The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thanasak2406, 2019-08-24 22:56:55

TECH40101_ch1

TECH40101_ch1

-1-

บทท่ี 1

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เนื้อหา

1.บทบาทความสาํ คญั ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ขอบเขตของเทคโนโลยสี ารสนเทศ

3.ความกา วหนาของเทคโนโลยสี ารสนเทศ
4.ประโยชนทไ่ี ดจ ากเทคโนโลยสี ารสนเทศ

5.เทคโนโลยีกบั แนวโนมโลก
6.ระบบสารสนเทศ

7.องคป ระกอบของระบบสารสนเทศ
8.ตัวอยางการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลการเรยี นรูที่คาดหวัง

1. อธบิ ายความหมายของคําวา เทคโนโลยี สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศได
2. อธิบายพฒั นาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ตงั้ แต อดตี ปจ จบุ นั และแนวโนม ในอนาคตได
3. อธบิ ายและตระหนกั ถงึ ประโยชนของเทคโนโลยสี ารสนเทศ และสามารถนาํ ไปประยุกตใ ชไ ด

1. บทบาทความสาํ คญั ของเทคโนโลยสี ารสนเทศ

การเปล่ียนแปลงสังคมความเปนอยูของมนุษยเปนไปอยางรวดเร็ว กลาวกันวาไดเกิดการเปล่ียนแปลงใน
ลักษณะที่เรียกวา การปฏิวัติมาแลวสองคร้ัง คร้ังแรกเกิดจากการที่มนุษยรูจักใชระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก
สังคมความเปนอยูของมนุษยจึงเปลี่ยนจากการเรรอนมาเปนการตั้งหลักแหลงเพ่ือทําการเกษตร ตอมาเมื่อประมาณ
รอยกวาปท่ีแลว กอนสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากท่ีวัตตประดิษฐเคร่ืองจักรไอน้ํา มนุษยรูจักนําเอาเครื่องจักรมาชวย
ในอุตสาหกรรมการผลิตและชวยในการสรางยานพาหนะเพ่ืองานคมนาคมขนสง ผลที่ตามมาทําใหเกิดการปฏิวัติทาง
อุตสาหกรรม สังคมความเปนอยูของมนษุ ยจงึ เปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเปนสงั คมเมอื ง

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขียนโปรแกรมขนั้ ตน ภาคเรยี นท่ี 1/2552

-2-

การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใชเครื่องจักรกลแทนการทํางานดวยมือ พลังงานที่ใชขับเคลื่อน
เคร่ืองจกั รมาจากพลังงานนา้ํ พลังงานไอน้าํ และเปล่ียนเปน พลงั งานจากน้าํ มนั มกี ารขับเคล่ือนเคร่ืองยนตและมอเตอร
ไฟฟา การปฏิวัติอุตสาหกรรมไดเกิดขึ้นอีก โดยเปลี่ยนแปลงระบบทํางานจากทีละขั้นตอนมาเปนการทํางานระบบ
อตั โนมตั ิ การทํางานเหลา น้ลี ว นอาศยั ระบบควบคมุ ดวยคอมพิวเตอรทงั้ สนิ้

รูปท่ี 1.1 โรงงานประกอบรถยนตท่ใี ชแ ขนหุน ยนต

มีผูกลาววาการปฏิวัติคร้ังท่ีสามกําลังจะเกิดข้ึน โดยส่ิงที่เกิดใหมน้ี ไดแก การพัฒนาทางดานความคิด การ
ตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร ในอนาคตกลุมคนเพียงกลุมเดียวอาจทํางานท้ังหมดโดยอาศัยระบบ
คอมพิวเตอรควบคุม ทําการควบคุมหุนยนตคอมพิวเตอร และใหหุนยนตควบคุมการทํางานของเคร่ืองจักรอีกตอหน่ึง
ความเจริญกาวหนาทางอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนงมีคอมพิวเตอรเขามาเก่ียวของดวยเสมอ ระบบการผลิตสวนใหญ
ตองใชคอมพิวเตอรและอิเล็กทรอนิกสแทรกเขามาเกือบทุกกระบวนการ ต้ังแตการควบคุม การขนสงวัตถุดิบ
กระบวนการผลติ และการบรรจุหบี หอ

ในระดับประเทศ ประเทศไทยส่ังซื้อสินคาเทคโนโลยีระดับสูงเปนปริมาณมาก ทําใหตองซื้อเทคนิควิธีการ
ตลอดจนเครื่องมือเคร่ืองจักรเขามาในปริมาณมากไปดวย ขณะเดียวกันเรายังขาดบุคลากรท่ีจะพัฒนาเครื่องจักร
เคร่ืองมือเหลานั้นใหม ปี ระสิทธิภาพ การสูญเสียเงินตราเนื่องจากสาเหตุนี้จึงเกิดขึ้นมิใชนอย หลายโรงงานยังไมกลาใช
เครื่องจักรที่ใชเทคโนโลยีใหม เพราะหาบุคลากรในการดําเนินการไดยาก แตในระยะหลังคาจางแรงงานสูงข้ึนและการ
แขงขันทางธุรกิจมีมากข้ึน จึงตกอยูในสภาวะจํายอมที่ตองนําเคร่ืองมือเหลานั้นเขามา เนื่องจากเครื่องมือดังกลาวให
ผลผลติ ทีด่ ีกวา ของเดิมและทําใหราคาตนทนุ การผลิตสนิ คาตํา่ ลงอีกดว ย

ในยุควิกฤตการณพลังงาน หลายประเทศพยายามลดการใชพลังงาน โรงงานพยายามหาทางควบคุมการใช
พลังงานใหมีประสิทธิภาพสูงสดุ เพอื่ จะลดคาใชจ า ยลง จึงนําคอมพิวเตอรมาชวยควบคุม เชน ควบคุมการเดินเคร่ืองให
เหมาะสม ควบคุมปริมาณการเผาไหมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ควบคุมการจัดภาระงานใหเหมาะสม รวมถึง
การควบคุมสง่ิ แวดลอ มตาง ๆ ดวย

รายวิชา ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขียนโปรแกรมขน้ั ตน ภาคเรียนท่ี 1/2552

-3-

เมื่อคอมพิวเตอรเขามาเก่ียวของกับการดําเนินชีวิตของมนุษยมากข้ึน ก็ไดมีการพัฒนางานทางดาน
เทคโนโลยีสารสนเทศ และในปจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศไดเขามามีบทบาทตอชีวิตประจําวันของมนุษยมากขึ้น
สังเกตไดจากการนําคอมพิวเตอรสวนบุคคลมาใชในสํานักงาน การจัดทําระบบฐานขอมูลขนาดใหญ การใชอุปกรณ
อํานวยความสะดวกท่ปี ระกอบดวยชน้ิ สวนอเิ ลก็ ทรอนิกส แสดงวาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการคํานวณและเก็บขอมูล
ไดแพรไปท่ัวทุกแหง เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสําคัญตอการแขงขันดานธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผล
ตอ การใหบ ริการขององคก รและหนว ยงาน และมีผลตอการประกอบกิจการในแตละวัน

