คู่มอื นิเทศสถำนศกึ ษำ ปกี ำรศกึ ษำ 2565
เอกสำรลำดับท่ี 4 / 2565
สำนกั งำนเขตพน้ื ทกี่ ำรศกึ ษำประถมศึกษำนนทบรุ ี เขต 2
สำนกั งำนคณะกรรมกำรกำรศกึ ษำขั้นพืน้ ฐำน
กระทรวงศึกษำธกิ ำร
ก
คำนำ
คู่มือการปฏิบัติการนิเทศสถานศึกษาฉบับน้ีประกอบด้วยรายละเอียด กระบวนการ ขั้นตอนการ
ปฏิบัติงานตามภารกิจของกลุ่มงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร
การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาส่ือ นวัตกรรมและ
เทคโนโลยีทางการศึกษา กลุ่มงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลระบบบริหารการจัดการศึกษา กลุ่มงานส่งเสริม
พฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มงานเลขานกุ ารคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมนิ ผล และ
นเิ ทศการศกึ ษา งานธุรการกลุ่มนเิ ทศ และภารกจิ งานอื่นที่ไดร้ บั มอบหมายตามนโยบาย จุดเน้น และนโยบายจาก
ต้นสังกดั รวมท้ังร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานกบั หน่วยงานอื่นท่ีเกี่ยวขอ้ งจากการวเิ คราะห์บทบาท อำนาจ หนา้ ท่ี
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้งานกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ดำเนนิ ไปด้วย
ความเรยี บร้อยจึงได้จดั ทำคู่มอื ฉบับนีข้ ้นึ
ขอขอบคุณผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 รองผู้อำนวยการ
สำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศึกษา ศึกษานเิ ทศก์ ตลอดจนผมู้ สี ว่ นเกยี่ วขอ้ งทุกทา่ นทมี่ ีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารเล่ม
นี้ให้สมบรู ณ์ สามารถนำไปปฏบิ ัติงานไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
กลุ่มนิเทศ ตดิ ตามและประเมนิ ผลการจัดการศึกษา
สำนกั งานเขตพื้นทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2
คมู่ อื ปฏิบัตกิ ารนิเทศสถานศึกษา กลุ่มนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
ข
สารบัญ
เรอ่ื ง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลารจัดการศึกษา ค
แนวคดิ ค
ขอบข่าย ภารกจิ ค
บทท่ี 1 บทนำ
หลกั การและเหตุผล 1
วตั ถุประสงค์ 3
นโยบาย จดุ เน้นของกระทรวงศึกษาธกิ าร 3
นโยบาย จุดเนน้ ของสำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน 6
นโยบาย จุดเนน้ ของสำนักงานเขตพนื้ ทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 10
บทที่ 2 เอกสารงานนเิ ทศทเ่ี กย่ี วข้อง
มาตรฐานการปฏบิ ัตงิ านของศึกษานิเทศก์ 18
มาตรฐานการปฏิบัติตนของศึกษานิเทศก์ 20
รปู แบบการนิเทศ 21
บทที่ 3 การจัดโครงสรา้ งการบริหาร และการจัดวางบคุ ลากร
โครงสรา้ งการบริหารและการจดั วางบคุ ลากร 29
รายละเอียดงานทีร่ บั ผดิ ชอบ 41
โรงเรียนในความรบั ผิดชอบ 45
บทที่ 4 ปฏทิ ินการนิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา
ประเด็นการนเิ ทศ กำกับ ติตดาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา 49
ภาคผนวก
คณะผู้จัดทำ 51
คมู่ ือปฏิบตั ิการนิเทศสถานศกึ ษา กลมุ่ นเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพื้นทกี่ ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
ค
กลมุ่ นิเทศ ตดิ ตามและประเมินผลการจดั การศึกษา
แนวคิด
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
ดำเนินงานเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา วิเคราะห์ วจิ ัย ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาระบบการบริหาร
และการจัดการศึกษา เพื่อให้สถานศกึ ษามคี วามเข้มแขง็ ในการบรหิ าร และการจัดการเรยี นการสอนได้อย่างมคี ุณภาพเท่า
เทียมกันโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน ส่งผลให้ผู้เรียนท้ังในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เกิดการเรียนรู้ตาม
วตั ถปุ ระสงคแ์ ละเป้าหมายของการศกึ ษา
ขอบข่ายภารกิจ
กลุม่ งานนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศกึ ษา
1. งานสง่ เสริมและพฒั นาระบบการนเิ ทศและการจัดกระบวนการเรียนรู้
2. งานสง่ เสริมสนบั สนนุ เครือขา่ ยการนิเทศของเขตพนื้ ที่การศึกษา สถานศึกษาหนว่ ยงานท่เี กีย่ วข้อง
3. งานนเิ ทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขัน้ พนื้ ฐานของสถานศึกษา
4. งานศกึ ษาค้นคว้า วเิ คราะห์ วิจัยการพฒั นาระบบบริหารและการจดั การศึกษา
คมู่ ือปฏิบัติการนิเทศสถานศึกษา กล่มุ นเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
1
บทท่ี 1
บทนำ
หลักการและเหตผุ ล
สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ประกาศนโยบาย และจุดเน้นสู่ความเป็น
เลิศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เพื่อให้ผู้บริหาร
สถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องทราบทั่วกัน เพ่ือนำนโยบายดังกล่าวนำไปใช้เป็นกรอบ แนว
ทางการปฏิบัติงานให้ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ตามกรอบยุทธศาสตร์นโยบาย 4
กลยุทธ์ 16 จุดเน้น (Support Model) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ สพป.นนทบุรี เขต 2 จดั การศึกษา เน้นคุณธรรม สร้าง
คุณภาพทุนมนุษย์ยุค 4.0 ” และค่านิยมองค์การ “ คุณภาพไม่มีเพดาน มาตรฐานต้องสูงข้ึนเสมอ ”
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ในฐานะผู้ทำหน้าที่นิเทศ กำกับ
ติดตามขับเคลื่อนการจัดการศึกษา มีบทบาทหน้าที่และความรับผดิ ชอบของศึกษานเิ ทศก์ ดังน้ี
1.งานประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน หลักสูตรการศึกษา
ระดบั ก่อนประถมศกึ ษา (หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย) หลกั สูตรการศึกษาพเิ ศษ และหลกั สูตรท้องถ่นิ
2. งานศึกษา วิเคราะห์ วิจยั เพ่อื พฒั นาหลักสูตรการสอน และกระบวนการเรียนรูข้ องผู้เรียน
3. งานวิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเก่ียวกับการวัดและประเมินผลการ
จัดการศึกษา
1) ระดับชัน้ เรียนและสถานศกึ ษา
2) ระดับเขตพื้นท่ีการศกึ ษา
3) ระดับชาติ
4. งานวิจัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษา ประเมิน
ติดตาม และตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษา
1) งานพฒั นาสง่ เสรมิ มาตรฐานการศึกษาและการประกนั คุณภาพการศกึ ษา
2) งานตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการศกึ ษา
3) งานวจิ ัยพัฒนาระบบประกันคณุ ภาพการศึกษา
4) งานประสานการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก
5. งานนิเทศติดตามและประเมินผลการจดั การศึกษา
1) งานส่งเสริม และพฒั นาระบบการนิเทศและการจัดกระบวนการเรียนรู้
คมู่ ือปฏบิ ตั กิ ารนเิ ทศสถานศึกษา กล่มุ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
2
2) งานส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายการนิเทศของเขตพ้ืนที่การศึกษา สถานศึกษาหน่วยงานที่
เก่ียวข้องและชุมชน
3) งานนเิ ทศติดตามและประเมินผลการจดั การศกึ ษา
6. งานศึกษาวเิ คราะห์ วิจยั พัฒนา ส่งเสริม และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศกึ ษา
1) งานส่งเสริม พัฒนาสือ่ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
2) งานศึกษา ค้นคว้า วเิ คราะห์ วจิ ยั การพฒั นาสือ่ นวัตกรรม และเทคโนโลยที างการศกึ ษา
7. งานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่
การศกึ ษา
8. งานปฏิบัติร่วมกับ หรือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืนท่ีเกี่ยวข้องหรือท่ีได้รับ
มอบหมาย
งานตามขอบข่ายภารกิจของกลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มนิเทศตดิ ตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นท่ีการศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2 เป็นกลุ่มงานทด่ี ำเนินการ
เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา วิเคราะห์วิจัย ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาระบบบริหารและจัด
การศึกษาเพ่ือให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานเท่า
เทียมกัน โดยยึดโรงเรียนเป็นฐานส่งผลให้ผู้เรียนทั้งระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์และเปา้ หมายของการศึกษา โดยปฏิบตั ิหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการ และงานนิเทศการศึกษาเพือ่ ปรบั ปรุง
การเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ศึกษา ค้นคว้าทางวิชาการและวเิ คราะห์วิจัย ติดตามตรวจสอบและประเมินผลเพ่ือ
พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน และปฏิบัติหน้าท่ีอ่ืนตามท่ีได้รับมอบหมาย โดยให้มีความรู้
ความเข้าใจในหลักการนิเทศการศึกษา หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การวัด การประเมินผลการศึกษา การประกัน
คุณภาพการศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือครูและผู้เรียนในระดบั สูง มีความสามารถในการวางแผนการนเิ ทศการศึกษา
งานวิชาการ งานติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจดั การศึกษา และจัดทำรายงานโดยแสดงให้เห็นวา่ มกี ารวจิ ัยและ
พัฒนา สร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง มีการ
ถ่ายทอด และไดร้ ับการยอมรบั และมกี ารพัฒนาตนและพฒั นาวชิ าชีพมีเทคนิคช้นั สูงในการนเิ ทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล สามารถพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเป็นแบบอย่างแก่วิชาชีพส่งผลให้ครูและบุคลากรในเขต
พ้ืนทกี่ ารศึกษาสามารถจัดกระบวนการเรียนร้บู รรลเุ ป้าหมายของหลักสูตร มคี ุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของเขต
พ้นื ที่การศกึ ษาและกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้มวี ินัยคุณธรรม จริยธรรมและ จรรยาบรรณวิชาชีพ โดยครอบคลุม
ภาระงานท้ัง 8 ด้าน ตามท่ีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา
คุณภาพการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมุ่งมั่นการพัฒ นาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็น
"การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ" ใน 9 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัย2) ด้านโอกาส 3) ด้าน
คุณภาพ และ 4) ด้านประสิทธิภาพ ให้เป็น "วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ" โดยยังคงกำหนดนโยบายใน 4 ด้าน
คู่มอื ปฏิบัติการนิเทศสถานศึกษา กลุ่มนิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
3
พร้อมกับการกำหนดจุดเน้น ที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 ข้อนั้น เพื่อให้การชับ
เคลื่อนนโยบาย และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำไปสู่การปฏิบัติท้ังหน่วยงาน
ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
วตั ถุประสงค์
๑. เพอื่ ใหม้ แี นวทางการนเิ ทศการบรหิ ารและการจดั การศึกษาในเขตพืน้ ที่การศึกษาและสถานศกึ ษา
๒. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาและจัดกระบวนการ
เรยี นรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
3. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พัฒนา การวัดและประเมินผล
การศึกษา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้มคี ณุ ภาพ
4. เพื่อพัฒนาระบบการนเิ ทศติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบรหิ ารจดั การศึกษา
5. เพ่อื ส่งเสริม การศกึ ษา วจิ ัย และพัฒนาใหเ้ ขตพ้ืนทก่ี ารศึกษาและสถานศกึ ษามคี ณุ ภาพตามมาตรฐาน
6. เพื่อตอบสนองนโยบาย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน
สำนกั งานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2 ประจำปงี บประมาณ พ.ศ.2565
นโยบายจดุ เนน้ ของกระทรวงศกึ ษาธิการ
1. การจัดการศกึ ษาเพื่อความปลอดภยั
1.1 เร่งสร้างสถานศกึ ษาปลอดภยั เพ่ือเพิ่มความเช่อื มน่ั ของสงั คม และป้องกนั ภัย จากภัยคกุ คามในชีวิตรปู แบบ
ใหม่ และภยั อื่น ๆ โดยมกี ารวางมาตรการดา้ นความปลอดภยั ให้แก่นักเรยี น ครแู ละบุคสากรในสถานศกึ ษาในรูปแบบตา่ ง
ๆ เช่น จัดโครงการโรงเรียน Sandbox : Safety zone in school (SSS ) หรือ การจัดกิจกรรม Safety School
Success จดั ใหม้ ีการดวัคซีนเพอ่ื ป้องกันโรคตดิ ต่อ การจัดการความรนุ แรงเก่ยี วกบั รา่ งกาย จิตใจ และเพศ เปน็ ตน้
1.2 เร่งพฒั นาบรรจตุ วั ช้ีวัดเรอ่ื งความปลอดภยั ใหอ้ ยใู่ นเกณฑ์มาตรฐานของสถานศกึ ษาและหนว่ ยงานทุกระดบั
1.3 เร่งพัฒนาให้มีหน่วยงานด้านความปลอดภัยท่ีมีโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังอย่างชัดเจนในทุกส่วน
ราชการของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา
2.1 เร่งจดั ทำ และพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (หลักสตู รฐานสมรรถนะ) โดยรบั ฟังความคิดเห็น
จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศึกษาวิเคราะห์ วิจยั ความหมาะสม ความเปน็ ไปได้ และทดลองใช้ก่อนการประกาศใช้หลักสตู รฯ
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565
คมู่ อื ปฏิบตั ิการนเิ ทศสถานศกึ ษา กล่มุ นเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพื้นท่กี ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
4
2.2 จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถะแบบผู้เรยี นสรา้ งความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบถักทอ
ความรู้ ทักษะคุณลักษณะผ้เู รียนเข้าดว้ ยกัน ดว้ ยการลงมือปฏบิ ัตจิ ริง (Active Learning) มุง่ เนน้ ให้ผเู้ รียนสามารถเข้าใจ
และเรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รวมทั้งการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเชิง
สมรรถนะ
2.3 พัฒนาช่องทางการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มท่ีหลากหลาย และมีแพลตฟอร์มการเรียนรู้อัจฉริยะที่
