จัดทำ โดย นางสาวกนกกร ผิวงาม ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสิ่งประดิษฐ์จาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองสุรินทร์ เสนอโดย ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 6/4 เลขที่13 คุณครูสุภัทรกุล มั่นหมาย หัตถกรรมเครื่องเงินล้ำ ค่า (ประเกือมสุรินทร์) โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
คำคำ คำคำ คำคำนำนำ นำนำ นำนำ การวิจัยเรื่องลว ด ลายและ คำ สอ น ใ น ป ระเกือ ม เงิ น ข องจัง ห วั ด สุริ น ท ร์ มี วั ต ถุ ป ระสง ค์ เ พื่ อ ศึ ก ษ าลว ด ลาย บ น ป ระเกือ ม เงิ น โ บ ราณข องจัง ห วั ด สุริ น ท ร์และ ศึ ก ษ า ค วา ม เ ชื่ อและ คำ สอ น บ น ป ระเกือ ม เงิ น โ บ ราณข อง จัง ห วั ด สุริ น ท ร์ พื้ น ที่ศึ ก ษ า คื อ ชุ ม ช น ข วาวสิ น ริ น ท ร์อำ เ ภ อเ ข วาสิ น ริ น ท ร์ จัง ห วั ด สุริ น ท ร์เ ป็ น การวิจัยเ ชิ ง คุณภ า พ ใ ช้ เ ท ค นิ ค การเก็ บ ข้ อ มู ลเ ชิ ง คุณภ า พ ไ ด้ แก่การสั ม ภ า ษณ์เ ชิ งลึกและการสังเก ต กลุ่ ม ผู้ ใ ห้ข้ อ มู ลไ ด้ แก่ ป รา ชญ์หั ต ถกรร ม เ ค รื่องเงิ น และ ผู้ รู้ ด้ า น ค วา ม เ ชื่ อและ คำ สอ น ผ ลการ วิจัย ด้ า น ลว ด ลาย บ น ป ระเกือ บ เงิ น โ บ ราณข องจัง ห วั ด สุริ น ท ร์ ป ราก ฏ ว่า ลว ด ลาย ที่ เ ป็ น เอกลัก ษณ์ข อง ช าวเ ข ม ร พื้ น เ มื องสุริ น ท ร์ ม าจาก วัฒน ธรร ม ค วา ม เ ชื่ อโ บ ราณใ น สิ่งเร้ น ลั บ เ ห นื อธรร ม ช า ติ ที่ไ ด้ ถ่าย ท อ ด เ ป็ น ม ร ด ก ท างวัฒน ธรร ม ห รือสัญลัก ษณ์บ น ลาย ป ระเกือ ม เงิ น จัดทำ โดย กนกกร ผิวงาม
สารบับั บับั ญ คำ นำ สาร บัญ เงิ น ห รือ เ ค รื่องเงิ น ๑ ป ระวั ติ เ ค รื่องเงิ น ใ น ป ระเ ท ศ ไ ท ย ๒ ค วา ม สำ คัญข องเ ค รื่องเงิ น ๓ ป ระวั ติ การ ทำ เ ค รื่องเงิ น เ มื องสุริ น ท ร์ ๔ - ๕ ลว ด ลายเงิ น รู ป พ รรณ ๖ - ๗ รู ป แ บ บ เ ค รื่องเงิ น ๘ ป ระเกือ ม ๙ - ๑ ๐ เส้ น ท าง ห มู่ บ้ า น เ ค รื่องเงิ น ๑ ๑ การ ทำ ป ระเกือ ม ๑ ๒ - ๑ ๓ ขั้ น ต อ น การ ทำ ป ระเกือ ม ๑ ๔ - ๑ ๕ อุ ป กรณ์ใ ช้ ใ น การ ทำ ป ระเกือ ม ๑ ๖ - ๑ ๘ การเรียงร้อยสร้อย ป ระ คำ ๑ ๙ การใ ช้ เ ค รื่อง ป ระ ดั บ เงิ น ใ น พิ ธีกรร ม ต่ าง ๆ ๒ ๐ - ๒ ๑ อ้างอิง ๒ ๒ เรื่อง หน้า
เงิน หรือ เครื่องเงิน เงิน หรือ เครื่องเงิน นิยมนำ มาใช้ทำ เป็นของใช้ เครื่องประดับตกแต่ง และใน ความเชื่อทาง ไสยสาสตร์มาแต่โบราณ นับจนถึงปัจจุบันเงินหรือเครื่องเงินก็ยังมีความ ทันสมัยในการนำ มาใช้ทำ ของใช้ได้งดงาม เครื่องประดับเงินเมื่อนำ มาประดับตกแต่ง ร่างกาย กับชุดผ้าไหม พื้นเมืองสุรินทร์ จะดูงดงามมาก แม้แต่วัยรุ่นก็นิยมนำ ไปสวมใส่ เช่น ข้อมือ ตุ้มหู สร้อยคอ แหวน ฯลฯ เครื่องเงินมีลวดลายงดงาม ฝีมือประณีต และ ราคาไม่แพงนัก อาชีพการทำ เครื่องเงินจึงเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวของชาวบ้าน โชค บ้านเขวาสินรินทร์ อยู่ทุกวันนี้ จังหวัดสุรินทร์ มีชํางฝีมือหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงมาก สามารถคิด ประดิษฐ์ สร้างสรรค์แร่เงินเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับที่มีลวดลายงดงามได้ทุก รูปแบบ ด้วยฝีมือ หัตถกรรมที่คิดเอง ทำ เอง ใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นศิลปหัตถกรรมพื้น บ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งด้านศิลปกรรมการทำ รูปทรง ลวดลายด้วยการลอกเลียน แบบจากธรรมชาติรอบ ๆ ตัวออกมาเป็นงานศิลป์ได้อย่าง งดงาม และมีการสืบทอดต่อกัน มาทั้งหมู่บ้าน การเรียนรู้กันในครอบครัวในชุมชน ตลอดเวลาทำ ให้ช่างมีความชำ นาญเป็น พิเศษ สามารถประยุกต์ลวดลายรูปแบบได้ ตามที่มีผู้สั่งทำ ขณะเดียวกันจะอนุรักษ์รูปแบบ ลวดลายดั้งเดิมไว้อย่างสม่ำ เสมอ ทำ ให้ ศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินเมืองสุรินทร์มีคุณค่าของ ภูมิปัญญาบรรพบุรุษอย่างน่า ภาคภูมิใจ ๑
