The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือชุด กฎหมายเพื่อการเรียนรู้ ผู้ศึกษาเเละเรียบเรียง นายภูมินทร์ เกณสาคู

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ภูมินทร์ เกณสาคู, 2021-04-10 02:43:44

หนังสือชุด กฎหมายเพื่อการเรียนรู้ ผู้ศึกษาเเละเรียบเรียง นายภูมินทร์ เกณสาคู

หนังสือชุด กฎหมายเพื่อการเรียนรู้ ผู้ศึกษาเเละเรียบเรียง นายภูมินทร์ เกณสาคู

เอกสารประกอบการเรียนรู้ “กฎหมาย”

จดั ทำโดย นายภมู นิ ทร์ เกณสาคู นกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีที่ ๖/๗
โรงเรียนศีขรภมู ิพิสยั อำเภอศีขรภูมิ จังหวดั สรุ นิ ทร์

ประกอบดว้ ย
๑. สรปุ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์
บรรพที่ ๑ หมวดทั่วไป
บรรพที่ ๓ เอกเทศสัญญา
บรรพที่ ๔ ทรัพยส์ ิน
บรรพท่ี ๖ มรดก
๒. สรปุ ประมวลกฎหมายอาญา
๓. สรปุ พระธรรมนูญศาลยตุ ิธรรม
๔. สรปุ กฎหมายรัฐธรรมนูญ

ชดุ ท่ี ๑ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
…………………………………………………………………………………………………………..

บรรพที่ ๑ หมวดทั่วไป

ลกั ษณะ ๑ บทเบ็ดเสรจ็ ทัว่ ไป

-กฎหมายต้องตีความตามตัวอักษรและความมุ่งหมาย(เจตนา) หากไม่มีกฎหมายบัญญัติ ให้ปรับตาม
จารีตประเพณี กฎหมายเทยี บเคียง ตามหลักฎหมายท่ัวไป ตอ้ งตีความตามลำดบั จะใหข้ า้ มกนั ไม่ได้

-การใช้สิทธิของตนและการชำระหน้ี ต้องกระทำโดยสจุ ริต และให้สันนิษฐานไวก้ ่อนว่าทุกคนกระทำ
การโดยสุจริต จนกวา่ พสิ จู นไ์ ด้

-หากสญั ญาระบุว่ามดี อกเบี้ย แต่ไม่ไดก้ ำหนดไว้วา่ ดอกเบ้ียเท่าใด ใหใ้ ช้หา้ มเกนิ อตั รารอ้ ยละ ๗.๕ ต่อ
ปี ถ้าจะเอามากกว่านี้ ให้กำหนดในสัญญาให้ชัด แต่ห้ามเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี หากเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี ให้
ดอกเบยี้ ทงั้ หมดเปน็ โมฆะ ตอ้ งใชห้ นีแ้ ค่ตน้ เงนิ

-คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุอะไรก็ได้ที่เกิดขึ้น หรือให้ผลในทางไม่ดี อันตราย ไม่
สามารถป้องกันได้ แม้บุคคลที่ประสบหรือใกล้จะประสบ เป็นเหตุนอกอำนาจ ป้องกันยากลำบาก ไม่ได้เกิด
จากประมาท ได้ระมัดระวังเต็มที่แล้วแตม่ ันก็เกดิ ขึน้ ถ้าไม่ระวัง หรือเหตุนั้นป้องกันได้ แต่ไม่ทำ ก็ไม่ใช่เหตุ
สุดวสิ ยั

บางอยา่ งกฎหมายจะบอกว่า ไม่ต้องรบั ผดิ หากเหตุน้ันเกิดจากเหตสุ ดุ วิสยั แตถ่ ้าในสัญญาตกลงให้รับ
ผดิ กต็ ้องรับผดิ

-กิจการใดที่กฎหมายให้ทำเป็นหนงั สือ ไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง(ชือ่
เลน่ จริง นามแฝงกไ็ ด)้ ลายเซน็ ก็เปน็ ลายมือชือ่ ไม่ใช่แกงไดหรอื เครอ่ื งหมายนะ ไม่จำเป็นตอ้ งมพี ยาน

-ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นท่ีทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชอื่
ต้องลงลายมือพยาน ๒ คน จงึ จะเทา่ กบั ลายมอื จรงิ

-ลายพิมพ์นิ้วมอื แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่น ซง่ึ ทำลงในเอกสารท่ที ำต่อหน้าพนักงาน
เจ้าหนา้ ท่ี ไม่จำเป็นต้องมพี ยาน กส็ มบรู ณ์

-หากขอ้ ความตีความได้ ๒ อยา่ ง อยา่ งไหนจะเป็นผลบังคับได้ ให้ตีความตามอยา่ งนัน้
-กรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้เสียในมูลหน้ีหรือฝ่ายที่
เสยี หาย หากไม่มขี ้อสงสัยก็ตีความตามจรงิ
-หากจำนวนเงินในเอกสารมีทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวเลขกับตัวอักษรจำนวนไม่ตรงกัน
เจตนากไ็ มท่ ราบ ให้ยดึ ตามตวั อักษร หากทราบเจตนาก็ยึดตามเจตนา
-ถา้ จำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารเป็นตัวอักษรหลายแห่ง หรอื ตัวเลขหลายแห่ง แลว้ แต่ละแห่ง
มจี ำนวนไม่เทา่ กนั ไม่ทราบเจตนาแทจ้ ริง ต้องยึดเอาตามจำนวนเงินหรือปริมาณท่ีน้อยทส่ี ุด
-เอกสารเขียนไว้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นฉบับเดยี วกันหรอื หลายฉบับก็ตาม โดยมีภาษาไทยด้วย ถ้า
ข้อความในหลายภาษานน้ั แตกตา่ งกัน และมอิ าจหย่ังทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใชภ้ าษาใดบังคับ ให้ถือ
ตามภาษาไทย

สว่ นที่ ๑ สภาพบคุ คล

-สภาพบุคคล เริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย (คลอดทั้งตัว ไม่ติดสาย
สะดือก็ได้ รอดคือหายใจหรือกริยาร้องไห้) ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลัง
คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก (มาตรา ๑๕) แม้รอด ๑ วินาทีก็มีสิทธิ์ เช่น สิทธิ์รับมรดก แม้บิดาตายก่อน แต่
ทารกทเี่ กดิ ใน ๓๑๐ วนั นบั แต่บดิ าตาย มสี ิทธ์ิรับมรดก

ตายมี ๒ กรณี คือ ตายตามธรรมชาติ(ถือเอาแกนสมองตาย แม้จะหายใจ หากแกนสมองตายก็ตาย)
ตายโดยกฎหมาย คือ สาบสญู (สาบสูญธรรมดา ๕ ปี และหายไปในเหตุอนั ตราย เช่น เรอื ร่ม ให้ลดเหลอื ๒ ป)ี

-การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันท่ี
หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ไม่รู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด ให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วัน ๑ ของ
มกราคม

ปกตเิ ริ่มนบั แต่วนั เกิด
กรณรี ู้ปี รู้วา่ เกดิ เดอื นมนี าคม แต่ไมร่ ู้วัน ให้ถือวนั เกิด คือ ๑ มนี าคม
กรณีรูป้ ี ไม่รู้เดือน ไม่ร้วู นั ให้ถือวันเกดิ คือ ๑ มกราคมของปีนั้น
กรณไี มร่ ปู้ ี รู้เดือน รู้วนั ให้ใช้เหตุการณ์เทียบเคยี ง ดรู ่างกาย ถามเพ่อื นบา้ น
-กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการใช้ทะเบยี นราษฎร แจ้งเกดิ ภายใน ๑๕ วัน แจง้ ตาย ๒๔ ชวั่ โมง
แจง้ ยา้ ยทอ่ี ยู่ ๑๕ วนั
เกิดในบา้ น ให้เจา้ บ้าน บดิ า มารดา แจ้งเกดิ ภายใน ๑๕ วัน
เกิดนอกบ้าน เช่น โรงพยาบาล ให้เฉพาะบิดา มารดา ไม่มีเจ้าบ้าน แจ้งภายใน ๑๕ วัน แต่
ไม่เกิน ๓๐ วนั

เดก็ ถูกทอดทิ้ง คนทีเ่ ห็นต้องรบี แจ้งต่อตำรวจ หรอื อ่ืน ๆ ในท้องทีพ่ บเห็น
-คนทตี่ ายในเหตุการณเ์ ดยี วกนั ไมร่ ู้ว่าใครตายก่อนหลงั ใหถ้ อื ว่าตายพร้อมกนั
-แจ้งตายปกติตายสาบสูญภายใน ๒๔ ชว่ั โมง อาจขยายไดบ้ างกรณีไมเ่ กนิ ๗ วัน
-การสมรสต้องจดทะเบียน ถา้ ไมจ่ ดทะเบยี น ไม่ถือวา่ มีการสมรส แมจ้ ะจัดงานใหญ่โตกต็ าม
-ทะเบียนหย่า มีจดทะเบียนหยา่ และฟอ้ งหย่า(แมศ้ าลจะส่ัง แตย่ ังไมเ่ อาคำพิพากษาไปจดทะเบียน
หยา่ ก็ไม่ถอื ว่าหยา่ )
-ทะเบยี นรบั บุตรบญุ ธรรม ผทู้ ่ีจะรบั บตุ รบุญธรรมไดต้ ้องมีอายุไม่ตำ่ กว่า ๒๕ ปี และต้องมีอายุห่าง
จากผเู้ ปน็ บตุ รบุญธรรมไมน่ อ้ ยกว่า ๑๕ ปี สมบรู ณเ์ มือ่ จดทะเบยี น เลิกได้ต้องจดทะเบยี น
-จดทะเบียนรับรองบุตร บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ไดจ้ ดทะเบียนกัน บุตรที่เกิดมาจะเป็นบุตรที่
ชอบดว้ ยกฎหมายของมารดาเสมอ แตไ่ ม่ใชข่ องบิดา จะชอบกต็ ่อเมอ่ื

-จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง ชอบตั้งแต่สมรส
-บิดาจดทะเบียนรับรองบตุ ร ชอบตงั้ แตว่ นั จด
-บิดาฟอ้ งเอา ชอบตัง้ แต่คำพพิ ากษา แตจ่ ะอ้างไม่ได้หากไม่เอาคำพิพากษาไปจดทะเบียน
-หากมีคนอ่นื มาใช้นามเดียวกนั ถ้ามีบุคคลอนื่ โต้แย้งกด็ ี หรือบุคคลผู้เป็นเจา้ ของนามนัน้ ต้องเสื่อมเสีย
ประโยชน์เพราะการทมี่ ีผู้อนื่ มาใช้นามเดียวกันโดยมไิ ด้รับอำนาจใหใ้ ช้ได้ก็ดี บุคคลผูเ้ ปน็ เจา้ ของนามจะเรียกให้
บคุ คลนัน้ ระงับความเสียหายก็ได้ ถา้ และเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสยี หายอยูส่ ืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็
ได้

