The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ร้อน แล้ง ปลูกอะไรก็ลำบาก แล้วจะทำกินยังไง มีแต่คนบอกปลูกพืชใช้น้ำน้อย แล้วจะเริ่มต้นยังไง ปลูกอะไรดี เรามีคำแนะนำ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by BS_Library, 2019-11-24 09:17:02

การปลูกพืชใช้น้ำน้อย

ร้อน แล้ง ปลูกอะไรก็ลำบาก แล้วจะทำกินยังไง มีแต่คนบอกปลูกพืชใช้น้ำน้อย แล้วจะเริ่มต้นยังไง ปลูกอะไรดี เรามีคำแนะนำ

Keywords: การปลูกพืช

เอกสารค�ำแนะนำ� ท่ี 6/2559

การปลกู พชื ใช้น้ำ� น้อย

พิมพค์ รั้งที่ 1 : จำ� นวน 20,000 เล่ม มถิ นุ ายน พ.ศ. 2559
จัดพมิ พ์ : กรมสง่ เสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พมิ พท์ ่ี : ชุมนมุ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ� กัด

คำ� นำ�

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดการณ์ว่าในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือน
พฤศจิกายน 2558 - เมษายน 2559 จะเกิดสภาวะน้ำ� ใช้การทม่ี ีการเกบ็ กักในเข่อื น
และแหล่งน�้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้อยซ่ึงจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูก
ข้าวนาปรัง และเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง เส่ียงต่อการได้รับความเสียหาย
จากการขาดแคลนน�้ำ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี 6 ตุลาคม 2558
ได้มอบหมายให้หน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง ก�ำหนดแนวทางการป้องกัน
ปัญหาอย่างเร่งด่วนก่อนที่เกษตรกรจะเร่ิมปลูกข้าวคร้ังที่ 2
(นาปรัง) และให้กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมการปลูกพืช
เพ่ือสร้างรายได้แก่เกษตรกร ภายใต้โครงการบูรณาการ
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ปี 2558/59 และด�ำเนินการจัดท�ำแผนชุมชนตาม
มาตรการที่ 4 การเสนอโครงการตามความต้องการของ
ชุมชนเพ่ือบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง โดยมีศูนย์บริการ
และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจ�ำต�ำบลเป็นกลไก
ในการขับเคลื่อนการจัดท�ำแผนความต้องการของชุมชน
เพ่อื เปน็ การเตรียมการขัดเคลือ่ นการดำ� เนินงานขา้ งตน้
   กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดท�ำเอกสารค�ำแนะน�ำ
เรื่อง “การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� นอ้ ย” เพื่อให้เจา้ หน้าทส่ี ่งเสริมการเกษตร
และเกษตรกรได้มีความเข้าใจเก่ียวกับพืชใช้น�้ำน้อย และเป็น
ทางเลือกในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ทดแทนการท�ำนาปรัง เพื่อเกิด
การบริหารจดั การพืน้ ที่และสร้างรายได้ใหก้ ับเกษตรกรตอ่ ไป
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
2559

สารบญั .........................................................................................................................

หนา้

ประเภทพืชผัก 1..................................................................................................

พรกิ 2......................................................................................................................................................................................
มะระจีน 5.............................................................................................................................................................................
แตงกวา 8..............................................................................................................................................................................
ถั่วฝักยาว 11......................................................................................................................................................................
กวางตุ้ง 14...........................................................................................................................................................................
คะนา้ 17.................................................................................................................................................................................
แตงไทย 20..........................................................................................................................................................................
เพาะเหด็ ฟางกองเตยี้ 23......................................................................................................................................
มันเทศ/มนั เทศญปี่ นุ่ 26.......................................................................................................................................

....................................................................................................

ประเภทพชื ไร่ 29.............................................................................................

ข้าวโพดเลี้ยงสัตวห์ ลังนา 30.............................................................................................................................
ขา้ วโพดหวาน 33..........................................................................................................................................................
ถว่ั เขียวผิวมัน 36...........................................................................................................................................................
ถ่ัวเหลอื ง 39.......................................................................................................................................................................

....................................................................................................

ประเภทไม้ดอก 42........................................................................................

ดาวเรืองตัดดอก 42....................................................................................................................................................

....................................................................................................

1 ประเภทพชื ผกั

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� นอ้ ย

2

กรมส่งเสริมการเกษตร

3 ประเภทพชื ผกั

เงอื่ นไขการดำ� เนนิ งาน

— ต้องมีตลาดรองรับ เน่ืองจากในช่วง
เดือนธันวาคม - มกราคม จะเป็น
ฤดกู าลปลกู พรกิ มพี รกิ ออกสตู่ ลาดมาก
ราคาพริกจะผันแปรมาก ตามผลผลิต
ทอี่ อกสตู่ ลาด

— ต้องใช้แรงงานในครัวเรือน และจ้าง
แรงงานในการเกบ็ เก่ียวผลผลิต

— ตอ้ งมแี หลง่ นำ้� ทส่ี ามารถใชเ้ พาะปลกู ได้
ตลอดฤดูปลูก

— ตอ้ งมีการดแู ลอย่างใกล้ชดิ เนือ่ งจากพรกิ เป็นพชื ทมี่ ีศัตรพู ชื มาก

วิธกี ารผลติ /การเขตกรรม

การเตรียมแปลงปลกู

โดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร
ระยะระหว่างแถว 100 เซนตเิ มตร ขดุ ดินให้ลกึ ประมาณ
25 - 30 เซนติเมตร ตากดนิ ท้งิ ไวป้ ระมาณ 7 - 10 วัน
ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักท่ีสลายตัวแล้วอัตรา 2,000 -
3,000 กโิ ลกรัมตอ่ ไร่ (หากดนิ มสี ภาพเปน็ กรด ควรใส่
ปูนขาว อัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่) และ
ใสป่ ุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กโิ ลกรัมตอ่ ไร่ จากนัน้
คลุกเคล้าให้ทั่วและย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง ยกแปลงสูง 30 เซนติเมตร กว้าง
120 เซนติเมตร คลุมด้วยพลาสติกเงิน-ด�ำ เจาะรูพลาสติกตามระยะปลูกท่ีก�ำหนด
หรือใช้ฟางคลุมเพ่ือรักษาความชื้นในดินและป้องกันวัชพืช จากน้ันจึงปลูกพริกได้
(กล้าพรกิ ควรมอี ายุประมาณ 30 - 40 วนั ความสงู ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร)

การใหน้ ้ำ�

หลังปลกู พรกิ ควรใหน้ �้ำทุกวนั จนตน้ กล้าพริกตง้ั ตวั ได้ประมาณ 5 - 6 สปั ดาห์
หลงั จากนนั้ จึงคอ่ ยลดประมาณนำ�้ ลง ซงึ่ อาจจะรด 1 วัน หยดุ 2 วันกไ็ ด้

การปลกู พชื ใช้นำ้� นอ้ ย

4

การใส่ปุย๋

ปุ๋ยทแี่ นะนำ� คอื ปุย๋ สูตร 15-15-15
หรอื 14-14-21 ในอตั รา 100 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่
โดยแบ่งใสส่ องคร้ัง คร้ังแรกเป็นปยุ๋ รองพน้ื
พร้อมกับการพรวนกลบดิน ปริมาณ
50 กิโลกรัมต่อไร่ คร้ังที่สองหลังปลูก
ต้นพรกิ ได้ 30 วัน

การเกบ็ เกย่ี วผลผลิต

เก็บเกย่ี วผลพรกิ สดครง้ั แรกเมอ่ื อายปุ ระมาณ 65 - 90 วนั ผลผลติ ในระยะแรก
จะนอ้ ย แต่จะเพิม่ ขึน้ เรื่อย ๆ และลดลงอีกคร้ังเมอื่ ตน้ พรกิ เรมิ่ แก่ การเก็บเกย่ี วควรเก็บ
ทกุ ๆ 7 วันใช้วิธีเด็ดทีละผล พริกจะให้ผลผลติ นาน 6 เดอื น

การตลาด

รวมกลุ่มการผลิตให้ได้ผลผลิตท่ีมีคุณภาพ ปลอดภัย และสามารถจ�ำหน่าย
ในพ้นื ที่ ตลาด Modern Trade และโรงงานแปรรปู

แหลง่ ขอ้ มลู เพิม่ เติม

— กลุ่มส่งเสริมพชื ผกั และเห็ด
สำ� นกั ส่งเสรมิ และจดั การสนิ คา้ เกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
โทรศัพท์ 0 2940 6106
— ส�ำนักงานเกษตรจังหวัด และ
สำ� นกั งานเกษตรอ�ำเภอในพืน้ ที่

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

5 ประเภทพชื ผกั

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� นอ้ ย

6

เงอ่ื นไขการด�ำเนนิ งาน

— ต้องมีตลาดรองรบั
— ตอ้ งใชแ้ รงงานในครวั เรอื น และจ้างแรงงานในการหอ่ ผล/เกบ็ เกยี่ วผลผลติ
— ตอ้ งมแี หลง่ นำ้� ท่สี ามารถใช้เพาะปลูกไดต้ ลอดทง้ั ปี

วิธีการผลติ /การเขตกรรม

การเตรียมแปลงปลกู

โดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น
80 เซนตเิ มตร ระยะระหวา่ งแถว 120 เซนตเิ มตร
ไถดนิ ใหล้ กึ ประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร
ตากดนิ ทงิ้ ไวป้ ระมาณ 7 - 10 วนั ใสป่ ยุ๋ คอก
หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วอัตรา 2,000
กิโลกรัมต่อไร่ (หากดินมีสภาพเป็นกรด
ควรใส่ปนู ขาว อัตรา 100 - 200 กโิ ลกรัม
ตอ่ ไร่) และใสป่ ุ๋ยสตู ร 15-15-15 อตั รา 30 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ คลกุ เคลา้ ใหท้ ่ัว แล้วยกแปลงสูง
ประมาณ 30 เซนติเมตร

การเตรียมกล้า

ใส่ดินผสมในถาดเพาะกล้า (ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือ
แกลบ 1 ส่วน) รดนำ�้ และหยอดเมลด็ ลงในถาดหลมุ หลมุ ละ 1 เมล็ด

