The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปฏิปทาธุดงคกัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น โดย หลวงตามหาบัว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-01 20:11:52

ปฏิปทาธุดงคกัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น โดย หลวงตามหาบัว

ปฏิปทาธุดงคกัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น โดย หลวงตามหาบัว

Keywords: ปฏิปทาธุดงคกัมมัฏฐาน

39ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสัมปณั โน



ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภูรทิ ตั โต (พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๙๒)

(ถ่ายเม่อื วันท่ี ๑๐ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓)

ปฏิปทาของ


พระธุดงคกรรมฐาน


สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน


ถ้าท่านผู้ใดประสงค์จะพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ท่านผู้น้ันกรุณา
พิมพ์ได้ตามประสงค์โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด นอกจาก
พิมพ์เพ่ือจำหน่ายจึงขอสงวนลิขสิทธ์ิ เพราะผู้แสดงไม่ต้องการ

อะไรยิง่ กว่าใจทีเ่ ปน็ สมบัติลน้ คา่ กว่าสมบตั ิใดๆ ในโลก


ทา่ นอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมั ปนั โน

วดั ป่าบ้านตาด พ.ศ. ๒๕๑๖


ดำเนนิ การผลิต อาภรณ์ ฉตั รเลศิ ยศ, กรรณกิ าร์ ปิยะพงษโ์ รจน์,
จินตนา บูชาบพุ พาจารย์ และคณะบคุ คล
ออกแบบ สบายะ
http://sabaya.multiply.com
ภาพประกอบ นิพนธ์ โสภณวัฒนวจิ ติ ร
ปก ภสู ติ อินทรทตู
รูปเลม่ ชวศิ า ชวลิตเสวี
พิสูจน์อกั ษร รัชวรรณ สมคั รเกษตรการ
เกสรา เตมิ สนิ วาณชิ
เพ่ิมพนู อทู่ องทรัพย์
เรืองรอง อินทรป์ าน
อัจจนา ผลานวุ ตั ร
ธนียา กิตตสิ ทิ โธ
ประสงค์ จารรุ ัตนพงศ์
ประสานงาน รถ จิวะพงศ์
พมิ พ์เมือ่ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๑ จำนวน ๒.๕๐๐ เลม่
พมิ พท์ ่ ี บรษิ ัท สาํ นักพมิ พ์สภุ า จาํ กดั โทร. ๐๒-๔๓๕-๘๕๓๐

สนใจจัดพมิ พต์ ามแบบฉบับน้ี ติดตอ่
อาภรณ์ ฉัตรเลิศยศ โทร. ๐๘๑-๙๐๗-๓๔๐๑ email : [email protected]

ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสัมปนั โน

ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสัมปนั โน

บูชาธรรม

บูชาครู

บูชาคุณ


มาปัจจุบันน้ีก็ประวัติของหลวงปู่มั่นล่ะนะ เป็นแม่เหล็กธรรม
เคร่ืองดึงดูดจิตใจของประชาชนชาวพุทธเราได้เป็นอย่างดี หนังสือ

เล่มนี้เราเป็นผู้แต่งเอง ก่อนที่จะแต่ง พยายามไปเสาะแสวงหา

จากครูจากอาจารย์ที่เคยอยู่กับท่านในสมัยน้ันๆ มาเป็นลำดับลำดา
ไปอัดเทปมาบ้าง ไปจดจากท่านมาบ้าง แล้วก็มารวบรวมเรียง

ออกพิมพ์ ก่อนที่จะพิมพ์หนังสือนี้ ไปเรียนพิมพ์ดีดเสียก่อน นี่ล่ะ
ละเอยี ด ตงั้ แตห่ นงั สอื ประวตั หิ ลวงปมู่ น่ั ขนาดนั้นนะ ความเทิดทูนท่าน
ไปเรียนพิมพ์ดีดเสียก่อน เรียนไปเรียนในวัดน่ันแหละ ไม่ใช่เรียนที่ไหน
แหละ เพราะในวัดนั้นมีทุกประเภทของพระนะ ต้ังแต่ชั้นตาสี ตาสา
นาย ก นาย ข ขึ้นไปกระท่ังถึงดอกเตอร์ ดอกเตอร์อะไร วิศวปรมณู

มีในน้ันหมด มีหลวงตาเฉพาะเราคนเดียว (หัวเราะ) เรียนกับท่าน

ท่านรู้น่ี พอเรียนฝึกหัดพิมพ์ดีดเสร็จเรียบร้อย ได้หน่ึงนาทีต่อสี่สิบคำ
ขนาดพอฟัดพอเหวี่ยงแล้วก็หยุด ทีน้ีก็พิมพ์ประวตั ิ เราเปน็ คนเรียงเอง
เชียวนะ ขนาดนั้นนะ เรียงประวัติหลวงปู่มั่นทุกตัวอักษรทุกกิทุกก ี

ตรวจให้เป็นที่แน่ใจ แน่ใจด้วยความเทิดทูนท่าน เอาเต็มความ
สามารถ จึงได้พิมพ์ดีดนี้ออกโรงพิมพ์ ห้ามไม่ให้ใครมานั่น เราเป็น

คนตรวจทานเองว่างนั้ เลย เข้าโรงพมิ พ์ได้เลย

หนังสือทุกตัวเรียกว่าจะตำหนิ หรือจะตัดออกตรงไหน หรือจะ
เพิ่มเติมตรงไหนไม่ได้แล้ว สำหรับความสามารถของเราขนาดน้ันล่ะ
แต่งหนังสือประวัติหลวงปู่มั่นนี้ เรียกว่าสละชีวิตด้วยความเคารพ

เลื่อมใสเทิดทูนท่านด้วยความสุดหัวใจ ขนาดไปเรียนพิมพ์ดีดน่ะ

เอาเถอะ หนังสือเล่มน้ีจึงเป็นท่ีแน่ใจว่า จะเป็นประโยชน์จากน้อย

ถึงมหาศาลแก่ผู้อ่าน สมัยปัจจุบันนี้ คือ ประวัติหลวงปู่มั่น เป็น

อันดบั หนง่ึ

พอพิมพ์เล่มน้ันเสร็จแล้ว ก็พิมพ์ปฏิปทาสายกรรมฐาน

ของหลวงปู่ม่ันอันน้ี เอาจากครูบาอาจารย์แต่ละองค์ๆ ซึ่งปฏิบัติด ี

ปฏิบัติชอบท้ังน้ันแหละอยู่ในนั้น มีแต่ประเภทค่อนข้างจะเพชรน้ำหน่ึง
ทั้งนั้นแหละอยู่ในน้ัน อยู่ในหนังสือปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน

สายหลวงปู่ม่ัน ตอนน้ันท่านยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเวลาเราระบุแล้ว ใครก็จะ
ไปรบกวนท่านกระทบกระเทือนท่าน จึงไม่ระบุช่ือของท่าน บางองค์
ท่านหนักทางนั้น บางองค์ท่านหนักไปทางน้ัน หนักไปทางนี้นะ

