150 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
เหมือนกันนั่นเองไม่ใช่อ่ืนไกล ถึงความเห็นมันจะไปคนละทิศละทาง ยังเห็นผิดอยู
่
ก็ช่างมันเถอะ ถ้ามีความถูกต้องมันก็เหมือนกัน คล้ายกับว่าห้วยหนองคลองบึงต่างๆ
ท่ีมันไหลลงสู่ทะเล เม่ือมันไปตกถึงทะเลแล้วมันก็มีสีครามรสเค็มด้วยกัน มนุษย์เรา
ท้ังหลายก็เช่นกัน เมื่อลงสู่กระแสของธรรมะแล้วมันก็ลงสู่ธรรมะอันเดียวกัน จะอยู่
คนละทิศละทางก็ช่าง จะอยู่ที่ไหนก็ตาม มันมารวมกันเป็นอันเดียวกันอย่างนั้น
แต่ว่าความคิดท่ีมันแก่งแย่งซ่ึงกันและกันนั้นเป็นทิฏฐิมานะ ดังน้ัน พระพุทธเจ้าจึง
สอนว่า เร่ืองความเห็นน้ันก็ปล่อยไว้ เรื่องมานะอย่าเข้าไปยึดม่ันถือม่ันจนเกินความ
เป็นจริง
พระพุทธองค์ท่านสอนว่า ให้มีสติอยู่เสมอ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน
จะอยู่ที่ไหนก็ช่างเถอะ ให้มีสติประคองอยู่เสมอ เมื่อเรามีสติเราก็เห็นตัวเรา เห็นใจ
ของเรา แล้วก็เห็นกายในกายของเรา เห็นใจในใจของเราทุกอย่าง ถ้าไม่มีสติเรา
ก็ไม่รู้เรื่อง อะไรมาตกอยู่หน้าบ้านตกอยู่ในกุฏิ เราก็ไม่เห็น เพราะเราไม่มีสติ การ
มสี ตนิ ้ีจึงเปน็ สิ่งสำคัญ
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นจะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
เพราะว่าตามองเห็นรูปก็เป็นธรรมะ หูได้ฟังเสียงก็เป็นธรรมะ จมูกได้กล่ินก็เป็น
ธรรมะ ล้ินได้รสก็เป็นธรรมะ กายไปถูกโผฏฐัพพะกระทบเย็น ร้อน อ่อน แข็ง
ก็เป็นธรรมะ ธรรมารมณ์ท่ีมันเกิดข้ึนกับใจ นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น
ฉะนั้น ผู้ที่มีสติได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา จะยืน จะเดิน จะนั่ง
จะนอน มนั มอี ย่ทู ุกเวลา เพราะอะไร เพราะเรามสี ติ มคี วามรู
้
สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะความรู้อยู่ ตัวรู้ก็คือตัวพุทโธ ตัวพระพุทธ-
เจ้าน่ันแหละ พอมีสติสัมปชัญญะรู้อยู่ ปัญญาก็วิ่งตามมาเท่าน้ัน รู้เร่ืองต่างๆ ตาเห็น
รูป สิ่งนีค้ วรไหม หูฟงั เสยี ง สงิ่ นค้ี วรไหม ไมค่ วรไหม มนั เปน็ โทษไหม มนั ผดิ ไหม
มันถูกต้องเป็นธรรมะไหม สารพัดอย่าง ดังน้ัน ผู้มีปัญญาแล้วจึงได้ฟังธรรมะอยู่
ตลอดเวลา แม้มองเห็นต้นไม้ก็เป็นธรรมะ มองเห็นส่ิงต่างๆ มันเป็นธรรมะหมด
ทั้งนั้น ถา้ เรารู้จกั ธรรมะ
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
151
152 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
พวกเราทั้งหลายให้เข้าใจว่า ในเวลาน้ีเราเรียนอยู่กลางธรรมะ จะเดินไป
ข้างหน้าก็ถูกธรรมะ จะถอยไปข้างหลังก็ถูกธรรมะ ธรรมะท้ังน้ัน ถ้าเรามีสติอยู่
แม้แต่เห็นสัตว์ต่างๆ ที่วิ่งไป ก็มีปัญญาว่า สัตว์มันก็เหมือนกันกับเราน่ันแหละ มัน
ไม่แปลกไปกว่าเราหรอก มันหนีจากความทุกข์ไปหาความสุขเหมือนกัน อันไหน
ท่ีมันไม่ชอบ มันก็ไม่เอาเหมือนกัน มันกลัวส้ินชีวิตของมันเหมือนกัน ถ้าเราคิดไป
เช่นนี้ก็เรียกว่า สัตว์ท้ังหลายในโลกนี้กับมนุษย์ก็ไม่แปลกกันที่สัญชาตญาณต่างๆ
เมื่อเราคิดไปเช่นนี้ก็เรียกว่าเป็นการภาวนา รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า สัตว์ท้ังหลาย
ก็ดี มนุษย์ท้ังหลายก็ดี มันก็เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพ่ือนเจ็บ เพ่ือนตาย ด้วยกัน
ท้ังน้ัน ไม่ใช่อื่นไกล สัตว์ทุกประเภทมันก็เหมือนมนุษย์ มนุษย์ทุกประเภทมันก็
เหมือนสัตว์ ทีนเ้ี มื่อเราร้เู ห็นสภาวะตามเปน็ จริง จิตเรากถ็ อนออกจากสิง่ เหล่าน้ัน
ฉะน้ัน ท่านจึงใหม้ ีสติ ถา้ มสี ติแล้วมนั จะเห็นกำลงั ใจของตน เห็นจิตของตน
ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเป็นอย่างไรก็ต้องรู้ ตัวรู้นั่นแหละเรียกว่า พุทโธ หรือ
พระพทุ ธเจ้า ผู้รู้ ร้ถู งึ ทีม่ ันแล้วก็รู้แจง้ แทงตลอด เม่ือมันรอบรู้อย่เู ชน่ น้ี ก็ประพฤติ
ปฏบิ ัติไดถ้ กู ต้องดเี ท่านัน้ ไม่ใชอ่ ่นื ไกล
ฉะน้ัน ปฏิบัติง่ายๆ พิจารณาง่ายๆ เราจึงมีสติอยู่ ผู้ไม่มีสติก็เหมือนเป็นบ้า
ไมม่ สี ติ ๕ นาที กเ็ ป็นบา้ ๕ นาที กป็ ระมาทอยู่ ๕ นาที ถ้าขาดจากสตเิ มือ่ ใดกเ็ ปน็
บ้าเมื่อน้ัน ให้เข้าใจอย่างน้ี สติน้ีจึงมีคุณค่า คนมีสติแล้วก็รู้จักว่า ตัวเรามีลักษณะ
อย่างไร จิตใจของเราอยู่ในลักษณะอย่างไร ความเป็นอยู่ของเราอยู่ในลักษณะ
อย่างไร นี่ผู้มีปัญญามีความเฉลียวฉลาดแล้วก็ได้ฟังธรรมอยู่ทุกเวลา ออกจากครูบา
อาจารย์แลว้ ก็ได้ฟังธรรมอยู่เสมอ รอู้ ยู่เสมอ เพราะว่าธรรมมอี ยูท่ ั่วๆ ไป
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
153
ฉะน้ัน พวกเรานั่น ในวันหนึ่งๆ ให้ได้ปฏิบัติเถอะ ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ทำ เรา
ปฏิบัติธรรมะ ไม่ปฏิบัติตามตัวเรา ถ้าปฏิบัติตามตัวเราไม่เป็นธรรมะ ไม่ว่ากลางวัน
กลางคืน สงบก็ทำ ไม่สงบก็ทำ เหมือนกับเราเป็นเด็กไปเรียนหนังสือ จะเขียน
ไมส่ วยในครงั้ แรก มันหัวยาวๆ ขายาวๆ เขียนไปตามเรื่องของเดก็ นานไปก็สวยข้ึน
งามข้ึนเพราะฝึกมัน การประพฤติธรรมก็เหมือนกัน ทีแรกก็เกะๆ กะๆ สงบบ้าง
ไม่สงบบ้าง ไม่รู้เรื่องมันเป็นไป บางคนก็ข้ีเกียจ อย่าขี้เกียจ ต้องพยายามทำ
อยู่ด้วยความพยายาม เหมือนกับเราเป็นเด็กนักเรียน โตมาก็เขียนหนังสือได้ดี
จากไมส่ วยมาเขยี นได้สวย เพราะการฝกึ ตัง้ แตเ่ ดก็ นั่นแหละ อนั น้ีกเ็ หมือนกนั ฉนั นั้น
พยายามให้มีสติอยู่ทุกเวลา จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน พยายามทำให้มัน
สม่ำเสมอ เมื่อเราทำกิจวัตรอะไรมันคล่องดีแล้ว เป็นต้น เราก็สบายใจ นั่งก็สบาย
นอนก็สบาย เมื่อความสบายเกิดขึ้นจากกิจวัตร การน่ังสมาธิก็สงบง่าย เป็นเรื่อง
สัมพันธ์ซึง่ กนั และกันดังน้ี
ฉะนั้น จงพากันพยายาม สิ่งที่ครูบาอาจารย์พาทำน้ี ให้พยายามทำเถอะ
ตามความสามารถของเรา น่เี รยี กวา่ การฝกึ .
ไมใ่ ชว่ า่ จะไปรกั ษาสกิ ขาบททกุ ๆ ขอ้
เรารกั ษาจิตอันเดียวเทา่ น้นั ก็พอแลว้
๑๓
ธ ร ร ม ใ น วิ นั ย
การปฏิบัติของเรานะ มันเป็นของยากอยู่ ไม่ใช่เป็นของง่าย คือเรา
รู้อยู่ส่วนหน่ึง แต่ว่าส่วนที่ไม่รู้น้ันมีมาก ยกตัวอย่างเช่นว่าให้รู้กาย แล้วก
็
รู้กายในกาย อย่างน้ีเป็นต้น ให้รู้จิต แล้วให้รู้จิตในจิต ถ้าเรายังไม่เคย
ปฏิบัติมา เราได้ยินคำพูดเช่นนี้เราก็งงเหมือนกัน พระวินัยนี้ก็เหมือนกัน
สมัยก่อนผมก็เคยเป็นครูโรงเรียน แต่เป็นครูน้อยๆ ไม่มาก ทำไมถึง
เรียกว่าครูน้อย คือครูไม่ได้ปฏิบัติ สอนพระวินัยแต่ว่าไม่ได้ปฏิบัติตาม
พระวินัย เรียกว่าครูน้อย ครูไม่สมบูรณ์ ที่ว่าครูไม่สมบูรณ์ ออกมาปฏิบัติ
แล้วก็ไม่สมบูรณ์ พูดถึงเร่ืองส่วนใหญ่มันไกลมาก เหมือนกันกับไม่ได
้
เรียนอะไรเลยเร่อื งพระวินัย
ฉะน้ัน ผมจึงขอเสนอความเห็นแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า เร่ืองการ
ปฏิบัตินั้น เราจะรู้พระวินัยโดยสิ้นเชิงก็ไม่ได้ เพราะบางส่ิงรู้ก็เป็นอาบัติ
ไม่รู้ก็เป็นอาบัติ มันก็เป็นของยาก แต่ว่าพระวินัยนี้ท่านกำชับไว้ว่า ถ้าหาก
ว่ายังไม่รู้สิกขาบทใด ข้ออรรถอันใด ก็ให้ศึกษาให้รู้สิกขาบทน้ัน ด้วย
ความพยายามจงรักภักดตี อ่ พระวนิ ยั ถงึ ไม่รู้ทา่ นก็ให้พยายามศึกษาขอ้ นน้ั
156 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ให้รู้ ถ้าไม่เอาใจใส่ก็เป็นอาบัติอีก เช่นว่า ถ้าเรายังสงสัยอยู่นะ เป็นหญิงสำคัญว่า
ชาย เข้าไปจับเลยอย่างน้ี สงสัยอยู่ก็เข้าไปจับ มันก็ยังผิดอยู่ ผมก็เคยคิดว่าไม่รู้
ทำไมมนั ผดิ
เมื่อมานึกถงึ การภาวนา เราผปู้ ฏบิ ตั ิจะต้องมสี ติ จะตอ้ งพจิ ารณา จะพูดจะจา
จะจับจะแตะทุกอย่าง จะต้องพิจารณาก่อนให้มาก ที่เราพลาดไปนั้นเพราะเรา
ไม่มีสติ หรือมีสติไม่พอ หรือไม่เอาใจใส่ในเวลาน้ัน เช่นว่า ตะวันยังไม่ห้าโมง แต
่
ในเวลาน้ันฝนฟ้าอากาศมันครึ้ม ไม่สามารถที่จะมองเห็นตะวันได้ ไม่มีนาฬิกา เรา
ก็เลยคดิ เอาประมาณเอาวา่ ”มนั จะบา่ ยแลว้ ละมั้ง„ มีความรู้สึกอย่างนี้จรงิ ๆ ในจิตใจ
เราสงสัยอยู่ แต่เราก็ฉันอาหารเสีย พอฉันไปได้พักหนึ่ง แสงสว่างของพระอาทิตย
์
มันก็เกิดข้ึนมา ได้ห้าโมงกว่าเท่าน้ันเอง นี่เป็นอาบัติแล้ว ผมก็มาคิดในใจว่า ”เอ๊ะ
มันก็ยงั ไม่เกนิ เทีย่ ง ทำไมเป็นอาบัติ„
ท่านปรับอาบัติเพราะว่าเผอเรอ ไม่เอ้ือเฟ้ือ ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนน่ีเอง ไม่
สังวรสำรวม ทำไมถึงเป็นอย่างน้ันล่ะ ถ้าหากว่าสงสัยแล้วยังทำอยู่อย่างนี้ ท่านปรับ
อาบัติทุกกฏ๑ เพราะว่าสงสัย สงสัยว่าบ่าย แต่ความจริงน้ันไม่บ่าย ถูกอยู่ แต่ก็
ปรับอาบัติตอนนี้ เพราะว่าอะไร ปรับเพราะไม่สังวรระวัง ประมาท ถ้าหากว่ามัน
บ่ายไปแล้ว สงสัยอยู่ว่าไม่บ่าย ก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ท่ีท่านปรับอาบัติทุกกฏน้ ี
เพราะไม่สังวรสำรวม สงสัยอยู่ จะถูกก็ตามจะผิดก็ตามก็ต้องอาบัติ ถ้าหากมันถูก
กป็ รับอาบัตหิ ย่อนลงมา ถ้าหากมนั ผดิ ก็ปรับอาบัติอยา่ งเต็มที่เลย
ฉะนั้น เม่ือพูดถึงเรื่องพระวินัยนี้ ฟั่นเฝือมากเหลือเกิน ผมเคยไปกราบเรียน
ท่านอาจารย์ม่ัน เวลาน้ันเรากำลังจะเร่ิมปฏิบัติ แล้วก็อ่านบุพพสิกขาไปบ้าง ก็เข้าใจ
พอสมควร ทีนี้ไปอ่านวิสุทธิมรรค ท่านมาพูดถึงสีลนิเทศ สมาธินิเทศ ปัญญานิเทศ
ศีรษะผมมันจะแตกเลย อ่านแล้วก็มาพิจารณาว่ามนุษย์ทำไม่ได้ ทำอย่างน้ันไม่ได้
๑ อาบัติทกุ กฏ เป็นช่อื อาบตั อิ ย่างเบา
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
157
แล้วคิดไปอีกว่า อันที่มนุษย์ทำไม่ได้นั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่สอนหรอก ท่าน
ไมส่ อนแลว้ ทา่ นก็ไมบ่ ัญญตั ิ เพราะวา่ สงิ่ น้นั ไมเ่ ป็นประโยชนต์ ่อทา่ น และกไ็ ม่เป็น
ประโยชน์ต่อบุคคลอื่นด้วย สิ่งอะไรท่ีใครทำไม่ได้ ท่านไม่สอน สีลนิเทศน้ีมัน
ละเอียดมาก สมาธนิ ิเทศกย็ ่ิงละเอียด ปญั ญานเิ ทศมันก็ยง่ิ มากข้นึ อกี เรามาน่ังคดิ ดู
ไปไม่ไหวเสยี แลว้ ไมม่ ีทางท่ีจะไป คลา้ ยๆ วา่ มันหมดหนทางเสียแลว้
ถึงคราวนั้นก็กำลังกระเสือกกระสนเร่ืองปฏิปทาของตนอยู่ มันก็ติดอยู่อย่างนี้
พอดไี ดม้ ีโอกาสไปนมัสการทา่ นอาจารยม์ ่นั กเ็ ลยเรียนถามท่านวา่
”ผมจะทำอย่างไร เกล้ากระผมปฏิบัติใหม่ ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร ความสงสัย
