The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปัญญาเหนือสามัญ ชีวประวัติและธรรมะคำสอนของท่านพระอาจารย์ปัญญาวัฑโฒ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-26 23:14:29

ปัญญาเหนือสามัญ ชีวประวัติและธรรมะคำสอนของท่านพระอาจารย์ปัญญาวัฑโฒ

ปัญญาเหนือสามัญ ชีวประวัติและธรรมะคำสอนของท่านพระอาจารย์ปัญญาวัฑโฒ

Keywords: ปัญญาเหนือสามัญ ชีวประวัติและธรรมะคำสอนของท่านพระอาจารย์ปัญญาวัฑโฒ

พ้ืนฐาน

อาตมาจะอธิบายอย่างย่อๆ เกี่ยวกับธรรมะจากมุมมองที่
อาจจะแตกต่างไปบ้าง สิ่งหนึ่งที่เราประสบอยู่เสมอในชีวิตก็คือ
ความรู้สึกกระวนกระวายอันเกิดจากความทุกข์ที่กัดกร่อนจิตใจเรา
เรารู้สึกได้ถึงสิ่งนี้ เพราะเป็นความรู้สึกที่มีอยู่ในใจเราตลอดเวลา
แต่เรากลับไม่สามารถบอกได้ว่าต้องการอะไรหรือต้องการเพราะ
เหตุใด อย่างไรก็ตามเราก็รู้ว่ามีความทุกข์ที่อยู่ในใจเรานี้
อาจกล่าวได้ว่าเราทุกคนรู้สึกและสัมผัสได้ถึงความทุกข์ที่อยู่ลึกๆ
ในใจเหมือนๆ กัน และก็เป็นปัญหาที่ทุกคนต่างต้องการที่จะกำ�จัด
อยู่ตลอดเวลา แต่เรากลับหาทางแก้ไขปัญหานั้นจากภายนอก
ตัวเรา เราต่างแสวงหาเงินทอง สิ่งของ อำ�นาจ และสิ่งต่างๆ ที่เรา
คิดว่าจะทำ�ให้มีความสุข แต่ไม่ว่าเราจะพยายามไขว่คว้าหามัน
มากสักแค่ไหนหรือจะประสบความสำ�เร็จสักเพียงไร ความทุกข์นั้น
ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม และในที่สุดคนส่วนใหญ่ก็ยอมแพ้และ
หมดหวังกับการที่จะขจัดความทุกข์นั้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ
ในชีวิตคนเรา

252 ปัญญาเหนือสามัญ

ไมน่ า่ แปลกใจเลยท่ีคนเราจะต้องการหาวธิ ดี บั ทุกข์ที่รมุ เรา้ และ
ความตอ้ งการทจ่ี ะดบั ความทกุ ขก์ เ็ ปน็ สงิ่ ทสี่ มควรและถกู ตอ้ ง แตเ่ รา
ไมเ่ ขา้ ใจวา่ สาเหตุของความทกุ ข์คอื อะไร และด้วยเหตุนีเ้ อง เราจงึ
แสวงหาความสขุ และประพฤตติ นในทางทผี่ ดิ ความทกุ ขเ์ ปน็ ผลจาก
การกระทำ�ที่ผิดทางกาย วาจา และใจ แต่เรากลับมองไม่เห็นว่า
การกระทำ�ของเราเป็นไปในทางที่ผิดต้ังแต่ต้น และเราก็ไม่เข้าใจถึง
ความสัมพนั ธ์ระหว่างการกระทำ�ทผ่ี ดิ ๆ กบั ความทุกข์

ถา้ เราสงั เกตรอบๆ ตวั เรา เราจะเหน็ ไดว้ า่ แทบจะทกุ คนพยายาม
ที่จะดับทุกข์ในทางที่ผิด แทนที่จะพิจารณาเข้าไปภายในเพื่อที่จะ
หาทางแก้ เรากลับแสวงหาความสุขที่อยู่ภายนอกและยังไม่รู้ว่า
ตนเองแก้ไม่ตรงจุด องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ว่า
ปัญหาหลักของเราก็คือความไม่เข้าใจ เราไม่รู้เท่าทัน เราขาด
ความเข้าใจ มิหนำ�ซ้ำ�เรายังไม่รู้ปัญหาของเราเพราะความโง่เขลา
การที่เราไม่รู้ว่าตนเองโง่เขลา ทำ�ให้เราไม่รู้ว่าตนเองมีความหลง
ติดตัวมา ปัญหาบางส่วนอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งต่างๆ ที่เราเรียนรู้
ในวัยเยาว์

ในวยั เดก็ เราเรยี นรสู้ ง่ิ ตา่ งๆ จากพอ่ แม่ จากเพอื่ นทโี่ รงเรยี น จากครู
ที่โรงเรียน เป็นต้น แตน่ ่าจะเรียนรจู้ ากเพอ่ื นในชั้นเรยี นมากกวา่ ครู
เราเรยี นรเู้ กย่ี วกบั มมุ มองทางโลกของเราจากผคู้ นรอบๆ ตวั ในวยั เดก็
เรายังไม่สามารถท่ีจะตัดสินอะไรหรือคิดได้ว่าส่ิงไหนถูกหรือผิด
เราไดแ้ ตเ่ ชอื่ สงิ่ ทค่ี นอน่ื บอก เราเชอื่ ทกุ สง่ิ ทค่ี นในโลกเชอ่ื กนั โดยทว่ั ไป

พอ่ แมย่ อ่ มพยายามทจ่ี ะสงั่ สอนลกู ของตนใหด้ ที สี่ ดุ เทา่ ทจี่ ะท�ำ ได้
ถา้ เปน็ พอ่ แมท่ ดี่ กี จ็ ะสอนลกู ตนเองในทางทถ่ี กู ทคี่ วร สอนสง่ิ ทต่ี นเอง
ไดเ้ รยี นรจู้ ากผอู้ าวโุ สและครบู าอาจารยข์ องตน แตค่ วามรสู้ ว่ นใหญท่ ี่
สบื ทอดมานนั้ เปน็ เพยี งแคค่ วามคดิ เหน็ และการคาดคะเน ซงึ่ ไมไ่ ดเ้ ปน็
ความเปน็ จรงิ ทสี่ ามารถพสิ จู นไ์ ดแ้ นน่ อน และนไี่ มใ่ ชเ่ ปน็ การทจี่ ะโทษ
พ่อแม่ แต่จากมุมมองของธรรมะแลว้ ความรู้ตา่ งๆ ทีถ่ ่ายทอดกันมา
นน้ั ไมไ่ ดเ้ ปน็ ความเหน็ ทถี่ กู ตอ้ ง ความเขา้ ใจผดิ เกดิ ขน้ึ จากการทค่ี นเรา
เชอื่ วา่ โลกภายนอกมคี วามส�ำ คญั มาก เชอ่ื กนั วา่ การด�ำ เนนิ ชวี ติ แบบ
โลกๆ เป็นสงิ่ ส�ำ คญั อย่างยิง่ และที่เปน็ เช่นนก้ี เ็ พราะกำ�ลงั ของกิเลส
ซงึ่ ท�ำ ใหค้ นเราเชอ่ื มนั่ ในทางโลกมากกวา่ ในทางธรรม ตง้ั แตย่ งั เปน็ เดก็
เรากเ็ รม่ิ ทจ่ี ะรบั ความเชอ่ื ทางโลกซง่ึ กลายมาเปน็ พน้ื ฐานของความคดิ
ความเขา้ ใจของเรา

พ้ืนฐานของเราเป็นส่ิงท่ีช้ีนำ�โลกทัศน์ของเราซ่ึงมีส่วนเก่ียวข้อง
กบั ความจ�ำ ของเรา และจดุ นเ้ี องคอื จดุ ทนี่ สิ ยั ทเ่ี ปน็ กเิ ลสตา่ งๆ เกดิ ขน้ึ
และดว้ ยความโลภ ความโกรธ ความหลง เราจงึ มกั จะมคี วามคดิ ทผี่ ดิ ๆ
และการกระทำ�ท่ีผิดๆ กิเลสคือตัวผลักดันนิสัยที่ไม่ดีของเรา จะมี
บางสิ่งบางอย่างท่ีกระตุ้นความทรงจำ�ของเราที่เกี่ยวข้องกับอดีต
ซงึ่ เปน็ สว่ นหนงึ่ ของกระแสของความเปน็ ตวั ตนของเรา เมอ่ื เราคดิ ถงึ
สิ่งน้ัน เราก็จะนึกถึงตัวเราในอดีตซึ่งเชื่อมโยงกับตัวเราในปัจจุบัน
และผลักดันความคิดปรุงแต่งของเราไปยังอนาคต ด้วยวิธีเช่นน้ีเอง
ความคิดต่างๆ ของเราจึงวนเวียนอยู่กับเร่ืองของอัตตาตัวตนและ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนกับเวลา ซ่ึงก็หมายความว่าความคิด
เก่ียวกับตัวเราต่างๆ ถูกนำ�ไปเชื่อมโยงเข้ากับความทรงจำ�ในอดีต

พื้นฐาน 253

254 ปัญญาเหนือสามัญ

ความคิดอะไรก็ตามที่ผุดขึ้นมาจะถูกเปรียบเทียบโดยฉับพลันด้วย
ค�ำ ถามทว่ี า่ ดไี หมส�ำ หรบั เรา นา่ พอใจหรอื ไม่ แลว้ เรากจ็ ะมปี ฏกิ ริ ยิ า
ตามนั้นทันที

บ่อยคร้ังท่ีเรามีปฏิกิริยาในทางที่เป็นอกุศล ซึ่งก็หมายความว่า
ปฏกิ ริ ยิ าของเราถกู ครอบง�ำ ไปดว้ ย ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ยิ่งไปกวา่ น้ัน การกระทำ�ทเี่ ป็นอกุศลเหลา่ น้จี ะฝังอยใู่ นความทรงจำ�
และท�ำ ใหก้ เิ ลสมกี �ำ ลงั มากขน้ึ และการปฏบิ ตั ธิ รรมเปน็ เวลายาวนาน
เทา่ นน้ั ทจ่ี ะท�ำ ใหแ้ นวความคดิ ตา่ งๆ ทเ่ี คยชนิ ของเราคอ่ ยๆ เปลย่ี นไป
โดยธรรมะจะเข้ามาแทนที่กิเลสต่างๆ ท่ีเคยเป็นแรงผลักดันอยู่
เบือ้ งหลัง แตก่ ่อนท่ีธรรมะจะมาเขา้ มามีบทบาท ความเช่ือพ้นื ฐาน
ทางโลกและค่านิยมต่างๆ ได้ถูกฝังลึกอยู่ในจิตใจของเราเสียแล้ว
ซงึ่ ทำ�ใหเ้ ราเป็นทกุ ขก์ นั ได้ง่ายเสมอ

เราคน้ หาวธิ ที จี่ ะดบั ทกุ ขอ์ ยตู่ ลอดเวลา แตเ่ พราะความหลงของเรา
เราจงึ มกั จะเลอื กใชว้ ธิ ที กี่ เิ ลสบอกซง่ึ ไมไ่ ดผ้ ล ในแงห่ นงึ่ วธิ ตี า่ งๆ เหลา่ น้ี
อย่างมากอาจจะช่วยบรรเทาความทุกข์ได้ แต่อีกแง่หน่ึงกลับก่อให้
เกดิ ปญั หาและความทกุ ขข์ น้ึ มาใหม่ ซง่ึ ในทส่ี ดุ แลว้ กจ็ ะท�ำ ใหเ้ รากลบั
แยล่ งไปกวา่ เดมิ แตถ่ า้ เราท�ำ ใจใหส้ งบและเขา้ สสู่ มาธไิ ด้ เรากจ็ ะพบวา่
อยา่ งนอ้ ยความทกุ ขไ์ ดด้ บั ไปในชว่ั ขณะหนง่ึ แตเ่ รายงั ไมไ่ ดข้ จดั กเิ ลส
ใหห้ มดไป เพยี งแคท่ �ำ ใหก้ เิ ลสสงบตวั ไดช้ ว่ั คราวดว้ ยสภาวะทเ่ี ปน็ สขุ
ของสมาธิ ตราบใดทจี่ ติ อยู่ในสมาธิกเิ ลสกจ็ ะสงบตัว ความสงบจาก
สมาธิสามารถท่ีจะหย่ังลงลึกไปอีกขั้นด้วยจิตที่รวมเป็นหนึ่งเดียว
หรือสภาวะของเอกัคคตารมณ์ ก็คือมีสติในการรับรู้อยู่ แต่ไม่มี

สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้รับรู้ และน่ีคือ ปรมัง สุขัง สภาวะของความสุขท่ี
แท้จริง

ในสองท่อนแรกของพระธรรมบทได้กล่าวถึงความแตกต่าง
ระหว่างลักษณะของความทุกข์และความสุขว่า จิตเป็นต้นเหตุของ
การกระท�ำ ทง้ั หลาย “ธรรมทงั้ หลายมใี จเปน็ หวั หนา้ มใี จประเสรฐิ ทสี่ ดุ
ส�ำ เรจ็ แลว้ ด้วยใจ” ทอ่ นที่สองกลา่ ววา่ “ถ้าบคุ คลใดมีใจอันเปน็ โทษ
ประทุษร้ายแล้ว... ทุกข์ย่อมไปตามผู้นั้น... เหมือนล้อหมุนไปตาม
รอยเท้าโคทีล่ ากเกวียนไปอย”ู่ ซงึ่ ในทน่ี ก้ี ็หมายความวา่ ความทกุ ข์
เปน็ สงิ่ ทท่ี รมาน ล�ำ บาก ยากทจี่ ะตา้ นทาน และกย็ งั กลา่ วตอ่ ไปอกี วา่
“ถา้ บคุ คลมใี จผอ่ งใส... สขุ ยอ่ มไปตามบคุ คลนนั้ ... เหมอื นเงามปี กติ
ไปตาม” จึงสามารถเห็นขอ้ เปรยี บเทียบได้วา่ ล้อของเกวยี นเปน็ สิ่ง
ทห่ี ยาบ สว่ นเงาเปน็ สง่ิ ทล่ี ะเอยี ด และตอ้ งเปน็ เชน่ นน้ั เพราะวา่ ความทกุ ข์
กค็ อื การด�ำ เนนิ ชวี ติ ไปในทางทผี่ ดิ และทางทผี่ ดิ นนั้ กจ็ ะท�ำ ใหเ้ รารสู้ กึ
ทุกข์ทรมานมากข้นึ เรอื่ ยๆ ในทางตรงกนั ข้าม ความสุขกเ็ หมอื นผล
ของการด�ำ เนนิ ไปในทางทถ่ี กู ทค่ี วร ซง่ึ กย็ อ่ มท�ำ ใหเ้ รารสู้ กึ ไดถ้ งึ ความ
เบาสบายที่เพ่ิมขึ้นตามลำ�ดับ แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถจับต้อง
ความสุขได้ในขณะท่ีมีความสุขเกิดข้ึน แต่ถ้าความสุขหายไปด้วย
เหตผุ ลใดกต็ าม แมเ้ พยี งชว่ งสน้ั ๆ เรากจ็ ะรสู้ กึ ไดท้ นั ทวี า่ บางสง่ิ บางอยา่ ง
ที่มคี ่าไดข้ าดหายไป

การที่จะบรรลุความสำ�เร็จได้น้ัน การปฏิบัติภาวนาจะต้อง
ครอบคลุมถึงองค์รวมท้ังหมดของบุคคลผู้ภาวนาและส่ิงต่างๆ
ท่ีกระทำ�ในชีวิตประจำ�วัน วิถีของการปฏิบัติตั้งอยู่บนหลักของ

พื้นฐาน 255

256 ปัญญาเหนือสามัญ

เหตุและผล ซ่ึงก็หมายความว่าเหตุท่ีดีจะนำ�มาซึ่งผลท่ีดีทั้งหลาย
เราไมส่ ามารถเลอื กปฏิบัติเพยี งบางส่วน และละเวน้ บางสว่ น ถ้าเรา
ทำ�เชน่ นัน้ ความเพียรพยายามของเราก็จะไม่ประสบผลสำ�เรจ็ และ
ด้วยเหตุน้ีเองจึงจำ�เป็นอย่างย่ิงที่เราควรจะแก้ไขนิสัยความเคยชิน
ในชวี ติ ประจ�ำ วนั ของเราในชว่ งทเี่ รม่ิ ปฏบิ ตั ิ พฤตกิ รรมและทศั นคตติ า่ งๆ
ที่ทำ�ให้เกิดปัญหากับผู้อื่นหรือความรู้สึกค้างคาใจเก่ียวกับความ
รู้สึกผิดและเสียดายจะมีผลต่อความสงบสุขของใจเราอยู่ตลอดเวลา
ซงึ่ จะทำ�ใหก้ ารปฏิบัติเจรญิ กา้ วหนา้ ไปได้ยาก

