของคณะกรรมการ ฝ่ายอำนวยการ ต่อไป ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ สาย ตามคำสั่งและกำหนดการ แนบท้าย และได้มีการลงพื้นที่ปฏิบัติ หน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมระยะเวลา ๗ วัน ระหว่างวันที่ ๒๑ , ๒๒ , ๒๘ , ๒๙ พฤศจิกายน และ ๑ , ๔ และ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้ คณะกรรมการฝ่ายสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน จึงได้รวบรวมข้อมูลสรุปและ รายงานผลการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และต้นสังกัดประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ดังนี้ สายที่ ๑ มีนายสุริยา หมาดทิ้ง ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี เป็นประธาน มีข้อมูลสรุปโดยภาพรวมจาก โรงเรียนทั้งสิ้น ๑๔ โรงเรียน ๔ สังกัด ประกอบด้วย ๑) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๔ อำเภอ สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวน ชายแดน ๔๔ จำนวน ๑ โรงเรียน ๒) โรงเรียนบ้านตะบิงตีงีอำเภอมายอ และโรงเรียนบ้านเขาตูม อำเภอยะรัง สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดปัตตานีจำนวน ๒ โรงเรียน ๓) โรงเรียนศานติวิทยาโสร่ง อำเภอยะรัง โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา อำเภอโคกโพธิ์ โรงเรียน แสงประทีปวิทยา อำเภอหนองจิก โรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษา อำเภอหนองจิก โรงเรียนนูรูลมูฮัมมาดี อำเภอ แม่ลาน โรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิอำเภอแม่ลาน โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม อำเภอปะนาเระ สังกัดสำนักงาน การศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานีจำนวน ๗ โรงเรียน ๔) โรงเรียนเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง เทศบาลตำบลพ่อมิ่งอำเภอปะนาเระ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาประดู่ เทศบาลตำบลนาประดู่อำเภอโคกโพธิ์ โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านจะบังติกอ) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดตานีนรสโมสร) อ.เมือง เทศบาลเมืองปัตตานีสังกัดสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดปัตตานีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีผู้อำนวยการโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่ และมีการบริหารจัดการโดยผ่านหัวหน้า งาน/ฝ่ายในแต่ละงาน โดยภาพรวมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติของแต่ละสังกัดเป็นหลัก และ ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนี้ - มีความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ โรงเรียนมีการประชุมผู้ปกครอง ครู นักเรียน บุคลากร ฝ่ายต่าง ๆ ก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อชี้แจงและรับทราบในเรื่องการจัดการเรียนการสอน/ตารางสอน/กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง/การสอบ และการมอบหมายงานในหน้าที่ต่าง ๆ ครูเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้พร้อมดำเนินการสอน /มีการ...


- ๔ - - มีการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โรงเรียนใช้กิจกรรมสอนซ่อมเสริม มีการคัดกรองเด็ก เป็นระดับความสามารถหรือเป็นกลุ่ม ครูผู้สอนจะสามารถสอนและฝึกนักเรียนแต่ละระดับ/กลุ่ม โดยใช้เครื่องมือ ที่ต่างกันและหลากหลายวิธี โรงเรียนใช้แบบทดสอบที่สร้างเองหรือต้นสังกัดสร้างหรือจากศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา (ทดสอบการอ่านรายคนเพื่อคัดกรองแบ่ง ๓ กลุ่มคละชั้น และใช้เครื่องมือ/บัญชีคำพื้นฐาน) - การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET โรงเรียนได้จัดตารางการติวข้อสอบ O-NET ใช้ข้อสอบจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สทศ./จากเว็บไซต์ เพื่อให้นักเรียนได้ ทดสอบฝึกทดลองทำข้อสอบ ทั้งนี้ ศึกษานิเทศก์ได้แนะนำ ให้ครูผู้สอนเปลี่ยนโจทย์/สลับจากโจทย์เป็นคำตอบ หรือคำตอบเป็นโจทย์ - มีการแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน โรงเรียนใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ในการแก้ไขปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน เช่น การขอทุนการศึกษาจากกองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กองทุนปันสุข การใช้กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนหารายได้ระหว่างเรียน การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา - ด้านสุขภาพผู้เรียน โรงเรียนมีการตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นประจำ สร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ในเรื่องสุขภาพของนักเรียน เน้นการให้ความสำคัญของการฉีดวัคซีนขั้นพื้นฐานแก่นักเรียน กรณีนักเรียนเจ็บป่วย มีการดูแลโดยครูอนามัยโรงเรียนแต่ถ้าเจ็บป่วยรุนแรง โรงเรียนจะประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล (รพ.สต.) เพื่อส่งนักเรียนเข้ารับการรักษาต่อได้อย่างทันท่วงที - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การแนะแนว โรงเรียนมีกิจกรรมการแนะแนวเพื่อศึกษาต่อของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหรือส่งเสริมสนับสนุน การศึกษาต่อของนักเรียนสายสามัญ สายอาชีพ และทางศาสนา ร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับวิทยาลัยในด้านอาชีพ โดยมีการทำ MOU กับวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านอาชีพ เช่น การปลูกผัก การเลี้ยงปลา การทำอาหาร การแปรรูปอาหาร ฯลฯ ทำให้นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพมีรายได้ ระหว่างเรียนและเมื่อจบการศึกษา หรือจัดการเรียนแบบสะสมหน่วยกิต Credit Bank ในรายวิชาด้านอาชีพ แก่นักเรียน - การเรียนรู้สู่การสร้าง Soft Power บางโรงเรียนจัดทำ MOU หลักสูตร PIM กับมหาวิทยาลัย ปัญญาภิวัฒน์ให้ทุนการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา มีรายได้ระหว่างการศึกษาและมีงานทำเมื่อจบการศึกษา จัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากกิจกรรมหรือความเป็นท้องถิ่นสู่การเกิด องค์ความรู้หรือผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงาน เพื่อต่อยอดอย่างยั่งยืนและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมเฉพาะเรื่องของโรงเรียนแต่ละแห่ง ดังนี้ ๑. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ ฯ ๔ ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ ไม่มีนักเรียนออกกลางคัน ส่วนสาเหตุที่มีนักเรียนออกกลางคัน เพราะไม่รู้ภาษาไทย เนื่องจากนักเรียนอยู่บ้านไม่ได้ใช้ภาษาไทยสื่อสาร ในชีวิตประจำวัน โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มอบเงินให้ นักเรียนยากจนจำนวน ๒,๐๐๐ บาทต่อภาคเรียน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา ๓ ปีผู้ปกครองให้ความสำคัญต่อสุขภาพ ของผู้เรียนโดยเฉพาะการฉีดวัคซีนพื้นฐาน มีการแนะแนวการศึกษาต่อให้กับทางนักเรียน วิทยาลัยการอาชีพมาให้ ความรู้เรื่องการแปรรูปอาหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี มาสอนและให้ความรู้เรื่อง การเลี้ยงปลา นักเรียนศึกษาต่อในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ /๒. โรงเรียน...


