The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กิจกรรมที่ 2 การฝึกประสบการ์ในสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Aj Tong, 2023-11-17 00:03:35

กิจกรรมที่ 2 การฝึกประสบการ์ในสถานศึกษา

กิจกรรมที่ 2 การฝึกประสบการ์ในสถานศึกษา

การพัฒ พั นาข้า ข้ ราชการครู และบุคบุลากรทางการศึกศึษา ก่อ ก่ นแต่ง ต่ ตั้งตั้ให้ดำ ห้ ดำรงตำ แหน่ง น่ รองผู้อำผู้ อำ นวยการสถานศึก ศึ ษา สังสักัดกัสำ นักนังานคณะกรรมการการอาชีวชีศึกศึษา กิจกรรมที่ ๒ การฝึกฝึงาน/การฝึกฝึ ประสบการณ์ใณ์นสถานศึกศึษา นายวีร วี วัฒ วั น์ ปารมี กลุ่ม ลุ่ ที่ ๑ เลขที่ ๑๓ วิทวิยากรพี่เ พี่ ลี้ย ลี้ ง ผอ.มนูญนูคุ้ม คุ้ กล่ำ และ ผอ.ธีรธีศักศัดิ์ อรุณรุวัชวัรพันพัธ์ สำ นักนัพัฒพันาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา สำ นักนังานคณะกรรมการการอาชีวชีศึกษา กระทรวงศึกษาธิกธิาร


คำนำ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 มาตรา 19 (4) และ มาตรา 80 บัญญัติให้มีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง บางตำแหน่ง และบางวิทยฐานะเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะเจตคติที่ดีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่เหมาะสมในอันที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลและความก้าวหน้าแก่ราชการ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ. 0206.7/ว8 ลงวันที่ 29 เมษายน 2563 แต่เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมกอาชีวศึกษาได้รับ ความเห็นชอบรายละเอียดการตำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมทั้งประเด็นการพัฒนาก่อนการบรรจุ และแต่งตั้งเป็นการพัฒนาตามที่ส่วนราชการกำหนด โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ. 0206.6/383 ลงวันที่ 12 เมษายน 2566 ซึ่งในการ พัฒนาดังกล่าวได้กำหนดให้มีการฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้มีโอกาสฝึกปฎิบัติ จริงและเกิดทักษะในการบริหารสถานศึกษาภายใต้การแนะนำดูแลและให้คำปรึกษาของผู้บริหารที่มี ประสบการณ์ ซึ่งผู้จัดทำได้เข้ารับการฝึกประสบการณ์ที่วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณผู้อำนวยการ และบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง เป็นอย่างสูง ที่กรุณาให้ ข้อมูลและถ่ายทอดประสบการณ์การ เพื่อการเป็นผู้บริหารที่พึงประสงค์และส่งผลให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งรอง ผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเป็นผู้บริหารที่มีอุดมการณ์ มีวิสัยทัศน์ บุคลิกภาพ และมีความสามารถที่ เหมาะสมต่อการเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขององค์กรและสามารถเป็นนักบริหารสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป


สารบัญ หัวข้อเรื่อง หน้า ข้อมูลพื้นที่เกี่ยวกับสถานศึกษา 1 ศึกษาบทบาทและภารงานของรองผู้อำนวยการฝ่ายที่ได้รับมอบหมายด้วยการวิเคราะห์ (SWOT Analysis) 1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) 3 นโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (8 Agenda) 5 ภาคผนวก 9


1 ใบงานที่ 1 ศึกษาบทบาทหน้าที่ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 153 ไร่ 23 ตารางวา อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 19 หลัง ตั้งอยู่เลขที่ 239 หมู่ 3 (บ้านป่าป๋วย) ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน 51130 อยู่ห่าง จากอำเภอเมืองลำพูนไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 106 ระยะทางประมาณ 40 ก.ม. ได้รับจัดตั้ง จากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็น “วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง”วันที่ 18 มิถุนายน 2540 และได้เปิดการ เรียนการสอน ทั้งหมด 5 สาขางานทั้งในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ได้แก่ พ.ศ.2541 เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างยนต์และพณิชยการ พ.ศ.2543 เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง พ.ศ.2545 เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2545 เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่ม สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ และสาขาวิชาการบัญชี พ.ศ.2548 เปิดสอนระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. สาขาวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า การบัญชี การตลาด คอมพิวเตอร์ คหกรรมบริการ แล สาขาวิชาการดูแลเด็กและผุ้สูงอายุ พ.ศ.2550 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี เพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาเทคโนโลยีสำนักงาน พ.ศ.2551 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี เพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาการติดตั้งไฟฟ้า พ.ศ.2552 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี เพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิสัยทัศน์ : มุ่งเน้น ผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะอาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ก้าวทัน เทคโนโลยีมีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ : 1. มุ่งเน้น ผลิตกำ ลังคนให้มีสมรรถนะอาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน 2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม 3. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการศึกษา 4. ส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อัตลักษณ์: “จิตอาสา พัฒนาตน” เอกลักษณ์ : “พัฒนาคน นำวิชาชีพสู่สังคม” โทรศัพท์: 0-5398-0099, 086-4311385 โทรสาร: 0-5398-0909 เว็บไซต์: www.banhong.ac.th อีเมล : [email protected] 2. ศึกษาบทบาทและภารงานของรองผู้อำนวยการฝ่ายที่ได้รับมอบหมายด้วยการวิเคราะห์ (SWOT Analysis) ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ฝ่ายบริหารทรัพยากร และฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่ และความรับผิดชอบรองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ สถานศึกษาในการช่วยบริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับดูแล


2 เกี่ยวกับการบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานทั่วไปและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ รองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยช่วยปฏิบัติราชการในเรื่องต่อไปนี้คือ ➢ บริหารกิจการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและ วัตถุประสงค์ของสถานศึกษา ➢ วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและรายงานผลการจัดการศึกษา ➢ จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ การวัดประเมินผล ➢ ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ และนอกระบบ และตามอัธยาศัย ➢ จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา ➢ การบริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินอื่น ➢ การวางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การเสริมสร้าง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานวินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย และการออก จากราชการ ➢ จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ➢ ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ➢ ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน ➢ จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา ➢ จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ➢ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เกี่ยวข้อง และสถานประกอบการ ผลิตผู้สำเร็จ การศึกษาที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้ในวิชาชีพที่เรียน ตลอดจนการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นคนดีของสังคม สถานศึกษาได้ดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ โดยได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพของวิทยาลัย นำมาจัดทำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติงานประจำปี โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในสถานศึกษา สถานประกอบการ มีผลทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการในการรับเข้าทำงาน อย่างต่อเนื่อง และสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น สถานศึกษาจึงได้มีการพัฒนาครูผู้สอนในสถานศึกษา และในสถานประกอบการให้มีการพัฒนาตนเองด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ สถานศึกษาได้จัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนคุณภาพของสถานศึกษาให้มี คุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา ดังต่อไปนี้ ด้านการเพิ่มปริมาณผู้เรียน รักษาเป้าหมายผู้เรียนในระดับ ปวช. การเพิ่มปริมาณผู้เรียนในระดับ ปวส. ลดปัญหาการออกกลางคัน เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าเรียนสาย อาชีพ ด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนสำคัญต่อการเลือกเรียนอาชีวศึกษาในเชิงรุก ซึ่งได้แก่ นักเรียน และผู้ปกครอง และจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพได้ โดยการยกระดับ คุณภาพการจัดอาชีวศึกษาสถานศึกษาเพิ่มพูนทักษะ ประสบการณ์จากการเรียนในสถานที่จริงหรือ สถานการณ์จริง


3 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) “โครงการเสริมสร้าง ผู้ประกอบการใหม่ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา” เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาขีด ความสามารถให้กับผู้เรียนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาของรัฐบาล หรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้มีความพร้อมที่จะเริ่มประกอบธุรกิจของตนเอง หรือพัฒนาต่อยอดธุรกิจเดิม 2.1 จุดเด่นของสถานศึกษา 2.1.1 สถานศึกษามีการส่งเสริมโครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษาในโครงการ จำนวน 36 คน ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าอาหารกลางวัน ค่าชุดเครื่องแบบนักศึกษา ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น สถานศึกษามีการจัดสรรพื้นที่สำหรับ ผู้เรียนที่มีความประสงค์ขอหอพักภายในวิทยาลัย ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และอำนวยความ สะดวกปัจจัยพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 2.1.2 สถานศึกษามีการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน ออกแบบพัฒนา และสร้างผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ฝึกทักษะพื้นฐาน และทักษะวิชาชีพ ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ ABU งานสร้างสรรค์ งานวิจัยในสถานศึกษา ส่งเสริมการเข้าร่วม กิจกรรมประกวดผลงาน และมีการนำไปใช้ประโยชน์จริงในหน่วยงานสถานศึกษา ทำให้ได้รับรางวัลในระดับต่างๆ 2.1.3 สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การบริการชุมชน ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fixit Center) การบริการวิชาการ (หลักสูตรระยะสั้น) การบริการวิชาชีพ จิตอาสา ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีจิตอาสา โดยใช้วิชาชีพสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม 2.1.4 สถานศึกษาเน้นการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ทำให้นักเรียน นักศึกษามีทักษะทางด้านวิชาชีพตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน มีระบบติดตามผลนักเรียนนักศึกษาที่ สำเร็จการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีระบบการแก้ปัญหาการออกกลางคัน แนะแนวการศึกษา การเยี่ยมบ้าน ผู้เรียน แนะแนวการศึกษาให้ผู้เรียน มีความตระหนักในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อบรมให้ความรู้ก่อน สำเร็จการศึกษาจากกรมแรงงานจังหวัดลำพูน ส่งเสริมให้ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทั้งหมดของปีการศึกษาที่ผ่านมา มีงานทำในหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และประกอบอาชีพอิสระ 2.1.5 สถานศึกษามีการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็น ระบบส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนา ครูผู้สอนให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานตำแหน่ง สายงานครูผู้สอน การจัดการเรียนการ สอน การบริหารจัดการชั้นเรียน การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 2.1.6 สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การจัดทำ ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารสถานศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้ในการจัดการเรียน การสอน การสืบค้น พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้เต็มศักยภาพ จัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็น รายบุคคล มีข้อมูลสารสนเทศหรือเอกสารประจำชั้นเรียน รายวิชา ใช้เทคนิควิธีการบริหารจัดการชั้นเรียนให้มี บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน ดูแลช่วยเหลือผู้เรียน รายบุคคลด้านการเรียนและด้านอื่น ๆ


