The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปบทความ 2 บทความ (5)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-11-04 04:23:01

สรุปบทความ 2 บทความ (5)

สรุปบทความ 2 บทความ (5)

รายงานการสรุปและวิจารณบ์ ทความทางการศกึ ษา

จดั ทำโดย

นางสาวชลิตา รัตนโกศยั
รหสั นสิ ติ 64101010396

คณะมนุษยศาสตร์ หลกั สตู รการศกึ ษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
Faculty of Humanities Bachelor of Education Program in English

เปน็ ส่วนหนง่ึ ของรายวชิ า
ศษ111 คณุ ธรรมและจรรยาบรรณวิชาชพี ครู
ED111 Professional virtue and ethics for teachers

ปีการศกึ ษา 2564 ภาคเรียนที่ 1



รายงานการสรุปและวจิ ารณบ์ ทความทางการศกึ ษา

จัดทำโดย

นางสาวชลติ า รัตนโกศยั

เปน็ สว่ นหนงึ่ ของรายวชิ า
ศษ111 คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชพี ครู

ED111 Professional virtue and ethics for teachers

ปกี ารศึกษา 2564 ภาคเรียนท่ี 1





คำนำ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู (ศษ111) ผู้จัดทำได้ทำการ
สรุปและวิจารณ์บทความทั้งสิ้น 2 บทความอันได้แก่ การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อยกระดับ
ความสามารถทางการฟงั ภาษาองั กฤษของเด็กนักเรียนไทย VPL-PA Model โดยมีวัตถุประสงคก์ ารศึกษาเพอ่ื
ทำความเขา้ ใจและคน้ หาความรเู้ กี่ยวกบั แวดวงการศกึ ษาไทยใหม้ ากขึน้

ผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์กติ ติชัย สุธาสิโนบล ผู้ให้ความรู้และแนะแนวทางในการศึกษาผู้จัดทำ
หวังวา่ รายงานนี้จะใหค้ วามรแู้ ละเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทกุ ๆท่าน

ผู้จัดทำ





สารบญั

คำนำ หน้า

สารบัญ ก

สารบัญตาราง ค

สารบัญรปู ภาพ 2

1. บทความท่ี 1 5
เรือ่ ง การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเขา้ ใจดว้ ยวิธีสอนอา่ น 6
แบบบูรณาการของเมอร์ดอ็ ค (MIA) 8
สรปุ บทความที่ 1
วิจารณบ์ ทความที่ 1 14
15
2. บทความท่ี 2 16
เรือ่ ง การพัฒนารปู แบบการเรียนการสอน เพ่ือยกระดบั ความสามารทางการฟงั
ภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียนไทย VPL-PA Model
สรปุ บทความที่ 2
วจิ ารณบ์ ทความที่ 2

บรรณานกุ รม



สารบัญตาราง

เรอ่ื ง หน้า

1. หลักการของแนวคิดรปู แบบการสอนการฟงั 3 ขนั (Pre-While-Post Listening) 10
และการเรียนรโู้ ดยใช้ภาระงานเปน็ ฐาน (Task-Based Learning) หรอื TBL
11
2. รูปแบบการเรยี นการสอนฟงั ภาษาอังกฤษ 5 ข้นั ตอน หรือ VPL-PA Model



สารบญั รูปภาพ

เรอื่ ง หนา้

1. หนา้ ปกวารสารวิชาการของบทความท่ี 1 1
2. หน้าปกวารสารวิชาการของบทความที่ 2 7
3. แสดงการเปรียบเทยี บรปู แบบการเรยี นการสอนฟงั 5ขั้นตอน หรือVPL-PA Model 12

กับการเจรญิ เติบโตของตน้ ไม้ท่ไี ดร้ บั การจัดการเรียนการสอนท่คี รบถ้วนตาม 12
4. แสดงการเปรยี บเทียบรูปแบบการเรียนการสอนฟัง5ข้นั ตอน หรอื VPL-PA Model

กบั การเจริญเตบิ โตของต้นไม้ที่ไดร้ ับการจดั การเรยี นการสอนท่ีไมส่ มบูรณเ์ พียงพอ
และครบถ้วนตามกระบวนการ

1

2

บทความที่ 1

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค
(MIA) โดย...ถนอมเพ็ญ ชูบวั ครโู รงเรยี นบ้านควนขนุน จงั หวดั พทั ลุง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสาร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
และใช้ในการสื่อความหมายและความเข้าใจซึง่ กันและกัน ในปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีบทบาทอย่าง
กว้างขวางในการติดต่อสื่อสารในสังคมโลก และหากเราเข้าไปในอินเทอร์เน็ตก็จะพบว่าข้อมูลข่าวสารในเว็บ
เพจส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษมากที่สุดรวมทั้งประเทศทั่วโลกมีจํานวนประเทศถึง 53 ประเทศ ใช้
ภาษาองั กฤษเป็นภาษาทางการ

นอกจากน้ี เดวดิ แกรดดอล (Davis Graddol) นกั ภาษาศาสตร์ประยุกต์ชาวอังกฤษได้ทาํ การวิจยั เรื่อง
“English Next (2006)” ให้กับ British Council โดยกล่าวถึงแนวโน้มของภาษาอังกฤษว่า ในอนาคตจํานวน
ผเู้ รียนภาษาองั กฤษท่วั โลก จะขยายตวั เพ่ิมขนึ้ อย่างต่อเน่ือง และคาดว่าในอีก 10 - 15 ปีข้างหน้า(ประมาณปี
2015-2030) จะมีจํานวนผู้เรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นถึง 2 พันล้านคน ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า
ผู้คนบนโลกน้ีต่างตระหนกั ถึงความสําคัญของภาษาอังกฤษในสังคมโลกยุคใหม่ ท้งั นเี้ พราะว่าภาษาอังกฤษเป็น
กญุ แจสําคัญทง้ั ในการค้นควา้ หาความรู้และในการติดต่อสื่อสาร

สําหรับการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในประเทศไทยนั้น เมื่อเปรียบเทียบความสำคัญ
ของทักษะทางภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่านและเขียน จะพบว่าการอ่านเป็นทักษะที่สําคัญกว่าทักษะ
อื่นๆ เพราะทักษะการอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญในการแสวงหาความรู้เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการศึกษา การ
เจรจาตอ่ รอง และเพ่ือการแข่งขนั ทางการประกอบอาชีพ ทักษะการอ่านจึงเป็นทักษะท่สี ําคัญในการศึกษาทุก
ระดับ เนื่องจากการเรียนวชิ าตา่ งๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนตอ้ งใช้การอ่านเป็นส่ือในการเรียนรู้ โดยเฉพาะใน
การเรียนภาษาอังกฤษเปน็ ภาษาต่างประเทศในประเทศไทยทักษะการอ่านเป็นทักษะท่ีสําคัญมากที่สุด เพราะ
ผู้เรียนมีโอกาสใช้ทกั ษะ ฟงั พูด และเขยี นนอ้ ยกวา่ ทักษะการอา่ น ดงั นนั้ การอา่ นจึงเป็นเป้าหมายสาํ คัญในการ
เรยี นการสอนภาษาองั กฤษ เพอ่ื ให้ผเู้ รยี นไดใ้ ชเ้ ป็นเคร่อื งมอื นําไปสู่การแสวงหาความร้ทู ้ังปวง