ส่วนท่ี ๒ ความสามารถของบุคคล
ผ้เู ยาว์

ผ้เู ยาว์บรรลนุ ิติภาวะเมือ่ มีอายุ ๒๐ ปบี รบิ รู ณ์หรือทำการสมรสจดทะเบยี นอยา่ งถกู ต้องเมือ่ อายุ ๑๗
ปี (บรรลุแลว้ บรรลเุ ลย เช่น สมรส ๑๗ แต่หยา่ เมือ่ ๑๙ แม้จะยงั ไม่ครบ ๒๐ ปีก็ถือวา่ บรรลุ)

ผเู้ ยาว์ มีผู้ดูแลเรยี กวา่ ผูแ้ ทนโดยชอบธรรม คำว่า ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมแบง่ เปน็ ๒ อยา่ ง คือ
-ผ้ใู ชอ้ ำนาจปกครอง คอื บดิ า มารดา เปน็ คนใดคนหนึง่ กไ็ ดห้ รือทัง้ ๒ ก็ได้
-ผู้ปกครอง คือ กรณีผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอน จึงมีบุคคลอื่นที่ศาลสั่งอาจจะเป็นญาติ หรือผู้ที่บิดามารดา
ตาย ระบผุ ูป้ กครองไว้ในพินยั กรรม

ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใด ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หากปราศจากความ
ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถอื เป็นโมฆยี ะ เว้นแต่จะบัญญัติไวเ้ ป็นอยา่ งอนื่

คำว่า ให้ความยินยอมน้นั อาจให้ด้วยวาจาหรอื หนังสอื ก็ได้ ตอ้ งใหก้ อ่ นหรอื ขณะการทำนิติกรรมจึงจะ
สมบรู ณ์ จะบอกลา้ งไม่ได้ ถา้ ใหค้ วามยนิ ยอมหลังจากทำนิติกรรมจะเรียกว่า การให้สัตยาบัน (การให้สัตยาบัน
หรือบอกล้างนั้น ต้องให้ ๑ ปีหลังจากที่รู้ ไม่เกิน ๑๐ ปีหลังจากที่ทำ) เมื่อให้สัตยาบันแล้ว นิติกรรมที่เป็น
โมฆียะนั้นจะมีผลสมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น หรือ ถ้านิติกรรมโมฆียะนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมไม่เห็นชอบเลยไปบอก
ล้าง ก็ทำให้นิติกรรมน้นั เปน็ โมฆะมาตัง้ แตต่ ้นเชน่ เดียวกนั

แต่นิติกรรมตอ่ ไปน้ี ผเู้ ยาว์ทำได้เอง โดยไมต่ อ้ งไดร้ บั ความยนิ ยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
-ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง ไม่มีเงื่อนไข หรือเป็นการ
เพ่ือให้หลดุ พ้นจากหนา้ ท่อี ันใดอันหนึง่ เช่น รบั การใหโ้ ดยเสนห่ า เจา้ หน้ปี ลดหนใี้ ห้ผู้เยาว์โดยไมม่ เี งอ่ื นไข

-ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทงั้ ส้ิน ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตวั เชน่ รับรองบตุ ร สมรส
-ผเู้ ยาวอ์ าจทำการใด ๆ ไดท้ ั้งส้ิน ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเปน็ การอันจำเป็นในการดำรงชีพตาม
สมควร เชน่ ซ้อื ขนม ซื้อหนังสือ หรอื ถา้ รวย การซื้อโทรศัพท์กถ็ อื วา่ สมควรแก่ฐานานุรูป
-ผเู้ ยาวอ์ าจทำพนิ ัยกรรมไดเ้ มอ่ื อายุ ๑๕ ปี ทำพนิ ยั กรรมกอ่ น ๑๕ ปเี ปน็ โมฆะ

-ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผูเ้ ยาว์จำหน่ายทรพั ย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์
จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับ
อนุญาตใหจ้ ำหน่ายทรพั ยส์ นิ โดยมิไดร้ ะบวุ า่ เพื่อการอนั ใด ผเู้ ยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร

-ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจการค้าหรือทำสัญญาเป็นลูกจ้างได้ เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาต ทำให้
ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะกิจการนั้น เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์
เปดิ รา้ นอาหาร กิจการหลังจากนั้นผูเ้ ยาว์ทำไดโ้ ดยไมต่ ้องขอ เช่น ซ้ือของเขา้ ร้าน เปน็ ต้น แต่ถา้ เปน็ กจิ การที่ไม่
เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร ผู้เยาว์ยังคงต้องขออนุญาต ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มี
เหตุอันสมควร ผู้เยาวอ์ าจรอ้ งขอต่อศาลให้สงั่ อนญุ าตได้

แต่ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตนั้น ก่อให้เกิดความ
เสยี หายแกผ่ ้เู ยาว์ ผแู้ ทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลกิ ความยินยอมท่ีได้ใหแ้ กผ่ ูเ้ ยาว์ได้ หรอื ในกรณีที่ศาลอนุญาต
ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอตอ่ ศาลใหเ้ พิกถอนการอนุญาตท่ีไดใ้ ห้แกผ่ ู้เยาวน์ ั้นเสยี ได้

ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล
ใหเ้ พิกถอนการบอกเลกิ ความยนิ ยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้

การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้
ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้
กระทำไปแล้วก่อนมกี ารบอกเลิกความยินยอมหรอื เพิกถอนการอนุญาต

คนไรค้ วามสามารถ

คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริต ซ่งึ ไมม่ ีสติสัมปชัญญะ บา้ ถาวร ต้องเป็นศาลสั่งเท่าน้ันจึง
จะไร้ความสามารถ หากคนวิกลจริตไม่ถูกศาลสั่งก็ทำนิติกรรมได้ตามปกติ ต้องให้ประกาศในราชกิจ
จานเุ บกษาดว้ ย

คู่สมรส ผู้บุพการี(บดิ า มารดา ปู่ยา่ ตายาย ทวด) ผู้สืบสนั ดาน(ลูก หลาน เหลน ลื่อ) ผู้ปกครองหรือ
ผู้พทิ ักษก์ ็ดี ผูซ้ ่งึ ปกครองดแู ลบุคคลน้ันอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอตอ่ ศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริต
ผนู้ ัน้ เปน็ คนไรค้ วามสามารถ ศาลจะส่ังให้บคุ คลวกิ ลจรติ ผู้นั้นเป็นคนไรค้ วามสามารถก็ได้

คนไรค้ วามสามารถ จัดอยใู่ นความดแู ลของคนทีศ่ าลสั่ง เรียกวา่ ผอู้ นุบาล
คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมอะไรไม่ได้เลย เป็นโมฆียะทั้งหมด ยกเว้นถ้าทำพินยั กรรม และ สมรส
จะเปน็ โมฆะ
บุคคลวิกลจริต ก็คือ คนบ้าถาวร วิปลาส ไม่รู้ผิดชอบ ซึ่งยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่ หากศาลยังมิได้ส่ัง
ให้เป็นคนไร้ความสามารถ นิติกรรมใด ๆที่คนวิกลจริตทำจะสมบูรณ์ เว้นแต่ จะเป็นโมฆียะ เมื่อได้กระทำใน
ขณะทบ่ี คุ คลนัน้ จริตวกิ ลอยู่ และคู่กรณอี กี ฝา่ ยหน่งึ ไดร้ แู้ ล้วดว้ ยว่าผกู้ ระทำเป็นคนวิกลจรติ
ก่อนจะเปน็ คนไร้ความสามารถได้ ตอ้ งเปน็ คนวกิ ลจริตมาก่อน

เมื่อสิ้นสุดการเป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ต้องร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่
ใหเ้ ปน็ คนไร้ความสามารถ ประกาศในราชกจิ จานเุ บกษา

ผู้ที่มีสิทธิ์ร้องขอถอนการเป็นคนไร้ความสามารถ คือ ตัวบุคคลไร้ความสามารถนั้นเอง คู่สมรส ผู้
บุพการี(บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด) ผู้สืบสันดาน(ลูก หลาน เหลน ลื่อ) ผู้ปกครองหรือผู้ พิทักษ์ ผู้ซ่ึง
ปกครองดแู ลบคุ คลน้ันอยู่ หรอื พนักงานอยั การ

คนเสมอื นไรค้ วามสามารถ

คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ไม่ถึงกับวิกลจริต แต่เป็นบุคคลท่ีมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่
สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเปน็ อาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น
จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของ
ตนเองหรอื ครอบครัว

คู่สมรส ผ้บู ุพการ(ี บิดา มารดา ปูย่ ่า ตายาย ทวด) ผู้สืบสนั ดาน(ลกู หลาน เหลน ล่ือ) ผู้ปกครองหรือผู้
พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้เป็นคน
เสมือนไรค้ วามสามารถได้

ผู้ทศ่ี าลส่งั ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใหด้ ูแลคนเสมือนไร้ความสามารถเรียกว่า ผู้พทิ กั ษ์
คนเสมอื นไร้ความสามารถทำนิติกรรมเองได้ท่ัวไป โดยมผี ลสมบูรณ์ ทำพนิ ัยกรรมก็สมบรู ณ์ แต่นิติ
กรรมต่อไปนี้ที่คนเสมือนไร้ความสามารถทำ ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะทำได้ ฝ่าฝืน
บทบัญญตั มิ าตรานี้ การนั้นเป็นโมฆยี ะ

(๑) นำทรัพย์สินไปลงทนุ
(๒) รับคืนทรพั ยส์ ินท่ไี ปลงทุน ตน้ เงนิ หรือทุนอยา่ งอืน่
(๓) กยู้ มื หรือใหก้ ู้ยืมเงนิ ยืมหรือใหย้ ืมสังหาริมทรพั ย์อันมคี ่า
(๔) รบั ประกนั โดยประการใด ๆ อนั มีผลให้ตนตอ้ งถกู บังคบั ชำระหน้ี
(๕) เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าหกเดือน หรืออสังหาริมทรัพย์มี
กำหนดระยะเวลาเกินกวา่ สามปี
(๖) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศล การสังคม หรือตามหน้าท่ี
ธรรมจรรยา
(๗) รับการให้โดยเสน่หาทีม่ ีเงื่อนไขหรือคา่ ภาระตดิ พัน หรือไมร่ ับการใหโ้ ดยเสนห่ า
(๘) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือใน
สงั หารมิ ทรพั ยอ์ นั มีค่า
(๙) ก่อสรา้ งหรอื ดัดแปลงโรงเรอื นหรือสิ่งปลูกสรา้ งอยา่ งอน่ื หรือซอ่ มแซมอย่างใหญ่
(๑๐) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เว้นแต่การร้องขอตามมาตรา ๓๕ หรือ
การรอ้ งขอถอนผู้พิทกั ษ์
(๑๑) ประนปี ระนอมยอมความหรือมอบขอ้ พพิ าทให้อนญุ าโตตลุ าการวินจิ ฉัย
ถ้ามีกรณีอื่นนอกจากนี้ หากจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว ใน
การสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมอื นไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์อาจรอ้ งขอในภายหลัง ศาลมีอำนาจส่ังใหค้ นเสมือน
ไร้ความสามารถนน้ั ตอ้ งได้รับความยินยอมของผพู้ ิทักษ์ก่อนจึงจะทำการน้ันได้

