The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Mama Admission 2560 วิชา GAT เชื่อมโยง-ภาษาไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by BS_Library, 2019-12-16 07:04:00

Mama Admission 2560 วิชา GAT เชื่อมโยง-ภาษาไทย

Mama Admission 2560 วิชา GAT เชื่อมโยง-ภาษาไทย

Keywords: GAT เชื่อมโยง,ภาษาไทย

ครั้งที่20

ภาษาไทย(Gatเชอมโยง)

อ.วันชนะหม่ันงาน(ครเูมฆ)

ภาษาไทย(O-Net+สามัญ)

ผศ.ดร.ธเนศเวศรภาดา
อ.วรธนอนันตวงษ(อ.กอลฟ)
อ.จกัรกฤตโยมพยอม(ครูทอม)

รวมเปดโอกาสสูเยาวชนไทย

ทกั ทาย

โครงการ “Sahapat Admission ครั้งท่ี 20” (ทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัยกับสหพัฒน์) จัดโดย
บริษัท สหพัฒนพิบูล จ�ำกัด (มหาชน) โดยผลิตภัณฑ์ มาม่า บิสชิน มองต์เฟลอ ริชเชส ร่วมมือกับ บริษัท
เนชน่ั บรอดแคสตง้ิ คอรป์ อเรชนั่ จำ� กดั (มหาชน) และ บรษิ ทั ดาตา้ โปร คอมพวิ เตอร์ ซสิ เตม็ ส์ จำ� กดั รว่ มสนบั สนนุ
โดย มหาวทิ ยาลยั หอการคา้ ไทย จัดข้ึนเพือ่ เตรยี มความพรอ้ มให้แกน่ ักเรียนทก่ี ำ� ลงั เตรยี มตัวเขา้ สู่มหาวิทยาลยั
ซง่ึ ปนี จ้ี ัดเป็นปที ่ี 20 นบั เป็น “2 ทศวรรษ แห่งการสรา้ งโอกาสทางศกึ ษาใหก้ บั เยาวชนไทย” สำ� หรบั การจดั
ทบทวนความรูใ้ นครง้ั น้ี มคี วามเขม้ ขน้ เปน็ อยา่ งมาก เพ่อื รบั มอื ระบบการคดั เลือกเข้าศึกษาในสถาบันการศกึ ษา
ระบบใหม่ “Thai University Central Admission System” (TCAS) ซึ่งมีหลักการที่สําคัญ คือ ให้นักเรียน
อยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร จะจัดการสอบเพ่ือการคัดเลือกได้หลังจากท่ีนักเรียนเรียนจบหลักสูตรแล้ว
ดงั นนั้ เพอื่ ใหน้ กั เรยี นมธั ยมปลายไดม้ คี วามพรอ้ มอยา่ งเตม็ ท่ี กอ่ นการสอบเขา้ มหาวทิ ยาลยั การจดั ทบทวนความรู้
ในคร้งั นี้ จึงรวบรวมแนวขอ้ สอบจากทุกสนาม ทง้ั O-Net, GAT, PAT และสอบตรงวิชาสามัญ รวมทัง้ เทคนคิ พชิ ิต
TCAS61 ซง่ึ จดั ข้ึนระหวา่ งวนั ท่ี 2 - 7 ตุลาคม 2560 ท่มี หาวิทยาลยั หอการค้าไทย และสง่ สญั ญาณบรอดแบนด์
ไปยังโรงเรียนทุกภูมิภาคท่ัวประเทศ เพื่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมโดยได้รับการสนับสนุน
การถา่ ยทอดสญั ญาณบรอดแบนด์ จากบริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซสิ เต็มส์ จ�ำกดั
คู่มอื ทบทวนความรฉู้ บับน้ี คณาจารยผ์ ้เู ช่ยี วชาญในแตล่ ะวชิ า ได้จัดเตรยี มเนือ้ หาสาระส�ำคญั ๆ ไว้ใหน้ อ้ งๆ
เพื่อเข้าฟงั คำ� บรรยายในแตล่ ะวนั ตลอดระยะเวลาการตวิ โดยคณาจารยใ์ นแตล่ ะวชิ าจะอธบิ ายและขยายความ
ให้น้องๆ ได้เข้าใจถึงแก่นสาร และเติมเต็มส่ิงที่ขาดหายให้กับน้องๆ ได้มีความพร้อมในการพิชิตข้อสอบเข้า
มหาวิทยาลยั ในฝันดังท่ีปรารถนา
การท่ีจะก้าวไปสู่เส้นทางแห่งความส�ำเร็จได้น้ัน น้องๆ ต้องตั้งใจเก็บเกี่ยวความรู้ในช่วงเวลาอันสั้นน้ี
ใหไ้ ดม้ ากทสี่ ดุ พๆี่ ขอเปน็ กำ� ลงั ใจใหน้ อ้ งๆ ทกุ คนสมหวงั ดงั ทต่ี ง้ั ใจและใฝฝ่ นั และขออวยพรใหโ้ ชคดใี นทกุ สนามสอบ

กองบรรณาธกิ าร
โครงการ Sahapat Admission
(ทบทวนความรู้สู่มหาวทิ ยาลัยกับสหพฒั น)์

สารบญั

ภาษาไทย (GAT เชื่อมโยง) : อ.วันชนะ หมน่ั งาน (ครเู มฆ) 3
ความถนัดทวั่ ไป (GAT) 16
25
ภาษาไทย (O-NET+สามัญ) : ผศ.ดร. ธเนศ เวศร์ภาดา 26
คณบดีคณะมนษุ ยศาสตร์และประยกุ ต์ศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยหอการค้าไทย 28
30
การอา่ นจบั ใจความ ภาษากบั การแสดงความคิด 31
33
ภาษาไทย (O-NET+สามัญ) : อ.วรธน อนนั ตวงษ์ (อ.กอล์ฟ) 34
38
ระดบั ภาษา 41
ค�ำราชาศัพท ์
การใช้ส�ำนวนไทย
ค�ำและความหมาย
ภาษาก�ำกวม
ภาษาฟ่มุ เฟอื ย

ภาษาไทย (O-NET+สามญั ) : อ.จักรกฤต โยมพยอม (ครทู อม)
เสยี งในภาษา
การสร้างคำ�
การสะกดค�ำ

ภาษาไทย (GAT เช่อื มโยง) อ.วันชนะ หมนั่ งาน (ครเู มฆ)

ความถนดั ทั่วไป (GAT)

สว่ นท่ี 1 ความสามารถในการอ่านเชิงวเิ คราะห์ การเขยี นเชิงวเิ คราะห์ การคดิ เชิงวิเคราะห์ และการแก้ปญั หา

5 ขั้นตอนในการพิชติ ขอ้ สอบ GAT ความคดิ เชื่อมโยง
ข้ันตอนท่ี 1 : อา่ นและทำ� ความเข้าใจค�ำส่ัง

อ่านบทความที่ก�ำหนดให้ (ในบทความมีข้อความที่พิมพ์ด้วยอักษรตัวเข้ม) แล้วสรุปความเช่ือมโยงของข้อความ
ท่ีกำ� หนดแตล่ ะขอ้ ความกับขอ้ ความทีเ่ หลือให้สอดคล้องกบั เนอ้ื หาในบทความ และเป็นไปตามเกณฑ์ ดงั ตอ่ ไปน้ี
คำ� สั่งที่ 1 : ถา้ ขอ้ ความท่กี �ำหนดมีขอ้ ความอน่ื (ซึง่ อาจมีไดห้ ลายขอ้ ความ) เปน็ ผลโดยตรง ให้ระบายตัวเลข 2 หลัก
หน้าข้อความท่ีเปน็ ผลโดยตรง แล้วตามดว้ ยอักษร “A”

คำ� สง่ั ท่ี 2 : ถา้ ขอ้ ความทกี่ ำ� หนดมขี อ้ ความอน่ื (ซงึ่ อาจมไี ดห้ ลายขอ้ ความ) เปน็ องคป์ ระกอบ / คณุ สมบตั ิ / ลกั ษณะ
ใหร้ ะบายตวั เลข 2 หลักหนา้ ข้อความทเ่ี ป็นองค์ประกอบ / คุณสมบัติ / ลกั ษณะ แลว้ ตามดว้ ยอกั ษร “D”

3 โครงการ Sahapat Admission ครั้งที่ 20

คำ� สง่ั ท่ี 3 : ถา้ ขอ้ ความทก่ี ำ� หนดมผี ลทำ� ใหข้ อ้ ความอน่ื (ซง่ึ อาจมไี ดห้ ลายขอ้ ความ) ถกู ลด / ยบั ยงั้ / ปอ้ งกนั / หา้ ม /
ขดั ขวาง ใหร้ ะบายตวั เลข 2 หลกั หนา้ ขอ้ ความทกี่ ำ� หนดทถ่ี กู ลด / ยบั ยงั้ / ปอ้ งกนั / หา้ ม /ขดั ขวางนน้ั แลว้ ตามดว้ ยอกั ษร “F”

ค�ำสัง่ ที่ 4 : ถา้ ขอ้ ความทกี่ ำ� หนดไมม่ ีข้อความอนื่ ทีเ่ ปน็ ผลโดยตรง หรือทเ่ี ป็นองคป์ ระกอบ / คุณสมบัติ / ลักษณะ
หรอื ทถ่ี ูกลด / ยับย้งั / ปอ้ งกัน / หา้ ม / ขดั ขวางดงั กลา่ วข้างตน้ ให้ระบายค�ำตอบเป็นตวั เลข “99” แลว้ ตามด้วยอกั ษร “H”

ขั้นตอนท่ี 2 : อา่ นบทความอยา่ งละเอียด

ขั้นตอนท่ี 3 : วาดแผนภูมิประกอบ
ขั้นตอนท่ี 4 : ร่างรหัสค�ำตอบ
ขั้นตอนที่ 5 : ระบายรหัสค�ำตอบ

4 โครงการ Sahapat Admission คร้งั ที่ 20

บทความตวั อย่าง: นกั เรยี นดี

นักเรียนดี เป็นอย่างไร หากจะกล่าวอย่างสั้นท่ีสุดก็คือนักเรียนดีจะต้องมีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบอย่างน้อย
2 อยา่ ง คือ เรยี นเกง่ และ เปน็ คนดี เหตปุ ัจจยั ทส่ี ง่ ผลใหน้ กั เรยี นเปน็ นักเรียนดมี หี ลายอย่าง เชน่ พนื้ ฐานจติ ใจนกั เรยี น
คณุ ภาพการเรยี นการสอนคณุ ภาพอาจารยผ์ สู้ อน คณุ ภาพสถานศกึ ษาสำ� หรบั คณุ ภาพการเรยี นการสอนนน้ั นอกจาก
เร่ืองห้องสมุด อาคารสถานท่ี อุปกรณ์ ส่ือการศึกษา ฯลฯ ยังขึ้นกับคุณภาพอาจารย์ด้วย และท่ีส�ำคัญคือจะต้องรู้จัก
ระวังหลีกเลี่ยงส่ิงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง เช่น การคบเพ่ือนเลว เพราะย่อมสามารถลดหรือบ่ันทอน
ความเปน็ คนดีได้โดยง่าย

วาดแผนภมู ิค�ำตอบ

เลขก�ำกับ ขอ้ ความที่กำ� หนด รหัสคำ� ตอบ
01
02 การคบเพอื่ นเลว
03
04 คณุ ภาพการเรียนการสอน
05
06 คณุ ภาพสถานศึกษา
07
08 คุณภาพอาจารย์

นักเรยี นดี

เปน็ คนดี

พ้นื ฐานจิตใจนักเรยี น

เรยี นเกง่

5 โครงการ Sahapat Admission ครง้ั ท่ี 20

ตะลุยขอ้ สอบ GAT ความคิดเชอื่ มโยง

บทความท่ี 1 : ปกี ระต่ายเศรษฐกจิ โลกจะฟ้ืนตัวจรงิ หรือ

ในช่วงปลายปี พ.ศ.2553 คล่ืนความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจหดตัวทั่วโลกเร่ิมบรรเทาเบาบางลงจนนักธุรกิจ
หลายคน รวมทงั้ นกั เศรษฐศาสตรบ์ างคนตงั้ ความหวังวา่ ปหี นา้ ฟ้าใหมซ่ ึง่ เปน็ ปกี ระตา่ ยนำ� โชค การฟน้ื ตวั ของเศรษฐกจิ
โลกจะราบรน่ื แตบ่ รรดานักเศรษฐศาสตรอ์ ีกหลายคนกลบั เหน็ วา่ เศรษฐกิจโลกจะยังคงเปราะบางและจะไม่ฟ้นื ตัวอยา่ ง
ราบร่นื ดังที่คาดการณ์เพราะเกิดภาวะการฟ้ืนตวั ทไี่ มเ่ ทา่ เทยี มกันของเศรษฐกจิ ในภมู ิภาคตา่ งๆของโลก

Hans Timmer นักเศรษฐศาสตร์ท่ีธนาคารโลก กล่าวว่า สาเหตุที่ท�ำให้เกิดความไม่สมดุลของการฟื้นตัวดังกล่าว
ก็คือสภาพการณ์ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียเป็นไปอย่างเข้มแข็งในขณะที่เศรษฐกิจประเทศ
ตะวันตกกลบั มปี ัญหา

ในขณะนก้ี ารฟน้ื ตวั ของเศรษฐกจิ ในประเทศกำ� ลงั พฒั นาทง้ั หลาย โดยเฉพาะเศรษฐกจิ ประเทศในเอเชยี ขยายตวั
เข้มแข็ง และคึกคักเป็นอย่างมาก เช่น เศรษฐกิจของจีน และเศรษฐกิจของอินเดีย รวมท้ังเศรษฐกิจประเทศ
ในอาเซยี นหลายประเทศ

หากเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ท่ัวโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อนาคตเศรษฐกิจโลกก็คงจะสดใส
แต่ในขณะที่หลายประเทศในเอเชียก�ำลังก้าวไปในทางบวก เศรษฐกิจประเทศตะวันตกกลับมีปัญหา ซ่ึงเกิดจากภาวะ
ว่างงานสูงในสหรัฐอเมริกา และวิกฤตการณ์ด้านหนี้สินในประเทศกรีซ รวมท้ังวิกฤตการณ์ด้านหนี้สินในประเทศ
ไอร์แลนด์ หลังจากไอร์แลนด์มีวิกฤตการณ์ด้านหนี้สิน จนกลายเป็นประเทศที่สองต่อจากกรีซในเขตใช้เงินยูโรท่ีต้อง
ขอรับความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆในการกอบกู้ฐานะเศรษฐกิจประเทศอ่ืนๆในยุโรปท่ีมีหน้ีสินล้นพ้นก็มีท่าทางว่า
จะล่มเชน่ กันอยา่ งโปรตเุ กสและสเปน

ส�ำหรบั ประเทศไทย ภาวะเศรษฐกิจท่ีก�ำลงั ดีขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนกั จากเหตกุ ารณว์ ุน่ วาย
ในบา้ นเมอื ง กค็ งไดร้ บั ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกจิ โลกทมี่ ที า่ วา่ จะไมฟ่ น้ื ตวั อยา่ งราบรน่ื เพราะการขยายตวั ทางเศรษฐกจิ
ของไทยข้ึนอยู่กับการส่งออกสินค้าในสัดส่วนค่อนข้างสูง ถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา เราก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย
ดังน้นั ทง้ั ภาครัฐ เอกชน นกั การเมอื ง และประชาชนทกุ ๆ ฝา่ ยไม่ว่าจะมีความคิดเห็นแตกต่างกนั อย่างไร ก็ตอ้ งระวงั อยา่
ให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายดังที่ผ่านมาอันเป็นปัจจัยภายในที่มีผลลบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบ้านเรา
จะไดเ้ ตรียมพรอ้ มรบั มอื กับศกึ ภายนอกแต่เพยี งด้านเดยี ว

6 โครงการ Sahapat Admission ครัง้ ท่ี 20

วาดแผนภูมคิ ำ� ตอบ

เลขกำ� กับ ข้อความที่กำ� หนด รหสั ค�ำตอบ
01
02 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะราบร่ืน
03
04 ภาวะการฟ้ืนตัวทไี่ มเ่ ท่าเทียมกนั
05
06 ภาวะว่างงานสงู ในสหรฐั อเมริกา
07
08 วกิ ฤตการณ์ด้านหน้สี ินในประเทศกรีซ
09
10 เศรษฐกจิ ของจีน

