The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงานการวิจัยโปรแกรม mewsin

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by DN daynight, 2020-02-19 22:41:51

Mewsic

โครงงานการวิจัยโปรแกรม mewsin

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากนางธริษตา เต็งรำพึง อาจารย์

ที่ปรึกษางานวิจัยที่ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเลือกปัญหาที่น่าสนใจในส

ถาการณ์ปัจจุบันของโลกมาสร้างเป็นงานวิจัย ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ

มาโดยตลอด จนโครงงานเล่มนี้สมบูรณ์ คณะผู้จัดทำจึงขอกราบพระคุณเป็น

อย่างสูง

ชื่อโครงงาน : Mewsic

ชื่อคณะผู้จักทำ : นายธนบูรณ์ วิศรียา

นายศุภกร แสงแก้ว

นายธนยศ พิดา

นายอุกฤษฏ์ ทองเรือง

นายอโนทัย. เอกอโนทัย

นางสาวพรนภัส พุฒพล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน : อาจารย์ ปรีชา กิจจาการ

บทคัดย่อ
เนื่องจากในปีที่ผ่านมานี้อัตราการฆ่าตัวตายของนักศึกษานั้นเพิ่มสูงขึ้น
ทุกปี ซึ่งคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นว่าเป็นผลมาจากความเครียดและความกดดัน
จากทั้งสภาพทางสังคมและการเรียน และผู้จัดทำนั้นก็อยู่ในวัยเรียนเช่นกัน จึง
คิดว่าหากเราจะลดทอนความเครียดนั้น ต้องใช้สื่อที่เข้าถึงนักศึกษาได้มาก
ที่สุด นั้นก็คือดนตรี
ด้วยแนวคิดนี้ทำให้คณะผู้จัดทำได้สำรวจหาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
แนวเพลงกับอารมณ์ของผู้ฟัง โดยเรื่มศึกษาในช่วงวัย…. โดยให้ใบสอบถาม
เกี่ยวกับบุคลิกของตนกับแนวเพลงที่ตนชอบ และนำมาสรุปผล
โครงงานที่จะพัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปต่อยอดได้ในสถานการณ์ต่างๆ
เช่น การเลือกเพลงที่จะนำมาเปิดในโรงเรียน,การเลือกเพลงที่จะช่วยเพิ่ม
พัฒนาการของเด็ก เป็นต้น

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ
ในช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่าเด็กมัธยมและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ มีอัตรา
การฆ่าตัวตายที่สูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดจากปัญหาต่างๆ หรืออัตราการแข่งขันที่สูง การ
มองโลกใน
แง่ลบ และสาเหตุอื่นๆ แต่สาเหตุหลักๆของการฆ่าตัวตายก็คือ การเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการ
ทางจิตอย่างหนึ่ง
ภาวะซึมเศร้า หรือที่นิยมเรียกกันว่าโรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ โดยผู้ที่เป็น
ภาวะซึมเศร้าจะมีอาการ เศร้า เหงา สิ้นหวัง รู้สึกโดดเดี่ยว ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รู้สึกว่าตัวเองด้อย
ค่า
ซึ่งปกติแล้วอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า
แล้ว
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น อยู่นานขึ้น และมีความรุนแรงมากกว่าคนปกติ
จากงานวิจัย พบว่าคนไทยมีผู้ที่เป็นภาวะซึมเศร้ามากเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยผู้หญิงเป็นอันดับ
3 และผู้ชายเป็นอันดับ 8 ของโลก จากการสำรวจพบว่าในคนไทย 12 ล้านคน มีคนที่มีแนวโน้มว่า
จะเป็น
ภาวะซึมเศร้าอยู่ 6 ล้านคน และมีคนที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายถึง 6 แสนคน
เพลง หรือเสียงดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีความสุข สนุกสนานรื่นเริง
ช่วยผ่อนคลายความเครียดทั้งทางตรงและทางอ้อม ดนตรีเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์
ให้มี
ความเบิกบานหรรษาให้เกิดความสงบและพักผ่อนซึ่งดนตรีมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ตั้งแต่แรก
เกิดโดยแม่
จะร้องเพลงกล่อมลูก ครั้นเมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิต ก็มีการใช้ดนตรีในพิธีกรรมต่างๆ ดังนั้นจะเห็น
ได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับมนุษย์ได้มีมานานแล้ว และยังส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ฟังอีกด้วย
จากข้อมูลข้างต้น ทางคณะผู้จัดทำงานวิจัย จึงได้ศึกษาในความสัมพันธ์ระหว่างเสียงดนตรีกับ
อารมณ์ของมนุษย์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

