The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

(5) 58 หน้า แนวทางการดำเนินกิจกรรม _ป.ป.ช. สพฐ. น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ. ชุมชน_

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือแนวทางการดำเนินกิจกรรม _ป.ป.ช. สพฐ. น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ. ชุมชน_

(5) 58 หน้า แนวทางการดำเนินกิจกรรม _ป.ป.ช. สพฐ. น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ. ชุมชน_

Keywords: ป.ป.ช. สพฐ. น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ. ชุมชน

ก "แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" คำนำ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้เสนอว่าการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นสุจริตชนทุกภาค ส่วนต้องร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมให้เป็นนโยบายการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ปรับทิศทางจากการมุ่ง สร้างคนเก่งให้เป็นการสร้างคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม ดำรงชีวิตสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อสังคมที่มีเสถียรภาพ สามารถพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง รวมทั้งการแก้ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศชาติอย่างยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่รับผิดชอบงานการจัดการศึกษาให้แก่เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศให้เป็นพลเมือง ที่มีคุณภาพในอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสถานศึกษา จึงได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรร ม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อวางรากฐานการปลูกจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริต อันเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและปราบปราม การทุจริตของประเทศชาติให้แก่นักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนทั้งในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปัจจุบัน การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ย่างเข้าสู่ปีที่ ๑๐ ผลการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ ทุกกิจกรรมประสบผลสำเร็จ บรรลุเป้าหมายเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ดี เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานได้รับความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงมอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาปรับปรุงเอกสารแนวทางการดำเนินกิจกรรมใหม่ให้ เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเอกสารชุดนี้จะประกอบด้วย แนวทางการดำเนินกิจกรรม จำนวน ๑๑ เล่ม ดังที่ระบุไว้ในคำชี้แจง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอขอบคุณคณะทำงานและผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดทำเอกสารชุดนี้จนเสร็จสมบูรณ์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสาร ทั้ง ๑๑ เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ได้เป็นอย่างดี สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ข "แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำชี้แจง ค ๑. กรอบแนวคิด ๑ ๒. วัตถุประสงค์ 1 3. แผนภูมิแนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย 2 4. แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย 3 5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย 5 6. แผนภูมิแนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน 8 7. แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน 9 บรรณานุกรม 14 ภาคผนวก 15 กิจกรรมที่ ๑ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียน 16 กิจกรรมที่ ๒ การกำหนดกิจกรรม/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 18 กิจกรรมที่ ๓ การวิเคราะห์การประสานความร่วมมือฯ 19 กิจกรรมที่ ๔ การประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ 22 กิจกรรมที่ ๕ การติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดีฯ 24 กิจกรรมที่ ๖ แบบรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย 25 กิจกรรมที่ ๗ แบบประเมินผลการดำเนินงานของป.ป.ช.สพฐ.น้อย 26 กิจกรรมที่ ๘ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในชุมชน 27 กิจกรรมที่ ๙ การกำหนดกิจกรรม/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 30 กิจกรรมที่ ๑๐ แบบประเมินบุคคลในชุมชนต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ 31 กิจกรรมที่ ๑๑ แบบตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดีฯ 33 กิจกรรมที่ ๑๒ แบบประเมินผลการดำเนินงานของป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน 34 กิจกรรมที่ ๑๓ แบบสรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ฯ 35 แนวทางการใช้แบบประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต 36 นิยาม ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และเกณฑ์การให้คะแนน 37 ตัวอย่างโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน 42 คณะทำงาน 50


ค "แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" คำชี้แจง โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) หรือเรียกย่อๆ ว่า “โครงการโรงเรียนสุจริต” เป็นโครงการที่เกิดจาก การบูรณาการความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น “การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ” ในลักษณะประสานเชื่อมโยงเครือข่าย ที่นำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ซึ่งมุ่งเน้น ให้ความสำคัญกับกระบวนการปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะที่ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการ กล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัย (ตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับอุดมศึกษา) เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้าน การทุจริตส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด ปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต และมีจิตสาธารณะ ซึ่งเป็น ที่คาดหวังว่าจะเป็นคุณธรรมจริยธรรมที่ช่วยป้องกันการทุจริต สร้างความตระหนักให้ยึดประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน การดำเนินการโครงการนี้เป็นการดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่ม ตัวแทน ที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวม และเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ โดยสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อต้านการทุจริตให้บรรลุ เป้าหมาย ๔ กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ ๑ ปรับฐานความคิดทุกช่วงวัย ตั้งแต่ระดับปฐมวัยให้สามารถแยกแยะ ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อม เกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต กลยุทธ์ที่ ๓ ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต และกลยุทธ์ที่ ๔ เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community) และบูรณาการทุกภาคส่วน โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) นี้ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ มีโรงเรียนเข้าร่วม โครงการในปีแรก ๒๒๕ โรงเรียน ซึ่งถูกกำหนดให้เป็น “โรงเรียนสุจริตต้นแบบ” และได้มีการขยายเครือข่าย โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นทุกปี จากร้อยละ ๑๐ ร้อยละ ๒๐ ร้อยละ ๓๐ และร้อยละ ๔๐ ตามลำดับ จนกล่าวได้ว่ามีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสุจริตครบทุกแห่งในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ จุดเน้นสำคัญ ของโครงการโรงเรียนสุจริตคือ เพื่อพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ๑) ทักษะกระบวนการคิด ๒) มีวินัย ๓) ซื่อสัตย์สุจริต ๔) อยู่อย่างพอเพียง และ ๕) จิตสาธารณะ โดยดำเนินการตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่โครงการกำหนดขึ้น ทั้งนี้อาจมีการปรับปรุง เพิ่มหรือลด กิจกรรมในแต่ละปีตามบริบทและความเหมาะสม กิจกรรมที่ส่งเสริมให้โรงเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต ดำเนินการมีหลากหลายกิจกรรม ได้แก่ ๑) กิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.น้อย ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ๒) กิจกรรมถอด บทเรียน Best Practice ๓) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี ๔) กิจกรรมสร้างสำนึกพลเมือง (Project Citizen) ๕) กิจกรรมสร้างสรรค์ต่อต้านการทุจริตผ่านสื่อภาพยนตร์สั้น และ ๖) กิจกรรมค่ายเยาวชน "คนดีของ แผ่นดิน" ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาได้จัดทำ


ง "แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" แนวทางการดำเนินกิจกรรมทั้ง ๖ กิจกรรม ตลอดทั้งจัดทำมาตรฐานโรงเรียนสุจริตขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง ให้โรงเรียนพัฒนาตนเองให้บรรลุตามเป้าหมายของโครงการ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนี้สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสามารถใช้ในการนิเทศ แนะนำช่วยเหลือให้โรงเรียนดำเนินการตามโครงการโรงเรียนสุจริต ได้อย่างมั่นใจ และสามารถใช้ประเมินโรงเรียนเพื่อรับรองการผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริตด้วย นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษายังได้ทำการวิจัยรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนสุจริต และริเริ่มแนวทางการดำเนินการประเมินโรงเรียนสุจริตพระราชทานขึ้น เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนสุจริต ที่ดำเนินการบรรลุเป้าหมาย “คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต” มีผลงานเชิงประจักษ์ ปรากฏเด่นชัด มีโอกาสเข้ารับโล่รางวัลพระราชทาน เป็นขวัญกำลังใจให้แก่โรงเรียนที่ทุ่มเทพัฒนาในการสร้าง คนดีให้บ้านเมือง อันจะส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน อย่างไรก็ตาม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เห็นความจำเป็น อย่างเร่งด่วนในการเร่งรัดการขับเคลื่อนแนวคิดที่ประชาชนต้องไม่ทนต่อการทุจริตในทุกระดับการศึกษา ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกในการแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ รู้จักอยู่ อย่างพอเพียง มุ่งสร้างพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต และเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ผ่านการจัดการเรียนรู้ในการศึกษาทุกระดับ จึงได้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่มีโรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดทำหลักสูตร/ชุดการเรียนรู้ และสื่อประกอบการเรียนรู้ด้านการป้องกันการทุจริต โดยขอความร่วมมือให้หน่วยงานการศึกษาแต่ละระดับ การศึกษา นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะองค์กรรับผิดชอบการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” ประกอบด้วยเนื้อหา ๔ หน่วยงานเรียนรู้ ได้แก่ ๑) การคิดแยกแยะระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ๒) ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต ๓) STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต และ ๔) พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมทั้งจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตร ครบถ้วนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และส่งให้โรงเรียนทุกแห่งในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผล ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และเกิดคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยให้โรงเรียน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นมา ปัจจุบัน การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลใน สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๑๐ ประกอบกับมีการเปลี่ยน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ซึ่งยังคงยึดตามเจตนารมณ์ ของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสำนักพัฒนานวัตกรรม ทางการศึกษาเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงแนวทางการดำเนินการกิจกรรมตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ให้มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงกระตุ้นโรงเรียนให้พัฒนาตนเอง จนประสบผลสำเร็จตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต และพัฒนาไปสู่การเป็นโรงเรียนสุจริตรางวัลพระราชทาน จึงได้จัดทำเอกสารชุดนี้ขึ้น เพื่อให้โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานต่อไป


จ "แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" เอกสารชุดนี้ มีจำนวน ๑๑ เล่มประกอบด้วย ๑. แนวทางการประเมินโรงเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต ๒. แนวทางการประเมินโรงเรียนสุจริตพระราชทาน ๓. แนวทางการใช้และประเมินผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายวิชา เพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” ๔. แนวทางการจัดทำหนังสือเล่มเล็กจากผลการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” ๕. แนวทางการดำเนินกิจกรรม “ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน” ๖. แนวทางการดำเนินกิจกรรม “บริษัทสร้างการดี” ๗. แนวทางการดำเนินกิจกรรม “ค่ายเครือข่ายผู้นำเยาวชนไทยหัวใจ STRONG” ๘. แนวทางการดำเนินกิจกรรม “สร้างสำนึกพลเมือง” ๙. แนวทางการดำเนินกิจกรรม “สื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต” ๑๐. แนวทางการดำเนินกิจกรรม “ถอดบทเรียน” ๑๑. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต เอกสารฉบับนี้เป็น เล่มที่ ๕ “แนวทางการดำเนินกิจกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ. ชุมชน” สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะได้รับประโยชน์และสามารถดำเนินงานตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ด้วยความมั่นใจ และบรรลุเป้าหมาย คือ ความเป็นคนดี เป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของชาติอย่างยั่งยืนต่อไป