ทางข้อปฏิบัติ คำว่าบางองค์ บางองค์นั้นคือ องค์หน่ึงๆๆ แล้วน่ะ

เป็นแต่เพียงไม่ระบุ อันนี้ก็เหมือนกันรองกันลงมา การแต่งการเขียนน่ี
รองกันลงมา จากประวัติหลวงปู่มั่น พอเสร็จหนังสือสองเล่มน้ีแล้ว
พิมพ์ดีดไม่ทราบปาเข้าไปทวีปไหนไม่รู้ จนกระทั่งป่านนี้ไม่เคยสนใจ
เลย นี่เรียนพิมพ์ดีดเฉพาะน้ีเท่าน้ัน ได้ส่ีสิบคำต่อนาที ต่อนั้นก็เอา

แล้วว่ะพิมพ์ พิมพ์สัมผัสด้วยนะ ใครจะมาว่าหลวงตาบัวพิมพ์หนังสือ
ไม่เป็นไม่ได้นะ ฟัดกันใหญ่เลยนะ จะว่าไม่บอก (หัวเราะ) ได้ ๒ เล่ม

เท่านั้นล่ะ จากน้ันหยดุ แล้ว เด๋ยี วนไ้ี มร่ วู้ า่ พิมพด์ ดี เป็นยงั ไง


พระธรรมวสิ ุทธิมงคล

(ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปันโน)


วัดป่าบา้ นตาด จงั หวัดอดุ รธาน


คำนำ


ชีวประวัติและปฏิปทา คือ จริยธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระ ท่ีท่านกำลังอ่านอยู่ขณะนี้ ผู้เขียน (ท่านอาจารย์

พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) ได้พยายามเสาะแสวงหามารวบรวมตาม
กำลังความสามารถ จากพระอาจารย์หลายท่านท่ีเคยเป็นศิษย

อยู่ศึกษาอบรมกับท่านมาเป็นยุคๆ จนถึงวาระสุดท้าย แต่คงไม่ถูกต้อง
แม่นยำตามประสงค์เท่าไรนัก เพราะท่านที่จดจำมาและผู้รวบรวม

คงไม่อาจรู้และจำได้ทุกประโยค และทุกกาลสถานท่ีท่ีท่านเที่ยวจาริก
บำเพ็ญและแสดงให้ฟังในท่ีต่างๆ กัน ถ้าจะรอให้จำได้หมดทุกแง ่

ทุกกระทง ถึงจะนำมาลงก็นับวันจะลบเลือนและหลงลืมไปหมด

คงไม่มีหวังได้นำมาลงให้ท่านผู้สนใจได้อ่านพอเป็นคติแก่อนุชน

รุ่นหลังอย่างแน่นอน ดังน้ัน แม้จะเป็นประวัติที่ไม่สมบูรณ์ ทำนอง
ล้มลุกคลุกคลาน ก็ยังหวังว่าจะเกิดประโยชน์อยู่บ้าง การเขียนประวัติ
และจริยธรรมของท่าน ท้ังภายนอกที่แสดงออกทางกาย วาจา และ
ภายในที่ท่านรู้เห็นเฉพาะใจแล้วแสดงให้ฟังนั้น จะเขียนเป็นทำนอง
เกจิอาจารย์ท่ีเขียนประวัติของพระสาวกท้ังหลาย ดังที่ได้เห็นในตำรา

ซึ่งแสดงไว้ต่างๆ กัน เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้เห็นร่องรอยที่ธรรม

แสดงผลแก่ท่านผู้สนใจปฏิบัติตามมาเป็นยุคๆ จนถึงสมัยปัจจุบัน
หากไม่สมควรประการใด แม้จะเป็นความจริงดังท่ีได้ยินได้ฟังมาจาก
ท่าน แต่ก็หวังว่าคงได้รับอภัยจากท่านผู้อ่านทั้งหลาย เน่ืองจากเจตนา
ท่ีมีต่อท่านผู้สนใจในธรรม อาจได้คติข้อคิดบ้าง จึงได้ตัดสินใจเขียน

ทั้งท่ไี ม่สะดวกใจนัก

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีความมุ่งหมาย ประสงค์ให้ทุกท่านที่มี
ศรัทธา เป็นเจ้าของด้วยกัน พิมพ์เป็นธรรมทานได้ทุกโอกาส ไม่ต้อง

ขออนุญาตแต่อย่างใด ส่วนจะพิมพ์เพื่อจำหน่ายจึงขอสงวนลิขสิทธ ์ิ

ดังที่เคยปฏิบัติมาทุกเล่มท่ีผู้เขียนเป็นต้นฉบับ เพื่อเทิดทูนพระศาสนา
และครูอาจารย์ตามกำลังด้วยความบริสุทธิใ์ จ

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและคุณท่านพระอาจารย์มั่น

ผู้เป็นเจ้าของประวัติ จงกำจัดภัยพิบัติสารพัดอันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน
ทั้งหลาย ขอให้มีแต่คุณธรรมที่พึงปรารถนาและความสุขกายสบายใจ
เพราะอำนาจแห่งบุญเป็นที่พึ่งพิงอิงแอบแนบเน้ือท่านไปตลอดสาย
อย่าได้มีวันเส่ือมคลายหายสูญ จงสมบูรณ์พูนผลไปด้วยสมบัติ

อันอุดมมงคลนานาประการ ตลอดวันย่างเข้าสู่พระนิพพานอันเป็น

บรมสุขทกุ ท่ัวหน้ากนั เทอญ

ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภรู ิทตั โต (ถา่ ยเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕)

ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภรู ิทตั โต

ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภรู ิทตั โต

ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภรู ิทตั โต

จากซา้ ย : พระอาจารย์นอ้ ย สุภโร, พระอาจารยก์ ู่ ธัมมทนิ โน, พระอาจารยก์ ว่า สุมโน,

ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภูรทิ ตั โต และ พระอาจารย์บุญธรรม


(อธบิ ายภาพโดย พระอาจารย์จาม มหาปญุ โญ วัดปา่ วเิ วกวฒั นาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร)

หนังสือสุทธิ สถานะเดิมของท่านพระอาจารยม์ ่นั ภูรทิ ตั โต


ปัจจุบันอยู่ทพ่ี ิพิทธภณั ฑ์พระอาจารย์ม่นั วัดปา่ สุทธาวาส จ.สกลนคร

กฏุ ิทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน ภูริทัตโต มาพักจำพรรษาทเ่ี สนาสนะป่าบา้ นโคก

ปจั จุบันคอื วัดป่าวสิ ุทธธิ รรม อ.โคกศรีสพุ รรณ จ.สกลนคร


ศาลาท่ีท่านพระอาจาย์มน่ั ภูรทิ ตั โต ใช้แสดงธรรมและ ประชุมสงฆ์ พร้อมท้งั วางระเบยี บกฎเกณฑ์ให้แก

คณะกรรมฐาน ณ วดั ป่าบ้านหนองผือ ปัจจุบันคอื วัดป่าภูรทิ ัตตถริ าวาส อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร


ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๙๒ เปน็ ระยะเวลา ๕ ปี

ศษิ ยานศุ ษิ ย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ได้กราบอาราธนาท่านพระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต ขึ้นสู่แคร่