เทคโนโลยีสารสนเทศเร่ิมใชงานในประเทศไทยเมื่อไมนานมานี้เอง โดยในป พ.ศ.2507 มีการนําคอมพิวเตอร
เขามาใชใ นประเทศไทยเปน ครงั้ แรก และในขณะน้ันเทคโนโลยสี ารสนเทศยงั ไมแ พรหลายนัก จะมีเพยี งการใชโ ทรศัพท
เพื่อการติดตอสื่อสาร และนําคอมพิวเตอรมาชวยประมวลผลขอมูล งานดานสารสนเทศอ่ืน ๆ สวนใหญ ยังคงเปนงาน
ภายในสํานกั งานทีย่ งั ไมมอี ปุ กรณและเครอื่ งมอื ดานเทคโนโลยีมาชวยงานเทาใดนัก

เมอื่ มกี ารประดิษฐคิดคนอุปกรณช ว ยงานสารสนเทศ เชน เคร่ืองถายเอกสาร โทรสาร และไมโครคอมพิวเตอร
อาชีพของประชากรก็ปรับเปล่ียนมาสูงานดานสารสนเทศมากข้ึน สํานักงานเปนแหลงที่มีการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ
มากทส่ี ดุ เชน การใชค อมพิวเตอรท ําบัญชีเงนิ เดือนและบัญชีรายรับรายจาย การติดตอสื่อสารภายในและภายนอกโดย
ใชโ ทรศัพทและโทรสาร การจัดเตรียมเอกสารดวยการใชเครือ่ งถา ยเอกสารและคอมพิวเตอร

งานดานสารสนเทศมีแนวโนมขยายตัวท่ีคอนขางสดใส เพราะเทคโนโลยีดานนี้ไดรับการสงเสริมสนับสนุน
อยา งเตม็ ท่ี มกี ารวิจัยและพฒั นาใหเกิดผลิตภัณฑใหมอ อกมาตอบสนองความตองการของมนุษยอยตู ลอดเวลา

รปู ท่ี 1.2 การใชค อมพวิ เตอรท าํ งานในสาํ นักงาน

เทคโนโลยีที่ใชในระบบสารสนเทศที่กําลังไดรับความสนใจอยางมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีส่ือประสม
(Multimedia) ซ่ึงรวมขอความ ภาพ เสียง และวีดิทัศนเขามาผสมกัน เทคโนโลยีน้ีกําลังไดรับการพัฒนา ในอนาคต
เทคโนโลยีแบบส่ือประสมจะชวยเสริมและสนับสนุนงานดานสารสนเทศใหกาวหนาตอไป เปนท่ีคาดหมายวาอัตราการ
เตบิ โตของผูทาํ งานดา นเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากข้นึ

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขียนโปรแกรมขั้นตน ภาคเรียนท่ี 1/2552

-4-

แนวโนมของเทคโนโลยีสารสนเทศคอ ย ๆ กลายมาเปนระบบรวม โดยใหคอมพิวเตอรระบบหน่ึงทํางานพรอม
กันไดหลาย ๆ อยาง นอกจากใชประมวลผลขอมูลดานบัญชีแลว ยังใชงานจัดเตรียมเอกสารแทนเคร่ืองพิมพดีด ใช
รับสงขอความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอรที่อยูหางไกล ซึ่งอาจอยูคนละซีกโลกในลักษณะท่ีเรียกวา “ไปรษณีย
อิเล็กทรอนิกส” (Electronic Mail หรือ E-Mail) สําหรับเคร่ืองถายเอกสาร นอกจากจะใชถายสําเนาเอกสารตามปกติ
แลว อาจเพ่ิมขดี ความสามารถใหใชง านเปนเคร่ืองพมิ พหรือรบั สง โทรสารไดอ ีกดว ย

การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเปนไปอยางรวดเร็ว ท้ังดานฮารดแวร (Hardware) ซอฟตแวร
(Software) ขอมูล (Data) และการตดิ ตอ สื่อสาร (Communication) ผใู ชจงึ ตองปรับตัวยอมรับและเรียนรูเทคโนโลยีใหม
ที่เกิดข้ึนอยูเสมอ โดยเฉพาะขอมูลและการติดตอสื่อสารซึ่งเปนหัวใจสําคัญของการดําเนินธุรกิจ หากการดําเนินงาน
ธุรกิจใชขอมูลซึ่งมีการบันทึกใสกระดาษและเก็บรวบรวมใสแฟม การเรียกคนและสรุปผลขอมูลยอมทําไดชาและเกิด
ความผิดพลาดไดงายกวาการประมวลผลขอมูลดวยเคร่ืองคอมพิวเตอร เทคโนโลยีสารสนเทศจะชวยใหทํางานไดงาย
สะดวก รวดเรว็ และถูกตอ งขึน้ และท่ีสาํ คัญชวยใหสามารถตดั สนิ ใจดําเนนิ งานไดเ รว็

2. ขอบเขตของเทคโนโลยสี ารสนเทศ

คําวา เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกตเอาความรูทางดานวิทยาศาสตร ความจริงเกี่ยวกับ

ธรรมชาติและส่ิงแวดลอม มาทําใหเกิดประโยชนตอมวลมนุษย เทคโนโลยีจึงเปนวิธีการในการสรางมูลคาเพ่ิมของสิ่ง
ตางๆ ใหเกิดประโยชนมากยิ่งขึ้น เชน ทรายหรือซิลิคอน (Silicon) เปนสารแรท่ีพบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนํามา
สกดั ดวยเทคนิควิธีการสรางเปน ชปิ (Chip) จะทาํ ใหสารแรซิลิคอนน้ันมีคุณคา และมูลคา เพ่ิมข้ึนไดอ กี มาก

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ขอมูลที่เปนเร่ืองเก่ียวของกับ

ความจริงของคน สัตว สิ่งของ ท้ังท่ีเปนรูปธรรมและนามธรรม ท่ีไดรับจากการ
จัดเก็บรวบรวม ประมวลผล เรียกคน และส่ือสารระหวางกัน นํามาใชใหเกิด
ประโยชนไดซ งึ่ นักเรยี นจะไดเรียนเพิม่ เตมิ ตอไป

รปู ที่ 1.3 ชปิ (Chip) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การ

นําวิทยาการท่ีกาวหนาทางดานคอมพิวเตอรและการสื่อสารมาสรางมูลคาเพ่ิม
ใหกับสารสนเทศ ทําใหสารสนเทศมีประโยชนและใชงานไดกวางขวางมากข้ึน
เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใชเทคโนโลยีดานตาง ๆ ในการรวบรวม
จัดเก็บ ใชงาน สงตอ หรือสื่อสารระหวางกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวของ
โดยตรงกับเครื่องมือเคร่ืองใชในการจัดการสารสนเทศ ไดแก เคร่ือง
คอมพิวเตอรและอุปกรณรอบขาง ข้ันตอนวิธีการดําเนินการซึ่งเก่ียวของกับ
ซอฟตแวร เกี่ยวของกับขอมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดําเนินงานเพื่อให
ขอมลู เกดิ ประโยชนส งู สดุ

เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเปนเทคโนโลยีที่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการประมวลผลขอมูล ซ่ึงไดแก การใช
เทคโนโลยคี อมพวิ เตอร การติดตอส่ือสารระหวางกันดวยความรวดเร็ว การจัดการขอมูล รวมถึงวิธีการที่จะใชขอมูลให
เกิดประโยชนส งู สดุ

รายวิชา ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขียนโปรแกรมข้นั ตน ภาคเรยี นที่ 1/2552

