The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบเนื้อหาบทที่ 8

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by noonavanwisa, 2021-12-12 09:11:42

ใบเนื้อหาบทที่ 8

ใบเนื้อหาบทที่ 8

สปั ดาหท์ ่ี 12,13 ใบเตรียมการสอน รหสั วิชา 02-250-101
เวลา 14 ช่วั โมง หน่วยท่ี 8 งานทำเกลยี ว

ชื่อบทเรยี น
1. ความรพู้ ื้นฐานของเกลยี ว
2. ชนิดของเกลยี ว
3. เคร่ืองมอื ทำเกลยี ว
4. ข้นั ตอนการทำเกลยี ว

จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
1. มคี วามรู้เกี่ยวกบั พ้นื ฐานของเกลียว
2. มีความเขา้ ใจเก่ยี วกบั ชนดิ ของเกลยี ว
3. มคี วามเขา้ ใจเก่ยี วกับเคร่ืองมอื ทำเกลยี ว
4. มีความเข้าใจเก่ยี วกบั ขั้นตอนการทำเกลียว

จดุ ประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. บอกพนื้ ฐานของเกลียวไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง
2. อธบิ ายชนิดของเกลียวไดอ้ ย่างถกู ต้อง
3. อธิบายเครือ่ งมือทำเกลียวไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง
4. อธิบายขั้นตอนการทำเกลียวไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ ง

สปั ดาห์ที่ 12,13 ใบเตรยี มการสอน รหสั วิชา 02-250-101
เวลา 14 ชั่วโมง หน่วยท่ี 8 งานทำเกลียว

สาระสำคญั
การทำเกลียว หมายถึง การตัดเกลียวชิ้นงานที่เป็นรูปทรงกระบอก ทำให้เกิดร่องลาดเอียงมีความลึก

สม่ำเสมอ พันไปรอบแท่งกระบอกนั้น ซึ่งร่องหรือแนวที่เกิดขึ้นเรียกว่าเกลียว ร่องเกลียวที่ทำขึ้นภายนอกแท่ง
กระบอกนั้น เรียกว่าการทำเกลียวนอก (External Thread) เครื่องมือที่ใช้ทำให้เกิดเกลียวนอกคือ ตัวดาย เช่น
เกลียวของสลักเกลียว (Bolt) ส่วนร่องเกลียวที่ทำขึ้นภายในรูปของทรงกระบอกนั้นเรียกว่า เกลียวใน (Internal
Thread) เครื่องมือที่ใช้ทำให้เกิดเกลียวคือ ดอกตาป เช่น เกลียวของนอต การทำเกลียวในและเกลียวนอกนี้ ก็
เพ่อื ใช้สำหรับยึดชน้ิ งานสองชนิ้ ใหต้ ดิ กนั

8.1 ความร้พู นื้ ฐานของเกลียว
8.1.1 หน้าที่ของเกลียว สันหรือร่องที่ได้เกิดขึ้นบนผิวเนื้องาน โดยจะมีลักษณะเป็นร่องวนไป

รอบๆ เนื้องาน ได้ทั้งหมุนวานไปทางซ้ายและทางขวา และมีระยะที่สม่ำเสมอ ซึ่งเกลียวตัวนี้จะมีไว้เพื่อให้ วัสดุ 2
ชิ้น สามารถหมุนและยึดติดกันได้แน่น และเกลียวเองก็ยังมีจุดเด่นด้วย คือ วัสดุที่ได้ทำการยึดกัน ก็ยังสามารถหมุน
ออกจากกันได้โดยง่ายโดยที่ตัวเน้อื งานไมเ่ สียหาย

รูปที่ 8.1 ลักษณะของเกลยี ว [1]

สปั ดาหท์ ี่ 12,13 ใบเตรียมการสอน รหสั วชิ า 02-250-101

เวลา 14 ชัว่ โมง หน่วยท่ี 8 งานทำเกลยี ว

8.1.2 สว่ นประกอบของเกลียว

รูปที่ 8.2 สว่ นประกอบของเกลยี ว [1]

