The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by talungkan2536, 2022-01-26 22:31:19

คุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร

2

คำนำ

รายงานเล่มนเี้ ปน็ ส่วนหนึง่ ของรายวิชาคุณธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ จดั ทำขน้ึ มาเพื่อ
ศึกษาเกย่ี วกับเร่ือง การพฒั นาคณุ ธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บรหิ าร เพือ่ ทจี่ ะไดเ้ ป็นประโยชน์สำหรับที่สนใจ
สามารถนำไปบูรณาการปรับใช้ในการดำเนินงาน และในชวี ติ ประจำวนั ต่อไปในอนาคต

ผ้จู ัดทำหวงั วา่ รายงานเล่มนจ้ี ะเป็นประโยชนก์ บั ผู้อ่าน ทีก่ ำลงั ศึกษาขอ้ มลู เรอื่ งนี้อยู่ หากมขี ้อแนะนำ
หรือขอ้ ผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอนอ้ มรับไว้ และขออภยั มา ณ โอกาสน้ีดว้ ย

สุวชิ า วรรณคง
และคณะ

สารบญั 3

เรอ่ื ง หน้า

ความหมาย 1
องคป์ ระกอบคุณธรรม 2
องคป์ ระกอบของจริยธรรม 3
ความสำคัญของการพฒั นาคุณธรรม จริยธรรม 3
ประโยชนข์ องคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม 5
แนวคิดการพฒั นาคุณธรรมจรยิ ธรรมสำหรบั ผู้บริหาร 5
หลักการการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผูบ้ ริหาร 8
หลกั ธรรมทเี่ ก่ียวข้องกับการพฒั นาคุณธรรมจริยธรรมสำหรบั ผบู้ รหิ าร 11
สรุป 1๗
บรรณานุกรม 18



การพฒั นาคุณธรรม จริยธรรม สำหรบั ผบู้ รหิ ารสถานศึกษา

ความหมาย
การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง การทำให้ดีให้เจริญ โดยใช้หลักประพฤติปฏิบัติที่ก่อให้เกิด

คุณงามความดี
การกำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้รับผิดชอบงานควรต้องคิดให้ครอบคลุมทั้งด้าน

คุณธรรมและจริยธรรม นั่นคือ หลักการคิดและวิธีการปฏิบัติที่ดีงาม ถูกต้อง ตามสภาพสังคม วัฒนธรรม โดย
กอ่ นอ่ืนคงต้องทำความเข้าใจกับความหมายของคำวา่ คุณธรรม และ จริยธรรม ก่อน

คณุ ธรรม คือ หลักความจริง หลักการปฏบิ ตั ิ ประกอบด้วย
๑. จริยธรรม มี ๒ ความหมาย คอื

๑.๑ ความประพฤติดีงาม เพือ่ ประโยชนส์ ุขแกต่ นและสงั คม ซ่ึงมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรม
ทางศาสนา ค่านยิ มทางวัฒนธรรม ประเพณี หลกั กฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ

๑.๒ การรูจ้ ักไตรต่ รองว่าอะไรควร ไม่ควรทำ
๒. จรรยา (etiquette) หมายถึง ความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติซึ่งสังคมแต่ละสังคม กำหนดข้ึน
สอดคล้องกับวัฒนธรรม ในแต่ละวิชาชีพก็อาจกำหนดบุคลิกภาพ กิริยา วาจาที่บุคคลในวิชาชีพพึงประพฤติ
ปฏิบัติ เชน่ ครู แพทย์ พยาบาล ยอ่ มเป็นผทู้ ่พี งึ สำรวมในกิรยิ า วาจา ท่าทางทีแ่ สดงออก
๓. จรรยาบรรณวิชาชีพ (professional code of ethics) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้
ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและสง่ เสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก
ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากสังคม อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ เช่น จรรยาบรรณของแพทย์ ก็
คอื ประมวลความประพฤติท่ีวงการแพทย์กำหนดขึน้ เพ่ือเปน็ แนวทางสำหรบั ผู้เปน็ แพทย์ยึดถือปฏบิ ตั ิ
๔. ศีลธรรม (moral) คำว่า ศีลธรรมถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ภาษาละติน Moralis หมายถึง หลัก
ความ ประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ ภาษาไทย ศีลธรรมเป็นศัพท์พระพุทธศาสนา หมายถึง ความ
ประพฤติท่ี ดที ีช่ อบหรือ ธรรมในระดบั ศีล
๕. คุณธรรม (virtue) หมายถึงสภาพคุณงานความดีทางความประพฤติและจิตใจ เช่น ความเป็นผู้ไม่
กล่าว เท็จโดยหวังประโยชน์ส่วนตน เป็นคุณธรรมประการหนึ่ง อาจกล่าวไดว้ ่าคณุ ธรรมคือจริยธรรมแต่ละข้อ
ท่ี นำมาปฏบิ ตั ิจนเป็นนิสัย เชน่ เปน็ คนซ่อื สตั ย์ เสยี สละ อดทน มคี วามรบั ผิดชอบ ฯลฯ
๖. มโนธรรม (conscience) หมายถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ
นักจริยศาสตร์ เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่าง
ความรสู้ ึกตอ้ งการ ส่งิ หนึง่ และรู้ว่าควรท าอกี สงิ่ หนงึ่ เช่น ตอ้ งการไปดูภาพยนต์กบั เพื่อน แตก่ ็รู้ว่าควรอยู่เป็น
เพอื่ น คุณแมซ่ ึ่ง ไมค่ อ่ ยสบาย
๗. มารยาท มรรยาท กิริยา วาจา ที่สังคมกำหนดและยอมรับว่าเรียบร้อย เช่น สังคมไทยให้เกียรติ
เคารพ ผู้ใหญ่ ผู้นอ้ ยยอ่ มสำรวมกริ ิยาเม่ืออยตู่ ่อหน้าผใู้ หญ่ การระมัดระวังคำพูดโดยใชใ้ ห้เหมาะกับบุคคลตาม
กาลเทศะ จรยิ ธรรม คอื กฎเกณฑค์ วามประพฤติของมนษุ ย์ ซง่ึ เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนษุ ย์เอง ความเป็นผู้
มปี รชี า ญาณ (ปัญญา และ เหตผุ ล รวมกนั ) ทำให้มนษุ ยม์ มี โนธรรม ร้จู กั แยกแยะความดีถกู ผิด ควร ไมค่ วร
จริยธรรมมีลักษณะ ๔ ประการ คอื
๑. การตัดสนิ ทางจริยธรรม (moral judgment) บุคคลจะมีหลกั การของตนเอง เพ่อื ตดั สินการกระทำ
ของผูอ้ ่ืน



๒. หลักการของจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลก่อนที่ จะ
ปฏบิ ัตกิ ารตา่ ง ๆ ลงไป

๓. หลกั การทางจรยิ ธรรมเปน็ หลักการสากลท่ีบุคคลใช้ตัดสนิ ใจในการการะทำส่งิ ต่าง ๆ
๔. ทัศนะเกี่ยวกับจริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคมจนเกิดเป็น ทัศนะใน
การดำรงชวี ิตของตน และของสงั คมท่ีตนอาศยั อยู่
จะเห็นได้ว่า คุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง ในการแสดงออกทั้งกาย
วาจาใจ ของแต่ละบุคคล ซึ่งยึดมั่นไว้เป็นหลกั ประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย ซึ่งอาจส่งผลให้
การอยูร่ ่วมกันในสงั คมอยา่ งมีความสุข จะทำให้เกิดประโยชนต์ อ่ ตนเองและสังคม
จริยธรรม หมายถึง การประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แสดงออกถึงความดีงามทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น
และต่อ สังคม เพื่อให้เกิดความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ต่อสังคมและต่อการพัฒนา
ประเทศชาติ

องค์ประกอบคณุ ธรรม

กระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง มองว่า แนวคิดเรื่องคุณธรรมแม่บท ๔ (cardinal
virtues) ที่ได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ยุคกรีก จนถึงยุคกลางนั้น แท้ที่จริงไม่ใช่แม่บทของคุณธรรม หรือหลัก
คุณธรรมแตล่ ะขอ้ อยา่ งองค์ ๔ เพราะว่า cardinal แปลว่า บานพับ อยา่ งประตทู างเข้ารา้ นทีต่ ้องผลกั ตรงกลาง
ซึ่งตีความได้ว่า เป็นประตูสำหรับให้พฤติกรรม (behavior) ต้องผลักเข้าไป เมื่อผลักเข้าไปได้พฤติกรรมนั้นจึง
จะถือว่าเป็นคุณธรรม (virtue)

ดังนั้น ในการประยุกต์ใช้หลักคุณธรรมแม่บทนี้ ให้พิจารณาว่า ทั้ง ๔ ข้อนี้เป็นองค์ประกอบของ
คณุ ธรรม ต้องใชใ้ นลกั ษณะของเกณฑ์ตัดสินคุณธรรม หมายความวา่ คุณธรรมใดๆ จะถือว่าดอึ ยา่ งคุณธรรมได้
ต้องมี ๔ ด้านนเ้ี ป็นองคป์ ระกอบในการปฏบิ ัติแตล่ ะครั้ง เมอ่ื ทำไดอ้ ยา่ งเหมาะสมต่อเนื่องจึงเป็นคุณธรรมของผู้
นั้น (self-virtue) ไดแ้ ก่

๑. ความรอบรู้
ความรอบรู้ รอบคอบ (prudence) หมายถึง การเล็งเห็นหรือหยั่งรู้ได้ง่ายและชัดเจนว่าอะไรควร
ประพฤติและอะไรไม่ควรประพฤติ แสวงหาความรู้เพิ่มเพื่อช่วยให้เกิดความรอบคอบยิ่งขึ้น ไม่ละเลิกหรือไม่
เท่ากันความประพฤติที่ไม่ดี ความรอบคอบอันลึกซึ้งเกิดได้ด้วยการทบทวนคิดและประสบการณ์ จึงถือเป็น
ปญั ญาสำหรับการปฏิบตั ิได้ครบถ้วน เหมาะสมตามความเปน็ จรงิ
๒. ความกลา้ หาญ
ความกล้าหาญ (fortitude, courage) เกิดจากการรวมกันเป็นหมู่คณะและความคิดในการปกป้อง
ผู้อื่น จึงนำไปสู่การมีความประพฤติกล้าหาญ กล้าเสียสละ เหมาะสมตามความเป็นจริง โดยมี ๒ ลักษณะ
ได้แก่ ๑) กล้าหาญทางกายภาพ คือ กล้าที่จะทำ กล้าเสี่ยงต่อความยากลำบาก อันตรายและความตายเพื่อ
อุดมคติแห่งชีวิต ๒) กล้าหาญทางจิตใจ คือ กล้าที่จะคิดและตัดสินใจ กล้าเสี่ยงต่อการถกู เข้าใจผิด กล้าเผชญิ
การใส่รา้ ยและเยาะเยย้ เม่อื มัน่ ใจวา่ ตนเองกระทำความดี
๓. ความรจู้ ักประมาณหรอื ความพอเพียง
ความพอเพียง (temperance, sufficiency) เป็นระดับของการสำนึกในตนถึงความต้องการตาม
สัญชาตญาณ ทำให้เกิดการแสวงหาด้วยหลักยิ่งมากยิ่งดี แต่ในระดับของปัญญามนุษย์จึงมีความสำนึกที่จะ
ควบคุมพลังในตัวให้อยู่ในขอบเขตของจดุ มุ่งหมายในชวี ิต ฝึกให้รู้จกั อยู่ในขอบเขตอันควรในแต่ละสภาพและ
ฐานะของบคุ คลในการกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดเพื่อให้ตรงตามความเปน็ จรงิ