เศรษฐกจิ ของอนิ เดีย

เศรษฐกิจประเทศตะวนั ตกกลับมีปญั หา

เศรษฐกิจประเทศในอาเซียน

เศรษฐกิจประเทศในเอเชียขยายตัวเข้มแข็ง

ไอร์แลนด์มีวิกฤตการณ์ดา้ นหนีส้ นิ

7 โครงการ Sahapat Admission ครั้งท่ี 20

บทความท่ี 2 : ลุยฝ่าวกิ ฤตเศรษฐกิจโลก สศก. แนะทางสว่างแกป้ ญั หาสินค้าเกษตร

ในภาวะที่ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกแทบจะมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เศรษฐกิจของไทยก็ได้รับผลกระ
ทบจากเศรษฐกิจโลกด้วย จนหน่วยงานต่างๆได้ออกมาปรับลดประมาณการการขยายตัวเศรษฐกิจของปีนี้ลงไปตามกัน
ผลกระทบยอ่ มเกดิ ข้นึ ตามมาเปน็ ระลอก และที่นา่ เปน็ ห่วงอยา่ งยง่ิ คอื กลมุ่ เกษตรกรซ่ึงเปน็ คนส่วนใหญข่ องประเทศ

ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง ท่ีส�ำคัญต่อภาคการเกษตรของไทยก็คือท�ำให้ทั่วโลก
ลดการใช้จา่ ยเพือ่ การบริโภคลง รวมทง้ั ทำ� ให้ภาพรวมของการส่งออกสินคา้ เกษตรและอาหารลดลง นอกจากนว้ี กิ ฤต
เศรษฐกจิ โลกยงั ทำ� ใหเ้ ศรษฐกจิ ของประเทศคคู่ า้ และประเทศไทยชะลอตวั ดว้ ย การชะลอตวั ของเศรษฐกจิ ดงั กลา่ วกส็ ง่ ผล
โดยตรงอีกทางหนึ่งท�ำให้ปัญหาการลดค่าใช้จ่ายเพ่ือการบริโภคและปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลง
มคี วามรุนแรงยิ่งข้นึ

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เกษตรกรไทยต้องล�ำบากแน่นอน เม่ือการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการส่งออกสินค้า
เกษตรและอาหารลดลง สงิ่ ทต่ี ามมาอยา่ งหลีกเล่ยี งไมไ่ ด้กค็ อื ผลกระทบตอ่ ราคาพืชผลการเกษตรของไทยคือทำ� ใหร้ าคา
ข้าวลดลง รวมทัง้ ราคายางพารา น้ำ� มนั ปาลม์ และผลติ ภัณฑ์มนั ส�ำปะหลัง นอกจากน้ีการท่ีภาวะเศรษฐกิจประเทศค่คู ้า
และของไทยชะลอตัว ยังท�ำให้การลงทุนภาคการเกษตรลดลงด้วย จากการย่ืนขอรับการส่งเสริมการลงทุนในภาคสินค้า
เกษตรในช่วงไตรมาสแรกนี้ พบวา่ ลดลงถงึ 37.3%

เลขาธกิ าร สศก.ยงั ไดว้ เิ คราะหแ์ นวโนม้ การสง่ ออกและราคาสนิ คา้ ในปนี ี้ พรอ้ มกบั แนะมาตรการแกไ้ ขปญั หาราคา
สินคา้ เกษตรตกต่�ำด้วย ตวั อย่างเช่น

มาตรการในการลดปัญหาข้าวและผลิตภัณฑ์มันส�ำปะหลังราคาตกต่�ำคือ ต้องเร่งส่งเสริมการส่งออกไปตลาด
ทย่ี งั มศี กั ยภาพ เชน่ ตลาดแอฟรกิ ายงั คงมคี วามตอ้ งการนำ� เขา้ ขา้ วจำ� นวนมากสว่ นมนั สำ� ปะหลงั กค็ วรขยายการสง่ ออกสอู่ นิ เดยี
นวิ ซแี ลนด์ ออสเตรเลยี รสั เซยี และฟลิ ปิ ปนิ ส์ ซงึ่ เปน็ ตลาดทย่ี งั มศี กั ยภาพ อกี มาตรการหนง่ึ คอื สง่ เสรมิ การสง่ ออกสนิ คา้
เกษตรคณุ ภาพดี ไปยงั ประเทศที่ตอ้ งการสนิ ค้าท่ีมคี ุณภาพ เชน่ ส่งเสริมตลาดข้าวคุณภาพดีในตะวันออกกลางและจีน
ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าท่ียังมีก�ำลังซ้ือ ส่วนผลิตภัณฑ์มันส�ำปะหลังนอกจากขยายการส่งออกดังกล่าว ก็ต้องเน้นการค้าให้มี
คุณภาพท่ีดี สะอาด และลดการปลอมปน รวมทั้งผลักดันการแปรรูปในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดข้ึนอย่างเป็น
รปู ธรรมด้วย ที่ส�ำคญั คือการขยายการผลิตเอทานอลในประเทศ เพราะจะชว่ ยดึงผลผลิตเข้าส่กู ารแปรรปู ได้มากขึ้น

นอกจากมาตรการดงั กลา่ วขา้ งตน้ ยงั มอี กี มาตรการหนง่ึ ทจ่ี ะชว่ ยลดปญั หาราคาขา้ วและราคาผลติ ภณั ฑม์ นั สำ� ปะหลงั
ตกตำ�่ คอื การประกนั ราคาพืชผลการเกษตร แตเ่ นอ่ื งจากประเทศไทยก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตวั เช่นเดียวกับ
ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รายได้ภาครัฐก็ลดลงอย่างชัดเจน จึงจ�ำเป็นต้องใช้มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาหลายๆ วิธี
ไปพร้อมกัน

8 โครงการ Sahapat Admission คร้งั ที่ 20

วาดแผนภมู ิคำ� ตอบ

เลขกำ� กบั ขอ้ ความท่ีกำ� หนด รหัสคำ� ตอบ

01 การลดคา่ ใชจ้ า่ ยเพอ่ื การบรโิ ภค

02 การส่งออกสินคา้ เกษตรและอาหารลดลง

03 ประกันราคาพืชผลการเกษตร

04 ผลติ ภณั ฑม์ ันส�ำปะหลังราคาตกตำ่�

05 มาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินคา้ เกษตรตกต่�ำ

06 ราคาขา้ วลดลง

07 วิกฤตเศรษฐกิจโลก

08 เศรษฐกจิ ของประเทศคู่ค้าและประเทศไทย
ชะลอตัว

09 ส่งเสริมการสง่ ออกไปตลาดที่ยงั มศี ักยภาพ

10 สง่ เสรมิ การส่งออกสินค้าเกษตรคณุ ภาพดี

9 โครงการ Sahapat Admission คร้งั ท่ี 20

บทความที่ 3 : นกในอเมริกาหลายชนิดเสย่ี งตอ่ การสญู พนั ธุ์

ในขณะนพี้ บวา่ มนี กในทงุ่ หญา้ 4 ชนดิ เสยี่ งตอ่ การสญู พนั ธ์ุ เมอื่ เทยี บกบั ปี ค.ศ. 1968 ปรากฏวา่ จำ� นวนนก Northern
Bobwhite ลดลง และพบว่านกกระจอก Grasshopper มีจ�ำนวนน้อยลงอย่างชัดเจน ส่วนที่น่าห่วงคือนก Greater
Prairie-Chicken รวมท้ัง เหยย่ี ว Aplomado ก�ำลงั เสีย่ งตอ่ การสูญพนั ธุ์

สาเหตทุ ท่ี ำ� ใหน้ กในทงุ่ หญา้ ทง้ั สชี่ นดิ ลดจำ� นวนลง และเสย่ี งตอ่ การสญู พนั ธม์ุ อี ยสู่ องประการ สาเหตปุ ระการแรก
คอื การขยายพนื้ ทที่ ำ� การเกษตรและปศสุ ตั ว์ เพราะการขยายพน้ื ทเ่ี พอื่ การนที้ ำ� ใหพ้ นื้ ทที่ งุ่ หญา้ ซงึ่ เปน็ ทอ่ี ยอู่ าศยั ของนก
เหล่านี้น้อยลงๆ ถึงแม้จะมีการท�ำปศุสัตว์ซ่ึงจะต้องมีการปลูกหญ้าส�ำหรับเลี้ยงสัตว์มากพอควร ซึ่งน่าจะช่วยชดเชย
พ้นื ทที่ ุ่งหญา้ ได้ แต่กลบั เปน็ ไปในทางตรงกันขา้ ม เพราะหญา้ ท่ีปลกู ไวต้ ้องถกู สตั ว์ทเ่ี ลย้ี งไวจ้ �ำนวนมากกินเปน็ อาหารไป
เรือ่ ยๆ รวมทัง้ มกี ารเผาหญา้ ทใ่ี ชเ้ ล้ยี งสตั วค์ ่อนขา้ งบ่อยเพ่ือปลูกใหม่ และทส่ี �ำคัญคือเผาหญ้ากนั ในชว่ งท่นี กกำ� ลังท�ำรงั
นอกจากการท�ำการเกษตรพชื พนั ธ์ุธญั ญาหารและปศสุ ัตว์ดงั กลา่ ว ยงั มกี ารปลกู พชื ทดแทนน้ำ� มนั มากขึ้นดว้ ย ทำ� ให้พื้นที่
ทุ่งหญา้ น้อยลง

สาเหตปุ ระการทส่ี องทที่ ำ� ใหน้ กในทงุ่ หญา้ ทง้ั สชี่ นดิ ลดจำ� นวนลงกค็ อื ภาวะโลกรอ้ น อากาศทร่ี อ้ นขนึ้ ทำ� ใหเ้ กดิ ความ
แห้งแล้งทุ่งหญา้ อนั เป็นทอ่ี ยอู่ าศัยรวมทงั้ อาหารต่างๆ ของนกเหลา่ น้ีจงึ ลดลง

สาเหตุทง้ั สองประการดังกลา่ วนเ่ี องท�ำใหน้ กในทุ่งหญา้ ทงั้ ส่ีชนดิ ลดลงหรือเสยี่ งต่อการสูญพันธุ์

ในรายงานไดเ้ สนอมาตรการแกป้ ญั หา ซงึ่ ไดม้ าจากการวเิ คราะหส์ ถานการณข์ องคณะผเู้ ขยี นรายงานอยา่ งรอบดา้ น
มาตรการแรกคือการท�ำการเกษตรแบบอนุรักษ์พ้ืนท่ีทุ่งหญ้า มาตรการที่สองคือการตัดหญ้าหรือการเผาหญ้า
ใหส้ อดคลอ้ งกบั วถิ ชี วี ติ ของนก แนวทางทงั้ สองนไ้ี ดร้ บั การสนบั สนนุ และชดเชยคา่ ใชจ้ า่ ยจากโครงการFarm Conservation
Program อีกมาตรการหนึ่งที่เสนอไว้คือการขยายโครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้�ำให้ครอบคลุมพ้ืนท่ีทุ่งหญ้าด้วย เพ่ือให้ได้
ประโยชน์ทงั้ นกในพ้นื ทชี่ มุ่ น้ำ� และในท่งุ หญ้า

คณะผเู้ ขยี นรายงานเช่ือวา่ มาตรการท้ัง 2-3 ประการดงั กล่าวขา้ งต้น นอกจากจะช่วยกันยับย้งั ปัญหาที่นกในทงุ่ หญา้
ทั้งส่ีชนิดมีจ�ำนวนลดลงหรือเส่ียงต่อการสูญพันธุ์ ยังจะช่วยให้นกเหล่าน้ีค่อยๆ เพิ่มจ�ำนวนข้ึนในเวลาไม่นานเช่นเดียว
กบั นกอกี หลายชนดิ ท่เี คยชว่ ยกันอนรุ ักษ์มาแลว้

10 โครงการ Sahapat Admission ครั้งที่ 20

วาดแผนภมู คิ ำ� ตอบ

เลขกำ� กบั ข้อความที่ก�ำหนด รหัสคำ� ตอบ

01 การขยายพน้ื ท่ีทำ� การเกษตรและปศุสตั ว์

02 การท�ำการเกษตรแบบอนรุ ักษ์พื้นทที่ ุ่งหญ้า

03 การเผาหญ้าใหส้ อดคลอ้ งกบั วิถีชีวติ ของนก

04 การวิเคราะหส์ ถานการณข์ องคณะผู้เขยี นรายงาน

05 จำ� นวนนก Northern Bobwhite ลดลง

06 นกกระจอก Grasshopper มีจ�ำนวนน้อยลง

07 ภาวะโลกรอ้ น

08 มาตรการแก้ปัญหา

09 สาเหตุที่ท�ำใหน้ กในทงุ่ หญา้ ท้ังสช่ี นิดลดจำ� นวนลง

10 เหยยี่ ว Aplomado กำ� ลงั เส่ยี งตอ่ การสูญพนั ธุ์

11 โครงการ Sahapat Admission ครง้ั ท่ี 20

บทความท่ี 4 : จดุ ออ่ นของคนไทย

ในโอกาสวนั แมแ่ หง่ ชาติ 12 สิงหาคม ดฉิ ันและเพื่อนๆอีก 4 คนนดั กนั ชวนคุณแมม่ ารับประทานอาหารและสังสรรค์
กนั ทบี่ า้ นดฉิ นั ขณะทคี่ ณุ แมท่ ง้ั หา้ คนนงั่ ดลู ะครทวี เี รอื่ งโปรด พวกลกู ๆกค็ ยุ กนั เรอ่ื งสพั เพเหระตอ่ ทโ่ี ตะ๊ อาหาร พอหมดเรอื่ ง
คุยก็หันมาวิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองว่ามีปัญหาไม่หยุดไม่หย่อน ลงท้ายก็มาโทษกันเองว่าเป็นเพราะคนไทยมีจุดอ่อน
อยา่ งนั้นอย่างน้ี เรอ่ื งน้ีคงตดิ อยูใ่ นหัวเพือ่ นคนหน่งึ วันรงุ่ ขึน้ จึงสง่ บทความท่เี อามาจาก internet มาให้ เป็นเร่ือง จุดอ่อน
ของคนไทย 10 ประการ ในมุมมองของคุณวิกรม กรมดิษฐ์ (คุณวิกรม กรมดิษฐ ์ เป็นผู้ก่อต้ังและเป็นประธานบริหาร
บริษัทอมตะ คอร์ปอเรชัน จ�ำกัด เป็น เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร รวมทั้งบริษัทในเครืออมตะ
อีกหลายแห่ง) แม้จะมีบางประการท่ีดิฉันไม่เห็นด้วยนัก แต่ก็ต้องเปิดใจกว้างรับฟังไว้เพ่ือน�ำมาใคร่ครวญไตร่ตรองดู
ภายหลัง

จุดอ่อนดังกล่าวได้แก่ รู้จักหน้าท่ีของตัวเองต�่ำมาก การศึกษายังไม่ทันสมัย มองอนาคตไม่เป็น ไม่จริงจังใน
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มแข็ง อิจฉาตาร้อน เอ็นจีโอ
บ้านเราคา้ นลูกเดยี ว ยงั ไม่พร้อมในเวทโี ลก และสดุ ทา้ ยคือ คนไทยเล้ยี งลกู ไม่เปน็ จดุ อ่อนทั้ง 10 น้ี ดิฉันขอนำ� มาขยาย
ความเพยี งบางส่วนบางประการเท่าทเ่ี น้ือทีจ่ ะอ�ำนวย

ประการแรกคือ รู้จักหน้าที่ของตัวเองต่�ำมากโดยเฉพาะหน้าท่ีต่อสังคม ลักษณะของจุดอ่อนข้อนี้ท่ีเห็นได้ชัดคือ
มสี ำ� นกึ ตอ่ สงั คมสว่ นรวมตำ่� และมอื ใครยาวสาวไดส้ าวเอา หลายคนแสวงหาอำ� นาจเพอ่ื จะตกั ตวงผลประโยชน์ จนมี
ค�ำพูดว่าธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ลักษณะของจุดอ่อนท้ังสองอย่างดังกล่าวท�ำให้บ้านเมืองเรา
ไม่เจริญเท่าทีค่ วร ประเทศชาติลา้ หลงั ไปเร่ือยๆ

ประการตอ่ มาคอื การศกึ ษายงั ไมท่ นั สมยั ซงึ่ ทส่ี ำ� คญั คอื เรอ่ื งภาษา เปน็ เหตใุ หค้ นไทยขาดโอกาสในการแขง่ ขนั กบั
ต่างชาตใิ นเวทีตา่ งๆประเทศอ่ืนๆรู้จักคนไทยนอ้ ยมากเนอ่ื งจากคนไทยขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่มนั่ ใจในตัวเอง การที่
คนไทยมีโอกาสในการแขง่ ขันกบั ต่างชาติน้อยหรือไม่มี ทำ� ให้บา้ นเมืองเราไม่เจรญิ พอท่ีจะแข่งขนั กับชาตอิ นื่ ๆ ในเวทโี ลก

