The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

GET 100 ม.ปลาย ชีววิทยา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by BS_Library, 2019-12-15 10:20:54

GET 100 ม.ปลาย ชีววิทยา

GET 100 ม.ปลาย ชีววิทยา

Keywords: ชีววิทยา

ชอ่ งทรปู ลูกปญั ญา
โทรทศั นค์ วามรดู้ สู นกุ ทางทรวู ชิ น่ั ส์ 6 ทกุ รายการสาระความรู้
สาระบันเทงิ และการปลูกฝงั คุณธรรมจริยธรรมตลอด 24 ชัว่ โมง
พบกบั เรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ
• รายการสอนศาสตร์ รายการสอนเสริมแนวใหม่ครบ 8 วชิ า
ม.3 ม.6 ตวิ สดทกุ วนั โดยตวิ เตอร์ชอ่ื ดัง
• รายการ I AM แนะน�ำอาชีพน่าสนใจโดยรนุ่ พีใ่ นวงการ
• รายการสารสงั เคราะห์ น�ำขา่ วสารมาสังเคราะห์อัพเดทกนั
ทรูปลกู ปัญญา แบบไมต่ กเทรนด์

หน่วยงานเพ่ือการศึกษา ภายใต้กลุ่มบริษัท ทรู
คอร์ปอเรชน่ั จำ� กัด (มหาชน) ทีบ่ รู ณาการเทคโนโลยีและความ
เชี่ยวชาญด้านคอนเทนต์ พฒั นาเปน็ สือ่ ไลฟส์ ไตลเ์ พอื่ ส่งเสริม นิตยสารปลูก plook
การศึกษาและคณุ ธรรม สามารถเชอ่ื มโยงทกุ มิติการเรียนรไู้ ด้
อย่างครบวงจร นิตยสารส่งเสริมความรู้คู่คุณธรรมส�ำหรับเยาวชนฉบับแรก
ในประเทศไทย วางแผงทกุ สัปดาห์แรกของเดอื น หยบิ ฟรีไดท้ ี่
True Coffee TrueMove Shop สถานศึกษา แหล่งการเรียนรู้ หอ้ ง
สมุด และโรงพยาบาล ทว่ั ประเทศ หรืออ่านออนไลน์ใน
www.trueplookpanya.com www.trueplookpanya.com

ทรปู ลกู ปัญญาดอทคอม คลงั ความรู้คคู่ ณุ ธรรมที่ใหญ่
ท่ีสุดในประเทศไทย อัดแน่นด้วยสาระความรู้ในรูปแบบ
มลั ตมิ ีเดีย สนุกกับการเรยี นรู้ดว้ ยตวั เอง ทงั้ ยังเปิดโอกาสใหท้ ุก แอพพลิเคช่นั Trueplookpanya.com
คนสรา้ งเนอ้ื หา แบง่ ปันความรรู้ ่วมกัน โดยไมม่ คี ่าใช้จ่าย
ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ด้วยฟรี
แอพพลเิ คชั่น “Trueplookpanya.com” ให้คุณพร้อมส�ำหรบั
การเรยี นรใู้ นทกุ ทีท่ กุ เวลา รองรบั การใชง้ านบน iOS (iPhone,
พบกับความเปน็ ทีส่ ดุ ทงั้ 4 ดา้ นแห่งการเรยี นรู้ iPod, iPad) และ Android

• คลงั ความรู้ รวบรวมเน้อื หาการเรยี นทุกระดบั ชัน้ ครบ 8
กลุ่มสาระการเรยี น
• คลงั ขอ้ สอบ ขอ้ สอบออนไลนพ์ รอ้ มเฉลยที่ใหญท่ ี่สุดใน : www.trueplookpanya.com
ประเทศไทย พรอ้ มการประเมนิ ผลสอบทางสถิติ : TruePlookpanya

• แนะแนว ข้อมลู การศกึ ษาตอ่ พร้อมเจาะลกึ ประสบการณ์
การเรียนและการท�ำงาน
• ศนู ย์ขา่ วสอบตรง/Admissions ขา่ วการสอบทุกสนาม
ทุกสถาบนั พรอ้ มระบบแจง้ เตือนเรียลไทม์

หนงั สือชดุ “ติวเข้ม O-NET Get 100”

สรา้ งสรรค์โดย
ทรูปลกู ปัญญา มเี ดยี
โครงการเพ่ือสังคมของบรษิ ัท ทรู คอร์ปอเรชัน่ จ�ำกัด (มหาชน)
เลขที่ 46/8 อาคารรุ่งโรจน์ธนกลุ ตึก B ชน้ั 9 ถนนรัชดาภิเษก
แขวงหว้ ยขวาง เขตห้วยขวาง กรงุ เทพฯ 10310
โทร : 02-647-4511, 02-647- 4555
โทรสาร : 02-647-4501
อเี มล : [email protected]
: www.trueplookpanya.com
: TruePlookpanya



หนงั สือชดุ “ตวิ เข้ม O-NET Get 100” ใช้สัญลักษณ์อนุญาตของครเี อทฟี คอมมอนส์
แบบ แสดงทม่ี า-ไมใ่ ชเ่ พ่ือการค้า-อนญุ าตแบบเดียวกนั 3.0 ประเทศไทย

คำนำ

การสอบ O-NET หรือชื่ออยา่ งเป็นทางการว่า การจดั การทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาติขน้ั พื้นฐาน
(Ordinary National Educational Test) โดย สทศ. ถือเป็นอีกสนามสอบทีส่ ำ� คัญสำ� หรับนอ้ งๆ ในระดบั ป.6, ม.3,
ม.6 เพ่อื เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนอ้ งๆ ในระดับชาติเลยทีเดียว และยงั เป็นตวั ชวี้ ัดคุณภาพการเรยี น
การสอนของแต่ละโรงเรยี นอกี ด้วย คะแนน O-NET กย็ งั เปน็ สว่ นส�ำคญั ในการคิดคะแนนในระบบ Admissions
เพอ่ื สมัครเข้าคณะทใี่ จปรารถนา ได้คะแนนดีกม็ ีชัยไปกวา่ ครง่ึ
และเพ่อื เปน็ อกี ตวั ช่วยหนง่ึ ในการเตรยี มความพรอ้ มให้นอ้ งๆ กอ่ นการลงสนามสอบ O-NET ทางทรู
ปลกู ปญั ญาจงึ ได้จัดท�ำหนังสอื ชดุ “ติวเขม้ O-NET Get 100” สุดยอดคูม่ ือเตรยี มตัวสอบ O-NET สำ� หรับนอ้ งๆ
ในระดบั ม.3 และ ม.6 ทีเ่ จาะลกึ เนื้อหาท่ีมักออกสอบบอ่ ยๆ โดยเหลา่ รุ่นพี่เซียนสนามในวงการตวิ รวบรวมแนว
ข้อสอบตัง้ แต่อดตี จนถึงปัจจบุ นั พรอ้ มเฉลยอย่างละเอียด และค�ำอธิบายทเ่ี ข้าใจงา่ ย จ�ำไดแ้ ม่นย�ำ น�ำนอ้ งๆ Get
100 ทำ� คะแนนสู่เป้าหมายในอนาคต
หนังสือชุด “ติวเข้ม O-NET Get 100” โดยทรูปลูกปัญญา ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย
สงั คมศึกษา ภาษาองั กฤษ ที่รวบรวมเน้อื หาระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ และมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย และวชิ าฟสิ ิกส์
เคมี ชวี วิทยา ของระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทงั้ หมด 11 เลม่ โดยสามารถศึกษาเน้อื หาหรอื ท�ำขอ้ สอบ
ออนไลน์เพม่ิ เตมิ ได้จาก www.trueplookpanya.com ที่มี link ใหใ้ นท้ายบท
สามารถดาวน์โหลดหนงั สือไดฟ้ รี ผา่ นเว็บไซตท์ รูปลูกปญั ญา ท่ี www.trueplookpanya.com/onet
ทมี งานทรูปลกู ปัญญา

สารบัญ

เรือ่ ง หนา้

บทที่ 1 : ชีววิทยา คืออะไร ? 9
12
บทท่ี 2 : กล้องจลุ ทรรศน์ 16
บทที่ 3 : สารชีวโมเลกลุ 24
บทท่ี 4 : องค์ประกอบของสงิ่ มชี วี ิต 29
บทที่ 5 : พนั ธศุ าสตร์ 48
บทที่ 6 : ระบบรา่ งกายมนษุ ย์ 60
บทท่ี 7 : อนุกรมวิธาน 63
บทท่ี 8 : พืช (Plant) 76
บทท่ี 9 : ววิ ัฒนาการ

คุยกอนอาน

กอ่ นท่ีเราจะเขา้ ถึงบทเรียนชีววทิ ยากนั พอี่ ยากจะใหแ้ นวคดิ อะไรบางอย่างกบั นอ้ งๆ ทก่ี ำ� ลงั จะเตรียมสอบกนั วา่ เรา
ควรจะเตรยี มตัวยังไง ในวชิ าวิทยาศาสตรท์ ี่สอบท้งั สายศิลปแ์ ละสายวิทย์ ส�ำหรบั สายวิทย์ พ่ไี ม่ค่อยเป็นหว่ งสกั เท่าไร
เพราะพี่เองกเ็ รียนสายวทิ ย์มา ยังไง O-NET ถือวา่ จิบ๊ ๆ มากส�ำหรบั เดก็ สายวิทย ์ แตส่ �ำหรบั เด็กสายศลิ ป์ อาจจะเปน็
ปัญหาซะหน่อย แตไ่ มต่ ้องกลัวนะ เพราะเราใช้ขอ้ สอบฉบับเดียวกนั ท้ังประเทศ ถ้าท�ำไมไ่ ดก้ ย็ งั มคี นทำ� ไม่ได้อกี เยอะเช่น
กันแน่ๆ เอาเป็นว่า อบอ่นุ แนน่ อนเพราะมีเพือ่ นเยอะทีไ่ ม่ได้ แตม่ ันอาจจะเปน็ เพยี งค�ำปลอบใจทบี่ อกตัวเองว่า “ไม่เปน็ ไร
หรอก คนอน่ื เขาก็ท�ำกนั ไม่ได”้ แตพ่ ีอ่ ยากจะบอกว่าถ้านอ้ งอยากจะเขา้ เรียนในมหาวทิ ยาลยั ชอื่ ดงั ท่นี อ้ งอยากเรียน สาขา
วชิ าท่อี ยากเรยี น ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยชอื่ ดงั แถวสามย่าน ท่ีเวลาเลิกเรียนแลว้ กไ็ ป shopping ได้ ดูหนงั ได้ ข้ึน
รถไฟฟ้าสะดวกสบายทัง้ บนดินและใตด้ ิน พขี่ อแนะน�ำวา่ “นอ้ งต้อง Fight เพ่ือความฝัน” เพราะสมัยนค้ี นสอบมนั เยอะ ใคร
ใครก็อยากที่จะเขา้ มหาวิทยาลยั ชอ่ื ดงั กนั ทัง้ นั้น เพราะหมายถงึ นอ้ งจะมีเพอ่ื นท่ดี ี สงั คมทด่ี ี การช่วยเหลือเกื้อหนุนกนั จาก
รนุ่ สู่รุ่น คา่ เทอมท่ีถูกกวา่ เมื่อเทยี บกบั เอกชน รว่ มทง้ั ความสะดวกสบายในการเดนิ ทาง และความภาคภูมใิ จที่เกดิ ข้นึ ในใจ
ของเราเองจากสถาบนั

เทคนิคเรยี นชีววทิ ยาให้มีความสุข

แนวขอ้ สอบ ชีววทิ ยา ใน O-NET มกั จะออกตามแบบเรยี นแนน่ อนถ้าโรงเรยี นน้องเรยี นตามแบบเรียนของกระทรวงฯ
กค็ งไม่มีปัญหาอะไรทจ่ี ะต้องไปกงั วล เพราะนา่ จะผา่ นหผู า่ นตามาแนๆ่ แต่จะจ�ำไดห้ รือเปล่า ก็ตอ้ งข้ึนอยกู่ ับทักษะสว่ นตวั
ของแตล่ ะคนแล้วแหละว่า จำ� เกง่ แค่ไหน
สำ� หรบั เทคนคิ การจำ� พี่ขอบอกว่างา่ ยมาก คือ “ใสห่ วั ใจเข้าไป เตมิ ความรกั ให้มัน แล้วอา่ นมันซ้ำ� ๆ” เหมือนดงั เชน่
น้องบางคนสามารถร้องเพลงภาษาเกาหลี หรือ ญ่ีปนุ่ ได้โดยท่ีไมร่ ูด้ ว้ ยซำ�้ ว่ามนั หมายความว่าอะไรแตเ่ พราะว่าเราฟังจน
ชนิ เปดิ มันบนรถทกุ เชา้ ไดย้ ินเพอ่ื นรอ้ งตอนเขา้ หอ้ งนำ�้ หรือเอามาเตน้ Cover dance ซ่ึงมนั กแ็ ค่น้ีเอง การท่นี ้องๆ ใส่ใจก็
เทา่ กบั ว่าให้ความสนใจ เคยไหมเวลาสนใจใคร เรามักจะมองหาคนคนนัน้ บ่อยๆ ว่าเขาท�ำอะไรอยู่ แล้วเราก็เดนิ ตามหา หรือ
ถามเพือ่ น ไปแอบมองดเู ขาเล่นกีฬา ดูเขาซอ้ มหลีด เช่นเดียวกับบทเรียนเวลาเราใหค้ วามสนใจเรากจ็ ะถามตัวเองว่า เฮ้ย!
ทำ� ไมถึงเปน็ แบบนี้ ทำ� ไมอนั น้นั รวมกันแล้วไดอ้ นั นี้ แล้วถา้ น้องเปน็ คนทเ่ี กลยี ดชวี วทิ ยา เกลยี ดการทำ� อะไรซ�้ำซาก ทอ่ ง
ทอ่ ง ทอ่ ง! พ่ีกข็ อแนะน�ำให้เตมิ ความรักเขา้ ไปอกี สกั หนอ่ ย แล้วบวกกับเทคนคิ การจำ� สักนิด เคยไหมเอย่ เวลาท่มี ผี ้ชู ายมา
ชอบเรา แรกแรกก็ไม่ได้ชอบหรอกนะ เพราะหนา้ ตาไม่หล่อ แตน่ านๆ เข้า เขาซ้ือน�ำ้ มาให้ทุกวัน เอาขนมมาฝาก จากท่ี
ไมช่ อบก็เริ่มสนใจ วนั ไหนเขาไมม่ าหา กเ็ ริ่มมองหา บางคนก็แอบงอนนดิ ๆ น้นั แสดงว่าเรม่ิ ชอบแลว้ แหละ คนท่ีเกลยี ด
ชีววทิ ยาหลายคนเกิดจากการท่รี สู้ ึกเบ่อื อาจจะเป็นเพราะคุณครูทีส่ อนไม่ใชค่ รูแนวทเ่ี ราชอบกลับเป็นป้าแก่ๆ พูดช้าๆ นา่
เบอื่ ...
แตน่ อ้ งเชอ่ื เถอะนะ ถ้าไดเ้ จอครูดีๆ สกั คนทสี่ อนชวี วิทยาเกง่ ๆ น้องจะตอ้ งตกหลุมรักชวี วิทยาอยา่ งแน่นอน แล้วเม่อื

คุยกอนอาน

หลงรกั ชวี วทิ ยาแลว้ ค ะแนนการสอบออกมาในเกณฑท์ ด่ี ีนอ้ งกจ็ ะเรมิ่ มกี ำ� ลงั ใจวา่ จรงิ ๆ แ ลว้ ไมไ่ ดย้ ากอยา่ งทก่ี ลวั นน่ี า ก ท็ ำ� ไดน้ ะ
อะไรแบบน้ี และแลว้ การอา่ นชวี วทิ ยา จากทแ่ี รกๆ เปน็ ยาขมกเ็ ริ่มชมชอบจนในท่ีสดุ ก็เคยชิน วันไหนไมไ่ ด้อา่ นเหมือนจะขาดใจ
และสุดท้ายต้องอ่านบอ่ ยๆ (เพราะถงึ แมพ้ ่ีจะบอกวา่ มีเทคนิคการจ�ำมากมาย แตเ่ ทคนคิ เหลา่ นี้ ถา้ นอ้ งๆ จำ� ไม่ได้ ก็เทา่ กับ
เทคนคิ ท่ีไร้คา่ ) จะเร่ิมจ�ำไดเ้ องอตั โนมตั ิ (คำ� ศัพท์ภาษาองั กฤษ ถา้ อา่ นไม่ออกกใ็ หไ้ ปถามครวู ่าอ่านยังไง แล้วเวลาอ่านรอบ
ท่สี อง ที่สามก็พยายามอ่านออกเสยี งดังๆ เผอ่ื วา่ เวลาท่เี ราเจอในข้อสอบจะได้คุน้ ตาบา้ ง) มนั เหมือนไมต่ อ้ งทอ่ งเลยจริงๆ
ขอแคใ่ หเ้ วลากพ็ อ มันจะซมึ เข้าไปเองในสมองอันยงิ่ ใหญข่ องเรา
อีกประเดน็ หนึ่งทพี่ เี่ จอคอื เนอ้ื หาเยอะมาก ท่องยงั ไงก็จำ� ไม่ได้ ถา้ เจอแบบนี้แล้วเป็นคนท่ขี ยนั เพียรพยายามมาแลว้ ข้ัน
หนง่ึ ใหน้ ้องลองเอาข้อสอบเก่ามาทำ� ดแู ลว้ เชค็ วา่ ได้คะแนนเทา่ ไหร่ เพราะพี่เชอื่ ว่าถ้าหนูเป็นคนขยนั อยแู่ ลว้ การทำ� ขอ้ สอบ
จรงิ ไมน่ ่าจะเปน็ ปญั หาอะไร ส่ิงที่พบเจอคอื เมอ่ื นบั คะแนนเสรจ็ จะพบว่าคะแนนเยอะแต่หนูเองยงั จ�ำไมไ่ ด้อยู่ นั่นกเ็ พราะว่า
ตรงสว่ นทหี่ นยู งั จำ� ไมไ่ ดน้ นั้ มนั ไมอ่ อก ม นั ไมส่ ำ� คญั ไงจะ้ เดก็ ๆ ด งั นน้ั เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประสทิ ธภิ าพมากทส่ี ดุ พ แี่ นะนำ� ใหอ้ า่ นทวนบทเรยี น
สกั สามรอบแล้วกเ็ ร่มิ ทำ� แบบฝึกหดั หรือขอ้ สอบ (ถา้ บางคนทมี่ สี มาธิดี ก็อาจจะอ่านรอบแรกแลว้ เอาข้อสอบมาท�ำเลย แต่ถา้
ใครยังไมเ่ ทพจริง พีแ่ นะนำ� ใหอ้ ่านบทเรียนหลายรอบกอ่ น เพราะอะไรหรอก็เพราะว่าถา้ ไมเ่ ทพจริงแลว้ อ่านแค่รอบเดยี วแล้ว
ไปท�ำข้อสอบหนูจะตกตะลงึ กับขอ้ สอบ แล้วก็ตาคา้ งสุดท้ายกก็ ลัวทอ้ ใจ แล้วกฝ็ ังใจวา่ ขอ้ สอบท�ำไมยากจัง ท�ำไม่ไดก้ ลวั ไปหมด
จนกลายเปน็ เกลียด แลว้ ไมแ่ ตะชีววิทยา อีกเลย) เพ่ือ หนึ่ง กันลืมบทที่อ่านมาก่อนหนา้ น้ี และ สอง จะได้รู้วา่ ตอนอ่านคร้ังตอ่ ไป
ควรเน้นจดุ ไหนเป็นพิเศษ แบบท่ตี ้องทอ่ งให้ไดม้ ีตรงจดุ ไหนบ้าง สูส้ ู้นะครบั พ่ีหวังวา่ น้องๆ จะเขา้ มามหาวิทยาลัยดังทีน่ ้องๆ
ต้องการได้ ถา้ เมอื่ ไหรท่ ี่ท้อ พ่กี อ็ ยากใหไ้ ปเปิด youtube ดู MV เพลงประจำ� มหาวิทยาลยั นน้ั ๆ ที่นอ้ งอยากจะเข้า ฟังมนั ทกุ วนั
น้องกจ็ ะสู้เองครับ
แลว้ ถา้ เปน็ คนทสี่ นใจชวี วทิ ยาไมไ่ ดเ้ กลยี ดหรอกแต่ทำ� ไมคะแนนไมส่ งู สกั ทีแนะนำ� ใหเ้ อาโจทยห์ ลายๆ แ บบมาทำ� กอ่ นโดยท่ี
เลือกโจทย์ง่ายๆ เชน่ ทา้ ยบทมาท�ำก่อน แล้วคอ่ ยเอาข้อสอบเก่าๆ มาทำ� แลว้ ค่อยเอา PAT, GAT และ เจด็ วชิ าสามัญมาท�ำ
ถา้ ยังเหลือเวลาเยอะอยู่ กว่าจะสอบเพราะเตรยี มตวั มาเตม็ จดั เตม็ โดยการลองออกข้อสอบชวี วิทยามาใหเ้ พื่อนทำ� ดู แล้วเช็ค
ค�ำตอบ อธิบายใหเ้ พอ่ื นเขา้ ใจได้ ถา้ ถงึ ข้ันท่ีออกขอ้ สอบแลว้ หลอกเพือ่ นได้ นอ้ งกเ็ ทพมากแล้วละ่ อย่าไดไ้ ปกลัวข้อสอบเลย
ชวี วทิ ยาเปน็ วชิ าทต่ี อ้ งจำ� เยอะดงั นนั้ อยากใหม้ สี มดุ จดเลก็ ๆ จ ดเฉพาะสว่ นทย่ี งั จำ� ไมไ่ ดแ้ ยกออกมาแลว้ เวลาพกั เทย่ี งหรอื
ไม่มอี ะไรทำ� บนรถเมล์ กเ็ อามนั ออกมาเปดิ ดูเลน่ ทอ่ งไปพลางๆ ระหว่างทางกลับบ้าน หรอื อาจจะทำ� เปน็ voice record แล้ว
เปดิ ฟังเสยี งที่ตัวเองบนั ทกึ ไว้
ถา้ เปรยี บเทยี บ O-NET กบั PAT แลว้ บอกตรงๆ เลยวา่ งา่ ยกวา่ เยอะ ภาษาเดก็ แนวสายวิทย์ อาจจะบอกวา่ “แตะแคผ่ ิวๆ”
แต่ระวงั นะ เพือ่ นพ่ีท่วี า่ เซียนเทพตัวจรงิ ก็เคยพลาดเพราะประมาทไปรแู้ ตเ่ ร่อื งยากๆ เร่อื งงา่ ยๆ ลืมเกบ็ รายละเอียด ก็เลย
เหน็ ได้จากคะแนนท่ีออกมา แลว้ O-NET ดันสอบครงั้ เดียวในชวี ิตด้วย ยงั ไงก็รกั ษาสขุ ภาพใหด้ ีๆ อย่าได้ปว่ ยในวนั สอบ เพราะ