๔. ความยตุ ิธรรม
ความยุติธรรม (justice) เป็นระดับของการตัดสินใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยพิจารณาแล้วว่า เป็นการให้แก่
ทุกคนและแต่ละคนตามความเหมาะสม (giving each his due) เราต้องรู้ว่าใครทำอะไร อย่างไร และเรามี
กำลังให้เท่าไร ควรให้แก่ใครเท่าไรและอย่างไรที่จะทำให้เกิดเป็นจังหวะที่เหมาะสม มีความกลมกลืน ความ
สามัคคใี นหมู่คณะ

องค์ประกอบของจริยธรรม

๑. ด้านความรู้ (moral reasoning) คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสิน
แยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องไดด้ ้วยการคิด

๒. ด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือ ความพึงพอใจ ความศรัทธาเลื่อมใส
ความนยิ มยินดี ทจี่ ะรบั จริยธรรมมาเปน็ แนวทางในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ิตน

๓. ด้านพฤติกรรม (moral conduct) คือการกระทำหรือหารแสดงออกของบุคคลในสถานการณ์
ต่างๆ ซึ่งเช่ือว่าเกดิ จากอทิ ธพิ ลของทั้งสององคป์ ระกอบขา้ งต้น

เนื่องจากองค์ประกอบของจริยธรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ดังกล่าวข้างต้น การพัฒนาคนในด้านจริยธรรมจึง
ต้องพัฒนา 3 ด้านไปด้วยกัน ในการดำเนินชีวิตของคนนั้น องค์ประกอบทั้ง 3 ประการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
อย่างใกล้ชิด กล่าวคือ พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาท้ังทางกายและทางวาจานั้น จะมีความสมั พันธ์กับทาง
จิตใจและสติปัญญา คนที่มีอารมณ์โกรธจะแสดงพฤติกรรมออกมาทางการก้าวร้าวรุนแรง และยิ่งเป็นคนที่มี
ปญั ญานอ้ ยดว้ ยแล้ว พฤตกิ รรมที่แสดงออกก็จะก้าวร้าวรนุ แรงย่ิงกว่าบคุ คลทม่ี สี ติปญั ญาซึ่งจะสามารถควบคุม
จิตใจของตนได้โดยไม่แสดงพฤติกรรมไม่ดีให้ออกมาปรากฏ นั่นก็แสดงว่าผู้มีสติปัญญาดีย่อมสามารถควบคุม
อารมณแ์ ละความประพฤติได้ดีกวา่ ผดู้ ้อยปัญญานน่ั เอง

ความสำคญั ของการพฒั นาคุณธรรม จริยธรรม

งานด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นงานที่มีความอ่อนไหว ลึกซึ้ง และเข้าถึงได้ยาก กระบวนการพัฒนา
ต้องใช้ความละเอียดอ่อนกอปรกับวิธีการที่เรียบง่ายและที่สำคัญต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ เกิดการ
ยอมรับและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาด้วยความเต็มใจ “ความสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมไม่ได้อยู่ที่ได้ทำ (มีเงิน มีคน มีแผน) แต่อยู่ที่ทำแล้วได้อะไร (ได้สร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง ผู้อื่น และราชการ)”

การพัฒนาคณุ ธรรม จริยธรรม ตอ้ งยดึ หลักประพฤตปิ ฏบิ ตั ทิ ี่ดีดงั ท่ีได้กล่าวมาแลว้ และต้องมีกลยุทธ์ท่ี
เหมาะสมกับบริบทขององค์กร และประการสำคัญ คือ บุคลากรขององค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงไป
จนถึงเจ้าหน้าที่คนสุดท้ายต้องมีความเข้าใจและยอมรับในบทบาทหน้าที่ของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ สนับสนุนและเป็นแบบอย่าง ผู้ให้การพัฒนาต้องมีความรู้ในหลักการเชิงทฤษฎี มี
ความเข้าใจในเชิงปฏิบัติ มีความศรัทธาในคุณงามความดี และลงมือทำด้วย “หัวใจ” ที่เต็มเปี่ยมด้วย “ความ
รกั ” ผรู้ ับการพฒั นาต้องเขา้ ใจ ยอมรับพรอ้ มทจ่ี ะเขา้ สกู่ ารพัฒนาด้วยความสมัครใจ

ผู้บริหารเป็นหัวใจสำคัญของหน่วยงานหรือองค์กร ทุกหน่วยงานยอ่ มปรารถนาและให้การยอมรับนบั
ถือผู้บริหารที่มีคุณภาพนั่นก็คือ เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีทักษะคามชำนาญงานมีประสบการณ์ มี
วิสัยทัศน์กว้างไกล ฯลฯ แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใดคือ ต้องเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ และมีจริยธรรมที่น่าเลื่อมใส



ศรัทธา ผู้บริหารกค็ ือคนที่มีความสามารถในหลายดา้ นท่ีเหนือกว่าคนทัว่ ไปดังน้ันผู้บริหารจงึ ตอ้ งเป็นคนดีของ
สงั คมและเกอื บทกุ สังคมจะยึดหลักการของศาสนามาเปน็ พ้ืนฐานของความดคี วามงามในการอยูร่ ว่ มกนั

สำหรับคนไทย คุณธรรมจริยธรรมส่วนใหญ่จะประยุกต์มาจากพระพุทธศาสนาเป็นหลัก คำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้านั้น ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล นับถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๒๕๕๖ ปีแล้ว แต่ทุก
หลกั ธรรมยังคงทันสมยั อยู่เสมอ สามารถนำไปประยกุ ต์ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวติ และแนวทางในการบริหารงาน
ได้เป็นอย่างดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าวเป็นความจริงท่ี สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า “สัจ
ธรรม” ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้จริงอยู่ที่เราจะนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรามา กที่สุด
สำหรับนกั บรหิ ารกม็ หี ลกั ธรรมสำหรับยึดถอื และปฏบิ ตั ิอยา่ งมากมาย

ความสำคัญของคณุ ธรรมและจรยิ ธรรมจึงอาจแบง่ ได้ ด้งั น้ี คือ
๑. ความสำคัญตอ่ สังคมสังคมเป็นแหล่งรวมกันของผคู้ นท่ีมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงความ
แตกต่างทางความคิดเป็นความแตกต่างท่ีสำคัญ เพราะความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทำ ถ้าคิดอย่างไร
การกระทำก็มกั จะเป็นอย่างน้ันเสมอ เม่อื ความคิดของคนในสังคมแตกต่างกันก็จะเกิดการกระทำทแ่ี ตกต่างกัน
อย่างหลากหลายตามไปด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งต่างๆตามมา ดังนั้นสังคมต้องอาศัยคุณธรรม
จรยิ ธรรมเป็นเครือ่ งควบคุมความคดิ และการปฏบิ ตั ิของผคู้ นไม่ให้ไปคิดและกระทำอนั เป็นการละเมดิ ผ้อู น่ื
๒. ความสำคัญต่อหน่วยงานถ้าหน่วยงานใดมีสมาชิกที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมจริยธรรมแล้ว
หน่วยงานนั้นก็จะเป็นหน่วยงานที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ เพราะคุณธรรมทีด่ ีในตวั แต่ละคนน้ัน จะเป็นตัวบ่ง
บอกถึงความเป็นผู้มีคุณภาพพร้อมที่จะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนจริยธรรมนั้นเป็นตัวบ่งบอกถึง
ความเป็นผู้ทสี่ ามารถในการปฏิบตั ิทด่ี ีที่ถูกต้อง ทำให้เกิดผลงานท่ีมีคณุ ภาพกล่าวอีกอย่างหน่ึงได้ว่า หน่วยงาน
ท่มี บี ุคลากรทมี่ ีคุณธรรม จริยธรรม กค็ ือ มีปัจจยั ตัวป้อนด้านบุคลากรท่ีดี และเม่ือเข้าสู่กระบวนการก็จะได้ผู้ที่
ควบคุมกระบวนทดี่ ี และจะไดผ้ ลงานออกมาที่ดใี นทีส่ ดุ
๓. ความสำคัญต่อการบริหาร การบริหารประกอบด้วย วัตประสงค์ขององค์การ กิจกรรมที่จะ
ดำเนนิ การและทรพั ยากรในการบรหิ าร ทรพั ยากรบริหารนน้ั ประกอบด้วย คน เงนิ วสั ดอุ ปุ กรณ์และวิธีการ ซ่ึง
คนเป็นทรพั ยากรทีม่ ีความสำคัญที่สุด ถา้ หากคนมีคณุ ธรรมจริยธรรมแล้ว การบรหิ ารงานกจ็ ะดำเนินไปได้และ
บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าหากคนไม่มีคุณธรรมจริยธรรมก็ยากที่จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
๔. ความสำคัญต่อผู้บริหาร คุณธรรมจริยธรรมเป็นคุณสมบัติท่ีดีของทุกคนโดยเฉพาะอยา่ งยิง่ ผู้ดำรง
ตำแหน่งผู้นำ หรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีคุณธรรมจริยธรรมมากกว่าตำแหน่งอื่น ๆ เนื่องจากผู้บริหารเป็นผู้
ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานขับเคลื่อนไปข้างหน้าตามวัตถุประสงค์ ต้องมีการบริหารงานด้วยความซ่ื อสัตย์
สจุ รติ โปรง่ ใส ให้ทกุ ฝา่ ยมสี ่วนร่วม คุณธรรมจริยธรรมเปน็ ลักษณะของความดี ถา้ ผบู้ ริหารมีความดีมีคุณธรรม
จริยธรรมกจ็ ะได้รบั การยอมรับนบั ถือ เทา่ กบั เป็นการสร้างภาวะผ้นู ำให้เกิดขน้ึ การบรหิ ารงานนอกจากจะวาง
ระบบการบริหารงานที่ดีแล้ว ยังต้องพยายามสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้บรรลุ
เปา้ หมายทีต่ ั้งไว้ ซึ่งการสร้างแรงจูงใจมีทั้งทางบวกและทางลบ เชน่ การใหร้ างวัล หรือการลงโทษ เป็นต้น แต่
ในความเป็นจริงในการสร้างแรงจูงใจที่ดีที่สุดคือการทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความรู้สึกว่าได้ปฏิบัติหน้าที่กับ
ผู้บังคับบัญชาที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม ดังนั้น ถ้าผู้บริหารมีคุณธรรมจริยธรรมก็จะเป็นการสร้าง
แรงจูงใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี การดำเนินงานโครงการหรืองานประจำใดๆที่ได้รับการ
วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความไม่คุ้มค่าในการใช้งบประมาณ เป็นสิ่งที่เห็นได้ว่า ขาดคุณธรรม จริยธรรม มีการ
ทุจริตคอรัปชั่นแฝงอยู่ในกระบวนการดำเนินงาน ถ้าการบริหารไม่ว่าระดับใดหรือฝ่ายใดก็ตามยึดมั่นใน



คุณธรรมจริยธรรม ไม่โลภ ไม่อยากได้ ในสิ่งที่ไม่ควรได้ เมื่อมีการบริหารงานด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต
แล้ว การใชง้ บประมาณกจ็ ะทำได้เต็มเม็ดเตม็ หน่วย ผลงานตอ้ งเกิดข้ึนและคมุ้ ค่ามากที่สุด