การปลูก

น�ำกลา้ มะระท่ีมีอายุ 15 - 20 วัน หรอื มีใบจรงิ ประมาณ 4 - 5 ใบ ปลูกตามหลุม
ที่ก�ำหนด กลบดนิ และรดนำ�้
การท�ำค้าง สามารถท�ำได้ 2 แบบ คือ
— แบบปกั ไม้ค้างยาว 2 - 2.5 เมตร ทุกหลุมเอนปลายเขา้ หากนั และมดั ไว้ดว้ ยกัน
ใชไ้ มค้ า้ งหรอื เชอื กไนลอนผกู ขวาง ระยะ 40 - 50 เซนตเิ มตร หรอื ใชต้ าขา่ ยพลาสตกิ ตาหา่ ง
ขึงแทน ดา้ นบนของค้างใชไ้ มค้ ้างพาดขวางมัดกันใหแ้ นน่ เพื่อปอ้ งกันการโค่นลม้
— แบบปักไม้คา้ งผกู เปน็ ร้านสูงประมาณ 1.5 - 2 เมตร ขงึ ด้วยตาข่ายพลาสติก
ตาห่าง ๆ

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

7 ประเภทพชื ผกั

การใหน้ �ำ้

หลังปลูกมะระจีนควรให้น้�ำทุกวัน เช้า - เย็น จนต้นกล้ามะระต้ังตัวได้
หลังจากนั้นจงึ คอ่ ยลดประมาณการใหน้ ำ้� ลง ซ่งึ อาจจะรด 1 วนั หยุด 2 วนั ก็ได้

การใส่ปุ๋ย

ควรให้ปุ๋ยหลังจากย้ายปลูกประมาณ 7 - 10 วัน ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา
30 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต หลังจากน้ันใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา
30 - 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบง่ ใส่ในชว่ งออกดอกถึงติดผล และอาจมกี ารหอ่ ผลมะระจนี
เพอ่ื ป้องกนั แมลงศัตรูพชื และใหส้ ขี องผลมะระทส่ี วยงาม

การเก็บเก่ยี วผลผลติ

เก็บเก่ียวเมื่ออายุประมาณ 45 - 50 วัน ทยอยเก็บผลผลิตท่ีได้ขนาดเหมาะสม
ทุกวันหรือวันเวน้ วัน สามารถเก็บผลผลิตได้ 17 - 20 คร้ัง อายกุ ารเกบ็ เกยี่ วคร้งั สุดท้าย
85 - 90 วัน

การตลาด

รวมกลุม่ การผลติ ให้ได้ผลผลิตทีม่ คี ณุ ภาพ ปลอดภยั
และสามารถจ�ำหน่ายในพืน้ ที่ และตลาด Modern Trade ได้

แหลง่ ขอ้ มลู เพิม่ เติม

— กล่มุ ส่งเสรมิ พืชผกั และเห็ด
ส�ำนักสง่ เสริมและจดั การสินคา้ เกษตร
กรมสง่ เสริมการเกษตร
โทรศัพท์ 0 2940 6106
— ส�ำนักงานเกษตรจังหวัด และ
สำ� นักงานเกษตรอำ� เภอในพืน้ ท่ี

การปลูกพืชใชน้ �ำ้ น้อย

8

กรมส่งเสริมการเกษตร

9 ประเภทพชื ผกั

เงอื่ นไขการดำ� เนินงาน

— ต้องมตี ลาดรองรบั
— ควรใชแ้ รงงานในครัวเรอื น
— มีแหลง่ น้�ำทสี่ ามารถใชเ้ พาะปลกู ไดต้ ลอดฤดกู าล
— ไม่ควรปลูกในพ้ืนท่ีท่ีมีน้�ำขังและช้ืนแฉะ และไม่ควรให้น�้ำช่วงเย็นจะท�ำให้เกิด

โรคทางใบไดง้ ่าย
— ควรปลกู ในพื้นโลง่ แจ้งได้รบั แสงแดดตลอดทงั้ วนั
— ข้อควรระวังหากอากาศร้อนจัดในช่วงออกดอกอาจพบปัญหาดอกร่วงท�ำให้ผลผลิต

ลดลง และถ้าอุณหภูมิต�่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส แตงกวาจะมีอาการชะงัก
การเจรญิ เตบิ โตได้

วิธกี ารผลิต/การเขตกรรม

เกษตรกรควรปลกู แตงกวาพนั ธ์ุผลสั้น อายุการเกบ็ เกี่ยวสัน้ และเปน็ พนั ธุส์ �ำหรบั
การบรโิ ภคสดทตี่ ลาดมคี วามตอ้ งการสงู มเี มลด็ พนั ธจ์ุ ำ� หนา่ ยในทอ้ งตลาดหลากหลายพนั ธ์ุ

การปลกู

เตรยี มแปลงขนาด 1 เมตร ระยะปลกู ระหว่างหลุม 40 - 50 เซนติเมตร ระหว่าง
แถว 80 - 90 เซนตเิ มตร จำ� นวน 2 แถว รองกน้ หลมุ ดว้ ยปยุ๋ คอกและปยุ๋ เคมสี ตู ร 15-15-15
ประมาณปลายช้อนชา คลุกดินให้เข้ากันแล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ 2-3 เมล็ดต่อหลุม
เม่ืองอกถอนแยกให้เหลอื ต้นทแ่ี ขง็ แรง 1 - 2 ตน้ ตอ่ หลุม

การปลกู พชื ใชน้ ำ้� น้อย

10

การให้น�ำ้

ใหน้ ้�ำอยา่ งสม่�ำเสมอโดยดูตามสภาพพ้นื ดินแต่อยา่ ให้แฉะจนเกินไป

การใส่ป๋ยุ

เม่ือปลูกได้อายุ 7 - 10 วนั ใส่ปยุ๋ เคมีสตู ร 15-15-15 อตั รา 1/4 ช้อนชาตอ่ หลมุ
แล้วท�ำค้าง และอายุ 30 วัน หรือเริ่มออกดอกให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา
1/2 ชอ้ นชาต่อหลมุ

การเก็บเกี่ยวผลผลติ

แตงกวา อายุ 25 - 30 วนั จะเร่ิมออกดอกและใหผ้ ลผลติ อย่างตอ่ เน่อื ง เก็บเกีย่ ว
ผลผลติ ไดน้ าน 30 วัน ผลผลติ 4,000 - 6,000 กโิ ลกรมั ต่อไร่

การตลาด

รวมกลมุ่ การผลิตให้มีคุณภาพ ปลอดภยั และสามารถจ�ำหนา่ ยในพ้นื ท่ี

แหลง่ ขอ้ มูลเพมิ่ เตมิ

— กลุม่ สง่ เสรมิ พืชผกั และเห็ด สำ� นักส่งเสรมิ และจดั การสนิ คา้ เกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 6106
— สำ� นกั งานเกษตรจังหวดั และส�ำนกั งานเกษตรอ�ำเภอในพืน้ ที่
— เกษตรกรตน้ แบบ นายวนิ ยั น้อยแก้ว บ้านเลขที่ 38/4 หมู่ 4 ตำ� บลนาทวี
อ�ำเภอนาทวี จังหวดั สงขลา โทรศพั ท์ 08 7631 9042, 08 9296 3195
— เกษตรกรต้นแบบ นายพิทยา เยาวนิตย์
นักวิชาการสง่ เสรมิ การเกษตรช�ำนาญการ
ส�ำนกั งานเกษตรอำ� เภอนาทวี จงั หวัดสงขลา
โทรศพั ท์ 08 1957 6235

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

11 ประเภทพชื ผกั

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� น้อย

12

เง่ือนไขการด�ำเนนิ งาน

— ตอ้ งมีตลาดรองรับ
— ต้องใช้แรงงานในครัวเรือน และจ้างแรงงาน

ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เน่ืองจากต้องเก็บ
ผลผลติ ทุกวนั
— มแี หลง่ นำ�้ ทสี่ ามารถใชเ้ พาะปลกู ไดต้ ลอดทง้ั ปี
— ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากถ่ัวฝักยาว
เป็นพชื ที่มศี ัตรูพชื มาก

วธิ กี ารผลติ /การเขตกรรม

การเตรยี มแปลงปลูก

โดยใชร้ ะยะห่างระหวา่ งต้น 40 - 50 เซนตเิ มตร ระยะระหวา่ งแถว 70 - 100 เซนติเมตร
ไถดินให้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ตากดนิ ทงิ้ ไว้ประมาณ 7 - 10 วัน ใสป่ ุย๋ คอกหรอื
ปุ๋ยหมกั ทส่ี ลายตัวแลว้ อัตรา 2,000 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ (หากดินมีสภาพเป็นกรด ควรใสป่ ูนขาว
อัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่) และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
คลุกเคลา้ ให้ทั่ว

การปลูก

หยอดเมลด็ จ�ำนวน 3 เมล็ดต่อหลมุ กลบเมลด็ ดว้ ยแกลบหรอื ปยุ๋ คอก 2 - 3 ก�ำมอื
ต่อหลุม หลังจากปลูก 7 - 15 วัน ถอนต้นท่ีไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เลือกต้นท่ีสมบูรณ์ไว้
2 ตน้ ต่อหลมุ
การท�ำค้าง เม่ือถว่ั ฝกั ยาวมอี ายุประมาณ 15 - 20 วันหลงั ปลกู หรอื มีใบจรงิ 4 - 5 ใบ
จะเรมิ่ ทอดยอดหรือเล้อื ย การปกั ไมค้ า้ งมหี ลายแบบอาจเป็นแบบปกั ตั้งตรงเดี่ยว ๆ หรอื
ปักแบบกระโจม (4 หลุมต่อกระโจม) หรือปักแบบสามเหล่ียมหน้าจั่ว แต่วิธีที่นิยมคือ
ใช้ไม้รวกปักก่ึงกลางระหว่างหลุมปลูก และใช้เชือกไนลอนขึงระหว่างไม้แต่ละหลุม
เพ่ือให้ถั่วฝักยาวพันหรือเล้ือยขึ้นไปตามไม้และเส้นเชือกไนลอน โดยในระยะแรกควรมี
การจบั ยอดถ่วั ฝักยาวมาพันไม้ค้าง

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

13 ประเภทพชื ผกั

การให้น้ำ�

หลังการปลูกถั่วฝักยาวควรให้น้�ำทุกวัน เช้า - เย็น จนต้นถั่วฝักยาวสามารถ
ตง้ั ตัวได้ หลงั จากน้ันจึงค่อยลดประมาณการให้น�ำ้ ลง ซ่ึงอาจจะรด 1 วัน หยดุ 2 วนั กไ็ ด้

การใสป่ ๋ยุ

ควรให้ปุ๋ยหลังจากย้ายปลูกประมาณ 20 วัน ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา
20 กโิ ลกรัมต่อไร่ ผสมกบั ปุ๋ยสตู ร 15-15-15 อตั รา 25 กโิ ลกรมั ต่อไร่ สำ� หรบั ช่วงออกดอก
และติดผลใส่ปุ๋ยเพ่ือเร่งการเจริญเติบโต หลังจากน้ันใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา
30 - 50 กโิ ลกรมั ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 15 วนั ต่อคร้งั

