The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ของท่านพ่อลี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-04 14:32:03

แนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ของท่านพ่อลี

แนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ของท่านพ่อลี

Keywords: แนวทางวิปัสสนา,กัมมัฏฐาน,ท่านพ่อลี

151อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

สำเร็จหมด เมือ่ จิตมีอำนาจ กายกม็ ีอำนาจด้วย เปน็ ผู้ไมจ่ นเพราะ
ได้กายเป็นทรัพย์ ตาก็เป็นทรัพย์ หูก็เป็นทรัพย์ ฯลฯ กายเป็นทรัพย์
หมดทั้งก้อน เท่ากับก้อนทองก้อนใหญ่ เมื่อเรามีทองก้อนใหญ่แล้ว
ก็สามารถจะดูดดึงเอาสิ่งที่มีค่าท้ังหลายให้เข้ามาอยู่ในตัวได้
เป็นต้นว่า ดึงเอาที่ดินเข้ามาตั้ง ๑๐๐ ไร่ ดึงวัวควายเรือกสวนไร่นา
และสรรพสิง่ ทั้งหลายอื่นๆ ได้อีกตามประสงค์ ผู้ทีถ่ ือธรรมทั้ง ๔ คือ
ฉนั ทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีทรัพย์ก้อนใหญ่ จะ
ได้มนุษยสมบัติ, สวรรค์สมบัติ, และนิพพานสมบัติ, ให้ใช้ความ
พยายามไปเถิดอย่าท้อถอย เมือ่ ไม่ไดว้ นั นี้กค็ งวนั หนา้ ไม่ไดเ้ ดือนนี้
ก็คงเดือนหน้าไม่ได้ปีนี้ก็คงปีหน้า ไม่ได้ชาตินี้ก็คงได้ชาติหน้า
เพราะคนผู้มุ่งหน้าเข้าไปหาเหมืองแร่อย่างจริงจัง (มีอิทธิบาท) แล้ว
จะต้องได้ “ก้อนทอง” อันมีคา่ เป็นแน่


ลืมลม ก็เท่ากับกายตาย, ขาดสติ ก็จิตตายลืมลม มี

๒ อย่าง คือ ลืมอย่าง “เผลอ” กับลืมอย่าง “หลับ” ลืมอย่าง
หลับน้ันใชไ้ มไ่ ดเ้ ลย


ร่างกาย เปรียบเหมือนพื้นแผ่นดิน กิเลสความช่ัวเหมือนป่า
หญ้า เรามีสิทธิ์ทีจ่ ะหากำไรจากตา หู จมูก ปากฯลฯ ถ้าตัวของเรา

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

152 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





เต็มไปด้วยป่าหญ้า ก็ไม่มีสิทธ์ที่จะได้กำไรและผลประโยชน์จาก
ร่างกายนี้ได้ ความสุขหรือความสำเร็จไม่ใช่อยู่ที่ “เงิน” เงินไม่ได้ไป
ซื้อหาอะไรๆ ให้เราได้ “คน” เป็นผู้ทำความสำเร็จ แต่ถ้า “จิต”
ไม่มีอำนาจกใ็ ช้ “คน” (คือร่างกายก้อนนี้) ให้ทำอะไรๆ ไม่ได้ ฉะนั้น
จึงต้องฝึกจิตให้มีอำนาจเหนือร่างกาย ถ้าเราทำดีเราก็จะไปเกิดที่ดี
เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เป็นเศรษฐีคฤหบดี ฯลฯ จะน่ังนอนยืนเดินก็
สบายไม่ต้องเหนื่อยยากลำบาก ก้อนกายนี้ก็จะอมทรัพย์ไว้ทั้งก้อน
ธาตุทั้ง ๔ สามัคคีก็เปรียบเหมือนลูกหลานภายในบ้าน มีความ
สามัคคีปรองดองกัน พอ่ แม่ก็สบายอกสบายใจ (คือรา่ งกายเปน็ สขุ )


วดั ศรเี ทพ นครพนม ๑๓ ธ.ค. ๙๖



การแสวงหาความดี ต้องอาศัยการศึกษาเปน็ หลกั มิฉะนั้นจะ
ไม่รู้ว่า สิ่งใดควรเอาไว้สิง่ ใดควรทิ้งบางคนไปเห็นสิง่ ทีค่ วรทิ้งว่าควรเอา
ไว้ เหน็ สิง่ ที่ควรเอาไว้วา่ ควรทิ้ง เชน่ นี้กเ็ ปน็ การเข้าใจผิดมาก เหตนุ ้ัน
นักปราชญ์ท่านจึงแนะนำไว้เพื่อให้เรารู้ให้เราเข้าใจ เรียกว่า “การ
ศึกษา” การศึกษามีเป็น ๒ อย่างๆ หนึ่งเรียนตามแบบตามตำรา
เรียนไปตามกฎตามเกณฑ์ นี่เป็นการศึกษาอย่างเด็กๆ นักเรียนตาม
โรงเรียน อีกอย่างหนึ่งเป็นการศึกษาจากพระตามหลักเกณฑ์ของ

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

153อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

พระพทุ ธเจ้า เชน่ การไปวัดฟงั เทศน์ อยา่ งนี้เปน็ การศึกษาของผู้ใหญ่
ท่านย่อมจะชี้แนวทางให้รู้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดชั่ว สิ่งไหนเป็นบุญ สิ่งไหน
เปน็ บาป


ในเรื่อง ทาน ศีล เราก็พอจะรู้เข้าใจและพากันทำมามากแล้ว
ในที่นี่จะได้พูดถึง การภาวนา ซึ่งเป็นยอดของการบุญ ท่านเปรียบ
การทำทานว่า เท่ากับเรามีเงินอยู่ ๔ บาท คือ ได้ถวายปัจจัย ๔
แด่พระสงฆ์ ผู้ใดมีศีล ๕ ก็เท่ากับมีเงินอยู่ ๕ บาท ผู้ใดเจริญ
ภาวนา เท่ากบั มีเงินถึง ๔๐ บาท (คือกัมมัฏฐาน ๔๐ ห้อง) คุณค่า
ย่อมตา่ งกันอย่างนี้ ถ้าจะเปรียบให้เหน็ ก็เทา่ กับเรามีเงิน ๔ บาท เรา
จะซื้อไกไ่ ด้ตวั หนึ่ง และมี ๕ บาท ก็ซื้อไกไ่ ด้ตัวหนึ่งเหมือนกัน แต่ได้
ตัวใหญ่กว่านิดหนึ่ง ถ้าเรามีเงิน ๔๐ บาท เราจะซื้อหมูได้ถึงครึ่งตัว
หรือมิฉะนั้น ก็เปรียบว่า ทาน เท่ากับเรามีเงินหนัก ๔ บาท ศีล
เทา่ กบั มีทองหนกั ๔ บาท และภาวนา เท่ากบั มีเพชรหนัก ๔ บาท
เงินหนัก ๔ บาท นี้ไม่สามารถจะเลี้ยงชีวิตของเราได้เพียงพอทอง
หนัก ๔ บาท อาจจะพออยู่บ้าง แต่เพชรหนัก ๔ บาทเป็นราคา
หลายหมื่น อาจเลี้ยงชีวิตเราไปได้จนตายทีเดียวนี่แหละ “ภาวนา”

จึงเรียกวา่ เป็นยอดของบุญ


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

154 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





คนที่ไม่มีภาวนา เปรียบเหมือนคนที่มีหลักของใจ คือ ใจไม่มี
สมาธิ ความตั้งม่ัน ใจ ของเราเปรียบเหมือนตะกร้า บุญกุศล

ก็เปรียบเหมือนเงินทอง ข้าวเปลือก ข้าวสาร ถ้าตะกร้าของเรามีรูร่ัว
แล้ว เงินทองมันก็ไหลไปหมด ข้าวเปลือกข้าวสารมันก็ตกเรี่ย

เราทำบุญกุศลเท่าไรๆ มันก็ไม่อยู่กับตัวเรา เวลาใกล้จะตายหรือถึง
คราวดับขันธ์ จะไปเรียกให้บุญกศุ ลช่วย มนั จะได้อะไรมาช่วย อย่างนี้
จะไปโทษบุญกุศลว่าไม่ช่วยอย่างไรได้ มันต้องโทษตัวของเราเอง

ถ้าเรามีเงินอยู่บาทหนึ่งเก็บใส่ไว้ในกระเป๋า แต่กระเป๋านั้นมันขาดมันรั่ว
เวลาหิวขึ้นมาจะเอามาซื้อกาแฟดื่มสกั แก้วกซ็ ื้อไมไ่ ด้ อย่างนี้เราจะโทษ
เงินหรือโทษกระเป๋า? ถ้าเราทำที่เก็บของเราดีแล้วมีเงิน ๑ บาท

ใส่ไว้ มันก็อยู่ ๑ บาท ใส่ไว้ ๒ มันก็มี ๒ ใส่ไว้ ๓ มันก็มี ๓
ฯลฯ จนเป็นก้อนเป็นกลุ่มใหญ่โต ฉันใด, บุญกุศล ถ้าเราหม่ัน
สะสมไว้ในจิตใจที่เหนียวแน่น ม่ันคง มันก็จะมีอยู่ในตัวเราเสมอ
คนเราอยากให้สตางค์มันไหลเข้ามาหาเราทุกวันๆ แต่บุญทานไม่อยาก
จะทำเลย หรือมิฉะนั้นก็นานๆ จะทำสักที เราไม่ยอมลงทุนแล้วจะได้
กำไรจากไหน? เอาหลักไปปักไว้ห่างตั้ง ๓-๔ วา จะกั้นควายไม่ให้
เข้ามากินข้าวในนาของเราได้อย่างไร? หรือแหที่ตาห่างตั้ง ๓-๔ นิ้ว
ปลามนั จะเข้ามาค้างอยอู่ ย่างไร? ก็มีแตห่ ลักแต่เสา ได้แตเ่ สาแต่แหมา
กินเท่านั้น กระบุงตะกร้าหรือแหอวนน้ันถึงมนั จะขาดบ้างรว่ั บ้างก็ให้ตา

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

155อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

มันถี่ไว้ ก็ยังพอจะมีปลามีข้าวติดค้างอยู่บ้าง หมายความว่า ศีลทาน
นั้น เราจะทำไม่ได้เสมอไปเป็นนิจ แต่ให้ทำไว้บ่อยๆ ก็ยังดี บุญกุศล
จะได้ช่วยได้บ้าง ถ้าเราทำห่างนักก็จะช่วยอะไรเราไม่ได้ เขาว่าบุญ
ทานนั้นทำไปทำมา คนทำบญุ กต็ ้องตาย ไม่ทำกต็ าย ตายด้วยกันจริง
อยู่ดอก แต่วา่ ตายผิดกัน คนทำบาปน้ันตายไปกบั ผีกับเปรต ตายตาม
ป่าตามดงตามถนนหนทาง แต่คนทำบุญนั้นตายไปในกองบุญกองกุศล
ตายสบายแล้วไปเกิดก็สบายอีก ไมต่ ้องไปเกิดในทีท่ กุ ขท์ ีย่ ากเหมือนคน
ทำบาป


พูดถึงการ “ภาวนา” ซึ่งเราจะพากันทำต่อไปนี้ ก็เป็นบุญ
อย่างยอด เราไม่ต้องลงทุนอะไรมากด้วย เพียงแต่น่ังให้สบาย จะขัด
สมาธิหรือพับเพียบก็ได้แล้วแต่จะเหมาะแก่สถานที่และสังคม มือขวา
วางทบั มอื ซา้ ยแลว้ กต็ ง้ั ใจหายใจเขา้ ออก ดว้ ยการระลกึ ถึ พระพทุ ธเจา้
พระธรรม พระสงฆ์ “ภาวนา” ไม่ใช่เป็นเรื่องของพระธุดงค์หรือ
เป็นของพระของเณร เป็นคนโง่คนฉลาดหรือคนมีคนจน แต่เป็นของ
ซึ่งทุกคน ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัยจะทำได้ คนเจ็บคนไข้นั่งนอนอยู่กับ
บ้านก็ทำได้ และทำได้ไม่เลือกกาลเลือกเวลา เราเสียสละเพียงเล็ก
น้อยเพื่อแลกกับความดีอันนี้คือ เสียสละเวลา สละการนอน สละ
ความเจ็บปวดเมื่อย ต้องใช้ความอดทนพยายาม สละกายบูชา