ประวัติเครื่องเงินในประเทศไทย ๒ การใช้เครื่องเงิน ในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐาน การใช้เงินมาทำ เป็นเงิน ตราใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า และนำ แร่เงินมาทำ เครื่องพุทธบูชา ส่วนการนำ เงินมาทำ เครื่องใช้เครื่อง ประดับที่แพร่หลายอยู่ทุกวันนี้มีหลักฐานปรากฏ ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีหลักฐานค่อนข้างแน่นอนว่ามีช้างเครื่องเงินขึ้นทาง ภาคเหนือ โดยพระเจ้าเม็งราย โปรดให้สถาปนาวัดกานโถมขึ้นในเวียงกุมกาม ไปเอาช่างมา จากพระเจ้าราชาธิราชที่แคว้นพุกามอังวะ ช่าง เงินเหล่านี้ได้เปิดทำ กิจการขึ้นในอาณาจักร ล้านนา โดยทำ เครื่องเงินให้กับราชสำ นักหลายประเภท เช่น คนโท ขันน้ำ พานรอง เชี่ยนหมาก เป็นต้น สมัยสุโขทัย การใช้เงินค่อนข้างแพร่หลายมากขึ้น ดังมีปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า ในสมัยพ่อขุน รามคำ แหงนั้น “ใครใคร่ค้าช้าง ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าเงิน ค้าทองค้า” สมัยอยุธยา การนำ เงินมาใช้มีรูปแบบต่าง ๆ มีมากขึ้น จากหลักฐานเอกสารหอหลวงเรื่องคำ ให้การขุนหลวง วัดประดู่ ทรงธรรม ว่า “ถนนผ่านป่าขันเงิน มีร้านขายขัน ขายผอบ ตลับ ของเครื่องเงินและถมยาดำ กำ ไล มือ กำ ไลเท้า ปิ่นซ่น ปิ่นเข็ม กระจับปิ้ง พริกเทศ สังวาลทองคำ ขี้รัก และสายลวด ชื่อตลาด ขันเงิน” เครื่อง บรรณาการจากเมืองประเทศราชจะเป็นดอกไม้ เงิน ต้นไม้เงิน เจียดเงิน ถมยาดำ ในพระราชพิธีประดับยศ ขุน นางชั้นผู้ใหญ่ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ มีการตั้งเสาฉัตรเป็น “บัว หงายคันเงินคันทองคันนาก” และมีการ จ่ายเงินทองนากแก่ ข้าราชการในราชสำ นักด้วย สมัยรัตนโกสินทร์ คนสมัยโบราณนิยมแลกเปลี่ยน สินค้ากัน เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปมีการซื้อขายสินค้าด้วย เงินตรา คำ ว่า “เงินตรา” คือการนำ เนื้อเงินมาเป็นสื่อกลางในการ แลกเปลี่ยนสินค้าและมีตราของบุคคลที่ เชื่อถือได้รับรองว่า เนื้อ เงินนั้นบริสุทธิ์และมีน้ำ หนักเท่าใด แต่ปัจจุบันคำ ว่า “เงินตรา” มี ความหมายกว้าง ออกไป คืออาจเป็นวัตถุที่ไม่ใช่เงินจะเป็นโลหะ อื่นหรือกระดาษ สามารถซื้อขายและชำ ระหนี้ได้ตาม กฎหมาย
ความสำ คัญของเครื่องเงิน ๓ เงิน เป็นโลหะที่มนุษย์รู้จักกันมานานกว่า ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีหลักฐานว่าชาว อียิปต์รู้จักใช้เงินมาทำ เครื่อง ประดับ โลหะเงินได้จากสินแร่ที่เป็นเกล็ดเล็ก ๆ หรือเป็นเส้น ปนอยู่ในหินทรายเป็นก้อนเงินบริสุทธิ์และที่เป็น สารประกอบปนอยู่ในแร่อื่น ๆ นำ มาตี แผ่ดึงให้ยาวเป็นแผ่นได้ เงินเป็นแร่ธาตุสีขาวเป็นมันวาว เงินบริสุทธิ์เป็น ธาตุแท้จัดอยู่ใน จำ พวกโลหะ สามารถนำ มาใช้ในชีวิตประจำ วันได้ดังนี้ ๑. ในทางการค้าสมัยโบราณใช้แร่เงินทำ เงินตราสำ หรับ แลกเปลี่ยนซื้อขายกัน อย่างแพร่หลาย ๒. ทางการแพทย์นำ มาใช้อุดฟัน โดยนำ เงินมาหลอมให้เหลว ใช้อุดฟันที่ผุกร่อน ให้ฟันสามารถใช้ได้ดังเดิม ๓. ทางไสยศาสตร์ ใช้แร่เงินหลอมทำ เป็น “ลูกอมเงิน” นำ ไปปลุกเสกด้วย พิธีกรรมความเชื่อว่าทำ ให้หนัง เหนียว มีอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์ยิงไม่เข้า ฟันไม่เข้า ๔. ในทางสังคม เงินนำ มาทำ เครื่องใช้เครื่องประดับใน รูปแบบต่าง ๆ หลายอย่าง ขันเงินซองบุหรี่ เชี่ยนหมาก กระเป๋าเงิน โกศ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำ ไล ตุ้มหู ฯลฯ ทั้งในราชสำ นัก ชนชั้นสูงและ สามัญชนทั่วไป ๕. ในทางเศรษฐกิจ มีการนำ แร่เงินมาประดิษฐ์เป็น สินค้าหลายประเภท จำ หน่ายออกหารายได้ เสริมสร้าง ครอบครัวได้เป็นอย่างดีตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ๖. ในทางวิทยาศาสตร์มีการใช้เงินในทางอุตสาหกรรม หลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมถ่ายภาพ อุตสาหกรรม อิเล็คทรอนิคส์เป็นต้น เนื้อเงินมีความอ่อนพอเหมาะที่จะนำ มาขึ้นรูปทรง ต่าง ๆ ได้ตามความต้องการเพื่อความ สวยงามได้ง่ายและราคา ถูกกว่าทองมาก และมีคุณสมบัติในการทำ ลายเชื้อโรคบางอย่าง ทางการแพทย์ได้ ส่วน คุณลักษณะพิเศษของเงินคือสามารถใช้ ผสมกับโลหะโลหะอื่นๆ จะไม่ดำ เช่น ผสมกับทองแดงก็จะ ออกเป็นสี แดงหรือผสมกับทองก็จะออกมาเหลืองผสมกับตาม โลหะที่ผสม เงินที่เก็บไว้ในตู้มิดชิดห่อหุ้มให้ดีจะไม่ดำ ง่ายแต่ ถ้ามี สีดำ ก็สามารถขัดล้างออกได้โดยต้มน้ำ ร้อนบีบมะนาวหรือขัดถู ด้วยน้ำ แช่ขี้เถ้า หรือใช้น้ำ ยาขัดโลหะก็ล้าง ออกได้ง่าย จึงเป็นแร่ ธาตุที่ได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่อดีตจึงถึงปัจจุบัน
ประวัติการทำ เครื่องเงินเมืองสุรินทร์ ๔ จังหวัดสุรินทร์ มีชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา เมื่อราวประมาณ ๒๗๐ ปีเศษ ในกรุงพนมเปญประเทศราช อาณาจักรกัมพูชา ได้เกิดกรณีพิพาทกันระหว่างพวกชาวกัมพูชา กับเวียดนามบ่อยครั้ง ราษฎรได้รับความเดือด ร้อนจากการทำ สงคราม บางครอบครัวเกิดความ เบื่อหน่ายได้พากันอพยพหนีเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะ ตามเขตชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ครอบครัว ตระกูลผู้สูงศักดิ์ตระกูลหนึ่ง มีตาทวดเป็นผู้นำ ได้พาลูกหลานอพยพข้าม ภูเขาบรรทัดเข้ามาอยู่ที่บ้าน แนงมุด อำ เภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน ต่อมาได้หาพื้นที่ อุดมสมบูรณ์ตั้งภูมิลำ เนาอยู่มั่นคง คือที่บ้าน โคกเมืองพุทไธสมันต์หรือเมืองประทายสมันต์ คือ บริเวณที่ตั้งอำ เภอเมืองสุรินทร์ปัจจุบัน ตาทวดได้พา ครอบครัวญาติพี่น้องมาตั้งภูมิลำ เนาตรง บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน ตระกูลตาทวด เป็นช่างเครื่องทองที่มีฝีมือมาก ได้ถ่ายทอดศิลปะการตีเงินตีทองเป็น รูปพรรณให้กับบุตรหลาน จนมีความชำ นาญสามารถแกะสลักลวดลายได้ลายแบบ ตาแก้ว เป็นบุตรชายคนหนึ่งที่ได้เรียนรู้ศิลปะการตีทอง ตาแก้วได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุตรของท่าน บุตรคนหนึ่งชื่อ ตาเป็ด เป็นลูกที่มีความสนใจเรียนรู้การทำ เครื่อง ทองเครื่องเงินจากตาแก้ว ผู้เป็นบิดามากที่สุด จนมีฝีมือเป็นที่รู้จักถึงความประณีตงดงาม ต่อมาตาเป็ดได้ แต่งงานกับยาย ซ้อม ซึ่งเป็นสาวบ้านโชค ตำ บลเขวาสินรินทร์ จึงได้ไปตั้งบ้านเรือนกันอยู่ที่บ้านโชค ตั้งแต่นั้นมา ตาเป็ดมีบุตร ๕ คน ทุกคนได้เรียนรู้วิชาตีเงินตีทองทำ รูปพรรณแกะสลักลวดลายจากบิดา ติดตัวกันมา ที่รู้จักกัน ดีคือ ตาเกิด มุตตะโสภา อดีตกำ นัน ตำ บลเขวาสินรินทร์ และตาตุ่ม มุตตะโสภา
ประวัติการทำ เครื่องเงินเมืองสุรินทร์ ๕ ตาเกิด และตาตุ่ม มุตตะโสภา สองพี่น้องยึดอาชีพทำ เครื่องเงินและเครื่องทองคู่กับ การทำ นาตามฤดูกาลตลอด มา ต่อมาได้รวบรวมเงินไปซื้อทองคำ และเงินมาตีขึ้นทำ ทองรูปพรรณหลายอย่าง เช่น ตุ้มหู และทำ ปะเกือม แล้ว นำ มาร้อยเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ สังวาล กำ ไลข้อมือ กำ ไลข้อเท้า แหวน หรือสร้อยอื่น ๆ ตามสมัยนิยม แล้ว นำ ออกไปจำ หน่วย ในจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียง ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ นายดิน สุทธิกลับ หรือ ขุนสินรินทร์บำ รุง กำ นันตำ บลเขวาสินรินทร์ ได้สนับสนุนลูกหลานและ ชาวบ้านให้หันมาสนใจเรียนรู้การตีเงินตีทองเป็นเครื่องประดับเพื่อ ยึดเป็นอาชีพหารายได้เลี้ยงดูกันในครอบครัว ต่อไป สมัยนี้จึงมีช่างตีทองตีเงินที่มีฝีมือเพิ่มขึ้น หลายคน สมัยปี พ.ศ. ๒๔๘๑ มาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ชาวบ้านโชคผู้เป็นช่างตีเงินตีทองได้รวม ทุนทรัพย์กันไปซื้อเงิน และทองมาทำ เป็นเครื่องเงินเครื่องทอง ออกจำ หน่ายขายทั่วประเทศ และส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย ต่อ มาทองมีราคาแพงขึ้นมาก ช่างจึงหันมาทำ เครื่องเงิน รูปพรรณเป็นหลัก เพราะนอกจากเงินราคาถูกแล้วยังเป็นที่ นิยมกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเมื่อนำ มาแต่งกายคู่กับผ้าไหมเมืองสุรินทร์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ชาวบ้านโชคผู้เป็นช่างตีเงิน ได้รวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์เครื่องเงินประจำ หมู่บ้านขึ้น