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น การรักษาศีลจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความ
สำ�คัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะเป็นกลไกที่จะช่วยให้สามารถอยู่ร่วม
กับผู้อื่นได้อย่างสงบสุข ซึ่งก็หมายความว่าเมื่อเรามีความมั่นคงใน
ศีลธรรมแล้ว เราจะไม่รู้สึกหวั่นไหวเกี่ยวกับเรื่องทางโลก เราไม่มี
ความรู้สึกผิดเกี่ยวกับเรื่องทางโลกที่มักจะนำ�มาซึ่งความทุกข์และ
ทำ�ให้เราไม่สามารถที่จะหยุดนิ่งและอยู่อย่างสงบได้ ถ้าเราเป็น
คนมีศีลธรรมแล้ว เราก็จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ง่ายและสามารถ
ลมื เรือ่ งตา่ งๆ ของโลกภายนอกได้ ดว้ ยวธิ นี ีเ้ อง ยิง่ เราปฏบิ ตั มิ ากขึน้
เท่าไร ใจเราก็จะออกไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกภายนอกน้อยลง
เท่านั้น การทำ�สมาธิของเราก็จะพัฒนาและเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ
ขึ้นไป

วิธีที่ถูกต้องในการพัฒนาจิตใจก็คือการปฏิบัติตามแบบดั้งเดิมท่ี
ไดม้ กี ารสบื ทอดกนั มาตงั้ แตส่ มยั พทุ ธกาล คอื เรมิ่ ตน้ จากการรกั ษาศลี
ซง่ึ จะนำ�ไปส่สู มาธิและปัญญา

ในการรักษาศีลก็เริ่มจากการฝึกรักษาศีลห้า ซ่ึงเป็นพ้ืนฐานท่ีดี
ส�ำ หรับการฝึกฝนตนเอง ศีลห้ากค็ ือการไมฆ่ า่ สตั วต์ ดั ชวี ติ อนั น้รี วม
ถงึ สตั วเ์ ดรจั ฉานดว้ ย ไม่ใช่เพียงแตม่ นษุ ย์ การไม่ลักทรัพย์ การไม่
ประพฤตผิ ดิ ประเวณี การไมพ่ ดู ปด ไมพ่ ดู สอ่ เสยี ดนนิ ทาและเพอ้ เจอ้
ตา่ งๆ การไมเ่ สพสรุ ายาเมา ศลี ทงั้ หา้ ขอ้ นเี้ ปน็ พนื้ ฐานของการฝกึ ตน
ใหเ้ ปน็ คนดี ถา้ เราไมส่ ามารถทจ่ี ะรกั ษาศลี หา้ ขอ้ นไ้ี วไ้ ด้ เรากจ็ ะเสอ่ื ม
จากการเปน็ มนุษย์และผลทจ่ี ะตามมาในท่สี ุดก็คงพอจะทราบกนั อยู่

แต่เป็นท่ีน่าเสียดายว่ามีคนจำ�นวนน้อยที่เข้าใจเกี่ยวกับการมี
ศีลธรรมอย่างแท้จริง เมื่อเราไม่เข้าใจเกี่ยวกับการรักษาศีลอย่าง
ถอ่ งแท้ เรากจ็ ะท�ำ ผดิ ศลี โดยไมร่ ตู้ วั และคดิ วา่ ตนเองท�ำ ถกู ในปจั จบุ นั
โลกตะวนั ตกมแี นวโนม้ ทจี่ ะเปน็ ไปในทางนอี้ ยา่ งเหน็ ไดช้ ดั ความตกต�่ำ
หรอื บกพร่องของศีลธรรมเป็นสาเหตทุ ่กี อ่ ให้เกดิ ปัญหาอนื่ ๆ ตามมา
มากมาย และทงั้ นเ้ี ปน็ เพราะเกดิ จากการขาดความเขา้ ใจเรอื่ งศลี ธรรม
และกฎแห่งกรรม บางคนอาจจะถามว่า “เราจะรักษาศีลไปทำ�ไม”
มีคนจำ�นวนมากที่ไม่เช่ือเรื่องศีลธรรมและกฎแห่งกรรม เขาคิดว่า
การกระท�ำ ตา่ งๆ ของตนไมม่ ผี ลทจี่ ะตามมา เสมอื นวา่ เขาสามารถท�ำ
สิ่งท่ีผิดศีลธรรมได้โดยไม่ต้องรับโทษจากการกระทำ� เขาไม่ทราบว่า
ตนเองมคี วามเปลยี่ นแปลงทกุ ครงั้ ทไี่ ดก้ ระท�ำ ผดิ ศลี เขาเปลย่ี นแปลง
ตัวเองไปในทางท่ีจะทำ�ให้เขาจะต้องได้รับผลจากการกระทำ�ผิด
เหล่านั้น

ในการปฏบิ ตั ทิ างพทุ ธศาสนา พระพทุ ธองคไ์ ดต้ รสั ไวว้ า่ มคี นเพยี ง
จำ�นวนน้อยนิดท่ีตาจะไม่มืดบอด เราไม่สามารถท่ีจะคาดหวังให้

พื้นฐาน 257

258 ปัญญาเหนือสามัญ

คนสว่ นใหญพ่ ฒั นากา้ วหนา้ ไปในมรรคดว้ ยความรวดเรว็ และงา่ ยดาย
ส่ิงเดียวท่ีหวังได้ก็คือการรักษาศีลจะทำ�ให้คนส่วนใหญ่ตาสว่างขึ้น
ซึง่ จะทำ�ให้ผทู้ ส่ี ามารถจะเข้าใจธรรมะมจี ำ�นวนมากข้นึ

ในความเป็นจริงคนธรรมดาในโลกนี้ไม่สามารถที่จะรู้ซึ้งเข้าใจ
อะไรได้มากนักเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรมและกฎแห่งกรรม เขามักจะ
เป็นไปตามวิบากกรรมของเขา นั่นก็คือเมื่อเกิดความอยากก็จะ
ประพฤติผิดและก็จะเสื่อมลงตามการกระทำ�ของตน ซึ่งโลกเป็น
เช่นนี้มาเป็นเวลายาวนานมากแล้ว และด้วยเหตุและผลของกรรม
ก็จะทำ�ให้โลกเป็นไปอย่างนี้โดยไม่มีที่สิ้นสุด คนที่มีปัญญาพอที่จะ
เข้าใจธรรมชาติของโลกอย่างแจ่มชัดจึงจะเห็นว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่ดี
เขารู้ว่าเขาควรพยายามที่จะหาทางหลุดพ้นจากสิ่งนี้ การรักษาศีล
อย่างเคร่งครัดจึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญมากสำ�หรับคนเหล่านี้ เขาจะ
ไม่ยอมละเลยในเรื่องนี้โดยเด็ดขาด

ในความเปน็ จรงิ แลว้ การรกั ษาศลี เปน็ การปฏบิ ตั เิ พือ่ ทีจ่ ะรกั ษา
สภาพความเป็นมนุษย์ของตน ด้วยการรักษาการกระทำ�ของตน
โดยกระทำ�แต่สิ่งที่จะก่อให้เกิดผลดีในอนาคต ถ้าเราเลือกที่จะ
กระทำ�สิ่งที่ไม่ดีซึ่งจะก่อให้เกิดผลร้ายแล้ว เราก็จะเสื่อมลงไป
เรื่อยๆ ยิ่งเสื่อมลงเท่าไรเราก็จะยิ่งโง่เขลามากขึ้นเท่านั้น และโอกาส
ที่เราจะเห็นกับดักที่เราติดอยู่น้อยลงยิ่งขึ้นเท่านั้นด้วย ดังนั้น
การกระทำ�ด้วยความมืดบอดนั้นจะทำ�ให้เราทำ�บาปมากขึ้นและ
ทำ�ให้เราเสื่อมลงไปอีก จนในที่สุดกลายเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

คนส่วนใหญ่ไม่รู้เก่ียวกับความสัมพันธ์โดยตรงของกรรมและผล
ของกรรม ถ้าอยากจะเห็นด้วยตาถึงผลของกรรมเหล่านี้ก็สามารถ
จะดูได้ตามโรงพยาบาลจิตเวช ลองดูและพิจารณาผู้ป่วยทางจิต
บางรายท่ีมีอาการหนักๆ น่ีคือสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง และเป็น
เหตผุ ลหนง่ึ ว่าท�ำ ไมเราควรจะรักษาศีล กเ็ พยี งแค่เพื่อท่จี ะท�ำ ให้เรา
มีจิตเปน็ ปกติ ซง่ึ เปน็ เร่อื งของการรกั ษาสภาพจิตใจ

โดยปกติแล้วคนเราจะไม่รับประทานอาหารที่ไม่สะอาด
หรอื ไมอ่ าบน้�ำ จนกระทัง่ ตวั เองเหมน็ สกปรก เรารักษาความสะอาด
ของรา่ งกายในระดบั หนง่ึ เพราะเกรงกลวั ตอ่ โรคภยั ไขเ้ จบ็ คนเรากงั วล
ถึงโรคทางกายแต่กลับไม่คำ�นึงถึงโรคทางใจ และคนส่วนใหญ่มีโรค
ทางใจทแี่ อบแฝงอยใู่ นตวั ตลอดเวลา โรคทางใจเหลา่ นส้ี ว่ นใหญม่ กั จะ
เกดิ จากความบกพรอ่ งทางดา้ นศลี ธรรม

เนอื่ งจากการประพฤตผิ ดิ ศลี นเี้ กดิ จากสภาวจติ ทเ่ี ตม็ ไปดว้ ยกเิ ลส
ดังนั้นเราจึงจำ�เป็นต้องเรียนรู้เก่ียวกับกลไกการทำ�งานของกิเลส
กิเลสเป็นข้าศึกศัตรูของความสงบสุขในจิตใจอยู่เสมอ ให้พิจารณา
กเิ ลสใหม้ ากทส่ี ดุ เทา่ ทจี่ ะท�ำ ได้ และพยายามสงั เกตกเิ ลสทอี่ ยใู่ นตวั เรา
พิจารณาถึงความลึกและความแนบเนียนของกิเลสที่ฝังอยู่ในตัวเรา
พยายามศกึ ษาเก่ียวกบั วิธแี ละสงิ่ ตา่ งๆ ท่จี �ำ เป็นจะตอ้ งมใี นการท่ีจะ
ตอ่ สกู้ บั อทิ ธพิ ลของกเิ ลสในใจเรา การนงั่ สมาธไิ มใ่ ชส่ ง่ิ เดยี วในการตอ่ สู้
กบั กเิ ลสเทา่ นนั้ แตเ่ ราควรจะตอ้ งคอยสงั เกตจติ ใจเราอยเู่ สมอในชวี ติ
ประจ�ำ วนั และนเ่ี ปน็ เรอื่ งทหี่ ลายๆ คนนน้ั ไมเ่ ขา้ ใจเกย่ี วกบั พทุ ธศาสนา
คนส่วนมากมีความต้องการเป็นอย่างยิ่งท่ีจะปฏิบัติสมาธิภาวนา

พื้นฐาน 259

260 ปัญญาเหนือสามัญ

แต่ไม่ต้องการที่จะรักษาศีลเพ่ือท่ีจะชำ�ระล้างตนเองในการใช้ชีวิต
ประจ�ำ วนั และถ้าไมม่ ศี ลี ธรรมทมี่ ่นั คงแล้ว การปฏบิ ตั ิสมาธิภาวนา
กเ็ ป็นไปไดย้ าก

ยกตวั อยา่ งเชน่ คนสว่ นใหญม่ กั จะคดิ วา่ การดมื่ สรุ าเพยี งเลก็ นอ้ ย
ไมไ่ ด้เปน็ เรือ่ งใหญ่ ซ่ึงกจ็ รงิ อยู่ การดืม่ สุราไม่ได้เป็นเรอื่ งใหญ่โตหรอื
สำ�คัญอะไร แต่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าปัญหาท่ีแท้จริงก็คือสิ่งที่เรา
กระท�ำ เมอื่ เราตกอยภู่ ายใตอ้ �ำ นาจของสรุ า เมอ่ื เราดมื่ สรุ า เราจะไมม่ ี
สตทิ จ่ี ะควบคมุ การกระท�ำ ตา่ งๆ ของเรา และดว้ ยเหตนุ เ้ี อง เรากส็ ามารถ
ทีจ่ ะทำ�อะไรท่เี ราไมค่ าดคิดได้

ถ้าเรามองในแง่จิตวิทยา เราอาจจะถามตัวเองว่า “ทำ�ไมเรา
จึงอยากด่มื สรุ า ดม่ื เพือ่ อะไร” ถา้ เราพจิ ารณาแลว้ เรากจ็ ะเหน็ วา่
การดมื่ สรุ าเปน็ เพยี งเสมอื นการถกู วางยาสลบ เราตอ้ งการทจ่ี ะท�ำ ให้
ตนเองไมม่ คี วามรสู้ กึ อะไรในระดบั หนงึ่ เราตอ้ งการทจ่ี ะท�ำ ใหจ้ ติ ใจเรา
ด้านชาเพ่ือท่ีจะไม่รู้สึกทุกข์ และนี่เป็นการกระทำ�ที่ไม่ถูกต้องใน
การดบั ทกุ ข์ สารตา่ งๆ เหลา่ นไี้ มไ่ ดช้ ว่ ยยกระดบั จติ ใจของเรา แตก่ ลบั
จะดงึ จติ ใจใหต้ กต�ำ่ ลง สงิ่ เหลา่ นเ้ี ปลยี่ นแปลงจติ ใจเราโดยสรา้ งสภาวะ
ต่างๆ ท่ีไม่เหมาะสมต่อการท่ีจะดำ�เนินอยู่ในมรรคของพุทธศาสนา
ในการเจริญอยู่ในมรรคนั้น เราจำ�เป็นท่ีจะต้องมีสติที่แหลมคมอยู่
ตลอดเวลาเพ่ือท่ีจะรู้แจ้งและหย่ังถึงความจริงของคำ�สอนของ
พระพุทธเจา้ การท�ำ จิตใจใหด้ า้ นชาเปน็ สิ่งทีไ่ ม่ถกู ตอ้ ง

ผู้ท่ีใช้ยาเสพติดต้องการท่ีจะหาทางออกแบบง่ายๆ และรวดเร็ว
อยู่เสมอ เขาต้องการท่ีจะเข้าสู่สภาวจิตใดสภาวจิตหน่ึงโดยทางลัด
แต่สิ่งท่ีเขากลับไม่รู้ก็คือว่าวิธีที่ถูกต้องในการที่จะได้สมาธิน้ันต้อง
แลกมาด้วยความพยายามและความเพียรเท่านั้น ต้องทำ�ด้วยวิธี
ท่ีถูกต้อง เวลาท่ีเราพยายามท่ีจะหาทางลัด ถึงแม้ว่าจะได้อะไรมา
ก็ต้องเสยี สง่ิ นัน้ ไปอยา่ งรวดเร็ว เพราะมันไมไ่ ดเ้ ปน็ ไปตามธรรมชาติ
เม่ือไรเราเข้าถึงจิตใจของเราในทางที่ถูกต้องด้วยการปฏิบัติภาวนา
เรากจ็ ะได้พบและสมั ผัสกับของจรงิ

ลักษณะของการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมเป็นส่ิงที่
คอ่ นข้างนา่ สนใจ ศีลธรรมโดยส่วนใหญ่แล้วเปน็ สิ่งทมี่ ีความสมั พันธ์
กบั สงิ่ อน่ื แตไ่ มไ่ ดม้ คี วามสมั พนั ธใ์ นลกั ษณะทเี่ หมอื นกบั แนวความคดิ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคปี พ.ศ. 2500 ไม่ได้ข้ึนอยู่กับ
ปจั เจกบคุ คล แตเ่ กย่ี วเนอ่ื งกบั ความเปน็ มนษุ ยข์ องเรา ศลี ธรรมเปน็
สภาวธรรมทปี่ ระกอบด้วยปจั จัยต่างๆ ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกบั มนุษยโ์ ดยตรง
อนั ประกอบดว้ ยคณุ ธรรมตา่ งๆ ของการเปน็ มนษุ ย์ ซงึ่ หมายความวา่
เวลาท่ีเราทำ�ผิดศีลก็คือการกระทำ�ท่ีขัดแย้งกับความเป็นมนุษย์
ของตน ยกตวั อยา่ งเสอื เปน็ ตน้ เสอื นนั้ กม็ ศี ลี ธรรมทแี่ ตกตา่ งออกไป
คอื ในรปู แบบของเสอื และเปน็ ไปตามธรรมชาตขิ องมนั ถา้ มนั ท�ำ ตวั ใน
แบบของเสอื มนั กจ็ ะรกั ษาสภาพความเปน็ เสอื ของมนั ไวไ้ ด้ และสตั ว์
สว่ นมากกม็ กั จะเปน็ เชน่ น้ี ธรรมชาตขิ องเสอื ธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ หรอื
ธรรมชาตขิ องสนุ ขั กม็ คี วามแตกตา่ งในระดบั ของศลี ธรรมและรปู แบบ
ตามธรรมชาตขิ องตน