1.2 วัตถุประสงค์
1.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวเพลงและอารมณ์หรืออุปนิสัยของมนุษย์
2.นำผลการศึกษาที่ได้ มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือผู้ที่ต้องการศึกษา

1.3 ขอบเขตของการศึกษา
-พื้นที่ศึกษา: โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
-ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ต้องศึกษาตรวจวัด: -อายุของกลุ่มตัวอย่าง ( 13 - 18ปี )

-จำนวนของกลุ่มตัวอย่าง( 100 คน )
-ช่วงเวลาทำงานวิจัย: 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน)

1.4 สมมติฐาน
แนวเพลงที่ฟังนั้น มีแนวโน้มที่จะทำให้อารมณ์ของผู้คนที่ได้ฟังเพลงนั้นๆเปลี่ยนไปตามแนวเพลงที่
ฟัง

1.5 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น : แนวเพลงที่ศึกษา
ตัวแปรตาม : อารมณ์หลังจากที่ได้ฟังเพลง
ตัวแปรควบคุม : อายุของกลุ่มตัวอย่าง

1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
1.6.1 เพลง หมายถึง ถ้อยคำที่นักประพันธ์เรียงร้อยหรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย
เนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ ทำให้เกิดความไพเราะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง มี
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ทั้งด้าน
การเลือกสรรคำที่ใช้ในการแต่ง การเรียบเรียงประโยค และการใช้โวหาร เพลงนั้น
อาจให้ข้อคิดแก่ผู้ฟัง
ในการดำเนินชีวิตด้วยสำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรี กระบวนวิธีรำระบำ โดยเพลง
สร้างสรรค์จากเครื่องดนตรีหรือการขับร้อง
1.6.2 ภาวะซึมเศร้า หมายถึง เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด
อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า
เป็นผลมาจาก
ความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง ในความจริงแล้ว โรคซึม
เศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอ
ปิเนฟริน และโดปามีน
1.6.3 อารมณ์ หมายถึง ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า มีทั้งอารมณ์ด้าน
บวก เป็นอารมณ์ที่แสดงออกเวลามีความสุข สนุกสนาน และอารมณ์ด้านลบ เป็น
อารมณ์ที่แสดงออกเมื่อเสียใจ ขัดใจ ไม่สบายใจ

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธ์ระหว่างแนวเพลงกับ
อารมณ์ของผู้ฟัง เพื่อนำผลลัพธ์ของงานวิจัยไปพัฒนาและต่อยอดในการบรรเทา
อาการซึมเศร้าและอื่นๆ คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยงข้องแบ่งเป็น
หัวข้อดังนี้
2.1 โรคซึมเศร้าโดยละเอียด

2.2 การฟังเสียงเพลงบรรเลงและการมองภาพสวยงามที่มีผลต่อความคิด
สร้างสรรค์ ของข้าราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.1 โรคซึมเศร้าโดยละเอียด
โรคซึมเศร้าคืออะไร
สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วคำว่าโรคซึมเศร้าฟังดูไม่คุ้นหู ถ้าพูดถึงเรื่องซึมเศร้าเรา
มักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสีย
มากกว่าที่จะเป็นโรค ซึ่งตามจริงแล้ว ที่เราพบกันในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ก็จะเป็น
เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกธรรมดาๆ ที่มีกันในชีวิตประจำวัน มากบ้างน้อยบ้าง
อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดี
ขึ้น หรือเป็นรุนแรง มีอาการต่างๆ ติดตามมา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนัก
ลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะ
เข้าข่ายของโรคซึมเศร้าได้เลย
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแป
ลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ร่วมกับอาการทางร่างกาย
ต่างๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป
การเปลี่ยนแปลงในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ อาจเป็น
แบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเกิดขึ้นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์เลยก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่
กับหลายๆ ปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงได บุคลิกเดิมของ
เจ้าตัวเป็นอย่างไร มีการช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยเพียงได เป็นต้น และผู้ที่
เป็นอาจไม่มีอาการตามนี้ไปทั้งหมด แต่อย่างน้อยอาการหลักๆ จะมีคล้ายๆ กัน เช่น
รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่ดี เป็นต้น
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ที่พบบ่อยคือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่
สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย
เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจนแต่
จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส
ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิม
ตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำ
หรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามา บางคนอาจมี