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑ ๑. กรอบแนวคิด กิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน เป็นกิจกรรมที่มุ่งหวังให้นักเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมคิดและเรียนรู้กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ชุมชนมีส่วนช่วยให้ข้อเสนอแนะไปพร้อม ๆ กับการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม ของโรงเรียน การที่นักเรียนและชุมชนมีโอกาสร่วมคิด ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามตรวจสอบไปด้วยกัน จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน อันนำไปสู่สังคมที่อยู่ร่วมกันด้วยการยึดถือ ความถูกต้องและความดีเป็นหลักในการทำงาน กิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน เป็นกิจกรรม ต้นแบบในการทำความดี โดยผ่านกระบวนการทำงานเป็นทีม มีระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน มีการวางแผน การทำงาน การดำเนินงาน การติดตามตรวจสอบ อย่างมีส่วนร่วม มีการสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทราบ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน จะเป็นผู้นำในการทำความดี ดูแลการสร้างความดีของเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน และบุคคล ในชุมชนอย่างใกล้ชิด ช่วยแนะนำและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ให้ลดลงได้โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือการสร้างคุณธรรมให้เกิดกับนักเรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ซึ่งจะส่งผล ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้มีทักษะในการดำรงชีวิต มีภูมิคุ้มกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดี อันจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพต่อไป ๒. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ อย่างชัดเจนและนำไปปฏิบัติได้ ๒. เพื่อให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการป้องกัน และต่อต้านการทุจริต ๓. เพื่อให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ส่งเสริม ป้องกัน ต่อต้าน และพัฒนา ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔. เพื่อสร้างเครือข่ายการป้องกันการทุจริตในโรงเรียนและชุมชน


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒ ๓. แผนภูมิแนวทางการดำเนินกิจกรรมป.ป.ช.สพฐ.น้อย บรรลุผล ร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย แนวทางการดำเนิน กิจกรรมป.ป.ช.สพฐ.น้อย แต่งตั้ง ป.ป.ช.สพฐ.น้อย โรงเรียน - จัดทำรายงานผลต่อโรงเรียน - เผยแพร่ผลงาน ไม่บรรลุผล ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ดำเนินงาน ตามบทบาทหน้าที่และกิจกรรมที่กำหนด สรุปผลการประเมิน อบรมให้ความรู้เกี่ยว กับบทบาทหน้าที่ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.น้อยประเมินผล การดำเนินงาน ของตน โรงเรียนร่วมกับ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.น้อย


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓ ๔. แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ๔.๑ โรงเรียนแต่งตั้ง ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ๔.๑.๑ โรงเรียนดำเนินการสรรหาและจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตสำหรับนักเรียน (ป.ป.ช.สพฐ.น้อย) จากนักเรียนระดับชั้นใดก็ได้ที่มีคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต มีวาระ ๑ ปีการศึกษา ตามขนาดของโรงเรียนที่กำหนด ดังนี้ โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน ๕ คน (จำนวนนักเรียน ต่ำกว่า ๑๒๐ คน) โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน ๙ คน (จำนวนนักเรียน ๑๒๑ – ๓๐๐ คน) โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน ๑๕ คน (จำนวนนักเรียน ๓๐๑ – ๑,๕๐๐ คน) โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน ๒๑ คน (จำนวนนักเรียน ๑,๕๐๑ คน ขึ้นไป) เมื่อโรงเรียนดำเนินการสรรหา/คัดเลือกเรียบร้อยแล้ว ให้โรงเรียนส่งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี อนึ่ง หาก ป.ป.ช.สพฐ.น้อย พ้นสภาพการศึกษาหรือหมดวาระ ให้โรงเรียนดำเนินการแต่งตั้งใหม่ และส่งคำสั่งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๔.๑.๒ โรงเรียนกำหนดกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ลงในโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ทุกปีการศึกษา ๔.๑.๓ โรงเรียนกำหนดบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ตามกรอบแนวคิดของสำนักพัฒนา นวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ. น้อย ปฏิบัติ ดังนี้ ๑) กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ๒) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ๓) สอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔) เป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ในการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตในโรงเรียนและชุมชน ๕) ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่างนักเรียน โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๖) สรรหา/คัดเลือก ผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๗) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตในโรงเรียน ๘) ตรวจสอบการดำเนินงานบริษัทสร้างการดีของโรงเรียน โดยใช้แบบตรวจสอบ แบบ สก.๑๑ ๙) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปีการศึกษาต่อโรงเรียน ๑๐) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๔ ๔.๒ โรงเรียนจัดอบรมหรือประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย โดยมีเนื้อหาสาระ ต้องรู้ และนำสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง ประกอบด้วย ๑) บทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ๒) แนวทางการดำเนินกิจกรรมของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ ๓) แนวทางการประเมินผลตามบทบาทหน้าที่ ๔) การจัดทำสรุปและจัดรายงานผลการดำเนินกิจกรรม ๔.๓ โรงเรียนกับป.ป.ช.สพฐ.น้อยร่วมกันจัดทำแนวทางดำเนินกิจกรรมของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยมีแนวทาง ดังนี้ ๑) ศึกษาสภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๒) วิเคราะห์หาสาเหตุจากสภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนเกี่ยวกับ คุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ตามใบกิจกรรมที่ ๑ ในภาคผนวก ๓) กำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนาที่ต้องส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ตามใบกิจกรรมที่ ๒ ในภาคผนวก ๔) สรุปแนวทางการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนา เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน โดยรวมตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต เสนอให้โรงเรียนใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำ แผนการส่งเสริมป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน และพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ หรือสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานให้แก่ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย นำไปใช้ดำเนินการต่อไป ๔.๔ ป.ป.ช.สพฐ.น้อยดำเนินกิจกรรม ตามแนวทางการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนา โดยมีแนวทาง ดังนี้ ๑) ศึกษาทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ในแต่ละข้ออย่าง ชัดเจนว่าข้อใดสัมพันธ์กับแนวทางการส่งเสริม ข้อใดสัมพันธ์กับการป้องกัน และข้อใดสัมพันธ์กับการพัฒนา เพื่อให้การไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับแผนการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต ๒) กำหนดผู้รับผิดชอบในการนำแผนการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต สู่การปฏิบัติในโรงเรียน ๓) นำแผนการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโรงเรียนสุจริต ไปใช้กับนักเรียนในโรงเรียน ๔.๕ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ประเมินผลกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และประเมินผล การปฏิบัติงาน ตามแนวทางการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต โดยมีแนวทางดังนี้ ๑) จัดทำเครื่องมือประเมินผลกระบวนการทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และเครื่องมือการประเมินผลการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ๒) นำเครื่องมือประเมินผลกระบวนการทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และเครื่องมือการประเมินผลการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน มาใช้ประเมินผล ๓) กำหนดระยะเวลาในการประเมินผลอย่างน้อยปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๕ ๔.๖ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย สรุปผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และรายงานผลการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโรงเรียนสุจริต โดยดำเนินการ ดังนี้ ๑) ป.ป.ช.สพฐ.น้อย รายงานผลกระบวนการทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และรายงานผลการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโรงเรียนสุจริตให้โรงเรียนทราบ ปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง ๒) โรงเรียนรายงานผลกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และรายงานผลการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริตให้สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาทราบปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง ๕. บทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางการดำเนินงานของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ จึงได้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย จำนวน ๑๐ ข้อ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ข้อ ๑ จัดทำแนวทางการจัดกิจกรรมของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ดำเนินจัดทำแนวทางการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของ นักเรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยมีแนวทาง ดังนี้ ๑) ศึกษาสภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๒) วิเคราะห์หาสาเหตุจากสภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนเกี่ยวกับ คุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ตามใบกิจกรรมที่ ๑ ในภาคผนวก ๓) กำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ที่ต้องส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรม ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ในการตามใบกิจกรรมที่ ๒ ในภาคผนวก ๔) สรุปแนวทางการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนา เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน โดยรวมตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต เสนอให้โรงเรียนใช้เป็นข้อมูลในการจัดท ำ แผนการส่งเสริมป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน และพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ หรือสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานให้แก่ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย นำไปใช้ดำเนินการต่อไป ข้อ ๒ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน จึงจะสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมได้ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง แนวทางการปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ดังนี้ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ๑.ทักษะกระบวนการคิด ๑.๑ มีทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ แยกแยะ ๑.๒ มีทักษะกระบวนการคิดเชิงเหตุผล คิดอย่างวิจารณญาณ ๑.๓ มีทักษะกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา ๒. มีวินัย ๒.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของ ครอบครัว โรงเรียน และสังคม ๒.๒ ตรงต่อเวลา ๒.๓ ไม่แซงคิวเข้ารับบริการ


