The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือปฏิบัติราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลยะลา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by armal_nik, 2022-09-19 05:24:58

คู่มือปฏิบัติราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

คู่มือปฏิบัติราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลยะลา

คู่มอื

ปฏบิ ตั ริ าชการของข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา

โรงเรียนอนบุ าลยะลา
สำนกั งานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษายะลา เขต ๑



แนวปฏิบตั แิ ละหน้าทขี่ องข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนอนบุ าลยะลา

๑. การดูแลนักเรียนในการทำความเคารพ จะต้องรับการทำความเคารพของ
นกั เรยี นและจะต้องตักเตือนในกรณีที่นักเรยี นละเลย

๒. ดูแลการเดินแถว ไมว่ า่ ไปเรยี นในช่ัวโมงพิเศษหรือกิจกรรมใด ๆ เนน้ ระเบียบ
แถว โดยจัดหานักเรียนจากสูงไปหาต่ำ เน้นแถวตอนเรียงหนึ่งและ เดินชิด
ขวา เจอคณุ ครใู นขณะเดินแถวไม่ต้องทำความเคารพหรือหยดุ เดิน

๓. กำชับนักเรยี นให้พดู จาดว้ ยถ้อยคำท่สี ุภาพ มหี างเสยี งทุกครัง้
๔. กำชับให้นักเรียนเดินขึน้ ลงบันใด โดยเดินชิดขวาทั้งขาขึ้นและ ขาลงไม่วิ่งขนึ้

ลงบนั ไดและบนอาคารเรยี น
๕. ปฏบิ ตั หิ น้าท่เี ขตบรกิ าร ด้วยความรบั ผิดชอบ
๖. ปฏิบัตหิ น้าทีเ่ วรประจำเวร เวรกลางคนื เวรวันหยุด ด้วยความรบั ผดิ ชอบ

ในกรณีไม่มาโรงเรยี นควรแจ้งใหห้ ัวหน้าทราบ และเม่ือพบปัญหาหัวหนา้ เวร
รีบรายงานผ้บู รหิ ารทราบ
๗. ครูประจำชั้น / ครูพิเศษทุกคน จะต้องมาเข้าแถวในตอนเช้า โดยทำหน้าท่ี
ควบคุม ดูแล นักเรียนให้เกิดความเรียบร้อย รับฟังการอบรมของครูเวร
ประจำวัน และฝา่ ยบรหิ ารในกรณสี ่งั การให้นักเรียนปฏิบตั ิ
๘. กำชับนักเรียนทุกคน เมื่อพบคุณครูให้ทำความเคารพโดยการไหว้
ทุกครงั้ และคุณครูควรแนะนำการทำความเคารพทถ่ี ูกตอ้ ง
๙. กำชับนักเรยี นทุกคน เม่ือพบผู้ใหญ่ท่ีเข้ามาในโรงเรียนให้ทำความเคารพโดย
การไหว้ทกุ ครงั้



๑๐. กำชบั นกั เรียนทุกคร้ังท่ีขออนุญาตไปห้องน้ำ โดยเน้นการทำความสะอาด
ก่อนและหลงั การใช้

๑๑. แนะนำนักเรียนเรื่องการแต่งกายที่ถูกต้อง สะอาด เป็นระเบียบ
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแบบนักเรียน ชุดพลศึกษาหรือเครื่องแบบลูกเสือ -
ยวุ กาชาด ตลอดจนสุขภาพผม เล็บ ฟนั

๑๒. ครูควรแต่งกายให้เหมาะสมกบั ความเป็นครูอนุบาลยะลา
๑๓. ครูมาปฏิบัติหน้าที่ตามเวลาที่กำหนด และกลับหลังจากเวลา๑๖.๓๐ น.

