The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพจังหวัดสุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by orranoi, 2020-04-12 05:51:18

Report Suphanburi Model

รายงานการจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพจังหวัดสุพรรณบุรี

รายงานผลการดำเนินงาน
การจดั ทำรปู แบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชพี จังหวดั สพุ รรณบุรี

“Suphanburi Model”
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

สำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวัดสพุ รรณบุรี
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร



บทสรปุ สำหรับผูบ้ ริหาร

การจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพจังหวัดสุพรรณบุรี “Suphanburi
Model” เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการยกระดับมาตรฐานการศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีวัตถุประสงคเ์ พือ่ สรา้ งรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพือ่ อาชีพของจังหวัด
สุพรรณบุรี ที่เน้นอาชีพเป็นฐาน (Career-Based-Education) มีกิจกรรมดำเนินงาน ๖ กิจกรรม
ประกอบด้วย กิจกรรมที่ ๑ วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ด้านทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่
กิจกรรมที่ ๒ แสวงหาความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น และชุมชน กิจกรรมที่ ๓ สรุปอาชีพท่ี
สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ และความต้องการของผู้เรียน กิจกรรมที่ ๔ ประสานความร่วมมือจาก
สถาบันการศึกษาในพื้นที่ กิจกรรมที่ ๕ กำหนดรูปแบบแนวทาง/หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ
กิจกรรมที่ ๖ จัดทำรายละเอยี ด และนำไปใช้

ผลการดำเนนิ งาน
จากการดำเนินกิจกรรม ๖ กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ทำให้ได้รูปแบบแนวทางการจัด
การศึกษาเพื่ออาชีพในการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา และการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน ด้าน
ความรู้ ทกั ษะ และสมรรถนะตามความสนใจและความถนัดด้านอาชีพ ดงั นี้
๑. หลักสูตรฝึกอบรม “การออกแบบการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยการประยุกต์หลัก Job
Analysis”
๒. หลักสูตรอาชีพระยะสั้น สาขาวิชางานไฟฟ้า สาขาวิชางานอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชา
งานยานยนต์ สาขาวชิ างานคอมพิวเตอร์ และสาขางานช่างเชอ่ื ม
๓. หลกั สตู รฝกึ อบรมวิชาช่างเชอ่ื มโลหะ
๔. หลักสตู รฝกึ อบรมเสริมอาชีพ การทำพวงกุญแจตุ๊กตาไหมพรม กระเป๋าจากเส้นพลาสติก
พวงกญุ แจนกฮกู ผลิตภณั ฑ์จากผักตบชวา และชอ่ บเู กด้ อกรวงผึ้ง
๕. กิจกรรมเสริมหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมสายอาชีพ การทำอิฐบล็อก
การทำเฟอร์นเิ จอร์ เครื่องใช้ในบา้ น การสานตะกรา้ จากเส้นพลาสติก และเปลญวน
๖. หลกั สตู รอาชพี ระยะสน้ั วชิ าการเดนิ สายไฟฟ้าในบ้าน และรายวิชาพิมพ์ดีดไฟฟ้า
๗. หลักสูตรฝึกอบรมทักษะพื้นฐานอาชีพ การปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ การแปรรูปอาหาร
(ขนมกล้วย เผือกฉาบ ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาล)
จากการติดตามการจัดกิจกรรม พบว่า เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักอาชีพ รู้ตัวตน
ความถนัดและความต้องการของตนเอง รวมทั้งเป็นการปูพื้นฐานความรู้ ทักษะ และเสริมสร้างศักยภาพ
ใหแ้ กผ่ เู้ รียนเพอื่ การศกึ ษาตอ่ สายอาชีพ และมุง่ สกู่ ารมีงานทำ

ข้อเสนอแนะ
๑. ควรส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะอาชีพให้แก่
ผู้เรียน และ/หรือให้ผู้เรียนได้เข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ โดยดำเนินการในรูปแบบ
ห้องเรียนอาชีพ หลักสูตรฝึกอาชีพระยะสั้น ทวิศึกษา ทวิภาคี ไตรภาคี Work Experience โครงงาน
ฝกึ อาชีพการเปน็ ผู้ประกอบการ เปน็ ตน้



๒. ควรส่งเสริมสถานศึกษาทุกสังกัดได้พัฒนาหลักสูตรที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อปูพื้นฐานด้านความรู้และทักษะด้านอาชีพให้แก่
ผู้เรียน และเพ่ิมโอกาสให้ผ้เู รียนไดม้ ที างเลือกในการตดั สนิ ใจศึกษาต่อในสายอาชพี เพ่ิมมากขน้ึ

๓. ควรส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โดย
ความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการ

๔. สถานศึกษาควรทำความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการประเมิน ทดสอบ
มาตรฐานฝมี ือแรงงาน เพือ่ เปน็ การเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพแก่ผเู้ รียน

๕. ควรมีการขยายผลการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพไปยังสถานศึกษาระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นทีห่ ่างไกล เพื่อเป็นการเปดิ โอกาสให้ผูเ้ รียนทีไ่ ม่ได้เรียนต่อในระดับทีส่ ูงขึ้นไดม้ ี
ทกั ษะเพื่อการประกอบอาชพี

คำนำ

รายงานผลการดำเนินงาน การจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ จังหวัด
สุพรรณบรุ ี “Suphanburi Model” นี้ เป็นกิจกรรมหนึง่ ของโครงการยกระดับมาตรฐานการศึกษาจังหวัด
สพุ รรณบุรี ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งได้รบั การสนบั สนุนงบประมาณจากจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี

การดำเนินกิจกรรม การจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ จังหวัด
สุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพของจังหวัดสุพรรณบุรี
ที่เน้นอาชีพเป็นฐาน (Career-Based-Education) ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับ
ความร่วมมือจากสถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง
วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส สุพรรณบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี วิทยาลัย
การอาชีพอู่ทอง โรงเรียนอู่ทอง โรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัย และโรงเรียนวัดบางสะแก (วิทยารังสรรค์)
ในการร่วมพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะพื้นฐานด้านอาชีพ และ
สมรรถนะให้พร้อมต่อการประกอบอาชีพในอนาคต หรอื ศึกษาต่อสายอาชพี ในระดบั ที่สูงขึ้น

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ขอขอบพระคุณผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้บริหารหน่วยงานการศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ
ผู้มสี ว่ นเกี่ยวข้องทกุ ฝา่ ย ท่ใี หก้ ารสนับสนุนงบประมาณ ใหข้ ้อเสนอแนะ และใหค้ วามร่วมมอื ในการดำเนิน
กิจกรรมตา่ ง ๆ จนสำเรจ็ ลลุ ่วงดว้ ยดี จึงขอขอบคณุ มา ณ โอกาสนี้

สำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั สุพรรณบรุ ี
๓๐ กันยายน ๒๕๖๒

สารบญั หนา้

บทสรปุ สำหรับผบู้ ริหาร
คำนำ ๑
บทที่ ๑ บทนำ ๑

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ ๒
วตั ถปุ ระสงคข์ องโครงการ ๒
เป้าหมายของโครงการ ๒
ระยะเวลาดำเนินการ ๓
ประโยชนท์ คี่ าดวา่ จะไดร้ บั ๓
บทที่ 2 เอกสารและงานวจิ ัยทีเ่ ก่ียวข้อง ๖
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ ๑๒
แผนการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ ๒๑
แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ๒๙
การขับเคล่ือนการศึกษามธั ยมศกึ ษาไทย ๔.๐ เพ่ือการมีงานทำแหง่ ศตวรรษที่ ๒๑ ๒๙
บทที่ 3 วิธดี ำเนนิ การ ๓๐
กิจกรรมท่ี ๑ วิเคราะหศ์ กั ยภาพพน้ื ที่ดา้ นทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากร ๓๐
กิจกรรมที่ ๒ แสวงหาความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถน่ิ และชุมชน ๓๑
กจิ กรรมท่ี ๓ สรุปอาชพี ทส่ี อดคล้องกับศักยภาพพนื้ ที่ และความต้องการของผู้เรียน ๓๑
กิจกรรมที่ ๔ ประสานความรว่ มมือจากสถาบันการศกึ ษาในพน้ื ท่ี ๓๒
กิจกรรมท่ี ๕ กำหนดกรอบหลกั สตู ร ๓๓
กิจกรรมท่ี ๖ จดั ทำรายละเอียดหลักสูตร และนำหลกั สูตรไปใช้ ๖๐
บทท่ี 4 ผลการดำเนินงาน ๖๓
บทที่ 5 สรุปผล และขอ้ เสนอแนะ ๖๔
บรรณานุกรม
ภาคผนวก

บทที่ 1
บทนำ

ความเปน็ มาและความสำคัญของโครงการ
การศึกษาเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ตลอดจนการยกระดับความพร้อมในทุกด้าน เพื่อให้ประเทศพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัล รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและ
ย่ังยืน จงึ กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศท่ีมีความ “มนั่ คง มงั่ ค่งั ย่ังยืน” เป็นประเทศ
ที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การพัฒนาให้คนไทย
มคี วามสขุ และตอบสนองต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะพฒั นาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้
ระดับสูง และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถ
แขง่ ขันได้ในระบบเศรษฐกิจ ดงั น้ัน ในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ -
๒๕๗๙) ถือได้ว่าเป็นทิศทางร่วมกันของคนไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพพลเมืองให้มี
คุณภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทุกด้านในระยะยาว การศึกษาและการเรียนรู้จึงเป็นยุทธศาสตร์
สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายโดย “ให้ทุกคนมีการศึกษาอย่างมีคุณภาพ อย่าง
ทวั่ ถงึ อย่างเทา่ เทยี ม และทุกช่วงวัย”

การวางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแนวทาง
การพัฒนาประเทศในระยะ ๕ ปี เพือ่ วางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสสู่ งั คมท่ีมีความสุข สอดคล้องตาม
ยทุ ธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ที่เปน็ กรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว รวมทั้ง
เร่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลด
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน โดยทกุ ภาคสว่ นในสงั คมต้องร่วมมอื กนั เพือ่ ผลกั ดนั ใหเ้ กิดผลสมั ฤทธ์ิอย่างต่อเนื่อง

สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม
ซ่งึ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญของแนวทางการขับเคลื่อนด้านการศึกษา โดยมุ่งเนน้ บูรณาการความร่วมมือ
กับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงองค์กรประชาสังคม เพื่อให้การพัฒนาด้านการศึกษามีความ
ต่อเน่ืองและเกิดความย่งั ยนื ในระยะยาวต่อไป รวมทั้งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
และอตุ สาหกรรมไทยแลนด์ ๔.๐

ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ
การเรียนสายอาชีพ โดยมุ่งหวังที่จะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งก็มีนักเรียนที่ประสบความสำเร็จได้เข้า
เรียนต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย และมีนักเรียนบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จ บางคน
จำเป็นต้องเรียนตามที่ได้รับโควต้า หรือศึกษาต่อด้านที่ตนเองไม่ชอบ บางคนศึกษาต่อเพียงเพื่อให้ได้
ปริญญา แตเ่ ม่ือจบออกมากไ็ มส่ ามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใชใ้ นการประกอบอาชีพได้ ซ่ึงถือว่า
เป็นการลงทุนท่ีไม่คุ้มค่า ภาพเดมิ ๆ นี้นอกจากจะแสดงถงึ ค่านยิ มของสังคมแลว้ ยังสะท้อนวา่ ทีผ่ า่ นมาการ
จัดการศึกษาไมส่ อดคลอ้ งกับคนและบรบิ ทของพื้นที่ ดังนั้น ค่านิยมเกี่ยวกับการศึกษาต้องเป็นการพัฒนา

2

คุณภาพชีวิตตนเอง ที่สามารถต่อยอดเป็นการพัฒนาคุณภาพของสังคมและท้องถิ่น ตลอดจนตอบสนอง
ความตอ้ งการของประเทศชาติ อันจะสง่ ผลตอ่ ปญั หาการไมม่ งี านทำในสังคมใหล้ ดลงและหมดไปในท่ีสดุ

สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี เปน็ หนว่ ยงานสงั กดั สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ มีหนา้ ท่ีในการส่งเสรมิ สนบั สนนุ และดำเนนิ การเกี่ยวกับงานด้านวิชาการการศึกษา
ทุกระดับและทุกประเภท และปฏิบัติภารกิจตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการตามที่ได้รับมอบหมาย
เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ
เอกชน รวมถึงองค์กรประชาสังคม เพอ่ื ใหก้ ารพฒั นาด้านการศึกษามีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนใน
ระยะยาวต่อไป รวมทั้งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมไทยแลนด์ ๔.๐
และคำนงึ ถึงปญั หาการจดั การศึกษาทผี่ ่านมา จงึ ไดจ้ ดั ทำโครงการนี้ขึ้น

วตั ถุประสงคข์ องโครงการ
เพอื่ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เนน้ อาชพี เปน็ ฐาน (Career Path)

เปา้ หมายของโครงการ
พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นอาชีพเป็นฐาน ระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา

และระดบั การศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน อย่างน้อย ๓ หลักสตู ร

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

ประโยชนท์ ค่ี าดวา่ จะได้รับ
๑. ผ้เู รยี นได้รบั การพฒั นาทักษะและสมรรถนะทีส่ อดคล้องกบั ความต้องการของตนเอง และ

ตลาดแรงงาน ผปู้ ระกอบการ
๒. หลักสูตรที่พัฒนามีการบูรณาการเนื้อหาในรายวิชาในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และ

การศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน
๓. สถานศกึ ษาทกุ ระดับ ทุกสังกัด ประสานความร่วมมอื กนั ในการจดั การเรยี นการสอน โดย

การบรู ณาการด้านบุคลากร งบประมาณ และวสั ดุอปุ กรณ์ในการจัดการเรียนการสอน

บทที่ 2
เอกสารและงานวจิ ัยทเ่ี ก่ยี วข้อง

๑. ยทุ ธศาสตรช์ าติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙
วสิ ัยทัศนป์ ระเทศไทย “ประเทศไทยมีความม่นั คง มง่ั คงั่ ยงั่ ยนื เป็นประเทศพฒั นาแลว้ ดว้ ย

การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจนป์ ระจำชาติว่า “มน่ั คง มั่งค่ัง ยั่งยืน”
เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และ
ย่ังยนื ของสถาบันหลกั ของชาตแิ ละประชาชนจากภัยคุกคามทกุ รูปแบบ การอยู่ร่วมกนั ในชาติอย่างสันติสุข
เป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษา
ผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกัน
อยา่ งสันติประสานสอดคล้องกนั ด้านความมนั่ คงในประชาคมอาเซยี นและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและ
ศกั ดศิ์ รี

ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลง ท้ัง
ภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจก
บุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น
ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยว
จิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองทีม่ ั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศทีต่ ่อเนื่องและโปรง่ ใส
ตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ
ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคง
พอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัย
และความปลอดภัยในชีวิตทรพั ยส์ นิ

ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน
จนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุขได้รับ
ผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึน้ และมีการพัฒนาอย่างท่ัวถึงทกุ ภาคส่วน มีคุณภาพ
ชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน เศรษฐกิจใน
ประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ทงั้ ในตลาดโลก
และตลาดภายในประเทศเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการ
สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศ
ไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศ
ในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยจงในภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทนุ
และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้าง
การพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร
ทุนทางสงั คม และทุนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม



ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนให้เพมิ่ ขึน้ อย่างต่อเนื่อง ซง่ึ เปน็ การเจริญเติบโตของเศรษฐกจิ ท่ีอยู่บนหลักการใช้ การรักษาและ
การฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อ
สิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภค
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดม
สมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละ
เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับ
การมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงเพอื่ การพฒั นาอยา่ งสมดลุ มเี สถยี รภาพและยงั่ ยืน

โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่งคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจ
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศ
ในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและ
ความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของ
ประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ
ประกอบดว้ ย

๑) ความอยดู่ ีมสี ขุ ของคนไทยและสงั คมไทย
๒) ขีดความสามารถในการแขง่ ขัน การพฒั นาเศรษฐกจิ และการกระจายรายได้
๓) การพัฒนาทรพั ยากรมนษุ ยข์ องประเทศ
๔) ความเท่าเทยี มและความเสมอภาคของสงั คม
๕) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพส่ิงแวดลอ้ ม และความยงั่ ยนื ของทรัพยากรธรรมชาติ
๖) ประสทิ ธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถงึ การใหบ้ รกิ ารของภาครัฐ

ประเดน็ ยุทธศาสตร์ชาติ
เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมี
ความม่ันคง ม่งั ค่งั ย่งั ยนื เปน็ ประเทศพัฒนาแลว้ ดว้ ยการพัฒนาตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาวท่ี
จะ ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัย
ภายในและภายนอกประเทศในทุกมิตทิ ุกรูปแบบและทุกระดับ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาค
บริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพ่ิม
และพัฒนากลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ
ประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนในภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี เก่ง มีวินัย คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และมี
ศักยภาพ ในการคิดวิเคราะห์ สามารถ “รู้ รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึง
บริการพน้ื ฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรมได้อยา่ งเท่าเทยี มกัน โดยไมม่ ใี ครถกู ทง้ิ ไวข้ ้างหลงั
การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่าง
การพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ
“ประชารัฐ” โดยประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ
ทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติ



ด้านการสรา้ งการเติบโตบนคุณภาพชวี ิตทเ่ี ป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม และยุทธศาสตรช์ าติด้านการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบรหิ ารจัดการภาครัฐ โดยแตล่ ะยุทธศาสตร์มเี ปา้ หมายและประเด็นการพัฒนา ดงั นี้

๑. ยุทธศาสตรช์ าติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติม่ันคง
ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช
อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน
เครื่องมือเทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและ
ภยั พบิ ตั ิไดท้ กุ รปู แบบ และทกุ ระดับความรนุ แรง ควบค่ไู ปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความม่ันคง
ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับ
ส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ
ทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านอืน่ ๆ ใหส้ ามารถขับเคลอื่ นไปได้ตามทศิ ทางและเป้าหมายทีก่ ำหนด

๒. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนา
ที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่
(๑) “ตอ่ ยอดอดีต” โดยมองกลบั ไปทร่ี ากเหง้าทางเศรษฐกิจ อตั ลักษณ์ วฒั นธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และ
จุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้าน
อื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและ
สังคมโลกสมัยใหม่ (๒) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสรา้ งพ้ืนฐานของประเทศ
ในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล
และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (๓) “สร้างคุณค่า
ใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของ
การต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถ
สร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับ
การยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ำของคน
ในประเทศได้ในคราวเดียวกนั

๓. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมาย
การพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทย
มีความพรอ้ มท้ังกาย ใจ สตปิ ัญญา มีพัฒนาการท่ีดรี อบด้านและมสี ขุ ภาวะท่ดี ีในทุกชว่ งวัย มีจิตสาธารณะ
รับผิดชอบตอ่ สังคมและผู้อนื่ มัธยสั ถ์ อดออม โอบออ้ มอารี มวี ินัย รักษาศลี ธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ
มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สามและ
อนรุ กั ษ์ภาษาท้องถิ่น มนี สิ ัยรักการเรียนรู้และการพฒั นาตนเองอย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทย
ที่มีทักษะสงู เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอืน่ ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัด
ของตนเอง

๔. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมาย
การพัฒนาที่สำคัญที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม
ชุมชนท้องถิ่นมาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำ
เพื่อส่วนรวม การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น
การเสริมสร้างความเขม้ แข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทย



ท้งั ในมิตสิ ขุ ภาพ เศรษฐกิจ สงั คม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรท่ีมีคุณภาพ สามารถพ่ึงตนเองและ
ทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและ
สวสั ดกิ ารทม่ี ีคณุ ภาพอยา่ งเป็นธรรมและทั่วถึง

๕. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเปน็ หนุ้ ส่วนความร่วมมอื ระหวา่ งกนั ทัง้ ภายในและภายนอก
ประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการดำเนินการบน
พืน้ ฐานการเติบโตรว่ มกนั ไม่ว่าจะเปน็ ทางเศรษฐกิจ ส่ิงแวดล้อม และคุณภาพชวี ิต โดยให้ความสำคัญกับ
การสร้างสมดลุ ทง้ั ๓ ดา้ น อนั จะนำไปสู่ความย่ังยืนเพอื่ คนรนุ่ ต่อไปอย่างแท้จรงิ

๖. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐทีย่ ดึ หลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและ
ประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงาน
ของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีสมรรถนะสูง ยึดหลัก
ธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และ
พร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม
เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงาน
เทยี บได้กับมาตรฐานสากล รวมทง้ั มีลักษณะเปิดกว้าง เช่อื มโยงถึงกนั และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามา
มีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วน
ในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธ
ไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าท่ี
จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อ
การพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และ
การอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิตธิ รรม

๒. แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙
ความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งในส่วนที่เป็นแรงกดดันภายนอก ได้แก่

การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution)
การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม ๔.๐ (The Fourth Industrial Revolution) การดำเนินงานเพื่อบรรลุ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ๒๕๗๓ (Sustainable Development Goals :
SDGs 2030) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน รวมทั้งผลกระทบของการเป็นประชาคมอาเซียน และ
ความต้องการกำลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบกับแรงกดดันจากภายในประเทศจาก
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ส่งผลให้ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้น้ี
การติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของ
ประชากรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลให้
ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว รวมทั้งระบบการศึกษาที่ยังมีปัญหา
หลายประการ นับตั้งแต่ปัญหาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา
ในทุกระดับ จุดอ่อนของระบบการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ



เทคโนโลยี และการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ยังไม่เหมาะสม ขาดความคล่องตัว ยังมี
ความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม
และ การขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการมีวิจัย ความซอ่ื สตั ยส์ ุจริต และการมจี ติ สาธารณะของคน
ไทยส่วนใหญ่ ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาที่ตอ้ งปรับเปล่ียนให้สนองและรองรับความทา้ ทายดงั กล่าว
จึงมีความสำเป็นที่ประเทศไทยต้องปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาเป็นกลไกหลักของการ
ขับเคลือ่ นประเทศ ภายใตร้ ฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ กรอบยุทธศาสตรช์ าติ ระยะ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) และกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) เพื่อให้สามารถนำพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในอีก ๒๐ ปี
ขา้ งหนา้

ผลการพัฒนาการศึกษาในช่วงปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๙ พบว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จ
ในหลายดา้ น และมีอีกหลายดา้ นยงั เปน็ ปญั หาท่ตี ้องได้รบั การพัฒนาอยา่ งเรง่ ดว่ นในระยะตอ่ ไป

ด้านโอกาสทางการศึกษา รัฐมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาค่อนข้างมาก
ส่งผลให้ประชากรในวัยเรียน รวมทั้งเด็กด้อยโอกาสและผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีโอกาสได้รับ
การศกึ ษาสูงขนึ้ แตย่ ังเขา้ เรียนได้ไม่ครบทุกคนและมีปัญหาการออกกลางคันอยู่บ้าง นอกจากนี้ประชากร
ที่อยู่ในวัยกำลังแรงงานแม้จะได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่จำนวนแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับ
มัธยมศึกษาตอนตน้ ยังมอี ยู่จำนวนมาก จึงต้องเรง่ ดำเนนิ การสนบั สนนุ ส่งเสริมการพฒั นาคนตลอดช่วงชีวิต
และมีมาตรการต่าง ๆ ให้เด็กและประชาชนทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
มาตรฐานเพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับการศึกษาของคนไทยให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศ

ด้านคณุ ภาพการศึกษา ผลการพฒั นายังไม่เป็นท่นี ่าพึงพอใจ เน่อื งจากผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก และต่ำกว่าหลายประเทศในแถบเอเชีย
ส่วนประเด็นคุณธรรม จริยธรรมของเด็กและเยาวชนยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คุณภาพของ
กำลงั แรงงานอายุ ๑๕ ปีขนึ้ ไป ยงั ไม่ตรงกับความตอ้ งการของตลาดงาน และผู้เรยี นมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย
ประเภทอาชีวศึกษามีสัดส่วนน้อยกว่าประเภทสามัญศึกษา ทำให้มีการขาดแคลนแรงงานระดับกลาง
ส่วนแรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ไม่ตรงกับความต้องการของ
ตลาดงาน และยังมีสมรรถนะหรือคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
ทำให้มีผู้ว่างงานอยู่จำนวนมาก จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนและกำลังแรงงานที่มี
ทักษะ และคุณลักษณะที่พร้อมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ โดยจะต้องมี
การวิเคราะห์ความต้องการกำลังคน เพื่อวางเป้าหมายการจัดการศึกษา ทั้งเพื่อการผลิตกำลังคนเข้าสู่
ตลาดงานและการพฒั นากำลังคนเพอ่ื ยกระดับคุณภาพกำลังแรงงานให้สูงข้ึน

ด้านประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการใช้จ่าย
งบประมาณทางการศึกษา ซ่ึงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบการจัดการที่ต้องได้รับการปรับปรุงเป็น
ลำดับแรก โดยเฉพาะการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมาก เพื่อเพิ่มคุณภาพ
การศึกษาและลดภาระงบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการศึกษาซึ่งได้รับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบ
กับประเทศอื่น ๆ แต่ใช้จ่ายเพื่อพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาครูค่อนข้างน้อย
การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาที่เชื่อมโยงกันเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็ก การส่งเสริมการมีส่วนร่วม



ของทุกภาคส่วนในการจัดและสนับสนุนการศึกษาเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และปฏิรูประบบ
การเงนิ เพ่ือการศกึ ษา

แนวคิดการจัดการศกึ ษา
แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักการ

แนวคิด ตอ่ ไปนี้
๑. หลกั การจัดการศึกษา
๑) หลกั การจดั การศึกษาเพอ่ื ปวงชน (Education for All)
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กปฐมวัย วัยเรียน

วัยทำงาน และผู้สูงวัยมีโอกาสในการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้แต่ละบุคคลได้พัฒนาตาม
ความพร้อมและความสามารถให้บรรลุขีดสูงสุด มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ใน
การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะในการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพ
ตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมของประเทศ อนั จะนำไปพัฒนาตนเอง ครอบครวั สังคม และประเทศชาติ แผนการศึกษาแหง่ ชาตจิ ึง
ต้องกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ครอบคลุม โดยไม่ปล่อยปละละเลยหรือทิ้งใครไว้ข้างหลัง
(No one left behind)

๒) หลักการจดั การศึกษาเพื่อความเทา่ เทยี มและท่ัวถงึ (Inclusive Education)
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนกลุ่มปกติ

กล่มุ ด้อยโอกาสท่ีมีความยากลำบากและขาดโอกาสเนื่องด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจและภูมิสังคม ซ่ึงรัฐต้อง
ดูแลจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ได้รับการศึกษาตามศักยภาพและ
ความพร้อมอย่างเท่าเทียม กลุ่มที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งหมายรวมกลุ่มผู้มีความบกพร่องทาง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม อารมณ์ การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
รวมทั้งบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแล รัฐต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับ
การศึกษาร่วมกับเด็กปกติในกรณีที่สามารถเรียนได้ เพื่อให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้
ความคิดและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นในสังคม หรือจัดให้เป็นพิเศษตามระดับความบกพร่อง นอกจากนี้
บุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ รัฐต้องจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของ
บุคคลนั้น ด้วยเหตุผลสำคัญคือบุคคลที่มีความสามารถพิเศษเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ หากจัด
การศึกษารูปแบบปกติอาจทำให้ไม่สามารถพัฒนาบุคคลดังกล่าวให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพ
ของเขาได้ รัฐจงึ มีหน้าที่ลงทนุ ทางการศึกษาท่ีเหมาะสมสำหรบั การพัฒนาศกั ยภาพของคน แผนการศึกษา
แห่งชาติจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ครอบคลุมการดูแลและพัฒนาบุคคล
ทุกกลมุ่ เป้าหมายอย่างเท่าเทียมและท่วั ถึง

๓) หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
เป็นแนวทางการดำรงชีวิตและการประพฤติปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ

เพ่ือการดำรงชีวติ ในสังคมอยา่ งพอเพยี ง เทา่ ทนั และเปน็ สุข การศกึ ษาจึงต้องพฒั นาผเู้ รียนให้มีความรอบรู้
มีทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก โดยยึดหลัก
ความพอประมาณ ที่เป็นความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
มีการตัดสินใจที่มีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เก่ียวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
จากการกระทำน้ัน ๆ อย่างรอบคอบ และมภี มู คิ ้มุ กันที่ดีในตัว ซง่ึ เปน็ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเปน็ ไปได้ของสถานการณต์ ่าง ๆ ที่คาดว่า



จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล โดยใช้ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
มีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและ
ความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน พากเพียร และ
ใชส้ ติปญั ญาในการดำเนินชวี ิต

๔) หลกั การมีสว่ นร่วมของทุกภาคสว่ นของสังคม (All for Education)
การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพให้กับประชาชนทุกคนเป็นพันธกจิ

ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคมทุกภาคส่วน เนื่องจากรัฐต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการจัด
การศึกษาที่ต้องครอบคลุมทุกช่วงวัย ทุกระดับการศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบวิธีการ
ที่หลากหลาย สนองความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคลและสนองยุทธศาสตร์ชาติและ
ความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐจึงต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการมี
ส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษาโดยบุคคล
กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่าง ๆ จะได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมจัดการศึกษา เสนอแนะ กำกับติดตาม และ
สนับสนนุ การจัดการศกึ ษาในรปู แบบตา่ ง ๆ ตามความพร้อมเพือ่ ประโยชนข์ องสงั คมโดยรวม

๒. เป้าหมายการพฒั นาท่ียั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030)
เป็นเป้าหมายที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติจำนวน ๑๙๓ ประเทศ ได้ลงมติ

รับรองในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจะใช้เปน็ วาระแห่งการพัฒนา
ของโลกในอีก ๑๕ ปีข้างหน้า (ค.ศ. ๒๐๑๖ - ๒๐๓๐) มีทั้งหมด ๑๗ เป้าหมาย โดยเป้าหมายด้าน
การศึกษา คือ เป้าหมายที่ ๔ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและ
เท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวติ แผนการศึกษาแห่งชาติจึงต้องพัฒนาคุณภาพและ
ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของประเทศ เพือ่ สร้างหลกั ประกันวา่ เดก็ ปฐมวัยทกุ คนจะได้รับการเตรียม
ความพร้อมก่อนเข้าเรียนประถมศึกษา ทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มี
คุณภาพและมีผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและ
อดุ มศกึ ษาด้วยค่าใชจ้ ่ายทเี่ หมาะสมและมีคุณภาพ กำลงั แรงงานมที ักษะทจ่ี ำเปน็ รวมถึงทักษะทางเทคนิค
และอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมงี านท่ีดีและการเป็นผู้ประกอบการ กลุม่ ผูพ้ ิการและด้อยโอกาสเข้าถึง
การศึกษาและการฝึกอาชีพทกุ ระดับอย่างเทา่ เทยี ม มกี ารเพ่มิ จำนวนครทู ่มี ีคุณภาพ เพื่อการศกึ ษาสำหรับ
การพฒั นาอยา่ งย่งั ยืนและการมวี ิถีชีวิตที่ยง่ั ยืน

๓. ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนทุกช่วงวัย การเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหล่อื มลำ้ ของการกระจายรายได้ และวิกฤตดา้ นสงิ่ แวดล้อม

๔. ยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ซึ่งได้
กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำ
แผนงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ครอบคลุมนโยบายการพัฒนาประเทศไทยสู่อุตสาหกรรม ๔.๐ การสร้างขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Growth & Competitiveness) การสร้างโอกาสบนความเสมอภาค
และเท่าเทียมกันทางสังคม (Inclusive Growth) และการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ภาครฐั

๑๐

วสิ ยั ทศั น์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ (Vision)
“คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข

สอดคล้องกับหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง และการเปล่ียนแปลงของโลกศตวรรษท่ี ๒๑”

พันธกจิ
๑. พัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาท่ีคนไทยทุกคนเข้าถึงโอกาสในการศึกษาและ

เรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างความเสมอภาคด้านการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ยกระดับคุณภาพและ
ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษาที่สอดคล้องและรองรับกระแส
การเปลีย่ นแปลงของโลกศตวรรษที่ ๒๑

๒. พัฒนาคุณภาพของคนไทยให้เป็นผู้มีความรู้ คุณลักษณะ และทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ ๒๑ สามารถพฒั นาศักยภาพและเรียนรไู้ ดด้ ้วยตนเองอยา่ งต่อเนอ่ื งตลอดชีวติ

๓. สร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติ โดยสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ
สงั คมคุณธรรม จริยธรรมทีค่ นไทยทุกคนอยรู่ ว่ มกนั อยา่ งปลอดภัย สงบสขุ และพอเพยี ง

๔. พัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแขง่ ขันของประเทศไทย เพอ่ื การก้าวข้ามกับดัก
ประเทศรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยการเพิ่ม
ผลิตภาพของกำลังแรงงาน (productivity) ให้มีทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาดงานและการพัฒนาประเทศ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ ๒๑ ภายใต้
ยุคเศรษฐกจิ และสงั คม ๔.๐

วัตถปุ ระสงคข์ องแผนการศกึ ษาแห่งชาติ (Objectives)
๑. เพอื่ พฒั นาระบบและกระบวนการจดั การศึกษาทมี่ ีคุณภาพและมปี ระสทิ ธภิ าพ
๒. เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับ

บทบญั ญตั ิของรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พระราชบญั ญัติการศกึ ษาแห่งชาติ และยุทธศาสตรช์ าติ
๓. เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม

จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพยี ง

๔. เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำ
ภายในประเทศลดลง

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษา
แหง่ ชาตไิ ด้วางเปา้ หมายไว้ ๒ ดา้ น คอื

เปา้ หมายด้านผูเ้ รยี น (Learner Aspirations)
โดยมงุ่ พฒั นาผู้เรยี นทุกคนใหม้ ีคณุ ลักษณะและทกั ษะการเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี ๒๑ (๓Rs๘Cs)
ประกอบดว้ ย ทักษะและคณุ ลกั ษณะต่อไปน้ี
๓Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น
(Arithmetics)
๘Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical
Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ตา่ งกระบวนทศั น์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้าน
ความร่วมมอื การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะ

๑๑

ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media
Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT
Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา
มวี ินยั คณุ ธรรม จรยิ ธรรม (Compassion)

เป้าหมายของการจัดการศกึ ษา (Aspirations)
แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดเป้าหมายในระยะ ๒๐ ปี ไว้ ๕ ประการ ซึ่งมีตัวชี้วัด
เพอื่ การบรรลเุ ปา้ หมาย ๕๓ ตัวชว้ี ดั ประกอบด้วย เปา้ หมายและตัวชีว้ ดั ทสี่ ำคญั ดงั น้ี
๑) ประชากรทกุ คนเข้าถึงการศึกษาทีม่ ีคุณภาพและมมี าตรฐานอยา่ งทัว่ ถึง (Access)

- เดก็ ปฐมวยั มพี ฒั นาการสมวัย
- ประชากรทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือเทียบเท่าท่มี ีคณุ ภาพและมาตรฐาน
- ประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงานได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ และ
สมรรถนะที่ตอบสนองความตอ้ งการของตลาดงานและการพฒั นาประเทศ
- ประชากรสูงวัยได้เรียนรู้ ฝึกฝนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะเพื่อ
การทำงานหรือการมชี วี ิตหลังวยั ทำงานอยา่ งมคี ณุ คา่ และเป็นสุข
ตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ประชากรกลุ่มอายุ ๖ – ๑๔ ปีทุกคนได้เข้าเรียนในระดับประถมศึกษา
และมธั ยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเทา่ ที่รัฐต้องจัดให้ฟรี โดยไม่เก็บคา่ ใชจ้ ่าย ผู้เรยี นพิการได้รับการพัฒนา
สมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมทุกคน และประชากรวัยแรงงานมีการศึกษาเฉล่ียเพิ่มข้ึน
เป็นต้น
๒) ผเู้ รยี นทุกกลมุ่ เป้าหมายไดร้ ับบริการการศกึ ษาอยา่ งเสมอภาคและเท่าเทยี ม (Equity)
ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มปกติ ผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้มีความบกพร่อง
ด้านต่าง ๆ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีภูมิหลังทางสังคมหรือฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันได้รับ
โอกาสและการบรกิ ารทางการศกึ ษาอย่างเสมอภาคและเทา่ เทยี ม
ตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนได้รับการสนับสนุน
ค่าใช้จา่ ยในการศึกษา ๑๕ ปี เป็นต้น
๓) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนใหบ้ รรลขุ ีดความสามารถเต็มตาม
ศักยภาพ (Quality)
ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อพัฒนา
คุณลักษณะ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะของแต่ละบุคคลให้ไปได้ไกลที่สุดเท่าที่ศักยภาพ
และความสามารถของแต่ละบุคคลพึงมี ภายใต้ระบบเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ สังคมแห่งปัญญา และ
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มคี ุณธรรม จริยธรรมและสามารถดำรงชวี ิตได้อย่างเปน็ สขุ ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
ตวั ชี้วัดทส่ี ำคัญ เช่น นกั เรยี นมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ ๕๐ ขน้ึ ไปเพิม่ ข้นึ และคะแนนเฉล่ียผลการทดสอบโครงการ
ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Program for International Student Assessment : PISA)
ของนักเรยี นอายุ ๑๕ ปสี งู ข้ึน เปน็ ตน้

๑๒

๔) ระบบการบริหารจดั การศกึ ษาท่ีมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาผูเ้ รยี นอย่างทั่วถึงและ
มคี ุณภาพ และการลงทนุ ทางการศึกษาทีค่ ุ้มคา่ และบรรลเุ ปา้ หมาย (Efficiency)

หน่วยงาน สถานศึกษาและสถาบันการศึกษาทุกแห่งสามารถบริหารและจัดการศึกษา
อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล จัดให้มีระบบการจัดสรรและใช้ทรัพยากร
ทางการศึกษาที่ก่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนให้บรรลุศักยภาพและความพร้อมเข้ามา
มสี ่วนร่วมในการระดมทุนและร่วมรับภาระค่าใช้จา่ ยเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะสถานประกอบการ สถาบัน
และองค์กรตา่ ง ๆ ในสังคม และผเู้ รยี น ผา่ นมาตรการทางการเงินและการคลงั ทเ่ี หมาะสม

ตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ร้อยละของสถานศึกษาขนาดเล็กที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
คณุ ภาพภายนอกลดลง มีระบบการบรหิ ารงานบคุ คล ครู และบุคลากรทางการศกึ ษาท่ีมปี ระสิทธภิ าพและ
เป็นไปตามเกณฑม์ าตรฐาน รวมทง้ั มีกลไกส่งเสรมิ ให้ทกุ ภาคส่วนสนับสนุนทรัพยากรเพ่ือการจัดการศึกษา
เปน็ ต้น

๕) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและ
บรบิ ทท่ีเปลี่ยนแปลง (Relevancy)

ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของ
โลกศตวรรษที่ ๒๑ สามารถพฒั นาทักษะ คุณลกั ษณะและสมรรถนะในการทำงานของกำลังคนในประเทศ
ใหส้ อดคลอ้ งกับความต้องการของตลาดงาน สังคม และประเทศ ภายใต้ยทุ ธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี และ
ยุทธศาสตร์ประเทศไทย ๔.๐ ที่จะนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางสู่การเป็น
ประเทศท่ีพัฒนาแลว้ ดว้ ยการศกึ ษาทส่ี ร้างความมน่ั คงในชวี ิตของประชาชน สังคมและประเทศชาติ และ
การสรา้ งเสริมการเติบโตทีเ่ ปน็ มิตรกับสิง่ แวดล้อม

ตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการศึกษาดีข้ึน
สดั ส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงขึน้ เมื่อเทียบกับผู้เรยี นสามญั ศึกษา และจำนวนสถาบันอุดมศึกษาท่ีติดอันดับ
๒๐๐ อนั ดบั แรกของโลกเพิม่ ข้นึ เป็นตน้

๓. แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
การพฒั นาประเทศไทยในชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ –

๒๕๖๔) อยู่ในห้วงเวลาของการปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานหลายด้านที่สั่งสมมานานท่ามกลาง
สถานการณโ์ ลกท่เี ปล่ียนแปลงรวดเร็วและเช่ือมโยงกันใกล้ชิดมากขึ้น การแข่งขนั ด้านเศรษฐกิจจะเข้มข้น
มากขึ้น สังคมโลกจะมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้นเป็นสภาพไร้พรมแดน การพัฒนาเทคโนโลยีจะมี
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและจะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมและการดำเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจอย่างมาก ขณะที่ประเทศไทยมีข้อจำกัดของปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์เกือบทุกด้านและ
จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่ชัดเจนขึ้น ช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ นับเป็นจังหวะเวลาที่ท้าทาย
อย่างมากทป่ี ระเทศไทยต้องปรับตวั ขนานใหญ่ โดยจะตอ้ งเรง่ พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวจิ ัยและ
พัฒนา และนวัตกรรมให้เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศไทยท่ามกลางการแข่งขันในโลกที่รุนแรงขึ้นมาก แต่ประเทศไทยมีข้อจำกัด
หลายด้าน อาทิ คุณภาพคนไทยยังต่ำ แรงงานส่วนใหญ่มปี ัญหาทั้งในเรื่ององคค์ วามรู้ ทักษะ และทัศนคติ
สังคมขาดคุณภาพและมีความเหลื่อมล้ำสูงที่เป็นอุปสรรคต่อการยกระดับศักยภาพการพัฒนา โครงสร้าง
ประชากรจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ภายในสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดลอ้ มก็ร่อยหรอเสื่อมโทรมอย่างรวดเรว็ ซ่งึ เปน็ ทัง้ ตน้ ทุนในเชงิ เศรษฐกจิ และผลกระทบร้ายแรง

๑๓

ตอ่ คณุ ภาพชีวิตประชาชน ในขณะท่ีการบริหารจดั การภาครฐั ยังด้อยประสิทธภิ าพ ขาดความโปรง่ ใส และ
มีปัญหาคอร์รัปชันเป็นวงกว้าง จึงส่งผลให้การผลักดันขับเคลื่อนการพัฒนาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เต็มท่ี
บางภาคส่วนของสังคมจึงยงั ถกู ท้งิ อยู่ข้างหลัง

ท่ามกลางปัญหาท้าทายหลากหลายที่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศใน
ระยะยาวดังกล่าว ก็เป็นที่ตระหนักร่วมกันในทุกภาคส่วนว่าการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศ
ที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในระระยาวได้นั้น ประเทศต้องเร่งพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน
เชิงยุทธศาสตร์ในทุกด้าน ได้แก่ การเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการเร่งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานกลุ่มที่กำลังจะ
เข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มที่อยู่ในตลาดแรงงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับสาขาการผลิตและบริการ
เป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาคนในภาพรวมให้เป็นคนที่สมบูรณ์ใน
ทุกช่วงวัยที่สามารถบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตได้อย่างดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จากการยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ
และยกระดับคุณภาพบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งต้องส่งเสริมบทบาทสถาบัน
ทางสังคม ในการกลอ่ มเกลาสร้างคนดี มวี นิ ัย มีค่านิยมทดี่ ีและมคี วามรบั ผดิ ชอบตอ่ สังคม

ภายใต้ข้อจำกัดของปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนาประเทศไทยในทุกด้านดังกล่าว
ท่ามกลางแนวโน้มโลกที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และประเทศต่าง ๆ กำลังเร่ง
พัฒนานวัตกรรมและนำมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและเพิ่มผลิตภาพการผลิตเพื่อเป็นอาวุธสำคัญ
ในการต่อสู้ในสนามแข่งขันของโลกและการใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงเป็นความท้าทาย
อย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยทีจ่ ะตอ้ งเร่งพัฒนาปจั จัยพื้นฐานทางยุทธศาสตร์ทุกด้าน ได้แก่ การลงทุนเพ่ือ
การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ
ระบบโลจิสติกส์ให้เป็นระบบโครงข่ายที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทุนมนุษย์ และการปฏิรูป
การให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุง
ดา้ นกฎระเบยี บและระบบการบริหารราชการแผ่นดิน โดยแผนพฒั นาฯ ฉบับที่ ๑๒ มงุ่ เนน้ การนำความคิด
สร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมเพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทั้งในเรื่อง
กระบวนการผลติ และรูปแบบผลิตภณั ฑ์และบริการใหม่ ๆ การเปล่ยี นแปลงเทคโนโลยี รูปแบบการดำเนิน
ธุรกิจ และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนและ
การพัฒนาต่อยอด รวมถึงการใช้นวัตกรรมสำหรับการพัฒนาสินค้าและบริการทั้งในระดับพื้นบ้านจนถึง
ระดับสูง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตและความเปน็ อยูข่ องประชาชนในวงกว้าง ดังนั้น การพัฒนาในช่วง ๕ ปี
ต่อจากนี้ไปจะเป็นช่วงที่มุ่งเน้นการพัฒนาบนฐานภูมิปัญญาที่เกิดจากการใช้ความรู้และทักษะ การใช้
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาและการพัฒนานวัตกรรมนำมาใช้ในทุกด้านของการพัฒนา
การพัฒนามีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขยายและ
สร้างฐานรายได้ใหมท่ ี่ครอบคลุมทัว่ ถึงมากขึน้ ควบคู่ไปกับการต่อยอดฐานรายได้เดิม สังคมไทยมีคุณภาพ
และมีความเป็นธรรมโดยมีที่ยืนสำหรับทุกคนในสังคมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเป็นการพัฒนาที่
เกดิ จากการผนึกกำลงั ใจการผลกั ดันขบั เคล่ือนร่วมกนั ของทุกภาคสว่ น (Thailand 4.0)

การพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จึงเป็น ๕ ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) สู่การปฏิบัติ โดยที่ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เป็นแผนแม่บทหลักของ
การพัฒนาประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยได้กำหนดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยใน
ระยะ ๒๐ ปี พร้อมทั้งประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางหลักที่จะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายระยะยาว

๑๔

ของประเทศที่ได้กำหนดไว้ โดยมีแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ เป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญที่สุดที่ถ่ายทอด
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) สู่การปฏิบัติในลำดับแรกที่ขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุ
เป้าหมายในระยะยาวได้ในที่สุด โดยมีกลไกตามลำดับต่าง ๆ และกลไกเสริมอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนสู่
การปฏิบตั ใิ หเ้ กิดประสิทธิผลตามเปา้ หมาย

๓.๑ หลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.
๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

การพัฒนาประเทศไทยในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ
๕ ปี ที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี โดยมีหลักการสำคญั ของแผนพัฒนาฯ ดงั นี้

๓.๑.๑ ยึด “หลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตอ่ เน่อื งมาตง้ั แตแ่ ผนพฒั นาฯ ฉบบั ท่ี ๙
เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกัน
และการบริหารจัดการความเสีย่ งที่ดี ซึ่งเป็นเงือ่ นไขจำเปน็ สำหรับการพฒั นาท่ียัง่ ยืนโดยม่งุ เน้นการพัฒนา
คนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สร้างโอกาสและมีที่ยืนให้กับทุกคนในสังคม
ได้ดำเนินชีวิตที่ดีมีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ก็เจรญิ เติบโตอยา่ งต่อเนื่อง มคี ณุ ภาพ และมีเสถียรภาพ การกระจายความมั่งคั่งอย่างท่ัวถึงและเป็นธรรม
เป็นการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนวิถีชีวิต ค่านิยม
ประเพณี และวัฒนธรรม

๓.๑.๒ ยึด “คนเป็นศนู ยก์ ลางการพฒั นา” มงุ่ สรา้ งคุณภาพชีวติ และสขุ ภาวะที่ดีสำหรับ
คนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์
มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อม
เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล
อนุรักษ์ ฟืน้ ฟู ใช้ประโยชน์ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อมอยา่ งเหมาะสม

๓.๑.๑ ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์
ประเทศไทยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ
พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า
“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยที่วิสัยทัศน์ดังกล่าวสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่ การมีเอกราช
อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ การดำรงอยู่อย่างมั่นคงยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติ
การดำรงอยู่อย่างมั่งคงของชาติ และประชาชนจากภยั คุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติ
สขุ เป็นปกึ แผน่ มคี วามม่นั คงทางสงั คมท่ามกลางพหสุ งั คมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงาน อาหารและน้ำ ความสามารถในการรักษา
ผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศและการอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติ ประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติ
และศกั ด์ิศรี ประเทศไทยไม่เปน็ ภาระของโลกและสามารถเก้ือกูลประเทศทีม่ ีศักยภาพทางเศรษฐกิจด้อยกว่า

๓.๑.๔ ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี ๒๕๗๙” ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี มาเป็นกรอบในการกำหนดเปา้ หมายที่จะบรรลุใน ๕ ปีแรกและเป้าหมายในระดับย่อยลงมา โดยท่ี
เป้าหมายและตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งนี้ เป้าหมาย
ประเทศไทยในปี ๒๕๗๙ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันนั้นพิจารณาจากทั้งประเด็นหลักและลักษณะของ

๑๕

การพัฒนา ลักษณะฐานการผลิตและบริการที่สำคัญของประเทศ ลักษณะของคนไทยและสังคมไทยท่ี
พึงปรารถนา และกลุ่มเป้าหมายในสังคมไทย โดยกำหนดไว้ดังนี้ “เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการพัฒนา
อย่างมั่นคงและยั่งยืนบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรมมีความเหลื่อมล้ำน้ อย
คนไทยเปน็ มนุษยท์ ่ีสมบรู ณ์ เป็นพลเมืองที่มีวนิ ยั ตนื่ ร้แู ละเรียนรู้ไดด้ ว้ ยตนเองตลอดชีวติ มีความรู้ มีทักษะ
และทัศนคติที่เป็นค่านิยมที่ดี มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ มีความเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ
มีจิตสาธารณะและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความเป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน และพลเมืองโลก
ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในเวทีนานาชาติ ระบบเศรษฐกิจตั้งอยู่บนฐานของการใชน้ วัตกรรมนำดิจิทลั
สามารถแขง่ ขนั ในการผลติ ได้และค้าขายเป็น มคี วามเปน็ สงั คมประกอบการ มีฐานการผลติ และบริการที่มี
คุณภาพและรูปแบบที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการในตลาดโลก เป็นฐานการผลิตและบริการที่สำคัญ เช่น
การให้บริการคุณภาพท้ังด้านการเงนิ ระบบโลจิสติกส์ บรกิ ารด้านสุขภาพ และท่องเท่ียวคุณภาพ เป็นครัวโลก
ของอาหารคณุ ภาพและปลอดภยั เป็นฐานอุตสาหกรรมและบริการอจั ฉริยะทเ่ี ป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
ทีใ่ ชน้ วตั กรรม ทนุ มนษุ ย์ทกั ษะสงู และเทคโนโลยีอัจฉรยิ ะ มาตอ่ ยอดฐานการผลิตและบริการที่มีศักยภาพ
ในปัจจุบันและพัฒนาฐานการผลิตและบริการใหม่ ๆ เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจ สังคม
และประชาชนทมี่ ีความเป็นอัจฉรยิ ะ”