4 2.1.7 สถานศึกษาปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งการเรียนรู้ โรงฝึกงาน ระบบไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ระบบรักษาความปลอดภัยพร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การจัดเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัย ระบบประปา หรือน้ำดื่ม น้ำใช้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน นักศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษา 2.1.8 สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สร้างความร่วมมือ ข้อตกลง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้สถานศึกษา สถานประกอบการนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีให้มีคุณภาพ สร้างความมั่นใจ และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.1.9 สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง หน่วยงาน และชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา จัดทำ แผนพัฒนาสถานศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี พร้อมทั้งให้คณะกรรมการสถานศึกษาหรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา 2.2 จุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษา 2.2.1 สถานศึกษามีความต้องการงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค งบดำเนินงานสำหรับ โครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ให้สามารถบริหารจัดการ และพัฒนาหอพักให้มีความพร้อม ต่อ การเพิ่มปริมาณผู้เรียนในอนาคต 2.2.2 สถานศึกษาควรมีสถานประกอบการที่ทำข้อตกลงความร่วมมือกับทางวิทยาลัย อย่างหลากหลายและมีการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการ ประกอบอาชีพอิสระ สามารถประสบความสำเร็จสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ 2.2.3 สถานศึกษามีความต้องการงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนา ปรับปรุง และดูแล สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งการเรียนรู้ โรงฝึกงาน และสิ่งอำนวยความ สะดวกตามแผนงาน โครงการที่กำหนด 2.2.4 สถานศึกษามีความต้องการงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารสถานศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ สถานศึกษา 2.2.5 สถานศึกษามีความต้องการงบประมาณในสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน ออกแบบพัฒนา และสร้างผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ ABU งานสร้างสรรค์ งานวิจัยใน สถานศึกษา 2.3 โอกาสในการพัฒนาสถานศึกษา 2.3.1 สถานศึกษามุ่งเน้นผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะอาชีพตรงความต้องการของตลาดแรงงาน พัฒนาผู้เรียน ผู้สำเร็จการศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการ ปฏิบัติงานโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.3.2 สถานศึกษาได้รับการจัดสรรงบประมาณ โครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ และ มีหอพักนักเรียน นักศึกษาภายในสถานศึกษา ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ขยายโอกาสทางการศึกษา สร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อ


