The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นางสาวชญาดา สุขรัตน์ เลขที่16 IS-2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by choogaaatt2003, 2021-10-01 06:23:01

นางสาวชญาดา สุขรัตน์ เลขที่16 IS-2

นางสาวชญาดา สุขรัตน์ เลขที่16 IS-2

การศึกษาโครงสร้างและประโยชน์จาก
เปลือกและซังของข้าวโพด

จัดทําโดย

นางสาวชญาดา สุขรัตน์ เลขที่16
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1

หนังสือเล่มเล็ก รายวิชาการศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง(IS-2) (I30201)

ส า ร บั ญ หน้าที่ 1
หน้าที่ 3
ที่มาและประวัติของข้าวโพด หน้าที่ 5
ส่วนประกอบและสายพันธ์ุของข้าวโพด หน้าที่ 7
หน้าที่ 8
ซังและเปลือกของข้าวโพด
โครงสร้างภายในและคุสมบัติของเปลือกและซัง

การนําเปลือกและซังไปใช้ประโยชน์

คํานํา




หนังสือเล่มเล็กฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาการศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วย
ตนเอง(IS-2) (I30201) เพื่อได้ศึกษาเรื่องการศึกษาโครงสร้างและประโยชน์จากเปลือกและซังของ
ข้าวโพด เนื่องจากผู้จัดทํามีความสนใจและเห็นว่าข้าวโพดที่เป็นพืชส่งออกหลักของประเทศ ซึ่งในการ
ส่งออกแต่ละครั้งนั้น จะเหลือส่วนเปลือกและซัง ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าส่วนเหล่านี้เป็นเพียงแค่
สิ่งไร้ประโยนช์ แต่ในความจริงนั้น เปลือกและซังยังมีคุณประโยขน์อีกมากมาย

ดังนั้นผู้จัดทํา จึงจัดทําขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่และให้ความรู้ในเรื่องเปลือกและซังให้กับผู้อ่าน
สุดท้ายนี้ผู้จัดทําหวังว่าหนังสือเล่มเล็กฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ สําหรับผู้ที่สนใจ และหาข้อมูล หากมี
ข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทําจึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

01 ที่มาและประวัติของข้าวโพด

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายของข้าวโพด
นักภูมิศาสตร์และนักโบราณคดีหลายท่านสันนิษฐานว่า มนุษย์รู้จักปลูกข้าวโพดกันมานาน

มากกว่า 4,500 ปี ซึ่งจากการศึกษาข้อสันนิษฐานต่างๆ พบว่า ข้าวโพดอาจมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่
2 แหล่ง โดยอาศัยหลักฐานของการเพาะปลูก (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, 2560) คือ

(1) พื้นที่แถบที่ราบสูงซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศเปรู โบลิเวีย เอกวาดอร์ ชิลี อาร์เจนตินา และ
บราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ เนื่องจากมีผู้พบข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองหลายพันธุ์มีความปรวนแปร
ทางพันธุกรรม และยังพบข้าวโพดบางชนิดมีลักษณะคล้ายข้าวโพดป่าที่ขึ้นอยู่ในแถบนั้นด้วย