การเกบ็ เกยี่ วผลผลิต

เมื่ออายปุ ระมาณ 55 - 60 วนั หลังจากหยอดเมลด็ โดยเก็บผลผลิตทกุ วัน

การตลาด

รวมกลุ่มการผลิตให้มีคณุ ภาพ ปลอดภยั
และสามารถจำ� หนา่ ยในพื้นท่ี

แหล่งขอ้ มูลเพิ่มเตมิ

— กลมุ่ สง่ เสรมิ พชื ผกั และเหด็
สำ� นกั ส่งเสรมิ และจดั การสนิ คา้ เกษตร
กรมส่งเสรมิ การเกษตร
โทรศพั ท์ 0 2940 6106
— ส�ำนักงานเกษตรจังหวัด และ
ส�ำนกั งานเกษตรอำ� เภอในพ้ืนที่

การปลูกพืชใช้น้ำ� น้อย

14

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

15 ประเภทพชื ผกั

เงอ่ื นไขการดำ� เนินงาน

— ตอ้ งมตี ลาดรองรับ
— ตอ้ งใชแ้ รงงานในครวั เรอื น
— ตอ้ งมแี หลง่ นำ�้ ทส่ี ามารถใชเ้ พาะปลกู ไดต้ ลอด

ฤดกู าล

วธิ ีการผลิต/การเขตกรรม

การเตรียมดิน

โดยไถตากดินไว้ประมาณ 7 วัน แล้วไถพรวนอีก 1-2 คร้ัง เพื่อก�ำจัดโรคแมลง
และวชั พชื ใสป่ ยุ๋ คอกหรอื ป๋ยุ หมกั ทย่ี อ่ ยสลายดีแลว้ ใส่ในอตั รา 2 ตันต่อไรต่ ่อปี เพอ่ื เพิม่
อนิ ทรยี วตั ถใุ นดนิ จากนน้ั ยกรอ่ งแปลงปลกู กวา้ งประมาณ1.5เมตรเวน้ ทางเดนิ 30เซนตเิ มตร
กอ่ นปลูกควรแชเ่ มลด็ พันธใ์ุ นน�ำ้ อ่นุ 50 - 55 องศาเซลเซียส นาน 15-20 นาที

การปลูก

สามารถปลกู ได้ 2 แบบ ดงั นี้
— การปลูกแบบหว่านเมล็ด : เหมาะสำ� หรบั พันธุ์ดอก วิธนี ้นี ิยมใช้ปลกู ในแปลง
ที่ยกรอ่ ง พ้ืนทมี่ กี ารเตรียมอย่างดี และเป็นดินท่มี ีความอดุ มสมบรู ณ์ ใช้เมล็ดพนั ธุ์ อตั รา
2 กโิ ลกรมั ต่อไร่ ก่อนหว่านควรผสมกบั ทราย โดยใชเ้ มล็ดพนั ธุ์ 1 ส่วน ผสมกบั ทรายสะอาด
3 ส่วน หว่านให้กระจายท่ัวแปลงสม�่ำเสมอ แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
หนาประมาณ 1/2 -1 เซนตเิ มตร หลงั จากน้ันคลมุ ด้วยฟางขา้ วบาง ๆ เพ่ือช่วยเกบ็ รักษา
ความชมุ่ ชน้ื ในดิน เสร็จแล้วรดน�้ำใหช้ มุ่ หลงั จากงอกได้ประมาณ 20 วนั ควรท�ำการถอน
และจัดใหม้ ีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนตเิ มตร
— การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว : เหมาะสำ� หรบั พันธ์ใุ บ การปลกู วิธนี ้ี หลังจาก
เตรยี มดนิ ทำ� รอ่ งปลกู ลกึ ประมาณ 1.5-2.0 เซนตเิ มตร ใหเ้ ปน็ แถว โดยใหร้ ะยะระหวา่ งแถว
ห่างกัน 20-25 เซนติเมตร น�ำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทรายโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง
แลว้ กลบด้วยป๋ยุ คอกหรือปุ๋ยหมกั บาง ๆ คลมุ ด้วยฟางข้าวบาง ๆ รดน้ำ� ใหช้ ุม่ ด้วยสม�ำ่ เสมอ
หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึงท�ำการถอนแยกในแถว
โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกนั ประมาณ 20-25 เซนตเิ มตร

การปลูกพืชใช้น�้ำน้อย

16

การใหน้ �้ำ

ผักกวางตุ้งเป็นผักท่ีต้องการ
น�ำ้ มาก และมกี ารเจรญิ เตบิ โตอย่างรวดเรว็
ดังนั้นเกษตรกรจะตอ้ งให้นำ้� อย่างเพยี งพอ
และสม่�ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
โดยใช้ระบบพ่นฝอย (Sprinkler) หรือ
ใช้สายยางติดหัวฝักบัว ต้องระวังไม่ให้
ผักกวางตุ้งขาดน�้ำในระยะการเจริญ
เติบโต เพราะจะท�ำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ และควรให้น�้ำทันทีหลังการปลูกและ
ใส่ปยุ๋ ทกุ ครงั้

การใสป่ ยุ๋

ใช้ป๋ยุ ยูเรยี (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรมั ตอ่ ไร่ เป็นการ
เรง่ การเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เรว็ ขน้ึ หรือใชป้ ุ๋ยสตู ร 20-0-0 หรือสตู รใกล้เคยี ง
ในอัตรา 30 - 50 กิโลกรัมต่อไร่ หลงั จากใสป่ ุ๋ยทกุ คร้งั ควรมกี ารรดน้ำ� ทนั ที

การเกบ็ เก่ยี วผลผลติ

อายกุ ารเก็บเกย่ี วของผักกวางต้งุ ค่อนข้างเรว็ ประมาณ 35 - 45 วัน

การตลาด

รวมกล่มุ การผลิตให้มีคุณภาพ ปลอดภัย
และสามารถจำ� หน่ายในพื้นที่ และตลาดคา้ ส่ง

แหล่งข้อมลู เพม่ิ เติม

— กลุ่มสง่ เสรมิ พชื ผกั และเหด็
สำ� นักสง่ เสริมและจดั การสนิ ค้าเกษตร
กรมสง่ เสริมการเกษตร โทรศพั ท์ 0 2940 6106
— สำ� นกั งานเกษตรจงั หวัด และ
ส�ำนกั งานเกษตรอำ� เภอในพืน้ ที่

กรมส่งเสริมการเกษตร

17 ประเภทพชื ผกั

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� น้อย

18

เง่ือนไขการด�ำเนินงาน

— ต้องมีตลาดรองรบั
— ตอ้ งใชแ้ รงงานในครวั เรอื น
— ต้องมแี หลง่ นำ้� ที่สามารถใชเ้ พาะปลกู ไดต้ ลอดฤดูกาล

วธิ กี ารผลิต/การเขตกรรม

การเตรียมดิน

โดยขดุ ดนิ ใหล้ ึกประมาณ 10 - 15
เซนตเิ มตร ตากดนิ ทงิ้ ไวป้ ระมาณ 7 - 10 วนั
ใสป่ ยุ๋ คอกหรอื ปยุ๋ หมกั ทส่ี ลายตวั ดปี ระมาณ
1 ตนั ต่อไร่ คลกุ เคลา้ ให้เขา้ กนั ถ้าดินเป็น
กรดควรใส่ปูนขาวเพ่ือปรับปรุงดินให้อยู่
ในสภาพทีเ่ หมาะสม

การปลกู

วธิ ีปลกู มี 2 แบบ คือ
— การหวา่ นเมล็ดพันธ์ใุ หก้ ระจายทั่ว ๆ แปลง : วธิ นี เี้ หมาะสำ� หรับแปลงปลกู
แบบยกรอ่ งมคี ูนำ�้ ล้อมรอบ ซง่ึ ขนาดของร่องแปลงผกั กวา้ ง 5-6 เมตร หลังเตรียมดนิ แลว้
ปฟู างข้าวลงบนแปลง จากนน้ั หวา่ นเมล็ดแลว้ รดนำ�้ ตามให้ชุม่ วิธีน้ีใชเ้ มล็ดพันธุป์ ระมาณ
1 - 2 กิโลกรมั ตอ่ ไร่
— การโรยเมล็ดแบบเป็นแถว : เหมาะส�ำหรับแปลงท่ียกร่องแปลงธรรมดา
ขนาดแปลงกว้างประมาณ 1 เมตร ร่องน�้ำทางเดิน 0.5 เมตร โดยโรยเมล็ดให้ห่างกัน
พอสมควร ระยะหา่ งระหวา่ งแถวประมาณ 20 เซนตเิ มตร กลบดนิ บาง ๆ คลมุ ดว้ ยฟางขา้ ว
แล้วรดน�ำ้ ใหช้ มุ่ ใช้เมลด็ พนั ธ์ปุ ระมาณ 800 กรัมตอ่ ไร่ เมอ่ื ผกั อายุ 15 - 20 วันใหท้ �ำการ
ถอนแยกคร้ังแรก เลือกกล้าท่ีไม่สมบูรณ์ออกเหลือระยะห่างระหว่างต้นประมาณ
10 เซนติเมตร ถอนแยกครัง้ ท่ี 2 เมอื่ ผกั อายปุ ระมาณ 25 วนั ให้เหลอื ระยะห่างระหวา่ งต้น
20 เซนตเิ มตร การถอนแยกแตล่ ะครั้งสามารถน�ำตน้ คะน้ามาตดั รากออกสง่ ขายเปน็ ยอดผัก

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

19 ประเภทพชื ผกั

การให้นำ�้

ให้วันละ 2 เวลาคอื เชา้ และเยน็ ในชว่ งระยะเมลด็ เรม่ิ งอกห้ามขาดน�้ำเด็ดขาด

การใสป่ ยุ๋

ใสป่ ยุ๋ สตู ร 15-15-15 อตั รา 50 กโิ ลกรัมต่อไร่ และอาจเรง่ การเจรญิ เติบโตโดยใช้
ปุ๋ยสตู ร 21-0-0 อตั รา 20 กิโลกรมั ต่อไร่ หว่านแลว้ รดนำ้� ตาม

