The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หน่วยที่ 4 อาหารเฉพาะโรค

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ฟิล์ม เมืองงาม, 2021-01-09 09:52:04

โภชนการเพื่อชีวิต

หน่วยที่ 4 อาหารเฉพาะโรค

หนว่ ยที่ 4 อาหารเฉพาะโรค

อาหารเฉพาะโรค หมายถงึ อาหารทีม่ ีการปรับเปล่ียนคุณลักษณะตา่ งๆทั้งในด้านพลังงานและสารอาหาร
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบุคคลและช่วยให้ความผิดปกติดังกล่าวบรรเทาและ
หายเปน็ ปกตไิ ด้

การจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน หลีกเลี่ยง
อาหารรสเคม็ จัด รับประทานผักและผลไมใ้ ห้มากและงดสูบบหุ รี่ เครอื่ งด่ืมชา กาแฟ และเครื่องด่มื ทม่ี แี อลกอฮอล์
การจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงของหวานและอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ลดอาหาร
ประเภททอด อาหารเค็ม อาหารประเภทไขมัน อาหารทะเล ดื่มนมพร่องมันเนย และรับประทานผักเพิ่มขึ้น
หลีกเลย่ี งเครื่องดืม่ แอลกอฮอล์

โรคขาดสารอาหาร คือ โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการที่บกพร่อง ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด
จนทำให้เกิดภาวะความผิดปกติของร่างกายขึ้น สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคขาดสารอาหาร คือ การรับประทาน
อาหารไม่เป็นเวลา ไม่มีอาหารรับประทาน และรับประทานอาหารแต่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ โรคขาด
สารอาหารที่พบมากสำหรบั คนไทย ได้แก่โรคเลือดจาง โรคเหนบ็ ชา โรคลกั ปิดลักเปิด โรคคอพอก และโรคตาฟาง
ซง่ึ โรคทกี่ ลา่ วมานี้ สามารถทีจ่ ะแกไ้ ขได้โดยการจดั อาหารทเี่ หมาะสมต่ออาการของโรคท่เี กิดขนึ้ น้ันๆ

สาเหตุของการเกิดโรคอ้วน ได้แก่ การกินอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ จากพันธุกรรม ความ
ผิดปกตขิ องตอ่ มภายในร่างกาย ขาดการออกกำลังกายหรอื ออกกำลงั กายนอ้ ย ฉะน้นั ในการจัดอาหารสำหรบั ผ้ปู ่วย
โรคอ้วน จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน อาหารทอดและอมน้ำมัน อาหารที่มีกะทิ ขนมหวาน รับประทาน
อาหารประเภทผักและผลไมท้ ่เี ส้นใยอาหารให้มากข้นึ แต่การลดความอว้ นทด่ี ีทส่ี ดุ คอื การออกกำลงั กาย
ความหมายและความสำคญั ของอาหารเฉพาะโรค
อาหารเฉพาะโรค หมายถงึ อาหารท่ีมกี ารปรบั เปล่ยี นคุณลกั ษณะตา่ งๆ ท้ังในดา้ นพลงั งานและสารอาหาร เพอ่ื ให้มี
ความเหมาะสมกับสภาวะผิดปกตทิ ่เี กิดข้นึ กบั บคุ คล และช่วยใหค้ วามผดิ ปกติดงั กลา่ วบรรเทาและหายเป็นปกตไิ ด้
อาหารเฉพาะโรคมลี กั ษณะสำคญั ดงั นี้

อาหารเฉพาะโรค จะต้องมีการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะต่างๆของอาหาร ทั้งในด้านพลังงานและ
สารอาหารให้มีความเหมาะสมกับภาวะของโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วยในภาวะนั้น เช่น ผู้ป่วยที่ เป็น
โรคเบาหวานควรมีการปรับปริมาณของอาหารในหมู่คาร์โบไฮเดรต ให้ได้รับในปริมาณที่เหมาะสมและมีความ
พอเหมาะที่จะนำไปใช้ได้โดยไมม่ นี ้ำตาลค่ังอยูใ่ นกระแสเลือด

อาหารเฉพาะโรค ต้องช่วยให้ร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งได้พัก หรือลดการปฏิบัติงานลง เช่น
ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหาร อาหารที่จัดควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อช่วยให้
กระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ต้องทำงานหนักเพิ่มขน้ึ
ตาราง ระดับความดันโลหิตมาตรฐานโลก องค์การอนามัยโลกไดก้ ำหนดระดับความดันโลหิตเป็นมาตรฐานท่วั โลก
คอื