-5-

3. ความกาวหนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในภาวะสังคมปจจุบัน หลายส่ิงหลายอยางที่เกิดขึ้นรอบตัวเปนตัวช้ีบอกวา ประเทศไทยกําลังกาวสูยุค
สารสนเทศ ดังจะเห็นไดจ ากวงการศกึ ษาสนใจใหความรดู า นคอมพวิ เตอรแ ละสงเสรมิ การนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรมา
ประยุกตงานตาง ๆ มากขึ้น การบริหารธุรกิจของบริษัทหางรานตาง ๆ ตลอดจนหนวยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพ่ือใชในองคการ ดวยการเก็บขอมูล ประมวลผลและวิเคราะหขอมูล แลวนําผลลัพธมา
ชวยในการวางแผนและตัดสินใจ

ระยะเรม่ิ แรกท่ีมนุษยไดค ิดคน ประดษิ ฐค อมพิวเตอรท ีม่ ลี ักษณะเปน เคร่อื งคาํ นวณอิเลก็ ทรอนิกส คอมพิวเตอร
ไดถูกใชทํางานดานการคํานวณทางวิทยาศาสตรเปนสวนใหญ แลวจึงนํามาใชเก็บรวบรวมและประมวลผลขอมูล
ทางดา นธรุ กจิ ในเวลาตอมา ระยะแรกน้ีเรยี กวา ระยะของการประมวลผลขอมลู (Data Processing Age)

ขอมูลท่ีไดมาจะตองผานการประมวลผลใหไดเปนสารสนเทศกอนจึงจะนําไปใชใหเกิดประโยชน วิธีการ
ประมวลผลขอ มลู จะเร่มิ ตง้ั แตการรวบรวมจัดเกบ็ ขอ มูล เม่ือไดขอมูลแลวตองมีการตรวจสอบความถูกตอง แบงกลุมจัด
ประเภทของขอมูล เชน ขอมูลตัวอักษรซ่ึงเปนช่ือหรือขอความก็อาจตองมีการเรียงลําดับ และขอมูลตัวเลขก็อาจตองมี
การคํานวณ จากน้นั จึงทําการสรุปไดเปน สารสนเทศออกมา

ถา ขอ มลู ท่นี าํ มาประมวลผลมจี ํานวนมากจนเกินความสามารถของมนุษยท่ีจะจัดการไดในเวลาอันส้ัน ก็จําเปน
จะตองนําคอมพิวเตอรมาชวยเก็บและประมวลผล เม่ือขอมูลอยูภายในคอมพิวเตอร การแกไขหรือเรียกคนสามารถทํา
ไดสะดวกและรวดเร็ว ขณะเดียวกันการทําสําเนาและการแจกจายขอมูลก็สามารถดาํ เนินการไดทันที

งานท่ีเกิดขึ้นจากการประมวลผลขอมูลมักเก็บในลักษณะแฟมขอมูล ตัวอยางเชน การทําบัญชีเงินเดือนของ
พนักงานในบริษัท ขอมูลเงินเดือนของพนักงานท่ีเก็บในคอมพิวเตอรจะรวมกันเปนแฟมขอมูลท่ีประกอบดวยชื่อ
พนักงาน เงินเดือน และขอมูลสําคัญอื่น ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอรจะเรียกแฟมเงินเดือนมาประมวลผลและสรุปผลรวม
ยอด ขั้นตอนการทํางานจะตองทําพรอมกันทีเดียวท้ังแฟมขอมูล ท่ีเรียกวา การประมวลผลแบบกลุม (Batch
Processing)

แตเนื่องจากระบบงานที่เกิดข้ึนภายในองคกรคอนขางซับซอน เชน รายไดของพนักงานที่ไดรับในแตละเดือน
อาจไมไดมาจากอัตราเงินเดือนประจําเทานั้น แตอาจจะมีคานายหนาจากการขายสินคาดวย ในลักษณะนี้แฟมขอมูล
การขายจะสัมพันธกับแฟมขอมูลเงินเดือน และสัมพันธกับแฟมขอมูลอ่ืน ๆ เชน คาสวัสดิการ การหักเงินเดือนเปน
คาใชจายตาง ๆ ระบบขอมูลจะกลายเปนระบบท่ีมีแฟมขอมูลหลายแฟมเชื่อมสัมพันธกัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร
เรียกแฟม ขอ มลู เหลา น้ันมาจดั การใหเ ปน ไปตามตอ งการ ระบบนีเ้ รยี กวา ระบบฐานขอ มลู (Database System)

การจัดการขอมูลที่เปนฐานขอมูล จะเปนระบบสารสนเทศที่มีประโยชนซึ่งนําไปชวยงานดานตาง ๆ อยาง
ไดผล ระบบขอมูลที่สรางเพ่ือใชในบริษัทจะเปนระบบฐานขอมูลของกิจกรรมท่ีเกิดข้ึน เพ่ือแสดงสารสนเทศที่เปนจริง
ของบริษัท สามารถนําขอเท็จจริงน้ันไปวิเคราะหและนําผลลัพธไปประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เพื่อการวางแผน
และกําหนดนโยบายการจดั การตาง ๆ

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมขัน้ ตน ภาคเรียนท่ี 1/2552

-6-

ในปจจุบันการนําคอมพิวเตอรไปใชงานของประเทศตาง ๆ ท่ัวโลก อยูท่ีการใชสารสนเทศเปนสวนใหญ
แนวโนมของระบบจัดการขอมูลของยุคน้ี เริ่มเปล่ียนจากระบบงานการประมวลผลแบบกลุมมาเปนระบบตอบสนอง
ทันที ท่ีเรียกวา การประมวลผลแบบเช่ือมตรง (Online Processing) เชน การฝากถอนเงินของธนาคารตาง ๆ
ผา นเคร่อื งรับ-จา ยเงนิ อัตโนมัติ หรือระบบเอทเี อ็ม (Automatic Teller Machine : ATM)

ขณะทป่ี ระเทศตา ง ๆ ยงั อยใู นยุคของการประมวลผลสารสนเทศ ในบางประเทศ เชน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุน
ไดพัฒนาเขาสูการประมวลผลฐานความรู (Knowledge Base Processing) โดยใหคอมพิวเตอรใชงาย รูจัก
ตอบสนองกับผูใช และสามารถแกปญหาที่ตองอาศัยการตัดสินใจระดับสูง ดวยการเก็บสะสมฐานความรูไวใน
คอมพิวเตอร และมีโครงสรา งการใหเ หตผุ ล เพือ่ นําความรมู าชว ยแกป ญ หาท่ีสลบั ซบั ซอ น

รูปที่ 4 Robosoft, a French company, has announced the introduction of ESTELE, a remotely
operated robotic echo system. [ท่ีมา http://www.medgadget.com/archives/2007/04/estele_expert_s.html]

การประมวลผลฐานความรูเปนการประยุกตหลักวิชาดานปญญาประดิษฐ (Artificial Intelligence : AI) ที่
รวบรวมศาสตรหลายแขนง คือ คอมพิวเตอร จติ วิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตรเขาดวยกัน ตัวอยางชิ้นงานประเภทนี้
ไดแก หุนยนต (Robot) และระบบผูเช่ียวชาญ (Expert System) ปจจุบันมีซอฟตแวรที่เปนระบบผูเชี่ยวชาญชวยใน
การวนิ จิ ฉัยโรคตาง ๆ และการสํารวจทรพั ยากรธรรมชาติ

