The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวคิดด้านถิ่นกำเนิดของคนไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by som251147, 2021-09-15 00:56:51

ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย

แนวคิดด้านถิ่นกำเนิดของคนไทย

ประวัติความเป็นมาของ
ชนชาตไิ ทย

น.ส.ศศมิ าภรณ์ บญุ ธรรม เลขที9่ ปวช.2/2 การบัญชี
น.ส.เณศรา สวุ รรณโชติ เลขท่ี26 ปวช.2/2 การบัญชี

แนวคิดด้านถ่ินกำเนดิ ของคนไทย

การศึกษาเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีเศษมาแล้ว โดย
นกั วิชาการชาวตะวนั ตก ตอ่ มาได้มนี ักวชิ าการสาขาต่างๆ ทง้ั คนไทยและชาวต่างประเทศได้ศึกษา
ค้นคว้าต่อมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าได้อาศัยหลักฐานต่างๆ เช่น โครงกระดูก
มนุษย์ เคร่อื งมือเครื่องใช้ เอกสารโบราณจนี หลกั ฐานทางภาษาและวัฒนธรรมท้องถนิ่ ผลจากการ
ค้นคว้าปรากฏว่านักวิชาการและผู้สนใจเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยต่างเสนอแนวคิดไว้หลาย
อย่าง แตย่ ังไมม่ ีแนวคดิ ใดเปน็ ทยี่ อมรับกันในปจั จบุ นั ในระยะแรกๆ นกั วิชาการส่วนใหญ่เชอ่ื วา่ ถ่ิน
กำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนประเทศจีน ต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นกระจายออกไป และได้
เสนอแนวความคดิ เกีย่ วกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ดังน้ี

แนวคดิ ที่ 1 เชื่อวา่ ถนิ่ กำเนิดของชนชาติไทยอย่ทู างตอนเหนอื ของประเทศจนี แถบเทือกเขาอัลไต

ผู้สนับสนนุ แนวคิดนี้ คือ ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (Dr.william Clifton Dodd) มิชชันนารี
ชาวอเมรกิ นั ได้เข้ามายงั ประเทศไทย และ ขนุ วจิ ติ รมาตรา
ซึ่งแนวคิดน้ี ไม่เป็นท่ียอมรับของนักประวัติศาสตรใ์ นปัจจุบัน เนื่องจากมีอุปสรรคในการเดินทาง
ไปตั้งถิ่นฐานของคนไทย และไม่น่าจะอยู่ไกลถึงเทือกเขาอัลไต ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก
นอกจากนัน้ การเดินทางลงมาทางใตต้ อ้ งผา่ นทะเลทรายโกบี อันกวา้ งใหญ่ไพศาล

แนวคิดท่ี 2 เช่ือวา่ ถน่ิ กำเนิดของชนชาติไทยอย่ทู างตอนเหนอื ของประเทศจนี บริเวณมณฑลเสฉวน

แผนท่ีแสดงแนวคดิ ถิน่ กำเนดิ ของชนชาตไิ ทยอยใู่ นบรเิ วณตอนกลางของจนี
ทม่ี าภาพ นางพรี ทพิ ย์ สคุ นั ธเมศวร์

ผสู้ นับสนนุ แนวคดิ น้ี คอื แตร์รีออง เด ลา คเู ปอรี (Terrien de la Couperie) และ สมเด็จพระ
เจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรม-พระยา ดำรงราชานุ-ภาพ
ซึ่งแนวคิดนี้ ระยะต่อมามีนักวชิ าการไดศ้ ึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษา
ลักษณะเผ่าพันธุ์ จากหลักฐานประเภทจดหมายเหตุจีน กล่าวถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณ
ดังกลา่ วไม่น่าจะมีความเกีย่ วข้องกบั คนไทย ท่อี าศัยอย่ใู นปัจจุบันมากนัก ดังนั้น แนวคิดน้ีจึงไม่
เปน็ ท่ียอมรับของนักวิชาการ

แนวคิดที่ 3 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนบริเวณมณฑลยูน
นานทางตอนใต้ของจนี

ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ คือ อาร์ชิบัลด์ รอสส์ คอลูน (Archibald Ross Colquhoun) นักสำรวจ
ชาวอังกฤษ ซ่ึงไดพ้ บกลมุ่ ชนชาตไิ ทยอาศยั อยูบ่ ริเวณตอนใต้ของจีน มีภาษาพูดและความเป็นอยู่
คล้ายคลึงกันในบริเวณที่ได้เดินทางสำรวจ และ อี.เอช.ปาร์เกอร์ : E.H.Parker เป็นชาวอังกฤษ
เคยเปน็ กงสลุ อังกฤษประจำเกาะไหหลำ่