- ๕ - ๒. โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านจะบังติกอ) มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน มีกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนหารายได้ระหว่างเรียน โดยมีตลาดนัดข้างโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ไปทำกิจกรรม มีกิจกรรมลดเรียนเพิ่มรู้ที่ TK Park มีกิจกรรมการจัดการขยะครบวงจร โดยมีสำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จังหวัดปัตตานีมาเป็นพี่เลี้ยง ทางโรงเรียนมีการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน เช่น ไข้เลือดออก มะเร็งปากมดลูก มีการตรวจ สุขภาพให้กับนักเรียน ทั้งเรื่องสายตาและสุขภาพฟัน ทางโรงเรียนมีการแนะแนวการเรียนต่อทั้งสายสามัญและ สายอาชีพ มีกิจกรรม Open House ให้คำแนะนำและให้ความรู้กับนักเรียน รวมทั้งเปิดโลกทัศน์ของโรงเรียนด้วย การส่งนักเรียนไปเรียนต่อ ไปฝึกอาชีพกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๓. โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดตานีสโมสร) มีกิจกรรมการสร้างวินัยเชิงบวกให้นักเรียนและผู้ปกครอง มีกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการประเมิน SDQ และใช้ผลการเรียนย้อนหลัง เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับนักเรียน ด้านสุขภาพของผู้เรียนผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีน พื้นฐาน และมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนอย่างละเอียด มีการประสานโรงพยาบาลชุมชน เกี่ยวกับสุขภาพของ นักเรียน มีจำนวนนักเรียนออกกลางคัน จำนวน ๑ คน (มีนักเรียนพม่า จำนวน ๒ - ๓ คน) ทางโรงเรียนมีการแนะแนว การศึกษาต่อให้กับทางนักเรียน มีการส่งเสริมกิจกรรมการปลูกผักรักษ์โลก โดยประสานงานกับสำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัดปัตตานี ๔. โรงเรียนบ้านตะบิงตีงีมีกองทุนปันสุข โดยคณะครูเก็บเงินคนละ ๕๐ บาทต่อเดือน มีกิจกรรม เยี่ยมบ้านนักเรียนพร้อมให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ป่วย มีการตรวจสุขภาพ เช่น การฉีดวัคซีน สุขภาพฟัน หรือโรคติดต่อเป็นประจำ โดยมีโรงพยาบาลชุมชนในอำเภอเข้ามาดูแล โรงเรียนมีครูแนะแนวซึ่งคอยให้คำแนะนำ และช่วยให้ความรู้เรื่องการศึกษาต่อให้กับนักเรียนทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ ๕. โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม โรงเรียนมีทุนการศึกษาจากภายในและภายนอก มีกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน นักเรียน มีการสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนก่อนสอบปลายภาค มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการตรวจสุขภาพ เช่น การฉีดวัคซีน สุขภาพฟันหรือโรคติดต่อ เป็นประจำ โดยมีโรงพยาบาลชุมชนในอำเภอเข้ามาดูแล มีระบบการทำความสะอาดเรื่องขยะ มีรถขยะ นักเรียนที่มีอาการป่วยจะมีห้องพยาบาลที่นักเรียนสามารถเข้าไป พักได้ และในกรณีที่มีอาการรุนแรง จะมีการส่งต่อให้กับทางโรงพยาบาลประจำอำเภอต่อไป มีการเตรียมพร้อม ห้องพยาบาล รถฉุกเฉิน จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง มีการแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียน ในระดับอุดมศึกษาและทางศาสนา โดยทางคุณครูฝ่ายแนะแนวจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแล มีการแลกเปลี่ยนหรือ การเรียนต่อต่างประเทศ ทางโรงเรียนจะมีการดูแลและส่งต่อให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาต่อในต่างประเทศ โดยจัดหาทุนการศึกษาให้สำหรับนักเรียน การศึกษาต่อของโรงเรียนจะมีการส่งเสริมทางสายสามัญ สายอาชีพ และทางศาสนา มีการจัดทำ MOU กับทางวิทยาลัยการอาชีพสายบุรี ๖. โรงเรียนเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง มีการดูแลสุขภาพนักเรียน ทั้งน้ำหนักและส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด มีกิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน ข้อเสนอแนะจากศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ขอความร่วมมือโรงเรียนในการร่วมคิด ร่วมทำให้นักเรียนผ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยสามารถอ่าน ออกเขียนได้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับชั้น ต่อไป /สายที่...