รวบรวมข้อมูลเก่ียวกับกระบวนการจดั การเรยี นรู้ สื่อการสอนคณุ ภาพสูง และการประเมินและพฒั นาผู้เรยี น เพื่อสง่ เสริม
การเรยี นรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning) สำหรับผเู้ รียนทุกช่วงวัย
2.4 มุ่งพัฒนาการจดั การเรียนการสอนประวตั ิศาสตร์ หน้าท่ีพลเมอื ง และศีลธรรมให้มีความทันสมัยสอดรบั กับ
วิถีใหม่ เหมาะสมกบั วัยของผู้เรียน ควบคไู่ ปกับการเรยี นรูป้ ระวัติศาสตรข์ องท้องถ่ินและการเสริมสร้างวิถีชีวติ ของความ
เป็นพลเมืองทเี่ ข้มแขง็
2.5 ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน โดยบูรณาการการทำงาน
รว่ มกับหน่วยงานทเี่ กีย่ วข้อง เช่น กองทุนการออมแหง่ ชาติ (กอช.) ธนาคารกรุงศรอี ยธุ ยา ธนาคารออมสิน ผ่านโครงการ
ต่าง ๆ เชน่ โครงการสถานศึกษาส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. โครงการธนาคารโรงเรยี น และการเผยแพร่ส่ือแอนเิ มชัน
รอบรู้เรือ่ งเงนิ
2.6 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) ท่ีมีการบูรณา
การวิชาสามญั และวิชาชีพในชุดวชิ าอาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจดั การอาชีวศึกษาทั้งในระบบและระบบทวิภาคี รวมทั้ง
การจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพ่ือสะสมหน่วย (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการ
จดั การอาชวี ศกึ ษาอยา่ งเข้มขน้ เพ่อื การมงี านทำ
2.7 ศึกษาวิจัย ถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัด และพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาของสถานศกึ ษา
ในพน้ื ท่ีนวัตกรรมการศกึ ษาเพอื่ เปน็ แนวทางให้หน่วยงานสถานศกึ ษา และผู้เกีย่ วขอ้ งนำไปประยุกตใ์ ชใ้ ห้เหมาะสม
3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเทา่ เทียมทางการศึกษาทกุ ชว่ งวยั
3.1 ดำเนินการสำรวจและติดตามเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน เพื่อนำเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยเฉพาะ
การศกึ ษาภาคบังคบั
3.2 ส่งเสริมสนับสนนุ ให้เดก็ ปฐมวยั ที่มอี ายุต้ังแต่ 3 ปีข้ึนไปทุกคน เข้าสรู่ ะบบการศกึ ษาเพ่ือรับการพฒั นาอย่าง
รอบด้าน มคี ุณภาพตามศกั ยภาพ ตามวยั และตอ่ เนอ่ื งอยา่ งเปน็ ระบบ โดยบูรณาการรว่ มงานกบั ทกุ หนว่ ยงานท่ีเก่ยี วข้อง
3.3 มุ่งแก้ปัญหาคนพิการในวัยเรียนท่ีไม่ได้รับการศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยกำหนดตำแหน่ง (ปักหมุด)
บ้านเด็กพิการทั่วประเทศ
3.4 ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนห่างไกล กันดารได้มีโอกาสเรียนรู้ในยุคโควิด โดยการสร้างความพร้อมในด้าน
ดิจทิ ลั และดา้ นอนื่ ๆ
คมู่ อื ปฏิบตั ิการนิเทศสถานศึกษา กลมุ่ นิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพืน้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
5
3.5 ส่งเสริม และสนับสนุนความร่วมมือการจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมซน
องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถนิ่ และสถาบนั สังคมอืน่
4. การศกึ ษาเพอ่ื พัฒนาทกั ษะอาชพี และเพิ่มขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั
4.1 ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลศิ ทางการอาชวี ศึกษา (Excellent Center) และส่งเสรมิ การผลิตกำลงั คนท่ีตอบ
โจทยก์ ารพัฒนาประเทศ
4.2 สง่ เสริม สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมอาชีพท่ีสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill
New skill เพ่ือให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบท่ีหลากหลายให้
ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลมุ่ เป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุที่มคี วามสนใจ โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหวา่ งหน่วยงานท่ี
เก่ียวข้อง
4.3 จดั ตง้ั ศูนยใ์ ห้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกจิ (ศนู ย์ Start up) ภายใตศ้ ูนยพ์ ฒั นาอาชีพและการเปน็ ผูป้ ระกอบการ
และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการ ด้านอาชีพท้ังผู้เรียน
อาชีวศกึ ษา และประชาชนทว่ั ไป โดยเช่ือมโยงกับ กศน. และสถานประกอบการท้ังภาครฐั และเอกชนทสี่ อดคล้องกับการ
ประกอบอาชพี ในวถิ ีชีวติ รปู แบบใหม่
4.4 พฒั นาแอปพลิเคชนั เพ่ือสนบั สนนุ ชา่ งพันธุ์ R อาชีวะช่อมทว่ั โทย โดยการนำร่องผ่านการใหบ้ ริการของศูนย์
ซ่อมสร้างเพือ่ ชมุ ซน (Fix it Center) จำนวน 100 ศนู ย์ ใหค้ รอบคลุมการให้บริการแก่ประชาชน
5. การส่งเสรมิ สนับสนุนวชิ าชพี ครแู ละบุคลากรทางการศึกษา
5.1 พฒั นาหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ Performance Appraisal (PA) โดยใช้ระบบการประเมิน
ตำแหน่ง และวิทยฐานะของขา้ ราซการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระบบ Digital Performance Appraisal (DPA)
5.2 พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการจัดทำกรอบระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital
Competency) สำหรบั ครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษาระดบั การศกึ ษาขนั้ นพน้ื ฐาน และระดับอาชวี ศึกษา
5.3 ดำเนินการแก้ไขปัญหาหน้ีสินครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการ
วางแผน และการสรา้ งวินยั ดา้ นการเงินและการออม
6. การพฒั นาระบบราชการและการบรกิ ารภาครฐั ยคุ ดจิ ทิ ลั
6.1 พัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในการจัดระบบทะเบียนประวัติของ
ข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษาอเิ ล็กทรอนกิ ส์
6.2 ปรับปรุงแนวทางการจัดสรรเงินค่าเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง"
ของกรมบัญชกี ลางไปยังผูป้ กครองโดยตรง
7. การขบั เคล่ือนกฎหมายการศึกษาและแผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ
จัดทำกฎหมายลำดับรอง และแผนการศกึ ษาแห่งชาตเิ พือ่ รองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ ชาติควบคกู่ บั การ
สร้างการรบั รใู้ ห้กบั ประชาชนได้รับทราบอยา่ งทว่ั ถงึ
คมู่ ือปฏบิ ัตกิ ารนิเทศสถานศึกษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศึกษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพืน้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
6
นโยบายจุดเนน้ ของสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน
1. เร่งแก้ปญั หากลุม่ ผู้เรียนท่ีได้รบั ผลกระทบจากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคโควิด – 19 โดยเพิ่มโอกาส
ในการเข้าถึงการศึกษา พื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับผู้เรียนทุกระดับ รวมทั้งลด
ความเครยี ด และสุขภาพจติ ของผู้เรียน
2. เสริมสร้างระบบ และกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัย
กระทรวงศกึ ษาธิการ (MOE Safety Platform)
3. ส่งเสรมิ ให้เด็กปฐมวยั ท่ีมอี ายุ 3 - 6 ปี และผ้เู รียนระดับการศึกษาขั้นพ้นื ฐานเข้าถงึ โอกาสทางการศกึ ษา และ
ป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กพิการท่ีค้นพบจากการปักหมุด
บา้ นเดก็ พกิ ารใหก้ ลบั เข้าสรู่ ะบบการศึกษา
4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะ และการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมท้ังจัดกระบวนการเรยี นรู้ทาง
ประวตั ิศาสตร์ หนา้ ทพ่ี ลเมอื งและศลี ธรรม ให้เหมาะสมตามวยั ของผเู้ รียน
5. จัดการอบรมครูโดยใชพ้ ้นื ท่เี ปน็ ฐาน พรอ้ มกบั การเสริมทกั ษะการสอนแบบออนไลน์อย่างมปี ระสิทธภิ าพ และ
การให้ความร้ดู า้ นการวางแผน และการสร้างวนิ ยั ด้านการเงินและการออมเพอื่ แก้ไขปัญหาหนี้สนิ ครู
6. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนท่ีเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับ
กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) มีการวัดและประมินผลในช้ันเรียน เพื่อ
พฒั นาการเรยี นรแู้ ละสมรรถนะของผเู้ รยี น (Assessment for Learning) ทุกระดับ
7. ยกระดบั คณุ ภาพของนกั เรยี นประจำพักนอน สำหรบั โรงเรยี นทอี่ ยูใ่ นพน้ื ทส่ี ูง หา่ งไกล และถน่ิ ทรุ กันดาร
8. มงุ่ เนน้ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ทกุ ระดบั
9. เพ่มิ ประสทิ ธิภาพการบรหิ ารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใชพ้ ้นื ทีเ่ ป็นฐานเพอื่ สรา้ งความเขม้ แข็ง
โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา และ
สถานศึกษา
คมู่ อื ปฏิบตั ิการนเิ ทศสถานศกึ ษา กล่มุ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
7
นโยบายเรง่ ดว่ น สำนกั งานเขตพ้นื ทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2
QUICK POLICY 2565
คู่มอื ปฏิบัติการนเิ ทศสถานศึกษา กลมุ่ นเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
8
คู่มือปฏบิ ัติการนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
9
คู่มือปฏบิ ัติการนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
10
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
นโยบาย 4 กลยุทธ์ 16 จดุ เน้นของสำนกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2
4 กลยุทธ์ 16 จุดเน้น
กลยุทธ์ท่ี 1 พัฒนาองค์กรให้พร้อมบริการ จุดเน้นท่ี 1 Resort Office
1 . พั ฒ น า ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า จุดเน้นท่ี 2 Safety Office
2 . พั ฒ น า ร ะ บ บ เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ แ ล ะ ส่ื อ ส า ร เ พื่ อ ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร จุดเน้นท่ี 3 5 หน่วยงานสร้างสรรค์
3.พัฒนาระบบการวางแผน ตรวจติดตามและประเมินผล 1 โรงเรียน
4.ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษา จุดเน้นท่ี 4 โอกาสทางการศึกษา
5 . ป ร ะ กั น โ อ ก า ส แ ล ะ ส ร้ า ง ค ว า ม เ ส ม อ ภ า ค ท า ง ก า ร ศึ ก ษ า
กลยุทธ์ท่ี 2 พัฒนาครูและบุคลากรเพ่ือการปฏิบัติงาน จุดเน้นท่ี 5 5 เร่ืองประเทืองปัญญา
1.ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคล ากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ จุดเน้นท่ี 6 1 คน 1 ปี 1 นวัตกรรม
2 . ส่ ง เ ส ริ ม ส วั ส ดิ ก า ร แ ล ะ ส วั ส ดิ ภ า พ ข อ ง ค รู แ ล ะ บุ ค ล า ก ร ท า ง ก า ร ศึ ก ษ า จุดเน้นท่ี 7 ครูมืออาชีพ
3 . ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ ค รู แ ล ะ บุ ค ล า ก ร ท า ง ก า ร ศึ ก ษ า พั ฒ น า ต น เ อ ง ใ ห้ เ ป็ น บุ ค ค ล แ ห่ ง
“ ร า ง วั ล เ ส ม า ท อ ง ”
ก า ร เ รี ย น รู้ จุดเน้นท่ี 8 คุณธรรม ศีลธรรม
น ำ ก า ร ศึ ก ษ า
คู่มือปฏิบัติการนิเทศสถานศึกษา กลุ่มนิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
11
4 กลยุทธ์ 16 จุดเน้น
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาวิชาการเพ่ือการเรียนรู้ จุดเน้นท่ี 9 ICT เพ่ือการเรียนรู้
1 . พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร แ ล ะ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น จุดเน้นท่ี 10 พัฒนากระบวนการ
2 . พั ฒ น า ก า ร จั ด ก า ร แ ล ะ คุ ณ ภ า พ ม า ต ร ฐ า น ก า ร เ รี ย น รู้
3.ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชี วิตตาม เรียนรู้
จุดเน้นท่ี 11 พัฒนาการอ่านการ
ห ลั ก ป รั ช ญ า ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง
4 . พั ฒ น า น วั ต ก ร ร ม เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ แ ล ะ ก า ร ส่ื อ ส า ร เ พื่ อ ก า ร เ รี ย น รู้ เขียน
5 . พั ฒ น า ก า ร ศึ ก ษ า ต่ อ เ น่ื อ ง แ ล ะ ก า ร เ รี ย น รู้ ต ล อ ด ชี วิ ต จุดเน้นท่ี 12 ห้องเรียนคุณภาพ
6 . บ ริ ก า ร ท า ง วิ ช า ก า ร แ ก่ สั ง ค ม
7.พัฒนาระบบการนิเทศภายในโรงเรี ยนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ จุดเน้นท่ี 13 พัฒนาโรงเรียนสู่ความ
1 . พั ฒ น า แ ล ะ ย ก ร ะ ดั บ ม า ต ร ฐ า น ส ถ า น ศึ ก ษ า เ ป็ น เ ลิ ศ แ บ บ ก้ า ว ก ร ะ โ ด ด
2.ส่งเสริมระบบเครือข่ายเพ่ือพัฒนาประสิทธิภ าพการจัดการศึกษา จุดเน้นท่ี 14 สร้างจุดขายท่ีแตกต่าง
3 . ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร วิ จั ย แ ล ะ พั ฒ น า ก ร ะ บ ว น ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น รู้ จุดเน้นท่ี 15 ดำรงคุณภาพอย่าง
4.ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีก ารบริหาร ย่ั ง ยื น
กิ จ ก า ร บ้ า น เ มื อ ง ท่ี ดี จุดเน้นท่ี 16 SBM (School Base
Management)
4 กลยุทธ์ 19 มาตรการ 16 จุดเน้น
****เรื่องอื่นๆ.....นิเทศตามสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็ นของสถานศึกษา
และในสภาวการณ์ปัจจุบันในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วย
ก า ร นิ เ ท ศ อ อ น ไ ล น์
เป้าหมาย
เชงิ ปริมาณ
นเิ ทศ กำกับ ตดิ ตามและประเมนิ ผลการจดั การศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 63 โรงเรยี น
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ได้ครบทุกโรงเรียน
คูม่ ือปฏิบัตกิ ารนเิ ทศสถานศึกษา กลุ่มนิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพืน้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
12
เชิงคณุ ภาพ
1.สถานศึกษาในสังกดั ไดร้ บั การนเิ ทศ กำกบั ติดตาม การจัดการเรยี นการสอน ครบทัง้ 63 โรงเรียน
2.สถานศกึ ษาไดร้ ับการนิเทศ ภาคเรียนละอยา่ งนอ้ ย 2 คร้งั ต่อโรงเรียน และตลอดปีงบประมาณ
รปู แบบการนิเทศ
ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2565 ดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ด้วยการลงพ้ืนที่ตรวจเย่ียม
สถานศึกษาเพื่อจัดเก็บข้อมูล จากเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยการดำเนินงาน และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมตาม
บริบทของแต่ละสถานศึกษา ในสังกัดทงั้ 63 โรงเรียน ศนู ย์เครือขา่ ยพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา 4 อำเภอ ดงั นี้
1.ศูนยเ์ ครือข่ายพฒั นาคุณภาพการศกึ ษาอำเภอปากเกร็ด
2.ศูนย์เครอื ขา่ ยพฒั นาคุณภาพการศกึ ษาอำเภอบางบัวทอง
3.ศนู ยเ์ ครอื ข่ายพฒั นาคุณภาพการศึกษาอำเภอบางใหญ่
4.ศูนยเ์ ครือข่ายพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาอำเภอไทรนอ้ ย
ขัน้ ตอนการดำเนินงาน
1.ศกึ ษาสภาพปัจจุบัน ปญั หา และความตอ้ งการรับการนิเทศของสถานศกึ ษาในสงั กดั
2.จัดทำโครงการนเิ ทศกำกบั ติดตาม
3.ประชุม ปรึกษา รูปแบบการนิเทศ และกำหนดประเดน็ การนิเทศ ตามนโยบายของสำนกั งานเขต
พ้ืนที่การศึกษาและนโยบายต้นสงั กัด
4.สรา้ งเคร่ืองมอื ในการจัดเก็บข้อมลู การนเิ ทศ
5.จัดทำกำหนดการนเิ ทศสถานศึกษาในสงั กัด
6.แจ้งสถานศึกษาทราบและดำเนินการจัดเกบ็ ขอ้ มลู
7.นำข้อมูลที่ไดม้ าวเิ คราะหแ์ ละสรุปผล
ค่มู อื ปฏบิ ตั ิการนิเทศสถานศึกษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
13
กิจกรรมการนเิ ทศ
นิเทศ กำกบั ติดตาม นโยบาย 4 กลยทุ ธ์ 16 จุดเนน้
วิสยั ทัศน์ สพป.นนทบรุ ี เขต 2 จดั การศกึ ษาเน้นคณุ ธรรม สร้างคุณภาพทนุ มนุษยย์ ุค4.0
คา่ นิยมองคก์ าร “คุณภาพไม่มีเพดาน มาตรฐานตอ้ งสงู ขึน้ เสมอ”
“Quality without ceiling Standards must always be higher”
การบรหิ ารงาน Support Model
S Success (Key of success) เปา้ หมายความสำเรจ็
U Update (UpdateInformation) การใหข้ ้อมลู ข่าวสารท่ีเปน็ ปจั จุบนั
P Participation (Democratic Participation) การมีส่วนร่วมแบบประชาธปิ ไตย
P PositiveRalationship การสรา้ งความสัมพนั ธ์เชิงบวก
O Opportunity การเพมิ่ โอกาส
R Responsibility ความรบั ผดิ ชอบ
T Team Work การทำงานเป็นทมี
คู่มือปฏิบตั กิ ารนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
14
จดุ เน้นท่ี 1 กลยทุ ธ์ ท่ี 1
แนวทางการขบั เคล่ือน พฒั นาองคก์ รให้พร้อมบริการ
Resort Office
จดั อาคารสถานที่สะอาด รม่ รื่น สวยงาม ปลอดภัย ส่ิงแวดล้อมและ
บรรยากาศเอ้ือต่อการเรยี นรูแ้ ละปฏบิ ัติงาน
จดุ เน้นท่ี 2 Safety Office
แนวทางการขับเคลื่อน สร้างความปลอดภัย ระบบดี มภี มู คิ ุ้มกัน ทันเวลา
จุดเน้นที่ 3 5 หนว่ ยงานสร้างสรรค์ 1 โรงเรยี น
แนวทางการขับเคล่ือน
องค์กรภาครัฐและเอกชน เข้ามามีสว่ นร่วมในการพฒั นาโรงเรียน
แบ่งเปน็ แหล่งเรียนรู้ โรงเรยี น 1 แห่งมี 1 หนว่ ยงาน/องคก์ ร 5
หนว่ ยงานขนึ้ ไป
จดุ เน้นที่ 4 โอกาสทางการศึกษา
แนวทางการขบั เคลอื่ น
เรง่ รัดเพม่ิ โอกาสทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนเขตบรกิ ารเขา้ เรยี น
การศึกษาภาคบังคับอย่างท่ัวถึงและรณรงค์ใหน้ กั เรียนตอ่ ระดับมธั ยมศึกษาระดับ
อาชวี ะ
จดุ เน้นที่ 5 5 เรอื่ งประเทืองปัญญา
แนวทางการขบั เคลื่อน
พฒั นาครแู ละบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพฒั นาตนเองด้วยวธิ ีการ
ทห่ี ลากหลาย อยา่ งน้อย 5 เรอ่ื งตอ่ ปี
คู่มือปฏิบตั กิ ารนิเทศสถานศึกษา กลมุ่ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศึกษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
15
จุดเนน้ ที่ 6 1 คน 1 ปี 1 นวัตกรรม
แนวทางการขับเคลื่อน
สง่ เสรมิ สนบั สนนุ ให้ครู และบุคลากรทางการศกึ ษา คดิ คน้ แสวงหา
จดุ เนน้ ท่ี 7 จัดทำ ดดั แปลงขน้ึ โดยใช้กระบวนการเทคนิคการแกป้ ญั หาและพฒั นา
แนวทางการขบั เคล่ือน ตามหนา้ ที่
จดุ เนน้ ที่ 8 ครูมืออาชีพ รางวลั เสมาทอง
แนวทางการขบั เคลื่อน
สง่ เสรมิ สนับสนุน ครู ผูบ้ ริหารสถานศึกษาและบคุ ลากรทางการศกึ ษา
จดุ เนน้ ท่ี 9 ประพฤติตนและมที กั ษะประสบการณ์ตามมาตรฐานวิชาชีพ สู่การได้รบั รางวัลเสมาทอง
แนวทางการขับเคลอ่ื น
คุณธรรม ศีลธรรม นำการศกึ ษา
จดั การศึกษา มุ่งเนน้ พัฒนาผู้เรียนเป็นคนดี มีความรู้ อยู่อย่างเป็นสุข
ใชค้ ุณธรรมเป็นพ้ืนฐานกระบวนการเรียนรู้ที่เช่ือมโยงความร่วมมือกับ
สถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนาและสถาบันการศึกษา
โรงเรียนจัดกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้ หลักธรรมและหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและ
ก า ร เ รี ย น รู้ ทุ ก ก ลุ่ ม ส า ร ะ ก า ร เ รี ย น รู้
ปลูกฝังคุณธรรมพ้ืนฐาน 8 ประการ โดยนักเรียนมีจิตอาสา
จิตสาธารณะ ความสมานฉนั ท์ สนั ติวิธี วถิ ีประชาธิปไตย นักเรียนเน้น
การเป็นมคั นายกนอ้ ย
ICT เพ่ือการเรียนรู้
พัฒ นาครูและผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ
นำเทคโนโลยี และสารสนเทศที่ทันสมัยไปใช้ในการจัดการ
เรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย นำไปใช้ในการสืบค้นหา
ความร้ดู ้วยตนเองเกิดการเรยี นรู้ตลอดชวี ติ
คมู่ ือปฏบิ ัตกิ ารนเิ ทศสถานศึกษา กลุม่ นิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
16
จดุ เน้นท่ี 10 พัฒนากระบวนการเรียนรู้
แนวทางการขับเคลื่อน
พัฒนาครใู ห้มที กั ษะกระบวนการคิด การปฏบิ ัติงานทีส่ ร้างสรรคเ์ ปน็
จุดเน้นที่ 11 ระบบ มีคุณภาพเกิดผลดีตอ่ การจดั การเรยี นรใู้ ห้ผู้เรยี นมที ักษะ
แนวทางการขบั เคล่ือน กระบวนการคดิ ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาอยา่ งยั่งยืน
จดุ เน้นที่ 12 พัฒนาการอา่ นและเขียน
แนวทางการขบั เคลอ่ื น พัฒนาผเู้ รียนใหอ้ า่ นออก เขยี นได้ อ่านคล่อง เขยี นคล่อง อา่ นเป็น
จุดเน้นท่ี 13 เขียนเปน็
แนวทางการขับเคล่อื น ผู้บริหารครูผู้สอนรว่ มมือกับผู้ปกครอง ชุมชน สร้างนิสยั รักการอา่ น
ด้ ว ย ก า ร แ ก้ ปั ญ ห า แ ล ะ พั ฒ น า ผู้ เ รี ย น ด้ ว ย กิ จ ก ร ร ม ท่ี
หลากหลายอย่างต่อเน่ืองอนั นำไปสู่การอา่ นเปน็ เขียนเป็นของ
นักเรียนทุกคน
หอ้ งเรียนคณุ ภาพ
ขับเคลื่อนการบริหารและการจัดการห้องเรียนคุณภาพโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานตามแนวทางโรงเรียนผู้นำการเปล่ียนแปลง 5 ด้าน 1.ด้าน
การนำการเปลี่ยนแปลง 2.ด้านหลักสูตร 3.ด้านการวิจัยในชั้นเรียน
4.ด้านการใช้ICT 5.ด้านระบบ โดยดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่าง
มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานการศึกษา
พัฒนาโรงเรียนสคู่ วามเปน็ เลศิ แบบกา้ วกระโดด
พัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ
เสริมสร้างศักยภาพของโรงเรียน โดยเทียบเคียงระหว่าง
โ ร ง เ รี ย น กั บ โ ร ง เ รี ย น ช้ั น น ำ เ พื่ อ พั ฒ น า ใ ห้ ก้ า ว ไ ป สู่ ค ว า ม เ ป็ น เ ลิ ศ
มีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาท่ีเหนือกว่าและเป็นเลิศด้านวิชาการ
ทักษะ ทีจ่ ำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21
คู่มอื ปฏิบัติการนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศึกษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพื้นท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
17
จุดเน้นที่ 14 สร้างจดุ ขายทแ่ึ ตกต่าง
แนวทางการขับเคลือ่ น
พัฒนาศักยภาพของโรงเรียนให้มีจุดเด่นในเร่ืองที่เป็น
เอกลักษณ์สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เป็นที่ยอมรับ
ข อ ง บุ ค ค ล แ ล ะ ชุ ม ช น
พัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ท้ังร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมสามารถ
ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
จุดเนน้ ท่ี 15 ดำรงคุณภาพอย่างย่งั ยืน
แนวทางการขบั เคลือ่ น
ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาจัดระบบประกันคุณภาพ
ภ า ย ใ น ต่ อ จ า ก ก า ร ป ร ะ เ มิ น ภ า ย น อ ก
บริหารการจัดศึกษาท่ีมีการวางแผนกิจกรรมการ
ประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพที่เป็นระบบ สะท้อน
ถึ ง คุ ณ ภ า พ ร่ ว ม กั น พั ฒ น า ป รั บ ป รุ ง คุ ณ ภ า พ ใ ห้ เ ป็ น ไ ป ต า ม
มาตรฐานการศึกษาท่ีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพ พร้อมรับการ
ประเมินจากภายนอก
จดุ เน้นท่ี 15จุดเนน้ ที่ 16 SBM (School Based Management )
แนวทางการขบั เคลือ่ น นที บริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นกลยุทธ์ใน
การพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจาก
ส่วนกลางไปโรงเรียนโดยตรง
โรงเรียนมีอำนาจอิสระ และคล่องตัว การตัดสินใจ
บริหารงานด้านวิชาการ ดา้ นงบประมาณ ด้ า น บุ ค ค ล แ ล ะ ด้ า น
บริหารงานทั่วไป ตามบริบทของโรงเรียน โดยชุมชน และผู้เกี่ยวข้องเข้า
มามีส่วนร่วม
คู่มอื ปฏิบัตกิ ารนิเทศสถานศึกษา กล่มุ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจดั การศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
18
บทที่ 2
เอกสารงานนเิ ทศที่เกย่ี วข้อง
มาตรฐานการปฏิบัตงิ านศกึ ษานเิ ทศก์
1.ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเก่ียวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพทาง
การศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นท่ีสำคัญประการหนึ่งของศึกษานิเทศก์มืออาชีพ คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกท่ีดีของ
องค์กรวิชาชีพด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ ได้แก่ การเป็นผู้ร่วมงานการ
เป็นผู้จัดงานหรือกิจกรรมรวมท้ังการเป็นผู้เสนอผลงาน และเผยแพร่ผลงาน เพ่ือให้สมาชิกยอมรับ และเห็น
คุณประโยชน์ของศึกษานิเทศก์ที่มีต่อการพัฒนาองค์กร ตลอดจนการนำองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของ
สังคมโดยส่วนรวม
2. ตัดสินใจปฏิบตั ิกิจกรรมการนิเทศการศึกษา โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้รับการนิเทศ ศึกษานิเทศก์มือ
อาชีพ แสดงความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดีต่อผู้รับการนิเทศด้วยการตัดสินใจในการทำงานต่าง ๆ
เพ่ือผลการพัฒนาที่จะเกิดขนึ้ กับผู้รับการนิเทศ ศึกษานิเทศก์ต้องวิเคราะห์ความสัมพันธร์ ะหว่างพฤตกิ รรมของตน
กับผลท่ีจะเกิดแก่ผู้รับการนิเทศแล้วเลือกเฉพาะกิจกรรมท่ีจะนำไปสู่ ผลทางบวกเสมอ อีกทั้งระมัดระวังไม่ให้เกิด
กิจกรรมท่ีมีผลทางลบโดยมิได้ตั้งใจเพื่อนำไปสู่ความไว้วางใจ ความศรัทธาของผู้รับการนิเทศท่ีมีต่อการนิเทศ และ
เหน็ ประโยชนข์ องการนิเทศ
3. มุ่งม่ันพัฒนาผู้รับการนิเทศให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
คุณประโยชนส์ ำคัญของการนิเทศอยูท่ ี่ผ้รู บั การนิเทศได้ลงมอื ปฏิบัตกิ ิจกรรมการพฒั นา จนเปน็ ผลใหเ้ กิดการพัฒนา
เต็มศักยภาพ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพต้องกำหนดปรับเปลี่ยนแนวทางการนิเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนา ผู้รับการ
นเิ ทศอย่างเตม็ ศักยภาพ โดยศกึ ษาจดุ เดน่ จุดดอ้ ยของผู้รับการนิเทศกำหนดจดุ ท่ีจะพัฒนาเลือกใช้วธิ ีทีเ่ หมาะสมกับ
การพัฒนาด้านน้ัน ๆ แล้วใช้เทคนิคการนิเทศให้ผู้รับการนิเทศได้ลงมือปฏิบัติจริง ประเมิน ปรับปรุงให้ผู้รับการ
นิเทศรู้ศักยภาพ เลือกแนวทางท่ีเหมาะสมกับงาน และลงมือปฏิบัติจนเป็นผลให้ศักยภาพของผู้รับการนิเทศ และ
ศึกษานเิ ทศก์เพ่มิ พนู พฒั นาก้าวหนา้ อยา่ งไม่หยุดยั้ง นำไปสูก่ ารเป็นบุคคลแห่งการเรยี นรู้
4. พัฒนาแผนการนเิ ทศให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจรงิ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพวางแผนการนิเทศได้อย่างมี
ยทุ ธศาสตร์ เหมาะสมกับเงื่อนไข ข้อจำกัดของผู้รับการนิเทศ สอดคล้องกับนโยบาย แนวทาง และเป้าหมายของ
การพัฒนา เม่ือนำไปปฏิบัติจะเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างแท้จริงแผนการนิเทศต้องมีกจิ กรรมสำคัญท่ีนำไปสู่ผลของ
การพัฒนา ความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมกับผลงานถือเป็นคุณภาพสำคัญที่นำไปสู่การปฏิบัติงานท่ีมี
ประสิทธิภาพสูง มคี วามคมุ้ คา่ และเกดิ ผลจรงิ
5. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ นวัตกรรมการ
นิเทศเป็นเครือ่ งมือสำคัญของศกึ ษานิเทศก์ในการนำไปสู่ผลงานที่มคี ุณภาพสูงข้ึนเป็นลำดบั ศึกษานิเทศกม์ ืออาชีพ
ต้องมีความรู้ในการนิเทศแนวใหม่ ๆ เลือกและปรับปรุงใช้นวัตกรรมได้หลากหลาย ตรงกับสภาพการณ์เง่ือนไข
คู่มอื ปฏิบัตกิ ารนิเทศสถานศึกษา กลุ่มนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
19
ขอ้ จำกดั ของงานและผ้รู ับการนิเทศจนนำไปสผู่ ลไดจ้ รงิ เพ่ือให้ผู้รบั การนิเทศ ใชศ้ กั ยภาพของตนอย่างเต็มที่ มีความ
ภาคภูมิใจในผลงานรว่ มกนั และก้าวหนา้ พฒั นาอยา่ งไม่หยุดยง้ั
6. จัดกิจกรรมการนิเทศการศกึ ษาโดยเน้นผลถาวรท่ีเกิดแกผ่ ู้รับการนิเทศ ศึกษานิเทศก์มอื อาชพี เลอื กและ
ใช้กิจกรรมการนิเทศท่ีจะนำไปสู่การเปล่ียนแปลงท่ีดีข้ึนของผู้รับการนิเทศจนผู้รับการนิเทศมีนิสัยในการพัฒนา
ตนเองอยู่เสมอ ศึกษานเิ ทศก์ตอ้ งรจู้ ักเสน้ พฒั นาของผู้รับการนิเทศ และเพียรพยายามกระต้นุ ยั่วยุท้าทายให้ผู้รับการ
นเิ ทศลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพอ่ื การพัฒนา ดว้ ยความรสู้ ึกประสบผลสำเร็จเป็นระยะๆ โดยพยายามให้ผูร้ ับการนิเทศ
มคี วามรู้สึกเป็นเจ้าของการทำกิจกรรม และการพัฒนาของผู้รับการนิเทศเอง ข้ันตอนในการนิเทศควรเร่ิมจากการ
รเิ ร่มิ การรว่ มพัฒนา และการสนับสนุนข้อมลู ให้กำลังใจให้ผู้รับการนิเทศค้นหา ปฏิบัติ ประเมิน และปรับปรุงงาน
ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เพ่ือให้เกดิ คา่ นิยม และนิสัยในการปฏิบตั ิ เกดิ เป็นการพัฒนางานในภาวะปกติ เป็นบุคลิกภาพ
ถาวรของผู้รบั การนเิ ทศตลอดไป รวมทงั้ เกิดความชน่ื ชม และศรัทธาความสามารถของตน
7. รายงานผลการนเิ ทศการศกึ ษาได้อย่างเป็นระบบ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพสามารถนำเสนอผลงานที่ได้ทำ
สำเร็จแล้ว ด้วยการรายงานผลท่ีแสดงถงึ การวิเคราะห์อยา่ งรอบคอบ ซ่ึงครอบคลุมการกำหนดงานท่ีจะนำไปสู่ผล
แห่งการพัฒนา การลงมอื ปฏิบัติจริง และผลที่ปรากฏมีหลักฐานยืนยนั ชัดเจน การจดั ทำรายงานเปน็ โอกาสทจ่ี ะได้