มาก ยังไมไ่ ดห้ ลกั ในการปฏบิ ตั เิ ลยครับ„
ทา่ นวา่ ”มันเป็นยงั ไง„
”ผมหาทาง ก็เลยเอาหนังสือวิสุทธมิ รรคมาอ่าน มคี วามรู้สึกวา่ มนั จะไปไมไ่ หว
เสียแล้ว เพราะว่าเน้ือความในสีลนิเทศ สมาธินิเทศ ปัญญานิเทศนั้น ดูเหมือนไม่ใช่
วิสัยของมนุษย์เสียแล้ว ผมมองเห็นว่ามนุษย์ท่ัวโลกนี้มันจะทำไม่ได้ครับ มันยาก
มันลำบาก กำหนดทุกๆ สกิ ขาบทนี้มันไปไมไ่ ดค้ รบั มันเหลอื วสิ ยั เสียแลว้ „
ท่านก็เลยพูดว่า ”ท่าน...ของน้ีมันมากก็จริงหรอก แต่มันน้อย„ ถ้าเราจะ
กำหนดทุกๆ สิกขาบทในสีลนิเทศนั้นนะ มันก็ยาก มันก็ลำบาก...จริง แต่ความจริง
แล้วนะ ที่เรียกว่าสีลนิเทศน้ัน มันเป็นนิเทศอันหน่ึง ซึ่งบรรยายออกไปจากจิตใจ
ของคนเราน้ี ถ้าหากว่าเราอบรมจิตของเราให้มีความอาย มีความกลัวต่อความผิด
ทั้งหมด นั่นแหละก็จะเป็นคนสำรวม จะเป็นคนสังวร จะเป็นคนระวัง เพราะ
ความกลวั
เมอ่ื เปน็ อย่างนั้นจะเป็นเหตุทว่ี า่ เราจะเปน็ คนมักน้อย เราจะไมเ่ ป็นคนมกั มาก
เพราะว่าเรารักษาไม่ไหวน่ี ถ้าเป็นเช่นน้ันสติของเรามันจะกล้าข้ึน มันจะต้ังสติขึ้น
จะยืน จะเดิน จะน่ัง จะนอนที่ไหน มันจะต้ังอกต้ังใจ มีสติเต็มเปี่ยมเสมอ ความ
ระวงั มนั เกดิ ขึ้นมาน่ันแหละ
158 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
อันใดที่มันสงสัยแล้วก็อย่าพูดมันเลย อย่าทำมันเลย ที่เรายังไม่รู้จะต้องถาม
ครูบาอาจารย์เสียก่อน ถามครูบาอาจารย์แล้วก็รับฟังไว้อีก ก็ยังไม่แน่ใจ เพราะว่า
มันยังไม่เกิดเฉพาะตัวเอง ถ้าหากเราจะไปกำหนดทุกประการน้ัน ก็ลำบาก เราจะ
เห็นว่าจิตของเรายอมรับหรือยังว่า ทำผิดมันผิด ทำถูกมันถูก อย่างนี้เรายอมรับ
หรือเปลา่ „
คำสอนของท่านอันน้ีเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ว่าจะไปรักษาสิกขาบททุกๆ ข้อ
เรารกั ษาจิตอนั เดียวเทา่ นั้นก็พอแลว้
”อะไรท้ังหมดน่ีท่านไปดูนะ มันข้ึนต่อจิตทั้งน้ัน ถ้าท่านยังไม่อบรมจิตของ
ท่านให้มีความรู้มีความสะอาด ท่านจะมีความสงสัยอยู่เร่ือยไป วิจิกิจฉาอยู่ตลอด
เวลา ดังน้ัน ท่านจงรวมธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ที่จิต สำรวมอยู่ท่ีจิต
อะไรที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว สงสัยแล้ว เลิกมัน ถ้ายังไม่รู้แจ้งเมื่อใดแล้ว อย่าพึงทำมัน
อย่าพึงพูดมัน เช่นว่า อันนี้ผิดไหมหนอ หรือไม่ผิด อย่างน้ีคือยังไม่รู้ตามความ
เปน็ จรงิ แลว้ อย่าทำมนั อยา่ ไปพูดมัน อยา่ ไปละเมดิ มนั „
นี่ผมก็น่ังฟังอยู่ ก็เข้ากับธรรมะท่ีถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ธรรม
อันใดเป็นไปเพ่ือความสะสมซ่ึงกิเลส ธรรมอันใดเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพ่ือความกำหนัดย้อมใจ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความมักมาก
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพ่ือความมักใหญ่ใฝ่สูง ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลุกคลี
หมู่คณะ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพ่ือความเกียจคร้าน ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความ
เล้ียงยาก ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการน้ันรวมกันลงไปแล้ว อันน้ี
เป็นสตั ถุ คำส่ังสอนของพระพทุ ธเจ้า นอกนั้นไมใ่ ช
่
ถ้าหากว่าเราสนใจจริงๆ จิตใจเราจะต้องเป็นคนอายต่อบาป กลัวต่อความผิด
รู้จิตของตนอยู่ว่าสงสัยแล้วไม่ทำ ไม่พูด เร่ืองสมาธินิเทศก็เหมือนกัน เรื่องปัญญา-
นิเทศก็เช่นกัน อันนั้นมันตัวหนังสือ เช่น หิริโอตตัปปะ อยู่ในตัวหนังสือ มันก็เป็น
อยา่ งหนึ่ง ถา้ มนั มาต้ังอยูใ่ นใจของเราแล้ว มนั ก็เปน็ อีกอย่างหนง่ึ
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
159
ไปศึกษาเร่ืองพระวินัยกับท่านอาจารย์ม่ัน ท่านก็สอนหลายอย่างหลายประการ
ผมก็น่ังฟัง รวมเกิดความรู้ขึ้นมา ดังนั้นเร่ืองการศึกษาพระวินัยนี้ ผมก็ได้ศึกษามาก
พอสมควร บางวันเอาตั้งแต่ ๖ โมงเย็นถึงสว่างเลยนะ ศึกษาตลอดพรรษา เข้าใจ
พอสมควร องค์ของอาบัติท้ังหมดท่ีอยู่ในบุพพสิกขานี้ ผมเก็บไว้หมดในสมุดพก
ใส่ในย่ามตลอดเวลา ขะมักเขม้นพยายามที่สุด แต่กาลต่อมานี้ ก็เรียกว่ามันค่อยๆ
คลายออก มันมากเกินไป ไม่รู้จักเน้ือไม่รู้จักน้ำ มันไม่รู้จักอะไร มันเอาไปท้ังหมด
จิตใจมันก็มีปัญญาคลายออก มันหนัก ก็เลยพยายามสนใจในใจของตนเองตลอดมา
ตำรับตำราก็ค่อยทงิ้ เขยี่ ออกไปเร่ือย
ฉะน้ัน ท่ีมาอบรมพระเณรนี้ ผมก็ยังเอาบุพพสิกขาน้ีเป็นหลักฐาน ได้อ่าน
บุพพสิกขาเวลาศึกษาพระวินัยให้พระฟัง หลายปีอยู่วัดป่าพง ผมท้ังนั้นล่ะท่ีอ่านให้
ฟัง สมัยนั้นข้ึนธรรมาสน์เทศน์ อย่างน้อยก็ต้อง ๕ ทุ่มหรือ ๖ ทุ่ม บางทีก็ตี ๑
ตี ๒ นะ สนใจแล้วก็ฝึก ฟังแล้วก็ไปดูไปพิจารณา ถ้าเรามาฟังเฉยๆ นี้ ผมว่า
ไม่เข้าใจแยบคาย ออกจากการฟงั แล้วเราตอ้ งไปดไู ปวนิ ิจฉยั มันถงึ จะเขา้ ใจ
ขนาดผมศึกษามาหลายปีในส่ิงเหล่านี้ก็ยังรู้นิดหน่อย เพราะมันคลุมเครือกัน
หลายอย่าง ทีน้ีมันห่างเหินในการดูตำรับตำรามาหลายปีแล้ว ฉะนั้น ความจำใน
สิกขาบทต่างๆ น้ันมันก็น้อยลงๆ แต่ว่าในใจของเราน่ะมันไม่บกพร่อง มันไม่ขัดเขิน
ในใจเรา มันมีเคร่ืองหมายอยู่ อย่างนี้ไม่ได้สงสัยอะไร รู้จักก็เลยวางไว้ โดยมาก
ก็บำเพ็ญจติ ของตนอยเู่ ร่ือยไป ไม่ได้สงสยั ในอาบตั ิท้งั หลายทัง้ ปวง
ขนาดท่ีว่าจิตของเรามันอายแล้ว ไม่กล้าจะทำความผิดแล้วในที่ลับหรือท่ีแจ้ง
ไม่ฆ่าสัตว์แม้แต่ตัวเล็ก ถ้าหากจะให้ฆ่าโดยเจตนา มดตัวหนึ่งปลวกตัวหนึ่งอะไรน้ี
จะให้เอามือไปบี้มัน ถึงจะให้ตัวหนึ่งราคาหลายๆ หมื่นก็ฆ่ามันไม่ได้ ขนาดปลวก
ขนาดมดเท่านั้นนะ มันยังมีราคาสูงมาก แต่ว่าบางทีก็ทำมันตายนะ บางทีมันมาไต่
รำคาญก็ปัดมันตาย ตายแล้วดูจิตของตนก็ไม่เสียใจอะไรเลย ไม่หวาดหวั่น ไม่สงสัย
เพราะอะไร เพราะเจตนาเรามันไม่มี สีลังวะทามิ เจตะนาหัง เจตนานี้เป็นตัวศีล
เมื่อมันรวมเข้ามาเช่นน้ี เราจะทำมันตายด้วยเจตนาไม่มี ถึงแม้เราเดินไป เราเหยียบ
160 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ไปถูกมันตาย สมัยก่อนเมื่อยังไม่รู้จักจิตของเราน้ันมันเป็นทุกข์ ปรับตัวเองแล้วว่า
เป็นอาบัติแล้ว ”เอ๊า น่ีไม่ได้เจตนา„ ”ไม่มีเจตนา ก็ไม่สังวรสำรวมน่ะสิ„ มันเป็น
อย่างน้ี มนั เขา้ มาอย่างน้ี ก็เลยไมส่ บายกระสบั กระสา่ ย
ดังน้ัน พระวินัยนี้จึงเป็นของก่อกวนกับผู้ประพฤติปฏิบัติท้ังหลาย และก
็
มีประโยชน์มากด้วย ไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ สมกับที่ท่านว่า ไม่รู้สิกขาบทไหนก็
ต้องให้รู้ ไม่รู้ก็ต้องไต่ถามท่านผู้รู้ให้รู้ ท่านย้ำเหลือเกิน ทีน้ีถ้าหากว่าเราไปรู้ตาม
สิกขาบทอยู่ข้างนอก เราจะไม่รู้เท่าอาบัติ เช่นว่า ท่านอาจารย์เภา พระเถระ
ในสมัยก่อน อยู่ลพบุรี วัดเขาวงกต วันหน่ึงก็มีมหาองค์หน่ึงเป็นลูกศิษย์มานั่งอยู่
แลว้ ก็มโี ยมผหู้ ญิงมาถามวา่ ”ทา่ นหลวงพอ่ ดฉิ นั จะนำท่านไปโนน้ ท่านจะไปไหม„
ท่านหลวงพ่อเภาก็เฉย มหาองค์นั้นน่ังอยู่ใกล้ๆ ก็นึกว่าท่านอาจารย์เภา ไม
่
รู้เร่ือง ไม่ได้ยิน ก็เลยว่า ”หลวงพ่อ หลวงพ่อ โยมพูดได้ยินไหม เขาจะนิมนต์ไป
เท่ยี วที่โน้น„
ท่านก็ว่า ”ไดย้ นิ „
โยมกพ็ ูดว่า ”หลวงพอ่ หลวงพ่อจะไปหรอื เปล่า„
ท่านก็เฉย ไม่พูด เลยไม่ได้เร่ือง ท่านไม่รับปาก เมื่อโยมผู้หญิงกลับไปแล้ว
ทา่ นมหาก็วา่ ”หลวงพอ่ โยมเรยี นถามหลวงพอ่ ทำไมไม่พดู „
ท่านก็ว่า ”โอ้ มหา ท่านรู้หรือเปล่า รู้ไหม คนที่มาเม่ือกี้มีแต่ผู้หญิงทั้งนั้น
จะชวนเดินทางร่วมกันกบั พระ นคี่ ุณจะไปรบั ปากกับเขาทำไม ให้เขาชวนขา้ งเดยี วนนั้
ก็ไม่เปน็ อะไร เม่อื เราอยากจะไปเรากไ็ ปได้ เพราะเราไม่ไดช้ วนเขา เขาชวนขา้ งเดยี ว„
ท่านมหาก็เลยนง่ั คดิ ”ออื เราเสยี คนเหลือเกนิ นะ„
ผู้หญิงชวนพระเดินทาง แล้วเดินทางร่วมกันไปโน่นไปน่ี อย่างนี้ ท่านว่าชวน
กันเดินทางร่วมกับผู้หญิง ถึงไม่ใช่สองต่อสอง มีแต่ผู้หญิง ท่านว่าผิดท้ังน้ันเป็น
อาบตั ิปาจติ ตีย
์
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
161
162 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
แล้วก็อีกเร่ืองหน่ึง เอกลาภเกิดขึ้นมาที่วัดเขาวงกตน้ี คนเอาเงินมาถวายท่าน
ท่านก็รับ พอเอาใส่ถาดมา ท่านก็ยื่นผ้าเช็ดหน้าไปรับ ท่านก็จับผ้าเช็ดหน้า เมื่อเขา
จะเอาถาดมาวางท่านก็ขยับมือออกจากผ้าเช็ดหน้าอย่างนี้ ไม่ให้ติดผ้าเช็ดหน้า
นี่อย่างนี้เป็นต้น เงินก็ท้ิงไว้ท่ีเตียง รู้แล้วไม่สนใจลุกหนีไป คือในพระวินัยท่านว่า
ถา้ เราไม่ยินดีแล้วไม่บอกเขาก็ได
้
ถ้าหากว่าเรายินดี ”โยมอันนี้ไม่สมควรแก่พระ„ น่ีบอกเขาเสีย ถ้าเราไม่ยินดี
จริงๆ ไม่บอกก็ได้ พอวางปุ๊ปก็ลุกไปเลย ถ้าเรามีความยินดีต้องห้ามเขาเสียในส่ิงที่
มันผิดอย่างนี้เป็นต้น ถ้าท่านรู้จักท่านก็ลุกไปจริงๆ อันน้ีอาจารย์กับลูกศิษย์อยู่ด้วย
กันตั้งหลายปีไม่ค่อยรู้เร่ืองกัน อันน้ีแย่ ข้อปฏิบัติของท่านอาจารย์เภาเล็กๆ น้อยๆ
ผมกไ็ ปสืบแสวงหาพิจารณาอยู่หลายอยา่ ง
ฉะนั้น พระวินัยน้ีมันเป็นของที่ทำให้บางคนสึกก็ได้ เมื่ออ่านหนังสือพระวินัย
ไป เออ โผล่ขึ้นมาแล้วตรงน้ันมันจะยันไปโน่น จะเอาอดีตมายุ่ง การบวชของเรามัน
จะถูกไหมหนอ อุปัชฌาย์ของเราจะบริสุทธ์ิหรือเปล่า พระหัตถบาส เราก็ไม่มีใคร
สนใจในพระวินัยเลย น่ังรู้จักหัตถบาสกันไหม การสวดนาคจะถูกต้องหรือเปล่า
อย่างน้ี มนั คน้ มนั คิดไป โบสถท์ เ่ี ราบวชนนั้ ถูกตอ้ งดหี รอื เปลา่ โบสถน์ อ้ ยๆ อยา่ งนี้
สงสยั ไปหมด ตกนรกทง้ั น้นั แหละ มนั ตกเพราะเราไมร่ ้จู ัก
อย่างน้ันกว่าจะมีอุบายแก้ไขจิตใจของตนนี้ลำบากมาก ต้องใจเย็นๆ ผลุนผลัน
เกินไปก็ไม่ได้ จะเย็นเกินไปจนไม่รับพิจารณาเหตุผลนี่ก็ไม่ได้ ผมงงจนเกือบจะสึก
แล้วจริงๆ เพราะว่าเห็นความบกพร่องในการกระทำในการปฏิบัติของครูบาอาจารย์
สารพัดอย่าง ร้อน นอนไม่ได้เลย บาปจริงๆ บาปด้วยความสงสัย สงสัยเท่าไร
ก็ย่ิงภาวนาไป ยิ่งทำความเพียรไป สงสัยท่ีไหนก็ทำมันไปเร่ือยๆ ท่ีน้ันปัญญามันก็
เกิด ความเปล่ียนแปลงเกิดข้ึนมาเรื่อยๆ ความเปล่ียนแปลงน้ันไม่รู้ว่าจะพูดให้ใคร
ฟังได้ เปลี่ยนแปลงจนมันไม่สงสัยอะไร ไม่รู้มันเปลี่ยนแปลงโดยวิธีอะไร ถ้าเราไป