ถ้าเหตุที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ผู้ที่มีสิทธิ์ร้องขอถอนการเป็นคน
เสมือนไร้ความสามารถ คือ ตัวบุคคลเสมือนไร้ความสามารถนั้นเอง คู่สมรส ผู้บุพการี(บิดา มารดา ปู่ย่า ตา
ยาย ทวด) ผู้สืบสันดาน(ลูก หลาน เหลน ลื่อ) ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือ
พนักงานอยั การ

ส่วนท่ี ๓ ภมู ลิ ำเนา

-ภมู ิลำเนาของบุคคลธรรมดา ไดแ้ ก่ ถ่ินอันบุคคลนั้นมีสถานท่ีอยู่เป็นแหลง่ สำคญั
-ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติ
หลายแห่ง ให้ถอื เอาแหง่ ใดแหง่ หน่งึ เป็นภูมลิ ำเนาของบุคคลน้นั
-ถ้าภูมลิ ำเนาไม่ปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นทอ่ี ยูเ่ ป็นภูมิลำเนา
-บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง หรือเป็นผู้ครองชีพในการเดินทางไปมา
ปราศจากหลกั แหล่งท่ที ำการงาน พบตวั ในถิ่นไหนให้ถอื วา่ ถิน่ นัน้ เป็นภูมลิ ำเนาของบุคคลนน้ั
-ภมู ลิ ำเนาย่อมเปลี่ยนไปดว้ ยการย้ายถน่ิ ที่อยู่ พร้อมดว้ ยเจตนาปรากฏชัดแจ้งวา่ จะเปลีย่ นภมู ิลำเนา
-ถ้าบุคคลใดไดเ้ ลอื กเอาถิ่นใด โดยมีเจตนาปรากฏชดั แจ้งวา่ จะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำ
การใด ใหถ้ อื ว่าถน่ิ นนั้ เปน็ ภูมลิ ำเนาเฉพาะการสำหรับการนัน้
-สามีภรรยา ถือเอาถ่ินทีอ่ ยู่กนิ ด้วยกนั เป็นภูมิลำเนา ใชภ้ มู ิลำเนาเดียวกนั เว้นแต่สามีหรือภริยาได้
แสดงเจตนาให้ปรากฏวา่ มีภมู ลิ ำเนาแยกต่างหากจากกนั
-ผู้เยาว์ ถือเอาที่อยู่ของผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นภูมิลำเนา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง
ถ้าบิดาและมารดามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน ภูมิลำเนาของผู้เยาวไ์ ด้แก่ภูมลิ ำเนาของบิดาหรือมารดาซงึ่
ตนอยดู่ ้วย
-คนไรค้ วามสามารถ ถือเอาทอี่ ยู่อยูข่ องผูอ้ นบุ าลเป็นภูมิลำเนา ตอ้ งเป็นผู้อนุบาลทีศ่ าลสั่งจงึ จะนบั
-ข้าราชการ ถือเอาที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่เปน็ ภูมิลำเนา ต้องมิใช่เป็นตำแหน่งหน้าทีช่ ั่วคราวชว่ั
ระยะเวลาหรือเป็นเพียงแตง่ ต้ังไปเฉพาะการครั้งเดียวคราวเดียว แตเ่ ปน็ ระยะยาว เช่น เป็นนายอำเภอประจำ
ทศ่ี ขี รภูมิ ถือว่าศีขรภูมเิ ปน็ ภูมลิ ำเนา
-ผถู้ ูกจำคกุ ถอื เรอื นจำหรอื ทัณฑสถานทถี่ กู จำคุกอยู่เปน็ ภูมิลำเนา จนกว่าจะไดร้ บั การปลอ่ ยตัว

สว่ นที่ ๔ สาบสญู

ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอด
ระยะเวลาหา้ ปี เมอ่ื ผมู้ ีส่วนไดเ้ สียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสง่ั ใหบ้ คุ คลนนั้ เป็นคนสาบสญู กไ็ ด้

การสาบสญู กรณีพเิ ศษใหล้ ดเหลอื สองปี เหตพุ เิ ศษ คือ ไปรบ ไปสงคราม พาหนอับปาง เหตอุ น่ื ๆ เช่น
สึนามิ ไฟไหม้ ผา่ นไป ๒ ปี หาไม่เจอ รอ้ งขอใหศ้ าลสง่ั สาบสญู ได้

(๑) นบั แตว่ นั ที่การรบหรือสงครามส้นิ สดุ ลง หากหายไปในสงคราม รบ
(๒) นับแต่วันที่ยานพาหนะทีบ่ คุ คลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป เช่น เครื่องบนิ
ตก เรอื ลม่ รถตกเหว
(๓) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) หรือ (๒) ได้ผ่านพ้นไป เช่น เดินตก
เหว สนึ ามิ ไฟไหม้ นำ้ ท่วม ถา้ บคุ คลน้ันตกอยู่ในอนั ตรายเช่นว่าน้ัน

ระยะที่ ๑ เป็นผไู้ มอ่ ยู่ คอื หายไปจากภูมลิ ำเนา โดยไมร่ ้วู ่าเป็นตายรา้ ยดียงั ไง
หากผูไ้ ม่อย่ไู ม่ได้ตั้งตัวแทนรบั มอบอำนาจทัว่ ไปไว้

หายไปไม่ครบ ๑ ปีศาลจะส่ังให้ทำการตามทจี่ ำเปน็ เพอ่ื จดั การทรพั ย์สนิ คอื ร้องขอจัดการเปน็ กรณี ๆ
ไป ตั้งผูจ้ ัดการมรดกทรพั ย์สนิ ยงั ไม่ได้

เมื่อครบ ๑ ปี ศาลจะตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ขึ้นก็ได้หรือศาลสั่งเพื่อจัดการทรัพย์ตาม
จำเปน็ กไ็ ด้ กอ่ น ๕ ปหี รือ ๒ ปี

ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจท่ัวไปไว้ และสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป หรือปรากฏว่า
ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปได้จัดการทรัพย์สินนั้นในลักษณะที่อาจเสียหายแก่บุคคลดังกล่าว ให้นำมาตรา
๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชี
ทรัพย์สินของผู้ไม่อยูข่ ้ึนตามที่ศาลจะมคี ำสั่งก็ได้

ถ้าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปเห็นเป็นการจำเป็นจะต้องทำการอันใดอันหนึ่งเกินขอบอำนาจที่
ได้รบั ไว้ ตอ้ งขออนุญาตตอ่ ศาล และเม่อื ศาลสงั่ อนุญาตแลว้ จึงจะกระทำการนน้ั ได้

ผู้จัดการทรัพย์สินที่ศาลได้ตั้งขึน้ ต้องทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ให้เสร็จภายในสามเดือนนับแต่วนั
ทราบคำสั่งต้ังของศาล แต่ผูจ้ ัดการทรัพยส์ ินจะรอ้ งขอตอ่ ศาลใหข้ ยายเวลาก็ได้

บัญชีทรัพย์สิน ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนน้ัน
ตอ้ งเป็นคู่สมรสหรือญาติของผไู้ ม่อยซู่ ึ่งบรรลุนติ ภิ าวะแล้ว แต่ถ้าไม่มคี ่สู มรสหรือหาญาตไิ ม่ได้ หรือคู่สมรส
และญาตไิ มย่ อมเปน็ พยาน จะใหผ้ อู้ ่นื ซง่ึ บรรลุนติ ภิ าวะแลว้ เป็นพยานก็ได้

ถา้ ผู้ไม่อยูไ่ ด้ต้งั ตวั แทนผ้รู ับมอบอำนาจเฉพาะการอันใดไว้ ผูจ้ ัดการทรัพยส์ นิ จะเขา้ ไปเก่ยี วข้องกับการ
อนั เป็นอำนาจเฉพาะการนัน้ ไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏวา่ การที่ตวั แทนจดั ทำอยนู่ ั้นอาจจะเสียหายแก่ผไู้ ม่อยู่ ผู้จัดการ
ทรพั ยส์ นิ จะร้องขอใหศ้ าลถอดถอนตัวแทนนั้นเสียก็ได้
ระยะที่ ๒ สาบสูญ คือ หายไป ๕ ปีกรณีธรรมดา ๒ ปีกรณีพิเศษ ขอศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ เท่ากับตาย
สิทธหิ น้าทจ่ี บลง มรดกตกทอด

ลักษณะที่ ๒ นิติบคุ คล

สว่ นท่ี ๑ บทเบด็ เสรจ็ ทว่ั ไป

นิติบุคคลย่อมมีสทิ ธิและหน้าท่ีเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าทีซ่ ึ่งโดยสภาพจะพึงมี
พึงเปน็ ไดเ้ ฉพาะแกบ่ คุ คลธรรมดาเท่าน้ัน

ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอา
เปน็ ภูมลิ ำเนาเฉพาะการตามข้อบงั คบั หรือตราสารจดั ต้ัง

ในกรณีที่นิติบุคคลมีที่ตั้งทำการหลายแหง่ หรอื มีสำนักงานสาขา ให้ถือว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของที่ทำการ
หรอื ของสำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกจิ การอันได้กระทำ ณ ทน่ี ้นั ดว้ ย