หรือ ๑๗.๐๐ น. แล้วแตก่ รณี
๑๔. การลา ครูควรปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ

ครู พ.ศ. ๒๕๕๕
๑๕. การขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนในขณะปฏิบัติหน้าที่ ให้ปฏิบัติ

ตามแนวทาง เร่ือง การขออนุญาตออกนอกเขตโรงเรยี นอนุบาลยะลา



กำหนดการปฏบิ ัติงานของข้าราชการครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษา

โรงเรียนอนบุ าลยะลา

๑. ครูเวรประจำวันมาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายคือ เวลา ๐๗.๑๕ น.
เปน็ ต้นไป

๒. ครูทีไ่ มใ่ ช่ครูเวรประจำวันควรมาถึงโรงเรียนกอ่ นเวลา ๐๗.๓๐ น.
๓. นกั เรยี นเคารพธงชาติเวลา ๐๘.๐๐ น. สัญญาณเพลงอนุบาลรำลึก นกั เรยี น

และครูเตรียมตัวเดินเข้าแถว โดยยึดการเดินแถวเรียงหนึ่ง มีครูประจำช้ัน
คอยดูแลความเรยี บร้อย
๔. นักเรียนทำกิจกรรมหน้าเสาธง (ออกกำลังกาย เคารพธงชาติ สวดมนต์
ท่าทางประกอบเพลงดั่งดอกไม้บาน กล่าวคำปฏิญาณตน) โดยมีครูประจำ
ชั้นยืนระหวา่ งแถว จากน้ันนกั เรียนเดินกลบั หอ้ งเรียนเป็นแถวชดิ ขวา
๕. นักเรียนเข้าแถวหน้าห้องเพื่อแสดงเคารพครูประจำชั้น (ตรวจสอบความ
เรียบร้อย การทำความเคารพ การดแู ลสุขภาพผม เล็บ ฟัน)
๖. เวลา ๐๙.๐๐ น. ครูผู้สอนเข้าปฏิบัติหน้าที่การเรียนการสอนตามที่ได้
มอบหมาย โดยเตรียมการสอนล่วงหน้าและมีแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการ
เรยี นการสอน ประกอบทกุ ครง้ั
๗. ครูพเิ ศษทกุ คน ทกุ วิชาตอ้ งไปรับนกั เรยี นตามเวลา และสง่ นักเรยี นหลังจาก
สิ้นสุดชั่วโมงการเรียนการสอนโดยจัดแถวนักเรียนจากสูงมาต่ำ แถวตอน
เรียงหนึง่



๘. การรับประทานอาหารกลางวัน ครูต้องดูแลนักเรียนในการรับประทาน
อาหารกลางวนั ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เน้นการรับประทานอาหารให้หมด
ถาดเมื่อรับประทานอาหารเสร็จต้องนำถาดอาหารมาเทเศษอาหารในถัง
ล้างเศษอาหาร ในถาดอาหารและวางถาดอาหารซอ้ นกนั ให้เป็นระเบียบ

๙. ครแู นะนำ/ตักเตือน เรื่องมารยาทในการรบั ประทานอาหาร
๑๐. ครูควรรับประทานอาหารหลังจากนักเรียนรับประทานอาหารเสร็จ

เรยี บรอ้ ย
๑๑. กิจกรรมก่อนเข้าเรียนช่วงบ่าย สัญญาณเพลงแปรงฟัน นักเรียนทุกคน

เตรียมตัวเข้าแถวหน้าห้องเรียน โดยมีครูประจำชั้นคอยควบคุมดูแลความ
เปน็ ระเบยี บเรียบรอ้ ย
๑๒. ก่อนเข้าเรียนภาคบ่าย ครคู วรแนะนำให้นักเรยี นตง้ั ใจเรียนและรับผิดชอบ
งานทไี่ ด้รับมอบหมาย
๑๓. โรงเรียนเลิกเรยี นเวลา ๑๖.๐๐ น. ระดับปฐมวัย เลิกเรียนเวลา ๑๕.๐๐ น.
๑๔. กรณีมีการประชุม เจ้าหน้าที่เวรประจำวันให้ปฏิบัติหน้าที่สักระยะ
เพือ่ ดูความเรียบร้อยหรอื ประสานกับหวั หนา้ เวร
๑๕. ครูเวรประจำวัน เร่มิ ปฏิบตั ิหนา้ ท่เี วรประจำวันช่วงเย็น เวลา๑๖.๐๐ น.



