The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือให้ความรู้เกี่ยวประเพณีวัฒนธรรม คำศัพท์พื้นฐานและแบบฝึกหัด ชาวมอญบ้านพระเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Watcharapon Chringsanthia, 2022-08-15 00:07:24

ประเพณีวัฒนธรรม คำศัพท์พื้นฐานและแบบฝึกหัด ชาวมอญบ้านพระเพลิง

หนังสือให้ความรู้เกี่ยวประเพณีวัฒนธรรม คำศัพท์พื้นฐานและแบบฝึกหัด ชาวมอญบ้านพระเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Keywords: ประเพณีวัฒนธรรม,คำศัพท์

ชุ ม ช น ช า ว ม อ ญ บ้ า น พ ร ะ เ พ ลิ ง

ป ร ะ เ พ ณี

ป ร ะ เ พ ณี 1 2 เ ดื อ น

จากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีของชาวมอญบ้านพระเพลิง ต.นกออก อ.ปักธงชัย
จ.นครราชสีมาพบว่า ชาวบ้านดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย พึ่งพิงธรรมชาติ ยึดมั่นในศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี หากพิจารณาเกี่ยวกับประเพณีของชาวมอญที่ปฏิบัติสืบต่อ
กันมาพบว่าชาวมอญมีประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของคนมอญหลายประเพณี ซึ่งในประเพณี 12 เดือน ของ
คนมอญปรากฏประเพณีทั้งหมด 9 ประเพณี ส่วนในอีก 3 เดือนได้แก่ เดือน5 เดือน7และเดือน12 ไม่ปรากฏ
ประเพณีใดในวัฒนธรรมของชาวมอญ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย

1

ป ร ะ เ พ ณี ตำ ข้ า ว เ ม่ า

2

ป ร ะ เ พ ณี ว า น ( ล ง แ ข ก เ กี่ ย ว ข้ า ว )

3

ป ร ะ เ พ ณี วั น ม า ฆ บู ช า

4

ป ร ะ เ พ ณี สั ง ก ร า น ต์ แ ล ะ ป ร ะ เ พ ณี ตั ก บ า ร ต สั ง กุ ด

5

ป ร ะ เ พ ณี ทำ บุ ญ บ้ า น แ ล ะ ป ร ะ เ พ ณี แ ห่ น า ง แ ม ว

6

ป ร ะ เ พ ณี เ ข้ า พ ร ร ษ า แ ล ะ ป ร ะ เ พ ณี เ ท ศ น์ ซุ ม

7

ป ร ะ เ พ ณี เ ลี้ ย ง เ จ้ า น า ( ผี )

8

ป ร ะ เ พ ณี ส า ร ท

9

ป ร ะ เ พ ณี อ อ ก พ ร ร ษ า แ ล ะ บุ ญ เ ท ศ น์ ม ห า ช า ติ

ป ร ะ เ พ ณี ตำ ข้ า ว เ ม่ า
จั ด ขึ้ น ใ น เ ดื อ น ที่ 1 เ ดื อ น อ้ า ย

ที่มาของประเพณี วิธีการปฏิบัติ

ในช่วงเดือนนี้จะเป็นช่วงหลัง นำเมล็ดไปคั่ว แล้วตำให้เปลือก
จากที่ชาวบ้านปลูกข้าวมาได้ระยะ กะเทาะออกจากเมล็ดข้าว จากนั้นนำไป
หนึ่ง ในระยะที่ข้าวออกรวง ใกล้ฤดู ฝัดด้วยกระด้ง (ในส่วนนี้หนุ่มสาวได้ช่วย
เก็บเกี่ยว หลังจากที่เกี่ยวเสร็จจะนำ ฝัดข้าวและได้พบปะเล่นกันอย่างมีความ
ข้าวไปฟาดให้เหลือแต่เมล็ดนำไปคั่ว สุข) นำคัดแกลบ รำ และปลายข้าวออก
แล้วชาวบ้านจะนำไปตำเป็นข้าวเม่า จนเมล็ดข้าวใสแล้วนำมารับประทานได้
สามารถใช้ได้ทั้งข้าวเจ้าและข้าว ซึ่งข้าวเม่าสามารถนำมาทำขนมได้อย่าง
เหนียว เพื่อนำไปใส่บาตร และยังเป็น หลากหลาย เช่น ข้าวเม่าคลุกมะพร้าว
สาเหตุที่เปิดโอกาสให้หนุ่ม สาวได้ จะเป็นข้าวเม่าที่ได้จากข้าวเหนียว มี
พบปะกัน ลักษณะสีเขียว นำข้าวเม่ามาพรมน้ำอุ่น
ผสมเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าวทึนทึก
การสืบทอดประเพณี ขูดและน้ำตาล

ประเพณีตำข้าวเม่าในปัจจุบันไม่ เมื่อทำข้าวเม่าเสร็จแล้วในเช้าวัน
ได้มีการปฏิบัติและสืบทอด ถัดไป ชาวบ้านจะไปวัดทำบุญตักบาตร
และนำข้าวของไปใส่บาตร รวมถึงนำ
ข้าวเม่าไปใส่บาตร เพื่อให้บรรพบุรุษได้
ทานด้วย ทำให้เห็นว่าคนมอญยึดมั่นใน
พุทธศาสนาและมีความกตัญญูกตวทีต่อ
บรรพบุรุษ

ภ า พ ข้ า ว เ ม่ า
ที่ ม า : แ ป้ ง ต ร า ช้ า ง ส า ม เ ศี ย ร ( 1 สิ ง ห า ค ม 2 5 6 0 ) .
HTTPS://WWW.FACEBOOK.COM/ERAWANBRAND/?__TN__=-UC*F

ภ า พ ล ง แ ข ก น ว ด ข้ า ว
ที่ ม า : ธ ร ร ม รั ต น์ ส วั ส ดิ ชั ย . ( 3 กั น ย า ย น 2 5 5 7 ) .
HTTP://INDUSTRY.CO.TH/T1/KNOWLEDGE_DETAIL.PHP?ID=2111&UID=43816

ประเพณีวาน (ลงแขกเกี่ยวข้าว) จัดขึ้นในเดือนที่ 2 เดือนยี่

(ระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์)