2) พื้นที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกา แถบอเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา โคลัมโบ และ เวเนซูเอลา เนื่องจากมีหญ้าพื้นเมืองของบริเวณนี้
2 ชนิด คือ หญ้าทริพซาคัม (Trip sacum) และหญ้าทิโอซินเท (Teosinte) ซึ่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์หลายประการคล้ายคลึงกับข้าวโพด
อีกทั้ง นักโบราณคดีได้ขุดพบ ซากซังของข้าวโพดปนอยู่กับซากของโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินลึกถึง 28 เมตร ภายในถ้ำและสุสานหลายแห่ง
บริเวณเมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก จากการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบว่า ซากสิ่งของเหล่านี้มีอายุนานกว่า 4,000 ปี ซึ่งแสดงว่า มี
ข้าวโพดปลูกอยู่ในแถบนี้เป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว
อีกทั้ง ยังมีบางท่านสันนิษฐานว่า ข้าวโพดอาจมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเอเชีย เนื่องจากพืชพื้นเมืองหลายชนิดในแถบนี้มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์
คล้ายกับข้าวโพด เช่น ลูกเดือย และอ้อน้ำ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน เพราะปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับ
ถิ่นฐานดั้งเดิมของข้าวโพด นอกจากนี้ นักพฤกษศาสตร์และนักพันธุศาสตร์ได้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับพืชดั้งเดิมของข้าวโพดไว้หลากหลาย โดยบาง
ท่านเชื่อว่าหญ้าทริพซาคัม และหญ้าทิโอซินเท เป็นบรรพบุรุษของข้าวโพด เนื่องจากมีส่วนใกล้เคียงกัน และบางท่านเชื่อว่าหญ้าทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้
เป็นพืชดั้งเดิมของข้าวโพด แต่ข้าวโพดที่ปลูกคงวิวัฒนาการมาจากข้าวโพดพันธุ์ป่า และหญ้าทั้งสองชนิดก็ควรเป็นพืชดั้งเดิมเดียวกับข้าวโพด แต่ได้
วิวัฒนาการมาคนละสาย จึงทำให้มีลักษณะแตกต่างกันในปัจจุบัน
สำหรับการแพร่กระจายของข้าวโพดไปยังส่วนต่างๆ ของโลก คาดว่าเกิดจากชาวอินเดียนแดงเจ้าถิ่นเดิมของทวีปอเมริกาเป็นผู้นำจากอเมริกากลาง
ไปปลูกในส่วนต่างๆ ของทวีปอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียน ซึ่งชาวอินเดียนแดงเป็นชนชาติที่มีส่วนสำคัญในด้านวิวัฒนาการเกี่ยวกับการปลูก
ข้าวโพด ในปี พ.ศ. 2035 เมื่อโคลัสบัสเดินทางมาพบทวีปอเมริกา ก็พบว่า มีการปลูกข้าวโพดอยู่ทั่วไปในบริเวณนี้ และปี พ.ศ. 2036 ได้ลองนำเมล็ด
กลับไปปลูกในประเทศสเปน ทวีปยุโรป หลังจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของทวีปแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย

02 ส่วนประกอบของข้าวโพด

ราก ใบ
ข้าวโพดมีใบลักษณะยาวรี คล้ายพืช
รากแรกที่ออกมาจากembryo ตระกูลหญ้าทั่วไป ประกอบด้วยตัวใบ
เป็นรากชั่วคราวเรียกว่า ไพรมารี
หรือ กาบใบ และเขี้ยวใบ ลักษณะของใบ
เซมินัล (seminal) หลังจาก รวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้ว
ข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ แต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว
7-10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบๆ บางพันธุ์ใบสีม่วง และบางพันธุ์ใบลาย
ข้อปลายๆ ในระดับใต้พื้นดินประมาณ จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่
1-2 นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโต 8-48 ใบ
เต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ
100 เซนติเมตร และแทงลึกลงไป
ในดินแนวดิ่งยาวมากซึ่งอาจยาวถึง
๓๐๐ เซนติเมตร รากของข้าวโพด
เป็นระบบรากฝอย นอกจากรากที่อยู่ ลําต้น
ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว ซึ่งเกิด ข้าวโพดมีลำต้นแข็ง ไส้แน่นไกลวง มี
ขึ้นรอบๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน และบาง ความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร จนถึง
ครั้งรากพวกนี้ยังช่วยหยั่งยึดพื้นดิน 8 เมตร แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ ตาม
อีกด้วย ลำต้นมีข้อ และปล้อง ปล้องที่อยู่ในดิน
ดอก และใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อยๆ ยาวขึ้น
ข้าวโพดจัดเป็นพวกโมโนอิเซียส (monoecious) คือ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อ ไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะ
ดอกตัวผู้ (tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther) 3 อับ แต่ละอับจะมีเรณู มีจำนวนประมาณ 8-20 ปล้อง พันธุ์
เกสร (pollen grain) ประมาณ 2,500เม็ด ดังนั้นข้าวโพดต้นหนึ่ง จึงมีเรณูเกสรอยู่เป็นจำนวนหลายล้าน ข้าวโพดส่วนมากลำต้นสดมีสีเขียว แต่
และสามารถปลิวไปได้ไกลกว่า ๒,๐๐๐ เมตร ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลางๆ ลำต้น ต้น บางพันธุ์มีสีม่วง
หนึ่งอาจมีหลายช่อแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกตัวเมียแต่ละดอกประกอบด้วยรังไข่ (ovary) และเส้นไหม (silk) ซึ่งมี
ความยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยื่นปลายโผล่ออกไปรวมกันเป็นกระจุกอยู่ตรงปลายช่อดอกซึ่งมีเปลือก
หุ้มอยู่ ดอกพวกนี้พร้อมที่จะผสมพันธุ์ หรือรับละอองเกสรได้เมื่อเส้นไหมโผล่ออกมา หลังจากได้รับการผสมเส้น
ไหมจะแห้งเหี่ยวและรังไข่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ช่อดอกตัวเมียที่รับการผสมแล้วเรียกว่า ฝัก (ear) แต่ละฝัก
อาจมีเมล็ดมากถึง 1,000 เมล็ด แกนกลางของฝักเรียกว่า ซัง (cob)