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมข้ันตน ภาคเรยี นที่ 1/2552

-7-

4. ประโยชนท ี่ไดจ ากเทคโนโลยสี ารสนเทศ

การประยุกตใชเทคโนโลยีสารสนเทศในปจจบุ ัน กอใหเ กดิ ประโยชนในดา นตา งๆ มากมาย ยกตวั อยา งเชน
1. ชวยใหตดิ ตอ สื่อสารระหวา งกันอยา งสะดวกรวดเรว็ โดยใชโทรศพั ท เครอื ขา ยคอมพวิ เตอรแ ละอนิ เทอรเน็ต
2. ชว ยในการจดั ระบบขาวสารจาํ นวนมหาศาล ซงึ่ ผลติ ออกมาในแตละวนั
3. ชวยใหเ กบ็ สารนเิ ทศไวใ นรปู ทส่ี ามารถเรียกใชไดคร้งั แลวคร้งั เลาอยางสะดวก
4. เพ่มิ ประสทิ ธภิ าพการผลติ สารนเิ ทศ เชน ชว ยนักวิทยาศาสตร วศิ วกร ในการคํานวณตัวเลขท่ียุงยาก ซับซอน

ซง่ึ ไมสามารถทาํ ใหสาํ เร็จไดดว ยมอื
5. สามารถจัดระบบอตั โนมัติเพ่ือการเก็บ เรียกใชแ ละประมวลผลสารนเิ ทศ
6. สามารถจาํ ลองแบบระบบการวางแผนและทํานาย เพอ่ื ทดลองกับส่งิ ทยี่ งั ไมเ กิดข้ึน
7. อํานวยความสะดวกในการเขาถึงสารนิเทศดีกวาสมัยกอน ทําใหผูใชสารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกวา มี

ประสทิ ธิภาพกวา และสามารถแขง ขันกบั ผูอนื่ ไดด กี วา
8. ชวยใหมีการตัดสินใจที่ดีข้ึน จากการมีสารสนเทศประกอบการตัดสินใจและพิจารณาทางเลือกภายใตเงื่อนไข

ตาง ๆ
9. ลดคาใชจายซ่ึงเปนผลมาจากการใชเทคโนโลยีท่ีทันสมัย ทําใหประหยัดเวลาการทํางานหรือลดคาใชจายใน

การทาํ งานลง
10. พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยมีการคนควาผานระบบเครือขาย เพิ่มโอกาสใหนักศึกษาสามารถสืบคน

ขอ มลู ไดจ ากสถานท่ีอนื่ นอกมหาวิทยาลัย เปนการฝกใหรจู กั เรียนรูดวยตน เองมากข้นึ
11. เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน ทั้งในดานความเที่ยงตรง ความรวดเร็วในความตองการใชขอมูล ขอมูลมี

ความสมบูรณม ากยิ่งขึน้ สอดคลองกบั ความตองการของผูใ ช และสามารถตรวจสอบขอมูลไดอ ยา งถกู ตอง
12. ชวยในการรื้อปรับระบบ (reengineering) และพัฒนาระบบสอดคลองกับความตองการขององคการไดอยาง

ตอ เนอ่ื ง โดยการใชเทคโนโลยสี ารสนเทศเปน เครื่องมอื การปรบั ระบบ และพัฒนาระบบใหทันสมยั อยเู สมอ

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมข้ันตน ภาคเรยี นที่ 1/2552

-8-

5. เทคโนโลยกี บั แนวโนม โลก

ปจจุบันคอมพิวเตอรและระบบสื่อสารมีบทบาทมากข้ึน มีการใชเครือขายคอมพิวเตอร เชน อินเทอรเน็ต

เชอ่ื มโยงการทํางานตาง ๆ การดําเนินธุรกิจใชสารสนเทศอยางกวางขวาง เกิดคําใหมวา ไซเบอรสเปซ (Cyberspace)
มีการดําเนินกิจกรรมตาง ๆ ในไซเบอรสเปซ เชน การพูดคุย การซื้อสินคาและบริการ การทํางานผานทางเครือขาย
คอมพิวเตอร ทําใหเกิดสภาพท่ีเสมือนจริงมากมาย เชน หองสมุดเสมือนจริง หองเรียนเสมือนจริง ท่ีทํางานเสมือนจริง
ฯลฯ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เปนเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและตอบสนองตามความตองการ ปจจุบันการใช
เทคโนโลยีเปนแบบบังคับ การดูโทรทัศน การฟงวิทยุ เมื่อเราเปดเครื่องรับโทรทัศนเราไมสามารถเลือกตามความ
ตอ งการได ถาสถานีสงสัญญาณใดมาเราก็จะตองชมตามตารางเวลาท่ีสถานีกําหนด หากผิดเวลาก็ทําใหพลาดรายการ
ท่ีสนใจไป และหากไมพอใจรายการก็ทําไดเพียงเลือกสถานีใหม แนวโนมจากน้ีไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะท่ี
เรียกวาออนดีมานด (On Demand) เราจะมีทีวีออนดีมานด (TV On Demand) เชน เมื่อตองการชมภาพยนตรเร่ืองใด
ก็เลือกชม และดูไดตั้งแตตนรายการ การศึกษาออนดีมานด (Education On Demand) คือ สามารถเลือกเรียนตาม
ตองการได การตอบสนองตามความตองการเปนหนทางที่เปนไปได เพราะเทคโนโลยีมีพัฒนาการที่กาวหนาจน
สามารถนาํ ระบบสอื่ สารมาตอบสนองตามความตองการของมนุษยไ ด

เทคโนโลยีสารสนเทศทําใหเกิดสภาพการทํางานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา เม่ือการสื่อสารแบบสองทาง
กาวหนาและแพรหลายข้ึน การโตตอบผานเครือขายทําใหเสมือนมีปฏิสัมพันธไดจริง เรามีระบบประชุมทางวีดิทัศน
ระบบประชุมบนเครือขาย มีระบบการศึกษาบนเครือขาย มีระบบการคาบนเครือขาย ลักษณะของการดําเนินธุรกิจ
เหลาน้ีทําใหขยายขอบเขตการทํางานหรือดําเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแหง และดําเนินการไดตลอด 24 ช่ัวโมง เชน
ระบบเอทีเอ็ม ทําใหมีการเบิกจายไดเกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกลตัวผูรับบริการมากขึ้น แตดวยเทคโนโลยีท่ี
กา วหนา ย่ิงขึน้ การบรกิ ารจะกระจายมากย่ิงขึ้น จนถึงที่บาน และในอนาคตสังคมการทํางานจะกระจายจนงานบางงาน
อาจนง่ั ทําทบ่ี านหรอื ทใ่ี ดกไ็ ด และเวลาใดกไ็ ด

เทคโนโลยีสารสนเทศทําใหระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแหงชาติไปเปนเศรษฐกิจโลก ความเก่ียวโยงของ
เครือขายสารสนเทศทําใหเกิดสังคมโลกาภิวัฒน (Globalization) ระบบเศรษฐกิจซึ่งแตเดิมมีขอบเขตจํากัด
ภายในประเทศก็กระจายเปนเศรษฐกิจโลก ท่ัวโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปล่ียนสินคาและบริการอยาง
กวา งขวางและรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีสวนเอื้ออํานวยใหการดําเนินการมีขอบเขต กวางขวางมากยิ่งข้ึน ระบบ
เศรษฐกิจของโลกจงึ ผูกพันกบั ทกุ ประเทศและเช่ือมโยงกันแนบแนนข้นึ