พื้นฐาน 261

262 ปัญญาเหนือสามัญ

มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ช้ันสูงโดยธรรมชาติ เราจึงควรท่ีจะรักษา
เกียรตินี้ด้วยการรักษาศีลห้า แต่เราต้องเข้าใจว่าศีลธรรมไม่ได้มีแค่
ศีลเพียงห้าข้อเท่านั้น ศีลนั้นยังหมายรวมไปถึงความประพฤติท่ี
ถกู ต้องและมารยาทที่ดีงามอีกดว้ ย น่ันกค็ ือเราตอ้ งระมัดระวังรกั ษา
กายและวาจา ดว้ ยการกระท�ำ สงิ่ ตา่ งๆ ในทางทถ่ี กู ทค่ี วร ซงึ่ สงิ่ เหลา่ นี้
ล้วนแลว้ แตเ่ ปน็ เร่ืองของศลี ธรรม

แน่นอนที่สุดหลักสำ�คัญของศีลธรรมคือศีลห้า ศีลห้าข้อนี้
เป็นสิ่งที่สำ�คัญที่สุดที่จะต้องรักษา แต่ก็ยังมีสิ่งอื่นอีกมากมายที่
เกี่ยวข้องกับการรักษาศีล เราสามารถที่จะรู้ระดับของศีลธรรม
จากอากัปกิริยาของคน เวลาที่คนบางคนประพฤติตนไม่สุภาพ
เราก็มองว่าเขาเป็นคนที่หยาบคายไม่มีมารยาท แต่หากคนทำ�ตัว
เรียบร้อย เราก็มองว่าเขาเป็นคนสุภาพอ่อนโยน ทั้งนี้เนื่องจาก
การกระทำ�ต่างๆ นั้นล้วนแล้วแต่เกิดมาจากจิต คนสองคนจึงมัก
จะคิดและประพฤติตนแตกต่างกัน

และเม่ือส่ิงที่มาจากจิตน้ันดีงาม การกระทำ�ท่ีเป็นผลก็จะดีตาม
ไปด้วย การกระทำ�เหล่าน้ันก็จะก่อให้เกิดกรรมดีท่ีจะย้อนกลับมา
ส่งผลที่ดีที่เป็นประโยชน์ให้กับเราอยู่เสมอ ดังน้ันเราจึงควรที่จะ
ระมดั ระวงั ในการกระท�ำ ตา่ งๆ โดยทว่ั ไปของเราและรวมทงั้ การกระท�ำ
ที่กำ�หนดไว้ในศลี หา้ ข้อ

การกระทำ�ทางกาย วาจา และใจ ลว้ นเป็นกรรม กรรมหมายถงึ
การกระท�ำ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ การกระท�ำ ดว้ ยเจตนาทม่ี าจากสว่ นลกึ

ของจติ ใจเรา เจตนาอาจจะอยแู่ คภ่ ายในใจเราในรปู ของความคดิ หรอื
อาจจะแสดงออกมาในรูปของการกระทำ�ทางกายและวาจา ผลของ
กรรมทต่ี ามมากจ็ ะเปน็ ไปตามลกั ษณะของการกระท�ำ นน้ั ๆ เมอ่ื ปจั จยั
ทั้งภายนอกและภายในพร้อมก็จะส่งให้มีผลตามท่ีเหมาะท่ีควรแก่
การกระท�ำ นนั้ ๆ

กรรมมี 3 ชนดิ คอื มโนกรรม วจกี รรม และกายกรรม มโนกรรมนน้ั
ละเอยี ดทส่ี ดุ วจกี รรมนนั้ หยาบขนึ้ มาอกี สว่ นกายกรรมนน้ั หยาบทส่ี ดุ
ศีลธรรมในทางพุทธศาสนาคำ�นึงถึงวจีกรรมและกายกรรมเท่าน้ัน
ไม่รวมไปถงึ มโนกรรม เพราะความคิดละเอยี ดเกินกวา่ ทีค่ นธรรมดา
จะควบคมุ ได้ ดว้ ยเหตทุ ค่ี วามคดิ นนั้ ควบคมุ ไดย้ ากมาก พระพทุ ธองค์
จึงตรัสไว้ว่า เราต้องดูแลรักษาการกระทำ�ภายนอกให้ถูกต้องและ
ดีพร้อมเสียกอ่ น ภายนอกกห็ มายถงึ กายและวาจา ถงึ แมว้ ่าภายใน
จะรมุ่ รอ้ น เราตอ้ งประพฤตปิ ฏบิ ตั ภิ ายนอกใหด้ ใี หไ้ ดเ้ สยี กอ่ น เราจะได้
ไม่ท�ำ ให้โลกและสง่ิ รอบๆ ตวั เราเดือดรอ้ นวุ่นวาย เมอ่ื ไรทีเ่ รากอ่ ให้
เกดิ ความไมส่ งบสขุ ภายนอกตวั เรา สงิ่ ทอ่ี ยรู่ อบๆ ตวั เรากจ็ ะมปี ฏกิ ริ ยิ า
ในทางลบกบั ตวั เราเชน่ กนั เมอ่ื สภาพแวดลอ้ มของเราไมส่ งบ เรากจ็ ะ
ไมส่ ามารถทจี่ ะมสี มาธอิ ยกู่ บั การปฏบิ ตั ภิ าวนาของเราได้ เราตอ้ งดแู ล
รบั ผดิ ชอบแกไ้ ขสภาพแวดลอ้ มรอบตวั เราใหด้ เี สยี กอ่ น เพอ่ื ทจี่ ะไดไ้ มม่ ี
ความรู้สกึ เสียดายหรอื เสียใจกบั สิง่ ตา่ งๆ และเมอ่ื เรามคี วามสงบสขุ
กบั สงิ่ ทอ่ี ยรู่ อบตวั เราแลว้ เรากจ็ ะสามารถปลอ่ ยวางและลมื สงิ่ ตา่ งๆ
ทางโลกและม่งุ การปฏบิ ัติไปภายในตัวเราได้ง่าย

พื้นฐาน 263

264 ปัญญาเหนือสามัญ

เน่ืองจากการกระทำ�ทางกายและวาจาเป็นส่ิงที่คนอื่นเห็น
การกระท�ำ นน้ั จงึ มผี ลโดยตรงกบั สง่ิ ตา่ งๆ รอบๆ ตวั เรา สง่ ผลถงึ ความ
สมั พันธข์ องเรากบั คนรอบข้าง ซง่ึ เปน็ ปฏิกริ ยิ าทเ่ี กดิ จากการกระท�ำ
ทางกายและวาจาของเรา ความคดิ นน้ั ถึงแมว้ า่ จะเกี่ยวข้องกับผูอ้ น่ื
แต่เพราะเกิดขึ้นโดยที่ผู้อ่ืนไม่สามารถล่วงรู้ได้ จึงไม่ส่งให้มีผลหรือ
ปฏกิ ริ ยิ าใดๆ และดว้ ยเหตนุ เี้ อง มโนกรรมจงึ จดั วา่ อยสู่ งู กวา่ วจกี รรม
และกายกรรม และไมไ่ ดร้ วมอยใู่ นศลี ธรรม ถา้ เราคดิ ถงึ ศลี หา้ ขอ้ แลว้
ทุกขอ้ เกย่ี วข้องกบั กายและวาจา ไม่มีข้อใดทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั จติ ใจเลย

อยา่ งไรกต็ ามการฝกึ ฝนจติ ใจนนั้ เปน็ สง่ิ ทสี่ �ำ คญั อยา่ งยงิ่ เพราะถา้
เราคิดไปในทางท่ไี มถ่ ูกไมค่ วรแล้ว ความคิดทไ่ี ม่ดที ี่เป็นภยั เหล่าน้ัน
มกั จะแสดงออกมาทางกายและวาจา เมอ่ื เปน็ เชน่ นนั้ เรากจ็ ะสามารถ
ท�ำ ผดิ ศลี ไดง้ ่าย คนที่ท�ำ ผดิ ศีลอยเู่ สมอ กจ็ ะค่อยๆ เส่อื มจากความ
เปน็ มนษุ ยล์ งไปเรอ่ื ยๆ ซงึ่ กเ็ ปน็ เรอ่ื งทนี่ า่ เสยี ดาย เพราะวา่ คนเรานน้ั
เสื่อมลงได้ง่าย แต่ยากที่จะพัฒนาตนเองให้ดีข้ึน เราจึงต้องคอย
ระมัดระวังเปน็ อย่างมากในการรกั ษาศีล

ในการปฏบิ ตั ธิ รรม เราตอ้ งเรมิ่ จากระดบั ของศลี กอ่ น ยงั ไมจ่ �ำ เปน็
ที่เราจะต้องไปปฏิบัติภาวนาตามลำ�พัง แต่จำ�เป็นท่ีจะต้องรักษาศีล
ให้ได้เสียก่อน สำ�หรับฆราวาส การปฏิบัติอย่างสม่ำ�เสมอท่ีบ้าน
มีประโยชน์อย่างมาก ถึงแม้ว่าอาจจะทำ�สมาธิได้ไม่ถึงข้ันลึกมาก
แต่กช็ ่วยเออ้ื ต่อการปฏิบตั ิภาวนา ประการแรกกค็ อื เราตอ้ งเอาชนะ
อุปสรรคต่างๆ ทางโลกด้วยการมีสติและมีวินัย ในแต่ละวันถ้าเรา

ไม่ขับรถก็ขึ้นรถเมล์ จับจ่ายซื้อของหรือทำ�งาน สิ่งต่างๆ เหล่านี้
ทำ�ใหใ้ จเรานนั้ คดิ อยู่กบั เรอื่ งต่างๆ ตลอดเวลา และเวลาทีเ่ รานัง่ ลง
เพอ่ื จะท�ำ สมาธิ ความคดิ ตา่ งๆ เหลา่ นก้ี ย็ งั เกดิ ขนึ้ อยตู่ ลอดเวลา และ
ด้วยเหตุน้ีเองจึงเป็นการยากมากที่ฆราวาสจะสามารถหยุดการ
ทำ�งานและฝกึ ปฏบิ ตั ิภาวนาอยา่ งจรงิ จัง

ผทู้ ไ่ี ดผ้ า่ นการฝกึ ปฏบิ ตั มิ ามากเพยี งพอทจี่ ะควบคมุ จติ ใจตนเองได้
ในระดบั หนง่ึ กส็ ามารถทจ่ี ะปฏบิ ตั ภิ าวนาไดด้ กี วา่ ถงึ แมจ้ ะยงั ท�ำ งานอยู่
แต่ก็ต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างมาก ข้อสำ�คัญก็คือเรา
ต้องเรียนรู้ท่ีจะควบคุมความคิดของเรา ซ่ึงก็หมายถึงคำ�พูดหรือ
บทสนทนาในจิตใจเรา การตัดบทสนทนาภายในใจน้ันจะทำ�ให้เรา
ควบคุมจติ ของเราไดด้ ี แตม่ ันก็ไม่ได้เปน็ เร่ืองง่ายเลย เราจะรูส้ กึ ว่า
เวลาทม่ี คี วามคดิ ผดุ ขน้ึ มา ความคดิ ดเู หมอื นจะมคี วามส�ำ คญั อยา่ งยงิ่
ในขณะนนั้ มเี สยี งทอี่ ยภู่ ายในหวั ของเราทจ่ี ะคอยบอกวา่ “เราควรทจี่ ะ
มาคดิ เรอื่ งนกี้ อ่ นทจี่ ะปฏบิ ตั ติ อ่ นะ” แตน่ น่ั กเ็ ปน็ เพยี งเสยี งกระซบิ ของ
กิเลสและน่ีคือวิธีของกิเลสที่คอยจะรบกวนการปฏิบัติของเราอยู่
เสมอ

เราตอ้ งรวู้ า่ กเิ ลสตณั หาคอื อะไร เพราะสง่ิ เหลา่ นเ้ี ปน็ ศตั รขู องธรรม
เมื่อเรารู้จักศัตรูของเราแล้ว เราก็พอที่จะรู้ว่าเราจะต้องเผชิญและ
ต่อสู้กับอะไรและมันมีพลังมากมายเพียงใด ท้ังธรรมและกิเลส
ล้วนอยใู่ นจติ ใจของเรา ท้ังสองส่งิ น้ีอย่ดู ้วยกนั และตอ่ สูก้ นั บางครั้ง
ธรรมอาจจะเป็นผู้ชนะ และบางครั้งกิเลสก็อาจจะชนะ แต่สำ�หรับ
ปถุ ชุ นคนธรรมดาแลว้ กเิ ลสมกั จะมอี �ำ นาจเหนอื กวา่ โดยไมส่ ามารถ

พื้นฐาน 265

266 ปัญญาเหนือสามัญ

จะหลกี เลย่ี งได้ และดว้ ยเหตนุ เี้ องทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งทเี่ ราท�ำ นน้ั ลว้ นแลว้
แตม่ กี เิ ลสแอบแฝงอยู่ เราไมเ่ คยทจ่ี ะท�ำ อะไรโดยปราศจากกเิ ลสเลย
เราสามารถสงั เกตเหน็ สงิ่ นไ้ี ดจ้ ากประสบการณต์ า่ งๆ ของเรา ทศั นคติ
ของเราโดยรวมยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะนานเท่าไร
และเนอ่ื งจากความคดิ ความเชอ่ื ของเราแฝงไปดว้ ยกเิ ลส จงึ เหมอื นกบั
วา่ เราไดใ้ สแ่ วน่ ทมี่ เี ลนสส์ อี ยตู่ ลอดเวลา การมองสง่ิ ตา่ งๆ ของเรานน้ั
ถกู ปดิ บงั ไปดว้ ยกเิ ลส และเพราะเราไมเ่ คยถอดแวน่ นนั้ ออก เราจงึ ไมม่ ี
โอกาสทจี่ ะมองเห็นอะไรได้อย่างชดั เจนและถกู ตอ้ ง

ถ้าตาเราสว่างพอ เราก็จะเห็นกิเลสตัณหาต่างๆ ในจิตได้อย่าง
ชดั เจน แตเ่ พราะเราไมเ่ คยมองเหน็ อกี ดา้ นหนง่ึ กเ็ ลยรสู้ กึ เหมอื นกบั วา่
กเิ ลสตณั หาไมม่ อี ยดู่ ว้ ยซ�้ำ ไป เราจะสมั ผสั มนั ไดก้ ต็ อ่ เมอ่ื กเิ ลสเหลา่ นน้ั
มันปรากฏให้เห็นชัดเจนข้ึนกว่าเดิม อย่างเช่นเวลาท่ีความโกรธ
ความโลภปรากฏขึ้น นั่นก็คือเมื่อกิเลสตัณหาทำ�งาน เราก็พอที่จะ
เห็นมนั ได้ เราอาจจะไมเ่ หน็ มันตอนท่ีมนั เกิดขน้ึ แต่เมือ่ คดิ พิจารณา
หลงั จากนนั้ เรากจ็ ะรวู้ า่ กเิ ลสตณั หาเกดิ ขนึ้ แลว้ และเมอื่ เปน็ เชน่ นนั้
เราควรจะถามตวั เองวา่ “อะไรทที่ �ำ ใหก้ เิ ลสเกดิ ขน้ึ และกเิ ลสเหลา่ นนั้
เกดิ ขน้ึ ได้อยา่ งไร”

เมื่อเราได้วิเคราะห์กระบวนการเกิดของกิเลสตัณหาจนกระทั่ง
เราเห็นชัดว่ากิเลสเกิดข้ึนในใจเราได้อย่างไร เราก็สามารถท่ีจะคอย
สังเกตมนั ได้อย่างใกลช้ ดิ มากข้นึ กว่าเดิม แตน่ น่ั ยงั เป็นงานท่ตี ้องทำ�
อีกยาวไกลในการที่จะเอาชนะกิเลสตัณหาให้ได้ เพียงแค่จะควบคุม
กเิ ลสเลก็ ๆ นอ้ ยๆ กย็ ังเป็นเร่อื งยาก เราต้องใชก้ ารปฏบิ ตั ธิ รรมใน

ทกุ วถิ ที างทจี่ ะควบคมุ กเิ ลส และยงิ่ เราสามารถทจี่ ะลดละท�ำ ใหก้ เิ ลส
เบาบางลงได้มากเท่าไร เราก็จะย่ิงพบกับความสุขและความเป็น
อสิ ระมากขน้ึ เทา่ นน้ั เราจะสามารถเหน็ ไดว้ า่ เราก�ำ ลงั พบกบั ของจรงิ
อันเป็นของสำ�คัญ ซึ่งจะทำ�ให้เรารู้สึกว่าเรามีความสำ�คัญ น่ีไม่ได้
หมายถึงความสำ�คัญใหญ่โตในทางโลก แต่เป็นความรู้สึกภายในท่ีมี
คณุ คา่ อย่างแทจ้ ริง