ระดับความดันโลหิต การวินจิ ฉยั
ตำ่ กว่า 140/90 มลิ ลเิ มตรปรอท ปกติ
ระหว่าง 140/90 และ 160/95 มลิ ลเิ มตรปรอท กำ้ กงึ่
ตง้ั แต่ 160/95 มิลลเิ มตรปรอทข้นึ ไป
ความดนั โลหติ สูง

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
นอกจากผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังต้องปฏิบัติตัวตาม

คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลัง
กาย การผอ่ นคลายความเครยี ด รวมถึงการควบคุมนำ้ หนักตวั โดยการควบคมุ การรบั ประทานอาหาร ซึ่งมหี ลักการ
ดังนี้
1.ลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน เช่นเดยี วกับการปฏิบัติตวั ในการรบั ประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2.หลีกเลยี่ งอาหารรสเคม็ จดั หรือท่มี ีสว่ นประกอบของเกลือโซเดยี มคลอไรด์ทกุ ชนิด เช่น อาหารสำเรจ็ รูป
3.ผูท้ ม่ี ีภาวะไตเสอื่ มจะตอ้ งลดอาหารจำพวกโปรตนี
4.รับประทานผกั ผลไมใ้ หม้ าก (ที่มีรสไมห่ วาน)
5.งดบหุ รี่ เครื่องดม่ื ชา กาแฟ และเครอ่ื งดมื่ ท่ีมีแอลกอฮอล์
อาหารสำหรับผปู้ ว่ ยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำ
นำ้ ตาลในเลอื ดซึง่ ได้จากอาหารไปใชไ้ ด้ตามปกติ การวนิ จิ ฉยั ว่าบคุ คลใดบคุ คลหนง่ึ เปน็ โรคเบาหวานหรือไม่น้นั
พิจารณาจากผลการตรวจ ดังนี้

1.ตรวจระดบั นำ้ ตาลในเลือด กอ่ นรบั ประทานอาหารเชา้ (หลังเทย่ี งคืนไม่ได้รบั ประทานอะไรเลยนอกจาก
นำ้ ) ไดม้ ากกวา่ 140 มิลลกิ รัม/เดซิลิตร 2 ครง้ั

2.ตรวจพบน้ำตาลในเลือดไม่ว่าเวลาใดมากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพียงครั้งเดียว ร่วมกับมีอาการ
เชน่ ปสั สาวะบอ่ ย คอแห้ง กระหายน้ำ กินจุ น้ำหนกั ลด

แต่บางครั้งโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นโดยไม่มีอาการบ่งบอก ค่อยๆก่อตัวอย่างเงียบๆ หากไม่ได้รับการตรวจ
น้ำตาลในเลือดก็จะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวาน จนกระทั่งโรคดำเนินการไปมากแล้วจึงจะมีอาการหรือมาพบแพทย์
ด้วยอาการแทรกซ้อนเบาหวานมี 2 ชนดิ คอื ชนิดทีต่ อ้ งพึง่ อินซูลิน

อินซูลิน คือ ฮอร์โมนจากตับอ่อนที่จะเป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสโลหิต (ได้จากอาหารแป้งท่ี
รับประทานเข้าไป) ไปในเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ไตจะกรองน้ำตาลออกมากับ
ปัสสาวะทำให้มีนย้ำตาลในปัสสาวะ เราจึงเรียกภาวะนี้ว่า เบาหวาน (เบา หมายถึงการถ่ายปัสสาวะ เบาหวาน
หมายถงึ ปสั สาวะหวานน่นั เอง)

การรักษาผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน อาจจะควบคุมอาหารอย่างเดียว โดยไม่
จำเป็นตอ้ งใชอ้ นิ ซูลนิ หรือใช้ยารบั ประทาน (หรือบางรายอาจใช้อนิ ซลู นิ ฉีดด้วย)