คุยกอนอาน

ถ้าพลาดอาจจะพลาดเลย
ขอ้ ดีของขอ้ สอบชวี วทิ ยาท่ตี า่ งจากวชิ าอื่นนัน้ กค็ ือ เป็นตวั เลอื กทัง้ หมด ซ่งึ ถา้ ค้นุ ๆ ก็พอจะตอบเดาได้แต่ข้อเสียคือเยอะ
และโจทยย์ าว อาจจะทำ� ไมท่ ันส�ำหรบั คนทอ่ี า่ นช้าและลงั เลใจไมย่ อมตอบสักที
สง่ิ ท่ีตอ้ งทำ� กอ่ นทีจ่ ะเรียนทุกคร้ัง ส�ำหรบั น้องม.4 ทก่ี ำ� ลังขนึ้ มาเรยี น ม.ปลายหลายคนปรบั ตวั ไมท่ นั พี่กอ็ ยากจะแนะน�ำ
วา่ ควรอา่ นหนังสือแบบเรียนของกระทรวงฯ ก่อน เพราะเราจะไดร้ เู้ นื้อหา โครงสรา้ งกอ่ นว่า เรากำ� ลงั จะเรียนอะไร พอเมือ่
เราเขา้ ห้องเรยี น วชิ าชีววทิ ยาเป็นวิชาทีต่ ้องจด ตอ้ งวาด ตอ้ งลงสเี ยอะมาก พ่มี ปี ากกาสเี ยอะมากตอนนน้ั และพอกลับบา้ น
จะลงสีใหมใ่ หส้ วยสวยนา่ อา่ น แตม่ ีอย่วู ันหนงึ่ ฝนตก ส่งิ ที่ไม่คาดฝันน้นั ก็คอื สมดุ จดชีววิทยาพี่ท่แี สนสดใสงดงามกลายเปน็
กระดาษสีไปซะแล้ว พแ่ี ทบรอ้ งไห้ ดังน้ันถ้าเป็นไปได้ใช้สีไม้ไมล่ ะลายน้�ำหรือปากกาสลี กู ลน่ื เน้นจะดกี วา่ ต่อด้วยพีก่ ข็ อแนะนำ�
ให้ต้งั ใจฟงั ในหอ้ งไปกอ่ น แลว้ จดว่าตรงท่ีเราไม่เข้าใจคือตรงไหน ค่อยไปถามครู เพราะบางทกี ารทำ� คดั ลอก เลคเชอร์ ทกุ วนั
ที่เรยี นมันเหน่ือย แรกๆ จะยังขยนั อยู่ แตต่ อนชว่ งที่ใกลส้ อบ มนั จะเยอะมากพ่ีไมอ่ ยากให้เสียเวลาไปกับการวาดรปู เพราะ
เรื่องรปู นั้น หนงั สือกระทรวงฯ เล่มใหม่ๆ ก็มรี ปู เยอะอยพู่ อสมควร และเป็นสีสนั ด้วยพ่เี ลยคดิ ว่า รูปหลักๆ มีแน่นอน ให้วาด
รูปแบบไดอะแกรม และเขียนลกู ศรชี้ใหถ้ ูกตอ้ ง แล้วไปหารปู ท่ีนอ้ งเองอยากจะรูเ้ พมิ่ ไดใ้ นเว็บ หรือ ถามอากู๋ google ช่วยคุณ
ได้ เทคโนโลยีมอื ถอื มสี ามจีแล้วต้องใชใ้ ห้ค้มุ ค่า
ชีววิทยาเป็นวชิ าท่ีทอ่ งเยอะมากๆ ก็จริง ถามว่าจ�ำเปน็ ไหมท่จี ะตอ้ งไปเรยี นพิเศษ พค่ี ดิ ว่าถา้ มเี งินพอกไ็ ปเรียนเถอะ แต่
ถา้ คิดวา่ อา่ นเองได้ พี่กข็ อแนะนำ� ใหอ้ ่านเยอะๆ ทสี่ ุดเทา่ ท่ีจะหาอ่านได้ อาจจะอา่ นเกินเน้ือหา ม.ปลายไปเลยก็ดี เพราะจรงิ ๆ
แลว้ เนือ้ หาชีววทิ ยา มหาวิทยาลยั กไ็ มไ่ ดต้ า่ งจากม.ปลายมากสกั เทา่ ไหร่หรอก เพยี งแต่ลงลกึ มากขน้ึ ซึง่ ถา้ สอบแค่ O-NET
เฉยๆ พ่วี า่ จ�ำไดก้ ็ตอบได้ ผวิ ผิวจรงิ ๆนะ อย่าได้แคร์ว่าไมไ่ ดไ้ ปซ้อื หนังสือชีววทิ ยามาเพ่ิม เพราะการซอ้ื หนังสือชวี วิทยามา
เยอะๆ ไมไ่ ด้แปลว่าจะเก่งขน้ึ เพราะทุกเลม่ ก็เน้อื หาเหมอื นกันหมด แต่ถ้าอยากซอื้ จรงิ ๆ ก็ขอแนะนำ� ให้ซอ้ื เล่มที่เราอา่ นแล้ว
ชอบ พกพางา่ ย หยบิ มาเปิดไดบ้ อ่ ยๆ และทสี่ ำ� คัญ เนอื้ หาตอ้ งครบ และถกู ตอ้ งแมน่ ย�ำ มฉิ ะนัน้ ถ้าเราเลือกเล่มทีเ่ ขยี นผิดๆ
ถกู ๆ มาอา่ น เราจำ� ผดิ ไป คะแนนกเ็ นา่ เลย (เล่มท่ีดๆี เขยี นเลศิ มกั จะขายดี พิมพซ์ ำ�้ หลายรอบ)
ดังนน้ั หนงั สอื ท่ีเปน็ เฉพาะเนอื้ หาของชีววทิ ยามแี ค่เล่มเดยี วกถ็ ือวา่ พอแลว้ ส่วนแบบฝึกหัดขอ้ สอบใหห้ ามาฝึกทำ� เยอะๆ
ลองเรม่ิ จากงา่ ยๆ ก่อน เพราะเมื่อเราทำ� ง่ายๆ ได้กเ็ กดิ กำ� ลงั ใจ นไ่ี มใ่ ช่หลอกตัวเองนะ แต่เปน็ การเดนิ ขนึ้ ไปทีละข้นั แล้วเวลา
เตรียมสอบก็ควรอา่ นหลายๆ วชิ าไปพรอ้ มกัน เพราะพ่เี คยอา่ นชวี วิทยาจบแลว้ คอ่ ยไปดูวิชาอ่ืน ปรากฏว่าอ่านสงั คมจบปุ๊บกลับ
มาท�ำโจทยช์ ีววทิ ยา ก็ลืมไปบา้ ง ดงั น้ันตอ้ งเอาเวลาไปอ่านอย่างอ่นื ด้วยก็ดี แลว้ ตอนอ่านวิชาอืน่ ดว้ ยกอ็ ย่าลมื ท่จี ะเอาโจทย์
ชวี วิทยามาทำ� บา้ งสักวนั ละ 10 -20 ขอ้ กนั ลืมยอ้ นกลบั มาท่ีถามวา่ ท�ำไมพี่จึงแนะน�ำให้ไปเรียนพเิ ศษ ถา้ มเี งนิ เพยี งพอและมี
เวลาพอ เพราะวา่ ชีววทิ ยาเป็นวชิ าท่ตี ้องอาศัยการเช่ือมโยงของเน้ือหาท่ีจะใช้เรียนในบทเรยี น และการมรี ปู ภาพประกอบจะ
ชว่ ยท�ำใหจ้ �ำไดแ้ ม่นมากขนึ้ แลว้ ถา้ ไดเ้ จอของจรงิ ยิง่ ติดตาตรึงใจเขา้ ไปใหญ ่ ดังเช่นตอนผ่ากบตอนเรยี นแลว้ ถา้ ถามวา่ แค่ไหน

คุยกอนอาน

หรอื จงึ จะเพยี งพอ ก็จงตงั้ เป้าหมายไว้สงู ๆ นนั้ ก็คือเม่ือทำ� ขอ้ สอบส่วนของชวี วทิ ยาไดท้ กุ ข้อแลว้ เม่ือถงึ ตอนนนั้ นอ้ งก็พร้อม
แลว้ แหละนะ
พดู กนั ตรงๆ แลว้ ชวี วิทยามนั เป็นวชิ าทอ่ งจำ� เดนิ ไปโรงเรียนก็ทอ่ ง เดนิ เขา้ ห้องหลังเคารพธงชาติก็ท่อง เข้าห้องน้�ำก็
ทอ่ ง เอาเปน็ วา่ หยบิ ขึ้นมาดูบ่อยๆ จะชว่ ยเยอะมากเลยถ้าหนังสือท่ีมอี ยู่มนั เล่มใหญก่ ก็ รดี มันเป็นชที แล้วม้วนในกระเป๋าเถอะ
พ่ีรบั ประกนั อยา่ งตวั พีเ่ องตอนสอบอ่านไปเรื่อยเรอ่ื ยเกือบ 10 รอบ ถามว่าอ่านรอบแรกก็เหมอื นนอ้ งแหละ จ�ำอะไรไม่ค่อยได้
เพราะเป็นเร่ืองปกต ิ เราไม่ใชห่ ุน่ ยนตฝ์ งั ชปิ ไง พออา่ นไปรอบทีส่ ามเราก็จะเข้าใจมากข้ึน ตอนนจี้ ะเริม่ เก็ทไอเดีย แล้วจบั เชอ่ื ม
โยงในสมองเราเองได้ ให้ลองไปท�ำแบบทดสอบหรือข้อสอบดู สว่ นรอบหลงั หลงั ก็คอื รอบทอ่ งเพอ่ื ใหแ้ ม่นยำ� แล้วล่ะ เพราะ
ตอนสอบเนยี่ เราสอบแบบมเี วลาจำ� กดั ดังน้ัน เราตอ้ งแมน่ จะคิดชา้ ไม่ได้โดยเฉพาะชีววทิ ยา โจทยจ์ ะยาวมากแลว้ ส่งิ ที่ยาว
กว่าคอื ตัวเลือก แถมบางทีอา่ นไปอ่านมารสู้ ึกว่า เอะ๊ อันน้กี ถ็ กู อันนัน้ กถ็ ูก ตกลงตอบอันไหนดหี ละเน่ีย พ่เี ลยอยากให้นอ้ งๆ
แม่น อ่านไปเยอะๆ การท�ำอะไรอะไรซำ�้ ๆ ไปเรื่อยๆ สิ่งทตี่ ามมาคอื ชนิ พอชนิ ตาป๊บุ ข้อสอบมาเรากก็ าไดป้ บั๊ พ่ีไมไ่ ด้โม้นะ แต่
จรงิ ๆ มนั ก็มเี นือ้ หาอย่แู ค่นั้นแหละ

ทีมงานทรูปลูกปัญญา

บทท่ี 1

ชวี วิทยา คอื อะไร

ชีววิทยา คืออะไร

ชีววิทยา (Biology) มที มี่ าจาก รากศัพท์ภาษากรกี 2 คำ� คือ bios ซงึ่ แปลวา่ ชวี ติ และ logos ที่แปลวา่ ความรู้ ดงั นน้ั ชวี วทิ ยา
จงึ เป็นวิชาที่ศึกษาเกีย่ วกับเรือ่ งของสิง่ มีชวี ติ มหี ลายสาขา โดยทัว่ ไปแบ่งออกเป็น 3 กล่มุ ใหญ่ๆ คอื พฤกษศาสตร์ (botany) ซึ่ง
ศกึ ษาเกีย่ วกบั เรอื่ งพืช สัตววิทยา (zoology) ศึกษาเก่ียวกับเรอ่ื งสตั ว์ และการศึกษาเก่ียวกับส่ิงมชี วี ิตขนาดเล็กๆ ทม่ี องไมเ่ ห็นด้วยตา
เปลา่ คือจุลินทรีย์ ซึง่ เรียกวา่ จลุ ชวี วิทยา (microbiology) ในแตล่ ะกลุม่ ยงั แยกออกเป็นวิชายอ่ ยๆ อีกเช่น อนกุ รมวธิ าน (taxonomy)
สรีรวิทยา (physiology) นเิ วศวทิ ยา (ecology) กฏี วิทยา (entomology) พนั ธศุ าสตร์ (genetics) เป็นต้น
คำ� ถามคอื แล้วเราจะรู้ได้ยงั ไงวา่ สิ่งทีเ่ ราสงสัยนั้นใช่ส่ิงมีชวี ิตหรือไม่ ?
การจะแยกส่งิ มีชีวิตออกจากส่งิ ไมม่ ีชวี ติ นนั้ นอ้ งๆ จะตอ้ งรู้จักคณุ สมบตั ทิ ีส่ ำ� คญั ของสิ่งมชี วี ติ ดงั ต่อไปน้ี
1. การสืบพันธุ์ (Reproduction) คือการเพิ่มจำ� นวนประชากรของสิง่ มชี ีวิตชนิดเดียวกนั เพื่อไมใ่ ห้สญู พนั ธุ์ไปแบ่งออก
เป็น 2 แบบ คอื
- การสบื พันธแุ์ บบไม่อาศัยเพศ
- การสืบพนั ธ์แุ บบอาศัยเพศ

ประเภท ขอ้ ด ี ขอ้ เสยี ตัวอยา่ ง

การสืบพนั ธ์ุ - เพิ่มประชากรไดเ้ ป็น - ไม่เกิดการแปรผนั - การแตกหนอ่ (budding)
แบบไมอ่ าศยั เพศ จำ� นวนมากและรวดเรว็ ทางพนั ธกุ รรม - การสรา้ งสปอร์ (sporulation)
(asexual - มีลกั ษณะเหมอื นพ่อแม่ - ไม่กอ่ ใหเ้ กิดความ - การงอกใหม่ (regeneration)
reproduction)
หลากหลายของ
สง่ิ มชี ีวิต

การสบื พันธ์ุ - เกิดความแปรผนั ทาง - อาจเกดิ ลกั ษณะ - การปฏิสนธิ (fertilization)
แบบอาศัยเพศ
(sexual พันธุกรรม ที่ไม่เหมาะสม
reproduction)
- เกิดลกั ษณะท่เี หมาะสม ผดิ ปกติ หรอื เปน็

กบั ส่งิ แวดลอ้ มมากข้ึน โรคได้

2. ต้องการสารอาหารและพลังงาน (Energy) เพ่อื ใชใ้ นกจิ กรรมตา่ งๆ ของเซลล์ ปฏกิ ิรยิ าเคมที ่ีเกดิ ภายในเซลล์
ของส่งิ มชี วี ติ เรียกว่า กระบวนการเมทาบอลซิ มึ (metabolism) ซึง่ แบ่งเป็น 2 กระบวนการยอ่ ยคอื
2.1 กระบวนการแคทาบอลซิ ึม(catabolism) คือการสลายสารโมเลกลุ ใหญใ่ หม้ ขี นาดเลก็ ลงเช่นการหายใจระดบั เซลล์
(cellular respiration)
2.2 กระบวนการแอนาบอลซิ มึ (anabolism) ค อื การสงั เคราะหส์ ารโมเลกลุ เลก็ ใหม้ ขี นาดใหญข่ น้ึ เชน่ การสงั เคราะหแ์ สง
(photosynthesis) และการสร้างโปรตีน เป็นต้น

ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 9

3. มกี ารเจรญิ เติบโตและเปลี่ยนแปลงรปู ร่าง (Growth and Development) มอี ายุขยั จำ� กดั (life span) และมขี นาดจำ� กัด
4. สามารถตอบสนองตอ่ ส่ิงเรา้ ทัง้ สงิ่ เรา้ ภายในและสิ่งเรา้ ภายนอกรา่ งกายเพื่อใหส้ ามารถปรบั ตัวเขา้ กบั สภาพแวดล้อม
ท่ีเปล่ยี นแปลงไปได้อยา่ งเหมาะสม
5. การรกั ษาดลุ ยภาพของรา่ งกาย (Homeostasis) ใหอ้ ยใู่ นสภาพทสี่ มดลุ ตอ่ การดำ� รงชวี ติ ไมว่ า่ จะเปน็ ระดบั นำ้� ตาลในเลอื ด
อณุ หภมู ภิ ายในรา่ งกาย ความเป็นกรด-เบส สมดุลน้ำ� และเกลือแร่ ซงึ่ จะถกู ควบคมุ โดยระบบต่างๆ ของรา่ งกาย เชน่
ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบหมนุ เวียนเลือด เป็นตน้
6. มลี ักษณะเฉพาะตวั ที่แตกตา่ งจากสงิ่ มชี วี ติ อ่นื ท�ำใหเ้ ราสามารถจดั จำ� แนกส่งิ มีชีวติ นน้ั ได้
7. มีการจัดระบบ(Organization) โ ดยเริม่ ต้ังแตห่ นว่ ยพืน้ ฐานทเ่ี ล็กท่ีสดุ ของสิง่ มชี วี ติ คือเซลล์(cell)และเซลลห์ ลายๆเซลล์
รวมกนั กลายเป็นเนื้อเยือ่ (tissue) เน้ือเยอ่ื ตา่ งๆ ทที่ �ำงานร่วมกันจะเรยี กวา่ อวัยวะ (organ) ซงึ่ จะท�ำงานร่วมกบั อวัยวะ
อื่นๆ ประกอบกันเป็นร่างกายของสิ่งมชี ีวิต (organism)

การศึกษาชีววทิ ยา

• เนือ่ งจากความร้ทู างชวี วิทยาน้ันมมี ากมายเราจึงต้องมกี ารศึกษาอย่างเปน็ ระบบเพอ่ื ให้ได้ข้อมูลท่ถี ูกต้อง
ความรู้ทางชีววิทยา (Knowledge) แบง่ ออกเป็น
- ขอ้ เท็จจริง (fact) หรือขอ้ มูล (data) ท่ไี มใ่ ส่ขอ้ คดิ เหน็ ใดๆ อาจได้มาจากการทดลอง หรือการสังเกต
- ทฤษฎี (theory) คอื ความร้ทู ไี่ ด้จากการตรวจสอบสมมติฐานหลายๆ ครง้ั และถกู น�ำไปประยุกต์ใช้ อา้ งอิง หรอื อธิบาย
เร่ืองตา่ งๆ ได้ เชน่ ทฤษฎกี ารคัดเลอื กตามธรรมชาติ ทฤษฎียีน
- กฎ (law) คือ ความร้ทู ่ีเปน็ ความจริงแนน่ อน สามารถพสิ ูจน์ได้ ไม่มีข้อโต้แย้ง เช่น กฎของเมนเดล กฎ 10 เปอรเ์ ซ็นต์

• แล้วนอ้ งสงสัยไหมวา่ ความรทู้ างชวี วทิ ยาท่เี ราร�ำ่ เรยี นกนั อยู่ทกุ วนั น้ีมาจากไหน ?
ความรทู้ างชวี วิทยา (Knowledge) ไดม้ าจากกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ (scientific process) ซึ่งแบ่งเป็น 5 ขน้ั ตอน ดงั น้ี
1. กำ� หนดปัญหา (problem)
การกำ� หนดปญั หาท่ีดจี ะตอ้ งชัดเจน มีความเปน็ ไปได้ และมแี นวทางในการหาคำ� ตอบ การสังเกต (Observation)
เปน็ ทักษะทสี่ �ำคญั ท่จี ะนำ� ไปสู่การตั้งปัญหา ตวั อย่างเช่น ปัญหา : “อณุ หภูมิมผี ลต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่”
2. การตัง้ สมมตฐิ าน (Hypothesis)
กอ่ นอนื่ นอ้ งๆ ต อ้ งเขา้ ใจวา่ สมมตฐิ านไมใ่ ชค่ ำ� ตอบของปญั หาและในปญั หาเดยี วกนั อาจมสี มมตฐิ านไดห้ ลายขอ้ ก ารตงั้
สมมตฐิ านมกั ใชค้ ำ� วา่ ถา้ ...........ดงั นน้ั .......... ส มมตฐิ านทดี่ จี ะตอ้ งสมั พนั ธก์ บั ปญั หาและชว่ ยแนะแนวทางในการตรวจสอบดว้ ย!!
ตวั อยา่ งเชน่ “ถา้ อณุ หภมู มิ ผี ลตอ่ การงอกของเมลด็ ดงั นน้ั เมลด็ ทเ่ี พาะทอ่ี ณุ หภมู ติ า่ งกนั จะมอี ตั ราการงอกทตี่ า่ งกนั ดว้ ย”
3. การตรวจสอบสมมตฐิ าน
เราสามารถทำ� ได้หลายวิธี เช่น สำ� รวจ (survey) คน้ ควา้ ข้อมลู เพิม่ เติมจากความรเู้ ดมิ เปน็ ตน้ แต่สว่ นใหญ่มกั ใช้
วิธกี ารทดลอง (experiment) การทดลองท่ีท�ำให้ไดข้ ้อสรปุ ท่ีนา่ เช่ือถอื จะต้องเปน็ การทดลองท่ีมีการควบคมุ (controlled
experiment) เพราะสามารถควบคมุ ตัวแปร (variable) ต่างๆ ที่มผี ลตอ่ การทดลองได้ ตัวแปรมี 3 ชนดิ คอื
- ตวั แปรต้นหรือตวั แปรอสิ ระ (independent variable) คอื ตวั แปรท่ีเราต้องการจะศึกษา
ตวั อย่างเช่น ถา้ ปัญหาคือ “อุณหภมู มิ ีผลตอ่ การงอกของเมล็ดหรอื ไม่” ในที่นต้ี วั แปรตน้ คอื อุณหภูมิ
- ตวั แปรตาม (dependent variable) คอื ผลท่ีเปล่ยี นแปลงไปตามตวั แปรต้น
ตัวอย่างเชน่ ถ้าปญั หาคอื “อุณหภมู มิ ีผลต่อการงอกของเมล็ดหรอื ไม่” ในทีน่ ี้ตวั แปรตามคืออัตราการงอก
ของเมลด็ (เพราะเมือ่ อณุ หภมู เิ ปลี่ยนแปลงไป อตั ราการงอกของเมลด็ ถว่ั เขยี วก็จะเปล่ียนแปลงไปดว้ ย)

10 ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

- ตวั แปรควบคมุ (controlled variable) คือ สงิ่ ท่ีต้องจัดใหเ้ หมือนกันในทกุ ๆ การทดลอง เพ่อื ไม่ใหม้ ีผลกระทบต่อ
การทดลอง เชน่ ปรมิ าณแสงสวา่ ง ความชน้ื ชนดิ ของเมลด็ พชื เปน็ ตน้ (เพอ่ื ใหแ้ ตกตา่ งกนั เรอ่ื งเดยี วคอื เรอ่ื งอณุ หภมู )ิ
ในการทดลองจะแบ่งออกเปน็ 2 ชุด คอื
1) ชดุ ทดลองซง่ึ มกี ารเพม่ิ หรลื ดตวั แปรตน้ เพอ่ื ดผู ลการเปลย่ี นแปลง เ ชน่ เ พาะเมลด็ ทอ่ี ณุ หภมู ิ 1 5๐C 2 0๐C
25๐C 30๐C 35๐C และ 40๐C
2) ชุดควบคุม เอาไวเ้ ปรยี บเทยี บผลกับชดุ ทดลอง เชน่ เพาะเมล็ดทอ่ี ณุ หภมู หิ ้องปกติ
4. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู และวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการทดลองท่ีได้คือข้อเท็จจรงิ ซึง่ ต้องน�ำมาแปรผลและวเิ คราะหต์ ่อไปว่าเป็นไปตามสมมติฐานทตี่ ้งั ไวห้ รือไม่
5. การสรปุ ผลการทดลอง
จากผลการทดลองเราสามารถสรุปผลใหส้ อดคลอ้ งกบั ปญั หาเพ่อื เปน็ คำ� ตอบของปญั หาทีเ่ ราต้ังไว้
• สงิ่ สำ� คญั ทพี่ อี่ ยากบอกคอื ขอ้ สอบมกั ถามหาตวั แปรตน้ หรอื ตวั แปรตามของการทดลองซง่ึ นอ้ งตอ้ งระวงั จดุ นดี้ ว้ ย
หรอื ขอ้ สอบสว่ นใหญใ่ นหวั ขอ้ นมี้ กั ใหก้ ารทดลองมาแลว้ ถามหาสรปุ ซง่ึ ตอ้ งอา่ นตวั เลอื กใหด้ ๆี น ะ ข อ้ สรปุ จะตอ้ ง
สามารถตอบปัญหาของการทดลองน้ันๆ ได้

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 11

บทที่ 2

กลอ้ งจลุ ทรรศน์

กลอ้ งจุลทรรศน์ (microscope)