คดิ ทบทวนถึงงานที่ทำแล้วว่ามีข้อจำกดั ผลดี ผลเสยี ผลกระทบท่ีมิได้ระวงั ไว้อย่างไร ถ้าผลงานเป็นผลดีจะชื่นชม
ภาคภูมิใจได้ในส่วนใด นำเสนอให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่ืนได้อย่างไร ถ้าผลงานยังไม่สมบูรณ์จะปรับปรุงเพิ่มเติมได้
อยา่ งไร และจะนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการทำงานตอ่ ไปอย่างไร คุณประโยชนข์ องรายงานทด่ี ยี ่อม
นำไปส่กู ารประเมินตนเอง การช่นื ชมความสามารถของผูป้ ฏิบตั กิ ารเรียนร้เู กย่ี วกับความสามารถ และศกั ยภาพของผู้
ปฏิบัติทจ่ี ะก่อใหเ้ กิดการยอมรบั และช่นื ชมในความสามารถของตน
8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ศึกษานิเทศก์ มีภารกิจในการพัฒนาผู้รับการนิเทศโดยการให้คำปรึกษา
แนะนำ หรือจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้รับการนิเทศปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมสำคัญตามเงื่อนไขท่ี ผู้นิเทศ
เสนอแนะ ดังน้ัน ผู้นิเทศต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นท่ีประจักษ์เสียก่อน เพื่อให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือกจิ กรรม
น้ัน ๆ มีน้ำหนัก มีความสำคัญน่าเชื่อถือ ผู้นิเทศจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างท่ีดีทั้งบุคลิกภาพ การปฏิบัติตน มี
คุณธรรมจริยธรรม จะชว่ ยให้ผรู้ ับการนเิ ทศเชอ่ื ถอื ศรัทธาตอ่ การนิเทศการศึกษา และปฏบิ ัติตามด้วยความพึงพอใจ
9. ร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
เสนอแนวทางปรับปรุงทดี่ ีกว่าเดิม แนะนำการปฏิบัติที่เป็นผลดีกวา่ เดิม ไม่หยุดอยเู่ พียงการวิพากษ์วิจารณ์ แต่จะ
ชี้นำแนวทางการแก้ปัญหา ท่ีนำไปสู่ผลดี เป็นผู้สามารถร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมปฏิบัติ เพ่ือพัฒนางานของ
องคก์ ร เพ่ือนรว่ มวชิ าชีพและชุมชน ด้วยความเต็มใจ เต็มความรคู้ วามสามารถ และคาดหวังผลที่ดีท่สี ุดทีจ่ ะเกดิ ข้ึน
โดยตระหนักถึงความสำคัญ ยอมรับในความรู้ความสามารถและรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่ืน รวมทั้งเปิดโอกาสให้
ผู้อื่นได้ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มศักยภาพ ท้ังนี้เพ่ือเสริมสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยในการทำงานท่ีจะ
นำไปสู่ผลงานท่ีดีที่สุดอยู่เสมอ เป็นท่ียอมรับของผู้รับการนิเทศ และผู้ร่วมงานจนผู้รับการนิเทศเกิดศรัทธาต่อการ
นเิ ทศ การปรบั ปรงุ งาน และการร่วมงานกับผู้อื่น
คู่มอื ปฏบิ ัตกิ ารนเิ ทศสถานศึกษา กลุ่มนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
20
10. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา ความประทับใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อผนู้ ิเทศอย่างหน่ึง
คือ ความเป็นผู้รอบรู้ ทันสมัย และทันโลก ศึกษานิเทศก์มืออาชีพต้องติดตามการเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนในโลกทุก
ด้านจนสามารถสนทนากับผู้อื่นดว้ ยขอ้ มูล ข่าวสารท่ีทันสมัย และนำข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนางาน
และพัฒนาผู้รับการนิเทศ การตื่นตัว การรับรู้ และการมีข้อมูลสารสนเทศเหล่าน้ี นอกจากเป็นประโยชน์ต่องาน
นิเทศแล้ว ยังนำมาซึ่งการยอมรับและความรู้สึกเช่ือถือของผู้รับการนิเทศ อันเป็นเงื่อนไขเบ้ืองต้นที่จะนำไปสู่การ
พัฒนาทลี่ กึ ซึ้งต่อเน่ืองตอ่ ไป
11. เป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพสร้างวัฒนธรรมในการพัฒนางานวิชาการ
ดว้ ยการพูดนำ ปฏิบัตินำ และจัดระบบงานให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการพัฒนาวชิ าการ โดยการให้รางวัลแก่ผู้รับ
การนิเทศทปี่ ฏิบัติงานสำเรจ็ แล้วจนนำไปสู่การพฒั นาตนเอง คดิ ได้เอง ตัดสนิ ใจได้เอง พัฒนางานไดเ้ องของผู้รบั การ
นเิ ทศ ศึกษานิเทศก์จึงต้องแสดงออกอย่างชดั เจน และสม่ำเสมอเกี่ยวกับวัฒนธรรมในการพัฒนางานวชิ าการด้วย
ความกระตือรอื ร้น เพียรพยายามท่ีจะบริการอย่างเต็มท่ีตามขีดสูงสุดของความสามารถ เพ่ือให้ผู้รับการนิเทศเกิด
ความม่ันใจในการปฏิบัติ สามารถเลือกการกระทำท่ีสอดคล้องกับวัฒนธรรม แสดงออกและช่ืนชมได้ด้วย
ตนเอง ศึกษานิเทศก์มอื อาชีพจึงต้องสร้างศรัทธาความไว้วางใจ และความร้สู ึกประสบผลสำเรจ็ ใหแ้ ก่ผ้รู บั การนิเทศ
แตล่ ะคน และทกุ คนจนเกิดภาพความเป็นผู้นำทางวิชาการนำไปส่กู ารเป็นบุคคลแห่งการเรียนรูอ้ ยา่ งแทจ้ ริง
12. สร้างโอกาสในการพัฒนางานได้ทุกสถานการณ์ การพัฒนาวิชาชีพการนิเทศการศึกษาให้พัฒนาอย่าง
ย่ังยืน สอดคล้องกับความก้าวหน้าของโลกอย่างไม่หยุดย้ัง ศึกษานิเทศก์จำเป็นต้องรู้เท่าทันการเปล่ียนแปลงและ
สามารถจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องสมดุล และเสริมสร้างซึ่งกันและกัน ศึกษานิเทศก์มืออาชีพจึงต้อง
ต่ืนตัวอยู่เสมอ มองเห็นการเปล่ียนแปลงอย่างรอบด้าน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต กล้าทจี่ ะตัดสินใจดำเนินการเพ่ือ
ผลต่อวิชาชีพ การนิเทศการศกึ ษาในอนาคต อย่างไรก็ตาม การร้เู ท่าทันการเปลี่ยนแปลงน้ีจะเป็นการประกันได้ว่า
การพัฒนาวิชาชีพการนิเทศการศึกษาจะปรับเปลี่ยนได้ทันกับการเปล่ียนแปลงอยู่เสมอ ส่งผลให้วิชาชีพการนิเทศ
การศกึ ษาพฒั นาได้อยา่ งยั่งยืน ผันแปรตามความก้าวหนา้ ตลอดไป
มาตรฐานการปฏิบตั ติ นของศึกษานเิ ทศก์ (จรรยาบรรณวชิ าชพี ศึกษานิเทศก)์
จรรยาบรรณตอ่ ตนเอง
1. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ทางการศกึ ษา ตอ้ งมวี ินัยในตนเอง พฒั นาตนเองดา้ นวชิ าชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทศั น์
ใหท้ ันต่อการพฒั นาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยเู่ สมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2. ผปู้ ระกอบวิชาชพี ทางการศึกษา ต้องรกั ศรัทธา ซื่อสตั ย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชพี และเปน็ สมาชิก
ท่ดี ขี ององคก์ รวิชาชพี จรรยาบรรณต่อผู้รบั บรกิ าร
3. ผปู้ ระกอบวิชาชีพทางการศกึ ษา ตอ้ งรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลอื สง่ เสรมิ ให้กำลงั ใจแกศ่ ษิ ย์และ
ผรู้ ับบริการตามบทบาทหน้าท่ีโดยเสมอหน้า
4. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ทางการศึกษา ต้องส่งเสริมใหเ้ กดิ การเรยี นรู้ ทกั ษะ และนสิ ัยท่ีถกู ต้องดีงามแก่ศิษย์
และผ้รู ับบริการตามบทบาทหนา้ ทีอ่ ยา่ งเต็มความสามารถดว้ ยความบริสุทธ์ิใจ
คมู่ ือปฏบิ ัติการนิเทศสถานศึกษา กลุม่ นเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพื้นทก่ี ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
21
5. ผปู้ ระกอบวิชาชพี ทางการศึกษา ตอ้ งประพฤติตนเปน็ แบบอยา่ งทดี่ ี ทง้ั ทางกาย วาจา และจิตใจ
6. ผปู้ ระกอบวชิ าชีพทางการศกึ ษา ต้องไมก่ ระทำตนเป็นปฏปิ กั ษ์ต่อความเจริญทางกาย สตปิ ญั ญา จติ ใจ
อารมณ์ และสงั คมของศิษยแ์ ละผรู้ บั บริการ
7. ผู้ประกอบวิชาชพี ทางการศกึ ษา ต้องให้บรกิ ารดว้ ยความจรงิ ใจและเสมอภาค โดยไมเ่ รยี กรบั หรือ
ยอมรบั ผลประโยชนจ์ ากการใชต้ ำแหนง่ หน้าท่ีโดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผรู้ ่วมประกอบวิชาชีพ
8. ผปู้ ระกอบวิชาชพี ทางการศึกษา พงึ ชว่ ยเหลอื เก้ือกูลซึ่งกันและกนั อย่างสรา้ งสรรค์ โดยยึดมัน่ ในระบบ
คณุ ธรรมสร้างความสามคั คีในหมูค่ ณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
9. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ทางการศึกษา พงึ ประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นเป็นผ้นู ำในการอนรุ กั ษแ์ ละพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมปิ ัญญา สงิ่ แวดล้อม รกั ษาผลประโยชนข์ องส่วนรวมและยดึ มน่ั ในการปกครอง
ระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษตั รยิ ท์ รงเป็นประมุข
รูปแบบการนเิ ทศ
การนิเทศแบบใหค้ าํ ปรึกษาแนะนาํ /เสนอแนะ (Coaching)
ความหมาย การให้คำปรึกษาแนะนำเป็นการพบปะกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ คือการนิเทศ
แบบเสนอแนะ Coaching Technique (Modern Busines : Reports : 1977) เป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรให้
สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการแน ะน ำหรือ เรียน รู้จากเทคนิคการนิเทศแ บบ
เสนอแนะ Coaching Technique เป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย
การแนะนำหรอื เรียนรจู้ ากผู้ชำนาญ(Coach) ในลักษณะท่ีได้รับคำแนะนำหรอื เรยี นรไู้ ปพรอ้ ม ๆ กบั การปฏิบัตงิ าน
ขัน้ ตอนการนิเทศแบบโค้ชชงิ่ คือ CQCD
C - Compliment หมายถึง การสร้างสมั พนั ธภาพที่ดีระหว่างผทู้ ี่ทำหน้าท่ีเป็น Coach และผู้ให้
คำแนะนำซึ่งเปน็ สมั พันธภาพทสี่ รา้ งความไว้วางใจ ความสบายใจ ยนิ ดีร่วมในแนวทางของ Coaching
Techniques นับเป็นบทบาทสำคัญของ Coach ทจ่ี ะตอ้ งดำเนนิ การ ดังน้ัน ควรดำเนนิ การ ดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลของผู้ทีร่ ับการแนะนำ เช่น จุดเด่น ผลงานเด่น ความชอบ อัธยาศยั จดุ อ่อน จุดท่ี
ตอ้ งปรับปรงุ ขอ้ มลู ตา่ ง ๆ ควรบนั ทกึ ไวอ้ ย่างเป็นระบบมคี วามเหมาะสม
2. นำข้อมลู มาเป็นแนวทางในการสรา้ งสัมพันธภาพ ได้แก่ การชมเชย หรือการสร้างบรรยากาศ
เพ่ือการเชอ่ื มโยงไปสู่ข้นั ต่อไป
Q - Question หมายถึง การถามเน้นการถามในเชิงขอความคิดเห็นไม่ให้ผู้ตอบจนมุมหรือเกิด
ความไม่สบายใจที่จะตอบคำถามซ่ึงผู้เป็น Coach อาจจะใช้ความเหมาะสมของผู้รับคำแนะนำและสภาพปัญหา
เช่น
- คณุ คดิ วา่ ผมจะชว่ ยอะไรได้บ้าง
- คุณคดิ วา่ มวี ธิ ีการอะไรบ้างทแ่ี กป้ ัญหาน้ี
คมู่ อื ปฏิบตั กิ ารนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพน้ื ท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
22
- คุณคิดว่าถ้าใชว้ ธิ กี ารนีแ้ ล้วจะเกดิ อะไรขน้ึ
- ทุกอย่างจะตอ้ งมขี ้อดแี ละขอ้ จำกัด คุณคดิ ว่าวธิ ีนี้อะไรคือข้อดี อะไรคือข้อจำกัด
-คุณคิดวา่ ขอ้ จำกดั นนั้ ๆจะมที างแกไ้ ขหรอื ควรทำอย่างไรหรือจะหาทางออกอยา่ งไรในสภาวะหรือใน
สภาพเชน่ น้ี
- คณุ คิดว่าถ้าคุณจะพฒั นางานให้ดียง่ิ ขนึ้ มอี ะไรบ้างท่ีเราควรทำ
- ท่คี ุณคิดวา่ “ไมด่ ี, ยังไม่ดี คืออะไรบา้ ง” “ คณุ คดิ ว่า มอี ะไรบา้ งทคี่ ุณตอ้ งการเสรมิ เพ่ิมเติม ”
C - Correct หมายถึง การเสนอแนะแนวทางแก้ไข ในขั้นตอนน้ีผู้เป็น Coach ควรให้
ความสำคญั ในขั้นตอนที่สืบเน่ืองจากขน้ั Question นำคำตอบของผู้รับคำแนะนำมาวิเคราะห์และนำเสนอในส่วนท่ี
ยังบกพร่อง และสังเคราะห์เป็นแนวการปฏิบัติหรือการพัฒนางานในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และใน
ขนั้ ตอนน้ีควรกำหนดบทบาทในการปฏิบัตแิ ต่ละเร่ืองชัดเจน
D - Demonstrate หมายถึง การนำข้อเสนอหรือแนวทางที่ตกลงกันไว้ในข้ันตอนของ C -
Correct หรือแผนการใช้นวัตกรรม ซ่ึงผู้รับคำแนะนำเป็นผู้ปฏิบัติ ผู้เป็น Coach เป็นผู้แนะนำอย่าง
ใกล้ชดิ บางคร้ัง Coach อาจต้องสาธิต
การนเิ ทศแบบ Coaching Techniques ประสบผลสำเร็จได้เป็นอยา่ งดี กข็ นึ้ อยกู่ บั
1. ผู้เ ป็น Coach ต้อ ง เ ป็น ผู้เชี่ย ว ช า ญ แ ล ะ เ ป็น ผู้ที่ผู้รับ ค ำ แ น ะ น ำ ย อ ม รับ
2. มีความเหมาะสมกับการสอนแนะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย ใช้ได้กับบุคคลทุกกลุ่มทั้งการ
พฒั นา ศึกษานเิ ทศก์ พฒั นาผบู้ รหิ ารและพฒั นาครู (นันทยา เศรษฐจิตต์ ศกึ ษานิเทศก์ สพม.17)ก
การนิเทศแบบรว่ มพฒั นา(Cooperaive Development Supervision)
การนิเทศแบบร่วมพัฒนา คือ ปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา
ศกึ ษานิเทศก์และครู ในกระบวนการนิเทศการศกึ ษาท่ีม่งุ แกป้ ญั หาและพฒั นาการเรียนการสอนอยา่ งเปน็ ระบบ โดย
ใช้เทคนิคการนิเทศการสอนเป็นปัจจัยหลัก บนพื้นฐานของสัมพันธ์ภาพแห่งการร่วมคิด ร่วมทำ พึงพา ช่วยเหลือ
ยอมรบั ซ่งึ กนั และกัน ให้เกยี รติและจริงใจต่อกนั ระหวา่ งผูน้ เิ ทศ ผสู้ อนและคู่สญั ญา เพ่อื รว่ มกันพัฒนาทักษะวิชาชีพ
อนั จะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จุดมุ่งหมายทั่วไป การนิเทศแบบร่วมพัฒนาเป็นการนิเทศท่ีมุ่งแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียน
การสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนของนักเรยี น โดยการปรบั ปรุงการปฏบิ ัติงานของครูให้เกิด
ประสทิ ธภิ าพบนพื้นฐานของกระบวนการที่เกิดจากความต้องการของครใู นการพัฒนาทกั ษะวชิ าชพี
จดุ มงุ่ หมายเฉพาะ
1. เพื่อพฒั นาทักษะการสอนและทักษะการนิเทศแก่ครอู ยา่ งเป็นระบบ โดยใช้วิธีการนิเทศตนเอง
นเิ ทศโดยเพ่ือน ค่สู ัญญา นเิ ทศโดยนเิ ทศภายในโรงเรียนและนเิ ทศโดยศึกษานเิ ทศก์
2. เพื่อเสรมิ สร้างสมั พนั ธภาพทางวิชาชพี ระหว่างครูและศกึ ษานิเทศก์ให้กระชบั ม่ันยิง่ ขึ้น
3. เพื่อสร้างเสริมเจตคติที่ดีต่อการนิเทศการสอนให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ให้เกิดความ
ม่ันใจวา่ การนิเทศการสอนสามารถช่วยครแู กป้ ัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้
คมู่ อื ปฏบิ ตั ิการนิเทศสถานศึกษา กลุม่ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
23
4. เพ่ือกระตุ้นให้ครูเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เห็นความ สำคัญและ
ประโยชน์ของการนิเทศ พัฒนาตนเองเป็นผู้นำการนิเทศภายในโรงเรียน สามารถนิเทศตนเองและนิเทศเพื่อนครู
ด้วยกนั อยา่ งมีหลกั วิชาและมีรปู แบบท่ีชดั เจน
5. เพื่อใหค้ รูเกดิ ความภาคภมู ใิ จในวชิ าชพี และม่งุ มน่ั พัฒนาตนเองเปน็ ครูมอื อาชพี อยา่ งมาตรฐาน
และรักษาระดับคณุ ภาพไว้อยา่ งต่อเนอื่ ง
6. เพื่อให้ศึกษานิเทศก์ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง พัฒนาส่ือการนิเทศ พัฒนาเทคนิควิธีการ
นิเทศ และนำไปสกู่ ารพฒั นาครูอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ
7. เพ่ือพัฒนาศาสตร์ทางการนิเทศการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
จำเป็นตลอดจนกระแสสังคมและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเน้นให้เกิดประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพ
การศกึ ษาใหม้ ากทสี่ ดุ
ลักษณะสำคญั ของการนิเทศแบบรว่ มพฒั นา
ปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศจากใจถึงใจ บนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจและความจริงใจต่อกัน
ในการพฒั นาทกั ษะวชิ าชีพ ซง่ึ มลี ักษณะสำคญั ดงั น้ี
1. เป็นการนิเทศท่ีพัฒนามาจากการผสมผสานกันระหว่างการนิเทศจากบุคลากรภายนอกและ
การนเิ ทศภายในโรงเรียนโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยวิธีการท่ีเปน็ ระบบ
และมีข้ันตอนการดำเนินงานทช่ี ดั เจน
2. ในกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศแบบร่วมพัฒนา จะมศี ูนยก์ ลางอยูท่ ี่ตัวครูในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้และโรงเรียนซึงมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน เช่น หัวหน้ากุล่มสาระการเรียนรู้มีหน้าท่ีเป็นผู้นิเทศหรือ
คู่สัญญา (ถ้าผู้รับนิเทศต้องการ) เพื่อนครูท่ีสนิทสนมไว้วางใจกันและพร้อมที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาทักษะ
วชิ าชีพ มีบทบาทหน้าท่ีเป็นคู่สัญญา และครูที่มีความสนใจต้องการมสี ่วนร่วมแต่ยังขาดความพรอ้ ม สามารถมสี ่วน
รว่ มได้ในบทบาท ของเพื่อนร่วมอุดมการณ์ และมีเครือข่ายทเี่ ป็นบุคลากรจากภายนอก เช่น ศกึ ษานิเทศก์ หรือครผู ู้
ร่วมนเิ ทศ ซง่ึ กจ็ ะมีบทบาทเป็นผู้นิเทศหรอื ท่ปี รกึ ษา
3. เปน็ รปู แบบการนิเทศท่ีให้ความสำคัญท้ังกระบวนการนิเทศทวั่ ไป และกระบวนการนิเทศการสอน
โดยทั้งสองกระบวนการจะเอ้ือประโยชน์ซ่ึงกันและกัน และส่งผลให้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนดีข้ึน และ
สำหรับการนิเทศการสอนในรูปแบบของการนิเทศแบบร่วมพัฒนานี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดในการนิเทศการสอน
แบบคลนิ ิกและการนิเทศเชงิ เนน้ วตั ถปุ ระสงค์
4. เป็นการรวมกลุ่มกันเพ่ือพัฒนาวิชาชีพของครูท่ีมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพสูงและมีความ
กระตอื รอื ร้นที่จะพัฒนาความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ โดยกำหนดเป็นโครงการนิเทศ มีระยะเวลาในการ
ดำเนินงาน สามารถติดตามผลการปฏิบัติงานได้ ซ่ึงผู้บริหารสถานศึกษาและผู้นิเทศจะต้องรับรู้มีส่วนร่วมในการ
ตดิ ตามผล ให้ความสนับสนุนและอำนวยความสะดวก
5. เน้นหลักประชาธิปไตยในการนิเทศ โดยครูจะมีเสรีภาพในการนิเทศ เลือกผู้นิเทศ เลือกคู่สัญญา
เลือกเวลาในการปฏิบัติการนิเทศ เลือกบทเรียนที่จะสอน เลือกเครื่องมือสังเกตการสอน ในการนิเทศการสอน ครู
คู่มือปฏบิ ตั กิ ารนเิ ทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนักงานเขตพืน้ ทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
24
สามารถ เลือกวิธีการนิเทศตนเอง คือ สังเกตพฤติกรรมการสอนของตนเองแทนท่ีจะให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาหรือ
ศึกษานิเทศก์เข้าไปสังเกตการสอนหรอื ถ้าหากครูมีความพร้อมใจ ต้องการให้ผู้นิเทศหรอื คู่สัญญาเข้าไปสังเกตการ
สอน ครูก็สามารถเลือกหรือรับรู้ทำความเข้าใจกับเครื่องมือสังเกตการสอน จนเป็นท่พี อใจและไม่มคี วามวิตกกังวล
ตอ่ ผลของการใช้เครอื่ งมือสงั เกตการสอนนัน้ ๆ
6. การสังเกตการสอนในกระบวนการนเิ ทศแบบรว่ มพัฒนา ผู้นิเทศต้องไมส่ รา้ งภาพพจนใ์ นการวัดผล
หรือประเมินผลการสอน แต่จะเป็นการบันทึกและอธิบายภาพที่เกิดข้ึนในห้องเรียนว่าผู้สอนมีพฤติกรรมอย่างไร
มากน้อยเท่าใดไม่ใช่ดีหรือไม่ดีอย่างไรเพราะไม่ต้องการให้ครูเกิดความรู้หว่ันกลัวการประเมินแล ะวิตกกังวลต่อ
ปฏสิ ัมพนั ธ์ทางการนเิ ทศ
7. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาจะเน้นที่การสังเกตตนเองเชิงเน้น
วัตถุประสงค์เปน็ หลักโดยมีเคร่อื งมือสังเกตการสอนท่ีสอดคล้องกับจุดประสงค์ทตี่ ้องการนิเทศซง่ึ ขนึ้ อย่กู ับปัญหาท่ี
เกิดขึ้นในกระบวนการจดั การเรียนการสอน ส่วนการสงั เกตการสอนโดยคู่สัญญาหรือผู้นิเทศอนื่ ๆ เช่น หัวหน้ากลุ่ม
สาระการเรียนรู้ หรือศกึ ษานิเทศก์ จะเกิดข้ึนไดต้ อ่ เมอื่ เปน็ ความตอ้ งการของครูผ้นู ั้น
8. การวิเคราะหพ์ ฤติกรรมการสอนของครู จะตอ้ งขึน้ อยู่กบั ขอ้ มลู ท่ีได้จากการสงั เกตการสอนไมใ่ ช่
จากความคิดเหน็ ส่วนตวั ค่านิยมหรือประสบการณ์ของผู้นเิ ทศเอง
9. การใชข้ ้อมูลปอ้ นกลบั หลงั จากการสังเกตการสอน และการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนผู้นิเทศจะ
ใช้เทคนิคนิเทศทางอ้อม เพ่ือพัฒนาให้ครูสามารถวางแผนการสอนได้เอง วิเคราะห์การสอ นของตนเองได้
ประเมนิ ผลการสอนของตนเองได้ และสามารถนเิ ทศตนเองได้ในทส่ี ดุ
10. การปฏิบัติการนิเทศ ยึดหลักการนิเทศแบบมีส่วนร่วม คือ ทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำงาน
ร่วมกันทั่งกระบวนการต้ังแต่การหาความต้องการจำเป็นในการนิเทศ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการนิเทศ การ
วางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศด้วยความเสมอภาคกัน ยอมรับ ยกย่อง ให้
เกยี รตซิ งึ่ กนั และกันในฐานะผรู้ ว่ มวิชาชพี
11. ในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้
ปฏบิ ัติการในทุกข้ันตอนของการดำเนินงาน ทง้ั นี้เพื่อใหค้ รูเกิดความภาคภมู ิใจและเกดิ ความสขุ ในวิชาชีพ มีพลังทจี่ ะ
แก้ไขปรบั ปรุงการปฏิบตั งิ าน และมีความพึงพอใจท่จี ะนำข้อนิเทศไปปฏิบัตใิ ห้เกดิ ผลอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง
12. การนิเทศแบบร่วมพัฒนา เป็นการนิเทศที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาและ
พัฒนาการเรียนการสอน เป็นการทำงานอยา่ งเป็นระบบ แตส่ ามารถยดื หยนุ่ ได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม
13. เป็นการนิเทศที่ยดึ หลักการเชิงมนุษยนยิ ม เป็นการทำงานร่วมกันดว้ ยความจริงใจ เช่อื ม่ัน เข้าใจ
ซ่ึงกนั และกัน ชว่ ยเหลอื รว่ มมือและสนับสนนุ ตอ่ กนั ในการพฒั นาความก้าวหน้าทางวชิ าชพี
14. ผ้นู ิเทศและครูมีโอกาสวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศและปฏิสัมพนั ธท์ างการนิเทศรว่ มกัน เพื่อจะ
ได้แก้ไข ขอ้ บกพรอ่ งและช่วยกนั วางแผนในการพัฒนาปฏสิ มั พันธท์ างการนเิ ทศใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพและสมั พนั ธภาพ
ทีด่ ตี อ่ กนั
คูม่ อื ปฏบิ ัติการนเิ ทศสถานศึกษา กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพนื้ ที่การศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
25
15. มรี ูปแบบในการสรา้ งและพฒั นาเครือข่ายแนวร่วมในการขยายผลตามลำดับขั้นของการมีสว่ นร่วม
เปน็ การ สร้างแรงจงู ใจใหแ้ กผ่ ู้ดำเนินงาน และผู้ทมี่ ีความสนใจจะอาสาเข้ารว่ มดำเนนิ งาน ใช้เทคนิควิธีการขยายผล
โดยการ "ขายตรง" และ "การมีสว่ นรว่ ม" โดยค่อยๆขายความคิดและเชิญชวนให้เข้ามามสี ่วนรว่ มท่ีละน้อย ในฐานะ
"เพื่อนร่วมอุดมการณ์" จนกว่าจะเกิดความพร้อมท่ีจะอาสาเข้าร่วมดำเนินการด้วยอย่างเต็มตัว และเม่ือเข้าร่วม
ดำเนินการแล้ว มีผลการดำเนินงานดีเด่น มีประสิทธิภาพ มีเครือข่ายแนวร่วมเป็นจำนวนมาก ก็จะได้รับ การ
เสรมิ แรงในลกั ษณะต่างๆ ซง่ึ เทคนคิ น้ีเรียกว่าเทคนิค "การสร้างแรงจงู ใจใฝ่สัมฤทธิ์" เพ่อื การพัฒนาท่ีต่อเน่ืองและไม่
หยดุ ยงั้
กระบวนการนเิ ทศแบบร่วมพัฒนา
ขัน้ ท่ี 1 การวางแผนการดำเนินงาน (Planning-P) เป็นขน้ั ตอนท่ผี ู้มีส่วนร่วมในการดำเนนิ งาน
ทุกฝ่ายจะประชุมหารือกันถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอนท่ีเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนควรแก้ไขก่อน และ
หรือนโยบายในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนโดยจะระดมสมองหาความต้องการจำเป็น (Need
Assessment) ในเรื่องท่ีจะต้องมีการนิเทศ รวมท้ังร่วมกันวางแผนและกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานนิเทศ ซ่ึง
อาจจะดำเนินการในลกั ษณะของงานหรือโครงการนิเทศเพ่อื แก้ปญั หา หรือพัฒนาการเรียนการสอน
ข้ันท่ี 2 การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน (Informing-I) เป็นข้ันตอนของการทำความ
เข้าใจ กระบวนการนิเทศทั้งระบบ และวิธีการดำเนินงานในแต่ละขั้นของการนิเทศ เพื่อให้ผู้ดำเนินงานมีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะ และมีเทคนิคในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพขั้นตอนนี้นอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้
ดำเนนิ งานสามารถทำงานไดอ้ ยา่ งมคี ุณภาพแลว้ ยังเป็นการเสริมสร้างความม่ันใจในการทำงานให้แกผ่ ดู้ ำเนนิ งานอีก
ด้วย
ขั้นที่ 3การปฏิบัติงานตามแผน (Doing - D) เม่ือผู้ดำเนินงานได้ผ่านข้ันตอนการวางแผนและ
ขัน้ ตอน การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานไปแล้ว การปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็น
ระบบทั้งในส่วนของผู้ให้การนิเทศ ผู้รับการนเิ ทศ และผู้สนับสนุนการนิเทศก็จะดำเนินไปตามปฏิทินปฏิบัติงานที่ได้
ตกลงร่วมกนั และกำหนเดไว้ในแผน โดยจะได้รบั ความช่วยเหลอื และรว่ มมือจากผนู้ ิเทศภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์
ครูผูร้ ว่ ม นิเทศ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน และเครือข่ายจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้ง
ผู้นิเทศ ภายในโรงเรียนเช่น หัวหน้ากลุ่มสาระ คู่สัญญา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและผู้บริหาร
สถานศกึ ษา
ข้นั ท่ี 4 การประเมินผลการปฏิบัตงิ าน (Evaluation - E) การประเมินผลการปฏบิ ตั งิ านหรอื
โครงการนเิ ทศ ควรดำเนนิ การประเมินท้ังระบบ เพื่อใหท้ ราบประสิทธิภาพของโครงการจึงควรจะประเมินสง่ิ ตา่ งๆ
ตามลำดบั ของความสำคัญ ดงั นี้
4.1 ผลผลิตที่ได้จากการนิเทศ (Output) คือ สัมฤทธิผลการเรียนของผู้เรียน และการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับการนิเทศตามเป้าหมายของการนิเทศน้ัน ได้แก่ ผลที่เกิดข้ึนจากการนิเทศ (ระดับ
ความสามารถในการทำงานของผู้รบั การนิเทศ การเพิม่ จำนวนของบคุ ลากรทีม่ ีคุณภาพภายในหน่วยงาน ความต้ังใจ
คูม่ อื ปฏบิ ัติการนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
26
ในการทำงานของบคุ ลากร และความสัมพันธ์ระหวา่ งบุคลากรในหน่วยงาน) และผลท่เี กิดข้นึ ระหว่างการดำเนินการ
นิเทศ (เจตคติของผรู้ ับการนิเทศท่ีมีตอ่ งานและต่อผ้รู ่วมงาน ระดบั ความพึงพอใจในการทำงาน ความผกู พนั ของผรู้ ับ
การนิเทศที่มีต่อเป้าหมายในการทำงาน ระดับของจุดมุ่งหมายท่ีจัดตั้งข้ึน ระดับความร่วมมือร่วมใจที่มีต่อกลุ่ม
ทำงาน ความเช่อื มน่ั และความไวว้ างใจในตนเอง เพ่ือนร่วมงานและผู้บงั คับบัญชา และความรู้สึกของผู้รับการนิเทศ
ท่มี ตี อ่ สภาพแวดลอ้ มในการทำงาน)
4.2 กระบวนการดำเนินงาน (Process) คือ ความเหมาะสมของขั้นตอนในการทำงาน ความ
เหมาะสมของการจัดกจิ กรรมปฏิสัมพนั ธร์ ะหวา่ งผู้นิเทศกบั ผูร้ บั การนิเทศและบรรยากาศในการทำงาน
4.3 ปัจจัยป้อนเข้า (Input) คือ การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ ส่ือการนิเทศ
เคร่อื ง อำนวยความสะดวกต่าง ๆ งบประมาณการเงิน รวมท้งั ระยะเวลาทใ่ี ชใ้ นการดำเนินงานตามโครงการ
ขั้นท่ี 5 การเผยแพรข่ ยายผล (Diffusing - D) ในรปู แบบที่หลากหลาย เพือ่ เปน็ การเสริมสรา้ ง
ขวัญและกำลงั ใจ แกผ่ ู้ปฏิบัตงิ าน สว่ นการขยายเครือข่ายการดำเนินงานนเิ ทศโดยใชเ้ ทคนิคการขายความคิด ให้เกิด
ความเชือ่ ถือศรทั ธาแล้วจึงใชเ้ ทคนิคการเชิญชวนให้เขา้ มามีส่วนรว่ มทีละนอ้ ยในฐานะเพ่อื รว่ มอาชพี หรืออดุ มการณ์
จนเกิดความพรอ้ มท่จี ะเข้ารว่ มดำเนินการดว้ ยอย่างเตม็ ตัว ในฐานะ "ครูปฏบิ ัติการ" หรือ ฐานะ "คู่สญั ญา" และเมอ่ื
ดำเนินการงานได้ผลดีมีเครือข่ายแนวร่วมเพ่ิมมากขึ้นครูปฏิบัติการก็จะได้ปรับเปลี่ยนบทบาทข้ึนเป็นผู้นิเทศ
เครือข่ายผู้ปฏิบัติการรุ่นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการให้แรงเสริมแก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือเรียกว่าใช้
เทคนิค "การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ"์ นบั วา่ เปน็ กลวิธีการเผยแพรแ่ ละขยายผลที่มีประสทิ ธิภาพ โดยเน้นความ
พร้อมหรือความสมคั รใจของครเู ป็นหลัก ข้ันเสริม การร่วมใจและการเสริมสรา้ งขวัญและกำลังใจ (Cooperating -
Reinforcing- R) นบั วา่ เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ผลการดำเนินงานได้ท้งั คน งาน และจิตใจทผ่ี ูกพันอยกู่ บั งาน
กระบวนการนิเทศการสอนแบบรว่ มพัฒนา
กระบวนการนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา เป็นกระบวนการนิเทศการสอนในชั้นเรียนอย่างมี
ระบบครบวงจร โดยเน้นการสงั เกตการสอนอยา่ งมีวตั ถุประสงค์ เพ่ือนำข้อมูลมาแก้ปัญหาและพฒั นาการเรยี นการ
สอน โดยมขี ้ันตอนการดำเนนิ งาน ดังต่อไปนี้
ขนั้ ตอนท่ี 1 คู่สัญญาตกลงรว่ มกัน เป็นข้นั ตอนที่ครู 2 คนที่สนทิ สนมไว้วางใจซ่ึงกันและกัน ได้
ตกลงร่วมกันในการที่จะพัฒนาทกั ษะวิชาชีพ โดยมีวตั ถุประสงคจ์ ะร่วมกันแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน หรือ
ปรับปรงุ พฤติกรรมการสอน โดยฝ่ายหน่ึงเป็นผู้สอน และอีกฝ่ายหน่ึงทำหน้าทเี่ ป็นคสู่ ัญญา คอยให้ความช่วยเหลือ
แนะนำ ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจ ซ่ึงสัมพันธภาพของคู่สัญญา จะดำเนินไปในลักษณะของเพื่อน
ร่วมอาชีพที่มีเจตนารมณ์และอุดมการณ์เดียวกนั ความสัมพันธ์ของคู่สัญญาทั้งสองจะอยู่บนพน้ื ฐานของความเป็น
ประชาธิปไตย ความเสมอภาค การยอมรับซึ่งกันและกัน มีความจริงใจ ให้เกียรติกัน มีความพร้อมที่จะร่วมมือ
ชว่ ยเหลือกันในการแกป้ ญั หา และพัฒนาการเรยี นการสอนใหเ้ กิดสมั ฤทธผิ ลจนเป็นทีพ่ อใจรว่ มกัน