ก่อนหน้านี้เราก็เป็นเหมือนกับคนอ่ืนๆ แต่เม่ือกิเลสเบาบางลง
ความรู้สึกภายในจิตใจว่าเราแตกต่างจากคนอื่นก็จะย่ิงชัดขึ้นเรื่อยๆ
เราจะพบว่าความเป็นอิสระภายในน้ีมีค่าเหนือส่ิงอ่ืนใด เพราะว่า
มนั เปน็ ของจรงิ และถาวร ไมไ่ ด้เป็นส่ิงท่ีเกิดข้ึนแลว้ ดับไป มันคงอยู่
อยา่ งชดั เจนในจติ ใจของเรา นค่ี อื ความมนั่ คงภายในจติ ใจซง่ึ เปน็ สง่ิ ท่ี
เราทกุ คนต่างต้องการ

คนส่วนมากมักจะไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับส่ิงต่างๆท่ีเกิดข้ึนภายใน
จิตใจของตนเอง และน่ีคือสิ่งที่เราควรจะพยายามหาทางแก้ไข
มิฉะน้ันชีวิตก็จะผ่านไปโดยเราไม่มีโอกาสท่ีจะทำ�อะไรสักอย่าง
เกย่ี วกบั การก�ำ จดั กเิ ลส เราควรจะตอ้ งฝกึ ฝนจติ ใจใหม้ สี ตอิ ยา่ งตอ่ เนอื่ ง
และรู้เท่าทันเหตุการณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา สตินั้นเป็นสิ่งท่ีขาด
ไมไ่ ดเ้ ลย ตราบใดทเ่ี รามสี ตเิ พอ่ื ทจี่ ะคอยเฝา้ ดสู ภาวะตา่ งๆ ของจติ เรา
เราก็พอจะมั่นใจไดใ้ นกายและวาจาของเรา

ทางเดียวท่ีเราสามารถท่ีจะป้องกันมิให้ประมาทในการกระทำ�
ตา่ งๆ ของเรากค็ อื การมสี ติ เวลาทเี่ รามสี ตเิ ราจะรเู้ ทา่ ทนั และระวงั ท่ี

พื้นฐาน 267

268 ปัญญาเหนือสามัญ

จะไมก่ ระท�ำ การใดๆ ใหเ้ กิดปฏิกริ ิยาทเ่ี ป็นภัยอันตราย และด้วยการ
สงั เกตอยา่ งรอบคอบ เราจะเหน็ สง่ิ ทผ่ี ดิ และระงบั ปฏกิ ริ ยิ านนั้ กอ่ นท่ี
จะกลายเป็นวจีกรรมหรือกายกรรม และเม่ือเราทำ�เช่นน้ันก็เท่ากับ
เราคอ่ ยๆ นอ้ มธรรมะเขา้ มาในชวี ติ ของเรา ยงิ่ มธี รรมะในชวี ติ เรามาก
ขนึ้ เทา่ ไร ใจเราก็จะย่ิงเป็นธรรมมากข้นี เท่านนั้ ซงึ่ จะน�ำ มาซ่ึงความ
สงบสุข ความสงบสขุ น้ีเองท่ีจะเพ่ิมพนู ความสขุ ความสบายใจใหเ้ รา
ในทางตรงกนั ขา้ ม เวลาทเี่ ราสวนกระแสของธรรมะเรากจ็ ะมปี ฏกิ ริ ยิ า
ท่ีเปน็ อกุศลทเ่ี ขา้ มากระทบกระเทือนภายในใจของเรา เวลาท่มี ีเรอ่ื ง
กระทบกระเทือนต่างๆ เกิดขน้ึ ภายในใจของเรา เราก็จะเป็นทุกขอ์ ยู่
ตลอดเวลา และนีค่ ือวิธที ีก่ เิ ลสทำ�ให้เราทกุ ข์

เมอื่ เราพจิ ารณาจติ ของเรา เรากจ็ ะพบวา่ สว่ นมากจติ นน้ั กระเพอ่ื ม
ความคิดต่างๆ นานา ผุดขึ้นอย่างวุ่นวาย ไม่ว่าจะเป็นความคิด
ความเหน็ ภาพ และสิง่ อน่ื ๆ จิตหมนุ อยู่ตลอดโดยไมม่ ีทีส่ น้ิ สุดยตุ ิ
ไมส่ ามารถควบคมุ ได้ และสภาวจติ เชน่ นไ้ี มด่ เี ลย แตท่ กุ คนกเ็ ปน็ เชน่ นี้
มีน้อยคนนักที่จะสามารถควบคุมจิตใจตนเองได้จริงๆ ดังน้ันเพ่ือที่
จะหยุดการปรุงแต่งของจิตและควบคุมจิตให้ได้ในระดับหนึ่งน้ัน
เราจึงต้องฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา เม่ือเราสามารถควบคุมจิตและ
ทำ�ให้จิตสงบอยู่ภายใต้การควบคุมของสติจนทำ�ให้เราพอที่จะเข้าใจ
สภาวะของจิตได้อย่างชัดเจน เราก็พอท่ีจะมีความหวังกับอนาคต
ของตนได้ ดว้ ยวธิ ีน้ีเองท่ีเราเรมิ่ ท่ีจะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตท่ี
เคยไม่แน่นอนซ่ึงมักจะเกิดข้ึนกับเรา และเร่ิมที่จะสามารถควบคุม
สถานการณ์ต่างๆ ท่ีเกดิ ข้ึนในชวี ติ ได้ทันทว่ งที

เราอาจเรม่ิ การท�ำ สมาธดิ ว้ ยการเพง่ ความสนใจไปทสี่ ง่ิ ใดสง่ิ หนง่ึ
อยา่ งเชน่ ลมหายใจ อานาปานสตนิ น้ั ถือไดว้ า่ เปน็ วธิ ีทด่ี ีท่สี ดุ วธิ ีหนง่ึ
ท่ีมีมานานแล้วในการช่วยให้ผู้เริ่มปฏิบัติสามารถทำ�จิตให้สงบและ
มสี มาธิ ควรนงั่ แบบผอ่ นคลายในสถานทที่ เี่ งยี บสงบ และเพยี งแคค่ อย
สงั เกตลมหายใจทเ่ี ขา้ ออกตามปกติ หายใจเขา้ แลว้ ตามดว้ ยหายใจออก
คอยดูแตล่ มหายใจทผ่ี ่านปลายจมูกของตน หายใจเข้า หายใจออก
แล้วจึงหายใจเข้าอีกที

เมื่อเราฝึกทำ�สมาธิ ในตอนแรกเราจะพบว่าจิตมักจะฟุ้งซ่าน
วุ่นวาย เวลาท่ีเราต้ังจิตให้จดจ่ออยู่กับลมหายใจ จิตจะต้ังอยู่กับ
ลมหายใจไดเ้ พียงแคช่ ่วงเวลาส้ันๆ แลว้ กจ็ ะหลุดไป จิตจะสง่ ออกไป
คดิ เรอ่ื งตา่ งๆ ตลอดเวลา นเ่ี ปน็ ธรรมชาตขิ องจติ เราไมส่ ามารถทจี่ ะ
ทำ�ให้จิตหยุดนิ่งได้อย่างแท้จริง มันไม่ยอมหยุด จิตจะปรุงแต่งอยู่
ตลอดเวลา แตก่ ารปรงุ แตง่ ของจติ นน้ั มหี ลายลกั ษณะ ถา้ จติ ปรงุ แตง่
ในทางทไ่ี มร่ ะมดั ระวงั จติ กจ็ ะไมม่ กี �ำ ลงั ดงั นนั้ วธิ ที จี่ ะท�ำ ใหจ้ ติ มกี �ำ ลงั
ก็คือการทำ�จิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ จิตจึงจะมีกำ�ลังและสามารถท่ี
จะพนิ ิจพิจารณาสิง่ ต่างๆ ได้อยา่ งแหลมคม เรากจ็ ะเห็นว่าจิตนงิ่ ขึ้น
และพบกบั ความสขุ ทไ่ี มเ่ คยสมั ผสั มากอ่ น ความรสู้ กึ ไดถ้ งึ ความสขุ น้ี
สำ�คัญอย่างยิ่ง เพราะเม่ือมีความสุขแล้ว ความโลภ ความโกรธ
ความหลง ก็จะไม่สามารถปรากฏขึ้นมาได้ เพราะตามปกติแล้ว
สง่ิ เหลา่ นเ้ี ป็นสิ่งท่ีกอ่ กวนจิตใจให้เกดิ ความทกุ ข์วนุ่ วาย

เมื่อเราได้รับผลดีจากการปฏิบัติ ความสุขที่ได้น้ีก็จะทำ�ให้เรามี
ก�ำ ลังใจในการปฏบิ ตั ิต่อไป ในตอนแรกๆ กเ็ ป็นเรื่องยาก แตพ่ อได้

พื้นฐาน 269

270 ปัญญาเหนือสามัญ

สมั ผสั กบั ความสขุ แลว้ ผลทนี่ า่ พอใจกจ็ ะเปน็ สง่ิ ทส่ี ง่ เสรมิ การปฏบิ ตั ิ
ภาวนา สว่ นมากเราไมป่ ระสบความส�ำ เรจ็ ในการปฏบิ ตั กิ เ็ พราะจติ ใจ
ยงั วนุ่ วายอยกู่ บั ความคดิ เรอื่ งตา่ งๆ มคี วามคดิ ปรงุ แตง่ มากไปนนั่ เอง
ถงึ แมว้ า่ เราจะสามารถหยดุ ความคดิ ไดใ้ นชว่ั ขณะหนงึ่ จติ กจ็ ะกลบั ไป
คิดปรุงแต่งเหมือนเดิมอีกอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายความว่าสติยังไม่
มน่ั คงพอ จงึ ควรใชค้ วามเพยี รพยายามทจ่ี ะท�ำ ใหจ้ ติ อยกู่ บั องคภ์ าวนา
มิฉะนัน้ เรากจ็ ะพบวา่ จิตนั้นถกู ผลักดันให้คดิ อยตู่ ลอดเวลา

เวลาทเ่ี ราตงั้ มน่ั อยกู่ บั ลมหายใจอยา่ งแนว่ แนแ่ ลว้ เรากจ็ ะรอู้ ยกู่ บั
ลมหายใจเทา่ นั้น เวลาท่ีมีความคดิ เกิดขน้ึ เพ่ือทจ่ี ะแย่งความสนใจ
จากเราจนกระทงั่ เราขาดสตจิ ากการดลู มหายใจ นก่ี ค็ อื กเิ ลสทเี่ ขา้ มา
ก่อกวนนั่นเอง กิเลสพยายามที่จะทำ�ให้จิตเราหลุดจากสมาธิอยู่
ตลอดเวลาด้วยอุบายต่างๆ นานา ทีจ่ ะเบ่ยี งเบนความสนใจของเรา
จงึ ตอ้ งคอยระวงั วา่ นเี่ ปน็ เพยี งกเิ ลสทเ่ี กดิ ขน้ึ และตอ้ งดงึ จติ ใหก้ ลบั ไป
อยกู่ บั การท�ำ สมาธอิ ยา่ งรวดเรว็ โดยมงุ่ มน่ั ทจ่ี ะใชค้ วามพยายามเพอ่ื
จะดึงจติ ใหต้ ัง้ อย่ตู รงนั้น สตนิ ้ันคอื หวั ใจสำ�คัญ สตหิ มายถึง “ความ
ระลกึ รู”้ ระลึกรู้อยกู่ ับลมหายใจ

เม่ือเรารู้จักที่จะควบคุมจิตของเราแล้ว เราควรพยามท่ีจะทำ�
สมาธิให้ละเอียดมากข้ึน เวลาท่ีเราคอยดูลมหายใจ เราก็ควรจะรู้
เทา่ ทันทกุ ขณะในการเข้าออกของลมหายใจ ไม่ใช่เพยี งแตต่ อนทเ่ี ขา้
และออกเทา่ นนั้ เมือ่ ท�ำ เชน่ นีแ้ ลว้ สติกจ็ ะแนบอยู่กบั ลมหายใจยิ่งขึ้น
ในขณะทเ่ี รามสี ตคิ อยดลู มหายใจทอ่ี อกจนกระทงั่ มนั หยดุ นน้ั เราตอ้ ง
คอยระวงั จดุ นใี้ หม้ ากๆ เพราะจดุ นเ้ี องเปน็ จดุ ทจ่ี ติ มกั จะสง่ ออกไปทอี่ นื่

จงึ ตอ้ งคอยสงั เกตจดุ น้ี และตงั้ สตอิ ยกู่ บั จดุ นจ้ี นกระทง่ั เราหายใจเขา้
อกี ครงั้ ในการหายใจเขา้ จติ มแี นวโนม้ ทจ่ี ะสง่ ออกเชน่ เดยี วกนั แตไ่ ม่
ชดั เจนเทา่ กบั การหายใจออก ดงั นน้ั หลกั ส�ำ คญั กค็ อื เราตอ้ งฝกึ ตนให้
มีสมาธิต้ังมั่นอยา่ งตอ่ เนือ่ งและละเอียดขนึ้ เร่ือยๆ

เม่ือเราอย่ใู นขนั้ ทีม่ สี มาธิและกำ�ลงั ของจิตมากพอแล้ว เรากค็ วร
จะหันไปเจรญิ ปัญญา ซึ่งหมายถึงการพิจารณากายเป็นประการแรก
คอยสงั เกตกาย พจิ ารณาลกั ษณะตา่ งๆ ของกาย ค�ำ นงึ ถงึ สมมตุ ฐิ าน
ต่างๆ เกีย่ วกับกาย สังเกตรา่ งกายอยา่ งละเอยี ด เราจ�ำ เปน็ อยา่ งย่ิง
ที่จะตอ้ งเขา้ ใจธรรมชาตทิ ่ีแท้จรงิ ของกาย

คนส่วนใหญ่ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือในการสนองตัณหาความ
อยากเพ่อื ความสขุ แตส่ งิ่ ท่ีเราอยากมกั จะเป็นภัยตอ่ ตัวเรา การใช้
ร่างกายเช่นนี้จะกอ่ ใหเ้ กดิ ปัญหามากขึน้ และยังเปน็ โทษกับกายและ
ใจอีกด้วย เราจึงตอ้ งพิจารณากายใหเ้ หน็ ว่าจรงิ ๆ แล้วมันประกอบ
ดว้ ยอะไร เมอ่ื พจิ ารณาเชน่ นน้ั แลว้ เราจะเหน็ ไดว้ า่ จรงิ ๆ แลว้ รา่ งกาย
ไม่ได้สวยงามหรือน่ารักใคร่สักเท่าไร กายประกอบด้วยสิ่งปฏิกูลท่ี
เน่าเปอ่ื ยผุพัง การต้งั อยู่ของกายเปน็ ส่งิ ที่ไมเ่ ท่ียง ไมแ่ น่นอน เพราะ
กายตอ้ งเจบ็ และแก่ กายจงึ เปน็ สง่ิ ทเ่ี ปราะบาง แปรปรวนเปลย่ี นแปลง
อยู่เป็นนิจ ในท่ีสุดแล้วเราก็ไม่สามารถท่ีจะพึ่งหรือหวังอะไรจาก
กายได้

เวลาที่เราตาย ความอยากลึกๆ ท่ีจะมีร่างกายนั้นเป็นตัวที่
น�ำเราไปเกาะกับร่างใหม่ ท�ำให้การเวียนว่ายตายเกิดด�ำเนินไป

พื้นฐาน 271

272 ปัญญาเหนือสามัญ

อย่างต่อเนื่อง เราเคยผ่านสิ่งเหล่านี้มาแล้วไม่รู้กี่คร้ังก่ีหน อาจจะ
เป็นล้านๆ ครั้ง เม่ือได้มาเกิดเราก็ต้องใช้ชีวิตทนทุกข์กับความเจ็บ
ความแก่ และความตายในท่ีสุด เพื่อท่ีจะกลับมาเกิดใหม่และ
ก็เร่มิ วัฏวนอีกครง้ั โดย เกิด อยู่ เจบ็ แก่ และตาย ซ�ำ้ แล้วซำ�้ อีก
อยู่เช่นน้ี และต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานต่างๆ โดยตลอด
วิธีเดียวท่ีจะหยุดวัฏวนแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้ก็คือการ
เพิกถอนอุปาทานความยึดมั่นถือม่ันที่เป็นต้นเหตุของการกลับ
มาเกิด

ความยึดมั่นถือมั่นนี้ก็สามารถที่จะกำ�จัดได้วิธีเดียวคือด้วย
ปัญญาเท่านั้น ในเบื้องต้นเราพิจารณาร่างกายเพื่อที่จะได้เข้าใจ
ว่ากายนั้นไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้มาจากดิน ประกอบ
ด้วยธาตุดิน กายตั้งอยู่ได้ด้วยธาตุดินที่มาหล่อเลี้ยงร่างกาย และ
ในที่สุดก็กลับคืนสู่ดิน โลกธาตุจึงเป็นเจ้าของที่แท้จริงของกาย
ไม่ใช่เรา เราเพียงแค่ไปยึดเอากายมาใช้ชั่วคราวเท่านั้น