ขอ้ ปฏบิ ัติสำหรับครูกรณีนักเรยี นเจ็บปว่ ย

ด้วยโรงเรียนอนุบาลยะลา มีนักเรียนจำนวนมาก การเจ็บป่วยของนักเรียน
จะมีอยู่เป็นประจำ ฉะนั้นเพื่อให้การดูแลนักเรียนที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ
ครูสามารถชว่ ยเหลอื แกป้ ัญหาไดท้ นั ที จึงขอกำหนดขอ้ ปฏบิ ัตสิ ำหรับครูไวด้ ังน้ี
๑. ในกรณที นี่ ักเรียนเจ็บปว่ ยเพยี งเล็กน้อย ให้ครปู ระจำช้นั หรือครูประจำวิชา

ที่สอนในชั่วโมงที่นักเรียนเจ็บป่วยเป็นผู้ดูแล อาจให้ยาสามัญประจำบ้าน
หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น
๒. หากนักเรียนเจ็บป่วยรุนแรงที่ต้องส่งห้องพยาบาล ให้ครูประจำช้ัน
ครูประจำวชิ านำส่งห้องพยาบาล
๓. ในกรณที ่ีจำเป็นต้องนำสง่ โรงพยาบาลใหด้ ำเนินการต่อไปดงั น้ี

๓.๑ รายงานให้ผูบ้ รหิ ารทราบ
๓.๒ หากครูพยาบาลไม่มีชั่วโมงสอน ให้ครูพยาบาลนำส่ง
โรงพยาบาล และหากครูพยาบาลมีชั่วโมงสอนให้ครูประจำชั้น หรือครู
พเิ ศษท่ีว่าง นำส่งโรงพยาบาล โดยใช้รถโรงเรียน
๓.๓ เม่อื นำส่งโรงพยาบาลแลว้ ให้ประสานผ้ปู กครองทราบ



บทบาทหนา้ ทห่ี ัวหนา้ สายชน้ั

๑. ประสานงานระหว่างครูประจำชั้นในสาย
๒. รับนโยบายการปฏบิ ัติงานจากผูบ้ ริหาร และแจ้งให้ครูประจำช้ันในสาย

ช้นั ทราบ
๓. ควบคุม ดแู ล การเรียน การสอนของครูใหเ้ ป็นไปด้วยความราบรืน่
๔. จดั โครงการสอนซ่อมเสริมในสายชั้น
๕. เสนอความคิดเห็นต่างๆ ด้วยการเรียนการสอนต่อฝ่ายวิชาการและ

ผูบ้ รหิ ารโรงเรียน
๖. ร่วมมือกับฝ่ายงานทั้ง ๔ ฝ่าย ควบคุม ดูแลความประพฤตินักเรียนท่ี

รับผดิ ชอบ
๗. นิเทศภายในสายชั้น
๘. บนั ทึกผลการนเิ ทศไว้เปน็ หลักฐาน



บทบาทหน้าทขี่ องครูเวรประจำวัน

๑. เวลามาปฏบิ ัติงานตอนเช้า ก่อนเวลา ๐๗.๑๕ น.
๒. ปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ีตามทห่ี ัวหนา้ เวรมอบหมายในจุดหรือบรเิ วณต่างๆ
๓. ครูเวรทมี่ หี น้าทตี่ รวจอาหาร ทำหน้าที่ ควบคมุ ปรมิ าณและคุณภาพให้

เปน็ ไปตามรายการที่ส่ังซอื้ เขียนรายการอาหารทจ่ี า่ ยประจำวัน มอบ
เจ้าหน้าท่ีการเงนิ ของโรงเรยี นก่อนเทย่ี งวนั
๔. ครูเวรมีหน้าที่อบรมนักเรียน ทำหน้าที่กำกับการปฏิบัติกิจกรรมหน้า
เสาธง อบรมนักเรียน หัวหน้าเวรมีหน้าที่จดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ
รายการอาหารประจำวัน สถิติ การทำงานของครู คนงาน สถิตินักเรียนมา
เรียน ความสะอาดแต่ละอาคาร ลงในสมุดบันทึกประจำวันของโรงเรียน
ควบคมุ สัญญาณเขา้ เรียน พัก และเลิกเรียนตามทโ่ี รงเรียนกำหนด
๕. ครูเวรที่มีหน้าที่ตรวจอาคารทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของนักเรียน
บริเวณสนามเด็กเล่น และบริเวณทั่วไปในช่วงเช้า พักกลางวัน ตามที่
หัวหนา้ เวรมอบหมาย
๖. ครูเวรที่สอนในชั่วโมงสุดท้าย ให้ปล่อยนักเรียนก่อนเวลาเลิกเรียน
๑๐ นาที เพอื่ ปฏบิ ตั ิหน้าที่ครูเวร
๗. ให้ครูเวรเข้าประจำจุดต่างๆ ตามที่หัวหน้าเวรมอบหมายในตอนเย็น
หลงั เลิกเรียนให้ตรงเวลา
๘. ครูเวรประตู ๑ มีหน้าที่รับนักเรียนตลอดจนเน้นในเรื่องการ ทำความ
เคารพ และระเบยี บวินยั
๙. หัวหนา้ เวรรวบรวมข้อมูลการปฏิบัตหิ น้าทีเ่ วรในแตล่ ะวัน เพ่ือรายงานและ
ปรับปรงุ ร่วมกับรองหวั หนา้ เวรทีร่ บั ผิดชอบเวรประจำวัน