จุดอ่อนของคนไทยประการสุดท้ายท่ีขอน�ำมาอธิบายในท่ีน้ีคือ คนไทยมองอนาคตไม่เป็น โดยมีลักษณะเด่นเท่าที่
สงั เกตเหน็ คอื คนไทยกวา่ ร้อยละ 70 ไม่มีเปา้ หมายทช่ี ดั เจนในอนาคต ท�ำงานกนั แบบวนั ตอ่ วัน แกป้ ัญหาเฉพาะหนา้
ไปวนั ๆ นอ้ ยนกั ทจ่ี ะวางแผนใหต้ วั เองอยา่ งเปน็ ระบบและอยา่ งเปน็ ขน้ั เปน็ ตอน ชอบพงึ่ พาสงิ่ งมงายและโชคชะตา พอใจ
ท�ำงานแบบต�ำขา้ วสารกรอกหม้อ ลกั ษณะเช่นน้ีทำ� ให้บา้ นเมอื งเราไม่เจรญิ เช่นกนั

12 โครงการ Sahapat Admission คร้ังท่ี 20

วาดแผนภูมิคำ� ตอบ

เลขก�ำกับ ขอ้ ความท่กี �ำหนด รหสั ค�ำตอบ
01 การศกึ ษายังไม่ทันสมัย
02 แกป้ ัญหาเฉพาะหนา้ ไปวันๆ
03 ขาดโอกาสในการแข่งขนั กบั ตา่ งชาติ
04 จุดออ่ นของคนไทย
05 บ้านเมืองเราไมเ่ จริญ
06 มองอนาคตไม่เป็น
07 มสี ำ� นึกต่อสังคมส่วนรว่ มตำ�่
08 มือใครยาวสาวได้สาวเอา
09 ไมม่ ีเปา้ หมายท่ชี ัดเจนในอนาคต
10 รู้จักหนา้ ท่ขี องตัวเองต�่ำมาก

13 โครงการ Sahapat Admission คร้งั ที่ 20

บทความท่ี 5 :อะไรจะเกดิ ขึ้นนับตั้งแตว่ นั ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

ประเทศในกลมุ่ อาเซยี นจะรวมตวั เปน็ ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น และมผี ลอยา่ งจรงิ จงั ในวนั ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558
นบั ตง้ั แตว่ นั น้ันภมู ภิ าคนจี้ ะเปล่ยี นไปมากอย่างทหี่ ลายคนอาจคิดไม่ถึง

เมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนท้ัง 10 ประเทศรวมตัวกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ข้อตกลงของประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนจะท�ำให้การเคลื่อนย้ายสินค้า การลงทุนท�ำธุรกิจต่าง ๆ และการเคล่ือนย้ายแรงงานฝีมือท�ำได้
อยา่ งเสรี บรรยากาศการคา้ และการลงทนุ จะสะดวกมากขนึ้ จากการลด/เลกิ ขอ้ จำ� กดั และกฎระเบยี บทเ่ี ปน็ อปุ สรรคตา่ ง ๆ

เมื่อการเคล่ือนย้ายสินค้าท�ำได้อย่างเสรี จะท�ำให้ไทยขยายการส่งออกสินค้าได้เพ่ิมข้ึน เช่น เกษตรกรไทย
จะสง่ ออกสินคา้ ไดม้ ากขึ้น ไมใ่ ช่จ�ำหน่ายเฉพาะตลาดภายในประเทศทีม่ ปี ระชากร 69 ลา้ นคน แตจ่ ะเพ่มิ สูงถงึ 590 ล้าน
คนในตลาดอาเซียน แต่ในขณะเดียวกัน การเปิดเสรีในการเคล่ือนย้ายสินค้าก็จะท�ำให้ประเทศอาเซียนอื่นขยายการ
สง่ ออกสินค้าได้มากขนึ้ เช่นกัน ท�ำใหข้ ้อดที ี่ไทยจะเพิม่ การสง่ ออกสินคา้ ไดม้ ากขน้ึ น้ันลดลง เพราะสินคา้ ประเทศอื่น
ท่ีมีความหลากหลาย และ/หรือ มีคุณภาพดีกว่า และ/หรือ ราคาถูกกว่าจะแข่งขันกับสินค้าส่งออกของไทยหรือแม้แต่
แย่งตลาดภายในประเทศ ไทยจึงจ�ำเป็นต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิต เพ่ือเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแขง่ ขนั กบั สนิ คา้ ของประเทศอืน่

การที่แรงงานฝีมอื หรอื กลมุ่ วิชาชีพเช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นกั บัญชี ของประเทศต่าง ๆในกลมุ่ อาเซยี น
สามารถไปท�ำงานในประเทศสมาชกิ อาเซียนอืน่ ได้อย่างเสรี ผลท่ีตามมากจ็ ะเปน็ ไปในท�ำนองเดยี วกันกบั เร่ืองการส่งออก
สนิ ค้า คือ แรงงานฝีมอื ของไทยจะหางานท�ำไดง้ ่ายขนึ้ แต่กจ็ ะมีอุปสรรคขัดขวางท่ีส�ำคัญคอื คนไทยมีจดุ ออ่ นเรอื่ ง
ภาษาอังกฤษประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือชาติอาเซียนอื่นก็เคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรีเช่นเดียวกัน
หากไทยไมเ่ ก่งพอ ภาษาไม่ดพี อ แทนท่ีเราจะหางานได้ง่ายขนึ้ กลบั จะถกู คนชาติอน่ื แย่งงาน

ส�ำหรับเรื่องการลงทุนท�ำธุรกิจ ไทยสามารถลงทุนท�ำธุรกิจในประเทศอาเซียนอ่ืนได้ เนื่องจากมีการเปิดเสรี
ในการลงทนุ แตอ่ ยา่ ลมื วา่ คนอนื่ กท็ ำ� ไดเ้ ชน่ กนั จงึ ตอ้ งวางแผนและเตรยี มการใหพ้ รอ้ มอยา่ งเตม็ ทกี่ อ่ นเรม่ิ เปดิ ประชาคม
เศรษฐกจิ อาเซียน

14 โครงการ Sahapat Admission ครัง้ ท่ี 20

วาดแผนภูมิค�ำตอบ

เลขก�ำกบั ขอ้ ความทีก่ ำ� หนด รหสั ค�ำตอบ

01 การเคลื่อนยา้ ยแรงงานฝมี อื ท�ำได้อย่างเสรี

02 การเคลื่อนย้ายสินคา้ ท�ำได้อย่างเสรี

03 การเปิดเสรใี นการลงทุน

04 ข้อตกลงของประชาคมเศรษฐกจิ อาเซียน

05 คนไทยมจี ุดออ่ นเร่ืองภาษาอังกฤษ

06 ชาตอิ าเซยี นอนื่ ก็เคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี

07 ไทยจะเพม่ิ การสง่ ออกสนิ ค้าได้มากข้นึ

08 ไทยสามารถลงทนุ ทำ� ธรุ กิจในประเทศอาเซียนอนื่ ได้

09 ประเทศอาเซยี นอืน่ ขยายการสง่ ออกสินคา้ ได้มากขึ้น

10 แรงงานฝมี ือของไทยจะหางานท�ำไดง้ า่ ยข้ึน

15 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ที่ 20

ภาษาไทย (O-NET+สามญั ) ผศ.ดร. ธเนศ เวศร์ภาดา

คณบดคี ณะมนษุ ยศาสตร์และประยุกต์ศลิ ป์ มหาวิทยาลัยหอการคา้ ไทย

การอา่ นจบั ใจความ ภาษากับการแสดงความคิด

1. ข้อใดไม่ได้กลา่ วถงึ ในข้อความตอ่ ไปน้ี
โครงการ “ต�ำบลละลา้ น” เป็นโครงการทร่ี ฐั บาลจดั สรรเงินให้แกร่ าษฎรในพ้ืนทที่ ่ีประสบภัยแล้งซ�้ำซาก ตำ� บลละ
ไม่เกิน 1 ล้านบาท เพื่อสร้างพ้ืนฐานทางเกษตรกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตต้ังแต่เดือนมกราคม
ถึงมิถุนายนน้ี โดยมงุ่ สร้างรายไดแ้ ก่เกษตรกรผมู้ รี ายไดน้ ้อย

1. ผทู้ ี่ได้รบั ประโยชน ์ 2. จดุ ประสงคข์ องโครงการ
3. ขั้นตอนในการจัดโครงการ 4. จำ� นวนงบประมาณทจี่ ดั ให ้
5. ระยะเวลาในการจัดโครงการ

2. ขอ้ ใดเปน็ จดุ เด่นของผลฟกั ข้าวในขอ้ ความต่อไปนี้
หากนำ� ผลสกุ ของฟักข้าวมาเผา จะพบไส้ในซึ่งเปน็ เย่ือหุม้ เมลด็ เหมอื นวนุ้ สแี ดงสด จากการศึกษาพบวา่ เย่ือหุม้
เมลด็ นม้ี ีสารต้านอนมุ ูลอสิ ระในปริมาณที่สงู มาก กลา่ วคือมไี ลโคปีนสงู กว่ามะเขือเทศ 12 เท่า และมเี บตาแคโรทนี
ผ ศ.ดมโรดา.ยกธแกเปวนร่าศรแูปคเวเรปศอน็ รตผภ์ถลาึงิตด1ภา0ัณเฑทท์่า่ีมดสี ้วรยรปพรคิมุณาโณดสดาเดรต่น้ามนผี อตู้ นงั้ ุมสูลมอญิสาระผใักนพเื้นย่ือบหา้ นุ้มชเมนลิด็ดน้วี จา่ ึง ม “ีกผาลรไนม�ำ้จผาลกฟสักวรขร้าคว”์ มาใช้ประโยชน์

1. ชอื่ 2. สีสดใส 3. ชนดิ ของพชื
4. สารภายในผล 5. ผลติ ภณั ฑแ์ ปรรูป

3. ใจความสำ� คัญของขอ้ ความตอ่ ไปนอี้ ยู่ทส่ี ว่ นใด
1) คนพม่าส่วนใหญ่มีพลังศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระพุทธศาสนา / 2) เราจะเห็นได้ชัดเบื้องแรกคือการไม่สวม
รองเท้าเข้าไปในเขตวัด / 3) อีกตัวอย่างหนึ่งคือการปิดทองค�ำเปลวที่องค์พระมหามัยมุนีจนผิวขององค์พระ
ขรุขระ / 4) คนพมา่ ตั้งใจสวดมนต์อย่างสม�ำ่ เสมอ / 5) และบางเมอื งยังมีเจดีย์เรยี งรายไปไกลสุดตา

1. สว่ นที ่ 1 2. ส่วนที ่ 2 3. ส่วนที่ 3 4. สว่ นท ่ี 4 5. ส่วนที่ 5

4. ขอ้ ใดเป็นจดุ ประสงค์ของข้อความตอ่ ไปน้ี
หอยท่ีเป็นศัตรูร้ายท่ีสุดของพืชที่ข้ึนในน�้ำแทบทุกชนิดคือหอยเชอร่ี ซึ่งสามารถกินต้นข้าวหรือบัวในนาเป็น
แปลง ๆ ได้ เกษตรกรต้องปราบด้วยการป้องกันไม่ใช้แก้คือกันไม่ให้หอยฟักเป็นตัว โดยเก็บไข่หอยท่ีเป็นกระจุก
สีชมพูสดเป็นมันซ่ึงติดอยู่ตามยอดหญ้า ไม้ หรือผนังเต้ีย ๆ แล้วโยนลงน�้ำ ภายใน 24 ชั่วโมงแรกไข่จะฝ่อไม่ฟัก
เพราะขาดออกซเิ จน

1. อธบิ ายลกั ษณะของหอยเชอร่ ี 2. แนะนำ� ทีอ่ ย่อู าศัยของหอยเชอร่ี
3. เตือนใหร้ ะวังการบริโภคของหอยเชอร่ ี 4. บอกเล่าถึงอนั ตรายจากหอยเชอรี่
5. ให้ความร้เู กย่ี วกบั การก�ำจดั หอยเชอร่ี

16 โครงการ Sahapat Admission คร้งั ที่ 20

5. ข้อใดเป็นเจตนาของผู้เขยี นขอ้ ความตอ่ ไปนี้
การออกกำ� ลงั กายอยา่ งสม�่ำเสมอและเหมาะสมชว่ ยลดระดบั ความดนั โลหติ และเพมิ่ การทำ� งานของระบบหวั ใจ
และหลอดเลอื ด ตลอดจนลดความเส่ยี งต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเสน้ เลอื ดในสมองตบี แตก่ ่อนเริ่มต้นออกก�ำลังกาย
ควรวดั ความดนั โลหติ กอ่ นทุกครงั้ และเตรียมร่างกายใหพ้ รอ้ ม ไมค่ วรออกกำ� ลังกายในขณะท่ีความดนั โลหติ สงู กว่า
ปกติ

1. บอกปญั หา 2. ตอบข้อสงสัย 3. แนะให้ปฏิบตั ิ
4. เสนอทางเลือก 5. อธบิ ายเหตผุ ล

6. ข้อใดไมไ่ ดก้ ลา่ วถงึ ในข้อความต่อไปน้ี
มหาหงส์เป็นไม้ล้มลุก ทางเหนือเรียกเหินแก้ว อีสานเรียกสะเลเต ภาคกลางเรียกว่ามหาหงส์เหมาะส�ำหรับ
ปลูกประดับ เป็นต้นไม้ที่แพร่ขยายได้อย่างรวดเร็วมีกล่ินหอม ใช้ท�ำน้�ำหอมและใช้ในวงการสปาเหง้าใช้ท�ำยาแก้
เจ็บคอ ฆา่ เชื้อโรค น้�ำค้นั จากเหง้านำ� มาทาแก้ฟกชำ�้ ด�ำเขยี วได้

1. วธิ ีขยายพันธุ์ 2. สรรพคุณทางยา 3. ลักษณะพนั ธุไ์ ม้
4. การใชป้ ระโยชน ์ 5. ชือ่ เรียกตามทอ้ งถน่ิ

7. ถา้ เปรยี บนกเปน็ คน “นก” ในขอ้ ความตอ่ ไปนี้มบี ุคลกิ ภาพตามขอ้ ใด
มีนกตัวหน่ึง เวลาบินมันจะให้ตัวอื่นน�ำทาง เวลาหยุดพักมันจะอยู่ปะปนในฝูง เวลากินอาหารมักจะไม่แย่ง
กินกอ่ น ด้วยเหตุน้ีใคร ๆ จึงไม่อาจท�ำรา้ ยมันได้

1. ออ่ นแอ 2. ขีเ้ กรงใจ 3. เฉลียวฉลาด 4. ไม่เห็นแกต่ วั 5. ขาดความมั่นใจ

8. สาระส�ำคัญของขอ้ ความตอ่ ไปนอี้ ยูท่ ส่ี ว่ นใด
1) โรงเรยี นแหง่ นปี้ ระสบความสำ� เรจ็ ในการบม่ เพาะใหน้ กั เรยี นมคี ณุ ภาพและคณุ ธรรม / 2) ศษิ ยท์ กุ คนจะเตบิ โต
เป็นผู้น�ำท่ีดีในอนาคต / 3) ในขณะเดียวกันก็มีจิตส�ำนึกสาธารณะ / 4) มีเครื่องมือในการประกอบอาชีพคือ
ความสามารถในการสอื่ สารทง้ั ภาษาไทยและภาษาองั กฤษอยา่ งเปน็ ธรรมชาติ / 5) โรงเรยี นกลอ่ มเกลาจติ ใจใหศ้ ษิ ย์
มีความรกั ศลิ ปะและดนตรีซึ่งจะสรา้ งสุนทรียภาพ พฒั นาการท่ีดีและดลุ ยภาพ