เมื่อเราเข้าใจความจริงอย่างถ่องแท้ เราก็จะเลิกกลัวความตาย
ไปไดม้ าก เมอื่ ระลกึ ไดว้ า่ “กายไมใ่ ชเ่ รา เราไมไ่ ดต้ าย เรายงั คงอยตู่ อ่ ไป
ตายแต่ร่างกาย” กายต้องตาย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ก็ต้องดับไปพร้อมกับกาย สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ “จิต” แก่นแท้ของใจ
ซึ่งเป็นผู้รู้ การรับรู้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งยากมากที่จะ
อธบิ าย แตก่ เ็ ปน็ สิง่ ทีส่ �ำ คญั จติ เปน็ สิง่ ทีส่ �ำ คญั มาก เพราะภายในจติ
มีทั้งกิเลสต่างๆ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และยังรวม
ไปถึงคุณธรรมต่างๆ มรรค และความจริงทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอยู่

ภายในจิตใจ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าฝ่ายไหนจะชนะ
เท่านั้นเอง

ส่วนมากแล้วกิเลสมักจะเป็นฝ่ายชนะ เป็นผู้นำ� ต่อเมื่อเราเริ่ม
เขา้ ใจสง่ิ ต่างๆ อยา่ งแจม่ แจ้งแลว้ เท่านั้นที่ธรรมะจะเริ่มแขง็ แกรง่ ขน้ึ
และเมื่อธรรมะมีกำ�ลังมากขึ้น กิเลสก็มีโอกาสที่จะก่อกวนน้อยลง
ดว้ ยการพากเพยี รปฏบิ ตั ิภาวนาอยา่ งไม่ท้อถอยเทา่ น้ัน ซง่ึ เป็นงาน
ที่ยากลำ�บากมาก เราจึงจะสามารถที่จะเข้าถึงสภาวะของความ
หลุดพ้นท่ีพระพุทธองค์ทรงเรียกว่า “พระนิพพาน” นี่คือส่ิงท่ีเรา
ควรจะได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวเราตลอดเวลา แต่เราไม่รู้จัก
ถา้ เราสามารถทจ่ี ะก�ำ จดั ความโงเ่ ขลา ความหลงตา่ งๆ ได้ สง่ิ ทเ่ี หลอื
อยู่ในตัวเรากค็ อื พระนพิ พาน

ในพุทธศาสนาน้ันเราไม่ได้มุ่งหวังท่ีจะเป็นนักบุญ หรือเอาคำ�ว่า
“พระอรหนั ต”์ มาไวห้ นา้ ชอื่ ตน เราเพยี งแตม่ งุ่ หวงั ทจ่ี ะเปน็ คนธรรมดา
ท่ีได้กำ�จัดส่ิงชั่วในจิตใจของเราให้หมดไป อยากจะเป็นคนท่ีได้ทำ�ให้
ปศี าจภายในจติ ใจทเ่ี ราเรยี กวา่ กเิ ลสนนั้ หมดก�ำ ลงั เพอื่ ทจ่ี ะสามารถ
ใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างมีความสุขโดยที่ไม่ต้องตกเป็นทาสของ
อารมณ์ ความรูส้ กึ และอิทธพิ ลต่างๆ ทสี่ ะสมอยภู่ ายในจติ ใจของเรา
และน่ีเป็นสิทธิโดยกำ�เนิดของเราอย่างแน่นอน เราไม่ได้ต้องการ
คำ�ยกย่องวา่ เปน็ “นักบญุ ” เราควรจะได้กลับเขา้ สู่สภาวะของความ
เปน็ ปกติ แตก่ ารทจ่ี ะเขา้ ถงึ จดุ นนั้ ได้ เราจะตอ้ งตอ่ สเู้ อาชนะปศี าจรา้ ย
ด้วยวิธีท่ีถูกต้อง โอกาสน้ีเป็นเวลาท่ีเหมาะสมอย่างยิ่งท่ีเราจะทำ�
สิง่ นัน้ เรากำ�ลังเผชิญหน้าอยกู่ ับส่งิ ทเี่ ราเรยี กว่าปีศาจซึ่งเป็นกิเลส

พื้นฐาน 273

274 ปัญญาเหนือสามัญ

เรามพี ระธรรมค�ำ สอนเปน็ อาวธุ ไดร้ บั การปกปอ้ งและความชว่ ยเหลอื
จากครูบาอาจารย์ และได้รับความหวังดีจากกัลยาณมิตรของเรา
ส่ิงเดียวที่เราต้องทำ�ก็คือต้องอดทนและต่อสู้กับกิเลสไม่ว่าจะยาก
สักแคไ่ หนและจะนานสกั เพียงใด





มชฺเฌกลฺยาณํ
งามในทา่ มกลาง

พระพทุ ธศาสนาคอื วถิ ขี องการปลอ่ ยวาง
ไม่ใช่วิถีของการได้ เป้าหมายนั้นไม่ได้
สำ�เรจ็ ดว้ ยความพยายามทจ่ี ะไตข่ นึ้ สงู
เรอื่ ยๆ แตเ่ ปา้ หมายอยตู่ อ่ หนา้ เราแลว้
เ ร า เ พี ย ง ต้ อ ง กำ� จั ด ส่ิ ง ท่ี ปิ ด บั ง อ ยู่
ดว้ ยการขจัดสงิ่ ตา่ งๆ ไม่ใช่ดว้ ยการได้
บางสิง่ บางอยา่ ง แต่ด้วยการละทกุ สง่ิ
ทกุ อยา่ ง

กาย

ใ น บ ร ร ด า ก ร ร ม ฐ า น ท้ั ง ห ม ด ท่ี พ ร ะ พุ ท ธ อ ง ค์ ท ร ง แ น ะ นำ �
กายคตาสติน่าจะเป็นกรรมฐานที่ได้รับความสนใจน้อยที่สุดในหมู่
ผู้ปฏิบัติธรรมชาวตะวันตก ถึงแม้ว่ากายคตาสติจะมีประโยชน์มาก
แต่กลับไม่ได้รับความนิยมมากนักในประเทศตะวันตกด้วยเหตุผล
บางประการ ครบู าอาจารยน์ อ้ ยมากทจี่ ะกลา่ วถึง ทำ�ไมจงึ เป็นเช่นน้ี
ทา่ นคงไมเ่ ห็นคณุ ค่าและประโยชน์ของมัน

กายคตาสติเป็นส่วนสำ�คัญของคำ�สอนของพระพุทธองค์
ซ่ึงก็อาจจะดูแปลกอยู่ในยุคท่ีคนส่วนใหญ่มีความรู้เก่ียวกับโลกมาก
แต่กลับแทบจะไม่รู้อะไรเลยที่เกี่ยวกับตัวเอง พวกเขาได้ศึกษา
วิทยาศาสตร์ จึงสามารถตอบได้อย่างละเอียดเวลาท่ีได้รับคำ�ถาม
เกีย่ วกบั เหตผุ ลของการกระทำ�ต่างๆ หรือหลักการท�ำ งานของสิง่ นั้น
สิง่ นี้ ถงึ แม้ว่าตวั เขาเองอาจจะไมท่ ราบ แตก่ ็สามารถที่จะหาคำ�ตอบ
ด้วยการสอบถามผรู้ ู้ หรือค้นหาในตำ�รับตำ�ราหรอื ทางอินเทอร์เนต็

280 ปัญญาเหนือสามัญ

แต่เม่ือเป็นเรื่องเก่ียวกับร่างกายของมนุษย์แล้วคนยุคนี้ทราบ
อะไรบ้าง ถึงแม้ว่าจะมีความรู้ในทางการแพทย์เกี่ยวกับสรีรวิทยา
เขาก็เพียงแต่ได้ศึกษาร่างกายของผู้อื่นหรือศึกษาจากรูปภาพต่างๆ
ของรา่ งกายมนษุ ยจ์ ากหนงั สอื ต�ำ รา แตไ่ มไ่ ดศ้ กึ ษารา่ งกายของตนเอง
แต่แน่นอนว่าร่างกายของเราเป็นสิ่งที่สำ�คัญอย่างมาก ถ้าเราไม่มี
ร่างกาย เราจะสมั ผสั และมีประสบการณ์ทางโลกได้อยา่ งไร ร่างกาย
เรานั้นท�ำ ให้เราได้สัมผัสกับโลก เป็นช่องทางเข้าสู่โลกนั่นเองก็ว่าได้
การรจู้ กั ธรรมชาตทิ แ่ี ทจ้ รงิ ของรา่ งกายเราจงึ เปน็ สงิ่ ทสี่ �ำ คญั อยา่ งมาก
ตอ่ ความสุขสบายทางกายและใจของเรา

เพอื่ ทจี่ ะเขา้ ใจธรรมชาตทิ แ่ี ทจ้ รงิ ของกาย เราควรจะถามตวั เราเอง
วา่ รา่ งกายมนษุ ยจ์ รงิ ๆ แลว้ คอื อะไร ประกอบไปดว้ ยอะไรบา้ ง และเปน็
สงิ่ ทนี่ า่ ชน่ื ชมยนิ ดหี รอื ไม่ เราควรทจี่ ะระงบั ความคดิ และความเชอ่ื เดมิ
ของเราเกย่ี วกบั รา่ งกายของมนษุ ยท์ เ่ี ราเคยมไี วก้ อ่ น แลว้ ถามตวั เอง
อย่างไม่มีอคติว่า ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจและน่าปรารถนา
หรือไม่ เรามาลองพิจารณากันดู คนส่วนใหญ่ในโลกนี้มักจะคิดว่า
รา่ งกายเป็นสงิ่ ท่ีสวยงามและน่าปรารถนาอยา่ งยงิ่

แต่เรามาพิจารณาดูวา่ มันเป็นความจริงหรอื ไม่ ถา้ เราไม่อาบน้ำ�
สักสองสามวันจะเป็นอย่างไร เราต้องคอยทำ�ความสะอาดร่างกาย
มิฉะน้ันมันก็จะส่งกลิ่นเหม็นจนทนไม่ได้ในท่ีสุด เวลาท่ีมีเส้นผม
ตกลงไปในอาหาร เราก็จะหมดความอยากรับประทานไปในทันที
น่ีเป็นเพราะเหตุใด ผมบนศีรษะและขนตามร่างกายเป็นส่ิงสกปรก
ตามธรรมชาติ เราจงึ ตอ้ งคอยหมน่ั ท�ำ ความสะอาดอยเู่ รอื่ ยๆ ทจี่ รงิ แลว้

เราจะพบว่าไม่ว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้มาสัมผัสกับส่วนใดส่วนหนึ่งของ
ร่างกายมนุษย์เพียงไม่นานส่ิงน้ันก็จะสกปรกทันที และเน่ืองจากมี
สงิ่ สกปรกและกลิ่นของร่างกายท่สี ะสมอยู่ เราจงึ ตอ้ งซกั เสือ้ ผา้ และ
ผา้ ปทู นี่ อนของเราอยเู่ สมอ แมอ้ าหารทเี่ รารบั ประทานกต็ าม ทนั ทที ี่
มนั ถกู บดเคยี้ วดว้ ยฟนั และผสมกบั น�้ำ ลายของเรา อาหารกก็ ลายเปน็
สง่ิ สกปรกหรอื ปฏกิ ลู ขน้ึ มา มหี ลายสง่ิ หลายอยา่ งในรา่ งกายเราทเ่ี ปน็
เชน่ นน้ั ซงึ่ เราคงตอ้ งพจิ ารณาวา่ จรงิ ๆ แลว้ กายเปน็ สง่ิ ทน่ี า่ ชน่ื ชมยนิ ดี
และสวยงามหรอื ไม่

เราควรคน้ หาความจรงิ ในเรอ่ื งน้ี ในเมอื่ คนสว่ นใหญค่ ดิ วา่ กายคอื
ตวั เรา ถา้ เปน็ เชน่ นนั้ จรงิ เรากน็ า่ จะอยากรบู้ างสง่ิ บางอยา่ งเกย่ี วกบั
ตวั เรา ในเมอ่ื เราสนใจทจ่ี ะรเู้ กย่ี วกบั ทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ งในโลก ท�ำ ไมเราจงึ
ละเลยสิ่งที่สำ�คญั ที่สดุ ซ่งึ ส่งิ นั้นก็คือตัวเรา ทำ�ไมจึงไม่พยายามท่ีจะ
รูจ้ กั ตัวเราและกายของเรา

ข้ันตอนแรกในการท่ีจะทำ�ความรู้จักตัวเราก็คือการถามตัวเอง
เกยี่ วกบั ธรรมชาตขิ องกาย เพราะรา่ งกายเปน็ สว่ นทใ่ี หญท่ ส่ี ดุ ของตวั
เราหรอื ของสงิ่ ทเ่ี ราคดิ วา่ เปน็ ตวั เรา อยา่ งไรกต็ ามเวลาทเ่ี ราพจิ ารณา
กายละเอียดลงไป เราก็จะเร่ิมเห็นว่ากายน้ันแท้จริงแล้วไม่ใช่ตัวเรา
แต่เป็นสงิ่ ที่เกดิ ขนึ้ แลว้ กด็ ับสลายกลบั คนื สูโ่ ลก เปน็ เพียงโลกธาตทุ ี่
ประกอบดว้ ยโครงสรา้ งทเ่ี ปน็ อะตอม โมเลกลุ และสารเคมี เปน็ ตน้ และ
ไม่ได้เป็นอย่างอ่ืนนอกเหนือจากส่ิงเหล่าน้ีเลย เป็นเพียงสภาวธาตุ
เมอ่ื เราพจิ ารณาใหด้ ี เราจะเหน็ ไดว้ า่ กายนน้ั ไมใ่ ชต่ วั เรา ไมไ่ ดเ้ ปน็ ของเรา
แมแ้ ตจ่ ะควบคมุ ชะตากรรมของมนั เรายงั ท�ำ ไมไ่ ดเ้ ลย กายถอื ก�ำ เนดิ

กาย 281

282 ปัญญาเหนือสามัญ

มาจากโลกธาตุและก็สูญสลายกลับคืนสู่โลกธาตุเมื่อเราตาย ไม่มี
หนทางใดๆ ท่ีจะยับย้ังไม่ให้กายแตกสลายกลับคืนสู่โลกและกลาย
เปน็ ดินในท่ีสดุ

เมอื่ เราไปยดึ ตดิ อยกู่ บั กาย กจ็ ะเปรยี บเสมอื นกบั วา่ เราขงั ตวั เอง
ไว้ในคุก กายกลายเป็นคุกท่ีกักขังเราให้อยู่ในสภาพที่เราไม่สามารถ
จะปลดปล่อยตัวเองออกมาสู่อิสรภาพได้ ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจ
สภาพความเปน็ จรงิ ของกายและเหน็ วา่ กายนน้ั จรงิ ๆ แลว้ ไมใ่ ชต่ วั เรา
นอกจากน้นั การท่ีไปยึดตดิ กบั กายยงั นำ�มาซ่ึงผลร้ายอีกดว้ ย ดงั นัน้
เราจึงควรท่ีจะศึกษาหาความจริงในเรื่องน้ีให้กระจ่าง แล้วเหตุใด
เราจึงไม่ศึกษาเก่ียวกับกายของเราซ่ึงมันเป็นส่ิงท่ีเห็นได้ชัดเจนและ
สมควรทจี่ ะพิจารณา

และเมอ่ื เราพจิ ารณาแลว้ เราจะเรมิ่ เหน็ วา่ มมุ มองทศั นคตทิ ง้ั หมด
ของเรานน้ั ขน้ึ อยกู่ บั กาย ลองพจิ ารณาสว่ นใดกไ็ ดข้ องชวี ติ แลว้ เราจะ
พบว่าเกือบท้ังหมดเก่ียวข้องกับกาย บ้านเรือนถูกสร้างเพื่อสนอง
ความจำ�เป็นของร่างกาย รถราบ้านช่องก็ออกแบบตามขนาดและ
รูปทรงของร่างกายมนุษย์ ทุกสิ่งอย่างท่ีเราใช้ได้ถูกออกแบบมาให้
เหมาะสมกบั สัดส่วนของร่างกาย

เพราะเรามีความยึดติดอยู่กับกาย เราจึงต้องทนทุกข์ทรมาน
กับการดำ�รงชีพของร่างกาย ซ่ึงส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นเรื่องท่ีไม่พึง
ปรารถนา ร่างกายมีจังหวะและการเปล่ียนแปลงของมันซึ่งเราไม่
สามารถจะควบคุมได้ เราไม่สามารถท่ีจะห้ามความเจ็บป่วยหรือ