ได้ลงความเหน็ ว่าในพทุ ธศตวรรษท่ี 13 ชนชาติไทยได้ต้ังอาณาจักรน่าเจ้าที่มณฑลยูนนาน
ต่อมาถูกจีนรุกรานถอยร่นลงมาทางตอนใต้ของจีน และหลายครัวเรือนได้อพยพมาสู่แผ่นดิน
สุวรรณภมู ิ
ซึ่งแนวคดิ นี้ มีผ้เู ชี่ยวชาญอีกหลายทา่ นที่สนบั สนุน

แนวคิดที่ 4 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณดินแดนประเทศไทย มาราว 4,000 –
3,000 ปมี าแล้ว หรือต้งั แต่โบราณกาล

แผนทแี่ สดงแนวคิดถน่ิ กำเนดิ ของชนชาตไิ ทยอยู่ในประเทศไทย
ทีม่ าภาพ นางพรี ทิพย์ สคุ ันธเมศวร์

ผู้สนับสนุนแนวคิดน้ี คือ พอล เบเนดิกต์ (Paul Benedict) นักวิชาการชาวสหรัฐอเมริกา,
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุดแสงวิเชียร ผเู้ ชี่ยวชาญด้านกายวิภาคศาสตร์ และ ศาตราจารย์ชิน อยู่
ดี ผ้เู ช่ียวชาญ ทางโบราณคดีสมัยกอ่ นประวตั ิศาสตร์ในประเทศไทย

โดยเห็นวา่ พืน้ ทซี่ ่ึงเปน็ ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบนั มีรอ่ งรอยของผคู้ นอาศัยอยู่มาต้ังแต่
ยุคหนิ เก่า ยคุ หินกลาง ยคุ หนิ ใหม่ ยคุ โลหะและเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ เนือ่ งจากแต่ละยุคได้แสดง
ความสืบเนื่องทางวฒั นธรรมของคนไทยจนถึงปัจจุบัน เชน่ ประเพณกี ารฝังศพ เครอ่ื งใช้เก่ียวกับ
การเกษตร

ซึ่งแนวคิดน้ี ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการในปัจจุบันมากนัก จึงต้องอาศัยการค้นคว้าด้วย
วิธีการต่าง ๆ เพ่ือหาข้อสรปุ ต่อไป

แนวคิดที่ 5 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนหรือคาบสมุทรมลายู
และหมู่เกาะตา่ ง ๆ ในอินโดนเี ซยี

แผนท่แี สดงแนวคิดถิน่ กำเนิดของชนชาติไทยอยใู่ นคาบสมุทรมลายูและหมูเ่ กาะอินโดนเี ซยี
ท่มี าภาพ นางพรี ทิพย์ สุคันธแมศวร์

ผู้สนับสนุนแนวคิดน้ี คือ นักวิชาการทางการแพทย์โดย นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ,
นายแพทย์ประเวศ วะสี คณะนกั วิจัย ดา้ นพนั ธุศาสตร์มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

จากผลงานการวิจัยทางพันธุศาสตร์ของนายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เกี่ยวกับหมู่เลือด
ลักษณะและความถ่ขี องยีน พบว่าหมเู่ ลอื ดของ คนไทยมคี วามคลา้ ยคลึงกับคนชาวเกาะชวา ซึ่งอยู่
ทางตอนใต้มากกว่าของคนจนี ท่ีอยู่ทางตอนเหนือรวมทั้ง ลกั ษณะความถี่ของยนี ระหว่างคนไทยกับ
คนจนี กม็ คี วามแตกต่างกนั และจากผลงานการวิจยั เรอ่ื งฮโี มโกลบนิ อี ของนายแพทย์ประเวศ วะ
สี พบว่า ฮีโมโกลบิน อี พบมากในผคู้ นแถบเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้ คอื ไทย เขมร มอญ ปรากฏว่า
ฮีโมโกลบนิ อี แทบจะไมม่ ใี นหม่คู นจีน

ซ่ึงแนวคดิ นี้ ปจั จุบนั ยงั เป็นทถ่ี กเถียงกันอยู่ว่า มคี วามเปน็ ไปได้มากนอ้ ยแค่ไหน และยังไม่เป็นที่
ยอมรับของนกั วชิ าการทีค่ ้นคว้าเกีย่ วกบั ถนิ่ กำเนดิ ของชนชาติไทย


Click to View FlipBook Version