Major Diameter คือ ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกของชิ้นงานทั้งของเกลียวนอกและเกลียวในหรือ
คอื ขนาดกำหนดนั่นเอง

Minor Diameter คือ ความยาวเส้นผา่ ศนู ย์กลางวัดที่โคนเกลียวทั้งของเกลยี วนอกและเกลียวใน
Pitch Diameter คือ ความยาวเสน้ ผ่าศูนย์กลางวัดท่ีวงกลมพิตช์
Pitch คือ ระยะห่างระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งเดียวกันของเกลียวถัดไป เช่น วัดจาก
ยอดเกลียวถงึ ยอดเกลียว
Angle of Thread หรือ Included Angle มมุ รวมยอดเกลียว
Crest คือ ยอดฟนั เกลียว
Root คือ โคนเกลยี ว
Depth of Thread ความลึกของเกลยี ววดั จากยอดเกลยี วถึงโคนเกลยี ว
Number of Thread จำนวนเกลียวต่อนว้ิ

สัปดาหท์ ่ี 12,13 ใบเตรียมการสอน รหัสวิชา 02-250-101
เวลา 14 ชั่วโมง หน่วยที่ 8 งานทำเกลยี ว

8.2 ชนดิ ของเกลียว
8.2.1 เกลียวเมตริก คือ เกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาเป็นเกลียวสามเหลี่ยมที่เป็น

มาตรฐานสากลของระบบเมตริก สูตรในการคำนวณแตกต่างจากเกลียวเมตริกธรรมดาและการบอกสัญลักษณ์ของ
เกลียวที่มีระยะพิตช์มาตรฐาน อาจจะไม่บอกระยะพิตช์มาให้แต่ถ้าเป็นเกลียวละเอียดหรือเกลียวพิเศษจะบอก
ระยะพติ ช์มาให้ระยะพติ ชด์ ไู ดจ้ ากตาราง

รูปที่ 8.3 เกลยี วเมตรกิ [2]

8.2.2 เกลียวอเมริกา คือ เกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยเป็นนิ้วเหมือนเกลียววิตเวอร์ตแต่มีรูปร่าง
แตกต่างกันตรงมีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศา บอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วสัญลักษณ์ในการบอกจะขึ้นด้วยขนาด
เส้นผ่าศนู ยก์ ลางโตนอกมีหน่วยเป็นนว้ิ ตามดว้ ยจำนวนเกลียวตอ่ นวิ้ และตามด้วยอักษรตัวย่อดงั ต่อไปนี้
• NC (National Coarse Thread Series) หมายถึงเกลยี วอเมรกิ นั ชนิดเกลยี วหยาบ
• NF (National Fine Thread ) หมายถงึ เกลยี วอเมริกนั ชนิดละเอยี ด
• NEF ( National Extra – Fine Thread Series ) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดพิเศษที่ผลิตมาใช้งานเฉพาะอย่างมี
จำนวนเกลียวต่อน้วิ ที่แตกต่างจากสองชนิดแรกเม่ือเทียบกับขนาดของเกลียวทีโ่ ตเทา่ กัน

รูปที่ 8.4 เกลยี วอเมรกิ า [2]

สปั ดาหท์ ่ี 12,13 ใบเตรียมการสอน รหัสวิชา 02-250-101
เวลา 14 ช่วั โมง หนว่ ยท่ี 8 งานทำเกลียว

8.2.3 เกลียววิตเวริ ท์ คือ เกลยี วระบบอังกฤษทคี่ ดิ คน้ ขน้ึ โดย Mr. Joseph Whitworth เปน็ ชาว
อังกฤษเปน็ เกลียวทม่ี มี มุ มนโคง้ ทง้ั ยอดเกลยี วและโคนเกลยี วมมี ุมรวมยอดเกลยี ว 55 องศาบอกเกลียวเปน็ จำนวน
เกลยี วต่อนว้ิ การใช้สญั ลักษณ์จะบอกดว้ ยความยาวเส้นผ่าศนู ย์กลางโตนอกของเกลยี วเป็นนวิ้ และตามด้วยจำนวน
เกลยี วตอ่ นิ้วและอักษรตัวย่อดังตอ่ ไปนี้

