The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นางสาวนุชิดาพร-63040140230

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nuchidapon Sirikhun, 2024-02-06 03:45:22

บทความวิจัย

นางสาวนุชิดาพร-63040140230

การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 To study the ability of Mathematical Problem-Solving by using Think-pair-share technique of Grade 4 นุชิดาพร ศิริคุณ1 และ ยุภาดี ปณะราช2 Nuchidapon Sirikhun1 and Yupadee Panarach2 1นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์และศึกษาความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา จังหวัดอุดรธานี ได้มาจากการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อน คู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 55.19 ระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 41.31 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 3.44 ตามลำดับ และมีความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อน คู่คิดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด *Corresponding Author: [email protected] คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด; ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์; ความรับผิดชอบ Abstract This research aims to compare the ability of mathematical problem–solving, and mathematical achievement after using think-pair-share technique with the 70 percent criterion. To study the ability of mathematical problem–solving, and responsibility after using think-pair-share technique. The sample was Grade 4 students from tessaban 5 siharakwittaya school School random by cluster random sampling. The instrument including think-pair-share technique plans, the ability of mathematical problems-solving test, the mathematical achievement test, and the questionnaire about responsibility. Data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The research


results found that; Grade 4 students had the ability of mathematical problem–solving, and mathematical achievement after using think-pair-share technique higher then 70 percent of significance at .05 level. They had the ability of mathematical problem–solving in a high level of 55.19 percent, a moderate level of 41.31 percent, and low level of 3.44 percent respectively. They had responsibility after using think-pair-share technique overall in highest level. * Corresponding Author: [email protected] Keyword: think-pair-share technique, mathematical problem–solving, mathematical Responsibility 1. บทนำ คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีทักษะ กระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีแบบแผน สามารถ วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัญหาได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดคะเน วางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม พร้อมทั้งสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สำนักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา.(2551) นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ ศาสตร์อื่น ๆ ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีความทัดเทียมกับ ประเทศอื่น ๆ การเรียนคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความทันสมัย ให้สอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจสังคมและความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ตลอดจนวิชา ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พัฒนาให้บุคคลมีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข การแก้ปัญหานั้นจึงเป็นทักษะหนึ่งที่มี ความสำคัญต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการแก้ปัญหามีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทักษะ และ ซับซ้อน เช่น ความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงาน ความสามารถในการแก้ปัญหา ดังนั้นในการ จัดการเรียนการสอน ครูจำเป็นต้องเน้นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาให้มากขึ้น เพื่อเป็น การช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เชื่อมโยงและใช้ความรู้ที่เรียนมาประยุกต์หรือแก้สถานการณ์ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ พร้อม ทั้งยังฝึกการนำความรู้ เนื้อหาสาระ และหลักการทางคณิตศาสตร์มาสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผล ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังพบเป็นปัญหาของเด็กไทยที่ต้องเร่งพัฒนาเพื่อ เพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งปัญหาดังกล่าวคือ นักเรียนยังขาดทักษะทางคณิตศาสตร์ ขาด ความสามารถในค้นคว้าหรือวิธีการและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข (2558).โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากนักเรียนบางคนเข้าใจในเนื้อหา คณิตศาสตร์แต่ไม่สามารถนําความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาได้ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มี ความสำคัญและมีความจําเป็นอย่างยิ่ง แต่ในสภาพการจัดการเรียนการรู้ในปัจจุบันนั้น พบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เท่าที่ควร สาเหตุของปัญหาอาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สำคัญคือ ผู้เรียนไม่สามารถนำ


ความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ โดยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์มีสำคัญต่อ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ มัณฑนา พรมรักษ์ (2556). การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จะเน้นการสอน ความรู้และทักษะในการคิดคำนวณเป็นหลัก โดยครูส่วนมากยังคงใช้รูปแบบวิธีการสอนแบบครูเป็นผู้บรรยาย ผู้บอก ผู้สาธิตเนื้อหาทางด้านคณิตศาสตร์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ของนักเรียนที่มองเฉพาะผลลัพธ์และไม่สนใจวิธีการหาผลลัพธ์ แต่ไม่ได้เน้นกระบวนการที่ให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการมองข้ามกระบวนการเรียนรู้และ ทักษะการคิดของนักเรียนที่จะเป็นผลให้นักเรียนมีการเรียนรู้และความเข้าใจ จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทฤษฎี แนวคิดของนักวิชาการทางการศึกษาต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าว โดยคำนึงถึงความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นหลัก จากการทบทวนพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบการจัดการ เรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เป็นการจัดการเรียนรู้แบบให้ผู้เรียนสองคนที่จับคู่กัน โดยครูกำหนดโจทย์ปัญหาหรือคำถาม จากนั้นแต่ละคนจะหาคำตอบด้วยตนเอง แล้วนักเรียนแต่ละคู่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเอง จากนั้นแต่ละคู่นำ ความรู้ที่ได้ไปนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้นเรียน ทิศนา แขมมณี. (2556). โดยขั้นการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การคิด เป็นขั้นตอนที่ครูตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของนักเรียน ในประเด็นปัญหา ต่าง ๆ และใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีทักษะการคิด พร้อมทั้งการให้คำแนะนำผู้เรียนได้คำนึงถึงเรื่องที่จะต้อง ศึกษาในขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดร่วมกัน และมีความคิดรวบยอดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) การจับคู่ เป็นขั้นตอนที่ครูให้นักเรียนจับคู่ แต่ละคู่ร่วมกันศึกษาสถานการณ์โจทย์ปัญหาต่าง ๆ และค้นหาคำตอบของประเด็น ปัญหาได้ 3) การแลกเปลี่ยน เป็นขั้นตอนหลังจากการศึกษาสถานการณ์โจทย์ปัญหา จกานั้นครูให้นักเรียนแต่ละคู่ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สรุปผล และอภิปรายผลลัพธ์ที่คู่ตนเองหาได้โดยการ จัดการเรียนนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้จริง ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยต่าง ๆ เช่น เพญลดา ทู้ไพเราะ (2559). พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ ปวีณ ไวยโภคา, เวชฤทธิ อังกนะภัทรขจร์และ ผลาดร สุวรรณโพธิ์ (2565). พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจากการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา ทำให้ผู้วิจัยได้ข้อ สรุปว่าการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์จะต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น จึงสนใจที่ค้นคว้าวิธีการการจัดการ เรียนรู้ที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ และความรับผิดชอบ 2. วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70


3. เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4. เพื่อศึกษาความรับผิดชอบ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3. สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 4. วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 ห้อง จำนวน 92 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 29 คน โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) 2. เครื่องมือวิจัย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความรับผิดชอบ รายละเอียดดังนี้ 2.1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด จำนวน 8 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง มี ลักษณะเป็นการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนทั้งหมด 4 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน นักเรียนทบทวนความรู้เดิมและเตรียมความพร้อมของนักเรียน เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาสาระใหม่ ขั้นที่ 2 การจัดการเรียนรู้ ครูเป็นนำเสนอความรู้และสื่อการเรียนรู้เนื้อหา โดยการ ยกตัวอย่างและใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ขั้นที่ 3 การจัดกิจกรรม โดยกระบวนการจัดกิจกรรมมี3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การคิด ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดโดยการตั้งคําถาม กำหนดหัวข้อให้คิด หรือให้ สังเกต ผู้เรียนใช้เวลาในการคิดเกี่ยวกับคําถามหรือหัวข้อนั้น ๆ ประมาณไม่เกิน 2-3 นาที 2.. การจับคู่ ให้ผู้เรียนจับคู่กัน จากนั้นให้แต่ละคู่ค้นคว้าวิธีการหาคำตอบของตนเอง ก่อนจากนั้นจึงแลกเปลี่ยนวิธีการหาคำตอบและคำตอบของตนเองภายในคู่ แล้วสรุปเป็นคำตอบร่วมกันของคู่ตนเอง 3. การแบ่งปัน หลังจากให้ผู้เรียนแต่ละคู่ (ไม่ควรให้เวลานาน) ออกมานำเสนอวิธีการ


หาคำตอบของคู่ตนเอง กับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน หรืออาจจะถามผู้เรียนแต่ละคู่โดยตรง แล้วผู้สอนหรือเขียนคําตอบของ คู่ลงบนกระดาน ขั้นที่ 4 สรุปความรู้ เมื่อผู้เรียนนำเสนอวิธีของคู่เองเสร็จแล้ว จากนั้นให้ผู้เรียนทุกคนได้สรุป ความรู้ร่วมกัน และสรุปความรู้ที่ได้รับ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างไร 2.2. แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงด้วยการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับ วัตถุประสงค์ (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (-coefficient) ตามวิธีการของคอนบราค มีค่าเท่ากับ 0.81 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.52 – 0.79 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.88 2.3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงด้วยการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม กับวัตถุประสงค์ (IOC) มีค่าระหว่าง 0.67- 1.00 ค่าความเชื่อมั่นด้วยการหา KR – 20 ตามวิธีการของ คูเดอร์ริชาร์ด สัน มีค่าเท่ากับ 0.80 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.69 – 0.79 และ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 – 0.59 2.4. แบบวัดความรับผิดชอบ มีลักษณะเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ข้อ มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงด้วยการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) มีค่าเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( coefficient) ตามวิธีของ คอนบราค มีค่าเท่ากับ 0.80 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1. ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ประกอบด้วย ด้วยแผนการจัดการ เรียนรู้ที่สร้างขึ้นจำนวน 8 แผน โดยให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรียนและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามขั้นตอนการ จัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด 3.2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และแบบวัดความรับผิดชอบ 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 4.1. การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คะแนนรวม และแปลผลดังนี้ 16 – 20 คะแนน หมายถึง มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระดับมาก 11 – 15 คะแนน หมายถึง มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลาง 0 – 10 คะแนน หมายถึง มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระดับน้อย 4.2. การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบ เพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ (t-test for One Sample) 4.3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ (t-test for One Sample)


