The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tongadd14, 2021-09-22 22:58:01

หนังสือ

หนังสือ

Keywords: หนังสือ

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา

อาจารย์สอนช้าไม่มีวัน

“เลิกเร็ว”

โดย
นางสาวเฟื่ องฟ้า คำรักษ์
ปวส.1 สาขาวิชาออกแบบ

นิเทศศิลป์
วิทยาลัยอาชีวศึกษา

เพชรบุรี

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ (E-book)

เพิ่มหัวเรื่องย่อยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ย่อมาจากคำว่า
Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทาง
หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์

วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(E-Book)

แนวความคิดเกี่ยวกับหนั
งสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นภาย

หลัง ปี ค.ศ. 1940 โดยปรากฏในนวนิยายวิทยาศาสตร์ต่อ
มาได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
สแกนหนังสือจัดเก็บข้อมูล เป็นแฟ้มภาพตัวหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ และนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่าน
กระบวนการแปลงภาพเป็นข้อความด้วยการทำ OCR
(Optical Character Recognition) โดยใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นข้อความที่
สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้การถ่ายทอดข้อมูลจะถ่ายทอดผ่าน
ทางแป้นพิมพ์

และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือ และ
ข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หน้ากระดาษจึงเปลี่ยน
รูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูลแทนทั้งยังมีความสะดวกต่อการ
เผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (Documents
printing) ทำให้รูปแบบ ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุค
แรก ๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภทไฟล์ .doc .txt .rtf
และ .pdf

เมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext
Markup Language) ข้อมูลต่าง ๆ จึงถูกออกแบบ และ
ตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยปรากฏในแต่ละหน้าของ
เว็บไซต์ซึ่งเรียกว่า “web page” ผู้อ่านสามารถเปิดดู
เอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (Web
browser)ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผล
ข้อความภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น
บริษัท ไมโครซอฟท์ ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้
คำแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของ
ไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่าน คือ Microsoft Reader
และหลังจากนั้นมีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิต
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับ
หนังสือทั่วไป

กล่าวคือ สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัด
หน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษ
กว่านั้น คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้าง
จุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่
เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกได้ อีกทั้งยัง
สามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปใน
หนังสือได้ คุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือ

ทั่วไปป ระเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้
คือ
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบตำรา (Textbook)

มีรูปแบบหนังสือปกติที่พบเห็นทั่วไป เป็นการ
แปลงหนังสือจากสภาพสิ่งพิมพ์ปกติ เป็นสัญญาณ
ดิจิตอล เพิ่มศักยภาพเดิมการนำเสนอ การปฏิสัมพันธ์
ระหว่างผู้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยศักยภาพของ
คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การ
สืบค้น การคัดเลือก เป็นต้น

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเสียงอ่าน
เมื่อเปิดหนังสือ จะมีเสียงคำอ่าน หนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้เหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน
หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรือ ฝึกพูด (Talking Book )
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นการเน้นคุณลักษณะด้าน
การนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร และเสียงเป็น
คุณลักษณะหลัก นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับลักษณะ
ทางภาษาโดยเฉพาะด้านการฟั งหรือการอ่านค่อนข้างต่ำ
เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็กๆ หรือผู้ที่
กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่ เป็นต้น
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง หรืออัลบั้ม
ภาพ (static Picture Book)

เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณลักษณะหลักเน้น
จัดเก็บข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิ่ง(static
picture) หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำ
ศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การ
เลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพของ
คอมพิวเตอร์ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร
การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ
การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping) หรือเพิ่มข้อมูล
เชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูล
อธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ เป็นต้น

4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว
(Moving Picture Book)

เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลใน
รูปแบบภาพวีดีทัศน์ (Video Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ
(Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัว
หนังสือ (Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชม
ศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลเหตุการณ์
ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์
สงครามโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญๆ
ของโลกในโอกาสต่างๆ ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือ
สูญเสียของโลก เป็นต้น
5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม
(Multimedia Book)

เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นเสนอข้อมูลเนื้อหา
สาระ ในลักษณะแบบสื่อประสมระหว่างสื่อภาพ (Visual
Media) เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับสื่อประเภท
เสียง (Audio Media)ในลักษณะต่าง ๆ ผนวกกับ
ศักยภาพของคอมพิวเตอร์อื่นเช่นเดียวกับหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว

6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย
(Polymedia book)

เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมแต่มีความหลากหลาย
ในคุณลักษณะด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่
บันทึกในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสือภาพนิ่ง ภาพ
เคลื่อนไหว เสียงดนตรี และอื่นๆ เป็นต้น
7. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเชื่อมโยง (
Hypermedia Book)

เป็นหนังสือที่มีคุณลักษณะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหา
สาระภายในเล่ม (Internal Information Linking) ซึ่งผู้
อ่านสามารถคลิกเพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบเชื่อม
โยงกันภายใน การเชื่อมโยงเช่นนี้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับ
บทเรียนโปรแกรมแบบแตกกิ่ง ( Branching
Programmed Instruction) นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อม
โยงกับแหล่งเอกสารภายนอก (External or Information
Sources) เมื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
8. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ (Intelligent
Electronic Book)

เป็นหนังสือประสม แต่มีการใช้โปรแกรมชั้นสูงที่
สามารถมีปฏิกิริยา หรือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านเสมือนหนังสือ
มีสติปั ญญา (อัจฉริยะ) ในการไตร่ตรอง หรือคาดคะเนใน
การโต้ตอบหรือปฏิกิริยากับผู้อ่าน

9. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อหนังสือทางไกล
(Telemedia Electronic Book)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีคุณลักษณะหลัก
ต่างๆ คล้ายกับ Hypermedia Electronic Books แต่
เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอกผ่านระบบเครือ
ข่าย (Online Information Sourcess) ทั้งที่เป็นเครือ
ข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย
10. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์สเปซ
(Cyberspace book)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีลักษณะเหมือนกับ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายๆ แบบที่กล่าวมาแล้วผสมกัน
สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและ
ภายนอกสามารถนำเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลาย
สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลาย

โครงสร้างทั่วไปของหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์

ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมี
ความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หาก
จะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต
รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือลักษณะโครงสร้างของ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไป
ที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้
ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่าน
หนังสือ
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบ
ด้วย
1. หน้าปก (Front Cover)

หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก
เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
2. คำนำ (Introduction)

หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือ
เล่มนั้น
3. สารบัญ (Contents) หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่อง
สำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้า
ใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายใน
เล่มได้

4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏ
ภายในเล่ม ประกอบด้วย
4.1 หน้าหนังสือ (Page Number)
4.2 ข้อความ (Texts)
4.3 ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png,
.tiff
– เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
– ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav,
.avi
– จุดเชื่อมโยง (Links)
5. อ้างอิง (Reference)
หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร
ตำรา หรือ เว็บไซต์
6. ดัชนี (Index)
หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายใน
เล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหา
พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง (Back Cover)
หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือ ซึ่งอยู่ส่วนท้ายเล่ม

ประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

e-Book

สำหรับผู้อ่าน


1. ขั้นตอนง่ายในการอ่าน และค้นหาหนังสือ

2. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บหนังสือ

3. อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

สำหรับห้องสมุด

1. สะดวกในการให้บริการหนังสือ

2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากในการจัดเก็บหนังสือ และไม่

เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม จัดเก็บ และการจัดเรียง

หนังสือ

4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลและ

ซ่อมแซมหนังสือ

5. มีรายงานแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ

สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน

1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ

2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ
3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ
4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ
5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน

ข้อดีและข้อเสียของหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีดังต่อไปนี้
1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้
ตลอดและได้จำนวนมาก
2. ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำ
กระดาษ
3. เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัด
ค่าเก็บรักษา
4. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ
5. ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ e-
Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)
6. อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย
7. ทำสำเนาได้ง่าย
8. จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ
9. อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหาย
เหมือนกระดาษ
10. สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถ
เลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที
11. เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้
กระดาษกับ True e-Book

ข้อเสียของ e-Book มีดังต่อไปนี้
1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น
ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์
3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค
4. อาจเกิดปั ญหากับการลง hardware หรือ software
ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
6. การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา
7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
8. ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่
ใหญ่ เป็นต้น

โปรแกรมที่ใช้สร้างหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์

โปรแกรมสำหรับสร้างห
นังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหลาย

แบบหลายประเภท ความยากง่ายซับซ้อนในการใช้งานก็
ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่
ต้องการสร้างทั้งโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แบบ pdf และโปรแกรมสำหรับสร้าง e-book แบบ ePub
หรือ Filp เช่น แนวโปรแกรมที่ใช้สร้างเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น Microsoft Word
Microsoft Power Point และอื่นๆ