ลวดลายเครื่องเงินรูปพรรณ ๖ เครื่องเงินรูปพรรณ ของจังหวัดสุรินทร์ มีการแกะสลักลวดลายบนเม็ดเงินอย่าง สวยงาม มีการแบ่งประเภท ลวดลายออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ลวดลายโบราณ ได้แก่ -ลายกลีบบัว การสร้างลายได้จากการคิดเลียนแบบธรรมชาติ คือ เลียนแบบจากกลีบดอกบัว เป็นลายที่มีมาแต่โบราณที่ เริ่ม ทำ ทองมาจนถึงยุคทำ เครื่องเงินถึงปัจจุบัน เป็นลายที่ ขายได้ดี เป็นที่ต้องการของตลาด -ลายดอกพิกุล เลียนแบบธรรมชาติ เป็นลายที่ทำ กันตั้งแต่ เริ่มทำ เครื่องเงินและเป็นที่นิยมมาเรื่อยๆ ซึ่งลายนี้เลียนแบบ ดอกพิกุล สมัยก่อนยังไม่ได้เรียกว่าลายดอกพิกุล เพียงแต่ได้ สลักลายลงบนแผ่นเงิน แต่พอรูปลายออกมามีลักษณะคล้าย ดอกพิกุล ประชาชนจึงเรียกว่า ลายดอกพิกุลตามลักษณะ ที่ พบเห็น
ลวดลายเครื่องเงินรูปพรรณ - ลายดอกจัน เลียนแบบธรรมชาติ คือ ดอกจัน ซึ่งมีมา ตั้งแต่เริ่มทำ เครื่องเงิน ลายนี้จะทำ ผสมกับลายอื่น ๆ เพื่อให้เกิดลายต่าง ๆ ที่ดูแล้ว งดงามมากขึ้น - ลายพระอาทิตย์ แต่ก่อนจะทำ เป็นลายวงกลมตรงกลาง แล้วนำ ลาย ตรงมาแกะลายข้างคล้ายรัศมีของพระอาทิตย์ คนปัจจุบันจึงเรียกลาย พระอาทิตย์ ลายตรง ลายเกลียว เป็นต้น - ลายฟักทอง เลียนแบบธรรมชาติ คือเลียนแบบลูกฟักทอง เพราะ เป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารในชีวิตประจำ วัน ชาวบ้าน นิยมปลูกไว้ตามบ้าน ๗ - ลายร่างแห เป็นลายที่เลียนแบบมาจากของใช้ที่ชาวบ้าน ถักแหหว่านปลา หรืออาจสันนิษฐานว่านำ เอาลาย เป็น เส้นตรง มาขีดตัดกันจนเกิดเป็นลวดลายก็ได้ - ลายข้าวหลามตัด เป็นหลายที่ดัดแปลงมาจากลักษณะ ของรูปไพ่ แต่ก่อนได้รับความนิยมมาก ลายทำ เป็น รูปข้าว หลามตัดและเอาลายดอกพิกุล ดอกจันทร์ มาใส่ตรงกลาง - ลายใบไม้ เป็นลายที่เลียนแบบจากธรรมชาติ มีลักษะ คล้ายลายเส้นใบไม้ ซึ่งมีรูปทรงและลวดลายของใบที่ แตกต่างกันไป ๒. ลวดลายใหม่ - เป็นลายที่ผู้ซื้อสั่งทำ โดยเอารูปแบบจากที่อื่นมาให้ดูหรือเขียน แบบมาให้ ช่างจะแกะสลักได้ ทุกแบบ เป็นวิวัฒนาการได้ ลวดลายเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ลายกระรอก ลายช้างเดี่ยว ลายช้างคู่ ลายมะเฟือง ลายแมงมุม เป็นต้น
รูปแบบเครื่องเงิน เครื่องเงินเมืองสุรินทร์ มีการทำ ลักษณะเม็ดเงินออกมาไม่หลายรูปแบบนัก เพราะไป เน้นตรงการ แกะสลักลวดลายมากกว่า เท่าที่รวบรวมรูปแบบที่ผลิตมี ๔ รูปแบบ คือ ๑. แบบเม็ดประคำ ทรงกลม มีลักษณะทรงกลมพองตรงกลาง ส่วนหัวและท้ายแบน คล้ายผลส้ม รูปแบบนี้มีการทำ มากที่สุดและหลายขนาด เมื่อแกะลวดลายแล้วนำ มา ร้อยเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อ มือ ตุ้มหู พวงกุญแจได้สวยงามมาก ๒. แบบตะโพนหรือแบบทรงกระบอก ทำ เป็นแท่งยาวตรงสูง ๑ – ๒ เซนติเมตร เส้น ผ่าศูนย์ กลาย ๐.๕ เซนติเมตร เมื่อนำ มาแกะลวดลายเสร็จนิยมนำ มาร้อยต่อ ๆ กัน เป็นสร้อยคอ สร้อยข้อ มือ เข็มขัด พวงกุญแจ ตุ้มหู ๓. แบบโอ่ง ทำ คล้ายแบบทรงกระบอก แต่จะพองตรงกลางคล้ายโอ่ง มีหลายขนาด เมื่อนำ มาแกะ ลวดลายแล้วนิยมนำ มาร้อยสลับกันเม็ดแบบต่าง ๆ เป็นสร้อยคอ ตุ้มหู พวงกุญแจ ๔. แบบสี่เหลี่ยม ทำ เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเจาะรูร้อยตรงมุมเมื่อแกะลวดลายแล้ว นิยม นำ มาร้อยทำ เป็นพวงกุญแจ ตุ้มหู มากกว่ามาร้อยทำ สร้อยคอ หรือสร้อยข้อมือ นอกจากนี้ยังมีการทำ เข็มขัดเงิน ทำ ตุ้มหูที่เรียกวํา “ตะเการ์” ตะเการ์ของสุรินทร์ทำ เงิน เป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วนำ มาประกอบเป็นรูป ทรงกลมได้ลายเป็นกลีบดอกไม้ฝอย ๆ สวยงามมาก มีชํางฝีมือที่ชำ นาญจริง ๆ เท่านั้นที่จะทำ ได้ สํ วนรูปแบบอื่นช่างเครื่องเงินทั่วไปทำ ได้หมด ต่างกันตรงฝีมือการแกะลวดลาย และความชำ นาญ ของช่างแต่ละคน เม็ดเครื่องเงินที่มีผู้นิยม มากที่สุด คือ แบบทรงกลม รองลงมาเป็นแบบทรง ตะโพน แบบโอ่ง และแบบสี่เหลี่ยม ตามลำ ดับ ๘