เทคโนโลยีสารสนเทศทําใหองคกรมีลักษณะผูกพัน หนวยงานภายในเปนแบบเครือขายมากข้ึน แตเดิมการ
จัดองคกรมีการวางเปนลําดับข้ัน มีสายการบังคับบัญชาจากบนลงลาง แตเม่ือการสื่อสารแบบสองทางและการกระจาย
ขาวสารดีขึ้น มีการใชเครือขายคอมพิวเตอรในองคกรผูกพันกันเปนกลุมงาน มีการเพ่ิมคุณคาขององคกรดวย
เทคโนโลยสี ารสนเทศ การจดั โครงสรา งขององคกรจึงปรบั เปลีย่ นจากเดิม และมีแนวโนมที่จะสรางองคกรเปนเครือขาย
ท่ีมีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากข้ึน หนวยธุรกิจจะมีขนาดเล็กลงและเชื่อมโยงกันกับหนวยธุรกิจอ่ืนเปน
เครือขาย สถานภาพขององคกรจึงตองแปรเปล่ียนไปตามกระแสของเทคโนโลยี เพราะการดําเนินธุรกิจตองใช
ระบบสือ่ สารทีม่ คี วามรวดเร็วเทา กับแสง กอใหเ กิดการแลกเปลี่ยนขอ มลู ไดง า ยและรวดเร็ว

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมขั้นตน ภาคเรยี นที่ 1/2552

-9-

เทคโนโลยีสารสนเทศกอใหเกิดการวางแผนการดําเนินการระยะยาวข้ึน อีกท้ังยังทําใหวิถีการตัดสินใจหรือ
เลือกทางเลือกไดละเอียดขึ้น แตเดิมการตัดสินปญหาอาจมีหนทางใหเลือกไดนอย เชน อาจมีคําตอบเพียง ใช หรือ
ไมใช แตดวยขอมูลขาวสารที่สนับสนุนการตัดสินใจ ทําใหวิถีความคิดในการตัดสินปญหาเปล่ียนไป ผูตัดสินใจมี
ทางเลือกไดม ากขึ้น มคี วามละเอยี ดออนในการตดั สนิ ปญหาไดดขี ้นึ

เทคโนโลยีสารสนเทศเปน เทคโนโลยีเดียวที่มบี ทบาทในทกุ วงการ ดงั นั้นจึงมีผลตอการเปล่ียนแปลงทางสังคม
เศรษฐกิจ และการเมืองไดอยางมาก ลองนึกดูวาขณะน้ีเราสามารถชมขาว ชมรายการโทรทัศนท่ีสงกระจายผาน
ดาวเทียมของประเทศตาง ๆ ไดท่ัวโลก เราสามารถรับรูขาวสารไดทันที เราใชเครือขายอินเทอรเน็ตในการสื่อสาร
ระหวางกัน และตดิ ตอกบั คนไดท ว่ั โลก จงึ เปนทีแ่ นชัดวา แนวโนม การเปลย่ี นแปลงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และ
การเมอื ง จึงมลี ักษณะเปนสังคมโลกมากขน้ึ

6. ระบบสารสนเทศ

จากความสําคัญของสารสนเทศ และการหาหนทางที่จะใชเทคโนโลยีในการจัดการสารสนเทศ ใน พ.ศ.2538
รัฐบาลไทยไดประกาศอยางเปนทางการใหเปนปแหงเทคโนโลยีสารสนเทศไทย รัฐบาลไดเห็นความสําคัญของระบบ
ขอมูลที่มีเทคโนโลยีทางดานคอมพิวเตอรและระบบส่ือสารเปนตัวนํา และจะมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาและผลักดัน
ใหเกิดการใชทรัพยากรของประเทศอยางมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในดานทรัพยากรมนุษย วัสดุอุปกรณ และเวลา
รัฐบาลไดลงทุนใหกับโครงการพื้นฐานทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศเปนจํานวนมาก เชน การขยายระบบโทรศัพท
การขยายเครือขายสื่อสาร การสรางระบบฐานขอมูลทะเบียนราษฎร การสรางระบบการจัดเก็บภาษีและระบบศุลกากร
ดวยคอมพิวเตอร

ไมเพียงแตประเทศไทยเทาน้ันที่ใหความสําคัญเร่ืองเทคโนโลยีสารสนเทศ หลายประเทศท่ัวโลกก็ให
ความสําคัญเชนกัน แตละประเทศไดลงทุนทางดานน้ีเปนจํานวนมาก ทั้งน้ีเพราะขอมูลเปนกลไกสําคัญในเชิงรุก เพื่อ
พัฒนาประเทศใหสามารถแขงขันในระดับสากลได อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพชีวิต กระจายความเจริญสูชนบท และสราง
ความเสมอภาคในสงั คม

สังคมความเปนอยูและการทํางานของมนุษยมีการรวมกลุมเปนประเทศ การจัดองคกรเปนหนวยงานของ
รัฐบาลและเอกชน และภายในองคกรก็มีการแบงยอยลงเปนกลุม เปนแผนก เปนหนวยงาน ภายในหนวยงานยอยก็มี
ระดับบคุ คล

เม่ือพจิ ารณาระบบสารสนเทศทเี่ กีย่ วขอ งในองคกรพอที่จะแบง การจัดการสารสนเทศขององคกรไดต ามจํานวน
คนที่เกยี่ วของตามรูปแบบการรวมกลุมขององคกรได 3 ระดับ คอื ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระบบสารสนเทศระดับ
กลุม และระบบสารสนเทศระดบั องคก ร

6.1 ระบบสารสนเทศระดบั บุคคล

ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานใหแตละบุคคลในหนาที่ท่ี
รับผิดชอบ ปจจุบันคอมพิวเตอรสวนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แตมีความสามารถในการประมวลผลดวยความเร็ว
สงู ขน้ึ ประกอบกบั มโี ปรแกรมสําเร็จทที่ ําใหผูใชส ามารถใชงานไดง ายกวา งขวางและและคุมคามากขน้ึ

รายวิชา ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขียนโปรแกรมข้นั ตน ภาคเรียนที่ 1/2552

- 10 -

ขอมูลท่ีชวยใหการทํางานของบุคลากรดีขึ้นนั้น ตองข้ึนอยูกับหนาท่ีรับผิดชอบของแตละคนตางกันไป
ตัวอยางเชน นักวิจัยอาจจําเปนจะตองใชคอมพิวเตอรและโปรแกรมเฉพาะดาน เพื่อชวยในการจัดเก็บ รวบรวมขอมูล
รวมไปถึงการคาํ นวณและวิเคราะหข อมูลหรอื ผลลพั ธที่ไดจ ากการทดลองไดอ ยางถูกตอง

รูปที่ 1.5 นักวจิ ัยใชโปรแกรมคอมพวิ เตอรใ นการทาํ งานวจิ ัยของตนเอง

6.2 ระบบสารสนเทศระดบั กลมุ

ระบบสารสนเทศระดบั กลุม คือ ระบบสารสนเทศทช่ี ว ยเสริมการทาํ งานของกลุมบคุ คลทม่ี ีเปา หมายการทํางาน
รว มกันใหม ปี ระสิทธภิ าพมากข้ึน