1. หึ่งเล่นกันเป็นทีม (หึ่งโยน) เล่นทีมละ
3 คน โดยการเป่ายิงฉุบกัน ทีมไหนชนะจะเป็น
ที่มาของประเพณี
ประเพณีวานหรือลงแขกเกี่ยวข้าวจะ ฝ่ายตีก่อน
จัดขึ้นในช่วงเวลาที่ชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าว วิธีการเล่น มือจะจับลูกอันเล็ก (ทำมาจาก
เบา ซึ่งจะมีการวาน (การลงแรง ยืมแรงกัน) ไม้ไผ่หรือไม้กิ่งเล็กที่แข็งแรง) และถือไม้ยาวเพื่อที่
มาช่วยเก็บข้าว หาบข้าว หรือตีข้าว คล้าย จะตี การตีมี 2 แบบ คือแบบเดาะและแบบโยน
ๆ กับประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ฝ่ายที่ชนะจะโยนลูกเพื่อตี เมื่อตีไปตกตรงไหน คน
ที่ 2 ก็ไปจับเพื่อตีต่อ (อีกฝ่ายต้องตามไปดูด้วย
อาจจะมีการโกงเกิดขึ้น คือ ขยับลูกออกไปไกล
วิธีการปฏิบัติ
เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวบ้านไหนจะเก็บข้าว กว่าที่ที่ตีตก) ตีไปเรื่อย ๆ จนครบ 3 คน ฝ่ายแพ้
ก็จะมีการวานกันมาช่วยในบ้านนั้น ๆ ซึ่ง จะต้องร้องหึ่งกลับตั้งแต่ปลายทางที่ถึง ไปยังจุด
ส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงจะทำ เริ่ม ถ้าร้องไม่ถึงจะแพ้และต้องถูกลงโทษ
กับข้าว และหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ 2.หึ่งแบบเดี่ยวต่อเดี่ยว
จะมีการละเล่น คือ หึ่ง ส่วนมากเด็กกับ วิธีการเล่น จะมีบ้องตั้งขึ้นเป็นหลุม นำลูก
หนุ่มๆจะเล่นตามทุ่งนา จะมี 3 แบบ คือ เล็ก ๆ ตั้งไว้บนบ้อง คนที่ชนะจะเริ่มตีก่อน คือ ตี
บนหัวบ้องให้ลูกกระดกขึ้นมา แล้วฟาดออกไป ตก
การสืบทอดประเพณี ตรงไหน คนที่แพ้ต้องหึ่งจากจุดที่ลูกตกกลับมายัง
ประเพณีวาน ในปัจจุบันไม่มีการ จุดเริ่มต้นคืน ถ้าหึ่งไม่ถึงก็จะมีการลงโทษ

ปฏิบัติแบะสืบทอด เนื่องจากมีดารใช้รถ 3. หึ่งต่อไม้ คล้ายๆแบบที่ 1 แต่จะโยนเฉย
เกี่ยวข้าว กรือสิ่งต่าง ๆ เข้ามาช่วย และจะ ๆ ตีทางตูดลูก ให้ไกลพ้นไม้ ถ้าตีไม่พ้นไม้จะได้หึ่ง
เป็นการจ้างกันเป็นส่วนใหญ่ ใกล้ๆ ถ้าแพ้ก็จะมีการลงโทษ

วันมาฆบูชา
ขึ้น 15 เดือน 3

ที่มาของประเพณี

หลักคิดในการเกิดประเพณีวันมาฆบูชา เกิดขึ้นตามธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน
โดยทั่วไป กล่าวคือ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 9 เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่
ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน
วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน 3 ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มา
ประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 4
ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต

จาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่
เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ 1. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มา
ประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย 2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น
"เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 3. พระภิกษุ
สงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆ องค์ 4. เป็นวันที่
พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ (วันมาฆบูชา, 2564, ออนไลน์)

วิธีการปฏิบัติ

ธรรมเนียมการปฏิบัติของชาวมอญบ้านพระเพลิงนั้น ในช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร ฟัง
เทศน์ที่วัด ในช่วงกลางคืนชาวบ้านบ้านพระเพลิง จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อทำพิธี
เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม 3 จบ จากนั้นกล่าว
คำถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดินเวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ 3 รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัดเตรียมไว้
เป็นอันเสร็จพิธี

การสื บทอดประเพณี

ประเพณีวันมาฆบูชายังมีการปฏิบัติและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ป ร ะ เ พ ณี
ตั ก บ า ต ร สั ง กุ ด

ประเพณีตักบาตรสังกุด จัดขึ้นในช่วงก่อนวันสงกรานต์ 3 วัน คือวันที่ 10 - 12 เมษายน
(บางท่านกล่าวว่าสามารถทำได้เรื่อย ๆ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมจนกว่าจะถึงวันสงกรานต์)

ที่มาE:P.วิถ2ีค2.น(ม1อ4ญเม. วษันราำสยโนงทกน2ร5ามน6อ4ตญ์)ป.พีใHรหTะม่เTไพPทลSิยง:/รถ/ำWวโาทWยนพWมรอ.ะYญคOรพUูทรัTกะUเษพิBณลEิง.รCาถOมวัMญาย/Wพ(หรAละTวคCงรปูHูท่ัฉ?กิมVษ=)ิณ8BรBาGมัDญW(หCลVว3ง-ปู่ฉิม)

ที่มาของประเพณี

เป็นประเพณีที่เล่นกันก่อนวันสงกรานต์เป็นประจำทุกปี

การสืบทอดประเพณี

ประเพณีสังกุดในปัจจุบันมีเพียงการทำบุญตักบาตร
ขนมจีน ขนมห่อ (ขนมไส่ใส้) ขนมพับไปวัดเท่านั้น ในส่วน
ของการละเล่นต่าง ๆ ไม่มีการสืบทอด

วิธีการปฏิบัติ
ช่วงเช้า จะมีการทำบุญตักบาตร โดยทำขนมจีน

ขนมห่อ (ขนมไส่ใส้) ขนมพับ (ลักษณะคล้ายคลึงกับ
ขนมเทียนไส้เค็ม ขนมนมสาว)ไปที่วัด ซึ่งสมัยก่อนผู้สูง
อายุนิยมรับประทานอาหารที่วัด เมื่อเสร็จพิธีทางสงฆ์
ชาวบ้านหนุ่มสาว โดยเฉพาะสาว ๆ จะถือโทนมาเล่นตี
โทนกันเพื่อเข้าแม่สี (เข้าทรง) มีวิธีการเล่น ดังนี้