พูดให้คนอืน่ ฟังเขาคงไมร่ ู้เรอื่ งเหมอื นกัน
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
163
ดังน้ัน จึงได้มาระลึกถึงคำสอน ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ วิญญูชนรู้
เฉพาะตนเองอย่างนี้ มันก็เกิดข้ึนมาในขณะท่ีมันเป็นอย่างน้ัน เร่ืองปฏิบัติมันเป็น
อย่างน้ี
เร่ืองท่ีเราได้ศึกษาพระธรรมวินัยนั้นก็จริงอยู่ แต่ว่ามันศึกษานอกๆ เราไม่
ปฏิบัติ ถ้ามาปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง มันสงสัยไปหมดทุกอย่าง แต่ก่อนอาบัติ
ทุกกฏไม่รู้เร่ือง ไม่รับฟังอะไรทั้งนั้น เม่ือมาเข้าใจธรรมะจริงๆ แล้วถึงข้อปฏิบัตินี้นะ
อาบตั ิทกุ กฏน้กี ลายมาเป็นปาราชกิ เลย
สมัยก่อนนี้อาบัติทุกกฏไม่เป็นอะไร มันเล็กๆ น้อยๆ คิดอย่างนี้ ตอนเย็นๆ
มาแสดงอาบัติแล้วก็หายเท่าน้ัน แล้วก็ไปทำใหม่อีก น่ีการแสดงอาบัติอย่างน้ีเรียกว่า
มันยังไม่บริสุทธิ์ คือมันไม่หยุด มันไม่ตกลง มันไม่สังวรสำรวม ต่อไปทำอีกก็เป็นอีก
อย่เู ร่ือยๆ อย่างน้ี ความร้ตู ามความเป็นจรงิ ไม่มี การปลอ่ ยวางมันกไ็ มม่ ี
ความเป็นจริงน้ันมันก็พูดยากเหมือนกัน อาบัติน้ีถ้าพูดตามธรรมะตามความ
จริง ไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงมันแล้ว ถ้าหากว่าเห็นบริสุทธ์ิใจของตนน้ันแหละ
ไม่ได้สงสัยอะไรทั้งส้ิน มันก็ขาดไปเท่านั้นแหละ ที่เรายังไม่บริสุทธิ์ คือเราสงสัย
อยู่ วิจิกิจฉาอยู่ลังเลอยู่นั้นเอง ยังไม่บริสุทธ์ิแท้ มันจึงตกลงไม่ได้ ไม่เห็นตัว
ของตัวเอง มันเป็นในทำนองน้ี คือศีลเราน้ีเอง ไม่ใช่อ่ืนหรอก พระวินัยก็คือรั้ว
นน่ั เอง เหมือนรว้ั ท่ีจะให้เราพ้นจากความผดิ ต่างๆ ตอ้ งพถิ พี ิถนั หน่อยนะอนั นี้
เรื่องพระวินัยน้ี ถ้าหากว่ามันไม่เห็นในใจของตนมันก็ยาก ในเวลาก่อนมา
อยู่วัดป่าพงหลายสิบปี ผมก็ต้ังใจจะทิ้งเงินทั้งพรรษาค่อนพรรษาเลย ตัดสินใจไม่ได้
ในที่สุดผมเลยคว้าเอากระเป๋าเงินเดินลงมา พบมหาองค์หน่ึง เด๋ียวนี้อยู่วัดระฆัง
เคยไปกบั ผม แล้วทิ้งกระเป๋าเงินให
้
”นี่มหา เงินน้ีท่านเป็นพยานให้ผมด้วย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจะไม่หยิบ
ผมจะไม่จับ ถ้าผมไม่สึกนะ ให้ท่านเป็นพยานให้ผมด้วย นิมนต์เถอะท่าน เอาไป
เถอะ เอาไปเรยี นหนังสือเถอะ„
164 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ท่านมหาก็ไม่อยากหยิบกระเป๋าสตางค์ อาย ”ท่านอาจารย์ทำไมจึงทิ้งสตางค์
หลายรอ้ ยหนอ„ ท่านก็ไม่สบายใจ
”ไมต่ อ้ งเป็นหว่ งผมหรอก ผมเลิกแลว้ ตกลงกันแลว้ เมือ่ คนื น้ี ตกลงแล้วครับ„
ต้ังแต่ท่านมหาเอาไปแล้วก็เหมือนผมตายไปจากท่านแล้ว พูดอะไรก็ไม่รู้เร่ือง
กันหรอก ท่านยังเป็นพยานอยู่ทุกวันน้ี ไม่เคยทำ ไม่เคยแลกไม่เคยเปล่ียน ไม่เคย
อะไรต่ออะไรเรื่อยมา อะไรต่างๆ ก็สำรวมอยู่ มันก็เหมือนกับไม่มีอะไรจะผิด แต่
มันกลัวเสมอนะ แล้วการภาวนาทางในเราก็ภาวนาไปเร่ือยๆ ส่วนน้ันเราไม่ต้องการ
แล้ว เหมือนอย่างกับยาพิษน่ี เราเห็นแล้วว่า เอาให้คนกินก็ตาย เอาให้สุนัขกินมัน
ก็ตาย เอาให้อะไรกินมันก็ตาย เป็นอันตรายทั้งน้ัน ถ้าเราเห็นชัดอย่างน้ัน แม้จะยืน
จะเดิน จะนั่ง จะนอน เราก็รู้สึกเลยว่าอย่าไปกินยาพิษอันนั้น เพราะเราเห็นโทษมัน
ชดั อย่างนี้ เลยไม่เปน็ ของยาก
อาหารการขบการฉนั ท่เี ขามาถวาย อะไรตา่ งๆ ทส่ี งสัย ไมเ่ อา แมม้ ันจะมีอะไร
ดีเลิศประเสริฐเท่าไรก็ไม่เอาเสียแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ ปลาส้มอย่างน้ี ถ้าเราอย
ู่
ในป่าไปบิณฑบาตเขาใส่ปลาส้มให้เป็นห่อ มีแต่ปลาส้มห่อเดียวเท่านั้น มาเปิดดู
เป็นปลาส้มไม่สุก ก็เลยเอาท้ิง ฉันข้าวเปล่าๆ ดีกว่า มันไม่กล้าล่วง อย่างน้ันจึง
เรียกวา่ จติ มนั เหน็ พระวินัยน้ัน มนั ก็งา่ ยขน้ึ ๆ
พระสงฆ์จะเอาอะไรให้ เคร่ืองบริขาร จะเป็นบาตร จะเป็นมีดโกน จะเป็น
อะไรต่างๆ ผมไม่เอา ถ้าไม่เห็นว่าเป็นเพ่ือนด้วยกันสหธรรมิกอันเดียวกัน ไม่เอา
ทำไม กค็ นไมส่ ังวรสำรวม เราจะเชอื่ ได้ไหม มนั กท็ ำผิดตา่ งๆ ไดท้ ง้ั น้นั คนไม่สังวร
สำรวมนี่ มนั ไม่เห็น มันกเ็ ปน็ ไปได้อย่างน้ ี ความเห็นมันก็ลกึ ไปอย่างนน้ั
ฉะนั้น มันจึงเป็นเหตุให้พวกสหธรรมิกทั้งหลายมอง ”ท่านองค์น้ันไม่เล่นกับ
เพ่ือน ไม่เข้าสังคม„ ไม่อะไรต่ออะไร ผมก็เฉยเสีย ”เออ คอยสังคมกันท่ีตายเถอะ
ท่ีจะตายมันอยู่สังคมอันเดียวแหละ„ นึกไว้ในใจอย่างนี้ อยู่อย่างน้ีเรื่อยมา ด้วย
ความอดทนมากท่ีสุด เลยเป็นคนพูดน้อย ใครมาพูดก้าวก่ายถึงการปฏิบัติของเรา
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
165
ก็เฉยๆ ทำไมถึงเฉย คือพูดแล้วเขาก็ไม่รู้จัก ไม่รู้การปฏิบัติ อย่างพระไปพิจารณา
ซากศพน้ี บางคนก็ว่า ”อย่าไปฟังท่านเลย เอาใส่ย่ามอย่าบอกท่าน อย่าให้ท่านรู้ว่า
ใสย่ ่าม„
”เออ โยมรู้ไหมว่าพระเป็นหรือพระตาย พระน้ีโยมเห็นว่าพระเป็นหรือพระ
ตายแล้ว ไม่ใช่เรียกสุราว่าน้ำหอม มันจะเป็นน้ำหอมหรือ มีแต่โยมเท่าน้ันแหละ
อยากจะกินเหล้าก็ว่าเป็นน้ำหอม ก็พากันกิน มันก็เป็นบ้าทั้งน้ันแหละ ไม่รู้เหล้ามัน
เป็นอยา่ งน„้ี
ตรงนะ ฟังตัวเองตรงอย่างน้ี ไม่อย่างน้ันพระวินัยน้ีลำบาก ต้องเป็นคน
มกั น้อย ตอ้ งเปน็ คนสันโดษ จะตอ้ งเป็นคนเหน็ เห็นถกู จริงๆ
ไปอยู่สระบุรี เราเข้าไปพักอยู่กับวัดบ้านเขา อาจารย์องค์นั้นก็เสมอพรรษา
ไปบิณฑบาตมาร่วมกัน เอาบาตรมาตั้ง โยมเอาปิ่นโตขึ้นมาบนศาลา เอาไปวาง พระ
ก็ไปเอามา มารวมกันก็มาเปิดป่ินโต จัดปิ่นโต ป่ินโตเรียงกันยาวไปทางโน้น แล้ว
พระก็ไปรับประเคน ก็เอานิ้วมือไสป่ินโตทางน้ี ปิ่นโตนั้นไปทางโน้น โยมเขาก็เอามือ
ไสปิน่ โตทางน้ัน เอาแลว้ พอแล้วกจ็ ับมาถวายพระให้พระฉนั
ไปกับผมประมาณสักห้าองค์ ไม่ฉัน ไปบิณฑบาตมาก็มีแต่ข้าว น่ังรวมกัน
ฉันแตข่ ้าว ไมม่ ีใครกลา้ ฉันอาหารปิ่นโต เราก็อยู่อย่างนเี้ รื่อยๆ
วันหน่ึง ท่านอาจารย์ท่านก็เดือดร้อนเหมือนกัน คงจะมีลูกศิษย์ท่านไปพูด
ให้ฟัง ”พระอาคันตุกะเหล่าน้ีไม่ฉันอาหารเลย ไม่ฉัน ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร„ ท่านก็มี
ความเดือดร้อนข้ึน ผมก็มีเวลาอยู่น่ันต้ังหลายวัน จำเป็นต้องไปกราบเรียนท่าน
สมภารวัด
บอกว่า ”ท่านอาจารย์ ผมขอโอกาสเถอะนะ ในเวลาน้ีผมมีธุระท่ีจะพัก
พ่ึงบารมีท่านอยู่สักหลายวัน แต่ถ้าอยู่วัดน้ี บางทีก็ท่านอาจารย์จะระแวงระวัง
หลายอย่างเหมือนกัน ทั้งพระภิกษุสามเณรทุกองค์ เพราะทำไมผมจึงไม่ฉันอาหาร
ท่ีโยมเอามามากๆ ผมจะขอเรียนให้อาจารย์ฟัง ผมไม่มีอะไรครับ ที่ผมไม่ฉันน้ันน่ะ
166 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ผมได้รับการประพฤติปฏิบัติมานี้นานแล้ว การรับประเคนนะครับ ท่ีโยมมาวางไว้
พระไปเปิดป่ินโตปลดสาย เปิดป่ินโตแล้วก็เอาป่ินโตซ้อน เอามาวางไว้ แล้วก็ให้เณร
มาถวาย อันน้ีผมเห็นว่ามันผิด มันเป็นทุกกฏแล้ว คือไปลูบไปคลำ ไปจับต้องของ
ยังไม่ได้ประเคน มันเสียหายท้ังนั้น ตามพระวินัย พระทุกองค์ฉันน่ะเป็นอาบัต
ิ
หมดเลย ข้อน้ีเองครับ มิใช่รังเกียจใครท้ังน้ัน ที่ผมมาเรียนท่านอาจารย์วันนี้มิใช่
จะห้ามให้ลูกศิษย์ลูกหาว่าท่านไปทำ มิใช่ ผมมาเล่าความบริสุทธิ์ให้ฟังเพราะว่าผม
จะมเี วลาอยใู่ นทีน่ ห้ี ลายวัน„
ท่านก็ยกมือขึน้ ”สาธุ ดีมากทีเดียว ผมไม่เคยเห็นพระท่ีรักษาซึง่ อาบัตทิ ุกกฏ
ในสระบุรี ไม่มีแล้วครับ มันจะมีก็นอกจังหวัดสระบุรี ผมขออนุโมทนาสาธุการเลย
ครับ ผมไม่มีอะไร ดีแล้ว„
รุ่งข้ึนเช้า เข้าไปบิณฑบาตกลับมารวมกัน พระไม่เข้าไปใกล้เลยทีน้ี มีแต่โยม
เข้ามาถวาย เพราะกลัวพระไม่ฉันจังหัน แต่วันน้ันมาพระเณรท่านก็กลัว ท่านจะยืน
จะเดิน จะนั่ง ก็ลำบากคับแคบใจ ผมก็เลยเปิดเผยให้เข้าใจกันดีทุกองค์ รู้สึกว่า
พระเณรท่ีน้ันกลัวมาก เข้าในกุฏิปิดเงียบสงบเลย ไม่มีเสียง ๒ วัน ๓ วัน ผม
พยายามดีกะท่าน เพราะท่านกลัว อาย นี่มันเป็นอย่างน้ี จะต้องไปพูดอะไรให้รู้เรื่อง
เราไม่มอี ะไรจรงิ ๆ
เราจะพูดว่าฉันจังหันไม่พอ หรือเราจะเอาอาหารอะไรๆ ไม่พูด เพราะอะไร
ก็เราเคยอดอาหารมา ๗ วัน ๘ วัน ก็เคยมาแล้ว ๒ วัน ๓ วันเราเคยมาแล้ว
อนั น้ีมีข้าวเปลา่ ๆ ฉัน มันไมต่ ายหรอก
ท่ีมันมีกำลังก็คือที่เราปฏิบัติ ท่ีรับโอวาทรับธรรมะท่ีได้ปฏิบัติแล้ว คิดว่า
ทำตามพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นแหละ ไปตรงน้ัน ใครทำอย่างนี้ ไปตรงน ี้
ไม่เล่นกับใครแล้วพยายามที่สุดอย่างนี้ นี่ก็เพราะว่ามันรักตัวเอง รักข้อประพฤติ
ปฏิบัต
ิ
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
167
คนไม่รักษาพระวินัย คนไม่ภาวนา กับคนภาวนาอยู่ด้วยกันไม่ได้ มันต้อง
แยกกันเลย มันไปด้วยกันไม่ได้ อันนี้ก็เป็นของที่สำคัญ ผมก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน
สมัยก่อน เป็นครูเป็นอาจารย์ของเขาสอนมันอย่างน้ัน แต่เราไม่ได้ปฏิบัติ เสียหมด
นะ มนั เสีย เม่อื มาพิจารณาดีๆ โอย มนั ไกลกนั ฟ้ากับดินเลย ความเห็นของเราน่ะ
ดังน้ัน คนเราจะไปต้ังสำนักวิปัสสนาทำกรรมฐานอยู่ในป่า อย่าเลย ถ้าไม
่
รู้เร่ืองอย่าไปเลย ยิ่งร้าย เราก็เข้าใจว่าไปอยู่ในป่ามันจะสงบ เน้ือในของการปฏิบัติน้ัน
ไม่รู้จัก บางคนก็ไปถากหญ้าเอาเอง บางคนก็ไปทำอะไรเอาเองสารพัดอย่างวุ่นวาย
พอผู้ท่ีรู้จักการประพฤติปฏิบัติเขามองดูเห็นแล้วไม่เอา มันไม่เจริญ อย่างน้ันมัน
ไม่เจรญิ จะไปตงั้ อยู่ปา่ ทสี่ งบขนาดไหน มันเจรญิ ไมไ่ ด้ คอื มันทำไม่ถูก
เห็นท่านอยู่ป่าก็ไปอยู่ป่าอย่างท่าน มันก็ไม่เหมือน ห่มจีวรก็ไม่เหมือน สีจีวร
ก็ไม่เหมือน ขบฉันอะไรมันก็ไม่เหมือนทั้งน้ันแหละ คือมันไม่ได้ฝึกไม่ได้หัดเสียที
ไม่ค่อยจะเป็นจริง เป็นก็เป็นหลักท่ีโฆษณาตามโลกเขา ก็เหมือนกับเขาโฆษณา
ขายยาเท่านั้นแหละ มันไม่ได้ย่ิงไปกว่าน้ันหรอก ดังนั้นคนท่ีไปต้ังวิปัสสนาใหม่ๆ
ไปเรียนรู้วิธีมาก็ไปสอน จิตมันไม่เป็น จิตมันไม่เห็น เด๋ียวก็เลิกเท่าน้ันแหละ พัง
เท่าน้ันแหละ เดอื ดร้อน
ดังน้ัน พวกเราไม่ต้องเรียนอะไรกันมาก ดูนวโกวาทเขาว่าอะไรกันบ้าง มัน
เป็นอย่างไร ศึกษาให้เข้าใจแล้วพิจารณาแล้วก็จำไว้ นานๆ ก็มากราบครูบาอาจารย์
ตรงน้ันมันเป็นอย่างไร อันน้ีนะท่านจะอธิบายปลีกย่อยให้ฟัง เราก็ศึกษาไปเร่ือยๆ
จนกว่าเราจะเข้าใจจรงิ ๆ ในเร่อื งพระวนิ ยั .