ประโยชน์ของคุณธรรม จรยิ ธรรม ศลี ธรรม
คณุ ธรรม จรยิ ธรรม ศลี ธรรม กอ่ ให้เกดิ ประโยชน์ทัง้ ตอ่ ตนเองและผู้อน่ื ดงั น้ี
๑. ประโยชนต์ น
๑.๑) ทำใหต้ นเองมชี วี ิตที่สงบสขุ
๑.๒) ทำใหต้ นเองมคี วามเจริญรงุ่ เรงิ ในชวี ติ สว่ นตัวและหนา้ ที่การงาน
๑.๓) ไดร้ บั การยกยอ่ งสรรเสริญเทดทนู บูชาจากบุคคลทั่วไป
๑.๔) ครอบครัวอบอนุ่ มีความสุข ฐานะทางเศรษฐกจิ มัน่ คง
๒. ประโยชนต์ ่อสงั คมและประเทศชาติ
๒.๑) ประโยชน์ตอ่ สถาบนั เชน่
๑) สถาบนั ครอบครัวของตนได้รบั การยกย่องสรรเสรญิ จากบุคคลทัว่ ไป
๒) สถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่ประกอบอาชีพธุรกิจมีชื่อเสียงทำให้บุคคลอ่ืน

ศรัทธาเล่ือมใส
๓) สถาบันหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัดมีความเจริญก้าวหน้า ได้รับการพัฒนา

อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทัง้ น้ีเพราะสมาชกิ ทกุ คนมีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และศลี ธรรมอนั ดีงาม
๒.๒ ประโยชน์ตอ่ ชุมชน เชน่
๑) สงั คมไดร้ ับความสงบสขุ เพราะทุกคนเปน็ คนดมี ีคณุ ธรรม
๒) สังคมได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพราะสมาชิกทุกคนต่างกระทำหน้าที่ของ

ตนอยา่ งเต็มความสามารถ
๒.๓ ประโยชนต์ ่อชาตบิ ้านเมือง
๑) สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีความมั่นคง เพราะประชาชนมีความจงรักภักดี

และเห็นความสำคัญของสถาบนั ดังกลา่ วอยา่ งแท้จรงิ
๒) ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติมีความมั่นคงถาวร

เพราะทกุ คนมคี วามรแู้ ละเขา้ ใจอย่างถ่องแท้ และเตม็ ใจยึดถือปฏบิ ัตติ าม

แนวคดิ การพฒั นาคณุ ธรรมจริยธรรมสำหรบั ผู้บรหิ าร
ผบู้ รหิ ารเป็นหวั ใจสำคัญของหน่วยงานหรือองค์กร ทุกหนว่ ยงานยอ่ มปรารถนาและให้การยอมรับนับ

ถือผู้บริหารที่มีคุณภาพนั่นก็คือ เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีทักษะคามชำนาญงานมีประสบการณ์ มี
วิสัยทัศน์กว้างไกล ฯลฯ แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใดคือ ต้องเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ และมีจริยธรรมที่น่าเลื่อมใส
ศรัทธา ผู้บรหิ ารก็คอื คนท่ีมีความสามารถในหลายดา้ นทีเ่ หนือกว่าคนทว่ั ไปดังนนั้ ผ้บู ริหารจึงต้องเป็นคนดีของ
สังคมและเกือบทุกสังคมจะยึดหลักการของศาสนามาเป็นพื้นฐานของความดีความงามในการอยู่ร่วมกัน ซึ่ง
ผู้บริหารจะตอ้ งมแี นวคดิ การพฒั นาคณุ ธรรมจริยธรรม ดังนี้

๑. การสร้างบรรยากาศในการทำงาน ทำให้เกิดการยอมรับ มีความรู้สึกอยากทำงานโดยไม่ต้องมีการ
บังคบั

๒. ผู้นาํ ควรเปน็ แบบอยา่ งท่ีดี
๓. มกี จิ กรรมการสรา้ งแรงจูงใจและใหร้ างวัลสำหรบั ผู้ทำดใี นแต่ละด้าน



๔. ทำอยา่ งไรให้ทกุ คนมคี วามรกั องค์กรทำเพ่ือองค์กร

๕. ผู้นาํ ต้องมคี ุณธรรม จรยิ ธรรม เสยี สละ เปน็ ตน้ แบบทดี่ ี ยุติธรรม

๖. มมี าตรฐานการทำงาน ขน้ั ตอนการทำงาน ระบบพเ่ี ลยี้ ง มีการแนะนํางาน

๗. มีคา่ นิยมรว่ มในองค์กร คือ SUSA+1S

S = sincerity จรงิ ใจ

U= understanding เขา้ ใจ

S=sacrifice เสียสละ

A=appreciation การชื่นชม

S=service mind จติ บรกิ าร

๘. มกี ารประสานงานกบั หน่วยงานอ่ืน มีการแลกเปล่ียนเรยี นร้รู ะหวา่ งหน่วยงาน

๙. มีการพบปะหารือเพ่ือแก้ปัญหารว่ มกนั

๑๐.มีการเผยแพร่คุณงามความดีให้กับบุคลากรท่ีมีการปฏิบัติดีิ เสียสละ อุทิศตน เช่น การจัดทำซีดี

เผยแพร่

ผบู้ ริหารการศกึ ษาควรพฒั นาคณุ ธรรมของตนโดยมีแนวทางดังนี้

1. พัฒนาตน ให้มเี มตตา ตามหลกั พรหมวหิ าร 4

2. พฒั นาความเช่อื มั่นคุณงามความดี ตามหลัก โลกธรรม 8

3. พัฒนาความคิดรจู้ ักแยกแยะผิดชอบชวั่ ดี (ใช้สมองส่วนหน้ามากกวา่ สมองสว่ นหลัง)

4. พัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจากชีวติ ส่วนตวั และการทำงาน

5. พัฒนาคณุ ธรรมในตนเอง จากการมองตนเอง ฝกึ ฝนตลอดเวลาให้เปน็ นิสัย

ภาพ : องค์ความรู้เกีย่ วกบั แนวทางการพฒั นาคณุ ธรรมจรยิ ธรรมสาหรบั ผบู้ รหิ าร

แนวทางการพฒั นาการประพฤติปฏิบัตอิ ยา่ งมีคุณธรรมของผบู้ ริหารสถานศกึ ษาตาม พระราชบัญญตั ิ
มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ดงั นี้

1 แนวทางการพัฒนาตนเองในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐาน
ทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 สำหรับผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา ซง่ึ แบง่ แนวทางในการพัฒนาตนเองเป็น 2 สว่ น ไดแ้ ก่

1) การพัฒนาตนจากลำดบั ความสำคัญต้องการจำเป็น



2) การพฒั นาในระดบั การปฏิบัติตน แบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท ได้แก่ ๑. หลกั ธรรมในการ
ยึดถือปฏิบัติตนและการเสริมสร้างสุขภาวะ 2. แนวทางการเสริมสร้างพัฒนาการประพฤติปฏิบัติอย่างมี
คุณธรรม ตามพระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นแนวทางการเสริมสร้างพัฒนาการ
ประพฤติปฏิบตั ิอย่างมีคณุ ธรรม ต้อง อาศัยภาคีความร่วมมือของเครอื ข่ายในการพฒั นา เพื่อให้การพัฒนานน้ั
เกดิ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสทิ ธผิ ลสงู สุด

หลักการการพัฒนาคุณธรรมจรยิ ธรรมสำหรบั ผูบ้ ริหาร

ผู้บริหารที่ทรงไว้ซึง่ คุณธรรมและจริยธรรมควรต้องศึกษาข้อคิด คติธรรมและหลักคำสอนทางศาสนา
เพื่อทำความเข้าใจกับหลักธรรมนั้นๆเป็นเบื้องต้น แล้วนำไปคิดวิเคราะห์พิจารณาปรับใช้ให้เหมาะกับภารกิจ
ของผู้บริหาร เช่น ภารกจิ ในฐานะผู้นำองคก์ ร ผ้นู ำชุมชนหรอื สงั คม ภารกจิ ของผวู้ างแผน กำหนดนโยบาย จัด
องค์การ บริหารบุคคล ฯลฯ ล้วนต้องอาศัยหลักธรรมในการประกอบควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถทั้งส้ิน
จึงควรศึกษา วเิ คราะห์ รวบรวมหลักธรรมแลว้ นำไปประพฤตปิ ฏบิ ัติ เพอ่ื ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อองค์กร
และสงั คมอยา่ งแท้จริง ซงึ่ มหี ลกั การ และทฤษฎเี กี่ยวกับคณุ ธรรมที่นำเสนอในทีน่ ้มี ีรายละเอยี ด ดงั นี้

๑. พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอก์(Kohlberg) ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินจริยธรรมของ
บุคคลโดยการแบ่งข้ันพัฒนาการทางสตปิ ญั ญาและจรยิ ธรรมของเพียเจต์ ดงั น้ี

๑) การลงโทษ และการเช่อื ฟงั อายุ ๒-๗ ปี
๒) การแสวงหารางวลั หรอื การสนองความตอ้ งการ อายุ ๗-๑๐ ปี
๓) การทำตามส่ิงท่ีผู้อื่นเห็นชอบ หรอื การคาดหวังทางสงั คม อายุ ๑๐-๑๓ ปี
๔) การทำหน้าท่ที างสงั คมหรือระบบสังคมและมโนธรรม อายุ ๑๓-๑๖ ปี
๕) การทำตามคำมน่ั สัญญาหรอื สัญญาสังคมและสทิ ธิส่วนบุคคล อายุ ๑๖ ปี
๖) การยดึ ถืออุดมคตสิ ากลหรือจรยิ ธรรมสากล (วัยผใู้ หญ่)

โคลเบอรก์ แบ่งคุณลักษณะทางจริยธรรมของบคุ คลออกเปน็ ๔ ลำดับ ข้ันคอื
๑) ความรู้เชงิ จริยธรรม หมายถึง การมีความรเู้ กยี่ วกับสงั คมและสามารถบอกได้ วา่ การ
กระทำชนิดใดดีและควรกระทำ การกระทำชนิดใดเลวและไม่ควรกระทำ พฤติกรรมลักษณะใด เหมาะสม
หรอื ไมเ่ หมาะสมมากน้อยเพยี งใด ความรูเ้ ชงิ จรยิ ธรรมหรอื ความรู้เกี่ยวกับค่านิยมทางสังคม จึงเปล่ียนแปลงไป
ตามระดับอายุ ระดบั การศกึ ษา พฒั นาการทางสตปิ ญั ญาและความร้เู ก่ียวกบั กฎเกณฑ์ทางสังคมและศาสนา
๒) เจตคตเิ ชิงจรยิ ธรรม หมายถงึ การมคี วามรู้หรือความรูส้ ึกต่อพฤติกรรมเชิง จรยิ ธรรม
ตา่ งๆ ในทางทชี่ อบหรือไม่ชอบมากน้อยเพียงใด เจตคติเชิงจรยิ ธรรมของบุคคลมักจะสอดคล้องกับค่านิยมของ
สังคมและการทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้น ควรทำนายตาม เจตคติเชิงจริยธรรม ซึ่งสามารถ
ทำนายไดเ้ ที่ยงตรงมากกวา่ การทำนายตามความร้เู ชิงจริยธรรม
๓) เหตผุ ลเชิงจรยิ ธรรม หมายถึง เหตุผลท่ีบคุ คลใชเ้ ป็นเกณฑ์ในการเลือกหรือไม่ เลือก
กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุผลเชิงจริยธรรมเป็นเหตุจูงใจซึ่งอยู่เบื้องหลังการกระทำของบุคคล
อยา่ งไรกต็ าม บุคคลทมี่ ีเหตผุ ลเชิงจริยธรรมในระดบั ที่แตกต่างกัน อาจมีการกระทำ ท่ีคลา้ ยคลึงกัน หรือมีการ
กระทำที่แตกต่างกันก็ได้ เหตุผลเชิงจริยธรรมยังมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสติปัญญาและทางอารมณ์
ดว้ ย
๔) พฤติกรรมเชงิ จริยธรรม หมายถงึ การแสดงพฤตกิ รรมทพ่ี งึ ประสงคข์ องสงั คม และ



ปฏิเสธการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของสังคม พฤติกรรมเชิงจริยธรรมมีความสำคัญต่อความสงบสุข
และความม่ันคงของสังคมอยา่ งย่ิง จงึ เปน็ หน้าทขี่ องสมาชิกในสังคมท่ีจะต้องอบรมและ ปลูกฝังเยาวชนให้เป็น
ผูม้ พี ฤตกิ รรมเชิงจริยธรรมอยา่ งม่ันคง

๒. ทฤษฎีตน้ ไมจ้ รยิ ธรรม อธบิ ายถงึ ทฤษฎีต้นไม้จรยิ ธรรมว่า พฤติกรรมของคนดี และคนเก่งนน้ั มี
ลักษณะทางจิตใจที่สำคัญ ๕ ประการ โดยทฤษฎีนี้เปรียบเทียบพฤติกรรมต่างๆ ของ คนดีและคนเก่งเหมือน
ผลไม้บนต้น เช่น ผลมะม่วงจะได้ผลมะม่วงดกและผลใหญ่หวานอร่อยนั้น ลำต้นและรากต้องสมบูรณ์โดย
เปรียบเทียบลักษณะทางจิตใจ ๕ ประการว่าเปรียบเหมือนส่วนลำต้นของ จริยธรรมซึ่งเป็นสาเหตุของ
พฤติกรรม ดังน้ี

๑) ทัศนคติ คณุ ธรรม คา่ นยิ ม ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั พฤติกรรมคนดีและคนเก่งคือ มคี วาม
พอใจและเห็นความสำคัญของความดีงาม เห็นโทษของความชั่วร้ายต่างๆ พร้อมที่จะกระทำ พฤติกรรมที่ยึด
คุณธรรมเป็นหลกั

๒) เหตผุ ลเชงิ จริยธรรม หรอื การเหน็ แกผ่ ู้อน่ื สว่ นรวม ประเทศชาติ และหลักสากลมากกวา่
ตนเอง

๓) ลักษณะมงุ่ อนาคตและควบคมุ ตน สามารถคาดการณไ์ กลและสามารถควบคมุ ตนใหอ้ ให้
รอไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

๔) ความเชอื่ อำนาจในตน เชอื่ วา่ ผลทีเ่ กิดข้ึนกบั ตนเป็นเพราะการกระทำของ ตนเอง
มากกว่าการเกดิ จากการบังเอญิ โชคเคราะหห์ รือส่ิงศักดสิ์ ิทธิค์ ือเชื่อว่าทำดไี ดด้ ี ทำชั่วจะต้อง ไดร้ ับโทษ

๕) แรงจงู ใจใฝ่สมั ฤทธ์ิหรือความมุมานะบากบัน่ ฝ่าฟันอปุ สรรค ประสบความสำเรจ็ ตาม
เป้าหมายทีว่ างไว้อยา่ งเหมาะสมกบั ความรู้ความสามารถของตน

๓. ทฤษฎีของแบนดูรา(Bandura) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตาม
แนวทางการเรียนรู้ทางสงั คมไว้ดังน้ี

๑) สิ่งที่เรยี นรู้ โดยการเรยี นรู้ของบคุ คลเกดิ จากความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งสิง่ ต่างๆ ซง่ึ กลายเป็น
ความเชื่อที่มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมและเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นบุคคลก็จะมีความคาดหวังล่วงหน้า
เก่ียวกบั การเกดิ ของผลจากการกระทำน้นั ได้ทำให้ตดั สนิ ใจได้วา่ ควรทำหรือไม่ควรทำ

๒) วธิ กี ารเรยี นรู้ กล่าวคือ การเรยี นรเู้ กดิ จากประสบการณ์ซึง่ มที งั้ ประสบการณต์ รงและ
ประสบการณ์ทางอ้อมโดยการสังเกต อ่าน ฟัง การบอกเล่าทีเ่ กิดจากกบั ผูอ้ ื่นทำให้บุคคลมี การเรียนรู้ได้อย่าง
กวา้ งขวาง

๓) ความเชอ่ื ผลจากการเรยี นรอู้ ยูใ่ นรูปของความเช่ือวา่ ส่ิงหน่งึ จะสมั พนั ธ์กบั อีก ส่ิงหนง่ึ
ทั้งนี้เกิดจากการสังเกตและการคิดของบุคคล รวมทั้งการบอกเล่าจากบุคคลอื่น ความเชื่อนี้ สามารถกำหนด
พฤตกิ รรมของบุคคลได้

๔) การควบคมุ พฤติกรรมดว้ ยความรูแ้ ละความเข้าใจ บุคคลมคี วามรูค้ วามเขา้ ใจได้ และ
สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนรู้ได้ รวมทั้งมองเห็นผลการกระทำที่จะเกิดตามมาซึ่งอาจดีหรือเลว ทำให้สามารถ
ตดั สินใจได้วา่ ควรทำหรอื ไมค่ วรทำ

๕) จริยธรรม เป็นหลกั เกณฑ์ กฎเกณฑ์ แนวทางของการประพฤตปิ ฏิบัตโิ ดย บคุ คลสามารถ
ประเมนิ ไดถ้ ึงความผิดถูกของการกระทำ

๖) การบงั คบั ตนเอง กล่าวคอื บุคคลสามารถบังคบั ตนเองท่ีจะประพฤติหรือละ เวน้ การ



ประพฤติได้ตามมาตรฐานของตนเอง ตามการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและอ้อมของตน โดยความสามารถ
ในการบงั คบั ตนเองนี้ข้นึ อยูก่ ับเงื่อนไขทางสังคม หากการเสรมิ แรงเปน็ ไปในทางบวก กม็ ีแนวโน้มที่จะละเว้นไม่
ปฏบิ ัติในส่งิ ไม่ดีและประพฤติในสิ่งดงี าม

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ กระทรวงศึกษาธิการ ให้นโยบายเร่งรัดการปฏิรูป โดยยึดคุณธรรมนำ
ความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถี
ประชาธปิ ไตยพัฒนาคนโดยใช้คณุ ธรรมเป็นพ้ืนฐานของกระบวนการ เรยี นรู้ที่เชอื่ มโยงความรว่ มมอื ของสถาบัน
ครอบครัว ชุมชน สถาบนั ศาสนาและสถาบันการศึกษาเพ่ือ พฒั นาเยาวชนให้เป็นคนดี มคี วามรู้ และอยู่ดีมีสุข
โดย ๘ คณุ ธรรมพ้ืนฐานประกอบด้วย

๑. ขยัน คือ ผู้ที่มีความต้ังใจ เพียรพยายามท าหน้าที่การงานอยา่ งจริงจังและต่อเนื่อง ในเรื่องที่ถูกที่
ควรสงู้ านมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กลา้ เผชิญอปุ สรรค รกั งานทท่ี ำตง้ั ใจทำหนา้ ท่ีอยา่ งจริงจัง

๒. ประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิด
ก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายของ
ตนเองอย่เู สมอ

๓. ซอ่ื สัตย์ คือ ผทู้ ่มี ีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ตอ่ หนา้ ท่ี และตอ่ วชิ าชีพ มคี วาม จริงใจปลอดจาก
ความรู้สึกล าเอียงหรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าท่ี ของตนเองปฏิบัติอย่าง
เต็มท่แี ละถกู ตอ้ ง

๔. มีวนิ ยั คอื ผทู้ ีป่ ฏิบัติตนในเขตเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องคก์ ร และประเทศ โดย
ทีต่ นยนิ ดปี ฏบิ ัตติ ามอย่างเตม็ ใจและตั้งใจยดึ มนั่ ในระเบียบแบบแผน ขอ้ บังคบั และ ข้อปฏบิ ัติ รวมถงึ การมีวินัย
ทงั้ ต่อตนเองและสังคม

๕. สุภาพ คือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะมีสัมมาคารวะ เรียบร้อยไม่
ก้าวร้าว รุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทางเป็นผู้มีมารยาทที่ดีงาม วางตนเหมาะสมกับ
วฒั นธรรมไทย

๖. สะอาด คือ ผ้ทู รี่ กั ษารา่ งกาย ทีอ่ ยอู่ าศัย และสิง่ แวดลอ้ มไดอ้ ย่างถูกต้องตาม สุขลักษณะ ฝึกฝนจิต
ไม่ให้ขนุ่ มวั มคี วามแจม่ ใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกายใจและ สภาพแวดล้อม มีความผ่องใสเป็นท่ี
เจริญตา ทำให้เกดิ ความสบายใจแกผ่ พู้ บเหน็

๗. สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้น ำและผู้
ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูนกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลลุ ่วง สามารถแก้ปัญหาและ
ขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม ความคิดและ
ความเชือ่ พร้อมท่จี ะปรบั ตัวเพอ่ื อย่รู ่วมกันอยา่ งสนั ติและสมานฉันท์

๘. มีน้ำใจ คอื ผใู้ ห้และผ้อู าสาชว่ ยเหลือสงั คม รู้จักแบง่ ปนั เสยี สละความสขุ ส่วนตน เพือ่ ทำประโยชน์
ให้แก่ผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์และผู้ที่มีความเดือดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่
อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดี
งามใหเ้ กดิ ข้นึ ในชุมชน