ตัวอยางของการใชระบบสารสนเทศเพ่ือสนับสนุนงานของแผนก คําวา การทํางานเปนกลุม (Workgroup) ใน
ที่น้ีหมายถึง กลุมบุคคลจํานวน 2 คนขึ้นไปที่รวมกันทํางานเพื่อใหบรรลุเปาหมายเดียวกัน โดยท่ัวไปบุคลากรในกลุม
เดียวกันจะรูจักกันและทํางานรวมกัน เปาหมายหลักของการทํางานเปนกลุม คือ การเตรียมสภาวะแวดลอมท่ีจะ
เอื้ออํานวยประโยชนในการทํางานรวมกันเปนกลุมไดอยางมีประสิทธิภาพ และชวยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทํา
ใหเ ปา หมายของธรุ กิจดําเนนิ ไปไดอยา งมปี ระสทิ ธผิ ล

แนวทางหลักก็คือการทําใหเกิดการใชทรัพยากรรวมกัน โดยเฉพาะขอมูลและอุปกรณเทคโนโลยีพ้ืนฐาน
การนําเอาคอมพิวเตอรสวนบุคคลมาเช่ือมตอกันดวยเครือขายทองถ่ิน (Local Area Network : LAN) ทําใหมีการ
เชื่อมโยงและใชทรัพยากรของคอมพิวเตอรรวมกัน เชน เคร่ืองพิมพขอมูลที่ใชรวมกันในแผนก จะบรรจุไวในระบบ
คอมพิวเตอรท่ีมีหนาที่ควบคุมการจัดเก็บแฟมขอมูลกลางท่ีเรียกวา เคร่ืองบริการแฟม (File Server) ถามีการแกไข
ขอมูลในฐานขอมูลกลางน้ีโดยผูใชคนใดคนหน่ึง ผูใชคนอ่ืนท่ีอยูบนเครือขายคอมพิวเตอรนี้ก็จะไดรับขอมูลท่ีผานการ
แกไขแลวน้ันเชน กนั

รายวิชา ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมขน้ั ตน ภาคเรยี นที่ 1/2552

- 11 -

รูปท่ี 1.6 ฝายการเงนิ ทีอ่ ยบู นชั้นหน่ึงของอาคารสํานักงานทม่ี กี ารเชือ่ มตอคอมพวิ เตอร
เปนเครือขายท่มี ีการใชขอ มูลรว มกัน เปน ระบบสารสนเทศระดบั กลุม

การประยุกตใชงานคอมพิวเตอรในลักษณะของการทํางานเปนกลุม สามารถใชกับงานตาง ๆ ได ตัวอยางเชน
ระบบบริการลูกคา หรือ การเสนอขายสินคาผานทางส่ือโทรศัพท พนักงานในทีมงานอาจจะมีอยูหลายคน และใช
เครอื ขา ยคอมพวิ เตอรในการเก็บขอ มูลกลางของลกู คารว มกนั กลา วคือ มีขอมูลเพียงชดุ เดียวท่ีพนักงานทุกคนจะเขาถึง
ได ถามีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม พนักงานในกลุมจะตองรับรูดวย เชน ลูกคาโทรศัพทมาถามคําถาม หรือขอ
คําปรกึ ษาเก่ยี วกับสินคา พนกั งานอาจจะชว ยเตอื นความจาํ เมือ่ ถงึ เวลาตอ งโทรศพั ทกลบั ไปหาลูกคา แมพนกั งานทรี่ ับ
โทรศพั ทค ร้ังท่ีแลว จะไมอยู แตพนักงานทท่ี ํางานอยูส ามารถเรียกขอมูลจากระบบคอมพิวเตอร แลวโทรกลับไปตามนัด
หมาย ทําใหธุรกิจดําเนินตอไปไดโดยไมหยุดชะงัก เปนตน อันจะเปนการเพ่ิมคุณภาพการบริการ หรือเปนกลยุทธที่
ชว ยทางดานการขาย

ระบบสารสนเทศของกลุมหรือแผนกยังมีแนวทางอื่น ๆ ในการสนับสนุนการบริหารงานและการปฏิบัติงาน
เชน การสื่อสารดวยระบบไปรษณียอิเล็กทรอนิกส การประชุมผานเครือขาย ซึ่งอาจจะประชุมปรึกษาหารือกันไดโดย
อยูตางสถานท่ีกัน การจัดทําระบบแผงขาว (Bulletin Board System : BBS) ของแผนก การประชุมทางไกล (Video
Conferrence) การทําตารางทํางานของกลุม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุม ระบบจัดการฐานขอมูล ระบบการ
ไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดการเก็บขอความ ระบบการจัดตารางเวลาของกลุม ระบบการบริหาร
โครงการของกลุม ระบบการใชแฟมขอความรวมกนั ของกลมุ และระบบประมวลผลภาพเอกสาร เปน ตน

6.3 ระบบสารสนเทศระดับองคกร

ระบบสารสนเทศระดับองคกร คือระบบสารสนเทศท่ีสนับสนุนงานขององคการในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้
จะเกี่ยวของกับการปฏิบัติงานรวมกันของหลายแผนก โดยการใชขอมูลท่ีเกี่ยวของรวมกัน ดวยวิธีสงผานถึงกันจาก
แผนกหน่ึงขามไปอีกแผนกหน่ึง ระบบสารสนเทศดังกลาวน้ีสามารถสนับสนุนงานในระดับผูปฏิบัติการ และสนับสนุน
การตดั สนิ ใจ เนือ่ งจากสามารถใหข อมลู จากแผนกตา ง ๆ ที่เกย่ี วขอ งมาประกอบการตัดสินใจโดยอาจนําขอมูลมาแสดง
ในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอรมท่ีตองการ บอยคร้ังท่ีการบริหารงานในระดับสูงจําเปนตองใชขอมูลรวมกันจากหลาย
แผนกเพอ่ื ประกอบการตดั สนิ ใจ

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขียนโปรแกรมขั้นตน ภาคเรียนท่ี 1/2552

- 12 -

รปู ที่ 1.7 การเช่อื มตอ คอมพวิ เตอรและอุปกรณตางๆ เปน ระบบเครอื ขา ย โดยเชอ่ื มคอมพิวเตอรทกุ ตัวในอาคาร
สํานกั งานเขา ดวยกนั คอมพวิ เตอรท กุ เคร่อื งของทกุ ฝา ยใชข อมูลกลางจากเครอ่ื งแมขา ย เปนสารสนเทศระดบั องคกร

[ทม่ี าของรูป: http://www.axxanet.com/structuredcabling.htm]