2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็
เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไป
หมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับ
ชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่า
ตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้งๆ ที่ญาติหรือเพื่อนๆ ก็ยืนยัน
ว่ายินดีช่วยเหลือ เขาไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยังคงคิดเช่นนั้นอยู่ ความรู้สึกว่าตนเองไร้
ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ
แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็
ไม่ได้คิดถึงแผนการณ์อะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น
ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบ
กระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้จากอารมณ์ชั่ววูบ

3. สมาธิความจำแย่ลง จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหน
ก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย
ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง
อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ

4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
ซึ่งเมื่อพบร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ก็จะทำให้คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้
เกียจ ปัญหาด้านการนอนก็พบบ่อยเช่นกัน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ
บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหาร
เหมือนเดิม น้ำหนักลดลงมาก บางคนลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน นอกจากนี้
ยังอาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง บางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวด
เมื่อยตามตัว

5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ดังกล่าวบ้างแล้วข้างต้น ผู้ที่เป็นโรคนี้
มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บาง
คนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขา
ถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมี
ปากเสียงระหว่างคู่ครองบ่อยๆ

6. การงานแย่ลง ความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง ถ้าเป็นแม่บ้านงานบ้านก็
ไม่ได้ทำ หรือทำลวกๆ เพียงให้ผ่านๆ ไป คนที่ทำงานสำนักงานก็จะทำงานที่ละเอียดไม่
ได้เพราะสมาธิไม่มี ในช่วงแรกๆ ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็น
มากๆ ขึ้นก็จะหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือ
ให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจากงาน

7. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรงซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึม
เศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอน
ร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมี
หูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม

2.2 การฟังเสียงเพลงบรรเลงและการมองภาพสวยงามที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์
ของข้าราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ความคิดสร้างสรรค์
อารีพันธ์มณี(2546) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการทางสมองที่
คิดในลักษณะเอกนัยอันจะนำไปสู่การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ซึ่งรวมทั้งการประดิษฐ์ค้น
พบ สิ่งใหม่ๆตลอดจนวิธีคิด ทฤษฎีและหลักการได้สำ เร็จความ คิดสร้างสรรค์จะเกิด
ขึ้นมิใช่เพียงแต่คิดในสิ่งที่เป็นไปได้ หรือสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
หากแต่ ความคิดจินตนาการก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดความ แปลกใหม่แต่ต้อง
ควบคู่ไปกับความพยายามที่จะสร้างความ คิดฝันหรือจินตนาการให้เป็นไปได้หรือที่
เรียกว่าจินตนาการ ประยุกต์จึงทำ ให้เกิดผลงานความคิดสร้างสรรค์ Guilford
(1969)กล่าวว่าองค์ประกอบพื้นฐานของ ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย4ด้าน ดังนี้
1) ด้านความ คิดริเริ่ม หมายถึงความคิดที่มีลักษณะที่แปลกใหม่ต่างไปจาก ความคิด
ธรรมดา เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นครั้งแรก 2) ด้านคิด ความคล่องแคล่ว หมายถึง ความ
สามารถของบุคคลในการ คิดหาคำตอบที่ไม่ซ้ ำกันในเรื่องเดียวกันได้ในปริมาณที่
มากพอ ในเวลาที่จำกัด 3) ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการ
คิดหาคำตอบได้หลายประเภท และหลาย ทิศทาง 4) ความคิดละเอียดลออ หมายถึง
ความสามารถใน การขยายความคิดหลักให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือ ความ
คิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความ คิดละเอียดลออเป็นคุณลักษณะ
ในการสร้างผลงานที่มีความ แปลกใหม่ให้สำ เร็จ ซึ่งพัฒนาการของความคิดละเอียด
ลออ นั้นขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และการสังเกต
เสียงเพลง
Alvin (1966) กล่าวว่า เสียงเพลงเป็นสิ่งที่งดงาม สามารถพบได้ทุกหนทุกแห่ง มี
อิทธิพลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
สามารถ ใช้สื่อสารกับบุคคลได้โดยไม่จำกัดอายุ การศึกษา เชื้อชาติ และสภาพ
ร่างกาย
สมโภช บุญรอด (2520) ได้แบ่งลักษณะของเพลง ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1)
เพลงร้อง แบ่งออกเป็นแบบ ร้องเดี่ยวและร้องเป็นหมู่คณะ 2) เพลงบรรเลง เป็นเพลง ที่
ประกอบด้วยการเล่นเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียว มิได้ มีเสียงร้องเข้ามาปะปน แต่อาจ
มีการประสานเสียงเข้ามา ประกอบด้วยบ้าง ประเภทของเพลงบรรเลงแบ่งออกได้ ดังนี้
Folk Music, Country Music, Popular Music, Light Music, Popular Classic Music,
Lyric Music, Mood Music, Light Classic Music, Classic Music, Jazz Music ในการ
วิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกเฉพาะเสียงเพลง บรรเลงประเภท Classic Music มาใช้ใน
การทดลอง ซึ่ง เป็นเพลงที่สูงส่งด้วยความคิด และเทคนิคของคีตกวีตลอด จนแนวการ
ประสานเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทที่ เข้ากันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน

ภาพ
Gerlachand Ely(1971)กล่าวว่า ภาพเป็นภาพนิ่ง เป็นวัสดุ2 มิติที่บันทึกหรือแสดงเหตุการณ์
สถานที่ บุคคล หรือสิ่งของเอาไว้อาจเป็นลักษณะภาพถ่าย ภาพวาด ภาพ การ์ตูน ภาพสเกต
ช์ภาพผนัง รวมทั้งสถิติและแผนที่ ภาพ สามารถใช้ในการสอนเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นก
ลุ่มใน เวลาเดียวกันได้ ภิญญาพร นิตยประภา (2534) ได้แบ่งภาพออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้1)
ภาพเขียน หมายถึง ภาพที่เขียนขึ้นด้วยหมึก และสีต่างๆเป็นรูปร่างและลักษณะต่างๆตามที่
จะออกแบบ อาจเป็นภาพเหมือน ภาพจินตนาการ ภาพสเกตช์ ภาพ การ์ตูน ภาพล้อ
แผนภาพ แผนภูมิแผนสถิติหรือกราฟ แผนที่ แผนผัง เป็นต้น ใช้สำ หรับตีพิมพ์ประกอบตัว
พิมพ์เรียงใน ที่ที่เหมาะสม และจำ เป็นต้องใช้เพื่อบรรยายหรืออธิบาย เรื่องราวและช่วย
ตกแต่งสิ่งพิมพ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2) ภาพถ่าย หมายถึง ภาพที่ผลิตขึ้นด้วยการใช้ฟิล์มบันทึก
ภาพดังกล่าว อาจเป็นภาพขาวดำ หรือภาพสีเพื่อทำ ให้เรื่องราวหรือ ข้อความตอนนั้นเป็นที่
เข้าใจได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น หรือประกอบ เข้าไปให้มีความหมายยิ่งขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย
ได้ใช้ภาพเขียนที่มีลักษณะ เป็นลายเส้นและภาพถ่ายมาใช้ในการทดลอง โดยคัดเลือก
เฉพาะภาพสวยงาม คือ ภาพที่ทำ ให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน และชื่นชม พร้อมทั้งยัง
สามารถกระตุ้นให้เกิดความคิดและ จินตนาการได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ ภาพลายเส้น
แสดง ท่าทาง ภาพจินตนาการ ภาพลายเส้นลวดลาย ภาพลายเส้น เหมือนจริง และภาพถ่าย
การดำเนินการ
ผู้วิจัยได้นำ เสียงเพลงบรรเลง จำ นวน 14 เพลง และภาพสวยงาม จำ นวน 18 ภาพ เสนอต่อ
ผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาที่เกี่ยวข้องทางจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จำ นวน 4 ท่าน เพื่อ
ตรวจสอบและทำการคัดลือกเสียงเพลง บรรเลงและภาพสวยงามที่เหมาะสมในทดลอง สำ
หรับการจัดสถานที่ในการทดลองผู้วิจัยได้เตรียม ห้องปฏิบัติการทำงานจำนวน 4 ห้อง
ปฏิบัติการ ซึ่ง เป็น ห้องที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด หมุนเวียนปฏิบัติงานในแต่ละวัน จากนั้นผู้
วิจัยได้นำภาพสวยงามที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำ การ คัดเลือกแล้ว มาตกแต่งผนังของห้องปฏิบัติ
การทำ งาน ของกลุ่มตัวอย่าง โดยทำการติดภาพสวยงามในทุกๆ มุม ของผนังห้องที่มีพื้นที่
ว่าง เป็นจำ นวนมุมละ 3-5 ภาพ ทั้งนี้ ได้คาดคะเนจากความเหมาะสมของพื้นที่ว่างในแต่ละ
ด้าน ของห้องเพื่อให้เกิดความสมดุลกันระหว่างภาพในแต่ละภาพ ขณะเดียวกันในการ
ทดลองนี้เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้ปฏิบัติงาน จะสามารถรับรู้และมองภาพสวยงามที่ตกแต่งไว้
ตามมุมห้อง ได้ตลอดเวลา พร้อมทั้งผู้วิจัยยังได้นำ เสียงเพลงบรรเลงที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำ
การคัดเลือกแล้วมาทำ การเปิดควบคู่ไป พร้อมกันกับการให้กลุ่มตัวอย่างได้มองภาพ
สวยงามตลอด ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และได้ควบคุมสภาพแวดล้อม ในการทดลอง
โดยห้องปฏิบัติการทำ งานประจำ ของกลุ่ม ตัวอย่างทั้ง 4 ห้อง ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ
และเปิดไฟ ตลอดระยะเวลาที่กลุ่มตัวอย่างได้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อ ความชัดเจนของภาพที่
กลุ่มตัวอย่างได้มองในขณะปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสีสันของภาพ ลวดลายของเส้น รวมถึง
เนื้อความ ของภาพในแต่ละภาพที่กลุ่มตัวอย่างสามารถรับรู้ได้และ ผู้วิจัยยังได้ทำการ
ควบคุมอุณหภูมิของห้องปฏิบัติการ ด้วย วิธีการเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลาที่ทำ การ
ทดลอง ให้อยู่ที่ 25°C เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความผ่อนคลาย และลดความเครียดที่เกิด
จากสภาพอากาศภายนอก ช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองนั้น จะใช้เวลา ทั้งสิ้น 15 วัน
โดยผู้วิจัยจะเปิดเสียงเพลงบรรเลงร่วมกับให้ กลุ่มตัวอย่างได้มองภาพสวยงามไปพร้อมๆ
กัน ตลอดเวลา ที่กลุ่มตัวอย่างได้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งแต่ละวัน จะเริ่มทำการ
ทดลองในเวลา 08.30-12.00 น. หยุดพักกลาง วันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และเริ่มการทดลองอีก
ครั้งในเวลา 13.00-16.30

ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าข้าราชการที่ได้เข้าร่วมการฟังเสียง เพลงบรรเลงและการมองภาพ
สวยงามมีระดับความคิด สร้างสรรค์ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (t = -16.595 และ p = .000) โดยภายหลังการฟัง
เสียงเพลงบรรเลงและการ มองภาพสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการสูง
กว่า ก่อนฟังเสียงเพลงบรรเลงและมองภาพสวยงาม ซึ่งเป็นไป ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
โดยแนวคิดของสุชาติเถาทอง (2539) กล่าวว่าจากการศึกษาวิธีการส่งเสริมความคิด
สร้างสรรค์นั้น จะเห็นได้ว่าจะต้องอาศัยทั้ง 2 วิธีคือ เทคนิคการสอนและ การจัด
บรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ นวย โดยสภาพ แวดล้อมจะต้องประกอบไปด้วย
แสงสีเสียง เพลงและภาพ โดยภาพที่ดีจะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ในการที่ภาพจะต้อง
มี จุด เส้น น้ ำ หนัก ผิว รูปร่าง และที่ว่าง จัดองค์ประกอบที่พอ เหมาะสิ่งเหล่านี้เป็น
ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับการสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ จึงเป็นการถ่ายทอด
ความรู้สึกนึกคิดี่ตนเองเคยพบเห็นจากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติหลักการ เหล่านี้ไม่ได้
เป็นเกณฑ์ตายตัวที่จะต้องปฏิบัติตามทุกกรณี เพราะการจัดการสร้างสรรค์เป็นการ
แก้ไขปัญหาซึ่งอาจต้อง ดัดแปลงปรับปรุงเพื่อให้งานนั้นมีความเป็นเอกภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ในการทดลองผู้วิจัยได้จัดสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติ งาน โดยการเปิดเสียง
เพลงบรรเลงตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน และติดภาพสวยงามไว้ทั่วทุกมุมของห้อง
ปฏิบัติงาน