อาหารควบคุมเบาหวาน คือ อาหารที่เรารับประทานประจำวัน ซึ่งประกอบด้วยอาหารประเภท
คารโ์ บไฮเดรต (ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้) โปรตนี (เน้อื สตั วแ์ ละนม) และไขมนั แตเ่ ปน็ การควบคุมปริมาณของแคลอรีใน
อาหารที่ได้รบั ในแตล่ ะวนั ซึ่งแตกต่างกันไปตามน้ำหนักตัวและกิจกรรมการใช้พลังงานประจำวันของแต่ละคน นัก
โภชนาการจะเป็นผู้พิจารณาแคลอรีที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละคน แต่มีหลักการในการเลือกรับประทานอาหาร
ดงั น้ี
1.รับประทานอาหารใหเ้ ป็นเวลา และใหห้ ลากหลายมคี วามสมดุลของสารอาหาร
2.หลกี เลยี่ งของหวาน และอาหารทม่ี สี ่วนผสมของน้ำตาล
3.รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตทมี่ ีใยอาหารเพ่ิมขนึ้
4.รับประทานอาหารท่ีมีไขมันใหน้ ้อยลง ซ่ึงสามารถควบคุมอาหารท่ีมีไขมันและคอเลสเตอรอลได้โดย ใช้น้ำมันพืช
แทนน้ำมันสตั วใ์ นการปรุงอาหาร ลดอาหารประเภททอด ลดปรมิ าณอาหารทะเล เชน่ กุง้ ปลาหมึก ให้รบั ประทาน
ปลาแทน ทานไข่แดงไม่ให้เกินสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง ดื่มนมพร่องมันเนยเท่านั้น รับประทานผักเพิ่มขึ้น ลดอาหาร
เค็ม หรือใช้เกลือในอาหารให้นอ้ ยลง หลีกเล่ียงเครอื่ งดมื่ ทม่ี ีแอลกอฮอล์
แนวทางในการจัดอาหารสำหรบั ผู้ปว่ ยโรคขาดสารอาหาร

โรคขาดสารอาหารเกิดขึ้น เพราะร่างกายขาดสารอาหารที่ร่างกายต้องการนำไปใช้ การขาดสารอาหาร
ต้องเกิดขึ้นเป็นเวลานานและรุนแรงจะปรากฏอาการของโรค ดังนั้นการรักษาให้หายจึงทำได้ยากกว่าการป้องกัน
สารอาหารบางอย่างถ้าขาดเปน็ เวลานาน กไ็ มส่ ามารถรักษาใหห้ ายได้ ยงิ่ กวา่ นัน้ อาจเกิดความพิการหรือเสยี ชีวิตได้
ดงั นัน้ จงึ ควรรับประทานอาหารใหค้ รบทั้ง 5 หมู่ ให้เพยี งพอทกุ วนั

สำหรับอาหารเฉพาะโรคนั้น เป็นอาหารที่จะช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งพอจะ
รวบรวมได้ ดังนี้

1. รับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งให้มาก ลดอาหารแป้งและน้ำตาล จะช่วยป้องกันโรค
ตานขโมยหรอื โรคขาดโปรตนี

2. รบั ประทานผลไม้ ผักใบเขยี ว และผักใบเหลืองให้มาก เชน่ มะละกอสุก มะม่วงสุก ผักบงุ้ ตำลึง ผกั โขม
ผกั คะน้า ฟักทอง มันเทศเหลอื ง มะเขือเทศ และพวกไข่แดง นม เนย ตับ น้ำมนั ตบั ปลา จะช่วยปอ้ งกันโรคตาฟาง
หรอื โรคขาดวติ ามินเอ

3. รับประทานข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง แทนข้าวที่ขัดสีจนขาว แต่ถ้ารับประทานข้าวขาว ควรเติมข้าว
กระยาทิพย์ลงไปด้วย และควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ รับประทานเนื้อหมู เนื้อวัว ปลา ไข่ ถั่วต่างๆ จะช่วยป้องกัน
โรคเหน็บชาหรือโรคขาดวติ ามินบี 1

4. รับประทานนมเนย เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับ หัวใจ ผักใบเขียว และผักที่กำลังแตกยอด จะช่วย
ปอ้ งกนั โรคปากนกกระจอก หรอื โรคขาดวิตามินบี 2

5. รับประทานผลไมส้ กลุ สม้ เชน่ ส้ม มะนาว ฝรง่ั มะขามปอ้ ม มะเขอื เทศ สับปะรด และผกั บางชนดิ เช่น
มะรุม ผักชี ผักโขมสวน กะหล่ำปลี จะช่วยป้องกันโรคเลือกออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคขาด
วติ ามนิ ซี

6. รับประทานไข่แดง เนื้อสัตว์ ตับ เครื่องในสัตว์ เลือดสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ผักโขม ผักใบเขียว กุ้งแห้ง จะ
ช่วยปอ้ งกนั โรคโลหิตจางหรือโรคขาดธาตเุ หล็ก

