The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โรงเรียนกระสังพิทยาคมรับการประเมินโรงเรียนอีโคสคูล (Eco–School) ระดับต้น (Beginner) ประจำปีการศึกษา 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by krasang_school, 2024-03-19 00:30:02

แบบรายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล (Eco–School) ระดับต้น (Beginner)

โรงเรียนกระสังพิทยาคมรับการประเมินโรงเรียนอีโคสคูล (Eco–School) ระดับต้น (Beginner) ประจำปีการศึกษา 2566

Keywords: อีโคสคูล,กระสังพิทยาคม,โรงเรียนต้นแบบ,อนุรักษ์,สิ่งแวดล้อม,Eco,School

ก คำนำ รายงานผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสรุปผลการดำเนินโครงการ โรงเรียนอีโคสคูล (Eco - School) ระดับต้น (Beginner) ของโรงเรียนกระสังพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ประจำปีการศึกษา 2566 ประกอบด้วยพันธกิจ 4 หลัก คือ 1) นโยบายด้าน สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างการบริหารจัดการ 2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ 3) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และ 4) การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อรายงานผลการ ดำเนินงานต่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางโรงเรียนต้องขอขอบคุณ นายไพบูลย์ มั่นยืน ผู้อำนวยการโรงเรียนกระสังพิทยาคม คณะครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ชุมชนอำเภอกระสัง ละผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ร่วมดำเนินโครงการ สนับสนุนส่งเสริมให้การดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco - School) ระดับต้น (Beginner) ของโรงเรียน กระสังพิทยาคมเสร็จสมบูรณ์ ผู้รวบรวมผลการดำเนินงานขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ โรงเรียนกระสังพิทยาคม มีนาคม 2567


ข สารบัญ เรื่อง หน้า แบบสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล (Eco School)............................................................ 1 1. นโยบายและโครงสร้างการบริหารโรงเรียน......................................................................... 1 2. การจัดกระบวนการเรียนรู้ (ตลอด 1 ภาคเรียน) ................................................................. 5 3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (อย่างน้อย 3 ประเด็น) ............ 11 4. การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา.................................................................... 22


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 1 จาก 29 +0 . ข้อมูลโรงเรียน ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนกระสังพิทยาคม ที่อยู่ : 418 หมู่ที่ 9 ถ.เทศบาล14 ต.กระสัง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160 เบอร์โทรศัพท์ : 0 4469 1036 โทรสาร : 0 4469 1036 ผู้ประสานงาน : 06 5123 4947 E-mail : [email protected] ครูผู้รับผิดชอบโครงการ : 1. นายชัยพร พันธุ์ยุลา 2. นางอนุช อาจสาลี จำนวนครู : 140 คน จำนวนบุคลากร : 57 คน จำนวนนักเรียน : 2,864 คน รายงานผลการดำเนินโครงการตามพันธกิจ 4 ด้าน ดังนี้ 1. นโยบายและโครงสร้างการบริหารโรงเรียน วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ธรรมนูญโรงเรียน : วิสัยทัศน์ของโรงเรียนกระสังพิทยาคม (Vision) “โรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นพื้นที่ปลอดภัย เลิศล้ำวิถีพุทธ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน” พันธกิจ (Mission) 1. พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นมาตรฐานสากล โดยเน้นการมีส่วนร่วมตอบสนอง ความต้องการของชุมชน ประเทศชาติ 2. ส่งเสริมผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการตามมาตรฐานสากล มีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ 3. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ส่งเสริม พัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนเก่งตามหลักพหุปัญญา มีทักษะชีวิต มีเป้าหมายชีวิตและมีทักษะวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 5. ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากร และนักเรียนทุกคนให้ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเชิดชูความเป็นไทย 6. ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัยและเหมาะสม ในการบริหารจัดการตามแนวทาง การจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 7. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ แบบรายงานสรปุผลการดา เนินงานโรงเรียนอีโคสคลู (Eco–School)ระดับต้น (Beginner)


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 2 จาก 29 8. ส่งเสริมการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ มีสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ 9. ส่งเสริมการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร 10. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยทุกด้าน นโยบายด้าน “สิ่งแวดล้อม” สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและไม่ใช่กายภาพในสถานศึกษา และในห้องเรียน ซึ่งหมายรวมถึง เงื่อนไข สถานการณ์ หรือสภาพการที่มีผลต่อการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการสนับสนุน การเรียนรู้ และการนำวิทยาการ ไปใช้ในการเรียนการสอน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร สิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education) หมายถึง กระบวนการที่มุ่งสร้างให้ประชากรโลก มีความสำนึกและห่วงใยในปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มีความรู้ เจตคติ ทักษะ ความตั้งใจจริง และความมุ่งมั่นที่จะหาทางแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่และป้องกันปัญหาใหม่ ทั้งด้วยตนเอง และด้วยความร่วมมือกับผู้อื่น สิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” เพราะสิ่งแวดล้อมศึกษาไม่ใช่เป็นเพียงแค่ การใช้ความรู้หรือให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการใช้ เทคนิค วิธีการ หรือกระบวนการที่จะพัฒนาคนให้เกิดจิตสำนึก และห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น มีเจตคติที่ดีมีความตั้งใจและ มุ่งมั่นที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนกระสังพิทยาคมได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้บุคลากรและนักเรียน ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้คุณธรรมนำความรู้ มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและ เพิ่มพูนทักษะวิชาการงานอาชีพสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ภาพคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการของโรงเรียนกระสังพิทยาคม ปีงบประมาณ 2567


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 3 จาก 29 ภาพการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับงบประมาณ ภาพการรับรองโครงการของโรงเรียนปีงบประมาณ 2567


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 4 จาก 29 ภาพแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน / แผนปฏิบัติการ / โครงการ ภาพโครงการ / กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2567