สงิ่ มชี วี ติ นน้ั มขี นาดแตกตา่ งกนั ไป สงิ่ มชี วี ติ ขนาดเลก็ มากๆ เชน่ แบคทเี รยี นอ้ งๆ จะไมส่ ามารถมองเหน็ ไดด้ ว้ ยตาเปลา่ ดงั นน้ั
นอ้ งๆ จงึ ตอ้ งมตี วั ชว่ ยในการขยายภาพใหม้ ขี นาดใหญข่ นึ้ เพอื่ จะไดท้ ำ� การศกึ ษาไดอ้ ยา่ งชดั เจน ซง่ึ ในปจั จบุ นั มเี ครอื่ งมอื หลาย
อยา่ งใหเ้ ลอื กใชต้ ามความเหมาะสม ดงั นี้
1. กลอ้ งจลุ ทรรศนแ์ บบใชแ้ สง (light microscope) แบง่ เปน็ 3 ชนดิ คอื
1.1 แวน่ ขยาย (magnifying glass) มเี ลนสน์ นู อนั เดยี ว ใชข้ ยายภาพทส่ี อ่ งดใู หม้ ขี นาดใหญข่ นึ้ เหน็ รายละเอยี ดชดั เจนขนึ้ ภาพทเี่ หน็
เปน็ ภาพเสมอื น
1.2 กลอ้ งจลุ ทรรศนเ์ ชงิ ซอ้ น (compound light microscope) ประกอบดว้ ยเลนสน์ นู 2 ชดุ คอื เลนสใ์ กลต้ า (eyepiece) ซง่ึ ถอด
เปลยี่ นได้ และเลนสใ์ กลว้ ตั ถุ (objective lens) ซงึ่ จะตดิ กบั จานหมนุ มกี ำ� ลงั ขยาย 4 เทา่ 10 เทา่ 40 เทา่ และ 100 เทา่ โดยเรม่ิ
ใชจ้ ากกำ� ลงั ขยายตำ�่ สดุ กอ่ น ภาพทเ่ี หน็ เปน็ ภาพเสมอื นหวั กลบั

Body Tube Ocular Lens

Revolving Nosepiece (Eyepiece)
Objectives
Arm
Stage Clips
Diaphragm Stage
Light Source Coarse Adjustment Knob
Fine Adjustment Knob

Base

ทมี่ า : http://infohost.nmt.edu/~klathrop/Microscopes.htm

12 ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

ü เมอื่ เลอ่ื นสไลดเ์ ปน็ ทศิ ทางใด ภาพทเี่ หน็ จะเลอ่ื นไปฝง่ั ตรงขา้ ม
ü ภาพทไี่ ดจ้ ะกลบั จากหวั เปน็ ทา้ ย และกลบั จากซา้ ยเปน็ ขวา (อนั นส้ี ำ� คญั นะ ขอ้ สอบมกั ใหร้ ปู มาแลว้ ถามวา่ เมอ่ื สอ่ งดว้ ยกลอ้ ง

จะเหน็ ภาพเปน็ แบบใด)

 วตั ถทุ ว่ี างบนจาน ภาพท่ีเหน็ จากเลนส์
เป็นภาพเสมือนหวั กลบั

ตวั อยา่ งแนวขอ้ สอบ

ภาพของจลุ นิ ทรยี ท์ ศ่ี กึ ษาดว้ ยกลอ้ งจลุ ทรรศนม์ ลี กั ษณะดงั ขอ้ ใด
ก. ภาพจรงิ หวั กลบั ปรากฏทเ่ี รตนิ าของตา
ข. ภาพเสมอื นหวั กลบั ปรากฏทเี่ รตนิ าของตา
ค. ภาพจรงิ ขนาดใหญ่ ปรากฏทจ่ี อรบั ภาพของตา
ง. ภาพเสมอื นขนาดใหญ่ ปรากฏทจี่ อรบั ภาพของตา

เฉลย

ข. เพราะเปน็ กลอ้ งประกอบดว้ ยเลนสน์ นู สองอนั ขอ้ ก. และ ค. ผดิ เพราะเปน็ ภาพจรงิ สว่ นขอ้ ง. ผดิ เพราะภาพปรากฏทเ่ี รตนิ า
ไมใ่ ชจ่ อรบั ภาพของตา

ตวั อยา่ งแนวขอ้ สอบ

เหตใุ ดจงึ ตอ้ งใชน้ ำ�้ มนั เปน็ ตวั กลางระหวา่ งสไลดท์ ว่ี างวตั ถกุ บั เลนสใ์ กลว้ ตั ถใุ นการใชก้ ลอ้ งจลุ ทรรศนแ์ บบใชแ้ สงสำ� หรบั เลนส์ 100X
ก. เพอ่ื ชว่ ยเพม่ิ กำ� ลงั ขยายของกลอ้ งใหม้ ากกวา่ 100X
ข. เพอ่ื เพม่ิ การหกั เหแสงจากตวั อยา่ งเขา้ สเู่ ลนส์
ค. เพอื่ เพม่ิ ชว่ งความยาวคลนื่ แสงทเ่ี ขา้ สเู่ ลนส์
ง. เพอ่ื ลดการสะทอ้ นแสงจากหนา้ เลนส์

เฉลย

ข. ใหน้ ำ้� มนั ชว่ ยหกั เหแสงจากตวั อยา่ งเขา้ สเู่ ลนสม์ ากขน้ึ เนอื่ งจากนำ�้ มนั มดี ชั นหี กั เหมากกวา่ อากาศ ขอ้ ก. ผดิ เพราะกลอ้ งกม็ ี
กำ� ลงั ขยายของเลนสเ์ ทา่ เดมิ ขอ้ ค. ผดิ เพราะแสงมคี วามยาวคลนื่ ทค่ี งทอี่ ยแู่ ลว้ ขอ้ ง. ผดิ เพราะนำ้� มนั ชว่ ยเพมิ่ การสะทอ้ น

ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 13

1.3 กลอ้ งจลุ ทรรศนใ์ ชแ้ สงแบบสเตอรโิ อ (stereoscopic microscope) เปน็ กลอ้ งจลุ ทรรศนช์ นดิ เลนสป์ ระกอบ ใชศ้ กึ ษาวตั ถทุ ่ี
มขี นาดใหญ่ เชน่ เกสรดอกไม้ แมลงขนาดเลก็ กลอ้ งชนดิ นแี้ ตกตา่ งจากกลอ้ งจลุ ทรรศนใ์ ชแ้ สงทว่ั ไป คอื

DIOPTER EYEPIECE

STEREO HEAD FOCUS KNOB
ROTATING OBJECTIVES LIGHTING CONTROLS
TOP/BOTTON LIGHTING STAGE CLIPS

STAGE PLATE

ทม่ี า : http://www.optimaxonline.com/newsdetails.php?newsId=1

• ภาพทเ่ี หน็ เปน็ ภาพเสมอื น 3 มติ ิ
• เลนสใ์ กลว้ ตั ถมุ กี ำ� ลงั ขยายตำ�่ นอ้ ยกวา่ 10 เทา่
• ใชศ้ กึ ษาไดท้ งั้ วตั ถโุ ปรง่ แสงและวตั ถทุ บึ แสง
• ระยะหา่ งจากเลนสใ์ กลว้ ตั ถกุ บั วตั ถทุ ศี่ กึ ษาจะอยใู่ นชว่ ง 63 - 225 mm.

ตวั อยา่ งแนวขอ้ สอบ

สงิ่ ทก่ี ลอ้ งจลุ ทรรศนใ์ ชแ้ สงแบบสเตอรโิ อแตกตา่ งจากกลอ้ งจลุ ทรรศนใ์ ชแ้ สงแบบธรรมดาคอื ขอ้ ใด
A. ภาพทเี่ หน็ เปน็ ภาพจรงิ และเปน็ ภาพ 3 มติ ิ
B. ใชศ้ กึ ษาไดท้ ง้ั วตั ถโุ ปรง่ แสงและทบึ แสง
C. เลนสใ์ กลว้ ตั ถมุ กี ำ� ลงั ขยายนอ้ ยกวา่ 4X

ก. A. ข. A. และ B.
ค. B. และ C. ง. ถกู ทกุ ขอ้

เฉลย

ขอ้ ค. เนอ่ื งจาก A. ผดิ เพราะตอ้ งเปน็ ภาพเสมอื น 3 มติ ิ

14 ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

2. กลอ้ งจลุ ทรรศนอ์ เิ ลก็ ตรอน (electron microscope) ใชส้ อ่ งดไู ดเ้ ฉพาะสง่ิ ไมม่ ชี วี ติ เทา่ นน้ั เชน่ อะตอมของฮเี ลยี ม ความหนาของ
เยอื่ หมุ้ เซลล์ เปน็ ตน้ แสงทใ่ี ชเ้ ปน็ ลำ� แสงอเิ ลก็ ตรอนซง่ึ มขี นาดเลก็ มากและกำ� ลงั ขยายสงู ถงึ 500,000 เทา่ หรอื มากกวา่ ระบบเลนสเ์ ปน็
เลนสแ์ มเ่ หลก็ ไฟฟา้ แทนเลนสแ์ กว้ ภาพทไ่ี ดจ้ ะปรากฏบนจอภาพทฉี่ าบดว้ ยสารเรอื งแสง และภาพทเ่ี กดิ ขนึ้ เปน็ ภาพเสมอื น แบง่ เปน็ 2
ชนดิ ดงั น้ี
2.1 กลอ้ งจลุ ทรรศนอ์ เิ ลก็ ตรอนชนดิ สอ่ งผา่ น (transmission electron microscope) หรอื เรยี กยอ่ ๆ วา่ TEM ใชศ้ กึ ษาโครงสรา้ ง
และสว่ นประกอบภายในของวตั ถทุ ม่ี ขี นาดเลก็ มากๆ วตั ถทุ ต่ี อ้ งการศกึ ษาตอ้ งตดั ใหบ้ างเปน็ พเิ ศษและยอ้ มดว้ ยสารประกอบ
โลหะ ภาพทเ่ี หน็ เปน็ ภาพ 2 มติ ิ
2.2 กลอ้ งจลุ ทรรศนอ์ เิ ลก็ ตรอนชนดิ สอ่ งกราด (scanning electron microscope) หรอื เรยี กยอ่ ๆ วา่ SEM ใชศ้ กึ ษาโครงสรา้ ง
ภายนอกของวตั ถุ เราตอ้ งเคลอื บผวิ วตั ถทุ ตี่ อ้ งการศกึ ษาดว้ ยโลหะกอ่ น เชน่ ทองคำ� ลำ� แสงอเิ ลก็ ตรอนจะสอ่ งกราดไปบนผวิ
ของวตั ถุ ทำ� ใหไ้ ดภ้ าพทเี่ ปน็ 3 มติ ิ

ทมี่ า : http://cellandtransportation5525740602.blogspot.com/

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 15

บทท่ี 3

สารชวี โมเลกลุ

สารชีวโมเลกลุ

นอ้ งๆ รไู้ หม สารชวี โมเลกลุ คอื อะไร ??

สารชวี โมเลกลุ คอื กลมุ่ ของสารอาหาร (Nutrient) ทเี่ ปน็ สารอนิ ทรยี พ์ นื้ ฐานทจ่ี ำ� เปน็ ตอ่ รา่ งกาย เปน็ แหลง่ เกบ็ พลงั งานเคมใี น
สง่ิ มชี วี ติ (สงิ่ ไมม่ ชี วี ติ ไมม่ นี ะ!!) ซง่ึ ภายในโมเลกลุ จะประกอบดว้ ยธาตพุ นื้ ฐาน ดงั นี้

สารชวี โมเลกลุ องคป์ ระกอบ P

คารโ์ บไฮเดรต C H O
ไขมนั C H O
โปรตนี C H O N
C H O N
กรดนวิ คลอี กิ

แลว้ สำ� คญั ตอ่ สง่ิ มชี วี ติ อยา่ งไร ??

สารชวี โมเลกลุ เปน็ สารทมี่ คี วามสำ� คญั ตอ่ สงิ่ มชี วี ติ ทกุ ชนดิ อยา่ งยงิ่ เนอ่ื งจากสารชวี โมเลกลุ จะสามารถถกู ยอ่ ยใหเ้ ปน็ โมเลกลุ
ทเี่ ลก็ ลง และนำ� เขา้ สเู่ ซลลเ์ พอ่ื นำ� ไปเผาผลาญเปน็ พลงั งานในการทำ� กจิ กรรมตา่ งๆ ของชวี ติ และสรา้ งความอบอนุ่ ใหแ้ กร่ า่ งกาย

มารจู้ กั กบั พวกเขาทงั้ สกี่ นั เลยดกี วา่

ONE : คารโ์ บไฮเดรต (Carbohydrate)

 - ความสำ� คญั คอื เปน็ แหลง่ พลงั งาน และเปน็ สว่ นประกอบของเยอ่ื หมุ้ เซลลด์ ว้ ย

- แบง่ เปน็ 3 ชนดิ ใหญๆ่ ไดแ้ ก่
1. มอนอแซก็ คาไรด์ (monosaccharide) นำ�้ ตาลโมเลกลุ เดย่ี ว
ประกอบดว้ ย C 3-8 อะตอม สตู รโมเลกุลทั่วไปคือ CnH2nOn ตัวอยา่ งทีเ่ ดน่ ๆ ไดแ้ ก่
นำ�้ ตาล C5 = ไรโบส เปน็ องคป์ ระกอบของสารพนั ธกุ รรม RNA
= ดอี อกซไี รโบส เปน็ องคป์ ระกอบของสารพนั ธกุ รรม DNA
นำ้� ตาล C6 มี 3 ตวั ทน่ี อ้ งๆ ตอ้ งรจู้ กั คอื
- กลโู คส (glucose): พบในผกั ผลไม้ ใชเ้ ลย้ี งทารก หรอื ใหค้ นปว่ ยรบั ประทานได้ เพราะเปน็ นำ�้ ตาลทมี่ โี มเลกลุ เลก็
ทไ่ี มต่ อ้ งผา่ นการยอ่ ย เมอ่ื รบั ประทานเขา้ ไปสามารถดดู ซมึ เขา้ เสน้ เลอื ดและนำ� ไปใชเ้ ปน็ พลงั งานไดท้ นั ที
- ฟรกุ โทส (fructose): เปน็ นำ้� ตาลทหี่ วานทส่ี ดุ พบในผกั ผลไม้ และนำ�้ ผง้ึ
- กาแลกโทส (galactose): ไมพ่ บในธรรมชาติ
2. ไดแซก็ คาไรด์ (disaccharide) นำ้� ตาลโมเลกลุ คู่
เกดิ จากการรวมตวั ของมอนอแซก็ คาไรด์ 2 โมเลกลุ ดว้ ยพนั ธะไกลโคซดิ กิ ตวั เดน่ ทน่ี อ้ งๆ ตอ้ งรจู้ กั คอื
มอลโทส (ขา้ วมอลท์ , ขา้ วโพด ) = กลโู คส + กลโู คส
ซโู ครส (นำ้� ตาลทราย) = กลโู คส + ฟรกุ โทส

16 ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

แลกโทส (นำ�้ นม) = กลโู คส + กาแลกโทส

* จำ� ใหไ้ ดน้ ะ วา่ นำ�้ ตาลโมกลุ คตู่ วั ไหน เกดิ จากนำ้� ตาลโมเลกลุ เดยี่ ว

3. พอลแิ ซก็ คาไรด์ (polysaccharide)

นำ้� ตาลโมเลกลุ ใหญ่ เกดิ จากมอนอแซก็ คาไรดห์ ลายๆ โมเลกลุ เชอ่ื มตอ่ กนั เปน็ สายยาว ตวั เดน่ ๆ กค็ อื

แปง้ ประกอบดว้ ยพอลแิ ซก็ คาไรด์ 2 ชนดิ ดงั นี้

 1. อะไมโลส (amylose) เปน็ พอลแิ ซก็ คาไรด์ แบบโซต่ รงแปง้ ความรอ้ นเดก็ ซต์ รนิ (หวานเลก็ นอ้ ย เหนยี วแบบกาว)
2. อะไมโลเพกตนิ (amylopectin) เปน็ พอลแิ ซก็ คาไรดแ์ บบโซก่ งิ่
เซลลโู ลส (cellulose) เปน็ โครงสรา้ งของพชื หนว่ ยยอ่ ยของเซลลโู ลส คอื กลโู คสละลายนำ้� ไมไ่ ด ้ รา่ งกายของคนยอ่ ยไมไ่ ด้ แตว่ วั

ควาย มา้ ยอ่ ยได้ (ดว้ ยการทำ� งานของจลุ นิ ทรยี ท์ อี่ าศยั อยใู่ นกระเพาะอาหาร)

ไกลโคเจน (glycogen) เปน็ คารโ์ บไฮเดรตทสี่ ะสมอยใู่ นเซลลข์ องสตั ว์ ประกอบดว้ ยกลโู คส ทตี่ อ่ กนั คลา้ ยอะไมโลเพกตนิ ของแปง้

แตม่ มี วลโมเลกลุ และมโี ซก่ ง่ิ มากกวา่ พบมากในตบั และกลา้ มเนอื้

สรปุ Concept กนั ดกี วา่

ไดแซก็ คาไรด์ + กรด ความรอ้ น มอนอแซก็ คาไรด์
(นำ�้ ตาลทราย, มอลโตส, แลกโทส) ความรอ้ น มอนอแซก็ คาไรด์

พอลแิ ซก็ คาไรด์ + กรด
(แปง้ , เซลลโู ลส, ไกลโคเจน)

- แถมๆ มาดกู ารยอ่ ยแปง้ หลงั ทานขา้ ว

แปง้ อะไมเลส มอลโทส มอลเทส กลโู คส

ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 17

TWO : ไขมนั (Lipid)

- เปน็ สารประกอบประเภทเอสเทอรท์ เ่ี กดิ จากปฏกิ ริ ยิ าเอสเทอรฟิ เิ คชนั ระหวา่ งกลเี ซอรอล
1. โมเลกลุ จะรวมตวั กบั กรดคารบ์ อกซลิ กิ สายยาว หรอื กรดไขมนั 3 โมเลกลุ เรยี กวา่
ไตรกลเี ซอไรด์
- มี 2 สถานะ = ของแขง็ เชน่ ไขมนั
= ของเหลว เชน่ นำ้� มนั

สตู รโมเลกลุ คอื

O
===
CH2- O - C - R R, R', R'' หมายถงึ หมแู่ อลคลิ อาจเหมอื นกนั หรอื
O แตกตา่ งกนั ได้ หมแู่ อลคลิ นม้ี าจากกรดไขมนั

CH - O - C - R'

O

CH2- O - C - R''

- ประโยชน์ คอื ปอ้ งกนั การสญู เสยี ความรอ้ นของรา่ งกาย ใหค้ วามอบอนุ่ แกร่ า่ งกาย ปอ้ งกนั การกระแทก ปอ้ งกนั
การสญู เสยี นำ้� ทำ� ใหผ้ วิ หนงั ชมุ่ ชนื้ ไมห่ ยาบกรา้ น ทำ� ใหผ้ มและเลบ็ มสี ขุ ภาพทดี่ ี ชว่ ยละลายวติ ามนิ หลายชนดิ ที่
มปี ระโยชน์ เชน่ A D E K , สลายใหพ้ ลงั งานแกร่ า่ งกาย

มี 2 ประเภท ไดแ้ ก่

1. กรดไขมนั อม่ิ ตวั (Saturated fatty acids) เปน็ กรดไขมนั ทม่ี จี ดุ หลอมเหลวสงู โดยปกตจิ ะมสี ถานะเปน็ ของแขง็
กรดไขมนั ทใ่ี นโมเลกุลมจี ำ� นวนไฮโดรเจนอะตอมอยู่เตม็ ทหี่ รือพนั ธะระหว่างคาร์บอนอะตอมเป็นพันธะเดีย่ ว
ทงั้ หมด กรดไขมนั ชนดิ นมี้ ี สตู รทวั่ ไปเปน็ CnH2n+1COOH (เมอ่ื n = เลขจำ� นวนเตม็ บวก และโดยทว่ั ไปมกั จะ
มคี า่ ตง้ั แต่ 11 ขนึ้ ไป) ตวั อยา่ งกรดไขมนั อมิ่ ตวั เชน่ กรดลอรกิ กรดปาลมติ กิ กรดสเตยี รกิ
2. กรดไขมนั ไมอ่ มิ่ ตวั (Unsaturated fatty acids) เปน็ กรดไขมนั ทมี่ จี ดุ หลอมเหลวตำ่� โดยอณุ หภมู ปิ กตจิ ะมสี ถานะ
เปน็ ของเหลว ค อื กรดไขมนั ทโ่ี มเลกลุ มจี ำ� นวนไฮโดรเจนนอ้ ยกวา่ ปกต ิห รอื กรดไขมนั ทโี่ มเลกลุ สว่ นทเี่ ปน็ ไฮโดรคารบ์ อน
พนั ธะ ระหวา่ งอะตอมของคารบ์ อนกบั คารบ์ อนจบั กนั ดว้ ยพนั ธะคู่ อยา่ งนอ้ ย 1 พนั ธะ นอกนน้ั เปน็ พนั ธะเดยี่ ว
หมด กรดไขมนั ประเภทนม้ี จี ำ� นวนไฮโดรเจนไมเ่ ปน็ ไปตามสตู ร CnH2n+1COOH ตวั เดน่ ๆ เชน่ กรดโอเลอกิ
(C17H33COOH) มี ไฮโดรเจนนอ้ ยกวา่ ปกติ 2 อะตอม กรดไลโนเลอกิ (C17H31COOH) มไี ฮโดรเจนนอ้ ยกวา่
ปกติ 4 อะตอม กรดปาลม์ โิ ตเลอกิ (C16H25COOH) มไี ฮโดรเจนนอ้ ยกวา่ ปกติ 8 อะตอม

บันทกึ ชว่ ยจำ�

18 ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

มาดคู วามแตกตา่ งระหวา่ งกรดไขมนั อม่ิ ตวั และกรดไขมนั ไมอ่ มิ่ ตวั ทพี่ วกนอ้ งๆ ควรรกู้ นั

ความแตกตา่ ง กรดไขมนั อม่ิ ตวั กรดไขมนั ไมอ่ ม่ิ ตวั สงู
จดุ หลอมเหลว สงู กวา่ ตำ่� กวา่
จำ� นวนอะตอมของ
ไฮโดรเจนทจ่ี ำ� นวน มากกวา่ นอ้ ยกวา่
คารบ์ อนอะตอมเทา่ กนั
เกิดได้เน่อื งจากมีตำ� แหน่ง
การเหมน็ หนื ไมเ่ กดิ พนั ธะคทู่ สี่ ามารถทปี่ ฏกิ ริ ยิ า
กบั ออกซเิ จนในอากาศได้
การแขง็ ตวั งา่ ย
การยอ่ ย ยาก ยาก
งา่ ย

THREE : โปรตนี (Protien)

- ลกั ษณะทว่ั ไป : โมเลกลุ ขนาดใหญ่ (polypeptide) , โครงสรา้ งซบั ซอ้ น
- หนว่ ยยอ่ ย คอื กรดอะมโิ น มากกวา่ 50 หนว่ ย เชอื่ มกนั ดว้ ยพนั ธะเพปไทด์
- ความสำ� คญั : ชว่ ยเสรมิ สรา้ งและซอ่ มแซมเนอ้ื เยอื่ ชว่ ยในการเจรญิ เตบิ โตรกั ษาสมดลุ ของนำ้� และกรด-เบสเปน็ สว่ นประกอบ
ของเอนไซม์ ฮอรโ์ มน เลอื ด ภมู คิ มุ้ กนั
- การแปลงสภาพโปรตนี (denaturation of protein) : กระบวนการทำ� ใหโ้ ปรตนี เปลย่ี นโครงสรา้ งทางกายภาพไมส่ ามารถทำ� งาน
ไดเ้ หมอื นเดมิ โดยการใชค้ วามรอ้ น สมั ผสั กบั สารละลายกรดเบส หรอื ไอออนของโลหะหนกั (แตโ่ ปรตนี ไมไ่ ดถ้ กู ยอ่ ยนะ !!)