1.5 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น : แนวเพลงที่ศึกษา
ตัวแปรตาม : อารมณ์หลังจากที่ได้ฟังเพลง
ตัวแปรควบคุม : อายุของกลุ่มตัวอย่าง

1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
1.6.1 เพลง หมายถึง ถ้อยคำที่นักประพันธ์เรียงร้อยหรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย เนื้อร้อง
ทำนอง จังหวะ ทำให้เกิดความไพเราะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ทั้ง
ด้าน
การเลือกสรรคำที่ใช้ในการแต่ง การเรียบเรียงประโยค และการใช้โวหาร เพลงนั้นอาจให้ข้อคิดแก่ผู้
ฟัง
ในการดำเนินชีวิตด้วยสำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรี กระบวนวิธีรำระบำ โดยเพลงสร้างสรรค์จาก
เครื่องดนตรีหรือการขับร้อง
1.6.2 ภาวะซึมเศร้า หมายถึง เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด
อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นผลมาจาก
ความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่
เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแนวเพลงต่างๆกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังนั้น
เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าแนวเพลงใดที่
ผู้ฟังได้รับฟังแล้วเกิดอารมณ์ความรู้สึกด้านบวกมากที่สุด เพื่อนำไปต่อยอดแนะนำให้
กับผู้ที่เป็นภาวะซึมเศร้าหรือผู้ที่ต้องการ โดยมีวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1.ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
2.เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
3.1.1 ประชากร
-นักเรียนในโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
-นักเรียนในโรงเรียนราชวินิตบางแก้วจำนวน 100 คน
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการศึกษาค้นคว้า
3.2.1 แบบสอบถามความพีงพอใจผ่านอินเทอร์เน็ต โดยในแบบสอบถามจะมีเนื้อหา
ของแนวเพลงต่างๆ และมีแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยจะถามถึง ความพึงพอใจ
อารมณ์ความรู้สึกด้านบวก และอารมณ์ความรู้สึกด้านลบหลังจากได้ฟังเพลงแนวนั้นๆ
ไปแล้ว ซึ่งแนวเพลงจะมีทั้งหมด 10 แนวเพลง คือ Classical Jazz Blues Soul Punk
Rock Pop Country Reggae และHip-Hop

3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
กลุ่มผู้ศึกษาทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 1 เดือน ระหว่างเดือน
สิงหาคม 2562 ถึง เดือนกันยายน 2562 โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.3.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างในการทำแบบทดสอบ ด้วยการสุ่มตัวอย่างตามสะดวกจาก
นักเรียนในโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จำนวน 100 คน
3.3.2 นำแบบสอบถามความพึงพอใจไปให้กลุ่มตัวอย่างได้ทำแบบสอบถาม
3.3.3 นำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา

3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง ความพึงพอใจต่อเพลงนั้น โดยใช้การนับ

คะแนนเป็นเกณฑ์

โดยมีเกณฑ์คะแนนดังนี้
1. น้อยที่สุด 1 คะแนน
2. น้อย 2 คะแนน
3. ปานกลาง 3 คะแนน
4. มาก 4 คะแนน
5. มากที่สุด 5 คะแนน
2. วิเคราะห์ข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง การเกิดอารมณ์ด้านบวกหลังจากฟังเพลงแนว

นั้นๆ โดยใช้การนับคะแนนเป็นเกณฑ์

โดยมีเกณฑ์คะแนนดังนี้
1. น้อยที่สุด 1 คะแนน
2. น้อย 2 คะแนน
3. ปานกลาง 3 คะแนน
4. มาก 4 คะแนน
5. มากที่สุด 5 คะแนน

