The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ปฏิพัทธิ์ ใจบุญ, 2019-06-19 03:00:22

โขนพระราชทาน

โขนพระราชทาน

Keywords: Patiphat2547

51

ตรีเศียร

อนิ ทรชติ
วิรุญจ�ำบงั

52 โขนพระราชทาน เฉลมิ พระเกียรติ

ไมยราพ

53

ทศกัณฐ์ - ส�ำมนักขา

พระราม
พระลักษมณ์

55

โขนส่งิ ควรรกู้ อ่ นดู

ความเป็นมาของโขน

โขน เป็นมหรสพประจ�ำชาติท่ีมีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็น
นาฏศิลป์ช้ันสูงท่ีมีระเบียบแบบแผนซ่ึงบรรพชนไทยได้สร้างสรรค์
และสืบทอดมาจนปัจจุบัน องค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดงโขน
ตั้งแต่การฝึกหัดจนถึงการออกแสดงล้วนเกี่ยวเน่ืองด้วยขนบจารีต
ประเพณี พิธีกรรมอันลึกซ้ึงและศักดิ์สิทธิ์ โขนเป็นมหรสพหลวงท่ี
แสดงในพระราชพิธีส�ำคัญมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา การแสดงโขน
นบั เป็นเครอื่ งประกอบพระราชอสิ รยิ ยศของพระมหากษตั ริย์ พระ
บารมแี ละพระมหากรณุ าธคิ ณุ ทพ่ี ระมหากษตั รยิ ท์ รงอปุ ถมั ภม์ หรสพ
โขน ถอื เปน็ ปจั จยั ส�ำคัญทท่ี �ำให้นาฏศิลป์แขนงนีร้ ุ่งเรืองและยั่งยืน
สบื มาถึงทกุ วันน้ี

การแสดงโขน สนั นษิ ฐานวา่ นา่ จะเกดิ จากศลิ ปะหลายแขนง
ทงั้ ระบำ� รำ� เตน้ หนัง เล่นดึกด�ำบรรพ์ ดังนี้

ระบ�ำ ร�ำ เป็นศิลปะการแสดงท่าทางซึ่งส่ือถึงภาวะทาง
อารมณ์ของมนษุ ย์ ทง้ั แสดงเดี่ยวและแสดงเปน็ หมู่ หากร�ำเปน็ หมู่
เน้นความสวยงามเรียกว่า ระบ�ำ ส่วนการร�ำเป็นเรื่องราวเรียกว่า
ละคร เต้น เป็นศิลปะการยกขาข้ึนลงให้เป็นจังหวะ ถือเป็นหลัก
ของการแสดงโขน กระบก่ี ระบอง คอื ศลิ ปะการฝกึ อาวธุ เพอ่ื ปอ้ งกนั
ตัวหรอื ไวต้ อ่ สู้กบั ข้าศกึ ศลิ ปะการเต้นและกระบ่กี ระบองทำ� ให้การ
แสดงโขนมีลกั ษณะเข้มแข็งและสง่างาม

56 โขนพระราชทาน เฉลมิ พระเกียรติ

หนงั หรอื หนงั ใหญ่ เปน็ มหรสพโบราณซึ่งมมี าตง้ั แตส่ มยั
กรุงศรีอยุธยา มีขนบจารีตและพิธีกรรมหลายอย่างท่ีใกล้เคียงกับ
โขน เชน่ เลน่ เรอื่ ง “รามเกยี รต”ิ์ มวี งปพ่ี าทยเ์ ครอื่ งหา้ บรรเลงเพลง
หน้าพาทย์ประกอบการแสดง มีคนพากย์และบทพากยเ์ จรจา บท
พากย์จะตอ้ งแต่งเปน็ “ค�ำฉันท”์ และ “กาพย”์ เช่นเดยี วกับบท
พากย์โขน