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๖ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ๓.ซื่อสัตย์สุจริต ๓.๑ พูดความจริง ๓.๒ ไม่ลอกการบ้าน / ไม่ลอกข้อสอบ ๓.๓ ไม่เอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน ๔.อยู่อย่างพอเพียง ๔.๑ รับประทานอาหารไม่เหลือทิ้ง ๔.๒ ใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า ๔.๓ ใช้น้ำ-ไฟฟ้าอย่างประหยัดและคุ้มค่า ๕.จิตสาธารณะ ๕.๑ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม ๕.๒ ช่วยเหลืองานโรงเรียนและชุมชนด้วยความเต็มใจ ๕.๓ รักษาสาธารณสมบัติส่วนรวม ข้อ ๓ สอดส่องดูแลพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยดำเนินการ ดังนี้ ๑) คัดเลือกและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ระดับสายชั้น เพื่อสอดส่องดูแล พฤติกรรมของนักเรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ตามข้อ ๒ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับชั้นสูงสุด อย่างน้อยห้องเรียนละ ๑ คน ๒) อนุกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย แต่ละห้องเรียน สังเกตพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้นเรียน สอดส่องดูแลพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และให้คำแนะนำหรือตักเตือนให้ปฏิบัติตนตามข้อตกลงที่ทุกคน มีร่วมกัน ๓) คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ระดับสายชั้น รายงานผลการปฏิบัติงานให้ ป.ป.ช.สพฐ. น้อย ทราบทุกวัน โดยใช้ช่องทางในการรายงานอย่างหลากหลาย เช่น ทางกลุ่มลายน์แบบรายงาน ฯลฯ ๔) ป.ป.ช.สพฐ.น้อย นำผลการดำเนินงานรายระดับชั้นมาสรุปและรายงานผล พร้อมเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาในทุกวันศุกร์ และนำผลมารายงานในเช้าวันจันทร์หน้าเสาธง ข้อ ๔ เป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ในการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตในโรงเรียนและชุมชน โดยดำเนินการดังนี้ ๑) ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของโรงเรียน โดยมีการสร้างเครือข่าย บ้าน ศาสนสถาน โรงเรียน องค์กร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเหมาะสม ๒) เครือข่ายร่วมติดตามและประเมินพฤติกรรมนักเรียนที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต เพื่อนำไปยกย่อง เชิดชูเกียรติ และปรับปรุงแก้ไข พฤติกรรมของนักเรียนที่ปฏิบัติไม่สอดคล้องกับคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริตอย่างกัลยาณมิตร ข้อ ๕ ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่างนักเรียน โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการดังนี้ ๑) กำหนดกิจกรรมและบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย / ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ในการประสาน ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละกิจกรรม ลงในใบกิจกรรมที่ ๓ ในภาคผนวก ๒) ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ผู้ประสานความร่วมมือ ๓) ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ผู้ประสานความร่วมมือ ตามที่ได้รับมอบหมาย ๔) ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน เดือนละ ๑ ครั้ง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๗ ข้อ ๖ สรรหา/คัดเลือกผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการ โรงเรียนสุจริต ป.ป.ช.สพฐ.น้อยดำเนินการสรรหา/คัดเลือกบุคคลที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยใช้เครื่องมือการประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ ตามใบกิจกรรมที่ ๔ อย่างน้อยปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง และจัดเวทีมอบรางวัลในโอกาสที่เหมาะสม เช่น กิจกรรม วันเด็ก กิจกรรมวันวิชาการ ฯลฯ โดยดำเนินการดังนี้ ๑) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน ๒) ประชุมวางแผนการดำเนินงาน - สร้างเครื่องมือการประเมิน (หรือใช้/ประยุกต์เครื่องมือการประเมินในภาคผนวก) ในกิจกรรมที่ ๔ - กำหนดระยะเวลาการประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ - ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้นักเรียนในโรงเรียนทราบ - ดำเนินการประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ - ประกาศผลการประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ - ยกย่องเชิดชูเกียรตินักเรียนสุจริตต้นแบบ ๓) รายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้อง โดยวิธีการที่หลากหลาย เช่น เสียงตามสาย วารสาร สื่อออนไลน์ เป็นต้น ข้อ ๗ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโรงเรียนสุจริตในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตในโรงเรียน ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ความเคลื่อนไหวการดำเนินงานของกิจกรรม ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการ ดังนี้ ๑) การดำเนินการภายในโรงเรียน เช่น จัดป้ายนิทรรศการ ฉายภาพยนตร์สั้น จัดแสดงละคร/ บทบาทสมมุติจัดเวทีเล่านิทาน โต้วาทีสื่อสารผ่านทางระบบออนไลน์ฯลฯ ๒) การดำเนินการภายนอกโรงเรียน เช่น จัดเสียงตามสาย ออกเสียงวิทยุชุมชน เขียนบทความ ลงวารสาร/จุลสาร สื่อสารผ่านทางระบบออนไลน์ ฯลฯ ข้อ ๘ ตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดีในโรงเรียน โดยใช้แบบตรวจสอบ สก.๑๑ บทบาทหนึ่งของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย คือ การเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท สร้างการดีในโรงเรียน เพื่อสร้างวัฒนธรรมด้านความโปร่งใส ตรวจสอบได้โดยใช้แบบตรวจสอบ สก.๑๑ (ตามใบกิจกรรมที่ ๕ ในภาคผนวก) ข้อ ๙ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานต่อโรงเรียน ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ต้องรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ต่อโรงเรียน ปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง และรายงานให้สำนักงานเขตพื้นการศึกษาทราบตามแบบรายงานที่กำหนด (ตามใบกิจกรรมที่ ๖ ในภาคผนวก) ข้อ ๑๐ ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๘ ๖. แผนภูมิแนวทางการดำเนินกิจกรรมป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน บรรลุผล ร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ประเมินผลการดำเนินงาน ของตน อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน แนวทางการดำเนิน กิจกรรมป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน แต่งตั้ง ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน โรงเรียน - จัดทำรายงานผลต่อโรงเรียน - เผยแพร่ผลงาน ไม่บรรลุผล สรุปผลการประเมิน ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชนดำเนินงานตาม บทบาทหน้าที่และกิจกรรมที่กำหนด โรงเรียนร่วมกับ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๙ ๗. แนวทางการดำเนินงาน ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ๗.๑ โรงเรียนแต่งตั้ง ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน โรงเรียนดำเนินการสรรหา/คัดเลือกและจัดทำประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตสำหรับชุมชน (ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน) ตามขั้นตอน ดังนี้ ๗.๑.๑ โรงเรียนสรรหา/คัดเลือกกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ตามเกณฑ์จำนวนนักเรียน ดังนี้ ๑) โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน ๓๐๐ คน ให้มีคณะกรรมการ จำนวน ๙ คน ๒) โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนเกินกว่า ๓๐๐ คน ให้มีคณะกรรมการ จำนวน ๑๕ คน องค์ประกอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มาจากผู้แทนต่าง ๆ ดังนี้ - ประธานคณะกรรมการโรงเรียนและ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสม ประธานกรรมการ - ผู้แทนองค์กรส่วนท้องถิ่น กรรมการ - ผู้แทนชุมชน กรรมการ - ผู้แทนผู้ปกครอง กรรมการ - ผู้แทนครู กรรมการ - ผู้แทนศิษย์เก่า กรรมการ - ผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ - ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ - ผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการและเลขานุการ ๗.๑.๒ โรงเรียนจัดทำประกาศแต่งตั้ง ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน พร้อมส่งประกาศแต่งตั้งไปยังสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๗.๑.๓ โรงเรียนกำหนดกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ. ชุมชน ลงในโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของแผนปฏิบัติ ราชการโรงเรียนทุกปีการศึกษา ๗.๑.๔ โรงเรียนประชุมชี้แจง ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน เพื่อให้ทราบบทบาทหน้าที่และวิธีการดำเนินงาน ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี หาก ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน หมดวาระหรือสิ้น สภาพ (เสียชีวิต ย้ายภูมิลำเนา ลาออก) หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้โรงเรียนดำเนินการสรรหา/คัดเลือก ประกาศแต่งตั้งเพิ่มเติม/ใหม่ และส่งประกาศแต่งตั้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๗.๒ โรงเรียนอบรมให้ความรู้บทบาทหน้าที่ ให้แก่ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน เพื่อให้การทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ. ชุมชน จำนวน ๙ ข้อ ดังนี้ ข้อ ๑ กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมป้องกันและพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริตร่วมกับโรงเรียน ข้อ ๒ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ข้อ ๓ เสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยมที่ดีพร้อมทั้งสนับสนุนและให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะการ ดำเนินงานของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ข้อ ๔ ร่วมพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตในชุมชน ข้อ ๕ สร้างเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริตและชุมชนสุจริต


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๐ ข้อ ๖ ยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคคลในชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ข้อ ๗ ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ข้อ ๘ ตรวจสอบการดำเนินงานกิจกรรมบริษัทสร้างการดีของโรงเรียน โดยใช้แบบประเมิน สก. ๑๒ ในกิจกรรมที่ ๑๐ ข้อ ๙ สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงานต่อโรงเรียน และโรงเรียนรายงานผลให้สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาทราบ ๗.๓ โรงเรียนกับป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ร่วมจัดทำแนวทางการจัดกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ที่ได้รับการแต่งตั้งร่วมกับโรงเรียน ตลอดจนภาคีเครือข่าย ความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวดำเนินการที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้เบื้องต้นตามบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ทุกข้อ หากพบว่าแนวทางยังไม่สมบูรณ์ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน อาจกำหนดเพิ่มเติมได้อีก ทั้งนี้เพื่อให้ การนำแนวทางการจัดกิจกรรมไปปฏิบัติบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยจัดเรียงตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้ ข้อ ๑ กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมป้องกันและพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริตร่วมกับโรงเรียน โดยดำเนินการ ดังนี้ ๑) ศึกษาสภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ๒) วิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต และกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา (กิจกรรมที่ ๘) เพื่อนำไปเขียน กิจกรรมลงในโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของโรงเรียน ๓) นำแนวทางการแก้ปัญหา/พัฒนาพฤติกรรมนักเรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ไปกำหนดกิจกรรม วิธีการ ขั้นตอนในการส่งเสริม ป้องกัน ต่อต้าน และพัฒนา (กิจกรรมที่ ๙) ให้ชัดเจน เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์และแนวทางส่งเสริม ป้องกัน ต่อต้านและพัฒนา รวมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมไว้ด้วย ข้อ ๒ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี จึงจะสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมได้อย่าง มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต มีดังนี้ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ๑. ทักษะกระบวนการคิด ๑. คิดอย่างมีเหตุผล ๒. สามารถสื่อสารต่อสาธารณชนได้ ๒. มีวินัย ๑. ตรงต่อเวลา ๒. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๓. เข้าแถวรับบริการ ๔. ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎจราจร ๓. ซื่อสัตย์สุจริต ๑. พูดความจริง ๒. ไม่เอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๑ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ๔. อยู่อย่างพอเพียง ๑. รับประทานอาหารไม่เหลือทิ้ง ๒. ใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า ๓. ใช้น้ำ-ไฟฟ้าอย่างประหยัดและคุ้มค่า ๔. ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต ๕. จิตสาธารณะ ๑. ช่วยเหลืองานโรงเรียนและชุมชนด้วยความเต็มใจ ๒. รักษาสาธารณสมบัติส่วนรวม ข้อ ๓ เสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยมที่ดีสนับสนุนและให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน ของ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย โดยดำเนินการดังนี้ ๑) ร่วมมือกับโรงเรียนและคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ในการกำหนดกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมพฤติกรรมของนักเรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๒) ร่วมระดมทรัพยากรและสนับสนุนงบประมาณทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๓) รับทราบผลการดำเนินงาน ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข ข้อ ๔ ร่วมพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตในชุมชน เพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนในการพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต รวมทั้งพฤติกรรมของนักเรียนและคนในชุมชนที่ไม่พึงประสงค์ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อกระบวนการพัฒนา ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ถือเป็นผู้ที่มี บทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการดำเนินงาน ดังนี้ ๑) ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจ และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต และขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชน ๒) ติดตามพฤติกรรมของบุคคลในชุมชนเป็นระยะ ปรับปรุง แก้ไขพฤติกรรม อย่างเป็น กัลยาณมิตร และต่อเนื่อง ข้อ ๕ สร้างเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริตและชุมชนสุจริต การสร้างเครือข่ายชุมชนถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต และชุมชนสุจริต เพราะเชื่อว่าเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งจะช่วยให้เกิดแรงกระเพื่อมของผู้คนในการสร้างพลัง ความร่วมมือให้เกิดโรงเรียนและชุมชนสุจริตได้ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน จึงได้ดำเนินการ ดังนี้ ๑) ประสานความร่วมมือกับบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อร่วมวางแผนและพัฒนา คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๒) จัดเวทีให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนและคนในชุมชนตา ม คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๓) ตั้งกลุ่ม/ชมรมเครือข่ายชุมชนหัวใจสุจริต ร่วมขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริตและชุมชนสุจริต มีช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรม หรือผลงานการทำความดีวิถีสุจริต ให้แก่สาธารณชนทราบ ข้อ ๖ ยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคคลในชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของ โครงการโรงเรียนสุจริต ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ยังมีบทบาทหน้าที่ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลในชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดี ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต เพื่อให้คนที่ตั้งใจทำความดีสม่ำเสมอ มีกำลังใจ และมุ่งมั่น พากเพียรในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างต่อเนื่อง ยืนอย่างสง่างามในสังคม เป็นแบบอย่าง ให้เยาวชนได้ศึกษาและเอาอย่างวิธีปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตที่สุจริต ดังนั้น เพื่อให้ได้บุคคลต้นแบบ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน จึงดำเนินการ ดังนี้