- ๖ - สายที่ ๒ มีนายนิรัน ดะแซ รองศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี เป็นประธาน มีข้อมูลสรุปแยกเป็นราย สังกัด ดังนี้ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี รวม ๖ โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านตะลุบัน) โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านปากน้ำฯ) โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปาตาตีมอ) โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านอุเมะ) โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านกาหยี) และโรงเรียนเทศบาล ๖ (บ้านบางตาหยาด) สังกัดสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดปัตตานีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านตะลุบัน) และโรงเรียนเทศบาล ๖ (บ้านบางตาหยาด) มีผู้อำนวยการโรงเรียน ปฏิบัติหน้าที่ แต่โรงเรียนเทศบาล ๒ – ๕ จะมีรองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูรักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียน บริหารจัดการโดยผ่านหัวหน้างาน/ฝ่าย ในแต่ละฝ่าย โดยภาพรวมการขับเคลื่อน การดำเนินงานตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและต้นสังกัดเป็นหลัก และได้ดำเนินการตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องในบางเรื่อง ซึ่งสามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนี้ - มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียน โดยจัดประชุมครูบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์การเรียนและอาคารสถานที่พร้อมรับการมาเรียนของนักเรียน เตรียมความพร้อม ระบบสาธารณูปโภคเพื่อใช้งานได้แต่จะประสบปัญหาในเรื่องสัญญาณ Internet และไฟตกในบางครั้ง จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โดยให้ครูเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ มาก่อนล่วงหน้า ใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ต้นสังกัดเข้ามาร่วมนิเทศ ติดตามและ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ แต่ละโรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติราชการประจำปีการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ รวมทั้งกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นได้กำหนดให้โรงเรียนจัดทำระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น (Local Education. Center information system : LEC) - มีการสร้างการรับรู้จากหน่วยงานต้นสังกัด เรื่องการประสานความร่วมมือการสนับสนุนและพัฒนา คุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (MOU) ให้กับโรงเรียน และเตรียมความพร้อมในการวางแผน ดำเนินการ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสู่การ ปฏิบัติต่อไป - มีการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของรัชกาลที่ ๑๐ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่การปฏิบัติ และการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยมีนโยบายจากต้นสังกัดให้ดำเนินการ ตามบริบทของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดจิตสำนึกสู่การปฏิบัติโดยเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ และสื่อต่าง ๆ ทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น มีกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนได้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิตผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การออม การปลูกผักเพื่อรับประทานเอง ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมผ่านสังคมพหุวัฒนธรรม (ไทยพุทธและไทยมุสลิม) - มีกิจกรรมเด่นที่เน้นความเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยผ่านภูมิปัญญาและวิถีชีวิต เช่น ว่าวเบอร์อามัส ขับร้องอนาซีด งานผ้าบาติก การทำน้ำบูดู ลิเกฮูลูฯลฯ - มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เน้นด้านการอ่านออกเขียนได้เพราะเป็นนโยบาย หลักของนายกเทศมนตรีเมืองตะลุบัน โดยส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาควบคู่กันไป บางโรงเรียนจะมีการ แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อพัฒนา (อ่านคล่อง อ่านไม่คล่อง อ่านไม่ได้) และจัดคาบเรียนเฉพาะเพื่อฝึกผักเรียน มีกิจกรรมรักการอ่าน เสริมการอ่านซูเราะ คาบซ่อมเสริม /มีการ...


- ๗ - - มีการติดตามผู้เรียนให้อยู่ในระบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน โดยผ่านระบบ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ใช้ ทร.๑๔ ในการคัดกรองนักเรียนเข้าเกณฑ์ จัดกิจกรรมแนะแนวเรียนต่อในระดับสูงขึ้น แนะแนวอาชีพเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ จัดมอบทุนการศึกษาให้เด็กยากจน จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ/ยุวกาชาด/เนตรนารี) เพื่อสร้างทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน และดูแลด้านสุขภาพโดยประสานกับทาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทั้งป้องกัน การรักษา และส่งต่อ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง - มีการเตรียมแผนรักษาความปลอดภัยโดยประสานกับสถานีตำรวจในพื้นที่มาให้ความรู้เรื่องความ ปลอดภัยและยาเสพติด และคอยเฝ้าระวัง รวมทั้งจัดเวรยามของโรงเรียนเพื่อดูแลความปลอดภัย รวมทั้งติดตั้ง กล้องวงจรปิด มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ - โครงการที่โรงเรียนเข้าร่วม ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่มาจากต้นสังกัด เช่น หนูน้อยปลูกผักสวนครัว ๑ อปท. ๑ สวนสมุนไพรฯ /๑ โรงเรียน ๑ ผลิตภัณฑ์/กิจกรรม โครงการสืบสานการดำรงชีวิตแบบพหุวัฒนธรรม (การลอยกระทง ไหว้ครู สวดมนต์ประจำวัน กวนอาซูรอ การละหมาด) โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี รวม ๓ โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปากน้ำ) โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดนพวงศาราม) และโรงเรียนเทศบาล ๕ (เทศบาลเมืองปัตตานี)อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สังกัดสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดปัตตานีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า ทุกโรงเรียน มีผู้อำนวยการโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่ บริหารจัดการโดยผ่านรองผู้อำนวยการหรือ หัวหน้างานในแต่ละฝ่ายโดยภาพรวมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และต้นสังกัดเป็นหลัก และได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องในบางเรื่อง ซึ่งสามารถ ดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนี้ - มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนโดยจัดประชุมครูบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์การเรียน เทคโนโลยีและอาคารสถานที่พร้อมรับการมาเรียนของนักเรียน เตรียม ความพร้อมระบบสาธารณูปโภคเพื่อใช้งานได้ จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติ และให้ครูเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัด การเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การเรียนรู้ผ่าน STEM ผ่านโครงงาน และบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ เพื่อส่งเสริม พัฒนาศักยภาพผู้เรียนในทุกมิติ มีการนิเทศภายนอกโดยทีมบริหารและศึกษานิเทศก์ต้นสังกัด และนิเทศภายในของฝ่ายบริหารมาร่วมนิเทศ ติดตามและให้ความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนจัดทำคู่มือการแต่งกาย โดยกำหนดการแต่งกายของนักเรียนในแต่ละวันเป็นแบบสากลและท้องถิ่น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและ อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคมพหุวัฒนธรรม แต่ละโรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติ ราชการประจำปีการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และแผนบริหารงานในโรงเรียน ๔ ฝ่ายงาน รวมทั้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้กำหนดให้โรงเรียนจัดทำระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น (Local Education. Center information system : LEC) เพื่อจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล /มีการ...