ภาพตัวอย่าง โปรแกรม ภาพตัวอย่าง โปรแกรม
Microsoft Word Microsoft Power Point

โปรแกรม desktop author
เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่

ได้รับความนิยมซึ่งสามารถพิมพ์ข้อความใส่รูปภาพภาพ
เคลื่อนไหวไฟล์ swf วีดีโอและยังสามารถนำเข้าไฟล์ PDF
ได้

โปรแกรม Flip Album
เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่

ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถพิมพ์ข้อความ
ใส่รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว

โปรแกรม Flash Album Deluxe เป็นซอฟต์แวร์ใน.
โปรแกรมสำหรับการสร้างอัลบั้ม ภาพดิจิตอลที่มีเครื่องมือ
ต่างๆ ที่สามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว มีอัลบั้มที่สวยงาม
โดยไม่ต้องใช้ เวลามากเกินไป สามารถเลือกรูปแบบไฟล์ที่
หลากหลาย เช่น ไฟล์ swf ไฟล์ html และปฏิบัติการอัลบั้ม
ออกมาวางสามารถใช้ร่วมกันในเว็บไซต์ที่บันทึกใน
คอมพิวเตอร์ของคุณหรือใช้เป็นโปรแกรมรักษาหน้าจอ

โปรแกรม Flip pdf Professional
เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมเป็น
อย่างมาก ซึ่งสามารถพิมพ์ข้อความ ใส่
รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวไฟล์ swf
วีดีโอและยังสามารถนำเข้าไฟล์ PDF
ได้ ทั้งยังสามารถสร้างไฟล์หนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ได้หลากหลายรูปแบบไม่
ว่าจะเป็นรูปแบบเว็บเพจ html การทำ
แผ่นซีดีที่เปิดอัตโนมัติ (Autorun CD)

หน่วยที่ 2 หลักการออกแบบหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์

หลักการออกแบบหนังสื
ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง

การนำองค์ประกอบต่างๆ มาจัดหรือรวบรวมเข้าด้วยกัน
อย่างมีระบบไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ หรือพื้นที่ว่างเพื่อ
ออกแบบสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ ที่ต้องการ ก่อนการออกแบบมีการวางแผน
ดังนี้
1. ศึกษา และทำความเข้าใจหนังสือ

ก่อนที่จะทำการออกแบบ นักออกแบบจะต้อง
พยายามหาข้อมูลจากผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์เกี่ยวกับ
– วัตถุประสงค์ในการเขียนหรือจัดทำหนังสือ
– ลักษณะของผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายใด คนกลุ่มนี้มี
พฤติกรรม และความชอบไม่ชอบอย่างไร
– ผู้เขียนมีความคิดหลัก หรือแนวคิดเบื้องหลังของหนังสือ
อย่างไรรวมทั้งเป็นหนังสือประเภทใดและควรจะมี
บุคลิกภาพแบบไหน
2. หลักความสมดุล (Balance)

หมายถึง การกำหนดและการจัดวางองค์ประกอบ
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ หรือพื้นที่ว่างให้มีน้ำหนัก
และขนาดในสัดส่วนที่เท่าๆ กันหรือกันเคียงกันทั้ง 2 ข้าง

3. ความมีเอกภพ (Unity)
หมายถึง การจัดองค์ประกอบให้มีการรวมตัวเป็น

หนึ่งเดียวกัน โดยไม่แตกแยกกระจัดกระจาย สะเปะสะ
ปะ ซึ่งถ้างานออกแบบขาดความเป็นเอกภาพจะทำให้ชิ้น
งานไม่น่าสนใจ
4. การเน้นจุดความสนใจ (Emphasis)

หมายถึง การสร้างจุดสนใจให้เกิดขึ้นในงาน
ออกแบบ โดยการกำหนดบริเวณใดบริเวณหนึ่งในชิ้นงา
นที่่เหมาะสม ให้มีลักษณะพิเศษกว่าบริเวณอื่น เพื่อให้
ดึงดูดความสนใจแก่ผู้อ่าน
5. ความเรียบง่าย (Simplicity)

หมายถึง การวางองค์ประกอบในการจัดภาพควร
เน้นที่มีความเรียบง่าย ไม่รกรุงรังเพราะแม้ว่าผู้ออกแบบ
จะสามารถออกแบบงานหรูหรา แต่หากไม่สามารถสื่อ
ความหมายได้ตามที่ต้องการก็สูญเปล่า
6. สี (Color)

