The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tnkMunich, 2022-01-23 08:56:09

Academic eBook Template

Academic eBook Template

ลิลิตพระลอ

“เสี ยงลื อเสี ยงเล่ าอ้ าง อันใด พี่เอย
เสี ยงย่ อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ”

เค้าโครงจากตำนานรักอมตะ
พื้นบ้านเมืองเหนือ

ลิลิตพระลอ   |    1

ความเป็นมา

ผู้แต่ง : หาข้อยุติไม่ได้ว่าแต่งในสมัยใด จึงยังไม่ทราบว่าใครแต่ง
ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มี
ความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วย
อารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้ อเรื่อง ที่มีฉาก
อย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม
และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน
จากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่ องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์
ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่ง
ลิลิต

ลิลิตพระลอ   |    2

ลักษณะการแต่ง เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพ ร่ายสอดสร้อย โคลง
สองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะลีลา 

ความมุ่งหมาย
แต่งถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เป็นที่สำราญ
พระราชหฤทัย

ลิลิตพระลอ   |    3

1

มีเมืองสรวง เจ้าเมืองชื่อท้าวแมนสรวง ชายาชื่อนางบุญเหลือ มีโอรสชื่อพระลอ
เป็นชายที่มีรูปร่างงามมาก
ส่วนอีกเมืองหนึ่งชื่อเมืองสรอง เจ้าเมืองชื่อท้าวพิมพิสาร มีโอรสชื่อท้าวพิชัยพิษ
ณุกร บิดาได้ไปขอนางดาราวดีเป็นชายา มีธิดา ๒ องค์ คือพระเพื่อนและพระแพง
ต่อมาท้าวแมนสรวงได้ยกทัพไปตีเมืองสรอง ท้าวพิมพิสาร ออกรบถูกอาวุธตาย
ท้าวพิชัยพิษณุกรโอรสจึงป้องกันเมืองอย่างแข็งขัน ทำให้ท้าวแมนสรวงต้องยก
ทัพกลับ ต่อมาความงามของพระลอเป็นที่เลื่ องลือจนมีนักขับเพลงนำความงาม
ของพระลอไปขับยลโฉมยังเมืองต่างๆพระเพื่อน พระแพงได้ฟังคำเล่าลือ เกิดไข้ใจ
หลงรักทั้งยังไม่เคยเห็นหน้า นางรื่น นางโรยพี่เลี้ยงของนางทั้งสองคิดกลอุบาย
ให้พระลอมาเมืองสรอง จึงได้หาหมอทำเสน่ห์ คือ ปู่เจ้าสมิงพราย

ลิลิตพระลอ   |    4

2

พระลอเกิดคลั่งไคล้ไม่ยอมอยู่เมือง นางบุญเหลือขัดขืนพระลอไว้ไม่ได้จึงอนุญาต
ให้ไป พระลอเดินทางไปพร้อมพี่เลี้ยงคือนายแก้ว นายขวัญ เมื่อเดินทางถึงแม่น้ำ
กาหลงจึงเสี่ยงน้ำ มีลางบอกเหตุว่าไปแล้วจะเป็นอันตราย พระลอก็ไม่ยอมเดิน
ทางกลับ รับสั่งให้นายแก้วนายขวัญ ไปลาดเลาในเมืองสรอง และเตรียมที่พัก
ซ่อนตัว จึงกลับมารายงาน ขณะที่พระลอเดินทางเข้าเมืองสรอง นางรื่นนางโรย ก็
ไปเตือนปู่เจ้าสมิงพราย ปู่เจ้าจึงเสกผีเข้าสิงไก่ไปล่อพระลอ พระลอหลงตามไก่
และไปพักหลบอยู่ในสวนสงัด