นติ บิ ุคคลต้องมผี ูแ้ ทนคนหนง่ึ หรอื หลายคน
ความประสงค์ของนิตบิ คุ คลยอ่ มแสดงออกโดยผูแ้ ทนของนติ ิบุคคล
ในกรณที ่นี ติ บิ ุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนนิ กจิ การของนติ บิ ุคคลใหเ้ ป็นไปตามเสยี งข้างมากของ
ผแู้ ทนของนิติบคุ คลนั้น เว้นแต่จะไดม้ ีข้อกำหนดไวเ้ ปน็ ประการอน่ื ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดต้ัง
การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล หรือการจำกัดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทนของนิติ
บุคคล ให้มีผลต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งแล้ว แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
บคุ คลภายนอกผู้กระทำการโดยสจุ ริตมไิ ด้
ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้
น่าจะเกดิ ความเสยี หายขึน้ ได้ เมอ่ื ผมู้ สี ่วนไดเ้ สยี หรอื พนักงานอยั การร้องขอศาลจะแต่งตั้งผูแ้ ทนชั่วคราวด้
ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทน
ของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ถ้าเป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของนิติบุคคลเหลืออยู่ หรือผู้แทน
ของนิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอจะเป็นองค์ประชุม หรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หากกฎหมาย
ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้น มิได้มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือ
พนกั งานอัยการรอ้ งต่อศาลตั้งผ้แู ทนเฉพาะการโดยอนุโลม
ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผูแ้ ทนของนิติบุคคลหรือผู้มอี ำนาจทำการแทนนิตบิ ุคคล เป็นเหตุให้เกดิ
ความเสียหายแกบ่ ุคคลอนื่ นิตบิ ุคคลนน้ั ตอ้ งรบั ผดิ ชดใช้ค่าสนิ ไหมทดแทนเพ่ือความเสียหายน้ัน แต่ก็มสี ทิ ธิ
ทจ่ี ะไลเ่ บย้ี เอาแกผ่ ู้กอ่ ความเสียหาย
ถ้าความเสียหายเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล
ผู้แทนหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความ
เสยี หายนั้น

สว่ นท่ี ๒ สมาคม

การกอ่ ตง้ั สมาคมเพื่อทำการใด ๆ ทม่ี ลี ักษณะต่อเน่ืองรว่ มกันและมใิ ชเ่ ปน็ การหาผลกำไรหรือรายได้
มาแบง่ ปนั กนั ต้องมีข้อบงั คบั และจดทะเบียนตามบทบญั ญัติแห่งประมวลกฎหมายน้ี

ข้อบงั คับของสมาคมอยา่ งนอ้ ยต้องมรี ายการ ดังตอ่ ไปน้ี
(๑) ชอื่ สมาคม
(๒) วัตถุประสงคข์ องสมาคม
(๓) ท่ีตัง้ สำนกั งานใหญ่ และทต่ี งั้ สำนักงานสาขาทั้งปวง
(๔) วธิ รี ับสมาชิก และการขาดจากสมาชิกภาพ
(๕) อัตราคา่ บำรุง
(๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระ

การดำรงตำแหนง่ ของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ
(๗) ขอ้ กำหนดเก่ียวกับการจดั การสมาคม การบญั ชี และทรัพย์สินของสมาคม
(๘) ข้อกำหนดเกีย่ วกับการประชุมใหญ่

สมาคมตอ้ งใช้ชอ่ื ซงึ่ มีคำวา่ “สมาคม” ประกอบกบั ช่ือของสมาคม
การขอจดทะเบียนสมาคมนั้น ให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่นอ้ ยกว่า ๓ คน ร่วมกันยื่น
คำขอ เป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งท้องท่ี ท่ีสำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น พร้อมกับแนบข้อบังคับ
ของสมาคม รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า ๑๐ คน และรายชื่อ ที่อยู่และอาชีพ
ของผูจ้ ะเป็นกรรมการของสมาคมมากบั คำขอด้วย
เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนพร้อมทั้งข้อบังคับแล้วเห็นว่าคำขอนั้นถูกต้อง คือ
วัตถุประสงค์ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จากนั้นรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือ
ข้อบังคับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม และผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมนั้นมีฐานะและความ
ประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออก
ใบสำคญั แสดงการจดทะเบยี นใหแ้ กส่ มาคมนั้น และประกาศการจัดตง้ั สมาคมในราชกจิ จานเุ บกษา
ถ้านายทะเบียนเห็นวา่ คำขอหรือข้อบังคับไม่ถูกต้อง หรือรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับไม่
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม หรือผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมมีฐานะหรือความประพฤติไม่
เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้มีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขหรือ
เปลีย่ นแปลงใหถ้ กู ตอ้ ง เม่ือแกไ้ ขหรือเปล่ียนแปลงถูกต้องแล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจด
ทะเบียนให้แก่สมาคมนนั้
ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมาย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคง
ของรัฐ หรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ทราบ
คำสั่งของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจด
ทะเบยี นไปยงั ผู้ยน่ื คำขอจดทะเบียนโดยมชิ กั ชา้

ผ ู ้ ย ื ่ น ค ำ ข อ จ ด ท ะ เ บ ี ย น ม ี ส ิ ท ธิ อ ุ ท ธ ร ณ ์ ค ำ ส ั ่ ง ไ ม ่ ร ั บ จ ด ท ะ เ บ ี ย น น ั ้ น ต ่ อ ร ั ฐ ม น ต ร ี ว ่ า ก า ร
กระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนงั สือยื่นต่อนายทะเบยี นภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสัง่ ไม่รบั
การจดทะเบยี น

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบ
ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด

สมาคมทไี่ ด้จดทะเบยี นแลว้ เปน็ นิตบิ ุคคล
การแกไ้ ขเพิ่มเตมิ ข้อบงั คบั ของสมาคมจะกระทำได้กแ็ ตโ่ ดยมติของทีป่ ระชุมใหญ่ และสมาคมต้องนำ
ข้อบังคับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่
ภายใน ๑๔ วนั นบั แตว่ ันท่ไี ด้ลงมติ เมือ่ นายทะเบยี นไดจ้ ดทะเบยี นแลว้ ให้มผี ลใชบ้ ังคบั ได้
การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ให้กระทำ
ตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของ
สมาคมต้งั อยภู่ ายใน ๓๐ วันนบั แต่วันทีม่ กี ารแต่งต้งั หรือเปลีย่ นแปลงกรรมการของสมาคม
ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการ
ดำเนนิ การตามวัตถุประสงคข์ องสมาคม นายทะเบียนจะไมร่ บั จดทะเบยี นกรรมการของสมาคมผนู้ น้ั ก็ได้
ในกรณีที่นายทะเบยี นไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคม นายทะเบียนต้องแจ้งเหตผุ ลที่ไม่รับ
จดทะเบยี นให้สมาคมทราบภายใน ๖๐ วนั นบั แตว่ ันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน กรรมการมีสิทธอิ ทุ ธรณ์คำส่ังไม่
รบั จดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนงั สือยน่ื ต่อนายทะเบยี นภายใน ๓๐ วัน
นบั แตว่ นั ท่ีได้รับแจ้งคำสงั่ ไม่รับการจดทะเบยี น
คณะกรรมการของสมาคมต้องจดั ให้มีการประชมุ ใหญ่สามญั อย่างนอ้ ยปลี ะ ๑ ครง้ั
คณะกรรมการของสมาคมจะเรียกประชมุ ใหญ่วสิ ามญั เม่ือใดก็สุดแต่จะเหน็ สมควร
สมาชกิ จำนวนไมน่ อ้ ยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชกิ ท้ังหมดหรือสมาชิกจำนวนไมน่ ้อยกว่าหนึ่ง
ร้อยคนหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับจะทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการของ
สมาคมให้ประชมุ ใหญว่ สิ ามัญก็ได้ ในหนังสือร้องขอนน้ั ต้องระบุวา่ ประสงคใ์ หเ้ รยี กประชมุ เพ่ือการใด
เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามวรรคสอง ให้
เรียกประชมุ ใหญ่วิสามัญโดยจัดให้มีการประชุมขน้ึ ภายใน ๓๐ วนั นบั แต่วนั ทไี่ ด้รับคำร้องขอ
ถา้ คณะกรรมการของสมาคมไมเ่ รยี กประชุมภายในระยะเวลา ๓๐ วัน สมาชิกทเี่ ป็นผู้ร้องขอให้เรียก
ประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกัน มีจำนวนสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือ
สมาชิกจำนวนไมน่ ้อยกวา่ หนึ่งร้อยคนหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกวา่ ทก่ี ำหนดไวใ้ นข้อบังคับจะเรียกประชุมเอง
กไ็ ด้
ในการเรยี กประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชกิ ทุกคนซ่ึง
มีชื่อในทะเบียนของสมาคมกอ่ นวันนดั ประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วันหรือลงพิมพโ์ ฆษณาอย่างน้อย ๒ คราวใน
หนงั สือพมิ พ์ท่แี พรห่ ลายในท้องท่ีฉบบั หนึง่ ก่อนวันนดั ประชุมไม่น้อยกว่า ๗ วันก็ได้

การประชุมใหญ่ของสมาคมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่นอ้ ยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
จงึ จะเปน็ องค์ประชมุ เว้นแต่ขอ้ บังคับของสมาคมจะกำหนดองค์ประชมุ ไวเ้ ปน็ อย่างอื่น

ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ และการประชุมใหญ่นั้นได้เรียกตาม
คำร้องขอของสมาชิก ก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่สมาชิกมิได้เป็นผู้ร้องขอ ให้
คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วันนับแต่
วันท่ีนดั ประชมุ ครง้ั แรก การประชมุ คร้ังหลงั น้ไี มบ่ ังคับวา่ จำต้องครบองค์ประชุม

มติของท่ปี ระชมุ ใหถ้ อื เอาเสียงขา้ งมากเปน็ ประมาณ
สมาชกิ จะมอบอำนาจให้สมาชกิ ผใู้ ดมาเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้
ในการประชุมใหญ่คร้ังใด ถ้าไดม้ ีการนดั ประชมุ หรือการลงมติโดยไม่ปฏิบตั ิตาม หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ
ของสมาคมหรือบทบัญญัติในส่วนนี้ สมาชิก หรือพนักงานอัยการอาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในการ
ประชมุ ใหญ่คร้งั นั้นได้ แต่ต้องรอ้ งขอตอ่ ศาลภายใน ๑ เดือนนบั แตว่ ันท่ีท่ปี ระชมุ ใหญล่ งมติ
สมาคมยอ่ มเลกิ ด้วยเหตุหนงึ่ เหตุใด ดงั ตอ่ ไปน้ี

