The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sirintra Boonkam, 2023-09-23 15:14:36

หมาตำรวจ

หมาตำรวจ

ชื่อหนังสือ เสาหินแห่งการเวลา ผู้แต่ง ๑๐ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๔ จัดพิมพ์โดย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จ ำนวนหน้ำ ๒๓๑ หน้า “เสำหินแห่งกำลเวลำ” หนังสือรวมเรื่องสั้นส าหรับอ่านนอกเวลาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ จาก ๑๐ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ เรื่อง ประกอบไปด้วย หมาต ารวจ - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช , ปู่บุญ - ก.สุรางคนางค์ , ฉลองวันเกิด - ฮิวเมอริสต์ , ลูกสาวเจ้าของบ้าน - ม.ล.ปิ่น มาลากุล , ระหว่างบ้านกับถนน - กฤษณา อโศกสิน , นกนางแอ่น - อังคาร กัลยาณพงศ์, ทานตะวันดอกหนึ่ง - เสนีย์ เสาวพงศ์ , เมืองใต้น้ า - สุวัฒน์ วรดิลก , พระ พระเจ้าอยู่หัว พ่อและลุง – อาจินต์ ปัญจพรรค์ และมือกายสิทธิ์ และตีนปิศาจ - ลาว ค าหอม ที่มีการจัดท าขึ้นเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณให้แก่นักเขียนได้ปรากฏต่อ สาธารณชน ซึ่งทางสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้มีการรวบรวมผลงานของศิลปินทั้ง ๑๐ ท่าน มารวมเล่ม โดยเน้นการจัดสรรเรื่องที่ให้ภาพสังคมไทยในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านสายตาของศิลปินแห่งชาติเพื่อเป็นตัวอย่าง ผลงานแก่คนรุ่นหลัง และที่มาของชื่อเรื่อง เสำหินแห่งกำลเวลำ นี้ ได้มาจากความรู้สึกว่าศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์ ล้วนเป็นหลักทางใจแก่คนวรรณกรรมได้ทุกยุคทุกสมัย หมำต ำรวจ เรื่องสั้น ๑ ใน ๑๐ รวมเรื่องสั้นเสาหินแห่งกาลเวลา ผลงานของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นักเขียนผู้ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๘ ยังได้รับการยก ย่องจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๕๐ นักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี เรื่อง สั้นไทยด้วย และที่ส าคัญที่สุด ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบุคคลส าคัญของโลกใน ๔ สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และ สื่อสารมวลชน เพราะคุณสมบัติประจ าตัวที่โดดเด่นของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ไม่เหมือนใครจึงท าให้การ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรตินั้นเหมาะสมที่สุดแล้ว หมำต ำรวจ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่แต่งผ่านมาแล้วหลาย ๑๐ ปี แต่เนื้อเรื่องยังคงสะท้อนถึงสภาพ ปัจจุบันได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการเมืองในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเรื่องสั้นเรื่องนี้ยังคง ความเป็นอมตะ เพราะถึงเวลาผ่านไปนานเพียงใด แต่เนื้อหายังคงสะท้อนสังคมในปัจจุบันได้อยู่ตลอด จึงเป็น เรื่องสั้นที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในการศึกษา นอกจากนี้เรื่องสั้นหมาต ารวจเป็นเรื่องของผู้น า ที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองที่ควรจะปฏิบัติ เพราะการจะเป็นผู้น าคน ไม่ว่าจะในบทบาททั้งหัวหน้าห้อง ประธานนักเรียน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของบริษัท นายอ าเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ก ากับกรมต ารวจ รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีเป็นต้น นางสาวสิรินทรา บุญค่ า (๖๑๐๑๑๓๑๑๕๐๒๕) หมู่ ๑ ปี๑ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์