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๒ ๑) จัดกิจกรรมประเมินบุคคลต้นแบบคนดีของสังคม โดยใช้แนวทางการประเมิน ในกิจกรรมที่ ๑๐ หรือจัดทำเครื่องมือประเมินบุคคลต้นแบบคนดีของสังคมขึ้นเอง ๒) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินบุคคลต้นแบบคนดีของสังคม ๓) พิจารณา คัดเลือกบุคคลต้นแบบ ๔) ประกาศ ยกย่อง ชมเชย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำความดีสู่สังคม ๕) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงาน ในช่องทางที่หลากหลาย ข้อ ๗ ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) งานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่สร้างการรับรู้เรื่องราว ข่าวความเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรม ที่ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชนดำเนินการ สร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชน ได้รับรู้อีกทั้งยังเป็นเวทีบอกเล่าความดีของผู้คน สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทิศทางที่ดีขึ้น ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ควรดำเนินการ ดังนี้ ๑) กำหนดผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ ๒) จัดทำตารางการออกอากาศประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในชุมชน ๓) จัดทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ทางสื่อสารมวลชนประเภทต่าง ๆ ๔) เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บอกเล่าการสร้างความดีวิถีสุจริต แก่คนในชุมชน ข้อ ๘ ตรวจสอบการดำเนินงานกิจกรรมบริษัทสร้างการดีของโรงเรียน เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการทำงานของบริษัทสร้างการดีของโรงเรียน ที่มุ่งให้นักเรียน ฝึกปฏิบัติการประกอบธุรกิจในรูปแบบบริษัทอย่างสุจริตและโปร่งใส เกิดการเรียนรู้กระบวนการที่ถูกต้อง จึงจำเป็นจะต้องมีผู้ตรวจสอบภายนอก ซึ่ง ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ต้องดำเนินการ ดังนี้ ๑) ตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดีของโรงเรียน โดยใช้แบบประเมิน สก. ๑๒ ในกิจกรรมที่ ๑๐ ๒) รายงานผลและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกิจกรรมบริษัทสร้างการดี ข้อ ๙ รายงานผลการปฏิบัติงานต่อโรงเรียน และโรงเรียนรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน รายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ลงในใบกิจกรรมที่ ๕ ในภาคผนวก ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบทุกปีการศึกษา ๗.๔ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชนดำเนินกิจกรรมตามแนวทางการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนา โดยมีแนวทาง ดังนี้ ๑) ศึกษาทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติของ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ในแต่ละข้อ อย่างชัดเจนว่าข้อใดสัมพันธ์กับแนวทางการส่งเสริม ข้อใดสัมพันธ์กับการป้องกัน และข้อใดสัมพันธ์กับ การพัฒนา เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์และสอดคล้องกับแผนการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนา พฤติกรรมของนักเรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต ๒) กำหนดผู้รับผิดชอบในการนำแผนการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต สู่การปฏิบัติในโรงเรียน ๓) นำแผนการส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาพฤติกรรมของโรงเรียนและชุมชน ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต ไปใช้กับชุมชน


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๓ ๗.๕ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชนประเมินผลการดำเนินงานของตน (ตามแบบกิจกรรมที่ ๑๒) ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ดำเนินการวัดและประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีแนวทางดังนี้ ๑) จัดทำเครื่องมือประเมินผลกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ตามแบบกิจกรรมที่ ๑๒ ๒) ประเมินผลการดำเนินงานของ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ด้วยเครื่องมือที่จัดทำขึ้น โดยกำหนด ระยะเวลาในการประเมินผล อย่างน้อยปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง ๗.๖ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน สรุปผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ให้ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน รายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ให้สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาทราบ ปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๔ บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๗). พลังเยาวชน พลังพลเมือง การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานส่งเสริมกิจกรรมการศึกษา. (๒๕๕๗). แนวทางการจัดการเรียนรู้ การสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติด เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน. (พัฒนาปรับปรุง ครั้งที่ ๒).นครปฐม :คองบุญการพิมพ์/เจ้าสัวปริ๊น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (๒๕๕๘). คู่มือแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบ โรงเรียน ๓ ดี “เด็กดี สุขภาพดี รายได้ดี. อุดรธานี : ศูนย์อนามัยที่ ๘ อุดรธานี. สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (๒๕๕๘).แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต (เอกสารทางวิชาการ). กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน.


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๕ ภาคผนวก กิจกรรมที่ ๑ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียน กิจกรรมที่ ๒ การกำหนดกิจกรรม/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่ ๓ การวิเคราะห์การประสานความร่วมมือฯ กิจกรรมที่ ๔ การประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ กิจกรรมที่ ๕ การติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดีฯ กิจกรรมที่ ๖ แบบรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย กิจกรรมที่ ๗ แบบประเมินผลการดำเนินงานของป.ป.ช.สพฐ.น้อย กิจกรรมที่ ๘ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในชุมชน กิจกรรมที่ ๙ การกำหนดกิจกรรม/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่ ๑๐ แบบประเมินบุคคลในชุมชนต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ กิจกรรมที่ ๑๑ แบบตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดีฯ กิจกรรมที่ ๑๒ แบบประเมินผลการดำเนินงานของป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน กิจกรรมที่ ๑๓ แบบสรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ฯ แนวทางการใช้แบบประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๖ กิจกรรมที่ ๑ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต และกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย วิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนที่เกี่ยวกับ คุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต พร้อมทั้งกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ลงในใบกิจกรรม ที่ ๑ คุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการ โรงเรียนสุจริต สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบัน ในโรงเรียน ข้อดี ข้อเสีย แนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ๑. ทักษะกระบวนการคิด ๒. มีวินัย ๓. ซื่อสัตย์สุจริต ๔. อยู่อย่างพอเพียง ๕.จิตสาธารณะ


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๗ ตัวอย่างกิจกรรมที่ ๑ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต และกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา คำชี้แจง ให้ป.ป.ช.สพฐ.น้อย วิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียนเกี่ยวกับ คุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต และกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนาลงในใบกิจกรรมที่ ๑ คุณลักษณะ ๕ ประการของ โครงการโรงเรียนสุจริต สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบัน ในโรงเรียน ข้อดี ข้อเสีย แนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ๑. ทักษะกระบวน การคิด นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ สามารถคิดแยกแยะ ผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวมได้ ✓ จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง ๑. คิดอย่างมีเหตุผลและสามารถสื่อสาร ต่อที่สาธารณชนได้ ๒. คิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวมได้ ๓. คิดร่างโครงการสู่การปฏิบัติ เกี่ยวกับ กิจกรรมการป้องกัน ปลูกฝัง และสร้าง เครือข่ายในการต่อต้านการทุจริต ๔. อื่น ๆ ................................. ๒. มีวินัย เข้าแถว /เดินไม่เป็น ระเบียบ ✓ -กำหนดข้อตกลงร่วมกัน -สร้างสัญลักษณ์ในการเดิน -เดินชิดขวา -ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๓. ซื่อสัตย์สุจริต -นักเรียนบางส่วนลอก การบ้านเพื่อน -นักเรียนไม่นำสิ่งของ ๆ ผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ✓ ✓ -จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน/พี่สอนน้อง -กิจกรรมยกย่อง บุคคลต้นแบบ ความซื่อสัตย์ -ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทำงานของ ตนเอง -ส่งเสริมให้นักเรียนเก็บได้ส่งคืนเจ้าของ -ส่งเสริมให้นักเรียนไม่นำสิ่งของ ๆ ผู้อื่น มาเป็นของตนเอง ๔. อยู่อย่างพอเพียง นักเรียนบางส่วน รับประทานอาหารไม่หมด จาน ✓ -กำหนดข้อตกลง -ตักอาหารให้พอเหมาะกับการบริโภค -ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา ๕. จิตสาธารณะ นักเรียนส่วนใหญ่ทำความดี เพื่อหวังผลตอบแทนหรือทำ ตามคำสั่งของครู ✓ -ปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความตระหนัก การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม -ยกย่องบุคคลที่มีจิตสาธารณะ อย่างต่อเนื่อง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๘ กิจกรรมที่ ๒ การกำหนดกิจกรรม/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย นำแนวทางการแก้ปัญหา/พัฒนาที่ได้มากำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรม และ กำหนดผู้รับผิดชอบลงในกิจกรรมที่ ๒ มากำหนดเป็นพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก กิจกรรม ขั้นตอนการจัดกิจกรรม และผู้รับผิดชอบ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต แนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ขั้นตอนการจัด กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ๑. ทักษะกระบวนการคิด จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง ๑. คิดอย่างมีเหตุผลและสามารถสื่อสาร ต่อที่สาธารณชนได้ ๒. คิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวมได้ ๓. คิดร่างโครงการสู่การปฏิบัติ เกี่ยวกับ กิจกรรมการป้องกัน ปลูกฝัง และสร้าง เครือข่ายในการต่อต้านการทุจริต ๔. อื่นๆ........................................... ๒. มีวินัย -กำหนดข้อตกลงร่วมกัน -สร้างสัญลักษณ์ในการเดิน -ฝึกปฏิบัติการเดินชิดขวา -ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๓. ซื่อสัตย์สุจริต -จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน/พี่สอนน้อง -กิจกรรมยกย่อง บุคคลต้นแบบความซื่อสัตย์ -ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทำงานของตนเอง -ส่งเสริมให้นักเรียนเก็บได้ส่งคืนเจ้าของ -ส่งเสริมให้นักเรียนไม่นำสิ่งของ ๆ ผู้อื่น มาเป็นของตนเอง ๔. อยู่อย่างพอเพียง -กำหนดข้อตกลง -ตักอาหารให้พอเหมาะกับการบริโภค -ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา ๕. จิตสาธารณะ -ปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความตระหนัก การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม -ยกย่องบุคคลที่มีจิตสาธารณะอย่างต่อเนื่อง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๑๙ กิจกรรมที่ ๓ การวิเคราะห์การประสานความร่วมมือและบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย /โรงเรียน/ชุมชน/ ผู้ปกครอง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อยวิเคราะห์การประสานความร่วมมือและบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต แนวทาง แก้ปัญหา/ พัฒนา ป.ป.ช. สพฐ.น้อย โรงเรียน ชุมชน/ผู้ปกครอง/ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ๑. ทักษะกระบวนการคิด ๒. มีวินัย ๓. ซื่อสัตย์สุจริต ๔. อยู่อย่างพอเพียง ๕. จิตสาธารณะ