(๑) เมื่อมเี หตุตามที่กำหนดในข้อบงั คบั
(๒) ถ้าสมาคมตง้ั ขนึ้ ไวเ้ ฉพาะระยะเวลาใด เมอ่ื สิน้ ระยะเวลาน้นั
(๓) ถา้ สมาคมตัง้ ขึ้นเพ่อื กระทำกิจการใด เมอื่ กจิ การน้นั สำเร็จแลว้
(๔) เมื่อทปี่ ระชุมใหญ่มีมติให้เลกิ
ทั้ง ๔ ข้อ ให้คณะกรรมการของสมาคมที่อยู่ในตำแหนง่ ขณะมีการเลิกสมาคมแจง้ การเลิกสมาคม
ต่อนายทะเบียนภายใน ๑๔ วันนบั แต่วันท่ีมีการเลกิ สมาคม
(๕) เมอ่ื สมาคมลม้ ละลาย ใหศ้ าลแจ้งคำพพิ ากษาหรอื คำสัง่ ดงั กลา่ วให้นายทะเบียนทราบดว้ ย
(๖) เม่ือนายทะเบียนถอนช่อื สมาคมออกจากทะเบยี นตามมาตรา ๑๐๒
(๗) เมื่อศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๑๐๔ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียน
ทราบด้วย
ให้นายทะเบยี นประกาศการเลิกสมาคมในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๐๒ ให้นายทะเบยี นมอี ำนาจสัง่ ถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนได้ในกรณีดังตอ่ ไปนี้
(๑) เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือ
ศีลธรรมอนั ดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความม่ันคงของรัฐ และ
นายทะเบียนได้สั่งให้แกไ้ ขแลว้ แต่สมาคมไม่ปฏบิ ตั ิตามภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
(๒) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรืออาจเปน็ ภยันตรายตอ่ ความสงบสุขของประชาชนหรอื ความมน่ั คงของรัฐ
(๓) เมื่อสมาคมหยุดดำเนนิ กิจการตดิ ตอ่ กันต้งั แต่ ๒ ปีขึ้นไป
(๔) เม่ือปรากฏว่าสมาคมให้หรือปลอ่ ยใหบ้ ุคคลอ่นื ซึ่งมิใชก่ รรมการของสมาคมเปน็ ผดู้ ำเนนิ กิจการ
ของสมาคม
(๕) เมื่อสมาคมมีสมาชิกเหลอื นอ้ ยกวา่ ๑๐ คนมาเปน็ เวลาตดิ ต่อกันกว่า ๒ ปี

ส่วนท่ี ๓ มลู นธิ ิ

มูลนิธิ ได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศล สาธารณะ การ
ศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา
ผลประโยชน์มาแบ่งปันกนั และได้จดทะเบียนตามบทบัญญตั ิแหง่ ประมวลกฎหมายน้ี

การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจากเพ่ือ
ดำเนนิ การตามวตั ถปุ ระสงคข์ องมูลนธิ นิ น้ั เอง

มูลนิธติ อ้ งมีข้อบงั คับ และตอ้ งมีคณะกรรมการของมูลนธิ ิประกอบด้วยบคุ คลอย่างน้อย ๓ คน เป็น
ผดู้ ำเนินกจิ การของมูลนิธิตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ

ขอ้ บงั คับของมลู นธิ ิอย่างน้อยตอ้ งมีรายการ ดงั ต่อไปนี้
(๑) ชื่อมลู นธิ ิ
(๒) วตั ถปุ ระสงคข์ องมูลนิธิ
(๓) ทีต่ ้งั สำนกั งานใหญแ่ ละทีต่ ง้ั สำนกั งานสาขาทง้ั ปวง
(๔) ทรพั ย์สินของมูลนิธิขณะจัดต้ัง
(๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของมูลนิธิ ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระ

การดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพน้ จากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ
(๖) ข้อกำหนดเกีย่ วกบั การจัดการมูลนธิ ิ การจดั การทรัพย์สินและบญั ชขี องมูลนิธิ

มลู นธิ ิต้องใชช้ ื่อซึง่ มีคำวา่ “มูลนธิ ิ” ประกอบกับชอ่ื ของมูลนธิ ิ
การขอจดทะเบียนมูลนิธินั้น ให้ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ท่ี
สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะตั้งขึ้น ในคำขออย่างน้อยต้องระบุเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะ
จัดสรรสำหรับมูลนิธิ รายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน พร้อมกับแนบข้อบังคับ
ของมลู นธิ มิ ากับคำขอดว้ ย
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่มูลนิธินั้น ให้ประกาศ
การจดั ตัง้ มูลนิธิในราชกิจจานเุ บกษา
ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรบั จดทะเบียนได้เน่ืองจากวัตถุประสงค์ของมลู นิธิไม่เป็นไปเพ่ือการกุศล
หรอื ขัดตอ่ กฎหมายหรือศลี ธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยนั ตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือ
ความมั่นคงของรัฐ หรือผู้ขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ทราบ
คำสั่งของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน และแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจด
ทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบยี นทราบโดยมิชกั ชา้
ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยทำเปน็ หนงั สอื ยน่ื ต่อนายทะเบยี นภายใน ๓๐ วนั นบั แตว่ นั ที่ไดร้ ับแจ้งคำส่งั ไม่รบั จดทะเบียน
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวนิ ิจฉัยอทุ ธรณ์และแจ้งคำวินจิ ฉัยให้ผู้อทุ ธรณ์ทราบภายใน
๙๐ วันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้
เปน็ ทีส่ ดุ
ก่อนที่นายทะเบียนรบั จดทะเบียนมูลนิธิ ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิมีสิทธิขอถอนการจัดตั้งมูลนิธิได้โดยทำเปน็
หนงั สือย่ืนตอ่ นายทะเบียน สทิ ธทิ จ่ี ะขอถอนการจัดต้ังมูลนิธนิ ี้ไม่ตกทอดไปยังทายาท

ในกรณีท่ีมีผขู้ อจัดตั้งมูลนิธหิ ลายคน ถา้ ผู้ขอจัดต้ังมูลนธิ ิคนหนง่ึ คนใดใช้สิทธิถอนการจัดต้ังมูลนิธิ
ให้คำขอจดั ตง้ั มูลนิธินนั้ เปน็ อันระงบั ไป

ในกรณีที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถงึ แก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนธิ ิ ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำ
พินัยกรรมยกเลิกการจัดตั้งมูลนิธิที่ขอจัดตั้งไว้ ให้คำขอจัดตั้งมูลนิธิที่ผู้ตายได้ยื่นไว้ต่อนายทะเบียนยังคง
ใช้ได้ต่อไป และให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ซึ่งผู้ตายมอบหมาย ดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดต้ัง
มูลนธิ ิตอ่ ไป ถา้ บุคคลดังกลา่ วไมด่ ำเนินการภายใน ๑๒๐ วันนบั แตว่ นั ที่ผขู้ อจดั ตั้งมลู นิธิถงึ แกค่ วามตาย บุคคล
ผู้มีสว่ นได้เสียหรอื พนักงานอัยการจะดำเนนิ การในฐานะเป็นผู้ขอจดั ต้ังมูลนธิ ินนั้ ต่อไปก็ได้

ในกรณีที่มีผู้คัดค้านต่อนายทะเบียนว่าพินัยกรรมนั้นมิได้กำหนดให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิ ให้นาย
ทะเบียนแจ้งให้ผู้คัดค้านไปร้องต่อศาลภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน และให้นาย
ทะเบียนรอการพิจารณาการจดทะเบยี นไว้กอ่ น เพ่อื ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสัง่ ของศาล ถา้ ผู้คัดค้าน
ไม่ยืน่ คำรอ้ งตอ่ ศาลภายในเวลาทก่ี ำหนด ใหน้ ายทะเบียนพิจารณาการจดทะเบยี นมูลนิธิน้ันต่อไป

ลกั ษณะ ๓ ทรพั ย์

-ทรพั ย์ คอื วัตถุมีรูปรา่ ง ไมจ่ ำเป็นตอ้ งใหญห่ รอื เลก็ ( กระแสไฟฟ้า ถือเอามาไวใ้ นสายกเ็ ปน็ ทรัพย์ ถ้า
ไม่อยู่ในสาย ลวด หรือทองแดง ไม่ใช่ทรัพย์ เอาสายไฟมาขโมยต่อไฟฟ้า มีความผิดฐานลักทรัพย์ หรือ
คลนื่ วทิ ยุ คลื่นโทรศัพท์ จะเปน็ ทรัพย์ถ้าอยใู่ นสาย หากอย่ใู นอากาศไม่ใช่ทรัพย)์

-ทรัพย์สนิ คอื ทรพั ย์และวัตถไุ ม่มีรูปรา่ ง ซ่งึ อาจมีราคาและอาจถอื เอาได้ ทรพั ย์สนิ เป็นไดท้ ัง้ มีรูปร่าง
และไมม่ ีรูปรา่ ง หากไมม่ ีรูปร่างต้องมีราคาและถือเอาได้(เปน็ เจ้าของได้) เชน่ หุ้น แก๊ส พลงั งาน ไฟฟ้า(ใส่
สายเปน็ ทรพั ย)์ รวมทง้ั ราคาทางจติ ใจด้วย เช่น อฐั ิบรรพบรุ ษุ จดหมายรัก

สรปุ คำว่า ไม่มรี ปู ร่าง เช่น หุ้น แก๊ส พลงั งาน ไฟฟ้า
คำวา่ มรี าคาถอื เอาได้ คอื ถอื ความครอบครอง สทิ ธคิ รอบครอง สิทธเิ ปน็ เจ้าของได้

จำ คนไม่ใชท่ รพั ย์สนิ แต่เปน็ บุคคล แตห่ ากตายไปอาจเปน็ ทรัพย์สิน

อสงั หารมิ ทรพั ย์

คือ ทรพั ยเ์ คลอ่ื นทไ่ี มไ่ ด้ ไดแ้ ก่
-ทีด่ นิ (เดนิ เหินได)้
-ทรัพยอ์ ันติดอยกู่ บั ทด่ี นิ มีลักษณะเป็นการถาวร เช่น บ้าน ไมย้ นื ตน้ อายุเกิน ๓ ปี (เชน่ มะม่วง ขนุน)
ถนน คอนโด
-ทรัพย์ที่ประกอบเปน็ อันเดียวกบั ที่ดนิ น้ัน เชน่ กรวด หนิ ดิน ทราย แรธ่ าตุ ทอง ดีบกุ ผสมในดนิ
ตัวอย่าง แร่จากที่ดินของนายเอ ไหลไปทับถมบนที่ดินของนายบี จนกลายเป็นที่ดินเดียวของนายบี
นายเอไม่มีสิทธิ์จะตามไปเอาคืน เพราะแร่ไหลไปประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินจนเป็นอสังหาริมทรัพย์ของบี
แลว้
-ทรัพยสทิ ธิอันเกี่ยวกับที่ดนิ เช่น สทิ ธจิ ำนอง สิทธเิ ก็บกนิ สทิ ธอิ าศัย สิทธเิ หนือพ้ืนดนิ
อะไรก็ตามที่ถูกเคลื่อนที่ออกจากที่ดินไปแล้ว จะเป็นสังหาริมทรัพย์ทันที เช่น บ้านเรือนไทยยก
ขาย ดินขดุ ไปขาย เชน่ นายแดงเช่าท่ีดินของนายดำ เป็นการเชา่ อสังหาริมทรัพย์ ตอ่ มานายแดงก็แอบขุด
ดนิ นายดำไปขาย นายแดงมีความผดิ ฐานลักสงั หารมิ ทรพั ย์ของผอู้ ่นื