แต่จากสภาพปัจจุบันที่เกิดขึ้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (โรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้น
ปฐมวยั ถึงระดบั ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น) พบวา่ โรงเรียนประสบปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวชิ าภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการอ่านและเขียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี
นักเรียนสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ มีนักเรียนสามารถสอบผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากําหนดไว้ (ร้อยละ
50) เพยี งร้อยละ 35 จากเกณฑ์ท่ีสถานศึกษากําหนด คอื ร้อยละ 80 ผ่านเกณฑก์ ารประเมินระดับสถานศึกษา
สาเหตขุ องปัญหาดงั กล่าวส่วนหนงึ่ เกิดจากตัวผู้เรยี นเอง คอื
(1) ผู้เรยี นไมเ่ ห็นคณุ คา่ ในการฝึกทักษะการอ่าน
(2) นักเรียนไม่ชอบอ่าน ส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่านไม่สามารถหารายละเอียดและสรุป
ใจความสาํ คญั จากเรือ่ งท่อี ่านได้
(3) นกั เรียนไมม่ คี วามกระตอื รือร้นในการอ่าน
(4) นักเรียนไม่มีนิสัยรักการอ่าน จึงทําให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์การประเมินของ
สถานศึกษา

ซึ่งผลดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับผลการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ O - NET
(Ordinary National Educational Test)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2553 พบว่า
ค่าเฉลี่ยของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่นๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการ

3

ประเมินคณุ ภาพทางการศึกษาระดับชาติ O-NET ในวิชาภาษาอังกฤษจําเป็นต้องใช้ทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน
เพราะทักษะการอ่านเป็นส่วนประกอบสําคัญในการวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนร้อยละ 80 เน้นทักษะการอ่าน
กลา่ วคอื อ่านขอ้ ความสนั้ ๆ อา่ นตารางเวลา อ่านป้ายสญั ลกั ษณ์ อา่ นเรอ่ื งส้ัน ฯลฯ ถ้านักเรยี นไม่สามารถอ่าน
ข้อความหรืออ่านเร่ืองสั้นแล้วสรปุ ใจความสําคญั ได้ กจ็ ะทาํ แบบทดสอบไม่ได้

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนซึ่งเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษจึงได้ค้นหารูปแบบการสอนที่จะ
ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ จึงนําวิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคมาใช้ในการ
แก้ปญั หา

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) เมอร์ด็อค ได้แบ่งวิธีการสอนอ่านแบบ
บูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ออกเปน็ 7 ข้นั ตอน ดงั ตอ่ ไปน้ี

1. การถามนําก่อนการอ่าน (Priming Questions) คอื ข้ันตอนทค่ี รูผู้สอนตั้งคาํ ถามหรอื ยกข้อความเก่ียวกับ
เรื่องที่จะอ่านมาพูดคุยกับนักเรียน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายร่วมกันระหว่างครูกับ
นักเรียนก่อนที่จะอ่านเรื่องนั้นๆ เป็นการโน้มน้าวให้นักเรียนสนใจเรื่องที่จะอ่าน เป็นกระบวนการคาดคะเน
ล่วงหน้าว่าเรื่องที่จะอ่านนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอะไร และเมื่อถึงเวลาอ่าน นักเรียนทุกคนจะพยายามค้นหา
คําตอบว่า คําตอบที่คิดไว้ล่วงหน้านั้น ตรงกับเรื่องที่อ่านหรือไม่ การอ่านจึงเป็นการกระตุ้นเร้าให้นักเรียนหา
คาํ ตอบ
2. การทําความเข้าใจคําศัพท์ (Understanding Vocabulary) ขั้นตอนนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนเกิด
ความม่ันใจว่าคําศัพท์บางคําทเี่ ป็นตัวบ่งช้ีความหมายนั้นผู้อา่ นมีความเข้าใจถูกต้องแล้วหรือยัง โดยครูจะเป็นผู้
เลือกคําศัพท์เหล่าน้ันขึ้นมาเอง และให้นักเรยี นในกลุ่มช่วยกันค้นหาความหมายของคําศัพท์ในใบงานท่ีครูแจก
ให้ จากพจนานุกรม
3. การอ่านเนื้อเรื่อง (Reading the Text) หลังจากทราบความหมายของคําศัพท์แล้ว ขั้นต่อไป คือ
ครผู ู้สอนจะแจกเนือ้ เร่ืองให้นักเรียนอ่าน ซ่งึ ภายในเนือ้ เรื่องประกอบด้วยคําถามแทรกอยู่ในเนื้อหา เพื่อฝากให้
นกั เรียนคดิ วิเคราะห์ในขณะทอี่ ่าน และครคู อยแนะนาํ ช่วยเหลือเม่อื นกั เรียนเกิดปัญหาในระหว่างอ่าน
4. ทําความเข้าใจเนื้อเรื่อง (Understanding the Text) คือ การตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน โดย
การให้นักเรียนเติมข้อความในประโยคปลายเปิดที่ครูกําหนดให้ นักเรียนต้องเขียนประโยคเหล่านั้นให้เป็น
ประโยคที่สมบูรณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน ในการเติมข้อความเหล่านั้นต้องพิจารณาว่านักเรียนจะไม่ลอกประโยค
จากเร่ืองมาตอบได้
5. การถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น (Information Transfer) คือ กิจกรรมที่ให้นักเรียนนําความรู้หรือ
ข้อมูลที่ได้จากการอ่านมานําเสนอใหม่ในรูปแบบอื่น เช่น อาจจะให้นําคําหรือข้อมูลที่ได้จากการอ่านมาเสนอ
ในรูปตาราง แผนภมู ิ กราฟ หรือแผนท่อี ย่างใดอย่างหนงึ่ ตามความเหมาะสมของข้อมูล หากผู้อา่ นทําได้ก็ย่อม
แสดงว่าผู้อา่ นสามารถจบั ประเด็นสําคญั ได้
6. การทําแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยคและเรียงโครงสร้างอนุเฉท (Jigsaw Exercise & Paragraph
Structure) เป็นกิจกรรมที่ครูแจกชิ้นส่วนประโยคที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องที่อ่านจํานวนหนึ่งให้แก่นักเรียนแต่
ละกลุ่ม และให้นักเรียนช่วยกันต่อชิ้นส่วนประโยคเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของอนุเฉท (Paragraph) ทีถ่ ูกตอ้ ง และ
ให้ไดใ้ จความสมบรู ณ์ต่อเนอื่ งกัน
7. การประเมินผลและการแก้ไข (Evaluation & Correction) เป็นการประเมินผลความเข้าใจในการอ่าน
ส่วนรวมอีกครัง้ หนึง่ และแก้ไขการใช้ภาษาของนักเรยี นในแบบฝึกหัดประกอบการอ่าน เพื่อให้ผู้เรยี นสามารถ
ใช้ภาษาได้อย่างถูกตอ้ ง เช่น อาจจะให้นําคําหรือขอ้ มูลทไี่ ด้จากการอา่ นมาเสนอในรูปตาราง แผนภูมิ

4

จากขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการสอนอ่านโดยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค
(MIA)เป็นการสอนอ่านท่ีเน้นการฝึกใช้ทักษะต่างๆ คือ ทักษะการฟัง ทกั ษะการพูด (จากการตอบคําถามในขั้น
ที่ 1) ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนควบคู่กันไปตลอด โดยมีขั้นการสอนที่เป็นไปตามลําดับเพื่อพัฒนา
ทักษะการอ่านเป็นหลัก และสามารถพัฒนาทักษะอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย และจากการสังเกตพฤติกรรมของ
นักเรียน พบว่า นักเรียนสนุกสนานเพลิดเพลินกับการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทกุ ขั้นตอน และนักเรียน
ได้รับการพัฒนาทักษะทางภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ โดยเน้นความเข้าใจความหมาย ให้รู้จักคิด นักเรียนมี
โอกาสฝึกภาษาด้านทักษะต่างๆ ในลักษณะบูรณาการ (Integration)ทุกขั้นตอน อีกทั้งฝึกการทํางานเป็นกลุ่ม
และฝึกความรับผดิ ชอบต่อการทาํ งาน

ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบน้ีผูเ้ ขียน พบว่า วิธีสอนอ่านแบบบรู ณาการของเมอร์ดอ็ ค (MIA)
สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลในการพัฒนานักเรียนกลุ่มอ่อนที่ไม่สามารถอ่านและสรุปใจความสําคัญใน
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาได้ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้เป็นเพราะขั้นตอนการสอนอ่านแบบบูรณาการ
ของเมอร์ด็อค (MIA) มีขั้นตอนการสอนที่ชัดเจน อีกทั้งเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้น
กระบวนการกลุ่ม โดยให้นักเรียนมีโอกาสช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีส่วนร่วมในการคิด และทํากิจกรรม ซึ่ง
กิจกรรมต่างๆ เหล่านีท้ ําใหผ้ ู้เรียนมีความกระตอื รือร้นและสนใจท่จี ะเรยี นตลอดเวลา

ข้อคิดที่ได้รับจากการนําวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) มาจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนอ่านภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนสามารถตอบคําถาม แปลความ ตีความ และขยายความเรือ่ งที่อ่านไดด้ ี
ขึ้น และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลักการสอน
อา่ นแบบบูรณาการของเมอร์ดอ็ ค (MIA)

อกี ท้งั จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักเรียน มีสิ่งท่ีครตู อ้ งพิจารณาและ
เตรียมการสอน เช่น ครูต้องเลือกเนื้อหา ในขั้นการเลือกเนื้อหาเพื่อฝึกทักษะทางภาษาโดยเฉพาะการอ่าน
รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน ระดับความยากง่ายของบทอ่าน
โดยบทอ่านควรมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาข้ันพืน้ ฐานพุทธศักราช 2551 กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาตา่ งประเทศ รวมทั้งบทอ่านควรเป็นเรื่องที่มี
ความเกย่ี วขอ้ งสมั พนั ธ์กบั ชีวติ ประจาํ วันของผู้เรยี น เพอื่ ให้ผู้เรยี นสามารถเรียนรู้ได้อย่างมคี วามสขุ และสนุกกับ
การเรียนรู้ ครูผู้สอนควรพิจารณาโครงสร้างไวยากรณ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องแต่ละเรื่องว่าเหมาะสมกับระดับ
ความสามารถของผู้เรียนหรือไม่ อาจนําโครงสร้างไวยากรณ์ที่ยากและซับซ้อนสอนก่อนที่จะให้นักเรียนทํา
กจิ กรรมการอ่าน เพือ่ ให้นักเรียนสามารถแปลความ ตคี วาม และขยายความได้ ครผู ู้สอนควรจดั คละนักเรียนท่ี
มีความสามารถตา่ งกนั ไว้ในกลมุ่ เดยี วกนั เพอื่ ฝึกให้นกั เรียนช่วยเหลือซึง่ กนั และกัน

5

บทสรุป

ภาษาเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่สำคัญในการแสวงหาความรู้และใช้ในการสื่อความหมายให้เข้าใจซึ่ง
กันและกัน ยิ่งปัจจุบันภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การเรียนภาษาอังกฤษจึงเป็นส่ิง
สำคญั ในประเทศไทยเราจะเห็นว่าทักษะภาษาอังกฤษท่ีเราได้นำมาใช้มากที่สุด คือ ทักษะการอา่ น จากทักษะ
ที่เหลือ อันได้แก่ การฟัง การพูด การเขียน เพราะสามารถนำไปประยุต์ใช้ในการศึกษาได้ ซึ่งปัจจุบัน(ปี2554)
นกั เรียนยังมคี ะแนนภาษาองั กฤษตำ่ กวา่ เกณฑท์ ีต่ ัง้ ไว้ เนอื่ งด้วยเหตผุ ลนานาประการ อาทิ ผู้เรยี นไม่เหน็ คุณค่า
ในการฝึกภาษาองั กฤษ หรอื ไมม่ นี ิสัยรักการอา่ น เปน็ ตน้

จากปัญหาดังกล่าวผู้เขียนได้เสนอวิธีการอ่านของเมอร์ด็อค มีทั้งสิ้น 7 วิธี ได้แก่ การถามนำก่อนการ
อ่าน การทำความเข้าใจคำศัพท์ การอ่านเนื้อเรื่อง ทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง การอ่านโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น
การทำแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยคและเรียงโครงสร้างอนุเฉท และการประเมินและแก้ไข ซึ่งวิธีข้างต้น
สามารถนำทกั ษะอืน่ ๆ มาบรู ณาการกันได้ เพียงแต่จะเน้นการอา่ นเป็นหลัก

ผลจากการใช้วิธีสอนนี้ปรากฏว่านักเรียนกลุ่มอ่อนมีการพัฒนาศักยภาพในการอ่านและสรุปใจความ
สำคัญไดอ้ ย่างน่าพอใจ อีกทง้ั ครูผู้สอนเองก็ต้องพิจารณาในการเตรียมการสอน เชน่ เลือกเนื้อหาและกิจกรรม
การเรียนรู้ ตามระดับความยากง่ายของผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสอดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และต้องให้นักเรียนคละกลุ่มผู้เรียนที่มี
ความสามารถต่างกนั ไว้ในกลุม่ เดียวกนั เพอ่ื ให้นักเรยี นชว่ ยเหลอื ซึง่ กนั และกนั

6

บทวจิ ารณ์

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาทกั ษะการอา่ นภาษาองั กฤษเพ่ือความเข้าใจดว้ ยวิธสี อนอ่านแบบบูรณา
การของเมอร์ด็อค (MIA) ข้างต้น ที่นำวิธีการอ่านของเมอร์ด็อคทั้ง 7 ขั้นตอน มาปรับใช้ในการพัฒนาทักษะ
การอ่านของนักเรียน ผอู้ า่ นมีความคิดเหน็ แบ่งเป็นสองประการ คือ ทั้งเหน็ ด้วยและไม่เหน็ ดว้ ย

ในกรณีที่เห็นด้วย มี 2 กรณี คือ กรณีแรกมุมมองแนวคิดของการขยายตัวของการใช้ภาษาอังกฤษ
เพราะบทความที่ผู้เขียนเขียนไว้ในปีพุทธศักราช 2554 ซึ่งสิบปีต่อมา ผู้อ่านเองก็เห็นได้ชัดว่าไปเป็นตาม
แนวโน้มที่กล่าวมา และกรณีที่สองวิธีการพัฒนาการอ่านของเมอร์ด็อคทั้ง 7 ขั้นตอน เป็นวิธีที่ผู้อ่านอ่านแล้ว
เห็นภาพเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งมีความเห็นสอดคล้องที่ว่าสามารถนำวิธีการข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการ
จดั การเรียนการสอนในอนาคต

ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย คือ วิธีของเมอร์ด็อกนั้น เป็นวิธีการที่เน้นการอ่านเป็นสำคัญ ซึ่งจะทำให้ทักษะ
การฟงั และพดู ทีม่ ีความจำเปน็ นั้นไม่ไดส้ ัมฤทธิ์ผลดงั ควร แนะนำวา่ ควรทจ่ี ะนำวิธกี ารอนื่ ๆมาประยุกตใ์ ช้ในการ
จัดการเรียนการสอนเพิ่มเติม เพราะการสื่อสารนน้ั ควรจะมีเท่ากันในทุกๆทักษะ ขอยกตัวอย่างแนวคิดของวัน
เฉลิม นะน่าน(2564:38-46) คือ หลักการคิดแบบมุ่งเน้นการสื่อสาร (Communication) สู่การแข่งขัน
(Competition) และ พัฒนาตนเองอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ (Self-Development) หรือ CC&Ds เปน็ หลกั การคิด
ท่ีเสนอเป็นแนวทางในการจัดการเรยี นการสอนภาษาองั กฤษในยุคปัจจุบัน พัฒนาในทกุ ๆทักษะ อันได้แก่ การ
ส่งสาร(การเขียนและการพูด) และการรับสาร(การอ่านและการฟัง) จากเครื่องมือที่ได้รับจากการสื่อสาร เช่น
การดูหนังภาษาอังกฤษ การฟังเพลงภาษาอังกฤษ การฟังข่าวภาษาอังกฤษ หรือการฟังเรื่องราวภาษาอังกฤษ
ต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจ ผู้เรียนจะต้องนําทักษะการพูดนั้นไปพูดในสถานการณ์จริง เช่น พูดกับนักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติเกี่ยวกับการบอกข้อมูลต่าง ๆ หรือสถานการณ์จําลองที่ครผู ู้สอนสร้างข้ึนภายในชั้นเรียนก็ได้ เมื่อ
ผู้เรียนได้ผ่านกระบวนการอ่านหรือทักษะการอ่านมาแล้ว ผู้เรียนต้องนําทักษะนั้นไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
เช่น การอ่านบทความ ข่าว บทสนทนา สาระน่ารู้ต่าง ๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษ ในทํานองเดียวกับการเขียน
ผู้เรียนจะต้องหาช่องทางในการแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเอง เช่น การเขียนจดหมาย หรือบทความต่าง ๆ
เป็นภาษาอังกฤษ และสุดท้าย คือการแข่งขัน เพื่อนำไปใช้ศึกษาต่อได้ เช่น การทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ภาษาอังกฤษ สําหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 การทดสอบ GAT
ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 6 ร่วมไปถึงข้อสอบ Test of English for International Communication
(TOEIC) Test of English as a Foreign Language (TOEFL) แ ล ะ International English Language
Testing System (IELTS) ในระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย วิธี CC&Ds ข้างต้น ผู้อ่านมีความเห็นทีว่ า่ นักเรียน
จะสามารถนำไปใช้ประโยชนใ์ นภาษาองั กฤษไดร้ อบดา้ นมากกว่า

7

8

บทความท่ี 2

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพ่ือยกระดับความสามารถทางการฟังภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียนไทย
VPL-PA Model วนั เฉลิม นะน่าน โรงเรยี นยางซ้ายพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามธั ยมศึกษา เขต 38

ปัญหาด้านการฟงั ภาษาองั กฤษของนักเรยี นไทยและนักเรยี นต่างประเทศ
การฟังเป็นทักษะท่ีสำคญั สําหรบั ผ้เู รียนเพื่อการเรยี นรูแ้ ละสื่อสารภาษาอังกฤษอยา่ งมีประสิทธภิ าพ จาก

การศึกษาปัญหาการรบั รดู้ ้านการฟังภาษาอังกฤษของชาวไต้หวนั ประเทศจีนของ Ai-hua Chen (2013) ท่ีกล่าวไว้
ในงานวิจยั เรื่อง ปัญหาและการพัฒนากลยุทธ์การฟังของผเู้ รยี นท่ีเรียนภาษาอังกฤษเปน็ ภาษาต่างชาติโดยศกึ ษา
จากนกั ศึกษาชาวไต้หวนั จาํ นวน 31คน พบว่า ปัญหาการฟังภาษาองั กฤษมปี จั จัยพ้ืนฐานสําคญั หลักที่แตกต่าง
กันออกไปของผู้เรยี นในการรับรู้ ได้แก่ ไม่คุน้ ชนิ กับคาํ ศัพทภ์ าษาอังกฤษ อตั ราการพูดท่เี รว็ เกนิ ไป และการเชื่อม
เสยี งระหว่างคาํ

Arafat Hamouda (2013) ศึกษาปัญหาเก่ียวกับการฟังภาษาอังกฤษของผเู้ รยี นในประเทศซาอดุ ิอารา
เบยี ในกลมุ่ ผเู้ รียนช้ันปที ี่ 1 ในสาขาภาษาอังกฤษโดยตรง ในงานวิจัย เร่ือง การศึกษาปัญหาการฟังเพื่อความ
เข้าใจ พบว่า สําเนียง การออกเสยี ง ความเร็วของการพดู คําศพั ทท์ ี่ไม่เพียงพอสําเนียงท่แี ตกต่างกันของผพู้ ูดการ
ขาดความตั้งใจความกังวลในการฟังและคุณสมบัติของเสียงบันทึกท่ีไม่มีคุณภาพ เป็นปัจจยั หลักท่สี ําคัญของการ
ฟงั เพื่อความเข้าใจ

ศิรริ ัตน์ชนม์ประกาย (2552) เรือ่ ง การศึกษาปญั หาการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดบั ปริญญาตรีที่
กําลังศึกษาวชิ าภาษาอังกฤษ 2 มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนอื จาํ นวน 118 คน พบวา่
ปจั จยั ทส่ี ่งผลต่อการฟงั ได้แก่ นักศึกษามีปัญหาการฟังในเรื่องการแยกประเด็นหลกั การจับใจความสําคัญ และ
การสรุปใจความสําคัญจากเรื่องทฟ่ี ัง จึงต้องให้ผูเ้ รียนไดล้ งมือฝึกฝนการฟังบ่อย ๆ จึงจะทาํ ใหผ้ ู้เรียนสามารถฟัง
ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ

การศึกษาปัญหาด้านการฟังภาษาองั กฤษของนักศึกษาคณะบรหิ ารธรุ กิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จาํ นวน
30 คน พบว่า ผ้เู รียนขาดการฝึกฝนทักษะการฟัง และขาดประสบการณ์ในการฟงั ที่มีสื่อการเรยี นรทู้ ่ีหลากหลาย
เป็นปจั จยั สําคัญทสี่ ่งผลต่อการฟงั ของผเู้ รียน

ChanthaiThepvongsa & Nilratana Klinchan(2020) ไดท้ ําการศึกษาเก่ียวกับปญั หาในการฟัง
ภาษาอังกฤษเพ่ือความเข้าใจของนักเรียนช้นั มธั ยมศึกษา พบวา่ คําศพั ท์เฉพาะด้าน การพูดที่เร็วไปของผู้พูด การ
จาํ กดั ทางด้านคําศัพท์ และการขาดความรดู้ ้านโครงสร้างและไวยากรณ์ ตลอดจนเสยี งของผ้พู ูดท่ีไม่ชัดเจน และ
การใชส้ ่ือ อุปกรณ์ทม่ี ีคุณสมบัติต่ำ ในการแกป้ ัญหาของผศู้ ึกษา พบว่า การแกไ้ ขปัญหานน้ั ผ้เู รยี นจําเป็นต้องมี
ทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ และต้ังใจในส่ิงท่ีผู้พูดกําลังพดู นอกจากน้ผี ู้เรยี นจําเป็นต้องฝึกฝนการฟังจากเจา้ ของ
ภาษา ดูสื่อ และอุปกรณท์ ่ีเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ และต้องเพ่มิ ความสามารถดา้ นคําศัพทโ์ ครงสร้าง คําแสลง
และสํานวนตา่ ง ๆ

