The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ขันธะวิมุติ สะมังคีธรรมะ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-15 16:53:39

ขันธะวิมุติ สะมังคีธรรมะ

ขันธะวิมุติ สะมังคีธรรมะ

Keywords: ขันธะวิมุติ สะมังคีธรรมะ

ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

ขันธะวมิ ุตสิ ะมงั คธี รรมะ

พระภรู ทิ ัตโต (หมน่ั ) วัดสระประทุมวัน เป็นผแู้ ตง่

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ ๏ บัวบุญ บ เปอื้ นปถวิถม

มละตม บ เตอะตา
ผุ ดผ าดสะ อ าดป ร ะ ดุจ ะอา- วุธะจัด ป ระหัตมาร
ต ้ อ งแสงอุ ษา อุบ ละส าย ก็ข ยาย สุคนธ์ธาร
เ ฉ ก เ ท ว ธั ม ม ะ ข ณ ะ ซ่าน ม ธุสังฆโส ภ ณ
บั ว บ าน ป ร ะ ท านพระป ฏิสัม - ภิทธรรม ธุด งค์ด ล
ห อ ม ศี ล สั งว ร วิ ม ล มิส ะทก ส ภ าพธรรม

คื อ พุทธส าว ก ส ก ล- ลอนนต์อุบ ายน�ำ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
เ น้ื อ น าป ระส ากุศลก รรม -มเก ษ มส ว่างเรือ ง
นิ ทเทศนิทานนิทัศนัย นิรภัย ณ ใจ เมือง
ห อ ม ก รุ ่ น กรุณกิจ ะเนือง นิจะเฉก สุเกส ร
มั่ น เถิด พระธรรม ว ทะว รัญ- ญุว ลัญชะราว พร
มั่ นจิ ต สนิทอนิจจ ะช้อน ทุกข ะชัด อนัตตา
บั วบ านเพราะบุญบ รม พุทธ- ธวิสุทธศาส ด า
ห อ ม ม่ั น นิรันตรศรา- พก ะแท้ส ถิตนาม
มั่ น อยู่พระภูริทัตตเถ - ระส ะท้อนเส ถีย ร ง าม
แก ้ ว ธาตุ ป ระกาศพระคุณะว าม วิยะแก ้ว ป ระดับ ใจ
ก า ยก้ม ป ระนม กรป ระณต บ มิลด มิราไกล
ก อ บ ธร ร มป ระจ�ำ ณ หฤ ทัย ป ฏิบัติบูชา
บั วธรรมสิย้�ำกม ลก ล่ิน จ ะป ระท่ินป ระเทื อ ง ตา
เ บิ ก บ าน ผส านจิตตส ถา- ว รมั่นนิรันด ร๚๛


ป ระพันธ์โดย
ผศ.ดร.ชัช พล ไชยพร

ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

ค ปรารภ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

ในการประชมุ ใหญส่ มยั สามญั ขององคก์ ารการศกึ ษา วทิ ยาศาสตร์ และวฒั นธรรมแหง่ สหประชาชาติ
(ยูเนสโก) คร้ังที่ ๔๐ เม่อื วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ได้มมี ติรับรองการร่วมเฉลมิ ฉลองวาระครบรอบ
๑๕๐ ปีชาตกาล พระอาจารย์มัน่ ภูรทิ ตฺโต วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓ โดยประกาศยกย่องใหเ้ ปน็ บคุ คล
สำ� คญั ของโลก สาขาสนั ตภิ าพ
ในการน้ี กระทรวงวฒั นธรรม โดยกรมการศาสนา รว่ มกบั กระทรวงศกึ ษาธิการ คณะสงฆ์ และ
องคก์ ารการศกึ ษา วทิ ยาศาสตร์ และวฒั นธรรมแหง่ สหประชาชาติ (สำ� นักงานกรุงเทพ ฯ ) ไดก้ �ำหนดให้
วดั ปทมุ วนารามซง่ึ เปน็ วดั ทม่ี คี วามเกยี่ วขอ้ งกบั พระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ตเปน็ สถานทจี่ ดั พธิ ปี ระกาศเกยี รตคิ ณุ
ในวนั ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓ อนั เป็นวันครบรอบ ๑๕๐ ปี แหง่ ชาตกาลของพระอาจารยม์ ัน่ ภูรทิ ตโฺ ต โดย
กราบทูลอาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เสดจ็ เปน็ องค์ประธานในพิธี และในโอกาสเดยี วกันน้ี มหาเถรสมาคม ในการประชมุ คร้ังที่ ๓๐/๒๕๖๒ ได้
มีมติให้วัดในราชอาณาจักรและวัดไทยในต่างประเทศจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมสันติภาพ
ในวันดงั กลา่ วดว้ ย
เพ่ือเป็นการเฉลิมฉลองในวาระอันส�ำคัญดังกล่าว วัดปทุมวนารามและคณะกรรมการจัด
งานได้จัดให้มีกิจกรรมมหาเถรบูชา เพ่ือสืบสานปฏิปทาและเผยแพร่เกียรติคุณของพระอาจารย์มั่น

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ ระหวา่ งวนั ที่ ๑๗ – ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓ ประกอบดว้ ยพธิ บี ชู าพระรตั นตรัย พิธีบ�ำเพ็ญกุศลอทุ ิศถวาย
พระเถระบรู พาจารย์ พธิ อี ญั เชญิ อฐั ธิ าตพุ ระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต แหบ่ ชู านำ� ขนึ้ ประดษิ ฐานบนกฏุ พิ พิ ธิ ภณั ฑ์
การจดั ปฏบิ ตั ธิ รรมโดยอาราธนาพระเถระกรรมฐานสายวดั ปา่ มาแสดงธรรมนำ� ปฏบิ ตั แิ ละรบั อาหารบณิ ฑบาต
และการจัดพธิ ปี ระกาศเกียรติคุณบุคคลส�ำคญั ของโลก
นอกจากนี้ ยังได้จัดเผยแพรเ่ กยี รตปิ ระวัตแิ ละแนวคำ� สอนผ่านผลงานแนววชิ าการและธรรมคีตา
ร่วมสมัย ได้แก่ การจดั นทิ รรศการแสดงบรเิ วณมณฑลพิธีงาน การจัดพิมพห์ นงั สือทีร่ ะลึก และการจัดท�ำ
ผลงานศิลปะเพลงธรรมะ หรือธรรมคีตาเก่ยี วกับเรื่องราวประวัติ ปฏปิ ทา และแนวคำ� สอน เพื่อจดั แสดง
และเผยแพร่ผา่ นชอ่ งทางสื่อสารสังคมต่าง ๆ
เนื่องจากวัดปทุมวนารามเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับพระอาจารย์ม่ัน ภูริทตฺโต คือเป็นวัด
ทที่ า่ นเคยพำ� นกั จำ� พรรษา เมอ่ื ครงั้ จารกิ มาศกึ ษาธรรมทกี่ รงุ เทพมหานคร และใชเ้ ปน็ จดุ แวะพกั ตงั้ ตน้ กอ่ น
จารกิ ธดุ งคไ์ ปทางภาคเหนอื และภาคตะวนั ตก ฉะนน้ั จงึ ปรากฏรอ่ งรอยอนั เปน็ อนสุ รณส์ ถานของทา่ นอยทู่ นี่ ่ี
คือ กุฏิที่เคยพ�ำนัก ซึ่งวัดปทุมวนารามได้ถือโอกาสแห่งวาระการเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๕๐ ปีชาตกาล
ของทา่ น ดำ� เนนิ การปรบั ปรงุ และจดั เปน็ พพิ ธิ ภณั ฑเ์ ชงิ นทิ รรศการถาวรเพอื่ เปน็ แหลง่ ศกึ ษาเรยี นรหู้ ลกั ธรรม
คำ� สอนขององคส์ มเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ผา่ นการเรยี งรอ้ ยเรอื่ งราวอนั เปน็ วถิ ชี วี ติ ของพระอาจารยม์ น่ั
ภูรทิ ตฺโต พระสงฆ์สาวกผ้ไู ดร้ ับการยกยอ่ งใหเ้ ปน็ บคุ คลสำ� คัญของโลก
ในการจัดงานฉลอง ๑๕๐ ปีชาตกาลและประกาศเกียรติคุณพระอาจารย์ม่ัน ภูริทตฺโต บุคคล
สำ� คญั ของโลกในครงั้ นี้ วดั ปทมุ วนารามและคณะกรรมการจดั งานไดร้ บั การอปุ ถมั ภด์ ว้ ยดจี ากผมู้ จี ติ ศรทั ธา

ในทุกภาคสว่ น ท�ำใหก้ ารจัดงานในภาพรวมเปน็ ไปด้วยความเรยี บร้อย งดงาม สมวาระสำ� คัญ สรรพกศุ ล
ที่ทุกฝ่ายได้มุ่งหมายบ�ำเพ็ญให้เป็นไปในการนี้ นอกจากจะเป็นปฏิบัติบูชาต่อพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
พระมหาเถระผเู้ ปน็ ปชู นยี าจารยค์ นสำ� คญั ของโลกแลว้ ยงั เปน็ ประหนง่ึ สกั การะวรามสิ ทบ่ี รรดาผมู้ จี ติ ศรทั ธา
ทั้งหลายได้บรรจงจัดถวายเป็นเครื่องหมายแสดงการเชิดชูคุณูปการและจุนเกียรติคุณของท่านให้ยืนยง
แผ่ไพศาล เป็นมหาเจดีย์อันเรืองรองของชาวพุทธ ที่ตระหง่านน�ำการเดินทางของชาวโลกสู่สันติภาพ
ทั้งภายในภายนอกตลอดไป
หนงั สอื อนั มชี อ่ื วา่ “ขนั ธะวมิ ตุ สิ ะมงั คธี รรมะ” น้ี เปน็ ธรรมลขิ ติ ลายมอื ของพระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ตโฺ ต ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ซึ่งท่านได้เขียนแต่งไว้เอง เม่ือครั้งจ�ำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม ถือเป็นมรดกธรรมลายมือเพียงชิ้นเดียวท่ี
ปรากฏอยใู่ นปจั จบุ นั เปน็ เอกสารชนิ้ สำ� คญั และทรงคณุ คา่ ยงิ่ ทง้ั ในมติ ทิ างประวตั ศิ าสตรแ์ ละพระพทุ ธศาสนา
จึงขออนุโมทนาสาธุการต่อมูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จ�ำกัด (มหาชน) โดยคุณเจริญ
คุณหญงิ วรรณา สิรวิ ัฒนภักดี และครอบครัว ท่ไี ด้มศี รทั ธาจัดพมิ พเ์ ผยแพร่เปน็ วทิ ยาทานต่อสาธารณชน
เป็นกศุ ลเจตนาที่จะชว่ ยกันรกั ษาและเผยแพร่มรดกธรรมช้ินนใี้ หม้ ีปรากฏตลอดไป
ขอผลแห่งกุศลวิทยาทานท่ีมูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จ�ำกัด (มหาชน) โดย
คณุ เจรญิ คณุ หญงิ วรรณา สริ วิ ฒั นภกั ดี และครอบครวั ไดบ้ ำ� เพญ็ เปน็ มหาเถรบชู าน้ี จงเปน็ กศุ ลวธิ บี ชู าเปน็
ไปเพอ่ื สบื สานรกั ษาปฏปิ ทารอยธรรมของพระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ตโฺ ต ใหส้ ถติ สถาพรเปน็ อากรแหง่ สนั ตภิ าพ
ตราบเท่ากลั ปาวสาน
พระธรรมธชั มนุ ี
เจ้าอาวาสวดั ปทุมวนาราม
กรรมการมหาเถรสมาคม
ประธานอำ� นวยการจดั งาน

ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

ค ปรารภในการจดั พมิ พค์ รั้งแรก ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

วดั ปทมุ วนาราม เปน็ พระอารามหลวงฝา่ ยอรญั วาสี ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรง
สถาปนาขึน้ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๐๐ ณ บรเิ วณพ้ืนทชี่ านพระนครด้านทศิ ตะวนั ออก เขา้ ใจว่าในพระชนมชพี ทรง
สถาปนาพระอารามลกั ษณะนขี้ ึ้น ๒ แห่ง คือ วัดบรมนิวาส และวดั ปทมุ วนาราม ท้ังสองพระอารามอยู่
ในอาณาบริเวณใกลเ้ คยี งกัน เล่ากันว่า เม่ือพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว เสดจ็ มาประทับแรม
ยังพระราชวังปทุมวัน มักประทับทรงพระกัมมัฏฐานในพระคูหาจ�ำลองที่ทรงโปรดให้สร้างในพระราชวัง
ปทมุ วนั นน้ั
พระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ เปน็ ผู้มเี กียรตศิ พั ทเ์ ปน็ ท่ีเลือ่ งลือในด้านสอนพระ
กัมมัฏฐาน พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐานอย่างพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ก็เข้ามา
ศกึ ษากบั ทา่ นรปู น้ี ถงึ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ผทู้ รงเปน็ ประทปี แหง่ พระพทุ ธ
ศาสนา เป็นจอมทัพธรรมแหง่ กรงุ รตั นโกสินทร์ กท็ รงประทานการยกย่องทา่ นรปู นี้อยมู่ าก ถึงกับได้ทรง
รจนาหนังสือสมถกัมมัฏฐาน ประทานเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของพระปัญญาพิศาลเถร
(สิงห)์ ซึ่งหนงั สือดงั กลา่ วได้ใชเ้ ป็นต�ำราประกอบหลกั สูตรนกั ธรรมช้นั เอกอยู่ในเดยี วน้ี
สันนษิ ฐานว่า ท่านพระอาจารยม์ ัน่ ภูรทิ ตโฺ ต คงจะได้เริม่ เขา้ มาพ�ำนกั ยงั วัดปทุมวนารามตง้ั แตย่ ุค
ของทา่ นเจา้ อาวาสรปู นี้ สว่ นจะถงึ กบั ไดม้ าศกึ ษาเรยี นรดู้ า้ นสมถะดบั ทา่ นรปู นห้ี รอื ไมน่ น้ั ยงั ไมแ่ นใ่ จ แตไ่ ด้
มสี หธรรมิกซึ่งคุน้ เคยมากอย่ทู ี่น่ี ๒ รปู เคยเดนิ ธดุ งคแ์ ละจำ� พรรษาร่วมกนั ในเขตประเทศลาวและพมา่ ซงึ่
ต่อมาไดเ้ จริญรุ่งเรืองจนไดเ้ ปน็ เจ้าอาวาสวัดน้ี คอื พระปญั ญาพิศาลเถร (หนู ตปญฺโ) อดีตเจ้าอาวาสรูป
ที่ ๕ และพระธรรมปาโมกข์ (บญุ มั่น มนฺตาสโย) อดตี เจ้าอาวาสรปู ที่ ๖