๑๐

ตัวบ่งช้คี ุณธรรมจรยิ ธรรม นงลักษณ์ วิรัชชัย ไดก้ ล่าวถงึ ตัวบง่ ช้ีคุณธรรมจริยธรรมพ้ืนฐาน ดังนี้
๑. ความเปน็ อสิ ระ หมายถงึ คณุ ลักษณะท่แี สดงถึงการเคารพ ศรทั ธา และนบั ถอื ตนเอง มีความเป็น
ตัวของตัวเอง ดูแลเอาใจใส่รกั ษาสุขภาพด้านร่างกายและจติ ใจอยา่ งเหมาะสม (Self-Care) มีความสามารถใน
การพ่ึงพาตนเองในการปฏิบตั ิงาน และดำเนินชีวติ อยา่ งถูกตอ้ ง
๒. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงความตั้งใจกระตือรือรน้ ใฝ่รู้ ขวนขวาย
หาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่น จริงจังที่จะปฏิบัติหน้าที่
ตามความรับผดิ ชอบอยา่ งมปี ระสิทธิภาพและประสิทธิผล
๓. ความมีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงความเคารพและปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ ระเบียบ
ข้อบงั คบั กฎหมาย รวมถงึ คา่ นยิ มท่ีดี และจารีตประเพณขี องสังคม
๔. ความอดทน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงความเข้มแข็งทางร่างกายและจิตใจ สามารถปฏิบัติ
กิจกรรมต่างๆ ใหส้ ำเร็จลลุ ่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มคี วามมุ่งม่นั ไมย่ ่อท้อต่อ ปญั หาอุปสรรค และสามารถ
ควบคมุ อารมณแ์ ละพฤติกรรมให้เป็นปกติ และปรบั ตวั ไดแ้ มเ้ ผชิญกบั ปญั หาอุปสรรคและสงิ่ ยั่วยตุ ่างๆ
๕. ฉันทะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงความพอใจ ความยินดี และความรักในสิ่งท่ี ถูกต้องดีงามท่ี
จะทำใหไ้ ดผ้ ลดยี ง่ิ ๆ ขน้ึ ไป
๖. ความขยันหมั่นเพียร หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงความปรารถนาอันแรงกล้าท่ี จะมุ่งมั่นสู่
ความสำเรจ็ /ความเปน็ เลศิ ท่มุ เททัง้ กำลังกาย กำลงั ใจ โดยไม่เห็นแกเ่ หนื่อยยากเพ่อื ให้ สมั ฤทธผิ์ ลดยี ิง่ ขึ้น
๗. ความประหยัด หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง โดยใช้เวลา แรงงาน
และทรพั ยากรท้งั ของตนเอง และส่วนรวมอยา่ งคมุ้ ค่า
๘. ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงการยึดมั่นความจริงความถูกต้อง ดีงามเป็นหลัก
ในการด าเนินชีวิตทั้งทางกาย วาจาและใจ มีความจริงใจ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่บิดเบือน รู้จักรักษาความลับ
หลกี เล่ียงการมผี ลประโยชนท์ บั ซ้อน (conflict of Interest) มคี วามละอายและ เกรงกลวั ที่จะประพฤติช่วั
๙. ความมีสติสัมปชัญญะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงการรู้ตัวทั่วพร้อมการรู้เท่า ทันในสิ่งต่างๆ
โดยสามารถพิจารณาหาวิถีทางที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เหตุผลที่ดี
ประกอบการตัดสนิ ใจทจี่ ะกระทำหรอื ไม่กระทำการใดๆ
๑๐. ความรับผิดชอบ หมายถึง ความรับผิดชอบ (หมายรวมถึงความรับผิดชอบทั้งต่อ ตนเอง สังคม
และประเทศชาติ) คุณลักษณะที่แสดงถึงความเอาใจใส่ จดจ่อและมุ่งมั่นต่อหน้าที่อย่าง เต็มความสามารถ
เพ่ือให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้า หมายที่ตั้งไว้ภายในเวลาที่กำหนด การเสียสละกำลังกาย กำลังใจและกำลัง
ทรัพย์เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ความจงรกั ภักดีตอ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การรู้จกั สิทธิหน้าที่ของตน
และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวสังคมและประเทศชาติพร้อมที่จะยอมรับผลการกระทำ
ของตนเองและปรบั ปรงุ แกไ้ ขใหด้ ีขึน้
๑๑. ความยุติธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงการให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ การยอมรับและ
เขา้ ใจในอารมณ์ ความรสู้ กึ ความคิดของผ้อู นื่ การคิด และการปฏบิ ตั ิต่อผูอ้ ่ืนอย่างเสมอภาค เท่าเทยี มกัน และ
มคี วามเท่ยี งตรงในการตดั สินใจ
๑๒. ความสามัคคี หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปฏิบัติหน้าที่อย่าง
ประสานสอดคล้องกันใหบ้ รรลผุ ลสำเรจ็ ตามเปาู หมายทก่ี ำหนดไว้ร่วมกัน
๑๓. ความเป็นกลั ยาณมิตร หมายถงึ คณุ ลักษณะทีแ่ สดงถึงการมสี มั มาคารวะ ความ ปรารถนาให้ผ้อู น่ื
มคี วามสขุ การเปน็ เพอื่ นที่ดี สามารถนำชว่ ยเหลอื เกอ้ื กูลใหผ้ อู้ ่ืนประพฤตชิ อบ และมีความเจริญก้าวหน้า

๑๑

๑๔. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงการรู้จักส านึกในบุญคุณ ผู้อื่น ความเคารพ
บชู าผ้มู พี ระคุณ และการตอบแทนบุญคณุ ท้งั ก าลังกาย ก าลงั ใจ และก าลงั ทรพั ย์ ผลการจดั ลำดับความสำคัญ
ของตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมที่มีความสำคัญในสังคมไทย เรียงลำดับจากมากไปน้อย
คือ ๑) ความซื่อสัตย์สุจริต ๒) ความรับผิดชอบ ๓) ความมีสติสัมปชัญญะ ๔) ความขยันหมั่นเพียร
๕) ความมีวินัย ๖) ความอดทน ๗) การมุ่งสัมฤทธิ์ ๘) ความยุติธรรม ๙) ความเป็นกัลยาณมิตร
๑๐) ความสามัคคี ๑๑ ) ความกตญั ญูกตเวที ๑๒ ) ฉันทะ ๑๓) ความประหยดั และ ๑๔) ความเป็นอิสระ

หลกั ธรรมทเี่ กยี่ วข้องกบั การพฒั นาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผ้บู ริหาร

ทศพิธราชธรรม เป็นธรรมะสำหรับผูบ้ รหิ ารที่จะตอ้ งมีทุกคนฉะนัน้ การบริหารงานทุก หน่วยงานต้องมี
ผูน้ ำไวส้ ำหรบั บริหารผูน้ ำจะต้องมีคุณธรรม หลักทศพิธราชธรรมสำหรบั ผนู้ ำ มีความหมาย ดงั ตอ่ ไปน้ี

ราชธรรม ๑๐ หรือ ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควร ประพฤติ,
คณุ ธรรมของผปู้ กครองบา้ นเมอื ง, หรือธรรมของนักปกครองประกอบด้วย

๑. ทาน (การให)้ คือ สละทรพั ย์ส่งิ ของ บำรุงเล้ยี ง ช่วยเหลอื ประชาราษฎร์และ บำเพ็ญ
สาธารณประโยชน์ นักบริหารหรือนกั ปกครองต้องรูจ้ ักบำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ เปน็ นักเสียสละ โดยม่งุ ปกครองหรือ
ทำงานเพื่อให้เขาได้ มิใช่หมายจะเอาจากเขา รู้จักเอาใจใส่ดูแล จัดสรรสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ให้ประชาชน
หรอื ผูใ้ ตบ้ งั คบั บัญชาไดร้ ับประโยชนส์ ุข ไดร้ บั ความสะดวกปลอดภัยตลอดจน ใหค้ วามชว่ ยเหลือแก่ผู้เดือดร้อน
และใหค้ วามสนบั สนุนแกผ่ บู้ ำเพ็ญคุณงามความดี เชน่ ให้รางวลั ใหเ้ ลอื่ นยศเลอ่ื นฐานะ เพอ่ื เปน็ ขวญั กำลังใจใน
การปฏิบัตหิ น้าท่ี ไมท่ อดทง้ิ ดดู ายยามทุกขย์ าก เข้าลกั ษณะทว่ี ่า “ยามปกติกเ็ รยี กใช้ ยามเจบ็ ไข้ก็รักษา” ยาม
ต้องการคำแนะนำปรึกษาก็ช่วยให้แสงสว่าง แนะ คือ บอกอุบายให้รู้ นำ คือทำให้ดูเป็นแบบอย่าง แม้หาก
ผู้น้อยผิดพลาดไปบ้าง โดยมิได้ตั้งใจ ผู้ใหญ่ก็ต้องรู้จักให้โอกาสแก้ไข ให้อภัยให้น้ำใจ นี่เป็นเหตุนำมาซึ่งความ
สามัคคีในหมู่คณะเพราะ “ถ้า ไม่มีการให้อภัยผิด และไม่คิดที่จะลืมซึ่งความหลัง จะหาสามัคคียากลำบากจัง
ความพลาดพลั้งยอ่ มมี ทั่วทกุ ตัวคน” นเ่ี ปน็ คุณสมบัตขิ องผู้นำขอ้ ที่ ๑

๒. ศลี (ความประพฤตดิ งี าม) คือ สำรวมกายและวจี ทวารประกอบแต่การสุจริต รกั ษากิตตคิ ณุ ให้ควร
เป็นตัวอย่าง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์ ผู้ปกครอง ต้องมีความประพฤติดงี าม รู้จักรักษาความ
ซ่ือสัตย์สจุ ริต รกั ษาเกียรตคิ ุณประพฤติตนให้เปน็ แบบอย่างและเป็นทเี่ คารพนับถือของประชาชน มิมีข้อท่ีผู้ใด
จะดูหมิ่นดู แคลนได้ก่อให้เกิดความไว้วางใจเลื่อมใสในผู้นำ รวมความว่า การรักษาศีลโดยเฉพาะศีลห้านั้น
ความมุ่งหมายก็คือรักษาตนเองไว้มิให้เสียหาย เป็นการปิดช่องทางที่จะนำความเสียหายมาสู่ตนได้ถึง ๕ ทาง
ด้วยกันคอื

ศีลขอ้ ท่ี ๑ ป้องกนั ทางท่ีตนจะเสียหายเพราะความโหดร้าย
ศีลขอ้ ท่ี ๒ ป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะความใจอยาก
ศีลข้อที่ ๓ ป้องกันทางท่ตี นจะเสยี หายเพราะความมากรกั
ศีลข้อท่ี ๔ ป้องกันทางทต่ี นจะเสยี หายเพราะความปากชวั่ ศี
ลข้อที่ ๕ ป้องกนั ทางทตี่ นจะเสียหายเพราะความมวั เมา
๓. ปรจิ จาคะ (การบริจาค) คือ เสยี สละความสุขสำราญ ตลอดจนชีวติ ของตนเพือ่ ประโยชน์สุขของ
ประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การบำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ คือสามารถเสียสละความสุข
ความสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตนได้ เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม และความสงบเรียบร้อยของ
บ้านเมือง นักบริหารและนักปกครองนั้น หากเห็นแต่ประโยชน์ตน ก็เป็นคนสกปรก ไม่สามารถท ำงานเพื่อ

๑๒

บ้านเมืองได้กวา้ งขวาง เพราะคนเห็นแก่ตนแก่ตวั นั้น เป็นผู้ที่มีจติ ใจคับแคบ ย่อมจักไม่ได้รบั ความรว่ มมือจาก
ทกุ ๆ ฝ่าย และอำนาจนำความเสียหายมาสู่ประเทศชาติ สงั คมได้มากแตห่ ากผ้นู ำเป็นนักเสียสละ มีจาคะธรรม
ก็ย่อมสามารถที่จะเป็นผู้นำที่บันดาลประโยชน์สุขให้เกิดได้อย่างไพศาล ฉะนั้น วิญญาณ ของผู้นำ จึงได้แก่
ความเป็นนักเสียสละ สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่า “พึงสละทรัพย์เพื่อรักษา อวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อ
รกั ษาชวี ิต พึงสละชีวิตเพือ่ รักษาธรรม” น้ีเป็นยอดของนกั เสียสละ เปน็ คณุ สมบัติของผู้นำขอ้ ที่ ๓

๔. อาชชวะ (ความซื่อตรง) คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่
หลอกลวงประชาชน การปฏิบัตภิ าระโดยซ่ือตรง ไม่คด ไม่โกง ไมก่ อบโกย ไม่โกงเงิน ไมเ่ ส แสรง้ แกลง้ มายาหา
ผลประโยชน์ในทางมิชอบ แต่ปฏิบัติโดยสุจริต ข้อนี้สมเด็จบพิตร ได้พระราชทาน พระบรมราโชวาท ในการ
เสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล พระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา ๕ ธันวามหาราช
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ความตอนหนึ่งว่า “ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเปน็
จริงได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าท่ีของตน ให้เต็มกำลัง ด้วยสติรูต้ ัว ด้วยปัญญารู้คิด และ
ด้วยความสุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่ง กว่าส่วนอื่นๆ” ความสะอาดในการปฏิบัติหน้าที่ก็ดี
ความซื่อตรงในการปฏิบัติหน้าที่ก็ดี ฝรั่งเรียกว่า “คลีน” และ “เคลีย” ได้แก่ สะอาด โปร่งใส และตรวจสอบ
ได้ มีความจริงใจต่อประชาชน และประเทศชาติ อันว่าความซื่อสัตย์ซื่อตรงที่ผู้นำทุกชัน้ จะพึงระวังและปฏิบัติ
ให้ได้โดยเคร่งครัดนั้น เช่น (๑) ซื่อตรงต่อบุคคล ได้แก่ ไม่คิดคดทรยศต่อมิตร และผู้มีพระคุณ (๒) ซ่ือตรงต่อ
เวลา ได้แก่ การ ทำงานตรงกับเวลานาที ที่กำหนดหมาย ไม่เอาเวลาราชการไปเป็นประโยชน์ส่วนตน
(๓) ซื่อตรงต่อ วาจา ได้แก่ รับปากรับคำไว้กับใครอย่างไร ก็พยายามปฏิบัติให้ได้ตามนั้น (๔) ซื่อตรงต่อหนา้ ที่
ได้แก่ ตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้เกิดผล ไม่ละทิ้งเสียกลางคัน (๕) ซื่อตรงต่อความดี ได้แก่ รักษา
ความดีที่เรียกว่า “ธรรม” ไว้มิให้เสียหายเช่น ความเที่ยงธรรม ความยุติธรรม ความชอบธรรม และความเป็น
ธรรม (๖) ซื่อตรงต่อตนเอง ได้แก่ การไม่โกหกตนเอง ซื่อสัตย์สุจริตต่ออุดมการณ์ของตน เอาเหตุผลเข้า
ปรับปรุงกับเหตุการณ์อันเป็นแนวความคิดของตน ไม่ฝืนใจประพฤติปฏิบัติสิ่งที่ไม่ดีงาม ผิดจากปฏิญาณของ
ตน นีเ้ ป็นคุณสมบัติของผูน้ ำข้อที่ ๔