03 สายพันธุ์ต่างๆของข้าวโพด

ข้าวโพดป่า ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวบุบ

ข้าวโพดแป้ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวหนียว

04 สายพันธุ์ต่างๆของข้าวโพด

01 ข้าวโพดป่า (Pod corn) 04 ข้าวโพดหัวบุบ (Dent corn)
เป็นข้าวโพดที่มีส่วนของแป้งอ่อนอยู่ด้านบน
เป็นข้าวโพดที่ใช้ในการศึกษาแหล่งกำเนิดข้าวโพด ส่วนแป้งแข็งจะอยู่ด้านล่างและด้านข้าง เมื่อ
(ซึ่งปลูกในบริเวณแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ข้าวโพดแก่เมล็ดสูญเสียความชื้น ทำให้แป้ง
เมล็ดข้าวโพดป่าทุกเมล็ดจะมีเปลือกหุ้มเมล็ดอย่าง อ่อนด้านบนหด
มิดชิดเหมือนกับเมล็ดหญ้า และยังมีเปลือกหุ้มฝัก
หุ้มอีกชั้นหนึ่ง เมล็ดมีสีต่างๆ หรือเป็นลาย 05 ข้าวโพดแป้ง (Flour corn)
เป็นข้าวโพดที่มีองค์ประกอบเป็นแป้งอ่อนเกือบ
ทั้งหมด มีแป้งแข็งเป็นชั้นบางๆ อยู่ด้านใน
เมล็ด เมื่อข้าวโพดแก่การหดตัวของแป้งใน
เมล็ดจะเท่าๆ กัน

ข้าวโพดคั่ว (Pop corn) ข้าวโพด ข้าวโพดหวาน (Sweet corn)
02 เป็นข้าวโพดที่เมล็ดมีแป้งแข็งอัดกันแน่น มีแป้งอ่อนเป็น มี7 ชนิด
06
องค์ประกอบเล็กน้อย ลักษณะรูปร่างของเมล็ดแบ่งได้เป็น
2 ชนิด คือ ชนิดที่มีรูปร่างเรียวแหลมคล้ายเมล็ดข้าว และ เป็นข้าวโพดที่น้ำตาลในเมล็ดเปลี่ยนไปเป็นแป้ง
ชนิดที่มีลักษณะเมล็ดกลม ไม่สมบูรณ์ ทำให้เมล็ดมีความหวานมากกว่า
ข้าวโพดชนิดอื่น ซึ่งมักนำฝักสดมาใช้รับประทาน
03
07 ข้าวโพดข้าวเหนียว (Waxy corn)
ข้าวโพดหัวแข็ง (Flint corn)
เป็นข้าวโพดที่ด้านบนของเมล็ดมีแป้งแข็งเป็นองค์ เมล็ดประกอบด้วยแป้งอ่อนที่มีความเหนียว
ประกอบ ส่วนแป้งอ่อนจะอยู่ภายในตรงกลางเมล็ดหรือ เนื่องจากองค์ประกอบของแป้งส่วนใหญ่เป็น
อาจไม่มีเลย เมล็ดค่อนข้างกลม เมื่อเมล็ดแห้งจะไม่มี อะไมโลเพกติน (Amylopectin) ในขณะที่
รอยบุบด้านบน ข้าวโพดชนิดอื่นมีอะไมโลส (Amylose) เป็น
องค์ประกอบด้วย ทำให้นิยมปลูกข้าวโพดชนิดนี้
เพื่อรับประทานฝักสดคล้ายกับข้าวโพดหวาน

07

ซังและเปลือกของข้าวโพด

ซังและเปลือกของข้าวโพดคืออะไร ?