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 5 จาก 29 ภาพคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco School) ประจำปีการศึกษา 2566 2. การจัดกระบวนการเรียนรู้(ตลอด 1 ภาคเรียน) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น : ชุมนุมธนาคารขยะ ได้ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1) เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของขยะ และวิธีการคัดแยกขยะ 2) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานธนาคารขยะ 3) ศึกษารูปแบบการรับซื้อและราคาจากร้านรับซื้อของเก่าในอำเภอกระสัง 4) ดำเนินการรับซื้อขยะ และการแยกขยะในโรงเรียน 5) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สู่อาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียน ลักษณะของกิจกรรม : ชุมนุม / ชมรม สอดแทรก บูรณาการ ฐานการเรียนรู้ อื่น ๆ (โปรดระบุ)


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 6 จาก 29 ชื่อกิจกรรม : ชุมนุมธนาคารขยะ วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการคัดแยกขยะและการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล (Learning About Environment) 2) นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกต้องเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการคัดแยกขยะและการจัดการขยะที่ถูกต้องตาม หลักสุขาภิบาล (Learning In Environment) 3) เพื่อให้นักเรียนจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมธนาคารขยะอย่างเป็นระบบ (Learning In Environment) 4) เพื่อปลูกจิตสำนึกในการจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน และชุมชน (Learning For Environment) 5) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะที่ถูกต้องโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานราชการ ในท้องถิ่น (Learning For Environment) กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 75 คน แหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในโรงเรียนและในชุมชน (สามารถระบุสถานที่ได้มากกว่า 1 แห่ง) : 1) ห้องชุมนุมธนาคารขยะ 2) ร้านรับซื้อของเก่าอำเภอกระสัง 3) เว็บไซต์ รายละเอียดกิจกรรม/บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้: วัน/เดือน/ปี รายละเอียดกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม หมายเหตุ 2 พ.ย. 2566 - ปฐมนิเทศ 1. นักเรียนได้รู้ภาพรวมของ ชุมนุมธนาคารขยะ 9 พ.ย. 2566 - เรียนรู้ประเภทขยะ และการคัดแยกขยะ วิทยากรจากเทศบาลตำบล กระสังให้ความรู้เกี่ยวกับ 1. ประเภทของขยะ 2. วิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ตามหลักสุขาภิบาล 16 พ.ย. 2566 - จัดตั้งคณะกรรมการธนาคารขยะ ประกอบด้วย 1. นายวุฒิชัย ศรีสวัสดิ์ (หัวหน้าธนาคารขยะ) 2. นางสาวเจธิดา สำอาง (รองหัวหน้าธนาคารขยะ) 1. มีคณะกรรมการดำเนินการ กิจกรรมชุมนุมธนาคารขยะ 2. กำหนดราคาในการรับซื้อ ขยะในโรงเรียน


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 7 จาก 29 วัน/เดือน/ปี รายละเอียดกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม หมายเหตุ 3. เด็กหญิงธัญพิชชา ผลสุข (กรรมการ) 4. เด็กหญิงพรธิดา ทั่งพรม (กรรมการ) 5. เด็กหญิงศรัณย์พร ผลประเสริฐ (กรรมการ) 6. เด็กหญิงศิริมาศ หมู่ทอง (กรรมการ) 7. เด็กหญิงโสภิดา พิศเพ่ง (กรรมการ) 8. นางสาวญาดา งามกล้า (เหรัญญิก) 9. นายเชรษฐพงษ์ ประทีป (เลขานุการ) 10. นางสาวศุกฤร์ดี หลงหลอยพลัด (ผู้ช่วยเลขานุการ) - สำรวจราคารับซื้อขยะจากร้านรับซื้อของ เก่าอำเภอกระสัง 23 พ.ย. 2566 - 14 ธ.ค. 2566 - คณะกรรมการธนาคารขยะ ดำเนินการ รับซื้อขยะจากนักเรียน ครู และบุคลากร ของโรงเรียน - นักเรียนในชุมนุมธนาคารขยะที่ไม่ใช่ คณะกรรมการเก็บขวด กระดาษ พร้อม คัดแยกมาเรียบร้อยมาส่ง คนละ 20 ชิ้น 1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการรับ ซื้อขยะ 2. นักเรียนรู้วิธีการคัดแยก ขยะ 3. นักเรียนเกิดการแยกขยะ และลดปริมาณขยะใน โรงเรียน 16 ธ.ค. 2566 - อบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สู่อาชีพ 1. สร้างความตระหนัก จิตสำนึก การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม 2. รู้วิธีและสามารถดำเนินการ กำจัดขยะอย่างครบวงจร 3. ลดมลพิษจากขยะ ให้ โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ ปราศจากขยะ โรงเรียน สวยงาม ร่มรื่น ปลอดภัย 4. สร้างรายได้เสริมให้แก่ สมาชิกในชุมนุมธนาคารขยะ


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 8 จาก 29 วัน/เดือน/ปี รายละเอียดกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม หมายเหตุ 21 ธ.ค. 2566 - 29 ก.พ. 2567 - คณะกรรมการธนาคารขยะ ดำเนินการ รับซื้อขยะจากนักเรียน ครู และบุคลากร ของโรงเรียน - นักเรียนในชุมนุมธนาคารขยะที่ไม่ใช่ คณะกรรมการเก็บขวด กระดาษ พร้อม คัดแยกมาเรียบร้อยมาส่ง คนละ 20 ชิ้น 1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการรับ ซื้อขยะ 2. นักเรียนรู้วิธีการคัดแยก ขยะ 3. นักเรียนเกิดการแยกขยะ และลดปริมาณขยะใน โรงเรียน 7 มี.ค. 2567 สรุปผลกิจกรรมธนาคารขยะ 1. สร้างจิตสำนึกในการ จัดการขยะและการรักษา สิ่งแวดล้อม ภายในโรงเรียน และชุมชน 2. ลดปริมาณขยะและ เสริมสร้างความรู้ในเรื่องการ คัดแยกขยะที่ถูกต้อง เหมาะสม 3. ได้เงินจากการตั้งธนาคาร ขยะมาตั้งเป็นกองทุน สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ใน โรงเรียน 4. สร้างรูปแบบการจัดการ ขยะโดยการมีส่วนร่วมของ โรงเรียน และชุมชนในการ ดำเนินงาน 5. เป็นตัวอย่างที่ดีในการ จัดการขยะของชุมชน