หมายถึง สีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการ
ผลิตงานกราฟิกทุกประเภท แต่ก็ควรจะรู้จดจำ นำมาใช้
ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากการใช้สีจะช่วยในการ
เน้น การแยกแยะหรือเสริมความเป็นเอกภาพของกราฟิก
นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี การออกแบบกราฟิกโดยใช้คุณสมบัติ
ของสีพิจารณาได้จากวงล้อสี เพื่อใช้แนะนำมาช่วยให้ผู้ดู
เกิดการเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างถูกต้อง

เทคนิคการเลือกใช้สี สำหรับการ
ออกแบบ Presentation



สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ
เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม
ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว (monochromatic), สดใส
(bright), สดชื่น (cool), อบอุ่น (warm), หรือการเติม
เต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้น
งานออกแบบ

วงล้อสี (Color wheel) สีคู่ตรงข้าม

(Complementary Color)

สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ
เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม
ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว (monochromatic), สดใส
(bright), สดชื่น (cool), อบอุ่น (warm), หรือการเติม
เต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้น
งานออกแบบ

1. ตัวหนังสือ

การใช้ตัวหนังสือให้เข้ากับ Backgraound เพื่อความ
แตกต่างของสีให้ผู้ชมสามารถอ่านข้อความได้ง่ายขึ้น
– ถ้าตัวหนังสือเป็นสีอ่อน ควรเลือก Backgraound สีเข้ม
– ถ้า Backgraound เป็นสีอ่อน ควรเลือกให้ตัวหนังสือ
เป็นสีเข้ม

2. ใช้สีเพียง 3-4 สีก็พอ

การเลือกใช้สีเพียงแค่ 3-4 สีก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ผู้
ชมสนใจที่จะอ่าน และมองสไลด์ที่คุณออกแบบมา เพราะ
การเลือกใช้ที่เยอะมักจะทำให้ผู้ชมสับสนว่าคุณต้องการจะ
สื่อสารอะไร

3. ใช้ทฤษฎีสี 60-30-10

เลือกใช้สีโดยนำทฤษฎี 60-30-10 โดยการแบ่งการ
ออกแบบสไลด์เป็นหน่วยแบบเปอร์เซ็นต์
60% แรก คือ การใช้สีพื้นของสไลด์
30% สำหรับสีที่ 2 ที่ใช้ในสไลด์
10% สุดท้าย คือ การนำสีไปใช้ในการเน้นหรือไฮไลท์ส่วน
ที่สำคัญของสไลด์
วิธีนี้จะช่วยให้ Balance สีให้เข้ากัน และเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน

สี และจิตวิทยา
สีฟ้า


ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการ
เอางาน ละเอียด รอบคอบสง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็น
ระเบียบถ่อมตน สามารถลดความตื่นเต้น และช่วยทำให้มี
สมาธิ แต่ถ้ามีสีน้ำเงินเข้มเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกซึมเศร้าได้
สีเขียว
เป็นสีในวรรณะเย็น จะสร้างความรู้สึกเย็นสบาย ใช้เป็นสี
ที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ให้ความรู้สึก สงบ เงียบ
ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ
ความปลอดภัยปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น

สีเหลือง
เป็นสีแห่งความเบิกบาน เร้าอารมณ์ และเรียกร้องความ
สนใจ ให้ความรู้สึกแจ่มใสความสดใส ความร่าเริง ความ
เบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การ
แผ่กระจาย อำนาจบารมี ให้ลองสังเกตดูว่า วันที่ท้องฟ้า
มืดครึ้มปราศจากแสงแดด เราจะรู้สึกหงอยเหงา หดหู่ แต่
พอมีแสงแดด ท้องฟ้าสว่าง มีสีเหลือง เราจะรู้สึกมีชีวิต
ชีวาขึ้น
สีแดง
เป็นสีที่สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นสมอง สีแดงปาน
กลางแสดงถึงความมีสุขภาพดีความมีชีวิต ความรัก ความ
สำคัญ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง สีแดงจัดมีความ
หมายแฝงด้านกามารมณ์ นอกจากนี้สีแดงยังสร้างความ
รู้สึกรุนแรง ให้ความรู้สึกร้อน กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว
ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง มันจะใช้กันกรณีที่เกี่ยวกับความตื่น
เต้น หรืออันตราย
สีม่วง
ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ
มีพลังแฝงอยู่ ความรักความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ
ความสูงศักดิ์ เป็นสีที่ปลอบโยน และช่วยลดความเครียด
แต่เดิมสีม่วงได้มาจากสัตว์มีกระดอง,เปลือก ในทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน มีชื่อว่า Purpura จึงได้ชื่อภาษาอังกฤษ
ว่า Purple

