The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ก้าวไปในบุญ ป.อ. ปยุตโต

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-18 19:13:44

ก้าวไปในบุญ ป.อ. ปยุตโต

ก้าวไปในบุญ ป.อ. ปยุตโต

Keywords: ก้าวไปในบุญ,ป.อ. ปยุตโต

กา วไปในบญุ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต)

สารบญั

ไหวพระประธาน .................................................... ๑

กา วไปในบุญ .................................................๓

แกค วามเขา ใจ ความหมายของบญุ ทแี่ คบและเพ้ยี นไป ................๓
ใหท านอยา งไร จึงจะไดท ําบญุ อยางสมบูรณ ........................... ๖
ไปทําบญุ อยางเดยี ว แตไดกลับมาสามอยา ง ...........................๘
ถา จะทาํ บุญ กค็ วรทาํ ใหค รบทกุ ความหมาย ...........................๙
หนทางที่จะทําบุญ มอี ยูมากมาย.................................... ๑๒
ทําบญุ ตอ งใหส มบรู ณข ้ึนไปถงึ ปญ ญา .............................. ๑๕
บญุ ท่แี ทแ ผค วามสุขออกไป

ใหค วามงอกงามทั้งแกช วี ติ ของเราและทวั่ สังคม................... ๑๖
โยมทาํ บุญแลว พระก็อนุโมทนา

แตถ า โยมทาํ บญุ เพราะพระชวน อาจจะเสยี่ งตอ อเนสนา.............. ๑๙
ทําบุญ ทําทไ่ี หนกไ็ ด ไมวาทาํ อะไร ถา ทําเปน กไ็ ดบุญ ...............๒๒
ศกึ ษาบญุ ไป ใหป ญุ ญะกับปญ ญามาบรรจบกนั

กจ็ ะมผี ลสมบูรณ กลายเปนบุญอยา งสงู สุด ...................... ๒๕

ไหวพระประธาน∗

ญาติโยมจัดงานทําบุญบาํ เพ็ญกุศลกันวันนี้ โดยปรารภเร่ือง
อาตมภาพ แตกไ็ ดข อใหข ยายความหมายเปน งานบุญสาํ หรับอุโบสถ
และวดั น้ีทงั้ หมด ในโอกาสทว่ี ัดญาณเวศกวัน ต้งั มาถงึ ปท จี่ ะครบ ๕
นบั แตท่กี ระทรวงศึกษาธิการไดป ระกาศตง้ั เปนวดั ในพระพทุ ธศาสนา
เมอ่ื วนั ท่ี ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ และบัดนี้ไดมเี สนาสนะสําคัญ
เกิดข้ึน ซึ่งเพง่ิ สรางเสรจ็ คอื อโุ บสถหลงั ทโี่ ยมจดั พิธที าํ บญุ น้ี อนั เปน
ผลงานรวมกนั ของญาตโิ ยม พรอ มทง้ั พระประธาน ที่เพ่งิ หลอเสร็จ
เรยี บรอ ย แลวนาํ มาประดิษฐานในวันท่ี ๗ มกราคม และปดทองเสรจ็
เมอื่ วนั ท่ี ๑๒ มกราคม ที่ผานมานี้

พระประธานนีก้ ็สรา งเกอื บไมทัน เพราะท่ีวัดน้อี อกจะจจู มี้ าก
ไปดแู ละแกไขเทา ไรกไ็ มพ อใจสกั ที ชา งปนใหมใ หจ นในทสี่ ดุ ดู
เหมือนปน รวมทั้งหมด ๕ องค จงึ ไดอ งคน ี้ ซง่ึ ไดทราบวาโยมพอใจ
ท่วั กัน แตกอนน้ันกย็ ังมขี อ แยงกนั อยูอกี นิดหน่งึ คอื ตอนทห่ี ลอเสรจ็
แลวนาํ มาประดษิ ฐาน ยังไมไ ดปดทอง กท็ าสีขาวมา โยมก็ชอบมากวา
งามดเี หลือเกนิ แตพอปด ทองไปไดบ าง โยมก็เร่มิ ผิดหวังอีก บอกวา
ตอนเปนหลวงพอขาวงามกวามาก เปน ปญหาเนอื่ งจากแสงสะทอ น
เปนเงาแวววาว



สัมโมทนยี กถา ในโอกาสทญ่ี าตโิ ยมจดั งานทาํ บุญ ในมงคลพรรษ ที่วดั ญาณเวศกวัน ตั้งมาจะ

ครบ ๕ ป มอี ุโบสถพรอ มพระประธาน และพระธรรมปฎ กมีอายุครบ ๕ รอบ ณ วนั อาทิตย ท่ี
๑๗ มกราคม ๒๕๔๒ ที่วัดญาณเวศกวนั พทุ ธมณฑล จ.นครปฐม

๒ กาวไปในบุญ

อยางไรก็ดี ตอนนี้สถาปนกิ บอกวาจะทดลองนําสปอตไลท

สามดวงหรือหาดวงมาฉายสองลองดวู า จะชวยใหแกไ ขปญหาเรอื่ งเงา

สะทอนออกไปไดแ คไหนเพียงใด และจะตองสรางฐานเสริมถาวรอีก

เพราะแทน ชกุ ชีขา งลางใหญ ตอนนีท้ ําฐานชว่ั คราวซอ นไว จะตอ งทาํ

ใหม ถา แกปญ หาโดยจดั สปอตไลทสองไดทด่ี ีแลว และออกแบบฐาน

ใหมนโ้ี ดยฝงสปอตไลทเขา ไปในฐานนน้ั กย็ งั เปน ความหวังวา จะ

แกปญหาเรอ่ื งเงาสะทอนนไี้ ด และทาํ ใหด เู หมาะสมดยี ง่ิ ข้นึ

พระประธานน้ัน ขอ สาํ คัญอยูที่เปน เครอื่ งส่อื พุทธคณุ คือ

พระปญญาคุณ พระวิสุทธคิ ุณ และทีเ่ รายํา้ กนั มากกค็ ือ พระมหากรณุ า

คณุ

เวลามาท่ีพระประธาน ไดก ราบไหวนมสั การ กท็ าํ ใหจิตใจ

ของเราเบกิ บานผอ งใส มีความสขุ เราอาจมีจิตใจวา วนุ เดอื ดรอนขนุ มวั

มาจากบาน หรือจากท่ีอน่ื ๆ ภายนอก พอเขามาท่ีวดั แลว เห็นพระ

ประธาน จิตใจของเราสบาย นั่นกค็ ือพทุ ธคณุ เกดิ ผลแกจ ติ ใจของเรา

คือเมตตาเกดิ มผี ล ทําใหจิตใจของเราสบาย มีความสขุ มปี ต ิ คอื ความ

อิ่มใจ และมคี วามสงบ

พูดโดยทวั่ ไป พระพุทธรูปนน้ั เราสรา งใหมีลกั ษณะสงบ ยิ้ม

ดว ยเมตตา และมีลักษณะหลดุ พน เปน อสิ ระ ไมย ดึ ตดิ ในโลก คือ

ทานพน อยเู หนอื โลก แตเปน ทพ่ี งึ่ แกเรา ถา พระพุทธรปู ส่อื พทุ ธคุณ

อยา งน้ไี ด ก็จะเกดิ ผลตอจิตใจของผนู มสั การ ทาํ ใหเ กดิ บุญกุศล อยา ง

นอ ยก็เกิดปสาทะ ซง่ึ เปนบญุ ขอ แรกทจ่ี ะมขี ึน้ ในจติ ใจของ

พทุ ธศาสนกิ ชน ในเวลาสัมผัสกบั พระศาสนา เริ่มแตไ ดพ บเหน็

พระสงฆ ตามหลกั ทว่ี า สมณานฺจ ทสสฺ นํ การเหน็ สมณะเปน อดุ ม

มงคล เมอ่ื เหน็ สมณะ กท็ าํ ใหจ ิตใจผองใส นี้เปนจดุ หนึง่ ท่ีบุญกุศลเร่ิม

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓

ต้ังตน ได เพราะถา จิตใจไมผ อ งใส คอื ขุนมัวเศรา หมอง บญุ ก็เกิดยาก
และตัวความผอ งใสของจิตใจก็เปนบญุ อยใู นตัวแลว

กา วไปในบญุ

แกค วามเขา ใจ

ความหมายของบญุ ท่แี คบและเพย้ี นไป

บญุ กุศลน้ี มีทางทําใหเ กิดขนึ้ ไดม ากมาย แตข อสาํ คัญอยู

ท่จี ติ ใจของโยมเอง แตเมื่อเราตองการใหจ ิตใจผองใส อะไรจะมา

ชวยทําใหผองใสได ตอนน้ีเราอาศัยพระประธาน แตพ ระพทุ ธเจา

สอนไววา มวี ิธปี ฏิบตั หิ ลายอยางท่จี ะทําใหเกิดบุญกุศล วันนจี้ งึ ขอ

พดู เร่อื งบุญนิดๆหนอยๆ เพราะคําวา บุญเปนคําสาํ คัญใน

พระพทุ ธศาสนา และเวลานค้ี วามเขาใจเกยี่ วกบั คําวา “บญุ ” ก็

แคบมาก หรือบางทกี ถ็ ึงกับเพ้ยี นไป

แงท ี่ ๑ ยกตวั อยาง ทวี่ า บุญมีความหมายแคบลงหรือ

เพ้ียนไปนี่ เชน เม่ือเราพดู วา ไปทําบญุ ทําทาน โยมก็นึกวา ทําบุญ

คอื ถวายขาวของแกพระสงฆ บุญก็เลยมกั จะจาํ กัดอยูแคท าน คือ

การให แลวกต็ อ งถวายแกพระเทานั้นจงึ เรียกวา บญุ ถาไปใหแก

ชาวบาน เชน ใหแ กค นยากจน คนตกทกุ ขยากไร เราเรยี กวาใหท าน

ภาษาไทยตอนหลังนี้จึงเหมอื นกบั แยกกนั ระหวา งทําบุญกับให

ทาน ทําบญุ คือถวายแกพระ ใหท าน คือใหแ กคฤหสั ถช าวบาน

โดยเฉพาะคนตกทกุ ขไ ดยาก

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๕

เม่อื เพ้ียนไปอยา งนนี้ านๆ คงตองมาทบทวนกันดู เพราะ
ความหมายท่ีเพย้ี นไปน้กี ลายเปนความหมายในภาษาไทยที่บางที
ยอมรบั กนั ไปจนคิดวาถกู ตองดว ยซํ้า แตพอตรวจสอบดวยหลกั
พระศาสนาแลวก็ไมจริง เพราะวา ทานน้ันเปน คํากลางๆ