ประเกือม การทำ เครื่องประดับเงิน ของชาวสุรินทร์นับวําเป็นสิ่งที่แปลกต่างจากที่อื่น มากทีเดียว เครื่อง ประดับเงินของชาวสุรินทร์มีทั้งที่เป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน เข็ม ขัด ต่างหู แต่ที่ไม่เหมือน ใครเลยในประเทศไทย และดูเหมือนจะมีแห่งเดียวในโลกก็คือ การ ทำ ประเกือม (Silver bead) ประเกือมสุรินทร์เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนโบราณชิ้นหนึ่งที่หลงเหลืออยู่ ในท้องที่จังหวัด สุรินทร์ ในปัจจุบันนี้มรดกทางวัฒนธรรมของคนโบราณประเภทนี้มีอยู่ แห่งเดียวเท่านั้นในโลก ซึ่ง เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอนุรักษ์มรดกโลกชิ้นนี้เอาไว้ ความหมายประเกือม คำ ว่า “ประเกือม” เป็นภาษาเขมร ตรงกับภาษาไทยว่า ประคำ เป็นการใช้เรียก เม็ดเงิน เม็ดทอง ชนิดกลมที่นำ มาใช้ร้อยเป็นเครื่องประดับ ถ้าเป็นหินกลม เขาเรียกว่า ลูกปัด ซึ่งตรงกับภาษา อังกฤษคำ เดียวกันคือ beads ถ้าทำ ด้วยเงินเขาเรียกวําประคำ เงิน (Silver beads) ถ้าทำ ด้วยทอง เขาเรียกว่าประคำ ทอง (Gold beads) ดังนั้นประเกือมจึง ใช้เฉพาะเม็ดกลมที่ทำ ด้วยเงินหรือทอง เท่านั้น ๙
ประเกือม ลูกประเกือม เมืองสุรินทร์เจริญมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนาน หลักฐานคือ ลักษณะของ ประเกือมคล้ายคลึงกับเม็ดประคำ เงินของประเทศเนปาล ซึ่งถือวําเป็นต้นกำ เนิด อารยธรรมสมัยนั้น เนื่องจากบันทึกของชาวจีนว่า ในสมัยฟูนาน นั้น มีการนำ เครื่องประดับเงินจากอินเดียผ่านฟูนานไปยังประเทศจีน ดังนั้น ประเกือมจึงเป็นสินค้า ชนิดหนึ่งที่ มีการนำ ข้าจากอินเดียในสมัยนั้นมายังฟูนาน โดยส่วนหนึ่งใช้เป็น เครื่องประดับในอาณาจักรฟูนานเอง และอีก ส่วนหนึ่งก็ส่งไปยังจีน ความแตกต่าง ของลูกประคำ เนปาลกับประเกือมสุรินทร์อยู่ที่การอัดครั่งข้างในเพราะ ของเนปาลนั้นไม่มีการอัดครั่ง อีกด้านหนึ่งได้แก่ ลวดลาย เพราะของเนปาล นั้นไม่มีลวดลายมากนัก แต่ของ สุรินทร์จะมีลวดลายมากกว่า โดยพัฒนารูปแบบจาก เดิม คือ ใช้โลหะเงินน้อยลงแต่ได้ปริมาณเครื่องประดับที่ ต้องการเท่าเดิม การอัดครั่ง ข้างในโดยใช้โลหะเงินบาง ๆ นั้นสามารถแกะลายได้ง่ายกว่า และสวยงามกว่าเดิม และ ที่สำ คัญคือ เนื้อเงินต้องบริสุทธิ์แท้มิเช่นนั้นจะไม่สามารถตีรูปทรงได้นับว่าเป็น พัฒนาการอีกก้าวหนึ่งของ การทำ เครื่องประดับเงิน จากรูปแบบเดิมของเนปาล มาเป็น เอกลักษณ์ของสุรินทร์โดยเฉพา ประเกือมสุรินทร์ จึงสามารถคงลักษณะของความบริสุทธิ์ของเงินแท้ได้ความ จริงการทำ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทองใน หมู่บ้านนี้ มีทำ ทุกแบบตั้งแต่การทำ สร้อยคอธรรมดา สร้อยข้อมือ กำ ไล เข็มขัด แต่สิ่งที่เด่นและมีความแตก ต่างจากท้องที่ นั้น มีเพียงสองอย่างคือ ต่างหูที่ชาวสุรินทร์นิยมใส่ มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายของ อินเดียมาก เรียกว่า ละเวง หรือตีนตุ๊กแก ซึ่งมีลักษณะสวยงามเป็นพิเศษ และมีลักษณะ เฉพาะตัวของสุรินทร์เท่านั้น ประ เกือมสุรินทร์ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนโบราณชิ้นหนึ่งที่หลงเหลือ อยู่ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ ในปัจจุบัน นี้มรดกทางวัฒนธรรมของคนโบราณประเภทนี้มี อยู่แห่งเดียวเท่านั้นในโลก ซึ่งเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะ อนุรักษ์มรดกโลกชิ้นนี้เอาไว้ ๑๐