ผู้เล่นแม่สี จะเป็นใครก็ได้ตามความสมัครใจ โดย
การเล่นแต่ละครั้งจะเล่น2-4 คน ผู้เล่นจะนั่งเป็น
วงกลม นำกรวยดอกไม้ขันธ์ 5 ไว้กลางวง ใช้ผ้าขาวม้า
หรือผ้าขาวคลุมหัว และมีคนตีโทนเพื่อกล่อมไปเรื่อย ๆ
จากนั้นผู้เล่นจะมีอาการของคนที่โดนเข้า ตัวสั่น แล้ว
คนข้างนอกจะจับหัวสั่น สักพักผู้ทรงจะลุกขึ้นรำและดึง
มือคนอื่น ๆ มาร่วมรำด้วย การรำ จะรำด้วยความ
เพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เป็นตัวของตัวเอง (มีลักษณะ
ที่ครึ่งๆ คือ รู้สึกตัวและเคลิ้ม) เมื่อออกจากการเข้าทรง
จะนั่งและล้มลง ชาวบ้านหรือบุคคลอื่น ๆ ก็จะต้องมา
เดินข้าม แล้วนำน้ำมนต์มาราดหัว เพื่อเป็นการทำให้ผี
หรือของที่เข้าเสื่อมลง ไม่กลับมายังตัวผู้ที่ถูกทรงอีก
และการรดน้ำมนต์เพื่อเรียกขวัญผู้ที่โดนเข้าทรงกลับ
มาอยู่กับตัวเอง ให้มีสภาวะร่างกาย จิตใจปกติเหมือน
เดิม

ช่วงหลังเที่ยง จะเล่นสะบ้า ม้าหลังแดงและตี่เต้ย

บ า ร์ เ ซ โ ล น า | 0 3

ช่วงบ่าย จะมีการขนทรายเข้าวัด โดยเด็กวัดและเณรจะถือโหม่ง นำ
ไปตี แล้วพูดว่า “ขนทรายเด้อ” 3 ครั้ง เพื่อเชิญชวนชาวบ้านมาช่วยกัน
ขนดินทรายเข้าวัด สาเหตุที่มีการขนทรายเข้าวัด เพราะที่วัดจะมีการสร้าง
ศาสนสถาน หรือ ถาวรวัตถุต่าง ๆ แต่ขาดแคลนทรายที่เป็นวัสดุส่วนหนึ่ง
ของการก่อสร้าง โดยในยุคก่อนวัสดุก่อสร้างไม่ได้มีการจัดหาจัดซื้อได้โดย
ง่าย การขนทรายเข้าวัดจึงเป็นกุศโลบายหนึ่งที่จะช่วยให้ทางวัดมีวัสดุเพื่อ
ที่จะก่อสร้างศาสนสถานภายในวัดในทุก ๆ ปี และอีกนัยหนึ่ง การที่ชาว
บ้านต้องขนดินทรายเข้าวัด เพราะ มีความเชื่อว่าได้เหยียบดินที่วัดออกไป
จึงต้องนำทรายมาทดแทนปีละครั้ง (ชาวบ้านมอญจะมีสะพานยาวไปถึง
บ้านโคก เป็นเส้นทางที่ใช้ขนทราย) และมีการก่อพระทรายเอาดอกไม้มา
ตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยในช่วงเวลาเช้าพระสงฆ์ก็จะน้ำมนต์มารดก
องพระทรายเพื่อความเป็นสิริมงคล

ภาพที่ 4.1 เขื่อน (รั้ว)
ที่มา: ภาพถ่ายเมื่อ 27 เมษายน 2565

ช่วงเย็น เป็นช่วงเวลาที่หนุ่มสาวจะได้งพบปะพูดคุยกัน จะมีหนุ่ม ๆ มาจากบ้านอื่น ส่วน
สาว ๆ จะกลับเข้าบ้าน หนุ่ม ๆ จะมานั่งตามเขื่อน (เขื่อน ในที่นี้หมายถึง รั้ว) ดังภาพ
เพื่อรอสาว ๆ กลับบ้านไปเอาถังกลับมาหาบน้ำที่วัด เพื่อไปใช้อุปโภค บริโภค หนุ่มที่มานั่งรอ
ตามเขื่อนก็จะมาจีบสาวและสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งความน่ารักของการละเล่นนี้คือ จะมี
พระ เณรมาร่วมเล่นด้วย เณรจะโดนสาว ๆ มัดไว้ตามต้นไม้ (เชือกจากถังตักน้ำ) และจะต้องให้
พระ หรือญาติของเณรนำของมาแลกถึงจะปล่อยตัวเณรที่ถูกมัดไป (จะมีการสาดน้ำเฉพาะช่วง
เย็นเท่านั้น) เมื่อเล่นน้ำเสร็จ สาว ๆ จะชวนหนุ่มต่างบ้านไปรับประทานอาหารที่บ้าน สาว ๆ จะ
นำกับข้าวมารวมกันที่บ้านคนใดคนหนึ่งเพื่อเลี้ยงผู้ชายต่างบ้านที่ชวนไป

ช่วงค่ำ ชาวบ้านจะพากันเล่นอีหมุน อีแป๊ะ (การเล่นหัวก้อยในปัจจุบัน) วิธีการเล่น คือ จะ
นำเหรียญมาหมุน ถ้าเป็นรูปกษัตริย์ กะเรียกว่า “โก้” อีกฝั่งจะเรียก “ก้อย” ใครทายถูกก็จะได้
ของ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ถ้าทายผิดก็จะเสียของ อยู่ที่ว่าจะพนันหรือข้อตกลงอะไรไว้ ถ้าไม่มี
ของก็อาจทำโทษ เช่นตี หรือ นำขี้เถ้ามาทาหน้า ประมาณไม่เกิน 3 ทุ่มก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน
ไม่ได้นอนค้าง