หัวใจสําคัญของระบบสารสนเทศในระดับองคกร คือ ระบบเครือขายคอมพิวเตอรภายในองคกรท่ีจะตอง
เช่ือมโยงระบบคอมพิวเตอรของแตละแผนกเขาดวยกัน เพื่อใหเกิดการใชขอมูลรวมกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช
ทรัพยากรรวมกันไดดวย ในเชิงเทคนิคระบบสารสนเทศระดับองคกรอาจมีระบบคอมพิวเตอรที่ดูแลแฟมขอมูล มีการ
เชื่อมโยงคอมพวิ เตอรห ลายระบบเขาดวยกนั เปนเครือขาย หรอื อาจจะมเี ครอื ขายคอมพวิ เตอรใ นระดบั กลมุ อยูแ ลว การ
เชอ่ื มโยงเครือขายยอยเหลานั้นเขาดวยกัน ทําใหกลายเปนเครือขายของเครือขายคอมพิวเตอร ในกรณีที่มีจํานวนผูใช
ในองคการมากเครื่องมือพ้ืนฐานอีกประการหน่ึงของระบบขอมูลก็คือระบบจัดการฐานขอมูล ซ่ึงเปนโปรแกรมสําคัญใน
การดแู ลระบบฐานขอมลู

รายวิชา ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมขนั้ ตน ภาคเรยี นท่ี 1/2552

- 13 -

7. องคประกอบของระบบสารสนเทศ

องคประกอบของระบบสารสนเทศ ซ่ึงเปนระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการ และการปฏิบัติการของ
บุคคล ไมวาจะเปนระดับบุคคล ระดับกลุม หรือระดับองคกร ไมใชมีเพียงเครื่องคอมพิวเตอรเทาน้ัน แตยังมี
องคประกอบอื่น ๆ ท่ีเกี่ยวของกับความสําเร็จของระบบอีก รวมเปน 5 องคประกอบ ซึ่งจะขาดองคประกอบใดไมได
คอื ฮารด แวร ซอฟตแ วร ขอมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบตั งิ าน

บคุ ลากร ฮารด แวร

ขอมูล เทคโนโลยี
สารสนเทศ
ซอฟตแวร
ขัน้ ตอนวธิ ี

รปู ท่ี 1.8 องคป ระกอบของระบบสารสนเทศ

ฮารด แวร

ฮารดแวรเปนองคประกอบสําคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร อุปกรณรอบขาง เชน
เครอ่ื งพมิ พ รวมทงั้ อปุ กรณส อ่ื สารสาํ หรับเชอื่ มโยงคอมพวิ เตอรเขา เปนเครอื ขา ย

ซอฟตแวร

ซอฟตแวรหรือโปรแกรมคอมพิวเตอรเปนองคประกอบที่สําคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลําดับขั้นตอนของ
ชดุ คาํ สงั่ ที่ส่งั งานใหฮารดแวรท าํ งาน เพ่ือประมวลผลขอ มูลใหไดผลลพั ธตามความตองการ ปจจุบันมีซอฟตแวรควบคุม
ระบบงาน ซอฟตแ วรสําเรจ็ ทาํ ใหก ารใชง านคอมพวิ เตอรในระดบั บุคคลเปนไปอยางกวางขวาง และสงเสริมการทํางาน
ของกลมุ มากขน้ึ สว นงานในระดบั องคก รสว นใหญม กั จะมีการพัฒนาระบบตามความตองการ โดยการวาจางบริษัทที่รับ
พัฒนาซอฟตแ วรหรอื โดยนกั คอมพิวเตอรท อ่ี ยูใ นฝายคอมพิวเตอรข ององคก ร เปน ตน

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขียนโปรแกรมข้นั ตน ภาคเรยี นที่ 1/2552

- 14 -

ขอ มูล

ขอมูล เปนองคประกอบที่สําคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เปนตัวช้ีความสําเร็จหรือความลมเหลว
ของระบบได เนื่องจากตองมีการเก็บขอมูลจากแหลงกําเนิด ขอมูลจะตองถูกตอง ทันสมัย มีการกล่ันกรองตรวจสอบ
แลว เทานนั้ จึงจะมีประโยชน โดยเฉพาะเม่ือใชงานในระดับกลุมหรือระดับองคกร ขอมูลตองมีโครงสรางในการจัดเก็บท่ี
เปน ระบบระเบียบเพ่อื การสบื คนที่รวดเร็วและมปี ระสิทธภิ าพ

บุคลากร

บุคลากรในระดับผูใช ผูบริหาร ผูพัฒนาระบบ นักวิเคราะหระบบ และนักเขียนโปรแกรม เปนองคประกอบ
สําคัญในความสําเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรูความสามารถทางคอมพิวเตอรมากเทาใด โอกาสท่ีจะใช
งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพวิ เตอรไ ดเตม็ ศกั ยภาพและคุมคาย่ิงมากข้ึนเทานั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศใน
ระดับบุคคลซึ่งเคร่ืองคอมพิวเตอรมีขีดความสามารถมากขึ้น ทําใหผูใชมีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและ
พัฒนาระบบงานไดเองตามความตองการ สําหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุมและองคการที่มีความซับซอนมาก
อาจจะตองใชบคุ ลากรในสาขาคอมพวิ เตอรโ ดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

ขั้นตอนการปฏิบัตงิ าน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานท่ีชัดเจนของผูใชหรือของบุคลากรที่เก่ียวของก็เปนเรื่องสําคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได
พัฒนาระบบงานแลวจําเปนตองปฏิบัติงานตามลําดับขั้นตอน ในขณะใชงานก็จําเปนตองคํานึงถึงลําดับขั้นตอนการ
ปฏิบัติของคนและความสัมพันธกับเคร่ือง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เชน ขั้นตอนการบันทึกขอมูล ข้ันตอนการ
ประมวลผล ขั้นตอนการปฏิบัติเม่ือเครื่องมือชํารุดหรือขอมูลสูญหาย และขั้นตอนการทําสําเนาขอมูลสํารองเพ่ือความ
ปลอดภยั เปนตน สิง่ เหลาน้จี ะตองมกี ารซักซอม มกี ารเตรยี มการ และการทําเอกสารคมู อื การใชง านใหชัดเจน

8. ตวั อยา งการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ

การประยกุ ตใ ช RFID รูปท่ี 1.9 ตวั อยาง RFID Tag รปู แบบ
หน่งึ
RFID (Radio Frequency Identification) เปนหนึ่งใน
เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบการระบุเอกลักษณดวยคลื่นวิทยุ สามารถใชใน
การระบุเอกลักษณข องวัตถุ บอกตาํ แหนง ติดตามและตรวจสอบสนิ คา โดย
การใชปายอิเล็กโทรนิกสที่ฝงไมโครชิปเก็บขอมูล และสายอากาศ ทํางาน
โดยใชเ ครอ่ื งอา นท่ีส่ือสารกับปายดวยคลนื่ วทิ ยใุ นการอานและเขียนขอ มูล

ปจจุบัน มีการประยุกตใช RFID Tag กันอยางแพรหลาย โดย
นํามาใชแทนระบบบารโคดแบบเดิม เน่ืองจาก RFID มีความสะดวกสบาย
ในการใชงานมากกวา ไมจําเปนตองนําวัตถุมาอานดวยเคร่ืองอานบารโคด
เพียงแคนําวัตถุท่ีติด Tag ไปผานบริเวณท่ีมีเคร่ืองอานสัญญาณก็จะ
สามารถอา นคาไดทนั ที ทําใหส ามารถใหบรกิ ารไดอยางรวดเรว็ มากข้ึน