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของท่านหลายรูปเป็นสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกของวัดปทุมวนาราม เช่น
พระวิสุทธิรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม พระราชสังวรญาณ (พุธ านิโย)
วดั ปา่ สาลวนั พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุก สุจติ โต) วัดปา่ สุทธาวาส เปน็ ต้น จึงเท่ากบั ว่า วัดปทมุ วนาราม
มคี วามผกู พนั กบั ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต ทง้ั ในฐานะสถานทเี่ คยจำ� พรรษา สำ� นกั ของสหธรรมกิ และ
ของศิษย์
ในขณะจำ� พรรษาทว่ี ดั ปทมุ วนาราม ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต ไดม้ อบมรดกธรรมชนิ้ สำ� คญั ไว้
คือ ขันธวมิ ตุ ิสมงั คธี รรม ซึ่งเปน็ ธรรมบรรยายลายมือขององค์ทา่ น อนั เป็นหลักฐานลายมอื เพียงชนิ้ เดียวท่ี
ปรากฏอยูใ่ นปัจจุบนั ในบนั ทึกลายมอื ฉบบั น้นั องค์ทา่ นระบุวา่ “พระภูรทิ ตั โต (หมั่น) วดั สระประทมุ วัน
เป็นผ้แู ต่ง”
ในสายพระปา่ กมั มฏั ฐาน ถน่ิ ทอี่ ยขู่ องครบู าอาจารยจ์ ะถอื กนั วา่ เปน็ มงคลสถานสงู สดุ ครบู าอาจารย์
สายพระกัมมัฏฐานหลายรูปจะกล่าวถึงวัดปทุมวนารามในฐานะ “วัดของครูบาอาจารย์” แม้พระธรรม-
วิสุทธมิ งคล (หลวงตามหาบัว าณสมปฺ นโฺ น) แหง่ วัดปา่ บา้ นตาด หากพระภกิ ษุสามเณรวดั ปทุมวนาราม
ไปกราบสักการะจะเมตตาปรารภเสมอว่า “วัดสระประทุมวัน เป็นวดั พอ่ แมค่ รบู าอาจารย์”
ในวาระ ๑๔๙ ปชี าตกาลของทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ตโฺ ต ซงึ่ ไดเ้ วยี นมาครบในวนั ท่ี ๒๐ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ วัดปทมุ วนารามร่วมกับหน่วยงานภาคราชการและเอกชน คอื กรมการศาสนา กระทรวง
วัฒนธรรม และบริษัทเอม็ เคเรสโตรองต์ กรุ๊ป จ�ำกดั (มหาชน) รวมท้ังภาคประชาชน ได้จดั กจิ กรรมเฉลมิ
ฉลองเพ่ือเปน็ การระลึกถงึ คุณปู การของทที่ า่ นพระอาจารยม์ ่นั ภูรทิ ตฺโต ท่มี ีตอ่ มนษุ ยชาติ โดยตลอดชวี ติ
ของท่านการจาริกเทศนาสงั่ สอนประชาชนในภูมภิ าคตา่ ง ๆ ของประเทศ รวมทงั้ ประเทศใกล้เคียงอย่าง

ลาวและพม่า สร้างปรากฏการณ์ที่น�ำไปสู่การตื่นตัวต่อการศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ในวงกว้าง มีนัยต่อการขยายตัวและความมั่นคงแห่งสันติธรรม สันติภาพ และสันติสุขโดยรวมของมวล
มนษุ ยชาติ ทั้งในระดบั ภูมิภาคและในโลก
การจดั กจิ กรรมร�ำลกึ ในวาระ ๑๔๙ ปชี าตกาลของท่านพระอาจารย์มัน่ ภูรทิ ตโฺ ต ประกอบไปดว้ ย
พธิ สี วดมนตท์ ำ� วตั รบชู าพระรตั นตรยั พธิ บี ำ� เพญ็ กศุ ลอทุ ศิ ถวายบชู าพระคณุ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต
การจัดนทิ รรศการตามรอยประวัติ การจดั ปฏิบัตธิ รรมฟังพระธรรมเทศนาจากพระเถระผสู้ บื สานปณิธาน
และปฏปิ ทาจากทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต และการจดั พมิ พห์ นงั สอื เปน็ ธรรมวทิ ยาทาน จำ� นวน ๒ เลม่
ประกอบดว้ ย หนังสอื ประวัตพิ ระอาจารย์มั่น ภูริทตโฺ ต ตอนจำ� พรรษาวัดปทุมวนาราม กรงุ เทพมหานคร
ฉบับการ์ตูน และหนังสือขันธิวิมุติสมังคีธรรม เพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติประวัติและเกียรติคุณของท่าน
พระอาจารย์ม่นั ภรู ทิ ตโฺ ต ให้ยนื ยงแผไ่ พศาล โดยความอปุ ถมั ภข์ องบริษทั เอ็มเคเรสโตรองต์ กร๊ปุ จำ� กดั
(มหาชน) ซึง่ ตอ้ งขออนโุ มทนาสาธุการไว้ ณ โอกาสนี้
ในนามของพุทธบรษิ ัททั้งปวง ขอนอบนอ้ มบูชาและรำ� ลึกถงึ คณุ ปู การอนั ย่งิ ใหญ่บรสิ ทุ ธิ์ของท่าน
พระอาจารยม์ ัน่ ภรู ิทตฺโต ที่มตี ่ออดีตชน ปัจจุบนั ชน และอนชุ นท้ังหลาย ปฏปิ ทาและคุณูปการของท่าน
พระอาจารยจ์ ะถกู จารกึ เปน็ ความทรงจำ� ของมวลมนษุ ยชาติตลอดไป

พระธรรมธัชมนุ ี
เจ้าอาวาสวัดปทมุ วนาราม
ประธานคณะกรรมการจดั งาน

สารบัญ ๐๐

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ ค ปรารภ
ค ปรารภในการจัดพิมพ์ครง้ั แรก

๐๑

ขนั ธะวมิ ตุ ิสะมงั คธี รรมะ

๑๐

ชวี ประวัติ
ของ พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ัตตเถร
๑๒ ชาติสกลุ
๑๒ รูปร่างลกั ษณะและนสิ ยั
๑๓ การบรรพชา
๑๓ การอปุ สมบท

๑๔ สุบินนิมิต ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
๑๕ สมาธนิ มิ ิต
๒๐ ปฏิปทา
๒๒ กจิ วัตรประจ วัน
๒๓ บ บดั อาพาธด้วยธรรมโอสถ
๒๖ ค เตอื นสตศิ ษิ ยผ์ ้อู อกแสวงหาวิเวก
๒๖ ส เรจ็ ปฏสิ มั ภิทานุสาสน์
๒๙ ไตรวธิ ญาณ
๓๐ คตพิ จน์
๓๐ บ เพญ็ ประโยชน์
๓๒ ปัจฉมิ สมัย

๓๖

ขนั ธะวมิ ตุ สิ ะมังคีธรรมะ (ฉบบั ลายมือ)

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๑

ขนั ธะวมิ ุติสะมังคีธรรมะ

นะมัตถุ สคุ ตสั สะ ปญั จะธรรมะขนั ธานิ

ข้ าพเจา้ ขอนอบนอ้ มซง่ึ พระสคุ ตบรมศาสดาสกั ยมนุ ี สมั มาสมั พทุ ธเจา้ และพระนวโลกตุ ตรธรรม

๙ ประการแลอรยิ สงฆส์ าวก
บัดน้ี ข้าพเจา้ จกั กล่าวซึ่งธรรมะขันธ์โดยสังเขป ตามสติปญั ญา ฯ
ยังมที า่ นคนหนง่ึ รักตัวคิดกลวั ทกุ ข์ อยากไดส้ ขุ พน้ ภยั เท่ยี วผายผนั เขาบอกวา่ สขุ มที ไ่ี หนก็อยาก
ไป แต่เทีย่ วหม่นั ไปมาอย่ชู ้านาน นิสยั ทา่ นนน้ั รกั ตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ ๆ เรื่องแก่ตาย วันหน่ึง
ท่านรู้จรงิ ทง้ิ สมุทยั พวกสงั ขาร ทา่ นก็ปะถ้�ำสนุกสขุ ไม่หายเปรยี บเหมอื นดังกายนเี้ อง ฯ
ชะโงกดูถ้�ำสนุกทุกข์ทลาย แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบาท�ำเมินไปเมินมาอยู่หน้าเขา จะกลับ
ไปป่าวรอ้ งซ่งึ พวกพ้องเล่า กก็ ลัวเขาเหมาวา่ เปน็ บ้าบอ ส้อู ยูผ่ เู้ ดียวหาเรอื่ งเครอ่ื งสงบ เปน็ อันจบเรื่องคดิ
ไม่ตดิ ต่อ ดีกวา่ เทย่ี วรมุ่ ร่ามทำ� สอพลอ เด๋ยี วถกู ยอถูกตเิ ป็นเรื่องเครื่องร�ำคาญ ฯ
ยงั มบี รุ ุษคนหน่งึ อีก กลัวตายน�ำ้ ใจฝ่อ มาหาแล้วพดู ตรง ๆ น่าสงสาร ถามวา่ ทา่ นพากเพยี รมาก็
ชา้ นาน เห็นธรรมที่แทจ้ ริงแลว้ หรือยังท่ใี จหวัง เอะ๊ ท�ำไมจึงร้ใู จฉัน บรุ ษุ ผนู้ ้ันกอ็ ยากอยอู่ าศยั ทา่ นว่าดี ๆ
ฉนั อนโุ มทนา จะพาดูเขาใหญ่ถ�้ำสนกุ ทุกข์ไมม่ ี คือ กายะคะตาสติภาวนา ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน
หนทางจรอริยวงศ์จะไปหรือไม่ไปฉันไมเ่ กณฑ์ ใชห่ ลอกเลน่ บอกความให้ตามจริง

แลว้ กล่าวปฤษณาท้าให้ตอบ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ปฤษณานั้นวา่ ระวึง คอื อะไร ?
ตอบวา่ วิ่งเรว็ คือวญิ ญาณอาการไว เดนิ เป็นแถวตามแนวกัน สัญญาตรงไม่สงสยั ใจอยู่ในวิ่งไป
มา สญั ญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิต ทำ� ให้คดิ วุ่นวายเทย่ี วส่ายหา หลอกเป็นธรรมตา่ ง ๆ อย่างมายา
ถามวา่ ขันธห์ ้า ใครพ้นจนท้ังปวง ?
แก้วา่ ใจซิพ้นอย่คู นเดยี ว ไม่เกาะเก่ียวพวั พันตดิ สิ้นพษิ หวง หมดท่หี ลงอยเู่ ดียวดวง สญั ญาลวง
ไมไ่ ดห้ มายหลงตามไป
ถามวา่ ทีว่ ่าตาย ใครเขาตาย ทไี่ หนกัน ?
แก้ว่า สงั ขารเขาตาย ทำ� ลายผล
ถามว่า สิง่ ใดก่อใหต้ อ่ วน ?
แก้ว่า กลสญั ญาพาให้เวียน เช่อื สญั ญาจงึ ผดิ คดิ ยนิ ดี ออกจากภพนีไ้ ปภพน้นั เทยี่ วหนั เหียน เลย
ลมื จติ จ�ำปิดสนิทเนียนถงึ จะเพยี รหาธรรมก็ไม่เหน็
ถามว่า ใครก�ำหนดใครหมายเป็นธรรม ?
แก้ว่า ใจก�ำหนดใจหมายเร่อื งหาเจ้าสญั ญานนั้ เอง คอื วา่ ดี ควา้ ช่วั ผลัก ตดิ รัก ชัง
ถามว่า กนิ หนเดียวไมเ่ ทีย่ วกิน ?
แกว้ ่า สน้ิ อยากดรู ู้ไม่หวงั ในเรอ่ื งเหน็ ต่อไปหายรงุ รัง ใจกน็ ่งั แทน่ นิ่งท้งิ อาลัย



ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๓

ถามว่า สระส่เี หลีย่ มเปย่ี มด้วยนำ้� ?
แก้ว่า ธรรมสน้ิ อยากจากสงสยั สะอาดหมดราคีไมม่ ภี ยั สญั ญาในนน้ั พราก สังขารนั้นไม่กวน ใจ
จงึ เปย่ี มเตม็ ท่ี ไมม่ พี รอ่ งเงยี บระงบั ดวงจติ ไมค่ ดิ ครวญ เปน็ ของควรชมชน่ื ทกุ คนื วนั แมไ้ ดส้ มบตั ทิ พิ ยส์ กั สบิ
แสน ก็ไม่เหมอื นรู้จริงทง้ิ สังขาร หมดความอยากเป็นย่ิงสงิ่ สำ� คัญ จ�ำอย่สู ่วนจ�ำ ไม่ก้ำ� เกิน ใจไมเ่ พลนิ ท้ังส้ิน
หายด้นิ รน
เหมือนดงั เอากระจกส่องเงาหน้า แล้วอยา่ คดิ ตดิ สัญญาเพราะสญั ญาน้ันเหมอื นดงั เงา อย่าได้เมา
ไปตามเร่ืองเคร่ืองสังขาร ใจหยับจับใจท่ีไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยงของใจใช่ต้องว่า
รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตไหว แต่ก่อนน้ันหลงสัญญาว่าเป็นใจ ส�ำคัญว่าในว่านอกจึงหลอกลวง คราวนี้ใจ
เปน็ ใหญไ่ มห่ มายพึง่ สญั ญาหนงึ่ สัญญาใดมิได้หวง เกดิ ก็ตามดบั ก็ตามสงิ่ ท้ังปวง ไมต่ ้องหวงไม่ต้องกันหมู่
สัญญา เปรียบเหมือนข้ึนยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน แลเห็นส้ินทุกตัวสัตว์...สูงยิ่งนักแลเห็นเร่ืองของตนแต่
ตน้ มา เป็นมรรคาท้งั น้ันเชน่ บันได
ถามวา่ น้ำ� ข้ึนลงตรงสจั จงั น้นั หรอื ?
ตอบว่า สังขารแปรแก้ไม่ได้ ธรรมดากรรมแตง่ ไมแ่ กลง้ ใคร ขนื ผลกั ไสจับตอ้ งก็หมองมวั ชัว่ ในจติ
ไม่ต้องคิดขัดธรรมดาสภาวะสิ่งเป็นจริง ดีชั่วตามแต่เร่ืองของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเป็นการ
เย็น ร้จู กั จรงิ ต้องทิ้งสงั ขารที่ผนั แปรเมอื่ แลเหน็ เบ่ือแล้วปลอ่ ยได้คล่องไมต่ อ้ งเกณฑ์ ธรรมก็เย็นใจระงับรับ
อาการ
ถามวา่ หา้ หนา้ ที่ มคี รบกนั ?