ถา้ เราปฏิบัติธรรมจนเห็นธรรมแลว้
ส่ิงทมี่ ันผดิ เรากล็ ะมันไดจ้ รงิ ๆ
๑๔
ทรงไว้ซ่ึงข้อวัตร
วันนี้เป็นโอกาสท่ีท่านทั้งหลายได้มาประชุมกัน ณ โอกาสน้ีทุกปี
คณะเราทำการสอบธรรมะ แล้วก็มารวมกัน ทุกๆ ท่านให้พากันเข้าใจว่า
ผู้ปฏิบัติควรสนใจการกระทำกิจวัตร อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร อันน้ีเป็น
เคร่ืองยึดเหนี่ยวน้ำใจของพวกเราท้ังหลายให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน มีความ
สามัคคีพร้อมเพรียงซึ่งกันและกัน และเป็นเหตุให้พวกเราได้ทำความเคารพ
ซ่ึงจะเป็นมงคลในหมู่พวกเราทัง้ หลาย
ต้ังแต่คร้ังพุทธกาลมาจนถึงบัดน้ี ทุกกลุ่มทุกเหล่าถ้าขาดความ
คารวะกันแล้ว ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ แม้ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็เหมือนกัน
จะเป็นฆราวาส จะเป็นบรรพชิต ถ้าขาดความเคารพคารวะ ความม่ันคงก็
ไม่มี ถ้าความเคารพคารวะไม่มี ก็เกิดความประมาท กิจวัตรทุกอย่างมัน
กเ็ สือ่ มทรามไป
170 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
คณะกรรมฐาน คณะปฏิบัติ พวกเราท่ีมารวมอยู่ที่น้ีประมาณ ๒๕ พรรษา
แล้ว มีความเจริญก้าวหน้ามา ตามท่ีผมสังเกตน้ันก็เรียกว่าเจริญมาเรื่อยๆ แต่ว่า
ถึงจุดหนึ่งมันก็จะเสื่อมได้ อันนี้ให้เราเข้าใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มองเห็นเหมือนกัน แต่ถ้าหากว่าพวกเราท้ังหลายอาศัยความไม่ประมาท มีความ
เคารพคารวะ ทำกิจวัตรอันนี้ติดต่อกันไปไม่ขาด ผมเข้าใจว่าความสามัคคีของ
พวกเรานั้นจะมีความมนั่ คง การประพฤตปิ ฏิบัตใิ นหมคู่ ณะของพวกเรา ก็จะเป็นเหตุ
ใหย้ ืนยงคงทน ยงั พุทธศาสนาอันน้ใี ห้เจรญิ ไปนาน
ทีนี้ปริยัติและปฏิบัติมันเป็นคู่กันโดยตรง คือว่าปริยัติกับปฏิบัติน่ีเป็นของคู่
กนั มา ยังพุทธศาสนาให้เจรญิ ถาวรรงุ่ เรืองตลอดถึงบดั น้ี ก็เพราะการศึกษา แล้วก็
รู้ รู้แลว้ กป็ ฏิบตั ติ ามความรู้ของเรา นนั้ เรียกวา่ การประพฤตปิ ฏิบัต
ิ
ถ้าหากว่าเราเรียนปริยัติ อาศัยความประมาท เท่าท่ีผมเคยสังเกตมาแล้ว คือ
สมัยหนึ่งผมอยู่ท่ีน้ี พระอยู่จำพรรษาประมาณ ๗ องค์ เป็นปีแรก ผมก็เลยมาคิดว่า
เรื่องการเรียนปริยัติกับปฏิบัตินี้ ถ้าตั้งปริยัติขึ้นเมื่อไหร่ เส่ือม โดยมากเป็นอย่างนี้
ทั้งการปฏิบัติก็เป็นไปได้ยาก มันเสื่อม โดยมากเป็นเสียอย่างนั้น เม่ือได้มาคำนึงถึง
อันน้ี ผมอยากจะรู้เหตุข้อมูลว่ามันเป็นเพราะอะไร ก็เลยมาตั้งสอนพระเณรใน
พรรษาน้ัน ๗ องค์ สอนประมาณสัก ๔๐ วัน ฉันเสร็จแล้วก็สอนจน ๖ โมงเย็น
ทกุ วัน ไปสอบสนามหลวงปรากฏวา่ ไดผ้ ล ๗ องคส์ อบไดห้ มดทกุ องคเ์ ลย อันน้ีดี
แต่ว่ามันมีการบกพร่องอยู่อย่างหน่ึงกับบุคคลท่ีไม่มีความระมัดระวัง การ
เรียนปริยัติน้ีต้องอาศัยการพูด อาศัยการท่องบ่นต่างๆ เป็นต้น บุคคลท่ีไม่ค่อย
สังวรไม่ค่อยสำรวมนั้น ก็เลยท้ิงการปฏิบัติมาท่องมาบ่นจดจำด้วยสัญญาเสียเป็น
อย่างมาก เป็นเหตุให้พวกเราทั้งหลายน้ันทิ้งบ้านเก่าเรา ท้ิงมูลเก่าเรา ท้ิงข้อปฏิบัติ
อนั เกา่ ของเราไป โดยมากมันเป็นเชน่ นี้
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
171
ทีน้ีเมื่อเรียนจบแล้ว สอบสนามหลวงแล้ว ดูกิริยาพระเณรก็ต่างจากเก่า
เดินจงกรมก็ไม่ค่อยมี น่ังสมาธิก็น้อย การคลุกคลีกันก็มากข้ึน ความสงบระงับมัน
น้อยลง ความเป็นจริงการปฏิบัตินะ เมื่อเดินจงกรมแล้วก็ต้ังใจเดินจงกรม เมื่อ
นั่งสมาธิก็ต้ังอกตั้งใจทำ เมื่ออยู่ในอิริยาบถการเดิน การยืน การนั่ง การนอน
เราก็พยายามสังวรสำรวม
แต่เม่ือเรามาเรียนหนังสือแล้วมันเป็นสัญญาเสียโดยมาก เลยเพลินไปตาม
ปรยิ ัติอนั น้นั ลืมตัวเสีย กเ็ ล่นอารมณภ์ ายนอก
อันนี้มันก็เป็นแต่เฉพาะคนท่ีไม่มีปัญญา บุคคลที่ไม่สังวรสำรวม บุคคลที
่
ไม่มีสติติดต่อกัน ก็เป็นเหตุให้เสียหายได้เหมือนกัน มันเป็นเพราะเหตุน้ันท่ีเม่ือ
นักเรียนเรียนหนังสือ ไม่ได้น่ังสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม การสังวรสำรวมมันก็น้อย
เป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน การพูดเร่ือยเปื่อย ไม่สังวรสำรวม จับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน
ก็มากขึ้นมา หลายข้ึนมา อันน้ีเป็นเหตุให้เส่ือม มันไม่ใช่เป็นเพราะปริยัติ มันเป็น
เพราะบุคคลเราไม่ต้ังใจ ลืมเนือ้ ลมื ตัวเสยี
ความจริงปริยัติน้ีเป็นของชี้ช่องทางให้พวกเราประพฤติปฏิบัติท้ังนั้น ถ้าหาก
เราไปเรียนแล้วลืมตัว การพูดมันก็มาก การเล่นมันก็มาก การเดินจงกรมท้ิงไป
หมด แล้วก็มีความกระสันอยากจะสึก โดยมากเรียนไม่ได้ก็สึกกัน อันนี้เป็นเหตุ
ไมใ่ ชว่ า่ เพราะปริยตั ไิ มด่ ี ปฏิบัตไิ มถ่ กู ไม่ใชอ่ ยา่ งนัน้ เป็นเพราะพวกเราท้ังหลาย
นนั้ ขาดการพินจิ พิจารณา ความเปน็ จรงิ การปฏิบตั นิ น้ั จะอา่ นหนงั สอื จะทอ่ งหนงั สอื
จะทำอะไรมนั กเ็ ปน็ กรรมฐานกนั ทงั้ นน้ั
ฉะน้ัน เม่ือเป็นเช่นน้ีในพรรษาท่ีสองผมเลยเลิกสอน เลิกการสอนปริยัต ิ
อีกหลายปีต่อมามีกุลบุตรมากขึ้น บางคนก็ไม่รู้เรื่องพระธรรมวินัย สมมุติบัญญัต
ิ
ก็ไม่รู้เรื่อง ก็เลยปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ขอครูบาอาจารย์ผู้ที่ได้เรียนมาแล้วน้ันสอน
พยายามสอนจนตลอดมาถงึ ทุกวนั น้ี การเรยี นปรยิ ตั จิ ึงเกิดขึน้ มา
172 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ฉะนั้น ทุกปีเมื่อเรียนเสร็จแล้ว ผมก็ให้ท่านเปลี่ยนใหม่ ตำรับตำราต่างๆ ท่ี
มันไม่สำคัญ เก็บใส่ตู้ไว้เสีย อ่านเฉพาะที่มันเป็นข้อปฏิบัติเท่านั้น ต้ังใหม่ เข้า
หลักเดิมของเรา มายกข้อประพฤติปฏิบัติส่วนรวมข้ึนมา เช่นว่า จะต้องทำวัตร
สวดมนต์พร้อมเพรียงกัน อันน้ีเป็นหลัก ทำไปเพื่อแก้ความข้ีเกียจ แก้ความรำคาญ
เป็นเหตุให้เราขยันหม่ันเพียรขึ้นมา ทุกคนก็ทำกันเรื่อยๆ มาตลอดทุกวันน้ี ปีน้
ี
ก็เหมือนกันฉันนั้น ให้พวกเราท้ังหลายอย่าทิ้งหลักการประพฤติปฏิบัติ การพูดน้อย
นอนน้อย กินน้อย การสงบระงับ ไม่คลุกคลีหมู่คณะ การเดินจงกรมเป็นประจำ
การนั่งสมาธิเป็นประจำ การประชุมกันเนืองนิตย์ในคราวท่ีควรประชุม อันนี้ขอให้
เอาใจใส่ทกุ ๆ ทา่ นต่อไป
ฉะน้ัน พวกท่านทั้งหลายอย่าเอาโอกาสดีๆ อันน้ีไปทิ้ง พึงประพฤติปฏิบัต ิ
เรามีโอกาสอยู่ใต้การปกครองของครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านก็ปฏิบัติกันช้ันหนึ่ง
ให้พวกเราทั้งหลายตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันไป ก็เป็นกันมาอย่างน้ี ฉะน้ัน จึงให้
พวกท่านท้ังหลายรวมกันทำ สามัคคีเข้าหลักเดิม เคยเดินจงกรมก็ต้องเดิน เคย
นั่งสมาธิก็ต้องนั่ง เคยมาทำวัตรตอนเช้าทำวัตรตอนเย็นน้ันก็พยายาม อันน้ีเป็นกิจ
ของท่านโดยตรง
อนั น้ีขอให้ท่านต้ังใจ คนอยเู่ ฉยๆ น้ันไม่มกี ำลังนะ คนป้วนเปีย้ น คนทอี่ ยาก
จะสึก วุ่นวาย ดูซิ ก็คือคนที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติ ไม่มีงานทำ เราจะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ กิจ
ในพุทธศาสนานี้ เป็นพระเป็นเณรเราอยู่ดีกินดีแล้วจะอยู่สบายไม่ได้ กามสุขัลลิกา-
นุโยโค น่ีมันเป็นพิษอย่างมากทีเดียว ให้พวกท่านทั้งหลายกระเสือกกระสนหา
ขอ้ ประพฤตปิ ฏบิ ัติของตน เพ่ิมข้อวตั รขึ้น เตอื นตนเองมากขึน้
อันใดท่ีมันบกพร่องก็พยายามทำดีข้ึนไป อย่าไปอาศัยอย่างอื่นเป็นอยู่ คนท่ี
จะมีกำลังนี่ เดินจงกรมก็ไม่ได้ขาด นั่งสมาธิน่ีไม่ได้ขาด สังวรสำรวมไม่ได้ขาด
เราสังเกตพระเณรท่ีนี้ก็ได้ องค์ใดถ้าเห็นว่าฉันเสร็จแล้วหมดธุระแล้ว เข้าไปในกุฏิ
ของท่าน ตากจีวรไว้ เดินจงกรม เดินไปตามกุฏิเท่านั้น เราจะเห็นทางเดินเป็นแถว
เราเห็นบ่อยคร้ัง การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ ท่านองค์น้ีไม่เบื่อไม่หน่าย นี่ท่าน
มีกำลัง ทา่ นเป็นผมู้ ีกำลงั มาก
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
173
ทุกๆ องค์ถ้าเอาใจใส่ในการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ผมว่ามันสบาย
ไม่ค่อยมีอะไรมากมาย ถ้าหากว่าใครไม่อยู่ในการประพฤติปฏิบัติ การเดินจงกรม
การทำสมาธิ ไม่มีอะไร มีแต่การเที่ยว มันไม่สบายตรงนี้ ไปเท่ียวตรงน้ัน มัน
ไม่สบายตรงน้ัน ไปเท่ียวตรงนี้ เท่าน้ันแหละ ตะลอนไปเรื่อย อย่างน้ันมันก็
ไม่ต้ังใจกัน ไม่ค่อยดี ไม่ต้องอะไรมากมายหรอก เราอยู่ให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติ ให
้
มันสุขุมเสียก่อนเถอะ การเท่ียวไปมามันเป็นของภายหลัง มันไม่ยาก ของง่ายๆ
ต้งั ใจกันทุกๆ องคน์ ะ
อันนี้พูดถึงการเส่ือมการเจริญมันก็เป็นมาอย่างนี้ ถ้าจะให้มันดีจริงๆ แล้ว
ปริยัติก็พอสมควร ปฏิบัติก็พอสมควร เป็นคู่เคียงกันไป อย่างกายกับจิตน้ีเป็น
ตัวอย่าง จิตมีกำลัง กายก็ปราศจากโรค กายดี จิตมันก็ได้รับความสงบระงับ
ถ้าหากว่าจิตวุ่นวาย กายสมบูรณ์อยู่ มันก็เป็นไปได้ยาก ถ้าหากว่ากายมีเวทนามาก
จิตไม่มีกำลัง จิตนั้นก็มายึดกาย เป็นต้น ก็ไม่สบายกันไปอีก นี่พูดถึงผู้ที่ยังศึกษา
อยู่ เรากต็ ้องศึกษาอย่างนี้
การศึกษาในทางกรรมฐานเราน้ี ศึกษาเร่ืองการบำเพ็ญและการละ ที่ว่าศึกษาน้ี
ถ้าหากว่าเราถูกอารมณ์มา เรายังไปยึดไหม ยังมีวิตกไหม ยังมีความน้อยใจไหม
มีความดีใจไหม พูดง่ายๆ เรายังหลงอารมณ์เหล่าน้ันอยู่ไหม หลงอยู่ เมื่อไม่ชอบ
ก็แสดงความทุกข์ขึ้นมา เม่ือชอบก็แสดงความพอใจขึ้นมา จนเกิดเป็นกิเลส
จนใจเราเศร้าหมอง อันนั้นเราจะมองเห็นได้ว่า เรายังบกพร่องอยู่ ยังไม่สมบูรณ์
บริบูรณ์ เราจะต้องศึกษา จะต้องมีการละ ต้องมีการบำเพ็ญอยู่เสมอไม่ขาด น่ี
ผู้ศึกษาอยู่ มันติดอยู่ตรงน้ีเราก็รู้จักว่าติดอยู่ตรงนี้ เราเป็นอย่างน้ี เราจะต้องแก้ไข
ตัวเราเอง
การอยู่กับครูบาอาจารย์หรืออยู่นอกครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ไอ้ความกลัว
นั้นบางคนก็มีความกลัว ถ้าไม่เดินจงกรมก็กลัวครูบาอาจารย์จะดุจะว่า นี่ก็ยังดีอยู่
แต่ว่าข้อประพฤติปฏิบัติที่แท้นั้นไม่ต้องกลัวใคร กลัวแต่ความประมาทมันจะเกิดข้ึน
มา กลัวความผดิ มันจะเกิดข้นึ มาทีก่ ายทวี่ าจาท่ีใจของเรานเ้ี อง
174 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
เม่ือเราเห็นความบกพร่องท่ีกายที่วาจาท่ีใจของเราแล้ว เราก็ต้องพิจารณา
ควบคุมจิตใจของเราอยู่เสมอ อัตตะนา โจทะยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง
ไม่ต้องท้ิงการงานอันนั้นให้คนอื่นช่วย เรารีบปรับปรุงตัวเองเสีย ให้รู้จักอย่างน ้ี
เรยี กว่าการศึกษา การละ การบำเพ็ญ จับอนั นน้ั มาพจิ ารณาใหม้ ันเห็นแจ่มแจง้
ที่เราอยู่กันน้ีด้วยการอดทน อดทนต่อกิเลสทั้งหลายน้ี มันก็ดีส่วนหนึ่ง
เหมือนกัน แต่อดทนอันน้ีก็เรียกว่าปฏิบัติธรรม ยังไม่เห็นธรรม ถ้าเราปฏิบัติธรรม
จนเห็นธรรมแล้ว สิ่งท่ีมันผิดเราก็ละมันได้จริงๆ อันใดมันเกิดประโยชน์ เราก็
ประพฤติอันน้ันให้มันเกิดได้จริงๆ เม่ือเราเห็นในจิตของเราอย่างน้ีเราก็สบาย ใคร
จะมาว่าอย่างไรก็ช่าง เราเช่ือจิตของตนเอง มันไม่วุ่นวาย จะอยู่ท่ีไหนก็อยู่ได้อย่างน
้ี
ทีน้ีพวกเราเป็นพระเล็กเณรน้อยบวชก็มาปฏิบัติ บางทีเห็นครูบาอาจารย์ท่าน
ก็ไม่ค่อยเดินจงกรม ไม่ค่อยน่ังสมาธิ ไม่ค่อยทำอะไรต่ออะไรของท่าน เราก็อย่า
เอาตัวอย่างทา่ นนัน้ ใหเ้ อา ‘เยย่ี ง’ อยา่ ไปเอา ‘อย่าง’ ทา่ น
เยี่ยงมันเป็นอย่างหนึ่ง อย่างมันเป็นอย่างหน่ึง คือส่ิงอะไรท่ีท่านพออยู่สบาย
แลว้ ท่านกอ็ ย่สู บายๆ ถงึ ท่านไมท่ ำทางกาย ทางวาจา ทา่ นก็ทำของทา่ นทางใจ ไอ้สิ่ง