๑๐.หมดเวลาของการปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวันเวลา ๑๗.๐๐ น. (กรณีที่มี
นกั เรียนเหลอื อยู่ใหเ้ ฝา้ ส่งนกั เรียนจนถึงเวลา ๑๗.๑๕ น.)

แนวปฏิบัติของครปู ระจำชน้ั /ครูผู้สอน

๑. ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบนักเรียนในความรับผิดชอบให้ทำความสะอาด
บริเวณห้องเรียน และเขตรับผิดชอบตลอดจนปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับ
มอบหมายก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ

๒. ควบคุมนักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติและทำกิจกรรมอื่นๆ หน้าเสาธง
ตอนเชา้

๓. ตรวจสอบการมาเรียนของนักเรียนทุกวันแล้วลงหลักฐานให้เป็นปัจจุบัน
หากมนี ักเรียนขาดเรยี นตดิ ต่อกัน ๓ วันทำการ โดยไมแ่ จ้งให้ครูประจำชั้น
ทราบ ให้รายงานผบู้ รหิ ารทราบเปน็ ลายลกั ษณ์อักษรตามทกี่ ำหนด



๔. ตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบว่ามีปัญหาให้
ร่วมมือกับฝ่ายแนะแนว ฝ่ายวิชาการ ผู้ปกครองนักเรียนและฝ่ายบริหาร
เพอื่ ร่วมกนั แก้ไขปัญหาทนั ที

๕. ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติกิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอนที่โรงเรียน
กำหนดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและจริงจังตลอดปีพร้อมทั้งมีการแก้ไข
ขอ้ บกพร่องให้เกดิ การพฒั นาอย่างชดั เจน

๖. ตอ้ งอบรมมารยาททั่วๆ ไป ให้กับนักเรียนประจำนอกเหนือจากการเรียน
การสอนปกติ

๗. ต้องกำชับ ดูแลให้นักเรียนดูแลความสะอาดร่างกายเครื่องแต่งกาย
หอ้ งเรยี น ทรัพย์สนิ อ่นื ๆ

๘. ควบคุมนักเรียนให้ทำกิจกรรมตอนกลางวันก่อนเข้าห้องเรียน และอบรม
นกั เรียนกอ่ นเลิกเรยี นทุกวนั

๙. ดูแลตรวจสุขภาพอนามัยนักเรียนทุกคนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
หากพบว่านักเรียนมีปัญหาให้ช่วยเหลือแก้ไขทันที พร้อมทั้งรายงานให้
ผู้บริหารทราบ กรณีนักเรียนเกิดอุบัตเิ หตใุ นขณะอยู่โรงเรียน ให้ช่วยเหลือ
ทนั ทีพรอ้ มรายงานให้ผู้บรหิ ารทราบ

๑๐. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะกระบวนการ กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ กระบวนการกลุ่มโดยยึดหลักสูตร คือให้เกิดการเรียนรู้
โดยนักเรยี นเปน็ ศูนยก์ ลางในการเรียนรู้

๑๑. จัดทำข้อมูลความสัมพันธ์ของกิจกรรมการเรียนการสอน สาระการ
เรยี นรูก้ ับผลการเรียนรูท้ ่ีคาดหวงั และบนั ทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ใน ปพ.๕ , ปพ.๖ , ปพ.๙ สามารถตรวจสอบได้

๑๐

๑๒. ต้องมีการประเมินผลนักเรียนก่อนเรียน ขณะเรียนและหลังเรียนเพ่ือ
พัฒนาผูเ้ รียน

๑๓. ใชส้ ่อื ประกอบการสอนทกุ ครัง้ ตามความเหมาะสม
๑๔. จัดให้มกี ารสอนซ่อมเสริมนักเรยี นท้ังรายกล่มุ และรายบุคคลพร้อมบันทึก