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๐ ตัวอย่าง กิจกรรมที่ ๓ การวิเคราะห์การประสานความร่วมมือและบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย /โรงเรียน/ชุมชน/ ผู้ปกครอง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย วิเคราะห์ การประสานความร่วมมือและบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต แนวทาง แก้ปัญหา/พัฒนา ป.ป.ช.สพฐ.น้อย โรงเรียน ชุมชน/ผู้ปกครอง/ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ๑.ทักษะ กระบวนการคิด - ปลูกฝังและฝึก การใช้ทักษะ กระบวนการคิดที่ ได้รับการยอมรับ - ฝึกนำหลัก ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการคิด (คิดอย่างมีเหตุผล) - เป็นผู้นำในการ ทำแบบฝึกและ การปฏิบัติตน ตามหลักคิด -ร่วมกับครูวางแผน การจัดกิจกรรม ที่ใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจ พอเพียง - สร้างแบบฝึก หลักคิดตาม หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง - ประเมินผล และปรับแนวคิด ของนักเรียน - ส่งเสริมให้ กำลังใจ - ติดตามให้กำลังใจ การทำงานของ นักเรียน ๒. มีวินัย -กำหนดข้อตกลง ร่วมกัน - ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา อย่างต่อเนื่อง - ร่วมกับครู วางแผนกำหนด ข้อตกลงร่วมกัน - ปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดี - ร่วมประเมินผล และพัฒนา -เป็นที่ปรึกษา การทำงานของ ป.ป.ช สพฐ.น้อย -ชื่นชม ยกย่อง นักเรียนที่ปฏิบัติ ตนเป็นแบบอย่าง ที่ดี -ร่วมปฏิบัติเป็น แบบอย่างที่ดี ในชุมชน - สนับสนุนและ ให้กำลังใจ ๓. ซื่อสัตย์สุจริต -จัดกิจกรรมเพื่อน ช่วยเพื่อน / พี่สอนน้อง -ยกย่องบุคคล ต้นแบบความ ซื่อสัตย์สุจริต - ส่งเสริมความ เชื่อมั่นในการ ทำงานของตนเอง -ดำเนินการจัด กิจกรรมเพื่อนช่วย เพื่อน / พี่สอนน้อง -ปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดี - ติดตาม ประเมินผล - เป็นที่ปรึกษา ให้กับนักเรียน - ครูเป็นแบบอย่าง ความซื่อสัตย์สุจริต -ชื่นชม ยกย่อง นักเรียนที่มีความ ซื่อสัตย์สุจริต -ดูแลบุตรหลาน ให้ทำการบ้านและ งานที่ครูมอบหมาย อย่างใกล้ชิด - เป็นแบบอย่างที่ดี ในด้านความ ซื่อสัตย์สุจริต


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๑ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต แนวทาง แก้ปัญหา/พัฒนา ป.ป.ช.สพฐ.น้อย โรงเรียน ชุมชน/ผู้ปกครอง/ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ๔.อยู่อย่าง พอเพียง - กำหนดข้อตกลง - ตักอาหารให้ เหมาะสมพอดี กับการบริโภค -ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา - ร่วมกันสร้าง ข้อตกลง - ปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดีใน การรับประทาน อาหารหมดจาน - ประเมินผล - เป็นที่ปรึกษา ในการทำกิจกรรม - เป็นแบบอย่างที่ดี ในการรับประทาน อาหาร - เป็นแบบอย่างที่ดี ในการใช้จ่ายอย่าง คุ้มค่า - ชื่นชมนักเรียน ที่ปฏิบัติตนอยู่ อย่างพอเพียง - จัดกิจกรรมบูรณา การตามหลัก ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง - ร่วมจัดกิจกรรม การรับประทาน อาหารหมดจาน -ปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดี และต่อเนื่อง ๕. จิตสาธารณะ -ปลูกฝังจิตสำนึก การทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวม - จัดกิจกรรม ปลูกฝังจิตสำนึก การทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวม - เป็นที่ปรึกษา ในการทำกิจกรรม ทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวม -ชื่นชมยกย่อง นักเรียนที่ทำ ประโยชน์ เพื่อส่วนรวม - ชักชวนบุตร หลานทำงานบ้าน เป็นประจำ -ให้กำลังใจ ในการทำงาน เพื่อส่วนรวม


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๒ กิจกรรมที่ ๔ การประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต เพื่อสรรหา / คัดเลือกผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียน สุจริตของแต่ละข้อตามตัวชี้วัด โดยผลการประเมินใช้เป็นตัวเลข ระดับ ๔, ๓, ๒ และ ๑ ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ ระดับคุณภาพ ๔ หมายถึง ดีมาก ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี ระดับคุณภาพ ๒ หมายถึง พอใช้ ระดับคุณภาพ ๑ หมายถึง ปรับปรุง ชื่อ-สกุลนักเรียน.........................................................................................ชั้น.................... .................……. คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต รายการประเมิน ระดับคะแนน ๔ ๓ ๒ ๑ ๑. ทักษะกระบวนการคิด ๑.๑ มีทักษะการจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ - คิดและตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล สามารถจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ แง่มุมต่าง ๆ ของการทุจริต / ไม่ทุจริต การต่อต้าน / ไม่ต่อต้าน เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ความไม่เหมาะสม ๑.๒ มีทักษะกระบวนการ คิดเชิงเหตุผล คิดอย่าง วิจารณญาณ -สามารถแสดงความเห็น วิเคราะห์วิพากย์ วิจารณ์ และ ประเมินความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ และคุณค่า ของการกระทำ / การไม่กระทำทั้งของตนเองและผู้อื่น ๑.๓ มีทักษะกระบวนการคิด เชิงสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา - สามารถปรับตัวในสังคม และสร้างสรรค์ผลงาน ต่อต้านทุจริต ๒.มีวินัย ๒.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ๒.๑.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น ๒.๑.๒ ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และรับผิดชอบในการทำงาน ๓.ซื่อสัตย์สุจริต ๓.๑ ประพฤติตรงตามความ เป็นจริงต่อตนเองทั้งทาง กาย วาจา ใจ ๓.๑.๑ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ๓.๑.๒ ปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้อง ละอาย และ เกรงกลัวต่อการกระทำผิด ๓.๑.๓ ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ๓.๒ ประพฤติตรงตามความ เป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ๓.๒.๑ ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ๓.๒.๒ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง ๓.๒.๓ ไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๓ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต รายการประเมิน ระดับคะแนน ๔ ๓ ๒ ๑ ๔.อยู่อย่างพอเพียง ๔.๑ ดำเนินชีวิตอย่าง พอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม ๔.๑.๑ ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น เงิน สิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ อย่างประหยัดคุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม ๔.๑.๒ ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี ๔.๑.๓ ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผล ๔.๑.๔ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิดพลาด ๔.๒ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข ๔.๒.๑.วางแผนการเรียน การทำงาน และการใช้ ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ๔.๒.๒ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ สภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข ๕.จิตสาธารณะ ๕.๑ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ความเต็มใจและพึงพอใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ อาสาทำงานให้ผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทน แบ่งปันสิ่งของ ทรัพย์สิน และอื่นๆ และช่วยแก้ปัญหา หรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น ๕.๒ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม ดูแล รักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อม ด้วยความเต็มใจ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงาม ของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยความกระตือรือร้น ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ........................................... ........................................................................................................................................................................ ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมิน (.........................................................) ตำแหน่ง................................................................. ............./............................/...........


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๔ กิจกรรมที่ ๕ การติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดี คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดี โดยใช้แบบสก.๑๑ ยึดหลักความโปร่งใส พร้อมทั้ง กรอกผลการติดตามตรวจสอบ ลงในแบบ สก.๑๑ และสรุปผลการติดตาม ตรวจสอบแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ การติดตามตรวจสอบของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ๑. ตรวจสอบ วันที่........................เดือน..........................................................พ.ศ............................ ๒. ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตามแผน เร็วกว่าแผน ช้ากว่าแผน ๓. การใช้งบประมาณ เป็นไปตามแผน ไม่เป็นไปตามแผน ๔. ปริมาณการผลิตสินค้า ตามแผน มากกว่าแผน น้อยกว่าแผน ๕. การจัดทำเอกสาร รายการเอกสาร การดำเนินงาน ความถูกต้อง สภาพของงาน ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ถูกต้อง ไม่ ถูกต้อง เป็น ปัจจุบัน ไม่เป็น ปัจจุบัน ๑. การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ๒. การบันทึกการปฏิบัติงาน ๓. การจัดซื้อจัดจ้าง ๔. บันทึกการประชุม ๕. ทะเบียนคุมบัญชีพัสดุครุภัณฑ์ ๖. การเก็บรักษาเงินทุนหมุนเวียน ๗. การมีส่วนร่วมของสมาชิก/คณะกรรมการ ๘. การปฏิบัติตามระเบียบและข้อตกลง ๙. การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสาธารณะ (CSR) ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ลงชื่อ...................................................................... กรรมการ (.........................................................................) ลงชื่อ...................................................................... กรรมการ (.........................................................................) ลงชื่อ...................................................................... กรรมการ (.........................................................................) แบบ สก.๑๑


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๕ กิจกรรมที่ ๖ แบบรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย สรุป รายงานผลการการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ที่ บทบาทหน้าที่ กิจกรรม/ การดำเนินงาน ผลการจัด กิจกรรม ปัญหา อุปสรรค/ ข้อเสนอแนะ ๑ กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมป้องกัน และพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๒ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๓ สอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียน ที่ไม่พึงประสงค์ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔ เป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ในการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกัน และต่อต้านการทุจริตในโรงเรียนและชุมชน ๕ ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่าง นักเรียน โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ๖ สรรหา/คัดเลือก ผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต ๗ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโรงเรียนสุจริตในการ ป้องกันและต่อต้านการทุจริตในโรงเรียน ๘ ตรวจสอบการดำเนินงานบริษัทสร้างการดี โดยใช้แบบตรวจสอบแบบ สก.๑๑ ๙ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปี การศึกษาต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ๑๐ ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ลงชื่อ.................................................... (................................................) ประธาน ป.ป.ช.สพฐ.น้อย