3. วิเคราะห์ข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง การเกิดอารมณ์ด้านลบหลังจากฟังเพลงแนว

นั้นๆ โดยใช้การนับคะแนนเป็นเกณฑ์

โดยมีเกณฑ์คะแนนดังนี้
1. น้อยที่สุด -1 คะแนน
2. น้อย -2 คะแนน
3. ปานกลาง -3 คะแนน
4. มาก -4 คะแนน
5. มากที่สุด -5 คะแนน
4. นำผลรวมของคะแนนที่ได้มาจากข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง การเกิดอารมณ์ด้าน

บวกหลังจากฟังเพลงแนวนั้นๆ และข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง การเกิดอารมณ์

ด้านบวกหลังจากฟังเพลงแนวนั้นๆ

แล้วเปรียบเทียบกันในแต่ละแนวเพลง หากคะแนนของแนวเพลงใดสูงที่สุด

แนวเพลงนั้นก็จะเป็นแนวเพลงที่ ทำให้เกิดอารมณ์ด้านบวกมากที่สุด ซึ่งจะ

เหมาะสมกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือผู้ที่ต้องการสร้างอารมณ์ด้านบวกมากที่สุด
แต่ถ้าหากคะแนนของแนวเพลงเท่ากัน 2 แนวเพลงขึ้นไป จะใช้ผลรวมคะแนน

จากข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง ความพึงพอใจต่อเพลงนั้น เพื่อศึกษาว่าระหว่าง

แนวเพลงที่มีคะแนนเท่ากัน แนวเพลงใดจะมีความนิยมหรือมีความพึงพอใจ

มากกว่ากัน

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

เมื่อนำแบบสอบถามความพึงพอใจเรื่อง ความพึงพอใจต่อแนวเพลงต่างๆ อารมณ์
ด้านบวกหลังจากฟังเพลงแนวนั้นๆ และอารมณ์ด้านลบหลังจากฟังเพลงแนวนั้นๆ ไป
สอบถามกลุ่มตัวอย่างจึงได้ผลการทดลองดังนี้
ตารางที่ 1 ผลการสอบถามข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง ความพึงพอใจต่อเพลงนั้นๆ

แนวเพลง มากที่สุด(คน) มาก(คน) ปานกลาง(คน) น้อย(คน) น้อยที่สุด(คน) รวมคะแนน

Classical 21 35 42 1 1 373

Jazz 25 43 30 1 1 390

Blues 9 23 38 25 5 306

Soul 13 31 22 25 9 314

Punk 4 16 14 41 21 229

Rock 9 27 35 17 12 304

Pop 41 23 32 4 - 401

Country 17 19 41 15 8 322

Reggae 4- 27 54 15 224

Hip-Hop 1 19 16 33 31 226

ตารางที่ 2 ผลการสอบถามข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง การเกิดอารมณ์ด้านบวกหลัง
จากฟังเพลงแนวนั้นๆ

แนวเพลง มากที่สุด(คน) มาก(คน) ปานกลาง(คน) น้อย(คน) น้อยที่สุด(คน) รวมคะแนน

Classical 41 24 31 4 - 402

Jazz 25 24 27 5 1 313

Blues 19 21 34 23 3 330

Soul 12 19 29 28 12 291

Punk 18 23 31 25 3 328

Rock 15 11 40 12 22 285

Pop 45 17 33 2 3 399

Country 28 25 41 2 4 371

Reggae 74 26 43 20 235

Hip-Hop 19 17 30 25 9 312

ตารางที่ 3 ผลการสอบถามข้อมูลของการสำรวจ เรื่อง การเกิดอารมณ์ด้านลบหลังจาก
ฟังเพลงแนวนั้นๆ

