เรื่อง 200 ปี ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง
ผู้จัดทำ
นักเรียนสมาชิกกลุ่ม A
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
เสนอ
คุณครูพิกุลทอง เปล่งศิริ
รายวิชาประวัติศาสตร์ (ส32104)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
การศึกษา เรื่อง 200 ปี ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง
ได้ศึกษาข้อมูลความรู้ประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.ประวัติและความเป็นมาของชุมชน
บ้านป่าเหมี้ยง เป็นชุมเก่าแก่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 200 ปี มาแล้ว เริ่มต้นชาวขมุ
มาอาศัยอยู่ก่อน ต่อมาจึงมีคนทยอยย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัย แต่ก่อนนั้นชาว
บ้านเชื่อว่าบ้านป่าเหมี้ยงเป็น ป่าหินพาน และเรียกกันว่า ป่าเหมี้ยงแม่ปาน
มีเรื่องเล่าสืยต่อกันมาแต่โบราณจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ครั้งหนึ่ง มีพระฤๅษีเดิน
ธุดงค์ผ่านมาแวะพักที่บ้านป่าเหมี้ยง ฤๅษีนั่งสมาธิ ปฏิบัติกิจต่าง ๆ จนรู้สึกง่วง
ฤๅษีจึงต้มน้ำดื่ม และเมื่อหันมองไปรอบ ๆ ตัว ก็พบว่ามีต้นไม้ลักษณะแปลก
ตา ใบของต้นไม้มีลักษณะสวยงาม (ต้นเมี่ยง) ฤๅษีลองเด็ดใบไม้นั้น (ใบเมี่ยง)
มาต้มดื่ม จึงรู้สึกดีขึ้น เมื่อนั่งภาวนาต่อไปก็ไม่รู้สึกง่วง จึงจุดตะเกียงนั่งอยู่ทั้ง
คืน ต่อมามีนายพรานมาหาของป่า จึงได้พบกับฤๅษี ฤๅษีนำน้ำต้มกับใบเมี่ยง
ให้นายพรานดื่ม นายพรานดื่มแล้วก็รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สามารถนั่งห้างยิง
สัตว์ (ที่นั่งบนต้นไม้สูงมีไว้เฝ้าล่าสัตว์) ได้ตลอดทั้งคืน จึงถามกับฤๅษีว่าเป็น
มันคือน้ำอะไร ฤๅษีไม่ได้ตอบ แต่บอกให้นายพรานเก็บใบเมี่ยงไปต้มดื่ม นาย
พรานจึงเก็บใบเมี่ยงไปและนำไปแบ่งให้กับชาวบ้าน ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านต้ม
ดื่มแล้ว ก็สามารถนั่งทำงาน นั่งคุยกัน ไม่หลับไม่นอน เมื่อมองจากที่ไกล ๆ จะ
เห็นไฟตะเกียงที่ชาวบ้านจุดอยู่ “เหมียง ๆ” (เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ดวงไฟ
สว่างในความมืด) ชาวบ้านจึงตั้งชื่อใบไม้นั้นว่า “ใบเมี่ยง” และหมู่บ้านนี้จึงก็ได้
ชื่อว่า บ้านป่าเหมี้ยง ตั้งแต่นั้นชาวบ้านก็เก็บใบเมี่ยงมารับประทาน และใช้เป็น
สิ่งแลกเปลี่ยนกับบ้านอื่น ๆ เช่น แลกข้าว แลกผัก แต่เดิมบ้านป่าเหมี้ยงมีคน
อาศัยไม่มาก ต่อมาเกิดเรื่องเล่าลือ บอกต่อกันปากต่อปากว่า ถ้าตัดต้นไม้ที่
บ้านป่าเหมี้ยงจะเจอเงินตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงโคนทีเดียว จึงมีคนถิ่นอื่นเดิน
ทางเข้ามาแสวงโชคกันจำนวนมาก แต่เมื่อมาถึงก็พบว่าเรื่องเล่านั้นไม่เป็นจริง