หนงั ใหญ่

57

การเล่นดึกด�ำบรรพ์ หรือชักนาคดึกด�ำบรรพ์ คือการเล่นแสดงต�ำนาน
การกวนนำ้� อมฤตหรือกวนเกษยี รสมทุ ร ปรากฏหลักฐานในกฎมณเฑยี รบาลสมัย
กรงุ ศรอี ยธุ ยา ตอนทกี่ ลา่ วถงึ พระราชพธิ อี นิ ทราภเิ ษกวา่ มกี ารเลน่ ดกึ ดำ� บรรพ์ โดย
ให้ผเู้ ลน่ แต่งกายเป็นสุครพี พาลี ท้าวมหาชมพู วานรบริวาร อสูร เทวดา เป็นตน้
สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า กรมโขนน่าจะเกิดข้ึนจาก
การเล่นชักนาคดึกด�ำบรรพ์ในพระราชพิธีอินทราภิเษกน้ีเอง โดยน�ำมหาดเล็กมา
ฝึกหัดโขนเพื่อให้แสดงต�ำนานโบราณเช่นเดียวกับต�ำนานกวนเกษียรสมุทร การ
ฝึกหัดโขนน้ัน ท�ำให้ชายหนุ่มคล่องแคล่วว่องไวในกระบวนรบ ซ่ึงเป็นประโยชน์
ในการตอ่ สู้ข้าศกึ

“ชกั นาคดกึ ด�ำบรรพ”์ ภาพศิลาจ�ำหลักระเบียงปราสาทนครวดั

โขน ได้ผสมผสานศลิ ปะดังกลา่ วเข้าดว้ ยกนั โดยน�ำท่าต่อส้โู ลดโผน ทา่ ร�ำ
ท่าเต้นมาจากกระบ่กี ระบอง และการแต่งตัวบางอย่างมาจากการเลน่ ดกึ ด�ำบรรพ์
นำ� ขนบการพากย์ เจรจา เพลงหนา้ พาทยม์ าจากการเล่นหนัง รวมถึงท่าเตน้ บาง
อยา่ งมาจากคนเชดิ หนงั มาปรบั ปรงุ ใหง้ ดงามและเหมาะสมกบั การแสดง จนกลาย
เปน็ แบบแผนของ “โขน” ตอ่ มา

58 โขนพระราชทาน เฉลมิ พระเกยี รติ

โขนสมยั รัชกาลที่ ๕ ตอนพธิ อี โุ มงค์

ผู้แสดงโขนแต่โบราณเป็นชาย
ลว้ น ทง้ั พระ นาง ยกั ษ์ และลงิ นกั แสดง
จะตอ้ งสวม “หนา้ โขน” หรอื “หวั โขน”
ยกเว้นผู้แสดงเป็นตัวนาง เรื่องที่แสดง
เกี่ยวข้องกับพระผู้เป็นเจ้า เป็นเร่ือง
ศกั ด์ิสทิ ธิ์ ดังนน้ั ผู้สวมบทต่าง ๆ จงึ ตอ้ ง
แสดงดว้ ยความเคารพ การแสดงโขนทกุ
ขน้ั ตอนจงึ ประกอบดว้ ยขนบธรรมเนยี ม
พธิ ีกรรม

ทศกัณฐ์

59

โรงโขน จิตรกรรมฝาผนงั พระอโุ บสถวดั พระเชตพุ นวิมลมงั คลาราม

60 โขนพระราชทาน เฉลิมพระเกยี รติ

การไหว้ครโู ขน

โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง ผู้แสดงจะต้องฝึกฝนจนช�ำนาญและเข้าถึงอย่าง
ถอ่ งแท้ “คร”ู เปน็ ผฝู้ กึ สอนและถา่ ยทอดกระบวนทา่ รำ� โดยมขี น้ั ตอนการฝกึ สอน
และถ่ายทอดมานานหลายชั่วอายุคน โขนเป็นศิลปะแบบแผนที่จะต้องมี “ครู”
ซึ่งมิได้หมายถึงผู้ส่ังสอนเท่านั้น แต่รวมถึงเทพเจ้า ครูบาอาจารย์ และศิลปินท่ี
เคยสรา้ งงานศลิ ป์แขนงน้นั ในอดีต การไหวค้ รูจงึ เป็นขนบจารีตท่ีส�ำคญั ยิ่ง แสดง
ถงึ ความเคารพนบนอบต่อครู ซึ่งเปน็ ธรรมเนยี มปฏิบัติท่ีสืบทอดกันมาร่นุ สู่รนุ่