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

156 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





พระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า
“ปฏบิ ตั บิ ชู า” ตง้ั ใจอทุ ศิ ตวั ของเราใหเ้ ปน็ กฏุ ิ แลว้ กน็ มิ นตพ์ ระพทุ ธเจา้
เสดจ็ เดินจงกรมเข้าไปในชอ่ งจมกู ด้วยลมหายใจเข้า “พุท” ออก “โธ”
ทำดังนี้ พระพทุ ธเจ้าก็ต้องมาอยกู่ บั ตัวเรา ชว่ ยคุ้มครองรกั ษาเรา เรา
ก็จะมีแต่ความสขุ ร่มเย็น และเบิกบานแจม่ ใส เหมือนฟางข้าวถึงมนั จะ
ผ่อย (เปื่อย) ถ้าเราฟั่นให้หลายๆ เส้น มันก็จะเหนียวขึ้นและใช้มัด
อะไรได้ ใจที่มีสมาธิมันไม่เหนียวไมแ่ นน่ จะเอาไปใช้มัดอะไรมนั กไ็ ม่อยู่
แม้แต่ไก่สกั ตัวเดียวกม็ ดั ไมไ่ ด้ อย่าไปถือวา่ กายนี้เปน็ ของเรา ต้องยอม
สละความปวดความเมื่อย บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เสียบ้าง ถ้าเราไมย่ อมสละเรียกวา่ “คนขี้ตระหนี่” เหมือนเรามีข้าวสกุ
อยู่ในจาน เราถือไว้ไม่ยอมถวายพระๆ ท่านจะมาฉันได้อย่างไร

ให้บ้างไม่ให้บ้างไม่เต็มอกเต็มใจ พระที่ไหนท่านจะมากินมาฉันได้ลงคอ
เงินทองนั้นมันไมว่ ิ่งมาหาเราดอก มีแต่เราจะต้องวิ่งตามไปหามันทกุ วัน
ยิ่งวิ่งมันก็ยิ่งหนี จนในที่สุดก็ตายเปล่า ไม่ได้อะไรไปสักอย่าง มีเงิน
หมื่นจะเหลือติดตัวสักสองร้อยก็ทั้งยาก มีที่ดินมันก็หมดไปทุกที

มีเสื้อผ้ามันก็ขาดปุดหลุดไปๆ จนที่สุดเหลือแต่ตัว ก็เอาอะไรไปไม่ได้
สักอย่าง คำพูดคำสอนใครจะไปจดจำได้ทุกตัวทุกคำแม้แต่พระผู้เทศน์
ก็จำไมไ่ ด้ เหมือนกบั รอยเกวียนซึง่ จะต้องบดทับรอยโคอยเู่ รื่อยไป


แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

157อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

บุญ คือ แก้วสารพัดนึก ความทุกข์ บางอย่างถ้าไม่มีบุญ
แล้วช่วยไม่ได้จริงๆ ส่วนความทุกข์ธรรมดา ทุกข์หนาว ทุกข์ร้อน
อย่างนี้คนจนๆ เขากช็ ่วยตวั เองได้


บุญ ไม่ใช่ของซื้อหรือขอ การขอเขานั้นเขาก็ให้บ้างดอก

แต่ไมม่ าก เช่น มะพร้าวเขามีอยู่ ๑๐ผล เราขอเขาๆ จะให้อย่างมาก
ก็สักผลเดียว บุญที่พระท่านให้เราก็เหมือนกัน เช่น อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ
ตมุ ฺหํ ขปิ ฺปเมวสมิชฌฺ ตุ ฯลฯ แค่นี้เทา่ น้ัน แตถ่ ้าเราจะขอทา่ นบอ่ ยๆ
ก็ดีเหมือนกัน เราทำทานหรือรักษาศีล ก็เท่ากับเราไปขอบุญกับพระ
แต่พวกเราก็มักขี้เกียจขอกันเสียด้วย การขอนั้น ถ้าขอให้จริงๆ จังๆ
แล้วก็มีผลดีเหมือนกัน อย่างกรุงเทพฯ มีผู้ขอทานกันทั้งผัว ทั้งเมีย
ทั้งลูก ขอกันจนเก็บเงินได้เกือบเป็นเศรษฐี ถ้าขอให้ได้อย่างเราก็อาจ
จะร่ำรวยบญุ ได้เหมือนกัน





พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร



159อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วดั ศรเี ทพ นครพนม ๑๔ ธ.ค. ๙๖

การบำเพญ็ ทาน
เทา่ กบั เราหาทรพั ยไ์ วใ้ หต้ วั ของเรา
การบำเพญ็
ศลี
เทา่ กบั เราสรา้ งรา่ งกายของเราใหเ้ ปน็ คนสมบรู ณ
์ ไมพ่ กิ ารงอ่ ยเปลย้ี
บอดใบ
้ การบำเพญ็ ภาวนา เทา่ กบั สรา้ งจติ ใจของเราใหเ้ ปน็ คนสมบรู ณ์


“ทาน” ไม่สามารถจะคุ้ม
“ศีล”
ได้
แต่ศีลคุ้มทานได้
ส่วน

“ภาวนา”
คุ้มได้ตลอดทั้งทานและศีลสามารถทำให้ทานบริสุทธิ์
และ
ศีลของเรากบ็ ริสทุ ธิ
์ เข้าถึงสุคติสวรรคโ์ ลกตุ ตระ
และนิพพานเป็นที่สดุ

สมมติคนคนหนึ่งเกิดมาในตระกูลสูง
มีทรัพย์สมบัติมาก
และร่างกาย
ก็งดงามบริสุทธิ์ทุกส่วน
แต่จิตใจไม่ปรกติ
วิกลวิการเป็น
“ผีบ้า”

อย่างนี้จะมีประโยชน์อยา่ งไร
เหตุน้นั พระพทุ ธเจา้ จึงทรงสงั่ สอนให้
อมรบจิตให้เป็นกุศลพระองค์ทรงสอนให้มนุษย์เป็นเทวดา
เทวดาเป็น
พรหมพรหมเปน็ อริยะ
จนถึงอรหนั ตขีณาสพ
เปน็ ทีส่ ุด


ศีล ๕ สร้างร่างกายเราอย่างไร?

ข้อ
เปน็ ขาซ้ายขาขวา

อกี

ขอ้
เปน็ แขนซา้ ยแขนขวา
อกี ขอ้ หนงึ่ สรา้ งหวั ของเรา
ถา้ ศลี


ของเราไม่บริสุทธ
ิ์ เราเกิดมาก็ต้องได้อัตภาพที่ไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์เช่น
เดยี วกนั


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

160 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




โลกุตตระ คือ โสดา สกิทาคา อนาคาและอรหัตตเหล่านี้
เปน็ ชื่อของ จิต ไม่ใช่เป็นเรื่องของบุคคล


คนที่จิตใจยังไม่สงบ เปรียบเสมือนคนที่ถือคบไฟวิ่งไป ไฟย่อม
ลวกลนเผาตัวของตัวเอง ถ้าหยุดวิ่งเสียเมื่อใด ก็ได้รับความเย็น
เมื่อนัน้


“ภาวนา” ไม่เกี่ยวกบั กาย เลย เป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ

“นิพพาน” คือสถานที่ซึ่งเป็นกลางๆ เย็นเกินไปก็ไม่มี

ร้อนเกินไปก็ไมม่ ี แก่ เจ็บ ตาย กไ็ ม่มี จนกไ็ ม่มี รวยกไ็ มม่ ี ทุกขก์ ็
ไมม่ ี สขุ ก็ไมม่ ี




แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

161อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วัดปา่ สุทธาวาส สกลนคร ๑๖ ธ.ค. ๙๖

คำว่า “ธรรมะ” นี้มี ๒ อย่าง มีธรรมที่เปน็ คำพูด คำสอนนี้
เรียกว่า “ปริยัติธรรม” จิต เป็น “ปธานธรรม” การบำเพ็ญจิตเป็น
“ปฏิบตั ิธรรม”


“ธรรม” มีอยู่ในตัวคนทุกคน ภายนอกอยู่ที่ “กาย” ภายใน
อยทู่ ี่ “จิต”


บ้านทีไ่ มม่ ีคน มนั เย็นเยือก เหมือนบ้านทีม่ ีคนตาย มองเข้าไป
มันรู้สึกเย็นๆ ถ้ามีคนอยู่มันก็อบอุ่นคนที่ขาดจากสติเหมือน “บ้านคน
ตาย” มนั ไม่อบอุ่น


สติ หนกั แนน่ ก็เหมือนเชือกเส้นใหญ่ ไม่ขาดงา่ ย


“การฟังธรรม” เท่ากับ ทายา หรือ พอกยา ไม่ซึมซาบ
เหมือน กิน แตถ่ ้าทาบ่อยๆ มนั กอ็ าจจะให้ผลดีบ้างเหมือนกนั


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

162 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




โลก หมายถึง “มนุษยโลก” โลกเบื้องต่ำหมายถึงคนที่มี
ความรู้ต่ำ ความเป็นอยู่ต่ำ มีความดีน้อยหรือมักจะเที่ยวเป็น ศัตรู
ของคน


เมตตา แปลว่า “ความเย็น” เราอย่าเกลียดอย่าโกรธเขา

ก็เรียกว่าทำจิตของเราให้เย็น แล้วแผ่ความเยน็ ให้แก่เขา


พิจารณา อสุภ คือ ทำความบริสุทธิใ์ ห้แกร่ า่ งกายและดวงจิต
อยา่ ประกอบความช่ัวทีส่ กปรกโสมม


คนที่เรียนรู้แต่ปริยัติไม่ได้ปฏิบัติ เปรียบเหมือนมีอวัยวะไม่
ครบ ถ้าปฏิบัติด้วยก็เหมือนมีตา ๒ ตา มีมือ ๒ มือ มีขา ๒ ขา
ย่อมไปไหนและทำอะไรๆ ได้ สะดวกดีกว่าคนตาเดียว มือเดียว

ตีนเดียว





แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

163อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร ๑๗ ธ.ค. ๙๖



เราทุกคนปรารถนา “บุญ” แต่บุญนี้เราจะไปหาจากที่ไหน?
บญุ ภายนอกหาจาก รา่ งกาย ของเราบุญภายในหาจาก ดวงจิต บุญ
ย่อมนำมาซึ่งความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า “ความสุข” มี

๒ อย่าง คือ สุขในโลก กบั สขุ ในธรรม สขุ ในโลกเป็นที่เจือทกุ ข์
เป็นสุขเฉพาะชั่วลมหายใจ ไม่ถาวรเหมือนสุขทางธรรมสุขในโลกนั้นก็
เช่นในการกินอิ่ม นอนหลับ สุขในการมีทรัพย์สินเงินทอง ลาภ ยศ
สรรเสริญ แต่สิ่งเหล่านี้ยิ่งสุขเท่าไรก็ทุกข์มากเท่านั้น สุขในการกิน
พอตายแล้วเราก็จะไม่ได้กินอีก นอนเราก็จะไม่ได้นอน จะม่ังมีเท่าไรก็
ต้องหมดไปที่กองไฟ จะเปน็ ชั้นเอก ช้ันโท ชั้นตรี ฯลฯ ก็ต้องไป
หมดลงทีก่ องไฟทั้งสิน้ คนเราเกิดมานี้ ยอ่ มถูก “เสือ” คอยกดั กิน
อยู่ทุกวัน แต่เราไม่รู้สึกเพราะเราเกิดมาในดงเสืออยู่แล้ว ก็ไม่ค่อย
กลัว คำ “เสือ” นี้คือ “เสีย” นี่แหละ เสียอะไร? คือเสียทรัพย์
เสียร่างกายเสียทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในร่างกายของเรา เงินมีอยู่มันก็
คอยแต่จะบินหนีจากเรา พอเจ็บไข้ลงเช่นปวดท้อง มีเงินอย
ู่
๑๐ บาท กต็ ้องเอาไปซื้อยากฤษณากลน่ั มากิน กินหาย เรากด็ ีใจไป
พักหนึ่ง ถ้าไม่หายก็เป็นทุกข์ไปอีกเสียค่ายาค่าหมออีก โรคมันก็ไม่ใช่
หายไปไหน มันนอนนิ่งอยู่ในตัวเรานี่แหละ เหมือนเด็กที่หิวข้าวหิวนม