เพื่อหามเคลื่อนขบวนออกจากวดั ป่าบ้านหนองผอื มาพักอาพาธที่วัดปา่ กลางโนนภู่ เป็นเวลา ๑๐ วนั


จึงได้เคลือ่ นขบวนไปยังวัดปา่ สุทธาวาส จ.สกลนคร เปน็ วาระสดุ ท้ายของท่าน

พระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนั โท)

(พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๗๕)

ทา่ นพระอาจารย์เสาร์ กนั ตสีโล

(พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๘๕)

พระอาจารยเ์ ทสก์ เทสรงั สี

(พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๕๓๗)

พระอาจารย์ขาว อนาลโย

(พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๒๖)

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

(พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๕๒๐)

นง่ั แถวหนา้ จากซา้ ย : พระเทพสิทธาจารย์ (จนั ทร์ เขมิโย), พระธรรมเจดีย์ (จมู พันธโุ ล),

พระอรยิ คุณาธาร (เสง็ ปสุ โส) แถวทสี่ องจากซ้าย : พระอาจารย์ขาว อนาลโย, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร,

พระอาจารยก์ วา่ สมุ โน, พระอาจารย์มหาทองสกุ สุจิตโต, พระอาจารยก์ งมา จริ ปญุ โญ ยนื แถวหลังจากซ้าย :


พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร, พระอาจารย์บัว สิรปิ ณุ โณ และ ทา่ นอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

จากซา้ ย : พระอาจารยฝ์ ั้น อาจาโร, พระอาจารยม์ หาปนิ่ ปญั ญาพโล และ พระอาจารยส์ ิงห์ ขนั ตยาคโม

แถวบนจากซ้าย : พระอาจารยฝ์ ้นั อาจาโร, พระอาจารยข์ าว อนาลโย, พระธรรมเจดยี ์ (จูม พันธโุ ล),

พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, ทา่ นอาจารย์พระมหาบวั ญาณสัมปนั โน แถวลา่ งจากซ้าย : พระอาจารยจ์ ันทร์ เขมปตั โต,


พระอาจารย์บัว สริ ิปุณโณ, พระอาจารยก์ งมา จริ ปุญโญ และ พระอาจารย์ออ่ นสา สขุ กาโร

ยืนแถวหลังจากซา้ ย : พระอาจารยอ์ อ่ นศรี สเุ มโธ, พระศรรี ตั นวมิ ล, พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รกั ษ์ เรวโต),

พระครูบริหารคณานกุ จิ , ท่านอาจารย์พระมหาบวั ญาณสมั ปันโน, พระอาจารย์จนั ทร์ เขมปตั โต


นงั่ แถวหน้าจากซ้าย : พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี, พระอาจารย์ขาว อนาลโย, พระธรรมเจดยี ์ (จูม พันธโุ ล),

พระอาจารยบ์ ุญมา ฐติ เปโม, พระอาจารยอ์ ่อน ญาณสิริ น่ังหน้า : พระต๋นั รวุ รรณศร

จากซา้ ย : พระอาจารยส์ ุวัจน์ สวุ โจ, พระอาจารย์สงิ ห์ทอง ธัมมวโร, พระอาจารยก์ ว่า สมุ โน,

ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสัมปันโน ,พระอาจารยเ์ ทสก์ เทสรงั สี, พระอาจารยอ์ ่อน ญาณสิริ,


พระอาจารย์จนั ทร์ เขมปตั โต, พระอาจารย์กงมา จริ ปญุ โญ, พระอาจารย์ออ่ นศรี สเุ มโธ

และ พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ


จากซ้ายองค์ท่ี ๒ : ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน,

องค์ที่ ๓ : พระอาจารยข์ าว อนาลโย องคท์ ี่ ๕ : พระอาจารยป์ รดี า ฉันทกโร

ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตั โต













๑. พระอาจารยต์ อื้ อจลธมั โม

๒. พระอาจารยส์ าม อกญิ จโน

๓. พระอาจารยอ์ อ่ น ญาณสริ

๔. พระอาจารยห์ ลยุ จนั ทสาโร (ซา้ ย),

พระอาจารยช์ อบ ฐานสโม (ขวา)















๑. พระอาจารยล์ ี ธมั มธโร

๒. พระอาจารยฝ์ น้ั อาจาโร

๓. พระอาจารยเ์ ทสก์ เทสรงั ส

๔. พระอาจารยบ์ ญุ มา ฐติ เปโม

๕. พระอาจารยส์ งิ หท์ อง ธมั มวโร















๑. พระอาจารยแ์ หวน สจุ ณิ โน

๒. พระอาจารยช์ า สภุ ทั โท

๓. พระอาจารยข์ าว อนาลโย กบั ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน

๔. พระอาจารยม์ หาบญุ มี สริ ธิ โร

๕. (จากซา้ ย) พระอาจารยจ์ วน กลุ เชฏโฐ, พระอาจารยส์ งิ หท์ อง ธมั มวโร

และพระอาจารยส์ พุ ฒั น์ สขุ กาโม
















๑. พระอาจารยพ์ รหม จริ ปญุ โญ

๒. พระอาจารยค์ ำดี ปภาโส

๓. พระอาจารยห์ ลา้ เขมปตั โต

๔. พระอาจารยว์ นั อตุ ตโม

๕. พระอาจารยจ์ วน กลุ เชฏโฐ














๑. พระอาจารยข์ าว อนาลโย (ซา้ ย)

พระอาจารยด์ ลู ย์ อตโุ ล (ขวา)

๒. พระอาจารยเ์ จยี๊ ะ จนุ โท

๓. พระอาจารยบ์ ญุ จนั ทร์ กมโล

๔. พระอาจารยค์ ำพอง ตสิ โส

















๑. พระอาจารยค์ ำตนั ฐติ ธมั โม

๒. พระอาจารยแ์ บน ธนากโร

๓. พระอาจารยบ์ ญุ มี ปรปิ ณุ โณ

๔. พระอาจารยจ์ นั ทรเ์ รยี น คณุ วโร

๕. พระอาจารยส์ ที น สลี ธโน

๖. พระอาจารยล์ ี กสุ ลธโร












๑. ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน (ซา้ ย),

พระอาจารยอ์ นิ ทรถ์ วาย สนั ตสุ สโก (ขวา)

๒. พระอาจารยค์ ณู สเุ มโธ

๓. พระอาจารยฟ์ กั สนั ตธิ มั โม (ซา้ ย)

พระอาจารยป์ รดี า ฉนั ทกโร (ขวา)

๔. พระอาจารยว์ นั ชยั วจิ ติ โต
















๑. พระอาจารยส์ ม ขนั ตโิ ก

๒. พระอาจารยอ์ ทุ ยั สริ ธโร

๓. พระอาจารยอ์ นุ่ หลา้ ฐติ ธมั โม

๔. แมช่ แี กว้ เสยี งลำ้

ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน

ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน

36 ปฏปิ ทาของพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ ่นั ภูริทตั ตเถระ

ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน

ปฏิปทาของ



พระธุดงคกรรมฐาน


สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ



เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน




















ต่อไปนี้จะเริ่มเขียนปฏิปทาเครื่องดำเนิน คือ ข้อปฏิบัติของ

พระกรรมฐานท่ีท่านพระอาจารย์ม่ันพาดำเนินมา เพื่อท่านผู้อ่าน


ได้ทราบไว้บ้างพอเป็นแนวทาง โดยคิดว่าท่านพุทธศาสนิกชน



พระเณรท้ังหลายท่ีมีความสนใจใคร่ธรรมและข้อปฏิบัติประจำนิสัย

อาจมีความสนใจอยากทราบอยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมมาลงไว้

เท่าที่สามารถ ผิดถูกประการใด หวังว่าคงได้รับอภัยจากท่านผู้อ่าน

ตามเคย คราวน้ีก็ส่งมาลงทาง “ศรีสัปดาห์” ตามเคย โดยขอร้อง

ให้ทางโรงพิมพ์ช่วยลงให้เป็นตอน ๆ ไปดังท่ีเคยทำมา และได้เรียน

กำชับขอให้ลงพอประมาณ เกรงจะเขียนส่งมาไม่ทัน ดังท่ีเคยเรียน

เก่ียวกับประวัติท่านพระอาจารย์มาแล้ว การส่งมา ขอความกรุณา

ทาง “ศรีสัปดาห์” ให้ช่วยลงให้น้ัน เป็นอุบายช่วยบังคับตัวเองซึ่งมี

นิสัยขี้เกียจไปในตัว เพ่ือเร่ืองท่ีเขียนจะได้สำเร็จไปด้วยดี ไม่มีข้อ



แก้ตัวว่ายุ่งน้ันยุ่งน้ีแล้วหยุดไปเสีย ซ่ึงอาจทำให้งานที่กำลังทำเสียไป

ตามปกติหนังสือศรีสัปดาห์เคยออกทุกวันศุกร์ จึงพอมีทางว่า

38 ปฏปิ ทาของพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ นั่ ภูริทตั ตเถระ

การเขียนจะมีความรู้สึกตัวพยายามทำให้ทันกับกำหนดวันเวลาท่ี
หนังสือจะออก เรื่องท่ีเขียนก็พลอยมีหวังจะสำเร็จได้ จึงได้ส่งและ
ขอร้องทางศรีสัปดาห์ให้ช่วยลงให้จนกว่าเร่ืองจะยุติลง ซึ่งทาง

ศรีสปั ดาหก์ ็ยนิ ดีใหเ้ ปน็ ไปตามความประสงค์ทุกประการ

คำว่า “กรรมฐาน” เป็นศัพท์พิเศษและเป็นบทธรรมพิเศษ

ท่ีวงพระธุดงค์ท่านปฏิบัติกันมา แต่องค์ของกรรมฐานแท้นั้นมีอย
ู่

กับทุกคน ท้ังหญิงทั้งชาย ทั้งนักบวชและฆราวาส ได้แก่ เกศา
โลมา เป็นต้น บางท่านอาจยังไม่เข้าใจในคำว่า กรรมฐาน หรือ

พระธุดงคกรรมฐาน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่จะเขียนเฉพาะข้อปฏิบัติ
แห่งธุดงคกรรมฐานสายของท่านพระอาจารย์ม่ัน นอกจากน้ีผู้เขียน


ไม่ค่อยสันทัดจัดเจนนักว่าท่านปฏิบัติกันอย่างไรบ้าง เป็นเพียง


เห็น ๆ ผ่าน ๆ ไปบ้างเท่าน้ัน ไม่ค่อยมีโอกาสได้สนใจใกล้ชิดนัก
เฉพาะสายของท่านอาจารย์มั่นพาดำเนินมานั้น พอเข้าใจบ้างตาม
ที่เคยได้เห็นได้ยินและปฏิบัติมา แต่ก่อนจะเขียนเร่ืองน้ี จึงขอ
อธิบายคำว่ากรรมฐานอันเป็นทางดำเนินของท่านพอเป็นแนวทาง
เล็กนอ้ ย เพื่อเขา้ รูปกนั กบั ปฏิปทาทจี่ ะเขียนตอ่ ไป

คำว่า กรรมฐาน น้ี เป็นคำชินปากชินใจของชาวพุทธเรา

มานาน เมื่อถือเอาใจความ ก็แปลว่า ท่ีตั้งแห่งการงาน แต่งานใน

ท่ีน้ีเป็นงานสำคัญ และหมายถึงงานร้ือภพร้ือชาติร้ือกิเลสตัณหา
ร้ือถอนอวิชชาท้ังมวลออกจากใจ เพื่อไกลทุกข์ คือความเกิดแก


เจ็บตาย อันเป็นสะพานเก่ียวโยงของวัฏวนที่สัตว์โลกข้ามพ้น


ได้โดยยาก มากกว่าจะมีความหมายไปทางอื่นแบบงานของโลก


ท่ีทำกัน ส่วนผลที่พึงได้รับแม้ยังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ก็ทำ

ให้ผู้บำเพ็ญมีความสุขในปัจจุบันและภพชาติต่อไป ฉะนั้นพระ

39ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบัว ญาณสัมปัณโน

ที่สนใจปฏิบัติธรรมเหล่านี้ จึงมักมีนามว่าพระธุดงคกรรมฐาน

เสมอ อันเป็นคำชมเชยให้เกียรติท่านผู้มุ่งต่องานนี้ด้วยใจจริงจาก


พุทธศาสนิกชนท้งั หลาย

กรรมฐาน ที่เป็นธรรมจำเป็นมาแต่พุทธกาลท่ีพระอุปัชฌาย์
มอบให้แต่เร่ิมบรรพชาอุปสมบท มี ๕ อาการด้วยกันโดยสังเขป
คือ เกศาได้แก่ผม โลมาได้แก่ขน นขาได้แก่เล็บ ทันตาได้แก่ฟัน

ตโจได้แก่หนัง โดยอนุโลมปฏิโลม เพื่อกุลบุตรผู้บวชแล้วได้ยึด

เป็นเครื่องมือบำเพ็ญพิจารณาถอยหน้าถอยหลังซ้ำซากไปมา

จนมีความชำนิชำนาญและแยบคายในอาการหน่ึง ๆ หรือทั้งห้า
อาการ อันเป็นชิ้นส่วนสำคัญของร่างกายชายหญิงทั่ว ๆ ไป แต


คำว่ากรรมฐานอันเป็นอารมณ์ของจิตน้ันมีมาก ท่านกล่าวไว้ถึง


๔๐ อาการ ซ่ึงมีในตำราโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว ท่านผู้ประสงค์อยาก
ทราบกรรมฐานใดก็ค้นหาดูได้โดยสะดวก บรรดากรรมฐานท่ีท่าน
กล่าวไว้มากมายน้ัน ข้อใหญ่ใจความก็เพ่ือท่านผู้สนใจใคร่ต่อการ
ปฏิบัติซ่ึงมีจริตนิสัยต่าง ๆ กัน จะได้เลือกปฏิบัติเอาตามใจชอบที่
เห็นว่าถูกกับจริตของตน ๆ เช่นเดียวกับโรคมีชนิดต่าง ๆ กัน ที่
ควรแกย่ าขนานตา่ ง ๆ กันฉะน้ัน