เส้นทางสู่หมู่บ้านเครื่องเงิน บ้านโชค ตำ บลเขวาสินรินทร์อำ เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านแรกที่ทำ ลูกประเกือม แต่ต่อ มาความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น การผลิตก็ขยายตัวเกือบทั่วทั้งตำ บลเขวาสินรินทร์ถ้าหากเราเดิน ทางจากเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ข้ามทางรถไฟไปตามถนนสายสุรินทร์- ร้อยเอ็ด ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๑๔ ก็มีทางลาดยางเลี้ยวขวา จะมีป้ายบอกบ้านเขวาสินรินทร์ “หมู่บ้านทอผ้าไหม” อีกป้ายหนึ่ง “หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน” พอเข้าไปได้ ๒ กิโลเมตร จะ ถึงบ้านสดอ ทั้งหมดนี้คือหมู่บ้านเครื่อง เงิน ๑๑
การทำ ประเกือม สมัย เมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว มีช่างทำ เครื่องเงินของบ้านโชคอยู่ไม่ถึง ๒๐ หลังคาเรือน ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เจ้าหน้าที่ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เดินทาง ไปพบ จึงสั่งทำ ขึ้นและออกเผยแพร่ ทางวารสารและสื่อมวลชนต่าง ๆ ทำ ให้ประเกือมเป็น ที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๓๒ ปรากฏว่ามีครอบครัวทำ เครื่องเงินมากกว่่า ๕๐ หลังคาเรือนแล้ว ซึ่งทั้งหมดทำ อยู่ที่ บ้านโชคทั้งสิ้น ระหว่างวันที่ ๔-๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ สมาคมหัตถอุตสาหกรรมอีสานใต้ร่วม กับกรมส่งเสริม อุตสาหกรรมได้จัดแสดงสินค้า “เครื่องเงินตระกร้า ผ้าสุรินทร์” ขึ้นที่ห้องแก รนด์ฮอลล์ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ กรุงเทพมหานคร ในการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก สื่อมวลชนต่าง ๆ เป็นอย่างดีโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศ ทำ ให้เครื่องเงินสุรินทร์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ๑๒
การทำ ประเกือม ภายหลังการจัดงานเสร็จแล้ว ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศไปเยี่ยมชมการทำ ครื่อง เงินหมู่บ้านนี้มากขึ้น การทำ ประเกือมจึงขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ในปัจจุบันนี้ชาวตำ บลเขวาสินรินทร์เกือบทั้งตำ บล มีรายได้หลักจากการผลิตและ จำ หน่ายประเกือม การทำ ประ เกือมนี้จะมีการจับกลุ่มกัน แต่ละกลุ่มประกอบด้วย ช่างที่มี ความชำ นาญ ๑ คน และลูกมือที่มีความชำ นาญรอง ลงไปตามลำ ดับ จนถึงเด็กฝึกงานอีก ๔ คน รวมเป็น ๕ คน แต่ละคนจะทำ หน้าที่แต่ละอย่างตามความชำ นาญมาก น้อยต่างกันไป ลูกประเกือม ที่มีทำ ในหมู่บ้านนี้ถ้าพิจารณาตามรูปแบบแล้วจะมีอยู่ประมาณ ๑๓ แบบ คือ ถุงเงิน หมอน แปด เหลี่ยม หกเหลี่ยม กรวย แมงดา กะดุม โอ่ง มะเฟืองตะโพน ฟักทอง จารย์ (ตะกรุด) ประเกือม แต่ละแบบจะมี ขนาดที่แตกตํางกันไป ซึ่งขนาดเล็กที่สุดจะมี เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณครึ่งเซนติเมตร จนถึงขนาดใหญํที่มีเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ – ๓ เซนติเมตร ส่วนลักษณะที่ทำ นั้น ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไปบ้างแล้วแต่ความ ต้องการของผู้สั่งหรือผู้ทำ ที่เห็นว่าควรจะมีการดัดแปลงจากเดิมอย่างไรบ้าง (แบบลายเส้น) แต่ทั้งหมดนี้ได้มาจาก จินตนาการจากธรรมชาติรอบตัวของเขาในสมัยนั้นนั่นเอง การทำ ประเกือม โดยวัตถุประสงค์ในการทำ นั้นเพื่อสร้างความสวยงามเป็นที่ ประทับใจของผู้พบเห็นยิ่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นเนื้อเงินจึงอยู่เฉพาะด้านนอกบาง ๆ เท่านั้น ส่วน ด้านในเป็นครั่ง การที่มีเนื้อเงินอยู่ด้านนอกบาง ๆ ทำ ให้ สะดวกในการแกะลาย เนื้อเงินนี้จึง มีความบริสุทธิ์มาก เพราะถ้าหากมีโลหะอื่นผสมแล้ว จะทำ ให๎้นื้อเงินแข็งไม่ สามารถแกะ ลายได้ จึงเป็นเครื่องป้องกันความบริสุทธิ์ในตัวของประเกือมสุรินทร์เพราะถ้าหากมีการ ผสมโลหะ อื่นแล้วจะทำ ไม่ได้ ในด้านลายก็เช่นเดียวกัน ตามปกติก็จะแกะลายที่เห็นจาก ธรรมชาตินั่นเอง เช่นลายตรง ลายตาราง ลายกลีบบัว ลายดอกพิกุล ลายดอกจันทน์ลาย พระอาทิตย์ลายดอกทานตะวัน ลายตากบ ฯลฯ ซึ่งลาย ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมาจากธรรมชาติ รอบตัวเขาทั้งสิ้น ประเกือมที่พบ จะเป็นสีดำ เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะหลังจากทำ เสร็จเรียบร้อย แล้ว ช่างจะต้องเอาไปรงดำ เพื่อให้ ลายที่แกะนั้นเด่นชัดขึ้นกว่าเดิม ความสวยงามของ ประเกือมสุรินทร์นั้น อยู่ที่ลายที่แกะด้านนอก กับความ แวววาวของเนื้อโลหะเงิน ๑๓
ขั้นตอนการทำ ประเกือม การผลิต เครื่องประดับเงิน “ประเกือม” ช่างผู้ทำ ได้รับความรู้เป็นมรดกตกทอด มา หลายชั่วอายุคน ซึ่งช่างในสมัยโบราณจะสั่งสอนและฝึกฝนให้แก่ทายาท ทำ ให้ผู้ที่มี ความรู้ ความชำ นาญในการผลิตเครื่องประดับค่อนข้างจะมีน้อย และจำ กัดอยู่ในวง เครือญาติของช่าง สมัยก่อน ประกอบกับช่างผู้ทำ ประเกือมนั้น ต้องเป็นผู้มีความขยัน อดทน มีความ ละเอียดอ่อน ประณีต รอบคอบและพิถีพิถันในผลงาน จึงทำ ให้มีผู้สนใจ ฝึกฝนน้อย ๑๔
ขั้นตอนการทำ ประเกือม ๑. นำ ก้อนเงินมาหลอมละลายในเบ้าหลอม และนำ มาแผ่ เผาแล้วรีดให้เป็นแผ่น ๒. นำ แผ่นเงินที่รีดบางมาม้วนให้กลมเป็น หลอด โดยใช้ไม้ไผ่ แล้วเชื่อมรอยต่อด้วย น้ำ ยาประสานและความร้อน ๓. นำ เงินที่ม้วนให้กลมเป็นหลอดมาตีให้ได้ รูปร่างเป็นลูกประเกือม แล้วให้ความร้อน เพื่อให้อยู่ตัว ๔. ใส่ขอบรูประเกือมโดยใช้เส้นลวดที่ขดเป็น วง วางที่หัวและท้ายของลูกประเกือม แล้ว เชื่อมโดยใช้น้ำ ยาประสานและความร้อน ๕. ทำ เส้นร้อยเป็นโลหะผสมระหว่างเงินกับ ทองแดง เผาไฟให้ร้อนรีดให้ยาวเป็นเส้น ๖. นำ ลูกประเกือมที่ใส่ขอบเรียบร้อยแล้วไปต้ม ให้ขาวในสารละลายประกอบด้วยน้ำ สารส้ม และเกลือในอัตราส่วนที่พาเหมาะ ประมาณ ๑๕ นาที ๗. อุดรูลูกประเกือมด้วยชันเพื่อให้รูปทรงตัว ๘. นำ ลูกประเกือมไปสักลวดลายตามที่ต้องการ ๙. เจาะรูตรงกลางเพื่อร้อย ๑๐. นำ ลูกประเกือมมาขัดทำ ความสะอาด ๑๕
อุปกรณ์ใช้ในการทำ ประเกือม อุปกรณ์ ที่ใช้ทำ เครื่องเงินในจังหวัดสุรินทร์นั้น แรกเริ่มการทำ เครื่องเงินยังใช้ อุปกรณ์ ที่ไม่ละเอียดนัก จะทำ ขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การหลอมจะต้องใช้ไฟที่เป็น เชื้อเพลิง ธรรมดาหรือการทำ ลายของเครื่องเงินยังต้องใช้ตะปูมาทำ เพื่อให้แกะสลักได้ เพราะ ฉะนั้นลวดลายตลอดจนความละเอียดอ่อนต่าง ๆ จึงทำ ไม่ได้ลายงามอาจแข็งไม่ ละเอียดนัก แต่ลวดลายในแรกเริ่มนั้นก็ยังมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะ ความงามของเครื่องเงินในอดีตนั้นจะทำ ลวดลายอย่างง่าย โดยเลียนแบบสิ่งของ ที่ใช้ใน ชีวิตประจำ วัน เช่น ลายมะเฟือง ลายหมอน ลายฟักทอง เป็นต้น ๑๖
อุปกรณ์ใช้ในการทำ ประเกือม ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์ที่ใช้ทำ เครื่องเงินทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่ยังต้องใช้แรงงานของคนเป็น ส่วนใหญ่ เพราะลูกประ เกือมเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ฝีมือ ในการทำ เครื่องเงินใน สุรินทร์เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กในครัว เรือนเทํานั้น ไม่มีเงินทุนมากนัก อุปกรณ์ที่ใช้ทำ เครื่องเงินแบบง่าย ๆ มีดังนี้ ๑. อุปกรณ์การหลอมและรีด - เบ้าหลอม - เบ้าจานหรือบล็อกเทเงิน - หัวเชื่อม - เครื่องรีด - แป้นดึงลวดขนาดต่าง ๆ ๒. อุปกรณ์การขึ้นรูป - แท่นไม้หรือเหล็กขนาดต่าง ๆ ตามลักษณะชิ้นงาน - ฆ้อนขนาดต่าง ๆ ๓. อุปกรณ์การแกะลาย - ลิ่วตะปู ขนาดต่าง ๆ สำ หรับไว้แกะลาย - ฆ้อน ขนาดต่าง ๆ - ชัน ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ สำ เร็จรูป ๔. อุปกรณ์บัดกรี - เครื่องสูบลม - หัวเชื่อม - ถังน้ำ มันเบนซิน - น้ำ ยาประสาน ๑๗