ดังคำที่กล่าวอ้าง เป็นเพียงอุบายที่บ่งบอกถึงประโยชน์ของต้นไม้และธรรมชาติ
เท่านั้น แต่เมื่อผู้มาถึงคิดจะเดินทางกลับก็ลำบาก เพราะสมัยนั้นการคมนาคม
ไม่สะดวกสบาย จึงตัดสินใจตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านป่าเหมี้ยงเสียเลย นามสกุลที่
เก่าแก่ที่สุดของคนบ้านป่าเหมี้ยง คือ “ไทยใหม่” นามสกุลที่ได้รับยกย่องว่า
เป็นนักรบของคนบ้านป่าเหมี้ยง คือ “ข้อมือเหล็ก” อาชีพหลักของชาวบ้าน คือ
เก็บใบเมี่ยงขาย ทำข้าวไร่ (ข้าวที่ปลูกบนพื้นที่สูง) ในอดีตเมี่ยง 1 กำ ราคา 1
สตางค์ ปรับราคาขึ้นมาเป็น 50 สตางค์ และ 1 บาท โดยชาวบ้านจะนำใบเมี่ยง
ใส่หลังวัวหรือม้า ขนไปขายที่ บ้านแม่สุข บ้านทุ่งคา โดยมีการแบ่งพื้นที่การ
เก็บเมี่ยงของแต่ละครอบครัว ๆ ละ 5 วา ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ที่มีการ
แบ่งเขตแดนในการเก็บเมี่ยงว่า “ม่อน 5 วา”
ความพิเศษของบ้านป่าเหมี้ยง ที่หลายคนอาจไม่รู้ก็คือ ที่นี่ถือเป็นหมู่บ้านกันชน
ระหว่างเขตชุมชนและเขตป่าสงวน โดยรัฐบาลได้กันพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและ
ทำกิน ก่อนที่จะมีการตั้งอุทยานแหง่ชาติแจ้ซ้อนขึ้น และยังประสานการท่อง
เที่ยวในระบบชุมชน และการท่องเที่ยวอุทยานไว้ได้สนิทเป็นเนื้อเดียวกัน
ด้วยความที่เป็นชุมชนอยู่กับป่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาป่า
เหมี้ยงจึงมักจะได้ชื่นชมกับธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ และมีความอุดมสมบูรณ์อย่าง
เต็มที่อัตลักษณ์ของชุมชนป่าเหมี้ยง จึงไม่ใช่การดำรงวิถีชีวิตแบบชนเผ่า แค่คือ
การใช้ชีวิตอิงอยู่กับธรรมชาติ โดยปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก อย่าง “เมี่ยง” หรือ
“ชาอัสสัม” และมีพืชรองลงมาอย่าง ผลไม้เมืองหนาว กาแฟ เสาวรส ลูกพลับ
และอะโวคาโด ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวง “ที่ป่าเหมี้ยง ในวิถีชีวิต
ของชุมชนโดยปกติ ชาวบ้านจะอยู่กับสวนเมี่ยง เก็บใบเมี่ยง หรือ ชา ในทุกเช้า
ยกเว้นวันพระ ซึ่งตามความเชื่อของคนเฒ่าคนแก่ การเก็บเมี่ยงในวันพระ จะ
ทำให้ต้นเมี่ยงไม่เแตกใบงาม ไม่แตกยอด เหล่านี้อาจเป็นเพียงกุศโลบายใน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมกันมาว่า ไม่อยากให้คนทิ้งวัด เพราะเมื่อเป็นวันพระ
จึงอยากให้ลูกหลานได้ไปทำบุญที่วัดบ้าง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้ามาเที่ยว
ในบ้านป่าเหมี้ยง จะไม่มีการจัดรูทการท่องเที่ยวแบบตายตัว อาจจะแค่เดินชม
วิถีชีวิตชาวบ้าน เสพความเป็นธรรมชาติ ชื่นชมน้ำตก ถ่ายภาพเช็คอินจุดต่าง
หรือเพลิดเพลินกับอาหารที่มีขายอยู่ทั่วไปในชุมชนแต่เราก็คงไม่อยากให้นัก
