The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิชาสุขศึกษา กลุ่มระบบหายใจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Zenkhobfah Rungrueng, 2022-06-11 16:37:16

ไม่ยากถ้าไม่อยากตายเร็ว

วิชาสุขศึกษา กลุ่มระบบหายใจ

ไม่ยาก
ถ้าไม่อยาก
ตายเร็ว

พล. อ. ม.ร.ว. ศ. ดร.ฐปนนท์ ยอดดี

จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขาสุขใจ

บทที่ 1

ก า ร ดู แ ล แ ล ะ เ ส ริม ส ร้า ง

ระบบหายใจ

1. อาหาร

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี เช่น สตรอว์เบอรี บลูเบอร์รี มีฟลาโว
นอยด์ที่เรียกว่าแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่
มีประสิทธิภาพสูง

ควรกินผักผลไม้ที่มีสารไลโคปีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูล
อิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่จะช่วยลดการอักเสบของทางเดิน
หายใจในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและช่วยเรื่องการทำงานของ
ปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และยังลดความเสี่ยงใน
การเกิดมะเร็งที่ปอดเช่น แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู
และมะละกอ

ธัญพืชเต็มเมล็ด ที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย เช่น
ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง เป็นต้น เป็นอาหารที่มีเส้นใย
สูงอุดมด้วยวิตามินอี ซีลีเนียมและกรดไขมันจำเป็น ซึ่งดีต่อ
สุขภาพปอด

วิธีกิน
การกินผักและผลไม้เป็นประจำให้ได้อย่างน้อยวันละ 400
กรัม โดยแบ่งเป็นผักสุก 3 มื้อ ๆ ละ 2 ทัพพี ผลไม้ตามฤดูกาล
วันละ 3-5 ส่วน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคปอด

2. สุขปฏิบัติ

1. รักษาสุขภาพให้ดีโดยรับประทานอาหาร พักผ่อน
และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศเเละฤดูกาล
เพื่อป้องกันการเป็นหวัด
3. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
4. ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม

5. ไม่ใช้สิ่งของปนกับผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรค
ทางเดินหายใจ
6. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ไม่อับชื้นแออัด โดยเฉพาะ
สถานที่ที่มีควันบุหรี่
7. ระวังการกระแทกอย่างแรงกับอวัยวะการหายใจ
ได้แก่ หน้าอก และปอด
8. หมั่นทำความสะอาดเพื่อลดฝุ่นหรือขนสัตว์ต่างๆ
9. หมั่นทำให้ปอดอบอุ่น เวลานอนควรห่มผ้าปิดหน้าอก
ให้มิดชิด

3. ออกกำลังกาย

ท่าที่ 1 - เดินย่ำเท้าอยู่กับที่ ใช้เวลา 1 นาที
ท่าที่ 2 - การเดินยกขาสูง โดยทำการออกกำลังกายด้วย
การเดินยกขาสูงอยู่กับที่ ทำจนครบ 20ครั้ง
ท่าที่ 3 - การวิ่งเหยาะๆหรือวิ่งช้าๆอยู่กับที่ ใช้เวลา 1 นาที

ท่าที่ 4 - นั่งแกว่งแขนยกแขนขึ้นลง โดยนั่งบนเก้าอี้กาง
ขาเล็กน้อย ยกแขนทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะพร้อมหายใจเข้า
ลึกๆแล้วค้างไว้ประมาณ 2 วินาที จากนั้นลดแขนทั้งสองลง
พร้อมหายใจออก ทำประมาณ 15-20 ครั้ง

3. ออกกำลังกาย

ท่าที่ 5 - นั่งเอนตัวลงด้านข้างลำตัว
นั่งบนเก้าอี้กางขาเล็กน้อย มือซ้าย
เหยียดแขนไปแตะซี่โครงด้านข้างขวา
ไว้ มือขวายกขึ้นเหนือศีรษะ และเอียง
ตัวไปข้างซ้ายพร้อมกับหายใจเข้า-ออก
ลึก ๆ ให้เต็มที่ค้างไว้ 2 ครั้ง แล้วเอนตัว
กลับเข้าท่าตรง จากนั้นเปลี่ยนมือขวา
เหยียดแขนไปแตะซี่โครงด้านข้างซ้าย
และเอียงตัวไปข้างขวา พร้อมกับ
หายใจเข้า-ออกลึก ๆ ให้เต็มที่ค้างไว้ 2
ครั้ง แล้วเอนตัวกลับเข้าท่าตรง ทำซ้ำ
ท่าเดิมให้ครบ 5 รอบ