ตอบว่า ขนั ธ์แบ่งแจกแยกห้าฐานเร่อื งสงั ขาร ต่างกองรับหนา้ ทม่ี ีกิจการ จะรบั งานอืน่ ไม่ไดเ้ ตม็ ใน ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ตัว แม้ลาภยศ สรรเสริญ เจริญสุข นินทา ทกุ ข์ เสอื่ มยศ หมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเปน็ จริง ท้งั
แปดอย่างใจไมห่ ันไปพัวพนั เพราะว่ารูปขันธก์ ็ทำ� แก่ไข้มิได้เว้น นานกม็ ไิ ดพ้ ักเหมอื นจกั รยนต์ เพราะรบั
ผลของกรรมที่ท�ำมา เร่ืองดีพาเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุด เหมือนไฟจุดจิตหมองไม่
ผ่องใส นกึ ขน้ึ เองทงั้ รักทั้งโกรธไปโทษใคร
อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชยเช่นไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่
เป็นหน่ึงหวังพึ่งเฉย จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นคร้ังคราว ถ้ารู้เท่าธรรมดาท้ัง
หา้ ขนั ธ์ ใจน้ันกข็ าวสะอาดหมดมลทนิ สนิ้ เรอ่ื งราว ถ้ารไู้ ด้อย่างนี้จึงดยี งิ่ เพราะเห็นจรงิ ถอนหลุดสุดวถิ ี ไม่
ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้
ตามใจหมาย ใจไม่เท่ียงของใจไหววิบวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่ง เล็กบังใหญ่รู้ไม่ทัน ขันธ์บังธรรมมิดผิด
ท่ีนี่ มัวดูขนั ธ์ธรรมไม่เห็นเป็นธุลไี ป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธน์ น้ั ไมแ่ ล
ถามว่า มีไม่มี ไม่มมี ี น่ีคืออะไร ?
ทนี ต้ี ดิ หมด คดิ แกไ้ มไ่ หว เชญิ ชใ้ี ห้ชดั ทง้ั อรรถแปล โปรดแกเ้ ถดิ ที่ว่าเกดิ มีตา่ ง ๆ ทั้งเหตผุ ล แลว้
ดับไมม่ ีชัดใชส่ ัตวค์ น นีข้ อ้ ตน้ มีไมม่ อี ยา่ งน้ีตรง ขอ้ ปลายไม่มมี ี นี้เปน็ ธรรมทีล่ ึกล�้ำไตรภพจบประสงค์ ไม่มี
สงั ขาร มีธรรมที่มั่นคง
น้ันแล องคธ์ รรมเอก วเิ วกจรงิ ธรรมเปน็ ๑ ไมแ่ ปรผัน เลิศภพสงบยง่ิ เปน็ อารมณ์ของใจไม่ไหวตงิ



ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๕

ระงับน่ิงเงียบสงัดชัดกับใจ ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย เร่ืองพัวพัน
ขันธห์ ้าซาสน้ิ ไป เครอื่ งหมุนในไตรจักรกห็ กั ลง ความอยากใหญ่ยง่ิ ก็ทงิ้ หลุด ความรกั หยุดหายสนิทสนิ้ พษิ
หวง รอ้ นทงั้ ปวงก็หายหมดดงั ใจจง
เชญิ โปรดชี้อกี อยา่ งหนทางใจ สมทุ ยั ของจิตทปี่ ดิ ธรรม ?
แกว้ า่ สมทุ ยั กวา้ งใหญน่ กั ยอ่ ลงกค็ อื ความรกั บบี ใจอาลยั ขนั ธ์ ถา้ ธรรมมกี บั จติ เปน็ นจิ นริ นั ดร์ เปน็
เลิกกันสมุทัยมิได้มี จงจำ� ไวอ้ ยา่ งน้ีวิถีจิต ไมต่ อ้ งคิดเวยี นวนจนป่นปี้ ธรรมไมม่ อี ย่เู ปน็ นิตย์ติดยนิ ดี ใจตกที่
สมุทัยอาลยั ตวั
ว่าอย่างยอ่ ทกุ ข์กบั ธรรมประจ�ำจิต เอาจนคดิ รู้เหน็ จรงิ จึงเยน็ ท่วั จะสุขทกุ ขเ์ ทา่ ไรมิได้กลัว สร่าง
จากเครอ่ื งมัวคอื สมุทยั ไปทีด่ ี รเู้ ท่านก้ี ค็ ลายหายร้อน พอพกั ผอ่ นเสาะแสวงหาทางหนี จิตรูธ้ รรมลืมจิตท่ี
ติดธุลี ใจรู้ธรรมท่ีเป็นสขุ ขันธ์ทุกขแ์ ทแ้ น่ประจำ� ธรรมคงธรรม ขนั ธ์คงขันธ์เทา่ นัน้ และคำ� ว่าเย็นสบายหาย
เดือดรอ้ น หมายจติ ถอนจากผดิ ทต่ี ดิ แท้ แตส่ ่วนสงั ขารขนั ธ์ปราศจากสุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ตาย
ไมว่ ายวัน จิตรธู้ รรมทลี่ ำ�้ เลศิ จติ ก็ถอนจากผิดเครือ่ งเศรา้ หมองของแสลง ผิดเปน็ โทษของใจอยา่ งร้ายแรง
เหน็ ธรรมแจ้ง ถอนผดิ หมดพิษใจ จิตเห็นธรรมดีล้นทพี่ ้นผิด พบปะธรรมเปล้อื งเครอ่ื งกระสัน มีสตอิ ยใู่ น
ตวั ไม่พัวพัน เรอ่ื งรกั ขันธข์ าดสิน้ หายยนิ ดี สนิ้ ธุลที ัง้ ปวงหมดห่วงใย ถงึ จะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสยั เมอื่ ไม่หา้ ม
กลับไมฟ่ งุ้ พ้นยุ่งไป พงึ รไู้ ด้บาปมีขึ้นเพราะขืนจรงิ ตอบวา่ บาปเกิดได้เพราะไมร่ ู้ ถา้ ปดิ ประตูเขลาได้สบาย
ยิ่ง ชั่วทั้งปวงเงยี บหายไมไ่ หวตงิ ขันธท์ กุ สิ่งยอ่ มทุกขไ์ มส่ ขุ เลย

แต่กอ่ นขา้ พเจ้ามดื เขลาเหมอื นเขา้ ถำ้� อยากเหน็ ธรรมยดึ ใจจะใหเ้ ฉย ยดึ ความจำ� วา่ เป็นใจหมาย ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
จนเคย เลยเพลินเชยชม “จำ� ” ทำ� มานาน ความจำ� ผดิ ปิดไวไ้ มใ่ ห้เหน็ จงึ หลงเลน่ ขนั ธ์หา้ น่าสงสาร ใหย้ ก
ตัวอวดตนพน้ ประมาณ เท่ียวระรานติคนอืน่ เปน็ พ้นื ไปไมเ่ ปน็ ผล เทยี่ วดูโทษคนอนื่ น้นั ขื่นใจ เหมือนกอ่ ไฟ
เผาตัวตอ้ งมัวมอม
ใครผิดถูกดีช่ัวก็ตัวเขา ใจของเราเพียรระวังตั้งถนอม อย่าให้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญ
กุศลผลสบาย เห็นคนอ่ืนเขาชวั่ ตัวกด็ ี เป็นราคยี ึดขนั ธท์ ่ีมั่นหมาย ยดึ ขนั ธ์ต้องร้อนแท้เพราะแกต่ าย เลยซ้ำ�
รา้ ยกเิ ลสกลมุ้ เขา้ รมุ กวน เตม็ ทงั้ รกั ทงั้ โกรธโทษประจกั ษ์ ทง้ั กลวั นกั หนกั จติ คดิ โหยหวน ซำ้� อารมณก์ ามหา้
ก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่าง ๆ ไป
เพราะยึดขนั ธ์ทงั้ หา้ ว่าของตน จึงไม่พ้นทกุ ข์ภัยไปไดน้ า ถา้ รู้โทษของตัวแล้วอย่าชาเฉย ดูอาการ
สังขารทไี่ ม่เทีย่ งร่ำ� ไปใหใ้ จเคย คงไดเ้ ชยชมธรรมะอนั เอกวิเวกจิต ไม่เท่ียงนนั้ หมายใจไหวจากจำ� เหน็ แล้ว
ซำ�้ ดู ๆ อยู่ทีไ่ หว พออารมณน์ อกดบั ระงับไปหมดปรากฏธรรม เหน็ ธรรมแลว้ ย่อมหายวนุ่ วายจิต จิตนั้นไม่
ติดคู่จรงิ เท่านี้หมดประตู รไู้ มร่ ู้อย่างนีว้ ิถีใจ รูเ้ ท่าท่ีไม่เทีย่ ง จติ ต้นพน้ ริเริ่ม คงจิตเดิมอยา่ งเที่ยงแท้ รู้ต้นจติ
พน้ จากผิดทง้ั ปวงไม่หว่ ง ถา้ ออกไปปลายจิตผดิ ทนั ที
คำ� วา่ ทม่ี ดื นนั้ เพราะจติ คดิ หวงดี จติ หวงนปี้ ลายจติ คดิ ออกไป จติ ตน้ ดเี มอื่ ธรรมะปรากฏหมดสงสยั
เหน็ ธรรมะอันเลศิ ลำ�้ โลกา เรอ่ื งคดิ คน้ วนุ่ หามาแต่กอ่ น กเ็ ลกิ ถอนเปลอ้ื งปลดไดห้ มดสน้ิ ยงั มที กุ ข์ตอ้ งหลบั
นอนกบั กนิ ไปตามเรอื่ ง ใจเชอ่ื งชดิ ตน้ จติ คดิ ไมค่ รวญ ธรรมดาของจติ กต็ อ้ งนกึ คดิ พอรสู้ กึ จติ ตน้ พน้ โหยหวน



ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๗

เงียบสงดั จากเรอ่ื งเคร่ืองรบกวน ธรรมดาสังขารปรากฏหมดดว้ ยกัน เส่ือมทงั้ นั้นคงทไี่ ม่มเี ลย
ระวังใจเม่ือจ�ำท�ำละเอียด มักจะเบียดให้จิตไปติดเฉย ใจไม่เที่ยงของซ้�ำให้เคย เม่ือถึงเอยหากรู้
เองเพลงของใจ เหมือนดังมายาท่ีหลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูปกิเลส จ�ำแลงเพศเหมือนดังจริงที่แท้ไม่จริง
รขู้ ึ้นเองหมายนามวา่ ความเหน็ ไม่ใชเ่ ชน่ ฟังเขา้ ใจช้ันไตถ่ าม ทั้งตรกึ ตรองแยกแยะแกะรูปนาม ก็ใช่ความ
เหน็ เองจงเล็งดู รูข้ ้นึ เองใชเ่ พลงคดิ ร้ตู น้ จติ จติ ตน้ พน้ โหยหวน ต้นจิตร้ตู ัวแนว่ ่าสังขารเรอื่ งแปรปรวน ใช่
กระบวนไปดหู รอื อะไร
รอู้ ยูเ่ พราะหมายค่กู ไ็ ม่ใช่ จติ คงรู้จติ เองเพราะเพลงไหว จติ รไู้ หว ๆ กจ็ ิตติดกันไป แยกไมไ่ ดต้ าม
จรงิ สิ่งเดยี วกนั จิตเปน็ สองอาการเรยี กว่าสัญญาพาพัวพนั ไมเ่ ทยี่ งนัน้ กต็ วั เองไปเลง็ ใคร ใจรู้เส่ือมของตัวก็
พน้ มวั มดื ใจกจ็ ดื สน้ิ รสหมดสงสยั ขาดคน้ ควา้ หาเรอ่ื งเครอ่ื งนอกใน ความอาลยั ทง้ั ปวงกร็ ว่ งโรย ทง้ั โกรธรกั
เครื่องหนกั ใจก็ไปจาก เรอ่ื งใจอยากกห็ ยุดไดห้ ายหวนโหย พน้ หนกั ใจทั้งหลายโอดโอย เหมอื นฝนโปรยใจ
ใจเยน็ เห็นดว้ ยใจ ใจเยน็ เพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รูจ้ ติ ต้นปจั จุบันพน้ หวน่ั ไหว ดหี รือช่ัวทง้ั ปวงไม่หว่ งใย
ตอ้ งดบั ไปทั้งเรอื่ งเครอื่ งรุงรงั อยเู่ งียบ ๆ ต้นจิตไมค่ ดิ อา่ น ตามแต่การของจติ สิน้ คดิ หวัง ไม่ต้องวุ่นต้องวาย
หายระวงั นอนหรอื นั่งนกึ พน้ อยู่ตน้ จิต
ท่านชี้มรรคฟงั หลักแหลม ชา่ งตอ่ แต้มกวา้ งขวางสว่างไสว ยงั อีกอยา่ งทางใจไมห่ ลดุ สมุทยั ขอจง
โปรดชี้ใหพ้ ิสดารเปน็ การดี
ตอบว่า สมุทัย คือ อาลัยรัก เพลินย่ิงนักท�ำภพใหม่ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างต�่ำกามคุณห้าเป็นราคี

อย่างสูงชีส้ มุทยั อาลยั ฌาน ถา้ จับตามวถิ ี มใี นจิต กเ็ ร่ืองคดิ เพลนิ ไปในสังขาร เพลนิ ทัง้ ปวงเคยมาเสียชา้ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
นาน กลับเปน็ การดีไปใหเ้ จริญจติ ไปในส่วนท่ผี ิด กเ็ ลยแตกกงิ่ ก้านฟงุ้ ซ่านใหญ่ เที่ยวเพลนิ ไปในผดิ ไม่คิด
เขิน สิง่ ใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลนิ เพลนิ จนเกนิ ลืมตวั ไมก่ ลัวภยั
เพลินดูโทษคนอ่ืนดน่ื ดว้ ยชวั่ โทษของตัวไมเ่ หน็ เป็นไฉน โทษคนอ่นื เขามากสกั เท่าไร ไมท่ �ำให้เรา
ตกนรกเลย โทษของเราเศรา้ หมองไมต่ อ้ งมาก สง่ วบิ ากไปตกนรกแสนสาหสั หมน่ั ดโู ทษตนไวใ้ หใ้ จเคย เวน้
เสียซึง่ โทษนนั้ คงไดเ้ ชยชมสขุ พ้นทุกข์ภัย
เมอ่ื เหน็ โทษตนชัดรีบตดั ทิ้ง ท�ำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้ เร่อื งอยากดไี มห่ ยุดคอื ตัวสมุทัย เปน็ โทษ
ใหญก่ ลวั จะไมด่ นี ก้ี ็แรง ดแี ลไมไ่ ด้น้ีเปน็ พษิ ของจติ นัก เหมือนไขห้ นกั ถูกต้องของแสลง ก�ำเริบโรคด้วยพิษ
ผดิ สำ� แลง ธรรมไมแ่ จ้งเพราะอยากดนี ี้เปน็ เดิม ความอยากดมี ีมากมักลากจิต ให้เทีย่ วคดิ วุ่นไปจนใจเหมิ
สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเตมิ ผดิ ยง่ิ เพ่ิมรำ่� ไปไกลจากธรรม ท่ีจริงช้สี มุทัยนใ้ี จฉนั คร้าม ฟังเน้ือความไปข้าง
นุงทางยุ่งยง่ิ เมอื่ ชีม้ รรคฟังใจไมไ่ หวตงิ ระงบั นงิ่ ใจสงบจบกนั ที ฯ
อนั นี้ชอื่ ว่าขันธะวิมตุ ิสะมังคธี รรมะประจ�ำอย่กู บั ที่ ไม่มอี าการไปไมม่ ีอาการมา สภาวธรรมที่เปน็
จริงสง่ิ เดยี วเท่านี้ และไม่มีเรอ่ื งจะแวะเวยี น สิน้ เน้ือความแตเ่ พยี งเท่านี้ ฯ
ผิดหรือถูกจงใชป้ ัญญาตรองดูใหร้ ู้เถดิ ฯ

พระภรู ทิ ตั โต ฯ (หมนั่ )
วัดสระประทุมวนั เป็นผูแ้ ตง่ ฯ



ส มุ ทั ย คื อ อ า ลั ย รั ก
เ พ ลิ น ย่ิ ง นั ก ท� ำ ภ พ ใ ห ม่ ไ ม่ ห น่ า ย ห นี
ว่ า อ ย่ า ง ต�่ ำ ก า ม คุ ณ ห้ า เ ป็ น ร า คี
อ ย่ า ง สู ง ช้ี ส มุ ทั ย อ า ลั ย ฌ า น
ถ้ า จั บ ต า ม วิ ถี มี ใ น จิ ต
ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ ก็ เ รื่ อ ง คิ ด เ พ ลิ น ไ ป ใ น สั ง ข า ร
เ พ ลิ น ท้ั ง ป ว ง เ ค ย ม า เ สี ย ช้ า น า น
ก ลั บ เ ป็ น ก า ร ดี ไ ป ใ ห้ เ จ ริ ญ จิ ต ไ ป ใ น ส่ ว น ที่ ผิ ด
ก็ เ ล ย เแพตลกิ นกไิ่ งปกใ้ านนผฟิ ดุ้ งไ ซม่ ่าคนิ ดใเหขิญน่
เ ท่ี ย ว
ส่ิ ง ใ ด ช อ บ อ า ร ม ณ์ ก็ ช ม เ พ ลิ น
เ พ ลิ น จ น เ กิ น ลื ม ตั ว ไ ม่ ก ลั ว ภั ย