ความแก่ของร่างกาย และในไม่ช้าเราก็ไม่สามารถที่จะห้ามไม่ให้
ร่างกายตายเช่นกนั

กายเปน็ เพยี งโลกธาตทุ ถ่ี อื ก�ำ เนดิ ขน้ึ จากดนิ และตอ้ งกลบั คนื ไปสดู่ นิ
ในความเปน็ จรงิ แลว้ รา่ งกายสามารถทจี่ ะอยรู่ อดไดใ้ นสภาพแวดลอ้ ม
ท่เี อ้อื ตอ่ การมีชีวิตเท่านั้น รา่ งกายอาศัยพนื้ ดนิ เพอื่ มชี วี ิตอยู่ อาศัย
อากาศเพ่ือหายใจ อาศัยน้ำ�เพ่ือด่ืม อาศัยอาหารเพื่อการบริโภค
อาศัยพลังงานและความร้อนเพื่อการเผาผลาญ เป็นต้น ส่ิงเหล่าน้ี
ลว้ นมาจากดิน เพราะฉะนั้นร่างกายจึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของโลกธาตุ
แต่เราก็ยังคงต้องการที่จะยึดม่ันถือมั่นอยู่กับร่างกายและถือว่า
ร่างกายเป็นของเรา ในเม่ือเราเป็นเจ้าของร่างกาย เราก็จะต้อง
เผชิญกับปัญหาและความยากลำ�บากต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับร่างกาย
ซ่ึงปรากฏว่าเรากลับไม่ชอบส่ิงเหล่านั้น เราไม่อยากที่จะเจ็บป่วย
แก่ และตาย

ร่างกายเป็นส่ิงท่ีเราคุ้นเคยกับมันมากพอที่เราสามารถที่จะเอา
จิตไปพิจารณาส่วนต่างๆ และจดจ่ออยู่กับมันได้ เราสามารถที่จะ
พจิ ารณาดสู ว่ นนนั้ สว่ นนกี้ ลบั ไปกลบั มาและค�ำ นงึ ถงึ คณุ ลกั ษณะตา่ งๆ
และความเกี่ยวเน่อื ง ตลอดจนเหน็ ถึงเหตุและผลของมัน การทีเ่ รา
รู้เร่ืองเก่ียวกับร่างกายของเรามาก ทำ�ให้สามารถใช้กายเป็นฐาน
ส�ำ หรับการภาวนาได้เปน็ อย่างดี

กายคตาสติมีสองแนวทางคือสมถภาวนาซึ่งใช้ความสงบและ
สมาธิเป็นฐาน และวิปัสสนาภาวนาซึ่งใช้ปัญญาเป็นฐาน ในการ

กาย 283

284 ปัญญาเหนือสามัญ

เจรญิ สมถภาวนา เราตอ้ งเอาจติ พจิ ารณาจดจอ่ อยกู่ บั สว่ นใดสว่ นหนง่ึ
ของรา่ งกาย เชน่ ผวิ หนงั โดยทไี่ มต่ อ้ งคดิ อะไรเกยี่ วกบั ผวิ หนงั มากนกั
เพยี งแตเ่ อาจติ จดจอ่ อยกู่ บั ผวิ หนงั ใหม้ ากทสี่ ดุ เทา่ ทจ่ี ะท�ำ ได้ ประโยชน์
ของการใช้วิธีน้ีก็คือจิตจะสงบเป็นสมาธิ และเพราะจิตจดจ่ออยู่
กับอวัยวะของร่างกาย จึงเป็นการง่ายที่จะย้อนกลับมาพิจารณา
อวัยวะส่วนน้ันเพ่ือจะทำ�ความเข้าใจท่ีลึกซึ้งถึงธรรมชาติที่แท้จริง
ของมนั

สำ�หรับวิปัสสนาภาวนาในกายคตาสติน้ัน ควรเริ่มด้วยการตั้ง
ค�ำ ถามเกย่ี วกบั ธรรมชาตขิ องกาย ผวิ หนงั คอื อะไร ธรรมชาตขิ องมนั
คอื อะไร เกิดขน้ึ ได้อย่างไร ประกอบดว้ ยอะไรบา้ ง ถ้าเราไม่ท�ำ ความ
สะอาดผิวหนังจะเป็นอย่างไร หรือถ้าเราชำ�แหละดูภายใต้ผิวหนัง
จะเปน็ อย่างไร อวัยวะตา่ งๆ ทีอ่ ยภู่ ายใต้ผิวหนังเป็นอยา่ งไร เราต้อง
หดั พจิ ารณาถงึ ทกุ สว่ นของอวยั วะทป่ี ระกอบกนั เปน็ รา่ งกาย นคี่ อื วธิ ี
ทจี่ ะเจรญิ ปญั ญาโดยการตงั้ ค�ำ ถามอยตู่ ลอดเวลาและคน้ หาความจรงิ
ของสิง่ นน้ั

เราเรม่ิ ดว้ ยการพจิ ารณากายในกาย นน่ั กค็ อื พจิ ารณายามเมอื่ เรา
สมั ผสั สง่ิ ตา่ งๆ ในชวี ติ ประจ�ำ วนั คอื เราไมไ่ ดพ้ ยายามทจี่ ะสรา้ งมมุ มอง
ทีแ่ ปลกใหม่เกี่ยวกบั การพจิ ารณากาย แต่ทวา่ เราเพียงแค่ต้องการที่
จะพจิ ารณาใหล้ ะเอยี ดถงึ สง่ิ ทอ่ี ยตู่ รงหนา้ เราเพอ่ื ใหเ้ หน็ ถงึ ความจรงิ
ของมัน เราพยายามทจี่ ะมองกายน้ใี นแงค่ วามเปน็ จรงิ คือพยายาม
พิจารณาความหมายของการมีร่างกายท่ีมีชีวิตน้ีให้ละเอียดเพื่อที่
เราจะเห็นได้วา่ กายน้ไี มใ่ ช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา และนค่ี อื จดุ ที่สำ�คญั

แลว้ เราคอ่ ยมาพจิ ารณาศกึ ษากายในรปู แบบของมโนภาพในภายหลงั
ในขน้ั แรกของการพจิ ารณากายคตาสตนิ นั้ เราตอ้ งมองกายในรปู แบบ
ปกติก่อน มิฉะน้ันการพิจารณากายจะยุ่งยากและสับสนมากเกินไป
และทำ�ใหก้ ารปฏบิ ตั ไิ ม่กา้ วหน้า

เป้าหมายแรกของการพิจารณากายคตาสติ ก็คือเพ่ือให้เราได้
คน้ พบดว้ ยตนเองถงึ ความเปน็ อสภุ ะของรา่ งกาย ความเปน็ อสภุ ะนน้ั
จะไม่แสดงให้เห็นภาพสวยงามของร่างกายท่ีเราเคยเห็น จะไม่ใช่
มุมมองตามปกติท่ีเคยเห็นว่าร่างกายเราเป็นสิ่งสวยงามและ
นา่ พงึ พอใจ เป็นสง่ิ ท่ีควรจะได้รบั ความสนใจดแู ลอยตู่ ลอดเวลา

แตใ่ นขณะเดียวกัน เราก็จะเข้าใจถึงความสำ�คัญของกาย ซงึ่ เป็น
เครอื่ งมอื ทจี่ �ำ เปน็ และมคี ณุ คา่ อยา่ งยง่ิ เพราะหากปราศจากกายแลว้
เราจะไมม่ รี า่ งส�ำ หรบั รองรบั จติ ถา้ ไมม่ กี าย เรากจ็ ะไมส่ ามารถเขา้ ถงึ
ความคิดและความทรงจำ�ต่างๆ ได้ ทุกอย่างจะเป็นแค่การรับรู้
เพราะฉะน้ันเราจึงต้องมีกายเพื่อท่ีจะดำ�รงชีพ ถึงแม้จะเห็นว่ากาย
เป็นส่ิงที่ไม่น่าพึงปรารถนาก็ตาม แต่เราจะเห็นถึงความจำ�เป็นและ
ความส�ำ คญั ของกายเชน่ เดยี วกนั หากเราปฏบิ ตั แิ ลว้ เรามคี วามเขา้ ใจ
ในสง่ิ ดงั กลา่ วนี้ เรากจ็ ะไมม่ ีสภาวะของจติ ท่ีเศร้าหมอง หดหู่ และ
ไมช่ อบใจเกดิ ข้นึ

ถึงแม้ว่าแต่ละคนสามารถท่ีจะตัดสินใจเลือกวิธีท่ีดีที่สุดท่ีจะ
พิจารณากายคตาสติดว้ ยตนเองกต็ าม แต่การเรมิ่ ดว้ ยการพิจารณา
ผม ขน เล็บ ฟัน และผิวหนัง น้ันส่วนใหญ่มักจะเป็นพื้นฐานที่ดี

กาย 285

286 ปัญญาเหนือสามัญ

แตถ่ ้าเลือกท่จี ะพจิ ารณากายเปน็ ส่วนๆ เชน่ แขน ขา ศรี ษะ อวยั วะ
และสว่ นอน่ื ๆ กเ็ ปน็ แนวทางปฏบิ ตั ทิ ด่ี เี ชน่ กนั ควรพจิ ารณาใหเ้ หน็ วา่
ร่างกายมีอวัยวะส่วนต่างๆ ท่ีไม่ได้เป็นชิ้นเดียวกันมาประกอบเข้า
ดว้ ยกนั ถงึ แมว้ า่ อวยั วะตา่ งๆ สว่ นใหญจ่ ะถกู ตดั ออกไป ยกเวน้ แตศ่ รี ษะ
เทา่ น้นั รา่ งกายกย็ ังสามารถทำ�งานและดำ�รงชีพได้ ส่วนตา่ งๆ ของ
รา่ งกายหลายสว่ นสามารถถกู ตดั ออกไปโดยทไ่ี มท่ �ำ ใหเ้ สยี ชวี ติ เราลอง
คดิ ดวู ่า ถา้ เรายึดว่าส่ิงนเ้ี ปน็ กายของเรา แล้วแขนน้ีเป็นของเราดว้ ย
หรือไม่ ถ้ามนั ถูกตัดออกไป ยงั จะถอื ว่าเป็นของเราอยไู่ หม

เราเรม่ิ การพจิ ารณากายดว้ ยการตง้ั สตอิ ยกู่ บั สว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย
เช่น ผม ขน เล็บ ฟนั หนัง กระดูก เป็นต้น เราสามารถเลอื กท่จี ะนกึ
ภาพของอวยั วะสว่ นนนั้ หรอื พจิ ารณาลงไปตรงทตี่ งั้ ของอวยั วะนน้ั กไ็ ด้
การพิจารณาเช่นน้ีไม่ได้เป็นปัญญา แต่เป็นการพิจารณาเพ่ือให้เกิด
ปญั ญา เมอื่ เราฝึกเช่นนไ้ี ปเรื่อยๆ ดว้ ยการสังเกตและพจิ ารณาอยา่ ง
ตอ่ เนอ่ื งเปน็ ระยะเวลานานๆ เรากจ็ ะมองเหน็ สว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย
ในอีกมุมมองหน่ึงโดยทันที เสมือนกับว่าเรามองเห็นภาพรวมและ
ผลกระทบของมันทเ่ี ช่อื มโยงกบั จติ และธาตตุ ่างๆ

ยกตวั อยา่ งเชน่ ผวิ หนงั เปน็ ตน้ เรารถู้ งึ ลกั ษณะและหนา้ ทสี่ �ำ คญั
ของมนั ผวิ หนงั เป็นเพยี งชัน้ บางๆ ของเนอื้ เยือ่ ผิวท่มี คี วามส�ำ คัญใน
การปกปอ้ งอวยั วะภายในและท�ำ ใหด้ �ำ รงชวี ติ อยไู่ ด้ เรารบั รแู้ ละเขา้ ใจ
ส่ิงน้ี แต่ผลกระทบและบทบาทของผิวหนังต่ออัตตาตัวตนของเรา
เป็นอย่างไร และน่ีคือสิ่งท่ีการฝึกปฏิบัติทางด้านสติปัญญามุ่งท่ีจะ
ค้นหาให้เจอ ในที่สุดเราก็จะพบว่าผิวหนังก็เป็นเพียงแค่ส่วนหน่ึง

ของโลกธาตุท่ีมาจากโลกและต้องกลับคืนสู่โลก ไม่ได้เป็นตัวเรา
และไมม่ สี ว่ นใดของเราในผวิ หนงั เลย ผวิ หนงั จะเปน็ ตวั เราไดอ้ ยา่ งไร
สิ่งที่เรายึดว่าเป็นส่วนสำ�คัญของตัวเราจริงๆ แล้วเป็นเพียงธาตุ
ที่เส่ือมสลาย เม่ือเราเห็นถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างชัดเจน มันจะ
เหมอื นกบั วา่ เราก�ำ ลงั สละสว่ นทเี่ รารกั สว่ นหนงึ่ ทง้ิ ไป การเขา้ ใจและ
ปลอ่ ยวางในสง่ิ ทย่ี ดึ มนั่ ถอื มนั่ คอื งานของปญั ญา ซง่ึ หมายถงึ การรบั รู้
โดยตรงว่าผิวหนังนั้นไม่ใช่ตัวตนของเราจริงๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงโดย
ความคิดเท่าน้ัน ผิวหนังไม่สามารถท่ีจะเป็นตัวเราและปราศจาก
ความเก่ยี วขอ้ งใดๆ กบั อตั ตาโดยสนิ้ เชิง

นี่คือวิธีหน่ึงท่ีเราสามารถใช้ในการท่ีจะใช้เพิกถอนความยึดมั่น
ถือมั่นในกาย ถ้าเราไม่เจริญปัญญา เราจะไม่รู้ว่าอัตตาตัวตนของ
เราน้ันยึดติดอยู่กับร่างกายมากเพียงไร เพ่ือประโยชน์ทั้งทางด้าน
กายและจติ ของเรา การทเ่ี ราละความยดึ มั่นเหล่านีใ้ ห้ได้จงี เป็นสง่ิ ท่ี
สำ�คัญอยา่ งยิ่ง

ส่วนอีกวิธีหน่ึงท่ีช่วยในการละสักกายทิฏฐิ ก็คือการพิจารณา
อสุภกรรมฐาน ซึ่งก็คือการพิจารณาความไม่สวยไม่งามและส่วนท่ี
เป็นปฏกิ ลู ของร่างกาย ความทกุ ขส์ ว่ นมากของเราเกดิ จากการที่เรา
ยึดถือว่ากายคือเรา ซึง่ เป็นส่วนสำ�คญั ของอตั ตาตัวตนของเรา และ
เพราะความเชือ่ ที่ฝงั ลกึ นี้ เราแสดงใหเ้ หน็ อตั ตาตวั ตนของเราในการ
กระทำ�ทกุ อยา่ ง เราต้ังใจวางแผนชวี ติ ของเราเพ่ือสนองกิเลสตณั หา
ท่ีเก่ียวกับกาย การพิจารณาอสุภะทำ�ให้เราเห็นและสัมผัสความ
ไม่เท่ยี ง ไมจ่ ีรัง และความเป็นปฏิกลู ของร่างกาย และด้วยวิธีนเี้ อง

กาย 287

288 ปัญญาเหนือสามัญ

เราจึงสามารถที่จะลดละความอยากซ่ึงเป็นตัณหาทางกายจนเรา
สามารถท่ีจะละสักกายทิฏฐไิ ดใ้ นทสี่ ดุ

เนือ่ งจากผิวหนงั หลอกให้เราเช่ือในภาพของมันท่เี ราเห็น เราจึง
ต้องพิจารณาส่วนน้ีอย่างละเอียด เน้ือเย่ือบางๆ น้ีหุ้มห่อเนื้อและ
อวยั วะภายในของกาย ถงึ แมว้ ่าเมือ่ ดเู ผินๆ ผวิ หนังจะดูสะอาดและ
สวยงาม แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียด ก็จะเห็นเนื้อเย่ือท่ีเป็นขุย
และย่นที่ขับเหง่ือและความมันออกมา การทำ�ความสะอาดอย่าง
สม�ำ่ เสมอเท่านน้ั ท่ที �ำ ใหเ้ ราสามารถทนอยูก่ บั มันได้

หลงั จากท่พี จิ ารณาผิวหนงั ช้ันนอกอย่างละเอยี ดแล้ว เราควรจะ
พิจารณาและสังเกตอวัยวะภายในด้วยการพิจารณาให้ทะลุผิวหนัง
โดยจะใช้วิธีการใดก็ได้ท่ีถูกจริตของเราท่ีสุด ในขณะที่เราพิจารณา
กาย จะพบว่ามีกายบางส่วนหรือลักษณะบางส่วนที่เด่นชัดข้ึนมา
และท�ำ ใหเ้ ราสนใจ เราควรทจี่ ะพจิ ารณาสว่ นนนั้ ๆ เปน็ พเิ ศษ เมอ่ื เรา
สามารถท่ีจะพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งของกายได้อย่างละเอียดพอ
ท่ีจะเห็นธรรมชาติของมันด้วยปัญญา เราก็จะสามารถท่ีจะเข้าใจ
ทุกส่วนของร่างกายได้เช่นเดียวกัน เพราะทุกส่วนของกายน้ัน
เหมอื นกนั หมด ประกอบดว้ ยสง่ิ ทส่ี กปรกนา่ รงั เกยี จและนา่ ขยะแขยง
ทั้งสนิ้ ไม่มสี ว่ นใดทนี่ า่ ปรารถนาหรือน่าพอใจเลยในกายของเรานี้