- ๘ - - มีการสร้างการรับรู้จากหน่วยงานต้นสังกัดเรื่องการประสานความร่วมมือ การสนับสนุนและพัฒนา คุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้กับ โรงเรียน (MOU) โดยการจัดประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสังกัด เพื่อให้ หน่วยงานประสานความร่วมมือกับโรงเรียน มีการร่วมวางแผน ดำเนินการ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสู่การ ปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ต่อไป - มีการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของรัชกาลที่ ๑๐ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่การปฏิบัติ และการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ให้ดำเนินการ ตามบริบทของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดจิตสำนึกสู่การปฏิบัติโดยเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ และสื่อต่าง ๆ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนให้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย หรือใช้ฐานการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง เช่น การออม สหกรณ์โรงเรียน การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ ธนาคารขยะ - มีกิจกรรมเด่นที่เน้นความเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยผ่านภูมิปัญญาและวิถีชีวิต เช่น ว่าววงเดือน วงดนตรีพื้นเมืองหรือท้องถิ่น การแสดงรองเง็ง การทำดอกไม้จากผ้าปาเต๊ะ ฯลฯ - มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เน้นด้านการอ่านออกเขียนได้ โดยผ่านโครงการ พัฒนาการอ่านและเขียน ส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาควบคู่กันไป บางโรงเรียนจะมีการแบ่งกลุ่มนักเรียน เพื่อพัฒนาในทุกเช้าก่อนเริ่มเรียนวิชาต่าง ๆ เช่น อ่านคำพื้นฐาน เขียนตามคำบอกตามระดับความสามารถของ นักเรียนหรือมีการประเมินผู้เรียนเพื่อดูพื้นฐานด้านการอ่านและเขียน - มีการติดตามผู้เรียนให้อยู่ในระบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน โดยการเยี่ยม บ้านนักเรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการดูแล แก้ปัญหาและมอบทุนการศึกษา มีครูอนามัยเป็นผู้ดูแลสุขภาพนักเรียน ในทุก ๆ ด้าน ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชุนหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลปัตตานี - มีการเตรียมแผนรักษาความปลอดภัย ได้รับรางวัลโรงเรียนปลอดภัย รวมทั้งประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่มาให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัยและยาเสพติด รวมทั้ง คอยเฝ้าระวัง จัดเวรยามของโรงเรียนเพื่อดูแลความปลอดภัย ติดตั้งกล้องวงจรปิด มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ - โครงการที่โรงเรียนเข้าร่วม ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่มาจากต้นสังกัด เช่น หนูน้อยปลูกผักสวนครัว หนูน้อยปลูกผักรักษ์โลก กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์จิตอาสาโดยลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด โครงการสืบสาน การดำรงชีวิตแบบพหุวัฒนธรรม โครงการโรงเรียนปลอดภัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ คือ โรงเรียนตัรบียะห์ อ.สายบุรี จ.ปัตตานีพบว่า เป็นโรงเรียนทางเลือกวิถีอิสลาม เริ่มการเรียนการสอนเวลา ๐๖.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. โดยภาพรวมการขับเคลื่อน การดำเนินงานตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและต้นสังกัดเป็นหลัก และได้ดำเนินการตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องในบางเรื่อง ซึ่งสามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนี้ มีการเตรียม ความพร้อมในการเปิดภาคเรียนโดยจัดประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา ประชุมผู้ปกครองนักเรียน เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์การเรียน ให้ครูเป็นผู้คัดเลือกแบบเรียนที่จะใช้แล้วสั่งซื้อจากร้าน ให้วิทยากรสอนศาสนาจัดทำ แบบเรียนศาสนา มีหลักสูตรอัลกุรอานเพื่อใช้ในการเรียนการสอน อาคารสถานที่พร้อมรับการมาเรียนของนักเรียน กำหนดชุดประจำวันในการแต่งกายในแต่ละวันที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เตรียมความพร้อมในเรื่อง /ระบบ...


- ๙ - ระบบสาธารณูปโภคเพื่อใช้งานได้ จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นได้กำหนดให้โรงเรียนจัดทำระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น (Local Education. Center information system : LEC) เพื่อจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มีการสร้างการรับรู้จากหน่วยงาน ต้นสังกัดเรื่องการประสานความร่วมมือการสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้กับโรงเรียน (MOU) โดยการจัดประชุมชี้แจง ผู้บริหารโรงเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานความร่วมมือกับโรงเรียน - มีการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของรัชกาลที่ ๑๐ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่การปฏิบัติ และการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ให้ดำเนินการ ตามบริบทของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดจิตสำนึกสู่การปฏิบัติโดยเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ และสื่อต่าง ๆ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนให้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย บูรณาการกับหลักศาสนา เน้นความเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยผ่านภูมิปัญญาและวิถีชีวิต - ด้านการอ่านออกเขียนได้ เป็นปัญหาหลักของโรงเรียน จึงเป็นนโยบายหลักที่มีการวางแผนร่วมกันเพื่อ แก้ไขปัญหาโดยเน้นการอ่านเป็นสำคัญ มีการแบ่งกลุ่มนักเรียน (เก่ง ปานกลาง และอ่อน) จัดคาบเรียนสอนเสริม ตามกลุ่มที่คัดแยกไว้ ในช่วงเช้าหลังเลิกแถวเพื่อฝึกกิจกรรมการอ่าน โดยครูภาษาไทยและครูทุกคนมีส่วนร่วม ในการพัฒนา ส่วนนักเรียนที่เก่งภาษาไทยแล้วจะเสริมด้วยภาษาอังกฤษ มอบทุนการศึกษา จัดอาหารเช้าและ อาหารกลางวันให้นักเรียนทุกคนเพื่อลดภาระของผู้ปกครอง จัดกิจกรรมแนะแนวในการศึกษาต่อตาม ความสามารถและความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง ให้ความดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียนใน ทุก ๆ ด้านร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์ดูแลสุขภาพของต้นสังกัด มีการจัดโครงการค่ายภาษา ภาคฤดูร้อน (จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลี) เพื่อส่งเสริมด้านภาษาให้กับนักเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี รวม ๔ โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียน ภักดีวิทยา อ.ทุ่งยางแดง โรงเรียนสายธารเมตตาธรรม อ.กะพ้อ โรงเรียนกูตงวิทยา และโรงเรียนอัล-กุรอานและ ภาษากาลามุลลอฮ. อ.ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบว่า ทุกโรงเรียน มีผู้อำนวยการโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่ บริหารจัดการโดยผ่านหัวหน้างานในแต่ละฝ่าย โดยภาพรวมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและต้นสังกัด ซึ่งสามารถ ดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนี้ - มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนโดยจัดประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา ประชุม ผู้ปกครองนักเรียน เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์การเรียน เทคโนโลยีและอาคารสถานที่พร้อมรับการมาเรียนของนักเรียน เตรียมความพร้อมระบบสาธารณูปโภคเพื่อใช้งานได้ แต่บางโรงเรียนยังมีปัญหาเรื่องความขาดแคลนสื่อ เทคโนโลยี อาคารเรียนที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และจะมีปัญหาเรื่องสัญญาณ Internet ขาดหายในช่วงฝนตก มีการ จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ติดตั้งระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า ปรับปรุงห้องครัว โดยจัดเป็น KM.QM. Food Garden ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น เข้ารับการ อบรมในเรื่องต่าง ๆ การศึกษาดูงาน เพื่อให้ครูมีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและทุ่มเทการสอนอย่างเต็มที่ ให้ครูทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพผู้เรียนในทุกมิติ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองทั้งภายในและภายนอก เช่น การแข่งขัน TO BE NUMER ONE การแข่งขันทักษะทางวิชาการ /การแข่งขัน...


