วัดวิษณุ By Olivia Wilson
คำ นำ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาผลิตสื่อเพื่อการนำ เสนอ รหัสวิชา ง20222 รายงานนี้จัดทำ เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติมัสยิด(ยะวา)โดยเพื่อทำ ให้ผู้ศึกษาได้รู้จักที่มา ความเป็นมาเนื้อหาสร้างสรรค์
สมาคมฮินดูธรรมสภา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 สร้างขึ้นโดยชาวอุตตร ประเทศ (Uttar Pradesh) จากประเทศ อินเดีย เพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุ และเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เนื่องจาก สถานที่ในบริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขก ประวัติ ที่อยู่ วัดวิษณุ ตั้ง ตั้ อยู่เลขที่ 50 ซอย วัดปรก เขตยานนาวา กทม.
สำ หรับสถานที่ประดิษฐานของเทวรูปนั้น ในโบสถ์ใหญ่กลาง มีรูป พระราม พระนางสีดา พระพรต พระลักษมณ์ พระสัตรุต พระหนุมาน พระศิวลึงค์ จากแม่น้ำ นรมทา พระศาลิ คราม จากแม่น้ำ นารายณี หรือคัณฑกี ด้านขวา มีรูป พระแม่ทุรคา และด้านซ้ายมีรูปเล็กๆ พระนารายณ์ พระแม่ลักษมี พระศิวะ พระแม่ปารวตี พระพิฆเนศวร พระกฤษณะ พระนางราธา เป็นต้น หน้าพระราม (ติดกับเสา) ด้านขวาเป็น พระหนุมานและพระพิฆเนศ ในบริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อยอีก คือ โบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์นาฏราช (อยู่ใต้ต้นโพธิ์) และ โบสถ์พระหนุมาน นอกพระมณฑปด้านขวามีรูป พระพุทธเจ้าปาง ต่างๆ และด้านซ้ายมี พระคัมภีร์พระเวท
สำ หรับประวัติความเป็นมานั้น สมาคมฮินดูสภา ซึ่งเป็น สมาคมทางศาสนา ในองค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้ตั้ง ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2458 เมื่อศาสนิกชนชาวอุตตรประเทศ เพิ่มจำ นวนมากขึ้น และ สถานที่ในบริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ไม่ สามารถขยายเพิ่มได้อีก จึงได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง บริเวณ ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กทม. แล้วจด ทะเบียนสำ นักงานใหญ่ของสมาคม หลังจากนั้น เริ่มเรี่ยไร เงินจากชาวฮินดู ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย คนละเล็กคนละ น้อยเพื่อร่วมกันสร้างโบสถ์ หลังจากสร้างเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญเทวรูปต่างๆ มาจาก ประเทศอินเดียและทำ พิธีประดิษฐานเทวรูป และพิธีเปิดเมื่อ พ.ศ.2464 ตั้งชื่อว่า สมาคมฮินดูธรรมสภา-วัดวิษณุ
เมื่อ พ.ศ.2465 ได้สร้าง ศาลาวัดวิษณุ ใช้ในการประชุม เพื่อประกอบศาสน กิจหลายๆประการ สร้างสระน้ำ เก็บน้ำ ไว้ตลอดปี เพื่ออาบและดื่มในบาง โอกาส สมัยนั้น ศาลาวิษณุเป็นโรงเรือนที่ทำ ด้วยไม้ และหลังคาเป็นสังกะสี เมื่อศาสนิกชนได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้ปรับปรุง โดยสร้างหลังใหม่ขึ้นดังที่เห็น อยู่ในปัจจุบัน ต่อมาได้สร้าง โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์พระหนุมาน ศาลา โหมกูณฑ์ ตามลำ ดับ เพื่อปฏิบัติกิจทางศาสนาตามจิตศรัทธาของศาสนิ กชน