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนร่วมกัน เป็นขั้นท่ีครูผู้สอนจะนำปัญหาท่ีพบใน
การจัดการเรียนการสอนมาปรึกษาหารือกับคู่สัญญา เพ่ือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และร่วมกัน
วเิ คราะห์หาสาเหตขุ องปัญหา ซ่ึงอาจใช้แผนภูมิก้างปลาในการศึกษาสาเหตุของปัญหา และช่วยกันรวบรวมข้อมูล
ค่มู ือปฏบิ ัติการนเิ ทศสถานศกึ ษา กล่มุ นเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศึกษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
27
ตา่ ง ๆ ที่จะเป็นแนวทางในการวางแผนแก้ปัญหา โดยอาจนำปัญหาและสาเหตุท่วี ิเคราะห์ได้ไปปรึกษาหัวหน้ากลุ่ม
สาระการเรียนรู้ ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นิเทศโดยตรงอยู่แล้ว หรือปรกึ ษาหารอื เพ่ือนร่วมงานในกลุ่มสาระการเรยี นรู้ ซึ่ง
อาจเป็นผู้เช่ียวชาญหรือมปี ระสบการณ์เก่ียวกบั ปญั หาในลักษณะเดียวกันมาแล้ว
ข้ันตอนที่ 3 กำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา เป็นข้ันตอนที่ผู้สอนจะตกลงใจ
เลือกปัญหาที่สำคัญ และตอ้ งการแก้ไขก่อนมาระบุวัตถุประสงค์ในการแกป้ ัญหาหรือพัฒนา ส่วนค่สู ัญญาจะมีหนา้ ท่ี
คอยเป็นคู่คิดให้คำปรกึ ษาและใหก้ ำลงั ใจ
ข้ันตอนที่ 4 วางแผนการสอนและผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนที่ผสู้ อนจะนำจุดประสงค์การเรยี นรู้ และ
เนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งจากในบทเรียน และส่ืออ่ืน ๆ มาวิเคราะห์ร่วมกับคู่สัญญา เพ่ือวางแผนการ
สอนและเตรียมการผลิตส่ือประกอบการสอน โดยคู่สัญญาจะทำงานร่วมกันกับผู้สอนพรอ้ มท้ังช่วยปรับปรุง แก้ไข
แผนการสอน และส่ือให้มีประสิทธิภาพย่ิงข้ึน โดยท้ังคู่จะรับผิดชอบร่วมกันในผลของการสอน ในกรณีท่ีผู้สอน
ต้องการให้คู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอน คู่สัญญาจะได้เข้าใจบทเรียนเพ่ิมขึ้น จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการวาง
แผนการสอน เม่ือผู้สอนเตรียมการสอนเรยี บร้อยแลว้ คู่สญั ญาก็จะใหก้ ำลังใจเพ่ือช่วยให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจ และ
เกดิ พลังทจี่ ะดำเนนิ การสอนใหเ้ กิดสมั ฤทธผิ ลตามจดุ ประสงค์ท่ีต้ังไว้
ขั้นตอนท่ี 5 วางแผนการนิเทศการสอน เป็นขั้นทที่ ้ังผู้สอนและคู่สญั ญาจะวางแผนร่วมกนั โดย
กำหนด วิธีการและแนวปฏิบัติในการสังเกตการสอนในช้ันเรียน รวมทั้งช่วยกันสร้างเครื่องมือสังเกตการสอน ท่ี
เ ฉ พ า ะ เ จ า ะ จ ง ต า ม วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ใ น ก า ร นิ เ ท ศ แ ต่ ล ะ ค รั้ ง ห รื อ เ ลื อ ก เ ค รื่ อ ง มื อ สั ง เ ก ต ก า ร ส อ น ที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว
และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือสังเกตการสอนท่ีจะใชร้ วมทั้งอุปกรณ์ท่ีจำเป็นต้องใช้ในขณะสังเกตการสอน
ตลอดจนสร้างข้อตกลงร่วมกันว่าในขณะสอนและสงั เกตการสอน ผู้สอนจะอนุญาตให้คู่สัญญาเข้าไปสงั เกตการสอน
อยู่หลงั ช้ันเรียนหรอื จะให้ค่สู ญั ญามีส่วนรว่ มในการจดั การเรยี นการสอนหรือร่วมกิจกรรมดว้ ย ตลอดจนตกลงร่วมกัน
วา่ จะแจ้งให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ว่าคาบเรยี นรจี้ ะมีผู้มาสังเกตการสอน จะสังเกตตลอดท้ังคาบเรยี นหรอื ช่วงเวลาหน่ึง
ท้งั น้ีข้อตกลงทั้งหมดตอ้ งอยู่ในความยินยอมพรอ้ มใจ หรือความต้องการของผู้สอนทั้งสิ้น เพื่อผสู้ อนจะได้สบายใจไม่
วิตกกังวลต่อพฤติกรรมการสังเกตการสอนของคู่สัญญา ในกรณีที่ผู้สอนต้องการจะสังเกตการสอนด้วยตนเอง
คสู่ ัญญาก็จะมหี น้าที่เพียงใหค้ วามร่วมมือช่วยเหลือและให้ข้อเสนอแนะในการสร้างหรอื เลือกใชเ้ ครอื่ งมือสังเกตการ
สอนทีเ่ หมาะสมเทา่ นนั้
ข้นั ตอนท่ี 6 สอนและสังเกตการสอน เป็นการรวบรวมขอ้ มลู เกย่ี วกบั พฤตกิ รรมการเรียนการสอน
ของนักเรียนและครู ตลอดจนสภาพการณ์ทุกอย่างท่ีเกิดข้ึนในห้องเรียน การสังเกตการสอนเปรียบเสมือนการนำ
กระจกบานใหญ่ไปต้ังไว้หลังช้นั เรยี น เพอ่ื สะท้อนให้เห็นวา่ ในหอ้ งเรียนนน้ั มีอะไรเกดิ ขน้ึ บ้าง และผูส้ งั เกตกจ็ ะบันทึก
ขอ้ มูลท่ีรวบรวมได้ไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือพิจารณา วินิจฉัย เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขพฤติกรรม
การเรียนการสอนตอ่ ไป
ข้ันตอนท่ี7 วเิ คราะห์ผลการสอนและผลการสงั เกตการสอน เปน็ ขั้นทค่ี ู่สญั ญาจะร่วมกันวิเคราะห์
ข้อมลู ที่ รวบรวมได้จากการสังเกตการสอน ซึ่งจะค้นพบพฤตกิ รรมท้ังท่ีประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัดของผู้สอน
และพฤติกรรมท่ีควรปรับปรุง แก้ไข ในด้านต่าง ๆ ซ่ึงผู้สังเกตได้รวบรวมไว้ท้ังหมด ตลอดจนข้อมูลหรือเหตุการณ์
ค่มู อื ปฏบิ ตั กิ ารนิเทศสถานศกึ ษา กลมุ่ นิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพ้ืนทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
28
ต่าง ๆ ที่เกดิ ขึ้นในขณะการเรียนการสอนกำลังดำเนนิ อยู่ ผู้สงั เกตการสอนและผู้สอนจะร่วมกันวิเคราะห์ แปลความ
ตีความพฤติกรรมที่สังเกตได้ และนำผลการวิเคราะห์ มาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของ
ความเสมอ ภาคจริงใจ และมีความมงุ่ หวงั อย่างเดียวกัน คือ การพฒั นาคณุ ภาพการเรยี นการสอน
ขั้นตอนท่ี 8 ให้ข้อมูลป้อนกลับซึ่งกันและกัน เป็นข้ันตอนเสริมสร้างขวัญ ท่ีผู้ทำหน้าที่นิเทศ
จะต้องใช้เทคนิคหรือกลวิธีหรือทักษะท่ีละเอียดอ่อน ที่มีประสิทธิภาพ (เทคนิควิธีการนิเทศทางอ้อม ของ นิพนธ์
ไทยพานิช ดังน้ี คือ ผู้นิเทศจะต้องพูดน้อย ฟังมาก ยอมรับและใช้ความคิดของครูให้เป็นประโยชน์ต่อการนิเทศ
ใช้คำถามช่วยคลี่คลายทำให้กระจ่างชัดเจนขึ้น ให้คำยกย่อง ชมเชยในผลงานของครู หลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำ
โดยตรง หากจำเป็นควรเสนอทางเลือกให้หลาย ๆ วิธีเพ่ือให้ครูเลือกวิธีการท่ีเหมาะสมเอง การสนับสนุนครูคำพูด
และการยอมรับและใชค้ วามรู้สึกของครูให้เป็นประโยชน์ หรือ ใช้เทคนิค ของ Bittlle ดังน้ี ชมเชย ยกย่อง ยอมรับ
ในผลงานที่ประสบความสำเรจ็ ของครู อภิปราย-พูดคุยถึงพฤติกรรมที่ควรปรบั ปรุงแก้ไขเพียงเล็กน้อย สรุปผลงาน
แนะวิธีแก้ไข ให้กำลังใจครูซ้ำอีกเพื่อจะได้เกิดพลังในการนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติให้เกิดผล) ประกอบกับต้องมี
ศิลปะในการพูดผนวกกับการใช้จิตวทิ ยาในการให้คำปรกึ ษาซ่ึงไมค่ วรใหม้ ากเกินไปและไม่ควรให้ในสงิ่ ทเ่ี ป็นข้อจำกัด
ผนู้ ิเทศจะตอ้ งเลือกเฉพาะพฤติกรรมท่ีคาดคะเนว่าครูจะสามารถปรบั ปรุงหรือเปล่ียนแปลงได้เท่าน้ัน การให้ข้อมูล
ป้อนกลับ ต้องคำนึงสัมพันธภาพทางวิชาชีพท่ีตั้งอยู่บนพื้นฐานของพฤติกรรม ดังต่อไปน้ี คือ ต้องเกิดจากความ
ตอ้ งการของครู มุ่งพฒั นาทกั ษะวชิ าชพี ร่วมมือกันในฐานะเพ่ือนรว่ มวชิ าชีพ มุง่ เฉพาะพฤติกรรมการเรียนการสอน
ไม่ใช่บคุ ลิกภาพของครู ครูมคี วามพรอ้ มท่ีจะรับ สถานที่ และจังหวะเวลาที่เหมาะสม ครูมสี ่วนร่วมทุกขั้นตอน อย่า
ใหม้ ากเกินไป หลีกเลยี่ งการใช้คำนิยมส่วนตวั ให้ในลกั ษณะเชญิ ชวน ไม่ใช่การวัดผลการสอนของครู อยู่บนพื้นฐาน
ของการนเิ ทศทางออ้ ม ประชาธปิ ไตย เสมอภาค จรงิ ใจ ใหเ้ กียรติกนั ยอมรับซงึ่ กนั และกัน
ขั้นตอนที่ 9 วางแผนการสอนและการนิเทศการสอนต่อเน่ือง เป็นการเร่ิมต้นวัฏจักรของ
กระบวนการนเิ ทศอีกรอบหนงึ่ เพื่อให้ครู และผูน้ เิ ทศมีโอกาสทบทวนกระบวนการเรียนการสอนรว่ มกันอีกคร้ังหน่ึง
และมีโอกาสเลือกพฤตกิ รรมการเรยี นการสอนที่ประสบความสำเร็จไปในการสอนครั้งต่อไป รวมท้ังเลือกพฤตกิ รรม
การเรียนการสอนท่ีควรปรับปรุงในวัฏจกั รเก่าไปร่วมกนั ศกึ ษาหาแนวทางและวางแผนในการปรบั ปรงุ โดยการนำไป
ทดลองสอนและสังเกตการสอนอีกครง้ั หนึ่งในวัฏจักรใหม่ เทคนิคในการนิเทศของผู้นเิ ทศ และความมุ่งม่ันของผู้รับ
การนเิ ทศจะนำไปสู่ความเป็นครมู อื อาชีพ (Professional Teacher)
คู่มอื ปฏิบัตกิ ารนิเทศสถานศึกษา กลมุ่ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนักงานเขตพ้นื ทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
29
บทท่ี 3
การจัดโครงสรา้ งการบรหิ ารและการจดั วางบคุ ลากร
โครงสรา้ งการบริหารและการจดั วางบคุ ลากร
การมอบหมายหน้าท่ีปฏิบัติงานรายบุคคลเพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
ประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพสูงสุด อาศัยอำนาจตามความใน
มาตรา 33 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบยี บบรหิ ารราชการ กระทรวงศกึ ษาธิการ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และ
ประกาศกระทรวงศกึ ษาธิการ เรือ่ ง การแบ่งสว่ นราชการภายในสำนกั งานเขตพื้นท่กี ารศึกษา พ.ศ. 2560 ประกาศ
ณ วันที่ 22 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2560 และ(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2561 ประกาศ ณ วันท่ี 28 สิงหาคม 2561 เพื่อให้
การปฏิบตั ิหน้าที่ราชการของศกึ ษานิเทศก์ และเจ้าพนักงานธุรการปฏบิ ัตงิ าน กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล
การจัดการศึกษา สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมี
ประสิทธิภาพ จงึ มอบหมายใหบ้ คุ ลากรปฏบิ ตั ิหน้าทใ่ี นกลุม่ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา ดงั นี้
โครงสรา้ งกลมุ่ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา
คมู่ ือปฏบิ ตั กิ ารนิเทศสถานศึกษา กลุม่ นเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพ้นื ทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
30
1. นางนภสกร ผ่องอำไพ ตำแหน่ง ศกึ ษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพเิ ศษ ปฏิบัตหิ นา้ ที่ ดงั น้ี
1) ผอู้ ำนวยการกลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา มีหน้าท่ี ประสานงาน กำกับ ดูแล
ติดตามให้ข้อเสนอแนะและกลั่นกรองงานของบุคลากรในกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรและสถานศึกษามีความเข้มแข็งในการพัฒนาวิชาการ การบริหารจัดการหลักสูตร
สถานศึกษา การจดั กระบวนการเรียนรู้ การประกนั คุณภาพการศึกษา การนเิ ทศภายในสถานศกึ ษา การพัฒนาส่ือ
นวตั กรรมและเทคโนโลยีทางการศกึ ษา และการวัดผลประเมินผลการศกึ ษา
2) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึกษามีหน้าท่ี และความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่ง
มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ืองการแบ่งส่วนราชการภายใน
สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมท่ีเป็นนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐานและสำนกั งานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
2.1 ศกึ ษาวเิ คราะห์ วจิ ยั และนิเทศเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน
พุทธศักราช 2551 (ปรบั ปรงุ 2560) หลักสตู รการศึกษาปฐมวยั พุทธศักราช 2560 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ และ
หลักสูตรท้องถน่ิ
2.2 ศกึ ษาวเิ คราะห์ วิจัย พฒั นา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกนั คณุ ภาพการศึกษา
2.3 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศเพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของ
ผเู้ รยี น กล่มุ สาระการเรยี นรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม
2.4 ปฏิบัติงานกลมุ่ เลขานุการคณะกรรมการตดิ ตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของ
เขต
พน้ื ที่การศึกษา
3) โครงการ/กิจกรรม
3.1 โครงการหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
3.2 โครงการนเิ ทศเพอ่ื พัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.3 โครงการอนื่ ๆ ที่ไดร้ บั มอบหมาย
4) โครงการพิเศษอื่นๆตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
ประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2 4 กลยุทธ์ 16 จดุ เนน้
4.2 โครงการห้องเรียนภาษาอังกฤษ (Prepare Intensive English Program Nonthaburi2 :
PIEPN2)
4.3 โครงการสนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ (วดิ โี อยูทปู )
5) ภารกิจและความรับผิดชอบอื่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานอืน่ ทเี่ กี่ยวขอ้ งหรือตามท่ีผู้บังคับบัญชามอบหมาย
คู่มือปฏิบัตกิ ารนเิ ทศสถานศึกษา กลมุ่ นิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศึกษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
31
2. นายผดุงศักดิ์ วศิ ิษฏว์ ุฒิกลุ ตำแหน่ง ศึกษานเิ ทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพเิ ศษ ปฏิบัตหิ นา้ ที่ ดังน้ี
1) ปฏิบตั ิหน้าทแ่ี ทนผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา คนที่ 1
2) ปฏบิ ตั หิ น้าทก่ี ลุ่มงานส่งเสรมิ และพฒั นาสอื่ นวตั กรรมและเทคโนโลยีทางการศกึ ษา
3) ปฏิบัติหน้าที่เก่ียวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบตาม
มาตรฐานตำแหนง่ มาตรฐานวทิ ยฐานะ รวมท้ังปฏิบัติหนา้ ที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วน
ราชการภายในสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมท่ีเป็นนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐานและสำนกั งานเขตพ้นื ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 ดังนี้
3.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศเพ่ือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานพทุ ธศักราช 2551 (ปรับปรงุ 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
หลักสตู รการศกึ ษาพิเศษและหลักสูตรท้องถน่ิ
3.2 ศึกษาวเิ คราะห์ วิจัย พฒั นา สง่ เสรมิ มาตรฐานการศึกษาและการประกนั คณุ ภาพ
การศกึ ษา
3.3 ศึกษาวเิ คราะห์วจิ ยั และนิเทศเพ่ือพฒั นาหลักสตู รการสอนและกระบวนการเรียนรู้
ของผู้เรียนในกลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาตา่ งประเทศ(ภาษาองั กฤษ)