- ๑๐ - การแข่งขันอ่านคุตบะห์ การแข่งขันกีฬา การวาดภาพ ฯลฯ มีการนิเทศภายในของฝ่ายบริหารมาร่วมนิเทศ ติดตาม และให้ความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนจัดทำคู่มือการแต่งกาย โดยกำหนดการแต่งกายของนักเรียนในแต่ละวันเป็นแบบสากลและท้องถิ่น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและ อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคมพหุวัฒนธรรม แต่ละโรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติ ราชการการประจำปีและแผนบริหารงานในโรงเรียน ๔ ฝ่ายงาน มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร จัดการและประชาสัมพันธ์กิจกรรมโรงเรียนให้กับผู้ปกครองและสาธารณะได้รับทราบความเคลื่อนไหวที่โรงเรียน ได้จัดในแต่ละวัน ผ่านกลุ่ม Line Facebook เป็นต้น - การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด โดยการจัด ประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสังกัด เพื่อให้หน่วยงานประสานความร่วมมือกับ โรงเรียน มีการร่วมวางแผน ดำเนินการ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ต่อไป - มีการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของรัชกาลที่ ๑๐ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่การปฏิบัติ และการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ดำเนินการตาม บริบทของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดจิตสำนึกสู่การปฏิบัติโดยเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้และสื่อต่างๆ จากภายนอก จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนให้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตที่หลากหลายบูรณาการ กับหลักศาสนา เน้นความเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยผ่านภูมิปัญญาและวิถีชีวิตอิสลาม ใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ/เนตรนารี/จิตอาสา/ชุมนุม) มีกิจกรรมเด่นที่เน้นความเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยผ่านภูมิปัญญาและวิถีชีวิต เช่น ด้านอาหาร ด้านภาษา - ด้านการอ่านออกเขียนได้จัดคาบชุมนุมเพื่อส่งเสริมด้านการอ่านการเขียน มีการคัดกรองผู้เรียนเป็น กลุ่ม ๆ และเชื่อมโยงการส่งเสริมการอ่านและการเขียนผ่านหลักศาสนา มีคลินิกภาษาไทยเพื่อส่งเสริมและ ซ่อมเสริมการอ่านและเขียนของนักเรียน - มีการติดตามผู้เรียนให้อยู่ในระบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน โดยการเยี่ยม บ้านนักเรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการดูแล แก้ปัญหาและมอบทุนการศึกษา ใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ กิจกรรมแนะแนวเชื่อมโยงกับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งสายสามัญหรือศาสนาทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ มีครูอนามัยเป็นผู้ดูแลสุขภาพนักเรียนในทุก ๆ ด้าน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและจัดกิจกรรม ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและ โรงพยาบาลประจำอำเภอ มีแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขอนามัยระหว่างผู้ปกครองนักเรียนและผู้ดูแลรับผิดชอบของโรงเรียน - มีการเตรียมแผนรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนทุกประเภท จัดครูผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัย ร่วมกับสภานักเรียน มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ บางโรงเรียนเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากอุบัติเหตุ อุทกภัย จึงต้องเฝ้า ระวังเป็นพิเศษ มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานความรักษาความปลอดทั้งระดับหมู่บ้าน ตำบลและหน่วย ตำรวจในพื้นที่ การติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณอาคารเรียนและบริเวณโรงเรียน /โครงการ...


- ๑๑ - - โครงการที่โรงเรียนเข้าร่วม เช่น สานใจไทยสู่ใจใต้ (ครอบครัวอุปถัมภ์) มอ.วิชาการ ต่อต้านยาเสพติด ในชุมชน สหพันธ์กีฬาฟุตบอลโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาภาคใต้ (IFC) TO BE NUMER ONE การแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมและภาษาระหว่างประเทศ สื่อสร้างสรรค์ สานฝันเยาวชนของกองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายใน ราชอาณาจักร ภาค ๔ ส่วนหน้า ข้อสรุปโดยภาพรวม พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ในแต่ละสังกัดจะประสบปัญหา เรื่องการอ่านการเขียน ของนักเรียนแต่ก็ได้มีการส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อมุ่งแก้ปัญหานักเรียนกลุ่มที่อ่าน ไม่ออกเขียนไม่ได้ให้หมดไป ซึ่งบางโรงเรียนก็มีทิศทางที่จะประสบความสำเร็จจากการมุ่งมั่น พยายาม ซึ่งต้องใช้ เวลาและความร่วมมือร่วมใจกันของทุกคนที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วย ส่วนด้านอื่น ๆ โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ดีแตกต่างกัน ไปตามบริบทของแต่ละโรงเรียน การสอบ O-NET โดยครูจะนำแบบทดสอบปีที่ผ่านมามาใช้ในการติวหรือสอน พร้อมอธิบายให้นักเรียนได้คุ้นชินกับแบบทดสอบและมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกิดทักษะและสมรรถนะใน การทำแบบทดสอบ /ส่วนที่ ๓...


