The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by phatcharin, 2022-03-23 22:32:27

e book

e book

ไ ก่ เ นื้ อ ส า ย พัน ธุ์ใ ห ม่

ขาวค้ำคูณ




ค ณ ะ เ ก ษ ต ร ศ า ส ต ร์
ม ห า วิ ท ย า ลั ย ข อ น แ ก่ น

ไก่ขาวค้ำคูณ

ชื่อพันธุ์ : ขาวค้ำคูณ

ชื่อผู้ขอ : รศ.สจี กัณหาเรียง

ชื่อผู้ร่วมวิจัย/ปรับปรุงสายพันธุ์ : รศ.สจี กัณหาเรียง, ผศ.ยุพิน ผาสุข, รศ.บัญญัติ
เหล่าไพบูลย์, รศ. เทวินทร์ วงษ์พระลับ, ผศ.พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา, นายอนุวัฒน์
จันดามุก

คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำนำ

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อบริโภคเนื้อเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยม โดยลักษณะเด่น
ของเนื้อไก่พื้นเมืองที่มีรสชาติดี เนื้อแน่นและมีไขมันน้อยจึงเป็นที่ต้องการของ
ตลาด แต่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการเลี้ยงจนถึงการจำหน่ายใช้เวลานาน

ซึ่งคือการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับ
กระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง และ
เป็นที่ต้องการของตลาด

ปัจจุบันจึงได้มีการรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีการเลี้ยงไก่เนื้อเพิ่มมาก
ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ทางผู้จัดทำจึงเล็ง
เห็นถึงความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้มีการจัดทำสื่อนี้ขึ้นมาเพื่อนำเสนอไก่
เนื้อ สายพันธุ์ใหม่นี้ขึ้นมา

สารบัญ

เรื่อง หน้าที่

คำนำ ก
สารบัญ ข
แนวคิดและหลักการ 5
พ่อแม่พันธุ์ 6
ลักษณะพันธุ์ขาวค้ำคูณ 7
การจัดการอาหาร 8
การจัดการวัคซีน 9
การจัดการผลผลิต-การตลาด 9

แนวคิดและหลักการ

ไก่ขาวค้ำคูณ พัฒนาจากแหล่งพันธุกรรมไก่พื้น
เมืองโดยผู้วิจัยเล็งถึงข้อดี ข้อจำกัดและจุดที่ควร
พัฒนาในไก่พันธุ์เมือง ระยะเวลาในการเลี้ยงจนถึง
การจำหน่ายของไก่พื้นเมืองใช้เวลานานจากหลักการ
นี้จึงทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์เรื่อย ๆ จนได้

ไก่ขาวค้ำคูณ จึงได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์
พัฒนาจากไก่พื้นเมือง ซึ่งเป็นการผสมสายพันธุ์
ระหว่างไก่เนื้อพ่อพันธุ์ทางการค้า และแม่พันธุ์ไก่
พื้นเมืองลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างไก่พ่อ
พันธุ์พื้นเมืองซี เคเคยู 12 กับแม่ไก่ไข่ทางการค้า
ได้เป็น ไก่ลูกผสม (ขาวค้ําคูณ) มีระดับเลือดไก่เนื้อ
ทางการค้า 50% ไก่พื้นเมืองไทย 25% และไก่ไข่
ทางการค้า 25%

โดยไก่เนื้อขาวค้ำคูณที่มีเลือดไก่พื้นเมืองจะเจริญ
เติบโตเร็วขึ้นกว่าไก่พื้นเมือง และเข้าสู่การจำหน่าย
แบบไก่ย่างเร็วขึ้น

พ่อแม่พันธุ์ขาวค้ำคูณ

ลักษณะพ่อ-แม่พันธุ์

ลักษณะพ่อพันธุ์ ลักษณะแม่พันธุ์

การจัดการการผสมพันธุ์

1. จับอุ้มพ่อพันธุ์เอาด้านหัวของไก่หันเข้าหาผู้อุ้ม
2. นวดกระตุ้นและรีดน้ำเชื้อ
3.จับแม่ไก่และปลิ้นทวาร จะเห็นรูเปิดของท่อนำไข่อยู่ทาง