สตู รโครงสรา้ ง

R O
H2N - CH - C - OH
-
=

หมอู่ ะมโิ น หมคู่ ารบ์ อกซลิ กิ



ชนดิ ของกรดอะมโิ นขนึ้ อยกู่ บั หมู่ R เชน่

R = H คอื ไกลซนี

R = CH2CH(CH3)3 คอื ลวิ ซนี
R = CH3คอื อะลานนิ
R = CH2OH คอื เซอรนี
R = CH(CH3)2 คอื วาลนี

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 19

กรดอะมโิ นจำ� เปน็ (essential amino acid) คอื กรดอะมโิ น ทร่ี า่ งกายของสงิ่ มชี วี ติ ชนดิ นน้ั ๆ ไมส่ ามารถสงั เคราะหข์ นึ้ มาเองได้

จงึ จำ� เปน็ ตอ้ งไดร้ บั มาจากอาหาร
กรดอะมโิ นทจี่ ำ� เปน็ สำ� หรบั มนษุ ยม์ ดี ว้ ยกนั 8 ชนดิ คอื ไอโซลวิ ซนี ลวิ ซนี ไลซนี วาลนี เมไทโอนนี ฟนี ลิ อะลานนี ทรโี อนนี
ทรปิ โตเฟน แตเ่ ดก็ ตอ้ งการกรดอะมโิ นอกี สองชนดิ คอื อารจ์ นี นี และฮสี ทดิ นี
พนั ธะเพปไทด์ (peptide bond) เปน็ พนั ธะโควาเลนตช์ นดิ หนงึ่ ทเ่ี กดิ จากกรดอะมโิ น 2 ตวั มาเชอื่ มกนั โดยการดงึ นำ้� (H2O) ออก

+H3N - CHR - C - = OO- + +H3N - CHR - C - = OO-
amino acid amino acid
-
- H2O

=

-
-
+H3N - R O - CHR - C -= OO-
CH C-N-
dipeptide

**สงั เกตงา่ ยๆ เลยนะ เจอหมเู่ อไมด์ (-CONH-) นนั่ แหละคอื พนั ธะเพปไทด ์
ถา้ เขา้ ใจแลว้ มาเลน่ เกมสก์ นั ดกี วา่ >>>จากรปู ทใ่ี ห้ มกี รดอะมโิ นทงั้ หมดกชี่ นดิ และมกี พ่ี นั ธะเพปไทด์ ??
(ขอ้ สอบโอเนต็ ปี 2550)

H2N - CCHH3- C - N H - C H - CO - N H - C H 2 - OC - N H - CCHH3- CO2H
O (CH2)2
CO2H
-

=

--

=
=

-

เฉลย มกี รดอะมโิ น 4 ชนดิ และมี 3 พนั ธะเพปไทด์

มาดภู าพเฉลยประกอบความเขา้ ใจขา้ งลา่ งกนั แลว้ จะรอ้ ง...ออ๋ ไมเ่ หน็ ยากเลย !!

H2N - CCHH3- C - N H - C H - CO - N H - C H 2 - OC - N H - CCHH3- CO2H
O (CH2)2
CO2H
-

=

--

=
=

-

20 ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

โปรตนี ทเ่ี ดน่ ๆ ไดแ้ ก่

• เอนไซม์ (enzyme) เปน็ ตวั เรง่ ปฏกิ ริ ยิ าทางชวี ภาพ ทำ� ใหป้ ฏกิ ริ ยิ าตา่ งๆ ในสง่ิ มชี วี ติ เกดิ ไดเ้ รว็ ขน้ึ
• ฮโี มโกลบนิ (hemoglobin)เปน็ สว่ นประกอบสำ� คญั ในเมด็ เลอื ดแดงทำ� หนา้ ทน่ี าํ ออกซเิ จนทเ่ี ราหายใจเขา้ ไปทางปอด

ไปสสู่ ว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย
• อมิ มโู นโกลบลู นิ (immunoglobulin) เปน็ ไกลโคโปรตนี ทอี่ ยใู่ นเลอื ดและสารคดั หลงั่ ตา่ งๆ ในรา่ งกาย ทำ� หนา้ ทตี่ อ่ สู้

หรอื ปอ้ งกนั การตดิ เชอื้ โรคจากแบคทเี รยี ไวรสั หรอื สงิ่ แปลกปลอมอน่ื ๆ ทเี่ ขา้ มาในรา่ งกาย

FOUR : กรดนวิ คลอี กิ (Nucleic acid)

- ความสำ� คญั : เปน็ สารพนั ธกุ รรมของเซลล์ ควบคมุ ลกั ษณะการถา่ ยทอดลกั ษณะพนั ธกุ รรม การสงั เคราะหโ์ ปรตนี และ
กระบวนการตา่ งๆ ของสง่ิ มชี วี ติ จงึ ถอื วา่ เปน็ สารประกอบทมี่ คี วามสำ� คญั ตอ่ สง่ิ มชี วี ติ
- หนว่ ยโมเลกลุ ยอ่ ยในกรดนวิ คลอิ กิ : นวิ คลโี อไทด์ (nucleotide) ซง่ึ มอี งคป์ ระกอบดงั น้ี
1. นำ�้ ตาลเพนโทส(pentose) คอื นำ�้ ตาลทม่ี คี ารบ์ อน 5 อะตอม ไดแ้ ก่ นำ�้ ตาลไรโบส (Ribose)และนำ้� ตาลดอี อกซไี รโบส
(Deoxyribose)

5 O OH 5 O OH
H H1 H H1
HOCH2 HOCH2
4H H 4H H

OH 3 OH 2 OH 3 H 2

Ribose Decxyribose

2. ไนโตรจนี สั เบส (nitrogenous base) มี 2 ชนดิ คอื
ไพรมิ ดิ นี (pyrimidine) (1วง) = ไซโตซนี (Cytosine; C) ไทมนี (Thymine; T) ยรู าซลิ (Uracil; U)
พวิ รนี (purine) (2วง)= อะดนิ นี (Adenine; A) กวานนี (Guanine; G)

H NH2 O CH3 O H
N HH N

N C= O N

H N C= O N C= O
cytosine
NH2 H H
N CC uracil O thymine
HC
N HN C CN
CH C
NC NC CH
ADE"AN"INE H2N GU"AGN"INE
NH NH

**Nucleoside= โมเลกลุ ของเบสยดึ เกาะกบั นำ�้ ตาล

ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 21

3. หมฟู่ อสเฟต
(พวกโครงสรา้ งทางเคมี พอ่ี ยากใหเ้ หน็ ครา่ วๆ เฉยๆ ไมอ่ อกขอ้ สอบหรอกนะ ไมต่ อ้ งจำ� )
2 ชนดิ : กรดไรโบนวิ คลอิ กิ (Ribonucleic acid, RNA) และกรดดอี อกซไี รโบนวิ คลอี กิ (Deoxyribonucleic acid,DNA)
**กรดนวิ คลอี กิ เปน็ สารประกอบโพลนี วิ คลโี อไทด์ (Polynucleotide)

โครงสรา้ งยอ่ ย คอื นวิ คลโี อไทด์ (Nucleotide) ทเี่ ชอื่ มตอ่ กนั ดว้ ยพนั ธะฟอสโฟไดเอสเธอร์ (phosphodiester)

- โครงสรา้ งของ DNA :เกดิ จากสายโพลนี วิ คลโี อไทด์ สองสายทบ่ี ดิ หรอื ขดคลา้ ยบนั ไดเวยี นสองสายมาพนั กนั เปน็ เกลยี วคู่
(Double helix) เวยี นขวามรี ะยะหนง่ึ รอบเกลยี ว เทา่ กบั 3.4 nm. และมเี บสคสู่ มประมาณ 10 คตู่ อ่ รอบ สว่ นทเ่ี ปน็ นำ้� ตาลและ
ฟอสเฟตจะทำ� หนา้ ทเี่ ปน็ แกนอยขู่ า้ งนอกและเบสตา่ งๆ จะยนื่ เขา้ ไปในเกลยี วแลว้ จบั คกู่ นั ระหวา่ งเบสคสู่ มทง้ั สองสายดว้ ย
พนั ธะไฮโดรเจน

ทม่ี า : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/nano/Picture/DNA_detail.jpg
- โครงสรา้ งของ RNA : มโี ครงสรา้ งเปน็ สายเดยี่ ว (single strand) เปน็ สารพนั ธกุ รรมในสง่ิ มชี วี ติ บางชนดิ เชน่ ไวรสั บาง
ชนดิ เปน็ หนว่ ยปฏบิ ตั กิ ารในการสงั เคราะหโ์ ปรตนี พบไดใ้ นนวิ เคลยี สไซโตพลาสซมึ (cytoplasm) นวิ คลโี อลสั (nucleolus)
คลอโรพลาสต์ (chloroplast) ไรโบโซม (ribosome) และ ไมโทคอนเดรยี (mitochondria)
**จะไมพ่ บไทมนี (Thymine; T) ใน RNA จะพบ ยรู าซลิ (Uracil; U) เทา่ นนั้
- เบสคสู่ ม (หวั ขอ้ นอ้ี อกขอ้ สอบบอ่ ยนะ!) :
A จะคกู่ บั T (ใน DNA) หรอื U (ใน RNA) จบั กนั ดว้ ยพนั ธะคู่
C จะคกู่ บั G (ทง้ั ใน DNA และ RNA) จบั กนั ดว้ ยพนั ธะสาม
หลกั การมเี ทา่ นี้ ถา้ เขา้ ใจแลว้ มาเลน่ เกมสก์ นั เลย!!

ถา้ พใ่ี หโ้ จทยว์ า่ จงหาเบสคสู่ มของ - A T T C G T A C A T C C -
เฉลย - T A A G C A T G T A G G -

วางใหถ้ กู ตำ� แหนง่ นะ ไมย่ ากใชไ่ หม เกบ็ คะแนนขอ้ นมี้ าใหไ้ ดน้ ะ


22 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

มาถงึ หวั ขอ้ สดุ ทา้ ย เปน็ หวั ขอ้ ทฮ่ี อตฮติ มากในการออกขอ้ สอบเรอื่ งนี้ นนั่ กค็ อื การทดสอบสารชวี โมเลกลุ ( จำ� !!! เปน็ ตาราง
กนั เลยนะ ขอ้ สอบจะประยกุ ตน์ ดิ หนอ่ ย แต่ Concept มแี คน่ ้ี )

ชวี ะโมเลกลุ รเี อเจนต ์ การเปลย่ี นแปลง
สารละลายสนี ำ้� เงนิ
แปง้ I2/Kl ตะกอนสแี ดงอฐิ
นำ�้ ตาลโมเลกลุ เดย่ี ว สารละลายเบเนดกิ ต์ (สฟี า้ ) สารละลายสมี ว่ ง

โปรตนี หรอื เพป็ ไตด์ CuSO4 ใน NaOH (สฟี า้ )

น้องๆ ศกึ ษาเพม่ิ เติมได้ท่ี
Tag : สอนศาสตร์, ชีววิทยา, ชวี เคมี, สารชวี โมเลกลุ , ชวี เคมีเบื้องตน้

• 03 : ชีวเคมี
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-1
• สอนศาสตร์ ชวี วทิ ยา ม.6 : ชีวเคมีเบอ้ื งตน้
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-2
• สารชวี โมเลกลุ ตอนที่ 23
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-3
• สารชวี โมเลกุล ตอนท่ี 24
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch1-4

ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 23

บทท่ี 4

องค์ประกอบของสงิ่ มีชีวิต

องคป์ ระกอบของสง่ิ มีชีวติ

การสรา้ งพลงั งานในสง่ิ มชี วี ติ

1. ATP (Adenosine triphosphate)
เปน็ สารทม่ี พี ลงั งานสงู ทำ� หนา้ ทเี่ กบ็ พลงั งานทไ่ี ดจ้ ากกระบวนการสลายสารอาหารของเซลล์เมอ่ื สลายแลว้ จะใหพ้ ลงั งาน
7.3 กโิ ลแคลอร/ี โมล
การสรา้ ง ATP จาก ADP และหมฟู่ อสเฟตนเ้ี รยี กวา่ กระบวนการ ฟอสโฟรเี ลชนั (oxidative phosphorylation)
2. การสลายโมเลกลุ ของสารอาหารระดบั เซลล์
คอื กระบวนการสลายโมเลกลุ ของสารอาหารในเซลลเ์ พอื่ ใหไ้ ดพ้ ลงั งาน แบง่ ออกเปน็ 2 แบบใหญๆ่ คอื
- แบบใชอ้ อกซเิ จน (aerobic respiration)
- แบบไมใ่ ชอ้ อกซเิ จน (anaerobic respiration)

การสลายกลโู คสแบบใชอ้ อกซเิ จน

ประกอบดว้ ย 3 ขน้ั ตอนใหญๆ่ คอื
1) ไกลโคลซิ สิ (glycolysis) : เกดิ ขนึ้ บรเิ วณไซโทซอล (cytosol) เปน็ กระบวนการสลาย กลโู คส ซงึ่ มคี ารบ์ อน 6 อะตอม
= (C6) ผลติ ภณั ฑท์ ไ่ี ดค้ อื กรดไพรวู กิ ซง่ึ มคี ารบ์ อน 3 อะตอม จำ� นวน 2 โมเลกลุ = 2 (C3)
2) วฏั จกั รเครบส์ (Krebs cycle) : เกดิ ขนึ้ บรเิ วณเมทรกิ ซ์ (Matrix: ของเหลวในไมโทคอนเดรยี ) การสลายสารแอซทิ ลิ โค
เอนไซม์ เอ จะได้ แกส๊ คารบ์ อนไดออกไซด ์ และเกบ็ พลงั งานทไ่ี ดไ้ วใ้ นรปู ของ NADH 6 โมเลกลุ , FADH2 2 โมเลกลุ
และ ATP 2 โมเลกลุ ตอ่ การสลายกลโู คส 1 โมเลกลุ ใน 1 รอบของ วฏั จกั รเครบส์

 3) กระบวนการถ่ายทอดอเิ ล็กตรอน (electron transport chain) : เกิดบรเิ วณเยือ่ หุ้มชนั้ ในของไมโทคอนเดรยี เปน็

กระบวนการทม่ี กี ารสง่ อเิ ลก็ ตรอนระหวา่ งตวั ใหอ้ เิ ลก็ ตรอนกบั ตวั รบั อเิ ลก็ ตรอนตวั อนื่ ๆ แ ละมกี ารปลดปลอ่ ยพลงั งาน
ออกมา (NADH ให้ 3 ATP FADH2 ให้ 2 ATP) โดยมอี อกซเิ จนเปน็ ตวั รบั อเิ ลก็ ตรอนตวั สดุ ทา้ ย และไดน้ ำ�้ เปน็ ผลติ ภณั ฑ์
** ภาพรวมของกระบวนการสลายกลโู คสโดยใชอ้ อกซเิ จน**

Glucose

ATP ADP Acetyl CoA Coa

Oxidative e+ TCA cycle
Phosporylation

H2O O2

CO2

24 ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

การสลายโมเลกลุ ของสารอาหารแบบไมใ่ ชอ้ อกซเิ จน
จะเกดิ กต็ อ่ เมอื่ รา่ งกายอยใู่ นภาวะทไี่ มม่ แี กส๊ ออกซเิ จนหรอื มแี กส๊ ออกซเิ จนไมเ่ พยี งพอ เพอื่ ใหก้ ระบวนการไกลโคลซิ สิ

ไมห่ ยดุ ชะงกั และสามารถสรา้ ง ATP ตอ่ ได ้ กระบวนการนเ้ี รยี กวา่ กระบวนการหมกั (fermentation)

- ในยสี ต์ : ไดผ้ ลติ ภณั ฑเ์ ปน็ แอลกอฮอลแ์ ละแกส๊ คารบ์ อนไดออกไซด์

- ในเซลลก์ ลา้ มเนอ้ื : ไดผ้ ลติ ภณั ฑเ์ ปน็ กรดแลกตกิ ทที่ ำ� ใหเ้ กดิ การเมอ่ื ยลา้

 ขณะออกกำ� ลงั กาย ATP ลดลงอยา่ งรวดเรว็ และเลอื ดลำ� เลยี งแกส๊ ออกซเิ จนใหเ้ ซลลไ์ มท่ นั เซลลก์ ลา้ มเนอ้ื จงึ เกดิ ภาวะมอี อกซเิ จน
การสลายอาหารโดยไมใ่ ชอ้ อกซเิ จน
ภาวะไมม่ อี อกซเิ จน

Anaerobic Anaerobic
In mitochondria

2 ATP

6 Carbon Compound Glucose

Loss of hydrogen-oxidation 4 ADP
4 ATP
+ O2
3 Carbon Compound Pyruvate Acid CO2 + H2O

3 Carbon Compound 2 ATP 34 ADP 34 ATP

Alcohol + CO2 Lactic Acid

Cytosol Mitochondrion

ภาพรวมของการสลายโมเลกลุ ของสารอาหารระดบั เซลล์

พฤตกิ รรม (Behavior)

• นอ้ งๆ เคยสงสยั ไหมวา่ ทำ� ไมแมวจงึ ตอ้ งเลยี ขน หรอื ทำ� ไมลกู เจยี๊ บตอ้ งเดนิ ตามแมข่ องมนั อะไรเปน็ ปจั จยั กระตนุ้ ใหเ้ กดิ
พฤตกิ รรมแบบนน้ั ขนึ้ มา ?
พฤตกิ รรมเปน็ ปฏกิ ริ ยิ าตอบสนองตอ่ การเปลยี่ นแปลงทเ่ี กดิ ขนึ้ ทงั้ ภายในและภายนอกรา่ งกายของสงิ่ มชี วี ติ นน้ั ๆ เกดิ จากการ
ทำ� งานรว่ มกนั ระหวา่ งพนั ธกุ รรมและสง่ิ แวดลอ้ ม สรปุ เปน็ แผนภาพกลไกการเกดิ พฤตกิ รรมของสตั วไ์ ดด้ งั น้ี

ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 25

สงิ่ เรา้ ภายนอก หนว่ ยรบั ความรสู้ กึ ใยประสาทรบั ความรสู้ กึ
เชน่ อาหาร แสงสวา่ ง (Receptor) (Sensoryneuron)

สงิ่ เรา้ ภายใน ใยประสาทสงั่ สว่ นกลาง
เชน่ ฮอรโ์ มน ความหวิ (CNS)

ระบบประสาท หนว่ ยปฏบิ ตั งิ าน
(Effector) (Motor neuron)
พฤตกิ รรม



ประเภทของพฤตกิ รรมสตั ว์

• พฤตกิ รรมทเ่ี ปน็ มาแตก่ ำ� เนดิ (Inheritedbehavior)เปน็ พฤตกิ รรมทแี่ สดงออกมาอยา่ งงา่ ยๆ ม แี บบแผนแนน่ อนไม่
จำ� เปน็ ตอ้ งเรยี นรมู้ ากอ่ นเพราะถา่ ยทอดทางพนั ธกุ รรม ไดแ้ ก่
1. โอเรยี นเทชนั (Orientation) คอื พฤตกิ รรมทสี่ ตั วต์ อบสนองตอ่ ปจั จยั ทางกายภาพ เพอื่ ใหเ้ หมาะสมตอ่ การดำ� รงชวี ติ
แบง่ เปน็ 2 ชนดิ คอื
• ไคนซี ิส (kinesis) เป็นพฤตกิ รรมที่สตั วต์ อบสนองต่อสงิ่ เรา้ ด้วยการเคลอื่ นทีซ่ ึ่งมที ศิ ทางไมส่ มั พันธ์กบั สิง่ เรา้
พบในสตั วท์ รี่ ะบบประสาทยงั ไมเ่ จรญิ ดพี อ ตวั อยา่ งเชน่
- พารามเี ซยี มเคลอ่ื นทแี่ บบเดาสมุ่ ไปมาในบรเิ วณทเ่ี ปน็ กรดออ่ นเพอื่ หนจี ากสภาพนนั้ ซงึ่ เปน็ อนั ตรายตอ่ การ
ดำ� รงชวี ติ
- แมลงสาบจะหยดุ นงิ่ เมอ่ื วง่ิ ชนของแขง็
• แทกซสิ (taxis) เ ปน็ พฤตกิ รรมทสี่ ตั วต์ อบสนองตอ่ สง่ิ เรา้ แบบมที ศิ ทางสมั พนั ธก์ บั สง่ิ เรา้ มกั เปน็ พฤตกิ รรมทท่ี ำ� ให้
เกดิ การรวมกลมุ่ ตวั อยา่ งเชน่
- ผเี สอ้ื กลางคนื บนิ เขา้ หาแสงไฟ
- ยกู ลนี าเคลอื่ นทเี่ ขา้ หาแสงสวา่ ง
- แมไ่ กว่ ง่ิ หาลกู เมอื่ ลกู สง่ เสยี งรอ้ ง
2. รเี ฟลกซ์ (Reflex) คอื พฤตกิ รรมทสี่ ตั วต์ อบสนองตอ่ สงิ่ เรา้ ทม่ี ากระตนุ้ อยา่ งรวดเรว็ เพอ่ื หลกี เลยี่ งอนั ตรายทเ่ี กดิ ขน้ึ
โดยทไ่ี มต่ อ้ งรอใหส้ มองสง่ั การ เชน่
- การกระตกุ ของขาเมอื่ เคาะทห่ี วั เขา่ เบาๆ
- การหลบั ตาอยา่ งรวดเรว็ เมอ่ื มวี ตั ถเุ ขา้ มาใกลม้ ากๆ
3. รเี ฟลกซต์ อ่ เนอ่ื ง (Chain of Reflexes) หรอื อาจเรยี กวา่ สญั ชาตญาณ เปน็ พฤตกิ รรมทม่ี มี าแตก่ ำ� เนดิ ไมต่ อ้ งผา่ น
การเรยี นรู้ สว่ นใหญม่ กั เปน็ พฤตกิ รรมทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การดำ� รงชวี ติ ซงึ่ มลี กั ษณะเฉพาะแตกตา่ งกนั ในสง่ิ มชี วี ติ แตล่ ะชนดิ
ประกอบดว้ ยพฤตกิ รรมรเี ฟลกซย์ อ่ ยหลายพฤตกิ รรม เชน่
- การชกั ใยของแมงมมุ (ไมม่ กี ารสอนแตใ่ ยแมงมมุ จะมลี กั ษณะคลา้ ยๆ กนั )
- การดดู นมของทารก (เมอื่ สงิ่ เรา้ คอื ความหวิ )
- การกอ่ หวอดของปลากดั หรอื การสรา้ งรงั ของนก

26 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

แตก่ ย็ งั มพี ฤตกิ รรมอกี หลายอยา่ งทม่ี กี ลไกซบั ซอ้ นกวา่ ดงั น้ี
• พฤตกิ รรมการเรยี นรู้ (Learned behavior) มกั พบในสตั วท์ ม่ี รี ะบบประสาทเจรญิ ดี สามารถเรยี นรจู้ ากประสบการณ์
ทำ� ใหม้ กี ารตอบสนองไดซ้ บั ซอ้ นมากขน้ึ มหี ลายแบบ ดงั นี้
1. แฮบบิชทเู อชัน (habituation) เปน็ พฤติกรรมทส่ี ัตว์ลดการตอบสนองตอ่ สง่ิ เรา้ แมจ้ ะยังถูกกระต้นุ อยู่ เม่ือเห็นวา่
ส่งิ เร้านน้ั ไม่เป็นอันตราย เช่น
- ลกู นกหมอบหลบทกุ สงิ่ ทอี่ ยเู่ หนอื หวั ตอ่ มาเมอื่ เกดิ การเรยี นรจู้ งึ หลบเฉพาะศตั รเู ทา่ นน้ั
- สนุ ขั เหา่ เมอื่ รถไฟวงิ่ ผา่ น แตเ่ มอื่ เคยชนิ แลว้ จะเลกิ เหา่ ไปเอง
2. การเรยี นรแู้ บบฝงั ใจ (imprinting) เปน็ พฤตกิ รรมทเ่ี กดิ ขน้ึ ในชว่ งเวลาสน้ั ๆ หรอื ตอนแรกเกดิ เชน่
- ลกู ไกเ่ ดนิ ตามสงิ่ ทมี่ นั เหน็ เปน็ ครง้ั แรก แตเ่ มอื่ เวลาผา่ นไปซกั พกั มนั จะเลกิ เดนิ ตามเอง
- ปลาทะเลกลบั มาวางไขท่ เ่ี ดมิ ทมี่ นั เกดิ
3. การเรียนรูแ้ บบมเี ง่อื นไข (conditioning) เป็นการเรยี นร้ทู ฝี่ กึ ให้สัตว์ตอบสนองต่อส่งิ เร้าทัง้ สิ่งเร้าทมี่ ีเง่ือนไข
(conditioned stimulus) โดยใช้สงิ่ เรา้ ท่ีไมม่ เี งื่อนไข (unconditioned stimulus) เปน็ ตัวล่อ ต่อมาเมือ่ สัตว์เกิดการเรยี นรู้
แลว้ แมม้ สี ง่ิ เรา้ ทมี่ เี งอื่ นไขอยา่ งเดยี วกจ็ ะตอบสนองดว้ ย เ ชน่ ใ หอ้ าหารสนุ ขั พรอ้ มสนั่ กระดงิ่ ตอ่ มาสนั่ กระดง่ิ เพยี งอยา่ งเดยี ว
สนุ ัขกจ็ ะน�้ำลายไหล