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมขั้นตน ภาคเรยี นท่ี 1/2552

- 15 -

ตวั อยา งการประยุกตใช RFID ในปจจุบนั ไดแ ก

ƒ การใชระบุเอกลักษณบุคคล ในงานดานการรักษาความปลอดภัยของอาคาร โดยจะฝง Tag ไวใต
ผิวหนังของบุคคลทม่ี ีสิทธใิ นการเขา ออกพน้ื ทตี่ า งๆ ของอาคาร ซงึ่ เครือ่ งอา นสัญญาณจาก Tag ทีฝ่ ง ไว
จะประมวลผลไดวา จะอนุญาตใหบคุ คลนน้ั ผา นเขา ไปในบริเวณทก่ี าํ หนดไวไ ดหรอื ไม

ƒ การใชงานในเชิงพาณิชย เพ่ือการทําสตอกสินคา และการขายสินคา โดยนํามาใชแทนรหัสบารโคด
แบบเดิม เน่ืองจาก RFID มีคุณสมบัติท่ีสามารถตรวจสอบตําแหนงของวัตถุไดดวยขอมูลใน Tag
ทําใหการตรวจสอบสินคาทําไดสะดวก สามารถรูตําแหนงของสินคาแตละช้ินที่อยูในรานไดทันที การ
อานคาจาก Tag กท็ าํ ไดอยางรวดเร็วกวาบารโ คด และบรรจขุ อ มลู ไดหลากหลายกวา

รูปที่ 1.10 รถเขน็ ซ่ึงติดเครอื่ งอาน RFID จากสินคาทีอ่ ยูใ นรถเขน็ ทําใหล กู คา
ทราบราคาสินคาท่ีตนเองเลือกซ้อื ทงั้ หมดจากหนา จอ LCD และรายการโปรโมชนั่ ตางๆ

ƒ การใชงานในดานการจราจร/ขนสง มีการประยุกตใชระบบ RFID กับการคํานวณคาขึ้นลงทางดวน
โดยรถที่ตองการใชทางดวน จะติด Tag ไวบริเวณกระจกหนา เมื่อรถแลนผานเครื่องอานสัญญาณ
บรเิ วณทางขน้ึ และทางลง เครอ่ื งจะทําการคํานวณคา ใชจ า ยใหโ ดยอัตโนมัติ

ƒ หนังสือเดนิ ทางและใบขับขี่ของหลายประเทศในปจ จบุ นั ไดฝ ง RFID Tag ไว โดยภายใน Tag ทฝี่ งไวจ ะ
มีขอมูลของบุคคลที่เปนเจาของ เพื่อใหสามารถตรวจสอบขอมูลไดทันทีที่เดินผานบริเวณเคร่ืองอาน
สัญญาณ ทําใหเพิ่มความรวดเร็วในการใหบริการ และชวยในการรักษาความปลอดภัยในมี
ประสิทธิภาพมากข้ึน

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมขัน้ ตน ภาคเรียนท่ี 1/2552

- 16 -

รูปท่ี 1.11 RFID Passport

ƒ เคร่ืองอานระดับน้ําตาล เนื่องจากผูปวยบางรายท่ีเปนเบาหวานจะตองเจาะเลือดที่นิ้วตนเองเพื่อนํา
เลือดมาทดสอบและฉีด insulin ใหตัวเองอยูตลอดเวลา บริษัท VeriChip จึงไดคิดเทคโนโลยีใหมน้ี
ขึ้นมา ซึ่งจะเปนการนําเอา implantable RFID chip มาประยุกตใชรวมกับ glucose sensor ฝงเขาไป
ในรางกายผูปวย หลังจากนน้ั จะใหใชเ ครื่องอาน RFID อา นระดับนํ้าตาลจาก RFID chip ทฝี่ ง อยไู ดเ ลย

รูปที่ 1.12 เครอื่ งอานระดบั นา้ํ ตาลจาก RFID chip

รายวิชา ง40101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการเขียนโปรแกรมขัน้ ตน ภาคเรยี นท่ี 1/2552

- 17 -

ƒ ระบบงานหองสมุด เปนการนําเทคโนโลยี RFID มาใชในกระบวนการยืมคืนหนังสือและสื่อโสตทัศน
ดวยตนเอง หองสมุดแตละแหงพัฒนาฐานขอมูลเพื่อจัดเก็บรายละเอียดทางบรรณานุกรมและ
สถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ เพ่ือใชในการตรวจสอบขอมูลเกี่ยวกับยืมคืนทรัพยากร
สารสนเทศแตละรายการของหองสมุด โดยทรัพยากรสารสนเทศแตละรายการจะไดรับตัวเลขที่เฉพาะ
รายการ (บารโคด) ซ่ึงไมไดมีความสัมพันธกันระหวางชื่อผูแตง และช่ือเร่ืองของทรัพยากรสารสนเทศ
รายการน้ันๆ การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศท่ีใชเทคโนโลยีบารโคด ผูใชตองติดตอขอความ
ชวยเหลือจากบรรณารักษ/เจาหนาที่ จากน้ันบรรณารักษ/เจาหนาที่จะนําแถบบารโคดท่ีติดกับ
ทรพั ยากรสารสนเทศนนั้ ไปไวในบรเิ วณท่ีเครือ่ งอา นรหสั บารโคด โดยสามารถอา นไดท ีละเลม
แตส าํ หรับเทคโนโลยี RFID น้ันมลี ักษณะคลายกบั บารโคดและยงั สามารถรองรับความตอ งการ
อีกหลายๆอยางที่บารโคดไมสามารถตอบสนองได กลาวคือ เทคโนโลยีบารโคดเปนระบบท่ีอานได
อยางเดียว ไมสามารถเปล่ียนแปลงขอมูลที่อยูบนบารโคดได แตปาย RFID สามารถอานและบันทึก
ขอมูลเพ่ิมเติมนอกเหนือจากตัวเลขและเพิ่มเติมขอมูลภายหลังได นอกจากนี้ระบบเทคโนโลยี RFID
เปนเทคโนโลยีที่สามารถสงขอมูลทุกอยางผานคล่ืนความถ่ีวิทยุ ดังนั้นการอานขอมูลจากปาย RFID
จึงไมตองปายขอมูลอยูในบริเวณที่เคร่ืองอานอานได และผูใชสามารถยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได
ดวยตนเอง นอกจากนี้เม่ือมีการยืมคืนผานเทคโนโลยี RFID ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศจะถูก
ปรบั ปรุงขอ มลู เปน ปจ จุบนั ทันที

รปู ที่ 1.13 Library RFID Management System

จากท่ีกลาวมาจะเห็นไดวา มีการประยุกตใชเทคโนโลยี RFID กันอยางแพรหลาย ดวยคุณสมบัติท่ีสามารถ
อานขอมูลไดอยางรวดเร็ว และสามารถใชอานขอมูลจากวัตถุท่ีมีการเคล่ือนท่ีอยูก็ได ทําให RFID เปนทางเลือกใหม
สาํ หรับการระบุเอกลกั ษณ และการรบั สงขอมูลในระยะหางกัน จึงมีการนํามาใชมากข้ึนในธุรกิจและการใหบริการตางๆ
ในปจจุบนั เปน ยุคการสื่อสารขอมลู ไรส าย ที่อาํ นวยความสะดวกใหแกผใู ชและเพ่ิมประสิทธิภาพในการทํางาน

รายวชิ า ง40101 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการเขยี นโปรแกรมขน้ั ตน ภาคเรยี นท่ี 1/2552


Click to View FlipBook Version