• BSW = (British Standard Whitworth) หมายถงึ เกลียววิตเวอร์ตชนิดหยาบ
• BSF = ( British Standard Fine ) หมายถึงเกลยี ววติ เวอร์ตชนดิ ละเอียด

รูปที่ 8.5 เกลยี ววิตเวอร์ต [2]
8.2.4 เกลียวแอคเม่ คือ เกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 29 องศา ลักษณะการใช้งานเหมือนกับ
เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริก มีการกำหนดขนาดเป็นนิ้วและบอกจำนวนเกลียวต่อนิ้วแทนระยะพิตช์ ดังนั้นในการ
คำนวณถ้าต้องการหนว่ ยเป็นมลิ ลเิ มตรจะต้องคูณดว้ ย 25.4 มม. จึงจะมหี น่วยเป็นมิลลิเมตร

รูปที่ 8.6 เกลยี วแอคเม่ [2]

สัปดาห์ที่ 12,13 ใบเตรยี มการสอน รหสั วิชา 02-250-101
เวลา 14 ช่วั โมง หนว่ ยที่ 8 งานทำเกลยี ว

8.2.5 เกลียวสี่เหลี่ยม คือ เกลียวที่มีมุมเป็น 90 องศาและมีความแข็งแรงเหมาะสำหรับงานท่ี
ตอ้ งการส่งกำลงั มากๆเช่นเกลยี วของปากกาจบั งาน

รูปที่ 8.7 เกลยี วสี่เหล่ียม [2]

8.3 เครอ่ื งมือทำเกลยี ว
8.3.1 ดอกตา๊ ป (Tap) และดายส์ (Dies)
ดอกต๊าป (Tap) คือ อุปกรณท์ ่ใี ช้ในการสร้างเกลยี วให้กบั ชน้ิ งาน ไมว่ ่าจะเป็นเกลยี ว (M)metric ,

เกลยี ว G , เกลยี ว R และเกลียวชนิดอื่นๆ อกี มากมาย ซ่ึงเกลียวทเี่ กิดจากการต๊าปนน้ั ล้วนมที ้ังเกลยี วใน และเกลียว
นอก

รูปที่ 8.8 ดอกต๊าป [3]

สัปดาหท์ ี่ 12,13 ใบเตรียมการสอน รหสั วชิ า 02-250-101
เวลา 14 ชวั่ โมง หน่วยท่ี 8 งานทำเกลยี ว

ในการเรยี กช่ือดอกตา๊ ปเกลียวรปู แบบตดั นั้น เรามกั จะพบเจอคำศพั ท์อยู่ 3 คำท่ีนิยมใช้กนั ดงั นี้

รูปที่ 8.9 ชอ่ื ดอกตา๊ ป [3]

ดอกต๊าปเรยี ว (Taper) หมายถึง อุปกรณ์ตา๊ ปเกลยี วชนิดน้ี จะมปี ลายเกลียวท่เี รียวอย่ปู ระมาณ
8-9 ฟนั

ดอกตา๊ ปตวั ตาม (Plug) หมายถงึ อปุ กรณ์ตา๊ ปเกลียวชนิดน้ี จะมีปลายเกลยี วทเ่ี รยี วอยปู่ ระมาณ
4-5 ฟนั ใชเ้ พอื่ ขยายขนาดของเกลยี ว ในบางครัง้ สามารถใช้ดอกต๊าปชนิดนแ้ี ทน ดอกต๊าปเรียวได้

ดอกต๊าปตวั สดุ ทา้ ย (Bottom) หมายถึง อุปกรณ์ต๊าปเกลียวชนิดนี้ จะมีปลายเกลียวท่ีเรียวอยู่
ประมาณ 1-2 ฟัน ใชท้ ำเพื่อทำให้เกลียวมฟี นั ที่เสมอกัน