ชีวประวตั ิ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ของ

พระอาจารย์มั่น
ภูรทิ ัตตเถร

ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ ๑๑

ชวี ประวัต*ิ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ของ
พระอาจารยม์ นั่ ภูริทัตตเถร

พ ระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถร ซ่ึงเป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนา มีศิษยานุศิษย์มาก มีคน

เคารพนับถือมาก มีชีวประวตั ิควรเปน็ ทฏิ ฐานุคติแกก่ ลุ บตุ รไดผ้ ูห้ นึง่ ดังจะเลา่ ตอ่ ไปน้ี

ชาติสกุล

ทา่ นกำ� เนดิ ในสกุลแกน่ แกว้ โดยนายค�ำด้วงเปน็ บิดา นางจันทร์เปน็ มารดา เพย้ี แก่นทา้ ว เปน็ ปู่
ชาติไทย นบั ถอื พุทธศาสนา เกดิ วนั พฤหสั บดี เดอื นยี่ ปีมะแม ตรงกับวนั ท่ี ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓
ณ บา้ นค�ำบง อำ� เภอโขงเจียม จงั หวัดอุบลราชธานี มีพีน่ ้องร่วมทอ้ งเดยี วกัน ๙ คน ทา่ นเปน็ บตุ รคนหัวปี
บตุ ร ๖ คน ตายเสียแต่เลก็ ยงั เหลือนอ้ งสาว ๒ คน คนสุดทอ้ งช่ือหวนั จ�ำปาศลิ ป์

รูปร่างลกั ษณะและนิสัย

ท่านได้เรียนอกั ษรสมัยในส�ำนกั ของอา คอื เรยี นอกั ษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษร
ขอม อา่ นออกเขยี นได้ นยั วา่ ทา่ นเรียนได้รวดเร็ว เพราะมคี วามทรงจ�ำดี และมคี วามขยนั หม่ันเพยี ร ชอบ
การเล่าเรยี นศึกษา

สำ� นวน พระอริยคุณาธาร (ปสุ โฺ ส เสง็ )
ฉบบั พมิ พเ์ เจกในงานฌาปนกิจศพ พระอาจารยม์ ่ัน ภูรทิ ัตตเถร

๑๒

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๑๓

การบรรพชา

เม่ือท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในส�ำนักวัดบ้านค�ำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่
ปรากฏ ครนั้ บวชแลว้ ได้ศกึ ษาความรทู้ างพระศาสนา มีสวดมนต์และสตู รตา่ ง ๆ ในสำ� นกั บรรพชาจารย์
จดจ�ำไดร้ วดเร็ว อาจารยเ์ มตตาปราณมี าก เพราะเอาใจใส่ในการเล่าเรยี นดี ประพฤตปิ ฏิบัติเรยี บร้อย เป็น
ทไ่ี วเ้ นอ้ื เชอื่ ใจได้ เมอ่ื อายทุ า่ นได้ ๑๗ ปี บดิ าขอรอ้ งใหล้ าสกิ ขา เพอื่ ชว่ ยการงานทางบา้ น ทา่ นกไ็ ดล้ าสกิ ขา
ออกไปชว่ ยการงานของบดิ ามารดาเตม็ ความสามารถ
ทา่ นเลา่ วา่ เมอื่ ลาสกิ ขาไปแลว้ ยงั คดิ ทจ่ี ะบวชอกี อยเู่ สมอไมล่ มื เลย คงเปน็ เพราะมอี ปุ นสิ ยั ในทาง
บวชมาแต่ก่อนอยา่ งหน่ึง อกี อย่างหน่งึ เพราะตดิ ใจในค�ำสง่ั ของยายว่า “เจา้ ต้องบวชให้ยาย เพราะยาย
กไ็ ด้เล้ียงเจ้ายาก” ค�ำสั่งยายน้ี คอยสะกิดใจอยู่เสมอ

การอปุ สมบท

ครัน้ อายุทา่ นได้ ๒๒ ปี ทา่ นเล่าว่า มีความอยากบวชเปน็ กำ� ลัง จงึ อำ� ลาบดิ ามารดาบวช ท่านทั้ง
สองก็อนุญาตตามประสงค์ ท่านได้เข้าศึกษาในส�ำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถร วัดเลียบ เมืองอุบล
จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง อ�ำเภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจา
จารย์ พระครปู ระจักษ์อบุ ลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๓ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระ

อุปัชฌายะขนานนามมคธให้ว่า ภูริทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้วได้กลับมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
อาจารย์เสาร์ กนั ตสลี เถร ณ วัดเลยี บตอ่ ไป

สุบินนมิ ิต

ทา่ นเล่าวา่ เมอื่ ก�ำลังศึกษากรรมฐานภาวนาในสำ� นกั พระอาจารยเ์ สาร์ กนั ตสลี เถร ณ วดั เลียบ
จังหวดั อุบลราชธานนี ัน้ ชัน้ แรกยงั ใช้บริกรรมภาวนาวา่ พทุ โฺ ธ พุทโฺ ธ อยู่ อยมู่ าวันหนึง่ จะเป็นเวลาเทยี่ งคนื
หรอื อยา่ งไรไมแ่ น่ บงั เกดิ สบุ นิ นมิ ติ วา่ ไดเ้ ดนิ ออกจากหมบู่ า้ น ๆ หนงึ่ มปี า่ เลยปา่ ออกไปกถ็ งึ ทงุ่ เวงิ้ วา้ งกวา้ ง
ขวาง จึงตามทุ่งไปได้เหน็ ตน้ ชาติต้นหน่งึ ท่ีบุคคลตดั ให้ลม้ ลงแล้ว ปราศจากใบ ตอของต้นชาติ สูงประมาณ
๑ คืบ ใหญ่ประมาณ ๑ อ้อม ทา่ นขึ้นสขู่ อนชาติน้ัน พจิ ารณาดอู ย่รู ูว้ ่าผพุ งั ไปบ้าง และจกั ไมง่ อกข้ึนได้อกี
ในขณะทกี่ ำ� ลังพจิ ารณาอยู่นั้นมีมา้ ตวั หนึง่ ไมท่ ราบว่ามาจากไหน มาเทยี มขอนชาติ ท่านจึงขึ้นขม่ี ้าตวั นั้น
ม้าพาวง่ิ ไปทางทศิ ตะวนั ออกเฉียงเหนืออยา่ งเต็มฝีเท้า ขณะท่มี ้าวง่ิ ไปนั้น ไดแ้ ลเหน็ ตใู้ บหน่ึงเหมือนตพู้ ระ
ไตรปฎิ กตั้งอยขู่ า้ งหน้า ตู้นน้ั วิจติ รดว้ ยเงินสีขาวเล่ือมเป็นประกายผ่องใสยิ่งนัก ม้าพาวิง่ เข้าไปสตู่ ู้น้ัน ครน้ั
ถึงม้าก็หยดุ และหายไป ท่านลงจากหลงั มา้ ตรงตพู้ ระไตรปฎิ กนัน้ แตม่ ิไดเ้ ปดิ ดตู ไู้ ม่ทราบว่ามอี ะไรอยู่ใน
น้ัน แลดไู ปขา้ งหน้าเหน็ เป็นป่าชัฏเตม็ ไปดว้ ยขวากหนามตา่ ง ๆ จะไปต่อไปไม่ได้เลย รู้สกึ ตัวตนื่ ขนึ้
สุบินนิมิตนี้ เป็นบุพนิมิตบอกความม่ันใจในการท�ำความเพียรของท่าน ท่านจึงตั้งหน้าท�ำความ
เพียรประโยคพยายามมไิ ด้ทอ้ ถอย มีการเดินจงกรมบา้ ง น่งั สมาธบิ า้ ง ขอ้ วตั รปฏิบัตติ ่าง ๆ กม็ ไิ ด้ทอดทิ้ง

๑๔

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๑๕

คงด�ำเนินตามข้อปฏิบัติอันท่านโบราณบัณฑิตท้ังหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงบ�ำเพ็ญตามทางแห่ง
อรยิ มรรค
ครนั้ ตอ่ มา ทา่ นจงึ หวนไปพจิ ารณาสบุ นิ นมิ ติ นน้ั จงึ ไดค้ วามวา่ การทที่ า่ นมาบวชในพระพทุ ธศาสนา
และปฏบิ ัตติ ามอริยมรรคนนั้ ช่ือว่าออกจากบ้าน บา้ นนั้น คือความผดิ ท้งั หลาย และปา่ น้นั คือกิเลสซง่ึ เป็น
ความผิดเหมือนกัน อนั ความทบี่ รรลถุ งึ ทงุ่ อนั เวิ้งวา้ งนั้น คอื ละความผิดทง้ั หลายประกอบแตค่ วามดคี วาม
งาม ขอนชาติ ได้แก่ ชาติ ความเกิด ม้า ไดแ้ ก่ ตัวปัญญาวปิ สั สนาจักมาแก้ความผิด การข้ึนสูม่ ้าแลว้ มา้ พา
วง่ิ ไปสตู่ พู้ ระไตรปฎิ กนน้ั คอื เมอื่ พจิ ารณาไปแลว้ จกั สำ� เรจ็ เปน็ ปฏสิ มั ภทิ านสุ าสน์ ฉลาดรู้ อะไร ๆ ในเทศนา
วธิ ที รมานแนะน�ำส่งั สอนสานศุ ิษย์ท้งั หลายใหไ้ ด้รบั ความเยน็ ใจ และเข้าใจในขอ้ ปฏิบตั ทิ างจิต แต่จะไม่ได้
ในจตุปฏิสมั ภทิ าญาณเพราะไมไ่ ดเ้ ปดิ ตดู้ ูน้ัน ส่วนข้างหน้าอนั เต็มไปด้วยขวากหนามน้นั ได้ความว่า เม่อื
พจิ ารณาเกนิ ไปจากมรรค จากสจั จะ กค็ ือความผิดน้ันเอง เม่อื พิจารณาได้ความเท่าน้แี ล้ว ก็ถอยจติ คนื มา
หาตัวพจิ ารณากาย เป็นกายคตาสติภาวนาต่อไป

สมาธนิ ิมิต

ท่านเล่าให้ฟังว่า เม่ือท่านเจริญกรรมฐานภาวนาอยู่วัดเลียบเมืองอุบลน้ัน ในชั้นแรกยังบริกรรม
ภาวนาว่า พุทฺโธ ๆ อยู่ วาระแรกมีอุคคหนมิ ติ คอื เมอื่ จิตรวมลง ไดป้ รากฏรปู อสภุ ะภายนอกกอ่ น คอื เหน็
คนตายอยูข่ า้ งหน้า ห่างจากทีน่ ่ังประมาณ ๑ วา ผนิ หน้ามาทางท่าน มสี ุนัขตัวหนงึ่ มาดึงเอาไส้ออกไปกนิ

อยู่ เมือ่ เห็นอย่างนั้นทา่ นกม็ ิไดท้ อ้ ถอย คงก�ำหนดนมิ ิตน้นั ให้มาก ออกจากที่นัง่ แล้วจะนอนอยกู่ ็ดี จงกรม ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ก็ดี เดนิ ไปมาอย่กู ็ดี กใ็ ห้ปรากฏนมิ ิตอยอู่ ยา่ งน้ัน ครั้นนานวันมาก็ขยายให้ใหญ่ ขยายให้เน่าเปอื่ ยผุพงั เป็น
จณุ วิจุณไป ก�ำหนดใหม้ ากให้มที งั้ ตายเกา่ และตายใหม่ จนกระท่งั เต็มหมดทัง้ วัดวามีแรง้ กาหมายื้อแยง่ กนั
กนิ อยู่ ท่านก็ทำ� อยอู่ ยา่ งนัน้ จนอสุภะนั้นไดก้ ลบั กลายเป็นวงแกว้
วาระท่ี ๒ เมอื่ รา่ งอสภุ ะทง้ั หมดไดก้ ลบั กลายมาเปน็ วงแกว้ แลว้ จงึ เพง่ อยใู่ นวงแกว้ อนั ขาวเลอ่ื มใส
สะอาด คลา้ ยวงกสินสขี าว ทา่ นก็เพง่ พินจิ พจิ ารณาอยู่ในวงน้นั เร่อื ยไป
วาระท่ี ๓ เมอื่ ก�ำหนดพจิ ารณาตอ่ ไป จงึ แลไปเหน็ อะไรอย่างหนึ่งคลายภเู ขาอยู่ด้านหน้า จงึ นกึ
ในขณะนั้นวา่ อยากไปดู บางทีจะเปน็ หนทางข้อปฏบิ ตั ิกระมัง ? จงึ ไดเ้ ดนิ ไปดู ปรากฏว่าภเู ขานั้นเป็นพกั
อยู่ ๕ พกั จงึ ก้าวข้นึ ไปถงึ พักท่ี ๕ แล้วหยดุ แล้วกลับคืน ขณะทเ่ี ดินไปน้นั ปรากฏวา่ ตวั ทา่ นสะพายดาบ
อนั คมกลา้ เลม่ ๑ และทเ่ี ท้ามีรองเท้าสวมอยู่ ในคนื ตอ่ มาก็เป็นอย่างนั้นอีก และปรากฏนมิ ิตคบื หน้าต่อไป
เป็นก�ำแพงขวางหน้าอยู่ ที่ก�ำแพงมีประตูจึงอยากเข้าไปดูว่าข้างในมีอะไรอีก จึงเอามือผลักประตูเข้าไป
ปรากฏวา่ มที างสายหนงึ่ ตรงไป ทา่ นจงึ เดนิ ตามทางนน้ั ไป ขา้ งทางขวามอื เหน็ มที นี่ งั่ และทอ่ี ยขู่ องพระภกิ ษุ
๒-๓ รูป ก�ำลงั นัง่ สมาธิอยู่ ทอ่ี ยขู่ องพระภิกษนุ ัน้ คลา้ ยประทนุ เกวยี น ทา่ นมิได้เอาใจใส่คงเดินตอ่ ไป ขา้ ง
ทางทั้งสองข้างมถี ำ้� มเี ง้อื มผาอยูม่ าก ได้เหน็ ดาบสตนหนึง่ อาศยั อยู่ในถำ�้ แหง่ หนึง่ ทา่ นกม็ ิได้เอาใจใส่อีก
ครน้ั เดนิ ต่อไปก็ถึงหนา้ ผาสูงมากจะไปก็ไปไมไ่ ด้จงึ หยุดเพยี งนัน้ แลว้ กลับออกมาทางเกา่ คืนตอ่ มาก็ไปอกี
อยา่ งเกา่ ครั้นไปถงึ ทีห่ น้าผาแหง่ นน้ั จงึ ปรากฏยนตรค์ ลา้ ยอู่ มีสายหย่อนลงมาแต่หนา้ ผา ท่านจงึ ข้นึ สูอ่ ู่

๑๖

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๑๗

พอน่ังเรยี บร้อย อู่กช็ ักข้นึ ไปบนภูเขาลกู นัน้ ครั้นขึ้นไปแลว้ จึงเห็นสำ� เภาใหญล่ ำ� หน่งึ อยบู่ นภูเขาลกู น้ัน ข้นึ
ไปดูในสำ� เภาเหน็ โตะ๊ ๔ เหล่ียม บนโต๊ะมผี ้าปู เป็นผ้าสีเขยี วเน้ือละเอยี ดมาก มองดทู งั้ ๔ ทิศมีดวงประทปี
ตดิ สวา่ งรงุ่ โรจนอ์ ยู่ ประทปี นนั้ คลา้ ยตดิ ตอ้ ยนำ�้ มนั ปรากฏวา่ ตวั ทา่ นขนึ้ นงั่ บนโตะ๊ นนั้ และปรากฏวา่ ไดฉ้ นั
จงั หันท่ีน้นั ด้วย เครอ่ื งจงั หนั มีแตงกับอะไรอีกหลายอย่าง ครน้ั ฉันจังหันเสร็จแล้วมองไปข้างหนา้ ปรากฏ
เห็นเปน็ ฝ่งั โน้นไกลมาก จะไปก็ไปไมไ่ ดเ้ พราะมีเหวลกึ ไม่มสี ะพานข้ามไป จงึ กลับคนื มาเหมอื นอย่างเก่า
วาระท่ี ๔ กเ็ พง่ ไปนอ้ มจติ ไปอยา่ งเกา่ นนั่ แล ครน้ั ไปถงึ สำ� เภาแหง่ นน้ั จงึ ปรากฏเหน็ มสี ะพานนอ้ ย ๆ
ข้ามไปยังฝั่งโน้นจึงเดินไป พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ปรากฏเห็นก�ำแพงใหญ่มากสูงมาก ประกอบด้วยค่ายคู
ประตูและหอรบอันมั่นคง ที่หน้าก�ำแพงมีถนนใหญ่ไปทางทิศใต้และทิศเหนือ นึกอยากเข้าไปมากจึงเดิน
ไปผลกั ประตู ประตูไมเ่ ปดิ จงึ กลับคืนมา
วาระท่ี ๕ ท�ำอย่างเกา่ อกี ปรากฏไปอย่างเกา่ สะพานท�ำจากสำ� เภาใหญไ่ ปยังฝง่ั โนน้ ปรากฏว่า
ใหญก่ วา่ เกา่ มาก ครน้ั เดนิ ตามสะพานนน้ั ไปไดค้ รงึ่ สะพาน ปรากฏเหน็ ทา่ นเจา้ พระคณุ อบุ าลฯี (สริ จิ นั ทเถร
จนั ทร)์ เดนิ สวนมา และกล่าวว่า “อฏฺงคฺ โิ ก มคโฺ ค” แล้วตา่ งก็เดนิ ต่อไป พอไปถึงประตูก็แลเห็นประตูเล็ก
อีกประตูหน่ึง จึงเดินไปผลักประตเู ลก็ นนั้ ออกได้ แลว้ ไปเปดิ ประตูใหญไ่ ด้ เข้าไปข้างในกำ� แพง ปรากฏมี
เสาธงทองต้ังอยู่ท่ามกลางเวียงน้ันสูงตระหง่าน ต่อไปทางข้างหน้าปรากฏมีถนนเป็นถนนดีสะอาดเตียน
ราบมีเครื่องมงุ มีประทีปโคมไฟติดเป็นดวงไปตามเพดานหลงั คาถนน มองไปข้างหน้าเหน็ มโี บสถห์ ลงั หนึ่ง
ตงั้ อยู่ จึงเดนิ เข้าไปในโบสถ์ ภายในโบสถม์ ที างจงกรม ที่สดุ ทางจงกรมทง้ั สองขา้ งมดี วงประทปี ตามสวา่ ง

รุ่งโรจน์ นึกอยากเดินจงกรม จงึ ไดเ้ ดนิ จงกรมไป ๆ มา ๆ อยู่ และตอ่ มาปรากฏมีธรรมาสน์อันหน่ึงวิจิตร ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ด้วยเงนิ จึงขนึ้ ไปนงั่ บนธรรมาสนน์ ้ัน บนธรรมาสน์มบี าตรลกู หนง่ึ เปดิ ดูในบาตรมมี ดี โกนเล่มหนงึ่ พอมา
ถึงตรงนี้ก็อยไู่ ม่ปรากฏอะไรต่อไปอกี
วนั ตอ่ มากเ็ ขา้ มาถงึ ตรงนอี้ กี ทกุ ๆ วนั ทกุ ครงั้ ทเ่ี ขา้ ไปกป็ รากฏวา่ ในตวั ทา่ นมดี าบสะพายอยเู่ ลม่ ๑
กบั มีรองเทา้ สวมอยู่ด้วย ปรากฏเป็นอย่างนี้อยถู่ ึง ๓ เดอื น คร้ันต่อมาเมือ่ ออกจากท่ีแล้ว (คอื จติ ถอนออก
จากสมาธิ) เหน็ อารมณ์ภายนอกก็ยังกระทบกระทัง่ อยู่ร�ำ่ ไป สวยกเ็ กิดรกั ไมด่ ีก็ชงั เป็นอยูอ่ ย่างน้ี ท่านจึง
พจิ ารณาวา่ การทีเ่ ราพจิ ารณาอย่างนี้ มันยังเปน็ นอกอยู่ ไมห่ ยุดอยู่กะท่ี และครั้นกระทบอารมณ์ยงั หวน่ั
ไหวอยู่ นเี้ ห็นจะไม่ใชท่ างเสยี แลว้ กระมงั ฯ เม่ือพิจารณาได้ความอยา่ งนี้ จึงเรมิ่ แกด้ ว้ ยอุบายวธิ ใี หม่ จงึ
ต้งั ตน้ พจิ ารณากายนี้ทวนขน้ึ และตามลงไป อุทฺธํ อโธ ตริ ยิ ญฺจาปิ มชเฺ ฌ เบ้ืองบนแตป่ ลายเทา้ ขน้ึ มา เบอื้ ง
ต่�ำแตป่ ลายผมลงไป และดา้ นขวางสถานกลางโดยรอบ ดว้ ยการจงกรม เวลาจะนอนกน็ อนเสยี ไมน่ ง่ั ให้
มนั รวมเหมือนอย่างเก่า ใช้อุบายน้ที ำ� ประโยคพยายาม พากเพยี รอยู่โดยมิท้อถอย ตลอด ๓ วันลว่ งแล้ว
จึงนั่งพิจารณาอีก ทีน้ีจิตจึงรวมลง และปรากฏว่ากายน้ีได้แตกออกเป็นสองภาค พร้อมกับรู้ข้ึนในขณะ
น้ันว่า เออทนี ถี้ ูกแลว้ ละ เพราะจิตไมน่ อ้ มไป และมสี ตริ ู้อยู่กบั ที่ น้เี ป็นอุบายอนั ถกู ตอ้ งคร้งั แรก ต้งั แตน่ น้ั
มาก็พิจารณาอยู่อย่างน้ัน คร้ันออกพรรษาตกฤดูแล้ง ก็ออกเท่ียวแสวงหาวิเวกไปอยู่ท่ีสงัดปราศจากคน
พลุกพล่านตามหมู่บ้าน ห่างจากหมู่บ้านพออาศัยภิกขาจารวัตรตามเย่ียงอย่างพระพุทธเจ้าและพระอริย
สาวกเจ้าท่ีด�ำเนินมาก่อนแล้วทั้งหลาย ไปทางฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวาแม่น้�ำโขงบ้าง ในคราวไป

๑๘

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๑๙

วเิ วกถิน่ นครพนม ได้เจา้ พระคุณพระธรรมเจดีย์ (พนธฺ โุ ล จูม) กับเจ้าคุณพระสารภาณมุนี (จนั ทร)์ ไปเป็น
ศิษยศ์ ึกษาเล่าเรยี น ทัง้ ทางสมถวิปัสสนา ทง้ั ทางปรยิ ตั ธิ รรม ณ เมอื งอุบลกอ่ น แล้วสง่ ไปศึกษาเลา่ เรียน
ทางกรงุ เทพ พระมหานคร จนได้กลับมาทำ� ประโยชน์ เป็นพระเถระผใู้ หญใ่ นภาคอสี านปัจจบุ นั บดั น้ี
ส่วนอาจารย์เมื่ออายพุ รรษาพอสมควรแลว้ จงึ ไดล้ งไปศกึ ษาทางกรุงเทพ พระมหานคร อันเป็น
แหลง่ แหง่ นกั ปราชญ์ พำ� นกั ทวี่ ดั ปทมุ วนั หมน่ั ไปสดบั ธรรมเทศนาอบรมปญั ญากบั เจา้ พระคณุ พระอบุ าลฯี
(สริ จิ นั ทเถร จนั ทร)์ ทว่ี ดั บรมนวิ าส ในวนั หนง่ึ เมอื่ กลบั จากวดั บรมนวิ าส เดนิ ตามถนนหลวงไปกบั สหธรรมกิ
๔-๕ รปู กำ� หนดพจิ ารณาไปพลาง พอไปถงึ ร.ร. กรมแผนท่ี (วงั กรมพระสวสั ดเิ์ กา่ ) จงึ ไดอ้ บุ ายแหง่ วปิ สั สนา
เอา ร.ร. นน้ั เปน็ นมิ ติ วา่ “ของอะไรทงั้ หมดเกดิ จากของทมี่ อี ยู่ (ดนิ หนนุ ดนิ )” ตงั้ แตน่ น้ั มากก็ ำ� หนดพจิ ารณา
อบุ ายแห่งวิปัสสนามไิ ดล้ ดละ จงึ ไดอ้ อกไปท�ำความเพียรอยทู่ เี่ ขาพระงาม (ถำ้� ไผข่ วาง) ถ�้ำสงิ โต จงึ พอได้
รบั ความเข้าใจในพระธรรมวินยั อนั พระตถาคตเจา้ ทรงประกาศแล้ว
คร้ันพรรษาได้ ๒๓ จึงกลับมาหาหมู่คณะทางภาคอีสาน มีพระเณรมาศึกษามาข้ึนโดยล�ำดับ มี
พระอาจารยส์ งิ ห์ ขนตฺ ยาคโม เปน็ ตน้ จนพรรษาได้ ๒๘ จงึ ไดจ้ ากหมคู่ ณะไปจำ� พรรษาวดั ปทมุ วนั กรงุ เทพฯ
แลว้ เลยไปเชยี งใหมก่ บั เจา้ พระคณุ พระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์ (สริ จิ นั ทเถร จนั ทร)์ พกั วดั เจดยี ห์ ลวง ๑ พรรษา
แลว้ ไปวิเวกตามที่ต่าง ๆ บ้าง กลับมาจ�ำพรรษาวดั เจดียห์ ลวงบ้าง รวมเวลา ๑๑ ปี จึงไดก้ ลบั มาภาคอสี าน
เพื่อสงเคราะหส์ าธชุ นตามคำ� นมิ นตข์ องพระคุณพระธรรมเจดยี ์ จนถึงปจั ฉิมสมัย

ปฏปิ ทา ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

เมอื่ แรกอุปสมบท ท่านพ�ำนักอย่วู ัดเลียบ เมอื งอุบล เป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วดั บรู พาราม เมอื ง
อุบลบ้าง เป็นบางคราว ในระหว่างนั้นได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบ้ืองต้นอันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ
ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นท่ีไว้วางใจของพระ
อุปชั ฌายอ์ าจารย์และศึกษาข้อปฏบิ ตั ิอบรมจติ ใจ คอื เดนิ จงกรม น่งั สมาธิกับสมาทานธุดงควัตรต่าง ๆ
ในสมัยต่อมา ไดแ้ สดงหาวเิ วกบ�ำเพ็ญสมณธรรมในท่ีต่าง ๆ ตามราวปา่ ป่าชฏั ท่แี จง้ หบุ เขา ซอก
หว้ ย ธารเขา เง้ือมเขา ท้องถ�ำ้ เรือนว่าง หางฝง่ั ซา้ ยแม่นำ�้ โขงบา้ ง ทางฝง่ั ขาวแม่นำ้� โขงบ้าง แลว้ ลงไปศกึ ษา
กับนกั ปราชญท์ างกรุงเทพฯ จ�ำพรรษาอยู่วดั ปทมุ วนั หม่ันไปสดับธรรมเทศนากบั เจา้ พระคณุ พระอบุ าลีฯ
(สริ จิ นั ทเถร จนั ทร์) ๓ พรรษา แลว้ ออกแสวงหาวิเวกในถ่ินภาคกลาง คือ ถ�้ำสาลิกา เขาใหญ่ นครนายก
ถำ้� ไผข่ วางเขาพระงาม และถำ้� สงิ โต ลพบรุ ี จนไดร้ บั ความรแู้ จม่ แจง้ ในพระธรรมวนิ ยั สนิ้ ความสงสยั ในสตั ถ-ุ
ศาสนา จึงกลบั มาภาคอีสาน ทำ� การอบรมสง่ั สอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมิก และอุบาสกอบุ าสิกาต่อไป มี
ผู้เลอื่ มใสพอใจปฏิบัตติ ามมากขึน้ โดยลำ� ดับ มศี ิษยานศุ ิษยแ์ พรห่ ลายกระจายท่ัวภาคอสี าน
ในกาลตอ่ มา ได้ลงไปพักจำ� พรรษาทีว่ ัดปทุมวัน กรุงเทพฯ อกี ๑ พรรษา แลว้ ไปเชียงใหมก่ ับเจ้า
พระคณุ พระอบุ าลฯี (สริ จิ นั ทเถร จนั ทร)์ จำ� พรรษาวดั เจดยี ห์ ลวง ๑ พรรษา แลว้ ออกไปพกั ตามทวี่ เิ วกตา่ ง ๆ
ในเขตภาคเหนอื หลายแหง่ เพอื่ สงเคราะหส์ าธชุ นในทน่ี นั้ ๆ นานถงึ ๑๑ ปี จงึ ไดก้ ลบั มาจงั หวดั อดุ รธานตี าม
คำ� อาราธนาของเจา้ พระคณุ พระธรรมเจดยี ์ พกั จำ� พรรษาอยทู่ วี่ ดั โนนพระนเิ วศนเ์ พอ่ื อนเุ คราะหส์ าธชุ นใน