61

หวั โขน ฝ่ายลงกา หัวโขน ฝ่ายวานร

การไหว้ครูโขนละครดนตรีปี่พาทย์ยังมี “พิธีครอบ” ซ่ึงครูอาจารย์ได้
บัญญัติหลักเกณฑ์เป็นแบบแผนมาแต่โบราณ ครูผู้ใหญ่จะท�ำพิธี “ไหว้ครู”
และ “ครอบ” ให้ต่อเม่ือศิษย์ร�ำเพลงช้าเพลงเร็วหรือสามารถฝึกปฏิบัติในระดับ
พื้นฐานได้แลว้

ในพิธีไหว้ครูและครอบน้ัน ครูผู้ใหญ่ซ่ึงเป็นประธานในพิธีจะเป็นผู้อ่าน
“โองการ” บูชาและเชิญครู ผู้อ่านโองการจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น และจะ
ต้องเหมาะสมด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิและคุณธรรม พิธีไหว้ครูจะต้องเตรียมสถานที่
ตง้ั พระพทุ ธรูป และศีรษะครูต่างๆ บนที่บชู า เชน่ เทพเจ้า พระพริ าพ พระฤษี ครู
พระ ครูนาง ครูยกั ษ์ เปน็ ต้น จากนนั้ เตรยี มเคร่ืองบวงสรวงสังเวยตามตำ� ราและ
ต้องมีวงป่พี าทยท์ �ำเพลงหน้าพาทยป์ ระกอบการอ่านโองการ

62 โขนพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติ

ครฤู ษี

ในพิธีไหว้ครู “โขน” หรือดนตรีนาฏศิลป์จะต้องมีศีรษะครูฤษีอยู่ด้วย
ทุกครั้ง ตามต�ำนานกล่าวว่า ศีรษะครูฤษีในพิธีไหว้ครูนั้นหมายถึง พระภรต
มุนีผู้รจนาคัมภีร์นาฏยศาสตร์ นอกจากคติความเชื่อตามต�ำนานดังกล่าวแล้ว
พระฤษีในเร่อื งรามเกยี รตยิ์ งั เป็นครแู ละผมู้ อี ปุ การคุณต่อบคุ คลตา่ ง ๆ ในเรื่องทัง้
พระ นาง ยกั ษ์และลิง

63

พระภรต พระพิราพ

ศีรษะครูฤษีท่ีส�ำคัญยิ่งของวงการดนตรีและนาฏศิลป์ คือ พระพิราพ
พิราพ ตามพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลท่ี ๑ เป็นอสูร
ที่พระอิศวรมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลป่าที่เชิงเขาอัศกรรณ มีอุทยานปลูก
ชมพู่พวาทองอยู่ในครอบครอง ได้รับก�ำลังจากพระเพลิงและพระสมุทร
มอี ทิ ธิฤทธเิ์ ปน็ ท่กี ลัวเกรงของเหลา่ เทพยดา คราวหนงึ่ พริ าพขนึ้ ไปแย่งเครื่องทรง
ของเทวดานางฟ้ามาสวมใส่ (เป็นที่มาของการสร้างหน้าโขน “พระพิราพทรง
เครอ่ื ง” คอื สวมมงกฎุ อยา่ งเทวดา) เมอ่ื พระราม พระลกั ษมณ์ นางสดี า ผา่ นเขา้ ไป
และเก็บผลไม้ในบริเวณท่ีพิราพดูแลอยู่ จึงเกิดการสู้รบกันขึ้น พิราพตายด้วยศร
พระราม

64 โขนพระราชทาน เฉลิมพระเกยี รติ

พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัว ประทบั เปน็ องค์ประธานในพระราชพิธี
พระราชทานครอบท่าร�ำหน้าพาทย์องคพ์ ระพิราพ เม่ือวนั ที่ ๒๕ ตลุ าคม พทุ ธศักราช ๒๕๒๗

ณ ศาลาดุสดิ าลยั พระต�ำหนกั จติ รลดารโหฐาน

65

ศรี ษะครูต่างๆ

พิธีครอบครู นาฏศลิ ป์

เมื่อเสร็จการบวงสรวงเทพเจ้าแล้ว ครูผู้ใหญ่ซึ่งเป็นประธานจะเจิม
หน้าผากแก่ศิษย์ จากนนั้ จะท�ำ “พธิ ีครอบ” โดยน�ำศรี ษะฤษี และพระพภิ พหรอื
เทรดิ ฯลฯ ทเี่ รยี กวา่ “ศรี ษะคร”ู ทตี่ งั้ บชู าในพธิ ี สวมลงบนศรี ษะศษิ ย์ ทลี ะคน พธิ นี ี้
เรียกวา่ “พิธคี รอบครโู ขนละคร”