ดายส์ (Dies) คือ เคร่อื งมอื ทใ่ี ชท้ ำเกลียวนอกมลี กั ษณะเปน็ ทรงกลม มีรูตรงกลางที่มีเกลียวและมี
ร่องเป็นคมตัดสามารถตัดหรือทำเกลียวบนชิ้นงานได้ และมีการปรับขยายรูที่จะทำเกลียวให้ใหญ่หรือเล็กได้ตาม
ต้องการ ทั้งนีเ้ พอ่ื ความสะดวกในการควบคุมเส้นผ่าศนู ย์กลางของชิน้ งาน และความแน่นของเกลียว

รูปที่ 8.10 ดายส์ [3]

สัปดาห์ที่ 12,13 ใบเตรียมการสอน รหสั วชิ า 02-250-101
เวลา 14 ชว่ั โมง หน่วยท่ี 8 งานทำเกลยี ว

8.3.2 เคร่ืองกลึง เปน็ เครอื่ งจักรกลที่สามารถทำงานขนั้ พื้นฐานไดเ้ ปน็ อย่างดี โดยลักษณะการ
ทำงาน จะยึดชนิ้ งานจะหมนุ อย่กู ับที่และมดี เคล่อื นทเี่ ข้าตดั เฉือนชิ้นงาน

รูปที่ 8.11 เครือ่ งกลงึ [4]

ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์ เครื่องกลึงยันศูนย์มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ อยู่หลายชิ้น
สามารถแยกเป็นส่วนประกอบใหญ่ๆ ไดเ้ ป็น 6 สว่ นสำคญั คือ

1. หัวเครื่องกลงึ (Head Stock
2. แทน่ เลื่อน (Carriage)
3. ยนั ศูนยท์ า้ ย (Tail Stock)
4. ฐานเครอ่ื งกลงึ (Bed)
5. ระบบปอ้ น (Feed Mechanism)
6. เครื่องมอื และอปุ กรณท์ ี่ใชก้ บั เครือ่ งกลึง

ชนดิ ของงานกลึง ชนิดของงานกลึงแบ่งออกตามลักษณะรปู ร่างและการข้ึนรปู ของงานกลงึ ส่วน
ใหญ่กจ็ ะแบง่ ออกเป็นการกลึงภายนอกและการกลงึ ภายใน แตส่ ามารถแบ่งยอ่ ยออกไดด้ ังน้ี

สปั ดาหท์ ่ี 12,13 ใบเตรียมการสอน รหัสวิชา 02-250-101
เวลา 14 ชวั่ โมง หนว่ ยท่ี 8 งานทำเกลยี ว

1.งานกลึงปาดหนา้ งานกลงึ ปาดหนา้ เป็นลกั ษณะของปาดผิวในแนวแกน Z (แกน Z ไมว่ า่ จะ
เป็นงานกลงึ หรืองานกดั ใหส้ ังเกตว่าจะอยแู่ นวเดยี วกบั แกน Spindle เสมอ) ช้ินงานท่ีผ่านการกลงึ ปาดหนา้ จะมี
ขนาดส้ันลง

รูปที่ 8.12 งานกลงึ ปาดหนา้ [5]
2. งานกลึงปอกนอก การกลึงปอกภายนอกเป็นการกลึงเพื่อลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนอกให้มี
ขนาดลดลง มีดกลึงจะเคลื่อนที่เข้าออกตามแนวแกน Z จะเป็นขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ส่วนแการเคลื่อนที่ใน
แนวแกน X จะเปน็ ความยาวหรอื ระยะท่ีตอ้ งการกลึงปอกออกไป

รูปที่ 8.13 งานกลงึ ปอกนอก [5]

สัปดาหท์ ี่ 12,13 ใบเตรียมการสอน รหัสวิชา 02-250-101
เวลา 14 ช่ัวโมง หนว่ ยท่ี 8 งานทำเกลียว

3.งานกลงึ ปอกใน/กลงึ คว้าน การกลงึ ปอกในคล้ายกบั การกลงึ ปอกภายนอก แต่จะตา่ งกนั ตรงที่
เป็นการกลึงปอกภายในหรือการกลงึ ควา้ นรู ขนาดของรจู ะมีขนาดโตขึ้นหลงั จากการกลงึ