การเก็บเก่ียวผลผลิต

คะนา้ ทปี่ ลูกในประเทศไทยมีอายกุ ารเก็บเกี่ยวประมาณ 45 - 55 วัน หลังจากปลูก
คะนา้ อายุ 45 วัน เป็นระยะที่ตลาดมีความตอ้ งการมาก แตค่ ะน้าที่มีอายุ 50 - 55 วนั
เป็นระยะทเ่ี ก็บเกี่ยวได้นำ�้ หนักมากกวา่

การตลาด

รวมกลมุ่ การผลิตให้มคี ุณภาพ ปลอดภยั
และสามารถจ�ำหน่ายในพนื้ ท่ี และตลาดคา้ สง่

แหล่งข้อมลู เพิม่ เตมิ

— กล่มุ ส่งเสรมิ พืชผกั และเห็ด
สำ� นักสง่ เสริมและจดั การสินคา้ เกษตร
กรมสง่ เสริมการเกษตร
โทรศพั ท์ 0 2940 6106
— สำ� นักงานเกษตรจงั หวัด และ
สำ� นกั งานเกษตรอ�ำเภอในพื้นที่

การปลกู พืชใช้น้�ำน้อย

20

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

21 ประเภทพชื ผกั

เงื่อนไขการดำ� เนินงาน

— ต้องมีตลาดรองรบั
— ควรใช้แรงงานในครวั เรอื น
— มีแหล่งน้�ำที่สามารถใช้เพาะปลูกได้

ตลอดฤดูกาล
— ไมค่ วรปลกู ในพน้ื ทท่ี มี่ นี ำ้� ขงั และชนื้ แฉะ

และไม่ควรให้น�้ำช่วงเย็นจะท�ำให้เกิด
โรคทางใบไดง้ า่ ย
— ควรปลูกในพื้นโล่งแจ้งได้รับแสงแดด
ตลอดทง้ั วัน
— ควรดูแลอย่างใกลช้ ิดเนื่องจากแตงไทย
อ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะในฤดูหนาว

วธิ ีการผลิต/การเขตกรรม

เกษตรกรควรเลือกพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด อาจเป็นพันธุ์พ้ืนเมือง
ทท่ี นตอ่ สภาพแวดลอ้ ม หรือพันธ์ลุ กู ผสมท่ีให้ผลผลิตสูง มเี มลด็ พันธุ์จำ� หนา่ ยในท้องตลาด

การเตรยี มดิน

ไถพรวนแล้วตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตันต่อไร่
ก่อนท�ำการไถพรวนอีก 2 - 3 คร้ังให้ดินร่วนซุย ยกร่องกว้าง 80 - 100 เซนติเมตร
ระยะห่างแปลงประมาณ 4 เมตร หวา่ นป๋ยุ เคมีสตู ร 15-15-15

วางระบบนำ้�

เชน่ ระบบนำ�้ หยด คลมุ ดว้ ยพลาสตกิ เทา-ดำ� เพอื่ ลดการใชป้ ยุ๋ และการกำ� จดั วชั พชื
รวมทงั้ เกบ็ รักษาความชืน้ ภายในดิน เจาะรูโดยใช้ระยะปลกู 50 เซนติเมตร เปดิ ระบบน�้ำ

การปลกู พืชใชน้ ้�ำน้อย

22

การปลกู

หยอดเมล็ดแตงหลุมละ 3 - 4 เมลด็ ต่อหลุม กลบดนิ รดน้�ำ ประมาณ 2 - 3 วนั
เมล็ดจะทยอยงอก เลือกต้นทแ่ี ข็งแรงไว้ ช่วงแตงไทยออกดอกควรเวน้ การใช้สารเคมีฆ่าแมลง
เนือ่ งจากจ�ำเป็นตอ้ งใหแ้ มลง เชน่ ผ้ึง ม้ิม ชนั โรง เป็นตน้ ในการช่วยผสมเกสร

การใสป่ ยุ๋

ใสป่ ยุ๋ สตู ร 15-15-15 ผา่ นระบบน�ำ้ หยด เม่อื แตงไทยอายุ 20, 30 และ 45 วัน
และให้อกี คร้ังเม่อื ผลแตงไทยทีอ่ อกมามขี นาดประมาณ 1 - 2 กิโลกรมั ข้ึนไป เพ่ือขยาย
ขนาดผล โดยใช้อัตราสว่ นป๋ยุ 200 กรัมตอ่ นำ้� 100 ลิตร

การเกบ็ เก่ียวผลผลติ

ก่อนเก็บเก่ียวควรงดน�้ำ 2 - 3 วัน อายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 60 วัน เก็บได้
หลายคร้งั โดยทยอยตดั ผลทไ่ี ดอ้ ายุและขนาดกอ่ น

การตลาด

รวมกลุ่มการผลิตให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และสามารถจ�ำหน่ายในพ้ืนที่ และ
ตลาดค้าส่ง

แหลง่ ข้อมลู เพม่ิ เติม

— กล่มุ ส่งเสรมิ พชื ผกั และเหด็
สำ� นกั สง่ เสรมิ และจัดการสนิ ค้าเกษตร
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
โทรศพั ท์ 0 2940 6106
— สำ� นกั งานเกษตรจังหวัด และ
สำ� นักงานเกษตรอ�ำเภอในพน้ื ท่ี

กรมส่งเสริมการเกษตร

23 ประเภทพชื ผกั

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� น้อย

24

เง่อื นไขการดำ� เนินงาน

— ต้องมตี ลาดรองรับ
— ควรใช้แรงงานในครวั เรือน
— มีแหล่งนำ�้ สะอาดท่ีสามารถใช้เพาะปลกู ได้ตลอดฤดกู าล
— มีวัสดเุ หลอื ใชท้ างการเกษตรในท้องถิน่ เชน่ ฟางข้าว ผักตบชวา และโครงไม้ไผ่
— พ้ืนที่ส�ำหรับเพาะจะต้องเป็นท่ีดอน น้�ำท่วมไม่ถึง และต้องไม่เคยเป็นท่ีเพาะเห็ดฟาง

มาก่อน 1 - 2 เดือน ไม่มีมด ปลวก ไม่ควรเพาะในสถานที่ท่ีเป็นดินเค็ม และ
สถานทเ่ี พาะต้องปลอดจากสารเคมปี อ้ งกันกำ� จดั ศตั รพู ชื ตกค้าง

วิธกี ารผลติ /การเขตกรรม

1. น�ำวัสดุเพาะรวมท้ังอาหารเสริมทุกชนิด
ไปแช่ให้โชกเสยี กอ่ น
— โดยฟาง ตอซัง หรือฟางข้าวนวด
ควรแช่นำ�้ 1 คนื
— ส�ำหรับนุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวา
ควรแช่น้�ำ 1 - 2 ช่ัวโมง ยกเว้นอาหารเสริมที่ได้
จากมลู สตั ว์ผสมดิน ไมต่ ้องแชน่ �ำ้
2. ปรบั ดนิ ใหเ้ รยี บ รดนำ�้ ใหช้ มุ่ วางแบบพมิ พ์
ลงบนดิน ใส่ฟางลงให้หนา 8 - 12 เซนติเมตร
ใช้มอื กดใหแ้ น่น หรอื อาจเหยียบ 1 - 2 ครัง้ ใส่อาหาร
เสริมบริเวณขอบโดยรอบกว้าง 5 - 7 เซนติเมตร
วางแบบพิมพ์ลงบนดนิ แบบพมิ พ์ท�ำจากไม้มลี กั ษณะ
เป็นสี่เหล่ียมคางหมู ด้านบนกว้าง 30 เซนติเมตร
ด้านล่างกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 80 - 120
เซนตเิ มตร สูง 30 เซนติเมตร
3. โรยเช้ือเห็ดโดยรอบบนอาหารเสริม
เชื้อเห็ดที่ใช้ควรขย้ีให้แตกออกจากกันเสียก่อนเป็นอันเสร็จขั้นที่ 1 เมื่อเสร็จแล้ว
ท�ำข้ันต่อไปโดยท�ำเช่นเดียวกับการท�ำขั้นแรก คือใส่ฟางลงในแบบไม้อัดหนา
8-12 เซนตเิ มตร กดให้แนน่ ใสอ่ าหารเสรมิ โรยเชอ้ื เนือ่ งจากอากาศร้อน ควรท�ำ 3 ชัน้

กรมส่งเสริมการเกษตร

25 ประเภทพชื ผกั

หรือสูง 28 - 30 เซนติเมตร เมื่อท�ำกองเสร็จแล้ว
รดนำ้� บนกองใหโ้ ชกอกี ครั้ง ถอดแบบพมิ พ์เพื่อน�ำไป
ใช้เพาะกองอ่ืนต่อไป
4. การโรยเช้ือขั้นสุดท้าย ใช้เช้ือเห็ดฟาง
ผสมกับอาหารเสริมโรยรอบกอง ทั้งน้ีจะท�ำให้ได้
ดอกเห็ดเกิดระหว่างกอง เป็นการเพิ่มปริมาณ
ดอกเห็ดนอกเหนือจากทไี่ ด้จากกองเหด็ อีกด้วย
5. การเพาะเห็ดกองเต้ียมักจะท�ำกอง
ใกล้ ๆ กัน ห่างกันประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร
โดยกองขนานกนั ไป 10 - 20 กอง
6. คลุมด้วยพลาสติก การคลุมกองให้คลุม
ทั้งหมดด้วยพลาสติก 2 ผืน โดยให้ขอบข้างหนึ่ง
ทับกันบริเวณหลังกอง จากน้ันใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกที หรืออาจท�ำแผงฉาก
ปิดไม่ให้แสงส่องถึง ก่อนคลุมผ้าพลาสติกอาจท�ำโครงไม้เหนือกอง เพื่อไม่ให้พลาสติก
ติดหลังกองแล้วปิดด้วยฟางหลวม ๆ ก่อน ในฤดูแดดจัดระยะ 3 วันแรก ควรเปิด
ผ้าพลาสติกหลังกองออกกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร เวลากลางวันจนถึง
ดวงอาทิตย์ตก ส่วนกลางคืนปิดไว้อย่างเดิม ในวันท่ี 4-5 ให้ตรวจดูความชื้น ถ้าเห็นว่า
ด้านข้างและหลงั กองแห้งให้ใช้บวั รดน�้ำ โรยน�ำ้ เบา ๆ ใหช้ ืน้ แลว้ ปิดไว้อย่างเดมิ
7. ระยะเวลา ประมาณ 7 - 9 วัน เก็บผลผลิตได้

การตลาด

รวมกล่มุ การผลติ ให้มคี ณุ ภาพ ปลอดภัย
และสามารถจ�ำหนา่ ยในพ้นื ท่ี และตลาดคา้ สง่