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 9 จาก 29 ภาพกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้หรือผลงานของนักเรียน (พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ) : ภาพที่ 2.1 ภาพปฐมนิเทศนักเรียนชุมนุมธนาคารขยะ ภาพที่ 2.2 ภาพสอนวิธีการคัดแยกขยะ ภาพที่ 2.3 ภาพการรับซื้อขยะ ภาพที่ 2.4 ภาพการรับซื้อขยะ ภาพที่ 2.5 ภาพการรับซื้อขยะ ภาพที่ 2.6 ภาพการรับซื้อขยะ ภาพที่ 2.7 ภาพการคัดแยกขยะ ภาพที่ 2.8 ภาพการคัดแยกขยะ


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 10 จาก 29 ภาพที่ 2.9 ภาพการคัดแยกขยะ ภาพที่ 2.10 ภาพการคัดแยกขยะ ภาพที่ 2.11 ภาพอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างผลิตภัณฑ์ ภาพที่ 2.12 ภาพอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างผลิตภัณฑ์ ภาพที่ 2.13 ภาพอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้าง บรรจุภัณฑ์สู่อาชีพ ภาพที่ 2.14 ภาพอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้าง บรรจุภัณฑ์สู่อาชีพ ภาพที่ 2.15 การทำ MOU เกี่ยวกับการจัดการขยะ ภาพที่ 2.16 ครูและนักเรียนเข้ารับการอบรมการจัดการ ขยะของหน่วยงานเทศบาลตำบลกระสัง


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 11 จาก 29 3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (อย่างน้อย 3 ประเด็น) โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ด้านพลังงาน ได้แก่ 3.1 การจัดการทรัพยากรด้าน : พลังงาน ชื่อกิจกรรม : โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานภาครัฐ-โรงเรียนกระสังพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ SOLAR CELLS ) ผู้รับผิดชอบ : โรงเรียนกระสังพิทยาคม ผู้ร่วมกิจกรรม : ครู140 คน บุคลากร 57 คน นักเรียน 2,864 คน ทุกคน โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานภาครัฐ-โรงเรียนกระสังพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ SOLAR CELLS ) ความเป็นมาและความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเพื่อจัดทำโครงการ โรงเรียนกระสังพิทยาคม มีการใช้ไฟฟ้าที่สูง เนื่องจาก มีความจำเป็นต้องใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นจำนวนมาก เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน หลอดไฟส่องสว่าง เครื่องปรับอากาศ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ มีค่าไฟสูงสุด เดือนละประมาน 1 แสนบาท งบประมาณที่ได้รับ คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้อนุมัติ มีมติเห็นชอบ ในการประชุม ครั้งที่ 2/2560 (ครั้งที่ 55) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560 โดยมีหน่วยงานสนับสนุนจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงานและกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน วงเงินที่ได้รับการสนับสนุน จำนวน 12,256,020 บาท แบบคำขอรับการสนับสนุนโครงการ


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 12 จาก 29 โรงเรียนกระสังพิทยาคมได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้เกิด การอนุรักษ์พลังงาน ดังนี้ 1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ LED ขนาดไม่เกิน 18 W จำนวน 933 หลอด 2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ LED ขนาดไม่เกิน 9 W จำนวน 105 หลอด 3. หลอด LED ขั่ว E27 จำนวน 23 หลอด 4. โคม LED Floodlight จำนวน 19 ชุด 5. โซล่าร์เซลล์


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 13 จาก 29 ตารางแสดงพื้นที่การติดตั้ง แต่ละแผงสามารถผลิตกำลังไฟได้ 310 watt สามารถผลิตกำลังไฟได้ทั้งหมด 194.68 KW ภาพการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์(SOLAR CELL) ข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) โรงเรียนกระสังพิทยาคม อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ . โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานภาครัฐ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2560


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 14 จาก 29 ตารางการเปรียบเทียบค่าไฟ หมายเหตุ เริ่มใช้ระบบโซลาเซลล์ เมื่อเดือน กันยายน 2561 มาตรการ : โปรดแนบหลักฐานประกอบ (ถ้ามี) ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.1.1 ภาพก่อนการติดตั้ง โครงสร้างรองรับแผง (Mounting) อาคาร 3 ภาพที่ 3.1.2 ภาพติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Sola Cell) แล้วเสร็จ อาคาร 3 1,180,087.52 785,873.55 682,085.35 614,586.23642,042.29 1,103,402.49 367,686.90 0.00 200,000.00 400,000.00 600,000.00 800,000.00 1,000,000.00 1,200,000.00 1,400,000.00 ยงัไม่ตดิตงั้ (ก.ย. 60-ส.ค.61) เริ่มใช้ปี่ที่1 (ก.ย. 61-ส.ค.62) เริ่มใช้ปี่ที่2 (ก.ย. 62-ส.ค.63) เริ่มใช้ปี่ที่3 (ก.ย. 63-ส.ค.64) เริ่มใช้ปี่ที่4 (ก.ย. 64-ส.ค.65) เริ่มใช้ปี่ที่5 (ก.ย. 65-ส.ค.66) เริ่มใช้ปี่ที่6 (ก.ย. 66- ปัจจุบัน) ค่าไฟฟ้าในรอบปี