รูปที่ 8.14 งานกลงึ ปอกใน [5]

4.งานกลึงเกลียว การกลึงเกลียว เป็นกระบวนการขึ้นรูปเกลียวอย่างหนึ่งนอกจากกระบวนการต๊าป(Tap)

สำหรับการทำเกลียวใน และกระบวนการดาย(Die) สำหรับการทำเกลียวนอก ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ลักษณะ
ของการเคล่อื นท่ีของมดี กลงึ ในงานกลงึ กลึงคล้ายกับการกลึงปอกซง่ึ จะมีท้งั การกลงึ เกลยี วภายนอกและการกลึงเกลียวภายใน แต่จะ
ต่างกันตรงที่การเคลื่อนท่ีของการกลึงปอกจะเคลื่อนที่เปน็ เส้นตรง ทำให้ชิ้นงานมีลักษณะเรียบ ส่วนการเคลื่อนทีข่ องการกลึงเกลียว
เป็นการเคลื่อนที่ตามระยะ pitch ของเกลียวตามที่เรากำหนด ถ้าเป็นเครื่องกลึงแบบธรรมดา จำเป็นต้องมีชุดเฟืองสำหรับการกลึง
เกลียวจึงจะสามารถกลึงเกลียวได้ ส่วนถ้าเป็นเครื่องกลึงแบบอัตโนมัติ (CNC machine) จะเป็นการเคลื่อนที่ตามโปรแกรมสามารถ
ปรบั ขนาดของเกลยี วไดต้ ามอิสระหลากหลายกวา่

รูปที่ 8.15 งานกลึงเกลยี ว [5]

สปั ดาห์ที่ 12,13 ใบเตรยี มการสอน รหสั วิชา 02-250-101
เวลา 14 ช่ัวโมง หนว่ ยท่ี 8 งานทำเกลยี ว

8.4 ขัน้ ตอนการทำเกลียว
8.4.1 การทำเกลียวใน เตรียมขนาดของรูเจาะให้เหมาะสมกับขนาดของเกลียวที่ต้องการ(ดู

ตาราง) ใส่ดอก Tap ดอกแรก(Taper Tap) เข้ากับด้าม (Tap Wrench) ( ดอก Tap 1 ชุด จะมี 2- 3 ดอก )
แล้วนำ ดอก Tap ใส่ลงในรูเจาะที่เตรียมไว้กดด้ามจับพร้อมกับหมุนเข้า (ตามเข็มนาฬิกา) จนกระทั่งดอกTap
กินงานจนแน่นใชฉ้ ากจับและปรับดอกจนได้ฉากกับชิ้นงาน หมุนเข้าตอ่ ไป โดยหมุนเข้าครัง้ ละ 1/4 รอบ แล้วหมุน
ออกสลับกันไป ในระหว่างนั้นควรใช้น้ำยาทำเกลียวหยอดเพื่อลดความฝืด และไล่เศษโลหะออกจากชิ้นงานด้วย
หมุนดอกแรกเขา้ พอประมาณ แล้วเอาออกใสด่ อก Tap ดอกทีส่ อง (Intermediate Tap) เข้าต่อ หมุนเขา้ -ออกทำ
เหมือนดอกทีห่ นึ่ง หมุนดอกสองเข้าพอประมาณ แลว้ เอาออกใส่ดอก Tap ดอกทส่ี าม (plug) เข้าต่อ หมุนเข้า-ออก
ทำเหมือนดอกที่หนึ่งและสอง หมุนดอกสามเข้า-ออกจนสุดเกลียว และ หมุนซ้ำๆ เพื่อทำให้เกลียวคล่องตัวดี และ
ไดเ้ กลียวตามตอ้ งการ

