The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by พัชราภรณ์ บุญทวี, 2023-10-25 22:13:24

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง แนวทางพัฒนาครูการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท. 1) สังกัดเทศบาลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ผู้วิจัย นางสาวเกษราภรณ์ วงค์ก่อ ต าแหน่ง ผู้อ านวยการโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท. 1) วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการ จัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา 2) พัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาด้วย กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและตรวจสอบคุณภาพ โดย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ(ท.1) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 15 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์กลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบประเมินความสามารถในการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกตามตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นในระยะที่ 1 และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา Friedman Test และ Wilcoxon signed rank test และ ระยะที่ 4 การปรับปรุงกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่องค์ประกอบหลักที่ 1 ความสามารถใน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ 18 ข้อและ องค์ประกอบหลักที่ 2 ความสามารถในการปฏิบัติการสอนเชิงรุก ซึ่งมีองค์ประกอบ ย่อย 6 ด้าน และมีตัว บ่งชี้ 17 ข้อ 2) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือขั้น เตรียมการ ขั้นปฏิบัติและเรียนรู้ในขั้นนี้ประกอบด้วยวงรอบย่อยตามปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และขั้น สรุปผล 3) ผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา พบว่า


หลังเข้าร่วมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถใน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และกลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการความสามารถในการ จัดการเรียนรู้เชิงรุกเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วม กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในแต่ละวงรอบ ย่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Click to View FlipBook Version