แหลง่ ขอ้ มลู เพิม่ เตมิ

— กลมุ่ สง่ เสริมพชื ผกั และเห็ด
ส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 6106
— สำ� นกั งานเกษตรจงั หวดั และส�ำนกั งานเกษตรอ�ำเภอในพนื้ ที่

การปลกู พชื ใช้นำ�้ นอ้ ย

26

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

27 ประเภทพชื ผกั

เงื่อนไขการดำ� เนนิ งาน

— ตอ้ งมตี ลาดรองรับ
— ต้องใชแ้ รงงานในครวั เรอื น
— ต้องมแี หล่งน�ำ้ ทส่ี ามารถใชเ้ พาะปลกู ได้
ตลอดฤดูกาล

วธิ ีการผลิต/การเขตกรรม

การเตรยี มดิน

โดยไถดะตากดนิ ไว้ 10 - 20 วนั เพอ่ื กำ� จดั เชอ้ื โรค แมลงและวชั พชื ตา่ ง ๆ แลว้ จงึ ไถพรวน
1 - 2 ครงั้ ใหด้ นิ รว่ นซยุ ยกรอ่ งปลกู มนั เทศเปน็ รปู สามเหลยี่ ม โดยสนั รอ่ งสงู ประมาณ 50 เซนตเิ มตร
ระยะหา่ งร่องประมาณ 80-100 เซนตเิ มตร

การปลกู

มนั เทศใช้ระยะปลกู 30 x 100 เซนติเมตร สามารถปลูกไดห้ ลายวธิ ี คือ
— การเพาะเมล็ด : โดยน�ำเมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้าแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลง วิธีน้ี
เหมาะสำ� หรบั นักปรบั ปรงุ พนั ธุ์ เนอื่ งจากมกั กลายพันธ์ุ
— ใชล้ �ำต้นหรอื เถา : ตดั เปน็ ท่อน ๆ แล้วน�ำไปปลูกบนแปลง วธิ ีน้เี กษตรกรนยิ มมากทีส่ ุด
— การเพาะช�ำหัว : คัดเลือกหัวมันเทศที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง เพาะใน
กระบะทรายรดน�้ำให้ชุ่มทุกวัน ประมาณ 15 วัน มนั เทศจะแตกหน่อ ยาวประมาณ 25 - 30 เซนตเิ มตร
หัวละ 10 ยอด ใชม้ ดี ตัดแยกไปปลูกบนแปลงตอ่ ไป
— การปกั ชำ� : คัดเลอื กเถาท่ีอวบสมบรู ณป์ ราศจากโรคและแมลง ตดั เปน็ ทอ่ น ๆ ละ 1 ขอ้
นำ� ไปปกั ช�ำในกระบะทราย ประมาณ 7-10 วนั มนั เทศจะแตกยอดและรากใหม่ นำ� ไปปลูกบนแปลง
เปน็ วธิ ีขยายพันธทุ์ ่เี หมาะส�ำหรับผู้ทมี่ พี นั ธุ์จำ� กัด
วธิ ที เี่ กษตรกรนยิ มมากทสี่ ดุ สำ� หรบั มนั เทศ ไดแ้ ก่ การใชล้ ำ� ตน้ หรอื เถา โดยนำ� เถามนั เทศ
อายุประมาณ 2 เดือนที่เลื้อยไปตามดินมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละ 25 - 40 เซนติเมตร
แลว้ น�ำไปปลกู บนแปลงทเ่ี ตรยี มไว้ การปลกู ซ่อมหลงั ปลกู มนั เทศ 15 วนั แล้วหลุมใดยังไม่แตกยอด
ควรทำ� การปลูกซ่อมใหเ้ ต็ม
ในกรณีมันเทศญ่ีปุ่น เนื่องจากท่อนพันธุ์มันเทศญี่ปุ่นมีราคาสูง จึงควรใช้วิธีขยายพันธุ์
โดยการปกั ชำ� ก่อน โดยการคัดเลือกเถาที่อวบสมบรู ณป์ ราศจากโรคและแมลง ตดั เป็นท่อน ๆ ละ
1 ขอ้ น�ำไปปักช�ำในกระบะทราย ประมาณ 7-10 วนั มนั เทศจะแตกยอดและรากใหม่ น�ำไปปลกู
บนแปลง

การปลกู พืชใช้นำ�้ นอ้ ย

28

การให้นำ�้

มันเทศมคี วามต้องการนำ้� ช่วง 30 วนั แรกจากเรมิ่ ปลกู จากน้ันพชื ตั้งตัวได้ จะทนตอ่
การขาดน�้ำได้ดี หลัง 30 วันแรกจะให้น้�ำต่ออีกเดือนละ 2 - 3 ครั้งตามสภาพอากาศ และลด
ปรมิ าณการใหน้ ำ�้ ลงกอ่ นเก็บเก่ียวประมาณ 2-3 สปั ดาห์

การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยคอกรองพ้นื ตอนเตรยี มดนิ ก่อนปลูก และปยุ๋ สูตร 13-13-21 อัตรา 80 - 100
กิโลกรมั ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 คร้งั คร้งั แรกใสร่ องกน้ หลมุ กอ่ นปลกู ครั้งท่ี 2 ใส่หลังปลกู แล้ว 45 วัน
สำ� หรับการปลกู มันเทศในชว่ งฤดแู ล้ง ควรใสป่ ุย๋ สูตร 15-15-15 อัตรา 60 กโิ ลกรัมตอ่ ไร่

การพูนโคน

เมอื่ มนั เทศมอี ายุ 45 วันควรพูนโคนพรอ้ มกำ� จัดวัชพชื เพ่ือให้หัวเจรญิ ขยายตวั ใหญ่ขึน้
และลดการเข้าทำ� ลายของดว้ งงวงมันเทศด้วย

เมื่อปลูกมันเทศไปแล้ว 1 - 2 เดือน ควรตลบเถามันเทศขึ้นหลังแปลงปลูก เพ่ือป้องกัน
การงอกของรากใหมต่ ามขอ้ ของล�ำต้น สว่ นในฤดหู นาวหรอื ฤดูรอ้ นทีม่ ีความชน้ื นอ้ ยไมค่ วร
ตลบเถามันเทศขน้ึ หลงั แปลงเพราะจะท�ำใหม้ นั เทศชะงกั การเจริญเตบิ โต แปลงปลูกจะแห้ง
สูญเสียความช้ืนเร็ว

การเกบ็ เกย่ี วผลผลติ

มนั เทศจะเรม่ิ เกบ็ เกยี่ วไดเ้ ม่อื อายปุ ระมาณ 90 - 150 วัน
หลังจากปลูก ขน้ึ กบั พนั ธุแ์ ละสภาพแวดลอ้ ม

การตลาด

— รวมกล่มุ การผลติ ให้มคี ุณภาพ ปลอดภยั
— สามารถจ�ำหนา่ ยในพื้นที่ และตลาดคา้ ส่ง
— มันเทศญ่ปี ุ่นสามารถจำ� หนา่ ยในแหล่งทอ่ งเทย่ี ว และตลาด Modern trade

แหลง่ ขอ้ มูลเพิ่มเติม

— กลุ่มส่งเสริมพืชผักและเห็ด ส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
โทรศพั ท์ 0 2940 6106

— ส�ำนกั งานเกษตรจงั หวัด และส�ำนักงานเกษตรอำ� เภอในพน้ื ที่

กรมส่งเสริมการเกษตร

29 ประเภทพชื ไร่

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� น้อย

30

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

31 ประเภทพชื ไร่

เง่ือนไขการดำ� เนนิ งาน

— ต้องมีตลาดรบั รอง
— มแี หล่งรับซ้อื ทีเ่ ปน็ สหกรณแ์ ละภาคเอกชน
— ควรปลกู ใหแ้ ลว้ เสรจ็ ภายในเดอื นธนั วาคม เพอ่ื ไมใ่ หก้ ระทบแลง้

ในช่วงออกดอก ผสมเกสร

วธิ ีการผลิต/การเขตกรรม

ชว่ งเวลาปลูกทเี่ หมาะสม

เดอื นพฤศจิกายน - ธนั วาคม

การเลอื กพนื้ ที่

เป็นพ้ืนทเี่ ขตชลประทาน หรอื พ้ืนท่สี ามารถให้นำ�้ ได้ตลอดระยะเวลาปลูก

ดินทเ่ี หมาะสม

ควรเปน็ ดนิ ท่มี ีความอุดมสมบูรณ์ ระบายนำ้� ได้ดี เชน่ ดินร่วน ดินรว่ นเหนียว หรือดินรว่ นทราย
ควรหลีกเลี่ยงดินเหนียวจัด และควรให้ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอตรวจสอบชุดดิน/แผนที่ดินว่ามี
ความเหมาะกบั ขา้ วโพดเล้ยี งสัตวห์ รือไม่ และดนิ ควรมคี ่าความเป็นกรดดา่ ง (pH) มากกวา่ 5.5

การเตรียมดิน

ไถดะดว้ ยผาล 3 หลงั เก็บเกย่ี วขา้ ว ตากดินไว้ ประมาณ 5 - 7 วนั จึงไถแปรพร้อมคราด 2 - 3 ครั้ง
เพ่ือย่อยดินและให้ดินเก็บความช้ืน ไม่ควรเผาหญ้าหรือฟางข้าวในแปลงนาก่อนปลูก เพ่ือรักษาความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าแปลงนามีขนาดใหญ่และมีดินเป็นดินเหนียว ควรท�ำร่องน้�ำระหว่างแปลงเพื่อ
สะดวกตอ่ การส่งนำ้� เขา้ และระบายน�ำ้ ออกจากแปลง ความกว้างของร่องนำ�้ ประมาณ 0.75 - 1 เมตร

การเตรียมพนั ธ์ุ

ควรใช้พันธล์ุ ูกผสมเดย่ี ว เนอ่ื งจากมีลักษณะทางการเกษตรสมำ�่ เสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก
ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดี
และให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการที่แนะน�ำ ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์3 ของกรมวิชาการเกษตร
พันธ์สุ วุ รรณ 4452 ของศูนย์วิจัยขา้ วโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ รวมทง้ั พนั ธ์ุท่ผี ลติ โดยภาคเอกชน

การปลกู

ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะระหว่างแถว
70 - 75 เซนตเิ มตร ระหว่างหลุม 20 เซนตเิ มตร จ�ำนวน 1 เมลด็ ตอ่ หลุม อัตราเมลด็ พันธ์ุ 2.5 - 3 กิโลกรัม
ตอ่ ไร่ จะได้จ�ำนวน 10,666 - 11,428 ตน้ ตอ่ ไร่ และควรปลกู ซอ่ มใหแ้ ล้วเสร็จภายใน 7 - 10 วัน

