การวิเคราะห์ข้อมูล
ตัวชี้วัด
รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลและใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล
เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใน
ชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ 6 การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
(ชั่วโมงที่ 15 – 18)
สาระการเรียนรู้
1. การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
2. สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
3. การหาความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้แผนภาพการกระจาย
จุดประสงค์
ให้ผู้เรียนสามารถ
1. อธิบายหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
2. เลือกใช้ค่าสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
3.ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หรือโปรแกรมภาษาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณน
4. อธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ทบทวน
ศึกษาเหตุการณ์ต่อไปนี้
สิงโตเจ้าปัญญาต้องการวางแผนการใช้ชีวิตในอีก 3 ปีหน้าให้กับฝูงของตน จึงได้ติดต่อ
สุนัขจิ้งจอกที่ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตรต์ข้อมูลเพื่อวางแผนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
ดำรงชีวิตให้กับฝูงของตน
ขั้นตอนการดำเนินการของสุนัขจิ้งจอก
สุนัขจิ้งจอกรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ เช่น ข้อมูลจำนวนวัว
ป่าและจำนวนม้าลาย โดยสำนักงานสถิติป่า ข้อมูลอุณหภูมิของป่า ใช้ข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา
ขั้นตอนการดำเนินการของสุนัขจิ้งจอก
เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก่อนจะตอบคำถามใด ๆ สุนัขจิ้งจอกต้องทำความสะอาดข้อมูลเพื่อตรวจ
สอบก่อนว่ามีความผิดพลาดในข้อมูลหรือไม่ และข้อมูลมีความสมบูรณ์เพียงใด
ขั้นตอนการดำเนินการของสุนัขจิ้งจอก
ในกรณีที่สุนัขจิ้งจอกต้องการวิเคราะห์ข้อมูลหลายประเภทจากหลายแหล่งพร้อมกัน สุนัข
จิ้งจอกก็ต้องนำข้อมูลมาเชื่อมโยงให้ถูกต้องตรงกัน
ขั้นตอนการดำเนินการของสุนัขจิ้งจอก
หลังจากนั้นสุนัขจิ้งจอกต้องสำรวจข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับรูปแบบลักษณะการกระจาย
และภาพรวมของข้อมูล
ศึกษาด้วยตนเอง
ให้นักเรียนอ่านสถานการณ์ของสิงโตและสุนัขจิ้งจอก
ในหนังสือเรียนหน้า 75 - 79
การวิเคราะห์ข้อมูล
ศึกษาด้วยตนเอง
ศึกษาหัวข้อที่ 3.1 การวิเคราะห์เชิงพรรณา หัวข้อย่อย 3.1.1 และ 3.1.2 ใน
หนังสือเรียนหน้า 80 - 83
ใบกิจกรรม
ข้อมูลนี้มีอะไร
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.จับคู่กับเพื่อนทำใบกิจกรรมที่ 6.1 ข้อมูลนี้มีอะไร
2.โพสต์ภาพคำตอบลงบน Padlet
3. พิจารณาคำตอบของคู่อื่นและร่วมโหวตว่ากลุ่มใดแสดงผลการวิเคราะห์ได้
ชัดเจนที่สุด
ทบทวน
การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะของข้อมูลที่เก็บรวบรวม โดยใช้การ
คำนวณทางคณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน
ทบทวน
การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
1. การหาสัดส่วนหรือร้อยละ
2.การหาค่ากลางของข้อมูล เช่น ค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม
ศึกษาด้วยตนเอง
ศึกษาหัวข้อที่ 3.1.3 การหาความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล ในหนังสือเรียน
หน้า 84 - 87
ใบกิจกรรม
สัมพันธ์กันหรือไม่
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.แบ่งกลุ่ม 3 คน ทำใบกิจกรรมที่ 6.2 สัมพันธ์กันหรือไม่
2.โพสต์คำตอบพร้อมเขียนคำอธิบายลงบน Padlet
3. พิจารณาคำตอบของกลุ่มอื่นและร่วมโหวตว่ากลุ่มใดมีคำตอบที่น่า
สนใจมากที่สุด
ชวนคิด
นักเรียนคิดว่าการวิเคราะห์เชิงพรรณนาคืออะไรและ
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง
กิจกรรมที่ 7 การทำนายเชิงตัวเลข
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของการทำนายเชิงตัวเลข
2. การทำนายค่าจากเส้นแนวโน้มโดยใช้กราฟและใช้สมการเชิงเส้น
3. การหาค่าความคลาดเคลื่อนในการทำนาย
4. การสร้างเส้นแนวโน้มและสมการเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือ
การเขียนโปรแกรม
จุดประสงค์
ให้ผู้เรียนสามารถ
1. อธิบายหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนายโดยใช้ตัวเลข
2.ทำนายค่าโดยใช้สมการเชิงเส้น และคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนในการ
ทำนาย
3. ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือโปรแกรมภาษาในการทำนายเชิงตัวเลข
4. อธิบายผลการทำนายเชิงตัวเลข
ชวนคิด
นักเรียนคิดว่าเวลาที่นักเรียนใช้ในการอ่านหนังสือ
สอบสามารถทำนายเกรดของนักเรียนได้หรือไม่
การวิเคราะห์เชิงทำนาย
การคาดการณ์หรือการรู้อนาคต เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่
ให้ความสำคัญ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดี
ที่สุดสำหรับตนเองหรือองค์กร หรืออาจเป็นการคาดการณ์
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น คาดการณ์ว่าฝนจะตก
หรือไม่ จะได้นำร่มติดตัวไปด้วย
การวิเคราะห์เชิงทำนาย
ศึกษาด้วยตนเอง
ศึกษาหัวข้อที่ 3.2 การวิเคราะห์เชิงทำนายและหัวข้อย่อย 3.2.1 การ
ทำนายเชิงตัวเลข ในหนังสือเรียนหน้า 89 - 97
ใบกิจกรรม
ยอดวิว
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.จับคู่กับเพื่อน ทำใบกิจกรรมที่ 7.1 ยอดวิว
2.ตัวแทนนักเรียนเสนอคำตอบและเปรียบเทียบคำตอบกับคู่อื่นว่าเหมือน
หรือต่างกันอย่างไร
ใบกิจกรรม
คำทำนายใครแม่น
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.ผู้เรียนคู่เดิมกับใบกิจกรรมที่แล้ว ทำใบกิจกรรมที่ 7.2 คำ
ทำนายใครแม่น
2.อภิปรายข้อดีข้อเสียของการทำนายค่าจากเส้นแนวโน้ม
โดยใช้กราฟ สมการเชิงเส้น โปรแกรมสำเร็จรูปหรือการ
เขียนโปรแกรมภาษา
ชวนคิด
นักเรียนคิดว่า ราคาทองคำ สามารถทำนายได้หรือไม่ หากมีชุดข้อมูลราคา
ทองคำ และจะต้องจัดเตรียมไฟล์อย่างไร จึงจะสามารถทำนายได้ว่า เดือน
ที่เราเกิดในปีหน้าราคาทองคำจะเป็นเท่าไร
ใบกิจกรรม
รู้แล้วรวย
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.ผู้เรียนแต่ละคนทำใบกิจกรรมที่ 7.3 รู้แล้วรวย
2.เขียนสรุปเรื่องราวและผลลัพธ์ของข้อมูลลงใน Padlet
3. ร่วมกันอ่านเรื่องราวของเพื่อนและแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก
สรุป
การทำนายข้อมูลเชิงตัวเลข เป็นการใช้ข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์หาแนวโน้มเพื่อ
ทำนายอนาคตซึ่งผลลัพธ์ของการทำนายจะอยู่ในรูปตัวเลข
กิจกรรมที่ 8 การทำนายเชิงหมวดหมู่ (ชั่วโมงที่ 23 – 26)
สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของการทำนายเชิงหมวดหมู่
2.การทำนายโดยใช้ K-NN เพื่อจัดกลุ่มข้อมูล
3. การประเมินความถูกต้องในการจัดกลุ่มข้อมูล
จุดประสงค์
ให้ผู้เรียนสามารถ
1.อธิบายหลักการทำนายเชิงหมวดหมู่ด้วยวิธี K-NN
2. ประเมินความถูกต้องในการจัดกลุ่มข้อมูล
ชวนคิด
นักเรียนฟังเพลงสากลหรือไม่และชอบฟังเพลงสากล
ประเภทใด และนักเรียนคิดว่า หากมีเพลงใหม่เข้าสู่ตลาด
นักเรียนจำแนกได้อย่างไรว่าเพลงนั้นเป็นเพลงประเภทใด
ใบกิจกรรม
ชีวิตฉันคล้ายใคร
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม 8 คน ทำใบกิจกรรมที่ 8.1 ชีวิตฉันคล้ายใคร
2. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอกราฟเรดาร์ของตัวเองและให้เปรียบ
เทียบกับเพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ศึกษาด้วยตนเอง
ศึกษาหัวข้อที่ 3.2.2 การทำนายเชิงหมวดหมู่ในหนังสือ
เรียน หน้า 98 - 105
ใบกิจกรรม
ตัวนี้ พวกไหนดี
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.จับคู่กับเพื่อน ทำใบกิจกรรมที่ 8.2 ตัวนี้ พวกไหนดี โดยใช้ขั้นตอนวิธีของ
K-NN ตามหนังสือเรียน
2. เปรียบเทียบคำตอบของคู่ตัวเองกับคู่ของเพื่อนว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร
ใบกิจกรรม
K ใคร แม่นกว่ากัน
ให้นักเรียนดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.เลือกค่า K ที่นักเรียนต้องการ พร้อมจับกลุ่มกับเพื่อนที่เลือกค่า K ค่า
เดียวกัน
2.ผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันทำใบกิจกรรมที่ 8.3 K ใคร แม่นกว่ากัน แล้วทำการ
เปรียบเทียบกับเพื่อนกลุ่มอื่นว่าค่า K ใด เหมาะสมที่สุด
แบบทดสอบท้ายบทที่ 3
การวิเคราะห์ข้อมูล
เข้าเว็บเพื่อทำแบบทดสอบ
oho.ipst.ac.th/m5/1800
สรุปการวิเคราะห์ข้อมูล
10/08/64