66 โขนพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติ

เพลงที่ใชป้ ระกอบการแสดงโขน

วงปีพ่ าทย์ ท่ใี ชส้ �ำหรบั การแสดงโขน

เพลงหน้าพาทยเ์ ปน็ ส่วนประกอบท่สี �ำคัญในการแสดงโขนและละคร เปน็
เพลงทใี่ ช้บรรยายอากปั กิรยิ า พฤตกิ รรม อารมณต์ ่าง ๆ ของตัวโขน ละคร หรอื ใช้
สำ� หรบั อญั เชญิ เทพเจา้ ฤษี ครบู าอาจารย์ ใหม้ ารว่ มในพธิ ไี หวค้ รแู ละพธิ มี งคลตา่ ง ๆ
เพลงหน้าพาทย์ถือว่าเป็นเพลงช้ันสูงและมีความศักด์ิสิทธิ์ จึงมักจะบรรเลงตาม
ขนบเดมิ ไม่มกี ารดดั แปลงหรอื เปล่ียนแปลงแต่อย่างใด

เพลงหน้าพาทยส์ ามารถจ�ำแนกไดเ้ ป็น ๒ ประเภทดว้ ยกัน คอื เพลงหน้า
พาทยธ์ รรมดา และเพลงหน้าพาทยช์ ัน้ สูง

เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา หรอื หน้าพาทย์เบอ้ื งตน้ เป็นเพลงบรรเลงทใี่ ชใ้ น
การแสดงทว่ั ไป หรอื ใชป้ ระกอบกริ ยิ าอาการของตวั ละครธรรมดาสามญั เปน็ เพลง
หนา้ พาทย์ทีไ่ ม่บังคับความยาว เมอื่ จะหยดุ หรือจบเพลง นกั ดนตรีปี่พาทย์จะดูท่า
ร�ำของผู้แสดงเป็นหลัก มกั ใช้ในการแสดงละคร ไดแ้ ก่ เพลงช้า เพลงเร็ว เพลงเชิด
เพลงเสมอ เพลงรวั เพลงโอด เป็นตน้

เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบอากัปกิริยาของ
ตัวละครสงู ศกั ด์ิ หรอื เทพเจา้ เปน็ เพลงท่ีบังคบั ความยาว จะตัดทำ� นองใหส้ ั้นหรอื
เติมใหย้ าวตามชอบใจไม่ได้ ผู้รำ� จะต้องฟังจังหวะของเพลงเป็นส�ำคญั หน้าพาทย์
ชนิดนีจ้ ะใช้ในการแสดงโขน ละคร และใชใ้ นพิธไี หว้ครู ครอบครูโขน ละคร เช่น
เพลงตระนิมิต ตระบองกนั บาทสกุณี เปน็ ต้น

67

การพากย์โขน

การพากย์เจรจาถือเป็นองค์ประกอบส�ำคัญอย่างหนึ่งของการแสดงโขน
เนอ่ื งจากตวั โขนในสมยั โบราณทกุ ตวั ตอ้ งสวมหนา้ โขน (หวั โขน) ไมส่ ามารถสอ่ื สาร
ด้วยเสียงหรือภาษาพูดจึงต้องมีผู้ท�ำหน้าท่ีพากย์และเจรจาแทน คนพากย์เจรจา
นบั วา่ มคี วามสำ� คญั ยงิ่ ในการแสดงโขน ตอ้ งเปน็ ผมู้ คี วามรคู้ วามเขา้ ใจเรอ่ื งราวและ
วิธแี สดงในตอนนน้ั ๆ อย่างแจ่มแจง้ ทง้ั ต้องจดจ�ำ ค�ำพากย์เจรจา ซงึ่ แตง่ เปน็ กวี
นพิ นธส์ ำ� หรบั แสดงแตล่ ะตอน และตอ้ งใชป้ ฏภิ าณไหวพรบิ ในการเจรจาใหถ้ กู ตอ้ ง
ตามเร่ืองราว ผู้พากย์เจรจาต้องท�ำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขนและใส่ความรู้สึก
ให้สอดคลอ้ งกับอารมณ์ในเรอ่ื ง เชน่ เจรจาตวั พระก็ตอ้ งท�ำเสยี งใหส้ ภุ าพ เจรจา
ตวั ยกั ษก์ ต็ ้องท�ำเสยี งให้กรา้ วดดุ นั เม่อื ตัวโขนแสดงอารมณอ์ ย่างไรกต็ อ้ งเจรจาใส่
ความรู้สกึ ลงใหส้ มบทบาท