๒๐

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๒๑

ท่นี นั้ ๒ พรรษา แลว้ มาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จ�ำพรรษาทีว่ ดั ป่าบ้านนามน ตำ� บลตองโขบ อ�ำเภอเมือง
สกล ๓ พรรษา จ�ำพรรษาที่วัดป่าหนองผอื ตำ� บลนาใน อ�ำเภอพรรณนานคิ ม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์
สาธุชนในถ่ินนน้ั มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ตดิ ตามมาศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานศุ ษิ ย์ของท่านได้
แพร่กระจายไปท่ัวทุกภาคของประเทศไทยยังเกยี รติคณุ ของทา่ นให้ฟงุ้ เฟ่ืองเลอ่ื งลือไป
ธุดงควตั รท่ีทา่ น ถือปฏบิ ัติเป็นอาจณิ ๔ ประการ
๑. ปงั สกุ ูลิกังคธดุ งค์ ถือนุ่งหม่ ผ้าบังสุกุล นบั ต้ังแตอ่ ปุ สมบทมาตราบกระทง่ั วยั ชรา จึงไดผ้ อ่ นใช้
คหบดจี วี รบา้ ง เพอ่ื อนเุ คราะหแ์ ก่ผูศ้ รัทธานำ� มาถวาย
๒. ปิณฑปาตกิ ังคธุดงค์ ถือภกิ ขาจารวัตรเท่ยี วบณิ ฑบาตมาฉนั เป็นนิตย์ แมอ้ าพาธไปในละแวก
บา้ นไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทง่ั อาพาธลกุ ไม่ได้ ในปจั ฉมิ สมัยจงึ งดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกงั คธุดงค์ ถือฉันในบาตรใชภ้ าชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักใน
ปัจฉมิ สมัยจงึ งด
๔. เอกาสนกิ งั คธดุ งค์ ถอื ฉนั หนเดยี วเปน็ นติ ยต์ ลอดมา แมถ้ งึ อาพาธหนกั ในปจั ฉมิ สมยั กม็ ไิ ดเ้ ลกิ ละ
สว่ นธดุ งควัตรนอกน้ี ได้ถอื ปฏบิ ัติเปน็ ครัง้ คราวที่นับว่าปฏบิ ัตไิ ด้มากก็คือ อรญั ญกิ ังคธุดงค์ ถอื เสนาสนะ
ปา่ หา่ งจากบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลักเร้นอยใู่ นท่สี งัดตามสมณวิสัย เมือ่ ถงึ วยั ชราจงึ อยใู่ นเสนาสนะป่า
ห่างบ้านพอสมควร ซ่ึงพอเหมาะกบั ก�ำลงั ที่จะภกิ ขาจารบณิ ฑบาตเป็นท่ีท่ีปราศจากเสียงออ้ื อึง ประชาชน
เคารพยำ� เกรงไม่รบกวน

นัยว่า ในสมัยท่ีท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ศิษยานุศิษยจ์ ะตดิ ตามไปถงึ ไดก้ ็มี เชน่ ในคราวไปอย่ทู างภาคเหนือเปน็ ตน้ ทา่ นไปวเิ วกบนภูเขาสูงอันเปน็
ท่อี ยูข่ องพวกมูเซอร์ ยงั ชาวมเู ซอรซ์ ึ่งพูดไมร่ ู้เร่อื งกนั ให้บงั เกิดศรัทธาในพระศาสนาได้

กิจวัตรประจ วัน

ทา่ นปฏบิ ัตกิ ิจประจำ� วนั เป็นอาจิณวัตร เพือ่ เป็นแบบอยา่ งแกส่ านศุ ษิ ย์ และพรำ่� สอนสานศุ ิษย์ให้
ปฏิบตั ิเปน็ อาจิณวตั รต่อไปนี้
เวลาเช้าออกจากกุฎีท�ำสรีรกจิ คือล้างหนา้ บว้ นปาก น�ำบริขารลงส่โู รงฉนั ปดั กวาดลานวัดแลว้
เดนิ จงกรม พอไดเ้ วลาภกิ ขาจารกข็ นึ้ สู่งโรงฉันนุ่งห่มเปน็ ปรมิ ณฑล สะพายบาตรเชา้ ส่บู ้านเพือ่ บณิ ฑบาต
กลบั จากบณิ ฑบาตแลว้ จดั แจงบาตรจวี ร แลว้ จดั อาหารใสบ่ าตร นงั่ พจิ ารณาอาหารปจั จเวกขณะ ทำ� ภตั ตา-
นุโมทนาคือ ยถา สัพพี เสรจ็ แล้วฉันจังหัน ฉนั เสรจ็ แลว้ ล้างบาตรเก็บบริขารขึน้ กฎุ ี ทำ� สรรี ะกิจ พกั ผอ่ น
เลก็ นอ้ ยแลว้ ลกุ ขึ้นลา้ งหน้า ไหว้พระสวดมนต์ และพจิ ารณาธาตอุ าหารปฏิกูล-ดงั ขณิก-อตตี ปัจจเวกขณะ
แลว้ ชำ� ระจิตจากนวิ รณ์ น่ังสมาธพิ อสมควร เวลาบา่ ย ๓-๔ โมง กวาดลานวดั ตกั น้�ำใชน้ ้�ำฉนั มาไว้ อาบน้�ำ
ช�ำระกายใหส้ ะอาดปราศจากมลทินแลว้ เดนิ จงกรมถงึ พลบค�ำ่ จงึ ขึน้ กุฎี
เวลากลางคนื ตงั้ แตพ่ ลบคำ�่ ไป สานศุ ษิ ยก์ ท็ ยอยกนั ขนึ้ ไปปรนนบิ ตั ิ ทา่ นไดเ้ ทศนาสงั่ สอนอบรมสติ
ปญั ญาแก่สานุศษิ ยพ์ อสมควรแล้ว สานศุ ิษยถ์ วายการนวดฟน้ั พอสมควรแลว้ ท่านกเ็ ขา้ หอ้ งไหวพ้ ระสวด

๒๒

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๒๓

มนตน์ ัง่ สมาธิ แล้วพักนอนประมาณ ๔ ชัว่ ทมุ่ เวลา ๐๓.๐๐ น. ต่นื นอน ล้างหน้า บว้ นปากแล้ว ปฏบิ ตั กิ ิจ
อยา่ งในเวลาเชา้ ต่อไป
กจิ บางประการ เมอื่ มลี กู ศษิ ยม์ าและแกช่ ราแลว้ กอ็ าศยั ศษิ ยเ์ ปน็ ผทู้ ำ� แทน เชน่ การตกั นำ�้ ใช้ นำ้� ฉนั
เพราะเหนด็ เหน่ือยเน่ืองจากชราภาพ ส่วนกิจอนั ใดเป็นสรณะประเพณีและเป็นสลี วัตร กิจนัน้ ทา่ นปฏิบตั ิ
เสมอเป็นอาจิณมิได้เลิกละ ท่านถือคติว่า “เม่ือมีวัตรก็ช่ือว่ามีศีล ศีลเป็นเบ้ืองต้นของการปฏิบัติ” ท่าน
กลา่ ววา่ “ต้นดี ปลายดี คร้ันผิดมาตั้งแตต่ ้น ปลายก็ไม่ด”ี ดังคำ� ว่า “ผดิ มาตง้ั แตต่ ้น ฮวมเมา่ บ่มี” อปุ มา
รปู เปรยี บเหมือนอยา่ งว่า “การทำ� นา เมอ่ื บำ� รุงรักษาล�ำตน้ ข้าวดีแลว้ ยอ่ มหวงั ได้แน่ ซงึ่ ผลดงั น”ี้ ทา่ นจงึ
เอาใจใสต่ ักเตอื นสานศุ ษิ ย์ให้ปฏบิ ัตสิ ีลวัตรอันเป็นส่วนเบ้ืองตน้ ให้บรสิ ุทธบิ์ ริบูรณไ์ ว้เสมอ

บ บัดอาพาธดว้ ยธรรมโอสถ

เมือ่ คราวทา่ นลงไปจ�ำพรรษาท่วี ดั ปทุมวัน กรงุ เทพฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ กอ่ นไปเชยี งใหม่ ข้าพเจ้าผู้
เรยี งประวตั นิ พี้ งึ่ ไดอ้ ปุ สมบทใหม่ ๆ กำ� ลงั สนใจศกึ ษาทางสมถวปิ สั สนา ไดท้ ราบกติ ตศิ พั ทข์ องทา่ นวา่ เปน็ ผู้
ปฏบิ ัติเชยี่ วชาญทางสมถวปิ ัสสนา จึงเขา้ ไปศกึ ษาสดับฟงั ธรรมเทศนาของท่าน ได้ความเชือ่ ความเลื่อมใส
ถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านแล้ว ท่านเล่าเร่ืองวิธีระงับอาพาธด้วยธรรมโอสถให้ฟังว่า เมื่อคราวท่านไปจ�ำ
พรรษาทถี่ ำ้� สาลกิ า เขา้ ใหญ่ นครนายกนนั้ เกดิ อาพาธ ธาตกุ ำ� เรบิ ไมท่ ำ� การยอ่ ยอาหารทบี่ รโิ ภคเขา้ ไปถา่ ย
ออกมากเ็ ปน็ เหมอื นเมอื่ แรกบริโภค ชั้นแรกได้พยายามรักษาด้วยยาธรรมดาจนสุดความสามารถอาพาธก็

ไม่ระงับ จงึ วนั หนงึ่ ขณะท่ีไปแสวงหายารากไม้ เพอ่ื มาบ�ำบดั อาพาธนัน้ ไดค้ วามเหน็ดเหน่อื ยมาก เพราะ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
ยงั มิไดฉ้ ันจงั หัน ครัน้ ได้ยาพอและกลับมาถึงถ�้ำท่พี กั แล้ว บังเกิดความคดิ ขึ้นว่า เราพยายามรักษาด้วยยา
ธรรมดามากน็ านแลว้ อาพาธกไ็ มร่ ะงบั เราจะพยายามรกั ษาดว้ ยยาธรรมดา ตอ่ ไปกค็ งไรผ้ ลเหมอื นแตก่ อ่ น
บดั นอี้ าพาธกก็ ำ� เรบิ ยงิ่ ขน้ึ ควรระงบั ดว้ ยธรรมโอสถดบู า้ ง หากไมห่ ายกใ็ หม้ นั ตายดว้ ยการประพฤตธิ รรมดี
กวา่ ครน้ั แลว้ กเ็ ขา้ ทนี่ ง่ั คบู้ ลั ลงั กต์ งั้ กายตรง ดำ� รงสตสิ มั ปชญั ญะ กำ� หนดพจิ ารณากายคตาสตกิ รรมฐาน ไม่
นานกไ็ ดค้ วามสงบจติ อาพาธกร็ ะงบั หายวนั หายคนื โดยลำ� ดบั จนรา่ งกายแขง็ แรงดงั เกา่ จงึ ยา้ ยไปทำ� ความ
เพียรอยูถ่ �้ำไผข่ วางเขาพระงาม และถำ้� สิงโต ลพบุรี จนไดค้ วามแกลว้ กลา้ อาจหาญในพระธรรมวนิ ยั ดงั เล่า
มาแลว้
อกี คร้งั หนงึ่ เมือ่ ท่านอาศยั อยู่ห้วยน้ำ� กึงอนั เป็นอรญั ญสขุ วิหารราวปา่ ชัฏ ก่อนจะไปอยทู่ นี่ ั้น ทา่ น
ไดพ้ จิ ารณาธาตขุ นั ธไ์ ดค้ วามวา่ อาพาธจะกำ� เรบิ และจะระงบั ไดใ้ นสถานทน่ี น้ั จงึ ไดห้ ลกี จากหมคู่ ณะไปอยู่
องค์เดยี วในสถานท่ีนั้น พอตกกลางคนื อาพาธอนั เป็นโรคประจำ� ตัวมาแตย่ ังเด็กกก็ �ำเริบ คอื ปวดทอ้ งอย่าง
แรงนง่ั นอนไม่เปน็ สุขทง้ั น้ัน จึงเรง่ พจิ ารณาวิปัสสนาประมาณ ๑ ชวั่ โมง อาพาธกส็ งบ ปรากฏวา่ รา่ งกายน้ี
ละลายพึบลงสู่ดินเลย จึงปรากฏบาทคาถาข้ึนว่า “นาญฺตฺรโพชฺฌา ตปสา นาญฺตฺร ปฏินิสฺสคฺคา”
พจิ ารณาไดค้ วามวา่ ธรรมอื่นเวน้ โพชฌงคเ์ สียแล้วจะเปน็ เครือ่ งแผดเผามิไดด้ ังน้ี
อกี ครง้ั หนง่ึ เมอ่ื ทา่ นอาพาธเปน็ ไขม้ าลาเรยี ขน้ึ สมอง เจา้ คณุ พระเทพโมลี (ธมมฺ ธโร พมิ พ)์ อาราธนา
มารกั ษาทวี่ ดั เจดยี ห์ ลวง เชยี งใหม่ ทา่ นกย็ นิ ยอมใหร้ กั ษาดู ทา่ นเจา้ คณุ จงึ ไปเชญิ หมอแผนปจั จบุ นั มารกั ษา
ฉีดหยูกยาตา่ ง ๆ จนสุดความสามารถของหมอ วนั หนงึ่ หมอกระซิบบอกท่านเจ้าคุณว่า หมดความสามารถ

๒๔

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๒๕

แลว้ พอหมอไปแล้ว ท่านอาจารยจ์ งึ นิมนตเ์ จ้าคณุ พระเทพโมลีไปถามว่า หมอวา่ อย่างไร ? ท่านเจา้ คุณก็
เรยี นใหท้ ราบตามตรง ทา่ นอาจารย์จึงบอกวา่ ไม่ตายดอกอย่าตกใจ แล้วจงึ บอกความประสงคใ์ หท้ ราบว่า
ท่านไดพ้ ิจารณาแลว้ รู้ว่า อาพาธครง้ั น้จี ะระงบั ไดด้ ว้ ยธรรมโอสถ ณ สถานท่แี หง่ หน่ึงคอื ปา่ เปอะ อันเป็น
สถานท่ีวิเวกใกล้นครเชียงใหม่ ท่านจะไปพักที่นั่น เจ้าคุณพระเทพโมลีก็อ�ำนวยตามความประสงค์ ท่าน
ไปพักท�ำการเจริญกายคตาสติกรรมฐานเป็นอนุโลมปฏิโลม เพ่งแผดเผาภายในอยู่ท้ังกลางวันกลางคืนไม่
นานอาพาธก็สงบ จงึ ปรากฏบาทคาถาขึน้ ว่า “ฌายี ตปติ อาทิจฺโจ” พจิ ารณาไดค้ วามวา่ “ฌาน แผดเผา
เหมือนดวงอาทิตย์ฉะน้นั ”
อกี ครงั้ หน่ึง เม่ือจากนครเชียงใหมม่ าสู่อุดรธานี ตามคำ� นิมนต์ของเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ พกั
ที่วดั โนนพระนเิ วศน์ ๒ พรรษา เพ่ือสงเคราะห์สาธชุ น ณ ถิน่ นั้น แล้วมาสกลนครตามค�ำนิมนตข์ องนางนมุ่
ชุวานนท์ พักทว่ี ัดปา่ สทุ ธาวาส เพอื่ สงเคราะหส์ าธชุ นพอสมควรแล้วเลยออกไปพกั ท่เี สนาสนะป่าบ้านนา
มน และบา้ นนาสนี วนบา้ ง ในคราวไปพกั ทเี่ สนาสนะปา่ บา้ นนาสนี วนนนั้ อาพาธกำ� เรบิ เปน็ ไขและปวดทอ้ ง
ไดพ้ จิ ารณาตรามโพชฌงคม์ ทิ อ้ ถอย เมอื่ พจิ ารราโพชฌงคพ์ อแลว้ ไดอ้ ยดู่ ว้ ยความสงบ ไมน่ านอาพาธกส็ งบ
จึงปรากฏบาทคาถาข้ึนว่า “ฌายี ตปติ อาทจิ โฺ จ” พิจารณาได้ความเหมอื นหนหลงั
คราวทีพ่ กั อย่เู สนาสนะปา่ บ้านหว้ ยแคน อาพาธกำ� เรบิ อกี ได้พยายามร�ำงบั ดว้ ยธรรมโอสถ โดย
พิจารณามรรค ๘ กับธดุ งค์ ๑๓ เมอื่ อาพาธสงบแล้วจึงปรากฏบาทคาถาขึ้นวา่ “อฏฺ เตรส” พิจารณาได้
ความวา่ “มรรค ๘ กบั ธดุ งค์ ๑๓ ประชมุ ลงเป็นสามคั คีกนั ” อาพาธครงั้ น้ี ๗ วนั จึงระงบั

