The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Panida Nakaew, 2022-07-08 12:05:08

คำสำคัญ

คำสำคัญ

วัฒนธรรม (Culture)

สภาพอันเป็นความเจริญงอกงาม หรือเรื่องอันเป็นสิ่งดีงามลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงความเจริญงอกงามทั้งทางจิตใจและทางวัตถุสิ่งที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมของ
สังคมมีหลายอย่างเช่น ความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกในสังคมการรู้จักควบคุมอารมณ์โดยเฉพาะเมื่อเกิด
ความขัดแย้ง

พหุวัฒนธรรมนิยม
(Multiculturalism)

การดำรงอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมที่หลากหลายของกลุ่มคน ชนชั้น ชาติพันธุ์ เพศ ท้องถิ่น ฯลฯ
ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการอพยพผู้คนและแรงงาน การเคลื่อนย้ายทางสังคม
การผสมกลมกลืน การปรับตัว ความขัดแย้ง และปัญหาต่างๆ เช่น การมี ส่วนร่วมทางการเมือง
สิทธิและความเสมอภาค

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
(Cultural diversity)

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพรมแดนประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งความหลากหลายที่เกิดขึ้นเป็น
สิ่งที่รับรู้กันทั่วไปและเป็นเรื่องปกติ สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะแตกต่างจากสังคมที่มี
การหลอมรวมทางวัฒนธรรม กล่าวคือ สังคมที่มีการหลอมรวมวัฒนธรรมจะมีวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
ที่ถูกครอบงำหรือถูกบดบังจากวัฒนธรรมที่มีอำนาจเหนือกว่า และส่งผลทำให้วัฒนธรรมของชนกลุ่ม
น้อยเลือนหายไป หรือสูญเสียความเป็นตัวเอง

อนุรักษ์นิยม (Conservatism)

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพรมแดนประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งความหลากหลายที่เกิดขึ้นเป็น
สิ่งที่รับรู้กันทั่วไปและเป็นเรื่องปกติ สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะแตกต่างจากสังคมที่มี
การหลอมรวมทางวัฒนธรรม กล่าวคือ สังคมที่มีการหลอมรวมวัฒนธรรมจะมีวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
ที่ถูกครอบงำหรือถูกบดบังจากวัฒนธรรมที่มีอำนาจเหนือกว่า และส่งผลทำให้วัฒนธรรมของชนกลุ่ม
น้อยเลือนหายไป หรือสูญเสียความเป็นตัวเอง

เสรีนิยม (Liberalism)

ความเชื่อตรงข้ามกับแนวคิดแบบ สัจนิยมโดยเน้นการปฏิรูประบบการปกครองตนเองให้เป็น
ประชาธิปไตย กฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ ระหว่างประเทศ รวมทั้งความปรองดองของผลประโยชน์
ระหว่างประเทศ โดยการสร้างระบบ ความมั่นคงปลอดภัยร่วมกันและสร้างองค์กรระหว่างประเทศเพื่อทำ
หน้าที่แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ สันติภาพเป็นสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้ และสามารถสร้าง
ขึ้นโดยใช้กฎหมายระหว่างประเทศ

หลังสมัยใหม่นิยม
(Postmodernism)

เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่าง
ออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก ลักษณะของวิถีชีวิตในช่วงปลายคริสต์
ศตวรรษที่ 20 สภาพการณ์เช่นนี้ประกอบไปด้วย การเคลื่อนย้ายถ่ายเทของประชากรโดยอาศัยการ
คมนาคม ระบบข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ภาพลักษณ์และความคิดที่ผ่านสื่อซึ่งไม่
เคยเกิดขึ้นมาก่อน

อุดมการณ์ (Ideology)

การปฏิรูปทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจะบรรลุสัมฤทธิผลได้ ต้องเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูป ใน
เชิงลึก การเปลี่ยนแปลงในเชิงลึกนั้น ต้องรื้อปรับโครงสร้างของการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดย
ยึดระบบคุณค่า (Value System) หรือระบบคุณธรรม (Merit System) เพื่อนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า
อุดมการณ์ทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตย

การกลืนกลาย (Assimilation)

การผสมกลมกลืนอัตลักษณ์อื่นๆ เพื่อการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ หมือนสหรัฐที่เคยใช้นโยบายมิติ้งพอต
ซึ่งเป็นนโยบายไว้จัดการกับความหลากหลาย โดยต้องการเปลี่ยนผู้คนที่แตกต่างให้กลายเป็นอเมริกัน
หรืออย่างประเทศไทยที่ใช้ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาราชการ

วาทกรรม (Discourse)

รูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นสถาบันและมีการ
สืบทอด "ซึ่งแสดงออกผ่านทางการพูดและเขียนอย่างจริงจัง/ประโยคหรือนิยามที่ใช้บ่อยๆ"
เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งลักษณะของวาทกรรม และการปรับเปลี่ยนลักษณะของวาทกรรมนั้น ๆ



กระบวนทัศน์ (Paradigm)

กระบวนคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต มาทบทวนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุค
และสถานการณ์ ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความเชื่อพื้นฐานที่มีในจิตใจของมนุษย์
ทุกคน แตกต่างกันตามเพศ ตามวัย ตามสิ่งแวดล้อม ตามการศึกษาอบรม และตามการตัดสินใจเลือก
ของแต่ละบุคคล

ความเท่าเทียม (Equality)

เป็นมุมมองที่ถือว่าบุคคลทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดยมิได้พิจารณาหรือคำนึงถึง
ข้อแตกต่างของแต่ละบุคคล งานวิจัยเรื่อง ความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความเป็นธรรมทางสังคม
กับการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย โดยมิได้คำนึงถึงความ แตกต่างของแต่ละบุคคลเลยทำให้มี
บุคคลบางคน เข้าไม่ถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนควรจะได้รับ

ความเสมอภาค (Equity)

การสนับสนุนให้ท้ายที่สุดทุกคนอยู่ในระดับเสมอกัน มิใช่การสนับสนุนในปริมาณที่เท่ากัน ตัวอย่าง
นโยบายที่ยึดหลักเสมอภาค เช่น การให้สิทธิผู้มีโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมน้อยเข้าเรียนในสถาน
ศึกษาที่มีการแข่งขันสูง หากไม่ได้มองผ่านหลักเสมอภาคก็อาจรู้สึกไปได้ว่าผู้มีโอกาสน้อยที่ได้รับสิทธิ
นั้นเป็นอภิสิทธิ์ชน ไม่ต้องแข่งขันหนักเท่าผู้อื่นก็สามารถเข้าเรียนได้

คนชายขอบ
(Marginal people)

ความด้อยโอกาสอาจมีที่มาจากหลายสาเหตุ เพราะอาศัยอยู่ในชนบทห่างไกล จึงมิได้เรียนสูงๆ จึงขาด
การศึกษา อันทำให้ขาดโอกาสที่จะทำงานที่ดี และมีรายได้ที่ดี หรือ เพราะร่างกายพิการ จึงไม่อาจเรียน
ได้ จึงไม่ทำงานได้ หรือแม้เรียนได้ ก็ยังมีข้อจำกัดในการทำงาน เพราะเป็นคนในกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มี
ข้อจำกัดทางภาษาและวัฒนธรรม จนไม่อาจขาดโอกาสทางการศึกษาและการทำงาน

ความเป็นธรรมทางสังคม
(Social justice)

แนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม มิใช่เพียงแค่มิติทางด้านกฎหมายเท่านั้น
ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัวของมันเอง ก็ตีความได้หลายความหมาย อาจหมายถึงการปฏิบัติ
ต่อกันอย่างเป็นธรรม หรือการแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรมก็ได้ ประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม

เป็นทั้งปัญหาทางปรัชญาและมีความสำคัญในมิติต่าง ๆ เช่น การเมือง ศาสนา และสังคม
ปัจเจกบุคคลอาจต้องการอยู่ในสังคมที่มีความเป็นธรรมทั้งนั้น