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 15 จาก 29 ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.1.3 ภาพก่อนการติดตั้ง โครงสร้างรองรับแผง (Mounting) อาคาร 5 ภาพที่ 3.1.4 ภาพติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) แล้วเสร็จ อาคาร 5 ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.1.5 ภาพการดำเนินงานติดตั้ง อุปกรณ์แปลง กระแสไฟฟ้า (Inverter) อาคาร 4 ภาพที่ 3.1.6 ภาพติดตั้ง อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) แล้วเสร็จ อาคาร 4


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 16 จาก 29 ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.1.7 ภาพการทำความสะอาด แผงโซล่าร์เซลล์ อาคาร 4 ภาพที่ 3.1.8 ภาพการตรวจสอบ เช็คความเรียบร้อยเครื่อง แปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) แล้วเสร็จ อาคาร 4 3.2 การจัดการทรัพยากรด้าน : ขยะ ชื่อกิจกรรม : โรงเรียน 5ส ผู้รับผิดชอบ : โรงเรียนกระสังพิทยาคม ผู้ร่วมกิจกรรม : ครู 140 คน บุคลากร 57 คน นักเรียน 2,864 คน ทุกคน ด้วยโรงเรียนกระสังพิทยาคมมีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน สิ่งสำคัญ ประการหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ คือ สถานที่ปฏิบัติงานหรือเขตพื้นที่ ให้บริการซึ่งให้บริการทั้งบุคคลภายในและภายนอกโรงเรียน ดังนั้นจึงต้องจัดระเบียบอำนวยความสะดวก สะอาด ปลอดภัย น่าดู น่าชม พร้อมที่จะบริการและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จากเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนจึงได้จัดโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยใช้กิจกรรม 5ส ขึ้น ซึ่งเป็น 5ส ปัจจัยพื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพงาน คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย โดยมีการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1. มีการให้ความรู้สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับบุคลากรทุกคนในโรงเรียน เกี่ยวกับกิจกรรม 5ส 2. การแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบทำความสะอาดให้นักเรียนทุกห้องเรียน 3. จัดตารางการทำกิจกรรม big cleaning day ประจำเดือน ในส่วนของห้องสำนักงานและห้องเรียน 4. มีการประกวดห้องสำนักงานและห้องเรียนตามเกณฑ์ ของกิจกรรม 5ส ที่กำหนดไว้ ผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรม 1. บุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนักในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง กิจกรรม 5ส 2. บริเวณเขตพื้นที่ต่างๆในโรงเรียนมีความสะอาดเรียบร้อยสวยงาม


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 17 จาก 29 มาตรการ : โปรดแนบหลักฐานประกอบ (ถ้ามี) ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.2.1 นักเรียนทำความสะอาดห้องเรียน ภาพที่ 3.2.2 นักเรียนทำความสะอาดห้องเรียน ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.2.3 นักเรียนทำความสะอาดห้องเรียน ภาพที่ 3.2.4 นักเรียนทำความสะอาดพื้นที่รับผิดชอบ ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.2.5 ห้องสำนักงาน ภาพที่ 3.2.6 การายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม 5ส 3.3 การจัดการทรัพยากรด้าน : สารเคมี ชื่อกิจกรรม : การปลูกข้าวเหนียวเปลือกมังคุดอินทรีย์ ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ผู้ร่วมกิจกรรม : ครู 140 คน บุคลากร 57 คน นักเรียน 2,864 คน ทุกคน


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 18 จาก 29 การผลิตข้าวเหนียวเปลือกมังคุดอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด อาทิเช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าว ที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตร แบบยั่งยืนอีกด้วย การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จาก ธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ย อินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว โดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม มีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตาม ธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติ เช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ ขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพันธุ์ข้าว การคัดเลือกพันธุ์ข้าว 1. คัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่นา เช่น ข้าวพันธุ์ กข. 6 จะชอบพื้นที่ในที่ลุ่มมีน้ำ ขังตลอด ตั้งแต่ปักดำจนถึงออกรวงและมีแป้ง จึงจะปล่อยน้ำออกจากคันนาได้และได้ผลผลิตดีแต่ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิจะขึ้น ได้ดีทุกพื้นที่ ขอแต่ให้มีน้ำขังเนื่องจากการทำนา สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีน้ำ 2. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว คัดเลือกแปลงข้าวที่มีต้นข้าว รวงข้าว เมล็ดข้าวที่โตแข็งแรง เมล็ดข้าว แก่จัด เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ ถอนออกเป็นรวง ๆ ที่สมบูรณ์ที่สุดแยกเก็บไว้ แล้วนำมาแยกเมล็ดข้าวและฟางข้าว ออกจากกัน จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออก ส่วนเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ตากให้แห้ง แล้วเก็บไว้ทำพันธุ์ในปีต่อไป ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมพื้นที่ทำนา 1. การเตรียมคูคันนาการทำนาจะต้องเตรียมคูคันนาให้มีความสูงประมาณ 50 - 70 เซนติเมตร ความหนา 60 -80 เซนติเมตร เพื่อกักเก็บน้ำ เพราะข้าวจะขาดน้ำไม่ได้ ถ้าไม่มีน้ำขังจะเกิด พวกวัชพืชในข้าว ทำให้ ข้าวเจริญเติบโตช้าเสียเวลาในการกำจัดวัชพืช คันนาควรใส่ท่อระบายน้ำ เพราะถ้าช่วงแรกในการปักดำไม่ควรให้ ระดับน้ำสูงมากกว่า 10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวยังไม่แข็งแรงพอ ถ้ามีน้ำในแปลงนามากจะทำให้ต้นข้าวเน่าได้ ควรมีท่อระบายน้ำออก 2. ปรับพื้นที่ในคันนาให้มีระดับเท่ากัน อย่าให้มีระดับน้ำเอียงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อจะได้ขังน้ำอยู่ ระดับเดียวกัน ถ้าหากพื้นที่นามีความลุ่ม มีระดับพื้นที่ในระดับเดียวกันก็ไม่มีความจำเป็นในการปรับพื้นที่ 3. หลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จ พื้นที่นายังมีฟางข้าวมีหญ้า เราควรนำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ หว่าน ทั่วไป โดยคิดเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำยาจุลินทรีย์ ให้ทั่วแล้วไถกลบฟางข้าว จุลินทรีย์ จะช่วย ย่อยสลายฟางข้าว ให้เน่าเปื่อย ทำให้ดินร่วนซุยเป็นอาหารของข้าวต่อไป สำหรับขั้น ตอนนี้ควรทำในช่วงเดือน ธันวาคม เพราะในช่วงนี้เป็นหน้าหนาว มีหมอกลงเหมาะในการขยายตัวของ เชื้อจุลินทรีย์