การเป็นผู้น าจึงต้องควรศึกษาแบบอย่างจากเรื่องนี้ด้วย ไม่เพียงแต่การเมืองที่เราต้อง เท่าทัน แต่ภาวะความเป็นผู้น า เราสามารถเข้าไปท าหน้าที่นี้ได้ทุกเมื่อเมื่อได้รับ โอกาส หากเราได้รับมอบหมายมา เพื่อให้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้น าที่ดี หมำต ำรวจ เป็นเรื่องสั้นที่พูดถึงชายคนหนึ่งที่ตายด้วยสาเหตุของการอดอาหาร แต่เพราะจังหวัดพิบูลบุรี เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่าอู่ข้าวอู่น้ า ใครอดตายก็ขัดค าสั่งรัฐบาลจึงไม่มีใครยอมรับว่าชายคนนั้นอดข้าวตาย จึง เป็นเหตุลึกลับ ร้อนถึงต้องสั่งสุนัขต ารวจจากกรุงเทพฯ เมื่อนายสิบต ารวจจูงสุนัขเข้ามาเห็นศพนอนอยู่ ก็เห่าขึ้น ด้วยความตื่นเต้น สุนัขจึงออกดมกลิ่นแล้วไปหยุดที่พ่อค้าคนหนึ่งชื่อนายฮวด สุนัขก็กระดิกหางดีใจและเห่าขึ้น หนึ่งครั้ง นายฮวดหน้าซีดแล้วยอมรับสารภาพว่าเป็นคนฆ่าผู้ตาย พอนายฮวดพูดจบ สุนัขก็เลียหน้าหนึ่งครั้ง ต่อมา สุนัขเจอคหบดีชื่อนายเกิดจึงหยุดนั่งกระดิกหางและเห่าสองครั้ง นายเกิดน่าสลด และยอมรับว่าตนเอง เป็นคนผิด สุนัขกระดิกหางดีใจและเอาสองขาหน้าพาดนายเกิดเลียหน้าอยู่หลายครั้ง เมื่อสูดกลิ่นต่อมาก็พบ นายอ าเภอเมือง สุนัขนั่งมองและกระดิกหางจนฝุ่นตลบและเลียหน้าสามครั้ง นายอ าเภอควักผ้าเช็ดหน้าออกมาซับเหงื่อ แล้วจึงยอมรับสารภาพว่าเป็นตัวการในฆาตกรรมครั้งนี้ เมื่อ พูดจบ สุนัขต ารวจก็ออกเดินจากฝูงชน ดึงนายสิบต ารวจไปยังโรงต ารวจภูธร เมื่อสุนัขเจอผู้ก ากับก็ดีใจ กระดิก หางเร็วและแรง พร้อมกับเห่าขึ้นสี่ครั้ง ผู้ก ากับถึงกลับฟุบหน้าแล้วรับสารภาพ พอสารภาพจบ สุนัขก็ดึงนายสิบ ต ารวจไปยังศาลากลาง พบกับผู้ว่าราชการจังหวัด สุนัขดีใจอย่างมากและเห่าห้าครั้ง ผู้ว่าฯ ร้องไห้และรับ สารภาพ ผู้ก ากับที่มาด้วยก็พาสุนัขกับนายสิบต ารวจกลับไปพักผ่อน ผู้ก ากับนอนไม่หลับทั้งคืน รุ่งเช้าก็พบนายสิบต ารวจร้องไห้อยู่ เมื่อสอบถามจึงทราบว่าสุนัขที่นายสิบต ารวจเลี้ยงมาตรงไปยัง ท าเนียบรัฐบาลเพื่อไปหานายกรัฐมนตรี นายสิบต ารวจเสียใจมาก ผู้ก ากับเข้าใจว่าเพราะนายสิบต ารวจคนนี้ กลัวนายกจะลาออก แต่ไม่ใช่นายสิบต ารวจรู้ว่าอย่างไรเสียนายกก็ไม่ยอมรับและไม่ลาออก แล้วสุนัขของตนเอง จะเสียหมา จึงรู้สึกเสียดาย หมาต ารวจ เป็นเรื่องสั้นที่ไม่ได้น าเสนอออกมาโดยตรงว่าพูดถึงเรื่องการเมือง แต่สัญลักษณ์ที่แสดงและ เมื่อศึกษาข้อมูลในช่วงเวลาที่แต่ง และสภาพแวดล้อมของนักเขียนแล้วนั้น เนื้อหาเรื่องสั้นเรื่องนี้จริงสื่อไปถึง เรื่องของการเมืองอย่างชัดเจน เพราะในระบบการเมืองการปกครองล้วนแล้วแต่ต้องมี “ผู้น ำ” หากอยากให้บ้านเมืองอยู่อย่างสงบสุข ผู้น าต้องมีความแข็งแกร่งพอทีจะยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อความ รับผิดชอบของตัวเอง จะเห็นได้ว่าในเรื่องคหบดี นายอ าเภอ และผู้ว่าฯ ยอมรับสารภาพ สุนัขต ารวจดีใจ แสดง ให้เห็นว่าคหบดีที่เป็นผู้น าของคนในชุมชน นายอ าเภอที่เป็นผู้น าของคนในอ าเภอ และผู้ว่าฯ ที่เป็นผู้น าของคน ในจังหวัด ยอมรับผิดในการละเลยหน้าที่ของตนเอง เพราะหน้าที่ของผู้น าที่ส าคัญคือ นางสาวสิรินทรา บุญค่ า (๖๑๐๑๑๓๑๑๕๐๒๕) หมู่ ๑ ปี๑ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์