ไวเ้ ป็นหลกั ฐาน
๑๕. ร่วมมือและปฏิบัติงานอื่นๆ อย่างเต็มใจเต็มความสามารถตามที่ได้รับ

มอบหมาย

๑๑

แนวปฏิบตั ิเรอื่ งการลาของบคุ ลากร

๑. ให้ยึดระเบยี บว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕
๒. การลาป่วย ให้ส่งใบลาในวันป่วยหรือวันแรกของการกลับมาปฏิบัติงาน

หากปว่ ยเกิน ๓ วนั ให้ส่งใบรบั รองแพทยแ์ นบใบลามาดว้ ย
๓. การลากิจ ส่งใบลาล่วงหนา้ ๑ - ๒ วัน และต้องติดตามวา่ ได้รบั อนุญาต

หรอื ไม่ หากมคี วามจำเปน็ เรง่ ดว่ นใหแ้ จ้งผบู้ ริหารทราบแล้วค่อยส่งใบลา
ตามมาทีหลัง
๔. การลาทีน่ อกเหนือจากข้อ ๒ , ๓ ตอ้ งได้รับอนุญาตจากผู้บรหิ าร
๕. การลากิจต้องบนั ทึกการมอบหมายงานสง่ พร้อมใบลาด้วย

๑๒

แนวปฏิบัติการสรา้ งขวัญและกำลังใจ

๑. รับขวัญสมาชิกใหม่ (บุตรของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา)
รายละ ๕๐ บาท

๒. การเยี่ยมป่วยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กรณีนอน
โรงพยาบาล) โรงเรียนอนบุ าลยะลาจัดกระเช้าของขวัญให้ ๑ กระเช้า

๓. การวางพวงหรีดเน่ืองในงานศพ โรงเรยี นอนบุ าลยะลาจัดให้กับข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา / บิดา – มารดา (ของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา) ส่วนกรณีอื่นๆ อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร
สถานศึกษา

๔. การรวบรวมเงินทำบุญเนื่องในงานศพ โรงเรยี นอนบุ าลยะลาดำเนินการให้
ในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา /บิดา–มารดา
(ของขา้ ราชการครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษา)

๕. เงินค่าของขวัญมอบให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณี
เกษียณอายุราชการ ยา้ ยสถานศึกษา รายละ ๕๐ บาท

๖. การบริจาคเงนิ ให้ครทู ่ีไดร้ บั ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไมส่ งบในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ กรณีเสยี ชวี ิต บาดเจบ็ รายละ ๒๐ บาท (ตามมติสมาพนั ธ์
ครจู ังหวัดชายแดนภาคใต)้

๗. การเลอ่ื นขน้ั เงนิ เดือนประจำปี และการเลื่อนข้ันเงินเดอื นตามโควต้าพิเศษ
ศอ.บต. พจิ ารณาจากผู้มผี ลการปฏิบัตงิ านดีเดน่ ทั้งดา้ นงานวิชาการและ
งานสนบั สนนุ การจัดการเรียนการสอน

หมายเหตุ การรวบรวมเงินทกุ กรณี ใหห้ วั หน้าสายชัน้ เปน็ ผดู้ ำเนนิ การ
โดยนำสง่ ใหเ้ จ้าหนา้ ท่ฝี า่ ยบริหารงานบคุ คล (นางสาวกนกวรรณ ไชยนาพงษ์)

๑๓

หลักสิบประการของความเปน็ ครูดี

๑. ม่งุ มัน่ วิชาการ
ครูมีบทบาทหน้าที่ในการเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่

ศิษยท์ จ่ี ำเป็นสำหรับครู คือ
๑. ศาสตร์ทจ่ี ะสอน

ครูต้องติดตามความก้าวหน้าของวิชาที่จะถ่ายทอด จากหนังสือ เอกสาร
วารสาร ตามสื่อต่าง ๆ ตลอดจนเข้าประชุมเพ่ือรบั รู้ความคิดใหม่ ๆ ข้อค้นพบที่
ขยายความรู้ออกไปอย่างไม่มีที่ส้ินสุด จึงจำเปน็ อย่างย่ิงที่ครูจะเตรียมพรอ้ มให้
ตนเองมีความรทู้ ันสมยั ตอ่ เหตกุ ารณ์
๒. ศาสตร์การสอน