การถวายของแกพระ ท่เี ราเรียกวา ทําบุญน้ัน เมอื่ วา เปน
ภาษาบาลี จะเหน็ ชดั วา ทานเรียกวาทานทัง้ นั้น แมแตทําบุญอยา ง
ใหญท ่มี ีการถวายของแกพระมากๆ เชนถวายแกส งฆ ก็เรยี กวา
สังฆทาน ทําบุญทอดกฐิน ก็เรียกวากฐินทาน ทาํ บุญทอดผา ปาก็
เปน บงั สกุ ุลจวี รทาน ไมว าถวายอะไรก็เปนทานทัง้ นั้น ถวาย
สิ่งกอสรา งในวัด จนถวายทั้งวัด ก็เรียกเสนาสนทาน หรือวหิ าร
ทาน ทานทั้งนน้ั

ในแงน ี้ จะตองจาํ ไววา ทานนเี้ ปนเพียงสว นหน่ึงของการ
ทําบญุ เม่อื เราพดู วาทําบุญ คอื ถวายของพระ บญุ ก็เลยแคบลง
มาเหลอื แคทานอยางเดียว ลืมนกึ ไปวา ยงั มีวิธที าํ บุญอน่ื ๆ อีก
หลายอยา ง นีก้ เ็ ปนแงห นึ่งละ

แงท ี่ ๒ ก็คือความแคบในแงท ี่เมอ่ื คิดวา ถา ใหแกคนตก
ทุกขไ ดยากหรอื แกช าวบานก็เปนทานแลว ถาเขาใจเลยไปวา ไม
เปนบุญ กจ็ ะยงุ กันใหญ ทีจ่ รงิ ไมวา ใหแกใ ครกเ็ ปนบุญทงั้ น้ัน จะ
ตา งกันก็เพยี งวาบุญมากบุญนอยเทา น้ันเอง

การวัดวาบุญมากบญุ นอ ย เชนในเรื่องทานนี้ ทา นมเี กณฑ
หรอื มีหลกั สําหรับวัดอยแู ลววา

๑. ตัวผใู ห คือทายกทายิกา มีเจตนาอยางไร
๒. ผูรับ คอื ปฏิคาหก มคี ุณความดีแคไหน

๖ กาวไปในบญุ

๓. วัตถุ หรือของที่ให คือไทยธรรม๑ บริสทุ ธ์ิ สมควร เปน
ประโยชนเพียงใด

ถาปฏิคาหก คือผรู ับ เปน ผมู ีศลี มคี ุณธรรมความดี ก็เปน
บญุ มากข้นึ ถาปฏคิ าหกเปน คนไมมศี ลี เชนเปนโจรผูรา ย เราก็ได
บุญนอ ย เพราะดีไมดีใหไปแลว เขากลบั อาศยั ผลจากของท่ีเราให
เชนไดอาหารไปกนิ แลว รางกายแขง็ แรง กย็ งิ่ ไปทาํ การรายไดมาก
ข้ึน กลับเกิดโทษ

วตั ถสุ ิ่งของท่ีถวาย ถา บริสุทธิ์ ไดม าโดยสุจรติ เปนของที่
เปน ประโยชน มีคณุ คา แกผูท ร่ี ับไป สมควรหรือเหมาะสมแกผ ูร ับ
น้นั เชน ถวายจีวรแกพ ระสงฆ แตใหเส้อื แกคฤหัสถ เปนตน ก็เปน
บญุ มาก

สว นตัวผใู หก ็ตอ งมเี จตนาทเ่ี ปนบุญเปนกศุ ล ตั้งใจดี ยง่ิ ถา
เจตนาน้ันประกอบดวยปญญา กม็ คี ุณสมบตั ดิ ปี ระกอบมากขึ้น ก็
ย่งิ ไดบญุ มาก

เปนอันวา การใหเ ปนทานทง้ั ส้ิน ไมวาจะถวายแกพระหรอื
จะใหแ กคฤหัสถชาวบาน จงึ ตองมาทบทวนความหมายกนั ใหม วา

๑. ไดบ ุญ ไมใ ชเ ฉพาะถวายแกพ ระ
๒. บญุ ไมใชแคทาน

๑ ไทยธรรม มาจากภาษาบาลีวา เทยฺยธมฺม แปลวา ส่ิงทีจ่ ะพึงให หรือของที่ควรให

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๗

ใหท านอยา งไร

จึงจะไดท าํ บญุ อยา งสมบูรณ

ทีนีก้ ม็ าดวู าบุญนัน้ แคไ หน การทําบุญ ทา นเรยี กวา บญุ
กิริยา หรือเรียกยาววา บุญกิริยาวตั ถุ คือเรอ่ื งของการทําบญุ ญาติ
โยมท่ีคนุ วัดจะนกึ ออกวา บุญกริ ิยาวตั ถุมี ๓ อยา ง คอื

๑. ทาน การให เผื่อแผ แบง ปน
๒. ศลี การประพฤติสจุ รติ มีความสมั พันธท ี่ดี ไม

เบยี ดเบียนกัน
๓. ภาวนา ฝกอบรมพฒั นาจิตใจ เจริญปญ ญา
ทานก็เปนบุญอยางหนึ่ง ศีลก็เปน บุญอยา งหนึง่ ภาวนาก็
เปนบุญอยา งหนึ่ง และสงู ขึ้นไปตามลําดบั ดว ย ศลี เปน บญุ ทสี่ ูง
กวาทาน ภาวนาเปนบญุ ทีส่ ูงกวาศีล แตเ ราสามารถทําไปพรอม
กันทง้ั ๓ อยาง
เหตุใดจงึ เรียกการถวายของแกพระท่ีวัดวาเปนการทาํ บญุ
แตใหแกช าวบานเรียกวาเปนทานเฉยๆ เรอื่ งนอ้ี าจจะเกดิ จากการ
ทีว่ า เวลาเราไปถวายพระท่ีวัด เราไมใชถวายทานอยางเดียว
เทานน้ั คือ ในเวลาท่ีเราไปถวายสิ่งของเครอื่ งไทยธรรม หรือทํา
อะไรที่วัดนัน้ นอกจากทานเปน อยา งท่ี ๑ แลว
๒. ศลี เรากไ็ ดรกั ษาไปดว ย คือเราตอ งสํารวมกายวาจาอยู
ในระเบียบแบบแผนวัฒนธรรมประเพณี เรอ่ื งมารยาทอากัปกิริยา
และการสํารวมวาจาตางๆ นเี้ ปนศีลทั้งสิ้น และเวลาน้นั เรางดเวน
ความไมส ุจริตทางกายวาจา ความไมเรียบรอ ย การเบยี ดเบียนทุก

๘ กาวไปในบญุ

อยางทางกายวาจา เราละเวนหมด เราอยูในกายวาจาท่ีดงี าม ที่
ประณตี ที่สํารวม ท่ีควบคุม นีค่ ือเปนศีล

๓. ในดานจิตใจ จะดวยบรรยากาศของการทําบุญก็ตาม
หรือดวยจิตใจท่เี รามคี วามเลอ่ื มใสตงั้ ใจไปดวยศรัทธาก็ตาม จติ ใจ
ของเรากด็ ีงามดวย เชน มีความสงบ มคี วามสดชืน่ เบิกบานผอ ง
ใส มีความอมิ่ ใจ ตอนนีเ้ ราก็ไดภ าวนาไปดวย ยิ่งถา พระไดอ ธิบาย
ใหเขาใจในเรื่องการทาํ ทานนั้นวาทําเพื่ออะไร มีประโยชนอยางไร
สัมพันธก ับบุญหรือการปฏิบตั ิธรรมอ่ืนๆ อยา งไร ฯลฯ เรามองเห็น
คุณคา ประโยชนนั้น และมีความรู ความเขา ใจธรรม เขา ใจเหตุผล
ตา งๆ มากข้ึน เราก็ไดป ญญาดว ย

ดว ยเหตุที่วามานี้ กจ็ ึงกลายเปนวา เม่ือเราไปท่ีวัดน้ัน แม
จะไปถวายทานอยา งเดยี ว แตเราไดหมดทุกอยาง ทานเราก็ทํา ศีล
เราก็พลอยรักษา ภาวนาเรากไ็ ด ท้งั ภาวนาดานจติ ใจ และภาวนา
ดา นปญญา