ภายในจติ นนั้ ตามองไมเ่ หน็
การประพฤติปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาน้ีมันเป็นเร่ืองของจิต ถึงแม
้
ไม่แสดงทางกาย ทางวาจา เรื่องจติ มันกเ็ ปน็ สว่ นจิต ฉะน้นั เม่ือเหน็ ครูบาอาจารย์
ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมานานแล้ว พอสมควรแล้ว บางทีท่านก็ปล่อยกายวาจา
ของท่าน แต่ท่านคุมจิตของท่าน ท่านสำรวมอยู่แล้ว ถ้าเราเห็นเช่นน้ัน เราก็ไป
เอาอย่างท่านแล้วก็ปล่อย การปล่อยวาจาเราก็ปล่อยไปตามเร่ือง มันก็ไม่เหมือนกัน
เทา่ นน้ั มนั คนละท่ี อนั น้ีใหพ้ จิ ารณา มนั ต่างกนั เสยี แล้ว มนั คนละท่เี สียแลว้
อันน้ัน เมื่อท่านน่ังอยู่ท่านก็ไม่มีความประมาท ท่านไม่วุ่นวายกับส่ิงทั้งหลาย
แต่ท่านก็อยู่ในสิ่งอันน้ัน อันน้ีเราก็ไม่รู้จักท่าน ส่ิงในใจมันไม่มีใครรู้จัก เราจะไปดู
ตัวอย่างข้างนอกอย่างเดียวน้นั ก็ไมไ่ ด้ เรือ่ งจติ นเ้ี ป็นของสำคญั
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
175
เราน้ีถ้าพูดไปก็ไปตามคำพูด ถ้าทำมันก็ไปตามการกระทำนั้น บางทีที่ท่าน
ทำมาแล้ว กายของท่าน ท่านก็ทำได้ วาจาของท่าน ท่านก็พูดได้ แต่จิตของท่าน
ไม่เป็นไปตามนั้น เพราะว่าจิตของท่านปรารภธรรมปรารภวินัยอยู่ เช่น บางอย่าง
ท่านจะทรมานเพื่อนฝูงทรมานลูกศิษย์หรืออะไรต่างๆ การพูดมันก็หยาบ ไม่ค่อย
เรียบร้อย ทางกายของท่านก็หยาบ เมื่อเราไปเห็นเช่นน้ัน เราเห็นแต่กายของท่าน
ส่วนจิตน้ันท่ีท่านปรารภธรรมหรือปรารภวินัยเรามองเห็นไม่ได้ อย่างไรก็ช่างมันเถอะ
ใหเ้ รายดึ เอาคำสอนของพระพุทธเจา้ วา่ อย่าประมาท ความไม่ประมาทนีแ่ หละเปน็
ส่ิงที่ไม่ตาย ความประมาทนั่นแหละคือความตาย ให้ถืออย่างน้ี ใครจะทำอย่างไร
กช็ า่ งใครเถอะ เราอยา่ ประมาทเทา่ นนั้ อันนีเ้ ปน็ ของที่สำคัญ
อันน้ีที่ผมกล่าวมาน้ีเพื่อจะเตือนท่านท้ังหลายว่า เวลาน้ี เราสอบสนามหลวง
มาเสร็จแล้ว แล้วก็มีโอกาสที่จะเที่ยวสัญจรไปมา แล้วก็มีโอกาสท่ีจะทำอะไรๆ
หลายๆ อย่าง ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสำนึกรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติ
เป็นผู้ปฏิบัติต้องสังวรสำรวมระวัง อย่างคำสอนท่ีท่านสอนว่า ภิกขุ ท่านแปลว่า
ผู้ขอ ถา้ แปลอยา่ งน้ีการปฏบิ ัติมันกไ็ ปรปู หนง่ึ หยาบๆ
ถ้าใครเขา้ ใจ อย่างพระพทุ ธเจา้ ทา่ นตรัสว่า ภิกขุ แปลว่า ผู้เหน็ ภัยในสงสาร
น่ีมันก็ลึกซ้ึงกว่ากันท้ังน้ัน ผู้เห็นภัยในสงสารก็คือเห็นโทษของวัฏฏะท้ังหลายนั้น
ในวัฏสงสารนี้มันมีภัยมากทสี่ ดุ แตว่ า่ คนธรรมดาสามญั ไม่เหน็ ภัยในสงสารนี้ เหน็
ความสนุกเห็นความสนานความรื่นเริงบันเทิงในโลกอันนี้ แต่ท่านว่า ภิกขุ ผู้เห็นภัย
ในสงสาร
สงสารนั้นคืออะไร สังสาเร สุขัง สังสาเร ทุกขัง ทุกข์ในสงสารนี้เหลือท่ีจะ
ทนได้ มันมากเหลือเกินแหละ อย่างความสุขน่ีมันก็เป็นสงสาร ท่านก็ไม่ให้เอาไป
ยึดม่ัน ถ้าเราไม่เห็นภัยในสงสาร เมื่อเกิดความสุขเราก็ยึดความสุขน้ันเข้าไป ไม่รู้จัก
ทุกข์ คล้ายๆ ไมร่ จู้ กั ความผดิ เหมือนเดก็ ไม่รจู้ ักไฟ มนั เป็นเช่นน้นั
176 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ถา้ เราเขา้ ใจการประพฤติปฏบิ ัตอิ ยา่ งนว้ี า่ ภกิ ขุ ผเู้ หน็ ภัยในสงสาร ถ้ามีธรรมะ
ขอ้ นี้ เข้าใจอยา่ งน้ี มนั จมอยใู่ นใจของผู้ใด ผนู้ นั้ จะยนื จะเดนิ จะนั่ง จะนอน ที่ไหน
ก็ตาม ก็เกิดความสลด เกิดความสังเวช เกิดความรู้ตัว เกิดความไม่ประมาทอย
ู่
นัน่ แหละ ถึงทา่ นจะนัง่ อยเู่ ฉยๆ กเ็ ป็นอยู่อยา่ งนน้ั ท่านจะทำอย่างไรอยู่ท่านกเ็ ห็นภัย
อยู่อย่างน้ัน อันนี้มันอยู่คนละท่ีกันเสียแล้ว การปฏิบัตินี้เรียกว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร
ถ้าเห็นภัยในสงสารแล้วท่านก็อยู่ในสงสารน้ีแหละ แต่ท่านไม่ยึดอยู่ใน
สงสารน้ี คือ รจู้ ักสมมุติอันน้ี ร้จู ักวมิ ตุ ติอันน้ี ท่านจะพดู ก็พดู ตา่ งจากเรา ทำก็ทำ
ต่างจากเรา คิดก็คดิ ต่างจากเรา น่กี ารปฏิบตั ิมันฉลาดกวา่ กนั อยา่ งน้
ี
ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ท่านยังบอกว่า ให้เอาเยี่ยงของท่าน อย่าไปเอาอย่างท่าน
มันมีเย่ียงกับอย่าง ๒ อย่างคลุมกันอยู่ ถ้าว่าคนไม่ฉลาดก็ไปจับหมดทุกส่ิงทุกอย่าง
มันก็ไม่ได้ อันนี้แหละ เวลานี้เราก็ต้องมีการมีงานอะไรหลายๆ อย่าง พวกเรา
ท้งั หลายอยา่ พากันเผลอ
ส่วนผมปีนี้ร่างกายไม่ค่อยสบาย ไม่ค่อยดี บางส่ิงบางอย่างผมก็มอบให้พระ
ภิกษุสามเณรทุกๆ องค์ช่วยกันทำต่อไป บางทีผมก็พักผ่อน โดยมากก็ชอบเป็น
อย่างน้ีต้ังแต่ไหนแต่ไรมา ทางโลกก็เหมือนกัน พ่อแม่ยังอยู่ลูกเต้าก็สบายสมบูรณ์
ถ้าพ่อแม่ตายไปแล้วลูกเต้าแตกกันแยกกัน เป็นคนรวยก็กลับเป็นคนจน อันน้ีมัน
เป็นธรรมดาอยู่ในโลกนี้ มันมีอยู่แล้วและเรามองเห็นอยู่ เช่นว่าเม่ือครูบาอาจารย์
ยังอยู่ก็สบายสมบูรณ์บริบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าของเรา เป็นต้น เมื่อ
ท่านยังทรงพระชนม์อยู่น้ันเรียกว่ากิจการต่างๆ นั้นก็เรียบร้อย มันดีทุกอย่าง เม่ือ
ปรินพิ พานไปแล้วนั้นน่ะ ความเสอื่ มมนั เขา้ มาเลย
เพราะอะไร ก็เพราะเราน่ะ เมื่อครูบาอาจารย์ยังอยู่ก็เกิดเผลอไปประมาทไป
ไม่ขะมักเขมน้ ในการศกึ ษาและการประพฤติปฏิบัติ ทางโลกก็เหมือนกัน พ่อแม่ยงั อยู่
แล้วก็ปล่อยให้พ่อแม่ อาศัยพ่อแม่เราว่ายังอยู่ ตัวเราก็ไม่เป็นการเป็นงาน เมื่อพ่อ
แม่ตายไปหมดแล้วก็ต้องเป็นคนจน ฝ่ายพระเจ้าพระสงฆ์เราก็เหมือนกัน ถ้าหาก
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
177
ครูบาอาจารย์หนีหรือมรณภาพไปแล้ว ชอบคลุกคลีกัน ชอบแตกสามัคคีกัน
เส่ือมเกือบทุกแห่งเลย อันนี้เป็นเพราะอะไร เพราะว่าเราท้ังหลายพากันเผลอตัวอย
ู่
เราอาศัยบุญบารมีของครูบาอาจารย์อยู่ เราก็ไม่เป็นอะไร สบาย ถ้าหากว่า
ครูบาอาจารย์เสียไปแล้ว ลูกศิษย์ชอบแตกกัน ชอบแยกกัน ความเห็นมันต่างกัน
องค์ที่คิดผิดก็ไปอยู่แห่งหน่ึง องค์ที่คิดถูกก็ไปอยู่แห่งหนึ่ง ผู้ท่ีไม่สบายใจหนีออกไป
จากเพื่อนแล้วไปตั้งใหม่อีก ก่อกำเนิดข้ึนมาใหม่อีก มีบริษัทมีบริวารประพฤติดี
ประพฤติชอบข้ึนมาอีกในกลุ่มนั้น ชอบเป็นอย่างน้ี ปัจจุบันน้ียังเป็นอย่างน้ัน อันน้ี
เพราะพวกเราทำให้บกพร่อง บกพร่องเมื่อครูบาอาจารย์ยังอยู่ เรายังอาศัยความ
ประมาทกันอยู่ ไม่หยิบเอาข้อวัตรปฏิบัติอันท่ีท่านประพฤติปฏิบัติมานั้นยกเข้ามา
ใส่ใจของเรา จะประพฤติปฏิบัติตามอยา่ งน้ันไมค่ อ่ ยม
ี
แม้แต่คร้ังพุทธกาลก็เหมือนกัน เคยเห็นไหมพระภิกษุผู้เฒ่าน่ันไงล่ะ สุภัทท-
ภิกขุนน่ั พระมหากัสสปะมาจากปาวาล มาถามปริพาชกว่า
”พระพุทธเจ้าของเรายังสบายดอี ยู่หรือเปล่า„
”พระพทุ ธเจา้ ปรินิพพานไป ๗ วนั เสียแลว้ „
พระท้ังหลายท่ียังมีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพานก็
นอ้ ยใจ รอ้ งไห้ กม็ ี ครวญครางหลายๆ อยา่ ง
ผถู้ งึ ธรรมกเ็ หน็ ว่า ”พระพทุ ธเจ้าของเราปรนิ ิพพานไปแล้ว ไปดว้ ยดแี ลว้ หนอ„
ผู้ท่ีมีกิเลสมาก อย่างเช่นพระสุภัททะพูดว่า ”ท่านจะร้องไห้ทำไม พระพุทธ-
องค์ท่านนิพพานไปน่ะดีแล้ว เราจะอยู่สบายกัน เม่ือท่านยังอยู่น้ันจะทำอะไรก็ไม่ได้
จะพูดอะไรก็ไม่ได้ ขัดข้องทั้งน้ันแหละ เราอยู่ลำบากเราใจเรา อันนี้มันดีแล้ว ท่าน
นิพพานไปแล้ว สบายเลย อยากทำอะไรก็ทำ อยากพูดอะไรก็พูด อันนี้เราจะร้องไห้
ทำไม„
มนั เป็นมาแต่โนน้ มนั เปน็ มาอยู่อย่างน้
ี
178 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ฉะน้ัน อย่างไรก็ตาม ถึงคร้ังพระพุทธเจ้าเราก็เอาน้ีไว้ไม่ได้ อย่างเรามีแก้วน้ำ
ใบหนึ่ง เราพยายามรักษามันให้ดี ใช้แล้วก็เช็ดมัน เก็บมันไว้ท่ีสมควร ระมัดระวัง
แก้วใบนั้น มันจะได้ใช้ไปนานๆ เราใช้ไปเสร็จแล้วคนอื่นจะได้ใช้ต่อไปนานๆ ให้มัน
นานเท่าท่ีมันจะนานได้ ถ้าหากว่าเราใช้แก้วแตกวันละใบ วันละใบ วันละใบ กับการ
ใช้แก้วใบหน่งึ ๑๐ ปีจงึ แตก มันก็ตา่ งกนั ดีกวา่ กันไหม มันก็เปน็ อย่างนนั้
อย่างการประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกัน อย่างพวกเราอยู่ด้วยกันหลายๆ องค์
อย่างนี้นะ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอ ให้ดีมากสักสิบองค์เถอะ สิบองค์วัดป่าพงน้ีก็เจริญ
เหมือนกับคนในบ้านๆ หน่ึงน่ันแหละ ขนาดสัก ๑๐๐ หลังคา มีคนดีสัก ๕๐ คน
บ้านนั้นก็เจริญ อันนี้จะหาสัก ๑๐ คนก็ยาก อย่างวัดหนึ่งอย่างน้ีนะ จะหาครูบา
อาจารย์ประพฤติปฏิบัติมานั้น ผู้มีศรัทธาจริงจังนั้น ๕–๖ องค์ มันก็ยาก มันเป็น
เชน่ น้นั
อย่างไรก็ตาม พวกเราท้ังหลายก็ไม่มีหน้าที่อื่นอีกแล้ว นอกจากการประพฤติ
ดีปฏิบัติชอบเท่าน้ัน เพราะเราน้ีไม่มีอะไรแล้ว ดูซิ ใครเอาอะไรไหม ทรัพย์สมบัต
ิ
เราก็ไม่เอาแล้ว ครอบครัวเรากไ็ มม่ แี ล้ว อะไรทุกอยา่ งแม้แตก่ ารฉนั ก็ยงั ฉนั ม้ือเดยี ว
เราละมาหลายๆ อย่างแล้ว สิ่งท่ีมันดีกว่านี้เราละมาเยอะ คล้ายๆ กับที่ว่าเป็นพระน้ี
เราละหมดไม่มีอะไร สิ่งที่พวกเขาชอบๆ กันนั้นน่ะทิ้งหมด ก็ตกลงว่าเราบวชมา
ในพุทธศาสนานี้ก็เพื่อหวังการประพฤติปฏิบัติ เพราะเราละมาแล้วไม่เอาอะไรแล้ว
เราจะมาคิดเอาอะไรอีก จะมาเอาโลภอีก จะมาเอาโกรธอีก จะมาเอาหลงอีก
จะมาเอาอะไรตา่ งๆ ไวใ้ นใจของเราอีก อนั นีม้ ันไมส่ มควรแล้ว
ให้เราไปคิดว่า เราบวชกันทำไม เราปฏิบัติกันทำไม บวชมาปฏิบัติ ถ้าหากเรา
ไม่ปฏิบัติก็อยู่เฉยๆ เท่าน้ันแหละ ถ้าไม่ปฏิบัติก็เหมือนฆราวาส มันก็ไม่เกิด
ประโยชน์อะไร ไม่ทำธุระหน้าท่ีการงานของเรา นี่มันก็เสียเพศสมณะ ผิดความ
มุ่งหวังมาแล้ว ถ้าเป็นเช่นน้ันก็เรียกว่าเราประมาทแล้ว เราประมาทแล้วก็เรียกว่า
เราตายแลว้ อนั นใ้ี ห้เขา้ ใจ นานๆ ก็พิจารณาไปเถอะ
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
179
อย่าไปลืมความตายนี้ ดูซิ ถามว่าเม่ือเราตายมีเวลาไหม ถามตัวเราเสมอ
แหละ ”ตาย...เม่ือไหร่ตาย„ ถ้าเราคิดเช่นน้ีจิตใจเราจะระวังทุกวินาทีเลยทีเดียว
ความไม่ประมาทจะเกิดขึ้นมาทันที เมื่อความประมาทไม่มีแล้ว สติ ความระลึกได้ว่า
อะไรเป็นอะไรก็เกิดมาทันที ปัญญาก็แจ่มแจ้ง เห็นสิ่งใดสิ่งหน่ึงชัดเจนในเวลาน้ัน
เราก็มีสติประคองอยู่ รอบรู้อยู่ทางอารมณ์ท้ังกลางวันและกลางคืน ทุกสิ่งสารพัด
น่ันแหละ กเ็ ป็นผมู้ สี ตอิ ยู่
ถ้าเป็นผู้มีสติอยู่ก็เป็นผู้สำรวม ถ้าเป็นผู้สำรวมอยู่ก็เป็นผู้ไม่ประมาท ถ้า
เปน็ ผ้ไู ม่ประมาทก็เป็นผปู้ ฏบิ ัตถิ กู ต้องเทา่ นนั้ อนั นเี้ ป็นหนา้ ที่ของเราทัง้ หลาย
ฉะนนั้ วนั นี้ขอพดู ถวายพวกท่านทง้ั หลาย ตอ่ ไปนี้ถ้าหากว่าเราจะออกจากทีน่ ี้
ไปอยู่สาขาก็ตาม จะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม อย่าลืมตัว อย่าลืมตัวของตัว คือเรายัง
ไม่สำเร็จ เรายังไม่เสร็จส้ิน การงานของเรายังมีมาก ภาระของเรายังมาก คือข้อ
ประพฤติปฏบิ ัตใิ นการละการบำเพ็ญของเรายงั มมี าก ให้เป็นห่วงไว้
พวกท่านท้ังหลายให้ต้ังใจทุกๆ องค์ จะอยู่ในสาขาก็ดี อยู่ในท่ีนี้ก็ดี ให้ท่าน
ทรงข้อวัตรปฏิบัติไว้ เพราะว่าในเวลานี้พวกเราท้ังหลายรวมกันมากแล้ว หลายสาขา
แล้ว ต้องให้ท่านพยายาม โดยเฉพาะอย่างย่ิง ต่างสาขาต่างมีกำเนิดจากวัดป่าพง
จะถือว่าวัดป่าพงน้ีเป็นพ่อเป็นแม่เป็นครูบาอาจารย์ เป็นเยี่ยงอย่างของสาขาเหล่าน้ัน
ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงพระเณรครูบาอาจารย์ทุกองค์ซ่ึงอยู่ประจำวัดป่าพงน้ี
พยายามให้เป็นแบบเป็นตัวอย่างเป็นครูบาอาจารย์ของสาขาท้ังหลายเหล่าน้ัน ให้
เข้มแขง็ ในการประพฤติปฏิบัติตามหน้าทีข่ องพวกเราสมณะทง้ั หลายต่อไป.