ประเพณีสังกรานต์
(สงกรานต์)
ที่มาของประเพณี วิธีการปฏิบัติ
ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันสงกรานต์ของชาว
สงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้น
ภายในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้ มอญบ้านพระเพลิง วันแรกทำเหมือนวันสังกุดทุก
เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้มีการ ประการ กล่าวคือ ช่วงเช้า จะมีการทำบุญตักบาตร
เปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็น โดยทำขนมจีน ขนมห่อ (ขนมไส่ใส้) ขนมพับ
เทศกาลสงกรานต์ โดยได้ขยายออกไปสู่ (ลักษณะคล้ายคลึงกับขนมเทียนไส้เค็ม ขนม
สังคมเป็นวงกว้างมากขึ้น และมีแนวโน้ม นมสาว)ไปที่วัด ซึ่งสมัยก่อนผู้สูงอายุนิยมรับประทาน
ที่จะเปลี่ยนทัศนคติ ตลอดจนความเชื่อ อาหารที่วัด เมื่อเสร็จพิธีทางสงฆ์ ชาวบ้านหนุ่มสาว
ไป แต่เดิมในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็น โดยเฉพาะสาว ๆ จะถือโทนมาเล่นตีโทนกันเพื่อเข้า
สัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แม่สี (เข้าทรง) ช่วงหลังเที่ยงจะเล่นสะบ้า ม้าหลัง
แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วง แดงและตี่เต้ย ช่วงบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด ช่วง
เวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ เย็นเป็นช่วงเวลาที่หนุ่มสาวจะได้พบปะพูดคุยกันมี
ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่ม การเล่นสาดน้ำ และช่วงค่ำจะเล่นอีหมุนอีแป๊ะ (การ
ชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึก เล่นหัวก้อยในปัจจุบัน) ส่วนวันที่ 19 เมษายน (นับ
และกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมา ต่อจากวันแรก 7 วัน) จะมีการลดน้ำพระสงฆ์และ
ในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณี พระพุทธรูปเท่านั้น โดยการรดน้ำจะรดทั้งตัว องค์
กลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่า สุดท้ายจะโดนหนักสุด ประหนึ่งว่าเป็นการขอขมา
วันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมี และการละเล่นสงกรานต์ ทั้งฆารวาสและพระสงฆ์มี
ประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การร่วมสนุกสนานด้วยกัน ซึ่งทำให้เห็นว่าชาวมอญ
การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริ บ้านพระเพลิงมีความใกล้ชิด ศรัทธาในพระพุทธ
มงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มี ศาสนาเป็นอย่างมาก ซึ่งหากหนุ่มสาวยังสนุกกับการ
ความสุข (วันสงกรานต์, 2564, ออนไลน์) ละเล่นสงกรานต์ก็จะมีการเล่นต่อไปเรื่อย ๆ
ประมาณ 3-5 วัน

การสืบทอดประเพณี

ประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบัน จะมีการสืบทอดเฉพาะการทำบุญ เข้าวัด และจะมี
เพิ่มเติมในส่วนของการรำโทน ซึ่งเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นใหม่ รำเพื่อถวายหลวงปู่ฉิม ให้ชีวิต

อยู่เย็นเป็นสุข เป็นสิริมงคล ส่วนการละเล่นอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่มีการสืบทอดแล้ว

คุ ณ จ ะ ปิ ด เ ป็ น ค ว า ม ลั บ ไ ด้ ไ ห ม

ประเพณี
ทำบุญบ้าน

และ
ประเพณี
แห่นางแมว

จั ด ขึ้ น ใ น เ ดื อ น ที่ 6




(ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน)

ประเพณีทำบุญบ้าน

ที่มาของประเพณี

ประเพณีทำบุญบ้านเป็นประเพณีที่สืบทอดจากบรรพบุรุษจน
มาถึงปัจจุบัน แม้จะมีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่อำเภอ
ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านมอญบ้านพระเพลิงก็ยัง
ยึดถือประเพณีทำบุญบ้านมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากชาวบ้านเชื่อ
ว่าการได้ทำประเพณีบุญบ้านถือเป็นการระลึกถึงผีบรรพบุรุษการ
แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษโดยการเอาใจผีคือการเลี้ยง
ดูขับกล่อมด้วยดนตรีจะทำให้ผีบรรพบุรุษพึงพอใจ และช่วยปกปัก
รักษาและดลบันดาลให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขทุก ๆ ปี

วิธีการปฎิบัติ

ช่วงเช้า ชาวบ้านจัดเตรียมขนม ของหวาน ไก่ 1 คู่ หัวหมู 1 คู่ ใส่ถ้วยไป
วางไว้บริเวณหน้าศาลตาปู่ สิ่งที่สำคัญคือ เหล้า 1 คู่ บุหรี่มวนด้วยใบตองซึ่ง
จากที่ผู้วิจัยได้มีส่วนในการเข้าร่วมประเพณีเลี้ยงตาปู่ พบว่าชาวบ้านใช้บุหรี่ที่มี
ขายตามท้องตลาดในปัจจุบันและพบว่าชาวบ้านทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการ
เลี้ยงตาปู่ “ ปู่จอมทอง ย่าละอองสำลี” โดยการนำอาหารใส่ตะกร้ามาช่วยกัน
เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเอง ดังภาพ

ภ า พ ช า ว บ้ า น ทุ ก ค น ถื อ ต ะ ก ร้า เ พื่ อ ม า ร่ว ม เ ลี้ ย ง ต า ปู่ ทำ บุ ญ บ้ า น แ ล ะ อ า ห า ร เ ค รื่ อ ง เ ซ่ น ไ ห ว้
พ่ อ ใ ห ญ่ จ อ ม ท อ ง แ ม่ ล ะ อ อ ง สำ ลี
ที่ ม า : ภ า พ ถ่ า ย เ มื่ อ 6 พ ฤ ษ ภ า ค ม 2 5 6 5

ในการเลี้ยงตาปู่เริ่มแรกผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ใหญ่บ้านจุดธูป 5 ดอก
แล้วบอกกล่าวดังนี้

“ วันนี้เป็นวันที่ 6 เดือน 6 ลูกหลานชาวบ้านพระเพลิงมา
เลี้ยงปู่เหมือนทุก ๆ ปี ปีนี้ได้ร่วมกันอีก1 ปี มีของเส้นไหว้
ดังนี้ ขนมหวานโบราณ เหล้า บุหรี่ ก็ขอให้ชาวบ้านพระ
เพลิงที่นำของเส้นไหว้มาวันนี้ให้อยู่เย็นเป็นสุข สนุกสบาย
ฝนฟ้าไห้ตกต้องตามฤดูกาลขอแต่ฝนเรื่องลมก็ให้ตาปู่จงปัด ( นายสมโภช สังสระน้อย,