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

164 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




พอเราป้อนข้าวป้อนน้ำอิ่ม มันก็สงบไปหายร้องไห้หายกวนเราแต่แล้ว
พอเดก็ หิวใหม่กจ็ ะกำเริบขึ้นมาอีก นี่กเ็ ปรียบเหมือน “เสือ” ทีม่ นั จ้อง
คอยกินเราอยู่ กินทรัพย์ของเรากินร่างกายเนื้อหนังของเรา แต่ก่อน
เรามีเนื้อหนังตึงเต่งแข็งแรง มันกก็ ินไปๆ จนเราเหลือแต่หนังแตบแฟบ
มันกินตากินหูของเรา กินจนในที่สุดเราร้อง “โอยๆ” แล้วมันก็คาบ
เราไปหมดทั้งตัว นี่เป็นความสุขที่ไม่ปลอดภัยความสุขทางธรรมเป็น
ความสุขที่ปลอดภัย คือความสุขทางจิต ถึงมันจะมี จะจน จะแก

จะเจบ็ จะตาย เรากไ็ มต่ อ้ งทกุ ขร์ อ้ นอะไรทง้ั นน้ั เหตนุ นั้ พระพทุ ธเจา้
จึงทรงสอนให้ทำความดีที่ปลอดภยั คือบำเพ็ญบุญกศุ ล มีทาน ศีล
ภาวนา เป็นต้น ทำร่างกายของเราให้เปน็ ก้อนบญุ อย่าให้เป็นก้อนบาป
เมื่อบุญไหลเข้าไปทางตา หู จมกู ปาก ฯลฯ ของเรา กเ็ ข้าไปทำธาตุ
ดิน น้ำ ไฟ ลม ของเราบริสุทธิ์เป็นบญุ ไปหมดท้ังก้อน เหมือนเรามี
บ่อน้ำอยู่ ถ้าเราเอาสิ่งที่เป็นพิษเป็นโทษเข้าไปใส่บ่อน้ำนั้นก็จะใช้กินใช้
อาบไม่ได้ ถ้าเราเอาของดีไปใส่ บ่อน้ำนั้นก็เป็นบ่อน้ำที่บริสุทธิ์ใส
สะอาดดี เราอย่ามัวไปหลงว่า ร่างกายเรานี้เป็นของเรา และมันจะ
ทุกข์จะสุขด้วยกับเราแท้จริงมันจะไม่ไปกับเราได้ดอก กายนี้เปรียบ
เหมือนมีดจิตของเราเปรียบเหมือนคน ถ้าเรารู้จักใช้ มีดก็จะเป็น
ประโยชน์ ถ้าเราไมร่ ู้จักใช้ มันก็ให้โทษ เชน่ เอามีดไปฆา่ ฟันเขา เขาก็
ไมไ่ ด้จับเอามีดไปใส่คกุ ใส่ตะราง เขาจะต้องจับเอาคนทีฆ่ ่าไป รา่ งกาย

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

165อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

นี้จะไม่ทุกข์ด้วย แตส่ ่วนที่จะรบั ทุกข์คือตัวจิตของเรา เมื่อเราตายกจ็ ะ
ต้องไปสุ่ทุคติ


ศีล คือการระวังรกั ษากาย “ภาวนา” คือ การระวงั รกั ษาจิต
ภาวนา เปรียบเหมือนหลังคาบ้านย่อมครอบคลุมทรัพย์สิ่งของทุกๆ
อยา่ งในบ้าน ให้พ้นจากแดดฝนและอนั ตรายอื่นๆ กาย เปรียบเหมือน
แผ่นดิน จิต เปรียบเหมือนตะกร้า กระเป๋า กระสอบ หรือยุ้งฉาง
ถ้าเราปลูกข้าวในนาสัก ๑๐ ไร่ แต่ไม่ได้ทำยุ้งฉางให้ดีสำหรับเก็บ

จะมีข้าวมากินได้อย่างไร? นก กา วัว ควาย ก็จะเข้ามากินหมด

ฝนตกก็ร่วงหลุดงอกไป จะได้ก็เพียงส่วนน้อยเต็มทีไม่พอกิน แล้วเรา
จะไปโทษใคร, นี่เรียกว่าเรา “ทำบุญ” แต่ไม่ได้ เก็บบุญ เหมือน
ข้าวของของเรา ถ้าเราวางทิ้งไว้ตามบันไดบ้านหรือนอกบ้านมันก็จะ
ต้องหายไปหมด เพราะใครมาเห็นเข้าก็อาจลักขโมยไปหรือกีดทางกีด
เท้าเขาๆ กจ็ ะเตะทิ้งไปหมด เราต้องเก็บเข้ามาไว้บ้านจึงจะปลอดภั


ล่วงศีลขอ้ ๑ เทา่ กับเราถกู ตัดขาไปข้างหนึง่ ข้อ ๒ ตดั ขาอีก
ข้างหนึ่ง ข้อ ๓ ตัดแขนข้างหนึ่ง ข้อ๔ ตัดแขนอีกข้างหนึ่ง ข้อ ๕
ตัดคอตัดหัวเราออกเลย ถ้าใครไม่มีศีล ๕ เกิดมากจ็ ะต้องได้รา่ งกาย
ที่ไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์ เราอยากได้บุญ เราต้องเสียสละ เช่นเราอยาก

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

166 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




ให้ทานเราก็ต้องสละทรัพย์หาสิ่งของไปถวายพระ พระท่านก็ให้พรเรา
เราอยากได้ศีล เราก็ต้องมีความอดทน ถ้าเรายังห่วงตัวเราอยู่ เราก็
ไม่ได้บุญ “ภาวนา” ก็ต้องเสียสละความปวดเมื่อยหลับนอน เป็น

จาโคปฏินิสฺสคฺโค


“พุทโธ” เป็น คำภาวนา การมีสติรู้ลมหายใจเข้าออกเป็น
องค์ภาวนา เป็นตัว “พุทธะ” เมื่อจิตอยู่แล้วทิ้งคำภาวนาได

คำภาวนา เหมือนเหยื่อหรือเครือ่ งลอ่ เช่นเราอยากให้ไกเ่ ข้ามาหาเราๆ
ก็หว่านเมล็ดข้าวลงไป เมื่อไก่วิ่งเข้ามาหาแล้ว เราก็ไม่ต้องหว่านอีก
ฉนั ใดกฉ็ นั นั้น


สติฟอกจิต จิตฟอกลม ลมฟอกกาย ถ้าเรามีสติ รปู ก็ไมต่ าย
นามก็ไมต่ าย


คนไม่มีสติ เท่ากับเรือนที่ไม่มีคน “คนหนีผีเข้า” “ผีร้าย”
เขาเรียกวา่ “ยกั ษ์” “คนรา้ ย” เขาเรียกวา่ “โจร” หรือ “พาล”


จิตสงบ เป็น “สมาธิ” เอาสมาธิขยายลมออกไปทวั่ กาย เปน็
“ปญั ญา”


แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

167อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

ถ้าเรารู้จักเจริญภาวนาออกไป ก็ได้เกิดแม่แผ่ลูกเป็นอธิศีล
อธิจิต ฯลฯ เหมือนเรามีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง หนัก ๔ บาท ไม่รู้จักใช้
ปัญญาทำให้มนั มีค่ายิง่ ขึ้นไป มนั ก็คงมีคา่ ๔ บาทเท่าเดิม ถ้าเราเอา
มาตีเป็นแหวน เป็นสายสร้อย ชุบทองขึ้น ราคามันก็สูงขึ้นกว่าเดิม
ถ้าเรามีมะพร้าวอยู่ผลหนึ่ง เราต่อยออกกินเสีย มันก็หมดเพียงแค่อิ่ม
เดียว ถ้าเราเสียสละเอามันฝังดินลงไปเกิดเป็นต้น มีลูกออกมาอีก
เพาะลูกต่อไปอีก ในที่สุดก็ร่ำรวยเป็นเศรษฐีสวนมะพร้าว เงินทองถ้า
เราได้มาเก็บไว้เฉยๆ หรือเอามานอนกอดอยู่ มันก็จะไม่ได้ประโยชน์
อะไร และคงจะต้องไม่ปลอดภัยสักวันหนึ่ง ฉะนั้น ต้องหาที่เก็บให้ดี
คือต้องสละฝังไว้ในพระพุทธศาสนา มันจึงจะเกิดผลยิ่งขึ้นต่อออกไป
จติ ทเี่ ปน็ แคส่ มาธิ กไ็ ดร้ บั เพยี งความสบายเทา่ นนั้ แตไ่ มไ่ ดบ้ รมสขุ
ถ้าเจริญปัญญาออกไปจึงจะเรียกว่าไดร้ บั “ความบรมสขุ ” ด้วย


การเจริญภาวนา จนเกิดปัญญา ก็เป็นวิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ได้รับความสุขกายสุขจิต เป็นสุคโต รู้แจ้งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
เป็น “โลกวิทู” หมดความกังวลห่วงใยในสังขาร เป็น “อนุตฺตโร”
เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็น “ปุริสทมฺมสารถี สตฺถา” เป็นผู้ขับรถคือ
พาตวั เราเดินตรงทางไปถึงทีจ่ ุดหมาย คือ “พระนิพพาน”


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

168 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




“ลม” สร้างรา่ งกาย จึงเรียกว่า “กาย-สงั ขาร”


เราบอกบุญ ให้เขามาวัด น่ังภาวนา ถ้าเขาศรทั ธาเพียงยกมือ
ขึ้น “สาธุ” เขาก็ได้บุญเพียงกอบเดียวถ้าเขามาวัดเขาจะได้ถึง

๓ กอบ


“โมหะ” คือความที่จิตเผลอ “โลภะ” คือ จิตที่แลบ
“โทสะ” คือจิตที่ไม่ชอบ การทำสมาธิจะได้ถึง ๓ กอบ อยา่ เห็น
ว่ามีประโยชน์เพียงเลก็ น้อย


“พระอรหันต์” ยังไม่พ้นจากการตายโหงเพราะการตายเกี่ยว
ด้วย กรรมเก่า เปน็ เรือ่ งของ “ร่างกาย” พระอรหันต์เป็นที่ “จิต”


“สัมมาอาชีวะ” ถ้าอาชีพนั้นเป็นของถูก แต่ทำให้มันผิดมันก็
เป็นโทษ เช่นทำนาล้ำที่ดินเขาเข้าไปอย่างนี้มันก็อาจเป็นอาชีพผิดไปได้
ข้าวที่นำไปหุงก็เป็นโทษดว้ ย





แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

169อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วัดป่าสทุ ธาวาส สกลนคร, ๑๘ ธ.ค. ๙๖



“สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา สีเลน นิพฺพุตึ

ยนฺตีติฯ” วันนี้จะพูดในสีลกถา ศีลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คนทำทานสัก
แสนครั้ง ถ้าไม่มีศีลแล้วก็ช่วยไม่ให้ตกนรกไม่ได้ คนมีศีลแต่ไม่มี
ภาวนา ก็ไปนิพพานไม่ได้ พระโมคคัลลานะเคยทูลถามพระพุทธเจ้าวา่
มีเปรตตนหนึ่งอยู่ในวิมานจกเปรต เขามีสมบัติมากแต่ทำไมร่างกายจึง
วิปริตดังนี้ พระพุทธเจ้าทรงตอบว่าเพราะเขาทำทานไว้มาก แต่ไม่มี
ศีล นี่แหละคนมีทรัพย์มากแต่กินอะไรไม่ได้ มันจะมีประโยชน์อะไร?
ข้าวของต้มแกงมีเยอะแยะ แต่ปากเท่ารูเข็ม จะกินเข้าไปทางไหน?
เหตุนั้น จึงเรียกว่า ศีลเป็นส่วนสำคัญ ถ้าศีลไม่มีจะไปสร้างความดี
ทุกอยา่ ง พระองคก์ ไ็ ม่ทรงสรรเสริญ นี่เปน็ ปฐมเทศนข์ องพระพุทธเจ้า
เป็นคำสอนจำกัด เป็นตัวกฎหมาย ทีเดียว อย่างอื่นไม่มีโทษทาง
อาญา คนที่ไม่มีศีลได้รับโทษ ๒ ประการๆ หนึ่งตัวของเขาเอง
เป็นคนไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ประการสองเขาปฏิญาณว่าจะถือศีล
ของพระพทุ ธเจา้ กป็ ระพฤติไม่จริง มีโทษทางอาญาด้วย


“ศีล” นี้จะมีเท่าไรกต็ าม รวมลงในข้อใหญก่ ม็ ี ๒ อยา่ ง คือ
“กาลศีล” อย่างหนึง่ “นิจจศีล” อยา่ งหนึง่ คนที่รักษาได้บางกาล

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

170 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




เวลาไม่เสมอไป กเ็ หมือนมืดบ้าง แจ้งบ้าง จะเปน็ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล
๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ก็ตาม เมื่อรักษาไว้ไม่ได้ตลอดชีวิตแล้วก็เป็น
“กาลศีล” ทั้งสิ้น พระบวชมาตั้ง ๑๐ ปีแล้วสึกไปก็เป็น “กาลศีล”
แต่ “กาล” นั้นจะสั้นหรือยาว ก็ทำได้ตามความสามารถของตนที่จะ
ทำได้ เช่นพระบวช ๓ วนั ๗ วนั กม็ ี ตลอดพรรษานี้มี “นิจจศีล”
คือสามารถปฏิบัติไปจนตาย โดยไม่ล้มความตั้งใจเลย จะเป็นศีลอะไร
ก็ตามก็ตั้งใจปฏิบัติไปจนตาย จนเผาไฟเลย ไม่เลิก ไม่รื้อ ไม่ถอน

นี่เป็นลักษณะของ “นิจจศีล”อย่างนี้ดีมาก ถ้าจะกล่าวโดยสิกขาบท
โดยพยัญชนะกต็ าม บัญญตั ิลงในศีล ๕, ๘, ๑๐, ๒๒๗, ตา่ งๆกนั
ถ้ากล่าวโดยความมุ่งหมายก็เหมือนกัน คือรวมที่รักษา “กายวาจา”
ถ้าจะเพิ่มให้เป็น “ศีลธรรม” ขึ้นก็ต้องรักษา “จิต” ด้วยศีล
๕,๘,๑๐,๒๒๗ ก็ดี ถ้ารักษากันเพียงกายวาจาก็ไม่ใช่ “ศีลธรรม”
เป็น “พาหิรศีล” (ศีลภายนอก) คือกันมนุษย์ไม่ให้เป็นสัตว์ หรือ
ลอกคราบสัตวใ์ ห้มาเป็นคนเทา่ นั้น ถ้าเรารกั ษาจิตด้วย กเ็ ทา่ กับได้ทำ
คนให้เป็นเทวดา คือพุทธศาสนาของเราต้องมี พระพทุ ธ พระธรรม
พระสงฆ์ จึงจะเป็น “รัตนครัย ซึ่งเกี่ยวถึงศีลธรรมด้วยศีล ๒
ประการนี้ มีเวลาทำได้ทุกคน แต่อาจทำได้บางขณะ ถึงจะทำได้แค่
ช้างกะดิกหู งูแลบลิ้นก็ยังดี ไม่มีการล่วงในกรรมบถ ๑๐ ถ้าใครมีก็
เปรียบเหมือนได้ลอกคราบจากคนมาเป็นเทพยดา ถ้าเรารักษาให้ยิ่ง

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

171อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

กว่านี้ คือพร้อมทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมด้วย ก็ยิ่งดี

แต่มโนกรรม ๓ นี้ เราเอามโนกรรม ๑ เท่าน้ัน คือ ไม่ให้ตกไปใน
กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ท้ัง ๓ นี้ให้เป็นตวั มโนกรรม ๑
เป็นลักษณะมโนกรรม คือ จิตเป็นสมาธิได้อารมณ์เป็นหนึ่ง
(เอกัคคตารมณ)์


“กุศล” เป็นธาตุของแข็ง ดวงจิตของเราก็ดี กุศลของเราก็ดี
เมื่อเข้าไปแทรกด้วยกัน อารมณ์ของเราก็เป็น “สมาธิ” เมื่ออารมณ์
กบั จิตกระทบกนั เข้ากเ็ กิดแสงเปน็ “วิปัสสนาญาณ” (คือหินกับเหลก็ ตี
กันขึ้นก็เกิดเป็นไฟ) เมื่อเกิดวิปัสสนาญาณแล้วความหิวกระหายมันก็
ดบั เพราะมนั มีอาหารทิพย์กินแล้ว ทำไมมนั จึงหิว? เพราะมันขี้เกียจนัง่
สมาธิ ตัณหามันก็ดึงให้วิ่งไป ดวงจิตของเรากเ็ ชน่ เดียวกัน โลภกโ็ ลภ
ไม่รู้จักพอ โกรธก็โกรธ หลงก็หลง เมื่อตัณหาดับ เกิดความ
ปราโมทย์มันก็อิ่มดวงจิตก็เป็น “ธรรมสัปปายะ” ปุริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ
ดวงจิตของผู้นั้น กเ็ บิกบานเปน็ “พทุ โฺ ธ” เกิดเปน็ “อริยะ” ขึ้น ตั้ง
ชื่อว่า “อริยชน” เป็นยอดเป็นสิ่งเลิศของมนุษย์ไม่ว่าศีลอะไร

ต่างกันโดยชื่อและอานิสงส์เท่าน้ัน “สัปปายะ” แก่เข้าก็เกิดปัญญา
ปัญญาแก่ก็เห็นความจริงเห็นความจริงแล้วก็ดับตัณหา ตัณหาก็เป็น
“นิโรธะ”


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

172 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




“ศีลธรรม” มีลักษณะเป็น ๓ อย่าง “สีเลน สุคตึ ยนฺติ”
ศลี เปน็ เหตใุ หเ้ กดิ ในสคุ ติ นเี่ ปน็ ศลี ของ “เทวดา” “สเี ลน โภคสมปฺ ทา”
ศีลเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์ นี่เป็นศีลของ “มนุษย์” “สีเลน

นิพฺพุตึ ยนฺติ” ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน นี่เป็นศีลของ

“อริยชน”


ปาณาฯ คือไม่ฆ่าสัตว์น้อยใหญ่ ทั้งเห็นด้วยตาไม่เห็นด้วยตา
(เช่นพวกไข้ที่มีเชื้อโรค) ลักษณะทั้งหมดนี้เรียกว่า “ปาณาติบาต”
ไม่ฆ่า ไมใ่ ช้เขา ไม่ทำอาการกิริยา วาจา บอก กายต้องวิรัติ วจีวิรตั ิ
ด้วยต้องระวังให้มาก คนไม่มีศีล ๕ เรียกว่า “มนุสฺสติรจฺฉาโน”
ตัวเปน็ คน ใจไมเ่ ปน็ คน สีเลน สคุ ตึฯ เรากจ็ ะมีความสุขกาย สขุ
จิต เพราะเรามีศีล ไม่ล่วงศีลแต่ก็ได้แค่เป็นมนุษย์ สีเลน โภค
สมฺปทาฯ ถ้าเรารกั ษากาย วาจา หู ตา จมูก ปาก ฯลฯ ไม่ให้เป็น
บาปด้วย นี่ก็จะเป็น “โภคะ” ของใช้ของสอยของเรา (เขาทำบาป
เราไปดูเขา เราก็บาปด้วย เชน่ ดเู ขาเล่นการพนนั เราก็จะพลอยถกู จบั
ไปด้วย)


“สมบตั ิของมนุษย์” น้ัน ไมส่ ำคญั คนโง่ คนขโมย คนมิจฉา
ทิฏฐิ เขาก็หาได้ แต่ “มนษุ ย์สมบัติ” น้ันคนไม่มีศีลหาไม่ได้ เหมือน

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

173อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

คนแขนขาดไถนามันกไ็ ม่ได้ ข้าวกิน ตีน มือ ขา แขน เป็นโภคะทีเ่ รา
จะต้องใช้สอยได้ทุกวัน ตา หู จมูก ปาก ฯลฯ เป็นสมบตั ิของเราท้ัง
นั้น จมูกเป็นของกันตาย ไม่มีอย่างอื่นเราไม่ตาย ถ้าไม่มีจมูกขาดลม
เราต้องตาย “สีเลน นิพฺพุตึฯ” ต้องรักษาหลายอย่าง กาย วาจา
ของเราก็ดีแล้วไมต่ ้องรักษาตา หู จมูก ปาก ของเรากด็ ีแล้ว รกั ษา
แต่ดวงจิตถา้ ใครรกั ษาได้เชน่ นี้ กม็ ีหวังไดส้ ำเรจ็ มรรคผล


“ปาณา” ฯ สัตว์ผู้ข้องอยู่ในความดี ความสุข มันจึงหากิน
ดวงจิตของเรายงั ข้องอยู่ในบุญกุศล มันทำยังไม่อิ่มไมเ่ ตม็ ใจ พอนึกถึง
จะไปทำบุญ ก็เท่ากับ “กุศลจิต” เกิดขึ้นตัวหนึ่ง มันเกิดข้องในจิต
ของเรา ถ้าเราเกิดกลับใจไม่ทำ ก็เป็นการฆ่าตัวเอง เรียกว่า

“ศีลธรรม” ขาด ฆา่ ตวั เองได้ ทำไมจะฆา่ คนอื่นไมไ่ ด้ ดวงใจฆา่ ศีล
เช่นกลับใจไม่ฟังเทศน์ บุญที่ควรจะได้ก็ตายจากจิตที่ดีของเรา น่ัง
สมาธิก็ไมน่ ัง่ ละมันเมือ่ ย นีเ่ ปน็ การฆา่ ความดีของตัวเอง ศีลอยา่ งนี้
ไมส่ ามารถถึง นพิ พฺ ตุ ึ ยนตฺ ิ ได้ในทีส่ ุด


“อทินฺนาฯ” เรื่องต่างๆ ของเขา แอบไปขโมยมาคิดมานึก

ก็เท่ากับเป็นตัวโจร เป็นขโมย ใจไม่บริสุทธิ์ ขโมยของดีเขาก็ค่อยยัง
ช่ัว ของไม่มีความจริงไปเที่ยวขโมยมามันยิ่งหนัก คนบ้าก็ต้องไปขโมย

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

174 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




ของเลว คนดีก็ขโมยของดี เมือ่ ใจมันเป็นขโมยได้ ปากมือ กย็ อ่ มเปน็
ได้ และเมื่อศีลตัวนี้ขาด มันกล็ ว่ งกามได


“กาเมฯ” ล่วงในกามวตั ถุ สิง่ ชว่ั ไหลเข้ามาสู่ดวงจิต กิเลสกาม
เกิด ราคะ โทสะ โมหะ เกิด มันก็ต้องเปน็ บ้าเทา่ นั้น


“มสุ าฯ” การพดู ปด อยู่บ้านก็มสุ า อย่วู ัดกม็ สุ า ผู้ที่ไมม่ ีความ
สัตย์จริงนั่นแหละเป็นมุสา นั่งฟังเทศน์ใจมันแล่นไปบ้าน หรือนั่งสมาธิ
แต่ใจไปอื่น นี่แหละเป็นการปดหลอกตัวเองอย่างนี้ ศีลของเราก็ไม่
บริสทุ ธิ์ และคำพูดโปรยประโยชน์ วาจา จิต ก็เป็นมุสาวาท ถ้าใคร
ไมร่ กั ษาศีลนี้ จิตจะถึงโลกตุ ตระไมไ่ ดเ้ ป็นอันขาด


