The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ขุมทรัพย์ - หลวงพ่อทูล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-08-18 00:14:09

ขุมทรัพย์ - หลวงพ่อทูล

ขุมทรัพย์ - หลวงพ่อทูล

Keywords: ขุมทรัพย์ - หลวงพ่อทูล

๖ มิถุนายน ๒๕๔๑ กัณฑ์ท่ี ๑

เล่ห์เหลี่ยมผู้หญิง

โยม: ส�ำหรับโยมนะคะ กับแฟนก็เป็นอย่างนี้เลยค่ะ กลับไปกลับมา เวลาพูดหวาน
แล้วแฟนจะดีมากค่ะ เรารู้ตัวว่าเราท�ำอะไรผิดไปเหมือนกัน เวลากลับมาเนี่ย
เกาะขาเขาเลย ออเซาะ ดุไม่เป็นไร ขอให้เขาดุชั่ววูบเดียว เดี๋ยวก็หาย
หลวงพ่อ: เหมือนกับนิทานที่อีสานเขาพูดกัน ผู้เป็นเมียเกลียดผัวมาก เพราะถึง
ฤดูกาลชนไก่ตีไก่ ผัวจะไม่ท�ำงาน เล่นกับไก่อย่างเดียว ประคบประหงมอยู่
น่ันแหละ ทั้งเช้าทั้งเย็น ไปดูไก่ตีไก่ชนตลอด งานการก็ไม่ท�ำ สมัยก่อนไม่มีโรงสี
เวลาต�ำข้าวต้องต�ำเอง ถึงเมียจะเหนื่อย ผัวก็ไม่ช่วยต�ำ ต�ำคนเดียวนั่นแหละ
เมียก็พยายาม “ท�ำยังไงหนอ? จะแก้ไขเร่ืองนี้ยังไง? เราต้องฆ่าไก่น่ันแหละ
ท�ำยังไงหนอจะฆ่าไก่ให้ตายได้?” แต่ถ้าฆ่าไก่ไม่ถูกจังหวะ ก็ตายกับตาย
เพราะแฟนแกหวงไก่ชนมาก จึงต้องวางแผนฆ่าไก่ พอผัวไม่อยู่ก็เลยเอาไก่ชน
นั้นมา แล้วเอาฆ้อนตีทีเดียวตาย จากน้ันก็โยนเข้าไปในครกและต�ำซ้�ำเข้าไปอีก
พอดีผัวเมาเหล้ากลับมาบ้าน “โอ๊ย! จะเอายังไงดีหนอ?” ก็ยังไม่บอก เมียก็