จากการศึกษาปัญหาการฟังภาษาองั กฤษของนักเรียน นักศึกษาในประเทศไทย และต่างประเทศ พบวา่
นักเรยี น นักศึกษา ขาดความสามารถด้านคําศัพท์กลา่ วคือ นักเรยี น นักศึกษา มีวงคาํ ศัพท์ท่ีไม่เพยี งพอและจํากัด
ในขณะที่ฟัง โดยเฉพาะคําศัพท์เฉพาะดา้ น (Technical Terms) และปญั หาท่ีสําคัญอีกประการหนึง่ คือ การออก
เสียงของผู้พูดเจ้าของภาษาน้นั มีสําเนียงการพูดทแี่ ตกต่างกันออกไป ผ้พู ูดมีการเช่ือมเสยี งระหว่างคํา และผพู้ ดู มี
สําเนยี งหรือน้ำเสียงท่ีไม่ชดั เจน นอกจากปัญหาดังท่ีกล่าวไปข้างต้น การศึกษายังพบวา่ การขาดการฝึกฝนการฟัง
เปน็ อุปสรรคต่อการฟังด้วยเช่นกนั ถา้ ใหเ้ รียงลําดับความสําคญั ของปัญหาดงั กลา่ ว พบว่า อนั ดับที่ 1 คือ การขาด

9

ความรูด้ า้ นคําศัพท์ มคี ําศัพท์ทไ่ี มเ่ พยี งพอและจํากดั ส่วนอันดบั ท่ี 2 และ 3 คือ การออกเสียงของผู้พูด และการ
ขาดการฝึกฝนการฟังอยา่ งต่อเนื่อง

ความสำคญั และความจำเป็นของการฟงั ภาษาอังกฤษ
การฟังเป็นทักษะทางภาษาทักษะแรกทีเ่ ป็นไปตามธรรมชาติของภาษา กล่าวคือ เม่ือมนุษย์เกดิ มาทักษะ

แรกท่ีมนษุ ย์นั้นได้พบเจอ คือ ทักษะการฟงั เมื่อมนุษยฟ์ ังได้แล้วน้ัน ทําให้มนุษยเ์ ริ่มมีการสื่อสารหรือความ
ตอ้ งการจะส่งสารไปยังผู้อ่นื โดยปรากฏออกมาทางการพูด เช่น การแสดงความคิดเหน็ หรือความต้องการนั้น ๆ
ดังนน้ั ทักษะการฟังจงึ เป็นด่านแรกท่ีมนุษย์ต้องมีความเข้าใจและรับรู้ได้ฉะนั้น เม่ือพิจารณาตามธรรมชาติของ
ภาษาอย่างแท้จริงจะพบว่า มีการเรยี งลําดับ จากการฟัง ไปสู่การพูด การอา่ น และการเขียน ตามลําดบั
นอกจากนี้Demirel & Yücel (2013) ได้ใหน้ ิยามของการฟงั ว่าเป็นทักษะของความเขา้ ใจสารของผู้พดู และเป็น
กระบวนการทางจิตวิทยา ที่ต้องใช้ความต้งั ใจฟังในระดบั ของเสียงและการตีความจนิ ตภาพของผู้พดู ที่สื่อสาร
ออกมาการฟงั เปน็ กระบวนการเชิงรุก หรือ Active Process ท่ีใชใ้ นการส่ือสาร ประกอบด้วย การรับและการแปล
ผลของข้อความจากผู้พูด นอกจากนที้ ักษะการฟงั เปน็ ทักษะทางภาษาท่ีมีการวิจัยไวน้ ้อยมาก และการวิจัยหรือ
การศึกษาส่วนใหญ่ เป็นเพยี งแคก่ ารศึกษาข้อมูลทางทฤษฎีซ่ึงสวนทางกับ GüLTEN Erkek & Zekerya Batur
(2019) ที่กล่าวไวว้ ่าความรู้จากข้อมูลทางทฤษฎีไม่ได้หมายความวา่ มนุษยจ์ ะสามารถใช้ความรู้จากทฤษฎีนน้ั ได้
อย่างมีประสทิ ธิภาพในชีวติ เพราะฉะนั้นแล้วทักษะการฟงั มีความสําคญั ต่อมนุษยเ์ ป็นอย่างมาก มีงานวิจัย
Anderson (1985) พบว่า มนุษย์ร้อยละ 80 รับรู้ผ่านการฟัง เพราะการฟังเป็นแหล่งข้อมลู ทส่ี ําคัญในทุก ๆ ดา้ น
โดยเฉพาะด้านการศึกษาและนอกจากนี้ทักษะการฟังยังถูกพิจารณาใหเ้ ป็นกุญแจสําคัญทนี่ ําไปสู่ความสําเรจ็ ได้
(Doğan, 2016)

ผู้เขยี นจึงตระหนักและเห็นความสําคัญของทักษะการฟงั ของนกั เรียนไทยเป็นอย่างมาก จงึ ได้ดําเนินการ
ศึกษาผ่านกระบวนการวิจยั เชงิ พัฒนา เรื่อง การพัฒนารปู แบบการเรียนการสอนฟงั ภาษาอังกฤษ โดยบูรณาการ
แนวคิดรปู แบบการสอนฟัง 3 ขั้นตอน (Pre-While-Post Listening) กับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็น
ฐาน (Task-Based Learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมธั ยมศึกษาปีท่ี
4 โรงเรียนยางซ้ายพิทยาคม อําเภอเมือง จังหวดั สโุ ขทัย เพราะผู้เขียนเช่ือว่าแนวคิดและหลกั การของทัง้ สอง
รูปแบบนม้ี ีความสอดคล้องกับปญั หาในการจัดการเรียนการสอนของผู้เขยี น

จากการจดั การเรียนการสอนฟังภาษาองั กฤษของผเู้ ขียนในกลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาตา่ งประเทศ
โรงเรยี นยางซ้ายพทิ ยาคม อําเภอเมืองจังหวดั สุโขทัย พบวา่ นกั เรียนเกินกวา่ ร้อยละ30 มีปัญหาการฟัง จาก
ขอ้ มูลแบบสอบถามพบวา่ นักเรยี นมวี งคําศัพท์ไม่เพียงพอที่จะสามารถเข้าใจ ไม่คุ้นชินกับสําเนยี งของเจ้าของ
ภาษา ขาดการฝึกฝน ซ่ึงสอดคลอ้ งกับ Ai-hua Chen (2013) ในงานวจิ ยั EFL Listeners’ Strategy
Development and Listening Problems ปัจจยั ทีส่ ่งผลต่อความเขา้ ใจจากการฟัง ประกอบด้วย ไม่คนุ้ ชินกับ
คําศัพท์การเชื่อมเสยี งของเจ้าของภาษา สําเนยี ง ขาดความรู้พ้ืนฐานในการแปลความหมาย Arafat Hamouda
(2013) ปัจจยั ท่สี ่งผลต่อความเขา้ ใจการฟงั คือ คําศัพทม์ ีไม่เพียงพอ สําเนียง ความเร็วของการพูด ความกังวล
การออกเสียงของเจ้าของภาษา และอุปกรณ์การบันทกึ เสยี งท่ีมคี ณุ ภาพต่ำ ซึง่ แนวคดิ และหลักการของรูปแบบ
การสอนการฟัง 3 ขนั้ (Pre-While-Post Listening) กบั แนวคดิ การเรยี นรู้โดยใชภ้ าระงานเปน็ ฐาน (Task-based
Learning) สามารถแก้ไขปัญหาการฟงั เหล่าน้ีได้เพราะแนวคิดและหลักการของรปู แบบการสอนการฟงั 3 ข้ัน
(Pre-While-Post Listening) เช่ือว่า 1) การฟงั ท่ีไดป้ ระสิทธิภาพจะสมั พนั ธ์กับกจิ กรรม และความรเู้ ดิมของ
ผเู้ รียน ตวั ป้อนทจี่ ะทําให้ผู้เรียนเข้าใจและประสบผลสําเร็จ คือ การสอนคาํ ศัพท์หลักไวยากรณ์หรือโครงสร้างที่
เนน้ ศิลปะในการพดู มากกว่าการโต้ตอบ การออกเสียงคําศัพทว์ ลีประโยค หรือความคิดที่เก่ียวข้องกับตัวป้อน 2)