ท่องเที่ยวพลาดไฮไลท์
สำคัญของที่นี่ ซึ่งหากมาป่าเหมี้ยงแล้ว ไม่ได้เก็บเมี่ยงหรือใบชา ก็เหมือนมาไม่
ถึง เช่นเดียวกับที่อยากให้ลองกินเมี่ยง อมเมี่ยงเคี่ยวเมี่ยง
2.อาชีพของชาวบ้านและผลิตภัณฑ์ของชุมชน
2.1 เหมี้ยงของบ้านป่าเหมี้ยง
บ้านป่าเหมี้ยง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ บนดอยในเขตอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อ.เมือง
ปาน จ.ลำปาง มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี และ Signature ของบ้านป่าเหมี้
ยงคือ “เมี่ยง” ส่วนเพื่อนบ้านของที่นี่มี จุดชมวิวกิ่วฝิ่น อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
และบ้านแม่กำปองชื่อของหมู่บ้าน “ป่าเหมี้ยง” มาจาก “ต้นเหมี้ยง”
(บ้างเขียนเมี่ยง) ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ปลูกโอบล้อมหมู่บ้านป่าเหมี้ยง โดยต้นเหมี้ยงก็
คือต้นชา
ต้นเหมี้ยง การเก็บใบเหมี้ยง
ภาพที่ 2.6 การเก็บใบเหมี้ยง
แต่ที่นี่จะไม่นิยมเก็บยอดอ่อนเพื่อทำใบชา แต่จะเก็บใบอ่อนเพื่อนำไปหมักผ่าน
กระบวนการต่างๆ จนมีรสเปรี้ยว เรียกว่า
“เหมี้ยง” โดยถือเป็นของกินเล่นในวัฒนธรรมของภาคเหนือโดยทั่วไปคล้าย
กับการกินหมาก คนเหนือแต่ละบ้านจะมีเหมี้ยงไว้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือน
นอกจากจะทำเหมี้ยงไว้เคี้ยว
กินเล่นแล้ว ที่นี่ยังนำใบเหมี้ยงแก่มาแปรรูปเป็น “หมอนใบชา”
2.1.1หมอนใบชา ทำโดยการเอาใบเหมี้ยงแก่มาอบแห้งจนมีกลิ่นหอมแล้วนำ
ไปยัดไส้หมอน ทำให้เมื่อนอนหนุนไปก็สูดกลิ่นไปชาหอมๆช่วยทำให้หายใจ
คล่อง ช่วยผ่อนคลายทำให้หลับสบาย
การอบใบเหมี้ยง ใบเหมี้ยงที่ถูกอบแห้ง
ยัดไส้หมอน หมอนใบชา
ใบชาหมักหรือเหมี้ยง เหมี้ยง
เหมี้ยงเหมี้ยง
ชาวบ้านทำเมี่ยงสืบต่อกันมาเกือบ 200 ปี ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ฤดูกาลเก็บ
เมี่ยงเริ่มตั้งแต่เข้าหน้าฝนไปจนหมดหน้าหนาว ราวเดือนพฤษภาคมจนถึง
กุมภาพันธ์“คำว่าเหมี้ยง หรือ บางที่ก็เขียนว่า เมี่ยง นั้น เป็นชื่อของต้นใบชา
พันธุ์อัสสัม ที่นี่คือแหล่งผลิตเหมี้ยงที่ใหญ่ที่สุด และอร่อยที่สุด มีการปลูกการ
ผลิตเป็นอาชีพกันมาหลายชั่วอายุคน” เหมี้ยง ของบ้านป่าเหมี้ยงนั้น เป็นเมี่ยง
คุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดในภาคเหนือ ซึ่งจะพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงที่
ก่อนส่งไปยังตลาดหลักที่ อ.เมือง จ.ลำปาง และอ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
เคล็ดลับของการเป็น เหมี้ยงคุณภาพดีนั้นคือวิธีการปลูกเหมี้ยง ซึ่งจะปลูกใต้
ต้นไม้ใหญ่ เพราะพันธุ์เมี่ยง หรือ ชาอัสสัม ชอบพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร มีน้ำ