เป็นลัก ไม่ใช่ยักยอก เพราะ การยักยอกคือ การที่เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนครอบครองอยู่ไป แต่นี่
ตนครอบครองอสังหาริมทรัพย์คือที่ดิน แต่ที่ขุดขึ้นมามันเป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งตนไม่ได้เป็นผู้ครอบครอง
แต่เปน็ ของเจ้าของ เทา่ กบั วา่ ลกั ทรพั ยผ์ อู้ ่ืน

จำ

(หากเป็นต้นข้าว ผักบุ้ง หญ้า หรือพืชล้มลุกอื่น ๆ ซึ่งเป็นพืชปลูกไว้แปปเดียว อยู่ไม่นานก็ถอน
ออก ถอื เปน็ สงั หาริมทรพั ย์)

(หากเป็นบา้ นเรือนไทยปลูกไว้ แล้วสามารถยกไปขายทัง้ หลงั ได้ เปน็ สังหารมิ ทรพั ย์)
(หิน หรือ ดินที่ขุดมาใส่รถขาย เป็นสังหาริมทรัพย์ หากขโมยตักดินคนอื่น มีความผิดบุกรุกและ
ความผดิ ฐานลกั สังหารมิ ทรัพย์)
(โลกทั้งใบ แยกเอาสว่ นท่ีเปน็ พนื้ ดิน ไม่เอาพ้ืนนำ้ )

เรอ่ื งของท่ดี ิน

ที่ดนิ มี ๒ สิทธ์ิ คอื กรรมสทิ ธ์แิ ละสทิ ธคิ รอบครอง
-กรรมสิทธ์ิ คือ มโี ฉนดเพยี งอันเดยี ว มสี ทิ ธทิ ่สี ามารถโอนกนั ได้ ยันสิทธิก์ บั คนอืน่ ๆ ได้
-สทิ ธิครอบครอง คือ ไมม่ โี ฉนด เชน่ น.ส.๓ น.ส.๓ก มเี พียงสิทธิทไี่ ปครอบครองเท่านนั้

สรุป ถา้ ไมม่ ีโฉนดจะไมม่ กี รรมสิทธ์ิ แต่จะมีเพียงสิทธิครอบครอง
หลังจากการโอนอสังหารมิ ทรพั ยเ์ ป็นโมฆะ และทรัพย์มกี รรมสิทธิ์หรอื โฉนด

การซื้อขายที่ดินมีโฉนดจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ
แลว้ ถ้าคนทีม่ าซื้อแล้ว แต่ไมไ่ ด้จดทะเบียน มันเป็นโมฆะ แตถ่ า้ จะเอากรรมสิทธิ์ในท่ีดิน ต้องใช้การครอบครอง
ปรปกั ษ์ ๑๐ ปี ต้องครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเปน็ เจ้าของ จะได้กรรมสทิ ธิ์
หลงั จากการโอนอสังหารมิ ทรัพยเ์ ปน็ โมฆะ และทรพั ย์มีแคส่ ิทธคิ รอบครอง

ถ้าซื้อขายที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ มีเพียงสิทธิครอบครอง เช่น มีเพียงน.ส.๓ น.ส.๓ก ก็จะต้องทำเป็น
หนังสือและจดทะเบยี นต่อเจ้าหน้าทีม่ ิฉะน้ันจะตกเปน็ โมฆะ ไม่สนว่าจะมีกรรมสิทธิ์หรือไม่มี ต้องทำตามแบบ
ทั้งหมด ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง ซื้อขายเป็นโมฆะ จะครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ แต่จะโอนกันได้โดย
ข้อเท็จจรงิ คือ ผู้ขายสละเจตนาครอบครองทำให้การครอบครองสิ้นสดุ ลง เมื่อสละแลว้ ก็โอนได้โดยการส่ง
มอบ ผรู้ ับโอนซงึ่ มีเจตนายึดถอื เพอ่ื ตนย่อมไดส้ ิทธิครอบครอง

เชน่ นายเอมที ่ดี ิน ๑ แปลง ที่ดนิ นี้มีเพยี ง น.ส.๓ (ไม่มกี รรมสิทธิ์ แตม่ สี ทิ ธคิ รอบครอง) นายเอต้องการ
จะโอนขายให้นายบี มกี ารส่งมอบที่ดินให้นายบีเรยี บร้อย แต่ไม่ได้ทำเป็นหนงั สือและจดทะเบยี นต่อเจ้าหนี้ ทำ
ให้สัญญาเป็นโมฆะ เป็นผลให้นายบีไม่มีสิทธิในที่ดิน อย่างไรก็ดี ที่ดินนี้เป็นที่ดินที่มีเพียงน.ส.๓ อันเป็นเพียง
สิทธคิ รอบครอง ไมม่ ีกรรมสิทธ์ิ แต่นายเอสละเจตนาครอบครอง สง่ มอบไปแล้ว นอกจากนน้ั บกี เ็ ขา้ ครอบครอง
มีเจตนาจะเอามาเป็นของตน ทำใหน้ ายบีไดส้ ิทธคิ รอบครองในท่ดี นิ มาแบบโอนโดยข้อเท็จจริง

องคป์ ระกอบการโอนโดยขอ้ เทจ็ จริง มี ๓ ประการ คือ สละเจตนา สง่ มอบ เอามาเป็นของตน
แต่ถ้าการครอบครองของนายบี ได้มาโดยที่นายเอาไม่ได้สละเจตนา ไม่ได้ส่งมอบ แต่นายบีเข้ายึด
ถือเอาเป็นของตน ถือว่า นายบีเจตนาแย่งการครอบครอง นายเอต้องฟ้องเอาคืนภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่ถูก
แย่ง

การโอนทีด่ ินทีม่ ขี อ้ กำหนดห้ามโอน ถ้าโอนเป็นโมฆะ
-การโอนทีม่ ีวัตุประสงค์ ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย พน้ วิสยั ขัดต่อศลี ธรรม ตกเป็นโมฆะ พอโมฆะ

ให้เอาเรอื่ งลาภมิควรไดม้ าใช้
-ข้อกำหนดหา้ มโอนภายใน ๑๐ ปี ถ้าภายใน ๑๐ ปีน้มี ีการโอนกัน การโอนน้ันเปน็ โมฆะ
เช่น นายเอมีที่ดิน ๑ แปลง ที่ดินนี้มี นค๑(มีเพียงสิทธิครอบครอง) พร้อมกับข้อกำหนดห้ามโอน ๑๐

ปี ปรากฏว่านายเอ โอนไปให้นายบีในปีที่ ๕ ของข้อกำหนดนั้น ทำให้การโอนนั้นเป็นโมฆะ ทำให้บีไม่ได้สิทธิ
ครอบครอง แม้บีจะเข้าไปอยู่ที่ดินนี้แล้วก็ตาม แต่มันเป็นโมฆะไปแล้ว ทำให้บีมีเพียงสิทธิครอบครองแทน ยัง
ไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน แม้จะครอบครองแทน ๑ พันปี ก็ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง เมื่อบีเปล่ี ยนไป
บอกว่ามีเจตนายึดถือเพื่อตน โดยการไปบอกเอว่า ต่อไปนี้จะไม่ครอบครองแทนแล้ว เป็นการบอกเปลี่ยน
ลกั ษณะการยึดถือ จากเพือ่ เอ เปน็ เพ่อื ตน ก็ไดม้ าซ่ึงสิทธคิ รอบครอง

ถา้ ไม่ตอ้ งไม่ไปบอก กม็ อี ีกวิธี คือ พอบไี ปอยใู่ นที่ดินแล้วบี จา่ ยภาษที ่ดี ินในนามของบีเอง ไม่ใช่นามเอ
ทำให้ไดส้ ทิ ธิครอบครองเลย โดยไมต่ ้องไปเปลี่ยนลกั ษณะการยึดถือ เปน็ การยึดถอื โดยปริยาย

-เอโอนที่ดินให้บี ที่ดินนี้มขี ้อกำหนดห้ามโอน ๑๐ ปี จึงตกเป็นโมฆะ บีจึงมีเพียงสิทธคิ รอบครองแทน
แต่บีไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินเลย แสดงว่าบีสละเจตนาครอบครองเจตนายึดแล้ว ทำให้เอได้สิทธิครอบครอง
เลย

สรุป การโอนทดี่ ินท่มี ขี ้อกำหนดหา้ มโอน คือ
-การโอนเปน็ โมฆะ
-เมื่อส่งมอบและเข้าครอบครองแล้ว แต่ก็เป็นลักษณะการครอบครองแทน หากจะได้มีซึ่งสิทธิ
ครอบครองต้อง บอกเปลย่ี นเจตนาครอบครองจากครอบครองแทน เป็นครอบครองเพ่อื ตน หรือ จา่ ยภาษีที่ดิน
ในนามของตนเอง
-หากผขู้ ายไมม่ ายุ่งเกีย่ วใด ๆ แสดงว่าผู้ขายสละเจตนายึดถอื ผู้ซอ้ื กไ็ ด้สิทธิครอบครอง

แบบซื้อขายอสงั หาริมทรัพย์

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน นั้นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่มิฉะน้ัน
จะตกเปน็ โมฆะ เสยี เปลา่ มาแต่ตน้ เสมอื นไม่มกี ารทำนิตกิ รรมมาเลย

จะเป็นการให้ แลกเปลี่ยน ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าท่ี
มฉิ ะน้นั จะตกเป็นโมฆะ

สงั หาริมทรัพย์

คอื ทรพั ย์สินอื่นนอกจากอสังหารมิ ทรพั ย์ ทรัพย์เคล่อื นที่ได้ รวมถึงสิทธอิ ันเก่ยี วกับทรพั ยส์ นิ นนั้
เชน่ ของเล่น ทองคำเส้น มดี พัดลม ตเู้ ยน็ สิทธิจำนำ เปน็ ตน้

ทรัพย์แบ่งได้

คือ ทรพั ย์อันอาจแยกออกจากกนั เป็นสว่ น ๆ ไดจ้ รงิ ถนดั ชดั แจง้ แต่ละส่วนได้รปู บริบรู ณล์ ำพงั ตัว

ทรัพย์แบ่งไมไ่ ด้

คือ ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึง
ทรัพย์ทีม่ ีกฎหมายบญั ญัตวิ ่าแบ่งไม่ได้ดว้ ย

ทรพั ยน์ อกพาณชิ ย์

คอื ทรพั ย์ที่ไม่สามารถถอื เอาได้และทรพั ย์ทโ่ี อนแก่กันมิไดโ้ ดยชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนควบของทรพั ย์

คือ ส่วนที่ติดกับทรัพย์ โดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น
และโดยสภาพ ซึ่งส่วนและทรัพย์นั้นไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้
ทรพั ย์นัน้ เปลยี่ นแปลงรปู ทรงหรอื สภาพไป