การใหน้ �ำ้

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการน้�ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450 - 500 มิลลิเมตร หรือ
720 - 800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การให้น้�ำคร้ังแรกควรให้เม่ือข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ย

การปลกู พชื ใชน้ ำ้� นอ้ ย

32

แต่งหน้าครั้งที่ 1 การให้น้�ำคร้ังต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเห่ียวชั่วคราวของ
ใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น�้ำโดยปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น้�ำ
แบบปล่อยท่วมแปลง เพราะจะทำ� ให้ดินอัดตวั กันแน่นยิ่งข้ึน

การใสป่ ยุ๋

— ปุ๋ยรองพ้ืนใส่พร้อมปลูก สูตร 15-15-15, 16-16-8, 16-8-8, 20-10-5 อัตราตามค่า
วเิ คราะหด์ นิ
— ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย)
อตั รา 25 กโิ ลกรัมตอ่ ไร่ พรอ้ มกับดายหญา้ พูนโคนและใหน้ ำ�้ ไปตามร่อง
— ป๋ยุ แต่งหน้าครั้งที่ 2 ใส่เมอ่ื ขา้ วโพดอายุ 7-8 สัปดาหห์ ลังปลกู เป็นระยะเรม่ิ ออกไหมและ
ช่อดอกตัวผู้ ซึ่งต้องการความชื้นและธาตุอาหารอย่างเพียงพอ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา
10 กิโลกรมั ต่อไร่ โดยโรยขา้ งรอ่ งหลงั จากให้นำ้� แล้ว

การเกบ็ เก่ยี วผลผลิต

ควรเกบ็ เก่ยี วเมอื่ ข้าวโพดแกจ่ ัดและแหง้ สนทิ อายุ 110-120 วนั ขึ้นอยูก่ ับชนดิ พันธุ์ หรือสังเกต
จากใบและล�ำต้นเปล่ียนเป็นสีน้�ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวท้ังแปลง และควรตาก 1-2 แดดก่อนกะเทาะ
เมลด็ จำ� หน่าย
วิธีการเกบ็ เกย่ี ว : ใช้แรงงานคน หรือใช้เครอ่ื งจักร

ข้อจ�ำกดั ของการปลกู ข้าวโพดเล้ียงสตั วห์ ลงั นา

— หลีกเลย่ี งดินเหนยี วจัด — หลกี เลย่ี งดนิ กรดถงึ กรดจัด (pH ต่ำ� กวา่ 5.0)
— หลีกเล่ียงพน้ื ที่ตำ�่ และทนี่ �้ำทว่ มขัง — หลกี เล่ยี งการปลกู ลา่ ชา้ กวา่ เดอื นธนั วาคม

ขอ้ ควรระวงั การปลูกข้าวโพดเล้ยี งสตั วห์ ลังนา

หนู : จะระบาดรนุ แรงในชว่ งฤดแู ล้งมักเขา้ กดั กนิ ท�ำลายลำ� ตน้ และฝกั ข้าวโพด เนอ่ื งจากไมม่ ี
พชื อาหารชนดิ อนื่ ดงั นน้ั เกษตรกรควรรว่ มกนั กำ� จดั หนใู นพนื้ ทพ่ี รอ้ ม ๆ กนั เปน็ บรเิ วณกวา้ งกอ่ นการปลกู
ข้าวโพด วธิ ีการปอ้ งกำ� จัดโดยกำ� จัดวัชพชื บนคนั นา หรือใช้วิธีกลรว่ มกับการใช้สารพิษ ซงิ ค์ฟอสไฟด์ ซ่งึ
ออกฤทธเ์ิ ร็ว สลับกับ โฟลคมู าเฟน เหยอื่ พษิ สำ� เรจ็ รูปประเภทออกฤทธช์ิ า้

การตลาด

เกษตรกรทผ่ี ลติ สง่ โรงงานผลติ อาหารสตั ว์

แหล่งขอ้ มลู เพ่มิ เติม

— กลุ่มส่งเสริมพชื ไร่อุตสาหกรรม
ส�ำนกั สง่ เสริมและจดั การสินคา้ เกษตร กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
โทรศัพท์ 0 2940 6124 โทรสาร 0 2940 6100
— ส�ำนักงานเกษตรจังหวัด และส�ำนกั งานเกษตรอ�ำเภอในพ้นื ท่ี

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

33 ประเภทพชื ไร่

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� น้อย

34

เงอื่ นไขการด�ำเนินงาน

— ตอ้ งมตี ลาดรองรบั
— ต้องมีแหลง่ นำ้� ไว้ใชเ้ พาะปลูกท้งั ปี
— ต้องปลูกอย่างนอ้ ย 5 ไรข่ ้นึ ไป
— ตอ้ งมแี รงงานในครวั เรือน

วธิ ีการผลติ /การเขตกรรม

ชว่ งเวลาปลกู ทเี่ หมาะสม

ปลูกไดต้ ลอดปี ช่วงปลูกทใี่ หผ้ ลผลิตสงู
— ฤดูหนาว ระหวา่ งเดอื นพฤศจิกายน - มกราคม
— ตน้ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม

การเลือกพน้ื ท่ี

เป็นพ้ืนท่เี ขตชลประทาน หรือพ้นื ที่สามารถใหน้ �ำ้ ได้ตลอดระยะเวลาปลกู

ดนิ ท่เี หมาะสม

ควรเป็นดนิ ท่มี คี วามอุดมสมบูรณ์ ระบายน้�ำไดด้ ี เชน่ ดนิ ร่วน ดินรว่ นเหนยี วปนทราย ดนิ ควรมี
ค่าความเป็นกรดดา่ ง (pH) ระหวา่ ง 5.5-6.8

การเตรียมดิน

ไถดะด้วยผาล 3 ตากดินไว้ประมาณ 5 - 7 วัน จึงไถแปรด้วยผาล 7 แล้วยกร่องปลูกสูง
25 - 30 เซนตเิ มตร

การเตรยี มพันธุ์

ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่�ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก
ความสูงต้น อายุวันออกดอก ต้นเตี้ย รากแข็งแรง ทนทานต่อการหักล้ม ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดี
และให้ผลผลิตสูง พันธุ์ของทางราชการท่ีแนะน�ำ ได้แก่ พันธุ์อินทรี 2 ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและ
ข้าวฟา่ งแห่งชาติ รวมท้งั พนั ธท์ุ ผี่ ลติ โดยภาคเอกชน

การปลกู

ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่แฉะเกินไป จ�ำนวนต้นที่เหมาะสมส�ำหรับบริโภคฝักสด
ประมาณ 8,500 ตน้ ตอ่ ไร่ หากปลกู เพอื่ อตุ สาหกรรมแปรรปู ประมาณ 8,500 - 11,000 ตน้ ตอ่ ไร่ ขนึ้ อยกู่ บั
ลักษณะประจำ� พนั ธ์แุ ละความอดุ มสมบูรณ์ของดนิ
— ปลกู แถวเดยี วให้มีระยะระหว่างรอ่ ง 75 เซนตเิ มตร ระยะระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร
— ปลูกแถวคู่ใหม้ รี ะยะระหว่างรอ่ ง 120 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 25 - 30 เซนติเมตร
โดยปลูกแบบสลับฟันปลา อัตราเมล็ดพนั ธ์ุ 1 - 1.5 กิโลกรมั ต่อไร่
— ให้น�้ำทันทหี ลังปลกู
กรมส่งเสริมการเกษตร

35 ประเภทพชื ไร่

การให้น�ำ้

ควรให้ทันทีหลงั ปลูก การให้นำ�้ สามารถใหไ้ ด้ท้ังแบบตามรอ่ ง หรอื แบบพ่นฝอย
— การใหน้ ำ�้ แบบฝอย ควรให้ทุก 7-10 วนั ตลอดฤดูปลูก
— การให้น้�ำตามร่องครั้งแรกเมื่อข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ หลังจากใส่ปุ๋ยคร้ังท่ี 1 และ
พรวนดินพูนโคน การให้น้�ำคร้ังต่อไปให้สังเกตจากความชื้นของผิวดิน หรืออาการเหี่ยวช่ัวคราวของ
ใบข้าวโพดในช่วงเวลาบ่าย วิธีการให้น้�ำโดยปล่อยไปตามร่อง หากเป็นสภาพดินเหนียวไม่ควรให้น�้ำ
แบบปลอ่ ยทว่ มแปลง เพราะจะท�ำให้ดนิ อดั ตวั กันแน่นย่งิ ขนึ้
— หากขาดน�้ำในช่วงออกดอกหรือผสมเกสรจะท�ำให้ผลผลิตลดลง ขาดคุณภาพ และควร
หยดุ ใหน้ ำ้� กอ่ นเกบ็ เกีย่ ว 2-3 วนั

การใส่ปุ๋ย

— ปุ๋ยรองพนื้ ในดินร่วน ดนิ รว่ นเหนยี วปนทราย การใส่พรอ้ มปลูกใหใ้ ส่ปยุ๋ เคมสี ูตร 16-20-0
หากเป็นดินรว่ นปนทราย ให้ใสส่ ตู ร 16-20-0 อตั รา 25-50 กิโลกรัมตอ่ ไร่
— คร้งั ท่ี 1 เมอื่ อายุ 20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมสี ูตร 46-0-0 อตั รา 25 กิโลกรัมตอ่ ไร่ โดยโรยขา้ งแถว
แลว้ พรวนดนิ กลบ
— คร้งั ท่ี 2 เมือ่ อายุ 45 วนั ใสป่ ุย๋ เคมสี ตู ร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยขา้ งรอ่ ง
หลงั จากให้นำ�้ แล้ว

การเก็บเก่ียว

ระยะเกบ็ เกีย่ วทเ่ี หมาะสม
— 18-20 วนั หลังขา้ วโพดออกไหม 50 เปอร์เซน็ ต์
— สขี องไหมเปลย่ี นเปน็ สีนำ้� ตาลเขม้
— เม่ือใชม้ ือบีบที่ปลายฝกั จะยบุ ตวั ง่าย
— เมื่อฉกี เปลือกขา้ วโพดออก เมลด็ จะมีสเี หลอื งออ่ น
หากใช้เลบ็ กดทเี่ มล็ดปลายฝักจะมีน�้ำนมไหลออกมา
แสดงว่าอกี สองวนั สามารถเก็บเกีย่ วได้
วธิ กี ารเก็บเกย่ี ว : ใช้แรงงานคน