4.4. การศึกษาความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลค่าเฉลี่ย ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 -5.00 หมายถึง มีความรับผิดชอบระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 -4.49 หมายถึง มีความรับผิดชอบระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.50 -3.49 หมายถึง มีความรับผิดชอบระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50 -2.49 หมายถึง มีความรับผิดชอบระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 -1.49 หมายถึง มีความรับผิดชอบระดับน้อยที่สุด 5. ผลการวิจัย 1. การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบผลดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ n µ x̅ S.D. t Sig 29 14 15.93 2.88 4.31 .00 *อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า t = 4.31 และค่า Sig = .00 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบผลดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 n µ x̅ S.D. t Sig ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 29 14 77.14 3.23 3.23 .03 *อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการ จัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า t = 3.23 และ ค่า Sig = .03


3. การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบผลดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์ความถี่และร้อยละของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระดับคะแนน ความถี่ ร้อยละ ระดับน้อย 0 – 10 1 3.44 ระดับปานกลาง 11 – 15 12 41.37 ระดับมาก 16 – 20 16 55.19 รวม 20 29 จากตารางที่ 3 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมาก จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 55.19 รองลงมาอยู่ในระดับ ปานกลาง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 41.31 และ ระดับน้อย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.44 ตามลำดับ 4. ผลการศึกษาความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบผลดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (x) แ̅ละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของการศึกษาความรับผิดชอบหลัง การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ความรับผิดชอบ x̅ S.D. ระดับ 1 ความเอาใจใส่ในการเรียน 4.38 0.81 มาก 2. ความจดจ่อในการเรียน 4.50 0.59 มากที่สุด 3. ความตั้งใจในการเรียน 4.63 0.59 มากที่สุด 4. ความมุ่งมั่นในการเรียน 4.63 0.67 มากที่สุด 5. ส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด 5.00 0.67 มากที่สุด 6. การยอมรับผลการกระทำ 5.00 0.64 มากที่สด รวม 4.69 0.55 มากที่สุด จากตารางที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบ เพื่อนคู่คิด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.69, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนทุกคน ยอมรับผลการกระทำ และนักเรียนส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̅= 5.00, S.D. = 0.67, 0.64)


รองลงมาเป็นนักเรียนมีความตั้งใจในการเรียนและนักเรียนมีความมุ่งมั่นในการเรียน (x̅= 4.63 , S.D. = 0.59, 0.67) และนักเรียนมีความจดจ่อในการเรียน (x̅= 4.50 , S.D. = 0.59) ตามลำดับ 6. สรุปผลการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบ เพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการจัดการ เรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบ เพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมาก จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 55.19 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 12 คน คิด เป็นร้อยละ 41.31 และ ระดับน้อย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.44 ตามลำดับ 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนทุกคนยอมรับผลการกระทำและนักเรียนส่งงานตรงตามเวลา ที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมานักเรียนมีความตั้งใจในการเรียน นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการเรียน นักเรียน มีความจดจ่อในการเรียน นักเรียนมีความเอาใจใส่ในการเรียน ตามลำดับ 7. อภิปรายผลการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการ จัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ผลดังกล่าวเนื่องมาจาก การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ช่วย ให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมมือกันแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และหาข้อสรุปของคำตอบ ทำ ให้มีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่าง มีเหตุผล และทำให้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ [ 3 ] พบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานและเทคนิคเพื่อนคู่คิดมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการ ทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดสอบ [ 12 ] พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิค เพื่อน คู่คิด สูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 [ 4 ] พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open- Approach) ร่วมกับ เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ผลดังกล่าวเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เป็นการจัดการ เรียนรู้ที่นำเอาการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ซึ่งเป็นการสอนที่ใช้วิธีการจับคู่เพื่อให้ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนร่วมกัน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาหรือแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และร่วมมือกันทำกิจกรรมตามกระบวนการเรียนจน ค้นพบข้อสรุป ข้อความรู้หรือคำตอบร่วมกัน ซึ่งจะช่วยทำให้ความรู้ที่นักเรียนได้รับมีความคงทนและมีผลสัมฤทธิ์


ทางการเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย [ 12 ] พบว่าคะแนนผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 [ 4 ] พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบ เปิด (Open- Approach) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-PairShare) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมาก จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 55.19 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 41.31 และ ระดับน้อย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.44 ตามลำดับ ผลดังกล่าว เนื่องจากการ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้คำนึกถึงการพัฒนานักเรียนด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และเน้นการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับเนื้อหางคณิตศาสตร์ ขณะจัดการเรียนรู้ผู้สอนได้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการคิด การสังเกต การค้นคว้าวิธีแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และตรวจสอบคำตอบได้ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ [ 9 ] ได้ศึกษาผลของการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคลร่วมกับกระบวนการ แก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ที่มีผลต่อผลทางการเรียน ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์และความพึงพ่อใจต่อการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคลร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และความพึงพอใจต่อ การเรียนของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกันหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มเพื่อน ช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคลร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ผลดังกล่าวเนื่องจากการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้คำนึกถึงความรับผิดชอบของผู้เรียน โดยเป็นการ จัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนจับคู่ในการทำงาน เป็นการกระตุ้นให้มีนักเรียนมีความเอาใจใส่ในการเรียน จดจ่อในการ เรียน ตั้งใจเรียน และมุ่งมั่นในการเรียน จึงเป็นผลให้นักเรียนสามารถตรงตามเวลาที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของ [ 11 ] พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 มีความเอาใจใส่ต่อการเรียน รับผิดชอบและสนใจเรียนมากขึ้น โดย สังเกตจากบรรยากาศ การเรียนภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อ หน้าที่ ไม่ขาดเรียนหรือมาสาย ทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงกำหนดเวลารู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย ความ เต็มใจ โดยดูจากการสังเกตการสัมภาษณ์ 7. ข้อเสนอแนะในการวิจัย 1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้


1.1 สำหรับผู้ที่มีความสนใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ควรให้นักเรียนจับคู่ในลักษณะคละ ความสามารถ หากมีการจับคู่ไม่ลงตัว ครูผู้สอนควรให้นักเรียนที่ยังไม่มีคู่เป็นคนเลือกกลุ่มเอง เพื่อที่นักเรียนจะได้ให้ ความร่วมมือภายในกลุ่มเป็นอย่างดี เพื่อให้นักเรียนได้แก้ปัญหาและวิธีหาคำตอบร่วมกัน พร้อมทั้งเป็นการพัฒนา ผู้เรียนให้มีทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 1.2 ในการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ครูผู้สอนจะต้องเตรียมความพร้อมในการสอนและการจัดสรร ระยะเวลาการสอนให้เหมาะสม รวมทั้งเตรียมตัวแก้ไขปัญหา/อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการจัดการเรียนรู้ไว้ ล่วงหน้า 2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นเพิ่มเติม เพื่อพัฒนา นักเรียนให้มีทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ 2.2 ควรศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในเนื้อหาอื่น ๆ และ ระดับชั้นอื่น ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ในวิชานั้น ๆ สูงขึ้น 9. หนังสืออ้างอิง จิรนันท์ เกี้ยวสุนทร, อลงกต ยะไวทย์. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร จำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ;มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่ มีประสิทธิภาพ .กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธวัตรชัย เดนชา. (2558). ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ในชั้นเรียนที่ใช้การสอนด้วย วิธีการแบบเปิด. สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม –สิงหาคม 2558). ปวีณ ไวยโภคา, เวชฤทธิ อังกนะภัทรขจร์และ ผลาดร สุวรรณโพธิ์ (2565).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการ แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับเทคนิค เพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) ทีมีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัย ทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2565),105 พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข (2558).การจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. พีรา ดาวเรือง (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานและ เทคนิคเพื่อนคู่คิดบนวิกิเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3. CHULAPEDIA จุฬาวิทยานกรม. เพญลดา ทู้ไพเราะ (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด(Think-PairShare)เรื่องอัตราส่วน และร้อยละที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถ


ในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (วิทยาการทางการ ศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อาจารย์ที่ปรึกษา ปริญญานิพนธ์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ชมนาด เชื้อสวรณทวี. มัณฑนา พรมรักษ์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแก้ปัญหาที่เน้น กระบวนการกำกับทางปัญญาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการ คิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. วิวรรัตน์ สีมา ดร.อุบลศิลป์ โพธิ์พรม, ดร.มารศรี กลางประพันธ์. (2556). ผลของการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคลร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ที่มีผลต่อผลทางการเรียน ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และความพึงพ่อใจ ต่อการเรียน. วรสารบัณฑิตศึกษา ปีที่ 10. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. เสริมศักดิ์ สมุทร. (2563). เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 ปีการศึกษา 2563. วิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ. อมรรัตน์เตยหอม. (2563). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี. อุษา ภิรมย์รักษ์(2562) การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


Click to View FlipBook Version