เจ้าจอม
มารดาเขียน
(บุคคลสำคัญนาฏศิลป์ และการละคร)
ประวัติ
จอมมารดาเขียน (พ.ศ. 2385 - พ.ศ. 2484) เจ้าจอมมารดา
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของท่านอ้น
และท่านอิ่ม สิริวันต์ เป็นหลานของเจ้าจอมมารดางิ้ว (หม่อมงิ้ว
ในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 3 ซึ่ง
เป็นพระมารดาของ สมเด็จพระนางนาฏโสมนัสวัฒนาวดี บรม
อรรคราชเทวี ในรัชกาลที่ 4 โดย รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติยศให้ออกนามว่า "เจ้าจอม
มารดางิ้ว" เป็นกรณีพิเศษในฐานะที่จะเป็นขรัวยายของเจ้าฟ้า
โสมนัส ที่จะประสูติแต่สมเด็จพระนางนาฏโสมนัสฯ นอกจากนี้
พระยาราชภักดี (ทองคำ) พี่ชายของเจ้าจอมมารดางิ้วเป็นต้น
ตระกูลสุวรรณทัต)
ปปรระะววััตติิ
เจ้าจอมมารดาเขียนมีนามเรียกขานทั่วไปว่า "เขียนอิเหนา"
ด้วยเป็นละครหลวงที่รำเป็นตัวฃอิเหนาได้งดงามไม่มีใครสู้
เป็นเจ้าจอมที่รัชกาลที่ 4 โปรดมากท่านหนึ่ง เมื่อพระ
ราชโอรสคือ พระองค์เจ้าวรวรรณากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ -
2404-2474) ประสูตินั้น รัชกาลที่ 4 พระราชทานกริชให้
นอกเหนือจากพระแสงดาบที่พระราชทานพระราชโอรสทุก
พระองค์ โดยมีรับสั่งว่า "เป็นลูกอิเหนา" เจ้าจอมมารดาเขียน
ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ.ศ2484 รวมอายุ99ปี.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ของ
เจ้าจอมมารดาเขียนในรัชกาลที่ 4
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)
ผลงานที่สำคัญ
1.รับบทเป็นตัวละครในคือ อิเหนา จนได้สมญานามว่า "เขียน
อิเหนา"
2.มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนา มีจำนวน 24 ชิ้น เป็นโขน 1 ตอน
ละคร 19 เรื่อง ระบำ 4 ชุด
3.ศึกษานาฏยประดิษฐ์ พระลอ
เป็นการสร้างสรรค์ละครพันทางบนพื้นฐานของละครในที่เป็นภูมิ
หลังของท่าน โดยยึดจารีตการแสดงละครในเป็นหลัก แล้วตกแต่ง
ด้วยการเคลื่อนไหวแบบลาวพันทางเป็นส่วนประกอบ นอกจากท่าน
จะสร้างลักษณะผสมดังกล่าว ท่านยังกล้าออกจากจารีตละครไทย
คือ ให้ละครตายกลางโรง
การศึกษานาฏยประดิษฐ์ พระลอ
นาฏยประดิษฐ์ของเจ้าจอมมารดาเขียนมีลักษณะเด่น ดังนี้
1. ใช้ท่ารำทำบทตามจารีตของละครใน
2. ใช้ท่ารำสื่ออารมณ์และความคิดตัวละครในช่วงดนตรีรับ
3. ใช้ท่ารำออกภาษามีเฉพาะช่วงร้องสร้อยดนตรีรับ หรือเมื่อ
เคลื่อนที่
4. ใช้อุปกรณ์การแสดงเพื่อสื่ออารมณ์และความคิดของตัวละคร
5. แสดงอารมณ์ชัดเจนสมจริง
6. ใช้ท่ารำเกี้ยว 3 คน แสดงให้เห็นเป็นคนเดียว
7. ตัวประกอบรำซ้อนในบทร้องของตัวเอกเพื่อเสริมบท
8. จัดให้ผู้แสดงตายกลางโรง เจ้าจอมมารดาเขียน เป็นนาฏย
ศิลปินที่มีความสามารถอย่างยิ่ง และเป็นครูละครที่มีลูกศิษย์มาก
ที่สุดในยุคนั้น นาฏยประดิษฐ์และการสอนของท่าน มีอิทธิพลใน
การพัฒนาและสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ผลงานที่สำคัญ
ท่ารำของละครพันทางเรื่องพระลอ
ท่ารำในละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า
ละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมมารดาเขียน เป็นตัวอิเหนา เป็นครูละครหลวงในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้หัดละครรำของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (พระ
ราชโอรส) เป็นครูพิเศษให้กับละครวังสวนกุหลาบ กระบวนท่ารำที่
ท่านคิดค้นขึ้น คือ ท่ารำของละครพันทางเรื่องพระลอ ท่ารำในละคร
ร้องเรื่องสาวเครือฟ้า (ละครร้องเรื่องแรก) ตอนสาวเครือฟ้าแต่งตัว
คุณครูเฉลย ศุขะวณิช ท่านได้จดจำนำมาถ่ายทอดให้กับศิษย์ใน
วิทยาลัยนาฏศิลป
ผู้จัดทำ
นางสาวสุกฤตชยา ศรนุวัตร
ม.5/3 เลขที่25