สรุปง่าย ๆ ส่วนควบ คือ ทรัพย์ ๒ ชิ้นมารวมกันเกิดเปน็ ทรัพย์อีกชิน้ หน่ึง จะเป็นสังหารมิ ทรพั ยห์ รอื
อสงั หาริมทรพั ย์กไ็ ด้ ทรัพย์ ๒ ช้ินขาดกันไม่ได้ แยกกนั ไม่ได้ นอกจากจะทำลายใหท้ รพั ย์ใหม่นั้นเปล่ียนสภาพ

ส่วนท่ีติดกบั ทรัพย์ พจิ ารณา ๒ อย่าง คือ
โดยสภาพ เช่น รถกบั พวงมาลัย ทั้ง ๒ อยา่ งขาดกันไม่ได้และ
โดยจารตี เช่น ไมพ้ ายกับเรอื แม้จะขาดกันได้แต่มันก็ถอื ตามจารีต บา้ นกบั ท่ีดนิ บา้ นกบั ห้องนอน
อาจจะมที รัพย์ประธานหรอื ไม่มกี ไ็ ด้
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น เจ้าของทรัพย์ไม่ต้องไปจดทะเบียนให้
ไดม้ าซึ่งกรรมสทิ ธิใ์ นสว่ นควบ เช่น
-นายเอเป็นเจ้าของที่ดิน แต่บีแอบมาปลูกบ้านไว้ เอไม่ได้ปลูกและไม่ทราบ ผู้เป็นเจ้าของบ้าน(ส่วน
ควบ) คอื เอ เพราะเจ้าของทรัพย(์ ทด่ี ิน) ยอ่ มมกี รรมสิทธิ์ในสว่ นควบ(บ้าน) แม้ตนจะไม่ไดป้ ลกู กต็ าม
-นายเอ เป็นเจ้าของที่ดิน มีคนมาปลูกต้นมะม่วงไว้ในที่ดิน นายเอก็เป็นเจ้าของต้นมะม่วงได้เลย
เพราะตน้ มะม่วงเป็นสว่ นควบของทด่ี ิน เจา้ ของทรพั ยไ์ ด้กรรมสทิ ธ์ใิ นสว่ นควบ
-นายเอ เป็นเจ้าของที่ดิน มีนายบีมาปลูกข้าวไว้ นายเอไม่ได้เป็นเจ้าของข้าวนั้น เพราะ ข้าวเป็นพืช
ล้มลกุ ไม่ใชส่ ว่ นควบของทด่ี ิน เจา้ ของทรพั ย์จงึ ไมไ่ ด้กรรมสทิ ธ์ิ
ส่วนควบกับที่ดิน หากเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ก็จะได้กรรมสิทธิ์ในส่วนควบ หากที่ดินนั้นมีเพียงสิทธิ
ครอบครองกจ็ ะไดส้ ิทธคิ รอบครองส่วนควบ จะโอนสว่ นควบโอนทั่วไปเหมอื นตัวทรัพย์ เชน่ ที่งอกรมิ ตลงิ่ เป็น
ส่วนควบของที่ดิน นิติกรรมต้องทำเปน็ หนงั สอื จดทะเบยี นต่อเจา้ หนา้ ที่

กรณีตวั อย่างต่อไปนีเ้ ปน็ ส่วนควบกัน

เชน่ -รถเปน็ ทรพั ย์ เครื่องยนตถ์ ือเปน็ ส่วนควบของรถเพราะ มันตดิ กัน ถ้ามแี ค่รถ ไมม่ เี ครื่องยนต์มันก็
ไปไม่ได้ ถา้ มแี ค่เครื่องยนต์ไมม่ รี ถมันก็ไปไมไ่ ด้

-เขม็ นาฬิกา เป็นส่วนควบของนาฬิกา เพราะ หากนาฬิกาไม่มีเข็ม มนั คงดูเวลาไม่ได้ คงไม่เรียกมันว่า
นาฬกิ า หรือแว่นตากับเลนส์ เปน็ สว่ นควบกนั

-บ้านกับห้องนอน บ้านกับหอ้ งน้ำ บ้านกบั ห้องครัว โดยจารตี ถอื วา่ บา้ นมันตอ้ งมหี อ้ งเหลา่ น้ี
-โดยจารตี แลว้ ไมพ้ าย เป็นส่วนควบของเรอื แม้โดยสภาพจะแยกได้
-ไมย้ นื ต้นเป็นส่วนควบกับทด่ี ินท่ีไม้นั้นขึ้นอยู่ พลดู า่ ง พริกไทยก็นบั เป็นไม้ยืนต้น ไม้ยืนต้นต้องดูที่
อายพุ ันธต์ ้องเกิน ๓ ปี แตจ่ ะปลกู กปี่ กี ะได้
-บ้านกับที่ดิน เป็นส่วนควบกัน เพราะจะแยกบ้านออกต้องพังทิ้ง โดยจารีต เพราะบ้านไม่มีที่ดินก็
อยูไ่ มไ่ ด้ แม้ทด่ี นิ ไมม่ ีบา้ นจะอยูไ่ ด้
-ท่ดี นิ ทงี่ อกริมตลิง่ เป็นสว่ นควบกบั ทด่ี นิ

-บ้านกบั หลงั คาเปน็ สว่ นควบกนั เพราะจะแยกตอ้ งทุบทิง้
-ร้ัวเปน็ สว่ นควบกับท่ดี ิน

กรณตี ัวอย่างต่อไปนไี้ ม่เปน็ ส่วนควบกนั

-งาชา้ ง ไมใ่ ช่ส่วนควบของตวั ชา้ ง เพราะ งาช้างมันเกิดมาพรอ้ มตัวชา้ งแล้ว ไม่ได้มใี ครเอามาตดิ
-ฟนั คน อวยั วะคน ไม่ใช่สว่ นควบของคน
-ไม้ลม้ ลุกหรือธญั ชาติทเี่ กบ็ เกย่ี วรวงได้เพียงปตี ่อปีไม่เปน็ ส่วนควบกบั ท่ีดิน
ตวั อยา่ ง นายเอผซู้ ือ้ ทำสญั ญาซือ้ ขายทีด่ ินกับนายบี โดยบนท่ดี ินมตี น้ มะมว่ ง บา้ นของนายบเี อง และ
บา้ นซ่งึ นายบีอนุญาตใหน้ ายซมี าปลกู ตน้ ขา้ ว ถามวา่ นายเอไดก้ รรมสทิ ธ์ใิ นอะไรบ้าง
ตอบ ไดท้ ด่ี นิ และส่วนควบ
ที่ได้คือ ได้ที่ดิน ต้นมะม่วง บ้านนายบี (ถ้าจะไม่ให้เขาต้องระบุว่าไม่ขาย) หากขายที่ดิน จะขายส่วน
ควบบนทด่ี ินไปด้วย หากไม่อยากขายส่วนควบตอ้ งตกลงระบุให้ชดั วา่ ขายแค่ท่ดี ิน
ที่ไม่ได้คือ -บ้านที่นายบีอนุญาตให้นายซีมาปลูก เพราะการที่เจ้าของที่ดิน อนุญาตให้คนอื่นมาปลูกสิ่ง
ปลกู สรา้ งถาวรใด ถอื วา่ สิ่งปลูกสรา้ งน้ันไม่ใชส่ ่วนควบ

-ต้นข้าว เป็นไมล้ ม้ ลุก ไม่เป็นสว่ นควบ
-ดนิ สอ กับ กบเหลา ไม่ใชส่ ่วนควบกนั เปน็ เพียงเคร่ืองอำนวยความสะดวกแก่กนั
-สมดุ กบั ปากกา ไม่ใชส่ ่วนควบกนั
-บ้านกับจานดาวเทยี ม ไมเ่ ป็นสว่ นควบกนั เรียกจานดาวเทยี มว่า เคร่ืองอำนวยความสะดวก
-อา่ งอาบนำ้ ไม่ใชส่ ่วนควบบา้ น
-กระจกมองหลัง กระจกมองขา้ ง ไมใ่ ช่ส่วนควบของรถยนต์ เพราะไม่มี มันก็ไปได้ ถอดออกก็ยังได้
ไม่ต้องพังรถ
-เช่าที่ดินเพื่อสร้างอาคาร อาคารที่สร้างเป็นของผู้เช่า เพราะอาคารไม่ใช่ส่วนควบ เนื่องจากเจ้าของ
ที่ดินให้สิทธิ์สร้างได้ แม้เจ้าของที่ดินจะโอนที่ดินให้เจ้าของกี่ทอดก็ตาม หากสัญญาเช่าไม่หมดสัญญา ผู้เช่าก็
เปน็ เจ้าของอาคารอยู่ต่อ ๆ ไป เจา้ ของทด่ี ินคนใหมก่ อ็ ้างไมไ่ ด้ว่าเปน็ ส่วนควบ แตเ่ มื่อสญั ญาเชา่ สน้ิ สุดลง ถ้าไม่
มีข้อตกลงว่า ให้อาคารเป็นของเจ้าของที่ดิน อาคารนั้นก็ยังคงเป็นของผู้เช่า หากผู้ให้เช่าไม่ประสงค์จะให้อยู่
ต่อไป ผู้เช่าเจา้ ของอาคารก็ต้องรื้อออกไป ถ้าตกลงกันเมื่อทำสัญญาก่อนสร้างอาคารหรือระหว่างสร้างอาคาร
หรือสร้างอาคารเสร็จแลว้ วา่ จะให้อาคารตกเป็นของผู้ให้เช่าหลงั สิ้นสญั ญา เมื่อสัญญาสิน้ สุดลง อาคารนั้นตก
เป็นส่วนควบของที่ดินทันที โดยเจ้าของที่ดินไม่ต้องใช้ราคาอาคารให้ผู้สร้าง ไม่ต้องจดทะเบียนการได้มาซ่ึง
อาคาร หากผู้สร้างยังอยู่ในอาคารนั้น ก็ถือว่าอยู่โดยอาศัยสิทธิเจ้าของที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินไม่อยากให้ผู้สร้าง
อยู่ ก็ฟ้องขับไลไ่ ด้
-ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือน
นั้น และใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่น ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ใน
ทีด่ ินนนั้ ดว้ ย ไมเ่ ปน็ สว่ นควบ

หลกั ต่อไปนไ้ี ม่เป็นส่วนควบ
หลักท่ี ๑ สร้างช่ัวคราวบนท่ีดิน ไมใ่ ชส่ ่วนควบของทีด่ นิ

-เตรยี มสถานที่ต้ังพระพทุ ธรูปงานวัดไม่เป็นส่วนควบของท่ดี นิ จอหนงั กลางแปลงไม่เป็นส่วนควบ
กับทีด่ ิน