อุปกรณ์ใช้ในการทำ ประเกือม ๕. อุปกรณ์ที่ใช้ทำ ความสะอาดและย้อมสี - แปรงขัด - ผงซักฟอก - สารส้ม - ยาย้อมผมสีดำ ๖. อุปกรณ์วัดขนาดและเครื่องชั่ง ๗. อุปกรณ์อื่น ๆ - ไม้ไผ่อัดชันขนาดต่าง ๆ - เข็มและด้าย - เครื่องมือเคลือบผิวลูกปะเกือมด้วยไฟฟ้า - เตาและถ่านไม้ - คีมจับขนาดต่าง ๆ ๑๘
การเรียงร้อยสร้อยประคำ โดยธรรมชาติ ของโลหะเงินนั้น มีความงามอยู่ในตัวอยู่แล้ว เพราะเป็นโลหะที่มีความ แวววาว ทำ ให้เป็นที่นิยมใช้ทำ เครื่องประดับ แต่การทำ ประเกือมนั้น เป็นการเพิ่ม สี สรรให้แก่โลหะเงิน ในรูปของศิลปะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นจึงทำ ให้มีผู้นิยมเอาประเกือม เหล่านี้ มาเรียง ร้อยทำ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู และผสมกับวัตถุชนิดอื่น เช่น มุก ลูกปัด หิน นิล โกเมนคริสตัล และเงินในรูปอื่น เช่น เม็ดข้าว เม็ดทราย การนำ เอาประ เกือมไป ผสมกับสิ่งดังกลําวนี้เป็นการเพิ่มความ สวยงามในรูปของศิลปะและคุณคํา ของสร้อยชนิด ต่าง ๆ เหล่านั้นมากขึ้น ๑๙
การใช้เครื่องประดับเงินในพิธีกรรมต่าง ๆ คนไทยในสมัยโบราณนิยมสวมสร้อยเงิน ประคำ ตะกรุดเงิน ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ มี ความเชื่อว่า สามารถใช้เป็นเครื่องรางของขลัง เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิตและครอบครัว และ ปกป้องอันตรายจากอาวุธและสัตว์ร้าย ซึ่งมีผลทางด้านจิตใจต่อผู้สวมใส่ ทำ ให้ผู้ สวมใส่มีขวัญ กำ ลังใจดี มีความมั่นใจในการประกอบกิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อ ต้องการออกไปผจญภัย ใหญ่น้อยในการทำ ศึกสงคราม ในปัจจุบันการใช้เครื่องประดับ เงินในแง่ของการเป็นเครื่องรางของขลัง ตามความเชื่อ ต่าง ๆ ค่อย ๆ เลือนหายไป คง เหลือแต่การทำ เครื่องเงินเพื่อเป็นเครื่องประดับ และของใช้ใน ครัวเรือน เครื่อง ประดับเงิน เป็นเครื่องประดับของสตรีชาวสุรินทร์เป็นส่วนใหญ่ สุภาพบุรุษจะ ใช้เป็น ส่วนน้อย การแต่งกายของสตรีชาวสุรินทร์นั้นจะใช้ผ้าไหมและจะใส่เครื่องประดับเงิน ประเกือม จนมีคำ ขวัญว่า “นุ่งผ้าไหม ใส่ประเกือม” ในปัจจุบันการแต่งกายไปในงาน พิธี ต่าง ๆ ของชาวสุรินทร์จะนิยมนุ่งผ้าไหมใส่เครื่องประดับเงิน เช่น งานบวชนาค งานแต่งงาน ประเพณีอื่น ๆ ๒๐
การใช้เครื่องประดับเงินในพิธีกรรมต่าง ๆ เครื่องเงินเมืองสุรินทร์เป็นศิลปะที่สัมผัสได้ทั้งความงดงามในด้านจิตใจภายใน และ ความงดงามภายนอก เมื่อได้นำ มาประดับตกแต่งในเรือนกาย ที่สำ คัญอีกประการหนึ่ง คือ ภูมิปัญญาของชาวบ้านไม่เคยหยุดนิ่ง พยายามคิดสร้างสรรค์รูปแบบลวดลายให้ เป็นไป ตามความต้องการของลูกค้าตลอดเวลา เป็นการเสริมสร้างศิลปหัตถกรรมได้ แปลกใหม่เป็น ที่นิยมได้อย่างต่อเนื่อง ลูกหลานในบ้านโชค บ้านสะดอ บ้านเขวาสินริ นทร์ได้ยึดการทำ เครื่องเงินรูปพรรณเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวอย่างภาคภูมิใจ ด้วย ฝีมือที่ประณีตงดงามด้วย ราคาย่อมเยา ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีพอใช้ด้วยรายได้ จากการจำ หน่ายเครื่องเงิน การ ช่วยตนเองของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเลี้ยง ครอบครัว ทางราชการได้สนับสนุนช่วย พัฒนาถนนเข้าหมู่บ้านและสาธารณูปโภคให้มี ความสะดวกมากขึ้น หมู่บ้านนี้จึงกลายเป็น หมู่บ้านวัฒนธรรมที่สำ คัญของจังหวัด สุรินทร์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าไปจับจ่ายซื้อ เครื่องเงินกันตลอดปี การทำ เครื่องเงินรูป พรรณจึงเป็นอาชีพหัตถกรรมที่สืบทอดมาจาก บรรพบุรุษที่ควรค่าแก่การส่งเสริมและ อนุรักษ์ไว้ต่อไป ๒๐
อ้างอิง หนังสือส่งเสริมการอ่านแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์.(2557).หัตถกรรมเครื่องเงินล้ำ ค่า. (ออนไลน์).ได้จาก https://www.kroobannok.com/news_file/p91775671007.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) ๒๒
จบการนำ เสนอ