The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ทักษะเบื้องต้นของการแสดงนาฏศิลป์ไทย (นาฏยศัพท์)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by famechaniswara, 2021-12-26 04:12:10

ทักษะเบื้องต้นของการแสดงนาฏศิลป์ไทย (นาฏยศัพท์)ป.5

ทักษะเบื้องต้นของการแสดงนาฏศิลป์ไทย (นาฏยศัพท์)

HE L L O

ทักษะเบื้องต้นของการแสดงนาฏศิลป์ไทย

(นาฏยศัพท์)

ความหมายนาฏยศัพท์

การแสดงระบำรำฟ้อน ละคร โขน พื้ นฐานที่สำคัญของ
ก า ร แ ส ด ง อ ยู่ ที่ ก า ร เ รีย น รู้ลี ล า ทำ รำ ต า ม แ บ บ แ ผ น ใ น ว ง ก า ร
นาฏศิลป์ไทยที่เรียกว่า"นาฏยศัพท์"เป็นพื้ นฐานที่ต้องเรียนรู้
ฝึกหัดเคลื่ อนไหวร่างกาย ซึ่งนาฏย์ศัพท์ เมื่ อปฏิบัติประกอบกัน
ทุ ก ส่ ว น แ ล้ ว ยั ง ป รุ ง แ ต่ ง เ ป็ น ทำ ท า ง ที่ แ ส ด ง ถึ ง ค ว า ม ห ม า ย ต่ า ง ๆ

ไ ด้ ทำ ใ ห้ เ กิ ด เ ป็ น ก า ร แ ส ด ง น า ฏ ศิ ล ป์ที่ ใ ช้ ม า จ น ถึ ง ทุ ก วั น นี้

ประเภทของนาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 3 หมวด

1.หมวดนามศัพท์

หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกการกระทำของผู้นั้น เช่น ตั้งวง
จีบ กระทุ้งเท้า ยกเท้า ก้าวหน้า ก้าวข้าง

2.หมวดกิริยาศัพท์

หมายถึงศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา เช่นท่ายิ้ม ท่าสวยงาม

3.หมวดนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด

หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากกิริยาศัพท์และ
นามศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น

ตั้งวง


เป็นการตั้งลำแขนเป็นวงคล้ายครึ่งวงกลม งอแขนเล็กน้อยให้
ยกแขนไปข้างลำตัวแล้วงอแขนให้มีลักษณะโค้ง และหันฝ่ามือ
ออกนอกลำตัว การตั้งวงมีหลายลักษณะ เช่น วงบน
วงกลาง วงล่าง เป็นต้น

ตั้งวงแบ่งออกเป็น 3 ะดับ




1.ตั้งวงบน 3.ตั้งวงล่าง

2.ตั้งวงกลาง

ตั้งวงบน



ตั้งลำแขนเป็นวงครึ่งวงกลม งอแขน
เล็กน้อย ตั้งมือขึ้น และแบมือ โดยให้ปลายนิ้ว

ทั้งสี่หันเข้าหาศีรษะนิ้วหัวแม่มืองอเข้าหา
ฝ่ามือเล็กน้อยพร้อมทั้งหักข้อมือเข้าหา
ลำแขน ตัวพระตั้งวงสูงระดับแง่ศีรษะ

ตัวนางตั้งวงสูงระดับหางคิ้ว

ตั้งวงกลาง

ปฏิบัติคล้ายกับวงบน คือ ให้ตั้งลำแขนเป็นวงครึ่ง
วงกลมโดยงอแขนเล็กน้อย ตั้งมือขั้นและแบมือทั้ง
สี่นิ้ว ปลายนิ้วทั้งสี่งอเข้าหาศีรษะ นิ้วหัวแม่มืองอ
เข้าหาผ่ามือเล็กน้อย พร้อมทั้งนักข้อมือเข้าหา
ลำแขน ตัวพระจะกางแขนโค้งครึ่งวงกลมและมืออยู่