เป่าอย่าให้มีภยันอันตรายกับหมู่บ้านของชาวมอญ” สัมภาษณ์, 6 พฤษภาคม 2565 )

หลังจาการบอกกกล่าวปู่ตาแล้วก็เป็นการเข้าทรงเพื่อถามไถ่ทำนายความเป็น
ไปของชุมชน ขณะเข้าทรงผู้ทรงจะมีการดื่ม กินเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งพบว่าชาว
มอญมีการดื่มจริงๆกินเหล้าจริง ๆ โดยในการดื่มกินเครื่องเซ่นหมู่บ้านอื่นอาจ
จะใช้เพียงการดมแทนการดื่มกินจริง ๆ หลังจากนั้นมีการละเล่นโดยการรำ
ตามจังหวะของการตีโทนจนเสร็จพิธีดังภาพ

ในช่วงเย็นชาวบ้านหรือผู้นำชุมชนจะนิมนต์พระสงฆ์สวดตามคุ้ม เรียกว่า สวดมนต์
เย็น ในหมู่บ้านจะมีสายสิญจน์พันไว้รอบหมู่บ้านและทุกบ้านจะนำสายสิญจน์ไปมัดโยงมาที่
บ้านของตนเอง ก่อนเริ่มพิธีกรรมชาวบ้านจะนำน้ำใส่ถังมาจากบ้านของตนเพื่อร่วมพิธีกรรม
ในขณะที่พระสวดมนต์เย็นก็จะทำน้ำมนต์ลงไปที่ถังของแต่ละคนที่นำมาร่วมพิธีดังรูปภาพ
หลังจากเสร็จพิธีชาวบ้านจะนำน้ำมนต์ที่ได้ไปรดบ้านตัวเอง ล้างหน้า อาบน้ำเพื่อความเป็น
สิริมงคลของตน เช้าวันรุ่งขึ้นชาวบ้านก็จะไปวัด ทำบุญตักบาตร

นอกจากการทำบุญบ้านคือการเลี้ยงตาปู่แล้วชาวมอญบ้านพระเพลิงยังมีการเลี้ยงเจ้า
วัด (เจ้าที่ของวัดหลวงปู่หงส์-ย่าเทียม) ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษที่มีความสำคัญคือเป็นผู้ที่มีจิต
ศรัทธาถวายที่ดินของตนให้เป็นที่ของวัดชาวบ้านก็ระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษจึงมีการ
เลี้ยงเจ้าที่วัดเกิดขึ้น เครื่องเซ่นไหว้ในการเลี้ยงประกอบด้วย ของหวาน ไก่ หัวหมู ใส่ถ้วยไป
วางไว้ สิ่งที่สำคัญสุรา (เหล้า 40) บุหรี่มวนใบตอง เหมือนกับการเลี้ยงตาปู่ แต่เน้นที่ผลไม้
ตามฤดูกาล

สะท้อนให้เห็นว่านอกจากชาวมอญบ้านพระเพลิงนับถือพระพุทธศาสนา และยังมีการ
นับถือผีบรรพบุรุษอีกด้วย ซึ่งเห็นได้จากมีการเลี้ยงเจ้าวัดที่เป็นผู้ที่มีจิตศรัทธาถวายที่ดินของ
ตนให้เป็นที่ของวัด แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านมีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ คือ “ผีบรรพบุรุษ” เชื่อ
ว่าผีบรรพบุรุษสามารถปกป้องรักษา คุ้มครองลูกหลานและคนในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ยัง
แสดงถึงความเคารพ สำนึกในบุญคุณของผีบรรพบุรุษอีกด้วย

ป ร ะ เ พ ณี แ ห่ น า ง แ ม ว

( ทำ ห ลั ง จ า ก ทำ บุ ญ ก ล า ง บ้ า น )

ที่มาของประเพณี
แห่นางแมวของคนมอญบ้านพระเพลิงประเพณีนี้ไม่ได้มีเกิดขึ้นในวิถีของคน

มอญ แต่เนื่องด้วยชาวมอญบ้านพระเพลิงเป็นชุมชนที่แวดล้อมด้วยชุมชนคนโคราช
ดังนั้นจึงเกิดการรับวัฒนธรรมของคนส่วนมากนั่นก็คือวัฒนธรรมของโคราชเข้ามา
ในวัฒนธรรมของตน จึงเกิดประเพณีแห่นางแมวขึ้นเพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล
วิธีการปฏิบัติ

เนื่องจากที่วัดจะมีแมวเป็นจำนวนมาก คนที่ทำจึงจะเป็นเด็กวัดและเณร
เป็นส่วนมาก โดยเริ่มจากนำแมวมาใส่ชะลอม มีคนหามซึ่งคนที่หามมี 2 คนและมี
คนกลางร่มให้แมว 1 คน และเณรจะเป็นผู้ตีโหม่งนำหน้าขบวน ถ้าขบวนแห่นาง
แมวถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องสาดน้ำใส่แมว แล้วพูดว่า “ฝนเทลงมา” โดยจะ
แห่รอบหมู่บ้าน เด็ก ๆ ก็จะวิ่งตามการแห่นางแมวและร่วมสาดน้ำกันสนุกสนาน
(ส่วนมากจะเป็นเด็กผู้ชาย) ในการแห่นางแมวจะมีการร้องเล่น ซึ่งจะใช้ภาษา
โคราชในการร้อง มีเนื้อร้อง ดังนี้

“นางแมวเอย ร้องแกว ๆ ขอเป็ดขอไก่ ร้องไม่ได้ขอให้ขอฝน ขอน้ำมนต์รด
แมวข้าที แมวข้านี่มีแก้วในตา ขึ้นหลังคาลงมาไม่ได้ พอลงมาได้คาบไก่วิ่งหนี
พอถึงเดือนหกฝนตกทุกที แต่มาปีนี้ไม่มีฝนเลย พ่อเฒ่าลูกเขยนอยเกยหน้า
ผาก ลูกมากหลานมากก็กลัวอดข้าว วันศุกร์วันเสาร์มาแห่นางแมว ฝนเทลง
มา ร้องรับว่า ฝนเทลงมา ”

(ปรัชญานันท์ วงศ์อารียะ, สั มภาษณ์, 27 เมษายน 2565 )