การตลาด

เกษตรกรทผี่ ลิตสง่ โรงงาน
จะด�ำเนินการในรปู เกษตรพนั ธสัญญา

แหลง่ ขอ้ มลู เพม่ิ เติม

— กลุม่ ส่งเสริมพืชไรอ่ ตุ สาหกรรม ส�ำนกั ส่งเสริมและจดั การสินค้าเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 6124 โทรสาร 0 2940 6100
— สำ� นกั งานเกษตรจังหวัด และส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอในพื้นที่

การปลูกพืชใช้น้ำ� นอ้ ย

36

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

37 ประเภทพชื ไร่

เงือ่ นไขการดำ� เนินการ

— สามารถปลกู ได้ตลอดปี
— ไม่ทนต่อสภาพนำ�้ ท่วมขงั
— ต้องมตี ลาดรองรับ

วิธกี ารผลิต/การเขตกรรม

การเตรยี มดิน

ไถผาล 3  1 ครั้ง ตากดิน 7 - 10 วนั แล้ว
พรวนดว้ ยผาล 7  1 คร้ัง

การปลูก

มี 2 แบบ
— ปลูกแบบหว่าน : ในกรณีท่ีดินมีความช้ืน หว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว อัตรา
5 - 7 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากเตรียมดิน จากนั้นพรวนดินกลบทันที เพ่ือปิดหน้าดินกัน
การระเหยของน้ำ� ใตด้ ิน และในกรณดี ินไม่มีความชื้น ควรใหน้ �ำ้ ก่อนแลว้ ท้ิงไวจ้ นดินหมาด
แล้วจงึ ไถพรวน และหว่านเมล็ด แล้วพรวนดนิ กลบ
— ปลกู เปน็ แถว : ใช้เมลด็ พันธ์ถุ ว่ั เขยี ว อตั รา 5 - 7 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ หลงั เตรยี มดิน
ใชเ้ ครอื่ งปลกู ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร จำ� นวน 20 - 25 ตน้ ตอ่ แถวยาว 1 เมตร
ได้จำ� นวนต้น 64,000 - 80,000 ตน้ ต่อไร่

การให้น�้ำ

ใหน้ ้ำ� ทกุ 10 - 14 วนั ห้ามขาดนำ้� ชว่ งปลายระยะออกดอกจนถึงตดิ ฝกั

การใสป่ ุย๋

ใสป่ ุ๋ยสตู ร 12-24-12 อตั รา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกแบบเป็นแถวใสป่ ๋ยุ เคมี
รองพน้ื พรอ้ มปลูก ปลูกแบบหว่านใส่ป๋ยุ เคมีก่อนออกดอก หรือไม่ควรเกิน 10 - 14 วัน
หลังปลูก (ก�ำจดั วชั พืชกอ่ นหวา่ นปุ๋ย)

การปลูกพืชใชน้ ้ำ� น้อย

38

การก�ำจดั ศัตรพู ืช

กำ� จดั วชั พชื หลงั ปลกู ทนั ที ครงั้ ตอ่ ไป
เมือ่ ถ่ัวเขียวอายุ 14 และ 28 วนั สำ� รวจโรค
และแมลงในแปลง เมอ่ื มกี ารทำ� ลายของโรค
และแมลงให้ป้องกันก�ำจัดโดยการฉีดพ่น
สารเคมอี ตั ราท่ใี ช้ตามคำ� แนะนำ� ในฉลาก

การเก็บเกี่ยวผลผลติ

ระยะเก็บเกี่ยวท่ีเหมาะสม ข้ึนอยู่กับพันธุ์ท่ีปลูก โดยทั่วไปจะเก็บเก่ียว 2 คร้ัง
ครั้งแรกเม่ือถ่ัวเขียวมีฝักสุกแก่ 80 เปอร์เซ็นต์ และคร้ังที่ 2 หลังเก็บเกี่ยวคร้ังแรก
ประมาณ 14 วัน
วิธีการเก็บเกี่ยว : ใช้มือปลิดฝักแก่ที่เปล่ียนเป็นสีด�ำ หรือใช้เครื่องเกี่ยวนวด
ที่ปรบั ใช้สำ� หรบั เก็บเกีย่ วถ่วั เขียวท้ังตน้

การตลาด

รวมกลุ่มการผลิตให้มีคุณภาพ และสามารถจ�ำหน่ายในพื้นที่ หรือสามารถติดต่อ
ขายกบั โรงงานแปรรูป ซง่ึ จะต้องมีปรมิ าณผลผลิตไม่น้อยกวา่ 16 ตัน

แหลง่ ขอ้ มูลเพมิ่ เตมิ

— กลุม่ ส่งเสรมิ พืชน�ำ้ มันและพืชตระกูลถัว่
สำ� นักส่งเสริมและจัดการสนิ ค้าเกษตร
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร
โทรศพั ท์/โทรสาร 0 2561 0453
— ส�ำนกั งานเกษตรจังหวดั และ
ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอในพน้ื ท่ี

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

39 ประเภทพชื ไร่

การปลูกพชื ใชน้ ้ำ� น้อย

40

เงื่อนไขการดำ� เนนิ การ

— ฤดูกาลปลูก ในฤดูแล้งปลูกช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมกราคม ช่วงปลูก
หากกระทบอากาศเย็น จะทำ� ให้ตน้ พืชชะงกั การเจริญเตบิ โต

— ไมท่ นตอ่ สภาพนำ้� ท่วมขงั
— ดินเหนยี วไมเ่ หมาะสมกบั การปลกู ถัว่ เหลอื ง
— ดินมีการระบายน�้ำ และถ่ายเทอากาศดี

สามารถอมุ้ น้ำ� ได้
— ต้องมีตลาดรองรับ

วิธีการผลติ /การเขตกรรม

การเตรียมดิน

ในสภาพนาปลกู หลงั เก็บเก่ยี วขา้ ว มีการเตรยี มดิน 2 แบบ ดังนี้
— แบบไม่ไถพรวน : โดยตัดตอซงั ทงิ้ เศษฟางไว้ในแปลงนา แลว้ ขุดรอ่ งน้�ำแนบชิด
คนั นาทุกดา้ น และผ่านแปลงนา ร่องกว้าง 30 เซนตเิ มตร ระยะระหว่างร่องนำ้� ประมาณ
3 - 5 เมตร เพือ่ สะดวกต่อการใหน้ ำ้� และระบายออก หลังจากน้ันปลอ่ ยน�ำ้ ให้ท่วมแปลง
ครง่ึ วันแล้วระบายออก ตากดิน 1-2 วนั ให้ดนิ หมาดแล้วจงึ ปลกู
— แบบไถพรวน : หลงั เกบ็ เกยี่ วขา้ วแลว้ ไถดนิ ใหล้ กึ ประมาณ 15 - 20 เซนตเิ มตร
พร้อมขุดร่องน�้ำแนบชิดคันนาทุกด้าน และผ่านแปลงนา ร่องกว้าง 30 เซนติเมตร
ระยะระหว่างร่องน้ำ� ประมาณ 3 - 5 เมตร ตากดินท้ิงไว้ 1 - 2 สัปดาห์ ปล่อยนำ้� ให้ท่วมแปลง
คร่ึงวันแลว้ ระบายออก ตากดนิ 1 - 2 วนั ให้ดินหมาด แล้วจึงไถพรวนก่อนปลกู
การปลูกถ่ัวเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ต้องระวังในเร่ืองการเตรียมดินและการให้น้�ำ
เปน็ พิเศษ ไม่ควรมนี ้ำ� ขงั และไมค่ วรปลูกลึกกวา่ ปกติ

การปลูก

ใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูกคลุกด้วยไรโซเบียม อัตรา 200 กรัม
ตอ่ เมลด็ พนั ธุ์ 15 กิโลกรมั การปลกู มี 2 ลักษณะ ดังน้ี
— การเตรยี มดนิ แบบไมไ่ ถพรวน : ปลูกโดยใชไ้ มแ้ หลมหรือเคร่ืองปลูกทำ� หลมุ
กว้าง 2 - 3 เซนตเิ มตร ลึก 3 - 4 เซนตเิ มตร หยอดเมล็ดพนั ธุ์ 4-5 เมลด็ ตอ่ หลมุ
— การเตรียมดินแบบไถพรวน : มีวิธีการปลูก 2 แบบ คือ แบบหว่าน หรือ
แบบโรยเปน็ แถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนตเิ มตร จ�ำนวน 20-25 ต้นต่อแถวยาว 1 เมตร
(64,000 - 80,000 ตน้ ต่อไร่)

กรมสง่ เสริมการเกษตร

41 ประเภทพชื ไร่

การให้นำ�้

ในสภาพนา ให้น้ำ� ทุก 7 - 15 วัน หา้ มขาดน�้ำชว่ งอายุ 60 วนั หลังปลูก

การใสป่ ยุ๋

— ดนิ รว่ นหรอื ดินเหนยี วปนทราย ใส่ปุ๋ยสตู ร 12-24-12 อัตรา 20 กิโลกรมั ตอ่ ไร่
หรือสตู ร 16-16-8 อัตรา 30 กโิ ลกรมั ต่อไร่
— ดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
— กรณีปลูกแบบหยอดหรือแบบเป็นแถวใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นพร้อมปลูก
ปลกู แบบหวา่ นใสป่ ๋ยุ เคมีกอ่ นออกดอก หรือไมค่ วรเกนิ 15 - 20 วันหลงั ปลกู (กำ� จัดวัชพชื
กอ่ นหวา่ นปยุ๋ )

การกำ� จัดศัตรูพชื

ก�ำจัดวัชพืชเม่ือต้นถ่ัวอายุ 15-20 วันหรือก่อนถั่วเหลืองออกดอก ส�ำรวจโรค
และแมลงในแปลง เมื่อมีการท�ำลายของโรคและแมลงให้ป้องกันก�ำจัด โดยการฉีดพ่น
สารเคมอี ตั ราที่ใชต้ ามค�ำแนะนำ� ในฉลาก

การเก็บเกย่ี วผลผลิต

ควรเกบ็ เกยี่ ว อายุ 75-120 วัน ขึ้นอยู่กับชนดิ พนั ธ์ุ โดยสีเปลือกฝกั เปล่ียนเป็น
สนี ้ำ� ตาลประมาณ 95 เปอร์เซน็ ต์

การตลาด

รวมกลุ่มการผลิตให้มีคุณภาพ และ
สามารถจ�ำหน่ายในพ้ืนท่ี หรือสามารถติดต่อ
ขายกับโรงงานแปรรูป ซึ่งจะต้องมีปริมาณผลผลิต
ไมน่ ้อยกว่า 16 ตนั