แม้ครูจะมีความรู้ดีในศาสตร์สาขาที่ชำนาญ แต่ความรู้เหล่านั้น จะไม่มี
ประโยชน์ต่อวิชาชีพครูแม้แต่น้อย หากครูยังขาดความรู้เรื่องของการถ่ายทอด
วิชาการเหลา่ นัน้ ครจู งึ จำเป็นตอ้ งติดตาม ศึกษา คน้ ควา้ ใหท้ นั ต่อความกา้ วหน้า
ของศาสตร์การสอนเพื่อค้นหาวิธีการที่จะอธิบายหรือถ่ายทอดให้ศิษย์เข้าใจ
สาระตา่ ง ๆ
๓. ศาสตร์การพฒั นาคน

โดยที่อาชีพครูเป็นอาชีพสร้างคนที่มีศักยภาพให้แก่ประเทศชาติ ผู้สร้างจึง
จำเป็นต้องเอาใจใส่ และถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องพัฒนาคนให้มีความพร้อมด้าน
วิชาการ วชิ าชีพและการดำรงตนให้เป็นคนดที ส่ี ังคมปรารถนา

๑๔

๒. รกั งานสอน
ครูต้องมีความศรัทธาต่อวิชาชีพของตน ต้องมีความรักการสอน สนใจที่จะ
พัฒนาการสอนใหน้ ่าสนใจ เปลี่ยนแปลงวธิ ีการสอนเพ่ือใหไ้ ด้ผล ร้จู กั วธิ ถี ่ายทอด
ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนของตนเอง ให้รู้จักวิธี
เรยี น เรยี นดว้ ยความสุขและรับรสู้ าระในศาสตร์ทีค่ รูสอน
๓. อาทรศษิ ย์
ครูต้องเมตตา รัก เข้าใจ และเอาใจใส่ดูแลลูกศิษย์ ห่วงใยว่าจะประสบ
ความสำเร็จหรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ลูกศิษย์ประสบ ให้เกียรติและ
ยอมรับในความแตกต่าง ไม่ดูถูกหรือเยียบย่ำลูกศิษย์ ให้การช่วยเหลือท้ัง
ทางดา้ นการเรียนและชีวติ
๔. คิดดี
ครูต้องมีความคิดที่ดี ความคิดที่เป็นบวกต่อศิษย์ ต่อการสอน ต่อวิชาชีพ ต่อ
สถาบัน และต่อเพื่อนร่วมงาน คิดในสิ่งที่ดี และให้คิดอยู่เสมอว่าอาชีพครูเป็น
อาชีพที่มีคุณค่าที่สุด เป็นต้น ความคิดที่เป็นบวกจะช่วยให้ครูทำงานอย่างมี
ประสทิ ธิภาพ
๕. มีคณุ ธรรม
ความมีคุณธรรมของครูมีความจำเป็นต่อวิชาชีพครู คุณธรรมที่สำคัญ ได้แก่
ความยุติธรรมด้านการสอน การประเมินผล ความต้องการให้ลูกศิษย์ประสบ
ผลสำเร็จ ครตู ้องมีความอดทน ระงบั อารมณ์ได้ดี ไมท่ ำรา้ ยคน เสียสละ มีความ
อายที่จะกระทำผิด และมีหลักศาสนายึดมั่น มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะประพฤติ
ตนใหถ้ ูกต้องตามระเบยี บ ประเพณี และวัฒนธรรมของสงั คมนั้น ๆ