นอกจากนี้เมื่อ พ.ศ.2523 ทางสมาคมฯ ได้สร้างตึกสองชั้นและได้ตั้งชื่อตึกนั้นว่า ตึกหอ สมุดอนุสรณ์แด่ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เมื่อได้ย้ายหอสมุดมาอยู่ชั้นล่างภายใน ตึกนี้แล้ว ก็จัดพิธีเปิดหอสมุดอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง ฯพณฯ โกคเล เอกอัครราชทูตอินเดียประจำ ประเทศไทย มาเป็นประธานพิธีเปิด และมอบหนังสือภาษา ฮินดูจำ นวนหนึ่งพันเล่มให้แก่หอสมุด ในปัจจุบันมีหนังสือประมาณ 5,000 เล่ม ซึ่งอำ นวย ประโยชน์แก่บรรดาสมาชิกและผู้สนใจทั่วไป ในส่วนของกิจกรรมทางศาสนานั้น ได้จัดให้มี เมรุเผาศพชาวฮินดู เพื่อใช้ประกอบพิธี ฌาปนกิจให้แก่ศาสนิกชนชาวพราหมณ์-ฮินดู ชาวซิกข์ และชาวนามธารี และช่วยกัน พัฒนาตามความเหมาะสมให้ดีขึ้น รวมทั้งจัดสถานที่พักอาศัยและสิ่งที่จำ เป็น เพื่ออำ นวย ความสะดวกแก่แขกต่างเมืองในการนำ เยี่ยมเยียนบุคคล และสถาบันทางศาสนาและ วัฒนธรรมตลอดถึงสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งแขกเหล่านี้โดยปกติก็เป็นชาว อินเดียอยู่ด้วย
ด้วยเหตุผลที่ว่าโบสถ์ของทางวัดวิษณุมีความเก่าแก่มาก เมื่อปี พ.ศ.2535 คณะ กรรมการที่ตัดสินใจสร้างโบสถ์ใหม่โดยมี นายบรำ ยีต สุกุล ประธาน จึงได้ลงมือรื้อถอน และลงเสาเข็มก่อสร้างโบสถ์ใหม่ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 9 ปี สำ หรับการวางศิลาฤกษ์ของโบสถ์ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธีนี้ โบสถ์วัดวิษณุได้ก่อสร้างเสร็จในปี 2544 ซึ่งขณะนั้นมี นายไกรลาศ ตีวารี ประธานของวัด วิษณุ และในปีนี้คือปี 2547 ก็ได้อัญเชิญเทวรูปทั้งหมด 24 องค์ มาจากประเทศอินเดีย เพื่อประดิษฐานในโบสถ์ใหม่แห่งนี้ ซึ่งมี นายรามบีลาส ดูเบย์ ประธานคนปัจจุบันเป็นหัว เรี่ยวหัวแรง เรื่องและภาพ : ไตรเทพ ไกรงู / ขอขอบคุณ : คมชัดลึก เพิ่มเติม : วัดวิษณุ อยู่ซอยเดียวกับวัดปรก เขตยานนาวา สถานีรถไฟฟ้า BTS ที่ใกล้ที่สุด คือ สถานีสุรศักดิ์ / รถเมล์สายที่ผ่านได้แก่ 17, 22, 62, 67, 77, 116, 149 และมีมอเตอร์ไซค์ รับจ้างจากปากทางสมาคมหอการค้าไทย-จีน เพื่อเข้าไปยังวัดวิษณุ อ่านต่อเรื่องวัดวิษณุเพิ่มเติม 1. พลิกปูมวัดวิษณุ 2. นวราตรี ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา
ประวัติความเป็นมา วัดวิษณุ เป็นวัดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เพียงแห่งเดียวในเอเชียอาคเนย์ที่มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ สร้าง ด้วยหินอ่อน แกะสลักด้วยมือจากประเทศอินเดีย สร้าง ในสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่อง จากศาสนิกชนชาวอินเดียในประเทศไทยมีจํานวนมากขึ้น สถานที่ประกอบศาสนกิจที่มีอยู่เดิม คือ วัดพระศรี มหาอุมาเทวี (วัดแขก) คับแคบ ไม่สามารถขยายได้ จึงได้มีการเรี่ยไรเงินจากชาวอินเดียที่มาจากแคว้นอุตตร ประเทศ และชาวฮินดู รวมถึงหัวหน้าคณะวิศวกรชาว อังกฤษ ในบริษัทอีสต์เอเชียติกร่วมบริจาคเงิน เพื่อซื้อ ที่ดินบริเวณซอยวัดปรก และได้สร้างมหามณเฑียรหรือ เทวาลัย (โบสถ์) ขึ้นในที่เดียวกับที่ตั้งสมาคมฮินดูสภาโดยอัญเชิญเทวรูปต่างๆ จากประเทศอินเดียมาประดิษฐาน เพื่อ สักการบูชา ทําพิธีเปิด เมื่อพุทธศักราช 2464 ตั้งชื่อว่า สมาคมฮินดูธรรมสภา - วัดวิษณุ ต่อมา ได้จัดสร้างศาลาโบสถ์ สุสานฮินดู และอาคาร อื่นๆ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนา รวมทั้งสร้าง หอสมุด เป็นตึกสองชั้น เพื่ออํานวยประโยชน์ในการศึกษา หาความรู้ แก่ชาวฮินดู และผู้สนใจทั่วไปจวบจนพุทธศักราช 2535 มหามณเฑียร หรือโบสถ์ของวัดวิษณุ มีความเก่า แก่ทรุดโทรมลง จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์และจัดสร้างขึ้นใหม่ใช้เวลาประมาณ 9 ปี แล้วเสร็จพุทธศักราช 2554 สิ่งสําคัญภายในศาสนสถาน พุทธศักราช 2547 ได้อัญเชิญเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ 24 องค์ จากอินเดียมา ประดิษฐานที่โบสถ์ใหม่แห่งนี้ สําหรับสถานที่ประดิษฐานของเทวรูปนั้น ในโบสถ์ ใหญ่กลางมีรูปพระราม พระนางสีดา พระพรต พระลักษณ์ พระสัตรุต พระหนุมาน พระศิวลึงค์ พระศาลิคคราม พระแม่ทุรคา พระนารายณ์ พระแม่ลักษมี พระศิวะ พระแม่ปารวตี พระพิฆเนศวร พระกฤษณะ พระราธาในบริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อยอีก คือ โบสถ์พระแม่ทรุคา โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์นาฏราซ (อยู่ใต้ต้นโพธิ์) และโบสถ์ พระหนุมาน นอกพระมณฑปด้านขวามีรูปพระพุทธเจ้า ปางต่างๆ และด้านซ้ายมี พระคัมภีร์พระเวท วัดวิษณุ นอกจากจะเป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ยังเป็นศูนย์กลางของชาวฮินดูอุตตรประเทศยังเป็นต้นแบบของไวษณพนิกาย นับถือ พระวิษณุว่าเป็น เทพเจ้าสูงสุดยิ่งใหญ่กว่าเทพใดๆ รวมถึงเป็นที่ตั้งของสมาคมฮินดู ธรรมสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสําคัญในการช่วยเหลือและพัฒนาชุมชน ทั้งใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
รายละเอียด สมาคมฮินดูธรรมสภา หรือ วัดวิษณุ ยานนาวา เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไวษณพ ตั้งอยู่เยื้องกับวัดปรก เขตสาทร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ลักษณะสถาปัตยกรรมของเทวสถานคล้ายพุทธคยาในประเทศอินเดียโดยเมื่อเขาไปตรงกลางมีซุ้มเทพประธาน ของวัดนี้คือ พระวิษณุและพระลักษมีโดยประทับพร้อมกันบนอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร เป็นองค์ประธาน ภายในวัด โดยถัดมาด้านซ้ายมือของเทพองค์ประธาน เป็นซุ้ม พระกฤษณะและพระแม่ราธา