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 19 จาก 29 ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะต้นกล้าข้าว นำน้ำจุลินทรีย์มาหมักเมล็ดข้าว โดยให้น้ำจุลินทรีย์ท่วมเมล็ดข้าว หากมีเมล็ดข้าวฟูน้ำให้เก็บออก ให้หมด ควรแช่เมล็ดข้าวประมาณ 2 - 3 วัน แล้วนำขึ้นจากน้ำมาพักไว้สัก 1 วัน แล้วนำมา หว่านในแปลงที่เตรียม ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะต้นกล้าข้าว เมื่อถึงฤดูการทำนาในช่วงเดือนมิถุนายน ควรเตรียมพื้นที่สำหรับกล้าพันธุ์ข้าว คือ เตรียมแปลง สำหรับเพาะพันธุ์ข้าว ซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้ 1. ที่ดินร่วนซุย 2. อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น สระน้ำ หนองน้ำ ถ้าหากฝนทิ้งช่วงจะได้อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำได้ ขั้นตอนที่ 5 การเตรียมแปลงเพาะกล้าพันธุ์ข้าว 1. พื้นที่ที่มีน้ำขังพอที่จะหว่านกล้า ทำการไถและคราดดินให้ร่วนซุย โดยปรับระดับพื้นให้เสมอกัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้มาหว่าน อย่าให้หนาหรือห่างจนเกินไป 2. ประมาณ 10 – 15 วัน ต้นกล้าแข็งแรง นำน้ำจุลินทรีย์ผสมน้ำพ่นต้นกล้า ใช้อัตราส่วน น้ำจุลินทรีย์3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลง 3. ขังน้ำใส่ต้นกล้า อย่าให้น้ำขาดจากแปลง 4. ก่อนจะถอนต้นกล้า 5 วัน ควรพ่นน้ำจุลินทรีย์เพื่อให้รากฟูจะได้ถอนง่าย ขั้นตอนที่ 6 การปักดำ ในช่วงก่อนการปักดำ ควรขังน้ำไว้ในนา เพื่อจะทำให้ดินนิ่ม ดินไม่แข็ง ง่ายในการไถดำ 1. เมื่อถึงเวลาดำนา ควรปล่อยน้ำที่ขังออก ให้เหลือไว้ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร อย่าให้น้ำมาก หรือน้อยจนเกินไป ถ้าน้ำมากจะทำให้ต้นกล้าเปื่อย หากน้ำน้อยจากฝนขาดช่วงจะทำให้ต้นกล้าขาดน้ำ เพราะการทำ นายังอาศัยน้ำฝน จากธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน 2. ไถนาและคราดที่นาให้ดินร่วนซุย นำต้นกล้ามาปักดำ ความห่างระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ปักต้นกล้ากอละประมาณ 2-3 ต้น เพื่อให้แตกกอได้ดี 3. เมื่อปักดำประมาณ 15 วัน นำจุลินทรีย์ผสมน้ำพ่นต้นข้าวในนา เพื่อกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ที่หว่าน ตอนเตรียมที่ดิน และจะทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเติบโต และทนต่อศัตรูข้าว 4. คอยหมั่นดูแลต้นข้าว และดูแลระดับน้ำอย่าให้ขาดในนาข้าว หมั่นรักษาไม่ให้วัชพืชขึ้นในนาข้าว และพ่นจุลินทรีย์ในทุก ๆ 20 วัน จนถึงข้าวตั้งท้องแล้วจึงงดการพ่นจุลินทรีย์ แต่ยังคงรักษาระดับน้ำในนาอย่าให้ขาด 5. เมื่อข้าวแก่พอสมควรก็ปล่อยน้ำออกจากนา และเตรียมเก็บเกี่ยวต่อไป ขั้นตอนที่7 การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ศัตรูข้าวที่สำคัญในระยะแรกของการเจริญเติบโตของข้าว คือ ปูและหอยเชอรี่ ซึ่งเกษตรกรแก้ไข โดยการลดระดับน้ำในนา จับมาบริโภค ทำน้ำหมักชีวภาพ หรือใช้วิธีใส่ต้นพืช เช่น โล่ติ้นหรือหางไหลกำจัด ในระยะ ข้าวแตกกอมีแมลงบั่วทำลายรุนแรงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัด รวมทั้งโรคไหม้ที่จะรุนแรงในบางปีและไม่ ป้องกันกำจัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตพบว่า ต้นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี มีความแข็งแรงและทนทาน ต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวที่ปลูกแบบหว่านข้าวแห้งมีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ รวมทั้ง สังเกตเห็นการเพิ่มขึ้นของศัตรูธรรมชาติในนา เช่น แมลงปอ ด้วงเต่า แตนเบียน เป็นต้น