๑๕

๖. ชี้นำสงั คม
ครูต้องช่วยชี้นำสังคม นำในสิ่งที่ถูกต้อง ช่วยแก้ปัญหา ทำตนเป็นตัวอย่าง เช่น
เร่อื งของขยะสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลงั งาน ช่วยชมุ ชนในดา้ นตา่ ง ๆ ท้ัง
การแกป้ ญั หาเพือ่ คุณภาพชีวิตทด่ี ีของสังคม และการชว่ ยนำสงั คมใหเ้ ป็นสังคมท่ี
ดีงาม
๗. อบรมจติ ใจ
การพัฒนาผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ ครูจึงต้องช่วยให้ข้อคิดที่ดี อบรม ตักเตือน สั่ง
สอนให้ศิษย์ประพฤติดี ดำรงอยู่ในศีลธรรม หน้าที่ของครูจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของ
การสอนหนังสือเท่านนั้ แตจ่ ะตอ้ งอบรมจิตใจใหม้ ีคุณธรรม จริยธรรมอยเู่ สมอ
๘. ใฝ่ความกา้ วหนา้
การไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ รักที่จะช่วยให้ประเทศก้าวหน้า เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ให้แกช่ มุ ชนไมห่ ยดุ ยง้ั ครจู ะต้องทำใหช้ ีวิตของครูกา้ วต่อไปเพ่ือทจ่ี ะทำประโยชน์
ใหแ้ กต่ นเอง ศษิ ย์ สังคมและประเทศชาติ
๙. วาจางาม
คำพูดเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างประสบ
ความสำเร็จ คำพูดที่ดีย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจ มีความมุมานะ ในทาง
ตรงกันขา้ ม คำพูดไมด่ ี ย่อมทำใหผ้ ้ฟู ัง เกิดความทกุ ข์ ไม่สบายใจ และทำให้เกิด
ความท้อถอย ไม่อยากเรียน ครูจึงตอ้ งฝกึ การพดู ใหถ้ ูกตอ้ งตามกาลเทศะ ฝึกการ
พูดเพื่อจูงใจและส่งเสริมทำให้ศิษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี
งามและถูกตอ้ ง
๑๐. รักความเปน็ ไทย
สถาบันการศึกษาเป็นศูนย์กลางการพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่สำคัญ
ของประเทศชาติ ดังนั้น ครูจึงต้องส่งเสริมพัฒนาเอกลักษณ์ไทย เพื่อให้ศิษย์
เป็นผู้ธำรงรักษาเอกลักษณ์ไทยเอาไว้โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัฒน์ ความมี
เอกลักษณ์เฉพาะตนจำเป็นต้องธำรงไว้ให้มั่นคง แม้ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปได้
ไกล

๑๖

จนทำใหแ้ ตล่ ะชาติสามารถติดต่อ รับรู้ และถา่ ยทอดวฒั นธรรมซึ่งกันและกันได้ก็
ตาม แต่เอกลักษณ์เฉพาะของคนในชาติ เช่น เรื่องของความเชื่อ วัฒนธรรม
ประเพณีทดี่ ีงาม ควรชว่ ยกันสืบสาน ส่งเสริม และธำรงไว้ เพื่อทำให้เยาวชนเกิด
ความรัก ความภาคภูมใิ จในความเปน็ ไทย

๑๗

คุณธรรมพืน้ ฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเรง่ รดั การปฏริ ปู การศึกษา โดยยดึ
คุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตยพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรม
เป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบัน
ครอบครวั ชมุ ชน สถาบนั ศาสนา และสถาบนั การศึกษา โดยมีจุดเนน้ เพ่ือพัฒนา
เยาวชน ให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อน
ดังกล่าวมีความชัดเจนเกิดประสิทธิภาพสูงสดุ และสามารถนำไปสูก่ ารปฏิบตั ิได้
อย่างเป็นธรรม “๘ คุณธรรมพน้ื ฐาน” ที่ควรเร่งปลกู ฝัง ประกอบด้วย

๑. ขยนั
๒. ประหยดั
๓. ซอ่ื สัตย์
๔. มีวนิ ัย
๕. สภุ าพ
๖. สะอาด
๗. สามคั คี
๘. มนี ้ำใจ
๑. ขยัน
ขยัน คือ ความตงั้ ใจเพยี รพยายาม ทำหน้าทีก่ ารงานอยา่ งต่อเน่ือง สม่ำเสมอ
อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหาจนเกิดผล
สำเร็จ ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร
เปน็ คนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กลา้ เผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจ
ทำอย่างจริงจงั