ค เตือนสตศิ ิษยผ์ อู้ อกแสวงหาวิเวก ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

เมอ่ื มศี ษิ ยร์ ปู ใดไปอำ� ลาทา่ นเพอื่ ออกแสวงหาทว่ี เิ วกบำ� เพญ็ สมณธรรม ทา่ นยอ่ มตกั เตอื นศษิ ยร์ ปู
นน้ั ใหย้ ดึ เอาสมเดจ็ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เปน็ ตวั อยา่ ง เปน็ แบบฉบบั เสมอ เมอื่ คราวหาวเิ วกเพอื่ บำ� เพญ็ สมณ
ธรรมอยทู่ างภาคเหนือไดอ้ อกวิเวกไปองคเ์ ดียว ถูกโลกธรรมกระทบกระท่ังนานาประการ พิจารณาอยู่ ๓
วนั จึงไดค้ วามวา่ ตอ้ งยกธง ๓ สี อปุ มาดว้ ยธงแหง่ สยามประเทศ แล้วมพี ระบาลีซึ่งมิไดส้ ดบั มาปรากฏขน้ึ
ตอ่ ไปวา่ “สตุ าวโต จ โข ภกิ ขฺ เว อสตุ าวตา ปถชุ ชฺ เนนาปิ ตสสฺ านโุ รธา อถวา วโิ รธา เวทปุ ติ า ตถาคตํ คจฉฺ นตฺ ิ
ภควํ มลู กา โน ภนเฺ ต ภควา ภควํ เนตตฺ ิกา ภควํ ปฏิสสฺ รณา สาธุ วต ภนฺเต ภควาเยว ปฏภิ าต”ุ แลว้
พจิ ารณาไดค้ วามวา่ “ระหวา่ งพระอรยิ บคุ คลผไู้ ดส้ ดบั แลว้ กบั ปถุ ชุ นผมู้ ไิ ดส้ ดบั กย็ อ่ มถกู โลกธรรมกระทบ
กระท่ังเชน่ เดยี วกนั แมพ้ ระตถาคตกไ็ ดถ้ ูกโลกธรรมกระทบกระท่งั มาแล้วแสนสาหัส ในคราวทรงบำ� เพ็ญ
ทุกกรกิริยา และการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยน้ัน พระองค์มิได้ตรัสสอนให้เอาพระสาวกองค์น้ันองค์นี้
เป็นตัวอย่าง ตรัสสอนใหเ้ อาพระองค์เองเปน็ ตวั อย่าง เป็นเนตติแบบฉบบั เปน็ ทพี่ ึง่ เสมอดว้ ยชวี ติ ” ดงั น้ี

ส เรจ็ ปฏิสัมภิทานสุ าสน์

ตามประวตั เิ บอื้ งตน้ ไดเ้ ลา่ สบุ นิ นมิ ติ ของทา่ นและการพจิ ารณาสบุ นิ นมิ ติ ของทา่ นไดค้ วามวา่ ทา่ น
จะส�ำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์ ฉลาดรู้ในเทศนาวิธี และอุบายทรมานแนะน�ำสอนสานุศิษย์ให้เข้าใจในพระ
ธรรมวินัยและอุบายฝกึ ฝนจิตใจ แต่จะไมไ่ ด้จตุปฏสิ ัมภทิ าญาณ ดงั นี้

๒๖

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๒๗

คณุ สมบตั สิ ว่ นนี้ ยอ่ มประจกั ษช์ ดั แกศ่ ษิ ยท์ งั้ หลายสมจรงิ อยา่ งทท่ี า่ นพยากรณไ์ ว้ คอื ทา่ นฉลาดใน
เทศนาวธิ ี ทา่ นเคยเลา่ ใหข้ า้ พเจา้ ฟงั วา่ ทา่ นไดพ้ ยายามศกึ ษาสำ� เหนยี กวธิ เี ทศนาอนั จะสำ� เรจ็ ประโยชนแ์ ก่
ผ้ฟู ังได้ความขนึ้ ว่า เทศนาตอ้ งประกอบดว้ ย
๑. อเุ ทศ คือกำ� หนดอเุ ทศกอ่ น โดยวธิ ที �ำความสงบใจหน่อยหนึง่ ธรรมใดอันเหมาะแก่จรติ นิสยั
ของผฟู้ งั ซง่ึ มาคอยฟงั ในขณะนนั้ ธรรมนน้ั จะผดุ ขนึ้ ตอ้ งเอาธรรมนน้ั มาเปน็ อเุ ทศ ถา้ เปน็ ภาษาไทยตอ้ งแปล
เปน็ บาลกี อ่ น
๒. นเิ ทศ คอื เนอื้ ความ เพอ่ื อธบิ ายความของอุเทศน้นั ใหก้ ว้างขวางออกไปตามสมควร เม่อื เนอ้ื
ความปรากฏขน้ึ ในขณะนัน้ แจม่ แจง้ แกใ่ จอยา่ งไรตอ้ งแสดงอย่างนัน้
๓. ปฏนิ เิ ทศ คือก�ำหนดใจความ เพอื่ ยอ่ คำ� ใหผ้ ู้ฟงั จำ� ได้ จะได้น�ำไปไตร่ตรองในภายหลงั
เทศนาวิธีของท่านอาจารย์ย่อมเป็นไปตามหลักดังกล่าวน้ี บาลีอุเทศที่ท่านยกขึ้นมาแสดงบาง
ประการ ท่านไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน ย่อมมาปรากฏขึ้นในเวลาแสดงธรรมนั้นเอง จึงสมกับค�ำว่า
ปฏสิ มั ภทิ านสุ าสน์แท้ เป็นการแสดงธรรมด้วยปฏภิ าณญาณจริง ๆ จึงถกู กบั จริตอธั ยาศยั ของผฟู้ งั ยงั ผฟู้ งั
ใหเ้ กดิ ความสวา่ งแจม่ ใสเบกิ บานใจ และเกดิ ฉนั ทะในอนั ประพฤตปิ ฏบิ ตั ศิ ลี ธรรมยง่ิ ๆ ขน้ึ ไป สมดว้ ยคำ� ชม
ของเจ้าพระคุณพระอบุ าลีฯ (สริ ิจนั ทเถร จันทร)์ วา่ ท่านม่ันแสดงธรรมด้วยมตุ โตทัยเปน็ มุตโตทัย ดังน้ี ซงึ่
ข้าพเจ้าเอามาเป็นช่ือธรรมกถาของท่านอาจารย์ท่ีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนจตุปฏิสัมภิทาญาณน้ัน ท่านว่า
ท่านไมส่ �ำเรจ็ เพราะมิไดเ้ ปิดดตู ้พู ระไตรปิฎก เมือ่ สังเกตดเู ทศนาโวหารของท่านแล้ว กจ็ ะเหน็ สมจริงดงั

ค�ำพยากรณ์ของท่าน เพราะปฏิสัมภทิ าญาณมี ๔ ประการ คอื ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
๑. ธัมมปฏสิ ัมภิทาญาณ ปรชี าแตกฉานในธรรม คือหัวข้อธรรมหรอื หลกั ธรรมหรือเหตุปัจจัย
๒. อตั ถปฏสิ ัมภิทาญาณ ปรชี าแตกฉานในอรรถคือเนื้อความ หรอื ค�ำอธบิ ายหรอื ผลประโยชน์
๓. นริ ตุ ตปิ ฏสิ มั ภทิ าญาณ ปรชี าแตกฉานในภาษาทใ่ี ชพ้ ดู กนั ในหมชู่ นอนั เปน็ ตนั ตภิ าษา โดยหลกั กค็ อื
รภู้ าษาบาลอี นั เปน็ แมภ่ าษา และภาษาของตนอนั จะใชอ้ ธบิ ายธรรมในหมชู่ นนน้ั ๆ รคู้ ำ� สงู ตำ่� หนกั เบา และรู้
ความหมายของคำ� น้ัน ๆ ชัดแจง้ ฉลาดในการเลอื กค�ำพดู มาใช้ประกอบกนั เขา้ เปน็ ประโยคให้ไดค้ วามกระ
ทดั รัด และไพเราะสละสลายเปน็ สำ� นวนชาวเมอื งไม่ระเคอื งคายโสตของผูฟ้ ัง
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในการกล่าวธรรมด้วยปฏิภาณญาณ มีไหวพริบทน
คนในการโต้ตอบปัญหา มีปรีชาผ่องแผ้วแกล้วกล้าไม่คร่ันคร้ามในท่ามกลางบริษัท อาจปริวัติเทศนาไป
ตามจริตอัธยาศยั ด้วยเทศนานัยมปี ระการตา่ ง ๆ ได้ดี
ปฏสิ มั ภทิ าญาณ ๔ ประการนี้ ตอ้ งไดค้ รบบรบิ รู ณท์ ง้ั ๔ ประการ จงึ จะเรยี กวา่ สำ� เรจ็ จตปุ ฏสิ มั ภทิ า-
ญาณ ถ้าไดแ้ ต่เพยี งบางสว่ นบางประการไม่เรยี กว่าส�ำเร็จ แต่ถ้าไดท้ ้ัง ๔ ประการนนั้ หากแตไ่ ม่บริบูรณ์
เป็นเพียงอนโุ ลม ก็เรียกว่าจตุปฏิสัมภิทานุโลมญาณ ท่านอาจารยน์ ่าจะไดใ้ นขอ้ หลงั นี้ จึงฉลาดในเทศนา
วธิ ี และอุบายวิธีแนะน�ำส่งั สอนสานศุ ิษยด์ งั กล่าวมาแลว้

๒๘

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๒๙

ไตรวธิ ญาณ

ทา่ นอาจารย์เล่าใหข้ า้ พเจ้าฟังว่าการกำ� หนดรอู้ ะไรต่าง ๆ เชน่ จิต นสิ ัย วาสนาของคนอนื่ และ
เทวดา เปน็ ต้น ย่อมรไู้ ดด้ ้วยอาการ ๓ อย่าง อยา่ งใดอยา่ งหน่งึ ดงั น้ี
๑. เอกวธิ ัญญา กำ� หนดพจิ ารณากายนี้อนั ปรากฏชัด จิตวางจากอุคคหนิมิตรวมลงถงึ ฐตี ิจิต คอื จติ
ดวงเดิม พกั อยู่พอประมาณ จิตถอยออกมาพกั เพียงอปุ จาระก็ทราบได้ว่าเหตุน้ันเปน็ อยา่ งน้ันอยา่ งน้ี
๒. ทุวิธัญญา ก�ำหนดพิจารณาเหมอื นขอ้ ๑. พอจติ ถอยออกมาถึงอปุ จาระ จะปรากฏภาพนิมิต
ภาพเหตกุ ารณน์ ั้น ๆ ข้นึ ต้องวางนิมติ น้ันเขา้ จติ อีกครั้งหนงึ่ ครง้ั ถอยออกมาอีกก็ทราบเหตุการณน์ ัน้ ๆ ได้
๓. ตวิ ธิ ญั ญา ปฏบิ ตั ิเหมอื นในข้อ ๑. พอจิตถอยออกมาถงึ ข้ันอุปจาระจะปรากฏนิมิตเหตุการณ์
ขน้ึ ตอ้ งวติ กถามเสยี กอ่ น แลว้ จงึ วางนมิ ติ นน้ั แลว้ เขา้ จติ อกี ถอยออกมาถงึ ขนั้ อปุ จาระกจ็ ะทราบเหตกุ ารณ์
นัน้ ได้
ความร้โู ดยอาการ ๓ น้ี ท่านอาจารย์ว่า จิตทย่ี งั เปน็ ฐิติขณะเปน็ เอกัคคตา มีอารมณ์เดียว มีแต่สติ
กบั อเุ บกขา จะทราบเหตกุ ารณ์ไม่ได้ต้องถอยจติ ออกมาเพียงขน้ั อปุ จาระจงึ มกี ำ� ลังรไู้ ด้ หากถอยออกมาถงึ
ข้ันขณิก หรือจิตธรรมดากท็ ราบเหตุการณ์ไมไ่ ดเ้ หมือนกนั เพราะกำ� ลังออ่ นไป
ทา่ นอาจารยย์ งั คงอาศยั ไตรวธิ ญาณนเ้ี ปน็ กำ� ลงั ในการหยงั่ รหู้ ยง่ั เหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ ทงั้ ทเี่ ปน็ สว่ นอดตี -
ปจั จบุ นั -อนาคต และกำ� หนดรู้จิตใจ นิสัย วาสนาของศิษยานศุ ษิ ย์ พร้อมทง้ั อบุ ายวธี ที รมานศษิ ยานศุ ษิ ย์
ด้วยปรชี าญาณหยั่งรูโ้ ดยวธิ ี ๓ ประการนี้ จึงควรเป็นเนตตขิ องผู้จะเปน็ ครูอาจารย์ของผอู้ น่ื ตอ่ ไป

คตพิ จน์ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

ค�ำที่เป็นคติ อนั ท่านอาจารย์กลา่ วอย่บู อ่ ย ๆ เพอ่ื เปน็ หลกั วินิจฉัยความดที ่ที �ำด้วยกาย วาจา ใจ
แก่ศิษยานศุ ิษย์ ดงั น้ี
๑. ดีใดไม่มีโทษ ดนี ้ันช่อื ว่าดีเลิศ
๒. ไดส้ มบตั ทิ งั้ ปวงไมป่ ระเสรฐิ เทา่ ไดต้ น เพราะตวั ตนเปน็ ทเี่ กดิ แหง่ สมบตั ทิ ง้ั ปวง เมอ่ื ทา่ นอธบิ าย
ตจปัญจกกรรมฐานจบลง มกั จะกล่าวเตือนขน้ึ เป็นกลอนวา่ “แก้ใหต้ กเนอ แกบ้ ่อตกคาพกเจ้าไว้ แกบ้ ่อได้
แขวนคอนำ� ตอ่ งแต่ง แก้บอ่ พน้ คากน้ ย่างยาย คายา่ งยายเวยี นตายเวียนเกดิ เวยี นเอาก�ำเนิดในภพท้ังสาม
ภพทง้ั สามเป็นเฮือนเจา้ อย”ู่ ดังน้ี
เมอื่ คราวทา่ นเทศนาสงั่ สอนพระภกิ ษผุ เู้ ปน็ สานศุ ษิ ยถ์ อื ลทั ธฉิ นั เจใหเ้ ขา้ ใจทางถกู และละเลกิ ลทั ธนิ น้ั
ครน้ั จบลงแลว้ ไดก้ ลา่ วคำ� เปน็ คตขิ นึ้ วา่ “เหลอื แตเ่ วา้ บอ่ เหน็ บอ่ นเบาหนกั เดนิ บอ่ ไปตามทางสถิ กื ดงเสอื ฮา้ ย” ดงั น้ี

บ เพ็ญประโยชน์

การบำ� เพ็ญประโยชน์ของทา่ นอาจารยป์ ระมวลลงในหลัก ๒ ประการ ดงั น้ี
๑.ประโยชน์ของชาติ ทา่ นอาจารย์ได้เอาธุระเทศนาอบรมส่ังสอนศลี ธรรมอันดงี ามแก่ประชาชน
พลเมอื งของชาตใิ นทกุ ๆ ถนิ่ ทที่ า่ นไดส้ ญั จรไป คอื ภาคกลางบางสว่ น ภาคเหนอื เกอื บทว่ั ทกุ จงั หวดั ภาคอสี าน
เกือบทวั่ ทกุ จงั หวัด และบางส่วนของประเทศ เช่น ฝัง่ ซ้ายแม่น�้ำโขงแขวงประเทศลาว ไม่กล่าวสอนใหเ้ ป็น