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 20 จาก 29 ขั้นตอนที่ 8 การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากขั้นตอนนี้มาก โดยเฉพาะจากฝนตกช่วงก่อน – หลัง การเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม การจัดการแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน หลังจากนั้นนำมารวมกองไว้รอคนนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังกรณีที่เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้า เพราะจะ เกิดการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด จึงต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน ข้าวเปลือกที่ได้จะมี ความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดและคัดชิ้นส่วน ข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว ทั้งนี้ จะต้องติดรหัสของนาข้าวหรือของเกษตรกรที่กระสอบข้าวด้วย มาตรการ : โปรดแนบหลักฐานประกอบ (ถ้ามี) ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.3.1 อุปกรณ์ในการทำนา ภาพที่ 3.3.2 การเตรียมข้าวสำหรับหว่าน ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.3.3 เตรียมแปลงสำหรับหว่านต้นกล้า ภาพที่ 3.3.4 การหว่านข้าวเตรียมต้นกล้า


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 21 จาก 29 ภาพก่อนดำเนินการ ภาพหลังดำเนินการ ภาพที่ 3.3.5 การเตรียมแปลงนาสำหรับหว่านข้าว ภาพที่ 3.3.6 หว่านข้าวสำหรับทำต้นกล้า ภาพที่ 3.3.5 ถอนต้นกล้า ภาพที่ 3.3.6 เตรียมตันกล้าเพื่อไปดำนา ภาพที่ 3.3.5 การดำนาของผู้บริหาร ครู และนักเรียน ภาพที่ 3.3.6 ข้าวกำลังออกรวง


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 22 จาก 29 0 ภาพที่ 3.3.5 ภาพการเก็บเกี่ยว ภาพที่ 3.3.6 ภาพการเก็บเกี่ยว 4. การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา 4.1 อธิบายกิจกรรมหรือการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในโรงเรียนในการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล (โปรดแนบเอกสาร/หลักฐานประกอบ) โรงเรียนกระสังพิทยาคมมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน อันประกอบด้วย “โรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นพื้นที่ ปลอดภัย เลิศล้ำวิถีพุทธ บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน” ซึ่งส่งเสริมให้ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้คุณธรรม นำความรู้ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาและเพิ่มพูนทักษะวิชาการงานอาชีพสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนจึงได้ส่งเสริมกิจกรรม/การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในโรงเรียนในการดำเนินงาน โรงเรียนอีโคสคูล ด้วยกิจกรรมหลัก ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนดำเนินงาน และครู บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักเรียน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานดังต่อไปนี้ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามพันธกิจที่ 2 หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ในรูปแบบ “ชุมนุมธนาคารขยะ” ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนได้ขับเคลื่อนให้ชุมนุมนี้ และมีดำเนินงาน อันส่งผลให้ครู บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักเรียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของขยะ และวิธีการคัดแยกขยะ มีการจัดตั้ง คณะกรรมการดำเนินงานธนาคารขยะ มีการศึกษารูปแบบการรับซื้อและราคาจากร้านรับซื้อของเก่าในอำเภอกระสัง มีการดำเนินการรับซื้อขยะ และการแยกขยะในโรงเรียน รวมทั้งมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์สู่อาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียน ทั้งนี้ มีผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน เป็นผู้นำกิจกรรม รวมทั้ง ครูจำนวน 140 คน บุคลากรทางการ ศึกษา จำนวน 57 คน และนักเรียน จำนวน 2,864 คน ที่มีส่วนรวมในการดำเนินงานและส่งเสริม “ชุมนุมธนาคาร ขยะ” คิดเป็นร้อยละ 100