การสืบทอดประเพณี
ประเพณีเลี้ยงตาปู่ ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประเพณีเลี้ยงเจ้าวัด ทั้ง 3

ประเพณียังคงมีการสืบทอดและปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนประเพณีแห่นางแมว
ไม่ได้มีการสืบทอด

ประเพณีเข้าพรรษา

และ ประเพณีเทศน์ซุม

จั ด ขึ้ น ใ น วั น แ ร ม 1 ค่ำ เ ดื อ น 8

ป ร ะ เ พ ณี เ ข้ า พ ร ร ษ า

ที่มาของประเพณี
หลักคิดในการเกิดประเพณีวันเข้าพรรษา เกิดขึ้นตามธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดย

ทั่วไปกล่าวคือ ในอดีตสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดการจำพรรษาในวันเข้าพรรษาไว้ พระ
สงฆ์ผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้เหยียบย่ำพืชผลชาวบ้านที่ปลูกไว้ในฤดูฝน สัตว์น้อยใหญ่ที่ออก
หากินบนผิวดินถูกเหยียบย่ำ ชาวบ้านได้รับความเสียหาย เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงเกิดการ
บัญญัติเรื่องวันเข้าพรรษาไว้ให้ภิกษุจำพรรษาอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลา 3 เดือน ตามประวัติบันทึกไว้
ประเพณีวันเข้าพรรษามีระบุไว้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เกี่ยวกับการทำบุญวันเข้าพรรษาของพระมหากษัตริย์
และประชาชน เกี่ยวกับการถวายผ้าอาบน้ำฝนและถวายเทียนพรรษา ในวันเข้าพรรษาที่มักตรงกับฤดู
การเกษตรนี้ชาวบ้านจะปลูกพืชผล และภิกษุสงฆ์จะจำวัดเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตามคำสอนของ
พระพุทธเจ้า ส่วนพุทธศาสนิกชนก็ร่วมบำเพ็ญกุศล ตักบาตร ถวายเทียนพรรษา รักษาศีล โดยความ
สำคัญของวันเข้าพรรษามี 5 ข้อ 1 พืชผลที่ชาวบ้านปลูกเป็นต้นกล้า จะได้เติบโตแข็งแรงไม่ถูกทำลาย
จากกรณีกิจของพระสงฆ์ที่ต้องเดินทางรับกิจนิมนต์ 2 ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อนจากการเดินทาง
เผยแผ่พระพุทธศาสนา 3 พระภิกษุสงฆ์จะได้ฝึกปฏิบัติธรรมสำหรับตนเองเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรม
4 บวชเรียนบุตรหลานที่ถึงวัยบวช หรือบรรพชา เพื่อเป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 5 เปิด
โอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้บำเพ็ญกุศล ถือศีล เจริญภาวนา ฟังเทศน์ถวายเทียนพรรษา และถวาย
ผ้าอาบน้ำฝน (เข้าพรรษา, 2564, ออนไลน์)

วิธีการปฏิบัติ
ประเพณีเข้าพรรษาชาวบ้านพระเพลิงจะ ร่วมทำเทียนและถวายเทียน
จำนำพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร ทำบุญ
ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา งดเว้นอบายมุข ทำขนมเหมือนสงกรานต์ คือ
ขนมจีน ขนมห่อ (ขนมไส่ใส้) ขนมพับ (ลักษณะคล้ายคลึงกับขนมเทียนไส้เค็ม
ขนมนมสาว)

ขนมกล้าเป็นขนมที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวมอญโดยการนำข้าวใบ
อ่อน ๆซึ่งเกิดขึ้นในฤดูนี้ มาตำ แล้วนำน้ำไปกวนใส่แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาล
กวนเสร็จจะเป็นสีเขียวอ่อนๆ ทำเหมือนขนมเปียกปูน) โดยชาวมอญเชื่อ
ว่าการได้ทำขนมกล้าไปถวายพระในช่วงวันเข้าพรรษา มดและแมลงจะไม่มา
กินต้นกล้าของพวกเขาถือว่าเป็นกุศโลบายหรือเป็นภูมิปัญญาหนึ่งที่ให้ชาว
บ้านนำพืชที่อยู่ในบริบทของชุมชนมาใช้ในการถวายพระ สะท้อนความศรัทธา
ที่ชาวมอญมีต่อพุทธศาสนา

ประเพณีเทศน์ซุม (คุ้ม)

( วั น พ ร ะ ที่ ต่ อ จ า ก วั น เ ข้ า พ ร ร ษ า )
ที่มาของประเพณี

ประเพณีเทศน์ซุม หมายถึงประเพณีที่ชาวบ้านพระเพลิงหรือชาวมอญบ้านพระเพลิงจะต้องมา
ทำบุญ ฟังเทศน์ที่วัดโดยผลัดกันมาทำบุญตามซุมหรือตามคุ้มของตนตั้งแต่ช่วงเข้าพรรษาจึงถึงออก
พรรษา

วิธีการปฏิบัติ

ประเพณีการเทศน์ซุมคนที่เป็นเจ้าของหรือคุ้มที่เป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ ในวันพระนั้น ๆ จะต้อง
ช่วยกันทำอาหารพร้อมกัณฑ์เทศน์มาทำบุญที่วัด ซึ่งจากการสัมภาษณ์พบว่า ชาวบ้านมีความเชื่อว่า
ยิ่งมีจำนวนอาหารมากเท่าไหร่ ได้แจกจ่ายให้คนในชุมชนมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการได้อานิสงส์มาก
เท่านั้น สะท้อนให้เห็นถึงความยึดมั่นและมีจิตศรัทธาที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากของ
ชาวมอญบ้านพระเพลิง ซึ่งชาวบ้านถือว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน เห็นได้จากการที่มี
กิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนก็จะมีวัดเป็นส่วนหนึ่งเสมอ และยังแสดงให้เห็นอีกว่าชุมชนชาวมอญบ้าน
พระเพลิง เป็นชุมชนที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีไมตรีจิตที่ดีต่อเพื่อนบ้านและคนในชุมชนใกล้เคียง
เป็นอย่างมาก