“สุราฯ” ดวงจิตไม่ได้กินเหล้า แต่มันเมา เมาในชีวิต เมาใน
วัย เมาในความไมม่ ีโรค เมาในความจน เมาจนจะไปวัดก็ไมไ่ ด้ กลัว
เสียนัน่ เสียนี่ บางคนก็เมาในความมี เหมือนกินกัญชาอยู่ เราเพลินอยู่
ในสังขารเมาในสรีระร่างกาย เด็กก็เมาในเรื่องเด็ก หนุ่มสาวก็เมาใน
เรื่องหนมุ่ สาว แกก่ ็เมาในแก่ งกๆ งันๆ ตาหู มืดมัว ถ้าเราไมเ่ มาใน
สิ่งเหล่านี้ ดวงจิตของเราก็เป็น “อธิจิตฺเต จ อาโยโคฯ” ทำดวงจิต
ของเราให้พ้นจากอารมณ์ที่ช่ัวเราก็ถึง “สจิตฺตปริโยทปนํฯ” ถ้าใคร

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

175อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

หวังดีต่อตัวเองต่อพระพุทธศาสนา ต้องตั้งใจปฏิบัติดังนี้ ต้องพากัน
ชำระความช่ัว จิตของเราจึงจะถึงมรรคผลนิพพาน จึงจะเป็นไป
ตามโอวาทคำสอนของนักปราชญ์บัณฑิต ฉะนั้นจงพากันอย่าประมาท
ถึงจะจำได้หรือไม่ได้ก็ดี ก็อาจจะบรรลุความสุขใจ มนุษย์ สวรรค์
และนิพพานได


ฆ่าสัตว์ธรรมดา ๑๐๐ ตัว ไม่เท่าฆ่าโพธิสัตว์ ๑ ตัว วัว
ควายมีคุณค่ายิ่งกว่าพ่อแม่ เพราะมันทำนาลากข้าวสีข้าวมาให้เรากิน
พอ่ แม่กไ็ ถนาลากข้าวไม่ได้โพธิสัตวน์ ั้นใจท่วมโลก ใจกว้างใหญ่ เพราะ
ปรารถนาทำความดีอย่างยิง่ ยวด





พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร



177อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วัดสิมพลีวัน ต.บ้านหัวทุ่ง อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
๒๑ ธ.ค. ๙๖

เมืองไพศาลี เกิดทพุ ภิกขภัย
พระอานนทไ์ ปกราบทลู พระพุทธ
เจ้าๆ
ทรงเลง็ พระญาณรู้เหตุ
จึงสัง่ ให้พระอานนท์และสงฆท์ ้ังหลายไป
สวดพระปริตต
์ และให้พระอานนท์พรมน้ำมนต์ให้
นีเ่ ปน็ ปฐมเหตุเดิมที
ที่มีการสวดพระปริตต์
สำหรับสวัสดิมงคล
และขับไล่เสนียดจัญไร
ต่างๆ
(แสดงธรรมในวนั ที่ชาวบ้านเขานิมนต์ท่านอาจารยไ์ ปทำพิธีขับไล่

“ผีปอบ”
ทีห่ มบู่ ้านนั้น)


พ.ศ. ๒๔๙๑ สงครามก็ยังมีอยู่
นึกอยากออกไปเมืองนอก

ดูที่ประสูติตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
พ.ศ.
๒๔๙๒
พม่า

อินเดีย
ก็ยงั มีการรบกันอยู่
พ.ศ.
๒๔๙๓
ค่อยสงบ
จึงเดินทางออก
จากประเทศไทยไปพม่า
อินเดีย
ไป
“พุทธคยา”
ได้ไปนมัการพระ
ธาตุเดือน
๑๒
แรม

ค่ำ
ทอดกฐิน
ได้พระธาตุรวม
๑๘
องค์
ปีกลายนี้
(พ.ศ.
๒๔๙๕)
คิดแลว้ ไม่ไดน้ อนรวม ๓๙ วนั

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

178 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





ท่านเจ้าคุณศาสนดิลก วัดสุปัฏนาราม เทศน์เมื่อวันทำบุญ
กองข้าวทีว่ ัดป่าสทุ ธาวาสวา่ เมล็ดข้าวที่มีเปลือก ย่อมนำไปเพาะงอก
แต่ถ้าเอาเปลือกออกแล้วจะเพาะไม่ขึ้น ฉันใด คนเราซึ่งลอกเปลือก
คือกิเลส ออกหมดแล้ว กย็ อ่ มไมม่ ีการเกิดฉนั นั้น


“สมบูรณ์” หมายความว่า “มีพร้อม” “บริบูรณ์” แปลว่า
สำเร็จ “สมบูรณ์” ก็เช่นอย่างเรามีข้าวสาร มีหม้อ มีน้ำ มีไฟ

ถ้าเราหุงข้าวให้สุกเมื่อใด ก็เรียกว่า “บริบูรณ์” เมื่อนั้น ความ
สมบูรณ์น้ันจะต้องมีส่วนพอดีกันด้วย จึงจะเกิดเป็นผลบริบูรณ์
เช่นการหุงข้าว ถ้าน้ำมากไฟน้อย ข้าวก็ไม่สุกหรือแฉะไป ถ้าน้ำน้อย
ไฟมาก ข้าวก็ไหม้ การทำจิตใจให้เป็นบุญกุศลก็ต้องทำให้เสมอ
ภาคกัน อย่าให้เอนเอียงมากๆ น้อยๆ ร่างกายจิตใจจึงจะได้รับ
ความสุขสมบูรณ์บริบรู ณ์





แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

179อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วัดปา่ โนนนิเวศน์ อุดรธานี ๒๒ ธ.ค. ๙๖



ต่อไปนี้ให้พากันตั้งอกต้ังใจ จะพูดธรรมะย่อๆ ให้ฟังสักเล็ก
น้อย จะพูดถึงวิชา “เจาะ” วิชานี้เป็นของยาก ไม่เหมือนวิชาขุดและ
ไถ คนเราอยากได้ความสุขกันทุกคน แต่ไม่ค่อยจะรู้ว่าสิ่งใดเป็นความ
สุข ความสุขนี้ก็คือตัวบุญกุศลนี่เอง แต่บุญนี้ เราจะหาได้จาก
ที่ไหน? บุญนี้เปรียบเหมือนบ่อน้ำ และบ่อบุญหรือบ่อน้ำนี้ก็มีเป็น

๓ บ่อ บ่อชนิดที่ ๑ ลักษณะตื้นเป็นแอ่งพอน้ำขังได้ อย่างบึงหรือ
หนองเป็นต้น บ่อชนิดนี้อาศัยประโยชน์ไม่ได้เท่าใดนัก เพราะบางครั้ง
ววั ควายหรือสัตวต์ ่างๆ กพ็ ากนั มาอาบมากินทำให้น้ำน้ันไม่บริสุทธิ์ ถ้า
จะใช้ก็ต้องกรองเสียตั้งหลายๆ หนจึงจะใช้ได้ “บ่อนี้เปรียบกับการ
บำเพ็ญทาน” ซึ่งมีอานิสงส์เพียงตื้นๆ เหมือนกับน้ำที่ขังอยู่ใน
แอ่ง, บ่อที่ ๒ มีลกั ษณะลึกกวา่ บอ่ ชนิดแรก เป็นสระ (หรือสร้างน้ำ)
วัวควายลงไปอาบไปกินไม่ได้ จะลงได้ก็แต่สัตว์บางชนิดเช่นกบหรือ
เขียด แต่ถ้าเราจะนำมาใช้ก็ต้องกรองเสียก่อนเหมือนกัน ท่านเปรียบ
กับ “การรกั ษาศีล” ซึง่ มีอานิสงสด์ ีกวา่ ทาน บอ่ ที่ ๓ มีลักษณะลึก
เป็นบ่อบาดาล มีตาน้ำไหลซึมอยู่เสมอ จะใช้กินใช้อาบสักเท่าไรก็ไม่
หมดไม่สิ้นบ่อนี้ลึกมากจนแม้แต่ยงุ (คือกิเลส) ก็ลงไปไม่ได้ การขุดบ่อ
ชนิดนี้ต้องใช้เหล็กที่แข็งแรงมั่นคง และท่อก็ต้องใช้ท่อเหล็กเจาะลงไป

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

180 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





จึงจะถึงน้ำบาดาลนี้ ท่านเปรียบบ่อนี้เท่ากับ “การภาวนา” คือ
ต้องใช้สติปัญญา และความวิริยะขันติอย่างมาก จึงจะขุดน้ำบ่อนี้
สำเร็จ “สติ” ก็คือความแน่นความเหนียว “วิริยะ” ก็คือเหล็กแข็ง
เมื่อใช้ “ขันติ” เจาะลงไปถึงพื้นบาดาลแล้ว ผลที่ได้รับก็คือ

“บุญกุศล” ซึ่งจะไหลซึมซาบอาบมาไม่ขาดสาย เหมือนน้ำ
“อมฤต” ที่ยังความชมุ่ ชืน่ ใหเ้ กิดแกจ่ ิตใจอย่เู สมอทกุ กาลเวลา


“ลม” คือ “สนามบิน” หรือ “สนามบญุ ” เปน็ จดุ หมายที่
สำคัญของนักบิน ถ้าเราไม่มีสนามเราจะหาที่ลงไม่ได้ สติเป็นคนขับ
จิตเปน็ เครื่องบิน การภาวนาจะต้องมีลมเป็นหลกั สำคัญ





แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

181อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วดั ป่าโนนนิเวศน์, อดุ รธานี ๒๒ ธ.ค. ๙๖



อาตมาไม่ได้คิด ว่าจะตั้งตัวเป็นคนบ้านนั้นเมืองนี้ วัดนั้นวัดนี้
หรือเมืองนั้นเมืองนี้ ดังนั้นจึงเที่ยวสัญจรไปทุกแห่ง ไม่ได้เป็นคนของ
บ้านใดเมืองใดทั้งนั้นและก็ตั้งใจจะศึกษาหาความรู้จากคนทั้งโง่และ
ฉลาด และจะส่ังสอนคนทุกจำพวกตลอดจนคนมิจฉาทิฏฐิ เหมือนกับ
น้ำฝนซึ่งตกลงมาให้เป็นประโยชน์ ตลอดทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ ดิน
หญา้ คนใดทเี่ ขาโงก่ วา่ เราๆ กเ็ ปน็ ครเู ขา ถา้ เขาฉลาดกวา่ เราๆ กย็ อ่ ม
เป็นศิษย์เขา เราก็ไม่ได้คิดว่าเราจะโง่ไปทุกๆ อย่างและฉลาดไปทุกๆ
อย่าง บ่อนที่เราโง่ก็มี บ่อนที่เราฉลาดก็มี ฝรั่งเขาศึกษาวิชาจากพืช
จากสัตว์ เขาก็ยังสามารถนำความรู้มาใช้เป็นประโยชน์ได้เป็นอันมาก
พระพุทธเจ้าเอง บางอย่างพระองค์ก็ยังทรงศึกษาแม้จากสัตว์ซึ่งพูดไม่
ได้ (เล่าเรื่องคนตักน้ำตาลร้อนๆ ไปดื่ม แล้วสาดลงไปในเลน กลาย
เปน็ ก้อนน้ำตาล ก็เลยได้วิชาทำน้ำตาลก้อนจากความรู้อันนี้)


จิตต้องเปลี่ยนที่ เหมือนกับเราเปลี่ยนอิริยาบถ จึงจะอยู่ได้
ต้องย้ายไปไว้กับโน่นบ้างนี่บ้างตั้งจิตเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน

(คือวางจิตอย่างเดียวกันแตค่ วามรู้สึกไม่เหมือนกนั ) เหมือนกับเวลาเรา
เห็นแมว เราก็รู้สึกอย่างหนึ่ง เวลาเราเห็นเสือ เราก็รู้สึกไปอีกอย่าง