1. ส่วนที่ 1 2. สว่ นท่ี 2 3. สว่ นที่ 3 4. สว่ นท่ี 4 5. สว่ นที่ 5

9. สว่ นใดของขา่ วต่อไปนไี้ ม่มีความคดิ เห็นของผู้เขียน
1) “เทศกาลหวานเพลงรกั ” จัดโดยมูลนิธิอนรุ ักษ์พระราชวงั พญาไท/ 2) น�ำศิลปนิ คณุ ภาพชั้นนำ� มารว่ มร้องเพลง
คู่กันเป็นครั้งแรก /3) งานนี้ครูออด จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ได้เลือกบทเพลงรักมาให้ผู้ชมท่ีศูนย์วัฒนธรรม ฯ
ได้ฟังกัน / 4) คอนเสิร์ตน้ีไม่ท�ำให้แฟนเพลงผิดหวัง เพราะมีบทเพลงลูกกรุงสุดแสนอมตะท่ีร้องโดยศิลปินชั้นครู /
5) ปิดฉากคอนเสิร์ตด้วยความประทบั ใจท้ังผู้ฟังและศิลปิน พร้อมผทู้ อี่ ยเู่ บ้ืองหลงั ทุกท่าน

1. สว่ นท่ี 1 และสว่ นท่ี 2 2. สว่ นท ี่ 2 และสว่ นท่ี 3 3. ส่วนท่ี 1 และสว่ นที่ 3
4. ส่วนท่ี 3 และสว่ นท ี่ 4 5. สว่ นที่ 4 และสว่ นที ่ 5

17 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ท่ี 20

10. จากข้อความต่อไปน้ี เหตใุ ดผพู้ ดู จึงกล่าวว่าจะรบั ฟังพนกั งานให้มากท่ีสดุ
ผมมองวา่ ตำ� แหนง่ ผบู้ รหิ ารมอื ใหมอ่ ยา่ งผมมคี วามทา้ ทายและสนกุ คดิ วา่ ผมจะสามารถสรา้ งความเปลย่ี นแปลง
ได้ในแง่ท่ีดีย่ิงข้ึนท้ังในบริบทของบริษัทของผู้บริโภคและของการตลาด โชคดีท่ีบริษัทมีข้อมูลที่ดี มีพนักงาน
ทีม่ ปี ระสบการณพ์ ร้อมอย่แู ลว้ ผมเพียงฟงั พวกเขาให้มากทส่ี ุด คุยกับพนกั งานใหม้ ากท่สี ดุ

1. บริษัทมขี อ้ มูลที่ดเี ปน็ จำ� นวนมาก 2. พนักงานบริษัทมีประสบการณม์ านาน
3. ผูพ้ ูดชอบความทา้ ทายและความสนกุ 4. บรษิ ัทมีความเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา
5. ผ้บู ริโภคและตลาดมีอิทธพิ ลต่อบริษัท

11. ขอ้ ใดเปน็ จดุ ประสงค์ของผู้เขียนขอ้ ความตอ่ ไปนี้
การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกต้ังแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาไม่จ�ำเป็นต้องเจาะน้�ำคร�่ำ
เพียงแต่เจาะเลือด 10 มิลลิลิตร จากหญิงที่ตั้งครรภ์สามารถตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้
และสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ข้ึนไป ให้ผลแม่นย�ำถึง 99 % นับเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์
ทน่ี า่ สนใจวิธีหน่ึง

1. แนะน�ำวธิ ีตรวจโครโมโซมของทารก
2. คาดคะเนผลของการตรวจการตง้ั ครรภ์
3. ช้แี จงรายละเอยี ดการตรวจเลือดในหญงิ ตงั้ ครรภ์
4. เปรยี บเทยี บนวตั กรรมทางการแพทย์ท่ีเกิดขึ้นใหม่
5. น�ำเสนอข้อมลู การตรวจความผดิ ปกติของทารกในครรภ์

12. ข้อใดเปน็ จุดประสงคข์ องขอ้ ความตอ่ ไปน้ี
บ้านที่มีเด็กเล็ก ๆ พ่อแม่ต้องดูแลส่ิงแวดล้อมให้ปลอดภัย ภายในบ้านต้องระวังปล๊ักไฟอย่าให้อยู่ใกล้มือเด็ก
ข้าวของในบ้านต้องจัดวางให้พ้นมือเด็ก เช่น ของแต่งบ้านที่บอบบางแตกหักง่าย ยาและสารพิษต่าง ๆ รวมทั้ง
เคร่อื งเรือนทม่ี ีเหล่ยี มคม

1. ให้ขอ้ มลู เรอ่ื งอบุ ัตเิ หตภุ ายในบา้ น
2. ตัง้ ข้อสงั เกตเก่ยี วกับอนั ตรายทจี่ ะเกิดกับเด็กเลก็ ๆ
3. บอกกล่าวถึงอันตรายที่เกดิ จากสงิ่ แวดล้อมภายในบา้ น
4. แนะนำ� ให้จัดเก็บสิ่งของทเี่ ปน็ อันตรายตอ่ เดก็ เลก็ ๆ
5. เสนอแนะให้ปรบั สภาพสง่ิ แวดลอ้ มทงั้ หมดเม่ือมเี ด็ก

13. ข้อความต่อไปนมี้ ปี ระเดน็ ส�ำคญั ตามขอ้ ใด
อากาศท่ีเราหายใจเข้าไปจะผ่านเข้าทางจมูก ผ่านล�ำคอ หลอดลม แล้วเข้าสู่ปอด ขณะที่อากาศผ่านจมูก
ต้องผ่านโพรงจมูก โพรงจมูกจะท�ำให้อากาศอุ่นขึ้น และขับสารเหลวออกเป็นน้�ำมูก ดักส่ิงสกปรกจ�ำพวกเช้ือโรค
ฝ่นุ ละออง ไม่ใหเ้ ข้าไปในหลอดลมและปอด

1. ทางผา่ นของลมหายใจ 2. หน้าทข่ี องโพรงจมูก 3. ประโยชน์ของน้ำ� มกู
4. การทำ� งานของปอด 5. การหายใจเขา้ ออก

18 โครงการ Sahapat Admission ครัง้ ที่ 20

14. ขอ้ ใดอนมุ านไดว้ า่ เป็นความคิดของผู้เขยี นข้อความตอ่ ไปน้ี
วรรณคดีมีบทบาทเหมือนงานศิลปะประเภทอื่นๆ คือสร้างความบันเทิงใจและจรรโลงใจ ความบันเทิงใจคือ
ความอิ่มใจ อิ่มอารมณเ์ ม่ือได้เสพรสงานศิลปะ เช่นเดยี วกบั ความอ่มิ ท้องเมอื่ ไดเ้ สพรสอาหาร สว่ นความจรรโลงใจ
หมายถึงความผ่องแผ้ว ช่ืนบานและร่าเริง หายจากความหมกมุ่นกังวล และมีอารมณ์ที่ขัดเกลาแล้ว วรรณคดี
จงึ นบั ไดว้ า่ เป็นส่งิ ท่กี ล่อมเกลามนษุ ยใ์ ห้รูจ้ กั ความงาม ความดี และความเปน็ จรงิ ของชีวติ

1. คนทีอ่ า่ นวรรณคดแี ลว้ เขา้ ใจย่อมดูศลิ ปะอ่ืนๆให้เขา้ ใจได้
2. ถา้ ไม่ได้อ่านวรรณคดคี นเราจะมคี วามหมกม่นุ กังวลใจ
3. ถ้าผู้ใดต้องการรู้จักความเป็นจริงของชวี ิต ผูน้ นั้ ต้องอ่านวรรณคดี
4. การอา่ นวรรณคดอี าจท�ำให้คนเกดิ ความพงึ พอใจและมจี ติ ใจสงู ขน้ึ ได้
5. วรรณคดีควรจัดให้รวมอย่ใู นกลมุ่ เดียวกบั ศลิ ปะประเภทอื่น

15. การปั่นจักรยานช่วยท�ำให้เราเดินทางไปได้ดังใจท่ีเราต้องการ ไร้มลพิษ และได้ฝึกท้ังร่างกายจิตใจ อีกทั้งการ
ทจี่ ะปน่ั จกั รยานไปตามเสน้ ทางสงู ชนั และขรขุ ระลำ� บากหรอื เรยี กวา่ ออฟโรดไดน้ น้ั นกั ปน่ั จะตอ้ งมรี า่ งกายทแี่ ขง็ แรง
สมบูรณ์พอควร และจะต้องมีสมาธิในการปั่นไปตามเส้นทางนั้นๆ นอกจากน้ีหากไปกันเป็นทีมก็ต้องเอื้อเฟื้อช่วย
เหลือเพ่ือนในทีมคนอ่ืนๆ ด้วย อาจจะต้องช่วยซ่อมจักรยาน ช่วยแบกของกันบ้าง การปั่นจักรยานจึงมีประโยชน์
หลายประการซงึ่ ท�ำใหผ้ มชอบการปน่ั จักรยาน

ข้อใดคอื ใจความสำ� คญั ของข้อความขา้ งตน้

1. ประโยชนข์ องการปัน่ จักรยานมีหลายประการ
2. นกั ปั่นจกั รยานต้องมีร่างกายแข็งแรง
3. สมาธิเปน็ สิ่งจำ� เปน็ ในการปน่ั จักรยานตามเส้นทางท่ีล�ำบาก
4. การออกกำ� ลงั กายฝึกทงั้ ร่างกายและจติ ใจ
5. การปั่นจักรยานเปน็ ทีมสร้างความมนี ้ำ� ใจ

16. ขอ้ ความนี้เปน็ ถ้อยความประเภทใด
“เราไม่อาจทำ� งานท่ยี ่งิ ใหญ่กนั ได้ทกุ คน แต่เราทำ� งานเลก็ ๆ ดว้ ยความรกั อนั ยงิ่ ใหญ่ได”้

1. ภาษิต 2. โอวาท 3. ค�ำคม 4. ค�ำขวัญ 5. คำ� เตือน

17. ขอ้ ความตอ่ ไปนีม้ ใี จส�ำคญั อยู่ท่ีส่วนใด
1) เหด็ เกดิ ชกุ ชุมตามธรรมชาตใิ นฤดฝู น / 2) ตามปา่ ทุ่งนา ท่งุ หญา้ พนื้ ดิน ตน้ ไม้ ขอนไม้ /
3) ส่วนใหญม่ ีชีวิตอยู่ตามอนิ ทรียวตั ถุ / 4) เชน่ กองปุ๋ยหมัก มลู สตั ว์ พืชทตี่ ายไปแลว้ /
5) ทำ� ใหเ้ กิดการผเุ ปอ่ื ยของอินทรยี วตั ถุเหล่านน้ั

1. สว่ นท่ี 1 2. ส่วนท่ี 2 3. สว่ นที่ 3 4. สว่ นที่ 4 5. สว่ นที่ 5

19 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ที่ 20

18. ขอ้ ใดเป็นประเด็นสำ� คัญของข้อความต่อไปน้ี
มูลวัวมูลควายน้ันหากปล่อยตามธรรมชาติจะกินเวลานานเป็นปีจึงจะย่อยสลายกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์
ของแมลงวนั ชนดิ ตา่ งๆ ในประเทศออสเตรเลยี มดี ว้ งปกี แขง็ ชนดิ หนง่ึ กนิ มลู สตั วเ์ ปน็ อาหาร และยงั มนี สิ ยั เกบ็ มลู สตั ว์
รวมเป็นก้อน พร้อมทั้งวางไข่ในมูลสัตว์น้ัน และน�ำไปเก็บรวบรวมไว้เป็นอาหารของตัวอ่อน ดังน้ันด้วงจึงช่วยขจัด
มูลสตั ว์ไดใ้ นเวลาอนั รวดเร็ว และยังชว่ ยเกบ็ รวบรวมมลู สตั ว์ใหม้ นุษยไ์ ด้ใช้ประโยชนอ์ กี ด้วย

1. วธิ กี ารย่อยสลายมูลวัวมูลควาย 2. วงจรชีวิตของดว้ งปีกแข็งในออสเตรเลีย
3. การเลยี้ งดว้ งปกี แข็งท่ีกนิ มูลสัตว ์ 4. ธรรมชาตขิ องด้วงปกี แข็งทีก่ นิ มลู สตั ว์
5. แหลง่ แพรพ่ ันธ์ุของแมลงวันในออสเตรเลยี

19. ขอ้ ใดไม่ใชล่ กั ษณะนิสัยของบคุ คลในข้อความตอ่ ไปนี้
“ข้าเป็นทหารไม่มีวนั จะสะทา้ นศึกสงคราม แต่เรากต็ อ้ งรู้จกั ประเมินกำ� ลงั ทงั้ ของตนเองและข้าศกึ ขณะนี้เหน็ อยู่
ว่าข้าศึกเป็นต่อเหลือเกิน สู้ต่อไปบ้านเมืองผู้คนจะบอบช้�ำ แม้นว่าเป็นไมตรีกันไว้ก่อนจะช่วยประคองบ้านเมือง
และผูค้ นไว้ไดแ้ ต่เราเตรียมรบั มอื ภัยศึกสำ� หรับวนั หนา้ ด้วย”

1. รอบคอบ 2. ยตุ ิธรรม 3. กล้าหาญ 4. รักพวกพอ้ ง 5. มองการณไ์ กล

20. ขอ้ ใดเปน็ ความคดิ หลกั ของข้อความต่อไปนี้และเม่ือนำ� มาเตมิ ในช่องวา่ งแล้วจะทำ� ใหไ้ ดใ้ จความสมบูรณ์
.................. เป็นส่ิงส�ำคัญมาก หากผู้บริหารอยากให้พนักงานของตนพร้อมใจกันท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอ้ งจุดไฟภายในตวั พวกเขาให้ลุกโชน เพอ่ื ใหพ้ วกเขาเหล่านน้ั ทุม่ เททำ� งานน�ำความส�ำเร็จมาส่อู งคก์ ร

1. พลงั ใจ 2. สุขภาพ 3. ความดี 4.กำ� ลังกาย 5. ความสามัคคี

21. ข้อใดอนุมานไดจ้ ากขอ้ ความต่อไปน้ี
ประเด็นเร่ือง “ง่วงแล้วขับ” เป็นปัญหาส�ำคัญในการรณรงค์ เพราะปัจจุบันเราไม่มีวิธีตรวจสอบความง่วงและ
บทลงโทษทางกฎหมายเหมือนกับเรื่อง “เมาแล้วขับ” ทางเดยี วเทา่ นน้ั ท่ีเราสามารถทำ� ไดใ้ นขณะน้ีคือ สรา้ งจิตส�ำนกึ
ของผู้ขบั ขีใ่ ห้ร้วู า่ “งว่ งไม่ขับ”

1. ความง่วงไมม่ ีสญั ญาณบง่ บอกใหต้ วั คนขบั รู้ได้
2. ปญั หา “งว่ งแล้วขับ” ไมส่ ามารถหาทางแก้ไขได้
3. ปจั จุบันยงั ไมม่ มี าตรการเอาผดิ กับคนท่ี “ง่วงแล้วขบั ”
4. วธิ ีสรา้ งจิตส�ำนกึ เร่อื ง “ง่วงไมข่ ับ” มเี พยี งวิธีเดยี วเทา่ นนั้
5. บทลงโทษทางกฎหมายของ “ง่วงแลว้ ขบั ” กบั “เมาแลว้ ขับ” เหมอื นกัน

22. จากข้อความต่อไปนี้ ความส�ำเร็จในชวี ติ ข้ึนอยูก่ บั อะไรเป็นสำ� คัญ
มคี นกลา่ ววา่ “การวงิ่ มาราธอนไมใ่ ชเ่ พยี งแตว่ ง่ิ เพอื่ สขุ ภาพ แตเ่ ปน็ การวงิ่ ทเี่ กนิ กวา่ ศกั ยภาพของมนษุ ย์ แตม่ นษุ ย์
ก็ท�ำได้” การใช้ชีวิตก็เช่นกัน บางคร้ังเป้าหมายอยู่แสนไกล ระหว่างทางทั้งเหนื่อยทั้งล้าแต่เราอย่าหันหลังกลับ
พักสักนดิ มแี รงแล้วไปตอ่ สดุ ทา้ ยกถ็ ึง “เสน้ ชัย”

1. การตอ่ สอู้ ุปสรรค 2. จติ ใจทมี่ งุ่ มั่น 3. สุขภาพกายและใจ
4. พลังท่เี กินตัวของมนุษย ์ 5. การร้จู กั ผอ่ นสั้นผ่อนยาว