5 2.3.3 สถานศึกษาได้รับความร่วมมือ ส่งเสริมสนับสนุนของเครือข่ายให้มีการทำงานร่วมกันแบบ บูรณาการทั้งภาคสังคม ชุมชน ปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนพัฒนาสถานศึกษา และพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีความสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.3.4 สถานศึกษาได้รับการจัดสรรงบลงทุน ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ จัดการเรียนการสอน ห้องปฏิบัติการทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ 2.4 อุปสรรคในการพัฒนาสถานศึกษา 2.4.1 สถานศึกษาต้องมีกระบวนการในการส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาให้มี สมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ หรือการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในการเป็น ผู้ประกอบการ 2.4.2 สถานศึกษาควรมีการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา ด้านการจัดการ เรียนการสอนอาชีวศึกษา ด้านการบริหารจัดการ และด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติตามบริบทของ สถานศึกษา อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.4.3 สถานศึกษาควรมีการประชุม วางแผน แนะแนวการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประชาสัมพันธ์ที่มี หลากหลาย สำหรับการเพิ่มจำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษาในช่วงวิกฤตอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 2.4.4 สถานศึกษาต้องการงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลาง สนับสนุนหาแหล่งทุนอื่น แหล่ง ความรู้จากหน่วยงานภายนอกหรือชุมชน สำหรับการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ทักษะวิชาชีพ หุ่นยนต์ ABU งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยกับผลงานของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์แก่ชุมชน นโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2567 8 วาระงานการพัฒนาอาชีวศึกษา (8 Agenda) สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในการจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล สถานศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพได้ โดยการยกระดับ คุณภาพการจัดอาชีวศึกษาสถานศึกษาเพิ่มพูนทักษะ ประสบการณ์จากการเรียนในสถานที่จริงหรือ สถานการณ์จริง ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิต เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และการ ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีสุขภาวะที่ดี ประเด็นที่ 1 ส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) สถานศึกษาพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้ในการจัดการเรียนการสอน การ สืบค้น และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้เต็มศักยภาพเป็นไปอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารสถานศึกษา มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา (ระบบบริหารสถานศึกษา ศธ.02 ออนไลน์) มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศใน การบริหารจัดการสถานศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์โดยการพัฒนา Google Site พัฒนาแพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้อาชีวศึกษา และศูนย์วิทยบริการหรือห้องสมุดที่มีความพร้อม และเพียงพอสำหรับให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน หรือผู้สนใจ ใช้บริการค้นคว้าหาความรู้เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง


6 สถานศึกษามีส่งเสริมขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษา (Vocational for All) ประชาสัมพันธ์แนะแนวการศึกษา ส่งเสริมโครงการหารายได้ระหว่างเรียน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือใน การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการอาชีวศึกษา ภายในจังหวัด ในด้านครูพิเศษ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ครู ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถานประกอบการ ด้านงบประมาณ จัดหาแหล่งทุนทางการศึกษา ทุนการศึกษา ทุนการศึกษาพระราชทาน ทุนการศึกษาโครงการพิเศษ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ฯลฯ และมีการประเมินผลการ ดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่ 2 พัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อลดภาระของผู้เรียนและผู้ปกครอง (Skill Certificate) สถานศึกษาได้มีการส่งเสริมจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนา การจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่าย ในสถานศึกษา ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชุมชน สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน และมีการจัดทำแผนการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนา การจัดการการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่าย ในสถานศึกษา มีการดำเนินงานตามแผน มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการ ปรับปรุงพร้อมทั้งจัดทำรายงานตามแผนการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นประจำปี สถานศึกษาได้มีการส่งเสริมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจำนวนผู้เรียนในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 และผู้เรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ที่ผ่านการ ประเมินมาตรฐานวิชาชีพในครั้งแรกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตาม หลักสูตร เทียบร้อยละกับจำนวนผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร จำแนกตาม ระดับ ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางานและภาพรวมของสถานศึกษา ได้เป็นไปอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์การ ประเมิน เพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ด้าน ความรู้ ตามรายการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา สถานศึกษามีการพัฒนาหรือปรับปรุง หลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมให้สาขาวิชาหรือสาขางานได้รับการพัฒนา หลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม ให้เป็นไปอย่าง มีคุณภาพ สถานศึกษามีการส่งเสริมโครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษาใน โครงการ จำนวน 36 คน ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าอาหาร กลางวัน ค่าชุดเครื่องแบบนักศึกษา ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น สถานศึกษามีการจัดสรรพื้นที่สำหรับผู้เรียนที่มี ความประสงค์ขอหอพักภายในวิทยาลัย ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และอำนวยความสะดวก ปัจจัยพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่ 3 ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สร้างความร่วมมือ ข้อตกลง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้สถานศึกษา สถานประกอบการนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคีให้มีคุณภาพ สร้างความมั่นใจ และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการจัดการ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สร้างความร่วมมือ ข้อตกลง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้สถานศึกษา สถานประกอบการ นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้มีคุณภาพ สร้างความมั่นใจ และเกิด ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สถานศึกษามีการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน ออกแบบพัฒนา และสร้างผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ฝึกทักษะพื้นฐาน