ไอต้ วั ไม่แนค่ อื ตวั สำคญั นะ
ตัวใหเ้ กดิ ปญั ญานะ
๑๕
สั ม ม า ป ฏิ ป ท า
วันน้ีพวกท่านท้ังหลายได้ต้ังใจมาอบรมท่ีวัดวนโพธิญาณ (เขื่อน
สิรินธร) สถานท่ีก็สงบระงับเป็นอย่างดี แต่ว่าสถานที่สงบนั้น ถ้าเราไม่สงบ
มันก็ไม่มีความหมาย ทุกๆ แห่ง สถานที่มันสงบทั้งน้ันแหละ ท่ีมันไม่สงบ
ก็เพราะคนเรา แต่คนที่ไม่สงบไปอยู่ท่ีสงบก็เกิดความสงบได้ สถานที่มัน
กอ็ ยา่ งเกา่ ของมนั นนั่ แหละ แตว่ า่ เราต้องปฏิบตั ิใหถ้ ึงความสงบน้นั
ให้พวกท่านท้ังหลายเข้าใจว่า การปฏิบัตินี้เป็นของยาก ฝึกอะไร
อย่างอื่นๆ ทุกอย่างมันก็ไม่ยาก มันก็สบาย แต่ใจของมนุษย์ทั้งหลายนี้ฝึก
ได้ยาก ฝึกได้ลำบาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท่านก็ฝึก
จิต จิตน้ีเป็นเรื่องท่ีสำคัญมาก อะไรทั้งหมดในรูปธรรมนามธรรมน้ี มัน
รวมอยทู่ ่ีจติ เช่นว่า ตา หู จมกู ลิน้ กาย เหลา่ น้ี ส่งไปให้จติ อันเดียวเป็น
ผู้บริหารการงาน รับรู้รับฟังรับผิดชอบจากอายตนะท้ังหลายเหล่านั้น ฉะน้ัน
การอบรมจิตนี้จึงเป็นของสำคัญ ถ้าใครอบรมจิตของตนให้สมบูรณ์
บริบูรณ์แล้ว ปัญหาอะไรทกุ อย่างมนั ก็หมดไป ท่มี ันมีปัญหาอยู่กเ็ พราะจิต
ของเรานี้เองยังมีความสงสัย ไม่มีความรู้ตามความเป็นจริง จึงเป็นเหตุให
้
มปี ัญหาอย
ู่
182 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ฉะนั้น ให้เข้าใจว่าอาการท้ังหลายที่จะต้องปฏิบัตินั้น พวกท่านทั้งหลายก็ได้
เตรียมมาพร้อมแล้วทุกคน จะยืน จะเดิน จะน่ัง จะนอนท่ีไหน อุปกรณ์ที่ท่าน
ทั้งหลายจะนำไปปฏิบัติน้ัน พร้อม ไม่ว่าอยู่ท่ีไหนก็ตาม พร้อมอยู่ มีอยู่ เป็นของ
พร้อมอยู่เหมือนกันกับธรรมะ ธรรมะนี้เป็นของพร้อมอยู่ทุกสถานท่ี อยู่ที่นี่ก็พร้อม
อยู่ในส้วมก็พร้อม บนบกก็พร้อม ในน้ำก็พร้อม อยู่ท่ีไหนมันพร้อมอยู่ทั้งน้ันแหละ
ธรรมะเป็นของสมบูรณ์บรบิ ูรณ์ แตว่ ่าการประพฤติปฏิบตั ิของเรานย้ี งั ไม่พร้อม
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านมีรากฐานให้เราท้ังหลายปฏิบัติ
ให้รู้ ธรรมะไม่เป็นของมาก มันเป็นของน้อย แต่เป็นของท่ีถูกต้อง เช่นว่า จะ
เปรียบเทียบให้ฟงั เรื่องขน
ถ้าเรารู้จักว่าอันน้ีมันเป็นขน รู้จักขนเส้นเดียวเท่าน้ัน ขนในร่างกายเรานี้ทุกเส้น
แม้ในร่างกายคนอ่ืนทุกเส้น ก็รู้กันหมดทั้งน้ันแหละ รู้ว่าเป็นขนท้ังน้ันหรือเส้นผม
รู้จักผมเส้นเดียวเท่าน้ัน ผมบนศีรษะของเรา บนศีรษะของคนอื่น ก็รู้หมดทุกเส้น
เหมือนกัน ที่รู้ก็เพราะว่ามันเป็นเส้นผมเหมือนกัน เรารู้ผมเส้นเดียวแต่ก็รู้ทุกเส้นผม
หรือจะเปรียบประหน่ึงว่าเรารู้จักกับคน ลักษณะของคนเหมือนตัวเรานี้ จะ
พิจารณาสกนธ์กายทุกประการนั้น เห็นแจ่มแจ้งในคนคนเดียวคือตัวเรา พบเห็น
สภาวะท้ังหลายในตัวเราคนเดียวเท่านี้ คนในสกลโลกสกลจักรวาลนี้เราก็รู้กันหมด
ทุกๆ คน เพราะวา่ คนมันก็เหมอื นกนั ทั้งนั้น
ธรรมะนก้ี ็เป็นอยา่ งน้ี เปน็ ของนอ้ ย แตว่ า่ มนั เป็นของมาก คอื ความจรงิ พบ
ส่ิงเดียวแล้วมันก็พร้อมกันไปหมด เมื่อเรารู้ความจริงตามเป็นจริงแล้ว ปัญหา
มันก็หมดไป แต่ว่าการปฏิบัตินี้มันยาก มันยากเพราะอะไร มันยากเพราะตัณหา
ความอยาก ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็ไม่พบธรรมะ
อันนี้มันเป็นปัญหาอย่อู ยา่ งน้ี
ฉะน้ัน การประพฤติปฏิบัติน้ีมันมีความยุ่งยาก มีความลำบาก ถ้าไม่มี
ความอยากก็ไม่มีกำลังที่จะปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็วุ่นวายไม่มีความสงบ
ทัง้ สองอยา่ งนี้เปน็ เหตุอยู่เสมอ
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
183
ดังน้ัน ท่านท้ังหลายลองคิดดูซิว่าจะทำอะไรๆ ถ้าไม่อยากทำมันก็ทำไม่ได้
มันต้องอยากทำมันถึงทำได้ ถ้าไม่อยากจะทำก็ไม่ได้ทำ ก้าวไปข้างหน้ามันเป็นตัณหา
ถอยกลับมามันก็เป็นตัณหาท้ังน้ัน ดังน้ัน พระโยคาวจรเจ้าผู้ประพฤติปฏิบัตินี้จึงว่า
เปน็ ของยุ่งยาก เปน็ ของลำบากที่สุดอยเู่ หมอื นกัน
ที่เราไม่เห็นธรรมะก็เพราะตัณหา บางทีมันอยากอย่างรุนแรง คืออยากจะเห็น
เด๋ียวน้ี ธรรมะนี้ไม่ใช่ใจเรา ใจเราไม่ใช่ธรรมะ ธรรมะมันเป็นอย่างหน่ึง ใจเรามัน
เป็นอย่างหน่ึง มันคนละอย่างกัน ฉะนั้น แม้เราจะคิดอย่างไรก็ตาม อันน้ีเราชอบ
เหลือเกิน แต่มันไม่ใช่ธรรมะ อันน้ีเราไม่ชอบ ก็ไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่ว่าเราคิดชอบใจ
อะไรอันนนั้ เปน็ ธรรมะ เราคดิ ไม่ชอบใจอะไรอันน้นั ไม่ใชธ่ รรมะ ไมใ่ ชอ่ ยา่ งนัน้
แท้จริงใจของเรานี้เป็นธรรมชาติอันหน่ึงเท่านั้น อย่างต้นไม้ตามป่านั่นแหละ
ถ้ามันจะเป็นขื่อเป็นแปเป็นกระดาน มันก็มาจากต้นไม้ แต่ว่ามันเป็นต้นไม้อยู่ ไม่ใช่
ข่ือไม่ใช่แป มันเป็นต้นไม้อยู่ มันเป็นธรรมชาติเท่านั้น ก่อนที่จะทำประโยชน์ได้
ก็ต้องเอาต้นไม้มาแปรรูปออกไปเป็นขื่อ เป็นแป เป็นกระดาน เป็นโน่นเป็นนี่ เป็น
ต้นไม้ต้นเดียวกัน แต่มันแปรรูปมาเป็นหลายอย่าง เมื่อมารวมกันมันก็เป็นต้นไม้
อันเดยี วกนั เปน็ ธรรมชาติ
ถ้าหากว่ามันเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น มันก็ไม่เกิดประโยชน์ข้ึนเฉพาะกับ
บุคคลท่ีต้องการ จิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้น มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่งอยู่
อย่างน้ัน มันรู้จักการนึกคิด รู้จักสวยไม่สวยตามธรรมชาติของมัน ฉะน้ัน จิตใจเรา
น้ันจะต้องถูกฝึกอีกคร้ังหนึ่งก่อน ถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติ ฝึกให้รู้ว่า
มันเป็นธรรมชาติ เราก็มาปรับปรุงธรรมชาตินั้นให้ถูกต้องตามท่ีต้องการของมนุษย์
คอื ธรรมะ
ธรรมะน้ีจึงเป็นของที่พวกเราท้ังหลาย จงปฏิบัติเอาเข้ามาในใจ เอาไว้ในใจ
ของเรา ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้ พูดกันตรงๆ ง่ายๆ อ่านหนังสือเฉยๆ ก็ไม่รู้ เรียนเฉยๆ
กไ็ ม่รู้ มนั รู้อยู่ แต่มนั ไมร่ ู้ตามทเ่ี ป็นจรงิ คอื มนั ร้ไู มถ่ ึง
184 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
อย่างกระโถนใบน้ี ใครๆ ก็รู้ว่ามันเป็นกระโถน แต่ไม่รู้ถึงกระโถน ทำไม
ไม่รู้ถึงกระโถน ถ้าผมจะเรียกกระโถนว่าหม้อ ท่านจะว่าอย่างไร ทุกทีที่ผมใช้ ท่านว่า
”เอาหม้อมาให้ผมด้วยเถอะ„ มันก็ต้องขัดใจท่านทุกที ทำไมล่ะ ก็เพราะว่าท่านไม่รู้
กระโถนถึงกระโถน ผมจะใช้ให้ท่านเอากระโถนมา แต่บอกให้เอาหม้อมาให้ผมหน่อย
ท่านกไ็ มพ่ บ ”หมอ้ อยู่ที่ไหนหลวงพ่อ„ ก็ชไี้ ปท่ีกระโถนน่นั แหละ มันกไ็ ม่เขา้ ใจ ขัดใจ
กันเท่าน้ัน ปัญหามันก็เกิดข้ึนมา ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น เพราะท่านไม่รู้กระโถน
ถึงกระโถน ถ้าท่านรู้กระโถนถึงกระโถนแล้วมันก็ไม่มีปัญหาอะไร ท่านก็จะหยิบวัตถุ
อนั นัน้ มาใหผ้ มเลย
ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น คือกระโถนใบนี้น่ะมันไม่มี เข้าใจไหม มันมีขึ้นมา
เพราะเราสมมุติขึ้นว่าน่ีคือกระโถน มันก็เลยเป็นกระโถน สมมุติอันนี้มันรู้กัน
ทั่วประเทศแล้ววา่ มันเป็นกระโถนอย่างน้ี แต่กระโถนจริงน่ะมนั ไม่มี หรือใครจะเรียก
ให้มันเป็นหม้อมันก็เป็นให้เราอย่างน้ัน จะเรียกให้เป็นอะไรมันก็เป็นอย่างนั้น
นเี่ รยี กวา่ ”สิง่ สมมตุ „ิ ถ้าเรารถู้ ึงกระโถนแลว้ เขาจะเรยี กว่าหมอ้ กไ็ ม่มปี ญั หา จะเรยี ก
อะไรมนั กห็ มดปัญหาแลว้ เพราะเรารู้ ไม่มีอะไรปิดบังไว้ นน่ั คอื คนรจู้ กั ธรรมะ
ทีน้ีย้อนเขา้ มาถงึ ตวั เรา เช่น เขาจะพดู ว่า ”ทา่ นน้ีเหมอื นกบั คนบา้ นะ„ ”ทา่ นน้ี
เหมือนคนไม่พอคนนะ„ อย่างนีเ้ ปน็ ตน้ ก็ไม่สบายใจเหมือนกัน ทง้ั ๆ ทตี่ วั เราไมเ่ ป็น
จริงอะไร มันก็ยากอยู่นะ อยากได้อยากเป็น เพราะความอยากได้อยากเป็นมัน
ไมร่ ู้จกั พอ เพราะไมร่ ูต้ ามความเป็นจริงนัน่ เอง
ฉะนั้น ถ้าเรารู้จักธรรมะ ตรัสรู้ธรรมตามความเป็นจริงแล้ว โลภ โกรธ หลง
มันจงึ หมดไป เพราะมันไมม่ ีอะไรท้งั นัน้ อนั นีค้ วรปฏบิ ัต
ิ
ปฏิบัติทำไมมันถึงยากมันถึงลำบาก เพราะว่ามันอยาก พอไปน่ังสมาธิปุ๊ปก็
ต้ังใจว่าอยากจะใหม้ นั สงบ ถ้าไมม่ คี วามอยากใหส้ งบ กไ็ ม่น่งั ไมท่ ำอะไร พอเราไปนง่ั
ก็อยากให้มันสงบ เม่ืออยากให้มันสงบไอ้ตัววุ่นวายก็เกิดขึ้นมาอีก ก็เห็นสิ่งที
่
ไม่ตอ้ งการเกดิ ขึน้ มาอีก มันกไ็ มส่ บายใจอกี แล้ว นมี่ ันเปน็ อยา่ งน้ี
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
185
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่ายืนให้เป็นตัณหา
อย่านั่งให้เป็นตัณหา อย่านอนให้เป็นตัณหา อย่าเดินให้เป็นตัณหา ทุกประการน้ัน
อย่าให้เป็นตัณหา ตัณหาก็แปลว่า ความอยาก ถ้าไม่อยากจะทำอะไร เราก็ไม่ได้ทำ
อันน้ัน ปัญญาของเราไปถึงท่ีนี้มันก็เลยอู้เสีย ปฏิบัติไปไม่รู้จะทำอย่างไร พอไป
นัง่ สมาธปิ ปุ๊ กต็ งั้ ความอยากไวแ้ ล้ว
อย่างพวกเราที่มาปฏิบัติอยู่ในป่านี้ ทุกคนต้องอยากมาใช่ไหม นี่จึงได้มา
อยากมาปฏิบัติท่ีน่ี มาปฏิบัตินี่ก็อยากให้มันสงบ อยากให้มันสงบก็เรียกว่าปฏิบัติ
เพราะความอยาก มาก็มาด้วยความอยาก ปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความอยาก เม่ือ
มาปฏิบัติแล้วมันจึงขวางกัน ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ทำ จึงเป็นอยู่อย่างน้ี จะทำอย่างไร
กบั มันละ่
รูปนามหรือสกนธ์กายเรานี้มันจึงดูได้ยาก ถ้าหากไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่
ของตนแล้วมันเป็นตัวของใคร อันนี้มันถึงแยกยาก มันถึงลำบาก เราจะต้องอาศัย
ปญั ญา
ดังน้ัน พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงสอนว่า การกระทำก็กระทำด้วยการปล่อยวาง
การกระทำด้วยการปล่อยวาง อันน้ีก็ฟังยากเหมือนกัน ถ้าจะปล่อยวางก็ไม่ทำเท่านั้น
เพราะทำด้วยการปล่อยวาง เปรียบง่ายๆ ให้ฟัง เราไปซ้ือกล้วยหรือซ้ือมะพร้าว
ใบหนึง่ จากตลาดแล้วกเ็ ดินหว้ิ มา อีกคนหนง่ึ กถ็ าม
”ท่านซ้ือกล้วยมาทำไม„
”ซ้ือไปรับประทาน„
”เปลอื กมนั ต้องรับประทานดว้ ยหรอื „
”เปล่า„
”ไม่เช่ือหรอก ไม่รบั ประทานแล้วเอาไปทำไมเปลือกมัน„
หรอื เอามะพรา้ วใบหนงึ่ มากเ็ หมือนกัน
186 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
”เอามะพรา้ วไปทำไม„
”จะเอาไปแกง„
”เปลอื กมนั แกงดว้ ยหรือ„
”เปลา่ „
”เอาไปทำไมล่ะ„
เอ้า จะว่าอย่างไรละ่ เราจะตอบปญั หาเขาอยา่ งไร
ทำด้วยความอยาก ถ้าไม่อยากเราก็ไม่ได้ทำ ทำด้วยความอยากมันก็เป็น
ตัณหา นี่ถึงให้มันมีปัญญานะ อย่างกล้วยใบน้ัน หวีน้ัน เปลือกมันจะเอากินด้วย
หรือเปล่า ไม่กินล่ะ เอาไปทำไมเปลือกมัน ก็เพราะว่ายังไม่ถึงเวลาเอามันทิ้ง มันก
็
ห่อเน้ือในมันไปอยู่อย่างน้ัน ถ้าหากว่าเราเอากล้วยข้างในมันกินแล้วเอาเปลือกมัน
โยนท้ิงไป ก็ไมม่ ีปัญหาอะไร น่กี เ็ หมอื นกัน การกระทำความเพยี รก็เปน็ อยา่ งนั้น
พระพุทธเจา้ ว่า อย่าทำให้เป็นตัณหา อย่าพูดให้เปน็ ตัณหา อย่าฉันให้เปน็
ตัณหา ยืนอยู่ เดินอยู่ น่ังอยู่ นอนอยู่ ทุกประการท่านไม่ให้เป็นตัณหา คือทำ
ด้วยการปล่อยวาง เหมือนกับซ้ือมะพร้าวซ้ือกล้วยมาจากตลาดนั่นแหละ เราไม่ได้
เอาเปลอื กมันมากนิ หรอก แตเ่ วลาน้นั ยังไม่ถงึ เวลาจะท้ิงมนั เรากถ็ ือมันไวก้ ่อน
การประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันน้ัน สมมุติ วิมุตติ มันก็ต้องปนอยู่
อย่างนั้น เหมือนกับมะพร้าวมันจะปนอยู่ท้ังเปลือกท้ังกะลาท้ังเนื้อมัน เม่ือเราเอามา
ก็เอามาท้ังหมดนั่นแหละ เขาจะหาว่าเรากินเปลือกมะพร้าวอย่างไร ก็ช่างเขาเป็นไร