๕. มัททวะ (ความอ่อนโยน) คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือองค์มี ความงามสง่าเกิด
แตท่ ว่ งทกี ริ ยิ าสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ใหไ้ ด้ความรักภักดี การแสดงกิริยาอ่อนโยน ออ่ นนอ้ ม เป็นคนไม่แข็ง
กระด้าง ปราศจาก มานะทิฐิ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่ง หรือหยาบคาบ ไม่เป็น “ท้าวพระยาลืมกัน ต้นไม้ลืมดิน
ปักษินลืมไพร” นเ้ี ปน็ คุณสมบตั ิของผู้นำขอ้ ที่ ๕

๖. ตปะ (ความทรงเดช) คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำย่ำยีจิตระงับ ยับยั้งข่มใจได้ มี
ความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียร การใช้ความเพยี รเพื่อเผาผลาญกเิ ลสตณั หา
มิให้เข้ามาครอบงำจิตเห็นผิดเป็นชอบรู้จักระงับยับยั้งชั่งใจได้ ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ และการ
ปรนเปรอ มีความเป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ มุ่งมั่นในอันที่จะบำเพ็ญเพียรทำกิจในหน้าที่ให้สมบูรณ์ นี้เป็น
คณุ สมบัติ ของผู้นำข้อที่ ๖

๗. อักโกธร (ความไม่โกรธ) คือ ไม่กริ้วกราด ลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้ วินิจฉัยความและ
กระทำกรรมตา่ งๆ ผิดพลาดเสยี ธรรม มีเมตตาประจำใจ ร้จู กั ใชเ้ หตผุ ล ไมเ่ กร้ยี วกราดปราศจากเหตผุ ล และไม่
กระทำการดว้ ยอำนาจความโกรธ มีเมตตาธรรมประจำใจ รู้จักระงับความขุ่นเคืองแห่งจติ และมวี ินจิ ฉัย ตลอด
ถงึ การ กระทำดว้ ยจิตอันสุขุม รอบคอบ เยอื กเย็น นี้เปน็ คณุ สมบัตขิ องผนู้ ำขอ้ ที่ ๗

๘. อวหิ ิงสา (ความไมเ่ บยี ดเบยี น) คือ ไม่บีบคนั้ กดขี่ เช่น เก็บภาษีขดู รีดหรือเกณฑ์ แรงงานเกินขนาด
ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา หาเหตเุ บียดเบยี นลงโทษอาชญาแก่ ประชาราษฎร์ผู้ใดเพราะอาศัยความ

๑๓

อาฆาตเกลียดชัง ความเป็นผู้ไม่หลงระเริงในอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษ
ด้วยอาชญาแกผ่ ใู้ ตบ้ ังคับบัญชา หรือประชาราษฎร์ ด้วยอำนาจความอาฆาต เกลียดชงั นีเ้ ป็นคณุ สมบัติของผู้นำ
ขอ้ ท่ี ๘

๙. ขันติ (ความอดทน) คืออดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่าย เพียงไรก็ไม่
ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยนั ด้วยคำเสยี ดสีถากถางอย่างใด ก็ไม่หมดกำลังใจยอมละทิ้งกรณี ที่บำเพ็ญโดยชอบ
ธรรม ความเป็นผู้อดทนต่อกระแสอกุศลที่มากระทบ ตลอดถึงอดทนต่องานท่ี ตรากตรำต่อความเหนื่อยยาก
ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไร ก็ไม่ท้อแท้ ไม่ท้อถอยไม่หมด กำลังใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานที่ทำโดย
ชอบธรรมนี้เป็นคุณสมบัตขิ องผู้นำขอ้ ท่ี ๙

๑๐. อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม) คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรมคงที่ไม่มี ความเอนเอียง
หวั่นไหวเพราะถ้อยคำที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฎฐารมณ์ อนิฎฐารมณ์ใดๆ สติมั่น ในธรรมทั้งส่วนยุติธรรม
คือความเที่ยงธรรม นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผน หลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดี
งาม ความเป็นผู้ประพฤติมิให้ผิดพลาดจากศีลธรรม กฎหมาย ระเบียบวินัย ขนบประเพณี อันดีงามของ
บ้านเมือง ถือประโยชน์สุขความดีงามของรัฐและประชาราษฏร์เป็นที่ตั้ง สถิตมั่นในธรรมทั้งส่วนยุติธรรม คือ
ความเที่ยงธรรมก็ดี นิติธรรม คือระเบียบแบบแผนหลักการ ปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดี
งามดังกล่าวแล้วก็ดี ไม่ประพฤติให้พลาด ไม่ปฏิบัติ ให้เคลื่อนจนกลายเป็นวิปริตผิดเพี้ยนไป นี้เป็นคุณสมบัติ
ของผนู้ ำขอ้ สดุ ทา้ ย

แนวคิดหลักทศพิธราชธรรมข้างต้น ทศพิธราชธรรม หมายถึง ธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้า
แผ่นดินควรประพฤติ, คุณธรรมของผ้ปู กครองบ้านเมือง, หรอื ธรรมของนักปกครอง นกั ธรรมะสำหรับผู้บริหาร
ทจี่ ะต้องมที กุ คน ฉะน้นั การบรหิ ารงานทกุ หนว่ ยงานตอ้ งมี ผู้นำไวส้ ำหรบั บรหิ ารผู้นำจะต้องมคี ุณธรรม

สาํ หรบั ผูบริหารควรตองมีธรรมะทส่ี ูงกวาฆราวาสธรรม อนั นาํ ไปสูความสำเรจ็ ในการควบคุมตนเองคือ
สัปปุริสธรรม (Qualities of a good man ; Virtues of a Gentleman) ซึ่งก็คือธรรมะสําหรับ สัตบุรุษ หรือ
หรือธรรมะของผดู้ ีประกอบดวย

• ธัมมัญ ุตา (Knowing the law ; Knowing the cause) แปลวา รูจักธรรมชาติและรูจัก เหตุ
หมายความวา รูหลักตามจริงของธรรมชาติรูหลักการกฎเกณฑแบบแผน หนาที่ซึ่ง จะเปน เหตุใหกระทําการ
ไดสาํ เรจ็ ผลตามความมุงหมาย

• อัตถญั ตุ า (Knowing the meaning ; Knowing the purpose ; Knowing the Consequence)
แปลวา รูความมงุ หมายและรจู ักผล หมายความวา รูความหมายและ ความมงุ หมายและ รผู ลทป่ี ระสงคของกิจ
ทก่ี ระทํา

• อัตตญั ุตา (Knowing oneself) แปลวา รูจักตน หมายความวา รู ฐานะ ภาวะ เพศ กาํ ลัง ความรู
ความถนดั ความสามารถและคณุ ธรรม ของตนตามจรงิ เพ่อื ประพฤตปิ ฏบิ ัตไิ ด เหมาะสมและใหเกดิ ผลดี

• มัตตัญ ุตา (Moderation ; Knowing how to be temperate) แปลวา รูจักประมาณ หมาย
ความวา รูจกั ความพอเหมาะพอดี

• กาลัญ ุตา (Knowing the proper time ; Knowing how to choose and keep time) แปลวา
รจู กั กาล หมายความวา รูวาเวลาไหน ควรทําอะไร

• ปริสัญ ุตา (Knowing the assembly ; Knowing the society) แปลวา รูจกั ชุมชน หมายความ

๑๔

วา่ รูจักถ่ิน รูจักมารยาท ระเบียบวนิ ัย ขนบธรรมเนียม ประเพณีและขอควร ปฏิบตั ิตางๆเพ่อื ปฏิบัติตนไดอยาง
เหมาะสม

• ปคุ คลัญ ุตา (Knowing the individual ; Knowing the different individuals) แปลวา รจู ัก
บคุ คล หมายความวา รูจกั ความแตกตางระหวางบุคคลโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคณุ ธรรม เพ่ือปฏิบัติต
อผูนั้นโดยถกู ตอง

ทานอาจารย์พุทธทาสภิกขุเคยบรรยายธรรมที่นาสนใจวา ธรรมชีวี คือ การมีความ ประพฤติการ
กระทําที่เป็นธรรมะอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นชีวิตจิตใจนั่นแหละมีธรรมเป็นชีวิต จะมีความถูกตองอยู่ตลอดกาล
ดังนั้นการดำเนินชีวิตอยางฆราวาสด้วยระบบธรรมชีวีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่สามารถป องกันการเป็น
ฆราวาสประเภทจมปลกั อย่ใู น อบายมุข 6 ซึ่งเปน็ ปากทางแหง่ ความทุกขอันได้แก

ดมื่ นำ้ เมา ท่ีนำสู่การขาดสติรับผดิ ชอบ บทบาทหน้าที่ ในครอบครัวการงานและสงั คม
เทีย่ วกลางคืน ที่จะกระตนุ้ ความรสู้ กึ ของอายตนะ 6 ไดแก ตา หู จมกู ลนิ้ กายและใจ ใหห้ ลง ไปสู

ความเสื่อมทงั้ การงานและสขุ ภาพ
ดกู ารเลน เพลิดเพลนิ ในการแสดง จนเปนเหตุใหสญู เสยี ทง้ั เวลาและเงินทอง
เลนการพนนั ซึ่งมีลักษณะที่ท่านกล่าวว่า เหมือนผีสิง คือทําให้หลงเพลิดเพลินเล่นการพนัน เสีย
จนทําใหยากจนยิง่ กว่าหมดเนอื้ หมดตัว
คบเพ่ือนชั่ว ที่จะชักนำให้ประกอบกิจกรรมของความชั่ว ความไมดีตามกลุ่มดังคติ คบคนพาล

พาลพาไปหาผดิ คบบัณฑิต บณั ฑิตพาไปหาผล
เกยี จคร้านการงาน เปนเร่อื งตรงกันข้ามกบั การทำงานคอื การปฏบิ ัตธิ รรม ท่ีมแี ตจะนําไปสูความ