อำนาจนำ (Hegemony)

กระบวนการที่ชนชั้นปกครองหรือชนชั้นอื่นสร้างความยอมรับเหนือชนชั้นอื่นๆผ่านกลุ่มปัญญาชนซึ่ง
เป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการเผยแพร่ แนวคิดหรืออุดมการณ์ในสังคม ครอบงำาเป็นความสนิทนัย
ระหว่างชนชั้นนำและชนชั้นปกครอง เป็นความพยายามของชนชั้นนำ ที่ประสบความสาเร็จในการใช้
ความเป็นผู้นำทางการเมืองศรีธรรมและปัญญาไปกำหนดโลก

การเหมารวม (Stereotype)

คตินิยม หรือ ทัศนคติ ของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภท
จนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็น อัตวิสัย
เกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตก
ต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การเหมารวมมิได้ใช้แต่
เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมา
ได้

การสร้างภาพตัวแทน
(Representation)

ความสัมพันธ์ของเครื่องหมายหรือข้อความในสื่อใดๆกับผู้อ้างอิง ใน กรอบภาพสะท้อน
การนำเสนอซ้ำอย่างโปร่งใส การสะท้อนกลับ การบันทึก การถอดความหรือการทำซ้ำ

ของความเป็น จริงที่มีอยู่ก่อนแล้ว

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
(Power relations)

แนวโน้มของบุคคลที่ต้องการต่อต้านขัดขืนในสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นๆในสังคม ว่าการใช้
อำนาจครอบงำคือรูปแบบปกติของความสัมพันธ์เชิงอำนาจซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่กับ

คำสั่งและความแตกต่าง การควบคุมการผลิตจะกลายเป็นรูปแบบการปกครองทรัพย์สิน และความ
สัมพันธ์ทางสังคมจากการผลิต ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของอำนาจและวัตถุสิ่งของซึ่งนำไปสู่การแย่งชิงอำนาจ




ความเป็นอื่น (Otherness)

เป็นแนวคิดในการบ่งบอกถึงคุณลักษณะของความแตกต่าง หรือความแปลกประหลาด
การกล่าวถึงความ เป็นอื่นเป็นนิยามของผลผลิตจากการสังเกตเห็นความแตกต่างและความแปลก
ประหลาด รวมไปถึงความรู้สึกแตกต่างของภาพลักษณ์หรือคุณลักษณะที่แตกต่างไป จากสิ่งที่รู้จัก

คุ้นเคย ความคาดหวัง หรืxอแนวคิดทั่วไป

อคติ (Bias/prejudice)

การมีความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่ไม่ยุติธรรมไม่ตามเหตุผลต่อคนหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ความเป็นไปใน
ทางผิด, การทำผิด, การทำชั่ว ความลําเอียงเพราะรัก ความลําเอียงเพราะกลัว โมหาคติ

การเลือกปฏิบัติ
(Discrimination)

การกระทำที่ปฏิบัติต่อประชาชนอย่างแตกต่างกัน อันเป็นผลมาจากความเชื่อที่มีอคติต่อเรื่องนั้นๆ
หากการเลือกปฏิบัติมีการขยายวงกว้างและพัฒนาไปสู่ระบบการเลือกปฏิบัติจะนำไปสู่ “การกดขี่”
งานวิจัยเรื่อง ความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความเป็นธรรมทางสังคม กับการจัดสวัสดิการสังคม
ของประเทศไทย

Gender
(เพศสภาวะ หรือเพศสภาพ)

สถานะและบทบาททางเพศของบุคคล ซึ่งมีมิติทางกายภาพ สรีระ อารมณ์ พฤติกรรม สังคม
และวัฒนธรรมประกอบอยู่ ลักษณะต่าง ๆ ที่บ่งบอก

ความเป็นชาย (masculinity) และ ความเป็นหญิง (femininity)

เพศหลากหลาย (LGBTQ- Lesbian, Gay, Bisexual,
Transgender and Queer)

กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก LGBTQ เป็นกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ
หรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม เพศหลากหลาย คือ กลุ่มเพศทางเลือก
ไม่ว่าจะเป็นเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานเจนเดอร์ เควียร์ ที่ไม่ใช่กลุ่มเพศตามเพศสภาพ

ความสามารถที่แตกต่าง
(Differently abled)

ความสามารถ คุณภาพภายในที่ทำให้บุคคลสามารถเรียนรู้หรือเชี่ยวชาญทักษะได้อย่างง่ายดาย ความ
สามารถมีหรือขาด แต่ทุกคนมีความสามารถที่แตกต่างกันเนื่องจากรหัสพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่บาง
คนเป็นนักเต้นที่เก่งในขณะที่คนอื่น ๆ ไม่สามารถเรียนรู้ที่จะเต้นได้อย่างราบรื่นและดูเหมือนว่าพวก
เขากำลังเต้นเพราะความสามารถโดยกำเนิดหรือการขาดความสามารถเหล่านี้

ทวิ/พหุภาษา
(Bi/Multilingual education)

กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาแม่และวัฒนธรรมของนักเรียนเป็นพื้นฐานและสื่อการ
เรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และเชื่อมโยงสู่ภาษาและวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นระบบ
เป็นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษา พร้อมกับการรักษาอัตลักษณ์ของ
ตนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม

หลักสูตรแฝง
(Hidden curriculum)

ความรู้ ความเข้าใจ และการเรียนรู้ต่างๆ ที่มิได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร เกิดเพิ่มขึ้นเมื่อผู้เรียน
ได้รับสาระและประสบการณ์ตามที่หลักสูตรกำหนด นับเป็นการเรียนรู้ที่แฝงหรือซ่อนอยู่ในหลักสูตร

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society

หลักสูตรทางการ
(Official curriculum)

มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ
ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

การสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้เรียน
(Culturally responsive teaching)

การสอนที่ตอบสนองต่อวัฒนธรรมเป็นการทำให้การเรียนรู้ในโรงเรียน มีความเกี่ยวข้อง และมี
ประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียนโดยอาศัยความรู้ทางวัฒนธรรมของนักเรียน ประสบการณ์ชีวิตกรอบการ
อ้างอิงภาษาและรูปแบบการแสดงและการสื่อสาร ของนักเรียนนี่หมายถึงการสร้างสิ่งที่นักเรียนรู้และวิธี
ที่พวกเขารู้รากฐานของ ปฏิสัมพันธ์และหลักสูตรการเรียนรู้และการสอนนี่เป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักเรียน
ทุก คน แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างโลกของครูกับโลกของเด็ก

ทฤษฎีเชิงวิพากษ์
(Critical Theory))

เป็นทฤษฎีทางสังคมที่ปรับไปสู่การวิจารณ์และการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยรวม เป็นสำนักคิดที่เน้นย้ำ
การประเมินสะท้อนและการวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมโดยการประยุกต์ความรู้จากสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ โดยที่มีการใช้และประยุกต์เป็นคำรวม ๆ ที่สามารถอธิบายทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนการวิพากษ์

การศึกษาเชิงวิพากษ์
(Critical pedagogy)

การเคลื่อนไหว ทางการศึกษาชี้นำโดยความกระตือรือร้นและหลักการเพื่อช่วยให้นักเรียนพัฒนา
จิตสำนึกแห่ง อิสรภาพตระหนักถึงแนวโน้มของเผด็จการและเชื่อมโยงความรู้กับอำนาจและความ
สามารถใน การดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ เป็นทั้งทฤษฎีและแนวปฏิบัติการทางการศึกษาที่มีความ
ผูกพันกับ แนวคิดของสํานักมาร์กซิสม์ (Marxism) ที่เห็นว่ากระบวนการศึกษาเป็นสวนหนึ่งของ
กระบวนการก่อรูปทางสังคมของ มนุษย์ รวมท้ังก่อรูปให้แก่ปัจเจกบุคคล และสถาบันทางสังคมท่ี
มนุษย์สังกัดอยู่ ชนชั้นกรรมาชีพจะตองแสวงหาหนทางให้หลุดพ้น จากพันธนาการแหงการกดขี่ โดย
เฉพาะอุดมการณ์ทุนนิยมที่ พันธนาการมนุษย์ให้มืดบอด