การสืบทอดประเพณี

ประเพณีเข้าพรรษา และ ประเพณีเทศน์ซุม ยังมีการสืบทอดและปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ในส่วนของประเพณีเทศน์ซุม การแจกจ่ายขนมเหลือเพียงขนมหวานอย่างเดียวเท่านั้น และการ
แจกจ่ายขนมจำกัดวงลงจากทั้งชุมชนเหลือเพียงเฉพาะญาติหรือคุ้มของตนและคนที่นับถือเท่านั้น
อาจเนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี การแจกจ่ายขนม
จึงลดลงมาก

จัดขึ้นในเดือนที่ 9

ประเพณีเลี้ยงเจ้านา (ผี)

ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม

ที่มาของประเพณี วิธีการปฏิบัติ
ประเพณีเลี้ยงเจ้านา เกิดจาก
ความเชื่อที่ชาวมอญสืบทอดมาจาก ทำเสา 4 เสา สานตะกร้าวางใส่ด้วยของหวาน
บรรพบุรุษที่เชื่อกันว่ามีเจ้าที่รักษา ของคาว ข้าว บุหรี่ใบตอง หมากพลู ไม่มีเหล้า (ไม่ใช่
ไร่นา บ้าน และลูกหลานของตน การเลี้ยง พระแม่โพสพ) จะมีบทสวด คือ ตั้งนะโม 3
การเลี้ยงผีเจ้านาชาวบ้านเชื่อว่าถ้า จบ และชุมนุมเทวดา
เซ่นไหว้เจ้านาแล้ว ข้าวในนาก็ไม่ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัส
ต้องดูแลมาก หมู่สัตว์แมลงต่าง ๆ สะ (3 ครั้ง)
ไม่มีเบียดเบียน นาที่ทำก็ได้ผลเต็ม สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตังนุภาโว
ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะ
การสืบทอดประเพณี ทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิ
ประเพณีเลี้ยงเจ้านา ใน มาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ
ปัจจุบันยังคงมีการสืบทอดและ วัตถุมหิ เขตเต
ปฏิบัติต่อกันมา ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพ
พะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะ
โว เม สุณันตุ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะ
กาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะ
ทันตา และมีการบอกกล่าว ขอบคุณแก่เจ้านา ที่ช่วย
ปกป้องคุ้มครอง ดูแลข้าวให้อุดมสมบูรณ์และได้
ผลผลิตที่ดีในปีนั้น ๆ

จัดขึ้นในเดือน 10 (ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน)

ประเ
พณี
สารท

ที่มาของประเพณี
ประเพณีสารทจากการพูดคุยกับชาวบ้านพระเพลิงเชื่อว่า คำว่า “สารท”
อ่านว่า “สาด” กล่าวว่า มาจากกระบวนการหรือวิธีการที่นำข้าวมาคั่วแล้ว
ข้าวกระเด็นกระดอนกระ สาดกระเซ็นไปทั่วใช้วัตถุดิบหลายอย่าง ใช้คน
เป็นจำนวนมากในการทำ ลักษณะแบบนี้จึงเรียกว่า “สารท”

(ปรัชญานันท์ วงศ์อารียะ,เรไร อุ่นใจ, ชม พันธุ์สระน้อย และ
ประสาน แทนสระน้อย, สัมภาษณ์, 27 เมษายน 2565)

วิธีการปฏิบัติ

การทำข้าวกะยาสารทจัดทำขึ้นที่หน้าวัดในการทำแต่ละครั้งจะใช้คนในเป็น
จำนวนมากโดยมีชาวบ้านในชุมชนหลาย ๆ ครัวเรือนมาช่วยกันทำและในการทำ
แต่ละครั้งต้องทำเป็นจำนวนมาก สาเหตุที่ต้องทำกระยาสารทเป็นจำนวนมาก ถือ
เป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของคนมอญในการถนอมอาหารหรือการเก็บรักษาอาหาร
ไว้กินนาน ๆ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหรือช่วงทำนา โดยลักษณะของข้าวกระยาสารท
ลักษณะของข้าวกะยาสารทในสมัยก่อนจะไม่เหนียวติดกันเพราะสมัยก่อนไม่มีแปะ
แซใส่เฉพาะน้ำตาลเพื่อให้มีรสชาติหวาน เนื้อของกระยาสารทไม่เกาะติดกันเวลา
อัดแน่นในปีบสามารถเก็บไว้กินได้นานตลอดฤดูทำนา แต่ในปัจจุบันมีการเพิ่ม
วัตถุดิบต่างๆ เช่น แปะแซ มะพร้าว ถั่วลิสงคั่ว งาขาวคั่ว บางสูตรอาจจะมีการใส่
กะทิ เพื่อเพิ่มรสชาติความหวานความมันในการรับประทานให้อร่อยมากยิ่งขึ้น แต่
อาจเก็บไว้ได้ไม่นานอาจจะขึ้นราเสียหายรับประทานไม่ได้เหมือนแต่ก่อน จึงนิยม
ทำแต่น้อยๆเพื่อไปทำบุญเท่านั้น

ก า ร สื บ ท อ ด ป ร ะ เ พ ณี

ประเพณีสารทยังมีการสืบทอดและปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่การทำ
กะยาสารทได้เลือนหายไป ปัจจุบันใช้วิธีการซื้อเพื่อความสะดวก และการแจก
จ่ายกะยาสารทลดน้อยลง

ป ร ะ เ พ ณี อ อ ก พ ร ร ษ า แ ล ะ บุ ญ เ ท ศ น์ ม ห า ช า ติ จั ด ขึ้ น ใ น เ ดื อ น ที่ 1 1
( ร ะ ห ว่ า ง เ ดื อ น พ ฤ ศ จิ ก า ย น - ธั น ว า ค ม )

ออกพรรษา
( วั น ขึ้ น 1 5 ค่ำ เ ดื อ น 1 1 )

ที่มาของประเพณี
หลักคิดในการเกิดประเพณีออกพรรษา เกิดขึ้นตามธรรมเนียมปฏิบัติของ

พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป กล่าวคือ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ ในวันออก
พรรษาในพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรม
เทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้น
ดาวดึงส์ วันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3
เดือนในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้ว
อยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษา
แล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ วันออกพรรษา เรียกอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา”
หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือ เปิดโอกาสให้เพื่อนพระ
ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน
(วันออกพรรษา,2558,ออนไลน์)