ออนดวยทง้ั สตปิ ญญา และประสบการณ
อบายมุขทั้ง 6 ขอ ดังกล่าวจะนำไปสูความยากจน ขัดสน การเบียดเบียนตนเองและผู้ที่อยูรอบขาง
ตลอดจนความเสื่อมทางสุขภาพอนามัย อันเปนต้นเหตุของความทุกข์ในครอบครัว และหากเปนผู้บริหารที่
ตดิ อยูในอบายมุขดังกล่าว ยอมง่ายต่อการทจ่ี ะกาวไปสูการกระทําทุจรติ คดิ มชิ อบเพื่อใหตัวเองคงอยูได
หลักธรรมของพุทธศาสนายังมีความละเอียดลึกซึ้ง เพื่อนนำไปสู่การประพฤติดี ประพฤติชอบ
กลาวคือ หนาที่รับผิดชอบของมนุษย์ โดยตรงตอ “ทิศทั้ง 6” ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสไววา เปนทศที่จะตอง
ดแู ล อยาใหม้ อี ะไรบกพรอ่ ง เพื่อปดก้นั ทกุ ขท่ีจะเกิดขน้ึ ไดแก
ทศิ เบือ้ งหน้า คอื บิดา มารดา ทก่ี ลุ บตุ รกลุ ธดิ า ตองสงเคราะหเพอ่ื ตอบแทนพระคุณอยางสูงสดุ
ทศิ เบื้องหลัง คือ บตุ ร ภรรยา ท่ีจะตองดูแล สงเสรมิ ใหมคี วามสขุ และความเจรญิ ในสังคม
ทศิ เบือ้ งซาย คือ มิตรสหาย ทจ่ี ะตองเก้ือกูลและพฒั นาไปสูการเปนกลั ยาณมติ ร
ทศิ เบ้อื งขวา คือ ครูบาอาจารยท่จี ะตองตอบแทนท่านด้วยความเคารพ เชือ่ ฟงและกตัญ ู
ทิศเบ้อื งบน คอื สมณะ ท่ีต้องปฏบิ ัติตอทานใหเหมาะสม เพอ่ื ทจ่ี ะไดเผยแพรธรรมะ ใหฆราวาส ไดมี

ปญญา ปฏิบตั ิดปี ฏิบัติชอบตามหลักพทุ ธศาสนา
ทศิ เบื้องลาง คอื ผูทมี่ ีฐานะตำ่ กว่า คอื ผูอยูใตบังคบั บญั ชา ทผี่ ูบริหารจะต้องรับผิดชอบ ดแู ลใหไดทงั้

ใจและงาน
ดังนั้น จะเห็นไดวาผูที่ไมบกพรองหรือปฏิบัติอยางดีในการดูแล ทิศทั้ง 6 ดังกลาว ยอมจะห่างไกล
จากปญหาแห่งความทกุ ข์ ความเสื่อมเสียทั้งในท่ีแจงหรือท่ีลับ ในการปองกันนักบรหิ ารจาก อบายมุข 6 และ
บาํ รงุ ทิศทงั้ 6 ไดอยางสมบรู ณ์

๑๕

บุญกริ ยิ าวัตถุ
นกั บรหิ ารมบี ทบาทหลายฐานะ ในเบอ้ื งตนคือ ฐานะของมนุษย์ในสงั คมโลก พระพทุ ธองค์ได ประทาน
ธรรมที่เปนรากแก้วของความเป็นมนุษยอันเป็นการสรางพื้นฐานของคุณงามความดใี หเ้ กิดข้ึนในคนท่ัวไป เพื่อ
การพัฒนาสกู่ ารเปน็ มนษุ ยท์ ีส่ มบูรณไดแ้ ก่
ก ทานมัย คือการทำบุญดวยการเสยี สละ แบงปันสมบตั ิเงินทอง เรี่ยวแรง วิชาความรู ความคิดเห็นต
าง ๆ ซึ่งจะสามารถกอใหเกิดความสุขของผูให และเปนที่ประทับใจแก่ผูรับเปนการสราง ความรักเชื่อถือและ
ศรทั ธา ทีย่ ่ังยนื
ข. ศีลมัย คือขอปฏิบัติเพ่ือละความไมดีของกาย วาจา ใจ ไดแก ศีล 5 สําหรับคนท่ัวไปเปน เบ้ืองตน
อันจะนำมาซึ่งความสุขจากการไมเบียดเบียนชีวิตผูอื่นทั้งสัตวใหญนอย ไมเปนผูโลภอยากไดของผูอื่นที่ไมใช
ของเรา ไมเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไมประพฤติผิดลูก และสามีภรรยาของผูอื่น ไมนอกใจสามี ภรรยา เปนผู้ที่มี
วาจาไพเราะ มสี ัมมาวาจา ปยะวาจา พูดแตสิง่ ทีด่ มี ีประโยชน์ ไม่พดู เทจ็ ไมเสพสุรายาเมา ไมติดหรือคายาเสพ
ติด ผูทรงศลี ยอมเปน็ ผู้ทรงไวซึ่งความดีงามท้ังปวง มเี มตตา มจี ิตใจท่ีนุมนวล ออนโยน มีความสุข ครอบครัว
กจ็ ะอบอนุ บ้านเมืองกจ็ ะรมเย็นเปนสขุ
ค. ภาวนามัย คือ การฝกสติความระลึกรู้ ความนึกคิด หรือการเคลื่อนไหวของจิตเปนวิธิีอาน หรือ
สํารวจตัวเองใหรูจักความผิด ถูก ชั่ว ดี ไดอยางถูกตอง ยิ่งกวาใหผูอื่นมาชี้แจงความบกพรองของ ตัวเองให
ตัวเองทราบ ในขณะเดียวกันก็เปนวิธีกำจัดหรือลดละความผิดที่เคยมีมา และปดกั้นสิ่งไมดี ทั้งหลายมิให
เกิดขึ้นอีกตอไป การไมสํารวจตนเองทำใหเกิดเรื่องยุงบ่อย ๆ การภาวนาจึงเป็นวิธีการของผูแสวงหาความสขุ
โดยถกู ตองอยางแทจรงิ
การหมั่นน้อมเขามาดูจิตใจตนเอง จะรักษาจิตใจของเราใหเป็นปกติเสมอ การภาวนาหรือฝกสติ
อยางงาย ๆ ที่พระพุทธองคบอกวา การเจริญอานาปานสติมีผลใหญ มีอานิสงสใหญ พวกเราสวนใหญ่ไม เคย
ไดยนิ ไดฟัง หรือเคยไดรบั ฟง แตไมเคยลองปฏบิ ัตไิ มไดสนใจ คิดวายาก ปลอยใหผูอาวโุ สหรอื พวกเข้าวัดปฏิบัติ
ธรรมทํา โดยทไ่ี ม่ร้วู าการฝกึ เจรญิ อานาปานสติ นั้นสำคัญมาก ทา่ นอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก ทานสอนวาการ
ปฏิบตั ไิ มยากมากมาย หายใจเขาลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ กเ็ ทา่ นนั้ หายใจเขาลกึ ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆ
พยายามทำความรูจักกับลมหายใจ ลมหายใจเขาก็รูลมหายใจออกก็รูเป็นการทำให ศีลบริสุทธิ์ที่จิต ที่เจตนา
ถูกตองเปนการเจริญสติสัมปชัญญะและปญญาดวยเปน็ การพัฒนาจิตใจโดยตรง สุขภาพจิตก็จะดีขึ้น เมื่อเกิด
ปัญหาเป็นทุกข์ไมสบายใจรีบหายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆ จะทําใหใจของเราสงบเป็นปกติสุข
สภาพใจก็ดีทานสอนใหตั้งใจปฏิบัตอย่างนอยก็ก่อนนอนกับตอนเชา แค 5 นาที 10 นาที 20 นาทีก็ไดเป็น
การทําความดีที่เราไดรับผลหรืออานิสงส์ทันที เมื่อเราเริ่มปฏิบัติเราจะเห็น สิ่งไมเคยเห็น คือเห็นตัวของเรา รู
จักตัวเองแล้วเราจะปิติ ดีใจมากและมีความสุขมาก ดูตัวเอง แกไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง ดีกวาที่จะไปดูไป
วพิ ากษ์ คนอ่ืนให้เสยี เวลาและสรางมลภาวะใหกับจิตใจตนเอง ดงั นั้น ทาน ศลี ภาวนา คือการทำความดี หรือ
คุณธรรมเบื้องตนที่บุคคลทุกระดับ ทั้งผูบริหารและ เจาหนาที่ในองคการทุกระดับ ตลอดจนสาธุชนทั่วไป พึง
ปฏิบัติอยางสมำ่ เสมอเพื่อความสุขสงบของตนเอง และสงั คมอยา่ งยั่งยืน
สำหรับคนไทย คุณธรรมจริยธรรมส่วนใหญ่จะประยุกต์มาจากพระพุทธศาสนาเป็นหลัก คำสั่งสอน
ของพระพทุ ธเจ้านน้ั ถงึ แม้วา่ จะมมี าตั้งแต่สมัยพุทธกาล นบั ถงึ ปัจจุบัน เปน็ เวลากวา่ ๒๕๕๖ ปีแล้ว แต่ทุก
หลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหาร
งานได้เป็นอย่างดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าวเป็นความจริงที่ สามารถพิสูจน์ได้ท่ี
เรยี กว่า “สจั ธรรม” ปฏบิ ตั ิไดเ้ หน็ ผลได้อยา่ งแทจ้ ริงอยทู่ ่ีเราจะนำหลกั ธรรมขอ้ ใดมาใชใ้ ห้เหมาะสมกับตัว

๑๖

เรามากที่สุด สำหรับผู้บริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือและปฏิบัติอย่างมากมาย คุณธรรม จริยธรรมที่
ผ้บู ริหารควรมีได้แก่

สงั คหวัตถุ ๔ คอื
1 ทาน คือ การให้ ร้จู ักเสยี สละแบ่งปนั ดว้ ยจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่เป็นการครอง

ใจคนทด่ี ี เพราะผทู้ ่ีใหย้ ่อมเป็นทร่ี กั ของบคุ คลทว่ั ไป และผใู้ หย้ ่อมทำให้เกดิ ความรกั ความศรัทธา
๒ ปิยวาจา คอื การพดู จาสภุ าพ รู้จกั เลือกใช้วาจาทไี่ พเราะอ่อนหวาน คนอนื่ ฟงั แลว้ สบายใจ อยากอยู่

ใกล้อยากคบค้าสมาคมด้วย ต้องมีความรับผิดชอบคำพูดของตนตามสุภาษิต พูดเป็นนาย ใจเป็นบ่าว
หมายความว่า ใหค้ ดิ กอ่ นพดู พูดแล้วต้องทำปฏิบตั ิตามอย่างทพี่ ดู

3 อตั ถจรยิ า คอื การบำเพญ็ ประโยชนแ์ ละรู้จักแบง่ ปนั น้ำใจให้แก่กนั และกนั
4 สมานัตตา คือ วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เสแสร้ง มีสัจจะมีความยับยั้ง ข่มใจ มีความอดทน
เปน็ ผใู้ ห้และผรู้ บั ทีด่ ี

พรหมวหิ าร ๔ ซ่งึ ประกอบด้วย
1 เมตตา คือความปรารถนาใหผ้ อู้ ืน่ มีความสขุ ความสุขเกดิ ขนึ้ ไดท้ ้ังทางกายและทางใจ ไดแ้ ก่

ความสุขจากการมีทรพั ย์ ความสุขจากการใช้จ่ายทรัพยค์ วามสขุ จากการไม่เปน็ หน้ีและความสขุ จากการทำงาน
ทป่ี ราศจากโทษหรือปราศจากอนั ตราย

๒ กรุณา คอื ความปรารถนาใหผ้ ้อู ื่นพ้นทุกข์ความทุกข์ คือ สิง่ ทเี่ ขา้ มาเบยี ดเบยี นใหเ้ กดิ ความไม่สบาย
กายและความไม่สบายใจและเกดิ ขน้ึ จากปจั จัยหลายประการดว้ ยกนั พระพทุ ธองค์ทรงสรปุ ไวว้ ่าความทกุ ข์มี ๒
กล่มุ ใหญ่ ๆ ดงั นี้