68 โขนพระราชทาน เฉลมิ พระเกียรติ พระอิศวร

หวั โขนหรอื หน้าโขน

หน้าโขนหรือหัวโขนในเรื่องรามเกียรต์ิมีอยู่
เป็นจ�ำนวนมากท้ังเทพเจ้า ฤษี พระ ยักษ์และลิง
มสี สี นั ลกั ษณะศริ าภรณห์ รอื เครอ่ื งประดบั ศรี ษะตาม
ฐานานุศักดิ์ และลักษณะปาก ตา ท่ีแตกต่างกัน
หน้าโขนหรือหัวโขนจ�ำแนกตามตัวละครประเภท
ต่าง ๆ ดังนี้

- เทพเจ้าและเทวดาต่างๆ เช่น พระ
อิศวร พระพรหม พระนารายณ์
พระอินทร์ พระอรชุน พระมาตุลี
เป็นต้น

- พระครูพิราพและพระครฤู ษี
- พระ (มนุษย)์ เช่น ทา้ วอชั บาล

พระราม พระลกั ษมณ์ พระพรต
พระสตั รดุ เป็นตน้
- วานร มที ้งั พญาวานรที่สวมมงกุฎ
เชน่ พาลี สคุ รีพ ชมพพู าน ฯลฯ ที่
สวมมาลยั ทอง เช่น หนุมาน นลิ พัท
ฯลฯ วานรสิบแปดมงกฎุ เตยี ว
เพชรจงั เกียงและเขนลิง เป็นต้น

69

- ยักษ์ มีท้ังสวมมงกุฎเรียกว่า “ยักษ์ยอด” เช่น
ทศกัณฐ์ พเิ ภก อนิ ทรชิต มารีศ ฯลฯ ไมส่ วมมงกฎุ
เรียกว่า “ยักษ์โล้น” เช่น กุมภกรรณ ส�ำมนักขา
ฯลฯ หน้าโขนยกั ษ์ยงั มลี ักษณะเฉพาะแตกตา่ งกัน
ไปอกี เชน่ ปาก เขย้ี ว ตา เปน็ ตน้

- สตั ว์ต่าง ๆ เชน่ ครฑุ นาค นกสดายุ นกสมั พาที
กวางทอง ม้าอปุ การ ทรพี ทรพา เปน็ ต้น

พิเภก

พญาครุฑ

70 โขนพระราชทาน เฉลมิ พระเกยี รติ

71

เนื้อเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้น�ำมาแสดงนาฏกรรมโขนเป็นการท�ำสงคราม
ระหวา่ งมนษุ ย์ (หมายถึงพระราม) ซ่งึ มีไพรพ่ ลทหารเปน็ วานร (ลิง) กับฝา่ ยยกั ษ์
(หมายถงึ ทศกณั ฐ)์ เพอ่ื ชว่ งชงิ ผหู้ ญงิ อนั เปน็ ทร่ี กั (นางสดี า)ตวั แสดงทส่ี ำ� คญั ๆจำ� แนก
ออกไดเ้ ปน็ ๔ ประเภท คอื พระ นาง ยกั ษ์ ลงิ เปน็ ตวั แสดงทส่ี ำ� คญั ในการดำ� เนนิ เรอ่ื ง
ซงึ่ จะเตม็ ไปดว้ ยอทิ ธฤิ ทธป์ิ าฏหิ ารยิ เ์ วทมนตรค์ าถา ฤทธานภุ าพของอาวธุ ทมี่ คี วาม
วเิ ศษ การเหาะเหนิ เดินอากาศและแทรกน�ำ้ ดำ� ดินของตัวแสดง เพอื่ สรา้ งให้เรอื่ ง
ราวเกดิ ความสนุกสนาน ต่ืนเต้น พสิ ดาร แบ่งผู้แสดงเป็น ๒ ฝา่ ย คือฝา่ ยพลบั พลา
และลงกา กองทพั ฝ่ายพระราม ซึ่งเป็นพงศน์ ารายณอ์ วตารกับพงศ์วานร เรยี กว่า
ฝ่ายพลับพลา กองทัพฝ่ายทศกัณฐ์และพวกพ้องยักษ์ ซึงเป็นพงศ์อสูรกรุงลงกา
เรยี กวา่ ฝา่ ยกรงุ ลงกา บคุ คลตา่ งๆ ทง้ั ฝา่ ยพระรามและฝา่ ยทศกณั ฐล์ ว้ นมวี งศญ์ าติ
และประวตั ิความเปน็ มา ตลอดจนความเกย่ี วข้องสมั พนั ธก์ ันมาแตอ่ ดตี