ถัดออกไปริมสุดด้าน ขวามือเป็นซุ้ม พระพุทธรูป ส่วนทางด้านขวามือของเทพองค์ประธานคือ พระรามและนางสีดา และซุ้มพระหนุมาน และ ด้านริมหน้าต่างด้าน ขวามือเป็นซุ้มที่ประดิษฐาน พระแม่ทุรคา ส่วนด้านซ้ายมือริมหน้าต่างเป็นที่ประดิษฐาน พระพิฆเนศพร้อมทั้ง พระนางพุทธิและพระนางสิทธิชายาของพระพิฆเนศ โดยด้านข้างของโบสถ์ด้านล่าง ซึ่งเป็นเทวสถานขนาดย่อมที่ ประดิษฐานเทพเจ้าอีกหลายองค์ได้แก่ “ศาลพระพรหม” และ เทวสถานครอบครัวพระศิวะโดยด้านในมีเทวรูปพระอิศวรประทับคู่กับพระแม่อุมาโดยมีพระพิฆเนศประทับอยู่บน ตัก เทวรูปพระขันธกุมารและศิวลึงค์ ส่วนเทวสถานข้างหลังมีซุ้มประดิษฐาน พระแม่ทุรคา ขนาบข้างด้วยเทวรูป พระแม่ลักษมี พระแม่ศีลตาเทวี(ซ้าย มือของเทพประธาน)พระแม่สุรัสวดีพระแม่กาลี ขวามือของเทพประธาน. ถัดมาเป็นซุ้มประดิษฐานเทวรูปสัมฤทธิ์สีดำ ขนาดใหญ่ของพระอิศวรขณะทรงบำ เพ็ญสมาธิ ถัดจากซุ้มเทวรูปสัมฤทธิ์ของพระอิศวรเป็นซุ้มของพระแม่คงคา โดยภายในประดิษฐานเทวรูปเทพประธานคือพระ แม่คงคา และเทวรูปอื่นๆ โดยเรียงจากซ้ายมาขวาดังนี้ เทวรูปพระพิฆเนศปัจมุข(พระพิฆเนศห้าเศียร) พระ นารายณ์ พระลักษมี พระแม่คงคา(เทพประธานของซุ้มนี้) พระแม่สันโดษี และเทวรูปพระแม่ทุรคา. และเมื่อเลยไปด้านในก็เป็นซุ้มที่ประดิษฐานเทวรูปเทวดานพเคราะห์ ซุ้มบูชาเทพนาคราชและพระแม่มนสาเทวี(อยู่ ใต้ต้นโพธิ์)และศิวลึงค์ ซุ้มของพระนาฎราย่า(ข้างต้นโพธิ์)
สิ่งสำ คัญภายในศาสนา พุทธศักราช 2547 ได้อัญเชิญเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ 24 องค์ จากอินเดียมา ประดิษฐานที่โบสถ์ใหม่แห่งนี้ สําหรับสถานที่ประดิษฐานของเทวรูปนั้น ใน โบสถ์ ใหญ่กลางมีรูปพระราม พระนางสีดา พระพรต พระลักษณ์ พระสัตรุต พระหนุมาน พระศิวลึงค์ พระศาลิคคราม พระแม่ทุรคา พระนารายณ์ พระแม่ ลักษมี พระศิวะ พระแม่ปารวตี พระพิฆเนศวร พระกฤษณะพระราธาใน บริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อยอีก คือ โบสถ์พระแม่ทรุคา โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์นาฏราซ (อยู่ใต้ต้นโพธิ์) และโบสถ์ พระหนุมาน นอกพระมณฑปด้าน ขวามีรูปพระพุทธเจ้าปางต่างๆ และด้านซ้ายมี พระคัมภีร์พระเวท วัดวิษณุ นอกจากจะเป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา ยังเป็นศูนย์กลางของชาวฮินดูอุตตรประเทศยังเป็นต้นแบบของ ไวษณพนิกาย นับถือ พระวิษณุว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุดยิ่งใหญ่กว่าเทพใดๆ รวมถึงเป็นที่ตั้งของสมาคมฮินดู ธรรมสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาท สําคัญในการช่วยเหลือและพัฒนาชุมชน ทั้งใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
ที่อยู่ 96 ซอยเจริญราษฎร์ 3 ถนนเจริญ ราษฎร์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
OC TOB ER 2 0 3 0 ด.ช.เพชรานันท์ จรุงมหพันธุ์ เลขที่26 ม.3/9