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 23 จาก 29 2) กิจกรรมตามพันธกิจที่ 3.1 กิจกรรมการจัดการทรัพยากรด้านพลังงาน ในรูปแบบ “โครงการส่งเสริมการ ใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานภาครัฐ-โรงเรียนกระสังพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์ แสงอาทิตย์ SOLAR CELLS)” ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ เนื่องจากโรงเรียนมีการใช้ไฟฟ้า ที่สูง ซึ่งผลให้ค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับที่สูงเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน จึงความจำเป็นในการใช้พลังงานทดแทน โรงเรียน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ มีผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน เป็นผู้นำกิจกรรม รวมทั้ง ครูจำนวน 140 คน บุคลากรทางการ ศึกษา จำนวน 57 คน และนักเรียน จำนวน 2,864 คน ที่มีส่วนรวมในการดำเนินงานและส่งเสริม “โครงการส่งเสริม การใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานภาครัฐ-โรงเรียนกระสังพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์ แสงอาทิตย์ SOLAR CELLS)” คิดเป็นร้อยละ 100 3) กิจกรรมตามพันธกิจที่ 3.2 กิจกรรมการจัดการทรัพยากรด้านขยะ ด้วยการขับเคลื่อน “กิจกรรมโรงเรียน 5ส” ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนได้ขับเคลื่อนกิจกรรม เพื่อให้ความรู้สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับบุคลากรทุกคนในโรงเรียน เกี่ยวกับกิจกรรม 5ส แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบทำความสะอาดให้นักเรียนทุกห้องเรียน จัดตารางการทำกิจกรรม Big Cleaning Day ประจำเดือน ในส่วนของห้องสำนักงานและห้องเรียนและจำ รวมทั้งประกวดห้องสำนักงานและ ห้องเรียนตามเกณฑ์ ของกิจกรรม 5ส ที่กำหนดไว้ อันส่งผลให้บุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนักในการร่วมกัน รักษาสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง กิจกรรม 5ส และบริเวณเขตพื้นที่ต่าง ๆ ในโรงเรียนมีความสะอาดเรียบร้อยสวยงาม ทั้งนี้ มีผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน เป็นผู้นำกิจกรรม รวมทั้ง ครูจำนวน 140 คน บุคลากรทางการ ศึกษา จำนวน 57 คน และนักเรียน จำนวน 2,864 คน ที่มีส่วนรวมในการดำเนินงานและส่งเสริม “กิจกรรมโรงเรียน 5ส” คิดเป็นร้อยละ 100 4) กิจกรรมตามพันธกิจที่ 3.3 กิจกรรมการจัดการทรัพยากรด้านสารเคมี ผ่านกิจกรรม “การปลูกข้าวเหนียว เปลือกมังคุดอินทรีย์” ซึ่งผู้บริหารได้เป็นผู้นำกิจกรรม เพื่อส่งเสริมระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุก ชนิด ส่งผลให้ข้าวอินทรีย์มีผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษ ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย ทั้งนี้ มีผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน เป็นผู้นำกิจกรรม รวมทั้ง ครูจำนวน 140 คน บุคลากรทางการ ศึกษา จำนวน 57 คน และนักเรียน จำนวน 2,864 คน ที่มีส่วนรวมในการดำเนินงานและส่งเสริม “การปลูกข้าว เหนียวเปลือกมังคุดอินทรีย์” คิดเป็นร้อยละ 100 4.2 ระดับการมีส่วนร่วม 4.2.1 จำนวนห้องเรียน และระดับชั้นที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูลตามพันธกิจ ที่ 2 และ 3 โรงเรียนกระสังพิทยาคมมีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 74 ห้อง จากระดับชั้นทั้งหมด 6 ระดับชั้น ที่ร่วม เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูลตามพันธกิจที่ 2 และ 3 คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งนี้ ระดับชั้นทั้งหมด 6 ระดับชั้น คิดเป็นร้อยละ 100 พิจารณาจาก 1) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 24 จาก 29 5) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 6) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และห้องเรียนทั้งหมด 74 ห้อง คิดเป็นร้อยละ 100 พิจารณาจาก 1) ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 13 ห้องเรียน (ม.1/1 - ม.1/13) 2) ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 ห้องเรียน (ม.2/1 - ม.2/12) 3) ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 ห้องเรียน (ม.3/1 - ม.3/12) 4) ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 ห้องเรียน (ม.4/1 - ม.4/13) 5) ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 ห้องเรียน (ม.5/1 - ม.5/12) 6) ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 ห้องเรียน (ม.6/1 - ม.6/12) 4.2.2 ร้อยละของจำนวนครูและบุคลากร ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล (โดยคำนวนจากจำนวนครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน) จากการดำเนินงาน ครูจำนวน 140 คน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 57 คน มีส่วนร่วมในการ ดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล คิดเป็นร้อยละ 100 ผลสัมฤทธิ์ภาพรวมที่ได้จากการดำเนินโครงการ (เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านใดบ้าง/อย่างไร) ผลสัมฤทธิ์ภาพรวมที่ได้จากการดำเนินโครงการ มีดังนี้ 1. ด้านผู้เรียนมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรม และมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 99.20 เช่น กิจกรรม ธนาคารขยะ ช่วยลดขยะในโรงเรียน นักเรียนรู้จักวิธีการแยกประเภทของขยะ และวิธีคัดแยกขยะ เป็นการเพิ่ม รายได้ให้กับนักเรียนด้วย เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการขยะของชุมชน กิจกรรมการปลูกข้าวอินทรีย์ปลอด สารเคมี และการปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ ช่วยให้นักเรียนได้นำความรู้ไปใช้และได้ปฏิบัติจริง สามารถสร้างรายได้ ให้กับนักเรียนได้อีกด้วย 2. ด้านครูและบุคลากรในโรงเรียน มีความตระหนักและรู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ครูและ นักเรียนช่วยกันคัดแยกขยะในโรงเรียน ครูและนักเรียนช่วยกันดำนา เกี่ยวข้าวอินทรีย์ของโรงเรียน กิจกรรม 5ส ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข 3. ด้านสถานศึกษา ลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น เมื่อโรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนใน หน่วยงานภาครัฐ (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ SOLAR CELLS ) ทำให้ค่าไฟฟ้าแต่ละเดือนลดลงมาก เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ ทำให้มีเงินเหลือที่จะนำมาพัฒนาโรงเรียนด้านอื่นได้มากขึ้น 4. ด้านชุมชน มีการสนับสนุนส่งเสริมโครงการของโรงเรียนด้วยความเต็มใจตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วม ด้วยช่วยกันทำให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 25 จาก 29 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินความพึงพอใจโครงการธนาคารขยะ ตารางที่ 1 แสดงเพศของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม เพศ จำนวน ร้อยละ ชาย 19 38.00 หญิง 31 62.00 รวม 50 100.00 จากตารางที่ 1 พบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 62.00 รองลงมาเป็นเพศชาย จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 38.00 ตารางที่2 แสดงช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม อายุ จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่า 20 ปี 25 50.00 20 – 30 ปี 5 10.00 31-40 10 20.00 41-50 5 10.00 51 ปีขึ้นไป 5 10.00 รวม 50 100.00 จากตารางที่ 2 พบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ ต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมา อายุ 31 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.00 อายุ 20 – 30 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 อายุ 41-50 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 อายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 26 จาก 29 ตารางที่ 3 แสดงสถานะของผู้ตอบแบบสอบถาม สถานะ จำนวน ร้อยละ ผู้บริหาร 5 10.00 ครู 10 20.00 นักเรียน 25 50.00 ผู้ปกครอง 10 20.00 รวม 50 100.00 จากตารางที่ 3 พบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาเป็นครู จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ผู้ปกครอง จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ผู้บริหาร 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 ตารางที่ 4 แสดงระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่าปริญญาตรี 30 60.00 ปริญญาตรี 12 24.00 สูงกว่าปริญญาตรี 8 16.00 รวม 50 100.00 จากตารางที่ 4 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมา ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24 น้อยที่สุด สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 27 จาก 29 ตารางที่ 5 ความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการธนาคารขยะ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ระดับ คุณภาพ มากที่สุด 5 ร้อยละ มาก 4 ร้อยละ ปานกลาง 3 ร้อยละ น้อย 2 ร้อยละ น้อย ที่สุด 1 ร้อยละ 1. การประชาสัมพันธ์ โครงการ ฯ 96 4 - - - 4.96 มากที่สุด 2. ความเหมาะสมของ สถานที่ 96 4 - - - 4.96 มากที่สุด 3. ความเหมาะสมของ ระยะเวลา 94 4 2 - - 4.92 มากที่สุด 4. ความพร้อมของการจัด โครงการ/กิจกรรม 96 4 - - - 4.96 มากที่สุด 5. การมีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรม 96 4 - - - 4.96 มากที่สุด 6. ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากโครงการ 98 2 - - - 4.98 มากที่สุด 7. ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับ จากโครงการ/กิจกรรมนี้ไปใช้ 98 2 - - - 4.98 มากที่สุด 8. เอกสารใบความรู้ 98 2 - - - 4.98 มากที่สุด 9. ประโยชน์ที่ได้รับจาก โครงการ/กิจกรรม 98 2 - - - 4.98 มากที่สุด 10. ควรจัดกิจกรรมนี้ต่อไป เรื่อย ๆ 98 2 - - - 4.98 มากที่สุด รวมเฉลี่ย 96.80 3.00 0.20 0 0 4.96 มากที่สุด จากตารางที่ 5 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจ เฉลี่ย 4.96 คิดเป็นร้อยละ 99.20