เรารจู้ กั ของเราอยู่ เชน่ นี้เป็นต้น
อันความรู้ในใจของตัวเองอย่างนี้เป็นปัญญาที่เราจะต้องตัดสินเอาเอง น
่ี
เรียกว่าตัวปัญญา ดังนั้น การปฏิบัติเพ่ือจะเห็นสิ่งท้ังหลายเหล่านี้ ไม่เอาเร็วและ
ไม่เอาช้า ช้าก็ไม่ได้ เร็วก็ไม่ได้ จะทำอย่างไรดี ไม่มีช้า ไม่มีเร็ว เร็วก็ไม่ได้ มัน
ไม่ใช่ทาง ชา้ ก็ไดม้ ันไม่ใช่ทาง มันกไ็ ปในแบบเดยี วกันนี้
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
187
แต่ว่าพวกเราทุกๆ คนมันร้อนเหมือนกันนะ มันร้อน พอทำปุ๊ปก็อยากจะให้
มันไปไวๆ ไม่อยากจะอยู่ช้า อยากจะไปหน้า การกำหนดตั้งใจทำสมาธิน้ี บางคน
จึงตั้งใจเกินไป บางคนถึงกับอธิษฐานเลย จุดธูปปักลงไป กราบลงไป ”ถ้าธูปดอกน้ี
ไม่หมด ข้าพเจ้าจะไม่ลุกจากที่น่ังเป็นอันขาด มันจะล้ม มันจะตาย มันจะเป็น
อยา่ งไรกช็ ่างมนั จะตายอย่ทู นี่ ้ีแหละ„
พออธิษฐานตั้งใจปุ๊ปก็นั่ง พญามารมันก็เข้ามารุมเลย น่ังแผล็บเดียวเท่านั้นล่ะ
ก็นึกว่าธูปมันคงจะหมดแล้ว เลยลืมตาขึ้นดูสักหน่อย โอ้โฮ ยังเหลือเยอะ กัดฟัน
เข้าไปอีก มันร้อนมันรนมันวุ่นมันวาย ไม่รู้ว่าอะไรอีก เต็มทีแล้ว นึกว่ามันจะหมด
ลืมตาดูอีก โอ้โฮ ยังไม่ถึงคร่ึงเลย สองทอดสามทอดก็ไม่หมด เลยเลิกเสีย เลิก
ไม่ทำ น่ังคิดอาภัพอับจน แหม ตัวเองมันโง่เหลือเกิน มันอาภัพมันอย่างโน้นอย่างน้ี
น่ังเป็นทุกข์ว่าตัวเองเป็นคนไม่จริง คนอัปรีย์ คนจัญไร คนอะไรต่ออะไรวุ่นวาย ก็
เลยเกิดเป็นนวิ รณ์ นีก่ เ็ รียกวา่ ความพยาบาทเกิด ไม่พยาบาทคนอื่นกพ็ ยาบาทตวั เอง
อันน้กี ็เพราะอะไร เพราะความอยาก
ความเป็นจริงนัน้ น่ะ ไม่ต้องไปทำถงึ ขนาดน้ันหรอก ความตัง้ ใจน่ะ คอื ตั้งใจ
ในการปล่อยวาง ไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัดอย่างน้ัน อันนี้เราไปอ่านตำรา เห็น
ประวัติพระพุทธเจ้าว่า ท่านน่ังลงที่ใต้ต้นโพธ์ิน้ัน ท่านอธิษฐานจิตลงไปว่า ”ไม่ตรัสรู้
ตรงนี้จะไม่ลุกหนีเสียแล้ว แม้ว่าเลือดมันจะไหลออกมาอะไรตามทีเถอะ„ ได้ยิน
คำน้ีเพราะไปอ่านดู แหม เราก็จะเอาอย่างนั้นเหมือนกัน จะเอาอย่างพระพุทธเจ้า
เหมือนกันน่ี ไม่รู้เร่ืองว่ารถของเรามันเป็นรถเล็กๆ รถของท่านมันเป็นรถใหญ่
ท่านบรรทุกทีเดียวก็หมด เราเอารถเล็กไปบรรทุกทีเดียวมันจะหมดเม่ือไหร่ มัน
คนละอยา่ งกัน เพราะอะไรมนั ถึงเปน็ อย่างนั้น มนั เกินไป บางทีมนั ก็ต่ำเกนิ ไป บางที
มันก็สูงเกนิ ไป ไอท้ พี่ อดๆี มันหายาก
อันนี้ผมก็พูดไปตามความรู้สึกของผมหรอก ผมปฏิบัติมาเป็นอย่างน้ี ก
็
ปฏิบัติให้ละความอยาก ถ้าไม่อยากมันจะได้ทำหรือ มันก็ติด แต่ทำด้วยความอยาก
มนั กเ็ ป็นทุกขอ์ ีก ไมร่ จู้ ะทำอยา่ งไร ยังงงเหมือนกันนะ
188 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ทีน้ีผมจึงเข้าใจว่า การปฏิบัติที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันไปเป็นของสำคัญมาก ต้อง
ทำสมำ่ เสมอ ทา่ นเรียกว่าอริ ิยาบถสมำ่ เสมอ คอื สมำ่ เสมอในการปฏบิ ัติ ทำใหม้ ันดี
ยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่ให้มันวิบัติกัน ปฏิบัติมันเป็นอย่างหนึ่ง วิบัติมันเป็นอย่างหนึ่ง
โดยมากพวกเราท้ังหลายมาทำแต่เร่ืองมันเป็นวิบัติกัน ขี้เกียจไม่ทำ ขยันจึงทำ นี่ผม
ก็ชอบเปน็ อยา่ งน้ี ขเ้ี กยี จไม่ทำ ขยันจึงทำ
พวกท่านท้ังหลายคิดดูซิว่าถูกหรือเปล่า ขยันจึงทำ ข้ีเกียจไม่ทำ มันถูก
ธรรมะไหม มันตรงไหม มันเหมือนกับคำสอนไหม อันนี้ปฏิปทาของเรายังไม่
สม่ำเสมอ ข้ีเกียจหรือขยันต้องทำอยู่เรื่อย พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างน้ัน โดยมาก
คนธรรมดาเรานั้นขยันจึงค่อยทำ ขี้เกียจไม่ทำ น่ีมันเป็นเสียอย่างนี้ มันปฏิบัติอยู่
แคน่ ้ี กเ็ รียกวา่ มนั วบิ ตั ิเสียแล้ว มนั ไม่ใชป่ ฏิบัติ
การปฏิบัติจริงๆ แล้ว มันสุขก็ปฏิบัติ มันทุกข์ก็ปฏิบัติ มันง่ายก็ปฏิบัต ิ
มันยากก็ปฏิบัติ มันร้อนก็ปฏิบัติ มันเย็นก็ปฏิบัติ น่ีเรียกว่าตรงไปตรงมาอย่างนี้
ปฏิปทาที่เราต้องยืน หรือเดิน หรือน่ัง หรือนอน การมีความรู้สึกนึกคิดที่เราจะ
ต้องปฏิบัติในหน้าท่ีการงานของเรานั้นต้องสม่ำเสมอ ทำสติให้สม่ำเสมอในอิริยาบถ
การยนื การเดิน การนัง่ การนอน
นี่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็เหมือนอิริยาบถยืนให้เท่ากับเดิน เดินก็เท่ากับยืน ยืน
ก็เท่ากับนั่ง นั่งก็เท่ากับนอนนะ อันนี้ผมทำแล้ว ทำไม่ได้ ถ้าว่านักปฏิบัตินี้ ต้อง
ทำการยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้ได้เสมอกัน จะทำได้สักกี่วันล่ะ จะยืนให
้
เสมอกับนั่ง ยืน ๕ นาที น่ัง ๕ นาที นอน ๕ นาที อะไรทั้งหลายนี้ ผมทำไม่นาน
ก็มานั่งคิดพิจารณาใหม่ อะไรกันหนอ อย่างน้ีคนในโลกน้ีทำไม่ได้หรอก ผมพยายาม
ทำไปค้นคิดไป อ้อ มันไม่ถูกน่ี มันไม่ถูก ดูแล้วมันไม่ถูก ทำไม่ได้ นอนกับน่ังกับ
เดินกับยืน ทำให้มันเท่ากัน จะเรียกว่าอิริยาบถมันสม่ำเสมอกัน แบบท่านบอกไว้ว่า
ทำอิรยิ าบถใหส้ ม่ำเสมอ อยา่ งนน้ั ไม่ได
้
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
189
แต่ว่าเราทำอย่างนี้ได้ จิต พูดถึงส่วนจิตของเราให้มีสติความระลึกอยู่
สัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ ปัญญาความรอบรู้อยู่ อันน้ีทำได้ อันน้ีน่าจะเอาไปปฏิบัติ
คือเรยี กวา่ ถ้าเราปฏบิ ัติ เราจะยนื อยู่กม็ สี ติ เราจะนั่งอยูก่ ม็ ีสติ เราจะเดนิ อยูก่ ็มสี ติ
เราจะนอนกม็ สี ติอยู่สม่ำเสมออยา่ งนี้ อนั นี้เป็นไปได้ จะเอาตวั รู้ไปเดิน ไปยนื ไปนั่ง
ไปนอน ให้เสมอกันทุกอริ ยิ าบถเป็นไปได้ ดงั น้นั เม่ือเราฝกึ จติ ของเรา จิตจะมีความรู้
สม่ำเสมอในการปฏิบัติกับทุกอิริยาบถว่า พุทโธ...พุทโธ... พุทโธ คือความรู้ รู้จัก
อะไร รู้จักภาวะท่ีถูกต้อง รู้จักลักษณะที่ถูกต้องอยู่เสมอนั้น จะยืนก็มีจิตอย
ู่
อย่างนั้น จะเดินก็มีจิตเป็นอยู่อย่างน้ัน เออ อันนี้ได้ใกล้เข้าไปเหลือเกิน เฉียดๆ
เข้าไปมากเหลือเกิน เรียกว่า จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนอยู่น้ี มันมีสติอยู่เสมอ
ทเี ดียว
อันนี้รู้จักธรรมที่ควรละ รู้ธรรมที่ควรปฏิบัติ สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ เมื่อมันรู้สุข
รู้ทุกข์ จิตใจเราจะวางตรงที่ว่ามันไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะว่าสุขน้ันมันก็เป็นทางหย่อน
กามสุขัลลิกานุโยโค ทุกข์มันก็เป็นทางตึงคืออัตตกิลมถานุโยโค ถ้าเรารู้สุขรู้ทุกข์อยู่
เรารู้จักสิ่งท้ังสองนี้ ถึงแม้ว่าจิตใจเรามันจะเอนไปเอนมา เราก็ชักมันไว้ เรารู้อยู่ว่า
มันจะเอนไปทางสุขก็ชักมันไว้ มันจะเอนไปทางทุกข์ก็ชักมันไว้ ไม่ให้มันเอนไป รู้อยู่
อย่างน้ี น้อมเข้ามาเส้นทางเดียว เอโก ธัมโม น้ี น้อมเข้ามาในทางที่รู้ ไม่ใช่ว่าเรา
ปล่อยไปตามเรอ่ื งของมนั
แต่ว่าเราปฏิบัติกันน้ีมันก็อยากจะเป็นอย่างน้ันนะ มันปล่อยตามใจ ถ้าเรา
ปล่อยตามใจ มันสบายนะ แต่ว่ามันสบายก็เพื่อไม่สบาย อย่างมันข้ีเกียจทำงานนี่
มันก็สบาย แต่ว่าเม่ือถึงเวลาจะกินไม่มีอะไรจะกิน มันเป็นอย่างน้ัน ดังน้ัน ผมก็ไป
เถียงคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่หลายบทหลายเหล่าเหมือนกัน สู้ท่านไม่ได้
ทุกวันน้ีผมก็ยอมรับท่านแล้ว ยอมรับว่าธรรมะทั้งหลายของท่านถูกต้องทีเดียว
ฉะนั้น จึงเอาคำสอนของท่านนี้มาอบรมตัวเองและสานุศิษย์ท้ังหลาย นี่พูดตาม
ความรูส้ กึ ทีเ่ กดิ ข้นึ มา
190 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
191
การปฏิบัติที่สำคัญท่ีสุดคือปฏิปทา ปฏิปทาคืออะไร คือการกระทำของตัวเรา
น่ันแหละ การยืน การเดิน การน่ัง การนอน ทุกประการ ปฏิปทาทางกาย ปฏิปทา
ทางจิตของเราน่ันนะ วันนี้มันมีจิตใจเศร้าหมองในการทำงานก่ีคร้ัง มีใจสบายไหม
มีอะไร เป็นอะไรไหม อันน้ีเราต้องรู้มันรู้จักตัวเองอย่างน้ี รู้แล้วมันวางได้ไหม อันที่
มันยังวางไม่ได้ก็พยายามปฏิบัติมัน เมื่อมันรู้ว่าวางไม่ได้ก็ถือไว้ เพ่ือเอาไปพิจารณา
ด้วยปัญญาเราอีก ให้มีเหตุผล ค่อยๆ ทำไป อย่างนี้เรียกว่า การปฏิบัติ อย่างเช่น
วันน้ีมันขยันก็ทำ ข้ีเกียจก็พยายามทำ ไม่ได้ทำมากก็ให้ได้สักครึ่งหน่ึงก็เอา อย่าไป
ปลอ่ ย วันน้ีข้ีเกยี จไมท่ ำ อยา่ งน้ไี ม่ได้หรอก เสียหายเลยไมใ่ ช่นกั ปฏิบัติแลว้
ทีนี้ผมเคยได้ยิน ”แหม ปีนี้ผมแย่เหลือเกิน„ ”ทำไม„ ”ผมป่วยท้ังปี ไม่ได้
ปฏิบัติเลย„ โอ้โฮ มันจวนจะตายแล้วก็ยังไม่ปฏิบัติอีก จะไปปฏิบัติเมื่อไหร่ล่ะ
ถ้าหากว่ามันสุขจะปฏิบัติไหม มันสุขก็ไม่ปฏิบัติอีก มันติดสุขเท่านั้นแหละ แต่ทุกข์
มันไม่ปฏิบัติ ก็ติดทุกข์อยู่น่ันแหละ ไม่รู้จะไปปฏิบัติกันเม่ือไหร่ ได้แต่รู้ว่า มันป่วย
มันเจ็บ มันไข้จวนจะตาย นั่นแหละให้มันหนักๆ เถอะ ทีน้ีเห็นเราจะต้องปฏิบัติเอา
เมอื่ สบายเกดิ ขึน้ มามนั ก็ต้องชใู จของเรา ยกหูชหู างขนึ้ ไปสงู ๆ อีก มันกต็ ้องมาปฏิบัติ
มนั อกี
สองอย่างน้ีหมายความว่า จะเป็นสุขก็ต้องปฏิบัติ จะเป็นทุกข์ก็ต้องปฏิบัติ
จะอยสู่ บายๆ อยา่ งนีก้ ต็ ้องปฏบิ ัติ จะเป็นไข้อยู่กต็ อ้ งปฏิบัติ มนั ถึงจะถูกแบบ
ถา้ เราคดิ อย่างน้ี ”ปีนผี้ มไม่ปฏิบตั ิ„ ”ทำไมไม่ปฏบิ ตั „ิ ”ผมเปน็ ไขไ้ ม่สบายครับ„
เออ เม่อื มนั สบายมันก็ร้องเพลงไปเทา่ นั้นแหละ อย่างน้มี นั เปน็ ความคิดผดิ นะ ไม่ใช่
ว่ามันไม่ผิด ดังน้ัน พระโยคาวจรเจ้าท่านจึงมีปฏิปทาสม่ำเสมอในเรื่องจิต เป็นก็
ให้เป็นแตเ่ ร่ืองกาย
192 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
มีระยะหน่ึงท่ีผมพยายามปฏิบัติ ตอนนั้นปฏิบัติได้ประมาณห้าพรรษาแล้ว ก็
อยู่กับเพื่อนมากๆ แหม มันรำคาญ เพ่ือนคนนี้ก็พูดอย่างน้ันคนน้ันก็พูดอย่างน้ี เรา
น่ังอยู่กุฏิจะปฏิบัติกรรมฐานก็มีเพื่อนขึ้นไปคุยด้วย วุ่นวาย หนี หนีไปคนเดียวว่า
เพ่ือนกวน เราไม่ได้ปฏิบัติ เบื่อ ไปอยู่ในป่ารก วัดป่า วัดร้างเล็กๆ ไปแล้วล่ะ มี
หมู่บ้านน้อยๆ ไปนั่งคนเดียว ไม่ได้พูดเพราะอยู่คนเดียวนี่ อยู่ได้สักประมาณ ๑๕
วัน ก็เกิดความคิดมาอีกแล้ว แหม อยากได้เณรเล็กๆ สักรูปหนึ่งก็ดีนะ อยากได
้
ปะขาวมาสักคนก็ดีนะ เพือ่ จะไดม้ าใช้อะไรเล็กๆ น้อยๆ
นี่เราก็รู้อยู่ว่ามันจะออกมาท่าไหน ออกมาท้ังนั้นละ เอ แกนี่ตัวสำคัญนะ
เบื่อเพื่อน เบื่อภิกษุสามเณรมาแล้ว ยังอยากเอาเพ่ือนมาอีกทำไมเล่า ”เปล่า„ มันว่า
”เอาเพอ่ื นทีด่ ี„ แน่ะ คนดมี ีทไี่ หนละ่ เหน็ ไหม หาคนดเี ห็นไหม คนทัง้ วัดมีแตค่ นไมด่ ี
ท้งั นั้นแหละ ดีเราคนเดียวละ่ กระมงั เราจงึ หนเี ขามานี่
ต้องตามมันอย่างน้ี สะกดรอยมันไป มันรู้สึกข้ึนมา เออ อันน้ีมันก็สำคัญ
เหมือนกนั นะ แล้วคนดีอยู่ท่ีไหนล่ะ ไม่มีคนดที ้ังนัน้ แหละ คนดีอยทู่ ีต่ ัวเรา ทุกวันน้ี
ผมก็ยังมาสั่งสอนลูกศิษย์ผมอยู่เสมอว่า คนดีไม่มีท่ีอ่ืน อยู่ท่ีตัวเรา ถ้าเราดีเรา
ไปไหนมันก็ดี เขาจะนินทาเขาจะสรรเสริญ เราก็ยังดีอยู่ เขาจะว่าอะไร ทำอะไร
เราก็ยังดีอยู่ ถ้าเรายังไม่ดี เขานินทาเรา เราก็จะโกรธ ถ้าเขาสรรเสริญเรา เราก็จะ
ชอบอยา่ งเก่าเทา่ นน้ั แหละ
วันน้ันผมภาวนาได้อย่างน้ัน มีความรู้สึกอย่างนั้น ก็รู้สึกตั้งแต่วันนั้นมา รู้ได้
ตามเป็นจริง มีความจริงอยู่เท่าทุกวันน้ี อันความดีมันอยู่กับตัวเอง พอได้เห็นปุ๊ป
ความรู้สึกมันลดลง มันจำตั้งแต่วันนั้นเลย ต่อมามีขึ้นมามันก็ปล่อยไป มีข้ึนมา
มันก็รู้ มีข้ึนมามันก็รเู้ ร่อื ยไป อนั นีเ้ ปน็ รากฐาน
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
193
เราจะไปอยู่ท่ีไหน คนเขาจะรังเกียจหรือคนเขาจะว่าอะไร ก็ถือว่าไม่ใช่เขาดี