๓๓๙

พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปฺ โ

คิดว่า “จะบอกตอนไหนดี? ถ้าบอกไม่ถูกจังหวะ ถูกเตะนะ” นี่ก็วางแผนอีก
จะบอกตอนไหนดี ต้องดูเวลาเหมาะๆ ดูสิว่าผู้หญิงท้ังหลายพูดเวลาไหนถึง
จะเหมาะ ถ้าพูดไม่ดีถูกเตะแน่ เพราะผัวหวงแหนไก่ตัวน้ันมาก ไก่ชนไก่ตีอย่างดี
ราคาแพงด้วย แต่เม่ือฆ่าไปแล้ว จะบอกตอนไหนถึงจะไม่ถูกเตะ? ตอบดูสิ
โยม: เมื่อสามีต้องการของแลกเปล่ียนเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ: แลกเปลี่ยนตอนไหน?
โยม: เข้าใจกันทุกคนเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ: ตอนน้ันแหละควรพูด คือเป็นกรรมของไก่เอง ตอนพูดต้องฉลาด
เขาว่ากาลัญญู กาลไหนควรพูดอย่างไร อะไรเกิดขึ้นปั๊บ เราจะพูดแก้ตัวยังไง
เพ่ือให้หลบภัยไปได้ มันต้องฉลาดสิ กาลัญญู กาลไหนควรพูดยังไง ถึงวันนั้น
เวลานั้น จึงค่อยบอกว่า “โอ๊ย! หนูต�ำข้าว ไก่กระโดดลงไปในครก เอาไม่อยู่
ต�ำถูกไก่ตาย” สามีจึงว่า “ปล่อยไปเถอะ กรรมของไก่เอง” น่ีธรรมะ
โยม: หลวงพ่อคะ เห็นแจ้งอย่างนี้เรียกว่าบรรลุธรรมหรือยังเจ้าคะ?
หลวงพ่อ: เรียกว่ากาลัญญู กาลไหนควรพูดอย่างไร ท้ังหมดน้ีถึงจะมีผิด
ก็แล้วแต่เถอะ แต่ถ้าพูดถูกก็มีผลดีอย่างนี้ ไม่ถูกเตะก็แล้วกัน ถ้าพูดไม่ดี
ไม่ถูกกาล แล้วถูกเตะ ก็ตายกับตายนั่นแหละ ตายไปกับไก่ก็แล้วกัน คนเรา
มันต้องฉลาด ค�ำว่าฉลาดค�ำเดียวเอาไว้ก่อน สร้างข้ึนมาก่อน ฉลาดด้วย
การพูด ถ้าเป็นอย่างนี้คือไม่ตายง่ายๆ เปล่ียนผิดกลายเป็นถูกได้ ท�ำหนัก
ให้เป็นเบาได้ น่ีคือปัญญาน่ันเอง สติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม ฉลาดพูด
ฉลาดท�ำ ก็เหมือนกับบางคน เห็นผัวมา กอดขาไว้ก่อน พ่ีอย่างน้ัน พี่อย่างน้ี
คือจับเส้นถูก เส้นหัวใจ เรียกว่าจับเส้นสายใจผู้ชายถูก พอจับเส้นปั๊บ ใจอ่อน
ยวบเลย น่ีเขาว่าฉลาด ต้องวางแผนไว้ก่อนใช่ไหมล่ะ ถ้าเขามา ต้องท�ำยังไงหนอ
มันต้องวางแผนให้เต็มท่ี ให้เรามั่นใจแล้วท�ำ ท�ำแล้วก็จะได้ผล