ท่าที่ 6 - นั่งตัวตรงหมุนบิดลำตัวตัว
ซ้าย-ขวา นั่งตัวตรงบนเก้าอี้ กางขา
เล็กน้อย เอามือซ้ายและมือขวาวางไว้
เอวด้านซ้าย หมุนตัวไปทางซ้ายพร้อม
หายใจเข้า-ออกลึก ๆ ให้เต็มที่ค้างไว้ 2
ครั้ง จากนั้นหมุนลำตัวกลับเข้าสู่ท่า
ตรง จากนั้นเปลี่ยนเอามือขวาและมือ
ซ้ายวางไว้เอวด้านขวา หมุนตัวไปทาง
ขวาพร้อมหายใจหายใจเข้า-ออกลึก ๆ
ให้เต็มที่ค้างไว้ 2 ครั้ง กลับเข้าสู่ท่าตรง
พร้อมหายใจเข้า ทำซ้ำท่าเดิมให้ครบ 5
รอบ

4. สุขภาพจิต

1. นิโคตินในบุหรี่จะออกฤทธิ์กระตุ้นที่สมองส่วนหน้าที่มีชื่อ
ว่า คอร์เทกซ์ ทำหน้าที่คล้ายกุญแจเข้าไปปลดล็อกโมเลกุล
ของประสาทตัวรับรู้ ให้ทำหน้าที่ปล่อยสารสื่อประสาทชื่อโด
ปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความพอใจ สุขใจ ทำให้ผู้สูบ
รู้สึกดีขึ้น และจะทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการ
สร้างโดปามีนด้วยตัวเอง ยิ่งสูบมากก็จะมีประสาทตัวรับรู้
และตัวสั่งมากขึ้น จึงเกิดความต้องการนิโคตินมากขึ้น

เมื่อสมองวัยรุ่นถูกกระตุ้นอยู่ในสภาพนี้นานๆ จะทำให้
เกิดผลข้างเคียง คือ อาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า จึงต้อง
สูบเพื่อเติมนิโคตินเข้าไป ให้ความรู้สึกกลับคืนมา

จึงกล่าวได้ว่าบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยตรง
และผลวิจัยยังพบว่า บุหรี่เป็นยาเสพติดต้นทางของยาเสพ
ติดชนิดร้ายแรงขึ้น และมีผลการศึกษาในหนูทดลองด้วยว่ามี
ผลกระตุ้นความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น

2. ผลิตภัณฑ์ที่มีสารระเหยเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ทินเนอร์
แลคเกอร์ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ กาวอินทรีย์สังเคราะห์ที่มี
ยางนิโอปรีนหรือสารกลุ่มไวนิล เป็นตัวประสาน กาวอินทรีย์
ธรรมชาติที่มียางสน หรือชันสน ยางธรรมชาติหรือสาร
เซลลูโลส เป็นตัวประสาน

เมื่อสูดดม สารพิษจะไปทำลายเซลล์ประสาท ระบบ
ประสาทและสมอง ทำให้สมองเสื่อม อาจถึงขั้นพิการทาง
สมอง กลายเป็นโรค “สมองฝ่อถาวร” ระบบกล้ามเนื้อทำงาน
ไม่ประสานกัน กล้ามเนื้อลีบ มือสั่น การทรงตัวไม่ดี เดินเซ
อาจเป็นอัมพาตที่แขนหรือขา ไปจนถึงมีอาการทางประสาท

พิษระยะเฉียบพลัน

1. ตื่นเต้น ร่าเริง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
2. ตาไวต่อเเสง หูเเว่ว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

พิษระยะเรื้อรัง

1. โรคระบบทางเดินหายใจ
2. โรคมะเร็งปอด
3. การทำงานของหัวใจผิดปกติ
4. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
5. สมองเสื่อมกลายเป็นโรคสมองฝ่อถาวร