เพราะฉะน้นั เมอ่ื เราไปที่วดั ถา เราปฏบิ ัตถิ กู ตอ ง เราจึง
ไมไ ดถ วายทานอยา งเดยี ว แตเ ราไดมาครบ ตอนแรกเราตงั้ ใจไป
ถวายทานอยางเดยี ว แตเ มอ่ื ไปแลว เราไดม าครบทง้ั สาม ทีนี้เราจะ
บอกวา เราไปถวายทานมา เราก็พดู ไมครบ ก็เลยพดู วาเราไป
ทําบญุ เพราะวา เราไดท้งั สามอยาง ท่ีวามานี้ก็เปนเหตุใหการ
ถวายทานอยางเดียวกลายเปนมคี วามหมายเปนทําบุญ(ครบทั้ง
สามอยาง)

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๙

เม่ือโยมเขาใจอยางน้ีแลว ตอ ไป เวลาไปถวายทานท่ีวดั ก็
ตอ งทําใหไ ดบุญครบทงั้ ๓ อยาง คอื ถวายทานอยางเดยี ว แตต อง
ใหไดท้งั ศีลท้ังภาวนาดวย อยางนจ้ี งึ จะเรยี กวา “ทําบญุ ” ทแี่ ทจ ริง

ไปทําบญุ อยางเดยี ว

แตไ ดก ลบั มาสามอยา ง

คราวน้ีเรากม็ าตรวจสอบตัวเองวา ทานของเราไดผล
สมบูรณไหม เริ่มตั้งแตดา นจติ ใจวาเจตนาของเราดไี หม

เจตนาน้ันทานยงั แยกออกไปอีกเปน ๓ คือ
๑. บุพเจตนา เจตนากอนให คือตั้งแตตอนแรก เร่ิมตนก็
ตง้ั ใจดี มคี วามเลอ่ื มใส จิตใจเบิกบาน และตั้งใจจริง แข็งแรง มี
ศรทั ธามาก ตอ ไป
๒. มุญจนเจตนา ขณะถวายกจ็ รงิ ใจจรงิ จัง ตงั้ ใจทําดวย
ความเบิกบานผองใส มีปญ ญา รเู ขาใจ
๓. อปราปรเจตนา ถวายไปแลว หลังจากนัน้ ระลกึ ขึ้น
เม่อื ไรจติ ใจกเ็ อบิ อ่มิ ผองใส วาทีเ่ ราทําไปนด้ี ีแลว ทานน้ันเกิดผล
เปนประโยชน เชน ไดถวายบาํ รงุ พระศาสนา พระสงฆจ ะไดมกี าํ ลงั
แลวทา นก็จะไดป ฏบิ ตั ศิ าสนกจิ ชวยใหพระศาสนาเจรญิ งอกงาม
ม่นั คงเปน ปจ จยั ใหส ังคมของเราอยูรมเย็นเปนสุข นึกข้ึนมาเมื่อไรก็
เอิบอ่มิ ปล้ืมใจ ทานใชค ําวา “อนุสรณดวยโสมนัส”
ถาโยมอนสุ รณดว ยโสมนัสทกุ คร้งั หลงั จากที่ทาํ บญุ ไปแลว
โยมกไ็ ดบญุ ทกุ คร้งั ท่อี นสุ รณน ั่นแหละ คือระลึกข้ึนมาคราวไหนก็
ไดบุญเพมิ่ คราวน้ัน

๑๐ กาวไปในบญุ

นคี่ อื เจตนา ๓ กาล ซ่งึ เปน เร่ืองสําหรับทายก
สว นปฏคิ าหก คอื ผรู ับ ถาเปนผมู ีศลี มคี ุณธรรมตา งๆ มาก
กถ็ ือวา เปนบุญเปน กุศลมาก เพราะจะไดเกดิ ประโยชนม าก เชน
พระสงฆ เปนผทู รงศีล ทรงไตรสิกขา ทานกส็ ามารถทาํ ใหทานของ
เราเกิดผลงอกเงยออกไปกวา งขวาง เปน ประโยชนแกประชาชน
ชวยใหธ รรมแผขยายไปในสังคม ใหประชาชนอยูรม เยน็ เปนสุข
และดาํ รงพระศาสนาไดจ รงิ
สว นไทยธรรมคือวัตถุทถี่ วาย ก็ใหเปนของบรสิ ุทธิ์ ไดมา
โดยสจุ ริต สมควรหรอื เหมาะสมแกผรู ับ และใชไ ดเ ปนประโยชน
นี้เปนองคประกอบตางๆ ทีจ่ ะใชพ จิ ารณาตรวจสอบ และ
ตอ งพยายามอยา งท่พี ดู ไปแลว วา แมว า เราจะไปทําทานอยา ง
เดยี ว ก็ตอ งใหไดทั้งศลี ทัง้ ภาวนามาดวย อยางนจ้ี ึงจะเรยี กวา
ทาํ บุญกันจริงๆ ชนิดพูดไดเต็มปาก มิฉะนั้นโยมกจ็ ะไดแ คไปถวาย
ทานเฉยๆ แลวกไ็ ปเรียกออมแอม วา ทําบุญ เพราะฉะนน้ั ถาโยมไป
วดั แลวบอกวา ฉันไปทาํ บุญมา ก็จะตองตรวจดดู วยวา เอ..ท่ีจริง
เราไดแ คทานหรอื เปลา หรือวา เราไดค รบเปนบุญเต็มจริงๆ ถา เปน
บุญก็คอื ไดค รบทั้ง ๓ ประการ ทง้ั ทาน ทั้งศีล ทง้ั ภาวนา

ถา จะทําบุญ

กค็ วรทําใหค รบทกุ ความหมาย

ถึงตอนนี้ กเ็ ลยถอื โอกาสเลาความหมายของ “บุญ” นดิ
หนอย คําวา “บุญ” นนั้ มาจากศพั ทภ าษาบาลวี า “ปุ ญฺ ” ปญุ ญะ
นีแ้ ปลวาอะไรบาง

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๑

๑. บญุ แปลวา ชาํ ระจติ ใจใหบริสทุ ธ์ิสะอาด ใจของเรา
กําลังเศรา หมอง ขุน มัวมา พอทาํ บุญอยางเชนถวายทาน เพียงเรมิ่
ตง้ั ใจ จิตใจของเราก็สะอาด บริสทุ ธ์ผิ องใสขนึ้

การชําระจิตใจใหบ รสิ ทุ ธิ์ กค็ อื กําจดั สิ่งเศรา หมองที่
เรยี กวากเิ ลสท้งั หลายออกไป เรม่ิ ตง้ั แตท านก็กําจัดความโลภ
ความเห็นแกตัว ความมใี จคบั แคบตระหนี่หวงแหน ความยึดติด
ลมุ หลงในวตั ถุสงิ่ ของ ทําใหจ ติ ใจเปนอสิ ระ พรอ มทจ่ี ะกา วตอข้ึน
ไปในคณุ ความดอี ยา งอ่นื หรอื เปด ชองใหนาํ เอาคณุ สมบัติอืน่ ๆ มา
ใสเ พิม่ แกชีวิตได ทาํ ใหช ีวิตจติ ใจเฟอ งฟขู ึน้

คนท่ีทาํ บุญคือทาํ ความดี จิตใจก็จะเฟองฟูข้นึ ในคุณงาม
ความดี เพิม่ พูนคุณสมบัตทิ ี่ดๆี ใหแกชีวิตจติ ใจของตน บุญน้ัน มี
มากมาย เด๋ียวจะพดู ตอไป ย่งิ เราทําบุญมาก เราก็เพิ่มคุณสมบัตทิ ี่
ดีใหแกชวี ิตของเรามาก

ภาษาสมยั น้ีมีคาํ หนงึ่ วา “คณุ ภาพชีวิต” คนสมยั โบราณ
เขาไมตอ งมคี ําน้ี เพราะเขามคี าํ วา “บุญ” อยแู ลว คําวาบญุ นี่
ครอบคลมุ หมด ทําบุญทหี นง่ึ กเ็ พ่มิ คุณสมบัตใิ หก ับชีวติ ของเราที
หนง่ึ ทง้ั คุณสมบตั ิในกาย ในวาจา และในใจ กายของเราก็ประณีต
ขน้ึ วาจาของเรากป็ ระณีตข้นึ จิตใจของเราก็ประณตี ข้ึน ปญ ญา
ของเราก็ประณตี ขึน้ ดีเพ่ิมขนึ้ ไปเรอ่ื ยๆ

๒. บุญ แปลวา ทาํ ใหเกิดภาวะนา บูชา บุญนั้นทําใหน า
บูชา คนทีม่ ีบุญก็เปนคนท่ีนาบูชา เพราะเปน คนท่ีมคี ณุ ธรรม มี
ความดี ถาไมมีคุณความดีกไ็ มน าบชู า

๑๒ กาวไปในบญุ

ท่ีวาบูชา กค็ ือยกยอง หรอื เชิดชู คนท่ีทาํ บญุ ทาํ กุศลจิตใจ
ดีงามมคี ุณธรรมมาก ก็เปนคนท่ีนา เชิดชู นา ยกยอง แลวก็ทําให
เกดิ ผลท่ีนาเชดิ ชบู ชู าดว ย

ไปๆ มาๆ เดีย๋ วจะพดู ความหมายของบญุ มากไป ขอพูด
เพียงเปนตวั อยา ง ใหเ ห็นวาทีจ่ รงิ ศัพทเ หลานี้มคี วามหมายมาก
หลายประการ