SOCIAL PSYCHOLOGY   |    72

3

ใกล้สวนพระเพื่อนพระแพง โดยพระลอปลอมตัวเป็นพราหมณ์ชื่อศรีเกศ นายแก้ว
นายขวัญเปลี่ยนชื่อเป็น นายรัตน์ นายราม ปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยว ต่อมาพระ
ลอได้พบกับพระเพื่อนพระแพง โดยนางรื่น นางโรยออกอุบายลอบนำพระลอ นาย
แก้ว นายขวัญ เข้าไปซ่อนไว้ในที่ประทับของพระเพื่อนพระแพง ซ่อนอยู่นานถึง
ครึ่งเดือน เรื่องรู้ไปถึงท้าวชัยพิษณุกร เมื่อพระองค์ได้เห็นพระลอก็ทรงเมตตา
และตรัสว่าได้ฤกษ์ วันดี คืนดี จะจัดอภิเษก แต่เจ้าย่ายังผูกใจเจ็บได้ออกอุบาย
ล้อมจับในคืนดึกสงัด พระลอ พระเพื่อน พระแพง นางรื่น นางโรย นายแก้ว นาย
ขวัญ ได้ต่อสู้จนถูกตายหมด

SOCIAL PSYCHOLOGY   |    72

4

ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบ จึงจับทหารเหล่านั้นพร้อมเจ้าย่าประหารชีวิต แล้วให้
บรรจุศพสามกษัตริย์และพี่เลี้ยง มีสารไปแจ้งแก่นางบุญเหลือ นางบุญเหลือจึง
แต่งทูตพร้อมเครื่องบูชาศพไปยังเมืองสรอง ท้าวพิชัยพิษณุกรจัดถวายเพลิงศพ
จึงสร้างสถูปขึ้น ๓ องค์ บรรจุอังคารสามกษัตริย์ และพี่เลี้ยง แต่นั้นมาทั้งสอง
เมืองก็เป็นไมตรีต่อกัน

SOCIAL PSYCHOLOGY   |    72

คุณค่าและความสำคัญ

๑. ลิลิตพระลอเป็นยอดในกระบวนกลอนลิลิตทั้งหลาย
๒. ชี้ให้เห็นอารมณ์และกิเลสของมนุษย์ เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะลิลิตพระลอ
ถ่ายทอดมาจากชีวิตจริงอย่างเห็นได้ชัดเจน วรรณคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ความรัก มีความรักหลายประเภท แต่ละประเภทมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
กวีแสดงให้เห็นชัดว่า ความรักความหลงมีอำนาจใหญ่หลวงพ้นวิสัยจะหลีกหนีได้
ถึงกับยอมทุกอย่างเพื่อให้สมความปรารถนาในเรื่องความรัก แสดงถึงความรัก
อันลึกซึ้งของแม่ที่มีต่อลูก ถึงกับยอมสละทุกอย่างเพื่อความสุขของลูก แสดงถึง
ความรักระหว่างเจ้ากับข้า ถึงกับยอมสละชีวิตเป็นราชพลีด้วยความเต็มใจ ความ
รักของบุคคลทุกประเภทในลิลิตพระลอล้วนมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ รุนแรง เหนือการ
ดำเนินชีวิตของบุคคล มีอำนาจลิขิตชีวิตของบุคคลสำคัญในเรื่องแต่ละคนๆ
๓. เป็นแบบอย่างในการเขียนสมัยต่อมาของวรรณคดีเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
โคลงครู “เสียงฦๅ เสียงเล่าอ้าง” หรือการแต่งลิลิตตะเลงพ่ายของกรมพระปรมา
นุชิตชิโนรสหรือเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนชมม่านนางวันทอง

สมาชิก

นายคมชาญ คำหาญ เลขที่ 1
นายธนากฤต นุ่มนวล เลขที่ 7
นายพุทธินันท์ วันชม เลขที่ 11
นายทัพพ์ ชัยราช เลขที่ 13
นายอารยชน กัลยบุตร เลขที่ 15

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2


Click to View FlipBook Version