เกษียร เตชะพีระ. (2550) อำนาจนำ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=12-10 2007& group=
16& gblog= 86
ชนกานต์ สังสีแก้ว. (2559). การเลือกปฏิบัติ. [ออนไลน์], จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/download/147735/
108782/395087 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
ฑิฆัมพร เอี่ยมเรไร. (2556) ทฤษฎีเชิงวิพากษ์. [ออนไลน์], จาก https://phdcommunication.wordpress.com สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
ดำรงค์ ตุ้มทอง, พัชรินทร์ สิรสุนทร, รัตนะ บัวสนธ์, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์ , คนชายขอบ สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก, file:///C:/Users/ADMIN/Downloads/lakkana
ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน.อนุรักษ์นิยม.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/อนุรักษนิยม
ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน.อดุมการณ์ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก, https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-en-lexitron
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2565) วัฒนธรรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.sac.or.th/databases/anthropologyconcepts/glossary/30
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ) สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก,https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/116
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (ไม่ระบุปีที่เขียน). Gender. [ออนไลน์]. จาก https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/59 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
ปนัดดา รักษาแก้ว. (2561) ความเสมอภาค, ความเท่าเทียม [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก, file:///C:/Users/ADMIN/Downloads/jomcusoc
ปรัชญ์ งามสมภาค. (2563) อคติ. [ออนไลน์], จาก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/21773/DRสืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
แพร ศิริศักดิ์ด่าเก่ง. (2545) พหุวัฒนธรรมนิยม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://peaceresourcecollaborative.org/wp-content/uploads/2020/02/พหุ
วัฒนธรรม-แพร.doc6279.pdf
รังสรรค์ นัยพรม.(2563) ความเป็นอื่น. [ออนไลน์], จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jprkku/article/download/243254/167454/865678 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565
รสสุคนธ์ เนาวบุตร, รองศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ สังข์รักษา. (2558 ) การสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้เรียน.. [ออนไลน์], จาก https://www.tci-
thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/40217/33163 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
วิกิพีเดีย.(2562) หลังสมัยใหม่นิยม [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก,https://th.wikipedia.org/wiki
วิกิพีเดีย.(2564) การกลืนกลาย [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก, https://th.wikipedia.org/wiki/
วิกิพีเดีย.(2564) วาทกรรม [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก, https://th.wikipedia.org/wiki/
วิกิพีเดีย. (2565) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
วิชัย วงษ์ใหญ. (2551) หลักสูตรทางการ. [ออนไลน์], จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/.pdf สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
ศรีสุดา พัฒจันทร. (2014) ความสามารถที่แตกต่าง [ออนไลน์], จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/download/200519
/140174/610501 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
สิริลักษณ์ สุขสวัสดิ์. (2563) การเหมารวม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://urbancreature.co/stereotype-threat/
สุวิไลเปรมศรีรัตน. (2556). ทวิ/พหุภาษา. [ออนไลน์]. จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/download/20298/17635/43759 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556). หลักสูตรแฝง. [ออนไลน์], จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges 8 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
Multicultural Education.(2562) เสรีนิยม.หน้า 49-50 ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://peaceresourcecollaborative.org/wp-content/uploads/2020
Salforest, ความเป็นธรรมทางสังคม (2556) สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก, http://www.salforest.com/glossary/social-justice
ADMIN. (2002). เพศหลากหลาย. [ออนไลน์]. จาก https://thesmst.com/blog/2020/06/07/ สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565
Giroux, H.A. (2013). การศึกษาเชิงวิพากษ์. [ออนไลน์], จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/download/121988/138958/ สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565


Click to View FlipBook Version