๑๘

๒. ประหยัด
ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของแต่พอควร
พอประมาณให้เกิดประโยชน์ค้มุ คา่ ไมฟ่ ่มุ เฟือย ฟ้งุ เฟ้อ ผูท้ ่มี ีความประหยัด คือ
ผู้ที่ดำเนนิ ชีวติ ความเปน็ อยู่ท่ีเรียบงา่ ย รจู้ ักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิด
ก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ
รายจ่าย รายออมของตนเองอยู่เสมอ
๓. ซ่อื สตั ย์
ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ
ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคตผิ ู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติ
ตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม รบั รู้หน้าที่ของตนเองและปฏบิ ตั ิอยา่ งเตม็ ท่ีถูกตอ้ ง
๔. มวี ินยั
มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีท้ัง
วินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ
ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดี
ปฏบิ ัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
๕. สุภาพ
สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มี
สัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและ
กาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ใน
เวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสม
ตามวัฒนธรรมไทย

๑๙

๖. สะอาด
สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความ
ผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด
คือ ผรู้ กั ษารา่ งกาย ท่ีอยอู่ าศยั สิง่ แวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝน จิตใจ
มิใหข้ ุ่นมัว จงึ มคี วามแจม่ ใสอยู่เสมอ
๗. สามัคคี
สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน
ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์
ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมี
เหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิดความหลากหลายในเรื่อง
เช้ือชาติ ความกลมเกลยี วกันในลักษณะเช่นน้ี เรยี กอกี อยา่ งวา่ ความสมานฉันท์ผู้
ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของ
ตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือ
เกอ้ื กลู กัน เพ่อื ใหก้ ารงานสำเร็จลุลว่ ง แกป้ ญั หาและขจดั ความขัดแย้งได้ เป็นผู้มี
เหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ
พร้อมท่จี ะปรบั ตัวเพ่ืออย่รู ่วมกันอย่างสันติ
๘. มีนำ้ ใจ
มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง
แตเ่ หน็ อกเห็นใจ เห็นคุณคา่ ในเพ่ือนมนุษย์ มีความเอ้อื อาทร เอาใจใส่ ให้ความ
สนใจในความต้องการ ความจำเป็นความทุกข์สุขของผู้อื่นและพร้อมที่จะให้
ความช่วยเหลอื เกือ้ กูลกันและกัน ผทู้ ่ีมนี ้ำใจ คือ ผใู้ ห้และผูอ้ าสาช่วยเหลอื สังคม
รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสขุ ส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจผู้
ท่มี คี วามเดอื ดรอ้ น อาสาชว่ ยเหลือสังคมด้วยแรงกายสตปิ ญั ญา ลงมือปฏบิ ัติการ
เพอ่ื บรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรคส์ ิ่งดงี ามให้เกิดข้นึ ในชมุ ชน

๒๐

เกบ็ มาเลา่ เอามาคยุ

๑. ครูพิเศษในสายชั้นต้องน่ังประจำท่ีสายชั้น เมื่อถึงเวลาสอนใหร้ บั
นักเรยี นจากห้องเรียนไปที่ห้องพเิ ศษ และนำนกั เรียนสง่ กลับห้องเรียนเมื่อเสร็จ
ส้นิ การเรียนการสอน

๒. ครูพเิ ศษตอ้ งรับประทานอาหารกลางวันท่สี ายชนั้
๓. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ใช้เฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน และงานสนบั สนุนการเรียนการสอน
๔. การเล่น Facebook / Line อนุญาตให้เล่นเฉพาะเท่าที่จำเป็น
หรอื เพือ่ ประโยชนใ์ นการปฏิบัติงานสอนเท่านน้ั หากมีเรอ่ื งรอ้ งเรยี นโรงเรียนจะ
พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
๕. การทำงานตอ้ งคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต้องพัฒนา
งานและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพครู
พ.ศ. ๒๕๕๖
๖. คตสิ อนใจในการทำงาน “พรสวรรคท์ ำใหท้ ีมชนะ แต่ทีมเวริ ์คทำ
ใหค้ ณุ เป็นแชมป์”

“ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจรญิ สว่ นรวม
ซึ่งเกิดจากผลงานหรอื ผลของการกระทำของคนทั้งชาติ

ถือไดว้ า่ ทกุ คนแบ่งหนา้ ที่กนั ทำประโยชน์ใหแ้ กช่ าติ
ตามความถนดั และความสามารถ

และเกอื้ กลู กันและกัน ไมม่ ผี ใู้ ดจะอยู่ไดแ้ ละทำงาน
ใหแ้ ก่ประเทศชาติได้โดยลำพงั ตนเอง”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั

ในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบัตรของจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๓


Click to View FlipBook Version