แตเ่ ราตอ้ งเขา้ ใจวา่ จดุ ประสงคข์ องการพจิ ารณาอสภุ กรรมฐานน้ี
ไม่ใช่เพ่ือที่จะทำ�ให้รังเกียจกาย ซึ่งเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เราเพียงแค่
ตอ้ งการทจ่ี ะเหน็ ธรรมชาตทิ ี่ไมส่ วยงามของกาย ซึ่งเสมอื นกบั การที่

เราเปดิ ตเู้ ย็นแล้วพบเนื้อทเ่ี นา่ อยู่ในนั้นมาหลายสัปดาหแ์ ล้ว เราจะ
รสู้ กึ วา่ มนั นา่ รงั เกยี จ แตก่ ไ็ มไ่ ดเ้ กลยี ดมนั เราเพยี งแคเ่ อามนั ออกมา
ทงิ้ ในถังขยะเท่านั้น ในทำ�นองเดยี วกนั กบั ร่างกาย เราไมไ่ ด้ต้องการ
ทจ่ี ะเกลยี ดรา่ งกาย เพราะนัน่ เปน็ สง่ิ ทีไ่ ม่ถูกต้อง เราตอ้ งการเพยี ง
สัมผสั และรับรู้ถงึ ความนา่ รังเกยี จของกาย รู้สึกถงึ ความเสียใจทเ่ี รา
ไปควา้ และยดึ มน่ั ถอื มนั่ อยกู่ บั กายมาตง้ั แตเ่ กดิ เราตอ้ งยดึ ตดิ และทน
อยู่กบั กายจนวนั ตาย แตก่ ย็ งั ดีทเี่ รามโี อกาสที่ได้พบธรรมะในขณะที่
ยังมชี วี ติ อย่ใู นกายนี้ ซึ่งเมอ่ื พิจารณาในแงน่ จี้ งึ เป็นสงิ่ ทมี่ ีคุณค่ามาก
เราต้องพิจารณาให้ถูกทางเพื่อท่ีจะเอาชนะความหลง และน่ีคือ
จดุ ประสงคท์ แ่ี ทจ้ ริงของกายคตาสตหิ รือการพจิ ารณากาย

หลังจากท่ีเราได้ตั้งใจฝึกพิจารณาอสุภกรรมฐานอย่างจริงจัง
เราอาจจะรู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญหรือโกรธอย่างไม่มีเหตุผล นี่คือ
ปฏกิ ริ ยิ าทเี่ กดิ จากการพจิ ารณากาย เมอื่ ความเชอื่ ในตวั ตนของเราท่ี
มมี านานนน้ั ถกู ส�ำ รวจตรวจสอบ ท�ำ ใหค้ วามหลงภายในตวั เรากอ่ ให้
เกดิ ความหงดุ หงดิ ร�ำ คาญใจขนึ้ มา ดงั ทเี่ ขาวา่ เหมอื นหมที มี่ บี าดแผล
บนหัว ดังน้ันเพ่ือท่ีจะระงับความรู้สึกไม่ดีเหล่านั้น เราควรท่ีจะฝึก
พจิ ารณากายไปพรอ้ มกบั อานาปานสตหิ รอื เมตตาภาวนากไ็ ดเ้ พอื่ ทจ่ี ะ
ชว่ ยควบคมุ ใหจ้ ติ สงบ ซงึ่ ตรงตามทพ่ี ระพทุ ธองคไ์ ดท้ รงสอน พระองค์
ทา่ นตรสั ไวว้ า่ เราควรจะฝึกกายคตาสตคิ วบคูไ่ ปกับอานาปานสติ

ร่างกายเป็นส่ิงท่ีน่าพิจารณา เราสามารถจะพิจารณากายได้
หลายวธิ ี อีกวธิ ีหน่ึงก็คือการพจิ ารณากายว่าประกอบดว้ ยธาตตุ ่างๆ
ไดแ้ ก่ ดนิ น�้ำ ลม ไฟ ธรรมชาตขิ องโลกทอี่ ยรู่ อบๆ ตวั เราเปน็ สง่ิ ทเ่ี หน็

กาย 289

290 ปัญญาเหนือสามัญ

ไดช้ ดั เจนและจบั ตอ้ งได้ แตท่ เี่ ปน็ เชน่ นนั้ เพราะวา่ รา่ งกายของเรานนั้
กป็ ระกอบดว้ ยธาตตุ า่ งๆ เหลา่ นนั้ เชน่ เดยี วกนั อนั ทจ่ี รงิ สว่ นประกอบ
ของร่างกายมนุษย์ไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากส่วนประกอบของโลก
ในโลกสมัยใหม่ถือว่าท้ังร่างกายมนุษย์และโลกล้วนแล้วแต่
ประกอบดว้ ยอะตอมและโมเลกลุ ซงึ่ เราควรจะมองและพจิ ารณากาย
ในแงน่ ีด้ ้วย

เราควรจะพิจารณาร่างกายด้วยความเข้าใจท่ีว่าความเป็น
ธาตสุ ่ี ดนิ น้ำ� ลม ไฟ น้ันเปน็ เพยี งการแสดงในเชิงสัญลักษณเ์ ท่านั้น
ในการสำ�รวจธาตุและสสารต่างๆ นกั วิทยาศาสตรไ์ มเ่ คยค้นพบหรือ
เจอธาตดุ นิ ทไ่ี หนเลย และกไ็ มเ่ คยคน้ พบอากาศธาตุ ธาตนุ �ำ้ หรอื ธาตไุ ฟ
ธาตุเหล่าน้ีไม่ได้มีคุณสมบัติทางกายภาพที่แท้จริงเลย แต่ในความ
เป็นจริงนั้น การพจิ ารณาให้เหน็ เป็นธาตุส่เี ชน่ นี้ เปน็ วิธกี ารของจติ
ในการพจิ ารณาธาตขุ นั ธ์ จติ มบี ทบาทส�ำ คญั ในการพจิ ารณา กลา่ วคอื
เราตอ้ งพจิ ารณาความเปน็ ธาตสุ เ่ี หลา่ นดี้ ว้ ยจติ จติ น�ำ แนวคดิ เกยี่ วกบั
ดนิ น�้ำ ลม ไฟ มาใชท้ ดแทนคณุ สมบตั ทิ างวตั ถุ เชน่ ความแขง็ ความสน่ั
ความร้อน ความเคล่ือนไหว เพ่ือที่จะได้เข้าใจร่างกายให้ละเอียด
มากขึน้

อีกวธิ หี น่งึ ในการพจิ ารณากายท่นี า่ สนใจก็คอื การตั้งค�ำ ถาม เชน่
เรารู้และสัมผัสร่างกายได้อย่างไร คำ�ตอบก็คือเราสัมผัสกายได้ด้วย
ความรู้สึก ความรู้สึกคือสิ่งที่คอยบอกให้เราทราบเกี่ยวกับกาย
ซงึ่ เปน็ เรอ่ื งทยี่ ากมากทจี่ ะสมั ผสั กายโดยวธิ อี นื่ แนน่ อนเราสามารถท่ี
จะนกึ คดิ วา่ รา่ งกายประกอบดว้ ยสว่ นตา่ งๆ เพราะเปน็ สง่ิ ทเ่ี ราสามารถ

มองเหน็ ได้ แตจ่ ากประสบการณภ์ ายใน เรารถู้ งึ กายเราไดจ้ รงิ ๆ ดว้ ย
ความรู้สกึ และจากการสัมผสั

ด้วยเหตุน้ีเองร่างกายท่ีเรารู้จักจึงเป็นแค่กายที่สัมผัสได้ด้วย
ความรสู้ กึ ซงึ่ กายทสี่ มั ผสั ไดด้ ว้ ยความรสู้ กึ นเี้ ปน็ รา่ งละเอยี ดทซี่ อ้ นอยู่
ในกายเน้อื ของเราอีกที จิตของเราสือ่ สารกับรา่ งกายด้วยความร้สู กึ
ดงั นั้นเราจึงไม่ไดร้ จู้ กั กายเนอ้ื โดยตรง เมื่อเราต้องการพิจารณากาย
เราจงึ ตอ้ งอาศยั ความรสู้ กึ ตา่ งๆ เปน็ เครอ่ื งน�ำ ทาง สว่ นประกอบภายใน
ต่างๆ ของร่างกายน้ันสัมผสั ได้ด้วยมโนภาพเพยี งอยา่ งเดียว ซ่งึ เป็น
ความคดิ ทม่ี าจากการทไ่ี ดเ้ หน็ รปู ภาพตา่ งๆ ทแ่ี สดงถงึ สว่ นตา่ งๆ ของ
รา่ งกาย อวัยวะท้ังหมดนี้ประกอบกันเขา้ เปน็ รา่ งกาย แตก่ ไ็ มไ่ ดเ้ ป็น
กายทเ่ี รารแู้ ละสัมผสั ไดภ้ ายในจิต

ในขณะทเ่ี ราพจิ ารณากายดว้ ยการศกึ ษาสว่ นตา่ งๆ ทป่ี ระกอบกนั
เป็นกายน้ัน เรากำ�ลังสร้างมโนภาพของกาย เม่ือเราพิจารณากาย
ท่ีสัมผัสได้ด้วยความรู้สึกที่เก่ียวเนื่องกันน้ี เราอาจจะพบว่าความ
รู้สึกภายในน้ันแสดงถึงภาพรวมที่ค่อนข้างแตกต่างออกไปของ
ส่วนประกอบของกาย และมีความเข้าใจท่ีค่อนข้างแตกต่างออกไป
เก่ียวกับส่วนประกอบของกายด้วย นี่คือเหตุผลว่าทำ�ไมจึงจำ�เป็น
ท่ีจะต้องเข้าใจว่าความรู้สึกน้ันเป็นส่วนที่สำ�คัญท่ีสุดในความรู้และ
ความเขา้ ใจเกี่ยวกับกายของเรา

ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เรารู้สึกเจ็บเท้า เรานึกถึงต้นเหตุของ
ความเจ็บนั้นว่าอยู่ท่ีเท้า แต่ในความเป็นจริงแล้ว แรงกระตุ้นทาง

กาย 291

292 ปัญญาเหนือสามัญ

ประสาทสัมผัสน้ันถูกส่งจากเท้าไปสู่กลไกในสมอง ซ่ึงทำ�ให้รู้สึกถึง
ความเจ็บนั้นบนภาพของเท้าในกายท่ีสัมผัสได้ด้วยความรู้สึก
เพราะฉะนั้นการรู้สึกเจ็บจึงเกิดขึ้นในมโนภาพของกายดังกล่าวที่
ตั้งซ้อนอยู่บนกายเน้ือของเรา ในทางจิตเรารู้สึกเจ็บท่ีเท้าก็เพราะ
สญั ชาตญาณของเราบอกวา่ ความเจบ็ ตอ้ งอยตู่ รงนน้ั ในท�ำ นองเดยี วกนั
กายทง้ั หมดถกู แสดงใหเ้ หน็ ผา่ นระบบของความรสู้ กึ และดว้ ยเหตนุ เ้ี อง
กายที่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกจึงสำ�คัญมาก และเป็นสิ่งเดียวท่ีเรา
สามารถรับรู้ได้ เพราะเป็นท่ีมาของความเข้าใจเกี่ยวกับกายเนื้อ
ของเรา

ถา้ การพจิ ารณากายตามทก่ี ลา่ วมานไี้ ดผ้ ลดกี ค็ วรใชว้ ธิ นี ้ี การทเ่ี รา
วเิ คราะห์กายเช่นนี้ กค็ ือเรากำ�ลงั พยายามท่จี ะหาวธิ ีให้เห็นรา่ งกาย
ตามความเปน็ จรงิ และละความยดึ มนั่ ถอื มนั่ ในกายของเรา และเมอื่
พิจารณาเชน่ นี้ เราจะพบว่ากายเน้ือของเราไมไ่ ดส้ �ำ คญั อะไรมากนัก
เปน็ เพยี งแคก่ ารรวมตวั ของโลกธาตตุ า่ งๆ ทวี่ นั หนงึ่ จะตอ้ งแตกสลาย
กลบั คืนสูธ่ รรมชาติ คำ�ถามท่ตี ามมาก็คือ เหตุใดเราจึงยดึ ม่ันถอื มั่น
กบั กายนัก

คนสว่ นมากยดึ ตดิ อยกู่ บั กายเพราะคดิ วา่ รา่ งกายมคี วามทนทาน
ม่นั คง ทั้งๆ ท่กี ายไมไ่ ดเ้ ป็นที่พึ่งทม่ี ่นั คงแน่นอนเลย กายต้องเผชญิ
กับความไมแ่ นน่ อนจากการเจ็บไขไ้ ดป้ ่วย ความชรา และความตาย
อยตู่ ลอดเวลา และในขณะเดยี วกนั รา่ งกายกเ็ ปน็ สง่ิ มชี วี ติ ทเี่ ปราะบาง
ท่ีต้องอาศัยสภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสม กล่าวคือต้องมีอากาศท่ีจะ
หายใจ อณุ หภมู ทิ เ่ี หมาะสมกบั รา่ งกาย และเครอ่ื งปอ้ งกนั อนั ตรายจาก

สงิ่ แวดลอ้ ม ปจั จยั ทง้ั หมดนลี้ ว้ นแลว้ แตเ่ ปน็ สงิ่ ทจี่ �ำ เปน็ ถา้ สงิ่ เหลา่ น้ี
ไมพ่ รอ้ มหรือเปลี่ยนไป รา่ งกายกจ็ ะด�ำ รงอยไู่ มไ่ ด้

เนอื่ งจากกายเปน็ สง่ิ ทเี่ ปราะบางโดยธรรมชาติ เราจงึ ควรทจี่ ะหา
ท่พี ึง่ อยา่ งอ่นื เมอื่ เราเห็นและเข้าใจว่ากายนน้ั จริงๆ แลว้ ไมส่ ามารถ
เป็นท่ีพึ่งให้กับเราตามที่เราต้องการได้เลย เราจึงควรที่จะพิจารณา
ศึกษาถึงธรรมชาติของความไม่เท่ียงของมันเพื่อท่ีจะพิจารณาดูว่า
มที ีพ่ ึง่ อ่นื ทดี่ ีกว่าการยดึ ตดิ อยู่กบั กายหรอื ไม่

เวลาทเ่ี ราคดิ วา่ กายเปน็ ตวั เรา เราจะเปน็ ทกุ ขเ์ ปน็ รอ้ นไปกบั กาย
เพราะกายเปน็ ฐานของชวี ติ เราจงึ จะกลวั ทจี่ ะสญู เสยี กายไป กายจงึ
เป็นเหมือนบ้านท่ีคนสามารถจะกลับไปได้ เวลาที่จิตถูกส่งออกไป
ทน่ี นั่ ทนี่ ี่ มนั กส็ ามารถทจี่ ะกลบั มาทบ่ี า้ นได้ กายชว่ ยยดึ เหนย่ี วจติ ใจ
และทำ�ให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย ถ้าไม่มีหลักสำ�หรับยึดเหนี่ยวแล้ว
จิตจะกลับไปท่ีใด เราก็จะไม่มีอะไรเป็นหลักยึด เวลาที่คนเรารู้สึก
วา้ เหวก่ ย็ อ่ มตอ้ งการทจี่ ะหาทพ่ี งึ่ ทยี่ ดึ เหนยี่ วทจ่ี ะชว่ ยท�ำ ใหร้ สู้ กึ มนั่ คง
ปลอดภัย

แต่เน่ืองจากทุกส่วนของกายเราเปล่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลา
กายจึงไมท่ นทานมนั่ คงพอที่จะเป็นทพ่ี ึ่งอาศยั ได้ เรามีความเสีย่ งใน
การอยกู่ บั สงิ่ ทไี่ มแ่ นน่ อน อะไรกต็ ามทเ่ี กดิ ขนึ้ กบั กาย หมายความวา่
เกิดขึ้นกับ “เรา” เวลาที่กายป่วย เราก็กังวลและหดหู่ ถ้ากาย
บาดเจบ็ ขึ้นมา เรากท็ ุกข์ใจ เราทุกขเ์ พราะว่าเราไปยดึ ตดิ อย่กู ับกาย
คิดวา่ กายเปน็ ส่วนสำ�คญั ของตัวเรา เวลาทีก่ ายตาย เราก็กลายเป็น