7. รับประทานอาหารทะเลบ่อยๆ เช่น ปลาทู กุ้งน้ำเค็ม หอยทะเล ปูทะเล ใช้เกลืออนามัยหรือเกลือ
ธรรมดาประกอบอาหาร หลีกเลี่ยงการรบั ประทานกะหลำ่ ปลี ดอกกะหลำ่ ปลี ถ่วั ลสิ งสีม่วงจะทำใหเ้ กดิ โรคคอพอก

8. ดม่ื นม ผลติ ภณั ฑจ์ ากนม ไขแ่ ดง ถัว่ เมล็ดแห้ง ผักใบเขยี ว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว กุ้ง น้ำมันตับ
ปลา ตับ จะชว่ ยป้องกันโรคกระดูกออ่ น
แนวทางในการจดั อาหารสำหรบั ผ้ปู ่วยโรคอว้ น

โรคอ้วน เป็นสภาวะของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยการสะสมของไขมัน จนมีปริมาณเกินความ
ตอ้ งการของรา่ งกาย ไขมนั เหลา่ น้ีจะสะสมอยู่ตามอวัยวะตา่ งๆของรา่ งกาย เช่น ใต้ผวิ หนังบรเิ วณหน้าท้อง บริเวณ
สะโพก ฯลฯ ซง่ึ โรคอว้ นจะทำให้เกิดปญั หาพ้นื ฐานของโรคอ่ืนๆ ที่สง่ ผลต่อสุขภาพ
1. สาเหตขุ องการเกดิ โรคอ้วน เกดิ ขนึ้ ไดด้ ังน้ี

1.1 การกินอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด ซึ่งทำให้คนเราอ้วนขึ้น เพราะ
การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของร่างกายนั้นมีความสัมพันธ์กับอาหารที่กินเข้าไป และการนำสารอาหารนั้นๆไปใช้ให้
เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารที่ร่างกายนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดพลังงาน ส่วนใหญ่ได้มาจากสารอาหารประเภท
คาร์โบไฮเดรต คืออาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ถ้าหากร่างกายได้รับสารอาหารพวกน้ีมากเกินความต้องการของ
ร่างกายแลว้ สารอาหารส่วนท่เี กินจะถูกเปล่ียนรปู สลายตัวเป็นไขมนั และเก็บสะสมอยู่ในเน้ือเยื่อรา่ งกาย
นอกจากน้ี ถา้ รา่ งกายไดร้ บั สารอาหารประเภทโปรตีนและไขมันในปริมาณมากเกนิ ความตอ้ งการของร่างกาย ก็จะ
ถูกสะสมไวใ้ นรูปไขมันไดเ้ ช่นกัน

1.2 พันธุกรรม จาการศึกษาพบว่า ครอบครัวที่บิดามารดาน้ำหนักปกติจะพบว่าบุตรมีโอกาสอ้วนได้ร้อย
ละ 7 ถ้าบิดาหรือมารดาอว้ นจะพบวา่ บตุ รมโี อกาสอว้ นร้อยละ 40 และถา้ บิดามารดาอ้วนท้ัง 2 คน จะพบวา่ บุตรมี
โอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ทั้งนี้เข้าใจว่าอาจเกิดจากศูนย์ควบคุมการบริโภคเอนเอียงไปในทางมีความรู้สึกอยาก
อาหารมากขนึ้ และมีความรูส้ ึกอ่มิ น้อยลง จงึ บรโิ ภคอาหารมากกว่าความตอ้ งการของรา่ งกาย

1.3 ความผิดปกติของต่อมภายในร่างกาย การสร้างพลังงานภายในร่างกายนั้น อยู่ภายใตก้ ารควบคุมของ
ต่อมไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนชื่อ ไทรอกซินขึ้น เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ถ้าหากต่อมนี้ มี
ความผิดปกติเกิดขึ้น โดยการผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง จะทำให้ร่างกายเร่งสะสมพลังงานที่ได้รับจากอาหารไว้มาก
เกนิ ไปหรอื ใช้พลงั งานออกน้อยไป ทำให้มีรูปรา่ งอว้ นเนอื่ งจากมีไขมันสะสมอยูต่ ามบรเิ วณตา่ งๆของร่างกายจำนวน
มาก