4) โครงการ/กจิ กรรม
4.1 โครงการ DLTV /DLIT
4.2 ผู้ดแู ลระบบแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเปน็ เลิศ (DEEP)
5) โครงการพเิ ศษอ่ืนๆตามนโยบาย
5.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพ้ืนที่
การศกึ ษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 4 กลยทุ ธ์ 16 จดุ เน้น
5 .2 โครงก าร ห้ อ งเรียน ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
5.3 โครงการสนบั สนุนการผลิตส่ือการเรยี นร้อู อนไลน์ (วิดีโอยูทปู )
6) ภารกิจและความรับผิดชอบอื่นท่เี ก่ียวข้องปฏิบัติงานร่วมกบั หรือสนับสนุนการปฏิบตั ิงานของ
หน่วยงานอน่ื ท่เี ก่ียวขอ้ งหรอื ตามท่ีผ้บู งั คบั บัญชามอบหมาย
3. นางปริยานชุ จุลพรหม ตำแหน่ง ศกึ ษานเิ ทศก์ วทิ ยฐานะ ชำนาญการพิเศษ ปฏิบัตหิ น้าที่ ดงั น้ี
1) ปฏิบตั ิหนา้ ที่แทนผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศึกษา คนท่ี 2
2) ปฏิบัติหน้าท่ีเก่ียวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึกษา มีหน้าท่ีและความรับผิดชอบตาม
มาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ รวมท้ังปฏิบัตหิ น้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เร่ืองการแบ่งส่วน
ราชการภายในสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมที่เป็นนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 ดงั น้ี
คู่มอื ปฏบิ ัติการนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนิเทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
32
2.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาข้ันพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 หลักสูตร
การศกึ ษาพเิ ศษ และหลักสูตรท้องถ่นิ
2.2 ศึกษาวิเคราะห์ วจิ ัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพ
การศกึ ษา
2.3 ศึกษาวเิ คราะห์วจิ ยั และนิเทศเพ่ือพฒั นาหลักสูตรการสอนและกระบวนการเรยี นรู้
ของผู้เรียนระดับปฐมวัย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม
3) โครงการ/กจิ กรรม
3.1 โครงการบ้านนกั วทิ ยาศาสตร์นอ้ ยประเทศไทย
3.2 โครงการจดั การเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM Education) ระดับปฐมวยั
3.3 โครงการวทิ ยาการคำนวณระดับปฐมวัย
3.4 โครงการสง่ เสริมพฒั นาคุณภาพกลุ่มสาระการเรยี นรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
4) โครงการพเิ ศษอ่ืนๆตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2 4 กลยุทธ์ 16 จุดเน้น
4.2 โค รงก าร ห้ อ งเรีย น ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
4.3 โครงการสนับสนุนการผลิตสอ่ื การเรียนรู้ออนไลน์ (วิดโี อยทู ปู )
5 ภารกิจและความรบั ผิดชอบอืน่ ที่เกีย่ วขอ้ งปฏิบัติงานรว่ มกับหรือสนับสนุนการปฏบิ ตั ิงานของ
หน่วยงานอื่นท่เี ก่ยี วข้องหรอื ตามทผ่ี ้บู งั คบั บัญชามอบหมาย
4. นางสาววรรณวิษา อารีวโรดม ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการ ปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ี ดังน้ี
1. ศึกษา วเิ คราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอน และกระบวนการเรียนรขู้ องผู้เรียน
2. ปฏิบัติหน้าที่เก่ียวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึกษามีหนา้ ที่และความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่ง
มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทั้งปฏิบัติหน้าท่ีตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ืองการแบ่งส่วนราชการภายใน
สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมที่เป็นนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พนื้ ฐานและสำนกั งานเขตพืน้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ดังนี้
2.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้นั พ้ืนฐานพทุ ธศกั ราช 2551 (ปรบั ปรงุ 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพทุ ธศักราช 2560
หลักสูตรการศกึ ษาพิเศษและหลักสูตรท้องถนิ่
คูม่ อื ปฏิบตั ิการนเิ ทศสถานศกึ ษา กล่มุ นเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
33
2.2 ศึกษาวเิ คราะห์ วิจยั พัฒนา สง่ เสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกนั คุณภาพ
การศกึ ษา
2.3 ศึก ษ าวิเค ร าะ ห์วิจัย แ ล ะ นิเท ศ เพื่อ พัฒ น าห ลัก สูต ร ก าร ส อ น แ ล ะ
กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
2.4 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย พัฒนา ส่งเสริมมาตรฐานการศึกษากระบวนการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคญั (Active Learning)
3) โครงการ/กิจกรรม
3.1 โครงการโรงเรียนสจุ รติ
3.2 โครงการจดั การเรียนการสอนผ่านกระบวนการเชิงรุก (Active Learning)
3.3 โครงการ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21
3.4 โครงการส่งเสริมพฒั นาคุณภาพกลุ่มสาระการเรยี นรู้คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
4) โครงการพิเศษอ่นื ๆ ตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพ้ืนที่
การศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2 4 กลยุทธ์ 16 จดุ เน้น
4.2 โค รงก าร ห้ อ งเรีย น ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
4.3 โครงการสนบั สนุนการผลิตสือ่ การเรียนรอู้ อนไลน์ (วดิ ีโอยทู ูป)
5) ภารกจิ และความรบั ผิดชอบอื่นท่ีเกย่ี วขอ้ งปฏบิ ตั ิงานรว่ มกับหรือสนับสนนุ การปฏบิ ัติงาน
ของหนว่ ยงานอน่ื ทเี่ ก่ยี วขอ้ งหรอื ตามที่ผู้บังคับบญั ชามอบหมาย
5. นางสาวธีมาพร วงษ์ดี ตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ วทิ ยฐานะ ชำนาญการ ปฏิบัติหน้าท่ี ดังน้ี
1) เป็นหวั หน้ากลุ่มงานสง่ เสริมและพฒั นาส่ือ นวตั กรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
2) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบตาม
มาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทงั้ ปฏิบัตหิ น้าท่ีตามประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เร่ืองการแบ่งส่วน
ราชการภายในสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมท่ีเป็นนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2 ดังน้ี
2.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพ่ือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 (ปรบั ปรงุ 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
หลกั สูตรการศกึ ษาพิเศษและหลักสตู รทอ้ งถน่ิ
2.2 ศกึ ษาวิเคราะห์ วจิ ยั พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพ
การศึกษา
ค่มู อื ปฏิบัตกิ ารนเิ ทศสถานศึกษา กล่มุ นิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพ้นื ทกี่ ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
34
2.3 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศเพ่ือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ศิลปะ การงานอาชีพ สุขศึกษาและพลศึกษา
และกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน
2.4 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย พัฒนา ส่งเสริม และนิเทศเพ่ือพัฒนาการจัดการเรียน
การสอนบูรณาการทักษะชีวิต
2.5 ปฏิบัติงานกลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศ
การศกึ ษาของเขตพ้นื ที่การศึกษา
3) โครงการ/กิจกรรม
3.1 โครงการส่งเสริมพัฒนาการจัดการเรยี นรบู้ รู ณาการทกั ษะชวี ติ
3.2 โครงการการจดั การศกึ ษาพิเศษเรยี นรวม
3.3 โครงการ HCEC ศนู ยพ์ ัฒนาศกั ยภาพบุคคลเพอื่ ความเปน็ เลศิ (ภาษาอังกฤษ)
3.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(แนะแนว)
4) โครงการพิเศษอื่นๆตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพ้ืนที่
การศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2 4 กลยทุ ธ์ 16 จดุ เน้น
4.2 โค รงก าร ห้ อ งเรีย น ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
4.3 โครงการสนบั สนุนการผลิตสอื่ การเรยี นรู้ออนไลน์ (วดิ โี อยทู ูป)
5) ภารกจิ และความรับผิดชอบอนื่ ท่เี กี่ยวข้องปฏิบัติงานร่วมกบั หรอื สนับสนุนการปฏิบตั ิงานของ
หนว่ ยงานอ่ืนทีเ่ กยี่ วข้องหรอื ตามท่ีผบู้ งั คบั บัญชามอบหมาย
6. นางณัฐภรณ์ แก้วพิทกั ษ์ ตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์ วทิ ยฐานะ ชำนาญการ ปฏิบตั หิ น้าท่ี ดังนี้
1) เป็นหัวหน้ากลุ่มงานวิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเก่ียวกับการ
วัดผลและประเมนิ ผลการจัดการศกึ ษา
2) ปฏิบัติหน้าที่เก่ียวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึกษามีหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรฐาน
ตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ืองการแบ่งส่วนราชการ
ภายในสำนักงานเขตพื้นท่ีการศกึ ษา พ.ศ.2560 และโครงการ/กิจกรรมที่เปน็ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พน้ื ฐานและสำนกั งานเขตพื้นท่กี ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 ดงั น้ี
2.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้นั พื้นฐานพทุ ธศกั ราช 2551 (ปรบั ปรุง 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพทุ ธศักราช 2560
หลักสตู รการศกึ ษาพิเศษและหลักสูตรทอ้ งถนิ่
2.2 ศึกษาวเิ คราะห์ วิจยั พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพ
การศึกษา
คู่มือปฏบิ ตั กิ ารนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
35
2.3 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศเพ่ือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
2.4 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
ตามแนวทาง STEM Education ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น
3) โครงการ/กิจกรรม
3.1 โครงการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาติขั้นพน้ื ฐาน (O-NET)
3.2 โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.3 โครงการบา้ นนกั วทิ ยาศาสตรน์ อ้ ยประเทศไทยระดบั ประถมศึกษา
3.4 โครงการวัดประเมินผลตามแนว PISA
3.5 ดูแลการใชโ้ ปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรยี น (School MIS)
4) โครงการพเิ ศษอน่ื ๆตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพ้ืนท่ี
การศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2 4 กลยทุ ธ์ 16 จุดเนน้
4.2 โค รงก าร ห้ อ งเรีย น ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
4.3 โครงการสนับสนุนการผลิตส่อื การเรียนรู้ออนไลน์ (วดิ ีโอยทู ูป)
5) ภารกิจและความรบั ผิดชอบอ่นื ทีเ่ กี่ยวข้องปฏิบตั ิงานร่วมกับหรอื สนับสนุนการปฏบิ ัติงานของ
หนว่ ยงานอ่ืนท่เี กย่ี วขอ้ งหรือตามที่ผู้บงั คบั บัญชามอบหมาย
7. นางณิฐากร อิ่มสะอาด ตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าท่ี ดังน้ี
1) ปฏิบตั หิ นา้ ทเ่ี ก่ียวกบั งานวชิ าการและงานนิเทศการศึกษา มหี น้าที่และความรบั ผิดชอบตาม
มาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทั้งปฏิบัตหิ น้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรื่องการแบ่งส่วน
ราชการภายในสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมท่ีเป็นนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐานและสำนักงานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 ดงั น้ี
1.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 (ปรบั ปรุง 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
หลักสูตรการศึกษาพเิ ศษ และหลกั สตู รทอ้ งถน่ิ
1.2 ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พฒั นา ส่งเสรมิ มาตรฐานการศกึ ษาและการประกันคุณภาพ
การศกึ ษา
1.3 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศเพ่ือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชพี ภาษาไทย ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา และ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น(แนะแนว)
คูม่ อื ปฏบิ ตั กิ ารนิเทศสถานศึกษา กล่มุ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนกั งานเขตพ้นื ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
36
1.4 ศกึ ษาวเิ คราะห์วจิ ัย และนิเทศ เพ่อื ส่งเสริมและพฒั นาการใช้ส่ือ นวัตกรรม การจัดการ
เรียนการสอน
2) โครงการ/กิจกรรม
2.1 โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
2.2 โครงการส่งเสรมิ บรหิ ารจดั การขยะภายในโรงเรียน (Zero Waste School)
2.3 โครงการส่อื 60 พรรษาฯ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
2.4 โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษา
ทางไกล (DLTV/DLIT)
3) โครงการพิเศษอืน่ ๆ ตามนโยบาย
3.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2 4 กลยทุ ธ์ 16 จุดเน้น
3.2 โครงการห้องเรียน ภาษ าอังก ฤษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
3.3 โครงการสนบั สนุนการผลิตส่ือการเรียนรอู้ อนไลน์ (วิดโี อยูทูบ)
4) ภารกิจและความรับผดิ ชอบอ่ืนทเี่ ก่ียวข้องปฏิบตั ิงานรว่ มกบั หรอื สนบั สนุนการปฏบิ ัติงานของ
หน่วยงานอืน่ ทเ่ี ก่ยี วข้องหรือตามที่ผู้บังคับบญั ชามอบหมาย
8. นายปัญจภูมิ หลาบคำ ตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์ วทิ ยฐานะ ชำนาญการ ปฏิบตั ิหน้าที่ ดังน้ี
1) เป็นหัวหน้ากลุ่มงานวิจัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษา และการประกัน
คุณภาพการศึกษา ประเมิน ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
2) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึก ษา มีหน้าที่และความ
รับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เร่ืองการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมที่เป็นนโยบาย