วิธีทำได้แก่ การนำธรรมบทน้ันๆ มาบริกรรมภาวนาประจำ
อิริยาบถต่างๆ ตามแต่ถนัดและเห็นควร ว่าเกศา ๆ หรือโลมา ๆ
เป็นต้น ด้วยความมีสติกำกับอยู่โดยสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยใจส่งไป

ท่ีอื่น ทำความรู้สึกตัวอยู่กับบทธรรมท่ีกำลังบริกรรมภาวนา

ไม่เปลี่ยนแปลงธรรมบ่อยอันเป็นนิสัยจับจด พยายามทำไปจน
ทราบชัดว่าเป็นผลข้ึนมาจริง ๆ หรือจนทราบชัดว่าธรรมบทนั้น ๆ
ไม่ต้องกับจริตของตนแล้วค่อยเปล่ียนธรรมบทใหม่ ผู้ที่ทราบชัดว่า

40 ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ ่ัน ภูริทตั ตเถระ

ถูกกับจริตจริง ๆ แล้ว ก็ควรยึดธรรมนั้นเป็นหลักใจและปฏิบัต


ต่อไปไม่ลดละ จนเห็นผลเป็นลำดับและก้าวหน้าเข้าสู่ภูมิธรรม

ที่ควรเปลี่ยนแปลงบทธรรมตามความจำเป็น ซึ่งเจ้าตัวต้องทราบ
โดยลำพัง ผลที่เกดิ จากการปฏบิ ัติบำเพ็ญด้วยธรรมเหลา่ น้ี หรอื ด้วย
ธรรมอย่างอื่น ๆ ที่ถูกกับจริต ย่อมเป็นความสงบสุขภายในใจ


ไปโดยลำดบั ทไี่ มเ่ คยรู้เห็นมากอ่ น

ความสงบจิตเริ่มแต่ชั้นต่ำ คือสงบได้ช่ัวขณะ สงบได้นาน
พอประมาณ และสงบได้ตามต้องการที่จะให้พักและถอนข้ึนมา


ท้ังเป็นความสงบละเอียดแนบแน่นกว่ากันมาก ขณะท่ีจิตสงบ

ย่อมปล่อยอารมณ์ท่ีเคยรบกวนต่าง ๆ เสียได้ เหลือแต่ความรู้
ความสว่างไสวประจำใจ และความสุขอันเกิดจากความสงบตามขั้น
ของใจเท่านั้น ไม่มีสองกับสิ่งอ่ืนใด เพราะขณะนั้นจิตปราศจาก
อารมณ์และเป็นตนของตนอยู่โดยลำพัง แม้กิเลสส่วนละเอียดยังมี
อยู่ภายในก็ไม่แสดงตัว ถ้าเป็นน้ำก็กำลังน่ิงและใสสะอาดปราศจาก
ฝุ่นละออง หากมีตะกอนก็กำลังนอนน่ิงไม่ทำน้ำให้ขุ่น ควรแก่การ
อาบดื่มใช้สอยทุกประการ ใจที่ปราศจากอารมณ์มีความสงบตัว

อยู่โดยลำพังนานเพียงไร ย่อมแสดงความสุข ความอัศจรรย ์


ความสำคัญ ความมีคุณค่ามาก ให้เจ้าของได้ชมนานและมาก

เพียงนั้น ทั้งเป็นความสำคัญและความอัศจรรย์ไม่มีวันเวลาจืดจาง
แมเ้ รื่องผา่ นไปแลว้

ทั้งน้ีเพราะใจเป็นธรรมชาติลึกลับและอัศจรรย์ภายในตัว

อยู่แล้ว เมื่อถูกชำระเข้าถึงตัวจริงเพียงขณะเดียว ก็แสดงความ
อัศจรรย์ให้รู้เห็นทันที และยังทำให้เกิดความอาลัยเสียดายต่อ


ความเป็นของจิตไปนาน ถ้าปล่อยให้หลุดมือคือเส่ือมไปโดยไม่ได้

41ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบัว ญาณสมั ปณั โน

กลับคนื ด้วยวิธบี ำเพ็ญให้ทรงตวั อยู่หรอื ใหเ้ จรญิ ยิ่ง ๆ ข้ึนไป คงเป็น
เพราะเหตุน้ีกระมังท่ีคร้ังพุทธกาลมีพระสาวกบางองค์ ขณะท่าน
กำลังบำเพ็ญอยู่ ใจมีความเจริญข้ึนและเสื่อมลงถึงหกคร้ัง จนเกิด
ความเสียใจมากเพราะความอาลัยเสียดาย แต่สุดท้ายท่านก็เป็น
พระสาวกอรหันต์ข้ึนมาองค์หนึ่งจนได้ เพราะความเพียรพยายาม
เป็นสะพานเช่ือมโยงให้บรรลุถึงอมตธรรม คือแดนแห่งความเกษม
โดยอาศยั กรรมฐานธรรมเปน็ เคร่ืองดำเนิน

พระพุทธเจ้าท้ังหลายท่ีนับจำนวนไม่ได้ และพระสาวก
อรหันต์ท้ังหลายของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ที่เสด็จปรินิพพาน
ผ่านไปแล้วจนประมาณกาลไม่ได้ก็ดี พระพุทธเจ้าและพระสาวก


ท้ังหลาย ท่ีเสด็จปรินิพพานและนิพพานไปพอประมาณกาลได


ก็ดี พระพุทธเจ้าสมณโคดมกับพระสาวกท่านท่ีเพ่ิงเสด็จผ่านไป

ไม่ก่ีพันปีก็ดี ล้วนทรงอุบัติและอุบัติข้ึนเป็นพระพุทธเจ้า และเป็น
พระอรหันต์จากกรรมฐานท้ังหลาย มีกรรมฐานห้าเป็นต้นท้ังสิ้น
ไม่มีแม้พระองค์หรือองค์เดียวที่ผ่านการรู้ธรรมมาโดยมิได้ผ่าน

กรรมฐานเลย

แม้จะพูดว่ากรรมฐานเป็นสถานท่ีอุบัติขึ้นแห่งท่านผู้วิเศษ

ทั้งหลายก็ไม่ควรจะผิด เพราะก่อนจะทรงถ่ายพระรูปพระนามและ
รูปนามจากความเป็นปุถุชน ขึ้นมาเป็นพระอริยะบุคคลเป็นขั้น ๆ
จนถึงข้ันสูงสุด ต้องมีกรรมฐานธรรมเป็นเคร่ืองซักฟอก เป็นเคร่ือง
ถ่ายถอนความคิดความเห็นความเป็นต่าง ๆ อันเป็นพ้ืนเพของ

จิตท่ีมีเชื้อวัฏฏะจมอยู่ภายในให้กระจายหายสูญไปโดยส้ินเชิง


กลายเป็นพระทัยและใจดวงใหม่ขึ้นมาเป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ


ดงั นนั้ พระพุทธเจา้ ท้งั หลายจึงทรงถอื กรรมฐานวา่ เป็นธรรมทั้งสำคัญ

42 ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภูริทตั ตเถระ

และจำเป็น และยกย่องในวงพระศาสนาประจำศาสดาแต่ละ
พระองค์ตลอดมาถึงปัจจุบัน แม้ในศาสนาแห่งพระสมณโคดม