ด้านซ้ายของแม่ไก่
4. ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเขื้ อที่รีดจากพ่อพันธุ์
5. ฉีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์เข้าสู่ท่อนำไข่แม่พันธุ์
6.ฉีดน้ำเชื้อจนหมดจากนั้นค่อย ๆ ดึงกระบอกฉีดยาออก

ลักษณะพันธุ์ไก่ขาวค้ำคูณ

ไก่พันธุ์ขาวค้ำคูณ เพศผู้ : รูปร่างสูง สมส่วน ลำ
ตัวลึก ใบหน้ากลมยาว ผิวเรียบ ปากขนาดปาน
กลาง ตาสีดำ ขอบตาเป็นรูปวงรีสีส้ม คิ้วนูนเรียบ
ตามข้าง หงอนเป็นหงวนถั่วใหญ่ มีขนสีขาว ตุ้มหูสี
แดง จงอยปากสีเหลือง คอใหญ่ ขนสร้อยคอสี
ขาวหรือขาวอมเหลืองเป็นระเบียบ ปีกยาวสีขาวขน
ปากหางสีขาว ปลายขนสีขาวอมเหลือง มีหางพัด
และหางกระบวยสีขาว หางพัดเรียงกันเป็นแนวจาก
ล่างขึ้นบนตามลำดับ แข้งเรียว เกล็ดแข้งสีเหลือง
นิ้วเรียวยาว เดือยแหลม สีขนพื้นตัว หน้าคอ หน้า
ท้อง ใต้ท้อง ใต้ปีก เป็นขนสีขาว สร้อยปีก สร้อย
หลัง มีสีขาวอมเหลือง

ไก่พันธุ์ขาวค้ำคูณ เพศเมีย : ลักษณะเด่นคือ
เป็นไก่ที่มีอกกว้าง มีขนปกหูสีขาว ดวงตาสีดำ
ขอบสีส้ม จงอยปากสีเหลือง หงอนถั่ว แข้งสี
เหลืองหรือขาวอมเหลือง สร้อยคอและสร้อย
หลังสีขาว ปีกสีขาว

การจัดการอาหาร

1. ไก่เล็ก อายุแรกเกิด - 4 สัปดาห์

โปรตีน ไม่น้อยกว่า 19 %

ไขมัน ไม่น้อยกว่า 3 %

กาก ไม่น้อย 5 %

ความชื้น ไม่น้อยกว่า 13 %

2. ไก่รุ่น โดยใช้อาหารไก่เนื้อ
อายุ 5 -16 สัปดาห์

โปรตีน ไม่น้อยกว่า 15 %

ไขมัน ไม่น้อยกว่า 2 %

กาก ไม่น้อยกว่า 6 %

3. ความชื้น ไม่น้อยกว่า 13 %
ไก่พ่อแม่พันธุ์ ใช้อาหารไก่ไข่

อายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป

โปรตีน ไม่น้อยกว่า 17 %

ไขมัน ไม่น้อยกว่า 3 %

กาก ไม่น้อยกว่า 6 %

ความชื้น ไม่น้อยกว่า 13 %

การจัดการดูแลด้านวัคซีน

หมายเหตุ ตารางวัคซีนนี้เป็นการฉีดของพ่อแม่พันธุ์ โดยไก่รุ่นมีการฉีดวัคซีนถึงสัปดาห์ที่ 6

การจัดการผลผลิตและการตลาด

ไก่ขนาด 1 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 80-90 บาท (น้ำหนักที่ยังมีชีวิต)
ไก่ขนาด ไม่เกิน 1.2- 2 กิโลกรัม ราคากิโลกรัม 100-120 บาท (น้ำหนักที่ยังมีชีวิต)

Thank you!

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สาขาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หรือ

รศ. สจี กัณหาเรียง

062-6235615
[email protected]


Click to View FlipBook Version