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 28 จาก 29 ข้อเสนอแนะ 1. อยากให้มีกิจกรรมเเบบนี้อีกค่ะ 2. กิจกรรมน่าสนใจ 3. ลดขยะในโรงเรียนได้ดี 4. สามารถเพิ่มรายได้ 5. ได้เรียนรู้การจัดการขยะ 6. ได้รับความรู้สามารถนำไปประยุกใช้ได้จริง 7. ดีเยี่ยมควรมีทุกๆปีเลย ข้อจำกัด/ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ นักเรียนบางคน ส่วนน้อยที่ยังขาดจิตสำนึก ยังทิ้งขยะไม่เป็นที่ ไม่คัดแยกขยะ ทำให้ห้องเรียนสกปรก คุณครู ต้องคอยช่วยกันดูแลและว่ากล่าวตักเตือน แนวทางการดำเนินโครงการในอนาคต (ถ้ามี) 1. ติดตั้งแผง SOLAR CELLS ทุกอาคารและวางแผนบริหารจัดการให้ทุกอาคารเรียนสามารถใช้พลังงาน จาก SOLAR CELLS ได้ 2. จัดอบรมให้นักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนได้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถมีความรู้ความเข้าใจและเข้าถึงได้ทุกคน 3. วางแผนการจัดกิจกรรมให้ต่อเนื่องระบุโครงการ กิจกรรมลงในแผนปฏิบัติการประจำในทุกๆปี และร่วม ระดมแนวทางการออกแบบกิจกรรมจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประสานความ ร่วมมือจากองค์กรภายนอกเพื่อสนับสนุนให้กิจกรรมดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนและ ขับคลื่อนกิจกรรมจากการเป็นโรงเรียนอีโคสคูลระดับต้นไปสู่โรงเรียนอีโคสคูลระดับกลางต่อไป ยืนยันข้อมูล ขอยืนยันว่าข้อมูลที่รายงานเป็นข้อมูลที่ได้จากการดำเนินโครงการอีโคสคูลของโรงเรียน โดยมีครูผู้รับผิดชอบ โครงการเป็นผู้รายงาน ลงชื่อ (ผู้รายงาน) ( นายชัยพร พันธุ์ยุลา ) ตำแหน่ง ครู วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ผู้รายงาน) ( นางอนุช อาจสาลี ) ตำแหน่ง ครู วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ผู้รายงาน) ( นายชัชวาล ทะนวนรัมย์ ) ตำแหน่ง ครู วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ผู้รายงาน) ( นายปิติภูมิ กีรติธร) ตำแหน่ง ครู วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567


รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น หน้า 29 จาก 29 การรับรองของศึกษานิเทศก์ที่กำกับดูแล (ถ้ามี) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ (ศึกษานิเทศก์ผู้รับรอง) ( นายทัศวิน โขรัมย์ ) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ศึกษานิเทศก์ผู้รับรอง) ( นางสาวสุพิชฌาย์ ศรีโคตร ) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ศึกษานิเทศก์ผู้รับรอง) ( นางสาวรพีพรรณ สาลีรัมย์ ) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ศึกษานิเทศก์ผู้รับรอง) ( นางสาวสมนึก นครวงศ์ ) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 การรับรองของผู้บริหารสถานศึกษา ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงทุกประการ พร้อมได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ (ผู้รับรอง) ( นายทองพูน ดัชถุยาวัตร ) ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนกระสังพิทยาคม วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ผู้รับรอง) ( นายนิรุตน์ อะทะขันธ์ ) ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนกระสังพิทยาคม วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ผู้รับรอง) ( นายชยพล สมคิด ) ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนกระสังพิทยาคม วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ผู้รับรอง) ( นายธีรภัทร์ สัตตารัมย์ ) ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนกระสังพิทยาคม วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 ลงชื่อ (ผู้รับรอง) ( นายไพบูลย์ มั่นยืน ) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนกระสังพิทยาคม วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567


Click to View FlipBook Version