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๒
ดงั นี้
2.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพ่ือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 (ปรบั ปรงุ 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศกั ราช 2560
หลักสูตรการศกึ ษาพเิ ศษ และหลักสูตรท้องถน่ิ
2.2 ศกึ ษาวเิ คราะห์ วจิ ยั พฒั นา สง่ เสรมิ มาตรฐานการศึกษาและการประกนั คณุ ภาพ
การศึกษา
ค่มู ือปฏบิ ัตกิ ารนเิ ทศสถานศกึ ษา กลุม่ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
37
2.3 ศึก ษาวิเคราะ ห์วิจัย และ นิเทศเพื่อ พัฒ น าหลัก สูตรสถาน ศึก ษาตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศิลปะ
การงานอาชีพ สุขศึกษาและพลศึกษา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว)
2.4 ศกึ ษาวิเคราะหว์ จิ ยั และนิเทศเพ่อื พัฒนางานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา
3) โครงการ/กิจกรรม
3.1 โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
3.2 โครงการโรงเรยี นวิถีพุทธ
3.3 โครงการประกันคณุ ภาพการศึกษา
3.4 โครงการคุณธรรม ศีลธรรมนำการศึกษา
4) โครงการพิเศษอื่นๆ ตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 4 กลยทุ ธ์ 16 จุดเน้น
4.2 โค รงก าร ห้ อ งเรีย น ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
4.3 โครงการสนบั สนุนการผลิตสอ่ื การเรียนร้อู อนไลน์ (วิดโี อยทู ูป)
5) ภารกิจและความรบั ผดิ ชอบอ่ืนท่ีเก่ียวขอ้ งปฏิบัตงิ านร่วมกบั หรือสนับสนุนการปฏิบัตงิ านของ
หน่วยงานอน่ื ท่เี กย่ี วข้องหรือตามท่ีผบู้ ังคบั บญั ชามอบหมาย
9. นางศิริวภิ า สุหร่าย ตำแหน่ง ศกึ ษานเิ ทศก์ วทิ ยฐานะ ชำนาญการ ปฏิบตั ิหน้าท่ี ดงั น้ี
1) หัวหน้ากลุ่มงานประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน หลักสูตรการศึกษา
ระดบั กอ่ นประถมศึกษา (หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัย) และหลกั สูตรการศึกษาพิเศษ
2)ปฏิ บัติ หน้ าที่ เกี่ ยวกั บงานวิชาการและงานนิ เทศการศึกษา มี หน้ าท่ี และความรับผิดชอบตามมาตรฐาน
ตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการ
ภายในสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมที่เป็นนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและสำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2 ดงั น้ี
2.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพทุ ธศักราช 2551 (ปรบั ปรุง 2560) หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
หลักสตู รการศึกษาพิเศษ และหลักสตู รท้องถนิ่
2.2 ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพ
การศึกษา
2.3 ศกึ ษาวิเคราะหว์ ิจัย และนิเทศ เพือ่ พฒั นาการจัดการเรียนการสอนกลมุ่ สาระการเรียนรู้
สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม
คมู่ อื ปฏบิ ตั กิ ารนเิ ทศสถานศกึ ษา กลมุ่ นเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปีการศึกษา 2565
สำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
38
3) โครงการ/กิจกรรม
3.1 โครงการการจดั สอบวัดความรู้ความสามารถพน้ื ฐานของผู้เรยี นระดบั ชาติ (NT)
3.2 โครงการโรงเรยี นคุณภาพ / โรงเรยี น Stand Alone
3.3 ดำเนนิ งานการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเลก็
3.4 โครงการอนรุ กั ษ์พันธกุ รรมพืชอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริสมเดจ็ พระเทพฯ
4) โครงการพิเศษอน่ื ๆ ตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพ้ืนท่ี
การศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 4 กลยุทธ์ 16 จดุ เนน้
4.2 โค รงก าร ห้ อ งเรีย น ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
4.3 โครงการสนบั สนุนการผลิตส่อื การเรยี นรอู้ อนไลน์ (วดิ โี อยทู ูบ)
5) ภารกิจและความรับผิดชอบอ่ืนที่เก่ียวข้องปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของหน่วยงานอื่นท่ีเกี่ยวขอ้ งหรือตามทผ่ี ้บู ังคบั บัญชามอบหมาย
10. นายณฐั พงษ์ สเี หลือง ตำแหน่ง ศกึ ษานเิ ทศก์ วทิ ยฐานะ ชำนาญการ ปฏบิ ัติหน้าที่ ดังนี้
1) หวั หนา้ งานนิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศึกษา
2) ปฏิบัติหน้าที่เก่ียวกับงานวิชาการและงานนิเทศการศึกษา มีหน้าท่ีและความรับผิดชอบตาม
มาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ รวมทง้ั ปฏิบัตหิ น้าที่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เร่ืองการแบ่งส่วน
ราชการภายในสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา พ.ศ. 2560 และโครงการ/กิจกรรมที่เป็นนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐานและสำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 ดงั นี้
2.1 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพ่ือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ และหลักสูตรท้องถิ่น
2.2 ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสรมิ มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพ
การศึกษา
2.3 ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และนิเทศ เพ่ือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ศลิ ปะ การงานอาชีพ สุขศกึ ษาและพลศกึ ษา และกจิ กรรมพัฒนาผเู้ รยี น(แนะแนว)
3) โครงการ/กิจกรรม
3.1 โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศกึ ษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
3.2 โครงการส่งเสริมการอ่านตามรอยพระราชจริยวัตร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี
3.3 โครงการพฒั นาสมรรถนะการอา่ นขน้ั สูงตามแนว PISA
3.4 โครงการส่งเสรมิ นสิ ัยรกั การอา่ น
คมู่ ือปฏิบัติการนิเทศสถานศึกษา กลมุ่ นเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพนื้ ทีก่ ารศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
39
3.5 การประเมนิ ความสามารถดา้ นการอ่าน (Reading Test : RT) ช้นั ประถมศึกษาปีที่ 1
3.6 โครงการนเิ ทศพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา
4) โครงการพิเศษอ่นื ๆ ตามนโยบาย
4.1 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษาประถมศกึ ษานนทบุรี เขต 2 4 กลยทุ ธ์ 16 จุดเนน้
4.2 โค รงก าร ห้ อ งเรีย น ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Prepare Intensive English Program
Nonthaburi2 : PIEPN2)
4.3 โครงการสนับสนุนการผลิตสอื่ การเรยี นรู้ออนไลน์ (วิดโี อยทู ปู )
5) ภารกิจและความรับผดิ ชอบอ่นื ท่ีเก่ียวข้องปฏิบัตงิ านร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏบิ ัติงานของหน่วยงานอื่น
ทีเ่ ก่ียวข้องหรอื ตามท่ผี บู้ ังคับบัญชามอบหมาย
10. นางสาวดวงฤทยั ล่องอำไพ เจา้ พนักงานธรุ การปฏบิ ัติงาน ปฏบิ ตั ิหนา้ ที่ ดงั น้ี
มหี น้าทดี่ ำเนินงานดา้ นธุรการ โดยปฏิบตั งิ านร่วมกบั ศึกษานเิ ทศก์ และเจ้าหนา้ ที่กล่มุ งานต่างๆ
ในกลมุ่ นเิ ทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา โดยมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังน้ี
1.ศึกษา วิเคราะห์ภารกิจและบทบาทอำนาจหน้าท่ีของงานในกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล
การจัดการศึกษา ออกแบบ ระบบงานสารบรรณให้เหมาะสมและสอดคล้องกบั ระบบงานสารบรรณของสำนักงาน
เขตพ้ืนทกี่ ารศึกษา
2.ศึกษาวิเคราะห์ วางแผนจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและการบริหารงานของกลุ่มให้สามารถดำเนินงานได้ตาม
ภารกจิ ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ
3.ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมภายในกลุ่ม /เตรียมห้องประชุม / จัดทำวาระการประชุม/
บนั ทึกการประชุม และสรุปรายงานการประชุมของกลมุ่ นเิ ทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา
4.ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและปฏบิ ัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนหน่วยงานอ่ืนทั้งภายในและ
ภายนอกสำนักงานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษาตามทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
5.ติดตาม ประเมินผล สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงานของกลุ่มทั้งภายใน และภายนอกสำนักงานเขตพ้ืนท่ี
การศกึ ษาตามทไี่ ดร้ ับมอบหมาย
6.งานการจัดทำทะเบียนคุม การลงทะเบียนรับ -ส่ง หนังสือราชการของกลุ่มกลุ่มนิเทศ ติดตาม และ
ประเมินผลการจัดการศกึ ษา
7.จดั ทำหนงั สอื ราชการ การจัดเกบ็ และทำลายหนังสอื ราชการ
8.การดำเนนิ การสรปุ รวบรวมจัดทำข้อมูลสารสนเทศของกลมุ่ งานนิเทศฯ และจดั ทำขอ้ มูลเว็ปไซด์
ของกลุ่มนเิ ทศฯ และจัดทำเครือข่ายนเิ ทศออนไลน์
9.งานประสานงานการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ข้อมลู ข่าวสาร และผลงานของกลุ่มให้ครูและ
บุคลากรทางการศกึ ษาทราบ
คมู่ ือปฏบิ ตั กิ ารนิเทศสถานศึกษา กล่มุ นิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนักงานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
40
10.ประสานงานกับกลุ่มงานอื่นในสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
หน่วยงาน และสถานศึกษาในงานธุรการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศกึ ษา
11.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืนท่ีเก่ียวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมาย
คูม่ ือปฏบิ ตั กิ ารนิเทศสถานศกึ ษา กลุ่มนิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจดั การศึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565
สำนกั งานเขตพื้นท่ีการศกึ ษาประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
กลุ่มงาน ผู้รับผดิ ชอบ
1.กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร นางศิรวิ ภิ า สหุ ร่า
งานประสาน สง่ เสริม สนับสนนุ และพฒั นา หลักสตู รการศึกษา นางปรยิ านชุ จลุ พรห
ขนั้ พื้นฐาน หลกั สตู รระดับก่อนประถมศกึ ษา(หลกั สตู ร นางสาววรรณวิษา อารวี
การศึกษาปฐมวัย) และหลักสตู รการศึกษาพเิ ศษ นางสาววรรณวษิ า อารวี
2. งานศกึ ษา วิเคราะห์ วิจยั เพอ่ื พัฒนาหลักสูตรการสอน นางปรยิ านุช จลุ พรห
และกระบวนการเรยี นรูข้ องผูเ้ รยี น นางณัฐภรณ์ แก้วพทิ
3. กลุ่มงานวัดและประเมินผล นางณฐั ภรณ์ แก้วพิท
- งานวิจัย พัฒนา ส่งเสรมิ ตดิ ตาม ตรวจสอบ และประเมนิ ผล นายผดุงศักดิ์ วศิ ษิ ฏ์วฒุ
เกยี่ วกบั การวัดและประเมนิ ผลการจดั การศึกษา
นางศิริวิภา สหุ รา่
2.1 ระดบั ชน้ั เรียนและสถานศกึ ษา
2.2 ระดับเขตพ้นื ที่การศึกษา นายปัญจภูมิ หลาบ
2.3 ระดบั ชาติ นางสาววรรณวิษา อารวี
4. กล่มุ งานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา
4.1 งานพัฒนา สง่ เสริม มาตรฐานการศึกษา และการประกัน นางสาวธีมาพร วงษ
คณุ ภาพการศกึ ษา
4.2 งานตดิ ตามตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษา
4.3 งานวจิ ยั พัฒนาระบบประกันคณุ ภาพการศกึ ษา
4.4 งานประสานงานการประเมินคุณภาพภายนอก
คมู่ อื ปฏบิ ัติการนเิ ทศสถานศึกษา กลุ่มนเิ ทศ ติดตาม แล
สำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษา
41
ตำแหนง่ หมายเหตุ
าย หัวหนา้ งาน
หม คณะทำงาน
วโรดม คณะทำงาน
วโรดม หัวหนา้ งาน
หม คณะทำงาน
ทกั ษ์ คณะทำงาน
ทกั ษ์ หัวหนา้ งาน
ฒิกุล คณะทำงาน
าย คณะทำงาน
บคำ หัวหน้างาน
วโรดม คณะทำงาน
ษ์ดี คณะทำงาน
ละประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
าประถมศกึ ษานนทบรุ ี เขต 2
กลุ่มงาน ผรู้ บั ผดิ ชอบ
5.งานนเิ ทศติดตามและประเมนิ ผลการจดั การศึกษา นายณฐั พงษ์ สเี หล
5.1 งานสง่ เสรมิ และพฒั นาระบบการนิเทศและการจดั นางนภสกร ผ่องอำ
กระบวนการเรียนรู้ นายปญั จภมู ิ หลาบ
5.2 งานสง่ เสริมสนับสนนุ เครือข่ายการนเิ ทศของเขตพ้ืนท่ี
การศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานท่ีเกีย่ วขอ้ งและชมุ ชน นางสาวธีมาพร วงษ
5.3 งานนเิ ทศตดิ ตามและประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา นายผดุงศกั ดิ์ วศิ ิษฏ
6.งานศึกษาวเิ คราะห์ วิจยั พฒั นา สง่ เสรมิ และพฒั นา นางณิฐากร อ่มิ สะ
ส่อื นวัตกรรม และเทคโนโลยที างการศึกษา
6.1 งานสง่ เสริม พฒั นาส่ือ นวัตกรรมและเทคโนโลยี นางนภสกร ผอ่ งอำ
ทางการศกึ ษา นางสาวธมี าพร วงษ
6.2 งานศกึ ษา คน้ ควา้ วเิ คราะห์ วิจัยการพัฒนาส่อื
นวัตกรรม และเทคโนโลยที างการศึกษา
7.งานเลขานกุ ารคณะกรรมการตดิ ตาม ตรวจสอบ
ประเมนิ ผล และนเิ ทศการศกึ ษาของเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษา
คมู่ อื ปฏิบตั กิ ารนเิ ทศสถานศกึ ษา กลมุ่ นิเทศ ติดตาม แล
สำนักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษา
42
ตำแหน่ง หมายเหตุ
ลือง หัวหน้างาน
ำไพ คณะทำงาน
บคำ คณะทำงาน
ษ์ดี หวั หนา้ งาน
ฏว์ ฒุ กิ ุล คณะทำงาน
ะอาด คณะทำงาน
ำไพ หวั หนา้ งาน
ษ์ดี คณะทำงาน
ละประเมินผลการจดั การศกึ ษา ประจำปกี ารศกึ ษา 2565
าประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2
กลมุ่ งาน ผู้รับผดิ ชอบ
8. งานปฏิบตั ิงานรว่ มกับ หรือ นางนภสกร ผ่องอำไพ
สนับสนนุ การปฏบิ ตั ิงานของหนว่ ยงาน นายผดุงศกั ดิ์ วิศิษฏ์วุฒิกุล
อ่นื ทเ่ี ก่ยี วข้องหรือท่ไี ดร้ ับมอบหมาย นางปรยิ านุช จุลพรหม
นางสาววรรณวษิ า อารวี โรดม
นางสาวธีมาพร วงษ์ดี
นางณฐิ ากร อิ่มสะอาด
นางณฐั ภรณ์ แก้วพิทกั ษ์
นางศรวิ ิภา สหุ ร่าย
นายปญั จภูมิ หลาบคำ
นายณัฐพงษ์ สเี หลอื ง
คมู่ อื ปฏิบตั ิการนิเทศสถานศกึ ษา กล่มุ นิเทศ ตดิ ตาม แล
สำนกั งานเขตพนื้ ที่การศึกษา
43
ตำแหน่ง หมายเหตุ
หัวหน้างาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงาน
ละประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปกี ารศึกษา 2565
าประถมศึกษานนทบรุ ี เขต 2