8.4.2 การทำเกลียวนอก เตรียมขนาดของแท่งชิ้นงานให้เหมาะสมตามขนาดของเกลียว ท่ี
ตอ้ งการ ใส่ดาย (Die) เข้ากับดา้ ม (Die Holder) โดยปรับให้ดาย ถ่างออกมากท่สี ุด เร่มิ ต้นทำเกลียวพร้อมกับใชฉ้ าก
จับและปรับดอก จนได้ฉากกับชิ้นงาน หมุนเข้าต่อไป โดยหมุนเข้าครั้งละ 1/4 รอบ แล้วหมุนออกสลับกันไป ใน
ระหว่างนั้นควรใช้น้ำยาทำเกลียว หยอดเพื่อลดความฝืด และไล่เศษโลหะออกจากชิ้นงานด้วย หมุนเข้า-ออกจนสุด
เกลียว จากนั้นนำดอกดายออกมา ปรับให้ดายแคบลงเล็กน้อย เพื่อที่จะตัดเกลียวรอบใหม่ (ดาย 1 ชุด จะมีดอก
เดียว)หมุนเขา้ -ออกจนสุดเกลียว จากนั้นนำดอกดายออกมาปรับใหแ้ คบลงอีกเล็กน้อย เพื่อที่จะตัดเกลียวรอบต่อไป
อีก ทำซ้ำๆ จนไดเ้ กลยี วขนาดทีต่ อ้ งการ

วธิ ีสอนและ 1. แจ้งจดุ ประสงค์การเรยี นรใู้ หน้ ักเรยี นทราบ
กจิ กรรม 2. นกั เรยี นทำแบบฝกึ หดั กอ่ นเรยี น
3. ผู้สอนนำเข้าสบู่ ทเรยี นโดยใชค้ ำถามนำ ใหน้ ักเรยี นตอบคำถามแสดงความคดิ เห็น
ส่ือการสอน 4. ผู้สอนอธิบายเนอ้ื หาโดยใช้ สอื่ การสอน Power Point และวีดีโอ ประกอบการบรรยาย
งานท่ี 5. ผ้สู อนอธิบายและสรุปเนือ้ หา
6. นกั เรยี นทำแบบฝึกหัดทา้ ยบท จำนวน 10 ข้อ และปฏบิ ตั ติ ามใบงานท่ี 10 และใบงานที่
มอบหมาย
การวดั ผล 11
เคร่ืองมือวัด
- สอ่ื การสอนนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Power Point) เรอ่ื ง งานทำเกลียว
- วดี โี อการทำเกลียว
- แบบฝกึ หดั จำนวน 10 ขอ้
- ใบงาน

- สงั เกตความสนใจ ความตง้ั ใจ ในการเรยี นภาคทฤษฎแี ละภาคปฏิบตั ิ
- ผลการปฏบิ ตั ิตามใบงานที่ 10 และใบงานท่ี 11

- แบบฝกึ หัด
- ใบงาน

อา้ งอิง
[1 ] บ ร ิ ษ ั ท ท ี พ ี อ ี เ ท ร ด ด ิ ้ ง แ อ น ด ์ เ ซ อ ร ์ ว ิ ส จ ำ ก ั ด , Cablegland Center [ Online] ,Available:
https://www.cablegland-center.com/thread ลักษณะของเกลียว , สืบค้นวันที่ [27 ตลุ าคม 2564].
[2] MORO [Online],Available: http://www.moro.co.th เกลียวเมตรกิ , สืบคน้ วนั ท่ี [27 ตลุ าคม 2564].
[3]Technical Center Team [Online],Available: https://misumitechnical.com/technical/tools/what-
is-a-taps/ดอกต๊าป , สบื คน้ วันท่ี [27 ตลุ าคม 2564].
[4] Manufacturing & Processing Machinery [Online],Available: https://baojimachinetool.en.made-
in-china.com/product/nvdJtFaTvDcQ/China-C6 1 6 3 b-Universal-Lathe-Conventional-Lathe.html
เครอื่ งกลึง , สืบค้นวนั ที่ [28 ตลุ าคม 2564].
[5] Blogspot , พื้นฐานงานช่าง [Online],Available: http://cncprog.blogspot.com/2014/04/blog-
post_11.html งานกลึงปาดหน้า , สบื ค้นวนั ที่ [28 ตลุ าคม 2564].


Click to View FlipBook Version