๓.๑.๕ ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อน
การเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลติ ภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวตั กรรม” แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ ๑๒ มุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุมท่ัวถึงเพื่อเพิ่มขยายฐาน
กลุ่มประชากรช้ันกลางให้กว้างขึน้ โดยกำหนดเปา้ หมายในการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ โอกาสทางสังคม
และรายได้ของกลุ่มประชากรรายได้ต่ำสุดร้อยละ ๔๐ ให้สูงขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มผลิตภาพการผลิต
บนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและพัฒนานวัตกรรมนับเป็นหัวใจสำคัญในการขบั เคลื่อนการพัฒนาในระยะ
ต่อไปสำหรับทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยที่เส้นทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วน้ัน
กำหนดเป้าหมายทั้งในด้านรายได้ ความเป็นธรรม การลดความเหลื่อมล้ำและขยายฐานคนชั้นกลาง
การสร้างสงั คมทมี่ ีคณุ ภาพและมีธรรมาภบิ าล และความเป็นมติ รตอ่ ส่งิ แวดลอ้ ม

๓.๑.๖ ยึด “หลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน ๕ ปีที่ต่อยอด
ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว” จากการที่แผนพัฒนาฯ เป็นกลไกเชื่อมต่อในลำดับแรกที่จะ
กำกับและส่งต่อแนวทางการพัฒนาและเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้เกิดการปฏิบัติในทุกระดับ
และในแต่ละด้านอย่างสอดคล้องกัน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จึงให้ความสำคัญกับการใชก้ ลไกประชารัฐ
ที่เปน็ การรวมพลังขบั เคลื่อนจากท้ังภาครัฐ เอกชน และประชาชน และการกำหนดประเดน็ บูรณาการของ
การพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูง และได้กำหนดในระดับแผนงาน/โครงการสำคัญที่จะตอบสนองต่อ
เป้าหมายการพัฒนาได้อย่างแท้จริง รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายได้คำนึงถึงความสอดคล้องกับเป้าหมาย
ระยะยาวของยุทธศาสตร์ชาติและการเป็นกรอบกำกับเป้าหมายและตัวชี้วัดในระดับย่อยลงมาที่จะต้อง
ถูกส่งต่อและกำกับให้สามารถดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างมีผลสัมฤทธิ์ภายใต้กรอบการจัดสรรงบประมาณ
การติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติ
ราชการรวมทั้งการพัฒนาระบบราชการที่สอดคล้องเป็นสาระเดียวกันหรือเสริมหนุนซึ่งกันและกัน
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จึงกำหนดประเด็นบูรณาการเพื่อการพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางสำคัญประกอบ
การจัดสรรงบประมาณแผนดิน รวบรวมและกำหนดแผนงาน/โครงการสำคัญในระดับปฏบิ ัติ และกำหนด
จุดเน้นในการพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับสาขาการผลิตและบริการและจังหวัดที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ
ในดา้ นต่าง ๆ

๑๖

๓.๒ จุดเน้นและประเด็นพัฒนาหลักในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับท่ี ๑๒

จุดเน้นและประเด็นหลักที่เป็นหัวใจของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ นั้นให้ความสำคัญ
กับประเด็นร่วมและประเด็นบูรณาการมสำคัญที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณและ
การถ่ายทอดลงในรายละเอียดสำหรับการติดตามประเมินผลการปฏิบัติเพื่อให้การแปลงแผนไปสู่
การปฏิบตั เิ กดิ ผลสัมฤทธไ์ิ ด้อย่างจรงิ จัง ดังนี้

๓.๒.๑ การพัฒนานวัตกรรมและการนำมาใช้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติ
เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์หรือด้านกระบวนการ
ผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการ โดยให้ความสำคัญทั้งกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้
เทคโนโลยีแบบซับซ้อน และ/หรอื การใชน้ วัตกรรมสำหรับการพัฒนาสินคา้ และบรกิ ารท้งั ในระดับพ้ืนบ้าน
จนถึงระดับสงู ซึ่งมผี ลตอ่ คุณภาพชวี ิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง

๓.๒.๒ การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุง่ เนน้ ในเรื่องสำคัญ ดังนี้

๑) การสนบั สนนุ การวจิ ยั พัฒนา การดัดแปลงและต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยี
๒) การพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี
(Technopreneur) รวมทงั้ เชือ่ มโยงระหว่างการผลิตทเ่ี ปน็ กล่มุ ใหญ่ของประเทศ ได้แก่ เกษตรกรรายย่อย
วสิ าหกิจชุมชน และวสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม กับสถาบันวิจัย สถาบนั การศึกษา เพ่ือให้สามารถ
เข้าถึงและนำผลงานวิจัยพร้อมใช้มาต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยดำเนินการควบคู่กับ
การส่งเสรมิ สังคมผู้ประกอบการท่ีผลติ ได้ขายเปน็
๓) การพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง
เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งสร้างและพัฒนาบุคลากรวิจัยในสาขา STEM
(Science, Technology, Engineering and Mathematics)
๔) การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเป็นเครือข่ายระหว่างสถาบันวิจัย
สถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน/ชุมชน เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมทางสั งคม
ให้เป็นกลไกในการลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคณุ ภาพชีวิตของผู้สงู อายแุ ละผู้ด้อยโอกาส
๕) การปรับกลไกระบบวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งระบบทั้งกลไกการให้
ทนุ วจิ ยั การสรา้ งเครือขา่ ย กระบวนการวิจยั การนำงานวจิ ยั ไปใช้ประโยชน์
๓.๒.๓ การเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรใน
ทุกช่วงวัย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพสูง ภายใต้
เงื่อนไขการเปล่ียนแปลงท่สี ำคญั ซงึ่ จุดเน้นการพฒั นาคนทสี่ ำคญั ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี ๑๒ มีดงั นี้
๑) การพัฒนากลุ่มเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง
ทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพอื่ ให้เติบโตอยา่ งมคี ณุ ภาพ
๒) การหล่อหลอมให้คนไทยมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม คนไทย
ในทกุ ช่วงวยั เปน็ คนดี มีสุขภาวะทด่ี ี มีคุณธรรมจริยธรรม มรี ะเบียบวินยั มจี ติ สำนึกท่ีดตี อ่ สังคมส่วนรวม
๓) การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของคน มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ
ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยเพื่อวางรากฐานให้เป็นคนมีคุณภาพในอนาคต การพัฒนาทักษะสอดคล้องกับ
ความต้องการในตลาดแรงงานและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ของคนในแต่ละช่วงวัย
ตามความเหมาะสม

๑๗

๔) การเตรียมความพร้อมของกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกลุ่ม
วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยที ี่จะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตอย่างสำคญั

๕) การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับและยกระดับ
การเรียนรู้ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
ปรบั ระบบการจดั การเรยี นการสอน และการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ

๖) การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาพดี เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ
และการลดปจั จัยเส่ียงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ

๓.๒.๔ การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพ
บริการทางสังคมให้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งการปิดช่องว่าง
การคุ้มครองทางสังคมอืน่ ๆ และมุ่งเน้นมากข้ึนในเรื่องการเพิ่มทักษะแรงงานและการใช้นโยบายแรงงาน
ท่สี นบั สนนุ การเพ่ิมผลติ ภาพแรงงานและเสริมสรา้ งรายได้สงู ขนึ้ ประเดน็ การพัฒนาท่สี ำคญั มดี งั น้ี

๑) การสร้างโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายประชากรร้อยละ ๔๐ ที่มีรายได้ต่ำสุด
โดยจัดบริการของรัฐท่ีมีคุณภาพทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข ให้กับผู้ที่ด้อยโอกาสและผู้ทีอ่ าศัยในพืน้ ท่ี
ห่างไกล

๒) การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุน
ในเรื่องการสร้างอาชีพ รายได้ และให้ความช่วยเหลือที่เช่ือมโยงการเพิ่มผลิตภาพสำหรับประชากร
กลมุ่ ร้อยละ ๔๐ รายได้ตำ่ สดุ ผู้ดอ้ ยโอกาส สตรี และผู้สงู อายุ

๓) การกระจายการจัดบริการภาครัฐให้มีความครอบคลุมและทั่วถึง ทั้งในเชิง
ปริมาณและคุณภาพในดา้ นการศึกษา สาธารณสขุ โครงสร้างพน้ื ฐาน และการจดั สวสั ดกิ าร

๔) การสรา้ งชมุ ชนเข้มแข็งให้เปน็ พลงั ร่วมทางสังคมในการสนับสนุนการพัฒนา
และพรอ้ มรับผลประโยชนจ์ ากการพัฒนา

๒.๓.๕ การปรับโครงสร้างการผลิตและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วง
ของห่วงโซ่มูลค่า

๒.๓.๖ การปรับระบบการผลิตการเกษตรให้สอดคล้องกับพันธกรณีในด้าน
การเปล่ยี นแปลงสภาพภมู อิ ากาศและศกั ยภาพของพน้ื ท่ี

๒.๓.๗ การเพิ่มศักยภาพฐานการผลิตและบริการเดิมและการต่อยอดไปสู่ฐาน
การผลติ และบริการใหโ้ ดยใชเ้ ทคโนโลยที ี่เข้มข้นและนวัตกรรม

๒.๓.๘ การสง่ เสรมิ สร้างความเขม้ แขง็ ของเศรษฐกจิ กระแสใหม่
๒.๓.๙ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว
ที่มศี กั ยภาพใหเ้ ติบโตและสนบั สนุนภาคการผลติ เนน้ การปรับปรงุ กฎหมายท่เี กย่ี วข้อง
๒.๓.๑๐ การสร้างความเชอื่ มโยงระหว่างภาคการผลิต
๒.๓.๑๑ การพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดเล็กและขนาดกลาง วิสาหกิจชุมชน
และวิสาหกิจเพือ่ สงั คม
๒.๓.๑๒ การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม
๒.๓.๑๓ การฟน้ื ฟฐู านด้านความม่ันคงท่ีเปน็ ปัจจยั สำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และสงั คมของประเทศ

๑๘

๒.๓.๑๔ การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและ
การสรา้ งธรรมาภบิ าลในสังคมไทย

๒.๓.๑๕ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อขยายขีด
ความสามารถและพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจหลัก
และสง่ เสริมการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตของทกุ กลมุ่ ในสังคม

๒.๓.๑๖ การพัฒนาภาค เมือง และพ้นื ทเ่ี ศรษฐกิจ
๒.๓.๑๗ การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศให้เข้มข้นและส่งผลต่อการพัฒนา
อย่างเตม็ ที่
๒.๓.๑๘ การสง่ เสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ (Outward Investment)
๒.๓.๑๙ การปรับปรุงภาคการเงินของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและให้สามารถ
แข่งขันได้
๒.๓.๒๐ การปฏริ ูปด้านการคลงั และงบประมาณ

๓.๓ วตั ถุประสงคแ์ ละเป้าหมายการพัฒนาในชว่ งแผนพฒั นาฯ ฉบับที่ ๑๒
แผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ ๑๒ เปน็ แผนพัฒนาประเทศในระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

ซึ่งแปลงยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังน้ัน
ทิศทางการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จึงมุ่งเตรียมความพร้อมและวางรากฐานในการยกระดับ
ประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีกรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมายอนาคตประเทศไทยในปี ๒๕๗๙ ซึ่งกำหนดไว้ใน
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี เป็นกรอบที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ มุ่งตอบสนองวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายการพัฒนาที่กำหนดภายใต้ระยะเวลา ๕ ปีต่อจากนี้ไปพิจารณาจากการประเมินสภาพแวดล้อม
การพัฒนาทั้งจากภายนอกและภายในประเทศที่บ่งชี้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศ และการสะท้อน
ถงึ โอกาสและความเสย่ี งในการท่ีจะผลักดันขับเคลื่อนให้การพัฒนาในด้านต่าง ๆ บรรลุผลได้ในระยะเวลา
๕ ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงการต่อยอดให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง
ภายใตแ้ ผนพฒั นาฯ ฉบบั ตอ่ ๆ ไป ดงั นัน้ การพฒั นาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบบั ที่ ๑๒ จึงกำหนด
วัตถปุ ระสงค์และเปา้ หมายรวมของการพฒั นาได้ ดงั นี้

๓.๓.๑ วัตถุประสงค์
๑) เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเปน็ คนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบ

วินัย ค่านิยมที่ดี มีจิตสาธารณะ และมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพทีด่ ี ครอบครัวอบอุ่น ตลอดจน
เปน็ คนเก่งทีม่ ที กั ษะความรู้ความสามารถและพฒั นาตนเองได้ต่อเน่ืองตลอดชีวิต

๒) เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ได้รับความเป็นธรรม
ในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ รวมท้ัง
ชมุ ชนมีความเข้มแขง็ พ่งึ พาตนเองได้

๓) เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง แข่งขันได้ มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน สร้าง
ความเข้มแข็งของฐานการผลิตและบริการเดิมและขยายฐานใหม่โดยการใช้นวัตกรรมที่เข้มข้นมากข้ึน
สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และสรา้ งความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร และนำ้

๔) เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถ
สนับสนุนการเติบโตทเี่ ป็นมติ รกบั สงิ่ แวดลอ้ มและการมีคณุ ภาพชวี ติ ที่ดีของประชาชน

๑๙

๕) เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัย และ
มกี ารทำงานเชิงบูรณาการของภาคกี ารพัฒนา

๖) เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคโดยการพัฒนาภาคและเมือง
เพื่อรองรบั การพฒั นายกระดบั ฐานการผลติ และบริการเดมิ และขยายฐานการผลิตและบริการใหม่

๗) เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยง (Connectivity) กับประเทศ
ต่าง ๆ ทั้งในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และนานาชาติได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ รวมท้ัง
ให้ประเทศไทยมีบทบาทนำและสร้างสรรค์ในด้านการค้า การบริการ และการลงทุนภายใต้กรอบ
ความร่วมมือต่าง ๆ ทงั้ ในระดับอนุภมู ิภาค ภมู ภิ าค และโลก

๓.๓.๒ เปา้ หมายรวม
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายรวมการพัฒนา

ของแผนพฒั นาฯ ฉบับท่ี ๑๒ ประกอบด้วย
๑) คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรม

ตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทัน
สถานการณ์ มคี วามรบั ผดิ ชอบและทำประโยชน์ต่อสว่ นรวม มีสุขภาพกายและใจทีด่ ี มคี วามเจรญิ งอกงาม
ทางจิตวญิ ญาณ มวี ิถชี วี ติ ท่ีพอเพียง และมคี วามเป็นไทย

๒) ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลง เศรษฐกิจฐานราก
มีความเขม้ แข็ง ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถงึ ทรัพยากร การประกอบอาชพี และบรกิ ารทางสังคม
ทีม่ คี ณุ ภาพอยา่ งทั่วถึงและเป็นธรรม กลุ่มทม่ี ีรายไดต้ ำ่ สุดร้อยละ ๔๐ มรี ายได้เพ่ิมขน้ึ อยา่ งน้อยร้อยละ ๑๕

๓) ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ โครงสร้างเศรษฐกิจปรับสู่
เศรษฐกจิ ฐานบรกิ ารและดิจิทัล มผี ูป้ ระกอบการรนุ่ ใหม่และเป็นสังคมผูป้ ระกอบการ ผู้ประกอบการขนาด
กลางและขนาดเล็กท่ีเข้มแข็งสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรคค์ ุณค่าสินค้าและ
บริการ มีระบบการผลิตและให้บริการจากฐานรายได้เดิมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และมีการลงทุนในการผลิต
และบริการฐานความรูช้ ้ันสงู ใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งกระจายฐานการผลิตและ
การให้บรกิ ารส่ภู ูมภิ าคเพือ่ ลดความเหลื่อมล้ำ โดยเศรษฐกจิ ไทยมเี สถยี รภาพและมีอตั ราการขยายตัวเฉล่ีย
ร้อยละ ๕ ตอ่ ไป มปี จั จยั สนับสนุน อาทิ ระบบโลจสิ ตกิ ส์ พลงั งาน และการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่เอื้อต่อ
การขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ

๔) ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน้ำ โดยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ ๔๐
ของพ้ืนทปี่ ระเทศเพ่ือรักษาความสมดลุ ของระบบนิเวศ ลดการปล่อยกา๊ ซเรือนกระจกในภาคพลังงานและ
ขนส่งไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗ ภายในปี ๒๕๖๓ เทียบกับการปล่อยในกรณีปกติ มีปริมาณหรือสัดส่วนของ
ขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น และรักษาคุณภาพน้ำและคุณภาพอากาศ
ในพ้นื ทวี่ ิกฤตใหอ้ ย่ใู นเกณฑ์มาตรฐาน

๕) มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย สังคมปลอดภัย สามัคคี สร้าง
ภาพลักษณ์ดี และเพิ่มความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และ
ความคิดในสังคมลดลง ปัญหาอาชญากรรมลดลง ปริมาณความสูญเสียจากภัยโจรสลัดและการลักลอบ
ขนส่งสินค้าและค้ามนุษย์ลดลง มีความพร้อมที่ปกป้องประชาชนจากการก่อการร้ายและภัยพิบัติ
ทางธรรมชาติ ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ เกิดความเชื่อมโยง