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

182 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





นึ่ง ลมดีเมื่อมีมาก ลมศัตรูที่เป็นข้าศึกก็ย่อมหนีไป เหมือนกับ
ตำรวจเข้าบ้าน ผู้ร้ายก็หนีไปหมด เมื่อเราขยายลมให้กว้าง ลมร้าย
มันกห็ นีออกไปในอากาศหมด ลมนี้ได้แกล่ มทีเ่ ป็นพวกเชื้อโรค มนั กจ็ ะ
กระจายไปทัว่ ๆ ถ้าใครรกั ษาตัวไมด่ ีกอ็ าจติดต่อได้


อำนาจจิต กับกระแสจิตต่อกันได้ มันแรงทะลุโลกเลย ยิ่งกว่า
ฝร่ังทำวิทยุด้วยกระแสเสียงคลื่นนั้นเสียอีก อำนาจจิตกับจิตปะทะกัน
เกิดแสง ธาตุกับธาตุปะทะกันเกิดแสง เป็นแสงกุศล อกุศล และ
กามาวจรกุศล “นักวิทยาศาสตร์” ทำธาตุดินให้เป็นน้ำ ทำธาตุน้ำให้
เป็นลม ฯลฯ และอะไรๆ อย่างนี้ได้ แต่พระพุทธเจ้าเก่งกว่านัก
วิทยาศาสตร์ เพราะทำคนโง่ให้เปน็ คนฉลาดได


(ท่านพระอาจารย์พักที่อุดร ๑ คืน รุ่งขึ้นได้เดินทางเข้า
กรุงเทพฯ แล้วย้อนกลับไปยังจังหวัดอุบลราชธานีอีก เพื่อประกอบ
งานพิธีฉลองพระบรมธาตุในวันขึ้นปีใหม่ของจังหวัดนั้นๆ โดยบัญชา
ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์และเมื่อเสร็จพิธีนั้นแล้วให้เดิน
ทางไปอบรมทางจังหวัดอื่นมีศรีสะเกษ สุรินทร์, นครราชสีมา,
สระบรุ ี และลพบรุ ี โดยลำดับ แล้วจึงกลบั เข้ากรุงเทพฯ)


แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

183อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

วัดสุปฏั นามราม, อุบลฯ ๒๙ ธ.ค. ๙๖



บึงหรือหนอง นั้นเป็นสว่ นกว้าง (เปรียบกับทาน) สัตวพ์ าหนะ
วัวควายและเป็ดไก่ ฯลฯ ก็ลงไปกินไปอาบ ทำความโสโครกสกปรก
ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องใช้ความพินิจพิจารณามาก จึงจะได้รบั สว่ นแห่ง
ความดีความบริสุทธิ์ ส่วนบ่อหรือสร้าง (เปรียบด้วยศีล) ยังดีกว่าบึง
หรือหนอง แตก่ ย็ งั สู้บ่อน้ำบาดาล (คือภาวนา) ไมไ่ ด้เพราะความดีจะ
ไหลเข้าไปในตัวของเราอยู่เสมอไม่ขาดสายเราจะใช้กินใช้อาบได้ทุกเวลา
ทั้งกลางวันและกลางคืน


วดั สปุ ฏั นาราม, อบุ ล ฯ ๓๐ ธ.ค. ๙๖



ลม กท็ ำงาน จิต กท็ ำงาน คือใหร้ อู้ ยใู่ นกองลมทุกส่วนของ
ร่างกาย


จิตที่อบรมดีแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งโภคทรัพย์ นำมาซึ่ง
กำลงั กาย และนำมาซึง่ กำลงั ใจ เหมือนกบั คนที่ร่างกายสบาย กย็ ่อม
ทำการงานหาทรัพย์ได้มาก ส่วนคนที่มีจิตใจไม่ผ่องใส ไม่มีสุข

ก็เปรียบเหมือน “คนเจ็บไข”้ ย่อมนำมาแตเ่ หตุแหง่ ความเสียทรพั ย


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

184 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





กาย เป็น “โลก” ใจ เป็น “ธรรม” เมื่อใจช่วยให้โลก
ภายในคือตัวเรานี้ เป็น “มนุษยโลก” ที่ดีแล้ว มันจะแผ่ความดีนี้
ออกไปถึงโลกภายนอกซึ่งเป็นส่วนใหญไ่ พศาลดว้ ย


ลม เป็นพี่ชายใหญ่ เพราะลมช่วยไฟ ไฟช่วยน้ำ น้ำช่วยดิน
มันสงเคราะหก์ ันเปน็ สามัคคีธาตดุ งั นี้


“วิตก” กอ็ ยใู่ นกองลม “วิจาร” กอ็ ยใู่ นกองลม, “ปีติ สุข”
กอ็ ยู่ในกองลมทั้งสิ้น จึงรวมลงเป็น “เอกคั คตา” คืออารมณ์เดียว


“วิตก” เท่ากับเรา จับจองที่ดิน “วิจาร” เท่ากับเรา

หว่านพืช เมือ่ เกิดดอกผลกเ็ ป็น “ปีติสขุ ”


“มโนสญั เจตนาหาร” คอื กำหนดจติ ไวใ้ นทชี่ อบ “ผสั สาหาร”
นั้น คือเราจะน่ังนอนยืนเดิน ได้ยินได้เห็น ดมกลิ่น รู้รส เจ็บป่วย
ร้อน หนาว มันก็ดีไปหมดสบายไปหมด


จิตทำงานมาก ก็ได้ผลมาก ทำงานน้อยก็ได้ผลน้อย ท่านจึง
คิดว่า สมาธิมหปผฺ โล โหติ มหานสิ โํ สฯ


แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

185อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

“อาตมากไ็ มช่ อบ “ดหู นา้ ” คนเสยี ดว้ ยชอบดแู ต่ “ใจ” คน”
(ตอบกับสภุ าพสตรีผู้หนึ่ง ที่เขาต่อว่าท่านอาจารย์ ในการทีไ่ ม่ใคร่จะมี
เวลาได้พบหน้ากบั ท่านเลย บนกุฎิสมเดจ็ ฯ ที่วดั สปุ ฏั น์) .


วัดสปุ ฏั นาราม, อุบลฯ ๑ ม.ค. ๙๗



วันนี้จะพดู ถึงเรือ่ ง “การสวดมนต”์ คำวา่ “สวด” นี้มาจาก
“สุต” แปลวา่ “ฟงั ” คำว่า “มันต” นี้แปลวา่ “บ่น” หรือ “นึก”
การสวดมนต์นี้ถ้าเราสวดเองมุ่งฟังเสียงตัวเองด้วย จึงจะได้ประโยชน์
เมื่อเวลาสวดเราต้องฟังเสียงของเราและตั้งใจสวด ถ้าเราสวดได้แต่ฟัง
ไม่เป็น คนอื่นเขาฟังเป็น เราก็ขาดทุน การสวดนั้นเราจะได้อานิสงส์
แรงขึ้นอีกในเมื่อเราตั้งใจฟัง อย่างนี้เรียกว่าเป็น “พหูสูต” คนที่นั่ง
สวดมนต์จนได้เป็นมหาเศรษฐีก็มี มีคนๆหนึ่งเชื่อถืออาจารย์มาก

ก็ตั้งใจสวดมนต์เป็นนิจเรื่อยไปจนคืนวันหนึ่งมีพวกโจรจะขึ้นปล้นบ้าน
โจรนั้นได้ยินแต่เสียงเจ้าของบ้านสวดมนต์อยู่เรื่อย จนตัวเองไม่ได้หลับ
นอน เลยเข้าไปปล้นไม่ได้ ในที่สุดพระราชาได้แต่งตั้งให้ชายคนนั้นได้
เป็นเศรษฐี นี่เรื่องหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่ง นาย,พราน พระพุทธเจ้าท่าน
เมตตา ท่านจะเอาหมามาให้เรา” นายพรานได้ยินว่า “หมา” ก็ดีใจ
มาก บอกภรรยาวา่ “เออ, เอาเข้ามาเถอะ” พระพทุ ธเจ้าจึงตรสั บอก

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

186 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





บั นายพรานว่า “หมาของเรานี้มันมีชื่อต่างกนั ต้องจำชื่อมนั ให้ได้เสีย
ก่อน จึงจะเรียกมันไว้ได้” แล้วก็บอกให้ท่องชื่อของหมาว่า ตัวที่หนึ่ง
มันชื่อ “พุทโธ” ตัวที่ ๒ ชื่อ “ธัมโม” ตัวที่ ๓ ชื่อ “สังโฆ”
นายพรานดีใจมากนึกว่า หมาของพระพทุ ธเจ้านี้ต้องเปน็ หมาวิเศษดีนกั
ก็พยายามท่องชื่อหมา ๓ ตัวนี้เรื่อยไป โรคก็กำเริบขึ้นๆ ตัวก็นึกแต่
ชื่อหมาเรื่อยไปจนใจขาด ในที่สุดก็ตาย ด้วยอานิสงส์ที่ท่องชื่อ

“พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ” นี้ ทำให้นายพรานพ้นจากอบายไปเกิดในที่
สุคติได้ช่ัวคราว นี่เรื่องมนต์เป็นอย่างนี้ บ่นไปๆ โดยไม่รู้ก็ยังดี

บน่ ด้วยปากด้วยใจแปลไปอยา่ งน้ันๆ กย็ อ่ มได้ประโยชน


“สวดมนต”์ ต่างกับ “ภาวนา” ภาวนาน้ันลึกเข้าไปอีก สวด
มนต์นั้นยากและยาว สว่ นภาวนานั้นหดเข้า คือเรือ่ งมากๆ เรามารวม
ให้สั้นเข้า เชน่ เรามากำหนดในพทุ ธคณุ ทั้งหมด ธรรมคุณทั้งหมด และ
สังฆคุณทั้งหมดว่า “พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ เอกีภูตมฺปนตฺถโต”
เป็นต้น “พุทธคุณ” นี้คือความดีอันหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความค้นคว้า
ของนกั ปราชญ์


ข้อ ๑ เกิดจากพระพุทธเจ้า หมายถึงคุณความดี ไม่ใช่รูป
กาย เป็นเรื่องจิตใจของพระองค์ ความดีชนิดหนึ่งซึ่งเกิดในร่างกาย

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

187อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

ของพระองค์ คือ “พุทธคุณ” โดยอรรถกถามี ๓ คือ พระปญั ญา
คุณ พระวิสทุ ธิคณุ และพระกรุณาธิคณุ “วิสุทธิคุณ” คือ ความ
สุจริต “กายสุจริต” กายของเราจะไม่แตะต้องกบั ความช่ัวทุจริต นั่งดี
นอนดี เดินดี อย่าให้อกุศลเกิดขึ้นแม้แต่เท่าเมล็ดงาวจีของเราก็สุจริต
เราจะพูดเรื่องโลกก็ดี ให้มันตกอยู่ในลักษณะสุจริต พูดเรื่องธรรมก็ดี
ให้ตกอยู่ในลักษณะสุจริต เช่นนี้วาจาของเราก็จะกลายเป็น

“วจีสุจริต” เป็นความดี “มโนสุจริต” ดวงจิตของเราก็เช่นเดียวกัน

อยา่ ให้ตกไปในโทษ กลา่ วงา่ ยๆ กค็ ือความเกลียด ความโกรธ ความ
พยาบาท เรามารักษาศีลอยู่นี้ ก็อย่าให้ดวงจิตมันเกิดความโกรธ
เกลียด เขาจะว่าดีก็สบาย ว่าไม่ดีก็สบาย ให้ใจมันเบิกบาน

เมือ่ ความดี ๓ ประการนี้เข้ามาสันนิบาตในร่างกายของเรา ก็เรียกวา่
เรามี “พทุ ธคุณ” ประจำตัว


ข้อ ๒ พระมหากรุณาธิคุณ กล่าวแต่ต้นคือ เมตตา,

ในขณะที่พวกเรามานั่งกันอยู่นี้ กรุณา มุทิตา อุเบกขา เรียกว่า
“มหากรุณา” กล่าวย่อๆ ก็ คือ ให้พวกเราพากันเจริญเมตตา
หมายความว่า เป็นผู้ปรารถนาความสุข ไม่กล่าวลักษณะ ถ้ากล่าวก็
คือรสชาติที่มีในตัวคือความเย็นใจ “เมตตา” เปรียบเหมือนฝนตกลง
มา มันก็เย็น ถ้าเอาไปสุมมันก็ร้อน ถ้าเราสุมด้วยกิเลส ใจของเราก็