10

ในขณะทผ่ี เู้ รียนเร่ิมฟังตัวป้อน จําเปน็ ทีจ่ ะต้องคาดเดาการกระทํา หรือในขณะที่ฟัง ภาระงานท่นี ักเรียนได้รับ
อาจประกอบด้วยการจดบันทึก การเติมความสมบูรณล์ งในภาพ แผนภาพ หรือตาราง 3) ในขณะท่ผี เู้ รียนฟัง
ผู้เรียนต้องคาดเดาเหตุการณ์เกย่ี วกับผพู้ ูด และตีความจากสิ่งที่ไดย้ ิน โดยใช้คาํ ศัพท์สําคัญทไ่ี ด้ยินในบริบทนัน้ ๆ
และ 4) ผูเ้ รียนได้สร้างองค์ความรแู้ ละฝึกฝนการฟังให้เกิดความชํานาญ โดยผา่ นภาระงานดา้ นการอ่าน การเขยี น
การพูด การมีปฏิสมั พนั ธแ์ ละแนวคดิ และหลักการของการเรียนรโู้ ดยใชภ้ าระงานเปน็ ฐาน (Task-Based
Learning) มีความเช่ือวา่ 1) ผู้สอนแจง้ จุดประสงค์การเรียนรู้หัวขอ้ เร่ือง รวมถงึ คาํ ศัพท์วลีประโยคต่าง ๆ ท่ีมี
ความสําคญั ในการเรียนร้เู พอื่ ช่วยให้ผ้เู รยี นเข้าใจภาพรวมของส่ิงทฟี่ ัง 2) ผู้เรยี นปฏิบตั ิงานเป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ
โดยมีผสู้ อนคอยเป็นผู้ชว่ ยเหลือหรืออํานวยความสะดวกต่าง ๆ อยู่ห่าง ๆ 3) ผู้เรยี นวางแผนในการแลกเปล่ียน
เรยี นรู้ภาระงานซ่ึงกันและกนั โดยการบอก เล่า รายงาน เขยี น หรือเปรียบเทยี บภาระงานที่เกดิ ขึ้น 4) ผูเ้ รยี น
ตรวจสอบและอภิปรายรายละเอยี ดและองค์ประกอบตา่ ง ๆ จากการฟังหรือการอ่านข้อความในภาระงานของ
ตนเอง และ 5) ผสู้ อนอาจสร้างรปู แบบหรอื องค์ประกอบทางภาษาเพ่ือใหผ้ ้เู รียนไดฝ้ ึกฝน และตรวจสอบความ
ถูกต้องของภาระงาน

หลกั การของแนวคดิ รปู แบบการสอนการฟงั 3 ขนั (Pre-While-Post Listening)
และการเรยี นรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Learning) หรือ TBL

11

จากหลกั การของแนวคิดรูปแบบการสอนการฟัง 3 ขั้น (Pre-While-Post Listening) และการเรียนรู้
โดยใชภ้ าระงานเปน็ ฐาน (Task-Based Learning) หรอื TBL ผู้เขยี นจึงพัฒนาให้เกดิ รปู แบบการเรยี นการสอน
ฟงั แบบใหม่ข้นึ โดยใชก้ ารวจิ ัยเชงิ พัฒนาเปน็ ฐานในการศกึ ษา เพ่ือให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของ
นกั เรียนไทย รูปแบบการเรียนการสอนท่วี ่าน้ีคือ รูปแบบการเรียนการสอนฟงั ภาษาอังกฤษ 5 ข้นั ตอน หรอื
VPL-PA Model

แนวคิดของรปู แบบการเรยี นการสอนฟัง 5 ขน้ั ตอน
หรอื VPL-PA Model
แนวคดิ ของรูปแบบการเรยี นการสอนฟงั 5 ขน้ั ตอน หรือ VPL-PA Model มีความเชอ่ื ว่า ผเู้ รียนจะฟงั
ภาษาอังกฤษได้อย่างดีและมีประสทิ ธิภาพน้ัน เกดิ จากผเู้ รียนมีคําศัพทว์ ลหี รือประโยคที่เพียงพอต่อการฟัง
ผนวกกบั กบั คําศัพท์วลีหรอื ประโยคทผี่ ู้เรยี นไดย้ ินได้ผ้เู รียน จะตอ้ งมีประสบการณ์หรือคุ้นชนิ กับเสียงของ
คําศัพท์ วลหี รอื ประโยคแต่ละส่วนทีเ่ ปล่งออกมา เม่ือผู้เรียนมีความสามารถดา้ นคําศพั ทว์ ลหี รอื ประโยคแลว้
เทคนคิ การฟังเฉพาะคาํ ศัพท์ท่สี ําคญั และจําเปน็ ต่อการคาดเดาความหมายและเหตุการณ์น้ันเปน็ สิ่งสําคัญและ
จาํ เป็นอยา่ งมาก ในสถานการณ์ทผ่ี เู้ รยี นต้องเผชิญ ดงั น้ัน สามขน้ั ตอนท่กี ล่าวมานน้ั เป็นสง่ิ ทีส่ ําคัญในการ
เผชญิ หน้ากับสถานการณ์จรงิ ของการฟังภาษาองั กฤษ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการเรยี นการสอนในชัน้ เรียนและการ
แก้ไขปัญหา ทงั้ สามขน้ั ตอนที่กล่าวมานั้นอาจจะไม่เพียงพอต่อการรับรู้ของผเู้ รยี น เพราะการฟงั เป็นทักษะ

12

เมอื่ ไมม่ ีการฝึกฝนหรอื การฝึกซ้อมอาจจะทําให้ลืมสงิ่ น้ันได้ในท่ีสุด ฉะน้นั การให้ผเู้ รยี นได้ฝกึ ฝน ฝึกซอ้ มเปน็ ส่ิง
ทสี่ ําคญั ไม่แพก้ ารกระตนุ้ คําศัพท์การร้เู สียง และการรู้เทคนิคขณะฟัง เมือ่ ผเู้ รยี นไดฝ้ ึกฝน ฝกึ ซ้อมแล้วน้ัน
ผูส้ อนตอ้ งให้ผู้เรียนไดป้ ระยุกต์ใช้การฟงั ของพวกเขาในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จําลองในชน้ั เรยี น
เปรียบเสมอื นผู้เรยี นเปน็ ตน้ ไมท้ พ่ี ร้อมเจริญเติบโตในอนาคต ดงั ภาพ

ภาพที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบรูปแบบการเรยี นการสอนฟัง5ขนั้ ตอน หรือVPL-PA Model กับการ
เจริญเติบโตของต้นไม้ทไี่ ดร้ บั การจัดการเรยี นการสอนท่ีครบถ้วนตาม

ภาพท่ี 2 แสดงการเปรยี บเทยี บรูปแบบการเรียนการสอนฟัง5ข้ันตอน หรือVPL-PA Model กับการ
เจริญเตบิ โตของต้นไม้ที่ไดร้ บั การจดั การเรยี นการสอนที่ไม่สมบูรณเ์ พยี งพอและครบถว้ นตามกระบวนการ
ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฟังภาษาอังกฤษ 5 ขน้ั ตอน
หรอื VPL-PA Model

ผูเ้ ขยี นได้ทดลองใชร้ ปู แบบการเรียนการสอนฟังภาษาอังกฤษ 5 ขั้นตอน หรือ VPL-PA Model กบั
กลุ่มเปา้ หมายนักเรียนชน้ั มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยางซ้ายพทิ ยาคม อําเภอเมือง จังหวัดสโุ ขทัย (โรงเรียนขนาด