๓๐

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๓๑

ปฏิปกั ษต์ ่อการปกครองของประเทศ ท�ำให้พลเมอื งของชาตผิ ู้ได้รบั คำ� สง่ั สอนเป็นคนมศี ลี ธรรมดี มสี มั มา
อาชีพ ง่ายแกก่ ารปกครองของผคู้ รอง ช่ือวา่ ได้บำ� เพ็ญประโยชน์แก่ชาติตามควรแกส่ มณวิสยั
๒.ประโยชน์แก่พระศาสนา ท่านอาจารย์ได้บรรพชาและอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้
ดว้ ยความเช่อื และความเลอ่ื มใสจรงิ ๆ ครั้นบวชแล้วกไ็ ดเ้ อาธุระศกึ ษาและปฏิบัตพิ ระธรรมวินัยด้วยความ
อตุ สาหะพากเพยี รจรงิ ๆ ไมท่ อดธรุ ะในการบำ� เพญ็ สมณธรรม ทา่ นปฏบิ ตั ธิ ดุ งควตั รเครง่ ครดั ถงึ ๔ ประการ
ดังกล่าวแล้วในเบ้อื งตน้ ได้ดำ� รงรกั ษาสมณกิจไวม้ ิให้เสอ่ื มศูนย์ ไดน้ ำ� หมู่คณะฟน้ื ฟูปฏบิ ตั ธิ รรมวินัยให้ถูก
ต้องตามพระพุทธบัญญัติและพระพุทโธวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ฉลาดอาจหาญในการ
ฝึกฝนอบรมจิตใจ ตามหลักสมถวิปัสสนาอันสมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้ เป็นผู้มีน�้ำใจเด็ดเด่ียว
อดทนไม่หว่ันไหวต่อโลกธรรม แม้จะถูกกระทบกระท่ังด้วยโลกธรรมอย่างไรก็มิได้แปรเปล่ียนไปตาม คง
ม่ันอยู่ในธรรมวินัยตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมา ท�ำตนให้เป็นทิฏฐานุคติแก่ศิษยานุศิษย์
เป็นอยา่ งดี ทา่ นไดจ้ าริกไปเพอ่ื แสวงวเิ วกตามทตี่ ่าง ๆ คอื บางส่วนของภาคกลางเกือบทวั่ ทุกจังหวัดใน
ภาคเหนือ เกือบทุกจังหวัดของภาคอีสาน และแถบบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวก
ในส่วนตนแล้ว ทา่ นม่งุ ไปเพ่อื สงเคราะห์ผู้มีอุปนสิ ัยในถ่นิ นัน้ ๆ ด้วย ผู้ได้รบั สงเคราะหด์ ้วยธรรมจากทา่ น
แลว้ ย่อมกล่าวไดด้ ้วยความภมู ใิ จวา่ ไมเ่ สยี ทีท่ไี ดเ้ กดิ มาเปน็ มนุษย์พบพระพุทธศาสนา
ส่วนหน้าท่ีในวงการคณะสงฆ์ ท่านพระอาจารย์ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ใน
ฐานะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตติกาให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในคณะธรรมยุตติกาตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่

และได้รับตัง้ เป็นพระครูวนิ ยั ธร ฐานานกุ รมของเจา้ พระคุณพระอุบาลฯี (สริ จิ ันทเถร จันทร์) ทา่ นกไ็ ด้ท�ำ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
หนา้ ทน่ี น้ั โดยเรยี บรอ้ ยตลอดเวลาทยี่ งั อยเู่ ชยี งใหม่ ครนั้ จากเชยี งใหมม่ าแลว้ ทา่ นกง็ ดหนา้ ทน่ี นั้ แมข้ า้ พเจา้
ขอร้องใหท้ �ำในเมือ่ มาอยูส่ กลนคร ท่านกไ็ มย่ อมทำ� โดยอ้างว่าแก่ชราแลว้ ขออย่ตู ามสบาย ข้าพเจา้ ก็ผอ่ น
ตามดว้ ยความเคารพและหวงั ความผาสุกสบายแก่ทา่ นอาจารย์
งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่าท่านได้ท�ำเต็มสติก�ำลัง ยังศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและ
คฤหสั ถใ์ หอ้ าจหาญรน่ื เรงิ ในสมั มาปฏบิ ตั ติ ลอดมา นบั แตพ่ รรษาท่ี ๒๓ จนถงึ พรรษาท่ี ๕๙ อนั เปน็ ปสี ดุ ทา้ ย
แห่งชวี ติ ของทา่ น อาจกลา่ วได้ดว้ ยความภูมิใจวา่ ทา่ นอาจารยเ์ ป็นพระเถระทมี่ เี กียรตคิ ณุ เด่นที่สุดในด้าน
วปิ สั สนาธุระรูปหนง่ึ ในยคุ ปจั จบุ นั

ปัจฉมิ สมัย

ในวัยชรานับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เปน็ ตน้ มา ทา่ นมาอยูจ่ ังหวดั สกลนคร เปลย่ี นอริ ิยาบถไปตามสถาน
ทีว่ เิ วกผาสุกวิหารหลายแหง่ คือ ณ เสนาสนะป่าบา้ นนามน ตำ� บลตองโขบ อ�ำเภอเมืองบา้ ง ทใ่ี กล้ ๆ แถว
นนั้ บา้ ง ครน้ั พ.ศ. ๒๔๘๗ จงึ ยา้ ยไปอยเู่ สนาสนะปา่ บา้ นหนองผอื ตำ� บลนาใน อำ� เภอพรรณนานคิ ม จงั หวดั
สกลนคร จนถงึ ท่สี ุดทา้ ยแหง่ ชวี ิต
ตลอดเวลา ๘ ปี ในวยั ชราน้ี ทา่ นไดเ้ อาธรุ ะอบรมสง่ั สอนศษิ ยานศุ ิษย์ทางสมถวปิ สั สนาเปน็ อนั
มาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจ�ำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้บันทึกธรรมเทศนาของท่าน
ไว้และได้รวบรวมพิมพข์ นึ้ เผยแผ่แลว้ ให้ช่อื ว่า “มุตโตทยั ” ครัน้ มาถงึ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซ่ึงเป็นปีท่ที ่านมีอายุ

๓๒

ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ๓๓

ยา่ งขนึ้ ๘๐ ปี ทา่ นเรม่ิ อาพาธเปน็ ไข้ ศษิ ยผ์ อู้ ยใู่ กลช้ ดิ กไ็ ดเ้ อาธรุ ะรกั ษาพยาบาลไปตามกำ� ลงั ความสามารถ
อาพาธกส็ งบไปบา้ งเปน็ ครงั้ คราว แตแ่ ลว้ กก็ ำ� เรบิ ขน้ึ อกี เปน็ เชน่ นเี้ รอ่ื ยมาจนจวนออกพรรษาอาพาธกก็ ำ� เรบิ
มากขนึ้ ขา่ วนไี้ ดก้ ระจายไปโดยรวดเรว็ พอออกพรรษาศษิ ยานศุ ษิ ยผ์ อู้ ยไู่ กลตา่ งกท็ ยอยกนั เขา้ มาปรนนบิ ตั ิ
พยาบาล ไดเ้ ชญิ หมอแผนปจั จุบันมาตรวจและรกั ษา แลว้ น�ำมาพักท่เี สนาสนะปา่ บา้ นภู่ อำ� เภอพรรณนา
นคิ ม เพือ่ สะดวกแก่ผู้รักษา และศษิ ยานุศษิ ยท์ จี่ ะมาเยย่ี มพยาบาล อาการอาพาธมแี ต่ทรงกับทรุดลงโดย
ล�ำดับ คร้ันเมื่อวนั ท่ี ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้น�ำทา่ นมาพักท่ีวดั ป่าสทุ ธาวาสใกล้เมอื งสกลนคร
โดยพาหนะรถยนต์ มาถงึ วัดเวลา ๑๒.๐๐ น.เศษ ครน้ั ถึงเวลา ๒.๒๓ น. ของวนั ท่ี ๑๑ พฤศจกิ ายน ศก
เดยี วกนั ทา่ นกไ็ ดถ้ งึ แกม่ รณภาพดว้ ยอาการสงบ ในทา่ มกลางศษิ ยานศุ ษิ ยท์ งั้ หลาย มเี จา้ พระคณุ พระธรรม
เจดยี เ์ ปน็ ตน้ สริ ชิ นมายขุ องทา่ นอาจารยไ์ ด้ ๘๐ ปี เทา่ จำ� นวนทที่ า่ นไดก้ ำ� หนดไวแ้ ตเ่ ดมิ การทศี่ ษิ ยานศุ ษิ ย์
และผู้เคารพนับถือ ได้น�ำท่านอาจารย์มาที่วัดป่าสุทธาวาสนี้ ก็ให้เป็นไปตามเจตนาเดิมของท่านอาจารย์
คือ เม่ือเริ่มป่วยหนักท่านแน่ในใจว่าร่างกายน้ีจะต้องเป็นไปตามธรรมดาของเขาแล้ว จึงปรารภกับศิษย์
ผู้ใหญ่รูปหนึ่งว่า ถ้าตายลง ณ บ้านหนองผือน้ี สัตว์ก็จะต้องตายตามมิใช่น้อย ถ้าตายท่ีวัดป่าสุทธาวาส
ก็ค่อยยังช่ัวเพราะมีตลาดดังนี้ นอกจากมีความเมตตาสัตว์ที่จะต้องถูกฆ่าแล้ว คงมุ่งหมายฝากศพแก่ชาว
เมืองสกลนครด้วย ข้าพเจ้าอดที่จะภูมิใจแทนชาวเมืองสกลนครในการที่ได้รับเกียรติอันสูงนี้ไม่ได้ อุปมา
ดังชาวมัลลกษัตริย์ กรุงกุสินาราราชธานี ได้รับเกียรติจัดการพระบรมศพ และถวายพระเพลิงพุทธสรีระ
ฉะน้ัน เพราะท่านอาจารย์เป็นท่ีเคารพนับถือของคนมาก ได้เที่ยวไปหลายจังหวัดของประเทศไทย ครั้น
ถึงวยั ชรา ทา่ นก็เลือกเอาจังหวดั สกลนคร เปน็ ทีอ่ ยอู่ นั สบายและทอดทงิ้ สรีรกายไวป้ ระหนึ่งจะใหเ้ ห็นว่า

เมอื งสกลนครเปน็ บ้านเกิดเมืองตายของท่านฉะน้นั ในสมัยท�ำการฌาปนกจิ ศพของทา่ นอาจารย์น้นั ชาว ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
เมอื งสกลนครยังจะมเี กียรตไิ ด้ตอ้ นรบั ศษิ ยานศุ ษิ ยผ์ ใู้ หญ่ของท่านอนั มาจากทิศตา่ ง ๆ มากมายหลายท่าน
อกี ด้วย
ธรรมอนั นา่ อัศจรรยใ์ นท่านอันประจักษแ์ ก่ศษิ ยานุศษิ ย์ที่ไมค่ วรลมื กค็ ือ ในสมัยอาพาธหนกั เมือ่
ยังพูดได้ ท่านได้แสดงธรรมให้ฟังอยู่ตลอดมา ไม่มีการสะทกสะท้านต่อมรณภัยแต่ประการใด ยังกล่าว
ทา้ ทายศษิ ยท์ ง้ั หลายดว้ ยวา่ “ใครจะสามารถรดนำ้� ใหไ้ มแ้ กน่ ลอ่ นกลบั มใี บขนึ้ มาอกี ได้ กล็ องด”ู ในเมอื่ ศษิ ย์
ขอรกั ษาพยาบาล แตเ่ พอื่ อนเุ คราะหท์ า่ นกย็ นิ ยอมใหร้ กั ษาพยาบาลไปตามเรอื่ ง ครน้ั เวลาอาพาธหนกั ถงึ ที่
สุด สงั ขารร่างกายไมย่ อมใหโ้ อกาสท่านพูดจาไดเ้ ลย เพราะเสมหะเคืองปดิ ล�ำคอยากแกก่ ารพูด จึงมไิ ด้รบั
ปจั ฉมิ โอวาทอนั นา่ จบั ใจแตป่ ระการใด คงเหน็ แตอ่ าการอนั แกลว้ กลา้ ในมรณาสนั นกาลเทา่ นนั้ เปน็ ขวญั ตา
ศษิ ยานุศษิ ยต์ ่างก็เตม็ ต้นื ไปด้วยปตี ปิ ราโมทยใ์ นอาการนั้นซึง่ หาไดไ้ มง่ ่ายนัก และต่างกป็ ลงธรรมสงั เวชใน
สงั ขารอนั เปน็ ไปตามธรรมดาของมนั ใคร ๆ ไมเ่ ลอื กหนา้ เกดิ มาแลว้ จะตอ้ งแกเ่ จบ็ ตายเหมอื นกนั หมด ไมม่ ี
ใครล่วงพ้นไปไดส้ กั คนเดียว มีแตอ่ มฤตธรรมคือพระนพิ พานเท่าน้นั ทพี่ น้ แล้วจากความเกิด แก่ เจบ็ ตาย
โดยสนิ้ เชิง ผบู้ รรลถุ งึ อมฤตธรรมนน้ั แล้ว แมต้ ้องทอดทิง้ สรีระไวอ้ ยา่ งสามัญชนทั้งหลาย กค็ งปรากฏนาม
ว่า ผู้ไม่ตาย อยู่นั่นเอง

๓๔

ใ ค ร ผิ ด ถู ก ดี ช่ั ว ก็ ตั ว เ ข า
ใ จ ข อ ง เ ร า เ พี ย ร ร ะ วั ง ตั้ ง ถ น อ ม
อ ย่ า ใ ห้ อ กุ ศ ล ว น ม า ต อ ม
ค ว ร ถึ ง พ ร ้ อ ม บุ ญ กุ ศ ล ผ ล ส บ า ย
เ ห็ น ค น อ่ื น เ ข า ช่ั ว ตั ว ก็ ดี
ัข น ธ ะ ิว ุม ิต ส ะ ัม ง คี ธ ร ร ม ะ เ ป็ น ร า คี ยึ ด ขั น ธ์ ท่ี ม่ั น ห ม า ย
ยึ ด ขั น ธ์ ต ้อ ง ร้ อ น แ ท้ เ พ ร า ะ แ ก่ ต า ย
เ ล ย ซท�้ ้ัำงรร้าั กยทกั้ งิ เ โลกสรกธลโุ ้ ม เษขป้ า รุ มกวน
เ ต็ ม ท ร ะ จั ก ษ ์
ท้ั ง ก ลั ว นั ก ห นั ก จิ ต คิ ด โ ห ย ห ว น
ซ�้ ำอาร ม ณว น์ กทาุ กมอหย้า่ ก็ ม า ช ว น
ย กกระ บ า ง ต่ า ง ๆ ไป

ขันธวิมตุ ิ ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ
สมังคธี รรม

(ฉบบั ลายมือ)

ขั น ธ ะ วิ มุ ติ ส ะ มั ง คี ธ ร ร ม ะ

ขันธะวิมตุ ิ
สะมงั คธี รรมะ


Click to View FlipBook Version