ในระดับหัวไหล่
ตัวนางกางแขนโค้งครึ่งวงกลมและมืออยู่ในระดับหัว

ไหล่

ตั้งวงล่าง

ตั้งวงให้ปลายนิ้วทั้งสี่ตั้ง อยู่ระดับชายพกหรือ

หัวเข็มขัดนิ้วหัวแม่มีอ
งอเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย
พร้อมทั้งหักข้อมือเข้าหาลำแขน ให้ส่วนโค้งของ
ลำแขนห่างจากลำตัวเล็กน้อย ตัวพระให้กาง
แขนห่างจากลำตัวมากกว่าตัวนาง ตัวนางกาง

แขนห่างจากลำตัวเล็กน้อย

จีบ


เป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้มาจรดกัน โดยให้ปลาย
นิ้วหัวแม่มือมาจรดกับข้อสุดท้ายของ

ปลายนิ้วชี้ (นับจากผ่ามือขึ้นไป) นิ้วที่เหลือทั้งสามนิ้วเหยียดตรง
แล้วกรีดออกไปให้สวยงามคล้ายพัด การจีบจะต้องหักข้อมือ
เข้าหาลำแขนเสมอ

จีบ มีทั้งหมด 4 รูปแบบ

1.จีบหงาย 3.จีบส่งหลัง

2.จีบคว่ำ 4.จีบปรกข้าง

จีบหงาย

จีบหงาย

ตัวพระ" และตัวนาง"
ปฏิบัติเหมือนกัน โดย
กรีดนิ้วชี้แล้วงอนิ้วหัวแม่มือเล็กน้อยจากนั้นใช้

ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดที่ข้อบนสุดของ
นิ้วชี้ และกรีดนิ้ว กลาง นาง ก้อย ออกทั้งหมด
หักข้อมือขึ้นให้ปลายนิ้วชี้ขึ้นบนแล้วหักข้อมือ

เข้าหาลำตัว

จีบคว่ำ

จีบคว่ำ

"ตัวพระ" และ "ตัวนาง" ปฏิบัติเหมือนกัน โดย
ตึงนิ้วชี้แล้วงอนิ้วหัวแม่มือเล็กน้อยจากนั้นใช้

ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดที่ข้อบนสุดของ
นิ้วชี้ และกรีดนิ้ว กลาง นาง ก้อย ออกทั้งหมด

หักข้อมือลงให้ปลายนิ้วชี้ลงพื้นแล้วหัก

จีบส่งหลัง

จีบ
ส่งหลัง

"ตัวพระ" และ "ตัวนาง" ปฏิบัติเหมือนกัน โดย
ตึงนิ้วชี้แล้วงอนิ้วหัวแม่มือเล็กน้อยจากนั้นใช้

ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดที่ข้อบนสุด
ของนิ้วชี้ และกรีดนิ้ว กลาง นาง ก้อย ออกทั้งหมด

หักข้อมือแล้วตึงแขนส่งไปด้านหลังลำตัว

จีบปรกข้าง

จีบปรกข้าง

"ตัวพระ" จิบหงายกางแขนออกและหักข้อมือหันจีบเข้าหาแง่ศิรษะ
กันศอกออกเล็กน้อย

"ตัวนาง" จีบหงายกางแขนออกและหักข้อมือหันนจีบเข้าหาแง่ศิรษะ

นาฏยศัพท์
ส่วนขาและเท้า

นาฏยศัพท์ส่วนขา
และเท้ามีอะไรบ้าง?