13

เล็ก) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จํานวน 14 คน พบวา่ ความสามารถในการฟงั ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
ของกลมุ่ เป้าหมายมคี า่ เฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 8.07 และ 16.78 คะแนน ค่า
ส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน(S.D.) ของคะแนนก่อนและหลังการทดลองเท่ากบั 2.49 และ 3.99 ตามลําดับ และจาก
การทดสอบที(t-test) พบวา่ ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพ่ือความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง
สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถติ ทิ ่ีระดับ .05 จากข้อค้นพบ สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอน
ตามแนวคดิ รูปแบบการเรยี นการสอนฟังภาษาอังกฤษ 5 ขัน้ ตอน หรือ VPL-PA Model ของผู้เรียนสูงข้นึ

การนำไปประยุกตใ์ ชส้ ู่การจัดการเรียนการสอน
ถ้าจะกล่าวถงึ การนํารปู แบบการสอนฟังภาษาองั กฤษ 5 ขั้นตอน หรือ VPL-PA Modelสู่กระบวนการ

จดั การเรียนการสอนของครผู สู้ อนภาษาองั กฤษนั้น ครูผู้สอนควรเร่ิมจดั กระบวนการเรยี นการสอนจากการเรยี นรู้
คําศัพท์ หรือ V (Learning to Vocab) เป็นอันดบั แรก เพราะคาํ ศัพทน์ ้นั เป็นฐานในการเรียนรหู้ รอื การเร่ิมตน้
เรยี นภาษาใหม่ รวมถึงภาษาอังกฤษดว้ ย เช่นกัน การสอนคําศพั ท์ของครูผูส้ อนนั้นอาจจะแตกต่างกนั ออกไปใน
บริบทของแต่ละโรงเรยี น กล่าวคอื ครูผู้สอนสามารถใช้รูปแบบหรือวธิ กี ารสอนคําศพั ทใ์ ดกไ็ ด้ในการจดั
กระบวนการเรียนรู้ เช่น การใชแ้ ผน่ ภาพคําศัพท์ (Flashcards) การเตมิ คาํ ศัพทใ์ นช่องว่าง (Vocabulary Gaps)
การเติมคําศัพทโ์ ดยใช้บริบทเป็นตวั ช่วย (Meaning in Context) เกมต่อคําศัพท์ (Scrabble or Crossword) เป็น
ตน้ ทั้งนี้คาํ ศัพทท์ ี่ครูผู้สอนนํามาสอนจะต้องเปน็ คําศัพทท์ ่ีสัมพันธก์ บั เรอื่ งราวในการฟังด้วย

การเรยี นรกู้ ารออกเสียง หรือ P (Learning to Pronounce) ครผู ู้สอนจําเป็นจะต้องจดั กระบวนการ
เรยี นการสอนโดยเนน้ ใหผ้ เู้ รยี นได้ฟงั การออกเสยี งของเจ้าของภาษาทชี่ ัดเจน และหลากหลายสําเนียง ไดแ้ ก่
สําเนียงภาษาอังกฤษของชาวอังกฤษ (British-English) ภาษาอังกฤษของชาวอเมริกัน (American-English)
ภาษาอังกฤษของชาวแคนาดา (Canadian-English) ภาษาองั กฤษของชาวออสเตรเลีย (Australian-English)
ภาษาอังกฤษของชาวสิงคโปร์ (Singaporean-English) ภาษาอังกฤษของชาวญ่ปี ุ่นและเกาหลี(Japanese and
Korean-English) ภาษาอังกฤษของชาวอินเดยี (Indian-English) หรือภาษาองั กฤษของชาวจีน(Chinese-
English) เป็นต้น ซึ่งครผู ู้สอนนัน้ สามารถใช้รปู แบบหรือวธิ ีการสอนการออกเสียงใดก็ได้ท่ีเหมาะสมกับบริบทของ
โรงเรยี น ส่วนมากขั้นการสอนฟังนีจ้ ะมีเทคโนโลยีหรือแอพพลิเคชั่นเข้ามาเก่ียวข้อง เนื่องจากสําเนยี งของ
ครผู สู้ อนคนไทยท่ีสอนภาษาอังกฤษน้ันยังมีสําเนยี งท่ีไม่คลา้ ยคลงึ กบั เจ้าของภาษาเทา่ ที่ควร จึงจําเปน็ ที่จะต้องใช้
เทคโนโลยีเข้ามาชว่ ย

การเรียนรู้ในขณะฟัง หรือL(Learning toListen) ครูผูส้ อนจําเป็นต้องสอนผู้เรยี นเกยี่ วกบั เทคนิคใน
ขณะทีฟ่ ัง ดังที่กล่าวในความเชอ่ื ของรูปแบบการสอนฟังภาษาองั กฤษ 5 ข้ันตอน หรือ VPL-PA Model ท่ีกลา่ วว่า
“การฟังท่ดี ีนัน้ ไม่ใช้การแปลทุกคําที่ออกมาจากการพดู ในแต่ละครัง้ แต่การฟังท่ีดนี ั้นคือการฟังคํา วลีหรือ
ประโยคที่สําคญั และคาดเดาเหตกุ ารณ์หรือสถานการณ์จากเรอื่ งที่ฟังได้” หมายความว่า ก่อนทีผ่ ้เู รียนจะสามารถ
จบั คาํ ศัพทส์ ําคญั ได้น้ัน ผ้เู รียนต้องผ่าน 2 ข้ันตอนแรกมาก่อนแลว้ จึงจะทาํ ให้การสอนในขั้นน้ปี ระสบผลสําเร็จ

ในขั้นการฝึกฝน หรือ P (Learning to Practice) นั้น ผูเ้ ขียนได้ใช้ภาระงานโดยออกแบบให้เหมาะสมกับ
ระดับความสามารถของผู้เรียน ภาระงานท่ีกล่าวถึงนน้ั เป็นการเติมคําศัพท์ลงในช่องวา่ งจากสิ่งท่ีไดย้ ิน และให้
ผเู้ รียนไดฝ้ ึกฝนแบบน้ีไปเรื่อย ๆ จนกว่าผ้เู รียนจะเตมิ คําศัพท์ในช่องวา่ งจนครบตามท่กี ําหนด ส่วนการประยุกตใ์ ช้
หรือ A (Learning to Apply) ผู้เขยี นได้มอบหมายใหผ้ เู้ รยี นนําไปใช้ในการทดสอบ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบ
ตัวเลอื ก และเป็นแบบทดสอบที่มีลักษณะหลายรปู แบบ เช่น การมองภาพ (Photographs) คําถาม-คําตอบ
(Questions and Responses) บทสนทนา (Dialogs and talks) เป็นต้น เนื่องจากผ้เู รียนจะสามารถนําไป
ประยุกตใ์ ชใ้ นการทดสอบในอนาคตภายภาคหน้า เช่น ข้อสอบ TOEIC CU-TEP IELTS TOEFL ได้เป็นอยา่ งด

14

บทสรุป

การฟังเป็นทักษะสำคัญในการเรียนรู้และสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน
ผู้เขียนได้ศึกษาปัญหาการรับรู้ด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาในประเทศไทย และต่างประเทศ พบว่า
อันดับ 1 นักเรียน นักศึกษา มีวงคำศัพท์ที่ไม่เพียงพอและจำกัดในขณะฟัง โดยเฉพาะคำศัพท์เฉพาะด้าน
(Technical Term) อนั ดบั 2 คือ ความแตกตา่ งด้านสำเนยี งของเจา้ ของภาษา ผู้พดู มีการเช่อื มเสยี งระหว่างคำ
และผพู้ ูดมีสำเนยี งหรือน้ำเสียงไมช่ ัดเจน และอนั ดับ 3 คือ ผเู้ รียนยงั ขาดการฝึกฝนทเี่ พยี งพอ