20 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ท่ี 20

23. ขอ้ ความต่อไปน้เี ป็นการแสดงทรรศนะประเภทใด
ช่วงอากาศหนาวไม่ควรอาบน�้ำอุ่นจัด หรืออาบน�้ำนานเกินควร เพื่อรักษาน�้ำมันหล่อเลี้ยงผิวไว้ให้มากท่ีสุด
น้�ำมันหล่อเลี้ยงผิวมีสารเพ่ิมความชุ่มช่ืนท่ีสร้างข้ึนเฉพาะตัว สารน้ีมีแบคทีเรียท่ีเป็นมิตรกับผิว ช่วยป้องกันเช้ือโรค
รา้ ยแรงอน่ื ไมใ่ หเ้ ขา้ มาในชน้ั ผวิ หนงั การชำ� ระลา้ งมากเกนิ ไป นอกจากทำ� ใหผ้ วิ แหง้ จากการสญู เสยี นำ�้ มนั หลอ่ เลยี้ ง
แล้ว ยังท�ำลายภมู คิ ุ้มกันชองผวิ หนังด้วย

1. เชงิ ข้อเท็จจริง 2. เชิงคณุ ค่า 3. เชิงนโยบาย
4. เชิงคุณคา่ และเชิงนโยบาย 5. เชงิ ขอ้ เท็จจรงิ และเชงิ คณุ ค่า

24. ข้อใดเปน็ ประเด็นโตแ้ ยง้ ของข้อความต่อไปน้ี
โครงการเงนิ อุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดเู ดก็ อายุ 0 - 1 ป ี เดอื นละ 400 บาทต่อคน จะทดลองใช้ 1 ปี เร่มิ ตงั้ แต่
1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559 โดยก�ำหนดเกณฑ์ให้เงินอดุ หนนุ เล้ียงดเู ดก็ เลก็ เฉพาะครอบครัวทย่ี ากจน โครงการนี้
เป็นเสมือนสวัสดิการขั้นพ้ืนฐาน ถือเป็นเร่ืองท่ีดี แต่การก�ำหนดให้เฉพาะครอบครัวที่ยากจนอาจเกิดปัญหาว่า
จะใช้อะไรเปน็ เกณฑว์ ดั วา่ ยากจนหรือไม่ยากจน

1. โครงการเงินอดุ หนนุ เพือ่ การเล้ยี งดเู ด็กด�ำเนนิ การไดจ้ ริงหรือ
2. การให้เงนิ อุดหนุนแก่เด็กช่วยแกป้ ญั หาความยากจนไดจ้ รงิ หรอื
3. ครอบครัวท่ียากจนควรได้รบั การชว่ ยเหลอื จากรฐั บาลหรอื ไม่
4. เกณฑก์ ารพิจารณาให้เงินอดุ หนุนเพอ่ื การเลีย้ งดเู ด็กเหมาะสมหรอื ไม่
5. ระยะเวลาทดลองดำ� เนินการใหเ้ งนิ อดุ หนุนแกเ่ ด็กควรมากกว่า 1 ปีหรอื ไม่

25. ขอ้ ความต่อไปนมี้ ีแนวคิดตรงตามขอ้ ใด
ความกลมเกลยี วกนั ของมนุษยแ์ ละสัตวท์ ง้ั หลายน้นั เองท่ที ำ� ให้มชี ัยชนะเหนอื ศัตรูได้ แม้แตห่ ญา้ ท่ีใชม้ งุ หลงั คา
กย็ ังสามารถกนั ฝนได้

1. น้�ำพึง่ เรอื เสอื พง่ึ ปา่ 2. เก่ยี วแฝกมุงปา่ 3. กอ่ รา่ งสร้างตัว 4. สามัคคคี อื พลงั
5. เป็นนำ�้ หนึ่งใจเดียวกนั

26. ข้อใดเป็นความรู้สกึ ของผู้เขียนข้อความตอ่ ไปน้ี
ไม่น่าเช่ือว่าสมัยนี้ความเห็นแก่ได้จะท�ำให้คนเราไม่เกรงกลัวต่อบาปบุญคุณโทษแม้แต่น้อย ขนาดอาหารเจ
ยังปลอมปนเนื้อสัตว์เอามาขายกันได้ ช่างท�ำร้ายจิตใจคนท่ีหวังจะสร้างบุญกุศลด้วยการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์
ไดล้ งคอ

1. ทุกข์ใจ 2. หดห่ใู จ 3. อึดอัด 4. ผิดหวงั 5. ระอาใจ

27. ข้อความตอ่ ไปนส้ี ่วนใดเปน็ บรรยายโวหาร
1) เมฆอนั ด�ำคร้ึมปกคลุมไปทวั่ ทอ้ งฟ้า / 2) แสงตะวันทีเ่ คยเจิดจ้าก�ำลงั จางหาย /
3) สายฝนชโลมผนื ดนิ แห่งทงุ่ กวา้ ง / 4) พากลน่ิ หอมของดินฟงุ้ ขจายไปท่วั ทงุ่ /
5) ชาวนาตา่ งดใี จที่จะได้เริ่มฤดูกาลท�ำนารอบใหม่

1. สว่ นที่ 1 2. สว่ นที่ 2 3. ส่วนที่ 3 4. ส่วนท่ี 4 5. สว่ นท่ี 5

21 โครงการ Sahapat Admission คร้ังที่ 20

28. ขอ้ ความตอ่ ไปน้ใี ช้วิธีการอธบิ ายตามขอ้ ใด
ปลาชะโดมีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว ปลาชะโดตัวผู้มีหน้าท่ีปกป้องฝูงลูกปลาตัวอ่อน ซ่ึงเรียกว่าลูกครอกไม่ให้เป็น
อนั ตราย จึงมักทำ� รา้ ยคนหรอื สัตว์ท่ีล่วงเขา้ ไปในอาณาเขตของมนั จนบาดเจ็บหรือตายได้

1. แนะแนวทางปฏิบัติ 2. นยิ ามและใหต้ ัวอยา่ ง 3. ชแี้ จงตามลำ� ดบั ขนั้ ตอน
4. ชี้สาเหตแุ ละผลลัพธท์ ่ีสมั พนั ธ์กัน 5. กล่าวซ้ำ� ดว้ ยถ้อยค�ำท่ีแปลกออกไป

29. ขอ้ ความสว่ นใดแสดงค่านยิ ม
1) หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ไปซื้อสินค้าจากร้านหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ / 2) พอกลับมาถึงบ้าน
กลับพบว่าของท่ีซ้ือมามีปัญหา เช่น ช�ำรุด หมดอายุ หรือไม่เป็นไปตามโฆษณา / 3) ท�ำให้อยากน�ำสินค้าไปคืน
หรือขอเปลย่ี นใหม่ บางครง้ั โชคดเี ปลี่ยนได้ / 4 แต่กอ็ าจโชคร้ายที่ผู้ประกอบการไม่ยอมเปลยี่ นให้ / 5) บางคนจึง
ตดั ความร�ำคาญยอมรับสภาพไป โดยถอื เสยี วา่ ไมเ่ ปน็ ไรช่างมันเถดิ

1. ส่วนที ่ 1 2. สว่ นท่ี 2 3. สว่ นท่ี 3 4. ส่วนที่ 4 5. ส่วนท่ี 5

30. ข้อใดไม่มกี ารโน้มนา้ วใจ

1. บ้านเดย่ี ว 2 ช้ัน พร้อมมา่ น แอร์เยน็ ฉ�ำ่ รบั ซมั เมอร์ สง่ิ อ�ำนวยความสะดวกครบ สวนสาธารณะรม่ รืน่
2. บ้านจดั สรรเฟสใหม่ มีสระวา่ ยนำ้� และหอ้ งออกก�ำลังกาย ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ช.ม.
จองกอ่ นฟรีดาวน์
3. รองพน้ื เนอื้ ครมี ใหมด่ ว้ ยเทคโนโลยีระดบั สงู บางเบาเรียบเนยี น พรอ้ มการบ�ำรุงผิวด้วยวติ ามนิ อี
และคอลลาเจนจากท้องทะเล
4. ทีล่ านอเนกประสงคช์ น้ั 1 เปดิ ขายสินค้าตา่ งๆ เช่น เครื่องหนงั เครือ่ งครวั อปุ กรณป์ ระดบั รถยนต์
เครือ่ งแต่งกายสภุ าพสตรี
5. กระเปา๋ เดินทางหรู โครงสรา้ งแข็งแรงทนทานทัง้ ภายนอกและภายใน ผลิตจากวัสดชุ ้นั เย่ยี ม
ให้ความยดื หยนุ่ และนำ�้ หนักเบา

31. ข้อใดมีเนอื้ ความไม่สอดคลอ้ งกับค�ำกล่าวถึงคนชราผ้หู นึง่ ในค�ำประพันธต์ ่อไปน้ี

หลงั โกงโก่งคุ่มงุ้มงอ ดรู าวตะขอ ยนื เหยยี ดแทบไม่มัน่ คง
สหี นา้ แววตาซอื่ ตรง ยืนหยัดด�ำรง เล้ียงชีพอยู่เพียงลำ� พัง
บ่าแบกแอกลา้ ไหลห่ ลัง ใชเ่ พยี งเอกัง แตเ่ ลย้ี งปากท้องหลายคน

1. มรี ่างกายไมย่ ดื ตรงแต่จติ ใจม่นั คง 2. ทำ� งานหนกั เพือ่ ยังชีพ
3. อาศัยอยู่ตามล�ำพังผเู้ ดียว 4. ท�ำงานหนกั แตเ่ พียงผเู้ ดยี ว
5. เปน็ คนอดทนไม่ยอมแพอ้ ุปสรรค

32. ข้อใดมคี วามเช่ือปรากฏอยู่
ก. เมอ่ื กา้ วขึน้ บนั ไดเรือนเธอพนมมือขอขมาแลว้ จึงผลกั ประตูหอ้ งนอนเขา้ ไป
ข. หอ้ มเป็นไมป้ า่ ต้นเล็ก รากใบและต้นมคี ุณวิเศษ หมักเปน็ น้�ำสีครามเอาไว้ยอ้ มผ้า
ค. ระหวา่ งเดินป่าถา้ มเี สยี งทักถาม อยา่ ดว่ นตอบเพราะจะถกู เรียกเอาขวัญไปโดยไม่ร้ตู วั
ง. ใกล้รุ่งคืนนนั้ ดาวประกายพรึกส่องสวา่ ง แผน่ ดินหนาวเย็นเหมือนคนเป็นไข้

22 โครงการ Sahapat Admission คร้ังที่ 20

1. ข้อ ก และ ขอ้ ข 2. ข้อ ก และขอ้ ค 3. ข้อ ข และขอ้ ค
4. ขอ้ ข และ ขอ้ ง 5. ขอ้ ค และขอ้ ง

ใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบค�ำถามขอ้ 33-34

“หลวงพ่อชาเคยสอนศิษย์ของท่านอยู่เสมอว่าแก้วน้�ำท่ีเราใช้ทุกวันแตกแล้ว ให้พิจารณาอย่างน้ีบ่อย ๆ ฝึกให้
เหน็ อยา่ งนแี้ ลว้ เมอ่ื มนั แตกจรงิ ๆ จติ ใจเราจะไมห่ วน่ั ไหว รา่ งกายนเี้ รายมื ธรรมชาตมิ าใชช้ วั่ คราวเทา่ นนั้ ตอ้ งมองวา่
มนั แตกแลว้ เหมือนแก้วน�ำ้ เราจงึ จะไมป่ ระมาท”

33. ขอ้ ความน้ีใช้กลวธิ อี ะไรในการนำ� เสนอสาร 2. บรรยายโวหารและอุปมา
1. สาธกโวหารและการยกเหตผุ ล
3. อุปมาโวหารและการยกเหตผุ ล 4. การเทยี บขนานและอธิบายโวหาร
5. สาธกโวหารและการกล่าวซ้ำ� ดว้ ยถ้อยค�ำทแี่ ปลกออกไป

34. แนวคดิ ส�ำคญั ของค�ำสอนขา้ งต้นคอื อะไร
1. ความไมป่ ระมาท 2. ความไมห่ ลง 3. อนิจจงั
4. การช�ำระจติ ใหผ้ อ่ งแผ้ว 5. ตัวกูของกู

35. ข้อความตอ่ ไปนส้ี ่วนใดมีการแสดงเหตผุ ล
1) วยั ทารกมีการแพ้อาหารไดบ้ อ่ ยท่ีสุด ทางเดนิ อาหารของทารกยงั ไมแ่ ขง็ แรง /2)จากงานวิจัยในตา่ งประเทศ
โดยการศึกษาทารกต้ังแต่แรกเกิดจนถึง 3 ขวบ /3) พบว่ามีการแพ้อาหารร้อยละ 8 /4) และพบว่าทารก 1 ปีแรก
มอี าการแพ้นมววั ถงึ รอ้ ยละ 2.5 / 5) แพ้ไขร่ ้อยละ 1.6 และแพถ้ ัว่ ลิสงในอาหารส�ำเร็จรปู ของทารกร้อยละ 0.6

1. สว่ นที่ 1 2. ส่วนที่ 2 3. ส่วนที่ 3 4. ส่วนท่ี 4 5. ส่วนที่ 5

36. ขอ้ ใดเปน็ โครงสรา้ งของการแสดงเหตผุ ลในขอ้ ความตอ่ ไปน้ี
ตามริมล�ำธารในป่าดินชื้นจะมีเฟิร์นหลายชนิดมากกว่าท่ีพบตามพ้ืนป่า ริมล�ำธารเป็นบริเวณที่ได้รับแสงแดด
มาก ไมม่ พี ันธใุ์ หญใ่ ห้ร่มเงาปดิ กน้ั แสงแดด

1. สรปุ สนับสนุน สนบั สนนุ 2. สรปุ สรุป สนบั สนนุ
3. สรุป สนบั สนุน สรปุ 4. สนับสนนุ สรปุ สนับสนุน
5. สนับสนนุ สนบั สนนุ สรปุ

37. ค�ำประพนั ธต์ ่อไปนก้ี ลา่ วถงึ แนวคิดเร่อื งใดเป็นสำ� คญั

ถา่ นไฟยังลุกแดง ยอ่ มเปลวแรงจะกลับคืน
เติมเชอื้ แล้วเติมฟืน กโ็ ชตชิ ว่ งชชั วาล
ความหวังอาจวอดวบั ใชม่ อดดบั ตลอดกาล
เป่าไฟเพยี งไมน่ าน ยังแดงเด่นดังเชน่ เดมิ

1. ไฟทส่ี ้นิ แสง 2. ความสวา่ งของปัญญา 3. พลังใจในการต่อสู้
4. แสงสว่างจากเปลวไฟ 5. ความปรารถนาของมนษุ ย์

23 โครงการ Sahapat Admission ครั้งที่ 20

ใชค้ ำ� ประพันธ์ตอ่ ไปนี้ ตอบค�ำถามข้อ 38-39

น้ำ� เงนิ นำ�้ นากแม ้ มวั แสง
น�ำ้ ซม่ ต้มย้อมแปลง ผ่องได้
นำ้� จิตวิปรติ แหนง มวั หมน่
น�้ำอืน่ เอาลูบไล้ ห่อนลา้ งใจเคือง

38. เนอ้ื หาสำ� คญั ของคำ� ประพนั ธข์ า้ งต้นคอื ขอ้ ใด
1. น้ำ� ใจเป็นส่ิงที่มคี ่า
2. เม่อื กินแหนงแคลงใจกนั ก็ไม่อาจเยียวยาคืนกลบั ได้
3. อย่าโกรธเคืองกัน มีแตโ่ ทษ
4. ไม่มสี ง่ิ ใดมีคา่ เกินใจทผี่ กู พนั กัน
5. เงนิ นากเมอ่ื หมองยอ่ มขดั ให้ผ่องได้ แตใ่ จหมองขัดไม่ได้

39. คำ� ประพนั ธ์ขา้ งต้นไม่ปรากฏกลวิธที างวรรณศลิ ปป์ ระการใด
1. การเลน่ คำ� ซ้�ำ 2. การใช้ค�ำตายแทนคำ� เอก 3. การใช้ค�ำโทโทษ
4. การใชค้ �ำซ้อน 5. การใช้คำ� เอกโทษ

40. ความเปรยี บในขอ้ ใดแสดงนยั สอนให้มใี จหนกั แน่น ไม่หลงเช่อื คำ� พูดยยุ ง
1. แต่ไม้ไผ่อันหนง่ึ ตนั อนั หนงึ่ แขวะ สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควนั ฉวิ
2. อันเสาหินแปดศอกตอกเปน็ หลกั ไปมาผลกั บ่อยเข้าเสายงั ไหว
3. ลอ้ งูเหา่ เลน่ กไ็ ด้ใจกลา้ กลา้ แตว่ า่ อย่ายกั เยื้องเขา้ เบอื้ งหาง
4. อย่านอนเปลา่ เอากระจกยกออกมา สอ่ งดูหนา้ เสียทีหนงึ่ แล้วจึงนอน
5. เห็นตอหลกั ปกั ขวางหนทางอย่ ู พเิ คราะหด์ ูควรทึ้งแลว้ จึงถอน