๓๔๐

๖ มิถุนายน ๒๕๔๑ กัณฑ์ท่ี ๑

โยม: เด๋ียวโยมก็ต้องหาแผนแก้ตัวกับสามีอีกค่ะ เวลาไปซ้ือกระเป๋าแพงๆ
ต้องไปหาวิธี แต่ยังไม่รู้
หลวงพ่อ: นี่คือใช้ปัญญา ให้หนักเป็นเบา เขาจะด่าหนักๆ เราก็ไม่ให้หนัก
พยายามผ่อนให้เป็นเบาได้
โยม: ถ้าด่าหนักๆ นะท่าน โยมก็จะจับเขาขึ้นข้างบน แค่นั้นแหละค่ะ
โยม ๒: วิธีของผู้หญิงมารยา
หลวงพ่อ: ผู้หญิงมารยาร้อยแปด
โยม: จะเอากระเป๋าสักกี่ใบก็ได้ ตอนน้ี
หลวงพ่อ: ต้องศึกษามารยาของผู้หญิง คือต้องเล่าขึ้นมาเป็นฉากๆ ต้ังแต่
วัยเด็กวัยรุ่นขึ้นมา ตอนน้ีมันเริ่มเป็นเน้ือแตกสาวขึ้นมาแล้วนะ มีอย่างน้ีๆ
เมื่อเป็นสาวเล็กก็เป็นมาอย่างน้ี เป็นสาวแก่ขึ้นมาก็เป็นอย่างน้ี ต้องศึกษามัน
ข้ึนมาเป็นระดับๆ จนถึงมีครอบครัว ครอบครัวใหม่ๆ เป็นยังไง ก็ต้องศึกษา
มาระยะใหม่ๆ เวลาไปอยู่บ้านญาติใหม่ๆ เป็นยังไง น่ีเรียบร้อย เหมือนผ้าพับไว้
เหนียมอาย นั่งเรียบร้อย กินข้าวเหมือนกับว่าเอามือหยิบนิดเดียว กินน้อยมาก
ถ้ามันเคยๆ ข้ึนมา มันแก่แดดข้ึนมา มันเริ่มออกลาย เริ่มเป็นสาวมาลายเต็มตัว
ญาติก็ต้องยอมแพ้อีก ผัวก็ยอมแพ้ ย่าก็ยอมแพ้ด้วย ผู้หญิงเป็นขนาดน้ัน
ต้องศึกษาให้หมด ถ้าหากอยู่บ้านญาติเป็นอย่างนี้ เวลาเอาเข้าจริงๆ ผัวต้อง
เป็นคนใช้เขาก็แล้วกัน ช้ีมือไปเร่ือย ค�ำพูดมีกระแนะกระแหนอยู่ลึกๆ ตลอด
มีเล่ห์เหลี่ยมในตัวมันเอง เหมือนกับว่ามันมีเล่ห์เหลี่ยมพูด มีอะไรก็แล้วแต่
ถ้าหากผัวไม่ท�ำหรือไม่เห็นนะ มันต้องพูดกับลูกเพ่ือให้ผัวได้ยินสักอย่างหนึ่ง
เพ่ือให้เจ็บๆ ลึกๆ ให้ผัวได้ยิน ลูกก็ว่า “แม่! ท�ำไมไม่มีฟืนนึ่งข้าวเลย” แม่ก็ว่า
“อย่าพูดดัง เด๋ียวพ่อเขาจะท�ำเองหรอก” มันวางแผนไว้หมด อะไรก็แล้วแต่
ต้องพูดให้ผัวได้ยิน “เบาๆ เด๋ียวพ่อเธอได้ยิน” ลูกก็ว่า “ท�ำไมไม่มีน�้ำกินเลย”
แม่ก็ว่า “อย่าพูดดัง เด๋ียวพ่อจะท�ำเองหรอก” นี่ผู้หญิงมันมีวิธีพูด เล่ห์เหลี่ยม
เยอะเหมือนกัน

๓๔๑

พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปฺ โ

หลวงพ่อศึกษาผู้หญิงมาตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ใช่วัยหนุ่มนะ ศึกษามาเรื่อยๆ
หลวงพ่อมีนิสัยอย่างนั้น ช่างสังเกตว่าผู้หญิงเป็นยังไง เรื่องเล่ห์เหล่ียมนี้ผู้หญิง
เหนือผู้ชาย เล่ห์เหลี่ยมเยอะ ถ้าเราตามไม่ทันก็เสียรู้อีก เรียกว่าผู้ชายคนไหน
ชนะผู้หญิงได้ถือว่าเก่งมากในโลกอันนี้ หาแทบไม่มีเลย ที่ผ่านมาในอดีตจนถึง
ปัจจุบัน หาดูผู้ชายที่ชนะผู้หญิงได้น่ีไม่มีเลย ยอมแพ้

ผู้หญิงมีลักษณะชอบลอบกัดอยู่เรื่อย เผลอไม่ได้ เร่ืองเก่าๆ ที่ผ่านมา
มันจะเก็บสะสมเก็บไว้เป็นกระบุงๆ เม่ือมีอะไรเกิดข้ึน มันจะเรียบเรียงของเก่า
ขึ้นมาไล่ทันผัว ผู้หญิงเป็นลักษณะหน้าไหว้หลังหลอก ลิงหลอกเจ้า นี่ผู้หญิง
ส่วนใหญ่ กลุ่มพวกเรานี้ไม่ใช่

นี่ลักษณะว่าผู้หญิงมีน้�ำสองอย่างเป็นน้�ำอมตะ คือน้�ำตากับน�้ำเสียง นี่คือ
อาวุธผู้หญิง ร้ายกาจมากสองตัวน้ี พลิกแพลงได้ทุกเวลา นี่เป็นเล่ห์เหลี่ยมใหญ่
เป็นต้นฉบับของมารยาหญิง ๔๐ อย่าง ถ้าอะไรเกิดขึ้น “อ๊าย!... พี่” น�้ำเสียง
นี่กัดหัวใจขาด ถ้าเอาน้�ำเสียงใส่ไม่ได้ ก็ต้องเอาน�้ำตาออกมา ...