สง่ิ เรา้ ทไ่ี มม่ เี งอ่ื นไข อาหาร
สง่ิ เรา้ ทม่ี เี งอื่ นไข เสยี งกระดงิ่
พฤตกิ รรมตอบสนอง การหลง่ั นำ้� ลาย

4. การลองผิดลองถกู (trial and error) ตอ้ งอาศยั การเรยี นรหู้ ลายครง้ั จนสามารถจดจำ� วา่ พฤตกิ รรมไหนเปน็ ผลดี
หรอื ผลเสยี แลว้ เลอื กแตก่ ารตอบสนองแตผ่ ลดี หลกี เลยี่ งพฤตกิ รรมทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ ผลเสยี เชน่ การเคลอื่ นทข่ี องไสเ้ ดอื นดนิ
ในกลอ่ งรปู ตวั T หลงั จากทดลองซำ้� ๆ มนั จะไมไ่ ปดา้ นทม่ี กี ระแสไฟฟา้ อกี คนกเ็ ลอื กกนิ รา้ นอาหารทอี่ รอ่ ย คางคกไมก่ นิ สตั ว์
ทมี่ ลี กั ษณะคลา้ ยผง้ึ เพราะกลวั โดนตอ่ ย
5. การใชเ้ หตผุ ล (reasoning) มกั พบในสตั วท์ ม่ี สี มองสว่ นหนา้ เจรญิ ดี จงึ เกดิ การเรยี นรทู้ ด่ี กี วา่ สตั วอ์ น่ื เปน็ พฤตกิ รรม
การเรยี นรขู้ นั้ สงู สดุ เกดิ จากการประยกุ ตใ์ ชป้ ระสบการณห์ ลายๆ แบบเพอื่ แกป้ ญั หา เชน่ ลงิ ชมิ แพนซเี อากลอ่ งมาซอ้ นกนั
เพอ่ื ปนี ขนึ้ ไปหยบิ กลว้ ยทแ่ี ขวนไว้

ตวั อยา่ งแนวขอ้ สอบ

พฤตกิ รรมในขอ้ ใดทสี่ ง่ิ แวดลอ้ มมอี ทิ ธพิ ลนอ้ ยทส่ี ดุ
ก. ปลาวา่ ยนำ�้ แบบตงั้ ฉากกบั แสงอาทติ ย์
ข. รเี ฟลก็ ซแ์ อกชนั ทข่ี ากระตกุ เมอื่ ถกู เคาะเบาๆ ทห่ี วั เขา่
ค. การเรยี นรแู้ บบฝงั ใจระหวา่ งลกู ไกก่ บั สง่ิ ทม่ี นั เหน็ เมอื่ แรกเกดิ
ง. คางคกไมก่ นิ ผงึ้ หรอื แมลงทม่ี ลี กั ษณะคลา้ ยผง้ึ

เฉลย

ข. เปน็ พฤตกิ รรมทต่ี อบสนองโดยทนั ทไี มร่ อใหส้ มองสง่ั การเพอ่ื หลกี หนอี นั ตราย

ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 27

• พฤตกิ รรมทางสงั คม (Social behavior) สตั วท์ กุ ชนิดต้องมกี ารส่ือสารซ่ึงกันและกนั เมอ่ื มาอยู่รวมกนั เปน็ กลุ่ม มีหลายวิธี
ดงั น้ี
1) เสยี ง เชน่ จง้ิ หรดี เพศผสู้ ง่ เสยี งเรยี กจง้ิ หรดี เพศเมยี ลกู ไกส่ ง่ เสยี งเรยี กหาแมไ่ ก่ การใชค้ ลน่ื เสยี งความถสี่ งู ของ
โลมาและคา้ งคาว
2) ทา่ ทาง เชน่ แมวพองขนเพอ่ื ขศู่ ตั รู การกระดกิ หางของสนุ ขั เมอ่ื ดใี จ นกยงู เพศผรู้ ำ� แพนหางเพอื่ เกย้ี วพาราสี
เพศเมยี ผง้ึ เตน้ รำ� แบบวงกลมเพอื่ บอกวา่ อาหารอยใู่ กลแ้ ละเตน้ แบบเลข 8 เพอ่ื บอกตำ� แหนง่ และระยะทางของอาหาร
3) สารเคมี เชน่ การใชฟ้ โี รโมนเพอื่ เตอื นภยั ของผง้ึ ฟโี รโมนของนางพญาผง้ึ กระตนุ้ ใหผ้ ง้ึ ตวั ผผู้ สมพนั ธด์ุ ว้ ย สนุ ขั ฉ่ี
บอกอาณาเขต สกงั๊ คป์ ลอ่ ยกลนิ่ เหมน็ มาเพอ่ื ปอ้ งกนั ตวั
4) สมั ผสั เชน่ ลกู ออ่ นชอบกอดแม่ แมลงสาบใชห้ นวดสมั ผสั สง่ิ ของ สนุ ขั เลยี ปากใหต้ วั ทเี่ หนอื กวา่

นอ้ งๆ ศึกษาเพม่ิ เติมได้ท่ี
Tag : สอนศาสตร,์ ชีววิทยา, เซลล,์ การแบ่งเซลล,์ พฤตกิ รรม

• 09 : พฤติกรรมสัตว์
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch2-1
• ชีววิทยา ม.ปลาย - พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ตอนที่ 1
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch2-2
• ชีววิทยา ม.ปลาย - พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ตอนที่ 2
http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch2-3

บันทึกชว่ ยจำ�

28 ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

บทที่ 5

พันธศุ าสตร์

พนั ธศุ าสตร์ (genetic)

สำ� หรบั เนอ้ื หาสว่ นของพนั ธศุ าสตรน์ มี้ คี อ่ นขา้ งเยอะ (ออกขอ้ สอบทกุ ปี เปน็ เรอ่ื งทอ่ี อกเยอะทส่ี ดุ ในสว่ นชวี วทิ ยาดว้ ย) พจ่ี ะยก
ประเดน็ สว่ นทนี่ า่ สนกุ ขอ้ สอบออก และนอ้ งๆ ควรรนู้ ะ

1. ความหมาย

- พนั ธศุ าสตร ์ คอื วชิ าทศ่ี กึ ษาเกย่ี วกบั การทำ� งานของยนี (Gene) ซง่ึ เปน็ หนว่ ยควบคมุ การถา่ ยทอดลกั ษณะตา่ งๆ จากรนุ่ พอ่

แมไ่ ปยงั รนุ่ ลกู รนุ่ หลาน และ ความแปรผนั ของลกั ษณะตา่ งๆ ของสง่ิ มชี วี ติ

- พนั ธกุ รรม คอื ลกั ษณะตา่ งๆ ของสง่ิ มชี วี ติ ทส่ี ามารถถา่ ยทอดจากรนุ่ หนง่ึ ไปยงั รนุ่ ตอ่ ๆ ไปได้ โดยมกี ระบวนการสบื พนั ธเ์ุ ปน็

สอ่ื กลาง

- ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรม คอื ลกั ษณะของสง่ิ มชี วี ติ ทถี่ กู ควบคมุ โดยกรดนวิ คลอี กิ ชนดิ DNA หรอื RNA ทสี่ ามารถถา่ ยทอด

จากรนุ่ หนงึ่ ไปยงั รนุ่ ตอ่ ๆ ไป โดยอาศยั เซลลส์ บื พนั ธ์ุ

ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมของสง่ิ มชี วี ติ อาจเกดิ ขนึ้ และเปลย่ี นแปลงไปไดโ้ ดยปจั จยั 2 ประการ คอื

1) พนั ธกุ รรม 2) สงิ่ แวดลอ้ ม

และแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คอื

1. ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทม่ี คี วามแปรผนั ตอ่ เนอ่ื ง

เปน็ ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทม่ี คี วามลดหลนั่ กนั ทลี ะนอ้ ย สามารถนำ� มาเรยี งลำ� ดบั กนั ได้ สง่ิ แวดลอ้ มมผี ล เชน่

ความสงู นำ�้ หนกั สผี วิ เปน็ ตน้

2. ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทมี่ คี วามแปรผนั ไมต่ อ่ เนอ่ื ง

เปน็ ลกั ษณะทแ่ี บง่ เปน็ กลมุ่ ไดอ้ ยา่ งชดั เจน สง่ิ แวดลอ้ มไมม่ ผี ล เชน่ หมเู่ ลอื ด ลกั ษณะผวิ เผอื ก ลกั ยมิ้ ตง่ิ หู การ

หอ่ ลนิ้ เปน็ ตน้

(ใหค้ วามหมายและความแตกตา่ งชดั ขนาดนี้ อยา่ ใหข้ อ้ สอบหลอกไดน้ ะ)

2. บดิ าแหง่ พนั ธศุ าสตร์

เกรเกอร ์ เมนเดล (GREGOR MENDEL) บาทหลวงชาวออสเตรยี ไดท้ ำ� การทดลองผสมถว่ั ลนั เตาทม่ี ลี กั ษณะตา่ งๆ กนั 7 ลกั ษณะ
ซง่ึ กระจายอยบู่ นโครโมโซมตา่ งทอ่ นกนั นานถงึ 7 ปี จงึ คน้ พบกฎเกณฑก์ ารถา่ ยทอดลกั ษณะตา่ งๆ
นอ้ งๆ รไู้ หม ทำ� ไมเมนเดลถงึ เลอื กศกึ ษาถว่ั ลนั เตา ??
เนอื่ งจาก ลกั ษณะของสง่ิ มชี วี ติ ทคี่ วรเลอื กใชม้ าศกึ ษาในทางพนั ธศุ าสตร์ คอื
1. ปลกู งา่ ย อายสุ น้ั ผลดก
2. มกี ารแปรผนั มาก มคี วามแตกตา่ งของลกั ษณะทตี่ อ้ งศกึ ษาชดั เจนและสามารถหาพนั ธแ์ุ ทไ้ ดง้ า่ ย
3. เมอ่ื มกี ารผสมพนั ธ์ุ มกี ารรวมตวั กนั ของลกั ษณะพอ่ และแม่ (recombination)
4. ควบคมุ การผสมพนั ธไ์ุ ด้ สามารถกำ� หนดลกั ษณะตา่ งๆ เขา้ ผสมกนั ไดต้ ามตอ้ งการ

ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 29

กฎเกณฑก์ ารถา่ ยทอดลกั ษณะตา่ งๆ
กฎขอ้ ท่ี 1 กฎแหง่ การแยกตวั ( LAW OF SEGREGATION )
กฎขอ้ ท่ี 2 กฎแหง่ การรวมกลมุ่ อยา่ งอสิ ระ ( LAW OF INDEPENDENT ASSORTMENT )

3. ยนี และ โครโมโซม

ยีน (gene) คอื หน่วยควบคุมลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมของส่ิงมีชวี ิต บรรจอุ ยู่ในโครโมโซม (chromosome) ตำ� แหน่งของยีน
ในโครโมโซม เรียกวา่ โลกัส (logus)
ในสงิ่ มีชวี ิตท่ัวไปจะมโี ครโมโซมเหมอื นกันเป็นคๆู่ (homologus chromosome) ดังนนั้ โลกสั จึงหมายถึง 2 ยนี ท่อี ยู่ตรงกนั บน
โฮโมโลกสั โครโมโซม ซง่ึ ยีนต่างชนดิ กันอยู่บนโลกัสเดยี วกัน เรยี กวา่ เปน็ แอลลลี (allele) กนั

4. การถา่ ยทอดลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทถ่ี กู ควบคมุ โดยยนี ดอ้ ยบนออโตโซม (Autosome) และโครโมโซมเพศ (Sex
Chromosome)

- โครโมโซมรา่ งกาย (somatic chromosome) หรอื ออโตโซม (autosome) เปน็ โครโมโซมทคี่ วบคมุ ลกั ษณะตา่ งๆ ของรา่ งกาย
จะมเี หมอื นกนั ทงั้ เพศชายและเพศหญงิ
- โครโมโซมเพศ (sex chromosome) หรอื อัลโลโซม (allosome) เปน็ โครโมโซมที่มีรปู ร่างแตกตา่ งกันไปในทง้ั เพศชายและ
เพศหญิงโดยทั่วไปมักเก่ียวขอ้ งกับการกำ� หนดเพศ คอื
ในเพศหญงิ จะมอี ลั โลโซมเปน็ XX
ในเพศชาย จะมอี ลั โลโซมเปน็ XY
ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทถี่ กู ควบคมุ โดยยนี ดอ้ ยบนโครโมโซม X
1. โรคฮโี มฟเิ ลยี (Hemophilia)
2. โรคตาบอดสี (Color Blindness)
3. โรคกลา้ มเนอื้ แขนขาลบี
4. โรค G-6-PD
**โรคทเ่ี หลอื มกั เกดิ จาก Autosome ฉะนนั้ พขี่ อใหน้ อ้ งๆ จำ� 4 โรคนจี้ าก Allosome ใหไ้ ดน้ ะ !!

สตู รจำ� กค็ อื บอด-ลา้ น-ฮ-ี six = ผดิ (ปกตทิ โ่ี ครโมโซม) เพศ**

ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทถี่ กู ควบคมุ โดยยนี ดอ้ ยบนออโตโซม
เชน่ 1. อาการผวิ เผอื ก (Albino)
2. โรคทาลสั ซเี มยี (Thalassemia)
3. โรคโลหติ จางชนดิ ซกิ เคลิ เซลล์ (Sickle Cell Anemia)

5. พงศาวลี หรอื พนั ธปุ ระวตั ิ (Pedigree)

เรอื่ งนก้ี ฮ็ อตฮติ มากเลยนะในขอ้ สอบ O-NET อาศยั ความเขา้ ใจเปน็ หลกั นอ้ งๆ ทกุ คนตอ้ งคดิ ใหเ้ ปน็ นะ
พงศาวลี คอื แผนภาพแสดงความสมั พนั ธใ์ นการถา่ ยทอดลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทตี่ อ้ งการศกึ ษาของครอบครวั หรอื ตระกลู หนงึ่ ๆ

30 ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

กอ่ นอน่ื เรามารจู้ กั ลกั ษณะจโี นไทปแ์ ละฟโี นไทปก์ นั
จโี นไทป์ (Genotype) หมายถงึ รปู แบบของยนี ทค่ี วบคมุ ฟโี นไทปต์ า่ งๆ เชน่ จโี นไทปท์ ค่ี วบคมุ ความยาวของลำ� ตน้ ถว่ั มไี ด้ 3 แบบ
ไดแ้ ก่ TT, Tt และ tt
ฟโี นไทป์ (Phenotype) หมายถงึ ลกั ษณะของสง่ิ มชี วี ติ ทปี่ รากฏออกมาใหเ้ หน็ ไดด้ ว้ ยตา เชน่ สขี องดอกถว่ั สผี วิ ของคน ลกั ษณะ
ของเสน้ ผม หมเู่ ลอื ด เปน็ ตน้
เขา้ ใจนยิ ามกนั ไหมเอย่ งน้ั มาดขู องจรงิ กนั เลย
ยนี ในโครโมโซมรา่ งกาย
1. ยนี ทค่ี วบคมุ หมเู่ ลอื ด ABO

จโี นไทป์ ฟโี นไทป์ (หมเู่ ลอื ด) O
AB
IAIA , IAi A
IBIB , IBi B AB
IAIB AB
ii O

แผนภาพการใหเ้ ลอื ด

2. ยนี ทค่ี วบคมุ หมเู่ ลอื ด Rh

จโี นไทป์ ฟโี นไทป์ (หมเู่ ลอื ด)

DD, Dd หมเู่ ลอื ด Rh+
dd หมเู่ ลอื ด RH-

3. ยนี ทที่ ำ� ใหเ้ กดิ โรคทาลสั ซเี มยี เกดิ จากยนี ผดิ ปกตคิ อื ยนี ดอ้ ยบนโครโมโซมคทู่ ่ี 16 และ 11 บนสายพอลเิ ปปไทด์ แบบ
อลั ฟาและเบตา้ ตามลำ� ดบั ซงึ่ เกดิ ในฮโี มโกลบนิ ของเมด็ เลอื ดแดง

จโี นไทป์ ฟโี นไทป์ (หมเู่ ลอื ด)
ปกติ
TT
Tt (พาหะ) เปน็ โรคทาลสั ซเี มยี

tt

ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 31

ยนี ในโครโมโซมเพศ
• ยนี ทอี่ ยใู่ นโครโมโซม x
1. โรคตาบอดสี

จโี นไทป์ ฟโี นไทป์
คา่ ปกติ
ชาย หญงิ ตาบอดสี

XCY XCXC ฟโี นไทป์
XCY XCXC (พาหะ) ปกติ

โรคโลหติ ไหลไมห่ ยดุ
2. โรคฮโี มฟเี ลยี
ฟโี นไทป์
จโี นไทป์ หญงิ ปกติ
ชาย
ภาวะพรอ่ งเอนไซต์ G-6-PD
XHY XHXH
XHXh (พาหะ)

XhY XhXh

3. โรคภาวะพรอ่ งเอนไซม ์ G-6-PD

จโี นไทป์ หญงิ
ชาย

XGY XGXG
XGXg (พาหะ)

XgY XgXg

• ยนี ทอ่ี ยใู่ นโครโมโซม Y
จะถา่ ยทอดจากพอ่ ไปสลู่ กู ชาย และจากลกู ชายไปสหู่ ลานเทา่ นนั้ ยนี ทป่ี รากฏในโครโมโซม Y มอี ยนู่ อ้ ย เนอื่ งจากเปน็
โครโมโซมขนาดเลก็ ทสี่ ดุ เชน่ ยนี ทค่ี วบคมุ การมขี นยาวทห่ี ู (hairy ear) พบบอ่ ยในคนอนิ เดยี และพบเฉพาะในเพศชายและ
ลกู ชายทกุ คนหากเกดิ การถา่ ยทอดลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมนี้
ใหน้ ยิ ามอยา่ งเดยี วคงไมเ่ หน็ ภาพ ฉะนน้ั มาเลน่ เกมสก์ นั ดกี วา่

32 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

ขอ้ ท่ี 1 ถา้ พอ่ มหี มเู่ ลอื ด A แมม่ หี มเู่ ลอื ด B และมลี กู ชายทม่ี หี มเู่ ลอื ด O โอกาสทจี่ ะไดล้ กู สาวทม่ี หี มเู่ ลอื ด O เปน็ เทา่ ใด
เฉลย พอ่ มหี มเู่ ลอื ด A = IAi แมม่ หี มเู่ ลอื ด B = IBi Cross กนั ได้ ดงั น้ี

( ii ) Parents AO X BO
Gametes ( A ) ( O ) X ( B ) (O)

F1 generation AB BO AO OO

โอกาสทลี่ กู จะมหี มเู่ ลอื ด A = ¼ โอกาสทลี่ กู จะมหี มเู่ ลอื ด B = ¼
โอกาสทล่ี กู จะมหี มเู่ ลอื ด AB = ¼ โอกาสทล่ี กู จะมหี มเู่ ลอื ด O = ¼
โอกาสทจี่ ะไดล้ กู สาว = ½ โอกาสทจ่ี ะไดล้ กู ชาย = ½
ฉะนนั้ โอกาสทจ่ี ะไดล้ กู สาวทม่ี หี มเู่ ลอื ด O = ¼ x ½ = 1/8

ขอ้ ที่ 2 หญงิ คนหนง่ึ มลี กั ษณะผวิ เผอื กแตง่ งานกบั ชายทมี่ ผี วิ ปกต ิ มบี ตุ รสาว 1 คนทม่ี ผี วิ ปกติ และบตุ รชาย 1 คนทม่ี ผี วิ เผอื ก บตุ รชาย

แตง่ งานกบั หญงิ ทม่ี ผี วิ ปกติ และมบี ตุ รสาว 2 คนทมี่ ผี วิ ปกต ิ เพดดกี รขี องครอบครวั นเี้ ปน็ อยา่ งไร
กอ่ นอนื่ มาดสู ญั ลกั ษณแ์ ละหลกั การในการเขยี นเพดดกี รกี นั กอ่ น

แผนผงั แสดงสญั ลกั ษณข์ องเพดดกี รี

รปู จาก http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/01.htm

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 33

เฉลย ขอ้ นจี้ บั หลกั งา่ ยๆ เลย คอื สเี่ หลย่ี มแทนเพศชาย วงกลมแทนเพศหญงิ ผวิ ปกตสิ ขี าว ผวิ เผอื กทบึ ดำ� ดงั นนั้ เราจะเขยี นเพด

ดกี รไี ดเ้ ปน็
การเขยี นเพดดกี รี งา่ ยนดิ เดยี ว จรงิ ไหม

ขอ้ ท่ี 3

หากเพดดกี รนี แ้ี ทนโรคตาบอดส ี จงเขยี นจโี นไทปข์ อง

ลมื ยงั นะวา่ โรคตาบอดสเี กดิ จากโครโมโซมเพศ
ตามสตู ร บอด-ลา้ น-ฮ-ี six = ผดิ (ปกตทิ โ่ี ครโมโซม) เพศ**

เฉลย = XCXC = XCY



= XCY = XCXc

*หมายเหตุ : = XCXcเนอ่ื งจากลกู สาวจะไดร้ บั ยนี ดอ้ ย (Xc) จากพอ่ แตย่ งั ไดร้ บั ยนี เดน่ (XC) จากแมอ่ ยู่ ทำ� ใหย้ งั ไมเ่ ปน็ โรค แตเ่ ปน็ พาหะ

34 ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

ขอ้ ท่ี 4 สามภี รรยาคหู่ นง่ึ เปน็ พาหะทาลสั ซเี มยี ทเ่ี หมอื นกนั โอกาสทลี่ กู คนแรกจะไมเ่ ปน็ โรคน้ี คดิ เปน็ รอ้ ยละเทา่ ไหร่

เฉลย สง่ิ แรกทด่ี กู ค็ อื ...โรคทาลสั ซเี มยี เกดิ จากโครโมโซมรา่ งกายนะ
ไมใ่ ชโ่ ครโมโซมเพศ ฉะนน้ั เวลาคดิ กไ็ มต่ อ้ งกำ� หนดเพศ



Tt x Tt

TT , Tt , Tt , tt

จะเหน็ วา่ มยี นี เดน่ (T) ขม่ ยนี ดอ้ ย (t) หรอื โอกาสทลี่ กู คนแรกจะไมเ่ ปน็ โรคทาลสั ซเี มยี คดิ เปน็ ¾ = 75%

ขอ้ ที่ 5 โรคฮโี มฟเี ลยี เกดิ ในเพศชายมากกวา่ เพศหญงิ เพราะอะไร ??