41. ค�ำประพันธต์ อ่ ไปนี้สอนเกยี่ วกับเรือ่ งอะไร
อยา่ เอ้ือมเดด็ ดอกฟา้ มาถนอม
สงู สดุ มือมักตรอม อกไข้
เด็ดแตด่ อกพะยอม ยามยาก ชมนา
สูงกส็ อยดว้ ยไม ้ อาจเอื้อมเอาถึง

1. ความต้ังใจจรงิ 2. ความมสี ติย้งั คดิ 3. การรู้จักแกป้ ัญหา
4. ความเพยี รพยายาม 5. การรูจ้ ักประมาณตน

42. ขอ้ ใดเปน็ ประเด็นส�ำคญั ของค�ำประพันธ์ตอ่ ไปน้ี
อันหญ้าแพรกแตกหน่อกอ่ กิ่งก้าน แดนกนั ดารแหง้ แลง้ ทกุ แห่งหน
ถึงถูกเหยียบท�ำลายซำ้� ก็จ�ำทน ยงั แตกตน้ งอกใหม่ไม่รูว้ าย

1. ความทรหด 2. ความอดกลั้น 3. ความตำ�่ ตอ้ ย 4. ความทุกขย์ าก 5. ความเปล่ยี นแปลง

24 โครงการ Sahapat Admission ครั้งที่ 20

ภาษาไทย (O-NET+สามญั ) อ.วรธน อนันตวงษ์ (อ.กอล์ฟ)

ระดับภาษา

ระดบั ภาษา แบ่งออกเป็น ___________________________________________________________________________
ภาษารายงานเชงิ วชิ าการตอ้ งเป็น ____________________________________________________________________

เกง็ ข้อสอบ

1. ขอ้ ใดเปน็ ภาษาที่เหมาะสมส�ำหรบั การเขยี นรายงานวิชาการ
1. ปญั หาวัยร่นุ ชอบมวั่ สมุ กนั เปน็ เรอ่ื งหนกั อกหนักใจผปู้ กครองไทยทุกวันน้ี
2. วยั รนุ่ ไทยใช้เวลาอยกู่ ับสือ่ ต่างๆ ตอ่ วนั มากกว่าคา่ เฉลย่ี ตามปกตขิ องคนเอเชยี แปซฟิ ิก
3. จากการศึกษาทำ� ให้รูว้ า่ เดก็ ทก่ี ่อเหตรุ ุนแรงสว่ นมากมีสาเหตุมาจากการตดิ เกมออนไลน์
4. ปญั หาเด็กตดิ เกมไม่ได้เปน็ ปัญหาของใครๆ แตเ่ ป็นปญั หาระดบั ชาติทแ่ี ม้จะมกี ฎหมายออกมาควบคุม
แต่หากผู้ปกครองหรอื โรงเรียนไมเ่ ข้มแขง็ ก็ไม่สามารถใชเ้ ป็นกำ� แพงปอ้ งกนั เด็กและเยาวชนได้

2. ข้อความตอ่ ไปน้ี ส่วนใดใช้ภาษาต่างระดบั กับส่วนอนื่
1) ทกุ วนั น้กี ารผา่ ตัดหมอนรองกระดูกสันหลงั กดทบั เสน้ ประสาทพัฒนากา้ วหนา้ ไปมากทีเดียว
2) เพราะใชว้ ธิ ีการผ่าตดั ผา่ นกล้องทีม่ กี ำ� ลงั ขยายแถมยงั ใช้เครือ่ งเอกซเรย์
ประสทิ ธิภาพสูงในช่วงทีผ่ ่าด้วย
3) แผลทีผ่ า่ ตดั จะมีขนาดเล็กลงไปเรือ่ ยๆ ท�ำให้ลดความเสี่ยงหลายๆ อย่างทเ่ี กดิ จาก
แผลขนาดใหญ่
4) ก่อนท่ผี ปู้ ว่ ยจะรับการผา่ ตดั ควรศกึ ษาผลกระทบจากการรักษาซึ่งมมี ากน้อย
แตกต่างกนั
5) ทง้ั นกี้ ารรกั ษาดังกลา่ วอาจจะเหมาะหรือไมเ่ หมาะก็แล้วแตผ่ ู้ป่วยแตล่ ะคน

1. ส่วนท่ี 1 2. ส่วนที่ 2 3. ส่วนท่ี 3 4. ส่วนที่ 4 5. ส่วนที่ 5

3. ข้อใดใชภ้ าษาระดับทางการ
1. วถิ ชี วี ติ ไทยริมสองฝ่ังน�ำ้ กลับมาคึกคกั อกี ครั้ง
2. เมื่อกระบวนเห่เรือพระราชพธิ ใี นแม่น�้ำเจ้าพระยาปดิ ฉากลง
3. ถนนการลงทุนทุกสายต่างเร่งปัดฝุน่ เศรษฐกิจฟื้นจุดขาย
4. กระทรวงการทอ่ งเที่ยวและกีฬาสง่ เสรมิ การทอ่ งเทีย่ วเชงิ อนุรักษ์

4. ขอ้ ความตอ่ ไปนสี้ ่วนใดใช้ภาษาตา่ งระดับกบั ส่วนอนื่
1) สัตว์หลายชนิดมีประสาทสัมผัสพเิ ศษทส่ี ามารถรับรู้ภัยธรรมชาตลิ ่วงหน้าได้ /
2) ฝงู มดท่กี รูเกรยี วกนั ข้ึนมาจากพนื้ ดนิ บอกใหเ้ รารู้วา่ ฝนจะตกหนกั ในไมช่ า้ น้ี /
3) ถ้าฝงู แมลงสาบพากนั ไต่ออกมาจากท่ซี ่อนวงิ่ พลา่ นไปทุกทศิ ทุกทาง /
4) เปน็ สัญญาณวา่ จะมพี ายแุ ละฝนฟ้าคะนองตามมาแน่ ๆ

1. สว่ นท่ ี 1 2. ส่วนท่ ี 2 3. สว่ นท่ ี 3 4. ส่วนที่ 4
25 โครงการ Sahapat Admission ครง้ั ท่ี 20

5. ข้อความส่วนใดใชร้ ะดบั ภาษาตา่ งกับขอ้ อนื่
1) เนอื่ งจากการสาธารณสุขดขี ึ้น / 2) อายเุ ฉลยี่ ของประชากรสูงข้ึนทั้งหญงิ และชาย / 3) โรคของคนแกค่ นเฒา่
จึงมากขน้ึ ด้วย / 4) ส่งิ เหล่าน้มี ีอทิ ธิพลตอ่ ภาวะของโรคกระดูกและข้อท้งั สิ้น

1. สว่ นที่ 1 2. ส่วนท่ี 2 3. ส่วนที่ 3 4. สว่ นท่ี 4

6. ข้อความสว่ นใดใชภ้ าษาต่างระดบั กับขอ้ ความสว่ นอื่น
1) ภาวะโลกร้อนท�ำใหธ้ รรมชาตเิ กิดการเปลยี่ นแปลง /
2) ท�ำใหเ้ กดิ นำ้� ทว่ มซำ้� ซากและรุนแรงมากขึน้ /
3) รฐั บาลควรก�ำหนดแผนการแก้ไขท้งั ระยะสั้นและระยะยาว /
4) เพราะน้�ำทว่ มไม่ใชป่ ัญหาที่เกดิ ขนึ้ แค่ชว่ั คร้ังช่วั คราว /
5) แต่เป็นปญั หาทเ่ี กดิ ขึน้ ทุกปีและส่งผลกระทบต่อประชาชนจ�ำนวนมาก

1. ส่วนท่ี 1 2. สว่ นท่ี 2 3. ส่วนท่ี 3 4. ส่วนที่ 4 5. ส่วนที่ 5

7. ข้อใดใชภ้ าษาตา่ งระดบั กับข้ออน่ื
1. โรคผืน่ ภูมิแพผ้ ิวหนังอักเสบเปน็ โรคทเ่ี กิดข้นึ แก่เด็กมากกว่าผใู้ หญ่
2. ในตอนแรกน้ี คุณหมอขอกล่าวถงึ เรอ่ื งของผวิ หนังแหง้ ก่อนครบั
3. ลกู น้อยควรจะใชค้ รมี ที่มีความเข็มข้น ไมใ่ ชโ้ ลชัน่ ซ่งึ ผสมนำ้� มาก
4. นอ้ งหนตู อ้ งใช้ครีมบ�ำรงุ ผวิ ทันทหี ลังอาบนำ�้ ไม่เชน่ นนั้ ผวิ น้องหนูจะแหง้ ยิ่งขึ้น

8. ข้อใดใช้ภาษาตา่ งระดบั กับขอ้ อืน่
1. ถา้ พดู ถงึ โซเดียมเกือบทกุ คนกจ็ ะนกึ ถงึ อาหารรสเค็ม
2. อาหารรสเค็มจะมีรสชาตถิ กู ปากมากกว่าอาหารรสจดื ๆ
3. คนไข้บางคนรับไม่ได้เลยกับการกินอาหารรสจดื ชืด
4. ผู้ประกอบกจิ การอาหารจึงเลอื กใชเ้ กลอื โพแทสเซียมแทน

ค�ำราชาศพั ท์

ค�ำนามราชาศัพท ์ : พระบรมราช....... พระบรม..... พระราช....... พระ...... **ระวัง**

คำ� กรยิ าราชาศัพท์ 1. เปล่ยี นไดเ้ ปลีย่ นเลย
2. ทรง + กรยิ าสามญั
3. ทรง + คำ� นามสามัญ
4. ทรง + คำ� นามราชาศพั ท์
***หา้ ม*** ทรง + กรยิ าราชาศัพท์

1. การใหส้ ิง่ ของ: พระราชทาน................... ประทาน..................
ทูลเกลา้ ฯถวาย................ น้อมเกลา้ ฯถวาย....................
2. เสดจ็ พระราชด�ำเนนิ / เสด็จ ***หา้ มลืมยกเวน้ ***
3. มี / เปน็ + ................................ ทรงมี / ทรงเป็น + ................................

26 โครงการ Sahapat Admission คร้ังที่ 20

วเิ คราะหก์ ารใช้ค�ำราชาศพั ท์

1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั เสดจ็ ฯมาประทบั ณ โรงพยาบาลศริ ิราช คณะแพทย์ถวาย
พระโอสถตอ่ ถงุ เน้ือเยือ่ บนผนงั พระอนั ตะอักเสบ (ล�ำไส้ใหญ)่

2. วันน้ี (7 พ.ย.) เม่อื เวลา 16.47 น. พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรณุ า
โปรดเกลา้ ฯให้สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าชฯสยามมกฎุ ราชกมุ ารเสดจ็ พระราชด�ำเนิน
ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณยี กจิ แทนพระองค์

3. พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั พระราชทานโกศไมส้ ิบสอง บรรจุศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เก่ยี ว อปุ เสโณ)
ประธานคณะผปู้ ฏบิ ตั หิ นา้ ทสี่ มเดจ็ พระสงั ฆราชซง่ึ ......................... และทรงรบั ไวใ้ น...................เปน็ เวลา 7 วนั

4. ขอ้ ความตอ่ ไปนใ้ี ชค้ �ำราชาศัพทผ์ ดิ ก่ีแห่ง
สมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ให้พระเจา้ วรวงศเ์ ธอพระองคเ์ จา้ โสมสวลี
พระวรราชาทินดั ดามาตุ เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานรางวลั “แม่ที่ควรยกยอ่ ง”

5. จงเลือกคำ� ในข้อ ก. และ ข. ท่เี หมาะสมเติมลงในชอ่ งว่างตามลำ� ดบั
ในตอนต้นของพิธี อธิการบดี ก. เก่ียวกับการผลติ บณั ฑิตประจำ� ปี ในตอนท้ายของพธิ ี สมเด็จพระนางเจา้ ฯ
พระบรมราชินนี าถ ข. แกบ่ ัณฑิตในหอประชมุ

ก. 1. กราบทลู รายงาน 2. กราบทลู ถวายรายงาน
3. กราบบงั คมทูลรายงาน 4. กราบบงั คมทูลถวายรายงาน

ข. 1. พระราชทานพระราชด�ำรัส 2. พระราชทานพระราชเสาวนีย์
3. พระราชทานพระราโชวาท 4. พระราชทานพระบรมราโชวาท

6. จงเลือกคำ� ใน ข้อ ก. และ ขอ้ ข. ท่ีเหมาะสมเตมิ ลงในชอ่ งว่างตามลำ� ดบั
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เจ้าชายอากิชิโนแห่งญ่ีปุ่นเข้าเฝ้า
..........(ก.).........ณ โรงพยาบาลศริ ิราช ในโอกาส........(ข.).........ประเทศไทย

ก. 1. ฝ่าละอองพระบาท 2. ทูลละอองพระบาท
3. ฝ่าละอองธุลีพระบาท 4. ทลู ละอองธุลพี ระบาท
5. ใตฝ้ า่ ละอองธุลีพระบาท

ข. 1. เสดจ็ เยือน 2. เสดจ็ ทรงเยอื น
3. เสดจ็ ฯ เยอื น 4. เสดจ็ พระด�ำเนนิ เยอื น
5. เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเยือน

27 โครงการ Sahapat Admission คร้งั ท่ี 20

7. จงเลือกค�ำในข้อ ก. และ ขอ้ ข. ที่เหมาะสมเติมลงในชอ่ งวา่ งตามลำ� ดบั
พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั .............(ก)..............ใหส้ มเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐาน.............(ข)..............พระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอฐั มรามาธิบดินทร์ ณ โรงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์

ก. 1. โปรดเกลา้ 2. ทรงโปรด
3. โปรดเกล้าโปรดกระหมอ่ ม 4. ทรงพระกรุณาโปรด
5. ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ข. 1. พระอนสุ าวรีย์ 2. ราชานุสาวรยี ์
3. พระราชานุสาวรีย ์ 4. พระบรมราชอนสุ าวรยี ์
5. พระบรมราชานสุ าวรยี ์

การใช้ส�ำนวนไทย

1. ส�ำนวนในข้อใดไมเ่ ก่ยี วกบั การพูด 2. ละเลงขนมเบ้อื งดว้ ยปาก
1. พอกา้ วขาก็ลาโรง 4. น้ำ� รอ้ นปลาเป็น น�้ำเย็นปลาตาย
3. ไปไหนมาสามวาสองศอก

2. สำ� นวนในขอ้ ใดกลา่ วถึงอปุ นิสยั ของคน
1. โปรดสัตว์ได้บาป 2. เงยี บเปน็ เป่าสาก
3. ผอ่ นสนั้ ผ่อนยาว 4. กระดงั งาลนไฟ

3. สำ� นวนในข้อใดมีความหมายตา่ งจากกลมุ่ 2. ปากเหยยี่ วปากกา
1. ปากวา่ ตาขยิบ 4. ปากปราศรยั น�ำ้ ใจเชอื ดคอ
3. ปากหวานกน้ เปร้ยี ว

4. ขอ้ ความต่อไปนี้เสนอแนวคดิ เก่ยี วกบั เรอื่ งอะไร
“หวั ล้านได้หว ี ตาบอดได้แวน่ ”
1. การไดร้ บั ของทีพ่ น้ สมยั 2. การไดร้ ับของที่ผูไ้ ดร้ ับรังเกียจ
3. การไดร้ บั ของทีไ่ ม่เปน็ ประโยชน์แก่ผู้ได้ 4. การไดร้ บั ของทป่ี ราศจากคุณคา่

5. สำ� นวนในข้อใดใช้เตมิ ในชอ่ งว่างของขอ้ ความต่อไปนี้ไม่ได้
“ฉันเตอื นเธอแล้ววา่ อย่าไปทะเลาะกับคนเลว ๆ อย่างนัน้ มแี ตผ่ ลเสีย เหมือนเธอ.............”
1. เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง 2. เอาทองไปรู่กระเบอ้ื ง
3. เอาเนื้อหนไู ปปะเนอ้ื ช้าง 4. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลอื

6. สำ� นวนในขอ้ ใดเหมาะสมทจี่ ะเตมิ ในชอ่ งว่างของข้อความตอ่ ไปนี้
พวกเราทำ� รายงานกนั แทบตาย สว่ นเธอไมช่ ว่ ยทำ� อะไรเลยแมแ้ ตจ่ ะหาขอ้ มลู พอเสรจ็ แลว้ จะมา..........................
ขอลงชื่อวา่ ทำ� กลมุ่ เดียวกับเราได้อย่างไร
1. เกบ็ ดอกไม้ร่วมตน้ 2. เกบ็ เบ้ยี ใตถ้ ุนรา้ น
3. ตกกระไดพลอยโจน 4. ชบุ มือเปิบ

28 โครงการ Sahapat Admission ครง้ั ที่ 20

7. ส�ำนวนในขอ้ ใดเหมาะสมทจ่ี ะเตมิ ในช่องวา่ งของขอ้ ความตอ่ ไปน้ี
เขารสู้ ึกนอ้ ยใจที่หวั หน้าเห็นเขาเปน็ _____ตอนแรกเลอื กสง่ เพ่ือนของเขา
ไปประชุมในต่างประเทศ แตพ่ อเพ่อื นไมไ่ ปกม็ าสั่งใหเ้ ขาไปแทน
1. แพะรับบาป 2. ไกร่ องบ่อน
3. ตวั ตายตวั แทน 4. หนงั หน้าไฟ

8. สถานการณต์ ่อไปนี้ตรงกับส�ำนวนในข้อใด
เม่ือวานนีค้ ุณสมศรอี ธิบายวิธใี ห้บรกิ ารบนเครือ่ งบินให้คณุ สายใจฟัง แม้คณุ สายใจเป็นแอรโ์ ฮสเตสแตเ่ ธอ
ก็นิง่ ฟังอย่างตงั้ ใจ
1. นำ้� นิง่ ไหลลกึ 2. จุดไตต้ �ำตอ
3. สอนจระเข้ให้วา่ ยนำ�้ 4. เอามะพรา้ วห้าวไปขายสวน

9. ขอ้ ใดใชส้ �ำนวนถูกตอ้ ง
1. ฉันร้สู กึ เหมือนเปน็ กิ้งก่าไดท้ องเพราะไดเ้ คร่อื งมอื ส่ือสารลำ�้ สมัยมาแลว้ กลับใชไ้ ม่เป็น
2. สมัยทคี่ ณุ วนิ ัยยังรุ่งเรืองมคี นแวะมาเยี่ยมเยยี นตลอดเวลาตามลักษณะของรม่ โพธร์ิ ่มไทร
3. เพอื่ น ๆ บ่นว่าวนิ ยั ชอบพุ่งหอกเข้ารก เลน่ การพนันเสยี เงนิ มากแลว้ ให้เพื่อนช่วยใช้หน้ี
4. คุณสมศกั ด์นิ ี่กนิ นำ้� ไมเ่ ผือ่ แลง้ จริง ๆ พอไดเ้ งินปันผลก็เอามาเลยี้ งเพ่ือนหมด
ไม่เกบ็ ไวเ้ ป็นคา่ เลา่ เรยี นลูกบา้ งเลย

10. ขอ้ ใดใชส้ ำ� นวนไมถ่ ูกต้อง
1. คณุ สนุ ยี ์ทะนุถนอมลกู สาวราวกับไขใ่ นหนิ
2. คณุ สเุ นตร ไดท้ ขี ่ีแพะไลซ่ อื้ หุ้นธนาคาร ไว้เกง็ ก�ำไรหลายพันหุ้น
3. คุณสุภาเป็นหว่ งสขุ ภาพสามีจงึ มักตดิ ตามไปไหนมาไหนด้วยเสมอเปน็ เงาตามตัว
4. คณุ สพุ รเปน็ ฆ้องปากแตกชอบนำ� เรอ่ื งที่ไมค่ วรเปดิ เผยของสมาคมเราไปโพนทะนา

11 คำ� ประพันธ์ต่อไปนตี้ รงกับสำ� นวนไทยในข้อใด
ความรักขนุ แผนกแ็ สนรัก ด้วยรว่ มยากมานกั ไมเ่ ดียดฉันท์
สู้ล�ำบากบกุ ปา่ มาด้วยกัน สารพนั อดออมถนอมใจ
ขนุ ช้างแต่อยู่ดว้ ยกันมา คำ� หนกั หาได้วา่ ให้เคอื งไม่
เงินทองกองไวม้ ใิ หใ้ คร ขา้ ไทใชส้ อยเหมือนของตัว

1. ปากอย่างใจอย่าง 2. รักพเ่ี สยี ดายน้อง
3. ไมห้ ลักปักเลน 4. เลือกนกั มักได้แร่
5. บัวไม่ใหช้ ้�ำ น้ำ� ไม่ให้ขุ่น

29 โครงการ Sahapat Admission คร้งั ที่ 20

คำ� และความหมาย

1. คำ� ทุกค�ำในข้อใดใช้ได้ทง้ั ความหมายตามตวั และความหมายเชงิ อปุ มา
1. ปีนเกลียว ปิดฉาก ถูกขา
2. ปิดตา เฝา้ ไข้ เปล่ยี นมือ
3. วางใจ เป่าป ่ี แก้เคลด็
4. ป่นั หัว กินตะเกยี บ ลงคอ

2. คำ� ทกุ ค�ำในขอ้ ใดใชไ้ ด้ท้ังความหมายตามตวั และความหมายเชิงอุปมา
1. ตกเบ็ด ปลดแอก ยกยอ
2. ลอยแพ รูดซิป แขง็ ใจ
3. เดนิ เรื่อง ตีปกี ขึ้นใจ
4. ล้วงกระเปา๋ ออกโรง ตาฝาด

3. ค�ำในขอ้ ใดใชไ้ ดม้ ากกวา่ 1 ความหมายทัง้ 2 ค�ำ
1. วางใจ หนา้ ชา
2. ลา้ งตา ขดั ขวาง
3. อมยมิ้ นำ้� ใจ
4. งพู ษิ ชักใย
5. แกแ้ ค้น มือเย็น

4. คำ� ในขอ้ ใดสามารถใช้ไดม้ ากกว่า 1 ความหมายทกุ คำ�
1. แก้วตา เพ่ือนบา้ น แมพ่ มิ พ์
2. ทองแท้ ลกู เลีย้ ง เรือพ่วง
3. งพู ษิ แถวหน้า รถยก
4. มือตก เสาหลัก เรือจ้าง
5. ขายเสียง เปิดใจ ร้อนตัว

5. ค�ำในขอ้ ใดใชไ้ ด้มากกวา่ 1 ความหมายทกุ คำ�
1. ตาปลา ปากกา ลวดลาย
2. แก้เผ็ด มอื อ่อน ชักจูง
3. เตม็ ปาก ตาลาย เผาขน
4. มว้ นเส่ือ รำ� พดั น้�ำป่า
5. ลิน้ หอ้ ย นำ้� จิ้ม รกราก

6. ข้อใดใช้ค�ำถูกตอ้ ง
1. เธอได้รบั คำ� ชมว่าทำ� งานเกง่ มากจนใคร ๆ ยกมอื ให้
2. การแสดงดนตรีกวา่ จะยกเลิกก็เกือบสองท่มุ
3. ผ้มู ีรายไดต้ ำ่� ไดร้ บั การยกเวน้ ไมต่ ้องเสยี ภาษีเงินได้
4. ผู้ต้องขังท่มี ีความประพฤติดจี ะได้รับการยกโทษลงครง่ึ หนง่ึ

30 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ที่ 20

7. ขอ้ ใดใช้คำ� ถูกตอ้ งตามความหมาย
1. ปนี ีอ้ ากาศร้อนเหลอื เกิน วนั ไหนไมไ่ ด้เปิดแอร์ก็รอ้ นตัวมาก ๆ เลย
2. วัยรุ่นข้างบา้ นเปดิ เพลงเสยี งดงั ใคร ๆ ได้ฟงั ก็รอ้ นหไู ปหมด
3. เขาเพ่งิ เรยี นจบจากมหาวทิ ยาลยั จงึ รอ้ นวชิ าอยากพูดอยากแสดงให้คนร ู้
4. บ้านสวยหลังน้นั ปิดเงยี บเพราะเจา้ ของรอ้ นเงินหนไี ปตา่ งประเทศแล้ว
8. ข้อใดใชค้ ำ� ไดถ้ ูกความหมาย
1. เจ้าหมาน้อยตัวนีล้ อดรัว้ เขา้ มาตงั้ แตเ่ มอ่ื คนื
2. ลกู ๆ สมรูร้ ว่ มคิดกันซ้อื ของขวญั ให้คุณแม่
3. นภิ าชอบนงุ่ กระโปรงยาวติดลูกไมก้ รีดกราย
4. พอบวชครบเดอื น พระปัญญาต้งั ใจจะลาสิกขาบท
5. ร้านขายของแขวนสนิ คา้ ห้อยโทงเทงเต็มไปหมด
9. ข้อใดใชค้ �ำผิดความหมาย
1. เวลาไปเย่ยี มเพอ่ื นที่บา้ นเขามกั จะมขี นมตดิ ตัวไปด้วย
2. คนขับรถไม่ตดิ ใจเอาความกบั คนบา้ ที่ขว้างปารถของเขา
3. ชา่ งไฟฟ้ามาตดิ ต้ังเครื่องซกั ผา้ ใหฉ้ นั เรยี บรอ้ ยแลว้
4. กองทหารกำ� ลังบกุ เข้าโจมตีและรบตดิ พนั กนั กว่า 3 วนั แลว้
10. ขอ้ ใดใชค้ ำ� ผดิ ความหมาย
1. เขาเปน็ คนใจเสาะ เพือ่ นลอ้ เลน่ นิดหน่อยก็โกรธเปน็ ฟนื เปน็ ไฟ
2. ตอนท่รี ถเสียอยนู่ อกเมอื ง ฉนั รสู้ ึกใจชน้ื เมื่อเห็นมรี ถผา่ นมา
3. พอหมอบอกวา่ จะตอ้ งอย่โู รงพยาบาลหลายวนั คณุ ยายกใ็ จแป้ว
4. เด็กคนนใี้ จแขง็ ถงึ จะเจบ็ แผลแค่ไหนกไ็ มร่ ้องเลยสักนิด

ภาษาก�ำกวม

1. ข้อใดใช้ภาษาก�ำกวม
1. ผปู้ ว่ ยถูกยา้ ยไปจากหอ้ งพิเศษ
2. เจา้ หน้าทเี่ ขน็ รถคนไข้ออกไปแล้ว
3. ผู้ทบี่ าดเจบ็ เลก็ น้อย แพทย์อนุญาตใหก้ ลับบา้ นได้
4. เมือ่ ทา่ นประสงคจ์ ะใช้บรกิ ารของโรงพยาบาล โปรดท�ำตามขน้ั ตอน

2. ขอ้ ใดใช้ภาษากำ� กวม
1. เด็กข้างบ้านว่ิงชนฉันหกล้มปากแตก
2. คนขบั รถถกู สง่ั พกั งานฐานละเลยหนา้ ท่ี
3. กว๋ ยเตยี๋ วปลาแบบโบราณในซอยน้ีมหี ลายร้าน
4. พวงมาลัยแบบน้ีแมค่ ้าขายฉนั พวงละ 10 บาท

3. ขอ้ ใดใช้ภาษาก�ำกวม
1. ควาญชา้ งเล่าวา่ ชา้ งของเขาเหยียบแก้วแตก
2. ต�ำรวจสอบสวนหาคนรา้ ยลอบวางระเบดิ
3. ทหารเกณฑก์ �ำลังฝึกเดนิ แถวอยา่ งเขม้ แขง็
4. เด็กคนนัน้ ไดร้ ับรางวลั ชนะเลิศประกวดรอ้ งเพลงไทย

31 โครงการ Sahapat Admission ครั้งท่ี 20

4. ขอ้ ใดใชภ้ าษากำ� กวม
1. กว๋ ยเตย๋ี วรา้ นนใ้ี ชล้ ูกช้นิ ทีท่ �ำเอง
2. ฉนั อา่ นขา่ วแผ่นดนิ ไหวเม่ือวานนี ้
3. ฉันไม่ชอบกาแฟทช่ี งแบบโบราณหรอก
4. เดก็ สง่ หนังสือพิมพเ์ ปน็ เด็กมาใหม่
5. ผา้ ที่เธอซอื้ มาคนขายวัดขาดไปเกอื บ 10 ซม.

5. ขอ้ ใดใชภ้ าษาก�ำกวม
1. เจา้ หน้าที่ห้องสมดุ จดั หนังสอื ในตู้ได้เรยี บร้อย
2. เขาไม่สบายมาหลายวันแลว้ แตก่ ไ็ ม่ยอมไปหาหมอ
3. นกั เรยี นทีจ่ ะจบการศึกษาได้จะตอ้ งฝึกงานอยา่ งนอ้ ย 1 เดอื น
4. เมื่อวานฉนั พบเพ่อื นของคณุ เฉิดโฉมท่ีเปน็ ผอู้ �ำนวยการโรงเรยี น
5. ชาวสวนยางยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกนั ราคายางพารากิโลกรมั ละ 100 บาท

6. การส่อื ความในขอ้ ใดไมช่ ัดเจน
1. ขอ้ สอบชุดนี้ไมค่ ่อยยากแต่ก็ยากทีเดียว
2. เธอมักจะตื่นเช้าแต่ก็ไปโรงเรียนสายทกุ วัน
3. เทพขี องจังหวดั เราแม้ผวิ จะคลำ้� แตก่ ด็ ูเนยี นใส
4. พนกั งานอธิบายเร่อื งการดูงานให้หัวหน้าฟังสนั้ ๆ แตก่ ช็ ดั เจนดี
5. นกั เรยี นคนนไ้ี ดค้ ะแนนเฉล่ีย 2.80 เทา่ นน้ั แต่กเ็ ป็นท่ี 1 ของห้อง

7. ประโยคใดไม่กำ� กวม 2. เขาเหยยี บแก้วแตก
1. ใครตามหมอมา 4. เขาไปเชียงใหม่กับเพอ่ื นอกี สองคน
3. ถา้ เขาตกลงไปคุณจะเสียใจ

8. ข้อใดใชภ้ าษาไมก่ ำ� กวม
1. เขาก�ำลังเรง่ ทำ� งานใหญ่
2. เงินหมดแล้วอย่ามาขออีก
3. เขาไปเท่ยี วกับลกู น้องเมยี
4. แพทยส์ ัมมนาเร่อื งโรคหวั ใจ
5. เขาไปเยี่ยมเพ่อื นทีถ่ ูกรถชนท่ีโรงพยาบาล

9. ข้อใดวางสว่ นขยายผดิ ที่
1. บรษิ ทั สง่ั ให้เรยี กเก็บรถที่เครอื่ งยนต์มปี ัญหาโดยด่วน
2. ความสัมพนั ธ์ของคนในครอบครัวทีด่ ีส�ำคัญกวา่ เงินทอง
3. ผู้หญงิ มบี ทบาทสำ� คญั ในการสอนลูกหลานเรื่องการใชเ้ งิน
4. เพื่อนๆ ชว่ ยปลอบเธอใหค้ ลายเศร้าได้ในเวลาเพียงไม่ก่วี นั
5. อากาศเปล่ยี นแปลงบ่อยทำ� ใหค้ นปว่ ยดว้ ยระบบทางเดินหายใจไดง้ า่ ย

32 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ท่ี 20

10. ข้อใดวางส่วนขยายไมเ่ หมาะสม
1. หมึกพิมพจ์ ะมโี ลหะหนัก เชน่ ตะกัว่ แคดเมยี ม ฯลฯ เปน็ ส่วนประกอบ
2. การใช้ถงุ พลาสตกิ ตอ้ งดูประเภทว่าเป็นถุงส�ำหรบั ใสข่ องร้อนหรอื ของเยน็
3. ถุงพลาสตกิ ทีจ่ ะนำ� มาใสอ่ าหารปรุงส�ำเร็จควรเปน็ พลาสติกท่สี งั เคราะหใ์ หม่
4. ถงุ พลาสตกิ ท่ีได้จากการหลอมถุงเก่าผวิ หนา้ จะไม่เรียบและถ้ามีสีกเ็ ปน็ สขี ุ่น
5. ถุงกระดาษที่ใช้ใส่อาหารไมค่ วรใช้กระดาษทม่ี ีตัวหนังสอื โดยเฉพาะของทอด