ทุกข์ประจำหรอื ทกุ ข์โดยสภาวะท่สี ิง่ มชี ีวิตจะต้องประสบซ่ึงเกดิ จากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ คือ
การเกดิ แก่ เจบ็ ตาย ส่งิ มีชวี ติ ทง้ั หลายที่เกดิ มาในโลกจะต้องประสบกับการเปล่ียนแปลงทางรา่ งกายอยา่ ง
หลีกเล่ียงไม่ได้เรยี กว่า กายกิ ทกุ ข์

ทุกขจ์ รหรือทกุ ข์ทางใจ เป็นความทกุ ข์ท่ีเกดิ จากสาเหตุภายนอกเม่ือปรารถนาแลว้ ไม่สมหวงั กเ็ ปน็ ทุกข์
การประสบกับสิ่งที่ไม่เปน็ ทรี่ ักกเ็ ปน็ ทุกข์ การพลดั พรากจากสงิ่ ที่เป็นทีร่ ักกเ็ ป็นทกุ ขเ์ รยี กว่าเจตสิกทกุ ข์

๓ มทุ ิตา คือ ยนิ ดีเมื่อผูอ้ ืน่ ได้ดี คำวา่ “ดี” หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความ
ยินดีเมอ่ื ผู้อืน่ ได้ดีจึง หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อนื่ มีความสขุ ความเจริญก้าวหนา้ ยิ่ง ๆข้ึนโดยท่ีไม่มจี ิตใจ
อิจฉารษิ ยา

๔ อุเบกขา คือการร้จู กั วางเฉย หมายถึง การวางใจเปน็ กลางเพราะพจิ ารณาเหน็ วา่ ใครทำดยี อ่ มได้ดี
ตามกฎแหง่ กรรม ใครทำสิ่งใดไวส้ ่งิ นนั้ ย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำเมื่อเหน็ ใครไดร้ ับผลกรรมในทางทเี่ ป็น
โทษก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซำ้ เติมในเรอ่ื งท่ีเกดิ ขึ้นควรมีความปรารถนาดี คอื พยายามช่วยเหลือผอู้ น่ื ใหพ้ ้นจาก
ความทุกข์ในลกั ษณะท่ีถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

หลักธรรมทนี่ ำไปสูค่ วามสำเร็จ คอื อทิ ธบิ าท ๔ ได้แก่
๑ ฉันทะ ความพอใจคือความพอใจจะสิง่ นัน้ และทำด้วยใจรกั ดว้ ยใจจดจอ่ ต้องทำให้สำเร็จจะต้อง

เปน็ ผ้รู กั งานทตี่ นมหี น้าท่รี บั ผิดชอบอยู่ และทั้งจะต้อง เอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรูง้ าน และเพิ่มพนู
วชิ าความรู้ความสามารถในการทำกจิ การงาน และมุ่งมัน่ ทจ่ี ะทำงานในหนา้ ที่รับผดิ ชอบหรอื กจิ การงานอาชีพ
ของตนใหส้ ำเร็จเรียบรอ้ ยอยู่เสมอ

๑๗

๒ วริ ยิ ะ ความเพียร คือ มคี วามขยันกระทำส่งิ น้นั ดว้ ยความพยายาม อดทน ต้งั มน่ั ไม่ท้อถอยจะตอ้ ง
เปน็ ผู้มีความขยนั หม่นั เพียร ประกอบดว้ ยความอดทน ไม่ยอ่ ท้อตอ่ ความยากลำบากในการประกอบกิจการ
งานในหนา้ ท่หี รือในอาชีพของตน จงึ จะถึงความสำเร็จและ ความเจริญก้าวหน้าได้

๓ จติ ตะ ความคดิ ฝกั ใฝ่ คือต้งั จติ รับรใู้ นสิ่งทที่ ำและทำส่งิ นัน้ ดว้ ยความสนใจ จริงใจ ม่นั คงทำบ่อย ๆ
ย้ำคดิ ย้ำทำผ้ทู ี่จะทำงานได้สำเรจ็ ด้วยดี มีประสิทธิภาพ นัน้ จะต้องเปน็ ผูเ้ อาใจใส่ต่อกิจการงานท่ีทำ และมุ่ง
กระทำงานอย่างต่อเนอื่ งจนกวา่ จะสำเรจ็ ไม่ทอดทิ้งหรือ วางธรุ ะเสียกลางคัน ไมเ่ ป็นคนจับจด หรือทำงาน
แบบทำๆ หยดุ ๆหวั หนา้ หน่วยงานหรือผบู้ รหิ ารจะต้องคอยดแู ลเอาใจใส่ “ติดตามผลงาน และ/หรือ ตรวจ
งาน” หนว่ ยงานตา่ งๆ ภายในองค์การของตน เพื่อประกอบการพิจารณาวนิ จิ ฉัย ตดั สนิ ใจ และสงั่ การ ให้
กจิ การงาน ทุกหน่วยดำเนินตามนโยบายและแผนงาน ให้ถึงความสำเรจ็ ตามวัตถุประสงคท์ ก่ี ำหนดไว้

๔ วิมงั สา การสอบสวนตรวจตราคือหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลตรวจสอบ
ข้อบกพร่องในสิ่งที่ทำนั้น มีการทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นหาวิธีแก้ไขปรับปรุงให้งานดีขึ้นอยู่เสมอความ
เป็นผู้รู้จกั พจิ ารณาเหตุสังเกตผลในการปฏิบัตงิ านของตนเองและของผู้น้อยหรือของผู้อยู่ใต้บังคับัญชา ว่า ดำเนินไป
ตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้หรือไม่ ได้ผลสำเร็จหรือมีความคืบหน้าไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
หรือไม่เพียงไร มีอุปสรรคหรือปัญหาที่ควรได้รับ การปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงาน หรือวิธีการบริหารกิจการ
งานนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร ขั้นตอนนี้เป็นการนำข้อมูลจากจากที่ได้ติดตามประเมินผลงาน
หรือตรวจงานนัน้ แหละมาวิเคราะห์วิจยั ให้ทราบเหตุผลของปัญหาหรอื อุปสรรคขอ้ ขัดข้องในการทำงาน แล้ว
พิจารณาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ ให้ถึงความ
เจริญกา้ วหนา้ ยิ่งๆ ขึ้นไปได้

สรุป

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษานับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งใน

สังคมปัจจุบันที่มีผู้คนในสังคมจำนวนมาก มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่
เด็กและเยาวชน ในรูปแบบต่าง ๆจะทำให้คุณธรรมจริยธรรมของประชาชนเป็นไปอย่างยั่งยืน โดย
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป้าหมายการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาตอ้ งเป็นไปเพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนโดย
ผสมผสานสาระความรู้ ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชาโดยให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือเห็นคุณค่าของตนเอง มี
วินัยในตนเอง ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงเน้นการพัฒนา ความรู้ ความคิด
และทกั ษะในการปฏิบตั ิจริง อนั จะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง มคี วามสุข และนำไปสกู่ ารพฒั นาอาชีพสจุ ริตการมี
งานทำและมีรายได้ และมีส่วนทำประโยชน์ให้แก่กับสังคมของตนเองและ ประเทศชาติดังนั้น ผู้บริหาร
การศึกษาทุกคนจึงควรนำหลักจริยธรรม ทั้งสัปปุริสธรรม อิทธิบาทธรรมพรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุธรรม
และ ทศพิธราชธรรม มาเป็นหลักในการบริหารการศึกษา อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นผู้บริหารที่สมบูรณ์ ทำให้
บุคลากรผู้ร่วมงานเกิดแรงจูงใจร่วมมือเกิดเป็นการยอมรับเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถ
บริหารนำพาองค์กรไดพ้ ัฒนาก้าวไปข้างหนา้ ดว้ ยความสถาพร มัน่ คง อย่างมปี ระสิทธิผล และมปี ระสทิ ธภิ าพ

๑๘

บรรณานุกรม

กมล ฉายาวฒั นะ. บริหารคนและงานตามหลกั การของพระพุทธเจา้ กรงุ เทพมหานคร: ชบาพลบั ลชิ ชงิ
เกิรก์ ส์, ๒๕๕๔.

ข้อบงั คบั คุรุสภาวา่ ดว้ ยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชพี . (2550). ราชกิจจานุเบกษา เลม่ ท่ี
124 ตอนพเิ ศษ 50 ง (27 เมษายน 2550).

ดนัย เทียนพฒุ , การจดั ทำแผน HRD สู่สหสั วรรษหนา้ สำหรับนกั ฝกึ อบรมมืออาชีพ, กรงุ เทพมหานคร: ดเี อน็
ทคี อนซัลแตนท์,๒๕๔๓.

ดุจเดอื น พันธุมนาวิน. การสังเคราะห์งานวจิ ัยเกย่ี วกบั คณุ ธรรม จรยิ ธรรมในประเทศไทยและ ต่างประเทศ
กรุงเทพมหานคร: พรกิ หวานกราฟฟิค, ๒๕๕๑.

ดวงเดือน พนั ธุนาวิน. ทฤษฎีตน้ ไมจ้ ริยธรรม การวิจยั และพัฒนาบคุ คล พิมพ์ครงั้ ท่ี ๒ กรงุ เทพมหานคร
สถาบนั บัณฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร.์

เนตรพ์ ัณณา ยาวริ าช. การจัดการสมัยใหม่, พมิ พค์ รัง้ ที่ ๘, กรุงเทพมหานคร: บริษทั ทรปิ เพิ้ลกรุป๊ จำกดั ,
๒๕๕๖

ประภาพร จันทรศั มี. (2559). กลยทุ ธก์ ารบริหารโรงเรยี นเพอ่ื เสรมิ สรา้ งความเข็มแขง็ ทางคณุ ธรรม
จริยธรรมของนกั เรียนประถมศึกษา. ดษุ ฎนี ิพนธค์ รุศาสตรดษุ ฎบี ัณฑิต. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปฎิ ก (ป.อ. ปยตุ .โต) พระไตรปฎิ กส่งิ ทีช่ าวพทุ ธต้องรู้. กรงุ เทพฯ : เอส อาร์ พรน้ิ ต้งิ แมสโปร
ดักส,์ ๒๕๔๖.

พระระพิน พทุ ธิสาโร, พระมหามนัส กติ ติสาโร. พระพุทธศาสนา ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ ๑ กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ บริษัท
พฒั นาคณุ ภาพวิชาการ(พว.)จำกดั , ๒๕๕๔.

พระธรรมปฏิ ก (ป.อ ปยตุ ฺโต). พจนานุกรมพทุ ธศาสตร์ ฉบบั ประมวลศัพท.์ พมิ พค์ รั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร:
บรษิ ทั เอส.อาร์. พร้ินติง้ แมส โปรดักส์ จ ากัด, ๒๕๔๖.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั . พระไตรป ฎกภาษาไทย ฉบบั มหาจุฬาลงกรณราช วทิ ยาลยั .
กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๙.

สมเดจ็ พระญาณสงั วร เจรญิ สุวัฑฒนมหาเถร สมเดจ็ พระสงั ฆราช สกลมหาสังฆปรณิ ายก. ทศบารมี
ทศพิธราชธรรม กรงุ เทพมหานคร: มหามกุฏราชวทิ ยาลัย, ๒๕๔๔.

สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา. เป้าหมายยทุ ธศาสตรแ์ ละตัวบง่ ชีก้ ารปฏิรปู การศึกษาใน ทศวรรษทสี่ อง
พ.ศ.๒๕๕๒ -๒๕๖๑, กรงุ เทพมหานคร: กระทรวงศกึ ษาธิการ, ๒๕๕๐.

๑๙


Click to View FlipBook Version