ความหมายอกี อยา งหน่ึงที่พระพทุ ธเจาตรสั ไวคือ บญุ นั้น
เปน ชื่อของความสขุ พอทําบุญแลวจิตใจกส็ ุขเอิบอ่ิม เปน ความสุข
ที่ประณตี ลกึ ซึง้

การทําบญุ เปนความสุขท่ีมผี ลระยะยาว ไมเหมอื นอาหาร
ท่รี บั ประทาน หรอื สิง่ ภายนอกท่ีบํารุงบําเรอกาย พอผานไปแลวก็
หมด ก็หาย ความสขุ ก็สนิ้ ไป บางทีพอนึกใหมกลายเปนทุกข
เพราะมันไมมเี สียแลว มันขาดไป ตอ งหาใหม แตบุญเปนสุขท่เี ขา
ไปถึงเน้ือตัวของจติ ใจ เปนความสุขที่เตม็ อมิ่ ทําใหเ กดิ ปต ิในบุญ
และเม่ือเราทําไปแลวมันก็ไมห มด นกึ ถึงเมือ่ ไรกใ็ จเอิบอมิ่ ผองใส
เรอ่ื ยไป เปนความสุขทย่ี งั่ ยนื ยาวนาน

อีกประการหน่งึ บุญ เปน สง่ิ ทีพ่ ึงศกึ ษา พระพทุ ธเจา ตรัส
สอนใหศ กึ ษาบญุ คาํ วา “ศึกษา” กค็ อื ใหฝ ก ข้ึนมาน่ันเอง
หมายความวา บญุ นเี้ ราตอ งทาํ ใหเ พมิ่ ขึ้นและประณตี ขึน้ เรอ่ื ยๆ
อยา งทพี่ ดู เม่ือกี้วา มันเปนคุณสมบัติ มนั เปนความดี ทางกายบาง
ทางวาจาบา ง ทางใจบาง รวมไปถึงทางปญญา เราตองเพม่ิ โดย
ฝก ข้นึ มา เม่ือฝก กายวาจา จิตใจ และปญ ญา ชีวติ ของเราก็

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๓

ประณตี งอกงามขนึ้ เรื่อย เรยี กวาเปน การพัฒนาชวี ิตหรอื พัฒนา
ตนเอง

เพราะฉะนั้น บญุ นอ้ี ยาไปยุติหรือหยุดอยู เราตอ งศกึ ษา
บุญ มบี ญุ อะไร มคี ณุ สมบตั ิความดีอะไรท่ีเราควรจะทําเพ่ิม
เพ่อื ใหชวี ติ ของเราดีข้นึ และทําใหเกิดประโยชนกวา งขวางออกไป
เราก็กาวตอไป มฉิ ะน้นั เราจะตดิ อยู จมอยู หรือวา ชะงักตนั อยูกบั ท่ี
เทาเดมิ คนท่ีทําบุญไมควรจะตดิ อยูเทา เดมิ แตค วรจะกา วหนาไป
ในบญุ

น้เี ปนความหมายตางๆ ที่เกี่ยวขอ งกบั เร่ืองบญุ นาํ มาพดู
พอใหโยมไดเ ห็นแนวทาง ความจรงิ นนั้ แตละอยา งยงั สามารถ
ขยายออกไปไดมาก แตใ หเหน็ เคาวาตัง้ ตน อยา งนี้

หนทางทจ่ี ะทําบญุ มอี ยมู ากมาย

ไดบอกเมือ่ กวี้ า บุญน้ันมีมาก การทําบุญไมใ ชเ ฉพาะทาน
เทานั้น พระพทุ ธเจา ตรสั ไวโ ดยสรุปอยางสนั้ ที่สุดวา มี ๓ คือ บญุ
กริ ยิ าวัตถุ ๓ ไดแ ก

๑. ทาน
๒. ศลี
๓. ภาวนา
อยา งท่พี ูดไวตอนตนแลว

๑๔ กาวไปในบุญ

ทนี ีต้ อมาพระอรรถกถาจารย๑ คงอยากจะใหญ าติโยมเห็น
ตัวอยางมากๆ ทานจึงขยายความใหกวางออกไปอีก เพื่อเห็น
ชองทางในการทําบุญเพ่มิ ขึ้น ทานจึงเพิม่ เขา ไปอกี ๗ ขอ รวมเปน
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ซึ่งขอนําเอามาทบทวนกับญาตโิ ยม ในฐานะที่
เปนผูท ําบญุ อยเู สมอ ตอจากบุญ ๓ คอื ทาน ศลี ภาวนา

๔. อปจายนมยั ทําบุญดวยการใหความเคารพ มีความ
ออนโยน สุภาพออ นนอม ใหเกยี รติแกกนั เคารพยกยอ งทานผูมี
ความเปนผใู หญ ผสู ูงดว ยคุณธรรมความดี เปน ตน หรอื ท่ีนิยมกัน
ในสังคมของเรา เคารพกันโดยวัยวุฒิ ชาติวฒุ ิ และคณุ วุฒิ แต
ในทางพระศาสนาถอื วา คุณวุฒิสาํ คัญทสี่ ดุ

อปจายนมัยนกี้ เ็ ปนบุญอยา งหนึ่ง เพราะเปนการชว ยกัน
รกั ษาสังคมนี้ ใหเ ราอยูกันดว ยความสงบรมเยน็ ถาสังคมของเรา
ไมมกี ารใหเ กียรติ ไมม ีความเคารพกัน ก็จะวุนวายมาก จิตใจก็แข็ง
กระดาง กาวราว กระทบกระทง่ั กันเรื่อย แตพอเรามีความเคารพ
ใหเกียรติแกกัน มคี วามสภุ าพออ นโยน จิตใจของเรากน็ ุมนวล การ
เปน อยูรวมกันก็ดี บรรยากาศก็ดี กจ็ ะงดงาม เปน สุข บุญกเ็ กดิ ข้ึน

๕. ไวยาวจั จมยั ทาํ บญุ ดวยการชวยเหลือ รับใช บริการ
คนไมม ีเงินก็ไมใ ชวา ทาํ บุญไมได ไวยาวจั จมัยกุศลนท้ี าํ ไดทุกคน
อยา งสมัยกอ นนีก้ ็นิยมมาลงแรงชวยกันในเวลามงี านสว นรวม
โดยเฉพาะสังคมไทยสมยั กอนมีศูนยกลางอยทู ี่วดั เวลามงี านวัด

๑ พระอรรถกถาจารย คือ พระอาจารยผ เู รยี บเรียงคัมภรี อ ธิบายความหมายของพุทธพจน

ในพระไตรปฎ ก

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๕

ชาวบานกม็ าลงแรง ชวยเหลือ รบั ใช ทําอะไรตอ อะไรคนละอยาง
สองอยาง ใหก ิจกรรมสว นรวมทว่ี ัดน้ันสาํ เรจ็ ดวยดี

วนั นี้ก็เปนตวั อยาง หลายทานมาทําบุญดว ยไวยาวัจจมัย
กุศล ชนดิ พรรณนาไดไมมที สี่ ิ้นสุด คอื มาชวยเหลือรบั ใชบ ริการ
บําเพญ็ ประโยชน ไมว าจะเปนตํารวจ ทหารเรอื ทหารทั้งหลาย หรอื
วา เด็กๆ นกั เรยี น ตลอดจนญาตโิ ยมก็มาทาํ กันท้งั นั้น ยอ นหลงั ไป
กอ นวนั นก้ี ็มาชว ยกนั ปลกู ตนไม มาทาํ ความสะอาด มาทาํ ถนน ฯลฯ
ตลอดจนมาชวยถายรูปเก็บไว ท้งั หมดน้ีก็เปน ไวยาวจั จมัยกุศล
พูดส้นั ๆ วา มาชว ยกัน คือเจตนาท่ีจะมาบําเพ็ญประโยชน
ชว ยเหลือ รับใช บรกิ าร ทาํ กจิ สว นรวมใหสาํ เร็จ เปนบุญอีกแบบ
หน่ึง

๖. ปตติทานมยั ทําบุญดวยการใหส ว นบญุ หมายความวา
ใหผูอ ่ืนมีสว นรว มในบุญหรือในการทําบุญดวย เวลาเราทําความดี
อะไรสักอยางกไ็ มหวงแหนไว เราเปด โอกาสใหคนอื่นไดมีสวนรว ม
บุญดว ยการทําความดดี ว ยกนั ทงั้ ผูมารวม และผูใ หโอกาส กไ็ ด
บญุ เพิม่ ท้งั สองฝาย คนท่ใี หเขารว มตัวเองบญุ กไ็ มไดลดลง เดยี๋ ว
จะนกึ วา คนอ่ืนมาแยงบุญ เปลา กลบั ยิง่ ไดม ากขนึ้ เพราะฉะนั้น
พระพุทธเจาจึงตรสั วา คนท่ีทาํ บุญดว ยตน กับคนทที่ ําบญุ ดว ยตน
แลว ยังชวนคนอนื่ มาทําดวยน้ัน คนหลงั ไดบ ุญมากกวา เมือ่ ให
สวนรวมแกผ ูอ่นื มาทาํ ความดดี ว ยกัน บุญกศุ ลก็ยิ่งเพ่ิมมาก

๗. ปต ตานโุ มทนามัย ทําบญุ ดวยการอนุโมทนาสวนบุญ
คือพลอยชื่นชมยินดี หรอื แสดงความยินดี ยอมรับ เห็นชอบในการ