7 และทักษะวิชาชีพ ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ ABU งานสร้างสรรค์ งานวิจัยในสถานศึกษา ส่งเสริมการเข้าร่วม กิจกรรมประกวดผลงาน และมีการนำไปใช้ประโยชน์จริงในหน่วยงานสถานศึกษา ทำให้ได้รับรางวัลในระดับต่างๆ ประเด็นที่ 4 พัฒนาระบบการเทียบระดับการศึกษาและคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา (Credit Bank) สถานศึกษามีการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ มี การส่งเสริมให้สาขาวิชาหรือสาขางานได้รับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือ ปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม รายงานผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาด้าน หลักสูตรอาชีวศึกษา ตามรายการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเด็นที่ 5 พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการศึกษาและทำงาน (Language Skills) สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงาน นักเรียน นักศึกษา ในด้านภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล และการวิจัย ทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีทักษะที่จำเป็น ในศตวรรษที่ 21 ทักษะวิชาชีพ ทักษะด้านภาษาในวิชาชีพเฉพาะ และทักษะชีวิตเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีสุขภาวะที่ดี ประเด็นที่ 6 สร้างช่างชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม (1 วิทยาลัย 1 ศูนย์ช่างชุมชน) สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การบริการชุมชน ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fixit Center) การ บริการวิชาการ (หลักสูตรระยะสั้น)การบริการวิชาชีพ จิตอาสา ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีจิตอาสาโดยใช้วิชาชีพ สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม ประเด็นที่ 7 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลและการบริหารจัดการ สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากรสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร ทางการศึกษา สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์ งบประมาณของสถานศึกษา ที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ มี ประสิทธิภาพ ส่งเสริมข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาให้มีวิทยฐานะตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น และ พัฒนาศักยภาพครู บุคลากรอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงอย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานที่ จำเป็นสำหรับการบริหารสถานศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา มีการใช้ข้อมูล สารสนเทศในการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้ในการจัดการเรียนการสอน การ สืบค้น พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้เต็มศักยภาพ จัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล มี ข้อมูลสารสนเทศหรือเอกสารประจำชั้นเรียน รายวิชา ใช้เทคนิควิธีการบริหารจัดการชั้นเรียนให้มีบรรยากาศที่ เอื้อต่อการเรียนรู้ เสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนรายบุคคลด้านการ เรียนและด้านอื่น ๆ ประเด็นที่ 8 เสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษายุคใหม่ สถานศึกษาปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งการเรียนรู้ โรงฝึกงาน ระบบไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ระบบรักษาความ ปลอดภัยพร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การจัดเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัย ระบบประปาหรือน้ำดื่ม น้ำใช้ เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน นักศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับบริบทของ


8 สถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) “โครงการ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา” เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาขีด ความสามารถให้กับผู้เรียนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาของรัฐบาล หรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ ให้มีความพร้อมที่จะเริ่มประกอบธุรกิจของตนเอง หรือพัฒนาต่อยอดธุรกิจเดิม ส่งเสริมการยกย่องเชิดชูเกียรติ ศิษย์เก่าดีเด่น ครูฝึกนิเทศ ครูฝึกในสถานประกอบการ และสถาน ประกอบการ ผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย มีการนำไปใช้ประโยชน์จริงในระดับจังหวัด หรือได้รับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย และระดับต่างๆ มุ่งเน้นผลิต กำลังคนให้มีสมรรถนะอาชีพตรงความต้องการของตลาดแรงงาน พัฒนาผู้เรียน ผู้สำเร็จการศึกษาให้มี คุณธรรม จริยธรรม สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง


9 ภาคผนวก


สภาพทั่วไปของวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง


สภาพทั่วไปของวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง


วันรายงานตัวเข้าสถานศึกษา


รูปภาพการร่วมกิจกรรมวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง รูปภาพการอยู่เวรหน้าประตูตอนเช้า


รูปภาพการให้ข้อมูลข่าวสารหน้าแถวตอนเช้า


รูปภาพการร่วมกิจกรรมงานประชุมวิชาการ รูปภาพการร่วมกิจกรรมงานประชุมวิชาการ ระดับสถานศึกษา


รูปภาพการร่วมกิจกรรมงานประชุมวิชาการ ระดับสอจ.


รูปภาพการเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอน


รูปภาพการเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอน


เข้าร่วมเตรียมความพร้อมการรับเสด็จฯ เนื่องในงาน อกท.ระดับชาติ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน


กิจกรรมโฮมรูมตอนเช้า


เข้าร่วมกิจกรรมสภากาแฟ จังหวัดลำพูน เข้าร่วมตรวจสารเสพติดนักเรียน นักศึกษา กลุ่มเสี่ยง


สำ นักนัพัฒพันาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา สำ นักนังานคณะกรรมการการอาชีวชีศึกษา กระทรวงศึกษาธิกธิาร


Click to View FlipBook Version