ถงึ ขอ้ นโี้ จทยจ์ ะสนั้ แตต่ อ้ งใชค้ วามรเู้ รอ่ื งยนี ตอบนะ อธบิ ายใหไ้ ด้ อยา่ มว่ั กนั ละ่

เฉลย เนอ่ื งจากโรคฮโี มฟเี ลยี เกดิ จากยนี ดอ้ ยบนโครโมโซม X_ จโี นไทดข์ องเพศหญงิ คอื XX หมายความวา่ เพศหญงิ มโี ครโมโซม X ถงึ

2 โครโมโซม ในขณะทจ่ี โี นไทดข์ องเพศชายคอื XY ฉะนน้ั เพศชายจะมโี ครโมโซม X เพยี ง 1 โครโมโซม ซง่ึ ถา้ แมเ่ ปน็ โรคฮโี มฟเี ลยี ( XhXh )
และลกู ชายทตี่ อ้ งไดร้ บั โครโมโซม Y จากพอ่ และโครโมโซม Xhจากแม่ จงึ มโี อกาสเปน็ โรค 100% ในขณะทลี่ กู สาวหากไดร้ บั ยนี ดอ้ ย (Xh)
จากแม่ แตย่ งั ไดร้ บั ยนี เดน่ (XH) จากพอ่ กจ็ ะยงั ไมเ่ ปน็ โรคฮโี มฟเี ลยี แตเ่ ปน็ พาหะ

6. ความผดิ ปกตขิ องโครโมโซมมนษุ ย์

แบง่ ออกเปน็ 2 แบบ คอื
1) ความผดิ ปกตขิ องออโทโซม (โครโมโซมรา่ งกาย) เกดิ จากการเปลยี่ นแปลงของเซลลร์ า่ งกาย มคี วามผดิ ปกติ 2 ชนดิ คอื
- ความผดิ ปกตทิ จ่ี ำ� นวนออโทโซม เปน็ ความผดิ ปกตทิ จ่ี ำ� นวนออโทโซมใน บางคทู่ เี่ กนิ มา 1 โครโมโซม จงึ ทำ� ใหโ้ ครโมโซมใน
เซลลร์ า่ งกายทง้ั หมดเปน็ 47 โครโมโซม เชน่ ออโทโซม 45 แทง่ และโครโมโซมเพศ 2 แทง่
เพศหญงิ จงึ มโี ครโมโซม 45 + XX และเพศชายจงึ มโี ครโมโซม 45 + XY
เชน่ Down's syndrome = 21 เกนิ
Edward's syndrome = 18 เกนิ
Patau syndrome = 13 เกนิ
- ความผดิ ปกตขิ องรปู รา่ งออโตโซม เปน็ ความผดิ ปกตทิ อี่ อโทโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางสว่ น แตม่ จี ำ� นวนโครโมโซม
46 แทง่ เทา่ กบั คนปกติ
เชน่ Cri-du-chat syndrome or cat syndrome = 5 ขาด
Prader-Willi syndrome = 15 ขาด
2) ความผดิ ปกตขิ องโครโมโซมเพศ เปน็ ความผดิ ปกตทิ โ่ี ครโมโซมเพศแทง่ X หรอื แทง่ Y
เชน่ • Klinefelter’s syndrome = X เกนิ ในชาย เปน็ ความผดิ ปกตทิ เ่ี พศชายมโี ครโมโซม X เกนิ มา 1-2 โครโมโซม ทำ� ให้
มโี ครโมโซมรา่ งกายเปน็ 44 + XXYY หรอื 44 + XXXY

ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 35

• Turner’s syndrome = X ขาดในหญงิ เปน็ ความผดิ ปกตทิ เ่ี พศหญงิ มโี ครโมโซม X เพยี ง 1 โครโมโซม ทำ� ใหม้ โี ครโมโซม
รา่ งกายเปน็ 44 + X

7. สารพนั ธกุ รรม

สารพนั ธกุ รรม คอื สารชวี โมเลกลุ ประเภทกรดนวิ คลอิ กิ ทำ� หนา้ ทเี่ กบ็ ขอ้ มลู รหสั สำ� หรบั การทำ� งานของสงิ่ มชี วี ติ ตา่ งๆ เอาไว้ และ
เมอ่ื สง่ิ มชี วี ติ มกี ารสบื พนั ธ์ุ เชน่ เซลลม์ กี ารแบง่ เซลล์ กจ็ ะมกี ารแบง่ สารพนั ธกุ รรมนไี้ ปยงั เซลลท์ แี่ บง่ ไปแลว้ ดว้ ย โดยยงั คงมขี อ้ มลู ครบ
ถว้ น

กรดนวิ คลอิ กิ มี 2 ชนดิ คอื DNA และ RNA

สำ� หรบั รายละเอยี ดเรอ่ื งกรดนวิ คลอิ กิ เขยี นไวแ้ ลว้ ในบท สารชวี โมเลกลุ นะ
ถา้ นกึ ไมอ่ อก สงสยั ตอ้ งเปดิ กลบั ไปทวนกนั แลว้ แหละ

สง่ิ เปรยี บเทยี บ DNA RNA
1. ชนดิ นำ�้ ตาล ดอี อกซไี รโบส (C2H10O4) ไรโบส (C2H10O5)
2. หมฟู่ อสเฟต มี มี
3. ชนดิ เบส A, G, C, T A, G, C, U
4. โครงสรา้ งโมเลกลุ สว่ นใหญเ่ ปน็ เกลยี วคู่ (A+G/T+C=I) สว่ นใหญเ่ ปน็ สายเดยี ว (A+G/T+C=I)
5. ขนาดโมเลกลุ ใหญก่ วา่ เลก็ กวา่
6. ปรมิ าณในเซลล์ นอ้ ยกวา่ มากกวา่ DNA 5-10 เทา่
7. หนา้ ท่ี - เปน็ สารพนั ธกุ รรมของสง่ิ มชี วี ติ สว่ นใหญ่ - เปน็ สายพนั ธกุ รรมในสงิ่ มชี วี ติ บา้ งชนดิ
- เปน็ ตน้ แบบในการสงั เคราะหโ์ ปรตนี เชน่ ไวรอยด์ และไวรสั ทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ ไขห้ วดั ใหญ่
(influenza), เอดส์ (AIDS), ใบดา่ งของยาสบู
(Tobacco mosaic virus) เปน็ ตน้
- เปน็ หนว่ ยปฏบิ ตั งิ านในการสงั เคราะหโ์ ปรตนี

** นอ้ งๆ รไู้ หม ออแกเนลลใ์ ด มี DNA เปน็ ของตวั เองบา้ ง ???

เฉลย ไมโตคอนเดรยี กบั คลอโรพลาสต์ นนั่ เอง

**เอะ๊ ! แลว้ อยา่ งแมลง ชา้ ง ลงิ เนยี่ มปี รมิ าณ DNA เทา่ กนั ไหมนะ ???

เฉลย ไมเ่ ทา่ กนั จา้ สง่ิ มชี วี ติ คนละสปชี สี ์ ยอ่ มมปี รมิ าณโครโมโซมทไ่ี มเ่ ทา่ กนั แลว้ อกี อยา่ งปรมิ าณ DNA ไมไ่ ดข้ น้ึ อยกู่ บั ขนาดตวั หรอื

ความซบั ซอ้ นของสง่ิ มชี วี ติ นนั้ ๆ นะ

36 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

8. กระบวนการสงั เคราะหโ์ ปรตนี

ประกอบดว้ ยขน้ั ตอน ดงั น้ี

กระบวนการ บรเิ วณทเี่ กดิ สารตง้ั ตน้ สารทไี่ ด้
ทรานสครปิ ชนั (transcription) นวิ เคลยี ส
ทรานสเลชนั (translation) ไซโทพลาซมึ DNA mRNA

mRNA กรดอะมโิ น

• ลำ� ดบั กรดอะมโิ นทไี่ ดต้ อ่ เปน็ สายพอลเิ ปปไทด์ ถอดรหสั ออกมาเปน็ โปรตนี

ลำ� ดบั เบส 1 ทรานสครปิ ชนั่ ลำ� ดบั เบส 2 ทรานสเลชน่ั
ใน DNA ใน mRNA
ลำ� ดบั กรดอะมโิ นใน
โปรตนี พอลเิ พปไทด์

9. โรคทางพนั ธกุ รรม

หวั ขอ้ น้ี ขอ้ สอบอาจจะหยบิ ยกมาถามได้ แตไ่ มถ่ งึ ขนั้ ลกึ มาก เนอื่ งจากโรคทางพนั ธกุ รรมมมี ากมาย ฉะนน้ั พขี่ อยกตวั อยา่ งโรค
เดน่ ๆ ใหเ้ ปน็ concept ทน่ี อ้ งๆ ตอ้ งจำ� กนั เลยนะ
- โรคซสี ตกิ ไฟโบรซสี (Cystic fibrosis)
เยอ่ื เมอื กหนามากในปอดและลำ� ไส้ ทำ� ใหห้ ายใจลำ� บากหรอื ปอดอาจตดิ เชอ้ื ได้ และยอ่ ยอาหารไดย้ าก สาเหตเุ กดิ จาก
การผา่ เหลา่ ในอลั ลลี ลกั ษณะดอ้ ย
- โรคซกิ เกลิ เซลล์ (Sickle-cell)
เกดิ จากการผา่ เหลา่ เซลลเ์ มด็ เลอื ดแดงมรี ปู รา่ งแบบรปู เคยี วทำ� ใหล้ ำ� เลยี งออกซเิ จนไดน้ อ้ ยและสรา้ งฮโี มโกลบนิ ใหม้ ี
รปู รา่ งผดิ ปกติ
- โรคฮโี มฟเิ ลยี (Hemophilia)
เกดิ ความผดิ ปกตขิ องยนี ทคี่ วบคมุ การสรา้ งฮโี มโกลบนิ เลอื ดแขง็ ตวั ชา้ หรอื ไมแ่ ขง็ ตวั เลยคนทเี่ ปน็ โรคนถี้ า้ มบี าดแผล
เลอื ดจะไหลไมห่ ยดุ อาจเสยี ชวี ติ ฟกชำ้� งา่ ย ชายเปน็ มากกวา่ หญงิ

***แตน่ อ้ งๆ อยา่ ลมื นะวา่ โรคทเี่ กดิ จากออโตโซมนน้ั ตอ้ งไดร้ บั แอลลลี ทผี่ ดิ ปกติ จากพอ่ และแมเ่ ทา่ นนั้ จงึ จะเกดิ โรคได้ ฉะนนั้ หาก
ไดร้ บั แอลลลี จากพอ่ หรอื แม่ ผดิ ปกต1ิ แอลลลี แตอ่ กี 1 แอลลลี ยงั ปกตอิ ยู่ กจ็ ะเปน็ พาหะ แตย่ งั ไมถ่ งึ กบั เปน็ โรคนะ

ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 37

10. การผา่ เหลา่ (Mutation)

การเปลย่ี นแปลงของสง่ิ มชี วี ติ อยา่ งรวดเรว็ โดยมกั จะเปลยี่ นแปลงในระดบั ยนี ทำ� ใหส้ ง่ิ มชี วี ติ มลี กั ษณะตา่ งจากปกติ หรอื ทเี่ รยี ก
วา่ เกดิ การกลายพนั ธ์ุ สามารถเกดิ ขนึ้ เองตามธรรมชาตไิ ด้ ทำ� ใหเ้ กดิ การเปลย่ี นแปลงซงึ่ อาจไดล้ กั ษณะตามทพ่ี งึ ประสงค์ หรอื ไมพ่ งึ
ประสงคก์ ไ็ ด้
ฉะนนั้ มวิ เทชนั จดั เปน็ กลไกการเกดิ ววิ ฒั นาการที่
- ทำ� ใหด้ ขี นึ้ คอื ทำ� ใหส้ งิ่ มชี วี ติ ทเ่ี กดิ มวิ เทชนั นน้ั สามารถอยรู่ อดในธรรมชาตไิ ดด้ กี วา่ เดมิ
- ทำ� ใหแ้ ยล่ ง คอื ทำ� ใหส้ ง่ิ มชี วี ติ ทเ่ี กดิ มวิ เทชนั นนั้ เกดิ โรค หรอื เกดิ ภาวะตา่ งๆ ที่ ไมเ่ ออื้ อำ� นวยตอ่ การมชี วี ติ อยไู่ ด้
** ปจั จยั ทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ มวิ เทชนั ทเี่ รยี กวา่ มวิ ทาเจน (mutagen) เปน็ ตวั กระตนุ้ หรอื ตวั ชกั นำ� ทำ� ใหเ้ กดิ มวิ เทชนั ไดแ้ ก่ รงั สี สารเคมี
จลุ นิ ทรยี ์
แตถ่ า้ เกดิ ความผดิ ปกตทิ างพนั ธกุ รรม อยา่ โทษแตเ่ พราะมวิ เทชนั นะ เพราะอาจเกดิ จากปจั จยั ทน่ี อกเหนอื จากมวิ เทชนั ได้ เชน่
genetic drift สารมวิ ทาเจน เปน็ ตน้
• ระดบั การเกิดมิวเทชัน
- มวิ เทชนั ของยนี (gene mutation or point mutation)
เกดิ จากการเปลย่ี นแปลงของ”เบส” ( A,T,C,G ) โดยอาจเปลยี่ นทช่ี นดิ โครงสรา้ งหรอื ลำ� ดบั ของเบสกไ็ ด้ สง่ ผลไปยงั
กรดอะมโิ น ในสายพอลเิ ปปไทดท์ เ่ี ปลยี่ นไป ทำ� ใหโ้ ปรตนี ทส่ี รา้ งขน้ึ มามคี ณุ สมบตั ทิ างเคมตี า่ งไปจากเดมิ หรอื หมดสภาพไป
เชน่ โรค sickle cell anemia
- มวิ เทชนั ของโครโมโซม (chromosomal mutation)
เปน็ ความผดิ ปกตทิ เ่ี กดิ ไดท้ งั้ ในโครโมโซมรา่ งกายและโครโมโซมเพศ แบง่ เปน็ 2 ประเภท คอื
1. การเปลยี่ นแปลงรปู รา่ งโครงสรา้ งภายในของโครโมโซม เ กดิ จากโครโมโซมขาดหายไป(deletion) ห รอื เพม่ิ ขน้ึ มา
(duplication) หรอื สลบั ที่ (translocation)
2. การเปลยี่ นแปลงจำ� นวนโครโมโซม
โดยการเพมิ่ ขนึ้ หรอื ลดลงของจำ� นวนโครโมโซม แบง่ เปน็ 2 ลกั ษณะ
- แอนพู ลอยดี (aneuploidy) เพมิ่ /ลด เปน็ ทอ่ น เชน่ โรคดาวนซ์ นิ โดรม
- ยพู ลอยดี (euploidy) เพม่ิ /ลด เปน็ ชดุ หรอื เปน็ ความผดิ ปกตทิ ม่ี กั พบในพชื แตห่ ากเกดิ ในสตั ว์
จะทำ� ใหเ้ ปน็ หมนั
• เอ..แลว้ นอ้ งๆ รไู้ หมนะ วา่ วธิ กี ารขยายพนั ธใ์ุ นพชื วธิ ใี ดทำ� ใหม้ โี อกาสเกดิ การกลายพนั ธส์ุ งู ทส่ี ดุ ??

ตอบ การเพาะเมลด็ เพราะการเพาะเมลด็ เปน็ การสบื พนั ธแ์ุ บบอาศยั เพศมกี ารแบง่ เซลลแ์ บบไมโอซสี มโี อกาสเกดิ การแลกเปลยี่ นชนิ้

สว่ นของยนี (Crossing over)
ลมื เรอื่ งการแบง่ เซลลก์ นั ไปหรอื ยงั ถา้ ลมื แลว้ กลบั ไปทวนเรว็ !!!

11. พนั ธวุ ศิ วกรรม (genetic engineering)

คอื กระบวนการตดั ตอ่ ยนี จากการสงั เคราะหข์ น้ึ หรอื จากสงิ่ มชี วี ติ ตา่ งๆ ทม่ี ยี นี ทตี่ อ้ งการเขา้ ดว้ ยกนั แลว้ นำ� ไปใสใ่ นสงิ่ มชี วี ติ ชนดิ
หนง่ึ (host) เพอ่ื ผลติ สารโปรตนี ตามทตี่ อ้ งการ
จดุ เดน่ คอื เปน็ กระบวนการทที่ ำ� ใหเ้ กดิ การแปรผนั ของยนี อยา่ งรวดเรว็ ตรงตามจดุ ประสงค์ และสามารถผสมขา้ มสายพนั ธไ์ุ ด้
เชน่ ในเซลลแ์ บคทเี รยี มยี นี อนิ ซลู นิ ของคน เปน็ ตน้

38 ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

นอ้ งๆ รไู้ หม เทคโนโลยชี วี ภาพใดเกา่ แกท่ ส่ี ดุ >>>>>>>>>
เทคโนโลยกี ารหมกั เชน่ การทำ� ปลารา้ ปลาจอ่ ม การหมกั เตา้ เจยี้ ว เปน็ ตน้

• หลกั การตดั ตอ่ DNA ในกระบวนการพนั ธวุ ศิ วกรรม มดี งั นี้
1. การสรา้ ง DNA สายผสม (recombinant DNA )
- การเตรยี ม DNA ทต่ี อ้ งการจากการสงั เคราะห์ หรอื จากแหลง่ ทต่ี อ้ งการโดยใชเ้ อนไซมต์ ดั จำ� เพาะ (restriction
enzyme )
- การเตรยี มพาหะ DNA (DNA vector) เชน่ พลาสมดิ คอสมดิ เฟจ
- นำ� DNA ทต่ี อ้ งการเชอื่ มตอ่ กบั DNA vector ดว้ ยเอนไซม์ DNA ligase
2. การนำ� DNA สายผสมเขา้ สเู่ ซลลเ์ จา้ บา้ น (host)
ตวั อยา่ งของหวั ขอ้ นที้ เี่ หน็ ไดช้ ดั และออกขอ้ สอบบอ่ ย คอื
GMOs
GMOs ยอ่ มาจาก Genetically Modified Organisms คอื สง่ิ มชี วี ติ ทไี่ ดจ้ ากการดดั แปลงหรอื ตดั แตง่ พนั ธกุ รรมใหไ้ ด้
ลกั ษณะตามทตี่ อ้ งการดว้ ยวธิ กี ารทางพนั ธวุ ศิ วกรรมเทา่ นน้ั ใชใ้ นอตุ สาหกรรมอาหารและยา และยงั มจี ลุ นิ ทรยี ์ GMO ทมี่ ี
คณุ สมบตั พิ เิ ศษในการกำ� จดั คราบนำ�้ มนั ไดด้ ี
แตเ่ รามกั ไดย้ นิ คำ� วา่ พชื GMOs บอ่ ย นอ้ งๆ รไู้ หมวา่ เพราะอะไร??
เรานยิ มทำ� GMOs ในพชื เชน่ ฝา้ ย ขา้ วโพด มนั ฝรง่ั มะละกอ เพราะวา่ ทำ� ไดง้ า่ ยกวา่ สตั ว์ และสามารถศกึ ษาพชื
GMOs ไดห้ ลายๆ ชว่ั อายขุ องพชื (Generation) เพราะวา่ พชื มอี ายสุ นั้ กวา่ สตั ว์ อาจเรยี กพชื GMOs ไดอ้ กี ชอ่ื หนง่ึ วา่ Transgenic
Plant
• ขอ้ ดขี องพชื GMOs
เนอื่ งจากเราสามารถตดั แตง่ พนั ธกุ รรมพชื ไดต้ ามตอ้ งการ เมอื่ ปรบั ปรงุ พนั ธแ์ุ ลว้ จะทำ� ใหพ้ ชื ....
1. สามารถตา้ นทานโรคพชื ชนดิ รนุ แรงได้
2. สามารถตา้ นทานตอ่ ยาปราบวชั พชื
3. สามารถตา้ นทานอณุ หภมู ติ ำ่� ๆ ได้
4. สามารถขยายอายกุ ารเกบ็ ได้
5. ทนตอ่ สภาพการขนสง่ ไดด้ ขี นึ้
6. มผี ลตอ่ การแปรรปู
7. มคี ณุ คา่ ทางโภชนาการสงู ขน้ึ
• ขอ้ เสยี ของพชื GMOs
1. สารอาหารจาก GMOs อาจมสี งิ่ ปนเปอ้ื นทเ่ี ปน็ อนั ตราย
2. ความกงั วลในเรอ่ื งของการเปน็ พาหะของสารพษิ เชน่ ความกงั วลทว่ี า่ DNA จากไวรสั ทใี่ ชใ้ นการทำ�
GMOs อาจเปน็ อนั ตราย
3. สารอาหารจาก GMOs อาจมคี ณุ คา่ ทางโภชนาการไมเ่ ทา่ อาหารปกตใิ นธรรมชาติ
4. ความกงั วลตอ่ การเกดิ สารภมู แิ พ้ (allergen) หรอื การดอื้ ยา
5. การตบแตง่ พนั ธกุ รรมในสตั วป์ ลอดภยั ตอ่ ผบู้ รโิ ภคหรอื ไม่
หวั ขอ้ สดุ ทา้ ยทค่ี อ่ นขา้ งเดน่ ในเรอ่ื งนแ้ี ละขอ้ สอบชอบออก กค็ อื ..


ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 39

• ฝา้ ย BT
เกดิ จากการถา่ ยยนี ทสี่ รา้ งสารพษิ จากแบคทเี รยี Bacillus thuringiensis หรอื เรยี กยอ่ วา่ BT สารพษิ นส้ี ามารถ
ทำ� ลายตวั ออ่ นของแมลงบางประเภทแบบเฉพาะ “เจาะจง” โดยไมเ่ ปน็ อนั ตรายตอ่ สง่ิ มชี วี ติ อน่ื

เซลลแ์ ละการแบง่ เซลล์

• หากพดู ถงึ เรอ่ื งนี้ กม็ กั จะเปน็ บททเี่ ราเรยี นกนั แรกๆ เลยเพราะฉะนนั้ หลายคนพอกำ� ลงั จะเตรยี มตวั สอบกม็ กั จะลมื บทนไี้ ปเลย
เพราะวา่ อา่ นมานานมากแลว้ และเปน็ บททอ่ี าศยั ความจำ� คอ่ นขา้ งเยอะซะดว้ ยสนิ ะแลว้ จะทำ� ยงั ไงดหี ละ ก ไ็ มใ่ ชเ่ รอ่ื งยากอะไร
หรอกนะ กแ็ ค่ จบั ประเดน็ ใหต้ รงจดุ แลว้ เนน้ ใหแ้ มน่ ๆ ไปเลย
• สำ� หรบั ตรงจดุ น้ี พขี่ อบอกเลยวา่ เนอื้ หาทค่ี วรจำ� ได้ นอ้ งกต็ อ้ งทอ่ ง แลว้ ฝกึ หดั เขยี นแลว้ แหละ อยา่ งเชน่ พวก organelle อะไร
ทำ� หนา้ ทอ่ี ะไร และแตล่ ะอนั ตา่ งกนั ยงั ไงอาจจะทำ� เปน็ ตารางเปรยี บเทยี บกไ็ ด ้ organelle ชนดิ ไหนทม่ี เี ฉพาะในพชื organelle
ชนดิ ไหนทม่ี เี ฉพาะในสตั ว์ หรอื มเี ฉพาะในแบคทเี รยี พวกนน้ี อ้ งคงตอ้ งทอ่ ง แลว้ ฝกึ หดั เขยี นเปรยี บเทยี บเปน็ ตารางแลว้ หละ
นะ อยา่ งทเี่ คยบอก หยบิ มนั ขน้ึ มาดบู อ่ ยๆ แคน่ น้ั เองเดยี วมนั จะซมึ ซบั เขา้ ไปในสมองเอง เชอื่ พส่ี ิ พล่ี องแลว้
• หรอื จะใชว้ ธิ เี ปรยี บเทยี บกบั สง่ิ แวดลอ้ มรอบๆตวั วา่ พชื สว่ นใหญม่ สี เี ขยี ว(chlorophyll)ซงึ่ จะอยใู่ นคลอโรพลาสต์(chloroplast)
แตใ่ นสตั วไ์ มม่ ี สว่ นเซลลข์ องพชื แขง็ กวา่ เซลลส์ ตั ว์ เพราะมผี นงั เซลล์ (cell wall) เปน็ ตน้

เพอ่ื ยำ้� อกี ครง้ั นอ้ งๆ เอาไปทอ่ งดนู ะ

ทม่ี า : http://www.animalcells.net/
✓ Chloroplast---cell wall---central vacuole---tonoplast ไอพ้ วกนไ้ี มม่ ใี นสตั วน์ ะจะ้
✓ Centriole –lysosome ไอพวกนไี้ มม่ ใี นพชื นะจะ้
✓ ไอ organelle ทม่ี เี ยอ่ื หมุ้ สองชน้ั มแี ค่ mitochondria กบั chloroplast เทา่ นน้ั เพราะเชอ่ื วา่ สองอนั นวี้ วิ ฒั นาการมาจาก
สงิ่ มชี วี ติ เซลลเ์ ดยี ว
เรื่องต่อมาของเซลลท์ นี่ อ้ งควรจะจำ� ไดแ้ ล้ว น้ันก็คอื เรอื่ งของ cell wall ในส่งิ มชี วี ติ แต่ละอาณาจกั ร ทโ่ี ดดเด่นเปน็ พเิ ศษเลยก็
คงเปน็
✓ Monera (เปน็ พวกแบคทเี รยี ไง จำ� ไดไ้ หมเอย่ ) พวกนจี้ ะมผี นงั เซลลเ์ ปน็ peptidoglycan ยกเวน้ mycoplasma ทเ่ี ปน็ แบคทเี รยี