๓๔๒

KPY USA Retreat ครั้งท่ี ๑ ณ วัดญาณรังษี รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา



พระอาจารยท์ ลู ขิปฺปปญโฺ 

อดตี เจา้ อาวาส วัดปา่ บ้านคอ้ จงั หวดั อุดรธานี
พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโ เป็นพระอริยสงฆ์ในยุคปัจจุบัน ท่านเป็นผู้ถึงแล้ว
ซ่ึงที่สุดแห่งธรรม มีสติปัญญาและความเพียรเป็นเลิศ มีศีลาจารวัตรงดงาม
สร้างคุณประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนามากมาย จนเป็นท่ีเคารพศรัทธา
ของพุทธศาสนิกชนท่ัวไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

พระอาจารย์ทูล นามสกุลเดิม นนฤๅชา เกิดเม่ือวันที่ ๒๐ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๔๗๘ ณ บ้านหนองค้อ ต�ำบลบัวค้อ อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
เป็นบุตรของนายอุทธา - นางจันทร์ นนฤๅชา ท่านเป็นบุตรล�ำดับที่ ๕ จาก
พี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน

ในสมัยเป็นฆราวาส พระอาจารย์ทูลมีความสามารถหลายอย่าง เช่น
สามารถร้องเพลงสรภัญญะได้ไพเราะ แหล่กลอนธรรมะให้คติเตือนใจ และ
แต่งกลอนได้ทุกประเภท โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา นอกจากนี้
ท่านยังมีความรู้ด้านสมุนไพรเป็นพิเศษ ส่วนในการประกอบอาชีพค้าขายนั้น
ท่านเคยเป็นหัวหน้ากองคาราวานไปขายควายในต่างเมือง และเป็นสมุห์บัญชีท่ี
โรงงานน�้ำตาล ซ่ึงหลังจากน้ันท่านได้ลาออกและท�ำธุรกิจปลูกอ้อยไว้ส่งขายเอง
ในการท�ำงานต่างๆ น้ัน พระอาจารย์ทูลเป็นผู้มีความรับผิดชอบในหน้าที่เป็น
อย่างดี เฉลียวฉลาด ขยันหมั่นเพียร และเป็นท่ีรักของบุคคลท่ัวไป

พระอาจารย์ทูล เป็นผู้ท่ีมีความคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเด็ก
ได้บรรพชาเป็นสามเณรเพ่ือทดแทนคุณพ่อแม่ ในช่วงที่บวชอยู่นี้ก็ได้ศึกษา
พระปริยัติธรรม และมีโอกาสได้รู้จักกับพระธรรมยุต จนเกิดความเล่ือมใสใน
ข้อวัตรปฏิบัติของพระกรรมฐาน เม่ืออายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระบ้านตาม
ประเพณีนิยม ในช่วงน้ันท่านสามารถเทศน์เป็นค�ำกลอนจนเป็นท่ีเคารพศรัทธา
ของชาวบ้าน และยังมีหน้าท่ีเป็นครูสอนภาษาโบราณต่างๆ ให้แก่พระเณร
ภายในวัดอีกด้วย