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๖ กิจกรรมที่ ๗ แบบประเมินผลการดำเนินงานของป.ป.ช.สพฐ.น้อย คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย ในช่องระดับคุณภาพ ของป.ป.ช.สพฐ.น้อยในแต่ละประเด็นที่ประเมิน ระดับคุณภาพ ๔ หมายถึง ระดับดีมาก ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ระดับดี ระดับคุณภาพ ๒ หมายถึง ระดับพอใช้ ระดับคุณภาพ ๑ หมายถึง ระดับปรับปรุง รายการประเมินตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับคุณภาพ วิธีการประเมิน และการบันทึกร่องรอยหลักฐาน ๔ ๓ ๒ ๑ กระบวนการทำงาน ตรวจสอบจากเอกสาร การสังเกต สัมภาษณ์ สนทนา ผู้เรียน / เพื่อนร่วมงาน / ผู้บังคับบัญชา / ผู้ปกครอง / ชุมชน สำรวจเอกสาร - โครงการ - คำสั่งแต่งตั้ง ป.ป.ช.สพฐ.น้อย / ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน - บันทึกการประชุม - บันทึกหมอบหมายรับผิดชอบงาน - ฯลฯ - หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ระบุ) ......................................................... ......................................................... ๑. ป.ป.ช.สพฐ.น้อย จัดทำ โครงการ/ กิจกรรมการส่งเสริมป้องกันและพัฒนา ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต ๒.ป.ป.ช.สพฐ.น้อย มีการกำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน ๓.ใช้เครื่องมือประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔. มีผลการประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต การมีส่วนร่วมในการทำงาน ๑.ป.ป.ช.สพฐ.น้อย มีการกำหนดบทบาท ของแต่ละคนอย่างชัดเจน ๒.ป.ป.ช.สพฐ.น้อย มีการประชุมวาง แผนการทำงาน อย่างส่วนร่วม ๓.ป.ป.ช.สพฐ.น้อย มีภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ๔.ป.ป.ช.สพฐ.น้อย มีการสร้างเครือข่าย ความดีอย่างชัดเจน ๕.ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ได้รับการประเมินผล จากบุคคลหลายฝ่าย


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๗ กิจกรรมที่ ๘ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในชุมชน ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต และกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน วิเคราะห์ สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในชุมชนที่เกี่ยวกับ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต พร้อมทั้งกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต สภาพปัญหา บริบท และ สถานการณ์ปัจจุบันในโรงเรียน ข้อดี ข้อเสีย แนวทาง แก้ปัญหา/พัฒนา ๑. ทักษะกระบวนการคิด ๒. มีวินัย ๓. ซื่อสัตย์สุจริต ๔. อยู่อย่างพอเพียง ๕. จิตสาธารณะ


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๘ ตัวอย่างกิจกรรมที่ ๘ การวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในชุมชน ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต และกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน วิเคราะห์ สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบันในชุมชนที่เกี่ยวกับ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต พร้อมทั้งกำหนดแนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ลงในกิจกรรมที่ ๑ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบัน ในชุมชน ข้อดี ข้อเสีย แนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ๑. ทักษะกระบวนการคิด คนในชุมชนส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถคิดแยกแยะ ผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวมได้ ✓ จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง ๑. คิดอย่างมีเหตุผลและ สามารถสื่อสารต่อที่ สาธารณชนได้ ๒. คิดแยกแยะผลประโยชน์ ส่วนตนและผลประโยชน์ ส่วนรวมได้ ๓. ใช้กระบวนการคิดและการ ตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล ๔. อื่น ๆ ................................. ๒. มีวินัย - คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่เข้า แถว /ในการรับบริการไม่เป็น ระเบียบ -คนในชุมชนส่วนใหญ่เข้าร่วม ประชุมหมู่บ้านไม่ตรงเวลา - ทิ้งขยะไม่ลงถังขยะ ✓ -กำหนดข้อตกลงร่วมกัน -ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา อย่างต่อเนื่อง ๓. ซื่อสัตย์สุจริต - คนในชุมชนบางคนนำ สิ่งของ ๆ ผู้อื่นมาเป็น ของตนเอง - ไม่พูดความจริง ✓ -กิจกรรมยกย่อง บุคคลต้นแบบ ความซื่อสัตย์ -ส่งเสริมความเชื่อมั่น ในการทำงานของตนเอง -ส่งเสริมให้คนในชุมชนเก็บได้ ส่งคืนเจ้าของ ๔. อยู่อย่างพอเพียง -รับประทานอาหาร ไม่หมดจาน ✓ -ตักอาหารให้พอเหมาะ กับการบริโภค -ส่งเสริมปลูกผักสวนครัวไว้ รับประทานเอง -ส่งเสริมการออมเงินตาม ศักยภาพของตนเอง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๒๙ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต สภาพปัญหา บริบท และสถานการณ์ปัจจุบัน ในชุมชน ข้อดี ข้อเสีย แนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ๕. จิตสาธารณะ -ทำความดีเพื่อหวัง ผลตอบแทนหรือทำตามคำสั่ง ✓ -ปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความ ตระหนัก การทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวม -ยกย่องบุคคลที่มีจิตสาธารณะ อย่างต่อเนื่อง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๐ กิจกรรมที่ ๙ การกำหนดกิจกรรม/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน นำแนวทางการแก้ปัญหา/ พัฒนา มากำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรม และผู้รับผิดชอบ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต แนวทางแก้ปัญหา/พัฒนา ขั้นตอนการจัด กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ๑. ทักษะกระบวนการคิด จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง ๑. คิดอย่างมีเหตุผลและสามารถสื่อสาร ต่อที่สาธารณชนได้ ๒. คิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวมได้ ๓. ใช้กระบวนการคิดและการตัดสินใจ บนพื้นฐานของเหตุผล ๔. อื่นๆ ................................. ๒. มีวินัย - กำหนดข้อตกลงร่วมกัน - ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา อย่างต่อเนื่อง ๓. ซื่อสัตย์สุจริต - กิจกรรมยกย่อง บุคคลต้นแบบความ ซื่อสัตย์ - ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทำงาน ของตนเอง - ส่งเสริมให้คนในชุมชนเก็บได้ส่งคืน เจ้าของ ๔. อยู่อย่างพอเพียง -ตักอาหารให้พอเหมาะกับการบริโภค -ส่งเสริมปลูกผักสวนครัว ไว้รับประทานเอง -ส่งเสริมการออมเงินตามศักยภาพ ของตนเอง ๕. จิตสาธารณะ -ปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความตระหนัก การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม -ยกย่องบุคคลที่มีจิตสาธารณะอย่าง ต่อเนื่อง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๑ กิจกรรมที่ ๑๐ แบบประเมินบุคคลในชุมชนต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต คำชี้แจง ให้ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ประเมินบุคคลต้นแบบ เพื่อสรรหา/ คัดเลือกผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยผลการประเมินใช้เป็นตัวเลข (๔ หมายถึง ระดับดีมาก / ๓ หมายถึง ระดับดี/ หมายถึง ระดับพอใช้/ ๑ หมายถึง ระดับปรับปรุง) ชื่อ-สกุลบุคคลในชุมชน............................................................................................................. ................……. คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต รายการประเมิน ระดับคะแนน ๔ ๓ ๒ ๑ ๑. ทักษะกระบวนการคิด ๑.๑ มีทักษะการจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ - คิดและตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล สามารถ จำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ แง่มุมต่าง ๆ ของการทุจริต/ไม่ทุจริต การต่อต้าน/ไม่ต่อต้าน เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ความไม่เหมาะสม ๑.๒ มีทักษะกระบวนการคิด เชิงเหตุผล คิดอย่าง วิจารณญาณ - สามารถแสดงความเห็น วิเคราะห์วิพากย์ วิจารณ์ และประเมินความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ และคุณค่าของการกระทำ / การไม่กระทำ ทั้งของตนเองและผู้อื่น ๑.๓ มีทักษะกระบวนการคิด เชิงสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา - สามารถปรับตัวในสังคม และสร้างสรรค์ ผลงานต่อต้านทุจริต ๒.มีวินัย ๒.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ๒.๑.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ๒.๑.๒ ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และรับผิดชอบในการทำงาน ๓.ซื่อสัตย์สุจริต ๓.๑ ประพฤติตรงตาม ความเป็นจริงต่อตนเอง ทั้งทางกาย วาจา ใจ ๓.๑.๑ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ๓.๑.๒ ปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้อง ละอาย และเกรงกลัวต่อการกระทำผิด ๓.๑.๓ ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ๓.๒ ประพฤติตรงตามความ เป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ๓.๒.๑ ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตนเอง ๓.๒.๒ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง ๓.๒.๓ ไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๒ คุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต รายการประเมิน ระดับคะแนน ๔ ๓ ๒ ๑ ๔.อยู่อย่างพอเพียง ๔.๑ ดำเนินชีวิตอย่าง พอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม ๔.๑.๑ ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น เงิน สิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ อย่างประหยัดคุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลา อย่างเหมาะสม ๔.๑.๒ ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี ๔.๑.๓ ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผล ๔.๑.๔ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น และไม่ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิดพลาด ๔.๒ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข ๔.๒.๑.วางแผนการทำงาน และการใช้ ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ๔.๒.๒ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ๕.จิตสาธารณะ ๕.๑ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความ เต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวัง ผลตอบแทน อาสาทำงานให้ผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทน แบ่งปันสิ่งของ ทรัพย์สิน และอื่นๆ และช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น ๕.๒ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม ดูแล รักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อม ด้วยความเต็มใจ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้าง สิ่งที่ดีงามของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยความกระตือรือร้น ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ลงชื่อ.....................................................ผู้ประเมิน (.....................................................) ตำแหน่ง................................................. ............./......................../...........


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๓ กิจกรรมที่ ๑๑ การตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดี คำชี้แจง ให้ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทสร้างการดี โดยใช้แบบ สก.๑๒ และสรุปผลการตรวจสอบแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ การดำเนินงานบริษัทสร้างการดี โรงเรียน................................................................................... รายการประเมิน การปฏิบัติ ความถูกต้อง หมายเหตุ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ถูกต้อง ไม่ ถูกต้อง ๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการ ๑.๑ คณะกรรมการที่ปรึกษา ๑.๒ คณะกรรมการอำนวยการ ๑.๓ คณะกรรมการกลั่นกรอง ๑.๔ คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ๑.๕ คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ๑.๖ คณะกรรมการจัดทำระเบียบและข้อตกลง ๒. มีแผนงาน / ปฏิทินปฏิบัติงาน ๓. การกลั่นกรองโครงการ ๔. การให้คำปรึกษานักเรียน ๕. การตรวจสอบของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ๖. การประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้น ๗. การประเมินโครงการ ๘. การรายงานผล ๘.๑ การรายงานผลการตรวจสอบ ๘.๒ การรายงานประจำปี ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ลงชื่อ.........................................................................ประธาน ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน (.........................................................................) แบบ สก.๑๒


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๔ กิจกรรมที่ ๑๒ แบบประเมินผลการดำเนินงานของป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย ในช่องระดับคุณภาพ ของป.ป.ช.สพฐ.ชุมชนในแต่ละประเด็นที่ประเมิน ระดับคุณภาพ ๔ หมายถึง ระดับดีมาก ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ระดับดี ระดับคุณภาพ ๒ หมายถึง ระดับพอใช้ ระดับคุณภาพ ๑ หมายถึง ระดับปรับปรุง รายการประเมินตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับคุณภาพ วิธีการประเมิน และการบันทึกร่องรอยหลักฐาน ๔ ๓ ๒ ๑ กระบวนการทำงาน ตรวจสอบจากเอกสาร การสังเกต สัมภาษณ์ สนทนา ผู้เรียน / เพื่อนร่วมงาน / ผู้บังคับบัญชา / ผู้ปกครอง / ชุมชน สำรวจเอกสาร - โครงการ - คำสั่งแต่งตั้ง ป.ป.ช.สพฐ.น้อย / ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน - บันทึกการประชุม - บันทึกหมอบหมายรับผิดชอบงาน - ฯลฯ - หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ระบุ) ........................................................ ........................................................ ๑. ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน จัดทำ โครงการ/ กิจกรรมการส่งเสริมป้องกันและพัฒนา ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต ๒.ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีการกำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน ๓.ใช้เครื่องมือประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔. มีผลการประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต การมีส่วนร่วมในการทำงาน ๑.ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีการกำหนด บทบาทของแต่ละคนอย่างชัดเจน ๒.ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีการประชุม วางแผนการทำงาน อย่างส่วนร่วม ๓.ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีภาวะ ความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ๔.ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีการสร้างเครือข่าย ความดีอย่างชัดเจน ๕.ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ได้รับการประเมินผล จากบุคคลหลายฝ่าย ลงชื่อ............................................ผู้ประเมิน ตำแหน่ง........................................................ ............./............................/...........