ทมี่ ขี นาดเลก็ ทสี่ ดุ และแถมแปลกกวา่ ชาวบา้ นคอื มนั เปน็ monera ทไี่ มม่ ผี นงั เซลล์ แตก่ ไ็ มเ่ คยออกถามตรงๆ แบบนนี้ ะวา่ หมุ้
ดว้ ยอะไร เวลาโจทยถ์ ามมกั จะออกแนวแบบ ใหต้ วั อยา่ งสง่ิ มชี วี ติ มาหลายๆ ชนดิ ประมาน 5 ตวั เลอื ก แลว้ ถามวา่ อะไรตา่ ง
จากพวก หรอื อาจจะถามวา่ พวกไหนอยพู่ วกเดยี วกนั ซง่ึ นนั้ หมายถงึ นอ้ งกต็ อ้ งรวู้ า่ สงิ่ มชี วี ติ ชอ่ื ไหน มี cell wall แบบได อนั นี้
กต็ อ้ งจำ� หละนะ จดใสก่ ระดาษ ทอ่ งตอนกนิ ขา้ วกไ็ ด้ ออิ ิ

40 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

✓ Fungi (พวกนค้ี อื พวกเหด็ รา ทเี่ ราคนุ้ เคยไงจะ้ ) พวกนจี้ ะมี cell wall เปน็ chitin
✓ Plantae (จรงิ ๆ มนั มาจากคำ� วา่ plant ทแี่ ปลวา่ พชื ไง) พวกน้ี cell wall เปน็ cellulose

1. สง่ิ มชี วี ติ ชนดิ ใดทม่ี ผี นงั เซลล์ แตกตา่ งจากสง่ิ มชี วี ติ ชนดิ อน่ื
ก. สาหรา่ ยหางกระรอก
ข. เหด็ เขม็ ทอง
ค. สนฉตั ร
ง. ชบา
จ. วา่ นหางจระเข้

คำ� ตอบ อยา่ งทเี่ ราไดอ้ า่ นมาแลว้ ขา้ งหนา้ วา่ พวกพชื นน้ั เปน็ สง่ิ มชี วี ติ ทมี่ ผี นงั เซลลเ์ ปน็ พวก cellulose ดงั นน้ั เรากเ็ รม่ิ มาเชค็ กนั เลยวา่

อนั ไหนตา่ งจากพวก ปกตเิ วลาเราไดย้ นิ คำ� วา่ สาหรา่ ยแนน่ อนวา่ มนั ตอ้ งมผี นงั เซลลแ์ บบพชื แนน่ อนแตส่ งิ่ ทบ่ี างคนอาจจะสบั สนนน้ั กค็ อื
เรอื่ งของสาหรา่ ยสเี ขยี วแกมนำ�้ เงนิ ซงึ่ แมจ้ ะมชี อื่ ขน้ึ ตน้ วา่ สาหรา่ ยแตม่ นั เปน็ พวก แบคทเี รยี นะ ดงั นน้ั ขอ้ น้ี สาหรา่ ยหางกระรอกเปน็
พชื จา้ สว่ นอนั ตอ่ มาคอื เหด็ ซง่ึ เปน็ พวก fungi ซง่ึ ผา่ นมาสองตวั เลอื กแลว้ อนั หนงึ่ เปน็ พชื อนั หนง่ึ เปน็ ฟงั ไจ แสดงวา่ ถา้ อนั ตอ่ ไปเปน็ พชื
แสดงวา่ ตอบขอ้ น้ี อนั ทแ่ี ตกตา่ งจากพวกกค็ งจะเปน็ เหด็ เขม็ ทองแนน่ อน แลว้ ปรากฏวา่ สนฉตั รนนั้ เปน็ พวกพชื
ดงั นนั้ ขอ้ นเี้ ลยมคี ำ� ตอบคอื เหด็ เขม็ ทองเพราะวา่ มนั มผี นงั เซลลต์ า่ งจากพวกอนื่ คอื เปน็ chitin สว่ นตวั เลอื กสองอนั หลงั กเ็ ปน็
พชื ชบาเปน็ พชื ดอก และ วา่ นหางจระเขก้ เ็ ปน็ พชื ดอกถงึ แมว้ า่ เราจะไมเ่ คยเหน็ ดอกของวา่ นหางจระเขเ้ ลยกต็ าม
• สตั ว์ Animalia (นอ้ งลองดดู ดี นี ะถา้ หากวา่ ตดั – ia ออก มนั จะเปน็ Animal ไง นแี้ หละวธิ กี ารจำ� ) ไมม่ ี cell wall นะ

จะ้ นอ้ งจา๋
• Ribosome เปน็ organelle ทไี่ มม่ เี ยอื่ หมุ้ และมสี องสว่ น เพราะวา่ มนั ตอ้ งไปใชป้ ระกบกบั mRNA ในขนั้ การ

translation ดงั นน้ั นเี่ ลยเปน็ เหตทุ ท่ี ำ� ไมมนั ตอ้ งมสี องสว่ นและไมม่ เี ยอื่ หมุ้ แถมยงั เปน็ พวกอนิ ดไ้ี มม่ กี รอบ ชอบไป
ไหนมาไหน หลายทไ่ี มว่ า่ จะเปน็ nuclear membrane บน RER หรอื แมแ้ ตล่ อยบน cytosol กย็ งั มี
• สำ� หรบั เรอ่ื ง intermediate filament พม่ี วี ธิ จี ำ� ชนดิ ทปี่ ระกอบดว้ ย keratin คอื เจด็ อยา่ งพอดี และตรงกบั การนบั
พยางคข์ องคำ� วา่ in-ter-me-diate –fi-la-ment
• อกี จดุ หนง่ึ ทเ่ี รามกั จะ งง กนั นน้ั ก็ คอื ตบั (liver) กบั ตบั ออ่ น (pancreas)... ตบั เปน็ อวยั วะ (organ) ทส่ี ำ� คญั มากเลย
ทเี่ ดยี ว แตท่ ำ� หนา้ ทค่ี นละอยา่ งกบั ตบั ออ่ น (pancreas) นะจะ้ อยา่ เขา้ ใจผดิ หละ ดงั นนั้ เมอื่ มนั ทำ� หนา้ ทตี่ า่ งกนั มนั
ยอ่ มมี organelle ทอ่ี ยขู่ า้ งในมนั ตา่ งกนั ดว้ ย นนั้ กค็ อื
ตบั ออ่ น (pancreas)จะสรา้ งนำ้� ยอ่ ย และ hormone insulin ดงั นนั้ ตบั ออ่ นจงึ มี RER มากเปน็ พเิ ศษ(ถามวา่ เพราะอะไรกต็ อ้ ง
ตอบวา่ เนอ่ื งจาก นำ้� ยอ่ ยหรอื enzyme นนั้ เปน็ สารจำ� พวกโปรตนี และ hormone insulin กเ็ ปน็ สารจำ� พวกโปรตนี เชน่ กนั RER สรา้ ง
โปรตนี ดงั นนั้ มนั เลยตอ้ งมมี าก มากใน ตบั ออ่ น
สว่ นตบั (liver) เนอ่ื งจากมนั คอื แหลง่ ทอ่ี าหาร ยา ทกุ อยา่ งจะผา่ นตบั เสมอ ดงั นนั้ มนั คอื โรงงานกำ� จดั สารพษิ ขนาดใหญข่ อง
รา่ งกาย และ แถมยงั สามารถสรา้ ง steroid ไดด้ ว้ ย มนั เลยจำ� เปน็ ตอ้ งมี SER มากเปน็ พเิ ศษ (เชอื่ มโยงงา่ ยงา่ ยอกี นดิ หนง่ึ กค็ อื คนทช่ี อบ
ดมื่ สรุ า กม็ กั จะมปี ญั หาเรอื่ งตบั เพราะ สรุ ามี alcohol ซงึ่ ถอื เปน็ สารพษิ ตอ่ รา่ งกาย ตบั เลยอยนู่ ง่ิ ดดู ายไมไ่ ดต้ อ้ งออกโรงไปกำ� จดั แตถ่ า้
ดม่ื มากไปตบั กไ็ มไ่ หว มนั กเ็ รมิ่ มปี ญั หาบาดเจบ็ ขน้ึ มา เรากป็ ว่ ยเลย)
ดงั นน้ั สองตวั นี้ อยใู่ กลก้ นั แตอ่ ยา่ จำ� ผดิ นะครบั พเี่ ลยมวี ธิ ที อ่ งจำ� นน้ั กค็ อื
✓ “หนมุ่ หลอ่ หนา้ เซอร์ (SER) ชอบกนิ เหลา้ จนตบั พงั ”
• อกี เรอื่ งทนี่ อ้ งหลายคนมกั จะสบั สน สบั สน กค็ อื microtubule ซง่ึ microtubule มนั เหมอื นเปน็ ทอ่ ทอ่ ทเี่ รยี งกนั ถา้
เรยี งกนั แตกตา่ งกนั กเ็ รยี กแตกตา่ งกนั ดงั นี้

ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 41

แฟลเจลลา ภาพถา่ ยจากกลอ้ ง
จลุ ทรรศนอ์ เิ ลกตรอน
ไมโครทบู ลู ทอ่ คู่
ทอ่ี ยตู่ รงกลาง ไมโครทบู ลู ทอ่ คทู่ ่ี
อยรู่ อบนอก
ไมโครทบู ลู ทอ่ คู่ เยอื่ หมุ้ เซลล์
เยอ่ื หมุ้ เซลล์
แฟลเจลลา

เบซลั บอดี้ (basal body) เบซลั บอดี้
มโี ครงคลา้ ยเซนทรโี อล

ถา้ เรยี งแบบ 9+2 จะเรยี ก วา่ cilia หรอื flagellum (ถา้ ถามวา่ สองอนั นต้ี า่ งกนั ยงั ไงกค็ งจะตอบวา่ microtubule ภายในจดั เรยี ง
เหมอื นกนั คอื 9+2 และทำ� หนา้ ทใี่ นการเคลอื่ นทเี่ ชน่ เดยี วกนั แตส่ ง่ิ ทตี่ า่ งกนั คอื ขนาดและจำ� นวนมนั ตา่ งกนั กค็ อื ในหนงึ่ cell อาจจะมี
cilia หลายเสน้ มากมาก แตห่ นงึ่ cell จะมี flagellum ไมค่ อ่ ยเกนิ สองสามเสน้ และความยาวของ flagellum กย็ าวกวา่ มาก
ดงั นน้ั อยา่ ไปดวู า่ ใครยาวกวา่ กนั ใหด้ วู า่ โครงสรา้ งการจดั เรยี งภายในเปน็ อยา่ งไร work สดุ พดู งา่ ยๆ คอื จำ� ไปเถอะ ไปทำ� ความ
เขา้ ใจในหอ้ งสอบ เดยี๋ วจะทำ� ขอ้ สอบไมท่ นั จะหาวา่ พไี่ มเ่ ตอื น
ถา้ เรยี งแบบ 9+0 จะเรยี กวา่ Basal body หรอื centriole สองอนั นม้ี กี ารจดั เรยี ง microtubule ภายในเหมอื นกนั แตต่ ำ� แหนง่ และ
หนา้ ทท่ี ที่ ำ� ตา่ งกนั กลา่ วคอื วา่ basal มาจากคำ� วา่ base ซงึ่ แปลวา่ ฐาน ดงั นนั้ basal body มนั คอื ฐานของ cilia กบั flagellum เอาไวย้ ดึ
สว่ น centriole มบี ทบาทในตอนแบง่ เซลลไ์ งจะ๊
• อกี คำ� ถามแนวหนง่ึ ทเี่ จอบอ่ ยมกั เกย่ี วกบั การทดลองทเ่ี อาเซลลข์ องพชื (ซง่ึ มี cell wall ) และ สตั ว์ (ซงึ่ ไมม่ ี cell wall)

(แตอ่ ยา่ เขา้ ใจผดิ นะวา่ พชื มี cell wall แลว้ ไมม่ ี cell membrane เพราะทจ่ี รงิ พชื มที ง้ั สองอยา่ งเลยนะ แตส่ ตั วม์ แี ค่ cell
membrane) การทดลองอาจจะใหม้ าเปน็ รปู ภาพแลว้ ถามเราหรอื อาจจะบอกมาเลยวา่ เอา cell ใสเ่ ขา้ ไปในสารละลายทม่ี ี
ความเขม้ ขน้ แบบใด ถา้ ใหเ้ ปน็ รปู มา กใ็ หส้ งั เกตวา่ cell มนั เหย่ี วหรอื มนั จะระเบดิ แลว้ เอาเปน็ วา่ พม่ี วี ธิ จี ำ� มาฝากอกี แลว้
• iso แปลวา่ same ดงั นน้ั isotonic solution จงึ หมายถงึ เอาเซลลใ์ สใ่ นสารละลายทม่ี คี วามเขม้ ขน้ same กบั เซลล์ (เซลลไ์ ม่
เปลยี่ นแปลงใดๆ)
ถา้ เอาสารละลายของเราเรมิ่ แรกเปน็ ตวั ตง้ั แลว้ เปรยี บเทยี บกบั สารละลายอนั ใหมท่ เ่ี ราโยนเซลลล์ งไป เราจะเปรยี บเทยี บกนั
ดงั นี้ นนั่ กค็ อื ถา้ โยนในลงในสารทเ่ี ขม้ ขน้ กวา่ จะเรยี ก Hypertonic solution (เพราะ Hyper แปลวา่ มากกวา่ ) ซงึ่ ถา้ สารละลายภายนอก
เขม้ ขน้ กวา่ แสดงวา่ สารละลายนนั้ มนี ำ�้ ทนี่ อ้ ยกวา่ จรงิ ไหมเอย่ เมอื่ นำ�้ ระหวา่ งนอกเซลลก์ บั ในเซลลไ์ มส่ มดลุ นำ�้ เลยพากนั ออกไปจากเซลล์
เราเรยี กวา่ plasmolysis หรอื อาจจะจำ� วา่ พา (นำ้� ) โหมดเลยส ิ นำ้� โดนพาออกไปหมดเลยกเ็ ลยเหย่ี วเหมอื นลกู โปง่ แฟบลม แตถ่ า้ เทยี บกบั
สารละลายกอ่ นจะโยนลงไปแลว้ มนั เขม้ ขน้ นอ้ ยกวา่ ( เขม้ ขน้ นอ้ ยกวา่ กค็ อื สารละลายนนั้ มนี ำ�้ ละลายอยเู่ ยอะมาก ด งั นนั้ เมอ่ื เราเทยี บสารละลาย
ทเี่ ซลลเ์ คยอยกู่ อ่ นหนา้ กบั สารละลายทเ่ี ซลลก์ ำ� ลงั จะถกู โยนลงไปแลว้ พบวา่ เจอื จางกวา่ (เขม้ นอ้ ยกวา่ ) เราจะเรยี กวา่ Hypotonic solution
ซง่ึ คำ� วา่ Hypo มนั แปลวา่ นอ้ ยกวา่ ) คราวนแ้ี หละเซลลจ์ ะมนี ำ้� เยอะขน้ึ บวมขน้ึ จนบวมนำ�้ เขา้ แบบนเ้ี รยี ก endosmosis หรอื เกดิ แรงดนั

42 ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya

เตง่ (turgor pressure) ถา้ เปน็ เซลลส์ ตั วม์ สี ทิ ธทิ จ่ี ะแตกระเบดิ เลย แตถ่ า้ เปน็ เซลลพ์ ชื มนั จะถกู cell wall ดนั ไวไ้ มใ่ หใ้ หญไ่ ปกวา่ นี้ ดงั นน้ั
มนั เลยรอดจากการไมร่ ะเบดิ ตวั เองตาย โชคดไี ปเพราะมี cell wall ดงั นนั้ เวลาจะจำ� กจ็ ำ� เฉพาะปรากฏการณใ์ ดปรากฏการณห์ นง่ึ กพ็ อแลว้
อกี อนั มนั จะเปน็ ตรงขา้ มหมดเลย

ทมี่ า : https://home.comcast.net/~pegglestoncbsd/cell_b11.jpg
• สำ� หรบั ตรงนสี้ ง่ิ ทโี่ จทยม์ กั จะถามกม็ กั จะเปน็ การยกตวั อยา่ งทเี่ กย่ี วกบั การดำ� เนนิ ชวี ติ ของเรา เชน่ ขณะทเ่ี ราปลกู ตน้ ไม้
แลว้ เราใส่ปุ๋ยที่มคี วามเขม้ ขน้ สูงมากเกินกว่าเซลลพ์ ชื สงิ่ ทต่ี ามมาคอื พชื กเ็ ลยเหยี่ ว แลว้ โจทยใ์ หเ้ ราอธบิ ายวา่ อนั ไหน

คอื ตวั เลอื กทเี่ ปน็ เหตผุ ลของเหตกุ ารณน์ ี้
1. ถา้ หากนำ� เซลลเ์ มด็ เลอื ดแดงไปแชใ่ นสารละลายทมี่ คี วามเขม้ ขน้ สงู ถามวา่ เมด็ เลอื ดจะเกดิ อะไรขน้ึ และเรยี กสารละลายนน้ั วา่ อะไร
ก. เมด็ เลอื ดแดงเหย่ี ว เรยี ก สารละลายนวี้ า่ hypertonic solution
ข. เมด็ เลอื ดแดงแตก เรยี ก สารละลายนว้ี า่ hypertonic solution
ค. เมด็ เลอื ดแดงแตก เรยี ก สารละลายนว้ี า่ isotonic solution
ง. เมด็ เลอื ดแดงเหย่ี ว เรยี ก สารละลายนว้ี า่ hypotonic solution

คำ� ตอบ เมอ่ื เรานำ� เมด็ เลอื ดแดงไปแชไ่ วใ้ นสารละลายทมี่ คี วามเขม้ ขน้ สงู กวา่ สารละลายภายในเซลลเ์ ราเรยี กสารละลายนนั้ วา่ hypertonic

solution และสง่ิ ทจี่ ะเกดิ ขน้ึ คอื นำ้� ภายในเซลลจ์ ะออสโมสสิ ออกทำ� ใหเ้ ซลลเ์ หย่ี วลงไปเรอื่ ยๆ จงึ ตอบ ก.
• เซลลส์ ตั วท์ มี่ กั จะเอามาทดลองกม็ กั จะเปน็ เซลลเ์ มด็ เลอื ดแดงซะสว่ นใหญ ่ สว่ นพชื กม็ กั จะเปน็ พวกเซลลก์ าบใบเพราะ

เราเคยเจอในการทดลองทโี่ รงเรยี น แตถ่ า้ นอ้ งไมร่ จู้ รงิ ๆ กไ็ มเ่ ปน็ ประเดน็ หรอก ขอแคน่ อ้ งๆ แยกออกวา่ ใครเปน็ เซลลพ์ ชื
ใครเปน็ เซลลส์ ตั วก์ จ็ บ แบบสวยสวยไดเ้ ลย
✓ เชน่ “ไฮเปอ ---พานำ้� ออกเลย ---เหย่ี ว”
• เรอื่ งเซลลอ์ กี เรอ่ื งทมี่ กั จะงง กนั คอื ***cytosis
exocytosis เปน็ cytosis แบบเดยี วทส่ี ง่ สารออกจากเซลล์ เพราะคำ� วา่ exo มาจาก exit ทแี่ ปลวา่ ออก จะตรงขา้ มกบั endo ซง่ึ
แปลวา่ เขา้ มา แลว้ endocytosis กแ็ บง่ ออกมาสามแบบคอื แบบทตี่ อ้ งยน่ื ยน่ื ออกไปโอบมนั เขา้ มา เหมอื นกบั ยน่ื แขนยน่ื ขาออกไปเรยี ก
วา่ Phago เราเลยเรยี กการเอาสารเขา้ สเู่ ซลลโ์ ดยยนื่ แขนยน่ื ขาออกไปวา่ Phagocytosis

ตวิ เขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 43

สว่ น pinocyctosis กบั receptor-mediated endocytosis มนั คอื endocytosis ทง้ั คเู่ พยี งแตแ่ บบหนงึ่ มี receptor อกี แบบไมม่ ี

1. ขอ้ ใดแตกตา่ งจากขอ้ อนื่
ก. การกนิ อาหารของ slime mold
ข. การกนิ เชอื้ โรคของเซลลเ์ มด็ เลอื ดขาว
ค. การกนิ อาหารของอะมบี า
ง. การเอาคอเรสเตอรอนไปเกบ็ เอาไวใ้ นเซลลไ์ ข่

คำ� ตอบ ของขอ้ นค้ี อื การเอาคอเรสเตอรอนไปเกบ็ เอาไวใ้ นเซลลไ์ ขเ่ นอ่ื งจากการเลอื กเฉพาะคอเรสเตอรอนแสดงวา่ ตอ้ งมี receptor เพอ่ื

เลอื กเอาเฉพาะคอเรสเตอรอนเกบ็ เขา้ ไป สว่ นขอ้ อน่ื นนั้ ใชว้ ธิ ขี องการ phagocytosis ซง่ึ ยน่ื ขาเทยี มหรอื สว่ นของเซลลอ์ อกไปโอบลอ้ ม
แลว้ เอามายอ่ ยในเซลล์
• ส�ำหรับเรื่องเซลล์ก็คงมีเร่ืองท่ีต้องเน้นประมาณนี้นะจ๊ะ โ จทย์ส่วนใหญ่มักจะต้องการให้เราประยุกต์ใช้ให้ได้กับชีวิต

ประจำ� วนั ดงั นน้ั โจทยจ์ ะพยายามหาตวั อยา่ งทนี่ อ้ งๆ จะตอ้ งไดพ้ บเจอในชวี ติ มาถาม สงิ่ ทนี่ อ้ งๆ ตอ้ งทำ� กค็ อื หาตวั อยา่ ง
ใหไ้ ดเ้ ยอะๆ หรอื ถามคณุ ครกู ไ็ ด ้ และทอ่ งจำ� ไปเลยจะดที ส่ี ดุ เพราะเวลาสอบจะไดก้ าเลยไมต่ อ้ งมานกึ วา่ เอะ๊ แบบนเ้ี รยี ก
วา่ อะไร แบบนน้ั เปน็ ไงตอ่ เอย่ นอ้ งจะทำ� ขอ้ สอบไมท่ นั ขอ้ สอบมหี ลายขอ้ บางทมี นั กม็ งี า่ ยยากปนกนั ไป ใครจะไปรวู้ า่ ขอ้
งา่ ยๆ รอนอ้ งๆ อยขู่ า้ งหลงั เตม็ เลย แตส่ ว่ นใหญข่ อ้ ยากถา้ ทำ� ไดก้ ค็ อื ไดเ้ ลยแตถ่ า้ ขอ้ ยาก นอ้ งทำ� ไมไ่ ด้ ขอบอกเลยวา่ ให้
ขา้ มไปกอ่ นเหลอื เวลาคอ่ ยทำ� สว่ นขอ้ งา่ ยนนั้ กไ็ มใ่ ชว่ า่ จะงา่ ยจรงิ เพราะสว่ นใหญม่ กั จะเขยี นโจทยใ์ หย้ าว อา่ นแลว้ งง หรอื
อา่ นแลว้ ตอ้ งเสยี เวลาเยอะ ดงั นน้ั อะไรทท่ี อ่ งไดเ้ ลยใหท้ อ่ งไปกอ่ น เขา้ หอ้ งสอบจะไดม้ เี วลาเหลอื ไปคดิ ขอ้ ยากเยอะขนึ้
สรปุ เอาเปน็ วา่ ขอ้ งา่ ยหา้ มพลาด ขอ้ ยากเกบ็ ไดก้ เ็ กบ็ รบั รองวา่ คะแนนไมเ่ นา่ แน่ ออกมาแบบสวยๆ

ตวั อยา่ งเบาๆ นอ้ งๆ ทำ� ไดอ้ ยแู่ ลว้ ตวั อยา่ งพวกนพ้ี จี่ ะเขยี นเฉลยใหเ้ ลย จะบอกแนวใหว้ า่ คดิ ยงั ไง มลี กู เลน่ ยงั ไง

ตวั อยา่ งเชน่ เคยมขี อ้ สอบออกมาวา่ กำ� ลงั ตรวจเซลลส์ งิ่ มชี วี ติ ทงั้ หมด สี่ แบบ แลว้ มตี ารางใหม้ า ตก๊ิ วา่ เจออะไรจากการทดลองบา้ ง