วิธีการปฏิบัติ
ช่วงเช้า ไปวัดทำบุญ นำขนม ขนมจีน ขนมห่อ (ขนมไส่ใส้) ขนมพับ

(ลักษณะคล้ายคลึงกับขนมเทียนไส้เค็ม ขนมนมสาว) อุบาสก อุบาสิกาที่ไปจำศีล
จะนิมนต์พระสงฆ์ออกจากโบสถ์ เพื่อล้างเท้าพระ ซึ่งจะล้างด้วยน้ำอบ น้ำปรุงใส่
ดอกไม้

ช่วงเย็น พ่อขาวแม่ขาว (อุบาสก-อุบาสิกา) ที่มาปฏิบัติธรรมที่วัดร่วมกัน
เวียนเทียนในอุโบสถ ในการเวียนเทียนผู้ร่วมพิธีนำข้าวสารใส่แก้วตามจำนวนผู้มา
จำศีลที่วัดโดยปักเทียนลงในแก้วพร้อมจุดเทียนแล้วส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ แก้วเทียน
ถึงใครให้ใช้มือปัดจนครบ 3 รอบ รอบแรกกล่าวว่า “พุทโท” รอบสองกล่าวว่า
“ธัมโม” และรอบสุดท้ายกล่าวว่า “สังโฆ” (คล้ายกับเรียกขวัญนาค) ในช่วงเวียน
เทียนมีการวางใบโพธิ์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของรอบที่เวียนเทียน

หลังจากมีการเวียนเทียนเสร็จเป็นพิธีการลอยแพหรือกระทงของชาวมอญ ซึ่ง
ทำจากกะลามะพร้าวต่อมาเปลี่ยนเป็นกระป๋องปลากระป๋อง ในปัจจุบันชาวบ้าน
กลับมาใช้กะลามะพร้าวภายในกะลาใส่ ดอกไม้ ธูป เทียน ทราย ข้าวตอก กะยา
สารท เหรียญลงไป ซึ่งในประเพณีการลอยกระทงหรือลอยแพของชาวมอญจะมีผู้
ที่ลอยเพียงพ่อขาวและแม่ขาวหรือผู้ที่ไปจำศีลอยู่ในวัดเท่านั้นและในช่วงเวลาที่
ลอย คือช่วง 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งหลักการคิดการลอยแพหรือการลอยกระทงของ
คนมอญจึงตรงกับหลักคิดของการไหลเรือไฟของวัฒนธรรมอีสานถือว่าเป็นการ
ลอยเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาจากสรวงสวรรค์หลังจากที่โปรดพระมารดา
เสร็จแล้วและเป็นการขอขมาพระแม่คงคา

บุ ญ เ ท ศ น์ ม ห า ช า ติ
( วั น แ ร ม 1 4 ค่ำ เ ดื อ น 1 1 )

ที่มาของประเพณี วิธีการปฏิบัติ

หลักคิดในการเกิดประเพณีบุญ บุญเทศน์มหาชาติ พระจะเทศน์คาถาพัน เทศน์ 13

เทศน์มหาชาติ เกิดขึ้นตามธรรมเนียม กัณฑ์ ในส่วนของกัณฑ์หลอน จะเป็นการหาเงินหรือของ

ปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ต่าง ๆ แห่เข้าวัด มีการละเล่นต่าง ๆ เช่น กัณฑ์มัทรี จะ

กล่าวคือ สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี เล่นเป็นชูชก กัณหา ชาลี ซึ่งจะใช้เวลาในการจัดงานวัน

ปรากฏตามศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ เดียวจบ พระที่เทศน์จะนิมนต์มาจากที่วัดอื่น โดยจาก

3 ที่เรียกว่าจารึก “นครชุม” ซึ่งจารึกไว้ การสันนิษฐานของชาวบ้านเชื่อว่าหลวงพ่อฉิมเป็นพระ

เมื่อพ.ศ. 1900 ในรัชสมัยพญาลิไท อุปัชฌาย์องค์เดียวในเขตนี้ (ครอบคลุมอำเภอปักธงชัย

(พระมหาธรรมราชาที่ 1) มีกล่าวไว้ว่า อำเภอโชคชัยจนถึงอำเภอครบุรี) ลูกศิษย์ที่เคยมาบวช

“ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระ กับหลวงพ่อจะมาช่วยเทศน์ บ้านพระเพลิงจะมีการจัด

มหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลย” เช่นนี้ งานที่ยิ่งใหญ่ เพราะ สมัยก่อนพระที่มาเทศน์จะไม่ได้มา

แสดงให้เห็นว่า การมีเทศน์มหาชาตินี้ องค์เดียว จะมีญาติพี่น้องมาตามด้วย ชาวบ้านที่ทราบ

พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมมีเทศน์กัน ข่าวหมู่บ้านอื่น ๆ ก็จะมาร่วมด้วย เมื่อมีคนมามาก ทาง

มานานแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี การ วัดรับไม่ไหว ก็จะให้ชาวบ้านทำอาหารมาเลี้ยง เช่น ขนม

เทศน์มหาชาติ เทศน์มหาชาติ คือ นางเล็ด ขนมหูช้าง มีเครื่องดื่มมึนเมาด้วย (เหล้าสาโท)

เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่ ซึ่งชาวบ้านจะช่วยกันทำในทุก ๆ หลังคาเรือน โดยผู้ที่มา

นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมาก ร่วมบุญเทศน์มหาชาติสามารถเข้าไปรับประทานอาหาร

จัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้าน ได้ทุกหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกุศโลบายของหลวง

และวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกติ ปู่ที่ บอกว่า “จะยากดีมีจนก็ให้ทานหมด” จึงเป็นที่มาว่า

นิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน ผ่านไปแล้ว “ใครมาก็จะได้กินฟรีเมาฟรี” มีความเชื่อว่าใครที่ได้ร่วม

จนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงาน บุญจะได้อานิสงส์จะได้ไปเกิดในยุคของพระศรีอาริย์ที่มี

สองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง แต่ความสุข ชาวบ้านที่ได้ร่วมบุญก็ถือว่ามีส่วนในการ

13 กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริย สร้างบุญใหญ่จึงเต็มใจที่จะทำอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาจาก

สัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง บ้านอื่น ถือว่าเป็นการร่วมทำบุญและสืบทอดพระพุทธ

(ประสงค์ รายณสุข, ออนไลน์,2559) ศาสนา สะท้อนให้เห็นคนมอญยึดมั่นในพุทธศาสนามาก










































Click to View FlipBook Version