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๕ กิจกรรมที่ ๑๓ แบบสรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน คำชี้แจง ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงานตามบทบาทและหน้าที่ โรงเรียน................................................................... ประจำเดือน.............................................ปี พ.ศ................... ที่ บทบาทหน้าที่ กิจกรรมที่ สอดคล้อง ผลการจัด กิจกรรม ข้อเสนอแนะ/ ปัญหาอุปสรรค ๑ กำหนดแนวทางการดำเนินการ ส่งเสริมป้องกันและพัฒนาตาม คุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการ โรงเรียนสุจริตร่วมกับโรงเรียน ๒ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๓ เสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยม สนับสนุนและให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ๔ ร่วมพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริตในชุมชน ๕ สร้างเครือข่ายชุมชน ในการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต และชุมชนสุจริต ๖ ยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคคลที่เป็น แบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ๗ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ๘ ตรวจสอบการดำเนินงานบริษัท สร้างการดีของโรงเรียน ๙ รายงานผลการปฏิบัติงานต่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายเหตุ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน รายงานตามแบบรายงาน ให้โรงเรียนและโรงเรียนรายงานสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาทราบ ทุกปีการศึกษา


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๖ แนวทางการใช้แบบประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมที่ ๔ การประเมินนักเรียนสุจริตต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต เพื่อสรรหา / คัดเลือกผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต และ กิจกรรมที่ ๑๐ แบบประเมินบุคคลในชุมชนต้นแบบ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการ โรงเรียนสุจริต **************** คุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ เป็นการปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนบุคคลในชุมชนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณลักษณะที่ดีสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งการประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการ โรงเรียนสุจริต ต้องใช้ข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมตามสภาพจริงตามบริบทของโรงเรียนเพื่อให้ป.ป.ช.สพฐ. น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ใช้เป็นแนวทางในการประเมินที่เป็นรูปแบบและแนวทางเดียวกัน โดยผู้ประเมิน ดำเนินการดังนี้ ๑. ศึกษาแนวทางการประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตของนักเรียน ทั้ง ๕ ข้อ อย่างละเอียดและเข้าใจ ๒. ประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตของนักเรียนและบุคคลในชุมชน ทั้ง ๕ ข้อ ตามสภาพจริง ตามตัวชี้วัดของแต่ละข้อ ๓. ประเมินผลคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตแต่ละข้อตามตัวชี้วัด โดยผลการประเมินใช้เป็นตัวเลข ระดับ ๔, ๓, ๒ และ ๑ ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ ระดับคุณภาพ ๔ หมายถึง ดีมาก ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง ดี ระดับคุณภาพ ๒ หมายถึง พอใช้ ระดับคุณภาพ ๑ หมายถึง ปรับปรุง ๔. สรุปผลการประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ทั้ง ๕ ข้อ ของนักเรียน และบุคคลในชุมชน โดยใช้ฐานนิยม (Mode) หมายเหตุ นักเรียนต้องได้รับการประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ในระดับ ๑ ขึ้นไปทุกข้อ จึงจะอนุมัติให้ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการ โรงเรียนสุจริต ๕. บันทึกผลการประเมินในแบบประเมินที่กำหนดให้ ๖. ส่งแบบประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ของนักเรียน / ชุมชน ที่ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย / ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการ โรงเรียนสุจริตเพื่อลงลายมือชื่อ ๗. ประธานคณะกรรมการป.ป.ช.สพฐ.น้อย / ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ประเมินคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียน ส่งแบบประเมินฯโรงเรียนลงลายมือชื่ออนุมัติผลการประเมิน เป็นลำดับต่อไป


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๗ นิยาม ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และเกณฑ์การให้คะแนน ข้อที่ ๑ ทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการคิด หมายถึง กระบวนการทางสมองที่มนุษย์ได้จัดการกับข้อมูลข่าวสารด้วยการ จำแนกแยกแยะเปรียบเทียบ โดยใช้วิจารณญาณอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยแสดงออกด้วยการพูดการเขียนหรือ ท่าทาง ผู้ที่มีทักษะกระบวนการคิด คือ ผู้ที่แสดงออกถึงความสามารถ ความชำนาญในการคิดทุกประเภท เริ่มตั้งแต่แสดงความสามารถในการจัดการความรู้และนำความรู้ไปใช้ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และ ประเมินค่า การคิดแก้ปัญหาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยแสดงออกด้วยการพูดการเขียนหรือ ท่าทาง ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ ๑.๑ มีทักษะการจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ - คิดและตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล - สามารถจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ แง่มุมต่าง ๆ ของการทุจริต/ไม่ทุจริต การต่อต้าน/ไม่ต่อต้าน เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ความไม่เหมาะสม ๑.๒ มีทักษะกระบวนการคิดเชิง เหตุผล คิดอย่างมีวิจารณญาณ - สามารถแสดงความเห็น วิเคราะห์วิพากย์ วิจารณ์ และประเมิน ความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ และคุณค่าของการกระทำ / การไม่กระทำ ทั้งของตนเองและผู้อื่น ๑.๓ มีทักษะกระบวนการคิดเชิง สร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา - สามารถปรับตัวในสังคม และสร้างสรรค์ผลงานต่อต้านการทุจริต เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมบ่งชี้ ดีมาก (๔) ดี (๓) พอใช้ (๒) ปรับปรุง(๑) ๑.๑ มีทักษะการ จำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ ๑.๒ มีทักษะ กระบวนการคิด เชิงเหตุผล คิด อย่างวิจารณญาณ ๑.๓ มีทักษะ กระบวนการคิด เชิงสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา มีทักษะการจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ กระบวนการคิด เชิงเหตุผล คิดอย่าง วิจารณญาณ กระบวนการคิด เชิงสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา มีทักษะการจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ กระบวนการคิดเชิง เหตุผล คิดอย่าง วิจารณญาณ กระบวนการคิดเชิง สร้างสรรค์ คิด แก้ปัญหา (มีอย่างใดอย่าง หนึ่ง ๒ ข้อ) มีทักษะการจำแนก เปรียบเทียบ แยกแยะ กระบวนการคิด เชิงเหตุผล คิดอย่าง วิจารณญาณ กระบวนการคิด เชิงสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา (มีอย่างใดอย่าง หนึ่ง ๑ ข้อ) ไม่มีทักษะการ จำแนกเปรียบเทียบ แยกแยะ กระบวนการคิด เชิงเหตุผล คิดอย่าง วิจารณญาณ กระบวนการคิด เชิงสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๘ ข้อที่ ๒ มีวินัย มีวินัย หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และสังคมเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ผู้มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนตามข้อตกลงกฎเกณฑ์ และระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคมเป็นปกติวิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ ๒.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ๒.๑.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ๒.๑.๒ ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และรับผิดชอบในการทำงาน เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมบ่งชี้ ดีมาก (๔) ดี (๓) พอใช้ (๒) ปรับปรุง (๑) ๒.๑ ปฏิบัติตาม ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของ ครอบครัว โรงเรียน และ สังคม - ปฏิบัติตนตาม ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของ โรงเรียน และไม่ละเมิด สิทธิของผู้อื่น -ตรงต่อเวลาในการ ปฏิบัติกิจกรรมและ รับผิดชอบในการทำงาน - ปฏิบัติตนตาม ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของโรงเรียน ตรงต่อเวลาในการ ปฏิบัติกิจกรรมและ รับผิดชอบ ในการทำงาน - ปฏิบัติตนตาม ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของโรงเรียน ตรงต่อเวลา ในการปฏิบัติ กิจกรรม - ไม่ปฏิบัติตน ตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของโรงเรียน ข้อที่ ๓ ซื่อสัตย์สุจริต ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติตนของบุคคลในทางที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา มีความเป็นจริง ไม่คดโกงหรือเอาเปรียบผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อครอบครัว ต่อสังคม และต่อผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา และใจ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตนในทางที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา มีความเป็นจริง ไม่คดโกง หรือเอาเปรียบผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อครอบครัว ต่อสังคมและต่อผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจาและใจ ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ ๓.๑ ประพฤติตรงตามความเป็น จริงต่อตนเองทั้งทางกาย วาจา ใจ ๓.๑.๑ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ๓.๑.๒ ปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการ กระทำผิด ๓.๑.๓ ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ๓.๒ ประพฤติตรงตามความเป็น จริงต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ๓.๒.๑ ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ๓.๒.๒ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง ๓.๒.๓ ไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๓๙ เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมบ่งชี้ ดีมาก (๔) ดี (๓) พอใช้ (๒) ปรับปรุง (๑) ๓.๑ ประพฤติตรง ตามความเป็นจริง ต่อตนเองทั้งทางกาย วาจา ใจ ๓.๒ ประพฤติตรง ตามความเป็นจริง ต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ๓.๓ ไม่หาประโยชน์ ในทางที่ไม่ถูกต้อง ประพฤติตน โดยเกรงกลัวต่อ การกระทำผิด และไม่มีพฤติกรรม นำสิ่งของและ ผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตนเอง ปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ด้วยความซื่อตรง เป็นแบบอย่างที่ดี ด้านความซื่อสัตย์ และไม่หาประโยชน์ ในทางที่ไม่ถูกต้อง ประพฤติตน โดยเกรงกลัวต่อการ กระทำผิด และไม่มีพฤติกรรม นำสิ่งของและ ผลงานของผู้อื่นมา เป็นของตนเอง ปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ด้วยความซื่อตรง และไม่หาประโยชน์ ในทางที่ไม่ถูกต้อง ประพฤติตน โดยเกรงกลัวต่อ การกระทำผิด และไม่มี พฤติกรรมนำ สิ่งของและ ผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตนเอง และไม่หา ประโยชน์ในทาง ที่ไม่ถูกต้อง ประพฤติตน โดยไม่เกรงกลัว ต่อการกระทำผิด และมีพฤติกรรม นำสิ่งของและ ผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตนเอง และหาประโยชน์ ในทางที่ไม่ ถูกต้อง ข้อที่ ๔ อยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง การดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความพอประมาณ มีเหตุผลรอบคอบ มีคุณธรรม รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจาก การ เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน จนสามารถปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้ที่อยู่อย่างพอเพียง คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างประมาณตน พอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ รวมถึง ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันตนเอง อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยง และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่ออยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ ๔.๑ ดำเนินชีวิตอย่าง พอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม ๔.๑.๑ ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น เงิน สิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ อย่างประหยัดคุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลา อย่างเหมาะสม ๔.๑.๒ ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี ๔.๑.๓ ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผล ๔.๑.๔ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พร้อมให้ อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิดพลาด ๔.๒ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัว เพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ๔.๒.๑ วางแผนการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน บนพื้นฐานของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ๔.๒.๒ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๔๐ เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมบ่งชี้ ดีมาก (๔) ดี (๓) พอใช้ (๒) ปรับปรุง (๑) ๔.๑ ดำเนินชีวิต อย่างพอประมาณ มี เหตุผล รอบคอบ มี คุณธรรม ๔.๒ มีภูมิคุ้มกันใน ตัวที่ดี ปรับตัวเพื่อ อยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข ใช้ทรัพย์สิน ของตนเองและ ทรัพยากร ของส่วนรวมอย่าง ประหยัด คุ้มค่า เก็บรักษาดูแล อย่างดี ไม่เอา เปรียบผู้อื่น และไม่ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน ใช้ทรัพย์สิน ของตนเอง และทรัพยากร ของส่วนรวม อย่างประหยัด คุ้มค่า เก็บรักษา ดูแลอย่างดี ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ใช้ทรัพย์สิน ของตนเอง และทรัพยากร ของส่วนรวม อย่างประหยัด คุ้มค่า เก็บรักษา ดูแลอย่างดี ใช้เงินและของใช้ ส่วนตัวและ ส่วนรวมอย่าง ไม่ประหยัด ไม่มีการวางแผน การเรียน และการใช้ ชีวิตประจำวัน ข้อที่ ๕ จิตสาธารณะ จิตสาธารณะ หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลที่มีความปรารถนาและตระหนัก ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการดูแล เอาใจใส่ และมีส่วนร่วมในการอาสาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยไม่หวัง ผลตอบแทน ผู้ที่มีจิตสาธารณะ คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลที่มีความปรารถนาและตระหนักถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการดูแล เอาใจใส่ และมีส่วนร่วมในการอาสาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยไม่หวัง ผลตอบแทน ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ ๕.๑ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความ เต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวัง ผลตอบแทน ๕.๑.๑ ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ ๕.๑.๒ อาสาทำงานให้ผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลัง สติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทน ๕.๑.๓ แบ่งปันสิ่งของ ทรัพย์สิน และอื่น ๆ และช่วยแก้ปัญหา หรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น ๕.๒ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม ๕.๒.๑ ดูแล รักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ ๕.๒.๒ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม ๕.๒.๓ เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงาม ต่อส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความกระตือรือร้น