กเ็ จอพวก ผนงั เซลล ์ นวิ เคลยี ส คลอโรพลาสต ์ (โจทยแ์ บบตารางนไี้ มย่ ากแตย่ าว ตอ้ งดดู ดี แี ลว้ รบี ตอบไมใ่ หเ้ สยี เวลา) แลว้ ถามวา่ เซลล์
แบบ A B C หรอื D อนั ไหนเปน็ เซลลพ์ ชื

1.จงพจิ ารณาตารางตอ่ ไปน้ี mitochondria chloroplasts lysosome Cell membrane
Cell wall centriole ✓
สง่ิ มชี วี ติ A ✓ ✓ ✓ ✓
สงิ่ มชี วี ติ B ✓
✓ ✓

ก. สงิ่ มชี วี ติ A คอื หม ู สงิ่ มชี วี ติ B คอื ชบา
ข. สง่ิ มชี วี ติ A คอื ดอกรกั สงิ่ มชี วี ติ B คอื โลมา
ค. สง่ิ มชี วี ติ A คอื ปลาหางนกยงู สง่ิ มชี วี ติ B คอื มด
ง. สงิ่ มชี วี ติ A คอื กลว้ ยไม ้ สงิ่ มชี วี ติ B คอื สาหรา่ ย

44 ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

คำ� ตอบ ของขอ้ นกี้ ค็ อื สงิ่ มชี วี ติ A คอื พชื หรอื พวกทคี่ ลา้ ยๆ พชื สว่ นสง่ิ มชี วี ติ B คอื สตั ว์ โดยเราสงั เกตไดจ้ ากองคป์ ระกอบภายใน

เซลลน์ นั้ เอง ดงั นน้ั เรากม็ าเชค็ ทตี่ วั เลอื กกนั วา่ ใครเปน็ พชื ใครเปน็ สตั วแ์ ลว้ จะไดค้ ำ� ตอบ คอื ข.
• ตวั อยา่ งตอ่ มา แนวโอเนต็ มกั ถามอะไรตอบแบบตรงๆ เอาเปน็ วา่ ถามมาตอบได้ เชน่ การเอาเซลลพ์ ชื แชใ่ นสารละลาย ไฮ

โพโทนคิ จะทำ� ใหเ้ ซลลเ์ ปน็ อยา่ งไร นอ้ งกต็ อ้ งมานกึ เองวา่ (เอะ๊ เราเรยี นมาวา่ ถา้ เราใสเ่ ซลลใ์ น ไฮเปอ มนั จะเหยี่ ว ใสใ่ น
ไฮโพ มนั จะแตก แสดงวา่ เซลลพ์ ชื มนั กน็ า่ จะแตก แตเ่ อะ๊ เราลมื อะไรไปหรอื เปลา่ นะ เซลลพ์ ชื มนั มี cell wall ดงั นนั้ มนั
จะเตง่ สดุ สดุ แตไ่ มแ่ ตกนะจะ้ )
• Contractile vacuole ทำ� หนา้ ทอี่ ะไรในสง่ิ มชี วี ติ เซลลเ์ ดยี ว บางคนเจอโจทยข์ อ้ นแี้ ลว้ ถงึ กบั บอกวา่ โจทยผ์ ดิ แนน่ อนเลยคะ่
เพราะหนเู รยี นมาวา่ vacuole มนั มเี ฉพาะในพชื ไมม่ ใี นสง่ิ มชี วี ติ เซลลเ์ ดยี วนิ แตพ่ อไปดเู ฉลย ถงึ กบั เงบิ ไปเลย เมอ่ื พบ
วา่ vacuole ทน่ี อ้ งทอ่ งมามนั กไ็ มผ่ ดิ หรอก แตล่ มื ดไู ปวา่ คำ� ขา้ งหนา้ มนั คอื contractile ซงึ่ แปลวา่ การบบี รดั บบี ออก เมอ่ื
รวมกบั คำ� วา่ vacuole ทแ่ี ปลวา่ ถงุ มนั เลยแปลวา่ ถงุ ทบ่ี บี รดั บบี สารออกได้ ซงึ่ เจอในเซลลส์ งิ่ มชี วี ติ เซลลเ์ ดยี วนำ�้ จดื ทำ�
หนา้ ทบ่ี บี เอานำ้� สว่ นเกนิ และสารทไี่ มต่ อ้ งการ ออกไปใหพ้ น้ พน้ ประเดน็ คอื มสี ตดิ ดี ี วา่ vacuole อะไร
• สารชนดิ ใดทหี่ อ่ หมุ้ สารพนั ธกุ รรมของไวรสั ? โจทยแ์ บบนี้ ใครตอบไดก้ ไ็ ดค้ ะแนนเลย แตถ่ า้ ใครจำ� ผดิ มาหรอื ลมื กต็ ายกนั
เหน็ ๆ เลย คำ� ตอบคอื โปรตนี

เรอ่ื งการแบง่ เซลล์

สำ� หรบั เรอื่ งน ้ี กค็ งไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งเลา่ ถงึ ทม่ี าทไ่ี ปวา่ ยงั ไง เซลลล์ กู เยอะขนาดไหน เพราะขอ้ มลู เหลา่ นห้ี าอา่ นจากหนงั สอื อน่ื ๆ ทว่ั ไป
ไดไ้ มย่ ากเลย แ ตส่ งิ่ ทอ่ี ยากเนน้ กค็ อื เรอื่ งของตวั อยา่ งมากกวา่ เพราะวา่ เรอ่ื งนน้ี อ้ งหลายคนคดิ วา่ ทำ� ไดแ้ ตพ่ อเจอโจทยจ์ รงิ ๆ แ ลว้ เงบิ หงาย
หลงั กนั เปน็ แถวเลยกเ็ พราะวา่ นอ้ งๆ ย งั ไมเ่ ขา้ ใจจรงิ ๆ พ จ่ี ะลองเปรยี บเทยี บใหด้ ปู ระมาณวา่ ส มมตปิ กตนิ อ้ งเดนิ ทางไปโรงเรยี นโดยรถไฟฟา้
จากสถานหี มอชติ มาลงสยาม ซงึ่ มนั เปน็ ทางทแ่ี สนสบาย เดนิ ดตู กึ ไปเรอ่ื ยๆ ไมม่ อี ะไรตอ้ งคดิ มาก แตถ่ า้ วนั ไหนอยดู่ ๆี พจ่ี บั นอ้ งปลอ่ ยที่
สะพานควาย แลว้ บอกใหน้ อ้ งมาเจอพท่ี พ่ี ญาไท สง่ิ ทน่ี อ้ งตอ้ งทำ� กค็ อื คดิ วา่ แลว้ เราจะเดนิ ทางยงั ไงใหไ้ ปถงึ เปา้ หมายตรงนน้ั บางที ทเี่ รา
อา่ นๆ กนั อยทู่ กุ วนั มนั กค็ อื ทางเดนิ ทเี่ ราเดนิ ๆ กนั ทกุ วนั แตถ่ า้ วนั ไหนเราตอ้ งพลกิ แพลงบา้ งเราตอ้ งทำ� ได้ ถามวา่ เราจะทำ� ไดย้ งั ไงกเ็ พราะ
วา่ เราทำ� แบบฝกึ หดั เยอะๆ แลว้ ไง เมอ่ื เราทำ� แบบฝกึ หดั เยอะแลว้ สงิ่ ทตี่ ามมากค็ อื เราจะมองเหน็ ภาพรวมและสง่ิ ทค่ี นออกขอ้ สอบมกั เอา
มาเปน็ ลกู เลน่ ทเี่ อาไวห้ ลอกพวกนอ้ งใหห้ ลงทาง พเี่ องเพยี งแตแ่ นะนำ� ไดแ้ ตต่ อนสอบนต้ี วั ใครตวั มนั นอ้ งตอ้ งคดิ เองเปน็ วเิ คราะหเ์ ปน็
ประยกุ ตเ์ องเปน็

• พม่ี เี ทคนคิ อยอู่ ยา่ งหนงึ่ เวลาอา่ น คอื “ตวั เลข n =ตวั เลข“
โดยทต่ี วั เลขทตี่ ดิ อยกู่ บั ฝง่ั n จะบง่ บอกวา่ มี homologous chromosome ทเี่ หมอื นกนั กตี่ วั เนน้ วา่ เหมอื นกนั นะ

(homologous) สมมติ เราเหน็ วา่ มนั เหมอื นกนั สองชดุ กจ็ ะเขยี น วา่ 2n ถา้ เหน็ วา่ มสี ามชดุ homologous เรากจ็ ะเขยี นเปน็
3n สว่ นตวั เลขทอ่ี ยโู่ ดดเดยี วฝง่ั ขวา เอาไวบ้ อกวา่ มี centromere กตี่ วั ถา้ ถามวา่ ทำ� ไมนบั centromere กเ็ พราะวา่ เรา
อยากทจ่ี ะรวู้ า่ มโี ครโมโซมกตี่ วั แตด่ ว้ ยความทโ่ี ครโมโซมบางทมี แี ขนเปน็ คทู่ เ่ี ราเรยี กวา่ sister chromatid บางคน งง คดิ
วา่ นบั เปน็ สอง ดงั นน้ั พเี่ ลยคดิ วา่ งา่ ยทสี่ ดุ คอื นบั centromere ไปเลยเพราะยงั ไง centromere กม็ แี คอ่ นั เดยี วแนแ่ น่

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 45

ทม่ี า : http://www.grossmont.edu/mikefurlan/1CommonGeneralBioOutlines/Meiosis/mitosisVSmeiosis.htm

• ดรู ปู ใหเ้ ปน็ นะจะ้ นอ้ งๆ แบบวา่ ดใู หอ้ อกวา่ อนั ไหนตอนไหนเกดิ อะไรขน้ึ มกี ารสรา้ งแขนเพม่ิ หรอื ยงั มเี สน้ ใยหรอื ยงั หรอื
วา่ นวิ เคลยี สแมมเบรน มนั ฉกี หรอื ยงั หรอื วา่ มี cleavage furrow

• เราสามารถพบเจอ 4n ทเี่ ราเรยี กวา่ tetraploid number ซง่ึ มี homologous ทลี ะ 4 ชดุ พบในระยะ anaphase ของ
mitosis ทงั้ ในพชื และสตั ว์

• Crossing over เกดิ ขนึ้ เฉพาะ prophase 1 ของ meiosis เทา่ นน้ั
• Anaphase ของ mitosis และ Anaphase 2 ของ meiosis จะเปน็ การดงึ แยก sister chromatid ออกจากกนั แต่ anaphase

1 ของ meiosis เปน็ การแยก homologouse chromosome
• สำ� หรบั เรอื่ งการแบง่ เซลล์ แนวโจทยอ์ าจจะถามวา่ สว่ นใดของพชื หรอื สว่ นใดของรา่ งกายเราทมี่ กี ารแบง่ เซลลแ์ บบ

meiosis ซง่ึ อาจจะใหม้ าเปน็ รปู ของรากไม้ หรอื อาจจะถามแบบยกตวั อยา่ งกเ็ ปน็ ไปไดห้ มด ดงั นนั้ นอ้ งตอ้ งหารปู มาดใู ห้
เปน็ วา่ สว่ นไหนของรากเปน็ หมวกราก สว่ นไหนเปน็ ปลายราก สว่ นไหนเปน็ รากสว่ นทย่ี ดื ตวั แตไ่ มก่ ารเพม่ิ จำ� นวนเซลล ์
ขอ้ สอบจะถามแนวนเ้ี พราะวา่ มนั เปน็ ตวั อยา่ งในแบบเรยี น

2. ขอ้ ใดถกู ตอ้ ง
ก. ปลายรากหอมเปน็ การแบง่ แบบไมโอซสี
ข. ทปี่ ลายรากหอมเมอ่ื สน้ิ สดุ การแบง่ เซลลจ์ ะไดเ้ ซลลใ์ หม่ 4 เซลล์
ค. เซลลใ์ หมท่ เ่ี กดิ ขน้ึ ของปลายรากหอมนนั้ เกดิ จากการคอดของเยอ่ื หมุ้ เซลล์
ง. เซลลใ์ หมท่ เี่ กดิ ขน้ึ ของรากหอมจะมโี ครโมโซมเทา่ เดมิ

คำ� ตอบ ของขอ้ นคี้ อื ทปี่ ลายรากหอมนนั้ เปรยี บเสมอื นเซลลร์ า่ งกายดงั นนั้ มนั จะแบง่ เซลลโ์ ดยการไมโทซสี ไมใ่ ช่ ไมโอซสิ นเี้ ลยทำ� ให้

เซลลล์ กู ทเี่ กดิ ขน้ึ มาจากการแบง่ เซลลน์ นั้ ไมใ่ ชส่ ี่ แตเ่ ปน็ แคส่ องเซลลเ์ ทา่ นนั้ และ เนอ่ื งจากมนั เปน็ พชื พชื มผี นงั เซลล์ ทำ� ใหม้ นั ไมม่ กี าร
คอดของเยอ่ื หมุ้ เซลล์ สรปุ เลยเหลอื เพยี งตวั เลอื กเดยี วทจี่ ะตอบไดน้ นั่ กค็ อื ง. เซลลร์ ากหอมจงึ มโี ครโมโซมเทา่ เดมิ เปน็ สง่ิ ทถ่ี กู ตอ้ งเพยี ง
ขอ้ เดยี วเทา่ นนั้

46 ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

อยา่ งทเี่ คยบอก O-NET ถามอะไรตรงๆ ไมว่ กวน ไมต่ อ้ งคดิ มากเทา่ ขอ้ สอบแบบอน่ื ขอแคจ่ ำ� มาเปะ๊ กพ็ อ แตเ่ ทา่ ทดี่ ขู อ้ สอบเกา่ ๆ
เรอ่ื งนอ้ี อกนอ้ ย แตก่ อ็ ยา่ ทงิ้ นะ เพราะถา้ ออกมาจรงิ กไ็ มน่ า่ จะยากเกนิ แตค่ นทท่ี ำ� คะแนนขอ้ นไ้ี มไ่ ดก้ ค็ งเปน็ เพราะวา่ “ลมื ”
อกี อยา่ งทพ่ี อ่ี ยากเตอื นนอ้ งๆ กค็ อื ขอ้ สอบทชี่ อบถามวา่ ขอ้ ใดถกู ตอ้ ง ขอ้ ใดไมถ่ กู ตอ้ ง ขอ้ ใดเปน็ จรงิ ขอ้ ใดเปน็ เทจ็ ขอ้ ใดไมไ่ ดเ้ กดิ
จาก...... มกั เปน็ ทนี่ ยิ มของผอู้ อกขอ้ สอบวชิ าชวี วทิ ยา ดงั นน้ั นอ้ งๆ ตอ้ งอา่ นโจทยใ์ หด้ ี วา่ เขาถามวา่ อยา่ งไร กอ่ นตอบคำ� ถาม

น้องๆ ศกึ ษาเพ่ิมเตมิ ได้ท่ี
Tag : สอนศาสตร,์ ชวี วิทยา, เซลล,์ การท�ำงานของเซลล์, การแบ่งเซลล,์ พันธศุ าสตร์, โรคทางพนั ธกุ รรม, ลักษณะ

ทางพันธุกรรม

• 02 : โครงสร้างของเซลล ์ • สอ นศาสตร์ ชวี วทิ ยา ม.6 :
http://www.trueplookpanya.com/ พนั ธศุ าสตร์ (อ.ตอง)
book/m6/onet-biology/ch3-1 http://www.trueplookpanya.com/
• 04 : การหายใจระดบั เซลล์ book/m6/onet-biology/ch3-6
http://www.trueplookpanya.com/ • 17 : การถ่ายทอดลกั ษณะทางพันธุกรรม
book/m6/onet-biology/ch3-2 http://www.trueplookpanya.com/
• สอนศาสตร์ ชีววทิ ยา ม.6 : book/m6/onet-biology/ch3-7
ชีววทิ ยาของเซลล์ • 18 : โรคทางพันธุกรรม
http://www.trueplookpanya.com/ http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch3-3 book/m6/onet-biology/ch3-8
• ชีววิทยา ม.ปลาย – การแบ่งเซลล์ • อนเิ มชน่ั การแบ่งเซลล์
http://www.trueplookpanya.com/ http://www.trueplookpanya.com/
book/m6/onet-biology/ch3-4 book/m6/onet-biology/ch3-9
• สอนศาสตร์ : ม.ปลาย : ชีววิทยา : • กลไกการท�ำงานของเย่อื ห้มุ ตอนที่ 1
พนั ธศุ าสตร์ (อ.วเิ วียน) http://www.trueplookpanya.com/
http://www.trueplookpanya.com/ book/m6/onet-biology/ch3-10
book/m6/onet-biology/ch3-5

ติวเข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya 47

บทที่ 6

ระบบรา่ งกายมนุษย์และสัตว์

ระบบหายใจ

เราหายใจเขา้ และออกตลอดเวลาแมก้ ระทงั่ ตอนหลบั ถา้ เกดิ วา่ เราไมส่ ามารถหายใจไดจ้ ะเกดิ อะไรขนึ้ !!
สงิ่ มชี วี ติ ตอ้ งการ O2 เขา้ สเู่ ซลลเ์ พอื่ ใชใ้ นกระบวนการแมทาบอลซิ มึ และปลดปลอ่ ย CO2 จากกระบวนการสลายสารอาหาร
ระดบั เซลล์ ดงั นน้ั รา่ งกายจงึ ตอ้ งมรี ะบบแลกเปลย่ี น gas เพอ่ื ใหส้ ามารถดำ� รงชวี ติ ไดอ้ ยา่ งเปน็ ปกติ ถา้ เราขาด O2 เปน็ เวลานานอาจ
ทำ� ใหเ้ สยี ชวี ติ ได้

การแลกเปลย่ี น gas ของคน ทางเดนิ หายใจของคนจะเรม่ิ จาก

ชอ่ งจมกู โพรงจมกู คอหอย กลอ่ งเสยี ง หลอดลม หลอดลมฝอย ถงุ ลม หลอดเลอื ดฝอย

1) หลอดลม (trachea) ประกอบดว้ ยกระดกู ออ่ นเรยี งตอ่ กนั เพอ่ื ปอ้ งกนั การกดทบั จากเนอื้ เยอื่ รอบๆ ปลายสดุ ของหลอดลมจะ
แยกไปสปู่ อด แบง่ ออกเปน็ 2 ขา้ ง ซา้ ย-ขวา และจะแตกแขนงเลก็ ลงเรอ่ื ยๆ จนถงึ ทปี่ ลายสดุ ของหลอดลมฝอย
2) ปอด (lung) ตง้ั อยภู่ ายในทรวงอก ปอดซา้ ยจะเลก็ กวา่ ปอดขวา แตป่ อดขวาจะสนั้ กวา่ ปอดซา้ ย และมโี ครงสรา้ งทเี่ รยี กวา่
กระบงั ลม ทป่ี อ้ งกนั การกดทบั จากอวยั วะอนื่ ทำ� ใหป้ อดสามารถเปลยี่ นแปลงปรมิ าตรตามการหายใจเขา้ -ออกไดอ้ ยา่ งเปน็
ปกติ
✓ คนหายใจเขา้ ปกตจิ ะไดป้ รมิ าตรอากาศประมาณ 500 cm3 และเมอ่ื บงั คบั หายใจเขา้ เตม็ ทอ่ี าจไดป้ รมิ าตรอากาศได้

 มากถงึ 6,000 cm3 แต่ถ้าบงั คบั ให้หายใจออกเตม็ ท่กี ็จะยงั มีปริมาตรอากาศตกคา้ งในปอดประมาณ 1,100 cm3

เสมอ
✓ การศกึ ษาปรมิ าตรของปอดจะใชเ้ ครอื่ งสไปโรมเิ ตอร์ (Spirometer)
3) ถงุ ลม (alveolus) มผี นงั บางมาก เปน็ เซลลช์ น้ั เดยี ว เปน็ สว่ นทม่ี กี ารแลกเปลยี่ น gas แบบการแพรก่ บั หลอดเลอื ดฝอยท่ี
มาหมุ้ อยรู่ อบๆ

• กลไกการหายใจ ตอ้ งเพมิ่ ปรมิ าตรของชอ่ งอกและลดความดนั อากาศในปอดลง อากาศจงึ จะไหลเขา้ สปู่ อด ดงั นี้

การ หายใจ เขา้

- กลา้ มเนอ้ื กระบงั ลมหดตวั ทำ� ใหก้ ระบงั ลมเคลอ่ื นตำ่� ลง
- กลา้ มเนอื้ ยดึ ซโี่ ครงดา้ นนอกหดตวั และกลา้ มเนอื้ ยดึ ซโ่ี ครงดา้ นในคลายตวั ทำ� ใหก้ ระดกู ซโ่ี ครงยกตวั สงู ขน้ึ

48 ตวิ เข้ม O-NET Get 100 by TruePlookpanya

ตอ้ งลดปรมิ าตรในชอ่ งอกและเพม่ิ ความดนั อากาศในปอด อากาศจงึ จะไหลออก ดงั นี้
กา รห ายใจ อ อก

- กลา้ มเนอ้ื กระบงั ลมคลายตวั ทำ� ใหก้ ระบงั ลมยกตวั สงู ขนึ้
- กลา้ มเนอ้ื ยดึ ซโี่ ครงดา้ นนอกคลายตวั และกลา้ มเนอื้ ยดึ ซโ่ี ครงดา้ นในหดตวั ทำ� ใหก้ ระดกู ซโ่ี ครงลดตำ�่ ลง

• กลไกการแลกเปลยี่ นแกส๊ การแลกเปลยี่ นแกส๊ O2 การแลกเปลย่ี นแกส๊ CO2

บรเิ วณถงุ ลม - ฮโี มโกลบิน (Hb) ในเลือดจับกับ O2 - ไฮโดรเจนไอออน (H+)และไฮโดรเจน
กลายเป็นออกซฮี ีโมโกลบนิ (HbO2) คาร์บอเนต (HCO3- )รวมตัวกันใหม่
ไหลเข้าหวั ใจและถกู สูบฉีดไปเล้ียง กลายเป็นกรดคาร์บอนกิ (H2CO3) ที่
ร่างกาย จะสลายตัวเป็น CO2 และแพร่
จากหลอดเลอื ดฝอยเข้าสูถ่ งุ ลม
Hb + O2 HbO2 H+ + HCO3- H2CO3

H2CO3 CO2+ H2O

บริเวณเนอ้ื เยอ่ื - ออกซีฮโี มโกลบิน (HbO2) ในเลือด - CO2 แพร่เขา้ มาทำ� ปฏกิ ิริยากับนำ�้ ใน
เปลี่ยนกลับไปเป็นฮโี มโกลบิน (Hb) เซลลเ์ มด็ เลอื ดแดงเกดิ กรด
และ O2 แพร่เข้าสูเ่ ซลลข์ องเนือ้ เยื่อ คารบ์ อนกิ (H2CO3) ซึ่งแตกตัวได้
ไฮโดรเจนไอออน (H+)และไฮโดรเจน
HbO2 Hb + O2 คาร์บอเนต ( HCO3- ) ซึ่งจะแพร่สู่
พลาสมาในเลอื ด

CO2+ H2O H2CO3
H2CO3 H+ + HCO3-

ระบบยอ่ ยอาหาร (digestive system)

การทนี่ อ้ งๆ สามารถกนิ อาหารไดว้ นั ละหลายมอื้ เนอื่ งจากในรา่ งกายเรามรี ะบบการยอ่ ยอาหาร ถา้ อาหารทก่ี นิ ไมเ่ กดิ การยอ่ ย
กจ็ ะทำ� ใหร้ า่ งกายไมส่ ามารถดงึ เอาพลงั งานจากอาหารมาใชใ้ นการทำ� กจิ กรรมตา่ งๆ ของรา่ งกายได้
• อาหารและการยอ่ ยอาหาร
อาหารทน่ี อ้ งๆ กนิ เขา้ ไปนนั้ จะถกู ยอ่ ยใหก้ ลายเปน็ โมเลกลุ เลก็ ๆ สว่ นอาหารทเ่ี หลอื ทย่ี อ่ ยไมไ่ ดจ้ ะถกู ขบั ออกนอกรา่ งกายเปน็

ติวเขม้ O-NET Get 100 by TruePlookpanya 49


Click to View FlipBook Version