72 โขนพระราชทาน เฉลิมพระเกยี รติ

ตัวโขนประเภทอน่ื ๆ

สดายุ

พญานก สีเขียว มีพ่ีชาย ชื่อ สัมพาที และเป็นสหายท้าวทศรถ พ่อของ
พระราม คราวหน่ึงจะไปเย่ียมพระราม แลเห็นทศกัณฐ์ลักนางสีดามาในอากาศ
จึงเข้ารบเพื่อแย่งนางคืน จนเกือบจะชนะทศกัณฐ์ แต่พูดว่าตนไม่เกรงกลัวใคร
นอกจากพระอิศวร พระนารายณ์ และแหวนนางสดี าท่ีทรงสวมอยู่ ทศกณั ฐ์รูด้ ีใจ
ถอดแหวนจากน้ิวนางสีดาขว้างสดายุปีกหัก ตกลงพ้ืนดิน ปากคาบแหวนคอย
พระราม คร้นั พระรามไปพบจึงบอกข่าววา่ ทศกณั ฐล์ กั นางสดี าไปลงกา เมอ่ื ถวาย
แหวนให้พระรามกส็ นิ้ ใจตาย

73

สดายรุ บทศกณั ฐ์

นางสดี า - ทศกณั ฐ์

75

การจ�ำแนกประเภทโขน

โขนจ�ำแนกออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ โขนกลาง
แปลง โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว โขนหน้าจอ โขนโรง
ในและโขนฉาก

โขนโรงใน
พระราม พระลักษมณ์ หนมุ าน ทศกัณฐ์

76 โขนพระราชทาน เฉลิมพระเกยี รติ

โขนกลางแปลง คือการเล่นโขนบนพื้นดินบริเวณลานกว้างหรือกลาง
สนาม ตกแต่งภูมิทัศน์และธรรมชาติโดยรอบข้ึนเป็นฉาก ไม่ต้องปลูกสร้างโรง
มีการพากย์เจรจา การแสดงโขนกลางแปลงนี้น่าจะเน้นการยกรบและรบกัน
เป็นพ้ืน

โขนกลางแปลง

77

โขนนง่ั ราว

โขนโรงนอกหรอื โขนนงั่ ราว เป็นการเลน่ บนโรง ไมม่ ีเตียงส�ำหรับนัง่ แต่
จะท�ำราวไม้ไผพ่ าดตามยาวของโรงสำ� หรบั เป็นที่ตัง้ โขนน่งั ตรงหน้าฉาก มชี อ่ งวา่ ง
ใหผ้ แู้ สดงเดนิ ไดร้ อบราว เมอ่ื ตวั โขนแสดงบทบาทของตนแลว้ ตอ้ งกลบั ไปนงั่ ประจำ�
ที่บนราว เสมือนเปน็ ทีน่ ัง่ ประจ�ำตำ� แหน่ง มแี ต่การพากย์เจรจา ไมม่ ีบทขบั รอ้ ง