1.4 การขาดการออกกำลังกายหรอื อกกำลังกายน้อย ปัจจุบันมีการผลติ เครื่องอำนวยความสะดวกในการ
ดำรงชวี ิตจำนวนมาก เช่น เครือ่ งซกั ผ้า ไฟฟ้า เครือ่ งดดู ฝนุ่ ฯลฯ ทำใหค้ นเรามีโอกาสออกกำลังกายหรอื ใช้พลังงาน
ส่วนที่เกินในร่างกายน้อยลง เมื่อร่างกายสะสมส่วนที่เกินนี้ไว้ในรูปของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกายก็จะทำให้
อ้วนขึน้
2. อาการที่บ่งบอก ร่างกายที่มีน้ำหนักมากขึ้นมักจะมีผลต่อร่างกาย คือ ทำให้เหนื่อยง่าย ไม่ว่องไว เกณฑ์การ
พจิ ารณาถึงความเส่ยี งตอ่ โรคอ้วนหรอื รา่ งกายเร่มิ อว้ นแลว้ มวี ธิ กี ารพจิ ารณาเบอื้ งต้น ดังนี้

2.1 โดยการเปรียบเทียบระหว่างความสูงกับน้ำหนัก ทำได้โดยการนำส่วนสูง (เป็นเซนติเมตร) ลบด้วย
ตัวเลขมาตรฐานสากล 105 (สำหรับคนไทยนิยมใช้ 110) แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มานั้นมาเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว
(เปน็ กิโลกรมั ) โดยใช้เกณฑ์ อนุโลม + 10 หรอื – 10 ในการตัดสินว่าปกติ อว้ น หรอื ผอม

2.2 โดยการจับด้วยมือ ทำได้โดยนอนหงายราบ อ้ามือทั้งสองออกกว้างๆ นิ้วเหยียดตรงแล้วให้นิ้ว 4 นิ้ว
ซึ่งเหยียดติดกันแยกห่างจากหัวแมม่ ือ จากนั้นใช้นิ้วท่ีแยกห่างน้ีวางแนบลงบนหน้าทอ้ ง หยิบหนังและเนื้อมันหน้า
ท้องเขา้ หากนั ถ้านิว้ ชีแ้ ละหวั แม่มืออยูห่ ่างกันเกิน 1 นิ้ว หรอื ประมาณ 2 เซนติเมตรขึ้นไป ถอื วา่ เป็นคนอ้วน ยง่ิ มือ
หา่ งมากเท่าไร กห็ มายความว่าย่งิ อว้ นมากเท่านั้น

2.3ทดสอบโดยการสอ่ งกระจก กระทำได้ 2 วธิ ี คอื
(1) โดยสำรวจรูปร่างในท่ายืน สังเกตว่าสว่ นไหนของร่างกายทม่ี ไี ขมันสะสมอยู่มาก
(2) โดยตรวจด้านข้างในท่ายืนตรง ถ้าสังเกตเห็นว่าหน้าท้องยื่นออกไปข้างหน้ามากกว่าหน้าอก ก็ถือว่า
อ้วน
3.ผลเสียของการเป็นโรคอ้วน
3.1 ทำใหร้ ะดบั น้ำตาลในเลอื ดสูงเป็นสาเหตขุ องการเกิดโรคเบาหวาน
3.2 มีความเสย่ี งในการเปน็ โรคความดันโลหิตสงู
3.3 มีภาวะไขมนั ในเลอื ดสูงซง่ึ จะสะสมอยบู่ ริเวณหลอดเลือดท่ัวรา่ งกาย
3.4 ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบแข็ง มีโอกาสเปน็ โรคหวั ใจสูง
3.5 มปี ญั หาเกีย่ วกับระบบทางเดินหายใจ เพราะทำให้เกดิ การค่งั ของก๊าซคารบ์ อน-ไดออกไซด์ โดยเฉพาะ
เวลานอนหลบั ปอดจะขยายตัวน้อย
3.6 มปี ัญหาเกีย่ วกับข้อและกระดูกทำให้ปวดหัวเข่า ปวดขอ้ เท้า กระดูกงอและขาโก่ง เพราะต้องแบกรับ
น้ำหนักมากอยตู่ ลอดเวลา
3.7 มีปัญหาทางด้านพัฒนาการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อ คือจะทำให้เดินไม่คล่องตัว การเดินหรือการวิ่งจะ
เหนอ่ื ยง่าย ในเด็กโตอาจพบอาการปวดสะโพกทำให้เดนิ ไมไ่ ด้
การจัดอาหารสำหรับผูป้ ว่ ยโรคอว้ น
หลักสำคัญของการจัดอาหารและการป้องกันโรคอ้วน คือ อาหารดังกล่าวต้องไม่เพิ่มน้ำหนักให้กับ
ผบู้ ริโภคและการปอ้ งกันโรคอว้ นทด่ี ีท่ีสดุ คือการลดนำ้ หนักตัว ซง่ึ การจัดอาหารมีแนวทางปฏบิ ตั ิ ดังนี้