๑๖ กาวไปในบญุ

ทาํ ความดี คือในการทําบุญของผูอื่น เมื่อเขาทําบญุ ทาํ ความดี เรา
ก็พลอยชน่ื ใจอนุโมทนาดว ย

เชน สมยั กอนนี้ เวลาญาติโยมบางทา นไปทําบญุ ที่วดั ก็
อาจจะเดนิ ไปผานบานโนนบา นน้ี พอเดนิ ผานบานนี้ เห็นคนที่รูจกั
กันก็บอกวา ฉันไปทําบญุ มานะ แบงบุญใหดวย บานทไี่ ดฟงก็บอก
วา ขอโมทนาดวยนะ นีค่ ือคติปต ตานโุ มทนา ซ่ึงเปนการฝกนสิ ัย
จิตใจ ใหเราพลอยยนิ ดีในการทําความดขี องคนอื่น ไมข ้ึงเคยี ด
ริษยาหรือหม่ันไส แตใหม ีจิตใจชืน่ บานดว ยการเห็นคนอนื่ ทําความ
ดี เม่ือเราพลอยชนื่ บาน อนุโมทนาดว ย เราก็ไดบ ุญดวย นีค้ ือบุญที่
เกิดจากการอนุโมทนา

ทําบญุ ตองใหส มบูรณขึ้นไปถงึ ปญ ญา

๘. ธรรมสวนมยั ทาํ บุญดวยการฟง ธรรม ธรรมะเปน เร่ือง
สาํ คัญทีจ่ ะทําใหเรามีปญญา ทาํ ใหเรามีหลักในการประพฤติ
ปฏิบตั ิและดําเนินชวี ิตที่ดี ถา เราไมม กี ารฟงธรรม ไมมีการอา น
หนงั สือธรรมะ เปนตน ความกาวหนา ในธรรมของเราอาจจะชะงกั
แลว การท่จี ะเจริญในบุญก็จะเปนไปไดย าก จึงตองมขี อ นม้ี าชว ย
ทา นจงึ สอนใหม ีธรรมสวนมัย คือทําบุญดว ยการฟงธรรม ซงึ่ จะทํา
ใหร ูหลกั มองเหน็ ชองทางแมแตในการทําบญุ เพ่ิมขึ้นอกี

๙. ธรรมเทศนามัย ทําบุญดว ยการแสดงธรรม การแสดง
ธรรมใหผอู ่นื ฟง ก็เปน บญุ แตใ นเวลาแสดงธรรมใหผ อู ืน่ ฟง ตอ ง
ต้งั ใจใหถกู ตอง ทานวาถา มเี จตนาหาลาภ หาเสยี ง ถือวา เจตนาไม
ดี มงุ ทผี่ ลสว นตวั จะไมม ผี ลมาก แตถา ต้งั เจตนาวา เราจะแสดง

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๗

ธรรมไปเพอื่ ใหโ ยมไดรเู ขาใจถูกตอง ใหมีสมั มาทฐิ ิ ใหโยมไดรบั
ประโยชน ใหโยมไดพัฒนาชวี ิตขึ้นไป ผูที่แสดงธรรมก็ไดบุญดวย

ถงึ โยมก็เหมือนกัน ก็ทาํ บุญขอ ธรรมเทศนามยั น้ีได โดยนาํ
ธรรมไปบอก ไปเผ่ือแผ ไปสอนลกู สอนหลาน ใหร ูจกั สิ่งท่ถี กู ตอ งดี
งาม ใหเขาเจริญในทาน ศลี ภาวนาดวย เรมิ่ ตง้ั แตไปแนะนาํ ใน
ครอบครวั ของตัวเอง ทําบญุ กับลกู กับหลานก็ได ดว ยธรรมเทศนา
มัยนี้ ย่ิงเปนเร่อื งทีย่ าก หรอื เขาไมเคยสนใจ เรากไ็ ดฝกตัวเอง
หาทางที่จะสอนที่จะแนะนําอธบิ ายใหไดผ ล ทําใหเขามีปญ ญา ทํา
ใหเ ขาทาํ ดี เปน คนดไี ด กย็ ่ิงไดบ ญุ มาก

๑๐. ทิฏุชกุ รรม ทาํ บุญดวยการทําความเหน็ ใหต รง คอื ให
ถกู ตอง ความเห็นถูกตองน้ตี อ งทาํ กันอยเู สมอ ไมวา จะทาํ อะไร
ควรพจิ ารณาตรวจสอบกิจกรรมทุกอยา งวา เราทาํ ดวยความรู
เขาใจถูกตอ งหรอื เปลา เชน เมอ่ื ทําทานก็พิจารณาวาเราทําดว ย
ความเขาใจถูกตอ งไหม เรอ่ื งนี้เปน ไปไดม ากวา โยมหลายทาน
อาจจะทําดว ยความเขา ใจผดิ อยกู ไ็ ด

ไมว า อะไร เชนอยา งรักษาศลี บางทกี ็รักษาไปตามตัวบท
พยญั ชนะ หรือตามที่ยึดถือกนั มา ไมเ ขาใจจรงิ เมอื่ เราไปฟง ธรรม
เรากม็ าปรบั ความเหน็ ของตวั ใหถูกตอ ง การทาํ บุญขอ อ่ืนๆ ก็
พลอยถกู ตอ งไปดวย เพราะฉะน้ัน เรอ่ื งทฏิ ุชกุ รรม หรือการทํา
ความเหน็ ใหตรงใหถ กู ตอ งนจ่ี ึงเปน เรือ่ งสาํ คญั ตองพฒั นาอยู
เสมอ ไมว า จะทาํ อะไร ตอ งมคี วามเขา ใจทถ่ี กู ตองประกอบอยู

๑๘ กา วไปในบญุ

ท้งั หมดน้ีรวมเปน ๑๐ ขอ แตใ น ๑๐ ขอน้ี ท่เี ปนหลัก กค็ อื
ทาน ศีล ภาวนา สว นท่ีเตมิ มา ๗ ขอนน้ั เปนการขยายจาก ๓ ขอ
ตน เพ่ือใหเห็นความหมายและชอ งทางทจี่ ะทาํ บญุ เพม่ิ ข้ึน

บญุ ท่ีแทแผความสุขออกไป

ใหความงอกงามทงั้ แกช วี ิตของเราและท่ัวสงั คม

ขอ ที่ขยายเพ่ิมขนึ้ นั้น อปจายนมัย ก็ดี ไวยาวัจจมัย กด็ ี อยู
ในหมวดศลี คือ การทม่ี คี วามสภุ าพ ออ นโยน นบไหว ใหเกียรติแก
กัน และการชวยเหลือรบั ใชบริการ กเ็ ปนเรื่องดานความสมั พันธกบั
ผอู น่ื ในสงั คม จึงเปนเรือ่ งของศีล จดั อยูในหมวดศลี ตอนนเี้ รียกวา
สงเคราะห คือจดั ประเภท

ตอไป ปตติทานมยั การใหส ว นบุญแกผูอื่น หรอื ใหผ ูอนื่ มี
สวนรวมบญุ นี่จัดอยูในทาน จะเห็นวาทานมคี วามหมายกวาง
ไมใ ชเฉพาะใหของเทา น้ัน แตการใหค วามมสี ว นรวมในการทํา
ความดี หรือใหโ อกาสผอู ่ืนทําความดี กเ็ ปนบญุ เปนการใหทาน
ชนดิ หนึ่งเหมือนกัน รวมท้ัง ปต ตานุโมทนา อนุโมทนาบุญท่ผี ูอ น่ื
ทาํ ก็อยูในหมวดทานดว ย

ตอไป ขอ ๘. ธรรมสวนมัย ฟงธรรม กด็ ี ขอ ๙. ธรรม
เทศนามยั แสดงธรรมแกผูอ ื่น ก็ดี รวมอยูในขอ ๓ คือ ภาวนามยั
เพราะเปนการพฒั นาจิตใจ และพฒั นาปญญา โดยเฉพาะปญ ญา
ซง่ึ จะไปสงผลแกข อสดุ ทายดวย

ขอสดุ ทา ย คือ ทิฏชุ กุ รรม ทานบอกวาเขากบั ทุกขอ เวลา
ทาํ บุญทกุ อยางใหมที ิฏชุ ุกรรมประกอบ คอื มคี วามเหน็ ที่ถูกตอ ง

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๙

ดวย มฉิ ะนน้ั บญุ ของเรากจ็ ะบกพรอง เพราะอะไร เพราะบางที
เวลาทาํ บญุ นั้น ใจของเราซกี หน่ึงไดบญุ แตอกี ซกี หนง่ึ มีโลภะเปน
ตน ปนอยู นึกถึงบุญแตใจประกอบดว ยความโลภ อยากได
ผลตอบแทนอยา งโนน อยางนี้ อยา งนี้บญุ กไ็ ดแ ตบาปกไ็ ดดวย คือ
มโี ลภะประกอบอยู เพราะฉะนั้นจึงตองระวงั เหมอื นกัน

แตถ า เรามี ทิฏชุ ุกรรม ประกอบอยู คอยทําความเห็นให
ตรง ก็จะแกปญ หานไี้ ด คอื ทาํ บญุ ดวยความเขาใจวา ทานน้ีทํา
เพื่ออะไร เมอื่ รเู ขา ใจวาทานทําเพอ่ื อะไร แลว ความเห็นของเรา
ถกู ตอง บุญของเราก็สมบูรณ แลวบุญนนั้ จะมีความหมายที่ครบ
กาย วาจา จิต ปญ ญา