เพียงพอ และสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200-1,500 ม. ชาวบ้านที่นี่จึงไม่
โค่นต้นไม้ใหญ่ และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าไม้ รักษาต้นน้ำ แล้ว
ปล่อยให้ต้นเมี่ยงเติบโต โดยให้ธรรมชาติเป็นผู้ดูแล
ความสำคัญของ “เหมี้ยง” ในวิธีชีวิตคนล้านนา ก็เช่นเดียวกับหมากพูลในอดีต
ของคนภาคกลาง ที่ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานมงคล หรือพิธีกรรมต่างๆ ต่างก็มี
เมี่ยงอยู่ในพิธีเหล่านี้ทั้งสิ้น เพื่อล้างปาก และลดความเผ็ดและเค็มที่ค้างในปาก
เพื่อสร้างบรรยากาศในการคุยกันระหว่างคนในครอบครัวช่วงหลังอาหาร ทั้งใช้
ต้อนรับแขกผู้หลักผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ที่ชอบเคี้ยวเมี่ยง หรือการบูชาเซ่นไหว้
ในพิธีกรรมอมเหมี้ยง
จนทำให้ชาวบ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้จากการขายเมี่ยงถึงวันละ 400-500 บาท
ต่อคนเลยทีเดียว เรียกว่าการปลูกเมี่ยง ทำเมี่ยงคือรายได้หลักของคนที่นี่ โดย
มีท่องเที่ยวชุมชน การทำโฮมสเตย์ ขายอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็น
รายได้เสริม
2.1.2.1.1อุปกรณ์
1) ตะกร้าขนาดพอเหมาะสำหรับ
ใส่ใบเมี่ยงสะพายอยู่บนบ่า
2)ตอกเส้นเรียวบางเอาไว้มัดเมี่ยง
3) มีดพร้าสำหรับฟันวัชพืช
4) ปอก (หรือปลอก
ซึ่งทำจากแผ่นสังกะสีม้วนคล้ายแหวนใส่
ที่ปลายนิ้ว
ที่ปลายติดใบมีดโกนไว้
ใช้เก็บใบเมี่ยง
5)ขอ ซึ่งเป็นเชือกยาว
ที่ปลายเชือกติดตะขอไม้ใช้โน้มต้น
ที่สูงให้ต่ำลงจะได้เก็บง่ายขึ้น
2.1ก.า2ร.1ท.ำ2เหขั้มนี้ยตงอน
1) การทำเมี่ยงจะเลือกเก็บใบที่มีแก่ความสม่ำเสมอโดยใช้ “ปอก”
ตัดฉับที่ใบอ่อนตามยอดการเก็บเหมี้ยงไม่ใช่เด็ดทั้งใบ แต่ให้ตัดโดย
เว้นก้านใบเอาไว้ เพื่อให้ใบเมี่ยงได้หายใจ ไม่อย่างนั้นต้นจะไม่แตก
ยอด เน้นเก็บยอดสามใบแรกเท่านั้น ไม่เก็บยอดอ่อนเหมือนการ
ทำชา เก็บใบที่ไม่อ่อนมาก
2) เมื่อเก็บได้เต็มกำมือจะใช้ตอกมัดรวมไว้เรียกว่า 1 กำ นำเมี่ยงที่
เก็บได้มานึ่งในไหเมี่ยงทำจากไม้มะเดื่อหรือไม้เนื้อแข็ง นึ่งให้สุก ใบ
จะเป็นสีเหลือง นำมาวางเรียงบนเสื่อผิวไม้ไผ่
3) พอเย็นนำไปเรียงในเข่ง กันไม่ให้อากาศเข้าประมาณ 2–3 วัน แล้ว
นำไปหมักต่ออีก 1–3 เดือน
2.2 ปอ่าาเรหามบีิ้ยก้งาบ้าน
กาแฟอาราบิก้า อร่อยไม่แพ้ใครในโลกนอกจากเมี่ยงที่เป็นสินค้าขึ้นชื่อแล้ว กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า
เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่กำลังมาแรงของบ้านป่าเหมี้ยง โดย คมสันต์ จันทร์งาม เจ้าของธุรกิจกาแฟคั่ว
บ้านป่าเหมี้ยง ภายใต้แบรด์ ซานคอฟฟี่ (ZHUN COFFEE) บอกว่า ขณะนี้ในหมู่บ้านป่าเหมี้ยงได้มีการ
ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าเพิ่มขึ้น และได้รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปกาแฟบ้านป่าเหมี้
ยง“ด้วยพื้นที่ของบ้านป่าเหมี้ยงนั้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร อีกทั้งยังมีอากาศเย็น
ตลอดปี เหมาะสำหรับปลูกกาแฟอราบิก้า อีกทั้งการปลูกต้นกาแฟจะเน้นความเป็นธรรมชาติ เป็นพืชใต้
ร่มไม้ ที่ปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ อีกทั้งยังมีกระบวนการผลิตที่เน้นคุณภาพเป็นสำคัญตั้งแต่การปลูก
ไปจนถึงการแปรรูปจำหน่าย ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติเข้มข้น หอมละมุน
ที่ทานแล้วจะติดตราตรึงใจอร่อยไม่แพ้ใครในโลกผลิตภัณฑ์กาแฟของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปกาแฟ
บ้านป่าเหมี้ยง มีวางจำหน่ายให้เลือกซื้อ ทั้งเมื่อเข้ามาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน และการสั่งซื้อทางออนไลน์
ที่พร้อมส่งทั่วประเทศ หรือจะเข้ามานั่งรับประทานที่ร้านกาแฟสดในเขตหมู่บ้าน ซึ่งมีให้บริการหลายร้าน
ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นกันเอง
3.สแถลาะนเทที่ทศ่อกงาเลที่ยว
3.สถานที่ท่องเที่ยวและเทศกาล
3.1เทศกาลดอกเสี้ยวบาน บ้านป่าเหมี้ยงบ้านป่าเหมี้ยง เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากขึ้น
เนื่องมากจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ดอกเสี้ยวป่าสีขาวบริสุทธิ์ จะบานทั่วหุบเขาและระ
ห่างทางเดิน ดอกเสี้ยวป่า เป็นดอกไม้พื้นเมือง ลักษณะดอก จะมีสีขาว มี 5 กลีบ มีแต้มสีชมพูที่
กลีบใหญ่ ขึ้นบนภูเขาที่มีระดับความสูง 1,000 เมตรขึ้นไป มีขึ้นมากที่สุดที่ บ้านป่าเหมี้ยง ต.แจ้
ซ้อน อ.เมืองปาน ซึ่งในทุกปีจะมีเทศกาลดอกเสี้ยวบานในงานจะมีการแสดงของชาวบ้านและการ
ออกร้านค้าผลิตภัณฑ์ OTOP จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน
4.การเดินทางไปบ้านป่าเหมี้ยง
4.1การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
จากตัวเมืองมาประมาณ 60 กิโลเมตรถึง
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนจากอุทยานแห่ง
ชาติแจ้ซ้อน เป็นระยะทางประมาณ
16 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านป่าเหมี้ยง เส้น
ทางเป็นทางลาดยาง 6 กิโลเมตร และทาง
คอนกรีตอีก 10 กิโลเมตร ลัดเลาะตาม
ภูเขาสูงใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเส้นทาง
ที่ 2 เดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่มาตาม
เส้นทาง
ตำบลห้วยแห้ว กิ่งอำเภอแม่ออน ผ่าน
บ้านแม่กำปองเข้ามายังบ้านป่าเหมี้ยง
เส้นทางนี้ชันและแคบแต่เส้นระยะทางสั้น
กว่า