สีส้ม
ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัย
รุ่น ความคึกคะนองการปลดปล่อย ความเปรี้ยว การ
ระวังเป็นสีที่เร้าความรู้สึก ปรกติควรใช้แต่น้อยเมื่อเทียบ
กับสีอื่น สังเกตว่าคนที่อยู่ในห้องสีส้มจะอยู่ได้ไม่นาน
สีน้ำตาล
ให้ความรู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อน แต่ควรใช้ร่วมกับสีส้ม
เหลือง หรือสีทอง เพราะถ้าใช้สีน้ำตาลเพียงสีเดียว อาจ
ทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ได้
สีเทา
ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่
ความชรา ความสงบความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน สีนี้
มีข้อดีคือทำให้เย็น แต่สร้างความสร้างความรู้สึก
หม่นหมองได้ ควรใช้ร่วมกับสีที่มีชีวิต โทนสว่างอย่าง
น้อยหนึ่งสี
สีขาว
ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน
เปิดเผย การเกิด ความรัก ความหวัง ความจริง ความ
เมตตา ความศรัทธา ความดีงาม

การออกแบบปก และเนื้อหา
ปกหน้า

ปกหน้าของหนังสือเป็นหน้าที่สำคัญ โดยหน้าปกจะ
ต้องทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจ
ของผู้พบเห็นให้อยากหยิบขึ้นมาดูจากชั้นหนังสือ ในขณะ
เดียวกันปกหน้าหนังสือจะต้องทำหน้าที่สื่อสารให้เห็น
ลักษณะของเนื้อเรื่องภายในหนังสือ
1 .ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง

เป็นองค์ประกอบในส่วนของตัวอักษรที่จะต้องได้รับ
การออกแบบให้โดดเด่นกว่าตัวอักษรอื่นๆ ขนาดของตัว
อักษรที่ใช้เป็นตัวหนังสือมักมีขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้อ่านเห็น
ได้ชัดเจน
– รูปแบบของตัวอักษร จะต้องสะท้อนบุคลิกภาพของ
หนังสือว่าเนื้อเรื่องมีลักษณะเป็นประเภทใด เช่น ใช้ตัว
อักษรที่มีรูปแบบโค้งมนและมีหางลากยาวๆ เป็นต้น
– ตำแหน่งของชื่อหนังสือ อาจจะอยู่ที่ใดในปกหน้าก็ได้
แต่ส่วนใหญ่ นิยมวางไว้ในส่วนบนของหน้า เพราะเป็น
ตำแหน่งที่ผู้พบเห็นจะมองก่อนส่วนอื่นๆ
2. ชื่อผู้แต่งหรือชื่อผู้แปล

เป็นองค์ประกอบในส่วนของตัวอักษรที่มีความ
สำคัญรองลงมาจากชื่อหนังสือ และขนาดของตัวอักษร
ควรมีขนาดเล็กกว่า ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง อย่างน้อยครึ่ง
หนึ่ง เพื่อไม่ให้แย่งกันเด่น ส่วนรูปแบบตัวอักษรมักใช้ตาม
ลักษณะบุคลิกภาพของหนังสือ

3. ภาพประกอบหน้าปก
ปกหนังสือแทบทุกเล่มจะมีภาพประกอบ บางภาพก็

บ่งบอกถึงเนื้อหาได้ดี บางภาพก็ทิ้งปริศนาไว้ให้ครุ่นคิด
หรือบางภาพก็ดูจะไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อหาข้างในเลย แต่
นั่นก็เป็นเสน่ห์ของหนังสือที่ดึงดูดใจให้ผู้อ่านหยิบขึ้นมา
อ่านได้เช่นกัน
4. ข้อความประกอบหน้าปก

อาจมีในหนังสือบางเล่มเพื่อเพิ่มรายละเอียดที่สำคัญ
เพิ่มเติม เช่น หนังสือในชุดนี้มีหลายเล่มข้อความเหล่านี้
ควรได้รับการออกแบบให้มีความสำคัญรองจากชื่อหนังสือ
และชื่อผู้แต่งหรือผู้แปลทั้งในด้านขนาด รูปแบบ ส่วน
ตำแหน่งก็มักวางอยู่เหนือชื่อหนังสือ เช่น มุมขวาบน
5. ตราสัญลักษณ์ของสำนักพิมพ์ (ถ้ามี)

อาจจะอยู่ในหน้าปกหรือในส่วนอื่นๆ เช่น สันหนังสือ
โดยมักไม่ให้มีขนาดใหญ่มากนัก และวางอยู่ในตำแหน่งที่
แยกออกจากองค์ประกอบอื่นๆ อย่างชัดเจน