อาหารที่รับประทานต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง โดยเฉพาะอาหารที่ทอด และอมน้ำมัน ได้แก่
กลว้ ยทอด ปาท่องโก้ หนงั เป็ดหนังไก่ทอด ข้าวขาหมู อาหารทีม่ กี ะทิ ขนมหวาน เป็นตน้
อาหารที่รับประทานควรประกอบด้วยวิธีการต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ปิ้ง หรือย่าง แทนการทอด และหากเป็นอาหาร
ประเภทตม้ หรือตนุ๋ ไม่ควรจะมกี ารใส่กะทิ

อาหารที่รับประทานควรมีครบทุกมื้อ และแต่ละมื้อควรลดปริมาณลงโดยพยายามกินข้าวกล้อง ผักและ
ผลไม้เพอื่ ใหไ้ ดเ้ ส้นใยอาหาร และช่วยใหเ้ กิดความรู้สกึ ท่ีอ่ิมนานขน้ึ

ออกกำลงั กายหรอื บริหารร่างกายอยา่ งสม่ำเสมอ เปน็ วิธีท่จี ะช่วยระบายพลงั งานทไ่ี ด้รับจากอาหารซ่ึงเป็น
สว่ นเกินตามตอ้ งการออกไป จะชว่ ยให้ร่างกายมีความสดช่ืน กลา้ มเนอ้ื มีความกระชบั ซ่งึ ช่วยให้อวัยวะทุกสว่ นของ
ร่างกายปฏบิ ตั หิ น้าท่ไี ด้ตามปกติ
กินมากไปตอ้ งใชใ้ หห้ มด

อาหารมันๆหวานๆที่หลายคนชอบกิน ล้วนให้พลังงานสูงทั้งนั้น ถ้าเรากินในปริมาณมาก กินบ่อยและไม่
ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมมากพอ ส่วนที่เหลือจะไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกิน แทรกอยู่ตามส่วนต่างๆของ
รา่ งกายทำใหอ้ ้วนได้ ถ้าไมอ่ ยากอว้ น กินเท่าไหร่ ก็ตอ้ งใช้ใหห้ มดด้วยการออกกำลังกาย แต่ถา้ ทำไม่ได้ กค็ วรงดกิน
อาหารทีใ่ หพ้ ลังงานสูงจะดที สี่ ดุ
อันตรายจากยาลดความอ้วน

ยาที่ใช้ลดความอ้วนส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยลดความอยากอาหาร และ
กระตุ้นประสาทส่วนกลางให้กระฉับกระเฉง เป็นการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น แต่ขึ้นชื่อว่าวัตถอุ อกฤทธิ์แล้วหากใชอ้ ย่าง
ไมเ่ หมาะสมระมัดระวงั ย่อมนำมาซ่งึ อันตรายแก่ผูใ้ ช้ได้ อาการข้างเคยี งท่ีอาจพบได้จากการใช้ยาลดความอ้วน คือ
ปากแห้ง คล่ืนไส้ อาเจยี น ท้องผูก เหงอื่ ออกมาก นอนไมห่ ลบั และการใชย้ าเกนิ ขนาดจะทำใหห้ วั ใจเต้นเร็ว ความ
ดันโลหิตสูง ตื่นเต้น ม่านตาขยาย ปวดศีรษะ ประสาทหลอน ในรายที่รุนแรงจะพบว่ามีไข้สูง เจ็บหน้าอก การ
ไหลเวียนของเลือดล้มเหลว ชักโคม่าและตายได้ และถ้าใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคจิตได้
โดยเฉพาะผู้ที่มีแนวโน้มของความผิดปกติทางจิตอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังอาจพบการดื้อยา และการติดยาเกิดขึ้นได้
เพราะฉะนั้นการลดความอ้วนทีเ่ หมาะสมควรใช้วิธีควบคุมอาหาร และเน้นการออกกำลังกาย นอกจากน้ำหนักลด
แลว้ ยังมรี ูปร่างทส่ี มสว่ นแขง็ แรงดีกวา่ การกินยา


Click to View FlipBook Version