ของพวกเรา ก็ทรงถือกรรมฐานเป็นแบบฉบับและจารีตประเพณี
ตายตัวมาเป็นพระองค์แรก ว่าได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา


เพราะกรรมฐาน ๔๐ มีอานาปานสติเป็นต้น และทรงสั่งสอน

พุทธบริษัทตลอดมาจนปัจจุบันทุกวันนี้ ท้ังยังจะเป็นสะพานเชื่อม
โยงให้สัตว์โลกได้ถึงพระนิพพานตลอดไป จนกว่าจะส้ินอำนาจ
วาสนาของมวลสตั ว์ทีจ่ ะตามเสด็จพระองคไ์ ด้นน่ั แล

ฉะนั้น คำว่า “กรรมฐาน” จึงเป็นธรรมพิเศษในวงพระ
ศาสนาตลอดมาและตลอดไป ผู้นับถือพระพุทธศาสนาท่ียังมิได้
ปฏิบัติบำเพ็ญตามทางกรรมฐาน พอทราบเร่ืองความลี้ลับที่มีอย
ู่

ในตนทั้งฝ่ายช่ัวฝ่ายดีบ้างพอควร จึงไม่ควรคิดว่าตนรู้ตนฉลาดโดย
ถ่ายเดียว แม้จำได้จากพระไตรปิฎกโดยตลอดท่ัวถึง เพราะนั่น

เป็นเพียงบัญชีดีชั่วของสิ่งหรือธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเท่าน้ัน ยังไม่ได้
รับการเลือกเฟ้นจากการปฏิบัติอันมีกรรมฐานเป็นเคร่ืองส่องทาง


ให้ถึงความจริง ตามพระประสงค์ท่ีทรงประกาศธรรมสอนโลก
พระกรรมฐาน ๔๐ ห้องน่ีแลคือตู้พระไตรปิฎก คือเคร่ืองมือทำลาย
ภพชาติ เครื่องมือทำลายกงจักรท่ีพาให้สัตว์โลกหมุนเวียนเกิดตาย
จนไม่ทราบภพเก่าภพใหม่ และทุกข์เก่าทุกข์ใหม่ท่ีสลับซับซ้อน


มากับภพชาตินน้ั ๆ ให้ขาดสะบ้ันลงโดยสิ้นเชงิ

การปฏิบัติใดก็ตามท่ีปราศจากธรรมเหล่าน้ีส่วนใดส่วนหนึ่ง
เข้าสนับสนุน การปฏิบัตินั้นจะไม่เป็นไปเพ่ือการทำลายสังหารกิเลส
กองทุกข์มากน้อยที่มีอยู่ภายใน ให้เบาบางและสิ้นสูญไปได้เลย
การปฏิบัติที่มีธรรมเหล่าน้ีเข้าสนับสนุนอยู่มากน้อยเท่านั้น

43ท่านอาจารยพ์ ระมหาบัว ญาณสัมปัณโน

จะทำลายกองทุกข์ได้โดยส้ินเชิง ไม่มีทางสงสัย ด้วยเหตุน้ีผู้ปฏิบัติ
เพ่ือความสงบสุขและความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมท้ังหลาย จำต้อง
ยึดถือธรรมเหล่านี้เป็นเส้นชีวิตจิตใจของการดำเนินปฏิปทาไป

ตลอดสาย นับแต่ธรรมข้ันต่ำจนถึงข้ันสูงสุดคือ วิมุตติพระนิพพาน
ใครจะปฏิบัติบำเพ็ญความดีงามด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม เม่ือถึง


ข้ันจะเข้าด้ายเข้าเข็มจริง ๆ คือการก้าวขึ้นสู่ภูมิจิตภูมิธรรมเป็น


ข้ัน ๆ จำต้องหวนกลับมายึดธรรมเหล่านี้อย่างใดอย่างหน่ึงเป็น
เครอื่ งดำเนิน จึงจะผา่ นพน้ ไปได้โดยสวัสดีปลอดภยั

เพราะธรรมเหล่าน้ีเป็นท่ีประมวลมาแห่งสัจธรรมทั้งหลาย


ท่ีมีมรรคผลนิพพานเป็นจุดสุดยอด ธรรมเหล่าน้ีรวมอยู่ในวง
พระพุทธศาสนา มีศาสดาองค์เอกแต่ละพระองค์ทรงประกาศสอน
ไว้เป็นแบบเดียวกันและสืบทอดกันมาเป็นลำดับ ท่านที่ยังสงสัย
พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ท่ีทรงประกาศสอนธรรมมาเป็นยุค ๆ
จนถึงศาสดาองค์ปัจจุบันคือพระพุทธเจ้าของเรา จึงควรปฏิบัติ
พิจารณาตามธรรมกรรมฐานที่ทรงแสดงไว้ ด้วยความพิสูจน์จริง ๆ
ทางปัญญาจนเกิดผลตามพระประสงค์ ก็จะทราบจากความร้


ความเห็นอันเกิดจากการปฏิบัติของตนเองอย่างประจักษ์ใจว่า
ศาสดากับธรรมมิได้แตกต่างกัน แต่เป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน

ดังแก่นธรรมที่ทรงแสดงไว้ย่อ ๆ ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้น้ันช่ือว่า


เห็นเราตถาคต” ดังนี

ธรรมบทน้ีเป็นธรรมประกาศองค์พระตถาคตทั้งหลาย ให้เรา
ทราบอย่างชัดเจนว่าพระตถาคตมีอยู่กับธรรมตลอดเวลา มิได

ขึ้นอยู่กับกาลสถานที่ แม้แต่ละพระองค์จะเสด็จปรินิพพานไปนาน
ตามสมมุตินิยมกันก็จริง แต่ความจริงขององค์พระตถาคตแล้วคือ

44 ปฏิปทาของพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภรู ิทัตตเถระ

ธรรมน้ีเท่านั้น บรรดาท่านท่ีเห็นธรรมภายในใจอย่างแจ้ง
ประจักษ์แล้ว ท่านมิได้สงสัยในองค์พระตถาคตเลยว่าประทับ
อยู่ในที่เช่นไร ซึ่งโลกเข้าใจว่าท่านเสด็จเข้าสู่นิพพานหายเงียบ
ไปแล้ว ไม่มีศาสดาผู้คอยเมตตาสั่งสอนต่อไป ความจริงธรรมท่ี
ทรงประสิทธิ์ประสาทไว้แล้วแก่หมู่ชนก็คือองค์ศาสดาเราดี ๆ
น่ันแล ถ้าสนใจอยากมีศาสดาภายในใจ ก็มีได้ทุกเวลาเช่นเดียวกับ
ที่ยังทรงพระชนมอ์ ยู่