ยกเท้า
ก้าวหน้า
ก้าวข้าง
กระดกเท้า
กระทุ้งเท้า

ยกเท้า
"ตัวพระ" กันเข่าทั้งสองข้างออกเปิด
ปลายนิ้วเท้า หักข้อเท้าแล้วยกขึ้นให้ฝ่าเท้า
ขนานกับพื้น ในระดับ "ครึ่งน่อง" ของขาที่
ยืนอยู่ ย่อตัวลง

"ตัวนาง" เปิดปลายนิ้วเท้า หักข้อเท้า
แล้วยกชื้นให้ฝาเท้าขนานกับพื้ นในระดับ
"ครึ่งน่อง" ของขาที่ยืนอยู่ ย่อตัวลง

ก้าวหน้า

"ตัวพระ" ก้าวเท้าลงด้านหน้าลำตัว
เท้าหน้าเฉียงออกเล็กน้อย ย่อตัวลงและกัน
เข่าทั้งสองข้างออก เปิดส้นเท้าหลัง

"ตัวนาง" ก้าวเท้าลงด้านหน้าลำตัว
เท้าหน้าเฉียงออกเล็กน้อย ย่อตัวลงและ
เปิดสันเท้าหลัง

ก้าวข้าง

" ตัวพระ" กัาวเท้าไปข้างลำตัวโดยให้ปลายเท้า
ข้างที่ก้าวขนานและชี้ออกข้างลำตัว และกันเข่าออก
ทั้งสองข้าง ปลายเท้าของข้างที่อยู่ด้านหลังเฉียง
ออกข้างลำตัวเล็กน้อย ไม่เปิดสันเท้าหลัง

"ตัวนาง"ก้าวเท้าไปข้างลำตัวโดยให้ปลายเท้า
ข้างที่ก้วขนานและชี้ออกข้างลำตัว จากนั้นหลบเช่า
อีกข้างให้ปลายเข่าเฉียงขนานกันทั้ง 2 ข้างเปิดสัน
เท้าหลัง น้ำหนักอยู่กลางลำตัว

ตัวพระ"
งอเข่าขึ้นและส่งเข่าไปข้างหลัง

ลำตัว หักข้อเท้าลงเปิดปลายนิ้วเท้า
ให้ชี้ลง และกันเข่าออกย่อเข่าอีกข้างลง

"ตัวนาง"
งอเข่าชื้นและส่งเข่าไปข้างหลัง

ลำตัว หักข้อเท้าลงเปิดปลายนิ้วเท้าให้ชี้ลง
และย่อเข่าอีกข้างลง

กระทุ้งเท้า

"กระทุ้งเท้า" คืออาการของเท้าที่วางอยู่
ด้านหลังกระทุ้งเพื่ อที่จะยกขึ้นเช่นเดียวกับ
ประเท้า การกระทุ้งจะใช้ส่วนของจมูกเท้าที่วาง
อยู่กับพื้ น(ส่วนสันนั้นเปิดอยู่) กระแทกจมูกเท้า
ลงกับพื้ นเบาๆและยกขึ้นแบบที่เรียกว่ากระดก
นั่นเอง

ประโยชน์ของนาฏยศัพท์



นาฏยศัพท์เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นองค์ประกอบหนึ่งของนาฏศิลป์ไทย แสดงถึง
ความสุนทรีย์ (งดงาม)ของเอกลักษณ์ประจำชาติไทย นักเรียนนาฏศิลป์ทุกคน ต้องมีความเพียร

พยายามหมั่นฝึกซ้อมนาฏยศัพท์เป็นประจำ เพราะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนนาฏศิลป์ ดังนี้
๑) ช่วยพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความสวยงามได้มาตรฐาน

๒) ช่วยสื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันเมื่อเรียกและใช้นาฏยศัพท์ต่างๆ
๓) ใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์ท่าร่ายรำของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ
๔) ใช้เป็นแนวทางในการนำไปฝึกหัดภาษานาฏศิลป์ให้ถูกต้องสวยงาม

คำสัั่ง :ให้นักเรียนตอบคำถามจากภาพท่ารำนาฏยศัพท์และเขียนอธิบายท่ารำให้ถูกต้อง


Click to View FlipBook Version