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

188 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น





ป็นไฟ ถ้ากลา่ วถึงคณุ สมบตั ิ ๔ อย่าง “เมตฺตญจ สพพฺ โลกสมฺ ึฯ”
ในที่นี้ควรแผ่ในมนุษย์เสียก่อน โลกเบื้องต่ำ ก็คือเขาต่ำอายุกว่าเรา
เขาเรียกเราวา่ พี่ ป้า น้า อา ลงุ ฯลฯ ลกั ษณะเชน่ นี้ เขาเรียกวา่
ต่ำด้วยอายุ ต่ำด้วยทรัพย์คือเขาจนกว่า ต่ำด้วยวิชาคือเขาโง่กว่าและ
คนที่เป็นศัตรูของเรา เราต้องแผ่เมตตาแนะนำให้เขาทำความดี เพื่อ
ฉุดมนุษย์พวกนี้ให้ขึ้นมาเท่ากับเรา โลกเบื้องสูง ได้แก่ พี่ ป้า น้า
อา เจ้านาย ครู อาจารย์ เป็นต้น เราอย่าคิดริษยา ต้องมีมุทิตา
ยินดีด้วยในความสุขและผลในกิจการของท่าน เบื้องต่ำเราดึงขึ้น

เบื้องบนเราส่งเสริม ท่ามกลางเราไม่เบียดเบียน เอาเปรียบมัธยัสถ์
เป็นกลาง ต่ำเราก็ไม่ย่ำยี บนเราก็ไม่เหนี่ยวรั้งแล้วถ่ายเทไปถึงสัตว์
ดิรจั ฉาน ถึงเทวดาในโลกสวรรคด์ ้วยนี่แหละเป็น “เมตตามหานิยม”
ถ้าเราสัญจรไปในบ้านน้อยเมืองใหญ่ เขาก็จะรับรองเอื้อเฟื้อ ไม่มีใคร
เกลียด


ข้อ ๓ พระปัญญาคุณ (สุตมยปัญญา) ให้หมั่นฟังเทศน์,

ฟังพระ, และครูบาอาจารย์สง่ั สอน สมควรแก่การศึกษา ฟงั แล้วอย่า
พากันทิ้ง พิจารณาใคร่ครวญดูว่าถูกหรือผิด ดีหรือช่ัว แล้วต้องนำไป
ตรอง คิดพิจารณาดู บางคนท่านพูดดี แต่ตัวฟังผิด เห็นผิด เข้าใจ

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

189อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

ผิดมันก็ไม่ดี พูดถูกเข้าใจถูกนั่นแหละดี พูดถูกฟังผิด พูดผิดฟังถูกก็
ไม่ดี (เลา่ เรื่องเศรษฐีคนหนึง่ มีทรพั ยอ์ ยู่ ๒ ก้อน ทองแทง่ นั้นตั้งใจจะ
ให้กับลูกคนโต ได้เอาห่อผ้าขี้ริ้วขาดๆ วางไว้ทางขวา ส่วนทองหีบจะ
ให้แก่ลูกคนเล็ก ได้วางไว้ทางซ้าย พอถึงคราวปว่ ยหนัก ลูกชายคนโต
ซึ่งมีความโลภหวังจะได้ทรัพย์สมบัติของบิดา ได้ทราบข่าวก็รีบมาและ
ถามถึงสมบัติที่ตัวควรจะได้ บิดาก็ส่งทองแท่งซึ่งห่อผ้าขี้ริ้วไว้ทางขวา
ส่งให้ เมื่อบุตรชายคนโตเห็นเป็นห่อผ้าขี้ริ้ว ไม่ทันได้พิจารณาดูก็โกรธ
บิดามาก จึงจบั หอ่ ผ้าขี้ริ้วนั้นโยนทิ้งลงไปทีพ่ ื้นดินข้างลา่ ง แล้วตวั เองก็
ออกจากบ้านไป ส่วนบุตรคนเล็กพอได้ยินข่าวบิดาเจ็บหนักก็รีบมา
เพราะความเป็นห่วงและกตัญญูที่จะมาช่วยพยาบาลบิดาเมื่อมาถึงก็
ทำการปฏิบัติดูแลเป็นอย่างดี วันหนึ่งจะหาผ้าขี้ริ้วมาเช็ดอุจจาระ
ปัสสาวะให้บิดา เผอิญมองไปเห็นผ้าขี้ริ้วที่พี่ชายโยนทิ้งไว้ข้างล่าง

จึงหยิบเอาขึ้นมาก็พบทองแท่งที่ห่ออยู่ภายในนั้น ผลที่สุดบิดาก็เลยยก
ทรัพย์สมบัติให้บุตรชายคนเล็กทั้ง ๒ ก้อน นี่เป็นผลของกตัญญู
กตเวทีกบั ความไมม่ ีจิตโลภ และมีความพินิจพิจารณาด้วย สว่ นพีช่ าย
ซึ่งขาดกตัญญูกตเวทีต่อบิดาและมีนิสัยอันตรงกันข้ามกับน้องชายนั้น
ก็เลยไม่ได้รับทรัพย์สมบัติอันใดเลย ซ้ำยังต้องซัดเซพลัดพรากจาก
บ้านไปด้วย)


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

190 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

(๓๑ ธ.ค. ๙๙) ท่านอาจารย์ได้กล่าวส่ังสอนโดยเฉพาะว่า

ไม่เที่ยวเก็บอารมณ์ไม่ดีมาคิดนึก
เขาให้ก็เอาไม่ให้ก็เอา
มันเป็น
ลักษณะของ
“คนขโมย”
กินของเดนเขา
ขโมยของดีก็ยังไม่สู้เป็นไร

นี่ไปขโมยเอาของไม่ดีมา
ลักษณะอย่างนี้ใช้ไม่ได้
ไม่ใช่บัณฑิตเป็น
ลกั ษณะของการไมท่ ำจริง
เมื่อใจมนั จะแลบก็แลบเสียให้จริง
ไมแ่ ลบก็
อย่าแลบ
“อเสวนา จ พาลานํ” ไม่ควรให้จิตไปส้องเสพกับ
อารมณ์ชั่ว (เล่าเรื่องสามเณรไปคบกับคนพาล)
คิดถึงเวลาที่จะได้
ทำความดีนั้นไม่พอกับความช่ัว
เปรียบแล้ว

วันกับ

ช่ัวโมง

(คือทำความชั่ว

วัน
ทำความดี

ช่ัวโมง)
ควรคิดให้ดี

น่าเสียดาย


แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน



192 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




วัดหลวงสมุ งั คลาราม, ศรสี ะเกษ ๕ ม.ค. ๙๗

จุดประสงค์ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนธรรมะของพระองค์

ก็เพื่อให้เราปฏิบัติตัวเอง คำว่า “ธรรมๆ” นี้เป็นชื่อของหัวใจมนุษย์
ชือ่ ของสัตว์ อย่าเข้าใจอื่นนอกจากตัวของเรา ลักษณะใดเปน็ คณุ เราก็
ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งลักษณะใดที่เป็นโทษเราก็ยังไม่แจ่มแจ้ง เราศึกษา
ธรรมะแต่ไม่ได้นำธรรมะเข้าตัวก็ไม่ได้รับผลเต็มส่วน ในตัวของเรามา
นั่งที่นี่มีตัวธรรมะอยู่ถึง ๓ ตัว ตัวที่ ๑ ดวงจิตของเรา ตัวที่ ๒
ตรองธรรมะ (คิดที่จะพูดแต่ไม่ได้พูด) ตัวที่ ๓ แต่งคำพูดให้เกิด
เสียงออกมาได้ยินกัน สิ่งเหล่านี้แหละเรียกว่า “ปธานธรรม”

ถ้ากล่าวตามบัญญัติกม็ ี ๓ คือ ๑. ธาตุ ๒. ขันธ์ ๓. อายตนะ
เราจะปฏิบัติดีหรือชั่วก็ตามธรรมะ ๓ อย่างนี้ย่อมติดตัวเราอยู่ทุกคน
ร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราปล่อยไว้ตามธรรมชาติของมัน
มันก็ให้คุณค่าแก่เราตามธรรมดา ตามธาตุ ตามขันธ์ ตามอายตนะ
ถ้าเรารู้แยกธาตุว่าส่วนใดเป็น เลือด เนื้อ ฯลฯ เราก็จะได้คุณ
ประโยชน์มากขึ้นไปอีก เหมือนส้มโอถ้าเราคัดเลือกว่าอย่างไหนควรทำ
พันธ์ุ ก็ดัดแปลงใส่ปุ๋ยเข้า มันก็จะงามขึ้น ใบงาม ต้นสวย ผลใหญ่
รสดี ฉันใด มนุษย์มีธาตุ ขันธ์ อายตนะ ก็ตาม ถ้าเราไม่ดัดแปลง

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

193อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

มันก็สุขทุกข์ตามธรรมดา คุณภาพของเราที่จะสูงมีอยู่ แต่ขาดความรู้
ที่จะดัดแปลง พระองค์จึงทรงแนะนำสั่งสอน เมื่อมหาชนสนใจนำไป
ปฏิบัติ ก็จะได้มหาผลกล่าวแค่กายแค่ใจ กายของเราก็เป็นตัว
“ธรรม” ตัวหนึ่ง ใจ ก็เป็นตัว “ธรรม” ตัวหนึ่ง เรามาศึกษาว่า
ธรรมะ ๒ ตัวนี้แหละ มาคัดเลือกเรียกกายว่า “รูปธาต”ุ เรียกใจว่า
“มโนธาตุ” (สงั ขตธาต)ุ ธาตเุ ศร้าหมองขุน่ มัวอย่างหนึ่ง ธาตบุ ริสุทธิ์
อยา่ งหนึง่ ในกายกม็ ีอยู่ ๒ อยา่ ง ใจก็มี ๒ อยา่ ง คือมี กศุ ลธาตุ
อกุศลธาตุ บางคราวใจของเราสบายก็เป็นกุศลธรรมไม่สบายก็เป็น
อกุศลธรรม ธาตุดีของร่างกาย ๑ ธาตุชั่ว ๑ ธาตุดีของใจ ๑

ธาตุชว่ั ๑ รวมมี ๔ อยา่ งด้วยกัน ฉะน้ันเราจึงมีทั้ง ๒ อยา่ งเพราะ
ธาตุของเรามี ๒ อย่างในรูปธาตุก็ดี เมื่อช่ัวก็เป็นเปรต อสุรกาย

ถ้าดีก็เป็นเทพยดามาสิงเรา แต่เราไม่รู้ว่าตัวเรามี “ผี” สิงอยู่ เหตุนี้
เราต้องเลือกธาตุใดที่จะเกิดคุณงามความดี เราต้องสร้างสมให้มาก
ส่วนใจ ความทุกข์อันใดที่เป็นไปด้วยความเศร้าหมอง เราก็ต้อง

เอาออก ถ้าธาตุดีมาเกิดในกายเราในจิตเรา ก็เท่ากับเทพยดามาสิง
ถ้าธาตุชั่วมาเกิดก็เท่ากับเปรตสิง ถ้าเราอยู่กับเทวดาเราก็สบาย

ถ้าเราอยู่กับเปรตเราก็ทุกข์ ธาตุดีที่เกิดทางกาย คือการกระทำของ
เราทั้งหมด กินดีธาตขุ องเรากด็ ี พูดดีธาตขุ องเราก็ดี คิดดีธาตขุ องเรา
ก็ดี ฯลฯ ธาตุเหมือนพื้นดิน ความดีเหมือนพืชพันธ์ุ ถ้าเราห่อปกปิด