ทั้งน้ีข้ึนอยู่กับน้ำใจท่ีจะเคารพนับถือ และเชื่อฟังธรรมท


เป็นองค์แทนท่านเป็นสำคัญกว่าอ่ืน แม้ท่านยังทรงพระชนม์อยู่


ถ้าขาดความสนใจเสียเพียงอย่างเดียว ท่านก็ช่วยอะไรไม่ได้ คงเป็น
ประเภทอนาถาอยู่ตามเคย ไม่มีอะไรดีขึ้น เพ่ือความไม่เดือดร้อน
ในภายหลัง และเพ่ือความอบอุ่นใจท้ังปัจจุบันและอนาคต จึงควร
ปฏิบัติบำเพ็ญตนด้วยธรรมท่ีประทานให้เป็นมรดกแทนพระองค์


ผลจะเป็นเช่นเดียวกับท่ียังทรงพระชนม์อยู่ทุกประการ ไม่มีอะไร
เปลีย่ นแปลง คอื จะมีธรรมคือศาสดาประจำใจอย่ตู ลอดเวลา

ไดพ้ รำ่ กรรมฐานมายดื ยาวจนทา่ นผอู้ า่ นเออื มไปตาม ๆ กนั
จึงขออภัยอีกครั้งในความไม่พอดีของตนท่ีพร่ำไปบ้าง ก็คิดว่าท่าน

ท่ียังไม่เข้าใจในคำว่ากรรมฐานเท่าท่ีควรก็อาจมี และอาจจะเข้าใจ


และทราบวิธีปฏิบัติไว้บ้าง เมื่อถึงวาระที่คิดอยากบำเพ็ญจะได้
สะดวก

บัดนี้จะเร่ิมเรื่องปฏิปทาคือข้อปฏิบัติ ท่ีท่านอาจารย์มั่น


พาคณะลูกศิษย์ดำเนินมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน การปฏิบัติตาม
ปฏิปทานี้รู้สึกลำบากเพราะเป็นการทวนกระแสโลกท้ังทางกาย

ทางวาจาและทางใจ หลักปฏิปทาก็มีธุดงค์ ๑๓ ขันธวัตร ๑๔

45ท่านอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปณั โน

มีอาคันตุกวัตรเป็นต้น เป็นเคร่ืองบำเพ็ญทางกายโดยมาก และมี
กรรมฐาน ๔๐ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไป


ในอิริยาบถต่าง ๆ ของความเพียร ท่านที่สมัครใจเป็นพระธุดงค-
กรรมฐาน จำต้องเป็นผู้อดทนต่อสิ่งขัดขวางต้านทานต่าง ๆ ท่ีเคย
ฝังกายฝังใจจนเป็นนิสัยมานาน ซ่ึงเป็นส่ิงท่ีละได้ยาก แต่ก็จำต้อง
พยายามละไม่หยุดหย่อนอ่อนกำลัง เพราะเพศของนักบวชกับเพศ
ฆราวาส มีความเป็นอยู่ต่างกัน ตลอดความประพฤติมรรยาท
ความสำรวมระวังต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามแบบหรือประเพณีของพระ
ซ่งึ เปน็ เพศทส่ี งบงามตา

ผู้เป็นพระธุดงค์จึงควรมีความเข้มงวดกวดขันในข้อวัตร
ปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นท่ีอบอุ่นเย็นใจแก่ตนและเป็นท่ีน่าช่ืนชม


เล่ือมใสแก่ผู้อ่ืน เพราะธุดงควัตร ๑๓ และวัตรต่าง ๆ ตลอด

กรรมฐานท้ังมวล ล้วนเป็นธรรมเครื่องดัดนิสัยความด้ือด้านของ

คนเราโดยตรง พระก็ออกมาจากฆราวาส นิสัยนั้นต้องติดตัวมาด้วย
ถ้าไม่มีเคร่ืองดัดแปลงหรือทรมานกันบ้าง ก็คงไม่พ้นการบวชมา
ทำลายตัวและวัดวาศาสนาให้ฉิบหายล่มจมลงอย่างไม่มีปัญหา
เพราะปกตินิสัยของมนุษย์เราโดยมาก ชอบเบียดเบียนและทำลาย
ตนและผู้อ่ืนด้วยวิธีต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยไม่จำต้องอาศัยเจตนา
เสมอไป เนื่องจากความชินต่อนิสัย เพราะความทะเยอทะยาน
อยากต่าง ๆ พาให้เป็นไป หรือเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็สุดจะ
คาดเดาถูก จึงพลอยมีความทุกข์เดือดร้อนติดตัวประจำอิริยาบถ

อยเู่ สมอ ไมค่ ่อยมคี วามสุขกายสุขใจไดน้ านเท่าท่ีอยากมี

คำวา่ เบยี ดเบยี นหรอื ทำลายตนนนั้ ไดแ้ กค่ วามคดิ นกึ ตา่ ง ๆ
ท่ีเป็นภัยแก่ตนโดยเจ้าตัวไม่รู้ว่าผิดก็มี ที่รู้ว่าผิดก็มี และเป็นชนวน

46 ปฏปิ ทาของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มน่ั ภูริทัตตเถระ

ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จนถึงระบาดออกทางกายวาจา

เรยี กว่าความเบยี ดเบียนทำลายท้งั ส้ิน

จะเขียนเรื่องพระปฏิบัติที่กำลังอยู่อบรมกับท่านก่อน


แล้วจึงจะเขียนเร่ืองการแยกย้ายของท่านที่ออกไปปฏิบัติอยู่โดย
ลำพงั ตอ่ ไปตามลำดบั

ท่านท่ีเริ่มมาศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานในสำนักท่าน
อาจารย์มั่น ตามปกติท่านสอนให้เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรใน

ทุกกรณีท่ีเป็นหน้าที่ของพระจะพึงทำ สอนให้เป็นคนหูไวตาไว


ก้นเบาลุกง่ายไปเร็วไม่อืดอาดเนือยนาย สอนให้เป็นคนฉลาด

ช่างคิดในกิจนอกการในเพื่ออรรถธรรมในแง่ต่าง ๆ ไม่อยู่เฉย ๆ
เหมือนคนสิ้นท่า ความเคลื่อนไหวไปมามีสติอยู่กับตัว สอนให้เป็น
คนละเอียดลออในทุกกรณี การภาวนาท่านเร่มิ สอนแต่กรรมฐานห้า
เป็นต้นไป ตลอดถึงกรรมฐานอ่ืน ๆ ตามแต่อาการใดจะเหมาะกับ
จริตนิสัยของผู้มาอบรมศึกษาเป็นราย ๆ ไป ขณะฟังการอบรม

ก็ทำสมาธิภาวนาไปด้วยในตัว บางรายขณะนั่งฟังการอบรม จิตเกิด
ความสงบเย็นเป็นสมาธิขึ้นมาทั้งที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนนับแต่
เรม่ิ ฝึกหดั เพง่ิ มาเป็นในขณะน้ันก็มี

พระเณรมีจำนวนมากที่เข้าไปรับการอบรม ต่างเกิดผลจาก
สมาธิภาวนาขณะที่นั่งฟังการอบรมในแง่ต่าง ๆ กันข้ึนมาตาม

จริตนิสัย ไม่ค่อยตรงกันไปทีเดียว ความรับการอบรมจากท่านเป็น
อุบายกล่อมเกลาจิตใจของผู้ฟังได้ดี ทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญา
เป็นข้ัน ๆ ผู้ที่ยังไม่เคยมีความสงบก็เริ่มสงบ ผู้เคยสงบบ้างแล้ว