กายก็ทาํ ชดั อยแู ลว วาจากเ็ ปลง เชน ชกั ชวนกัน ปรึกษา
กัน จติ กส็ งบผองใส มีเจตนาประกอบดวยศรัทธาเปนตน ปญญาก็
มคี วามรูเขา ใจ วาสิง่ ทต่ี นทําน้ีทาํ เพือ่ อะไร ยิง่ ถา มองเหน็
ความหมายและประโยชนชดั เจนแลว กจ็ ะยง่ิ มจี ิตใจกวา งขวาง
และบุญกุศลกย็ ่งิ เพิ่ม

อยา งเวลาทําทานน่เี รารเู ขาใจมองเหน็ วา ทเ่ี ราถวาย
ภัตตาหาร และถวายทนุ การศกึ ษาแกพระสงฆ พระสงฆทา นมี
หนา ทอ่ี ะไร โยมลองถามตวั เอง แลว กม็ องเห็นวา พระสงฆท า นมี
หนาทเ่ี ลาเรียนพระธรรมวินัย มีหนาท่ที ี่จะปฏิบัติตามหลักธรรม
วนิ ยั ที่ไดเ ลาเรียนน้ันแลว ก็มหี นาที่ท่ีจะเผยแพรธรรม ออ..ทา นมี
หนาทใ่ี หญ ๓ อยา งนี้

การท่ีเราถวายปจ จัยแกพระสงฆน้ี ก็เพอ่ื ใหทา นมีกาํ ลังไป
ทาํ ศาสนกิจ คือหนาที่ ๓ อยา งนัน้ เม่ือทานทําหนาท่สี ามอยางนั้น

๒๐ กา วไปในบุญ

ตวั ทานเองก็เจรญิ งอกงามในไตรสิกขาดว ย ธรรมะที่ทา นไดรูได
เรยี นมาก็จะเกิดประโยชนแกประชาชนกวางขวางออกไปดว ย แลว
เปนอยา งไร พระศาสนาของเรากอ็ ยูไ ด เราไดมีสว นชวยพระ
ศาสนา การทีเ่ ราทําบุญนี้ จึงเปนการชวยดํารงพระพุทธศาสนาให
เจรญิ มน่ั คง

ถงึ ตอนนโ้ี ยมกร็ วู า บุญของเราไมไดอ ยูเ ฉพาะแคพ ระองค
ทีเ่ ราถวายเทานน้ั แตบ ุญไปถึงพระศาสนาทัง้ หมด เมอ่ื พระศาสนา
อยไู ด ธรรมกอ็ ยไู ด แลว ธรรมกเ็ ผยแพรออกไป ก็เกดิ เปนประโยชน
แกประชาชน เม่ือประชาชนไดรูเ ขา ใจประพฤตปิ ฏิบตั ิธรรม สงั คม
กร็ ม เย็นเปนสุข สงั คมท่ีอยูไ ดนี่กเ็ พราะยงั มีคนประพฤติปฏิบตั ิ
ธรรม รธู รรมกันอยบู า ง อยางนอยก็ยงั พอประคับประคองกันไป

เมอื่ โยมนกึ วา ทานที่เราถวายน้ี ใหแ กพระองคเดียวน้ี มีผล
ไปถึงพระพทุ ธศาสนาและประชาชนทั่วสงั คมทง้ั หมดดวย เม่ือมอง
ดว ยความเขาใจอยา งนี้ ใจก็ย่ิงปลอดโปรงกวางขวาง มปี ต ิอิ่มใจ
นกึ ข้ึนมาเม่ือไรก็ยิง่ มีความสุข นแ่ี หละท่ีเรยี กวาทิฏุชุกรรม เกดิ
จากมปี ญ ญาประกอบเขามา บญุ ก็ยิง่ กวา งขวาง

ยง่ิ กวาน้ัน ตอไปมันจะเปน ปจจัยใหเราเห็นทางทําบุญท่ี
ถกู ตอ งยิ่งขนึ้ วา ทาํ บญุ อยางไรจึงจะเกดิ ประโยชนเ กดิ คุณคา
กวางขวาง โยมกจ็ ะได วิไจยทาน คือทานที่เกิดจากการวจิ ัยข้ึนมา
ดวย คือพจิ ารณาไตรตรองแลว จงึ ใหทาน ทง้ั หมดน้กี ็ขอนาํ มา
กลาวใหโ ยมไดฟง ในเร่ืองวธิ ีทาํ บญุ ซ่งึ ทจ่ี ริงไมมที ี่ส้ินสดุ เพราะมี
เรอ่ื งท่ีควรทราบอีกมาก แตเราฟงกันไปทีละนอยๆ กจ็ ะเหน็
แนวทางปฏิบัติในการทาํ บุญมากขึ้นทุกทีๆ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๑

โยมทาํ บุญแลว พระกอ็ นุโมทนา

แตถา โยมทาํ บญุ เพราะพระชวน อาจจะเสีย่ งตออเนสนา

เวลาโยมทําบุญเสร็จแลว พระก็จะอนโุ มทนา ทีว่ าอนโุ มทนา
ก็คอื แสดงความพลอยยินดดี ว ยกับโยมทีไ่ ดท ําบุญ เพราะโยมทําดี
งามถูกตองแลว พระกย็ อมรบั หรือแสดงความเห็นชอบ

ในการอนุโมทนานน้ั พระก็จะบอกวา บุญท่ีทํานเี้ กดิ ผลเกิด
อานิสงสอยา งไร ทานมีผลอยางไร ศลี มผี ลอยางไร ภาวนามผี ล
อยางไร เราเรียกสั้นๆ วา “อนุโมทนา” แตอ นโุ มทนานีพ้ ระจะพูด
เมือ่ โยมทาํ แลว วาท่ีโยมทําจะเกดิ ผลอยางนน้ั อยา งนี้ มผี ลดที ้ังใน
โลกน้แี ละโลกหนา ดังท่ีพระพุทธเจาก็ไดตรสั แสดงอานิสงสข อง
บุญไว หมายความวา บญุ ประเภททานก็ดี บญุ ประเภทศีลก็ดี บุญ
ประเภทภาวนาก็ดี พระองคไดแสดงอานสิ งสไ ว

อานิสงสน ัน้ พระพุทธเจา ตรสั เนน ประโยชนท่มี องเห็นกอน
แลวจึงลงทายดวยผลในภพหนา วาตายแลว ไปสวรรค เชน ในเรอื่ ง
ศีล พระพุทธเจาก็ไดต รัสอานสิ งสข องศลี ๕ วา

๑. คนท่ีมีศลี อาศยั ความไมป ระมาท จะทาํ ใหเ กิดโภคะได
มาก คนไมมศี ลี อยา งคนทีเ่ ตม็ ไปดวยอบายมุข ยอมปลอยชวี ิต
ตกต่ํา มวั หมกมุน วุนวายมัวเมาในเรื่องของส่งิ เหลวไหล จึงไมเ อา
ใจใส ไมข ยันทํามาหากิน เรยี กวาตกอยูในความประมาท ก็เสอ่ื ม
ทรัพยอ ับชวี ติ แตคนทม่ี ีศีล เวนจากทุจรติ เวนจากอบายมุขและ
เรื่องชัว่ ชา เสียหายแลว เมื่อมคี วามไมป ระมาท ก็ขยันหม่ันเพยี รทํา
การงาน ใจอยกู ับการประกอบอาชีพ ก็ทาํ ใหเกดิ โภคะไดม าก

๒๒ กาวไปในบญุ

๒. กิตตศิ ัพทอันดงี ามกร็ ะบือไป คนท่ีประพฤติดีมีศลี มี
ความสุจริต คนก็นิยมชมชอบ ยง่ิ สังคมปจจบุ ันนเ้ี ราถอื เปน สําคัญ
มากวา ในบานในเมืองนท้ี ําอยา งไรจะหาคนทม่ี ศี ีล คือคนสจุ รติ มา
บริหารบา นเมือง ถา คนไหนมีศลี สุจริต มคี วามบรสิ ุทธิ์ มคี วาม
ซื่อสตั ย ก็ไดก ติ ตศิ พั ทดีไปดานหนงึ่ แตไมไดห มายความวา ท้ังหมด
อยางนอ ยดา นศีลก็ไดก ิตติศัพทเ ปนเคร่ืองประดบั รองรบั ตวั เอง
ขน้ึ มา เปนฐานทส่ี ําคัญ

๓. ความมีศีลทําใหม ีความแกลวกลา ถาเรามีศีล เปน คน
ประพฤติซอ่ื สัตยส ุจริตแลว จะเขา สมาคมไหนก็มีความแกลวกลา
ไมคร่ันครา ม

๔. เวลาตายกม็ สี ติ ไมห ลงตาย ตอ จากน้นั
๕. ขอ สดุ ทาย ตายแลว ไปเกดิ ในสวรรค
อานิสงส ๕ ขอของความมีศลี น้เี ปนตวั อยา ง พระพุทธเจา
ทรงแสดงอานิสงสแบบน้ี พระก็อาจจะเอามาเทศน หรอื พูดขยาย
ใหโ ยมฟง วา ทําบญุ แลว เกิดผลอะไร มีอานิสงสอ ยางไร ก็ทาํ ให
โยมมจี ิตใจช่ืนบานผอ งใส บุญก็จะมากขึ้น เพราะเกดิ ความเขา ใจ
มปี ญญาประกอบดว ย
แตถ าพระไปพดู กอ น คือไปพูดใหโ ยมทาํ บญุ โดยชวนวา
โยมทําโนนทํานนั่ ที่นี่แลว จะไดผ ลมากมายอยา งน้ี ๆ ชักเขาหาตัว
กก็ ลบั ตรงกันขาม คอื ถาโยมทาํ บุญกอน แลวพระพูดถึงผลดีที
หลงั น่ีเปน อนโุ มทนา แตถาพระพูดกอ นเพ่อื ใหโ ยมถวาย ก็
กลายเปนเส่ียงตอ อเนสนา