เปลือกของข้าวโพด
เป็นบริเวณที่ห่อหุ้มผลของข้าวโพดเอาไว้จากการถูกแมลงกัดกินผล ซึ่งก่อนที่ผลของ
ข้าวโพดสุก สีของเปลือกจะมีสีเขียว เพราะมีความชื้น เพื่อเป็นสภาพการป้องกันให้ผล มี
สภาวะการเติบโตที่ดี แต่ในบางสายพันธ์ุนั้น เมื่อผลของข้าวโพดสุก ส่วนของเปลือกจะ
เปลี่ยนสี กลายเป็นสีนํ้าตาล เช่น ข้าวโพดป่า ดังรูป

ซังของข้าวโพด
เป็นบริเวณที่อยู่แกนกลางของข้าวโพด เป็นแกนที่มีความแข็ง และเป็นแหล่ง
สะสมพลังงานของผลข้าวโพด มีลักษณะเป็นทรงกระบอก เมื่อซังข้าวโพดยังมี
เมล็ด ซังจะมีความชื้น แต่เมื่อไม่มีเมล็ดซังจะแห้งและกลายเป็นสีนํ้าตาล

08 โครงสร้างภายในและคุณสมบัติของเปลือกและซัง

จากการศึกษารายงานของ บุญล้อม และ ทิพย์วรรณ (2530: 169-180) จึงได้
ทราบว่า เปลือกและซังของข้าวโพด เมื่อนําไปตากให้แห้ง พบว่ามีวัตถุแห้ง
ประมาณ 26%, อินทรียวัตถุประมาณ 94%, เยื่อใย NDF ประมาณ 60%,
ลิกนินประมาณ 5% และการย่อยได้โภชนาการประมาณ 55 - 65%
ของน้ำหนักแห้ง

และภายในเปลือกและซังของข้าวโพดยังพบ เซลลูโลส (Cellulose)
ซึ่งเซลลูโลส คือ คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ประกอบด้วยโมเลกุลที่ต่อกันเป็นโซ่ยาวของ
กลูโคส พบมากในพืชเพื่อทำหน้าที่เสริมโครงสร้างของลำต้นและกิ่งก้านของพืชผักและผล
ไม้ให้แข็งแรง เป็นส่วนประกอบหลักของผนัง cells พืช
ซึ่งการที่เปลือกและซํงมีเซลลูโลส จึงทําให้มีคุณสมบัติเป็นเส้นใยในเนื้อเยื่อด้านใน เช่น
เดียวกันกับพืชอื่นๆ เช่น ปอแก้ว ปอกระเจา ปอกัญชา ป่านลินินและป่านรามี เส้นใยที่ได้จาก
เนื้อเยื่อส่วนเปลือกของลำต้นนั้นส่วนใหญ่เรียกว่า "ปอ" ส่วนที่ได้จากเนื้อเยื่อ ของใบ
เรียกว่า "ป่าน" ซึงเส้นใยที่ได้จากการ แยกเซลลูโลสของเปลือกและซัง จะมีความเหนียว
และแข็งแรง

09 การนําเปลือกและซังไปใช้ประโยชน์

เมื่อรู้ว่าโครงสร้างภายนของข้าวโพดนั้นมีโครงสร้างของเซลลูโลสจึงสามา
รถนําเปลือกและซัง มาสะกัดนําเซลลูโลสออกมาหรือใช้กระบวนการแปรรูปอื่นๆ
ให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้

ผ้าเปลือกข้าวโพด-ที่รองนั่งลดออฟฟิศซินโดรม
กระดาษจากเปลือกข้าวโ
พด
ถ่ายอัดแท่งจากซังข้าวโพด
แผ่นบุผนังจากซังข้วโพด

บรรณานุกรม

https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.1927.1.0.html
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?
book=3&chap=2&page=t3-2-infodetail06.html
https://sites.google.com/site/khaykhiki/laksna

THANK YOU


Click to View FlipBook Version