ส่วนที่ ๓ รายละเอียด เอกสาร ภาพกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ๑. แบบนิเทศ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และ การเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ คำชี้แจง ผู้นิเทศใช้แบบนิเทศ ติดตามฯเพื่อเก็บข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ โดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ หรือครูผู้สอน ตามรายการนิเทศ ติดตามฯ ดังนี้ ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป ๑.๑ ชื่อโรงเรียน..................................................................สังกัด......................................... .............. e-mail……………………………………………………….. ๑.๒ ชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน..........................................เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ.......................................... e-mail……………………………………………………….. ๑.๓ จำนวนครูผู้สอน.....................................คน จำนวนบุคลากรอื่น.................................คน ๑.๔ จำนวนนักเรียน ระดับปฐมวัย................คน ระดับประถมศึกษา.................................คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.....................คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย...................คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น ..................................คน ตอนที่ ๒ รายการนิเทศ ติดตาม การเปิดภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ รายการนิเทศ ติดตาม บันทึกผู้นิเทศ ๑. ด้านการบริหารจัดการ ๑.๑ การจัดประชุมครู /บุคลากร /ผู้ปกครอง และนักเรียนก่อน เปิดภาคเรียน ๑.๒ การจัดชั้นเรียน และการมอบหมายงานให้ครูรับผิดชอบที่งาน ๑.๓ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ (แผนปฏิบัติราชการ/แผนงาน/โครงการ/ กิจกรรม) มอบหมายงานให้บุคลากรได้รับรู้ ๑.๔ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ๒. ด้านอาคารสถานที่ ๒.๑ การเตรียมความพร้อมเพื่อใช้งาน - วัสดุ , ครุภัณฑ์ ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการ/ห้องต่าง ๆ - ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา สัญญาณ Internet , โทรศัพท์ , โทรสาร ฯลฯ - ความสะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน /รายการ...


- ๑๓ - รายการนิเทศ ติดตาม บันทึกผู้นิเทศ ๓. ด้านครูผู้สอน ๓.๑ เตรียมความพร้อมงานธุรการประจำชั้นเรียน ๓.๒ เตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน - หลักสูตร - แผนการจัดการเรียนรู้ - กิจกรรมเสริมหลักสูตร ฯลฯ ๔. ด้านผู้เรียน ๔.๑ การแต่งกายของผู้เรียนสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ ของโรงเรียน ๔.๒ อุปกรณ์การเรียน แบบเรียน/คู่มือ/เอกสารประกอบต่าง ๆ ที่พร้อมในการเรียนรู้ ๕. ด้านการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา เชิงพื้นที่ระหว่างสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น/ต้น สังกัด ๕.๑ การสร้างการรับรู้จากหน่วยงานต้นสังกัด ๕.๒ การวางแผน ดำเนินการ ติดตามและประเมินผลของ สถานศึกษาในการดำเนินงานสู่การปฏิบัติ ๕.๓ การนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานจากต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ ๓ การดำเนินงานตามจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด ๓.๑ โรงเรียนได้วางแผน ดำเนินงานตามจุดเน้นทั้ง ๓ จุดเน้น ในแต่ละะประเด็นอย่างไร ? ๑) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และการน้อมนำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ๑.๑) การดำเนินงานตามนโยบาย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๑.๒) ปัจจัยที่ขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ............................................................................................................................. ....................................................... ๑.๓) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ปัญหา ปัญหา/อุปสรรค วิธีการแก้ปัญหา /๒) การ...


- ๑๔ - ๒) การส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ๒.๑) การดำเนินงานตามนโยบาย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๒.๒) ปัจจัยที่ขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ............................................................................................................................. ....................................................... ๒.๓) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ปัญหา ปัญหา/อุปสรรค วิธีการแก้ปัญหา ๓. การจัดการเรียนรู้ สู่การสร้าง Soft Power ๓.๑) การดำเนินงานตามนโยบาย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๓.๒) ปัจจัยที่ขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ............................................................................................................................. ....................................................... ๓.๓) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ปัญหา ปัญหา/อุปสรรค วิธีการแก้ปัญหา ตอนที่ ๔ สถานการณ์การดำเนินงานและความต้องการในการพัฒนาตามประเด็นต่อไปนี้ ๔.๑ การอ่านออกเขียนได้ ๔.๑.๑ การดำเนินงาน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๔.๑.๒ ความต้องการในการพัฒนา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๔.๒ การแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน ๔.๒.๑ การดำเนินงาน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๔.๒.๒ ความต้องการในการพัฒนา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… /๔.๔ กิจกรรม...


- ๑๕ - ๔.๔ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การแนะแนว ๔.๔.๑ การดำเนินงาน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๔.๔.๒ ความต้องการในการพัฒนา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๔.๕ แผนการรักษาความปลอดภัย ๔.๕.๑ การดำเนินงาน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๔.๕.๒ ความต้องการในการพัฒนา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ตอนที่ ๕ โครงการอื่น ๆ ที่โรงเรียนเข้าร่วม ๕.๑ ชื่อโครงการ........................................................................................................................................... ๕.๑.๑ การดำเนินงาน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๕.๑.๒ ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ปัญหา ปัญหา/อุปสรรค วิธีการแก้ปัญหา ลงชื่อ.........................................................ประธานคณะกรรมการนิเทศ ติดตามฯ (.........................................................) ลงชื่อ...................................................รองประธานคณะกรรมการนิเทศ ติด ตามฯ (.........................................................) ลงชื่อ.........................................................กรรมการและเลขานุการคณะนิเทศ ติดตามฯ (.........................................................) ๒. คำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีที่ ๑๒๓/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตามการ ดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามกำหนดการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ /๒. คำสั่ง...