5. สารเสพติด

1. บุหรี่
ควันบุหรี่เต็มไปด้วยนิโคติน กับสารเคมีกว่า 7,000

ชนิด สารพิษไม่น้อยกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็ง
มากกว่า 70 ชนิด โดยพวกมันจะปะปนอยู่ในอากาศได้นาน
ถึง 5 ชั่วโมงโดยไม่มีกลิ่นให้รับรู้เลย

คนที่ได้รับควันบุหรี่หรือสิ่งตกค้างจากควันบุหรี่เป็นประจำ
จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด โดยพบว่าร้อยละ 30
ของคนที่เป็นมะเร็งปอด ไม่ได้เป็นคนที่สูบบุหรี่ แต่ได้รับ
ควันบุหรี่มือสองจากคนอื่นนั่นเอง

2. สารระเหย
หากมีการสูดดมมาก และเป็นระยะเวลายาวนาน จะ

ทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง เยื่อบุในระบบทาง
เดินหายใจถูกทำลาย หลอดเลือดฝอยแตก มีการอักเสบ
ของระบบทางเดินหายใจ และทำให้เกิดความล้มเหลวของ
ระบบหายใจตามมา

6. สมุนไพร

1. ขิง
ขิงเป็นสมุนไพรที่ดีต่อระบบทางเดินหายใจ โดย

เฉพาะกับคนที่มักจะมีปัญหาเสมหะบ่อยๆ การดื่มน้ำขิงจะ
ช่วยขับเสมหะได้

2. กระเทียม
สรรพคุณเด่น คือ ต้านการอักเสบ และมีสารต้าน

อนุมูลอิสระที่ชื่ออัลลิซิน (Allicin) ที่ช่วยลดความเสี่ยงโรค
มะเร็งเกือบทุกชนิดได้เป็นอย่างดี

3. พลูคาว
ทางวิทยาศาสตร์พบว่าสารสําคัญในพลูคาว คือ สารรู

ทิน (Rutin) และเควอเชทิน (Quercitrin) เป็นสารในกลุ่ม
flavonoid ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูล
อิสระ ต้านไวรัสโดยเฉพาะไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการทางระบบ
หายใจ ต้านการอักเสบ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้ดีมากขึ้น

จากงานวิจัยพบว่าสาร Rutin สามารถลดสารที่ก่อให้
เกิดการอักเสบภายในปอด และยับยั้งกระบวนการที่ก่อให้
เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อปอดได้ และสาร Quercitrin
มีผลในการยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เชลล์ และกระบวนการ
รวมกันของเชลล์ไวรัส

4. เปลือกและผิวของพืชตระกูลส้ม
ทางวิทยาศาสตร์พบว่า สารสําคัญในพืชตระกูลส้ม

เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด เเละส้มซ่า จัดเป็นสมุนไพรที่มีรส
เปรี้ยว เป็นสารยับยั้งขบวนการทําลายเซลล์ ต้านการ
อักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการปลดปล่อยฮีสตามีนที่
ก่อให้เกิดอาการแพ้จากเซลล์ปอด กระตุ้นการทํางานเซลล์
เม็ดเลือดขาวให้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีมากขึ้น

5. มะขามป้อม
ส่วนประกอบทางเคมีที่สําคัญ คือ มีวิตามินซีสูง

วิตามินซีในมะขามป้อมสามารถดูดซึมได้เร็วกว่าวิตามินซี
ชนิดเม็ด และในทางวิทยาศาสตร์ ผลมะขามป้อมมีสาร
ช่วยป้องกันการสลายของวิตามินซีอย่างรวดเร็ว จึงทำให้
วิตามินซีรักษาสภาพไว้ได้นาน และต้านเชื้อไวรัสได้ดี

6. ลูกหม่อน
ทางวิทยาศาสตร์พบว่าสารสำคัญในลูกหม่อน คือ

สารไมริเซติน (Myricetin) และรูทิน (rutin) เป็นสารในกลุ่ม
favonoid มีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส
และมีกรดคลอโรจีนิก ( Chlorogenic acid) เป็นสารประ
กอบฟีนอล (phenolic compounds) มีสมบัติเป็นสารต้าน
อนุมูลอิสระได้เช่นกัน

Thanks for reading !


Click to View FlipBook Version