๒๐

การขนส่ง โลจิสติกส์ ห่วงโซ่มูลค่า เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่สำคัญในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และโลก และ
อตั ราการเตบิ โตของมูลคา่ การลงทุนและการสง่ ออกของไทยในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และอาเซียนสงู ขึ้น

๖) มรี ะบบบรหิ ารจดั การภาครฐั ท่ีมีประสทิ ธภิ าพ ทนั สมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้
กระจายอำนาจแบละมีส่วนร่วมจากประชาชน บทบาทภาครัฐในการให้บริการซึ่งภาคเอกชนดำเนินการแทน
ได้ดีกว่าลดลง เพิ่มการใช้ระบบดิจิทลั ในการให้บริการ ปัญหาคอร์รัปชั่นลดลง และการบริหารจัดการของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้น โดยอันดับประสิทธภิ าพภาครัฐที่จดั ทำโดยสถาบันการจัดการ
นานาชาติและอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจในประเทศดีขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐและระบบ
งบประมาณมีประสิทธภิ าพสงู ฐานภาษีกว้างขน้ึ และดัชนีการรับรกู้ ารทุจริตดีขน้ึ รวมถึงมบี ุคลากรภาครัฐ
ท่มี ีความรูค้ วามสามารถและปรับตัวไดท้ ันกับยคุ ดิจิทลั เพ่มิ ข้ึน

๓.๔ ยทุ ธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาสำคัญ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๑๒

ถูกกำหนดจากยุทธศาสตร์ทั้ง ๖ ด้าน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และกำหนดเป็นแนวทางใน
รายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องและการตอบสนองต่อเป้าหมายที่ต้องบรรลุในระยะ ๕ ปี
ที่จะเป็นการวางพื้นฐานที่สามารถสานต่อการพัฒนาในประเด็นสำคัญของประเทศในระยะต่อ ไป
ที่สนับสนุนเป้าหมายการพฒั นาให้เกดิ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยใช้หลักของปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงนำทาง ทั้งนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ทั้ง ๑๐ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนา
ครอบคลุมรายละเอยี ดทต่ี อบสนองต่อจุดเนน้ ประเด็นหลักของของการพัฒนาในระยะ ๕ ปี และมงุ่ ต่อยอด
ผลสัมฤทธิ์ในแผนพัฒนาฉบับต่อ ๆ ไป โดยจะต้องต่อยอดให้เกิดความต่อเนื่องของการขับเคลื่อน
การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและการแก้ปัญหาสำคัญที่เป็นรากเหง้าของปัญหาต่าง ๆ และประเด็นปฏิรูป
ประเทศให้ลุล่วง รวมทั้งประเด็นร่วมที่มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายประเด็นการพัฒนาที่จะนำไปสู่
การพัฒนาท่ยี ่งั ยนื ต่อเนอ่ื งกันไปตลอด ๒๐ ปี

ยุทธศาสตร์ที่กำหนดในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ มีจำนวน ๑๐ ยุทธศาสตร์
ประกอบดว้ ย

๑. ยทุ ธศาสตรก์ ารเสรมิ สร้างและพัฒนาศกั ยภาพทนุ มนษุ ย์
๒. ยทุ ธศาสตรก์ ารสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลอ่ื มลำ้ ในสังคม
๓. ยทุ ธศาสตรก์ ารสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกจิ และแขง่ ขนั ได้อยา่ งย่ังยนื
๔. ยทุ ธศาสตรก์ ารเติบโตทีเ่ ปน็ มติ รกับสง่ิ แวดลอ้ มเพ่อื การพัฒนาอยา่ งยง่ั ยืน
๕. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งค่ัง
และยั่งยืน
๖. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและ
ธรรมาภบิ าลในสังคมไทย
๗. ยุทธศาสตรก์ ารพัฒนาโครงสร้างพน้ื ฐานและระบบโลจสิ ติกส์
๘. ยุทธศาสตร์การพฒั นาวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี วจิ ยั และนวตั กรรม
๙. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นทเี่ ศรษฐกจิ
๑๐. ยุทธศาสตร์ความรว่ มมอื ระหว่างประเทศเพื่อการพฒั นา

๒๑

๔. การขบั เคลื่อนการศกึ ษามัธยมศกึ ษาไทย ๔.๐ เพ่ือการมงี านทำแหง่ ศตวรรษท่ี ๒๑
โลกศตวรรษที่ ๒๑ (ค.ศ. ๒๐๐๐ – ๒๑๐๐) หมายถึง ยุคปัจจุบันที่มองไปถึงอนาคตซึ่งจะมี

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่ชัดเจน โลกในศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ หลังการปฏิวัติ
อุตสาหกรรมครั้งแรกในยุโรปเป็นยุคของการผลิตแบบโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง
และมีคนควบคุมแรงงานฝมี ือทท่ี ำงานง่าย ๆ การจัดการศกึ ษาในศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ จงึ เปน็ เรื่องการฝึก
ความรู้ ทักษะสำหรับป้อนคนเข้าไปทำงานในเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมยุคแรก ๆ แต่เศรษฐกิจ
ของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นทุนนิยมอุตสาหกรรมข้ามชาติที่มีการพัฒนาทางด้าน
เทคโนโลยีและการบริหารจัดการในระดับที่สูงกว่า การผลิตสินค้าและบริการที่ใช้คอมพิวเตอร์และ
เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงต้องการแรงงาน การจัดองค์กรที่มีความรู้และการคิดค้นใหม่ ระบบการผลิตแบบใหม่
ที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ เป็นระบบที่มีการแข่งขันและร่วมมือกันอย่างซับซ้อนขึ้น แต่การจัดการศึกษาของไทย
ยังเป็นแบบศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ คือ มุ่งฝึกฝนคนตามความชำนาญเฉพาะทางเพื่อผลิตแรงงานไปป้อน
โรงงานอุตสาหกรรมที่ใชร้ ะบบการผลติ แบบสายพาน จงึ เป็นการจดั การศึกษาท่ลี ้าหลังและทำให้เศรษฐกิจ
และสังคมของไทยในยคุ ปจั จุบันพัฒนาไดช้ ้ากว่าประเทศอื่น ๆ หรือมีปัญหาในหลายดา้ น จำเป็นท่ีจะต้อง
มีการปฏิรปู ระบบการศกึ ษาและการฝกึ อบรมแรงงานใหม่

จากความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และเป็นการเรียนการสอนในระบบ Education ๔.๐ ดังกล่าว การจัด
การศึกษาในระดบั มธั ยมศึกษาจึงมีกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ท่จี ะส่งเสริมให้เกิดเป็น
ทักษะแห่งอนาคตใหม่ให้กับนักเรียน เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นโดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
(Partnership for 21st Century Skills) เพื่อ “เสนอความคดิ องคร์ วมอย่างเป็นระบบเพ่ือใช้ปรับแนวคิด
และฟื้นฟูการศึกษาขึ้นมาใหม่ โดยนำองค์ประกอบทั้งหมดมารวมกัน ทั้งผลการเรียนรู้ของนักเรียนและ
ระบบสนับสนุนการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ กลายเป็นกรอบความคิดรวม” ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
(21st Century Skills) โดยอ้างอิงจากรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ
เพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (Partnership for 21st Century Skills) (www.p21.org)
ทม่ี ีชือ่ ย่อว่า เครอื ข่าย P21 ซ่ึงไดพ้ ฒั นากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี ๒๑ โดยผสมผสานองค์
ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เทา่ ทันด้านตา่ ง ๆ เข้าด้วยกันเพ่ือความสำเร็จของ
ผเู้ รียนท้งั ด้านการทำงานและการดำเนินชวี ิต

๒๒

ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Support Systems) เป็น
ปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ตามโมเดล
ทก่ี ล่าวถึง ทง้ั นีป้ ัจจัยสำคญั ประกอบด้วย

๑. มาตรฐานในศตวรรษท่ี ๒๑ (21st Century Standards) จดุ เน้นคอื
(๑) เน้นทักษะ ความรู้และความเช่ยี วชาญทเ่ี กิดกบั ผู้เรียน
(๒) สรา้ งความรู้ความเขา้ ใจในการเรียนในเชิงสหวทิ ยาการระหว่างวิชาหลกั ที่เปน็ จดุ เน้น
(๓) ม่งุ เนน้ การสร้างความรแู้ ละเข้าใจในเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผิน
(๔) ยกระดบั ความสามารถผู้เรยี นด้วยการให้ข้อมูลทเี่ ป็นจริง การใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มี

คุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษา การทำงานและในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมี
ความหมายและสามารถแกไ้ ขปญั หาที่เกิดข้นึ ได้

(๕) ใช้หลกั การวดั ประเมนิ ผลท่ีมคี ุณภาพระดบั สูง
๒. การประเมนิ ทกั ษะในศตวรรษที่ ๒๑ (Assessment of 21st Century Skills) จดุ เน้นคอื

(๑) สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบทดสอบมาตรฐาน
สำหรับการทดสอบยอ่ ยและทดสอบรวมสำหรบั การประเมินผลในชน้ั เรยี น

(๒) เนน้ การนำประโยชน์ของผลสะทอ้ นจากการปฏบิ ัติของผเู้ รยี นมาปรับปรงุ แกไ้ ขงาน
(๓) ใชเ้ ทคโนโลยเี พอื่ ยกระดบั การทดสอบวัดและประเมนิ ผลใหเ้ กิดประสทิ ธิภาพสงู สุด
(๔) สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและ
มีคณุ ภาพ
๓. หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Curriculum & Instruction)
จดุ เน้นคือ
(๑) การสอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชา
แกนหลัก
(๒) สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา และสร้างระบบ
การเรยี นร้ทู เ่ี นน้ สมรรถนะเปน็ ฐาน (Competency – based)
(๓) สร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน
การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรียนจากการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based) เพื่อการสร้าง
ทกั ษะขั้นสงู ทางการคดิ และ
(๔) บรู ณาการแหลง่ เรยี นรู้ (Learning Resources) จากชมุ ชนเข้ามาใชใ้ นโรงเรียน
๔. การพฒั นาทางวชิ าชีพในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Professional Development)
จดุ เน้นคอื
(๑) จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการสร้างครูให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิง
บูรณาการการใช้เครื่องมือและกำหนดยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในชัน้ เรียน และสร้างให้ครูมีความสามารถ
ในการวิเคราะห์และกำหนดกจิ กรรมการเรียนรไู้ ด้เหมาะสม
(๒) สรา้ งความสมบรู ณ์แบบในมติ ขิ องการสอนดว้ ยเทคนคิ วิธีการสอนที่หลากหลาย
(๓) สร้างใหค้ รูเป็นผมู้ ีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงลึกเก่ียวกับการแก้ปัญหา การคิด
แบบวจิ ารณญาณ และทกั ษะด้านอื่น ๆ ที่สำคญั ตอ่ วชิ าชีพ
(๔) เป็นยุคแห่งการสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพให้เกิดข้ึนกับครูเพื่อเป็นตัวแบบ (Model)
แหง่ การเรยี นรขู้ องชั้นเรียนทีจ่ ะนำไปสู่การสร้างทักษะการเรยี นรใู้ ห้เกิดขึน้ กบั ผูเ้ รยี นได้อยา่ งมีคุณภาพ

๒๓

(๕) สร้างให้ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนได้ทั้งรูปแบบการเรียน สติปัญญา
จดุ ออ่ น จุดแขง็ ในตัวผู้เรียน เหล่านเ้ี ป็นตน้

(๖) ช่วยให้ครูได้เกิดการพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นเพื่อนำไปใช้สำหรับการกำหนด
กลยุทธ์ทางการสอนและจัดประสบการณท์ างการเรยี นได้เหมาะสมกับบรบิ ททางการเรยี นรู้

(๗) สนับสนุนให้เกิดการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างทักษะและเกิดการพัฒนา
การเรียนรู้

(๘) แบ่งปันความรู้ระหว่างชมุ ชนทางการเรยี นรูโ้ ดยใชช้ ่องทางหลากหลายในการสือ่ สาร
ให้เกดิ ขน้ึ

(๙) สร้างให้เกดิ ตัวแบบท่มี กี ารพฒั นาทางวิชาชีพไดอ้ ยา่ งมั่นคงและยงั่ ยนื
๕. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Learning Environment)
จุดเนน้ คือ

(๑) สร้างสรรค์แนวปฏิบัติทางการเรียน การรับการสนับสนุนจากบุคลากรและ
สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพทเ่ี กอื้ หนุน เพือ่ ช่วยใหก้ ารเรียนการสอนบรรลุผล

(๒) สนับสนุนทางวิชาชีพแก่ชุมชน ทั้งในด้านการให้การศึกษา การมีส่วนร่วม การแบ่งปัน
สงิ่ ปฏิบัติทเ่ี ป็นเลศิ ระหวา่ งกนั รวมทงั้ การบูรณาการหลอมรวมทักษะหลากหลายสู่การปฏิบัติในช้นั เรยี น

(๓) สร้างผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติจริงตามบริบท โดยเฉพาะการเรียน
แบบโครงงาน

(๔) สร้างโอกาสในการเขา้ ถึงสอ่ื เทคโนโลยี เครื่องมือหรอื แหล่งการเรยี นรู้ทมี่ คี ุณภาพ
(๕) ออกแบบระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งการเรียนเป็นกลุ่มหรือการเรียนรายบุคคล
และ
(๖) นำไปสู่การพัฒนาและขยายผลสู่ชุมชนทั้งในรูปแบบการเผชิญหน้าหรือระบบ
ออนไลน์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย
ได้วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้นและสังเคราะห์องค์ความรู้ที่สำคัญที่จะช่วยให้
การจัดการเรยี นรใู้ นระดับมธั ยมศกึ ษามคี วามสอดคลอ้ งกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และเป็นการ
เรียนการสอนในระบบ Education ๔.๐ นำมากำหนดเป็นกรอบการบริหารจัดการศึกษาใน ๗ โมดูล
ประกอบด้วย

๒๔

การจัดทักษะการเรยี นรแู้ ห่งศตวรรษท่ี ๒๑ ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชพี

โมดลู ที่ ๑ การสำรวจความต้องการของถน่ิ ฐานในระดบั ท้องถ่นิ เป็นการดำเนินการให้มีคลัง
แหล่งเรียนรู้ คลังอาชพี ในถน่ิ ฐาน และโปรแกรมการเรียนตามสมรรถนะสาขาวิชาชพี

โมดูลที่ ๒ การจัดทำหน่วยเรียนรู้บูรณาการระดับชั้น (Learning Integration) เป็นการ
ดำเนินการให้มีหน่วยเรียนรู้บูรณาการข้ามรายวิชา มีการวิเคราะห์ตัวชี้วัดมาตรฐานรายวิชาที่นำไปบูรณาการ
และมตี ารางเรยี นปกตแิ ละตารางเรียนรูข้ องหน่วยบรู ณาการ

โมดูลที่ ๓ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ เป็นการดำเนินการให้มีใบความรู้และ
ใบกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ ๗ กระบวนการ คือ การฝึกทักษะการสังเกต การฝึกการแสดงออก
ทางคุณลักษณะและค่านิยม ๑๒ ประการ การสำรวจแหล่งเรียนรู้ของหน่วยบูรณาการ การอภิปราย
แลกเปลี่ยนคำถามและคาดเดาคำตอบ การอภิปรายเชื่อมโยงคำถามกับสาระสำคัญรายวิชา การใช้
บรรณานุกรมวางแผนการสืบค้นอ่านหาความรู้ที่เป็นสากลสนับสนุนและการอภิปรายสรุปความรู้สากล
ตามประเดน็ คำถามและความรู้ที่ไดเ้ พมิ่ เติม

โมดลู ท่ี ๔ การจัดกิจกรรมความถนัดและความสนใจเฉพาะสาขาวิชาชีพ เป็นการดำเนินการ
ให้มีใบกิจกรรมการจัดกระบวนการ Project Based จำนวน ๔ กระบวนการ คือ การตั้งประเด็นสนใจ
พัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการดำรงชีวิต การรวบรวมสร้างความรู้สากล ใช้สร้างกระบวนการ
และขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม การปฏิบัติปรับปรุงตามกระบวนการและขั้นตอนการสรุปผล สื่อสาร
นำเสนอรวมกลมุ่ ในวชิ าชมุ นมุ เรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการและมีผลงานตามสาขาความเชีย่ วชาญ

โมดูลที่ ๕ การวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการดำเนินการให้มีเครื่องมือวัดผล
ที่มีคุณภาพสูงด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ ตามระดับขั้นพฤติกรรมที่ระบุในมาตรฐานตัวชี้วัด
รายวิชาครบทุกตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมการทำงานของ
แต่ละใบกิจกรรม เพื่อนำไปใช้แปลผลพฤติกรรมที่แสดงออกเป็นระดับคุณภาพของความรู้ ทักษะและ
คุณลักษณะที่จะแปลผลเป็นคะแนนเก็บและแสดงออกเป็นระดับสมรรถนะและคุณลักษณะตามหลักสูตร
ตลอดจนองค์ประกอบของบุคลกิ ภาพตามกลมุ่ วชิ าชีพต่าง ๆ