- ๑๖ – คำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ที่ ๑๒๓ / ๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ------------------------------------------- ด้วยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี กำหนดลงพื้นที่นิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ของสถานศึกษา สังกัดต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๖ เพื่อติดตามการดำเนินงานตาม นโยบายของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และติดตามการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และด้านต่าง ๆ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ.๒๕๖๕ และเพื่อให้การลงพื้นที่นิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ในครั้งนี้ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุ วัตถุประสงค์ที่กำหนด และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ดังนี้ ๑. คณะกรรมการฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่ กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา ประสานงาน อำนวยความสะดวก ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการเตรียมงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แก้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตลอดทั้งงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ๑.๑ นายสุริยา หมาดทิ้ง ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการ ๑.๒ นายนิรัน ดะแซ รองศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี รองประธานกรรมการ ๑.๓ นางมาเรียม ยะสะแต ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา กรรมการ ๑.๔ นางนลินภัสร์ จิรารวีวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ กรรมการ ๑.๕ นางสาวอามีเนาะ แยนา ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน กรรมการ ๑.๖ นางสุชดา สุขอนันต์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล กรรมการ ๑.๗ นางนันทิยา ดาราแม ผู้อำนวยการกลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน กรรมการ ๑.๘ นางสาวกุสุมา กามา ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน กรรมการ ๑.๙ นายสะอาลูวี อิสสมะแอ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล กรรมการและ เลขานุการ ๑.๑๐ นางสาวฐิติรัตน์ ปุยริพันธ์ ศึกษานิเทศก์ กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ ๑๑) นางสาวมัชฌิมา ชูหนู นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ /๒. คณะกรรมการ...


- ๑๗ - ๒. คณะกรรมการฝ่ายนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ของหน่วยงานต้นสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ มีหน้าที่ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานต้นสังกัด และติดตามการเปิดภาคเรีย นที่ ๒/๒๕๖๖ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และด้านต่าง ๆ กับสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย และสรุปข้อมูลการลงพื้นที่สถานศึกษาที่รับผิดชอบตามปฏิทินที่กำหนด พร้อมรวบรวมข้อมูลส่ง เลขานุการของคณะกรรมการฝ่ายอำนวยการ ต่อไป ประกอบด้วย ๒.๑ สายที่ ๑ สถานศึกษาในอำเภอเมืองปัตตานี แม่ลาน มายอ ยะรัง หนองจิก ปะนาเระ ไม้แก่น และกะพ้อ ๑) นายสุริยา หมาดทิ้ง ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการ ๒) นางมาเรียม ยะสะแต ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา รองประธานกรรมการ ๓) นางสาวอามีเนาะ แยนา ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน กรรมการ ๔) นางนันทิยา ดาราแม ผู้อำนวยการกลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน กรรมการ ๕) นายสะอาลูวี อิสสมะแอ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล กรรมการ ๖) นางสาวอาบีบ๊ะ ตาเปาะโต๊ะ ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๗) นางสาวอานิซะห์ ประจัน ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๘) นายอันวา สะอุ นักวิชาการศึกษา กรรมการ ๙) นางซัลวานา หะยีเยะ นักวิชาการศึกษา กรรมการ ๑๐) นางขวัญตา ค้าขึ้น ศึกษานิเทศก์ กรรมการและ เลขานุการ ๑๑) นางสาวมัชฌิมา ชูหนู นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ ๒.๒ สายที่ ๒ สถานศึกษาในอำเภอเมือง ยะหริ่ง สายบุรี โคกโพธิ์ และทุ่งยางแดง ๑) นายนิรัน ดะแซ รองศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการ ๒) นางนลินภัสร์ จิรารวีวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ รองประธานกรรมการ ๓) นางสุชดา สุขอนันต์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล กรรมการ ๔) นางสาวกุสุมา กามา ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน กรรมการ ๕) นายตูวันอารง ยีบากา ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๖) นางสาวนิรามัย นิเดร์หะ ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๗) นางสาวปาณิสรา อินทศิริ นักวิชาการศึกษา กรรมการ ๘) ส.ต.ท.หญิง เบญญา อนุพันธ์ นักวิชาการศึกษา กรรมการ ๙) นางยามีละห์ เจะมูซอ นักวิชาการศึกษา กรรมการ ๑๐) นางสาวฐิติรัตน์ ปุยริพันธ์ ศึกษานิเทศก์ กรรมการและ เลขานุการ /๓. คณะกรรมการ...


- ๑๘ - ๓. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ บันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ในการลงพื้นที่ในแต่ละสาย เพื่อทำข่าวและเสนอข่าว พร้อมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณชนในทุกช่องทาง ประกอบด้วย ๓.๑ นางขวัญตา ค้าขึ้น ศึกษานิเทศก์ ประธานกรรมการ ๓.๒ นางสาวอังศุธร จริยเพียรพันธุ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ กรรมการ ๓.๓ นายมูฮำหมัดซูไฮมี ดาหาลี เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป กรรมการ ๓.๔ นางซัลวานา หะยีเยะ นักวิชาการศึกษา กรรมการ ๓.๕ นางสาวสมฤทัย โดยวิริยสกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรรมการ ๓.๖ นายฟิกรี ดาโอ๊ะ เจ้าพนักงานธุรการ กรรมการ ๓.๗ นางสาวนพดารา พึ่งกุศล นักประชาสัมพันธ์ กรรมการและเลขานุการ ๔. คณะกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี มีหน้าที่ ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้าง ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบความถูกต้องในการเบิกจ่าย งบประมาณ ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย ๔.๑ นางนลินภัสร์ จิรารวีวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ ประธานกรรมการ ๔.๒ นางเจ๊ะรูฮานี แวอีซอ นักวิชาการเงินและบัญชี กรรมการ ๔.๓ นางสาวฐิติรัตน์ ปุยริพันธ์ ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๔.๔ นายซุลกิฟลี แยนา นักวิชาการพัสดุ กรรมการและ เลขานุการ ๕. คณะกรรมการฝ่ายสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน มีหน้าที่ จัดทำแบบนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานต้นสังกัด และติดตามการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงาน รายงานผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย ๕.๑ นายสะอาลูวี อิสสมะแอ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และ ประเมินผล ประธาน กรรมการ ๕.๒ นางสาวอาบีบ๊ะ ตาเปาะโต๊ะ ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๕.๓ นางอานิซะห์ ประจัน ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๕.๔ นางสาวนิรามัย นิเดร์หะ ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๕.๕ นายตูวันอารง ยีบากา ศึกษานิเทศก์ กรรมการ ๕.๖ นางสาวฐิติรัตน์ ปุยริพันธ์ ศึกษานิเทศก์ กรรมการและ เลขานุการ ๕.๗ นางขวัญตา ค้าขึ้น ศึกษานิเทศก์ กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความเสียสละ เต็มความสามารถ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ต่อไป สั่ง ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นายสุริยา หมาดทิ้ง) ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี /กำหนด...