แหล่งขอ้ มลู เพ่ิมเติม

— กลุ่มส่งเสริมพืชน�้ำมันและพืชตระกูลถั่ว ส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร
กรมสง่ เสรมิ การเกษตร โทรศัพท/์ โทรสาร 0 2561 0453

— ส�ำนกั งานเกษตรจังหวดั และส�ำนักงานเกษตรอำ� เภอในพน้ื ท่ี

การปลูกพชื ใช้น�้ำนอ้ ย

42

กรมส่งเสริมการเกษตร

43 ประเภทไมด้ อก

เง่อื นไขการด�ำเนินงาน

— มแี หลง่ น�้ำเพยี งพอตลอดฤดกู าลปลูก
— ต้องมตี ลาดรองรบั
— ใช้แรงงานในครัวเรอื นเป็นหลัก

วธิ ีการผลิต/การเขตกรรม

การเตรยี มดนิ

ไถพรวนดิน ในสภาพดินเป็นกรด หวา่ นปูนขาวหรอื โดโลไมท์ อตั รา 300 - 500
กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 300 - 500 กิโลกรัมต่อไร่ ยกแปลงสูง
50 เซนตเิ มตร กวา้ ง 1 - 1.2 เมตร หว่านปยุ๋ สตู ร 15-15-15 อัตรา 25 - 30 กิโลกรมั ตอ่ ไร่
หรอื 0-46-0 อัตรา 35 - 50 กิโลกรมั ตอ่ ไร่ คลกุ เคลา้ ใหเ้ ข้ากัน แลว้ เกลยี่ ปรับหน้าแปลง
ให้เรยี บ รดน�้ำ ควรเตรยี มแปลงล่วงหน้าอยา่ งน้อย 1 วันกอ่ นปลกู

การเตรียมต้นพนั ธุ์

เลือกพันธุ์ตามวัตถุประสงค์การผลิต (ตัดดอกหรือเด็ดดอก) ท่ีเหมาะสมกับ
สภาพอากาศ เช่น พันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูร้อน หรือพันธุ์ท่ีเจริญเติบโตได้ดีใน
สภาพอากาศหนาว เพาะเมล็ดดาวเรอื งในตะกรา้ เพาะหรือถาดเพาะเมลด็ วัสดุเพาะชำ� เชน่
พีทมอส ขุยมะพร้าวผสมทราย อัตราส่วน 3:1 หรือขุยมะพร้าว:ทราย:ขี้เถ้าแกลบ:ปุ๋ยคอก
อัตราสว่ น 1:1:1:1 เมอ่ื อายไุ ด้ 12 - 20 วนั แล้วน�ำต้นกล้าไปลงในแปลงปลกู

การปลูก

— ระยะปลูก 30 - 40 เซนติเมตร x 30 - 40 เซนติเมตร แปลงปลูกกว้าง
1 - 1.2 เมตร ปลูกไดป้ ระมาณ 8,700 ต้นต่อไร่
— ก่อนย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก ควรให้น�้ำแปลงล่วงหน้า 1 วัน น�ำต้นกล้า
ท่เี พาะไว้แล้ว อายุ 12 - 20 วัน หรือ มใี บจริง 4 - 6 ใบ ยา้ ยปลกู ลงแปลง ควรยา้ ยต้นกลา้
ในช่วงเย็น ให้วัสดุเพาะช�ำติดต้นกล้ามาด้วย รดน�้ำทันทีหลังปลูก เพื่อเป็นการรักษา
ความช้ืนในดิน ใชฟ้ างคลมุ แปลงจะชว่ ยลดการระเหยของน้�ำได้

การปลูกพชื ใช้น้ำ� น้อย

44

— หลังปลูก 7 - 10 วนั หรอื มีใบจรงิ
จำ� นวน 3 - 4 คู่ ใหเ้ ดด็ ยอดออกเพอื่ ใหแ้ ตกกง่ิ ขา้ ง
— เมอ่ื ดาวเรอื งมีอายุ 20 - 25 วัน ใส่ป๋ยุ
สูตร 15-15-15

การให้น�้ำ

ช่วงยา้ ยปลกู ประมาณ 7 วนั ใหน้ ำ้� วันละ
2 คร้ัง เช้า - เย็น เม่ือต้นกล้าตั้งตัวได้ดี รดน้�ำ
วันละคร้ังในช่วงเช้า และในช่วงท่ีดอกบาน
ไมค่ วรรดน้ำ� ใหโ้ ดนดอก เพ่อื ป้องกันดอกเป็นโรค
ดาวเรืองเป็นพืชท่ีชอบการให้น�้ำในลักษณะ
ให้น้อย ๆ แตบ่ ่อยคร้งั หรือชอบชนื้ แต่ไมช่ อบแฉะ
และนำ้� ทว่ มขงั

การกำ� จัดศัตรูพืช

ถ้ามีแมลงกัดกนิ ใหย้ าปอ้ งกนั แมลงฉีดพ่นในเวลาเช้าหรอื เยน็

ขอ้ แนะนำ�

— ในระยะแรกของการปลูก ควรดูแลให้น้�ำต้นดาวเรืองอย่างสม่�ำเสมอ อย่าให้ขาดน้�ำ
เป็นเวลานาน ตน้ อาจเหย่ี วเฉาและตายได้

— การปลูกดาวเรอื งในชว่ งฤดูหนาว ระยะห่างในการปลกู ท่ีเหมาะสม 40 เซนตเิ มตร
ซงึ่ แตกตา่ งจากฤดกู าลอ่นื และการปลกู เปน็ แถวคูจ่ ะให้ผลดีกวา่ การปลกู แถวเดี่ยว
เพราะในช่วงฤดูหนาวความช้ืนในดินและอากาศมีน้อย การปลูกเป็นแถวคู่จะ
สามารถเก็บความช้ืนในดินได้ดีกว่าการปลูกแถวเดี่ยว แต่ในช่วงฤดูฝนแนะน�ำให้
ปลูกแถวเดยี่ วเนื่องจากสามารถลดการเกดิ โรคพชื ได้

— การปลูกดาวเรืองในช่วงฤดูหนาว ควรท�ำการพูนโคนอย่างน้อย 2 คร้ัง คือ
ชว่ งหลังเด็ดยอด และช่วงก่อนการออกดอก จะช่วยให้ตน้ ดาวเรืองแตกรากใหม่ได้
มากขนึ้ ท�ำให้การเจริญเติบโตของดาวเรอื งเพม่ิ ขึ้น

— หากจะปลกู ดาวเรอื งซ้�ำในท่เี ดมิ ใน 1 ปี ควรปลูก 2 ครั้ง และเว้นช่วงพกั ดินประมาณ
3 - 4 เดือน โดยอาจปลูกถ่ัว หรือปุ๋ยพืชสด แล้วไถกลบเพื่อบ�ำรุงดิน และตากดิน
ใหแ้ ห้ง เพอ่ื กำ� จดั เชือ้ โรคทสี่ ะสมอยู่ในดิน

กรมส่งเสรมิ การเกษตร

45

การตลาด ประเภทไมด้ อก

แหล่งรับซ้ือดาวเรือง ตัดดอก/เด็ดดอก
แหล่งใหญ่ในกรุงเทพฯ คือ ปากคลองตลาด
ส่ีมุมเมือง ตลาดไท นอกจากน้ียังมีตลาดไม้ดอก
ไม้ประดับตามเมืองต่าง ๆ ตลาดในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาที่นิยมใช้ดาวเรือง
ตัดดอกในการบูชาพระ
แต่ถ้าเป็นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือ
ถุงพลาสตกิ ตลาดแหล่งใหญ่ เช่น ตลาดจตุจักร
บางบวั ทอง กรมทหารราบท่ี 11 ตลาดนดั ชุมชน
ในทอ้ งถนิ่ เปน็ ตน้ นอกจากนี้ ยงั สามารถจำ� หนา่ ย
ใหก้ บั หนว่ ยงานตา่ ง ๆ ทใ่ี ชใ้ นการประดบั ตกแตง่
สถานทห่ี รืองานพธิ ตี ่างๆ

แหล่งข้อมลู เพ่มิ เติม

— กลมุ่ ส่งเสรมิ ไมด้ อกและไม้ประดับ
สำ� นกั ส่งเสริมและจัดการสินคา้ เกษตร
กรมสง่ เสริมการเกษตร
โทรศพั ท์ 0 2579 9549
โทรสาร 0 2579 1501
— ส�ำนักงานเกษตรจังหวัด และ
ส�ำนกั งานเกษตรอ�ำเภอในพนื้ ที่
— บริษัทจำ� หน่ายเมล็ดพนั ธุ์ดาวเรอื ง

การปลูกพชื ใชน้ �้ำนอ้ ย

46

เอกสารคำ� แนะน�ำที่ 6/2559
การปลกู พืชใช้น�้ำนอ้ ย

ท่ีปรึกษา

นายโอฬาร พทิ ักษ์ อธบิ ดกี รมสง่ เสริมการเกษตร
นายสงกรานต์ ภกั ดีคง รองอธบิ ดกี รมสง่ เสริมการเกษตร ฝา่ ยบรหิ าร
นายคนิต ลขิ ติ วทิ ยาวุฒิ รองอธิบดกี รมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายวชิ าการ
นายสุดสาคร ภัทรกุลนษิ ฐ์ รองอธบิ ดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร ฝา่ ยสง่ เสรมิ และฝกึ อบรม
นางอญั ชลี สวุ จติ ตานนท์ ผู้อำ� นวยการสำ� นักพฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
นายส�ำราญ สาราบรรณ ์ ผูอ้ ำ� นวยการสำ� นักสง่ เสริมและจดั การสนิ คา้ เกษตร

เรยี บเรียง

กล่มุ ส่งเสรมิ พืชผักและเหด็
กลุ่มส่งเสรมิ พชื ไรอ่ ตุ สาหกรรม
กล่มุ สง่ เสริมพชื นำ้� มันและพชื ตระกูลถว่ั
กลุ่มสง่ เสรมิ ไม้ดอกและไม้ประดับ
สำ� นกั ส่งเสริมและจดั การสนิ ค้าเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร

จดั ท�ำ

นางอมรทิพย์ ภิรมยบ์ รู ณ์ ผู้อ�ำนวยการกลุม่ พฒั นาสอ่ื สง่ เสริมการเกษตร
นางสาวอ�ำไพพงษ์ เกาะเทียน นกั วิชาการเผยแพร่ชำ� นาญการ
กล่มุ พฒั นาส่อื ส่งเสริมการเกษตร
ส�ำนักพัฒนาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสรมิ การเกษตร

กรมส่งเสรมิ การเกษตร


Click to View FlipBook Version