ปกหลัง

เป็นหน้าที่อาจเว้นว่างไว้หรือใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้
เขียนหนังสือ เช่น ประวัติหรือผลงานในอดีต ซึ่งอาจจะมี
ไว้ในปกด้านในก็ได้

การออกแบบหน้าเนื้อหา

1. หัวข้อของเนื้อหา
ควรมีความโดดเด่น สวยงามกว่าข้อความของเนื้อหา

เพื่อให้เกิดความน่าสนใจซึ่งสามารถตกแต่งให้โดดเด่นได้
ดังนี้

– โดดเด่นขนาด คือ ต้องมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อหาทั่วไป
– เด่นด้วยสี คือ ควรเป็นสีที่สวยงามโดดเด่นจากพื้นหลัง
– เนื้อหาเด่นด้วยตำแหน่ง คือไม่จำเป็นต้องอยู่ต้องกลาง
หน้ากระดาษหรือด้านบนเสมอไปสามารถวางไว้ใน
ตำแหน่งที่เยื้องไปด้านใดด้านหนึ่งได้

2. การสร้างหน้าเนื้อหานั้น ๆ ควรมีทั้งรูปและข้อความ
ไม่ควรมีแต่ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้หน้า
นั้นขาดความน่าสนใจไม่น่าอ่าน ควรมีรูปที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหาเพื่อช่วยในการอธิบายข้อความ อีกทั้งยังทำให้เกิด
ความสวยงาม

3. ไม่ควรวางตำแหน่งข้อความให้ชิดขอบเกินไป
ไม่ว่าจะเป็นขอบด้านบน ชิดขอบด้านล่างชิดด้านซ้าย หรือ
ชิดด้านขวา

4. หากต้องการเน้นเนื้อหาที่เป็นข้อความ
ควรหลีกเลี่ยงการนำรูปภาพมาเป็นพื้นหลังให้กับข้อความ
เนื่องจากจะทำให้ตัวหนังสือไม่ชัดเจน หากต้องการนำ
รูปภาพนั้นเป็นพื้นหลัง ควรเพิ่มรูปร่างให้เป็นกรอบ
ข้อความ และเพิ่มค่าความโปร่งใส จะทำให้ได้ทั้งรูปภาพ
พื้นหลังและได้ตัวเนื้อหาที่ชัดเจน สวยงาม

5. ควรจัดวางตำแหน่งของข้อความที่หลากหลายในแต่ละ
หน้า เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจขณะอ่าน

หน่วยที่ 3 จริยธรรมและคุณธรรมใน

การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และ
อินเตอร์เน็ต

คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีและ
ความถูกต้องซึ่งบุคคลควรยึดมั่นไว้เป็นหลักการในการ
ปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยความประพฤติดีงาม เพื่อ
ประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีล
ธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลัก
กฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ การรู้จักไตร่ตรอง
ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม
คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคน
ซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ

จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนด
ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุม
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งเมื่อ
พิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ
และคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น
ได้แก่

1.ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่

เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิด
เผยให้กับผู้อื่น การละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้า
สังเกต ดังนี้
– การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการ
บันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งการบันทึก-แลก
เปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่ม
ข่าวสาร
– การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือ
พฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการ
ตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของ
พนักงาน
– การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์
ในการขยายตลาด
– การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลข
บัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐาน
ข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

2.ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และ

เรียกใช้ข้อมูล คุณลักษณะที่สำคัญคือความน่าเชื่อถือได้
ของข้อมูลจะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
ความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ดังนั้น การพิจารณา
ให้ความสำคัญกับบุคคลที่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูก
ต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ย่อมมีความสำคัญ
3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะกล่าวถึงการ
ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อเราซื้อโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าเราจ่าย
ค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะ
แตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรม
อนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่บาง
โปรแกรมอนุญาตให้ใช้ได้หลายเครื่อง ตราบใดที่เรายัง
เป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา

การคัดลอกโปรแกรมให้กับบุคคลอื่น เป็นการกระทำ
ที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าท่านมีสิทธิในโปรแกรม
นั้นในระดับใด

4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
คือ การป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลของผู้

ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของ
ข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบเช่น การบันทึก
การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการ
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษา
ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึง
ข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการ
ผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการ
ใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจ
กันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงาน
อย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าว
มาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

บัญญัติ 10 ประการ คุณธรรมและจริยธรรมในการ
ใช้คอมพิวเตอร์

1. ความหมายจรรยาบรรณ
2. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงาน

แต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา
3. และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก

อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม้ก็ได้ จรรยา
บรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลในแต่ละ
กลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรม
และจริยธรรม

จรรยาบรรณผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ควร
ยึดถือไว้

เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเตอร์เน็ตเป็นระเบียบเกิดความรับ
ผิดชอบต่อสังคม
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่
ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจาก
การกระทำ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา
มารยาท

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สิน
ทางปั ญญา 6 ประเภท

1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถของ
องค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม
อี-คอมเมิร์ซ (หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์
ในปั จจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและ
อินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม ที่เรียก
ว่าการโจรกรรมทางออนไลน์ หมายรวมถึง การละเมิด
ลิขสิทธิ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ
จำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการ
คุ้มครองลิขสิทธิ์

3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึง
ระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้
รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการ
เข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยัง
อาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ
(เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)

4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความ
หวาดกลัว การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-
terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์
เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน

5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ การเผยแพร่ภาพลามก
อนาจารในรูปแบบใดๆ ถือเป็นการกระทำ
ที่ขัดต่อกฎหมาย
6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่ง
ทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชน
จำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย
และมีความรับผิดชอบ โดยนักเรียน
ควรได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของ
ตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ต
ในทางที่ผิด

พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2
มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้

1.การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ
200,000 บาท

2.ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับ
สามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม
ปรับ 200,000 บาท

3.ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000บาท
4.กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์

เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิด
มาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

5.กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มี
ผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ
โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3

6.พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของ
เรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเองสามารถ
แจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูล
ออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็น
ในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น
หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่
หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์
จะไม่มีความผิด

7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น
เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ ที่
ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด

8.ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่
สู่ประชาชนได้

9.การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า
ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ

10.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิด
ความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชังญาติ
สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย

11.การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มี
ข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหาเอาผิดผู้โพสต์ได้
และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

12.ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง
รูปภาพ หรือวิดีโอ

13.ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด
ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

หน่วยที่ 4 การสร้างเอกสารต้นแบบด้วย
โปรแกรม microsoft word

สร้างเอกสาร Word
เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Word แล้วจะได้หน้าต่าง

เอกสารว่าง ๆ หนึ่งหน้าพร้อมกับมีเคอร์เซอร์กระพริบอยู่
ถ้าดูที่ไตเติลบาร์ จะพบข้อความว่า Document1 –
Microsoft Word ซึ่งเป็นชื่อของเอกสารที่กำลังถูกเปิด
ใช้งานอยู่

การเปิดแฟ้มเอกสารใหม่

เอกสารใน Word แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
เอกสารใหม่และเอกสารเก่าที่สร้างไว้ แล้ว โดยปกติเมื่อ
เปิด Word ขึ้นมาจะได้เอกสารใหม่ขึ้นมาหนึ่งเอกสาร แต่
ถ้าต้องการจะสร้างเอกสารใหม่ขึ้นมาเอง มีวิธีการสร้าง
ดังนี้

1. คลิกที่คำสั่งแฟ้ม เลือกคำสั่งย่อย สร้าง หรือ
ใช้คีย์ลัดโดยกดที่ปุ่ม <Ctrl>+ <N> หรือ คลิกที่ปุ่ม
สร้างบนทูลบาร์ ก็จะได้เอกสารเปล่า ๆ ขึ้นมาการสร้าง
ด้วยไอคอน New เป็นการสร้างเอกสารแบบด่วน เมื่อ
คลิกปุ่มนี้เอกสารจะถูกสร้างขึ้นใหม่ทันทีพร้อมที่รับพิมพ์
งานใหม่

2. การเปิดแฟ้มเอกสารที่สร้างไว้แล้ว ในบางครั้งเรา
จำเป็นจะต้องใช้เอกสารเดิมที่ได้สร้างเอาไว้แล้ว เพื่อนำ
มาแก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร วิธีการเปิด
เอกสารที่สร้างไว้แล้วดังนี้

2.1 คลิกที่คำสั่งแฟ้ม เลือกคำสั่งย่อย เปิด หรือใช้
คีย์ลัดโดยกดที่ปุ่ม <Ctrl> + <O> หรือคลิกที่ปุ่มเปิด
บนทูลบาร์จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ เปิด ขึ้นมาให้เลือกเปิด
ไฟล์ที่ต้องการ