- ๑๙ – กำหนดการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๖ (ฉบับปรับปรุง) ที่ วัน/เดือน/ปี ชื่อสถานศึกษา สังกัด อำเภอ สายที่ ๑ ๒๑ พ.ย. ๒๕๖๖ ๑. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ ๔ กก.ตชด.๔๔ มายอ ๑ ๒. โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี อปท. มายอ ๑. โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านตะลุบัน) อปท. สายบุรี ๒ ๒. โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านกาหยี) อปท. สายบุรี ๒ ๒๒ พ.ย. ๒๕๖๖ ๑. โรงเรียนบ้านเขาตูม อปท. ยะรัง ๑ ๒. โรงเรียนศานติวิทยาโสร่ง สช. ยะรัง ๑. โรงเรียนเทศบาล ๖ (บ้านบางตาหยาด) อปท. สายบุรี ๒ ๒. โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านอุเมะ) อปท. สายบุรี ๓ ๒๘ พ.ย. ๒๕๖๖ ๑. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาประดู่ อปท. โคกโพธิ์ ๑ ๒. โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา สช. โคกโพธิ์ ๑. โรงเรียนตัรบียะห์ อปท. สายบุรี ๒ ๒. โรงเรียนภักดีวิทยา สช. ทุ่งยางแดง ๔ ๒๙ พ.ย. ๒๕๖๖ ๑. โรงเรียนแสงประทีปวิทยา สช. หนองจิก ๑ ๒. โรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษา สช. หนองจิก ๑. โรงเรียนอัตตัรบียะฮ์อิสลามียะฮ์ สช. ไม้แก่น ๒ ๒. โรงเรียนสายธารเมตตาธรรม สช. กะพ้อ ๕ ๑ ธ.ค. ๒๕๖๖ ๑. โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านจะบังติกอ) อปท. เมือง ๑ ๒. โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดตานีนรสโมสร) อปท. เมือง ๑. โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดนพวงศาราม) อปท. เมือง ๒. โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปากน้ำ) อปท. เมือง ๒ ๓. โรงเรียนเทศบาล ๕ (อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล) อปท. เมือง ๖ ๔ ธ.ค. ๒๕๖๖ ๑. โรงเรียนนูรูลมูฮัมมาดี สช. แม่ลาน ๑ ๒. โรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิ สช. แม่ลาน ๑. โรงเรียนกูตงวิทยา สช. ยะหริ่ง ๒ ๒. โรงเรียนอัล-กุรอานและภาษากาลามุลลอฮ. สช. ยะหริ่ง ๗ ๖. ธ.ค. ๒๕๖๖ ๑. โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม สช. ปะนาเระ ๑ ๒. โรงเรียนเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง อปท. ปะนาเระ ๑. โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านปากน้ำฯ) อปท. สายบุรี ๒ ๒. โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปาตาตีมอ) อปท. สายบุรี หมายเหตุ กำหนดการนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและจะมีการแจ้งประสานสถานศึกษาอีกครั้ง หากสถานศึกษาใดไม่สะดวกตามกำหนดการที่กำหนดสามารถแจ้งประสานได้ที่ ศน.ฐิติรัตน์ ๐๖-๒๙๔๙-๖๓๙๕ เพื่อวางแผนกำหนดการใหม่ ต่อไป /๓. ภาพ...


- ๒๐ – ๓. ภาพกิจกรรมการลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และการเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ สารการรับรู้ประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีและภาพกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปและจัดทำรายงานผลการลงพื้นที่ นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และ การเปิดภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ สายที่ ๑ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พีระยานุเคราะห์ฯ ๔ โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี /สารศึกษา...


- ๒๑ – /สายที่ ๒...


- ๒๒ – สายที่ ๒ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านตะลุบัน) โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านกาหยี) /สารศึกษา...


- ๒๓ – /สายที่ ๑...


- ๒๔ – สายที่ ๑ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนบ้านเขาตูม โรงเรียนศานติวิทยาโสร่ง /สารศึกษา...


- ๒๕ – /สายที่ ๒...


- ๒๖ – สายที่ ๒ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนเทศบาล ๖ (บ้านบางตาหยาด) โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านอุเมะ) /สารศึกษา...


- ๒๗ – /สายที่ ๑...


- ๒๘ – สายที่ ๑ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลนาประดู่ โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา /สารศึกษา...


- ๒๙ – /สายที่ ๒...


- ๓๐ – สายที่ ๒ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนตัรบียะห์ โรงเรียนภักดีวิทยา /สารศึกษา...


- ๓๑ – /สายที่ ๑...


- ๓๒ – สายที่ ๑ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนแสงประทีปวิทยา โรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษา /สารศึกษา...


- ๓๓ – /สายที่ ๒...


- ๓๔ – สายที่ ๒ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โรงเรียนสายธารเมตตาธรรม /สารศึกษา...


- ๓๕ – /สายที่ ๑...


- ๓๖ – สายที่ ๑ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านจะบังติกอ) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดตานีนรสโมสร) /สารศึกษา...


- ๓๗ – /สายที่ ๒...


- ๓๘ – สายที่ ๒ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดนพวงศาราม) โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปากน้ำ) โรงเรียนเทศบาล ๕ (อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล) /สารศึกษา...


- ๓๙ – /สายที่ ๑...


- ๔๐ – สายที่ ๑ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนนูรูลมูฮัมมาดี โรงเรียนอะห์มาดีวิทยามูลนิธิ /สารศึกษา...


- ๔๑ – /สายที่ ๒...


- ๔๒ – สายที่ ๒ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนกูตงวิทยา โรงเรียนอัล-กุรอานและ ภาษากาลามุลลอฮ. /สารศึกษา...


- ๔๓ – /สายที่ ๑...


- ๔๔ – สายที่ ๑ วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม โรงเรียนเทศบาลตำบลพ่อมิ่ง /สารศึกษา...


- ๔๕ – /สายที่ ๒...


- ๔๖ – สายที่ ๒ วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านปากน้ำฯ) โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านปาตาตีมอ) /สารศึกษา...


- ๔๗ – /ประชุม...


Click to View FlipBook Version