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

194 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




ไว้ไม่เปิดรับ ความดีก็จะไม่เข้ามาเหมือนปิดปากตุ่ม (คือร่างกายของ
เรา) เราก็จะแห้งแล้ง, น้ำฝน เปรียบเหมือนความดี ร่างกายเปรียบ
เหมือนตุ่มท่านให้เปิดรับ คือขาของเรา ๒ ขา ๒ แขน ปาก ๑

หู ๒ ตา ๒ เหล่านี้ไม่ให้ปิดปากตุ่มไว้ คนเรานั้นโดยมากถ้าจะไป
หาความดี ก็ดูขาแข้งมันอ่อนเพลียเหมือนจะล้มจะโค่น ถ้าพอจะไป
ทำความชั่ว ก็ดูมันช่างคล่องแคล่วแข็งแรงเหลือเกิน นี่มันเป็นการมัด
ขาตัวเอง ขาก็เปล่าจากความดี มือก็เปล่าจากความดี เราก็ปล่อยให้
ตมุ่ ของเราแตกเสียเปล่า เราจะปิดมืดอยู่อยา่ งน้ันหรือ? ความดีส่วนใด
ทีจ่ ะไหลเข้ามาในทางตา หู จมูก ปาก ฯลฯ ของเราเราต้องสอดสา่ ย
สนใจดูแล ถ้าเราไม่เปิดตุ่มไว้ เราก็จะไม่มีน้ำใช้ อยากกินก็ไม่ได้กิน
อยากอาบกไ็ มไ่ ด้อาบ อดอยากตลอดปี เหตนุ ี้ต้องพินิจพิจารณา ส่วน
ใดควรปิดส่วนใดควรเปิด ถ้าธาตุของเราไม่บริสุทธิ์ จิตของเราก็เศร้า
หมอง จิตของเราก็เปรียบเหมือนพื้นแผ่นดิน ถ้าคนไม่มีปัญญาก็
เหยียบย่ำไป ถ้ามีปัญญาก็ทำสวนบ้าง ทำนาบ้าง ฝร่ังเขาเอาไปบด
ทำกระเบื้องบ้าง ทำซิเมนตบ์ ้างขายได้ราคาแพงถงุ ละหลายสิบบาท


“สุตมยปัญญา” ก็เป็นวิชา ๑ “จินตามยปัญญา” ก็เป็น
วิชา ๑ บางทีพดู ผิดความจริงแต่ถูกใจเรา เหตุนั้นจึงต้องไตร่ตรองให้
รอบคอบ อย่าไปมองตามเขาว่า หูซ้ายฟังที่ถูก อีกหูหนึ่งตรองที่ผิด
เราก็จะเกิดปัญญา


แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

195อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

“ภาวนามยปัญญา” ไม่ต้องฟังต้องคิด อาศัยความสงบระงับ
ของจิตอย่างเดียวก็จะเกิดปัญญา อาสวักขยญาณ จุตูปปาตญาณ
ฯลฯ เป็นต้น


ร่างกาย ของเรา เหมือนกับมีด ถ้าเรามีมีดแล้วไม่ลับ มันก็
เกิดสนิมจับเปรอะไป เหมือนเรามีธาตุ ขันธ์ อายตนะ แล้วไม่ฝึกฝน
ขดั เกลา กิเลสมนั จับเขรอะขระถ้าเป็นปืน ยิงแมลงวันก็ไม่ตาย


มี “ทาน, ศีล” เท่ากับได้ อาบน้ำ คนที่อาบน้ำย่อมดีกว่าคน
ทีไ่ ม่อาบ เพราะตัวของคนทีไ่ ม่อาบน้ำย่อมสกปรก เข้าใกล้ใครเขาก็ไม่
ได้ “ภาวนา” เทา่ กับเราได้ กินน้ำ มนั ชื่นใจ แจ่มใจ เบิกบาน


ลักษณะ ของ “คนทำงาน” ได้แก่คนเช่น มหาตมคานธี

มีเวลานอนน้อยที่สดุ ทำงานด้วยสมาธิและปัญญา “งานทำคน” คือ
นอนแล้วก็ยังคิดเรื่องงานขาดสมาธิ ปัญญา “งานทำงาน” ก็คือวุ่น
ไปหมด ไม่ได้เรือ่ งได้ราว


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

196 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




“ทาน” เปรียบเหมือนปลกู ต้นไม้แล้วใสป่ ุ๋ย “ศีล” เท่ากบั เกบ็
บุ้งเก็บหนอนทีม่ ากดั กินต้นไม้ “ภาวนา” หรือ “ฟังเทศน”์ เทา่ กบั
ตักน้ำมารดต้นไม้


พระ ท่านเป็น “ผู้แนะนำวิธีรักษาและเก็บศีล” ไม่ใช่ท่าน
เป็น “ผู้ให้” เพราะศีลมีอยู่ในตัวเราแล้ว คือ ท่านสอนวิธีปฏิบัติให้
เพื่อแก้ว ๓ ดวงใสขึ้น “ศีล” คือเครื่องห่อแก้วให้สะอาดบริสุทธิ์
“ภาวนา” คือ ตัว “พุทธะ” อยู่ลึกมาก ศีลเป็นเปลือกที่ ๒ ทาน
เป็นเปลือกที่ ๓ ใครไม่มีจอบเสียมที่คมกล้า ก็ไม่สามารถเจาะขุดลง
ไปถึงได้ เราต้องขุดชั้นที่ ๑ ได้แก่ “ทาน” คือพื้นดินขุดลงไปถึงได้
เราต้องขุดชั้นที่ ๑ ได้แก่ “ทาน” คือ พื้นดินส่วนหน้าซึ่งมีต้นหญ้า
และใบไม้ปิดอยู่เสียกอ่ น ชั้นที่ ๒ ได้แก่ “ศีล” คือดินแข็ง แดง ดำ
ชั้นที่ ๓ อาจพบหินหรือรากไม้ นี่คือการขุด “รัตนะ” คือ “แก้ว
สารพัดนึก”


“ทาน” การกุศล เป็นสิ่งทีอ่ ยู่รอบๆ นอกตวั ของเรา (เปรียบ
เหมือนเปลือกนอกหรือพื้นหญ้า) “ศีล” อยู่ในกาย (คือดินแข็ง)
“ภาวนา” อยู่ในใจ (คือเพชรหรือหิน) หญ้าหรือต้นไม้ ที่มีดอกผล

กด็ ี ย่อมมีทั้งคณุ และโทษ วตั ถุก็มีดีบ้างเลวบ้าง เชน่ เงินปลอมก็มีทอง

แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

197อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

ปลอมก็มี จริงก็มี ไม่จริงก็มี คนก็เหมือนกัน ของที่มีอยู่บนพื้นหน้า
ของดินมันก็มีอยู่อย่างนี้ ของกินเราก็ต้องเลือก คนก็ต้องเลือกเช่น
เดียวกัน ถ้าเรารับเอาคนช่ัวไว้ใกล้ตัวเรา ก็เท่ากับก่อไฟใกล้บ้านเรา
ถ้าเราให้อาหารคนชั่วๆ ก็เข้ามา ถ้าเราให้กับคนดีๆ ก็เข้ามา ฉะนั้น
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ทำความดี “ทาน” ต้องเลือกบุคคลทีค่ วรให้
และทำสิ่งที่ควรทำ (เช่นพระอยากฉันนมหรือโอวัลตินในเวลาวิกาลเช่น
นี้ เราถวายไปกย็ อ่ มเกิดโทษทั้งตัวเราและผู้รบั ด้วย)


“คลื่น” เท่ากับตัว “บ้านเมือง” เหมือนกับ “เรือ” ถ้าเรา
(ราษฎร) ทำไม่ดี เรือก็ต้องล่ม “คนนั่งเรือ” คือตัวเราเอง (ท่าน
อาจารย์ไปแสดงธรรมอบรมข้าราชการ ที่หอประชุมจังหวัดศรีสะเกษ
๖ พ.ค. ๙๗)


การกำหนดรู้ลม ด้วยอำนาจของสติ เรียกวา่ “การภาวนา”


โบราณทา่ นวา่ “คนมกั ง่ายจะ คนมกั ลำบากจะได้ดี


“ความสงบ” เปรียบเหมือน “งาน” เท่ากับคนถางทาง

(ถ้าเราไมท่ ำงานด้วยลมจิตของเรากจ็ ะไมถ่ ึงความสงบ)


พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

198 อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น




วัดหลวงสุมังคลาราม ศรีสะเกษ ๖ ม.ค. ๙๗



ต่อไปนี้เป็นโอกาสที่จะต้องพากันตั้งอกตั้งใจฟังธรรมะ ธรรมะที่
จะกล่าวแสดงในวันนี้ ก็คือจะพูดถึงเรื่อง “จิต” “จิต” เป็นส่วน
สำคัญของร่างกายและสำคัญของโลกด้วย คนสำคัญมักจะเป็นคน
ที่มีใจใหญ่ ตาใหญ่ หูใหญ่ ฯลฯ และมีความรู้รอบ (เช่นนายก
รัฐมนตรีท่านจะต้องมีหูกว้าง ตากว้าง และใจกว้าง) ถ้าดวงจิตของ
เราคับแคบ ใจดำมืด ไม่มีวิชาความรู้ ก็ต้องตกไปในทางที่ช่ัว ถ้าใจ
ของใครชัว่ มืด ดำ ท่านกเ็ อาไปเกบ็ ไว้ในที่มืด ไมใ่ ห้อยู่ในที่แจ้ง เช่น
เบียดเบียนกัน ลักขโมยกัน ฆ่าฟันกัน ฯลฯ ลักษณะคนที่จะไป
ทำความช่วั น้ันยอ่ มไมก่ ล้าออกไปกลางแจ้ง ไม่กล้าเดินให้คนเหน็ เวลา
ไปกต็ ้องไปเวลามืด คลานไปบ้าง หมอบไปบ้าง เหมือนสัตว์เวลาจะไป
เอาของเขาก็ต้องไปในเวลามืด จะเอามากินมาเก็บก็ลำบาก เพราะ
กลัวเขาจับ เมื่อเขาจับได้ เขาก็จะต้องจูงไปในเขตที่มืด อยากเห็นลูก
เห็นหลานเห็นบ้านช่องของตัวก็ไม่ได้เห็น ต้องไปอยู่ในที่คุมขึงคือคุก
หรือตะราง ถ้าใจเสียอย่างเดียว ร่างกายก็ต้องไปอยู่ในที่มืด ถ้าเรา
กำจัดความมืดในดวงจิตออกเสีย เราก็จะได้ไปอยู่ในที่สว่างแล้วเราก็
ปลอดภัย เช่นเรานั่งในที่สว่าง โจรก็ไม่กล้ามาทำร้าย ไม่กล้ามาลัก
ขโมย เมื่อเรามีแสงสว่าง ใจของเราก็สว่าง ตาก็สว่าง ใจก็ใหญ


แ นวทางปฏิบัติ วิปัสสนา - กัมมัฏฐาน

199อานาปานานุสรณ์ ตอนต้น

เราจะอยู่บ้านหรือจะอย่วู ัดกเ็ บิกบานจิต วาจา ถ้าเราพูดด้วยใจเจตนา
บริสุทธิ์ก็ย่อมจะติดใจคน มีคนเชื่อถือ ปากของเราก็จะยาวไปจาก
ศรษี ะเกษถงึ กรงุ เทพฯ ฉะนน้ั จงึ วา่ ดวงจติ เปน็ สงิ่ สำคญั มาก ถา้ ใจเสีย
ก็เท่ากับพ่อแม่ถูกจับไป ลูกก็เท่ากับตกนรกทั้งเป็น ถ้าใจกับกาย
แตกแยกกันไป เราก็จะลำลาก และไม่ชั่วแต่ตัวเราเองมันแผ่ไปถึงลูก
หลานด้วยเราจะต้องแบ่งบ้าน แบ่งเมือง แบ่งทรัพย์สมบัติให้เขาด้วย
เกิดความไม่สงบท่ัวกันไปหมด ถ้าใจของเราดีแล้ว พูดอะไรมันก็ดีไป
ท้ังน้ัน ถ้าใจของเราไมด่ ี ถึงเขาพดู ดีมันก็ไมด่ ีไปได้





พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร


Click to View FlipBook Version