โมดูลที่ ๖ การพัฒนาสมรรถนะตามสาขาวิชาชีพและจัดทำเส้นทางอาชีพ (Career Path)
เป็นการดำเนินการให้มีการประเมินบุคลิกภาพตามกลุ่มสาขาอาชีพให้กับนักเรียนรายบุคคล ใช้เป็นข้อมลู
การตัดสินใจเลือกโปรแกรมการเรียนตามสาขาวิชาชีพ มีการพฒั นาสมรรถนะตามสาขาวิชาชีพในรายวิชา

๒๕

เพ่มิ เติม โดยกลมุ่ สถานประกอบการและความร่วมมอื ของอาชีวศึกษา การประเมินสมรรถนะสาขาวิชาชีพ
ของนักเรียนรายบุคคลจากความร่วมมือของสำนักงานฝีมือแรงงานจังหวัด และมีการเทียบโอนหน่วยกิต
รับวุฒปิ ระกาศนียบัตรวิชาชีพสำหรับนกั เรยี นที่มคี วามประสงค์จะขอรับวุฒทิ ่ี ๒

โมดูลที่ ๗ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไปใช้จัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นการนำเทคโนโลยี
มาช่วยจัดทำคลังทะเบียนแหล่งเรียนรู้ คลังทะเบียนอาชีพ จัดทำโปรแกรมการเรียน จัดทำหน่วยบูรณาการ
ของแต่ละระดับชั้น จัดทำใบกิจกรรม เพื่อมอบหมายให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดทำคลังความรู้และ
การสืบค้นความรู้ในรูปแบบออนไลน์ (Online) รายงานผลการส่งการบ้าน จัดทำเครื่องมือวัดและ
ประเมินผล จัดทำคลงั ขอ้ สอบและจัดทำเส้นทางอาชพี (Career Path) นกั เรียนรายบคุ คล

แนวทางการนำการบริหารจัดการศกึ ษาใน ๗ โมดูล ส่กู ารปฏิบัตใิ นสถานศกึ ษา
สถานศกึ ษาระดับมัธยมศึกษา สามารถนำเอาการบรหิ ารจัดการศึกษาใน ๗ โมดูล ไปพัฒนา

ใหส้ อดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสถานศกึ ษาในลกั ษณะของการจดั การเรียนรู้ ๕ รูปแบบ ได้แก่
๑. รูปแบบสมรรถนะอาชีพระยะสั้น โดยให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้รู้จัก

ลักษณะอาชีพต่าง ๆ ในท้องถิ่น แล้วเลือกเรียนหน่วยฐานสมรรถนะอาชีพระยะสั้นที่ตนเองสนใจ
เพื่อนำไปสู่การค้นพบตัวตนว่ามีความถนัดและบุคลิกภาพเหมาะสมกับสมรรถนะอาชีพใด ซึ่งจะส่งผลต่อ
การตัดสินในของนกั เรียนในการเรียนตอ่ ในระดับที่สงู ขึ้นที่อาจจะเปน็ การเรียนในสายอาชพี หรือสายสามัญ
ต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็จะเลือกแผนการเรียนในกลุ่มสาขาความถนัดเพื่อเรียนต่อ
ระดับอุดมศึกษาได้ตรงกับความถนัดและบุคลิกภาพของนักเรียน ลักษณะการจัดวิชาอาชีพจะกำหนด
รายวิชาตามสาขาวิชาชีพ ๕ ประเภท คือ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ศิลปกรรม และคหกรรม
โดยกำหนดเป็นหน่วยฐานสมรรถนะอาชีพระยะสั้นได้หลายหน่วยสมรรถนะเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักและ
เรยี นรู้ได้อยา่ งหลากหลาย

๒๖

๒. รูปแบบทวิศึกษา เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีทักษะและความถนัด
ในประเภทและสาขาอาชีพ เช่น ประเภทวิชาชีพอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม เกษตรกรรม
การโรงแรมและการท่องเที่ยว ศิลปกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ประมง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ นักเรียน
ต้องการมงุ่ ไปส่สู ายอาชีพหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ แตอ่ าจอย่ไู กลไม่สะดวกในการเดินทางไปเรียน
ในสถาบันอาชีวศึกษาจึงใช้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า
๓ ปี ได้วุฒิการศึกษา ๒ วุฒิ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประเภทประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
ลักษณะการจัดหลักสูตรสถานศึกษาในรายวิชาพื้นฐานและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา
เป็นผจู้ ัดการเรียนการสอน สถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษาเปน็ ผู้รับโอน
หนว่ ยกิตเป็นหมวดวชิ าทักษะชีวิต หมวดวชิ าเลือกเสรีและกจิ กรรมพฒั นาผู้เรียนตามลำดับ สำหรับหมวด
ทกั ษะวิชาอาชีพ สถาบนั การศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นผูจ้ ัดการเรียนการสอน
โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้รับโอนหน่วยกิตมาเป็น
รายวชิ าเพิม่ เตมิ

๒๗

๓. รูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากความร่วมมือ
ระหว่างสถานศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตร
การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาและ
เรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาส
ฝึกภาคปฏิบัติในสถานศึกษา สถานประกอบการจริงมากกว่าระบบปกติ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่สำเร็จ
การศกึ ษามีทักษะตรงตามความตอ้ งการของตลาดแรงงาน

๔. รูปแบบเตรียมความถนัดเฉพาะทางกลุ่มสาขาวิชาชีพอดุ มศึกษา เป็นการจดั การศึกษา
สำหรับนกั เรียนทีม่ ีผลการเรยี นในรายวชิ าท่เี ป็นพน้ื ฐานความถนัดไดต้ ามเกณฑ์ของระดบั ความรู้กลุ่มสาขา
ความถนดั ในสาขาวิชาในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ๙ กลุม่ สาขาวิชา ได้แก่ กลมุ่ สาขาวชิ าวิทยาศาสตร์
กายภาพและชีวภาพ กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชา
เกษตรศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาบริหาร พาณิชยศาสตร์และการบัญชี การท่องเที่ยวและโรงแรม
กลุ่มสาขาวิชาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษาและสุขศึกษา กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ และกลุ่ม
สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลักษณะการจัดหลักสูตรสถานศึกษา จะจัดแผนการเรียนและ
รายวชิ าเพ่ือรองรบั การเรยี นต่อคณะกลมุ่ ความถนัดทางสาขาวชิ าในการเรยี นต่อระดบั อดุ มศึกษา

๒๘

๕. รูปแบบการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจพอเพียง เป็นการนำเอาทักษะความรู้
และคุณลักษณะนิสัยจากการเรียนรู้ใน ๓ รูปแบบมาใช้พัฒนาการประกอบการและทำธุรกิจขึ้นมาใช้ใน
การดำเนินวิถีชีวิตได้จริง ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพเพื่อดำรงชีวิตหรือแก้ปัญหา สนองความ
ต้องการการพฒั นาชุมชน สงั คมและประเทศชาติ โดยใช้กระบวนการ Project – based Learning : PBL
บนพื้นฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทท่ี 3
วิธีดำเนินการ

การดำเนินโครงการจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ จังหวัดสุพรรณบุรี
“Suphanburi Model” สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้กำหนดกิจกรรมการดำเนินงานไว้
๖ กจิ กรรม ประกอบด้วย

กิจกรรมที่ ๑ วิเคราะห์ศกั ยภาพพื้นที่ดา้ นทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากรในพืน้ ท่ี
กจิ กรรมที่ ๒ แสวงหาความรว่ มมือภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถน่ิ และชมุ ชน
กิจกรรมที่ ๓ สรปุ อาชพี ทสี่ อดคลอ้ งกบั ศักยภาพพน้ื ท่ี และความตอ้ งการของผ้เู รียน
กิจกรรมท่ี ๔ ประสานความรว่ มมือจากสถาบนั การศึกษาในพื้นที่
กิจกรรมที่ ๕ กำหนดรูปแบบแนวทาง/หลกั สูตรการจดั การศกึ ษาเพอื่ อาชพี
กจิ กรรมท่ี ๖ จดั ทำรายละเอียด และนำไปใช้
ซ่ึงได้ดำเนนิ กจิ กรรม ดงั นี้

กจิ กรรมท่ี ๑ วิเคราะห์ศักยภาพพน้ื ท่ีด้านทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากรในพื้นท่ี เป็น
การวิเคราะห์ข้อมูลดา้ นตา่ ง ๆ ในแต่ละอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๑๐ อำเภอ เพื่อหาจุดเด่น/
จุดด้อย หรือโอกาส/อุปสรรค ด้านทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากร และแนวโน้มอาชีพ ที่สอดคล้อง
กับบริบท และความต้องการของผู้เรียน ชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งนี้ได้ยึดหลักการดำเนินงานท่ี
ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี และยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาจังหวดั สุพรรณบรุ ี ประจำปงี บประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ มาเป็นกรอบการดำเนินงาน ดังนี้

ยทุ ธศาสตรช์ าติ ระยะ ๒๐ ปี ที่มเี ป้าหมายปฏิรปู เศรษฐกิจของประเทศ และนำพาประชาชน
ไปสู่ “ประเทศไทย ๔.๐” ยกขีดความสามารถใน ๔ กลมุ่ เปา้ หมาย ประกอบดว้ ย

๑. เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการ
และเทคโนโลยี (Smart Farming)

๒. เปลยี่ นจาก SMEs เดมิ ไปสู่ Smart SMEs และ Startups
๓. เปลี่ยนจากบริการมลู คา่ ต่ำ ไปส่บู รกิ ารมูลคา่ สงู
๔. เปลย่ี นจากแรงงานทักษะตำ่ ไปส่แู รงงานทีม่ ีความรู้ ความเชย่ี วชาญและทกั ษะสงู
แผนพัฒนาจังหวดั สพุ รรณบุรี ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
เปา้ หมายการพัฒนา
“เมอื งเกษตรกรรมย่งั ยืน เศรษฐกิจเขม้ แขง็ คุณภาพชวี ติ ดสี ังคมมีสขุ ”
ประเดน็ การพฒั นา
๑. การเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน เพื่อการแข่งขัน
ทางการค้าและการพฒั นาที่ย่งั ยืน
๒. พฒั นาการทอ่ งเทยี่ วและการกฬี า เพ่ือสรา้ งมูลคา่ เพมิ่ ทางเศรษฐกจิ
๓. การส่งเสริมคณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ มควบคูก่ ับการอนุรักษท์ รพั ยากรธรรมชาตสิ ูค่ วามยงั่ ยนื
๔. การยกระดบั คุณภาพชีวติ ของประชาชน

๓๐

กิจกรรมที่ ๒ แสวงหาความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น และชุมชน การจัดการศึกษา
เพื่ออาชีพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะ
อย่างย่งิ ความร่วมมือระหวา่ งสถานศกึ ษากับสถานประกอบการ ผปู้ ระกอบการ ในการผลิตกำลงั แรงงานท่ี
มีสมรรถนะ และทกั ษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและผปู้ ระกอบการ โดยสถานประกอบการ
จะเป็นแหลง่ เรียนรู้ และฝึกประสบการณ์ใหแ้ กผ่ ูเ้ รียนโดยตรง

กจิ กรรมท่ี ๓ สรุปอาชีพท่ีสอดคล้องกับศักยภาพพน้ื ท่ี และความตอ้ งการของผู้เรียน เพื่อให้
การจัดทำแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ จังหวัดสุพรรณบุรี มีความสอดคล้องกับความต้องการของ
ผู้เรียน โดยการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง เกี่ยวกับ
กลมุ่ อาชีพทส่ี นใจ ลักษณะการจัดการศึกษา/อบรม วัน เวลาในการจัดการศึกษา/อบรม ความคิดเห็นต่อ
ประโยชน์ของหลักสตู รท่ีสนใจ และความตอ้ งการหลังผา่ น/จบการศึกษาหรอื อบรม

๓๑
กิจกรรมที่ ๔ ประสานความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ โดยยึดหลักการทำงานท่ี
เน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
ชุมชน ในดา้ นทรัพยากรบุคคล งบประมาณ อาคารสถานท่ี วัสดอุ ุปกรณ์ เปน็ ตน้

กิจกรรมที่ ๕ กำหนดรูปแบบแนวทาง/หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โดย มี
คณะกรรมการจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ จังหวัดสุพรรณบุรี “Suphanburi Model”
นำผลการสำรวจความคิดเห็นจากผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มากำหนดเป็นกรอบ
แนวทางดำเนินการ

๓๒

กิจกรรมที่ ๖ จัดทำรายละเอียด และนำไปใช้ การพัฒนารูปแบบแนวทาง/หลักสูตรการจัด
การศึกษาเพื่ออาชีพ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี กับสถานศึกษา
ในระดบั อดุ มศึกษา อาชวี ศึกษา และการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน ในการพัฒนาตามกรอบแนวทางที่กำหนด และ
ตามบรบิ ทของแต่ละสถานศึกษา

รูปแบบแนวทาง/หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ จังหวัดสุพรรณบุรี “Suphanburi
Model” มีรปู แบบการดำเนนิ การ ดงั นี้

๑. พฒั นาครู บุคลากรทางการศกึ ษาให้มีความรู้ ความเขา้ ใจในการพฒั นาหลักสูตรฝึกอบรม
วิชาชีพ โดยการประยุกต์หลัก Job Analysis มีบุคลากรในสถานศึกษาเข้าร่วมรับการพัฒนา จำนวน ๙ แห่ง
ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี, วิทยาลัยอาชีวศึกษา
สุพรรณบุรี, วทิ ยาลยั สารพัดชา่ งบรรหาร-แจ่มใส สุพรรณบุรี, วิทยาลัยการอาชพี สองพีน่ ้อง, วิทยาลัยการอาชีพ
อู่ทอง, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี, โรงเรียนอู่ทอง, โรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัย และ
โรงเรียนวัดบางสะแก (วิทยารังสรรค)์

๒. จัดการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีพระยะสั้นที่เชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ
อาชวี ศึกษา สาขาวิชางานไฟฟา้ งานอเิ ล็กทรอนิกส์ งานยานยนต์ งานคอมพวิ เตอร์ และงานช่างเช่ือม โดย
ดำเนินการร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส สุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดปราสาททอง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนวัดพระธาตุ
และโรงเรียนวัดไผ่เกาะโพธิ์งาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน

๓. จัดหลักสูตรฝึกอบรมวิชาช่างเชื่อมโลหะ โดยดำเนินการร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพ
สองพีน่ อ้ ง สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา

๔. จัดหลักสูตรฝึกอบรมเสริมอาชีพ การทำพวงกุญแจตุ๊กตาไหมพรม กระเป๋าจากเส้น
พลาสติก พวงกุญแจนกฮูก ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา และช่อบูเก้ดอกรวงผึ้ง โดยดำเนินการร่วมกับ
โรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีก่ ารศกึ ษามัธยมศึกษา เขต ๙ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้นั พน้ื ฐาน

๕. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสถานศึกษา การทำอิฐบล็อก การทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้
ในบ้าน การสานตะกร้าเส้นพลาสติก และเปลญวน โดยดำเนินการร่วมกับโรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัย
สงั กดั สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษา เขต ๙ สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๖. จัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะพื้นฐานอาชีพ ได้แก่ การปลูกมะเขือเทศเชอรี่ การแปรรูป
อาหาร (ขนมกล้วย เผือกฉาบ ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาล) เพื่อเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านอาชีพให้แก่นักเรียน
ระดับช้ันประถมศึกษา โดยดำเนินการรว่ มกับโรงเรียนวัดบางสะแก (วิทยารังสรรค์) สังกดั สำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาประถมศกึ ษาสุพรรณบุรี เขต ๒ สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน

๗. จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้นที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กับอาชีวศึกษา รายวิชาการเดินสายไฟฟ้าในบ้าน และรายวิชาพิมพ์ดีดไฟฟ้า โดยดำเนินการร่วมกับ
วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และโรงเรียนวัดบางสะแก
(วิทยารังสรรค์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒ สำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน

บทที่ 4
ผลการดำเนนิ งาน

กิจกรรมการจัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพจังหวัดสุพรรณบุรี
“Suphanburi Model” ไดก้ ำหนดกจิ กรรมหลกั ๖ กิจกรรม มีผลการดำเนนิ งาน ดังนี้

กิจกรรมที่ ๑ วเิ คราะห์ศักยภาพพนื้ ทดี่ ้านทรัพยากรและศกั ยภาพของบุคลากรในพื้นท่ี
เป็นการค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของทรัพยากรและบุคลากร และ

แนวโน้มอาชีพใน ๕ กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย ๑) กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยี ๒) กลุ่มสาธารณสุขและ
เทคโนโลยีการแพทย์ ๓) กลุ่มหุ่นยนต์อัจฉริยะและระบบเครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ๔) กลุ่มดิจิทัล
เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อ และ ๕) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการที่มี
มลู คา่ สงู

กิจกรรมท่ี ๒ แสวงหาความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิน่ และชมุ ชน
สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดสพุ รรณบรุ ี ได้จดั ประชุมหน่วยงานการศึกษา สถาบันการศึกษา

หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการ
จัดทำรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพจังหวัดสุพรรณบุรี “Suphanburi Model” และ
ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม
จำนวน ๓๒ หน่วยงาน รวมทง้ั สิน้ ๕๐ คน

กิจกรรมท่ี ๓ สรปุ อาชพี ทสี่ อดคล้องกบั ศักยภาพพ้ืนที่ และความต้องการของผู้เรียน
จากการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ด้านทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากรในพื้นท่ีซึ่งทำให้

ทราบแนวโน้มด้านอาชีพในกลุ่มอาชีพ ๕ กลุ่ม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นเกยี่ วกับความตอ้ งการด้านอาชีพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคอื นกั เรยี น นกั ศกึ ษา นิสิต และ
ประชาชนทวั่ ไป จำนวน ๓๐๘ คน เก็บขอ้ มูลระหว่างวันท่ี ๒๐ - ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒ มีผลการสำรวจ ดงั น้ี

ตารางท่ี ๑ เพศของผตู้ อบแบบสอบถาม จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย ๙๙ ๓๒.๑๔
หญงิ ๒๐๙ ๖๗.๘๖
รวม
๓๐๘ ๑๐๐.๐๐

จากตารางท่ี ๑ เม่ือพจิ ารณาเพศของผ้ตู อบแบบสอบถาม พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถาม เพศหญิง
คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๖๗.๘๖ และ เพศชาย คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๓๒.๑๔

๓๔

ตารางท่ี ๒ อายุ จำนวน รอ้ ยละ

อายุ ๒๕ ๘.๑๒
๒๕๘ ๘๓.๗๗
ต่ำกวา่ ๑๕ ปี ๑ ๐.๓๒
๑๕ - ๑๘ ปี ๑๔ ๔.๕๕
๑๙ - ๒๒ ปี ๗ ๒.๒๗
๒๓ - ๔๐ ปี ๓ ๐.๙๗
๔๑ - ๕๐ ปี
๕๑ ปีขนึ้ ไป ๓๐๘ ๑๐๐.๐๐

รวม

จากตารางที่ ๒ เมื่อพิจารณาอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ
๑๕-๑๘ ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๗๓ รองลงมาได้แก่ อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี คิดเป็นร้อยละ ๘.๑๒
อายุ ๒๓-๔๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๔.๔๕ อายุ ๔๑-๕๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๒.๒๗ อายุ ๕๑ ปีขึ้นไป คิดเป็น
รอ้ ยละ ๐.๙๗ และ อายรุ ะหว่าง ๑๙-๒๒ ปี คดิ เป็นรอ้ ยละ ๐.๓๒ ตามลำดับ

ตารางที่ ๓ สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ร้อยละ

สถานภาพ ๒๘๖ ๙๒.๘๖
๑๗ ๕.๕๒
นกั เรยี น / นกั ศกึ ษา ๑ ๐.๓๒
ครู / อาจารย์ / บคุ ลากรทางการศึกษา ๔ ๑.๓๐
ข้าราชการ
ผปู้ ระกอบการ ๓๐๘ ๑๐๐.๐๐

รวม

จากตารางที่ ๓ เมื่อพิจารณาสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักเรียน/นักศึกษา มากที่สุด
คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๘๖ รองลงมาได้แก่ ครู/อาจารย์/บุคลากรทางการศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๕.๕๒
ผู้ประกอบการ คดิ เป็นรอ้ ยละ ๑.๓๐ และข้าราชการ คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๐.๓๒ ตามลำดับ

ตารางที่ ๔ ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ระดบั การศึกษา ๑๐ ๓.๒๕
๗๓ ๒๓.๗๐
ประถมศกึ ษา ๒๐๐ ๖๔.๙๔
มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ ๑ ๐.๓๒
มัธยมศกึ ษาตอนปลาย ๑๐ ๓.๒๕
ประกาศนยี บัตรวิชาชีพ (ปวช.) ๑๔ ๔.๕๔
ปรญิ ญาตรี
สงู กว่าปริญญาตรี ๓๐๘ ๑๐๐.๐๐

รวม

๓๕

จากตารางที่ ๔ เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๙๔ รองลงมาได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ
๒๓.๗๐ สูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๔.๔๕ ปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๓.๒๕ ประถมศึกษา คิดเป็น
รอ้ ยละ ๓.๒๕ และ ระดับประกาศนยี บัตรวิชาชพี (ปวช.) คิดเปน็ ร้อยละ ๐.๓๒ ตามลำดบั

ตารางท่ี ๕ อาชีพของผ้ตู อบแบบสอบถาม จำนวน รอ้ ยละ

อาชีพ ๑๙ ๖.๑๗
๔ ๑.๓๐
รับราชการ/พนักงานของรัฐ ๒๘๕ ๙๒.๕๓
ธรุ กจิ สว่ นตัว / ผูป้ ระกอบการ
นกั เรียน / นักศกึ ษา ไมไ่ ด้มีอาชพี ๓๐๘ ๑๐๐.๐๐

รวม

จากตารางท่ี ๕ เมอ่ื พจิ ารณาอาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบวา่ นักเรียน/นักศึกษา ไม่มีอาชีพ
มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๕๓ รองลงมา ได้แก่ ผู้มีอาชีพรับราชการ/พนักงานของรัฐ คิดเป็นร้อยละ
๖.๑๗ และธุรกิจสว่ นตวั / ผูป้ ระกอบการ คิดเป็นร้อยละ ๑.๓๐ ตามลำดบั

ตารางที่ ๖ กล่มุ อาชพี ทีไ่ ด้รับความสนใจ จำนวน ร้อยละ

กลมุ่ อาชพี ๒๕๖ ๑๗.๔๗
๒๕๓ ๑๗.๒๗
อาหาร เกษตร และเทคโนโลยี ๒๓๑ ๑๕.๗๗
สาธารณสุขและเทคโนโลยีการแพทย์ ๓๘๔ ๒๖.๒๑
หนุ่ ยนต์อจั ฉรยิ ะและระบบเครื่องกลอิเลก็ ทรอนิกส์ควบคุม ๓๔๑ ๒๓.๒๘
ดจิ ิทัล เทคโนโลยีและอินเตอรเ์ น็ตเชื่อมต่อ
อุตสาหกรรมสรา้ งสรรค์ วัฒนธรรม และบรกิ ารท่ีมีมูลค่าสงู ๑,๔๖๕ ๑๐๐.๐๐

รวม

จากตารางที่ ๖ เมื่อพิจารณากลุ่มอาชีพที่ได้รับความสนใจ พบว่า กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีและ
อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อ ได้รับความสนใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๒๑ รองลงมาได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม
สร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง คดิ เปน็ ร้อยละ ๒๓.๒๘ กลุม่ อาหาร เกษตร และเทคโนโลยี
คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๔๗ กลุ่มสาธารณสุขและเทคโนโลยีการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๒๗ และ กลุ่มหุ่นยนต์
อจั ฉริยะ และระบบเครอ่ื งกลอิเล็กทรอนิกสค์ วบคุม คิดเปน็ รอ้ ยละ ๑๕.๗๗ ตามลำดับ

ตารางที่ ๗ กลุม่ อาหาร เกษตร และเทคโนโลยี จำนวน รอ้ ยละ

อาชีพ ๔๖ ๑๗.๙๗
๗๓ ๒๘.๕๒
เกษตรอินทรยี ์ ๗๑ ๒๗.๗๓
การผลิตและจำหนา่ ยอาหารเพื่อสขุ ภาพ ๖๖ ๒๕.๗๘
นักวเิ คราะห์อาหาร
เลยี้ งสัตว์ ๒๕๖ ๑๐๐.๐๐

รวม

๓๖

จากตารางที่ ๗ เมื่อพิจารณาอาชีพในกลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยี ที่มีผู้สนใจ พบว่า การผลิต
และจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๕๒ รองลงมาได้แก่ นักวิเคราะห์อาหาร
คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๗๓ เลี้ยงสัตว์ คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๗๘ และเกษตรอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๙๗
ตามลำดับ

ตารางท่ี ๘ กล่มุ สาธารณสขุ และเทคโนโลยีการแพทย์ จำนวน ร้อยละ

อาชีพ ๘๙ ๓๕.๑๘
๒๗ ๑๐.๖๗
ผลติ ภัณฑ์สมุนไพร ๒๒ ๘.๗๐
นวดแผนไทย ๑๘ ๗.๑๑
นักโภชนาการบำบัด ๘๒ ๓๒.๔๑
ผดู้ แู ลผสู้ ูงอายุ ๘ ๓.๑๖
พยาบาล ๗ ๒.๗๗
ผู้ดแู ลผ้ปู ่วยตดิ เตยี ง
อ่ืน ๆ (แพทย์ เภสชั กร ทนั ตแพทย์ เทคนิคการแพทย)์ ๒๕๓ ๑๐๐.๐๐

รวม

จากตารางที่ ๘ เมอ่ื พิจารณาอาชพี ในกลุ่มสาธารณสุขและเทคโนโลยกี ารแพทย์ ทม่ี ีผสู้ นใจ พบว่า
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๑๘ รองลงมาได้แก่ พยาบาล คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๔๑
นวดแผนไทย คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๖๗ นักโภชนาการบำบัด คิดเป็นร้อยละ ๘.๗๐ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ คิดเป็น
ร้อยละ ๗.๑๑ ผูด้ แู ลผ้ปู ่วยติดเตยี ง คิดเป็นรอ้ ยละ ๓.๑๖ และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ ๒.๗๓ ตามลำดับ

ตารางที่ ๙ กลมุ่ หุ่นยนต์อัจฉริยะและระบบเคร่อื งกลอิเลก็ ทรอนิกสค์ วบคุม

อาชพี จำนวน รอ้ ยละ

นักประดิษฐ์เคร่ืองกล ๑๒๒ ๕๒.๘๑
๑๕.๑๕
ชา่ งเมคคาทอนิกส์ ๓๕ ๕.๖๓
๒๖.๔๑
ช่างไฮโดรลิก ๑๓
๑๐๐.๐๐
ชา่ งซ่อมบำรุง ๖๑

รวม ๒๓๑

จากตารางที่ ๙ เมื่อพิจารณาอาชีพในกลุ่มหุ่นยนต์อัจฉริยะและระบบเครื่องกลอิเล็กทรอนิกส์
ควบคุม ที่มีผู้สนใจ พบว่า นักประดิษฐ์เครื่องกล มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๘๑ รองลงมา ได้แก่
ช่างซ่อมบำรุง คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๔๑ ช่างเมคคาทอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๑๕ และช่างไฮโดรลิก
คดิ เป็นร้อยละ ๕.๖๓ ตามลำดับ

๓๗

ตารางที่ ๑๐ กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยแี ละอินเตอร์เน็ตเช่อื มตอ่ จำนวน ร้อยละ

อาชพี ๗๙ ๒๐.๕๗
๖๐ ๑๕.๖๒
การตลาดออนไลน์ ๑๑๐ ๒๘.๖๕
โปรแกรมเมอร์ ๙๖ ๒๕.๐๐
ยทู ูปเปอร์ ๓๙ ๑๐.๑๖
ช่างภาพ
การออกแบบบรรจภุ ณั ฑ์ ๓๘๔ ๑๐๐.๐๐

รวม

จากตารางท่ี ๑๐ เมอ่ื พิจารณาอาชีพในกลุ่มดิจิทลั เทคโนโลยแี ละอนิ เตอรเ์ นต็ เชื่อมตอ่ ท่มี ีผู้สนใจ
พบว่า ยูทูปเปอร์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๖๕ รองลงมาได้แก่ ช่างภาพ คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๐๐
การตลาดออนไลน์ คิดเป็นรอ้ ยละ ๒๐.๕๗ โปรแกรมเมอร์ คิดเปน็ ร้อยละ ๑๕.๖๒ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์
คิดเป็นรอ้ ยละ ๑๐.๑๖ ตามลำดบั

ตารางที่ ๑๑ กลมุ่ อตุ สาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบรกิ ารทม่ี ีมูลคา่ สงู

อาชีพ จำนวน รอ้ ยละ

การทอผ้า ๒๐ ๕.๘๖
๒๘.๗๔
ธุรกิจบริการ โรงแรม โฮมสเตย์ ๙๘ ๑๖.๔๒
๑๕.๒๕
มคั คเุ ทศก์ ๕๖ ๑๒.๓๒
๑๗.๐๑
นักออกแบบผลติ ภณั ฑ/์ บรรจุภณั ฑ์ ๕๒ ๔.๔๐

นกั ประดิษฐ์เครื่องมือประกอบอาชีพ ๔๒ ๑๐๐.๐๐

ออแกนไนเซอร์ ๕๘

มณั ฑนากร ๑๕

รวม ๓๔๑

จากตารางที่ ๑๑ เมื่อพิจารณาอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มี
มูลค่าสูง ที่มีผู้สนใจ พบว่า ธุรกิจบริการ โรงแรม โฮมสเตย์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๗๔ รองลงมา
ได้แก่ ออแกนไนเซอร์ คิดเป็นรอ้ ยละ ๑๗.๐๑ มัคคุเทศก์ คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๔๒ นักออกแบบผลิตภัณฑ์/
บรรจุภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๕ นักประดิษฐ์เครื่องมือประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๓๒ การทอผ้า
คดิ เป็นรอ้ ยละ ๕.๘๖ และมณั ฑนากร คิดเป็นรอ้ ยละ ๔.๔๐ ตามลำดบั

๓๘

ตารางที่ ๑๒ ลักษณะการจัดการศกึ ษา/อบรม จำนวน ร้อยละ
๓๔ ๑๑.๐๔
ลกั ษณะการจัดการศกึ ษา/อบรม
๕๕ ๑๗.๘๖
เรยี นแบบสะสมหนว่ ยกติ (ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมปลาย ๑๗ ๕.๕๒
เพื่อเทียบโอนหน่วยกติ ในหลักสูตรอุดมศกึ ษา) ๒๘ ๙.๐๙
กิจกรรมเสริมทกั ษะอาชพี ตามความสนใจ ๕๓ ๑๗.๒๑
วชิ าเพิ่มเตมิ ในการจดั การเรยี นการสอนปกติ ๗๔ ๒๔.๐๒
วชิ าเลอื กเสรใี นการจดั การเรยี นการสอนปกติ
หลักสูตรเช่อื มโยง (มัธยมศึกษา - อาชวี ศึกษา - อุดมศึกษา) ๔๗ ๑๕.๒๖
หลักสูตรคขู่ นาน (การเรียนในระบบสถานศึกษากับ ๓๐๘ ๑๐๐.๐๐
การปฏิบตั ิงานในสถานประกอบการ)
หลกั สูตรระยะส้นั

รวม

จากตารางที่ ๑๒ เมื่อพิจารณาลักษณะการจัดการศึกษา/อบรม ผู้สนใจคิดว่าควรจัดในลักษณะ
หลกั สตู รคขู่ นาน (การเรียนในระบบสถานศกึ ษากับการปฏิบัตงิ านในสถานประกอบการ) มากทีส่ ดุ คิดเป็น
ร้อยละ ๒๔.๐๒ รองลงมาได้แก่ กิจกรรมเสริมทักษะอาชีพตามความสนใจ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘๖
หลักสูตรเชื่อมโยง (มัธยมศึกษา-อาชีวศึกษา-อุดมศึกษา) คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๒๑ หลักสูตรระยะสั้น คิดเป็น
ร้อยละ ๑๕.๒๖ เรียบแบบสะสมหน่วยกติ (ตั้งแตร่ ะดับชั้นมธั ยมปลาย เพ่ือเทียบโอนหน่วยกิตในหลักสูตร
อุดมศึกษา) คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๐๔ วิชาเลือกเสรีในการจัดการเรียนการสอนปกติ คิดเป็นร้อยละ ๙.๐๙
และวิชาเพ่ิมเตมิ ในการจัดการเรยี นการสอนปกติ คิดเปน็ รอ้ ยละ ๕.๕๒ ตามลำดับ

ตารางที่ ๑๓ วนั เวลาในการจัดการศึกษา/อบรม จำนวน ร้อยละ
๖๖ ๒๑.๔๓
วัน เวลาในการจัดการศกึ ษา/อบรม ๓๕ ๑๑.๓๖
๖๓ ๒๐.๔๕
เฉพาะวันเสาร์ เวลา 09.00-16.00 น. ๑๓๘ ๔๔.๘๑
เฉพาะวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ๖ ๑.๙๕
วนั เสาร์-อาทติ ย์ เวลา 09.00-16.00 น.
วันจันทร์-ศกุ ร์ เวลา 09.00-16.00 น. ๓๐๘ ๑๐๐.๐๐
อืน่ ๆ (เรียนเฉพาะวันจนั ทร/์ เรียนเฉพาะวันพธุ /
๒ ครง้ั ต่อเดือน ในวนั อาทิตย์)

รวม

จากตารางท่ี ๑๓ เม่ือพิจารณาช่วงวนั เวลาในการจดั การศึกษา/อบรม พบวา่ วนั จันทร์-ศุกร์ เวลา
๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๘๑ รองลงมาได้แก่ เฉพาะวันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐-
๑๖.๐๐ น. คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๔๓ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๔๕
เฉพาะวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๓๖ และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ ๑.๙๕
ตามลำดับ