2.2 คลิกที่ Computer แล้วเลือกไดร์ หาโฟลเดอร์ที่
ต้องการ

2.3 คลิกที่ชื่อเอกสาร หรือ พิมพ์ชื่อเอกสารที่จะเปิด
ในช่องชื่อแฟ้ม

2.4 คลิกปุ่มเปิดในไดอะล็อกบ็อกซ์ก็จะได้ดังรูป

การกำหนดคุณสมบัติเอกสาร

เนื่องจากเอกสารบางชนิด จำเป็นต้องได้ขนาดและ
ข้อมูลเฉพาะ ดังนั้นเอกสารจึงต้องกำหนดคุณสมบัติเพื่อ
ให้ชิ้นงานตามความต้องการ ซึ่งพื้นฐานในการกำหนดคือ
ขนาดของงานและจุดเริ่มต้นของการพิมพ์งานนั้นคือระยะ
ขอบกระดาษ โดยมีวิธีการดังนี้

1. คลิกเมาส์ที่ริบบอน เค้าโครงหน้ากระดาษ
2. เลือกคำสั่งตั้งค่าหน้ากระดาษดังรูป

3. เมื่อคลิกเลือกคำสั่งแล้วจะปรากฏหน้าจอการ
กำหนดข้อมูลดังนี้

การตั้งระยะขอบ ต้อง
กำหนดระยะขอบกระดาษ
ตามการใช้งานจริงที่นักเรียน
วัดได้จากใบงานที่แจกให้

4. กำหนดขนาดของกระดาษโดยการคลิกที่แท็บขนาด
กระดาษจะปรากฏข้อมูลดังนี้

หน่วยที่ 5 การสร้างหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ด้วย โปรแกรม anyfilp

E-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือหนังสืออิ
เล็กทรอนิส์ ที่สามารถเปิดอ่านได้โดยไม่ต้องพิมพ์ลงบน
กระดาษ สามารถอ่านได้บนสื่ออเล็กทรอนิกส์ เช่น
คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ้ค แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ มี
หลายแบบ เช่น PDF, มัลติมิเดียที่มีทั้งภาพ เสียง วิดีโอ
ePub ที่ใช้กับ Kindle eBook Reader หรือ
iPhone/iPad หรือ eBook แบบพลิกหน้า ฯลฯ แต่ละแบบ
ก็มีขั้นตอนการสร้างที่แตกต่างกันไป ยากง่าย ตามแต่
ประเภทของ eBook นั้นๆ โดยที่ eBook แบบ Text หรือ
PDF จะสร้างได้ง่ายที่สุด และสามารถนำไปประยุกต์สร้าง
eBook แบบอื่นได้ทั้งหมด

วิธีสร้าง E-book ออนไลน์ จากไฟล์
pdf โดยใช้เว็บ AnyFlip

1. เข้าเว็บไซต์ www.anyflip.com แล้วคลิกที่ Sign
Up เพื่อสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบได้ทันทีหากมีบัญชี
แล้ว หรือสามารถเลือกเข้าสู่ระบบผ่าน Google หรือ
Facebook ก็ได้

2. เมื่อทำการเข้าสู่ระบบได้เรียบร้อยแล้ว ให้เลือกที่ ADD
NEW BOOK เพื่อสร้างหนังสือใหม่

3. ให้ผู้อ่านทำการกรอกข้อมูลหนังสือ ได้แก่ Title ชื่อ
หนังสือของเรา Description รายละเอียดคร่าว ๆของ
หนังสือ Keywords คำสำคัญ Category หมวดหมู่
หนังสือ จากนั้นทำการคลิกปุ่ม UPLOAD YOUR PDF เพื่อ
เลือกไฟล์ PDF ทำการอัพโหลดเข้าสู่ระบบ

หมายเหตุ หากไม่ได้กรอกข้อมูล เว็บไซต์จะเพิ่มข้อมูลให้อัตโนมัติ ตามชื่อไฟล์ pdf ที่
กำหนดไว้

4. เมื่อไฟล์ทำการอัพโหลดไฟล์สำเร็จแล้วจะปรากฎ เล่ม
หนังสือ E-Book ดังภาพ ให้ทำการคลิกที่ Save and
Close ได้เลย

5. เมื่อเพิ่มหนังสือเรียบร้อยแล้ว สามารถคลิกดูชั้นหนังสือ
ที่สร้างสำเร็จแล้ว โดยการคลิกที่ Link หรือ แชร์ชั้น
หนังสือผ่าน qr code ได้เลย
6. หากต้องการลบ E-Book สามารถคลิกปุ่ม Delete เพื่อ
ลบได้


Click to View FlipBook Version