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๓

“อเนสนา” แปลวาการแสวงหาลาภหรือหาเลีย้ งชีพโดยทาง
ไมถ กู ตอ ง ทางพระถือวาเปนมจิ ฉาชีพ คําวามจิ ฉาชีพนีใ่ ชไดทัง้ พระ
ทัง้ คฤหัสถ แตสําหรับพระ มจิ ฉาชีพก็ไดแกก าร กระทําจําพวกท่ี
เรยี กวา อเนสนา เชน พูดลอ พดู จงู หรอื เลยี บเคยี งใหโ ยมมาถวาย
ของหรือบริจาคอะไร อยางนี้เส่ยี งมาก เพราะฉะนั้นกใ็ ชคําส้ันๆ วา
ถา พูดทีหลงั เปน อนโุ มทนา แตถ าพดู กอ น เส่ียงตออเนสนา
ตามปกตินน้ั พระไดแตอนุโมทนาเม่ือโยมทาํ บุญแลว อันน้โี ยมควร
ทราบไว

ทาํ บญุ ทาํ ทไ่ี หนกไ็ ด

ไมว าทาํ อะไร ถา ทําเปน กไ็ ดบญุ

เวลาทาํ บญุ เราสามารถทาํ ทัง้ ๓ อยางพรอ มกันอยา งทีว่ า
แลว ซง่ึ ก็ควรจะเปน อยางนั้น ไมใ ชวาตอ งทําเฉพาะทานหรือเฉพาะ
ศลี หรอื เฉพาะภาวนา ควรทาํ ทีเดยี วพรอม ๓ อยางเลย อยา งท่ียํ้า
ไวต ัง้ แตต น แลว วา โยมมาถวายทานที่วดั อยาใหไ ดแ ตทานอยาง
เดยี ว ตองใหไ ดศลี ไดภาวนาดวยพรอมกนั หมด เราจึงจะพูดไดเตม็
ปากวา “ทาํ บุญ” มิฉะนนั้ เราก็ไดแ คส ว นหนง่ึ ของบุญคอื ทาน
เทาน้นั

ไมว า ทําอะไรกท็ ําบญุ ๓ อยา งไดพ รอ มกนั ไมเ ฉพาะไป
ถวายทานท่ีวัด แมแ ตใ นการประกอบการงานทานยังอธิบายไวเลย
วา อาชพี การงานท้งั หลายทีญ่ าตโิ ยมทํากันน้ี ก็ทําบญุ ไปดว ยกัน
พรอมทัง้ ๓ อยางได เชน ในการทําอาชีพการงานนั้น พอไดเงิน
โยมกค็ ิดตั้งใจข้นึ มาวา โอ..น่ีเราไดท รัพยเพม่ิ ขนึ้ แลว เราจะเอา

๒๔ กา วไปในบุญ

ทรพั ยนส้ี ว นหนึ่ง ไปใหท าน ทาํ บุญกศุ ล ชว ยเหลือเผื่อแผแ กเพ่อื น
มนุษย ทําใหเปน ประโยชนข ้ึนมา พอคิดอยา งนี้จติ ใจดงี ามผองใส
ทานเรยี กวา ทานเจตนาเกิดข้นึ ขณะทําอาชีพอยนู ั้นก็ไดทาํ ทานไป
ดวย

เวลาทําการงานนั้น ทาํ ดวยความต้งั ใจใหเปนไปโดยสุจริต
ทํางานของเราใหต รงตอ หนาท่ีของอาชพี ใหถ กู ตองตามจรรยา-
บรรณ ทาํ ดวยความตง้ั ใจตรงตามหนาทขี่ องตน โดยสัตยส จุ ริต
เวลานั้นก็เรียกวา ไดรกั ษาศีล

เวลาทํางานนั้น ฝกใจของตวั เองไปดว ย มีความเพยี ร
พยายาม มีสมาธิ ทําจิตใจของเราใหสงบ ใหมสี ติ แมจ ะมีอารมณ
กระทบกระท่ังเขามารบกวน กฝ็ กใจใหสงบมัน่ คงได รกั ษาเมตตา
ไมตรี และความมีใจผองใสเอาไว อยางน้กี เ็ รียกวา ไดทําภาวนาไป
ในตัว ภาวนาอยางนเ้ี ปนสว นจติ

สูงข้ึนไปอกี ยงั สามารถทําภาวนาในสวนปญ ญาดวย คือ
ทาํ งานดว ยวิจารณญาณ พจิ ารณาไตรต รองเหตุผลท่ีจะใหไ ดผลดี
วาทาํ งานอยางไรจงึ จะเกดิ ประโยชนท่ีแทจ รงิ

สงู ขึน้ ไปอกี ในภาวนาสว นปญญานั้น เม่อื ทํางานไป
มองเห็นความเปลี่ยนแปลงเปนไป ของเหตกุ ารณก ็ดี ของผูคนที่
พบเห็นเกี่ยวของก็ดี รจู ักพิจารณา รจู ักมนสกิ าร กเ็ กิดความรูความ
เขาใจโลกและชวี ิตนีม้ ากข้ึน มองโลกดวยความเขา ใจรเู ทา ทนั และ
วางทาทีไดถูกตอ ง

ยกตัวอยา ง เชนคุณหมอตองสัมพันธก ับคนไข มองคนไข
คนโนนเปนอยางน้นั คนน้ีเปนอยางน้ี คนนั้นหนาบ้งึ คนนี้หนาย้ิม

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๕

คนนีพ้ ูดไปแลว เขา ใจดี คนน้ีพูดไปแลวไมเอาไหน คนนน้ั กําลังใจ
เขมแข็งดี คนน้ีไมม ีกําลงั ใจ เรากไ็ ดรูเ หน็ ชีวิตและอาการของผูคน
ที่เปนไปตา งๆ

เมือ่ รูจ กั มอง คือมองเปนประสบการณท ่เี ราไดม ีโอกาสพบ
เหน็ ไมมองในแงเปนอารมณท ่มี ากระทบตวั ตน ก็เกดิ ความเขา ใจ
โลกและชีวิตตามความเปนจรงิ วา โลกน้เี ปนอยางนี้ ชีวติ เปน อยาง
น้ี ในจิตใจแทนทจ่ี ะเกิดความรสู กึ ไมดี กเ็ กิดปญ ญา ทาํ ใหว างใจ
ถกู ตองตอสง่ิ ทั้งหลาย ไดปญญาภาวนาอกี

อยา งเปนผสู ่ือขาวนี่ก็ชดั เม่ือมาที่วดั หรือไปหาขาวที่ไหน
๑. ทําดว ยความต้งั ใจวาเราจะเผยแพรข า วสาร คือให
ขาวสารหรอื ใหความรูทีเ่ ปนประโยชนแกประชาชน เมอื่ ตั้งใจดี
อยา งนก้ี เ็ ปนทาน คอื ไมใชคิดแตเพยี งวา เราจะมาทําอาชีพของเรา
วนั น้ีจะไดเงนิ เทาไร ทําอยางไรจะไดเ งินมากๆ ถาคดิ แบบนัน้ อยาง
เดยี ว บุญกไ็ มเกิด แตใ นเวลาทํางาน ถาเรามีจติ ใจเก้ือกลู หวังดี
ตอ ผูอ่ืน โดยตัง้ ใจวา เราจะหาขาวสารใหเปนประโยชนแก
ประชาชน ที่จะไดร ขู อมูลมีปญญามากขนึ้ เมื่อตง้ั ใจอยางนี้ ขอ ๑
คือทานมาแลว
๒. ทาํ หนาท่ขี องเราโดยซอ่ื สตั ยสุจริต เราจะลงขาวให
ถกู ตอง ใหต รงตามความเปนจริง ไมใ หม กี ารบิดเบือน ไมใ ห
ผิดพลาด จะทําโดยสจุ ริต น่ศี ีลมาแลว
๓. ตอ ไป เวลาเราไปทําขาวนีอ่ าจจะมีการกระทบกระทั่ง
คนฝายนัน้ ฝา ยนีอ้ าจจะไมพอใจ แตไ มว าจะมอี ะไรกระทบกระท่ัง
มา เราจะฝกใจของเราใหมนั่ คง ไมว ูวาม ถา เราฝกจิตใจของเราให

๒๖ กา วไปในบญุ

เขม แขง็ มั่นคงได รบั กระทบไดท ุกอยาง สามารถต้ังตวั อยใู นสตทิ ่ี
มั่นคง ดํารงกิรยิ าอาการที่ดีไวได นี่เราไดแ ลว นะ ภาวนาดานจิต

สวนปญ ญาภาวนาน้นั แนนอน อาชีพของเราเก่ียวกับ
ขอ มูลความรูและการใชป ญญา เราจะพยายามทําขาวสารของเรา
ใหเ ปน ไปดวยวิจารณญาน เลือกประเด็นจบั ประเด็นใหถูกตอ ง ส่ือ
ออกไปใหเ กิดประโยชนไดอยางแทจ ริง ยิ่งใชป ญญาเทาไรก็เกดิ
ประโยชนม ากเทานน้ั น่ีกไ็ ดภาวนาดานปญญา