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๔๑ เกณฑ์การให้คะแนน (ใช้ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนเป็นเกณฑ์พิจารณา) พฤติกรรมบ่งชี้ ดีมาก (๔) ดี (๓) พอใช้ (๒) ปรับปรุง (๑) ๕.๑ ช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยความเต็มใจ และพึงพอใจโดยไม่ หวังผลตอบแทน ๕.๒ เข้าร่วม กิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อ โรงเรียน ชุมชน และสังคม เข้าร่วมกิจกรรม การดูแลรักษา เขตพื้นที่ที่ตน รับผิดชอบ ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป เข้าร่วมกิจกรรม การดูแลรักษา เขตพื้นที่ที่ตน รับผิดชอบ ร้อยละ ๖๐ - ๗๙ เข้าร่วมกิจกรรม การดูแลรักษา เขตพื้นที่ที่ตน รับผิดชอบ ร้อยละ ๕๐ - ๕๙ เข้าร่วมกิจกรรม การดูแลรักษา เขตพื้นที่ที่ตน รับผิดชอบ ต่ำกว่า ร้อยละ ๕๐


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๔๒ ตัวอย่างโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ประจำปีการศึกษา ........................ ๑. ชื่อโครงการ : ขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ๒. หลักการและเหตุผล : ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ซึ่งมุ่งพัฒนาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านคุณธรรมที่สอดคล้องกับคุณลักษณะโรงเรียนสุจริต หลีกเลี่ยงอบายมุข โดยให้โรงเรียนปลูกจิตสำนึก ให้แก่นักเรียน/ชุมชนมีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง จิตสาธารณะ และยึดมั่น ในคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม มีความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยการบูรณาการผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีบทบาทในกระบวนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม โปร่งใส เสมอภาคเป็นธรรม ทั้งการปฏิบัติ การพัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกันการทุจริตอย่างมีจรรยาบรรณที่ต่อเนื่องและยั่งยืน กิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน เป็นกิจกรรมที่กำหนดให้ดำเนินการในโครงการ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการ โรงเรียนสุจริต) เพื่อให้นักเรียน และชุมชน เกิดความภาคภูมิใจ เป็นเจ้าของกิจกรรมในการร่วมกันสร้างความดี ให้แก่สังคม ทั้งยังเป็นต้นแบบในการทำความดี โดยผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นผู้นำในการทำความดี เสริมสร้างและสนับสนุนการสร้างความดีของเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนและบุคคลในชุมชน มีระบบการทำงาน อย่างเป็นขั้นตอน ผ่านกระบวนการวางแผนการดำเนินงาน และดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม การติดตาม ตรวจสอบพฤติกรรมของตนเอง เพื่อนๆ นักเรียน และชุมชนอย่างใกล้ชิด การปรับปรุงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างการดำเนินงาน และการสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ พร้อมทั้งสามารถ เผยแพร่ให้แก่สาธารณชนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือนำไปสู่การสร้าง คุณธรรมให้เกิดกับนักเรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต เด็กและเยาวชนได้ เป็นผู้มีทักษะในการดำรงชีวิตที่ดี อันจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกัน และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ๓. วัตถุประสงค์ของโครงการ : ๑. เพื่อให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทและหน้าที่ อย่างชัดเจนนำไปปฏิบัติได้ ๒. เพื่อให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการป้องกัน และ ต้านการทุจริต ๓. เพื่อให้ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ส่งเสริม ป้องกัน ต่อต้านและพัฒนา ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔. เพื่อสร้างเครือข่ายการป้องกันการทุจริตในโรงเรียนและชุมชน ๔. เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output) : ๑. ร้อยละ ๑๐๐ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาท และหน้าที่อย่างชัดเจนนำไปปฏิบัติได้ ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ในด้านการป้องกันการทุจริต ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ส่งเสริม ป้องกันและพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔. โรงเรียนมีเครือข่ายการป้องกัน และต่อต้านการทุจริต


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๔๓ ๕. เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) ๑. ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทและหน้าที่อย่างชัดเจน นำไปปฏิบัติได้ ๒. ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการป้องกัน และต่อต้านการทุจริต ๓. ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ส่งเสริม ป้องกันและพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต ๔. โรงเรียนมีเครือข่ายการป้องกัน และต่อต้านการทุจริต ๖. วิธีดำเนินการ กิจกรรม/ขั้นตอน การดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ กิจกรรมที่ ๑ แต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน กิจกรรมที่ ๒ ชี้แจงบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน และกำหนด มาตรการ กิจกรรม ขั้นตอนการจัดกิจกรรม และแนวทางการดำเนินการส่งเสริมป้องกันและพัฒนา ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมที่ ๓ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่างนักเรียน โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ ๔ ป.ป.ช.สพฐ.น้อยและ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน สอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ ตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมที่ ๕ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย สรรหา/คัดสรร ผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมที่ ๖ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน กิจกรรมที่ ๗ ตรวจสอบการดำเนินงานบริษัท สร้างการดี ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน กิจกรรมที่ ๘ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ร่วมพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตในชุมชน กิจกรรมที่ ๙ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน จัดกิจกรรมประเมินบุคคล ต้นแบบคนดีของสังคม กิจกรรมที่ ๑๐ รายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปี การศึกษาของ ป.ป.ช.สพฐ.น้อยและ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน พ.ค. – ๒๐ มิ.ย. ๒๕...... ๑ – ๑๐ ก.ค. ๒๕........ ...................................... ...................................... ...................................... ...................................... ...................................... ...................................... ...................................... ...................................... ...................................... ...................................... ............................. ............................. ............................. ............................. ............................. ............................. ............................. ............................. ............................. ............................. ............................. .............................


"แนวทางการดำเนินกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อย ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน" ๔๔ ๗. กลุ่มเป้าหมาย : ๑. คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย คณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน โรงเรียน.................................... จำนวน .........................คน ๒. ผู้บริหารโรงเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน....................................................................... จำนวน .........................คน ๓. นักเรียน โรงเรียน....................................................... จำนวน .........................คน ๘. พื้นที่ดำเนินการ : โรงเรียน....................................................ชุมชน................................................................ ๙. ระยะเวลาดำเนินโครงการ : พฤษภาคม ๒๕............. ถึง มีนาคม ๒๕.................. ๑๐. งบประมาณรวมทั้งโครงการ : จำนวน.........................บาท (...........................................................) ๑๑. แผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ แผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ รวม ไตรมาสที่ ๑ ไตรมาสที่ ๒ ไตรมาสที่ ๓ ไตรมาสที่ ๔ ปีงบประมาณ ๒๕... รวมทั้งสิ้น ๑๒. รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม (ขออนุมัติถัวจ่ายทุกรายการ) กิจกรรม งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ กิจกรรมที่ ๑ แต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน กิจกรรมที่ ๒ ชี้แจงบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน และกำหนดมาตรการ กิจกรรม ขั้นตอนการจัดกิจกรรม และแนวทางการดำเนินการส่งเสริม ป้องกันและพัฒนาตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโครงการโรงเรียนสุจริต – ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน..........คน (......มื้อ x ......บาท x ......คน) เป็นเงิน...........บาท – ค่าวัสดุ เป็นเงิน..........บาท – ................................................................................ ................................................................................... รวมเป็นเงิน.............................บาท กิจกรรมที่ ๓ ป.ป.ช.สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่างนักเรียน โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง – ค่าวัสดุ เป็นเงิน...........................บาท - ................................................................................ ................................................................................... รวมเป็นเงิน..........................บาท


Click to View FlipBook Version