“บ าบัดทุกข์ บ ารงสุข” ด้วยส านึกผิดในหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง เมื่อทั้งสอง สารภาพสุนัข จึงแสดงความดีใจ ดังข้อความต่อไปนี้ “...พอนายเกิดพูดจบ หมาต ารวจกระดิกหางดีใจยิ่งขึ้น ลุกขึ้นยืนสองขาหลัง เอาสองขาหน้า พาดที่ไหล่นายเกิดแล้วก็เลียหน้านายเกิดหลายที...” (หน้า ๑๖) นอกจากนี้บทสนทนาของเรื่องยังช่วยลดความซ้ าซากจ าเจ และบ่งบอกลักษณะนิสัยของตัวละครนั้น ๆ ที่มีบทบาทในบทสนทนานั้น ที่ส าคัญบทสนทนายังมีส่วนช่วยท าให้เรื่องสั้นมีความสมจริงมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ บทสนทนาที่มีลักษณะเหมือนค าพูดที่คนทั่วไปใช้ในชีวิตประจ าวัน จะท าให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกใกล้ชิดกับตัว ละคร และใกล้ชิดกับความเป็นจริงมากกว่าการบรรยายของผู้เขียน ดังเช่น “เปล่า.. เปล่าครับ.. แต่หมา... หมาผลหลุดหนีไปแต่เมื่อตอนดึกนี้ครับ ผมวิทยุถามรถกองกองปราบ เขาดู เขาว่าเห็นมันวิ่งเข้ากรุงเทพฯ ตอนเช้ามืด ตามกลิ่นเข้าไปครับ” “ตายหะ..!” ผู้ก ากับฯ ออกอุทาน “ป่านนี้มันมิดมกลิ่นเข้าไปถึงท าเนียบแล้วหรือว่ะ!” “ก็นั่นนะซิครับ!” นายสิบต ารวจพูดแล้วก็ร้องไห้น้ าตาไหลอีกพรูใหญ่ “ร้องไห้ท าไมน่ะหมู่กลัวท่านสารภาพแล้วลาออกรึ” “เปล่า... เปล่าครับ” นายสิบต ารวจตอบระหว่างเสียงสะอื้น “หมาตัวนี้ผมเลี้ยงมาตั้งแต่มันเป็นลูกหมา ครับ มันเป็นหมาต ารวจที่ดีที่สุด แต่... แต่หมาต ารวจนั้นถ้าลงดมกลิ่นไปจนถึงตัวผู้ร้ายแล้ว ปรากฏว่าผิดตัว มัน ก็จะหมดความเชื่อถือตัวของมันเอง ใช้ดมไม่ได้อีกต่อไป” “...อั๊วถึงได้ถามว่า ลื้อกลัวท่านลาออกรึ” “เปล่าครับ” นายสิบต ารวจตอบ “ถึงยังไงท่านก็ไม่ลาออก และไม่ยอมสารภาพรับผิด แล้วหมาผมมันก็ จะเสียหมาไปเลย ผมเสียดายหมาครับ” (หน้า ๒๑-๒๒) “หมำต ำรวจ” หนึ่งในรวมเรื่องสั้น “เสำหินแห่งกำลเวลำ” ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหนังสือที่ สะท้อนแง่คิดในมุมมองต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงสภาพสังคม ค่านิยมของคนในสังคมที่เนื้อเรื่องยังคงเข้ากับทุกยุค ทุกสมัย หนังสือเล่มนี้ได้รับให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมปลายปีที่ ๔-๖ ของกระทรวงศึกษาเหมาะ แก่เยาวชนที่อยู่ในช่วงนี้ได้ศึกษา เรียนรู้นอกจากหนังสือต าราเรียนวิชาการในห้องเพียงอย่างเดียว และหนังสือ เล่มนี้นอกจากจะให้แง่คิดแล้ว ยังให้ก าลังใจแก่ผู้อ่านด้วยภาษาที่เรียบง่าย สื่อความหมายได้อย่างชัดเจนอีกด้วย มีการใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่ต้องการจะพูดถึงจริง ๆ หนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มนี้จึงควรค่าแก่การแนะน าให้บุคคล อื่นหรือเยาวชนได้เรียนรู้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป นางสาวสิรินทรา บุญค่ า (๖๑๐๑๑๓๑๑๕๐๒๕) หมู่ ๑ ปี๑ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์


Click to View FlipBook Version