เนื่องจากการฟังในภาษาอังกฤษมีความสำคัญ ผู้เรียน จึงนำหลักแนวคิด 2 อย่าง อันได้แก่
1. หลกั การของแนวคดิ รปู แบบการสอน การฟัง 3 ขัน้ ตอน (Pre-While-Post Listening)

1.1 การสอนคำศัพท์ หลักไวยกรณ์ หรือโครงสร้างที่เน้นศิลปะในการพูดมากกว่าโต้ตอบ การออก
เสยี งคำศัพท์ วลี และโยค
1.2 การจดบนั ทกึ การเตมิ ความสมบูรณล์ งภาพ แผนภาพหรอื ตาราง
1.3 ผเู้ รยี นคาดเดาเหตุการณ์เกี่ยวกบั ผพู้ ดู และตคี วามจากสิ่งท่ีได้ยิน
1.4 ฝึกฝนความชำนาญผ่านภาระงานดา้ นการอา่ น การเขียน การพดู
2. หลักการของแนวคดิ การเรยี นรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Learning หรอื TBL)
2.1 ผู้สอนแจ้งจดุ ประสงค์การเรียนรู้ และหัวขอ้ เน้อื หา เพอ่ื ให้ผเู้ รียนเขา้ ใจภาพรวมของสิ่งท่จี ะฟงั
2.2 ผูเ้ รียนปฏิบัติงานเป็นคหู่ รอื กล่มุ เล็กๆ โดยมผี สู้ อนคอยช่วยอำนวยความสะดวก
2.3 ผ้เู รียนวางแผนในการเรยี นรู้แลกเปล่ยี นภาระงานซ่งึ กันและกนั
2.4 ผู้เรียนตรวจสอบและอภปิ รายรายละเอยี ดและองคป์ ระกอบต่างๆจากการฟงั
2.5 ผสู้ อนอาจสรา้ งองค์ความรู้ให้ผเู้ รยี นไดฝ้ กึ ฝนและตรวจสอบความถกู ตอ้ งของภาระงาน

จากแนวคิดข้างต้น ผู้เขียนจึงพัฒนาให้เกิดรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ คือ รูปแบบการเรียน
การสอนฟังภาษาอังกฤษ 5 ขั้นตอน หรอื VPL-PA Model โดยมีรปู แแบบและการประยตุ ใ์ ช้ ดงั น้ี
1. ข้ันกระตุ้นคำศัพท์(Learning to know) ให้ผู้เรียนเรียนรู้คำศัพท์ทีเ่ พียงพอ ตัวอย่างรูปแบบวิธี เช่น การใช้
แผน่ ภาพคำศพั ท์ เกมต่อคำศัพท์ เป็นตน้
2. ขน้ั การออกเสยี ง(Learning to Pronounce) ออกเสียงตามเจา้ ของภาษา โดยให้ฟังจากหลากหลายสำเนยี ง
3. ข้ันขณะฟงั (Learning to Listen) ฟังและคาดเดาเหตกุ ารณข์ องเรอ่ื งที่ฟงั ให้ได้ ไม่จำเป็นต้องฟังออกทุกคำ
4. ขน้ั ฝกึ ฝนการฟงั (Learning to practice) ฝึกฝนอยา่ งสมำ่ เสมอจนเกิดความชำนาญ
5. ขัน้ การประยุกต์ใช้(Learning to Apply) ให้ผูเ้ รียนไดล้ งมอื ปฏิบัติเพือ่ เกดิ ความชำนาญมากขึน้

ผลการใช้รูปแบบ VPL-PA Model พบวา่ กลมุ่ ตัวอย่างนักเรยี นชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนยาง
ซา้ ยพทิ ยาคม อำเภอเมือง จงั หวัดสุโขทยั จำนวน 14 คนมคี วามสามารถในการฟงั ภาษาองั กฤษทีส่ งู ขึ้น

15

บทวจิ ารณ์

จากบทความ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อยกระดับความสามารถทางการฟัง
ภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียนไทย VPL-PA Model ผู้อ่านมีความคิดเห็นไปในทางท่ีเห็นด้วย เนื่องด้วยการฟัง
เป็นทักษะทางภาษาทักษะแรกที่เป็นไปตามธรรมชาติของภาษาหากจะกล่าวให้เห็นภาพ ต้องลองย้อนนึกถึง
ภาษาแรก คือ ภาษาไทยทเี่ ราสื่อสารไดค้ ลอ่ ง ทักษะแรกมาจากการท่ีทารกหรือเด็กเล็กฟงั เสยี งจากพ่อแม่ และ
จดจำได้ จากนนั้ จงึ เร่ิมพดู ตาม การเรียนภาษาที่สองกเ็ ช่นกัน การฟังเป็นทักษะแรกในการเรยี นร้ภู าษา

ในทางกลับกันการศึกษาของประเทศไทยนั้นค่อนข้างให้ความสำคัญในทักษะด้านการอ่านและการ
เขียนก่อนทักษะด้านการฟังและการพูด ซึ่งความเป็นจริงแล้วนั้น ภาษาอังกฤษไม่มีความจำเป็นต้องเน้น
หลักไวยกรณ์ ดังคำกล่าวของครูอดัม แบดชอร์ (2555 : 5-7) ที่กล่าวว่า “ในชีวิตจริง การพูดภาษาอังกฤษไม่
จำเปน็ ตอ้ งเน้นแกรมมาร์หรือไวยากรณ์ เราสามารถทำใหฝ้ รัง่ เข้าใจเราไดโ้ ดยไมต่ ้องพูดภาษาอังกฤษท่ีสมบูรณ์
แบบ ใหพ้ ยายามสอื่ สารจะด้วยภาษามือหรอื ภาษากายก็ได้”

แต่ผู้อ่านเองก็เข้าใจถึงความสำคัญของการเรียนรู้โครงสร้างและการใช้ภาษาอังกฤษ หรือ ไวยกรณ์
(Grammar) เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นำไปสู่การสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างรอบด้าน ดังนั้น แนวคิดของ
ผู้เขยี นบทความนท้ี เี่ นน้ การจดั การเรียนการสอนในท้ังดา้ นคำศัพท์ ไวยกรณ์ และการฝึกการฟงั กบั เสยี งเจ้าของ
ภาษาที่มีสำเนียงหลากหลาย ผู้อ่านมีความเหน็ วา่ เป็นวิธีการทีบ่ รู ณาการทักษะทุกด้านไดม้ ีประสิทธิภาพอย่าง
แทจ้ รงิ

16

บรรณานุกรม

ถนอมเพ็ญ ชบู วั . การพัฒนาทักษะการอานภาษาอังกฤษเพอื่ ความเขาใจดวยวิธีสอนอานแบบบูรณาการ
ของเมอรด็อค (MIA). วารสารวิชาการ 14 (ตลุ าคม-ธนั วาคม 2554): 32-33.

วนั เฉลมิ นะนา่ น. การพัฒนารปู แบบการเรียนการสอน เพ่ือยกระดับความสามารถทางการฟงั ภาษาองั กฤษ
ของเด็กนกั เรยี นไทย VPL-PA Model. วารสารวชิ าการ 23 (ตลุ าคม-ธนั วาคม 2563): 15-23.

วันเฉลมิ นะน่าน. แนวทางการปฏิรูปการเรยี นการสอนภาษาอังกฤษดว้ ยหลักคดิ แบบ CC&Ds.
วารสารวชิ าการ 24 (เมษายน-มิถุนายน 2564): 38-46.

อดมั แบดชอร์. พดู ภาษาองั กฤษแบบชัดเวอร์. กรุงเทพฯ: เนชั่นอินเตอรเ์ นชั่นแนลเอด็ ดูเทนเมนท์, 2555.


Click to View FlipBook Version