หลังจากที่ท่านลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสได้ไม่นาน วันหน่ึงได้มีโอกาส
รับคติธรรมจากหลวงพ่อบุญมาเร่ืองการ “เกิด-ดับ” จนท�ำให้เข้าใจกระจ่างใน
เรื่องน้ีข้ึนมา ซึ่งท่านก็ได้น�ำไปคิดพิจารณาต่อ อีกท้ังหาอุบายธรรมมาสอนใจ
ตัวเองอยู่เสมอ จนท้ายที่สุดท่านได้ความรู้แจ้งเห็นจริงว่า “ทุกส่ิงย่อมเกิดข้ึน
ตามเหตุปัจจัย และสิ่งน้ันก็ย่อมดับไปด้วยเหตุปัจจัยในตัวมันเอง” หลังจากนั้น
ท่านจึงมีความมุ่งม่ันที่จะออกบวชอีกคร้ัง ซึ่งครั้งนี้ตั้งใจจะมอบกายถวายชีวิต
ปฏิบัติภาวนาให้ถึงท่ีสุดแห่งทุกข์

พระอาจารย์ทูลได้อุปสมบท ในวันท่ี ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ขณะอายุ
ย่างเข้า ๒๗ ปี ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์
(จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยท่านต้ังใจท่ีจะด�ำเนินตามปฏิปทาแห่ง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ “จะประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกระท�ำท่ีสุด
แห่งทุกข์โดยชอบ และออกเผยแผ่ธรรมะเพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดความเห็นชอบ
ในศาสนธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง”

ในช่วงแรกของปฏิบัติภาวนานั้น พระอาจารย์ทูลได้ออกธุดงค์ไปบ�ำเพ็ญ
สมณธรรมตามสถานที่สัปปายะหลายแห่งทั้งในภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคเหนือ
โดยท่านได้ใช้หลักอิทธิบาท ๔ และสัจจะเป็นฐานส�ำคัญในการสร้างความเพียร
ตลอดจนใช้ปัญญาหาธรรมะต่างๆ มาพิจารณาเพ่ือให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง
อยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ท่านจะก�ำหนดแนวทางการปฏิบัติด้วยตนเอง แต่ก็ได้รับ
อุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ท่ีส�ำคัญหลายท่าน อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้�ำกลองเพล และหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง ซึ่งท�ำให้ท่าน
ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งข้ึนเป็นล�ำดับ จนสามารถถึงที่สุดแห่งทุกข์
ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ณ บ้านป่าลัน อ�ำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

พระอาจารย์ทูล เป็นทั้งปราชญ์แห่งธรรม และเป็นผู้ที่อุทิศทุ่มเทชีวิต
ให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ท่านเป็นผู้ก่อต้ังวัดป่าบ้านค้อ
อ�ำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยท่านเป็นผู้น�ำใน
การออกแบบ รวมท้ังด�ำเนินการก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ อาคารปฏิบัติธรรม

และพระมหาธาตุเจดีย์ฯ ด้วยตนเอง อีกท้ังเป็นผู้ก่อตั้งวัดและศูนย์ปฏิบัติธรรม
อีกหลายแห่งท้ังในเมืองไทยและในต่างประเทศ อาทิ วัดซานฟรานธัมมาราม
วัดนิวยอร์คธัมมาราม วัดฮ่องกงธัมมาราม และศูนย์ปฏิบัติธรรมเคพีวาย

นอกจากน้ี ท่านยังได้เขียนหนังสือธรรมะกว่า ๒๐ เล่ม โดยมุ่งเน้นการสอน
ในแนวทางปฏิบัติสายปัญญา โดยมีหลักสัมมาทิฏฐิด้ังเดิมของพระพุทธเจ้าเป็น
ส�ำคัญ ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา จนเป็นที่รู้จักอย่าง
แพร่หลาย ตลอดจนได้จัดกิจกรรมเพื่อเผยแผ่ค�ำสอนธรรมะอีกหลายรูปแบบ
เช่น การแสดงธรรมเทศนา การบวชชีพราหมณ์ การอบรมปฏิบัติธรรมให้
นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป จนมีผู้สนใจปฏิบัติตาม
แนวค�ำสอนของท่านมากมาย

พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโ ได้ละสังขารด้วยอาการสงบ ที่วัดป่าบ้านค้อ
เม่ือวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ รวมสิริอายุได้ ๗๓ ปี ๕ เดือน และ
ได้รับพระราชทานเพลิงศพ เม่ือวันที่ ๑​กุมภาพันธ์ พ.ศ.​๒๕๕๒ อัฐิธาตุของ
ท่านได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ เป็นเครื่องประกาศคุณธรรมท่ีบริสุทธ์ิ

ตลอดระยะเวลา ๔๘ พรรษา ที่อยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ พระอาจารย์ทูลมุ่งมั่น
ในการปฏิบัติภาวนาอย่างเด็ดเด่ียวกล้าหาญจนถึงที่สุดแห่งธรรม อีกทั้งยังได้สร้าง
คุณประโยชน์นานัปการต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ ตามสัจอธิษฐานท่ี
เคยตั้งไว้ นับได้ว่าท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของพระสุปฏิปันโน ดังที่พระพุทธองค์
ได้ทรงตรัสไว้ในปัจฉิมโอวาทว่า “จงยังป ระโยชน์ตนและประโย ชน์ท่านให้
ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

ขุมทรัพย์

พระอาจารย์ทลู ขปิ ปฺ ปญฺโ

ชื่อหนังสือ : ขุมทรัพย์
วัตถุประสงค์ : เพื่ออนุรักษ์และเผยแผ่ค�ำสอนของพระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโ
ส�ำหรับผู้แสวงหาแนวทางการปฏิบัติธรรมสายปัญญา
คณะผู้จัดท�ำ : คณะศิษยานุศิษย์ วัดซานฟรานธัมมาราม
พิมพ์ครั้งที่ ๒ : ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓
จ�ำนวน : ๕,๐๐๐ เล่ม
ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๕๖๘-๔๓๒-๓
จัดท�ำรูปเล่ม : พระครูวินัยธร ณัฐ ณฏฺปญฺโ, ศิรินันท์ เวชชเศรษฐนนท์
ภาพปก : ธนวัฒน์ พิษณุวงศ์
ภาพประกอบ : รุ้งกมล กรรเจียกพงษ์
อัดเทปเสียง : ยุวดี มโนชญากร
ถอดเทป : พระวิชชุโรจน์ จกฺกวโร, พระครูวินัยธร ณัฐ ณฏฺปญฺโ
จันทร์เพ็ญ ภาสุขกมล
พิสูจน์อักษร : พระอภิชัย อภิชโย, แม่ชีศรัญญา เทียนเงิน
แม่ชีนันทนัตถ์ อิทธิอมรกุลชัย, จันทร์เพ็ญ ภาสุขกมล
โชติกา คงเพชรสถิตย์, สุธิดา คงเพชรสถิตย์
วัณณิภา ก้วยเจริญพานิชก์, พิราศินี วิมลไชยจิต
พิชญา อนันตวงศ์, ณัทฐดนย์ นุชโสภา
นิชาภา มีชูขันธ์, ศิริวิภา บุญวัฒน์
ตวงพร ศรีสมโพธิ, อัญชลี ศิริคะเณรัตน์
ผู้รับผิดชอบการพิมพ์ : โสรัตยา สุริย์จามร

ผู้สนใจกรุณาติดต่อ
วัดซานฟรานธัมมาราม [email protected] • (+๑) ๔๑๕-๗๕๓-๐๘๕๗
วัดป่าบ้านค้อ [email protected] • (+๖๖) ๘๙-๔๑๖-๗๘๒๕
ผู้สนใจอ่านหนังสือธรรมะและฟังบันทึกเสียงธรรมเทศนาของพระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโ เพ่ิมเติม
สามารถดาวน์โหลดได้ที่ luangporthoon.net

ขอสงวนลิขสิทธ์ิในการคัดลอกหรือพิมพ์ซ้�ำเน้ือหาในหนังสือเล่มนี้
หรือเผยแพร่ทางส่ือทุกชนิดโดยไม่ได้รับอนุญาต


Click to View FlipBook Version