ก็เพ่ิมความสงบไปทุกระยะที่ฟัง ผู้มีสมาธิเป็นพื้นฐานแล้วก็ทำให้
ฐานนั้นม่ันคงขึ้นโดยลำดับ ผู้เร่ิมใช้ปัญญาการอบรมก็เป็นอุบาย

47ทา่ นอาจารย์พระมหาบวั ญาณสมั ปณั โน

ปัญญาช่วยไปด้วยเป็นระยะ ผู้มีภูมิปัญญาเป็นพ้ืนอยู่แล้ว ขณะฟัง
การอบรมก็เท่ากับท่านช่วยบุกเบิกอุบายสติปัญญา ให้กว้างขวาง

ลึกซึ้งลงไปทุกระยะเวลา ออกจากท่ีอบรมแล้วต่างองค์ต่างปลีกตัว
ออกบำเพญ็ อยู่ในสถานทแี่ ละอริ ยิ าบถต่าง ๆ กัน

การพักผ่อนหลับนอนไม่มีกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับใด ๆ

จากท่าน ปล่อยให้เป็นความสะดวกเหมาะสมของแต่ละรายจะ
ปฏิบัติต่อตัวเอง ทั้งน้ีเพราะธาตุขันธ์และความเพียร ตลอดความ
หมายม่ันปั้นมือต่อธรรมในแง่ต่าง ๆ มีหนักเบามากน้อยต่างกัน
บางรายกลางคืนมีเวลาพัก บางรายพักนอนบ้างตอนกลางวัน


แต่กลางคืนเร่ง พักหลับนอนน้อยหรือไม่พักหลับเลยในบางคืน
ความเพียรมาก จึงปล่อยให้เป็นความสะดวกสำหรับตัวเองแต่ละ
รายไป ทีจ่ ะพกั ผ่อนหลับนอนหรือประกอบความเพยี รในเวลาใด

แนวทางดำเนินในสายท่านอาจารย์มั่น กรรมฐาน ๕ และ
ธุดงค์ ๑๓ ท่านถือเป็นสำคัญมาก จะเรียกว่าเป็นเส้นชีวิตของ

พระธุดงค์สายของท่านก็ไม่ผิด ใครเข้าไปรับการอบรมกับท่าน


ท่านต้องสอนกรรมฐานและธุดงควัตรให้ในเวลาไม่นานเลย ถ้าเป็น


หน้าแล้งท่านมักจะสอนให้ไปอยู่รุกขมูลร่มไม้เสมอ ว่าโน้นต้นไม้
ใหญ่มีใบดกหนา น่าร่มเย็นสบาย ภาวนาสะดวก อากาศก็ด ี


ปราศจากความพลุกพล่านวุ่นวายจากส่ิงภายนอก โน้นภูเขาเป็นที่
เปิดหูเปิดตาเพ่ือร่าเริงในธรรม โน้นถ้ำ โน้นเง้ือมผา เป็นที่น่าอย


น่าบำเพ็ญเพียรหาความสงบสุขทางใจ โน้นป่าชัฏ เป็นท่ีกำจัด


ความเกียจคร้านและความหวาดกลัวต่าง ๆ ได้ดี คนเกียจคร้าน
หรือคนขี้ขลาดควรไปอยู่ในที่เช่นนั้น จะได้ช่วยพยุงความเพียรให้
ขยันเสียบ้าง และช่วยกำจัดความกลัวเพ่ือความกล้าหาญขึ้นบ้าง

48 ปฏิปทาของพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ ั่น ภรู ทิ ัตตเถระ

ไม่หนกั และกดถว่ งจิตใจจนเกนิ ไป

ภูเขาลูกโน้น ถ้ำโน้น เง้ือมผาโน้น อากาศดี ภาวนาสะดวก
จิตรวมลงสู่ความสงบได้ง่าย เม่ือจิตสงบแล้ว มองเห็นสิ่งต่าง ๆ


ท่ีแปลก ๆ ลึกลับได้ดีเกินกว่าสายตาสามัญจะรู้เห็นได้ ภูเขาลูกนั้น
ถ้ำน้ัน เงื้อมผานั้น มีส่ิงน้ัน ๆ อยู่ทางทิศนั้น ๆ ผู้ไปอยู่ควรระวัง
สำรวม ไม่ควรประมาทว่าปราศจากผู้คนและสิ่งต่าง ๆ ที่เห็น ๆ
และได้ยินแล้ว จะไม่มีอะไรอ่ืนอีก สิ่งลึกลับเกินกว่าสามัญจิตจะ


รู้เห็นได้ยังมีอีกมากมาย และมากกว่าวัตถุท่ีมีเกล่ือนอยู่ในโลกนี้


เป็นไหน ๆ เป็นเพียงไม่มีส่ิงที่ควรแก่สิ่งเหล่านั้นจะแสดงความมี
ออกมาอย่างเปิดเผยเหมือนสิ่งอื่น ๆ เท่าน้ัน จึงแม้มีอยู่มากน้อย
เพียงไรก็เป็นเหมือนไม่มี ผู้ปฏิบัติจึงควรสำรวมระวังในอิริยาบถ

ต่าง ๆ อย่างน้อยก็เป็นผู้สงบเย็นใจ ย่ิงกว่าน้ันก็เป็นที่ช่ืนชมยินดี
ของพวกกายทิพย์ทั้งหลายท่ีมีภพภูมิต่าง ๆ กัน อาศัยอยู่ใน


แถบน้นั และทอี่ ื่น ๆ

เพราะโลกไม่ว่างจากมวลสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งหยาบและ
ละเอียด แม้ในกายคนกายสัตว์ก็ยังมีสัตว์ชนิดต่าง ๆ อาศัยอย่ ู


นักปฏิบัติเพ่ือเสรีภาพแก่สภาวธรรมท้ังหลายทั่วไตรภพ จึงไม่ควร
รับรองและปฏิเสธในส่ิงท่ีตนรู้ตนเห็นว่ามีว่าจริง และว่าไม่มีไม่จริง
เพียงเท่าน้ัน แม้แต่วัตถุทั้งหยาบท้ังละเอียดซ่ึงมีอยู่ เรายังไม่
สามารถรู้เห็นโดยทั่วถึง บางทียังโดนสิ่งต่าง ๆ จนตกบ้านตกเรือน
แตกยับไปหมดก็ยังมีประจำนิสัยมนุษย์ผู้ชอบหย่ิงในตัว ขณะที่เดิน
ซุ่มซ่ามเซอะซะไปโดนสิ่งของด้วยความไม่มีสติน้ัน เจ้าตัวต้องเข้าใจ
ว่าอะไรไม่มีอยู่ในท่ีนั้น แต่ส่ิงท่ีถูกปฏิเสธว่าไม่มีอยู่ในท่ีนั้นและใน
ขณะนั้น ทำไมจึงถึงกับแตกฉิบหายไปได้ เพียงเท่านี้ก็พอพิสูจน


Click to View FlipBook Version