ค ว า ม ผิ ด เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ป ก ค ร อ ง
หมวด1
ค ว า ม ผิ ด ต่ อ เ จ้ า พ นั ก ง า น
(มาตรา137และมาตรา147)
จั ด ทำ โ ด ย
6 3 1 0 8 1 0 9 1 น า ย เ ด ช พิ ภั ช ล ะ อ อ ง ม ณี
เสนอ
อ า จ า ร ย์ วิ รั ต น์ น า ทิ พ เ ว ท ย์
ห นั ง สื อ เ ล่ ม นี้ เ ป็ น ส่ ว น ห นึ่ ง ข อ ง ร า ย วิ ช า 0 8 0 1 2 2 1
ก ฎ ห ม า ย อ า ญ า 2 : ภ า ค ค ว า ม ผิ ด ค ณ ะ นิ ติ ศ า ส ต ร์
ม ห า วิ ท ย า ลั ย ทั ก ษิ ณ ส ง ข ล า
บทที่1
คำอธิบายเชิงโครงสร้างความรับผิดทางอาญา
ความผิดฐานแจ้งความเท็จ (มาตรา 137)
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 137 “ผู้ใด แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ แก่เจ้าพนักงาน
ซึ่ง อาจทำให้ ผู้อื่น หรือ ประชาชน เสียหาย ต้องระวางโทษ จำคุก
ไม่เกิน หกเดือน หรือ ปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือ ทั้งจำทั้ง
ปรับ”
โครงสร้างความผิดทางอาญามาตรา137
1.แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
2.เจ้าพนักงาน
3.ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
4.โดยเจตนา
จากโครงสร้างสามารถอธิบายได้ดังนี้
แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หมายความว่า การนำข้อเท็จจริงแจ้งแก่
เจ้าพนักงาน ซึ่งการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา 137 นี้อาจจะ
กระทำโดยผู้แจ้งไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานเอง หรือโดยตอบคำถามของเจ้า
พนักงานก็ได้
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรานี้ อาจกระทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1.กระทำด้วยวาจา
2.กระทำด้วยลายลักษณ์อักษร
3.กระทำด้วยการแสดงกิริยาท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการกระทำ
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ให้เจ้าพนักงานได้ทราบข้อความ โดยที่ข้อความที่
แจ้งนั้นจะต้องเป็นความเท็จ ถ้าข้อความที่แจ้งนั้นไม่เป็นความเท็จแล้ว ผู้
แจ้งก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 137 นี้
แก่เจ้าพนักงาน คือเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งข้อความจะต้องเป็นผู้
มีหน้าที่รับแจ้งข้อความนั้นและต้องกระทำการตามหน้าที่โดยชอบด้วย
กฎหมายจึงจะถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน ถ้าเป็นการแจ้งข้อความต่อเจ้า
พนักงานซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับแจ้งข้อความเช่นนั้น ผู้แจ้งก็ไม่มี
ความผิดตามมาตรา 137 นี้
การที่เจ้าพนักงานสอบถามแล้วจำเ ลยไม่รับหรือปฎิเสธ มิใช่การ
แจ้งความเท็จตามความหมา ยแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/ 2509
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น ไม่ว่าจะไปแจ้งเองหรือตอบคำถาม
ที่เจ้าพนักงานเรียกไปสอบสวนเป็น พยาน ก็เป็นการแจ้งต่อเจ้า
พนักงานตาม ความหมายแห่งมาตรานี้ทั้งนั้น
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 147 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ
หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้
อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ
ตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
โครงสร้างความผิดทางอาญามาตรา147
องค์ประกอบความผิด
1.เจ้าพนักงาน
2.มีหน้าที่ซื้อ มีหน้าที่จัดการหรือหน้าที่รักษาทรัพย์
3.เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือ
โดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้น
4.โดยเจตนา
5.โดยทุจริต
"เจ้าพนักงาน” หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า
เป็นเจ้าพนักงาน หรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่
ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่า
ตอบแทนหรือไม่"
มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ได้กระทำความ
ผิดเป็นเจ้าพนักงานและจะต้องมีน้าที่ราชการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม
ที่บัญญัตินี้ไว้ด้วย
เจตนา คือ ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลที่จะปฎิบัติหรือละ
เว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
บทที่2
คำอธิบายจากบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2546
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ ว. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ
หน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน โดยกรอกข้อความเท็จใน
แบบคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนและเสนอ ส. พนักงานเจ้า
หน้าที่ที่รับผิดชอบเพื่อให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชน
อันเป็นเอกสารราชการให้แก่ ง. และ ก. โดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายแก่ ว. และ ส. ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้อื่น และ
ประชาชนเป็นการกระทำผิดโดยมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือบุคคลสอง
คนให้ได้รับบัตรประจำตัวประชาชน แม้จะกระทำในวันเดียวกัน
สถานที่เดียวกัน แต่เจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกต่าง
หากจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรม
จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/ 2546 สามารถวิเคราะห์ได้
คือจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ ว. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ
หน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน โดยกรอกข้อความใน
แบบคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนและจำเลยนำแบบคำขอดัง
กล่าวเสนอ ส. พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้ดำเนินการ
ออกบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการให ้แก่ ง.
และ ก. เป็นการกระทำผิดโดยมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือบุคคลสอง
คนให้ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแม้จะกระทำในวันเดียวกัน
สถานที่เดียวกันแต่เจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกต่าง
หากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายอย่างไม่ใช่อย่างเดียว การแจ้ง
ความเท็จที่แจ้งนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้เกิดความผิด
หรือเป็นองค์ประกอบความผิดด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงรายละเอียด
การกระทำที่ครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัตินั้นหมายความว่า
1.มีการกระทำ
2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดในเรื่อง
นั้นๆ
3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายในของความผิดในเรื่องนั้น
ๆ
4.ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักในเรื่องความ
สัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
คำพิพากษาฎีกาที่ 1682/2516
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 151ก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดมีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา
ทรัพย์ แล้วใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดย
ชอบด้วยกฎหมายจากตัวทรัพย์นั้นโดยมิได้เอาตัวทรัพย์ไป ไม่ใช่
เพียงแต่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นเท่านั้น จำเลยได้รับแต่งตั้ง
ให้ดำเนินงานควบคุมจัดการกิจการประปาของเทศบาล ได้ติดตั้ง
การใช้น้ำประปาให้ ส. กับพวกแล้วไม่ลงทะเบียนผู้ใช้น้ำประปา
เรียกเก็บค่าใช้น้ำประปาทุกเดือน และออกหลักฐานจำนวนก๊อกน้ำ
ประปาของผู้ติดตั้งน้อยกว่าความจริงแล้วเก็บเงินมากกว่าจำนวนค่า
ธรรมเนียมที่เทศบาลกำหนด และโจทก์บรรยายฟ้องเจาะจงว่า
จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินรายได้ 3,955 บาท จากกิจการประปา
ของเทศบาลที่จำเลยรับไว้จาก ส. กับพวก ไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว
โดยทุจริต ดังนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
147 เท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 151 ด้วย
จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวได้กล่าวถึงการกระทำที่จะเป็น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151ก็ต่อเมื่อผู้กระทำ
ผิดมีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ แล้วใช้อำนาจใน
ตำแหน่งแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากตัว
ทรัพย์นั้นโดยมิได้เอาตัวทรัพย์ไป ไม่ใช่เพียงแต่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
กับทรัพย์นั้นเท่านั้น จำเลยได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินงานควบคุม
จัดการกิจการประปาของเทศบาล ได้ติดตั้งการใช้น้ำประปาให้ ส.
กับพวกแล้วไม่ลงทะเบียนผู้ใช้น้ำประปาเรียกเก็บค่าใช้น้ำประปา
ทุกเดือน และออกหลักฐานจำนวนก๊อกน้ำประปาของผู้ติดตั้งน้อย
กว่าความจริงแล้วเก็บเงินมากกว่าจำนวนค่าธรรมเนียมที่เทศบาล
กำหนด และจำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินรายได้ 3,955 บาท จาก
กิจการประปาของเทศบาลที่จำเลยรับไว้จาก ส. กับพวก ไว้เป็น
ประโยชน์ส่วนตัว โดยทุจริตซึ่งครบอางค์ประกอบความผิดตาม
มาตรา147 ดังนี้ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
147 เท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 151 ด้วย
บทที่3
สรุปเนื้อหาและข้อเสนอแนะ
สรุป
ในมาตรา137เป็นเรื่องของการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้า
พนักงาน ซึ่ง อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายซึ่งการกระทำดังกล่าว
อาจจะเจตนาหรือโดยทุจริตล้วนมีความผิดตามองค์ประกอบมาตรา137
ส่วนในมาตรา147เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานที่เจ้าพนักงานมีหน้า
ที่ซื้อ มีหน้าที่จัดการหรือหน้าที่รักษาทรัพย์เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน
หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นโดย
เจตนาหรือโดยทุจริตซึ่งในคำพิพากษาที่ยกมานั้นจะต้องครบองค์ประกอบ
ความผิดจึงจะป็นผู้มีความผิดตามมาตรา147
ข้อเสนอแนะ
ในความคิดนิสิตทั้งสองมาตรามีความแตกต่างที่ชัดเจนและโทษที่
ควรได้รับควรมีความเคร่งครัดมากกว่านี้เห็นได้จากสถานการณ์ปัจจุบันเจ้า
หน้าที่ใช้หน้าที่ตนทำแต่สิ่งที่ผิดอาจเพราะโทษไม่แรงและมีการผ่อนปรน
บรรณานุกรม
หนังสือประมวลกฎหมายอาญา
https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/d
owloads_doc/term1/nawarat/n15.pdf
https://www.xn-
-42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/%E0%B8%9B%
E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E
0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%
B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2%20%E
0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%20%2
0157.html
https://deka.in.th/view-651.html