ภาษาฟ่มุ เฟอื ย

1. ข้อใดใชภ้ าษาไดก้ ระชับ
1. ผู้รา้ ยถกู ฆ่าตายทีห่ น้าตลาดเม่อื คืนวานน้ี
2. ขอเชิญทุกทา่ นไดโ้ ปรดกรณุ าช่วยเหลือผู้ประสบภยั ด้วย
3. ในการพัฒนาชาตริ ัฐบาลควรสง่ เสรมิ การศึกษาเป็นประการแรก
4. อนุชนคนรนุ่ หลังควรรกั ษาศิลปวัฒนธรรมของชาติใหค้ งอยสู่ บื ไป
2. ข้อใดใชค้ ำ� ฟมุ่ เฟือย
1. ทหารในขบวนสวนสนามเดินอกผายไหล่ผง่ึ
2. คณุ ยายขอให้ฉันกับญาตทิ บี่ กุ รุกทด่ี ินเลกิ แล้วตอ่ กัน
3. ฉนั ตอ้ งทนฟงั เขาชี้แจงเหตผุ ลแมจ้ ะไม่มสี ่วนได้สว่ นเสยี
4. พอ่ แมช่ น่ื ชมปตี ยิ นิ ดที ีล่ ูกสาวสำ� เรจ็ การศกึ ษาระดบั ปรญิ ญาเอก
3. ประโยคในขอ้ ใดใช้คำ� ฟมุ่ เฟือย
1. เขาคงจะหแู วว่ ไดย้ นิ ไปเองว่าฉันเรียกเขา
2. สาววัยรุ่นบางคนชอบสวมสร้อยเล็ก ๆ ทีข่ ้อเทา้
3. ครีมนีม้ ีสรรพคุณในการที่จะท�ำการลบเลอื นรอยแผลเปน็
4. นักขา่ วรุมลอ้ มนายกรัฐมนตรี เพือ่ สัมภาษณ์เรือ่ งเครื่องบนิ ตก
4. ขอ้ ความส่วนใดใชภ้ าษาได้กะทดั รดั
1) ผบู้ รหิ ารของทงั้ สองบรษิ ทั ทำ� การชแี้ จงวา่ ไดม้ กี ารทดสอบระบบตา่ งๆ ของสนามบนิ ดอนเมอื งเรยี บรอ้ ยแลว้ /
2) เมือ่ สนามบินเปดิ ใหบ้ ริการเชงิ พาณิชยไ์ ดร้ อ้ ยละ 100 เปอรเ์ ซน็ ต์ / 3) จะสามารถรองรบั ปริมาณเทย่ี วบนิ
ได้ชั่วโมงละ 60 เที่ยวบินต่อช่ัวโมง / 4) หรอื เฉล่ียประมาณราวๆ 250 เท่ยี วตอ่ วนั / 5) และสามารถรองรบั ปรมิ าณ
ผโู้ ดยสารไดป้ ีละกว่า 12 ลา้ นคน
1. ส่วนท่ ี 1 2. สว่ นที ่ 2 3. สว่ นที่ 3
4. ส่วนท ่ี 4 5. ส่วนท่ี 5

33 โครงการ Sahapat Admission ครั้งท่ี 20

ภาษาไทย (O-NET+สามัญ) อ.จกั รกฤต โยมพยอม (ครูทอม)

เสยี งในภาษา

เสยี งในภาษาหมายถงึ เสยี งทมี่ นษุ ยเ์ ปลง่ ออกมาเพอ่ื สอื่ ความหมายระหวา่ งมนษุ ยด์ ว้ ยกนั และเพอ่ื สนองความตอ้ งการ
ตา่ ง ๆ ประกอบไปดว้ ย เสยี งพยญั ชนะ เสียงสระ เสียงวรรณยกุ ต์

1. เสยี งสระ (เสียงแท)้

คือเสยี งที่เปล่งออกมาจากท้องโดยตรง!!!!! ไม่กระทบกบั อวัยวะภายในชอ่ งปาก
1. เสียงสระแท้ หรอื สระเดีย่ ว มี 18 เสียง ดังนี้

2. เสียงสระประสมคอื การนำ� สระแท้ 2 เสียง มาประสมกัน มี 3 เสียงคอื

เสยี งสระบางเสยี ง ไม่ตรงตามรปู สระที่ปรากฏ เชน่ …………………………….
ในข้อความตอ่ ไปน้ ี ค�ำท่มี ีความสนั้ – ยาวของเสยี งสระไมต่ รงกับรูปสระมีก่คี ำ�
“วนั เสารต์ อนเชา้ แดงจะน�ำผลไมไ้ ปเยี่ยมนาย บา้ นทา่ นอยู่ริมน้�ำ ทางทศิ ใต้ของวัดโบราณ”
1. 3 2. 4 3. 5 4. 6

34 โครงการ Sahapat Admission ครั้งที่ 20

นี่ ๆ ๆ อนั นี้ ๆ ๆ อันนีค้ อื “สระเกิน” ท่เี รียกว่า “สระเกิน” ก็เพราะ

สระเกนิ มี 8 รูป คอื คำ� อ่าน หมายเหตุ
รูปสระ
อ�ำ
ใอ
ไอ
เอา

ฤๅ

ฦๅ

2. เสยี งพยญั ชนะ (เสียงแปร)

เสียงพยัญชนะ หมายถึง เสียงท่ีเปล่งมาจากท้อง แล้วกระทบกับอวัยวะภายในปาก ไตรยางศ์ หมายถึง
อักษรสามหมู่ดังนี้

อกั ษร ตวั อกั ษร

สูง ผี ฝาก ถุง ขา้ ว สาร ให้ ฉัน

ผ ฝ ถฐ ขฃ ศษ ห ฉ


กลาง ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอง่

ก จ ดฎ ตฏ บ ป อ

ตำ่� (เด่ยี ว) งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โลก โม ฬี

งญน ยณร ว ลมฬ

ตำ�่ (คู่) พ ภ ฟ ฑฒ คฅ ซ ฮ ชฌ
ทธ ฆ

35 โครงการ Sahapat Admission ครง้ั ที่ 20

ควบกล�้ำแทใ้ นภาษาไทยมี 11 เสียง เทา่ นั้น คอื

เสียงต้น เสยี งควบ /ว/ ตวั อยา่ ง
/ก/ /ร/ /ล/
/ค/
/ป/
/พ/
/ต/

เสียงควบกล�ำ้ ในข้อใดไมป่ รากฏในระบบเสียงภาษาไทย

1) บรน่ั ดี 2) นวิ เคลียส 3) อเิ ควเตอร์ 4) เพนกวิน

ข้อใด พยญั ชนะต้นของแต่ละพยางคเ์ ป็นเสยี งเดียวกนั 4. กลบั กลอก 5.ขวนขวาย
1.สาวทราม 2. ค้นควา้ 3. จริงจัง

พยางค์เปน็ -พยางค์ตาย (คำ� เป็น-ค�ำตาย)

1. ดตู ัวสะกด แสดงว่าเปน็ พยางคต์ าย
ถา้ สะกดดว้ ยแม่ ก บ ด แสดงวา่ เปน็ พยางคเ์ ป็น
ถ้าสะกดด้วยแม่ น ม ย ว ง

2. ดูสระ ถา้ ไมม่ ีตวั สะกดค่อยดเู สยี งสระ

ถา้ ประสมด้วยสระเสยี งสน้ั แสดงวา่ เป็น พยางคต์ าย
ถ้าประสมด้วยสระเสียงยาว แสดงว่าเป็น พยางค์เปน็

36 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ที่ 20

3. เสยี งวรรณยกุ ต์ (เสียงดนตร)ี

เสียงวรรณยกุ ต์ คอื เสยี งสูง ๆ ต�่ำ ๆในภาษา

เสียงวรรณยุกต ์ มี 5 เสียง คอื
1. เสยี งสามัญ เช่น คุณ ครู ทอม เป็น คน ดี จรงิ จริง เป็นตน้
2. เสยี งเอก เชน่ ไข่ ใหญ่ สา่ ย อยู่ สด สด เปน็ ตน้
3. เสยี งโท เช่น พอ่ แม่ ไม่ วา่ แรด เปน็ ตน้
4. เสยี งตรี เชน่ อะ๊ อา๊ ว โอ๊ย เอ๊อ เย็บ ชน้ั ม้ัย อ๊ะ โอ๊ย เป็นต้น
5. เสยี งจตั วา เช่น เขา ขอ ถือ หอย แสน เสียว เปน็ ต้น

“...อยี กั ษาตาโตโมโหมาก รูปก็กากปากกเ็ ปราะไม่เหมาะเหม็ง
นมสองข้างอย่างกระโปรงดูโตงเตง ผวั ของเอ็งเขาระอาไมน่ ่าชม”

“...ขอโทษทเี่ อาแตใ่ จ ไม่ใชเ่ วลามางอ้ งอ้ กนั
ขอโทษท่ีเอาแต่ใจ ไมอ่ ยากทะเลาะเพื่อสานสัมพันธ.์ ..”

มพี ยางค์ตาย __________พยางค ์
มพี ยางคเ์ ปน็ __________พยางค์
มเี สยี งสระเดี่ยว __________พยางค ์
มเี สียงสระประสม__________พยางค์
มีแม่กม__________พยางค์
มีแม่เกย__________พยางค์
มีเสียงวรรณยุกตเ์ อก__________พยางค์
มเี สยี งวรรณยุกต์โท__________พยางค์

37 โครงการ Sahapat Admission ครั้งท่ี 20

การสร้างค�ำ

1. คำ� มลู
- ค�ำมลู พยางค์เดยี ว หมายถึง คำ� ท่ีมีพยางคเ์ ดียว เช่น………………………...………
- ค�ำมูลหลายพยางค์ หมายถึง ค�ำท่ีมีมากกว่า 1 พยางค์ ซ่ึงเกิดจากค�ำท่ีความหมายไม่เกี่ยวข้องกัน
และความหมายของแต่ละค�ำไม่เก่ียวข้องกับค�ำใหม่ที่เกิดข้ึน หรือ เกิดจากพยางค์ที่ไม่มีความหมาย
เชน่ ………………………….

2. ค�ำซ้อน
- ค�ำซอ้ นเพอ่ื ความหมาย คอื ค�ำซอ้ นทเี่ กิดจากคำ� มลู 2 ค�ำขน้ึ ไปท่คี วามหมายสัมพันธก์ ันในรูปแบบต่อไปนี้
- ความหมายเหมอื นกัน เช่น ..................................................................
- ความหมายคลา้ ยกัน เช่น ..................................................................
- ความมายตรงขา้ มกัน เช่น ..................................................................
- ค�ำซ้อนเพ่อื เสยี ง คอื ค�ำซ้อนทเ่ี กิดจาก 2 พยางค์ทม่ี ีส่วนหนงึ่ สว่ นใดของเสยี งเหมือนกัน เชน่ เสยี งพยัญชนะตน้
เสียงสระ เสียงทา้ ย เชน่ .........................................................

3. ค�ำประสม คือ ค�ำที่เกิดจากการน�ำค�ำ 2 ค�ำขึ้นไปที่มีความหมายไม่เก่ียวข้องกัน แต่เมื่อน�ำมารวมกันแล้ว
ไดค้ วามหมายใหม่ท่เี กยี่ วเนอื่ งกบั ค�ำตงั้ ต้นเชน่ ......................................

คำ� ประสมมกั ข้นึ ตน้ ดว้ ย

_________ เช่น _____________________ _________ เช่น ______________________

_________ เช่น _____________________ _________ เชน่ ______________________

_________ เช่น _____________________ _________ เช่น ______________________

_________ เช่น _____________________ _________ เช่น ______________________

โครงสร้างคำ� ประสม - - ->ดวู า่ เกิดจากการประสมระหวา่ งค�ำชนดิ ใด เชน่

ไข่เจยี ว เกิดจาก _________ + _________
ถงั ดบั เพลิง เกดิ จาก _________ + _________+ _________

38 โครงการ Sahapat Admission ครัง้ ที่ 20

4. คำ� ซ้�ำ คือ คำ� ทซี่ �ำ้ กนั สังเกตไดจ้ ากไมย้ มก เชน่ .................................................................

ตัวอยา่ งข้อสอบ ‘การสร้างคำ� ’

1. ค�ำซ�้ำในข้อใดไม่มคี วามหมายเป็นพหูพจน์ 2. เขาป่วยต้องนอนพักเปน็ เดอื น ๆ
1. น้อง ๆ ของเขารกั ใคร่กันดี
3. ตอนเดก็ ๆ ฉนั เคยไปอย่ตู า่ งจังหวัด 4. สาว ๆ สมัยนร้ี ปู รา่ งออ้ นแอ้นกันท้ังนน้ั

2. ข้อใดเปน็ คำ� ประสมทุกค�ำ 2. ขาดเหลอื บา้ นนอก อว้ นพี
1. บา้ นเรือน พอ่ แม่ ลูกหลาน 4. กลว้ ยไม้ เส้อื คลุม แผน่ เสยี ง
3. หอ่ หมก ชว่ั ดี บ้านพกั

3. ขอ้ ความตอ่ ไปน้ีมีคำ� ซอ้ นก่ีคำ�
ขา้ วเปน็ ธัญญาหารท่มี ีประโยชน์อยทู่ ุกอณูของเมลด็ ข้าว เนือ้ ขา้ ว รำ� ข้าว และจมกู ข้าว เราจึงควรกินขา้ วใหค้ รบ
ทกุ ส่วนของเมลด็ เพ่ือชวี ติ ท่แี ขง็ แรงสดใส ห่างไกลจากโรครา้ ยต่าง ๆ และมีสขุ ภาพดอี ายุยนื ยาว
1. 3 ค�ำ 2. 4 ค�ำ 3. 5 ค�ำ 4. 6 คำ�

39 โครงการ Sahapat Admission ครั้งท่ี 20

ค�ำสมาส

ค�ำสมาสจะต้องประกอบด้วยกฎเหลก็ 3 ประการ คอื
1. เป็นภาษาบาล-ี สันสกฤต เท่าน้นั
2. อา่ นเช่อื มเสยี งกลางค�ำ
3. แปลความหมายจากขา้ งหลังมาข้างหนา้

สมาสแบบธรรมดา>>>เอามาชนเฉย ๆ

เช่น มหา+ราช =……………………… คณุ +ภาพ =…………………………
=…………………………
แพทย์ + ศาสตร์ =……………………… สห + พฒั น์
=…………………………
=…………………………
=…………………………
สมาสแบบสนธิ >>>ไมใ่ ช่แคช่ น แต่เอามาเช่อื มกันเลย =…………………………

5.2.1 สนธิสระ

เช่น มห+อรรณพ =……………………… นร+อธิป

อรุณ+อทุ ัย =……………………… สุข+อุทยั

นร+อศิ วร =……………………… มาล+ี อาภรณ์

อคั ค+ี โอภาส =……………………… ธนู+อาคม

5.2.2 สนธินิคหิต =……………………… สํ+คม =…………………………
เชน่ สํ+ญาณ =……………………… ส+ํ ฐาน =…………………………
ส+ํ มนา =……………………… สํ + ภาษณ ์ =…………………………
ส+ํ ชาต ิ

5.2.3 สนธพิ ยญั ชนะ

เช่น มนสฺ+ภาพ =…………………………

มนสฺ+รมย =……………………………

สรสฺ + ช =……………………………

40 โครงการ Sahapat Admission ครง้ั ท่ี 20

การสะกดคำ�

1. ข้อใดมคี ำ� สะกดผดิ
1. แม่ครวั ซ้ือปลากะพงมาทอดนำ้� ปลา
2. ดอกอุตพดิ เวลาบานจะสง่ กล่ินเหม็น
3. สมเสร็จเปน็ สตั ว์ป่าหายากในปัจจุบนั
4. ชาวตา่ งประเทศบางคนชอบเลยี้ งแมวสีสวาท
2. ขอ้ ใดสะกดถกู ทุกคำ�
1. ปรซิ มึ แกรนิต แคลเซีย่ ม 2. ชิมแปนซี โคบอลต์ แค็ปซลู
3. เคาน์เตอร์ โซเดยี ม ไดนาไมท์ 4. โอเอซิส ทงั สเตน เซลลูโลส
3. ข้อใดสะกดถกู ทุกค�ำ
1. เขากนิ อาหารมังสวริ ตั ทุกวนั พธุ มาสามปแี ล้ว
2. ทปี่ ากทางเขา้ หมูบ่ า้ นมยี ามรักษาการอยตู่ ลอดเวลา
3. คนท่ซี ือ้ ทองรูปพรรณตอ้ งจา่ ยเงนิ คา่ ก�ำเหนจ็ ด้วย
4. เพือ่ นเหน็ เขานง่ั หลบั จงึ ถามว่าเข้าฌาณถึงชน้ั ไหนแลว้

41 โครงการ Sahapat Admission ครงั้ ที่ 20


Click to View FlipBook Version