กาย 293

294 ปัญญาเหนือสามัญ

คนไรบ้ า้ น เพราะสกั กายทฏิ ฐหิ รือความยดึ ตดิ อยู่กับกายท�ำ ให้คดิ ว่า
อะไรก็ตามท่ีเกิดขึน้ กับกายกค็ ือเกิดขึน้ กบั ตวั เรา

เมอื่ เราเขา้ ใจธรรมชาตทิ แี่ ทจ้ รงิ ของกายแลว้ เรากจ็ ะหลดุ พน้ จาก
การยึดติดอยู่กับกาย อะไรที่เกิดขึ้นกับกายก็จะเป็นเพียงเหตุการณ์
ภายนอกที่ไม่เกี่ยวกับเรา เสมือนว่าเป็นกายของคนอื่นท่ีเจ็บป่วย
กายนั้นรสู้ ึกไดถ้ ึงความเจบ็ ปวด แตเ่ ราไมไ่ ดไ้ ปทุกขก์ บั มัน กายไมไ่ ด้
เปน็ ตัวเราของเรา และดว้ ยเหตุทีไ่ มไ่ ดเ้ ปน็ ตวั เราของเราน้ี กายก็จะ
ไม่มีผลกระทบต่อความรู้สึกทางด้านจิตใจของเราอีกเลย กายไม่
สามารถที่จะฉุดลากเราไปกับมัน จิตต้ังมั่นอยู่ได้ด้วยตัวเองและ
เป็นอสิ ระ ความท่ีจิตกับกายเปน็ คนละส่วนกัน ไมเ่ กย่ี วข้องกนั และ
เป็นอิสระนี่เองที่ทำ�ให้จิตน้ันมั่นคง ความหลงได้ถูกกำ�จัดไปเป็น
บางสว่ นแลว้ ไมว่ า่ อะไรจะเกดิ ขนึ้ กต็ ามจติ จะไมห่ ลงผดิ อกี และนค่ี อื
ผลทีเ่ ราพยายามท�ำ ให้เกดิ ขนึ้ จากการพจิ ารณากาย

เมื่อเราได้พิจารณากายและเห็นว่ามันไม่ใช่ตัวเรา เวลาที่มีอะไร
เกดิ ขน้ึ กบั รา่ งกาย เรากจ็ ะไมไ่ ปทกุ ขก์ บั มนั เหมอื นเคย เรารวู้ า่ มนั ไมไ่ ด้
เกิดขึ้นกับเรา เรารู้ว่าถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นกับกายแต่กายนั้นไม่ใช่เรา
ถงึ แมว้ า่ สภาพกายจะเปน็ ปฏกิ ลู ความเปน็ ปฏกิ ลู นน้ั กเ็ ปน็ เพยี งความ
รสู้ กึ ของกาย ซึง่ ไมไ่ ด้มผี ลต่อเรา

จุดประสงค์ของกายคตาสติ ก็คือเพื่อท่ีจะรู้และเห็นว่ากายน้ัน
ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ได้เป็นของเรา กายเป็นของธรรมชาติหรือโลกธาตุ
เราได้ยึดติดอยู่กับกายและยังคงยึดม่ันถือม่ันอยู่กับมันด้วยการดูแล

กายเป็นอยา่ งดี แต่กจ็ ะตอ้ งมีสักวนั เม่อื กายต้องกลับคืนสธู่ รรมชาติ
เป็นเวลาท่ีเรารับรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ภายในตัวเราว่ากายเป็น
เพียงบ้านชั่วคราว เป็นของท่ีเรายืมมาใช้ ความทุกข์ความกังวล
เก่ียวกับกายก็จะหายไป ความกลัวตายก็จะหายไปเพราะเรารู้ว่า
ความตายเป็นเพียงแค่การตายของร่างกาย ความเข้าใจนี้มิใช่เป็น
เรอ่ื งของการแยกตวั ตนออกไปจากรา่ งกาย แตท่ วา่ เปน็ การมองความ
เป็นจรงิ เกี่ยวกบั ธรรมชาติของกายด้วยปญั ญา

การพิจารณากายมีหลายวิธี แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม
จุดประสงค์หลักของการปฏิบัติภาวนาก็คือเพ่ือที่จะเรียนรู้กายตาม
ความเป็นจริงและเพื่อเข้าใจถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมัน และนี่คือ
หัวใจของกายคตาสติ เมื่อเราเห็นความเป็นจริงแล้ว เราก็จะรู้ว่า
กายน้ันไม่ใช่ตัวเรา การท่ีเราได้รู้ความจริงเช่นน้ีก็จะทำ�ให้ทัศนคติ
ของเราเปล่ียนไป เม่ือเราทราบว่ากายไม่ใช่ตัวเราแล้ว เราก็จะ
ปลอ่ ยวางกาย และในไมช่ ้าเราจะเห็นวา่ ทกุ ชวี ติ เป็นเพียงเงาเหมือน
ภาพท่ีถกู ฉายบนจอภาพยนตร์

ความรทู้ ไี่ ดจ้ ากการเหน็ ความจรงิ นนั้ มปี ระโยชนม์ าก เมอ่ื ความตาย
มาถึงและร่างกายเรากำ�ลังจะตาย เราก็จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวเราท่ีตาย
ดว้ ยความร้คู วามเขา้ ใจในเรื่องน้ี กายคตาสติจงึ ช่วยทำ�ใหเ้ รามจี ติ ใจ
ท่ีเข้มแข็งเป็นอย่างมาก ช่วยปลดเปล้ืองจิตออกจากความทุกข์
อนั ใหญ่หลวงทัง้ ในปจั จบุ ันและในอนาคต

กาย 295



สัญญา

ในวยั เยาวข์ ณะทเ่ี ราก�ำ ลงั พยายามจะเขา้ ใจโลกรอบตวั ของเรานน้ั
จติ ของเรากต็ ้องพยายามทจ่ี ะซึมซบั ขอ้ มลู ต่างๆ ซ่ึงจิตรบั รู้ผ่านทาง
ประสาทสมั ผสั ทัง้ หา้ และจัดเรยี งล�ำ ดับเพอ่ื ทจ่ี ะเก็บและน�ำ มาใช้ใน
อนาคต เราคอ่ ยๆ เรยี นรวู้ ธิ ที จี่ ะรวบรวม จดั กลมุ่ สง่ิ ตา่ งๆ ทค่ี ลา้ ยกนั
ใหเ้ ขา้ เปน็ หมวดหมู่ เพอื่ ความสะดวกในการน�ำ ไปใช้ ในทสี่ ดุ หมวดหมู่
หรือกลุ่มเหล่านี้ก็ถูกนำ�ไปใช้เพื่อใช้เรียกส่ิงต่างๆ ที่มีลักษณะสำ�คัญ
คลา้ ยกัน และมีการต้ังชอ่ื ขึน้ มาเพ่ือใชเ้ รยี ก

ยกตัวอยา่ งเชน่ ค�ำ ว่า ต้นไม้ เปน็ ต้น ตอนแรกนน้ั เราเพยี งแค่
สงั เกตวา่ มนั มลี กั ษณะของแสงและสซี ง่ึ ไมเ่ หมอื นกบั สงิ่ อนื่ ๆ ทเี่ ราเหน็
เรารู้วา่ มสี ่งิ น้ีอยูแ่ ต่ไมส่ ามารถที่จะบอกได้ว่ามนั คอื อะไร ในที่สดุ กม็ ี
ผชู้ ใี้ หเ้ หน็ ล�ำ ตน้ สนี �ำ้ ตาลยาวๆ และมพี มุ่ สเี ขยี วๆ อยขู่ า้ งบนและเรยี ก
มนั ว่า “ต้นไม้” เขาให้เราเรยี กและพดู ตามซ�ำ้ แลว้ ซ�ำ้ อกี จนเสียงน้นั
ตดิ หู หลงั จากนนั้ เสยี งของค�ำ วา่ “ตน้ ไม”้ กก็ ลายเปน็ สญั ลกั ษณใ์ นหวั
ของเราส�ำ หรบั ใช้เรยี กสิ่งทมี่ ลี กั ษณะและสีคล้ายๆ กันเหลา่ น้ี

298 ปัญญาเหนือสามัญ

เมื่อเรารู้จักและเห็นต้นไม้นานาชนิดในโลกนี้มากขึน้ เรื่อยๆ เราก็
จะจดั มนั ใหร้ วมอยใู่ นกลมุ่ สญั ลกั ษณท์ เ่ี รยี กวา่ ตน้ ไม้ ในท�ำ นองดยี วกนั
ต่อมาเราก็เรียนรู้ที่จะแยกแยะและรู้จักสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อม
ของเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็มีชื่อเรียกเพื่อแสดงถึงคุณลักษณะเฉพาะ
ของมัน

การก�ำ หนดสญั ลกั ษณก์ ค็ อื วธิ กี ารลดความซบั ซอ้ น ซงึ่ สว่ นใหญม่ ี
ความจ�ำ เปน็ ทจ่ี ะตอ้ งลดความซบั ซอ้ นของขอ้ มลู จ�ำ นวนมากทเี่ ขา้ มา
ในจติ โดยผ่านทางระบบประสาทสมั ผัส การก�ำ หนดสญั ลกั ษณ์ต่างๆ
ในสมองเหล่านี้ เป็นวิธีทางธรรมชาติท่ีจะเก็บและจดจำ�ข้อมูล
จำ�นวนมากมายมหาศาล ตลอดจนความรู้ความเข้าใจให้อยู่ภายใน
สมองซึ่งมีพื้นท่ีที่ค่อนข้างจำ�กัดอย่างย่ิง กล่าวอีกนัยหน่ึงก็คือ
การก�ำ หนดสัญลกั ษณ์ตา่ งๆ นน้ั เปน็ การช่วยอำ�นวยความสะดวกให้
กับการจดั การกบั ขอ้ มูลอันซับซ้อนจ�ำ นวนมากดังกลา่ ว

เมอ่ื เราจดั ขอ้ มลู ทมี่ จี �ำ นวนมากใหเ้ ปน็ กลมุ่ อยภู่ ายใตส้ ญั ลกั ษณใ์ ด
สญั ลักษณ์หนงึ่ เชน่ กลมุ่ “ตน้ ไม”้ เราก็จะสามารถที่จะนกึ ถึงเพียง
สัญลักษณ์นั้นได้ โดยไม่ต้องคำ�นึงถึงภาพรวมท้ังหมดหรือความ
ซบั ซอ้ นของสงิ่ ตา่ งๆ ทส่ี ญั ลกั ษณน์ นั้ หมายถงึ หรอื ใชแ้ ทน เพยี งแคม่ ชี อ่ื
ทจี่ ะเรยี กสง่ิ ตา่ งๆ กเ็ พยี งพอแลว้ ความซบั ซอ้ นอาจจะเปน็ อปุ สรรคได้
แต่ถ้าเราสามารถที่จะทราบได้ว่ามันคืออะไร ก็จะไม่มีปัญหาอะไร
กลา่ วคอื เราสามารถเข้าใจไดว้ า่ มนั มคี วามเป็นมาอยา่ งไร

สงิ่ ตา่ งๆ ทเ่ี รารนู้ น้ั มสี ว่ นประกอบยอ่ ยทเ่ี รยี กวา่ “สงั ขาร” ซงึ่ เปน็
เหมอื นกบั เมด็ สขี องภาพบนจอ เรามองไมเ่ หน็ เมด็ สแี ตล่ ะเมด็ ในภาพ
แตใ่ นมโนภาพ เรากลบั มองเหน็ เพยี งภาพรวมหนง่ึ ภาพทเี่ ดน่ ออกมา
จากพ้ืนหลังของจอ แต่ส่ิงที่เรามองเห็นน้ี จริงๆ แล้วเป็นเพียงแค่
สัญลักษณ์ท่ีแสดงถึงความซับซ้อนของส่วนประกอบย่อยๆ นั่นเอง
เราใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่นน้ีอยู่ตลอดเวลา สมองหรือจิตของเรา
เต็มไปด้วยสัญลักษณ์เหล่าน้ีและสัญลักษณ์เหล่าน้ีเป็นองค์ประกอบ
พื้นฐานของความคิดของเรา ซึ่งเราจำ�เป็นต้องใช้สัญลักษณ์เหล่าน้ี
ในการคิด เพราะความซับซ้อนของปรากฏการณ์ต่างๆ น้ันยิ่งใหญ่
เกินกว่าที่สมองและจิตของเราจะสามารถรับรู้ได้ทั้งหมดใน
เวลาเดียวกัน เราจึงให้ความสำ�คัญอยู่เฉพาะเพียงส่วนท่ีมองเห็น
เดน่ ชดั ของประสบการณ์ต่างๆ แล้วกำ�หนดสัญลกั ษณใ์ หเ้ พื่อใช้แทน
ประสบการณท์ ง้ั หมด

สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นเพียงรูปภาพที่เราเห็นในชีวิตของเราเท่าน้ัน
แตม่ นั มผี ลกระทบตอ่ อารมณข์ องเรา ทง้ั นสี้ ว่ นมากมคี วามเกยี่ วเนอื่ ง
กบั ประสบการณต์ า่ งๆ ทเี่ รามกี บั สงิ่ นนั้ สง่ิ น้ี บางครงั้ กเ็ ปน็ ประสบการณ์
ทด่ี ี บางคร้ังก็ไมด่ ี และบางครง้ั กเ็ ฉยๆ ซง่ึ ไม่วา่ จะเปน็ แบบใดกต็ าม
การรบั รขู้ องเราครง้ั ตอ่ ไปในอนาคตนน้ั กจ็ ะไดร้ บั อทิ ธพิ ลจากอารมณ์
ตา่ งๆ เหลา่ นใ้ี นระดบั หนง่ึ

ความซบั ซอ้ นของการรบั รขู้ องเรามมี ากขนึ้ ไปเรอื่ ยๆ ตามกาลเวลา
ทผี่ ่านไปและประสบการณท์ มี่ ีมากขึ้น ท้งั นข้ี ึน้ อย่กู บั อารมณข์ องเรา
และปจั จยั อน่ื ๆ การเหน็ ตน้ ไมจ้ งึ อาจจะท�ำ ใหเ้ รารสู้ กึ ดใี จ หงดุ หงดิ หรอื

สัญญา 299

300 ปัญญาเหนือสามัญ

เฉยๆ กไ็ ด้ ทัง้ ๆ ทส่ี ญั ลกั ษณย์ ังคงเหมือนเดิมแตด่ ูแลว้ มีความหมาย
หลากหลาย และเน่ืองจากแต่ละคนจะรับรู้กับการสัมผัสสิ่งต่างๆ
ไมเ่ หมอื นกนั อยา่ งแนน่ อน ดงั นน้ั ค�ำ ศพั ทแ์ ละสญั ลกั ษณต์ า่ งๆ ทแ่ี สดงถงึ
หรือใช้แทนส่ิงต่างๆ จึงมีความหมายที่แตกต่างกันไปสำ�หรับแต่ละ
บคุ คล

เมือ่ เราไดพ้ บเหน็ สถานทีใ่ หม่ เรามกั จะพบวา่ มสี ิง่ ทีเ่ ราไมค่ ุน้ เคย
เป็นส่วนใหญ่ เราจึงสำ�รวจรอบๆ และสังเกตธรรมชาติโดยรวม
ของสภาพแวดล้อมนั้น จนเราสามารถที่จะกำ�หนดสัญลักษณ์ให้
กับภาพรวมทั้งหมดของมันเพื่อความสะดวกในการนำ�ไปใช้
ในอนาคต เหมือนกับว่าเราจัดข้อสังเกตทั้งหลายของเราเกี่ยวกับ
สถานที่นั้นให้เป็นหมวดหมู่อยู่ในหัวข้อหนึ่งในสารบัญ เมื่อใด
ที่เราอยากจะนึกถึงสถานที่นั้นในภายหลัง เราก็จะระลึกถึง
หัวข้อนั้นเท่านั้น ถึงแม้จะมีการแปลงเป็นสัญลักษณ์อยู่ในรูป
ของคำ�ศัพท์ก็ตาม แต่ในใจเราก็ยังมีอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับ
สถานที่นั้นอยู่

การกำ�หนดสัญลักษณ์เป็นสิ่งสำ�คัญเพราะเป็นการช่วยทำ�ให้
หน่วยความจำ�มีพื้นที่ว่างเพื่อใช้ในด้านอื่นๆ ด้วย มิฉะนั้นถ้าเรา
จำ�เป็นจะต้องจดจำ�ทุกสิ่งทุกอย่าง สมองคนเราคงจะต้องมีขนาด
ที่ใหญ่มากเพื่อรองรับในการเก็บสะสมข้อมูลทั้งหมด แต่ทว่าการ
กำ�หนดสัญลักษณ์เช่นนี้ก็มีข้อเสียอยู่มาก เพราะจะกลายเป็นว่า
เรามักจะติดอยู่กับสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่ และไม่ได้ถูกต้องเสีย
ทั้งหมด ในที่สุดเราก็หันกลับไปเริ่มที่จะให้ความหมายหรือนิยาม


Click to View FlipBook Version