แนวเพลง มากที่สุด(คน) มาก(คน) ปานกลาง(คน) น้อย(คน) น้อยที่สุด(คน) รวมคะแนน

Classical 8- 23 31 38 -209

Jazz 85 21 37 29 -226

Blues 7 20 27 37 9 -279

Soul 15 21 35 23 6 -316

Punk 31 36 25 3 5 -385

Rock 29 15 43 6 7 -353

Pop 7 13 24 35 21 --250

Country 49 17 50 21 -228

Raggae 20 15 43 18 4 -329

HipHop 12 22 47 11 8 -319

ตารางที่ 4 ผลรวมคะแนนทั้งหมดจากตารางที่ 2 และตารางที่ 3 ของแต่ละแนวเพลง

แนวเพลง คะแนนจากตาราง 2 คะแนนจากตาราง 3 คะแนนรวม
Classical 402 -209 193
313 -226 87
Jazz 330 -279 51
Blues 291 -316 -25
Soul 328 -385 -57
Punk 285 -353 -68
Rock 399 149
Pop 371 -250 143
Country 235 -228 -94
Reggae 312 -329 -7
Hip-Hop -319

จากตารางที่ 4 การสอบถามความพึงพอใจและการเกิดอารมณ์หลังฟังเพลงแนวต่างๆ
สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เพลงแนว Classical ได้คะแนนรวมทั้งหมด 193 คะแนน เพลง
แนว Jazz ได้คะแนนรวมทั้งหมด 87 คะแนน เพลงแนว Blues ได้คะแนนรวมทั้งหมด 51
คะแนน เพลงแนว Soul ได้คะแนนรวมทั้งหมด -25 คะแนน เพลงแนว Punk ได้คะแนน
รวมทั้งหมด -57 คะแนน เพลงแนว Rock ได้คะแนนรวมทั้งหมด -68 คะแนน เพลงแนว
Pop ได้คะแนนรวมทั้งหมด 149 คะแนน เพลงแนว Country ได้คะแนนรวมทั้งหมด 143
คะแนน เพลงแนว Raggae ได้คะแนนรวมทั้งหมด -94 คะแนน และเพลงแนว Hip-Hop ได้
คะแนนรวมทั้งหมด -7 คะแนน

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผล
5.1.1 ผลการสำรวจพบว่า แนวเพลงแต่ละแนวเพลง จะทำให้อารมณ์ของผู้ฟังเปลี่ยนไป
ได้จริง ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้
5.1.2 แนวเพลงที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากที่สุดคือ เพลงแนว Classical เพราะ
ทำให้เกิดอารมณ์ในด้านบวกมากที่สุด

5.2 อภิปรายผล
5.2.1 แนวเพลงทั้งหมด 10 เพลงข้างต้น ให้อารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกัน ซึ่งตรวจสอบ
ได้จากคะแนนที่ได้ตั้งเป็นเกณฑ์ไว้ โดยเพลงแนว Classical Jazz Blues Pop
และCountry เป็นแนวเพลงที่ทำให้เกิดอารมณ์ทางด้านบวกมากกว่าอารมณ์ทางด้าน
ลบ เนื่องจากเป็นเพลงที่มีจังหวะสบายๆ สามารถฟังได้อย่างไหลลื่น สบายหูจึงทำให้ผู้
ฟังเกิดความเพลิดเพลิน สุขใจ สบายใจ ส่วนเพลงแนว Soul Punk Rock Reggae
และHip-Hop เป็นแนวเพลงที่ทำให้เกิดอารมณ์ทางด้านลบมากกว่าอารมณ์ทางด้าน
บวก เนื่องจากเป็นแนวเพลงที่ส่วนใหญ่เป็นด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ
จึงทำให้ผู้ฟังส่วนใหญ่เกิดอารมณ์ทางด้านลบมากกว่า
5.2.2 เพลงแนว Classical เป็นแนวเพลงที่ทำให้เกิดอารมณ์ในด้านบวกมากที่สุด
เนื่องจากการฟังเพลงแนว classical จะส่งผลต่อสมองส่วน Hippocampus ทำให้เพิ่ม
ประสิทธิภาพการทำงานของ Neurons ในสมอง ซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกที่ดี และ
เพลงแนว Reggae เป็นแนวเพลงที่ทำให้เกิดอารมณ์ทางด้านลบมากที่สุด เพราะแนว
เพลง Reggae มีจังหวะที่น่าเบื่อสำหรับผู้ที่ฟังทั่วไป อาจทำให้เบื่อง่ายและทำนองของ
เพลงรวมถึงเนื้อหามีทั้งแนวเสียดสีสังคม รวมถึงใช้คำพูดทำให้รู้สึกไม่ดี


Click to View FlipBook Version