๓๙

ตารางที่ ๑๔ ความคิดเห็นตอ่ ประโยชน์ของหลกั สตู รที่สนใจ จำนวน รอ้ ยละ
ประโยชน์
๑๗๑ ๕๕.๕๒
ใช้ประกอบอาชีพ ๑๒๑ ๓๙.๒๙
ใช้สำหรบั การศึกษาต่อ ๑๖ ๕.๑๙
อืน่ ๆ (เพ่ิมพนู ความรู้/งานอดิเรก) ๓๐๘ ๑๐๐.๐๐

รวม

จากตารางท่ี ๑๔ เมื่อพิจารณาความคิดเหน็ ต่อประโยชน์ของหลักสูตรท่ีสนใจ พบว่า ใช้ประกอบอาชีพ
มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๕๒ รองลงมาได้แก่ ใช้สำหรับการศึกษาต่อ คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๒๙ และ
อ่นื ๆ คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๕.๑๙ ตามลำดับ

ตารางที่ ๑๕ ความตอ้ งการหลงั ผ่าน/จบการศกึ ษาหรอื การอบรม ในหลกั สตู รท่สี นใจ

ความต้องการ จำนวน รอ้ ยละ

เอกสารรับรองคุณวฒุ ิ ๑๖๖ ๕๓.๙๐
๑๙.๘๐
สามารถเทยี บโอนหน่วยกิตได้ ๖๑ ๒๒.๗๓
๓.๕๗
สามารถสะสมหน่วยกิตได้ ๗๐
๑๐๐.๐๐
อน่ื ๆ (พฒั นาผลิตภณั ฑ/์ พฒั นาธรุ กิจ) ๑๑

รวม ๓๐๘

จากตารางที่ ๑๕ เมื่อพิจารณาความต้องการหลังผ่าน/จบการศึกษาหรือการอบรม ในหลักสูตร
ที่สนใจ พบว่า ต้องการเอกสารรับรองคุณวฒุ ิ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๙๐ รองลงมา ได้แก่ สามารถ
สะสมหน่วยกิตได้ คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๗๓ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๘๐ และอื่น ๆ
คิดเป็นร้อยละ ๓.๕๗ ตามลำดับ

กจิ กรรมที่ ๔ ประสานความรว่ มมือจากสถาบนั การศึกษาในพนื้ ที่
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประสานความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา

เพ่อื เขา้ ร่วมพฒั นารปู แบบแนวทางการจดั การศึกษาเพื่ออาชีพ จำนวน ๙ แห่ง ประกอบดว้ ย มหาวทิ ยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภมู ิ ศนู ยส์ ุพรรณบุรี วทิ ยาลยั อาชวี ศึกษาสุพรรณบุรี วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง
วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส สุพรรณบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
สุพรรณบรุ ี โรงเรียนอ่ทู อง โรงเรียนธรรมโชตศิ กึ ษาลยั และโรงเรียนวดั บางสะแก (วทิ ยารงั สรรค์)

กิจกรรมท่ี ๕ กำหนดรูปแบบแนวทาง/หลักสตู รการจัดการศกึ ษาเพ่อื อาชพี
ในการกำหนดรูปแบบแนวทาง/หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ สำนักงานศึกษาธิการ

จังหวัดสุพรรณบรุ ี ได้นำผลการสำรวจความตอ้ งการด้านอาชีพมาเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งได้
กำหนดรูปแบบแนวทางการดำเนินงานใน ๒ รูปแบบ คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ
ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ และการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ และ
สมรรถนะตามความสนใจและความถนดั ด้านอาชีพ

๔๐

กิจกรรมท่ี ๖ จัดทำรายละเอยี ด และนำไปใช้

๑. การพัฒนาบุคลากรให้มีความร้คู วามสามารถในการพฒั นาหลกั สตู รฝึกอบรมวิชาชพี
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำหลักสูตร “การออกแบบฝึกอบรมวิชาชีพ

โดยประยุกต์หลัก Job Analysis” โดยมวี ัตถปุ ระสงคท์ จ่ี ะพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้
ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยการประยุกต์หลัก Job Analysis สามารถ
พัฒนาหลักสตู รและนำไปใชใ้ นการจัดการเรียนการสอนได้

การฝึกอบรมหลักสูตร “การออกแบบฝึกอบรมวิชาชีพ โดยการประยุกต์หลัก Job
Analysis” มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจากสถานศึกษา จำนวน ๙ แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศนู ย์สุพรรณบรุ ี วทิ ยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี วทิ ยาลยั การอาชีพสองพี่น้อง
วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส สุพรรณบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
สุพรรณบุรี โรงเรียนอูท่ อง โรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัย และโรงเรยี นวดั บางสะแก (วิทยารังสรรค์) เข้าร่วม
การพัฒนา รวมทั้งสิ้น ๓๐ คน การดำเนินการฝึกอบรมระหว่างวันที่ ๒๙ พฤษภาคม - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๒
โดยแบง่ การฝกึ อบรมเปน็ ๕ ระยะ ๆ ละ ๓ วัน รวมท้ังส้นิ ๑๕ วัน ดงั น้ี

ระยะที่ ๑ ระบงุ าน (Job) วเิ คราะห์หนา้ ทห่ี ลัก (DUTY) และกจิ กรรมของงาน (TASKS)
ระยะท่ี ๒ เขียนข้ันตอนปฏิบัติ (STEPS) กำหนดสมรรถนะงาน
ระยะท่ี ๓ กำหนดรายวิชา รายละเอยี ดรายวิชา
ระยะที่ ๔ จดั ทำใบงาน ใบความรู้
ระยะท่ี ๕ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
ผลการฝึกอบรมดังกล่าว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ
โดยการประยุกต์หลัก Job Analysis ได้จำนวน ๕ สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาช่างยนต์ สาขาช่างเช่อื ม
โลหะ สาขานักออกแบบป้ายโฆษณา สาขาพนักงานขาย และสาขาธุรกิจแปรรูปกล้วยน้ำว้าด้วยพลังงาน
แสงอาทิตย์ และจากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “การออกแบบ
ฝกึ อบรมวิชาชีพ โดยการประยุกต์หลัก Job Analysis” ปรากฏผล ดงั นี้

ตารางที่ ๑๖ ข้อมลู ท่วั ไปของผตู้ อบแบบสอบถาม

ข้อมูลท่ัวไป จำนวน รอ้ ยละ

เพศ 26.66
73.34
ชาย 8 100

หญงิ 22 100

รวม 30 30.00
60.00
ตำแหน่ง 10.00
100
ครผู ู้สอน 30

สถานศึกษา

สงั กดั สพฐ. 9

สังกัด สอศ. 18

สงั กดั อดุ มศึกษา 3

รวม 30

๔๑

จากตารางท่ี ๑๖ พบวา่ มผี ู้เข้ารบั การฝึกอบรม จำนวน ๓๐ คน โดยเปน็ เพศชาย จำนวน ๘ คน
คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๖๖ เพศหญิง จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๓๔ ตำแหน่ง ครูผู้สอน ๓๐ คน คิดเป็น
ร้อยละ ๑๐๐ และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐ และสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอดุ มศึกษา จำนวน ๓ คน คดิ เป็นรอ้ ยละ ๑๐

ตารางท่ี ๑๗ ผลการประเมนิ ความพึงพอใจของผู้เข้ารบั การฝกึ อบรม

รายการ X S.D. ระดับ

ด้านวทิ ยากร 0.4๘ มากทส่ี ุด
0.5๓ มากทส่ี ุด
1. การถ่ายทอดความร้ขู องวิทยากรมีความชดั เจน 4.3๓ 0.5๓ มากทส่ี ุด
0.๔๘ มาก
2. ความสามารถในการอธบิ ายเน้ือหา 4.30 0.6๓ มาก
0.6๓ มากท่ีสดุ
3. การเชื่อมโยงเนอ้ื หาในการฝกึ อบรม 4.30 0.๔๗ มากที่สดุ

4. มคี วามครบถว้ นของเนื้อหาในการฝึกอบรม 4.20 ๐.๖๔ มากทส่ี ุด
๐.๖๙ มาก
5. การใชเ้ วลาตามท่ีกำหนดไว้ 4.15 ๐.๘๓ มาก
๐.๗๑ มากทส่ี ดุ
6. การตอบข้อซกั ถามในการฝึกอบรม 4.4๓ ๐.๕๑ มาก

เฉลี่ย 4.28 1.2๔ นอ้ ย
0.6๔ มาก
ด้านสถานท่ี / ระยะเวลา / อาหาร 0.8๕ ปานกลาง

๑. สถานท่ีสะอาดและมีความเหมาะสม ๔.๒๗ 0.๔๘ มาก
0.6๐ มาก
๒. ความพร้อมของอุปกรณโ์ สตทัศนปู กรณ์ ๓.๙๓ 0.5๗ มาก
0.๔๘ มาก
๓. ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม ๓.๘๓ ๐.๔๑ มาก

๔. อาหารมคี วามเหมาะสม ๔.๓๓

เฉลย่ี ๔.๐๙

ด้านความรู้ ความเขา้ ใจ

1.ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้กอ่ นการอบรม 2.๓๓

2.ความรู้ ความเขา้ ใจในเร่ืองนี้หลงั การอบรม 3.๗๓

เฉล่ยี 3.๐๓

ด้านการนำความรู้ไปใช้

1. สามารถนำความรู้ที่ไดร้ บั ไปประยุกต์ใช้ในการปฏบิ ตั ิงานได้ 3.9๐

2. มีความมนั่ ใจและสามารถนำความร้ทู ี่ได้รบั ไปใชไ้ ด้ 3.๗0

3. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร/่ ถา่ ยทอดได้ 3.๕๗

เฉลยี่ 3.๗๒

รวมเฉล่ยี ๓.๗๘

จากตารางที่ ๑๗ พบว่า ผู้เข้ารบั การฝึกอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก”
(X = ๓.๗๘ , S.D. = ๐.๔๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายดา้ นพบว่า ด้านวิทยากร ในภาพรวมอยู่ในระดับ “มากที่สุด”
(X = ๔.๒๘ , S.D. = ๐.๔๗) ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” ( X = ๔.๐๙ ,
S.D. = ๐.๕๑) ด้านความรู้ ความเข้าใจ ในภาพรวม อยู่ในระดับ “ปานกลาง” ( X = ๓.๐๓ , S.D. = ๐.๘๕)
และดา้ นการนำความรู้ไปใช้ ในภาพรวม อยใู่ นระดับ “มาก” ( X = ๓.๗๒ , S.D. = ๐.๔๘) ตามลำดบั

๔๒

การฝกึ อบรมหลกั สูตร “การออกแบบหลกั สูตรฝึกอบรมวิชาชีพ
โดยการประยุกตห์ ลกั Job Analysis”

๔๓

๒. การเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ และสมรรถนะตามความสนใจและ
ความถนัดดา้ นอาชพี

ในการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประสาน
ความรว่ มมอื ส่งเสริม สนับสนุนใหส้ ถานศกึ ษา ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพตามบริบทของ
สถานศึกษา และตามความสนใจของผเู้ รยี น มสี ถานศกึ ษาท่รี ่วมพัฒนาหลักสูตรในการเสริมสร้างศักยภาพ
ผเู้ รยี นดา้ นความรู้ ทกั ษะ และสมรรถนะ จำนวน ๕ แหง่ ประกอบด้วย

๒.๑ วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส สุพรรณบุรี จัดการเรียนการสอนหลักสูตร
อาชีพระยะสั้นทีเ่ ชื่อมโยงการศกึ ษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศกึ ษา ในสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับมธั ยมศึกษา
ตอนตน้ สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน (สพฐ.) และสงั กดั องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
(อปท.) ระหว่างเดือน พฤษภาคม - กันยายน ๒๕๖๒ จำนวน ๕ สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขางานไฟฟ้า
สาขางานอิเล็กทรอนกิ ส์ สาขางานยานยนต์ สาขางานคอมพิวเตอร์ และสาขางานช่างเชอื่ ม ดงั น้ี

ที่ สาขาวชิ า โรงเรียน สังกดั จำนวนนักเรยี น (คน)

๑. งานไฟฟ้า เทศบาล ๒ วัดปราสาททอง อปท. ๖๐

วดั พระธาตุ สพฐ. ๖๐

๒. งานอเิ ลก็ ทรอนิกส์ เทศบาล ๒ วดั ปราสาททอง อปท. ๖๐

วัดพระธาตุ สพฐ. ๖๐

๓. งานยานยนต์ เทศบาล ๒ วัดปราสาททอง อปท. ๖๐

๔. งานคอมพิวเตอร์ วัดพระธาตุ สพฐ. ๖๐

วัดไผเ่ กาะโพธ์ิงาม สพฐ. ๖๐

๕. สาขางานช่างเชือ่ ม วดั พระธาตุ สพฐ. ๖๐

รวมท้ังสิน้ ๔๘๐

จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โรงเรียนวัดพระธาตุ โรงเรียนเทศบาล ๒
วดั ปราสาททอง และ โรงเรยี นวดั ไผ่เกาะโพธ์ิงาม ทเ่ี รยี นในสาขาวชิ าต่าง ๆ ปรากฏผล ดงั น้ี

ตารางท่ี ๑๘ ขอ้ มลู ทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป จำนวน รอ้ ยละ

เพศ ๕๖.๗๔
๔๓.๒๖
ชาย ๑๐๑ 100

หญงิ ๗๗

รวม ๑๗๘

จากตารางที่ ๑๘ พบว่า นักเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น ๑๗๘ คน โดยเป็นเพศชาย
จำนวน ๑๐๑ คน คดิ เป็นร้อยละ ๕๖.๗๔ และเพศหญงิ จำนวน ๗๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๒๖

๔๔

ตารางที่ ๑๙ ผลการประเมินความพงึ พอใจในการจดั การเรยี นการสอน

รายการ X S.D. ระดับ
1. ดา้ นเน้ือหาความรู้ 0.๕๑ มากที่สดุ
4.๕๑ 0.๔๘ มากทส่ี ดุ
0.๖๔ มากท่ีสดุ
2. ด้านการลงมือปฏิบัติ 4.๕๔

รวมเฉลี่ย 4.๓๑

จากตารางที่ ๑๙ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีพ
ระยะสั้น ในภาพรวม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” (X = ๔.๓๑ , S.D. = ๐.๖๔) เมือ่ พิจารณาเปน็ รายด้าน พบวา่
ด้านการลงมือปฏบิ ัติ อยู่ในระดบั “มากทีส่ ดุ ” ( X = ๔.๕๔ , S.D. = ๐.๔๘) และด้านเนอ้ื หาความรู้ อยใู่ นระดบั
“มากท่ีสดุ ” (X = ๔.๕๑ , S.D. = ๐.๕๑) ตามลำดับ

ตารางท่ี ๒๐ ผลการประเมินความพงึ พอใจดา้ นเน้ือหาความรู้ X S.D. ระดบั

รายการ ๔.๕๓ ๐.๗๐ มากทส่ี ุด
๔.๔๓ ๐.๗๐ มาก
๑. ความถกู ตอ้ งครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา ๔.๔๔ ๐.๗๐ มาก
๒. ความชัดเจนในการอธิบายเน้ือหา ๔.๕๕ ๐.๖๑ มากทส่ี ดุ
๓. การเรียบเรียงเนอ้ื หาเข้าใจง่าย ๔.๖๑ ๐.๗๗ มากที่สดุ
๔. เนอ้ื หาสอดคล้องกบั วัตถุประสงค์การเรียนรู้
๕. เน้ือหาสาระมีประโยชน์ สามารถประยกุ ต์ใช้งานได้จริง 4.๕๑ ๐.๕๑ มากที่สุด

รวมเฉลยี่

จากตารางที่ ๒๐ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีพ
ระยะสั้น ด้านเนื้อหาความรู้ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” ( X = ๔.๕๑ , S.D. = ๐.๕๑) เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหาสาระมีประโยชน์ สามารถประยุกต์ใช้งานได้จริง อยู่ในระดับ “มากที่สุด”
( X = ๔.๖๑ , S.D. = ๐.๗๗) รองลงมาคือ ดา้ นเนือ้ หาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรยี นรู้ อยู่ในระดับ
“มากทส่ี ุด” ( X = ๔.๕๕ , S.D. = ๐.๖๑) และด้านความถูกต้องครบถว้ นสมบูรณ์ของเน้ือหา อยู่ในระดับ
“มากทส่ี ดุ ” ( X = ๔.๕๓ , S.D. = ๐.๗๐) ตามลำดบั

ตารางท่ี ๒๑ ผลการประเมินความพึงพอใจดา้ นลงมือปฏบิ ัติ

รายการ X S.D. ระดับ
๑. เคร่ืองมอื อุปกรณท์ นั สมยั ๔.๔๕ ๐.๗๗ มาก

๒. วัสดอุ ปุ กรณเ์ พียงพอตอ่ การเรียนรู้ ๔.๓๒ ๐.๗๕ มาก

๓. มกี ารใหค้ ำแนะนำตลอดของภาคปฏบิ ตั ิ ๔.๖๗ ๐.๖๐ มากทสี่ ุด

๔. สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๔.๗๑ ๐.๕๕ มากทส่ี ดุ

รวมเฉลี่ย 4.๕๔ ๐.๔๘ มากที่สดุ


Click to View FlipBook Version