แตปญญาภาวนาอยางสาํ คัญทผ่ี ูสือ่ ขาวมีโอกาสจะ
ไดม าก ดูเหมอื นจะมีโอกาสมากกวาคนอืน่ ๆ ก็คือนักขาวนนั้ ได
พบเห็นผคู นมากมาย ตา งพวก ตางหมู ทุกชนั้ ทุกเพศ ทกุ วัย ทุก
อาชพี มีนิสยั ใจคอตา งๆ กนั พฤตกิ รรมตา งๆ กัน มคี วามดคี วาม
ชว่ั ไมเ หมอื นกนั ความคิดเห็นกต็ า งๆ กัน และเหตุการณกแ็ ปลกๆ
มากมาย ซึ่งถา รูจกั ไตรตรองพิจารณามองดวยทา ทีท่ีถูกตอง ก็จะ
ทาํ ใหเขา ใจผูคน ทําใหมองเหน็ ความจริงของโลกและชวี ติ แลวก็
ทําใหสามารถวางใจตอ สิง่ ตา งๆ ไดด ี จิตใจจะโปรงโลงเปนอสิ ระ
ซึ่งจะเปน ประโยชนทง้ั แกชวี ติ ของตนเอง และเปนประโยชนตอ การ
ปฏบิ ัติหนาที่ดวย

ตามทว่ี ามาน้ี ผูส่อื ขาวจงึ ไดท าํ ท้งั ทานทั้งศลี และภาวนา
เปน อันวา ที่พระทา นพดู ไว ทางทีจ่ ะใหท านมเี ยอะ เรื่อง
บุญกม็ ากมายครอบคลมุ ไปหมด รวมท้ังคาํ วา “คณุ ภาพชีวติ ” ก็
อยใู นบุญหมด คนโบราณจงึ ไมต องหาคาํ อะไรมาพูด เขาใชคํา
เดียววา “บุญ” กจ็ บเลย เพราะมันคลมุ หมดทกุ อยา ง ฉะนัน้ ขอ
สาํ คัญอยทู ่พี วกเราเองอยาไปทาํ ใหมันแคบ เวลาน้คี ําวาบุญมี

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๗

ความหมายแคบลงเหลือนิดเดยี ว และตอนนี้เม่อื ทาํ ดวยปญญา มี
ความเขาใจ ความหมายของบุญกจ็ ะเพ่ิมพนู สมบูรณยง่ิ ขน้ึ

ศกึ ษาบญุ ไป ใหปญุ ญะกบั ปญ ญามาบรรจบกัน

ก็จะมผี ลสมบูรณ กลายเปน บุญอยา งสงู สุด

พูดมายดื ยาวแลว ควรจะจบได ขอยา้ํ ขอ สุดทายทว่ี า
ทฏิ ุชุกรรมควรใหมีประกอบกับการทาํ บุญทุกคร้ัง เพราะมันเขาได
ทกุ ขอ เริ่มแตท ําบุญขอ ทานเราก็มีทฏิ ชุ ุกรรม เชนถามตัวเองวา
เรามีความเห็นถูกตอ งไหมในการทาํ บุญ เราเขาใจถูกตองไหม
อยา งนอ ยรูวาการทําทานมีความมุง หมายเพื่ออะไร พระพทุ ธเจา
สอนใหเรารูวา ถา เราจะถวายสังฆทาน คุณคาประโยชน
จดุ มงุ หมายของมนั อยูทไี่ หน เม่ือพจิ ารณาอยางน้ี

๑. ใจของเราจะกวา งข้ึน และบุญกเ็ พ่ิมข้นึ
๒. เราจะพฒั นา จะไมจมตดิ อยแู คเ ดิม
เปน อนั วา ทิฏุชุกรรมนี้ เปนเร่ืองใหญเรื่องหนึ่ง วนั นี้นํามา
พดู เปนเคา ไวใหโยมทราบวา ตองพยายามใหประกอบกบั การ
ทาํ บญุ ทุกอยาง ใหเปนการกระทําทีม่ ีความเขาใจรูเห็นถูกตอง
แลว กป็ รบั ทิฐิของเราอยเู สมอ การทจ่ี ะปรบั ทฐิ ิไดถูกตอ งก็คอื ตอง
เรยี นรูอยเู สมอ ตองฟง ตองอา นธรรมอยเู สมอ
ขอพูดเพิ่มอีกนิดหนึ่งส้นั ๆวา บุญน้ีทานยงั แบงอกี วา มี ๒
ประเภท คือโอปธกิ บุญ กับ นิรปู ธิบุญ หรืออโนปธกิ บญุ
โอปธกิ บญุ แปลวา บุญทยี่ ังมอี ปุ ธิ ยังกอใหเกิดขันธ
หมายความวาเปน บญุ ของคนทอี่ ยใู นโลก ซ่งึ จิตใจยังหวังผลอยา ง

๒๘ กา วไปในบุญ

นัน้ อยางนอี้ ยู ยงั เปนบุญท่ีระคนดว ยกิเลส ทานยอมใหส าํ หรบั ญาติ
โยม

แตทานเตือนไวอ ยาลืมวาเราจะตอ งเดินหนา ตอ เพ่ือไปให
ถึงอโนปธิกบญุ คอื บญุ ทไ่ี มป ระกอบดว ยอปุ ธิ อนั เปน บุญท่บี ริสุทธิ์
เกิดจากเจตนาท่ไี มม กี เิ ลส มคี วามผองใส ทําดว ยจติ ใจบรสิ ุทธิ์
จริงๆ ตรงตามความมงุ หมาย คอื ทาํ เพ่ือความมุงหมายของบุญน้ัน
แทๆ ไมม ีโลภะ ไมมโี ทสะ ไมม โี มหะ

แตก ารที่จะฝกใหไ มมโี มหะนี้ ตอ งทําไปเรื่อยๆ อยาหยดุ ก็
แลวกนั ขอใหเดินหนาไป แลว กจ็ ะถงึ บญุ ท่ีจะทาํ ใหเ ราหมดอุปธนิ ้ี
แนนอน

บญุ ตัวสาํ คญั กค็ อื ปญญา บญุ แปลวาชําระจิตใจใหบริสทุ ธ์ิ
แตบุญจะชําระจติ ใจไดจ ริงก็ตอ งมาถงึ ข้ันปญญา จึงจะชําระดวย
วปิ สสนาใหส ะอาดไดจ ริง ฉะนน้ั บญุ จงึ รวมคาํ วาปญญาอยูดวย
และบญุ ข้ันสงู สดุ กจ็ งึ มาถงึ ปญญา มาเปน ปญญา ในท่สี ุดปุญญะ
กบั ปญญากเ็ ลยมาบรรจบกัน

ถา โยมทําอะไรแลว ไดท งั้ ปญุ ญะ ไดท้งั ปญญา
พระพทุ ธศาสนากเ็ ดนิ หนาในตัวโยม และโยมก็เดินหนาใน
พระพุทธศาสนา เพราะฉะนนั้ เมอื่ เราทําบญุ ไป ก็อยาใหไดเ ฉพาะ
ปญุ ญะ แตใหไ ดป ญญาดวย ใหป ุญญะกับปญญามาบรรจบกัน
แลวปญญาจะมาเปน ตัวทําใหบ ญุ ของเราน้มี ีผลสมบูรณอยา ง
แทจ รงิ จนกระทง่ั กลายเปนบญุ ทสี่ ูงสดุ คือเปน อโนปธกิ บญุ

วันนี้กเ็ ลยพดู กับโยมมายืดยาวพอสมควรในเรือ่ งบญุ
เพอ่ื ใหเ ห็นตัวอยา งวา เร่ืองของถอยคํา และกิจกรรมทีเ่ ราทําใน

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๙

พระพุทธศาสนานี้ ยงั มีอะไรทคี่ วรจะศึกษาอีกมาก ทา นจงึ บอกให
ศกึ ษาบญุ ดงั ท่ตี รัสไวในพระสูตรวา ดวยบญุ กิริยาวัตถุวา บุญ
กริ ิยาวัตถุ มีอยู ๓ อยาง คือ

๑. ทานมัย บญุ กิริยาวัตถุ
๒. ศีลมัย บุญกริ ิยาวตั ถุ
๓. ภาวนามยั บุญกิริยาวัตถุ
แลว พระองคก็ตรสั เปนคาถาสรปุ ทา ยยาวหนอ ย แตทอ น
ตนบอกวา ปุฺญเมว โส สิกฺเขยฺย บุคคลนั้นพึงศึกษาบุญ คือ
เรียนรฝู กทําใหก าวหนาตอไป อยาหยุดอยแู คบ ญุ ท่ีเราทําอยเู ปน
ทุนเทาน้นั บุญจงึ จะเกิดผลสมบรู ณอ ยางทไ่ี ดก ลา วมา
ไดแ สดงธรรมกถาเรือ่ งบญุ มาพอสมควรแกเวลา ขอ
อนุโมทนาคุณโยมทุกทานอกี ครั้งหนึ่ง ในการท่ไี ดมาปรารภ
เหตุการณหนึ่งซ่งึ จะเรยี กวากรณีตุกตาแปง หรืออะไรกแ็ ลว แต
แลว มารวมกันทาํ บญุ ข้นึ


Click to View FlipBook Version