โขนหนา้ จอ “จอ” ในที่นี้หมายถงึ จอผ้าขาว มรี ะบายรอบ ทำ� ดว้ ยผ้าดิบ
ส�ำหรับใช้ในการเล่นหนังใหญ่ ต่อมามีการเจาะผ้าดิบ ๒ ข้างจอเป็นช่องประตู
ออก แล้วท�ำซุ้มทั้ง ๒ ด้าน ด้านซ้ายเป็นภาพกรุงลงกา ด้านขวาเขียนเป็นฝ่าย
พลับพลา มีรูปเมขลารามสูรเหาะล่อแกว้ และมีพระจันทรพ์ ระอาทิตย์อยู่ข้างบน
โขนหน้าจอเป็นวิวัฒนาการอย่างหน่ึงของนาฏศิลป์โขนท่ีแสดงถึงการประสม
ประสานกลมกลืนกบั การเลน่ หนงั มเี พยี งบทพากย์และเจรจาไม่มีบทรอ้ ง

โขนโรงใน ตอ้ งปลกู สรา้ งโรงหรือมเี วทีส�ำหรับการแสดง เปน็ การประสม
ประสานโขนและละครในเขา้ ดว้ ยกนั มกี ารพากยก์ ารเจรจาอยา่ งโขน และมคี นรอ้ ง
ตน้ เสยี งกบั ลกู คอู่ ยา่ งละครใน แสดงบนโรงและมฉี ากหลงั เปน็ มา่ นอยา่ งละครใน

78 โขนพระราชทาน เฉลิมพระเกยี รติ

โขนฉาก

โขนฉาก เป็นการแสดงบนโรงหรือเวที มีการสร้างฉากประกอบการแสดง
ขนึ้ บนเวทจี ดั ฉากใหเ้ ปลยี่ นไปตามทอ้ งเรอื่ งทแ่ี สดง แตว่ ธิ แี สดงเปน็ แบบโขนโรงใน
วธิ แี สดงแบง่ เป็นฉาก ๆ ทำ� นองเดยี วกบั ละครดกึ ดำ� บรรพ์

79

ลักษณะที่โขนได้รับอิทธิพลจากละครใน ระยะต่อมาคือ ผู้แสดงตัวพระ
และตัวนางเปิดหน้ากาก โดยสวมมงกุฎและชฎาอย่างละครใน แต่โขนก็ยังคง
รกั ษาแบบแผนเดมิ ไว้ คอื ผแู้ สดงไมพ่ ูดเองร้องเอง ยังคงใหค้ นร้อง คนพากยเ์ จรจา
เป็นผู้ท�ำหน้าที่พูดและร้องแทนจนถึงปัจจุบัน เว้นแต่ตัวประกอบท่ีเรียกว่า “ตัว
ตลก” จะมอี สิ ระในการแสดงสามารถพูดด�ำเนินเรอ่ื งไดด้ ้วยตวั เอง ลกั ษณะพิเศษ
อกี ประการหน่งึ ของการแสดงโขน คอื เรอื่ งท่ใี ชใ้ นการแสดงโขนมีเพยี งเรอ่ื งเดยี ว
“รามเกยี รติ์”

พระราชทาน

เฉลิมพระเกียรติ

โขนพระราชทานฉลมิ พระเกยี รติ

โขนพระราชทานเฉลิมพระเกยี รติ

กระทรวงวฒั นธรรม จดั พิมพเ์ ผยแพร่
เนอ่ื งในโอกาสจดั แสดงโขนพระราชทานเฉลมิ พระเกยี รติ
วนั ท่ี ๑๑ – ๑๓ ธันวาคม พทุ ธศักราช ๒๕๕๘
ณ พระลานพระราชวังดุสติ
จำ�นวน ๕๐,๐๐๐ เล่ม

ที่ปรกึ ษา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม
นายวรี ะ โรจนพ์ จนรัตน์ ปลัดกระทรวงวฒั นธรรม
ศาสตราจารย์ ดร.อภนิ นั ท์ โปษยานนท ์ อธบิ ดีกรมศิลปากร
นายอนนั ต์ ชโู ชติ
บรรณาธกิ าร
นายปกรณ์ พรพสิ ุทธ์ิ
นายบญุ เตือน ศรวี รพจน์
นางจฑุ าทิพย์ โคตรประทุม
นายจรัญ พูลลาภ
นายรัฐศาสตร์ จน่ั เจริญ
ว่าที่ร้อยตรธี รรมนญู กล่ินค้มุ

พิมพ์ท่ี
บริษัท รงุ่ ศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำ�กัด
โทร. ๐ ๒๑๑๘ ๓๕๕๕


Click to View FlipBook Version