หรือเขาชั่ว ถ้ามันดีมันชั่วคือตัวเราน้ี คนอ่ืนมันเรื่องคนอื่นเขา มันเป็นอยู่อย่างนั้น
อย่าไปเข้าใจว่า แหม วันนี้มันร้อน วันน้ีมันเย็น วันน้ีมันเป็นอย่างนั้นอย่างน้ีนะ
วันมันจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นของมันอยู่อย่างน้ัน ความจริงตัวเรามันเสือกไสไปให้
โทษเขาเท่านั้น ท่านว่าเห็นธรรมะเกิดกับตัวเองน้ีล่ะมันแน่นอน และได้ความสงบ
ระงบั ดว้ ย
ฉะน้นั พวกเราทา่ นทง้ั หลายที่ได้มาอบรมในวันน้ี แมไ้ มก่ ่วี ัน ผมนกึ ว่า คงจะ
มีอะไรข้ึนมาหลายอย่าง มีขึ้นมาก็ยังไม่รู้มัน มีเยอะแยะ ไม่ใช่ว่าเรารู้มันนะ ท่ีไม่รู
้
มันก็เยอะแยะ คิดถูกก็มีคิดผิดก็มี อะไรหลายๆ อย่างที่มันเป็นมา ฉะนั้นการปฏิบัติ
จงึ วา่ มันยาก
ถึงแม้พวกท่านทั้งหลายจะนั่งมันสงบไปบ้างก็อย่าคิดสรรเสริญมัน มันจะมี
ความวุ่นวายไปบ้างก็อย่าไปให้โทษมัน ถ้ามันดีก็อย่าเพิ่งไปชอบมัน ถ้ามันไม่ดีก
็
อย่าเพิ่งไปรังเกียจมัน พากันดูไปเถอะ ให้ท่านดูของท่านไป ดูไป อย่าเพ่ิงไปว่า
มัน ถ้ามันดีก็อย่าเพิ่งไปจับมัน ชั่วก็อย่าเพิ่งไปจับมัน เดี๋ยวมันจะกัดนะ ดีมันก็กัด
ชว่ั มนั กก็ ดั อยา่ เพิ่งไปจบั มนั
ฉะน้ัน การปฏิบัตินี้จึงว่านั่ง นั่นแหละปฏิบัติน่ัง ดูไป มันมีอารมณ์ดีอารมณ์
ชั่วสลับซับซ้อนกันไปเป็นธรรมดาของมัน อย่าไปสรรเสริญจิตของเราอย่างเดียว
อย่าไปให้โทษมันอย่างเดียว ให้รู้จักกาลรู้จักเวลามัน เมื่อถึงคราวสรรเสริญก็สรรเสริญ
มนั หนอ่ ย สรรเสรญิ ให้พอดีอย่าใหห้ ลง
เหมอื นกบั สอนเด็กน่ันแหละ บางทีก็เฆย่ี นมันบ้าง เอาไม้เรียวเลก็ ๆ เฆ่ียนมัน
ไม่เฆ่ียนไม่ได้ อันน้ีบางทีก็ให้โทษมันบ้าง อย่าให้โทษมันเรื่อยไป ให้โทษมันเร่ือยไป
มันก็ออกจากทางเท่าน้ันแหละ ถ้าให้สุขมันให้คุณมันเรื่อยๆ มันไปไม่ได้ การ
ประพฤติปฏิบัติไม่ใช่อย่างนั้น เราปฏิบัติไปตามสายกลาง สายกลางคืออะไร
สายกลางน้ีมันยาก ต้องเอาจิตของเราเป็นประมาณ จะเอาตัณหาของเราเป็น
ประมาณไม่ได
้
194 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ฉะน้ัน การปฏิบัติของท่านทั้งหลายนี้อย่าพึงถือว่า การน่ังหลับตาอย่างเดียว
เป็นการปฏิบัติ เม่ือออกจากนั่งแล้วก็ออกจากการปฏิบัติ อย่าเข้าใจอย่างน้ัน ถ้าเข้าใจ
อย่างนั้นก็รีบกลับมันเสีย ท่ีเรียกว่าการปฏิบัติสม่ำเสมอ คือเราจะยืน จะเดิน จะนั่ง
จะนอน ให้มีความรู้สึกอยู่อย่างนั้น เม่ือเราจะออกจากสมาธิก็อย่าเข้าใจว่าออกจาก
สมาธิ เพยี งแตเ่ ปล่ียนอิรยิ าบถเทา่ นั้น
ถ้าท่านทั้งหลายคิดอย่างน้ีก็จะสุขใจ เม่ือท่านไปทำงานอยู่ท่ีไหน ไปทำอะไรอยู่
ก็ดี ท่านจะมีการภาวนาอยู่เสมอ มีเร่ืองติดใจ มีความรู้สึกอยู่เสมอ ถ้าหากท่าน
องค์ใดตอนเย็นๆ ก็มาน่ัง เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็เรียกว่าได้ออกแล้ว ไม่มีเย่ือใย
ออกไปเลย ส่งอารมณ์ไปเลย ตลอดท้ังวันก็ปล่อยใจตามอารมณ์ไป ไม่มีสติ เย็น
ต่อไปนึกอยากจะน่ัง พอไปนั่งปุ๊ปก็มีแต่เรื่องใหม่ท้ังน้ันเข้ามาสุมมัน ปัจจัยเรื่องเก่า
ที่มันสงบก็ไม่มี เพราะทิ้งมันไว้ตั้งแต่เช้า มันก็เย็นน่ะสิ ทำอย่างนี้เรื่อยๆ มันก็ยิ่งห่าง
ไปทกุ ปๆี
ผมเห็นลูกศิษย์ผมบางองค์ก็ถามเขา ”เป็นอย่างไร ภาวนา„ เขาตอบ ”เดี๋ยวน้ี
หมดแล้วครับ„ นี่เอาสักเดือนสองเดือนยังอยู่ พอสักปีสองปีมันหมดแล้ว ทำไม
มันหมด ก็มันไม่ยึดหลักอันน้ีไว้ เมื่อนั่งแล้วก็ออกจากสมาธิ ทำไป ทำไป น่ังน้อย
ไปทุกที ทุกที นั่งเด๋ียวเดียวก็อยากออก น่ังประเดี๋ยวก็อยากออก นานๆ เข้าก็
ไมอ่ ยากจะนง่ั เลย
เหมือนกับการกราบพระ เมื่อเวลาจะนอนก็อุตส่าห์กราบ กราบไปเรื่อยๆ
บ่อยๆ นานๆ ใจมันห่างแล้ว ต่อไปไม่ต้องกราบ ดูเอาก็ได้ นานๆ ก็เลยไม่กราบ
ดูเอาเท่าน้ันแหละ มันจะส่งเราออกนอกคอกไม่รู้เร่ืองอะไร น่ีให้เราทั้งหลายรู้ว่า สติ
มีไว้ทำไม ใหเ้ ป็นผู้ศึกษาสม่ำเสมออยา่ งน้นั
การปฏิบัติน้ีจึงเป็นการปฏิบัติสม่ำเสมอ จะยืน จะเดิน จะน่ัง จะนอน มัน
เป็นของมันเสียจริงๆ คือ การทำเพียร การภาวนา มันเป็นที่จิต ไม่ใช่เป็นท่ีกาย
ของเรา จิตของเรามันเล่ือมใสอยู่ จิตของเรามันตรงอยู่ มันมีกำลังอยู่ มันรู้อยู่ท
่ี
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
195
จิตนั้น จิตนั้นมันเป็นสิ่งสำคัญมาก การยืน การเดิน การน่ัง การนอน อิริยาบถ
ทั้งหลายน้ันมารวมท่ีจิต จิตเป็นตัวรับภาระทำการงานมากเหลือเกิน เกือบทุกสิ่ง
ทกุ สว่ น
ฉะน้ัน เมื่อเราเข้าใจถูกมันก็ทำถูก เมื่อทำถูกแล้วมันก็ไม่ผิด ถึงทำแต่น้อย
มันถูกน้อย เช่นว่า เม่ือเราออกจากสมาธิแล้ว ก็รู้สึกว่าวันนี้เรายังไม่ออก เราเปลี่ยน
อิริยาบถ มันต้ังอยู่อย่างเก่านั่นแหละ จะยืน จะเดินจะเหินไปมา มันก็มีสติอยู่
สม่ำเสมอ ถ้าเรามีความรู้อย่างน้ัน กิจธุระภายในใจของเราก็ยังมีอยู่ ถ้าเรานั่ง
ตอนเย็นวันใหม่มา นั่งลงไปมันก็เช่ือมกันได้ ติดต่อกันไปได้ มันก็มีกำลังมิได้ขาด
มันเป็นอย่างน้ัน มันก็ต้องสงบติดต่อกันอยู่อย่างน้ัน อันนี้เรียกว่า ปฏิปทาสม่ำเสมอ
การพูดจาปราศรัยการทำอะไรทุกประการน้ี ก็พยายามทำให้มันสม่ำเสมอใน
จิตน้ัน ถ้าจิตใจของเรามีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอแล้ว สิ่งท้ังหลายเหล่านี้มันเป็นไปเอง
มันค่อยๆ เป็นไปเอง จิตใจมันจะสงบก็เพราะจิตใจมันรู้จักผิดถูก มันรู้จักเหตุการณ์
ของมนั มันถึงจะสงบได
้
เช่นว่า ศีลก็ดี สมาธิก็ดี จะดำเนินอยู่ได้มันก็ต้องมีปัญญา บางคนเข้าใจว่า
ปีน้ีผมจะต้ังใจรักษาศีล ปีหน้าจะทำสมาธิ ปีต่อไปจะทำปัญญาให้เกิด อย่างน้ีเป็นต้น
เพราะเขา้ ใจวา่ มันคนละอย่างกนั
ปีน้ีจะทำศีล ใจไม่ม่ันจะทำได้อย่างไร ปัญญาไม่เกิดจะทำได้อย่างไร มันก็
เหลวทั้งนั้นแหละ ความเป็นจริงน้ันมันก็อยู่ในจุดเดียวกัน ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญา
ก็ดี เมื่อเรามีศีลข้ึนมาสมาธิก็เกิดข้ึนเท่าน้ัน สมาธิเราเกิดขึ้นมาปัญญามันก็เกิด
เท่าน้ัน มันเป็นวงกลมครอบกันอยู่อย่างน้ี มันเป็นอันเดียวกัน เหมือนมะม่วง
ใบเดียวกัน เมื่อมันเล็กมันก็เป็นมะม่วงใบน้ัน เม่ือมันโตมันก็เป็นมะม่วงใบนั้น เมื่อ
มันสุกมา มันก็เป็นมะม่วงใบนั้น ถ้าเราคิดกันง่ายๆ อย่างน้ี มันก็เป็นธรรมะที่เรา
ต้องปฏิบัติ ไม่ต้องเรียนอะไรมากมาย ให้เรารู้มันเถิด รู้ตัวจริงส่ิงทั้งหลายเหล่าน ้ี
รขู้ อ้ ปฏิบัตขิ องตัวเอง
196 ๔ ๘ พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า
ฉะนั้น การทำสมาธิน้ี บางคนไม่ได้ตามปรารถนาแล้วก็เลิกก็หยุด หาว่าตน
ไม่มีบุญวาสนา แต่ว่าไปทำช่ัวได้ บารมีชั่วทำได้ บารมีดีๆ ทำไม่ค่อยได้ เลิกเลย
ปัจจยั มันนอ้ ย มันเปน็ กันเสียอย่างนี้แหละพวกเรา ไปเขา้ ขา้ งแตอ่ ยา่ งนน้ั ละ่
ดังนั้น เม่ือท่านมีโอกาสมาประพฤติปฏิบัติแล้ว ถึงแม้ว่าสมาธิมันทำยาก
หรือมันทำง่าย หรือมันไม่ค่อยเป็นสมาธิ มันก็เป็นเพราะเรา ไม่ใช่เป็นเพราะสมาธิ
มันเป็นเพราะเราทำไม่ถูกมัน ฉะนั้นการทำเพียรน้ีท่านจึงได้ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้มัน
เสียก่อนว่าเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ เมื่อความเห็นชอบ อะไรมันก็ชอบไปหมด
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมากัมมันโต สัมมาทุกอย่างท้ัง ๘ ประการนั้น ม
ี
สัมมาทิฏฐิเกิดข้ึนอันเดียวเท่าน้ัน มันก็เช่ือมกันไปเลย สม่ำเสมอกันไปเรื่อยๆ มัน
เป็นอยา่ งน้ัน
อยา่ งไรกต็ ามมันเถอะ อยา่ ไปไลม่ นั ออกไปข้างนอกเลย ให้มนั ดูขา้ งในอยา่ งนี้
ดีกว่า มันเห็นชัด อย่าพึงไปอ่านข้างนอก ทางท่ีดีท่ีสุดน้ัน ตามความเข้าใจผมนะ
ไม่อยากจะให้อ่านหนังสือเลย เอาหนังสือใส่หีบปิดให้มันดีเสีย อ่านใจของตนเท่าน้ัน
ที่เราดูหนังสือมาน้ีก็ตั้งแต่วันเข้าโรงเรียน มาเรียนกันท้ังน้ัน ดูแต่หนังสือกันจะเป็น
จะตาย ผมว่ามันมีโอกาส มีเวลามากเหลือเกิน เวลาเช่นนี้เอาหนังสือใส่หีบปิดให้มันดี
เสียเลย อ่านใจเท่าน้ันแหละ เมื่อมันเกิดอะไรข้ึนมาในใจของเราน่ี มันเกิดเป็นอารมณ์
ข้ึนมา ที่เราชอบใจไม่ชอบใจก็ตาม เราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะ ให้เราตัดมัน
ไปเลยวา่ อันนี้มนั ไมแ่ น่ จะเกดิ อะไรขึน้ มา กช็ า่ งมนั เถอะ สบั มนั ลงไป ไม่แน่ ไมแ่ น่
อย่างเดียว ขวานเล่มเดียวสบั มันลงไป ไมแ่ น่ท้ังน้นั แหละ
พ ร ะ โ พ ธิ ญ า ณ เ ถ ร (ช า สุ ภ ทฺ โ ท)
197
ตลอดในเดือนหนึ่งที่มาพักอยู่ในวัดป่าน้ี ผมว่ามันมีกำไรมากเหลือเกิน จะได้
เห็นของจริง ไอ้ตัวไม่แน่คือตัวสำคัญนะ ตัวให้เกิดปัญญานะ ย่ิงตามมัน ไม่แน ่
ตัวไม่แน่ที่เราสับมันไป มันจะเวียนไปเวียนไปแล้วมาพบอีก เออ ไม่แน่ จริงๆ มัน
โผล่มาเมื่อไรเอาป้ายปิดหน้ามันไว้ว่า มันไม่แน่ ติดป้ายมันไว้ปุ๊ป มันไม่แน่ ดูไป ๆ
เด๋ียวมันก็เวียนมาอีก เวียนมาครบรอบ เออ อันน้ีไม่แน่ ขุดเอาตรงน้ัน มันก็ไม่แน่
เห็นคนๆ เดียวกันท่ีมาหลอกเราอยู่กระท่ังเดือน กระทั่งปี กระทั่งเกิด กระท่ังตาย
คนๆ เดียวมาหลอกเราอยู่เท่านั้น เราจะเห็นชัดอย่างน้ี มันจะเห็นว่า อ้อ มันเป็น
อยา่ งนเ้ี อง
ทีน้ีเมื่อมันเป็นอย่างน้ี เราก็ไม่ไปยึดมั่นถือม่ันในอารมณ์ท้ังหลาย เพราะว่า
มันไม่แน่ เคยเห็นไหม ดูซิ นาฬิกาเรือนน้ี แหมสวยเหลือเกิน ซ้ือมาเถอะ อีก
ไม่กี่วันก็เบื่อมันแล้ว ปากกาอันนี้สวยเหลือเกิน พยายามซ้ือมันมา มันชอบไม่กี่เดือน
กเ็ บื่อมันแลว้ เสอ้ื ตวั นซ้ี ื้อมา ชอบมนั เหลือเกินกเ็ อามาใส่ ไมก่ ่วี ันทิ้งมันเสียแลว้ มัน
เปน็ อย่อู ย่างนี้ มันแนท่ ต่ี รงไหนละ่ น่ีถ้าเหน็ มันไมแ่ นท่ กุ สิ่งทุกย่าง ราคามนั ก็นอ้ ยลง
อารมณ์ท้ังหลายนน้ั เป็นอารมณ์ที่ไมม่ รี าคาแล้ว
ของท่ีไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไม เก็บมันไว้ก็เหมือนผ้าเราขาด ก็เอามา
เช็ดหม้อข้าวเอามาเช็ดเท้าเท่านั้น เห็นอารมณ์ท้ังหลายมันก็สม่ำเสมอกันอย่างนั้น
มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นสามัญลักษณะ มีอะไรก็เสมอกันอย่างน้ัน เม่ือเราเห็น
อารมณ์ทกุ อยา่ งเปน็ เช่นนั้น เรากเ็ ห็นโลก โลกน้ันคืออารมณ์ อารมณ์น้ันก็คอื โลก
เราไม่หลงอารมณ์ก็ไม่หลงโลก ไม่หลงโลกเราก็ไม่หลงอารมณ์ เมื่อจิตเป็น
เช่นน้ี จิตก็มีที่อาศัย จิตก็มีรากฐาน จิตก็มีปัญญาหนาแน่น จิตอันน้ีจะมีปัญหา
น้อย แก้ปัญหาได้ทุกประการ เมื่อปัญหามันหมดไป ความสงสัยมันก็หมดไป อย่างน้ี
ความสงบมันก็ข้ึนมาแทน อันนี้เรียกว่าการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติกันจริงๆ ก็ต้องเป็น
อยา่ งน้ัน.
เรอ่ื งกายก็ด ี เรื่องจติ กด็
ี
ดแู ลว้ ก็ใหร้ วมเป็นเรอ่ื งอนจิ จงั
เปน็ เรื่องทกุ ขัง เปน็ เร่อื งอนัตตา
๑๖
สั ม ม า ส ม า ธิ
ให้เราเข้าใจในการปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่นพระพุทธเจ้าของเรา ท้ัง
ปฏิปทาก็ตาม ท้ังอุบายแนะนำพร่ำสอนสาวกท้ังหลายก็ตาม ให้เอาตัวอย่าง
พระพุทธเจ้าท่านสอนข้อปฏิบัติเป็นอุบายให้เราละถอนทิฏฐิมานะ ไม่ใช่ว่า
ท่านปฏิบัติให้เรา เมื่อเลิกจากการฟังแล้วเราต้องมาสอนตัวเอง มาปฏิบัต
ิ
ตัวเอง ผลมันเกิดข้ึนตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นตรงที่ท่านสอน ท่ีท่านสอนเรา
นั้นเราเพียงแต่เข้าใจ แต่ว่าธรรมะน้ันยังไม่มีในใจ เพราะอะไร เพราะเรา
ยังไม่ไดป้ ฏิบัติ คือยังไม่ได้ส่ังสอนตวั เรา พูดตรงๆ แล้วก็คือ ธรรมะนี้เกิด
ที่การกระทำ จะรู้ก็อยตู่ รงทก่ี ารกระทำ จะสงสยั ก็อยู่ตรงท่ีการกระทำ