-เรอื นไทยยกขายทั้งหลงั ไม่เป็นส่วนควบของทดี่ นิ
-บา้ นน็อกดาว ไม่เป็นสว่ นควบกบั ที่ดิน
หลกั ท่ี ๒ เจา้ ของทดี่ นิ อนุญาต ให้คนอืน่ มสี ิทธมิ์ าสรา้ งสว่ นควบบนทรัพย์ตน ทรพั ยท์ ่ีอนญุ าตให้สร้างไม่ใช่
สว่ นควบกับทด่ี นิ (เจา้ ของอาจตกลงให้โดยชัดแจง้ หรือปรยิ ายก็ได้ โดยวาจาก็ได)้
-นายเอบอกนายบีว่า นายบี นายมาปลูกบ้าน บนที่ดินของฉันได้นะ แต่ช่วยดูแลขโมยในสวนให้ด้วย
นายบีก็เตรียมของมาปลูกจนเป็นบ้าน บ้านหลังนี้ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน โดยปกติแล้ว บ้านจะเป็นส่วนควบ
ของทด่ี นิ แตๆ่ ๆๆๆๆๆ บ้านนั้นผเู้ ปน็ เจา้ ของทรัพย์อนุญาตให้สทิ ธ์ิคนอ่ืนมาปลูก และเจ้าของทรัพย์(ท่ีดิน)ไม่ได้
เป็นกรรมสทิ ธ์สิ ่วนควบ(บา้ น) ดว้ ย เพราะปกติแล้ว เจา้ ของทรพั ย์ยอ่ มมีกรรมสิทธิใ์ นสว่ นควบของทรัพยน์ ัน้ แต่
ถ้าหากนายบีมาขโมยปลูกบนที่ดินของเอ บ้านนั้นก็เป็นส่วนควบของที่ดิน และ เอเป็นเจ้าของบ้าน(ส่วนควบ)
ด้วย
-นายเออนุญาตใหน้ ายบีมาสร้างบ้านบนท่ีดินของตนได้ แต่กำหนดว่าใหส้ รา้ งได้บนท่ีดิน ๑ ไร่ แต่นาย
บีกลับสร้างเกินไปเปน็ ๒ ไร่ ส่วนที่เกินน้ันถือเป็นส่วนควบของที่ดิน เอมีสิทธิ์เป็นเจ้าของส่วนที่เกนิ นั้น เพราะ
เอไมไ่ ด้อนุญาตให้สร้าง แตส่ ่วนทีอ่ นญุ าต ๑ ไร่นั้นไม่ถือเปน็ สว่ นควบและเอไม่มสี ิทธ์ใิ นบา้ นสว่ นท่ีอนุญาต
-สามีมาสร้างบ้าน บนที่ดินภรรยาท่ีได้มาก่อนสมรส(สินส่วนตัว) พอเลิกกัน ภรรยาอ้างว่าบ้านหลังน้ี
เป็นของตน เพราะเป็นส่วนควบของที่ดินตน สามีจะไม่มีสิทธิ์ในบ้าน อ้างอย่างนี้ อ้างไม่ได้ เพราะ ตอนสร้าง
เนย่ี ภรรยาก็รูเ้ ห็นยินยอม การทเ่ี จา้ ของท่ีดินรู้เหน็ ยินยอมเช่นนี้ ผสู้ ร้างจึงมสี ทิ ธเิ หนือพืน้ ดิน บ้านน้ันไม่ใช่ส่วน
ควบของที่ดิน เจ้าของที่ดินจะอ้างว่าเป็นของตนไม่ได้ แต่บ้านนี้เป็นสินสมรส เพราะได้มาหลังสมรส ถือเป็น
กรรมสิทธริ์ วมของทงั้ คู่
สรปุ การอนุญาตให้ผู้อนื่ มาสรา้ งทรพั ย์บนทด่ี นิ ของตน จะด้วยวาจาหรอื หนังสอื กไ็ ด้ สรุปประเดน็
-สิ่งปลูกสรา้ งหรือไมย้ นื ต้นท่ีมผี ูม้ าสรา้ งหรือปลกู ขึน้ บนที่ดิน ซึ่งเจ้าของเขาอนญุ าต สิ่งปลกู สร้างหรือไม้ยืนตน้
น้นั ไม่ใช่สว่ นควบกบั ทีด่ นิ เจ้าของท่ีดินไมม่ สี ิทธใิ์ นส่วนทส่ี ร้างนนั้
-การทเ่ี จ้าของอนุญาตมาสรา้ ง ทำให้ผูท้ ่มี าสรา้ งได้สิทธเิ หนือพน้ื ดนิ หากสทิ ธิเหนอื พืน้ ดนิ น้ัน ไมไ่ ดม้ รี ะยะเวลา
บอกเลกิ หากจะบอกเลิก เลกิ ตอนไหนก็ได้ แต่ตอ้ งแจง้ ไปยงั ผไู้ ด้สทิ ธนิ์ ้นั กอ่ นตามสมควร

อุปกรณ์

คือ สังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น หรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจา้ ของทรัพย์ที่เป็นประธาน
เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรพั ยท์ ่ีเป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แกก่ ารจดั ดแู ล ใช้สอย หรือรักษาทรพั ย์
ท่เี ป็นประธาน และเจ้าของทรัพยไ์ ดน้ ำมาสู่ทรัพยท์ ่เี ป็นประธานโดยการนำมาติดตอ่ หรือปรับเข้าไว้ หรอื ทำโดย
ประการอนื่ ใดในฐานะเปน็ ของใชป้ ระกอบกับทรัพย์ทีเ่ ปน็ ประธานนน้ั

อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของ
ทรัพยท์ เ่ี ปน็ ประธานนนั้

อปุ กรณ์ยอ่ มตกติดไปกบั ทรพั ยท์ เ่ี ป็นประธาน เว้นแตจ่ ะมกี ารกำหนดไว้เปน็ อยา่ งอื่น

สรุปง่าย ๆ อุปกรณ์ คือ สังหาริมทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ในการดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็น
ประธาน มกั จะติดกบั ทรพั ย์ประธานตลอด หากขายทรัพย์ประธานตอ้ งขายอุปกรณ์ไปด้วย
อปุ กรณ์ มแี ค่สังหารมิ ทรัพยเ์ ท่านั้น
เช่น กระจกมองข้างรถ เป็นอุปกรณข์ องรถ เพอื่ ประโยชน์ในการใช้รถ

เบาะทนี่ ่งั ในรถ เป็นอุปกรณข์ องรถ
แต่ลอ้ รถและเครอื่ งยนตร์ ถ เปน็ สว่ นควบรถ ไม่ใชอ่ ปุ กรณ์
เครื่องเลน่ ซีดี ลำโพง อปุ กรณ์เคร่อื งเสียง ไมเ่ ปน็ อปุ กรณร์ ถ เพราะไม่ได้มเี พ่ือดูแล ใชส้ อย หรือรักษาทรัพย์
ประธาน คือ รถ เพราะสิ่งเหล่านี้มีเพื่อประโยชน์ ความสุขของคนขับ ไม่ใช่ประโยชน์ของรถ ไม่มีก็ไม่เป็นไร
หากขายรถ คนซือ้ จะอ้างเอาเคร่อื งเสียงน้ไี ป วา่ เป็นอุปกรณร์ ถไมไ่ ด้

ดอกผลของทรัพย์

ไดแ้ ก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตนิ ยั

ดอกผลธรรมดา

สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม
และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น….ต้องเป็นทรัพย์ที่งอกเงยเพิ่มพูนจากตัวแม่ทรัพย์ ต้องเกิดขึ้น
โดยตามธรรมชาตจิ ากแมท่ รพั ย์ ถือเอาได้เมอ่ื ขาดจากแมท่ รัพยแ์ ล้ว

ตัวอย่างดอกผลธรรมดา เช่น ดอกผลของไม้ยืนต้น เป็นดอกผลธรรมดาของต้นไม้นั้น ๆ (รวมทั้งคน
ปลูกเอง) ผลมะมว่ ง ไขจ่ ากไก่ที่เลี้ยง ดอกไม้ ลกู สกุ ร เปน็ ดอกผลธรรมดาของพ่อแมส่ กุ รน้นั ๆ

ลกู สุกรจากการผสมเทียม ไมใ่ ชด่ อกผลธรรมดา
ตน้ ขา้ วเกิดขนึ้ จากแรงงาน ไมใ่ ช่ดอกผลธรรมดาของนา
เขาควาย งาช้าง ไมใ่ ชด่ อกผลธรรมดา

ดอกผลนิตินัย

ทรพั ย์หรอื ประโยชนอ์ ย่างอน่ื ที่ได้มาเป็นครัง้ คราวแกเ่ จ้าทรัพย์จากผูอ้ ื่นเพือ่ การท่ีได้ใช้ทรัพย์น้ัน และ
สามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาท่ีกำหนดไว้”ต้องเป็นทรัพย์หรือประโยชน์อย่าง
อื่นทไี่ ดแ้ กเ่ จา้ ของ ต้องได้มาจากการทผี่ ู้อ่ืนไดใ้ ชแ้ มท่ รัพย์ เช่น ค่าเช่า และดอกเบีย้ เป็นต้น

ตัวอย่างดอกผลนิตินัย ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, เงินปันผล, ค่าหน้าดิน, ค่าผ่านทาง กำไร ค่าเช่า เงิน
ประมูล

กำไรจากการลงทนุ ค้าขาย เช่น เปิดร้านอาหารแล้วขายได้เป็นกำไร เป็นดอกผลนติ ินยั แต่กำไรท่ี
จากการซือ้ ถูกขายแพงไมเ่ ป็นดอกผลนิตินัย เช่น ซื้อของมาสิบปีที่แล้วไดร้ าคาถกู พอเอามาขายในปจั จบุ ัน
ได้ราคาสูงข้ึน ไม่เป็นดอกผลนิตินัย เพราะคำว่าเราเก็บดอกผลมาแล้วตวั ทรัพย์ไม่ได้อยู่ให้เราเกบ็ ต่อ หรือ
การไดเ้ งนิ ปนั ผลจากหนุ้ เปน็ ดอกผลนติ ินัย ถ้าขายหุ้นไปได้กำไรไมเ่ ป็นดอกผล

บคุ คลสทิ ธิกับทรพั ยสิทธิ

บุคคลสิทธิ คือ สิทธิเหนือบุคคล ใช้บังคับเฉพาะคู่กรณีกับผู้สืบสิทธิ โดยมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นการบังคับตัว
บุคคล ให้ทำการ งดทำการ ส่งมอบทรัพย์สิน ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก มีระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สิทธไิ ว้ คือ มีอายคุ วาม กต็ ั้งขนึ้ โดยอำนาจแห่งกฎหมายหรือโดยนิติกรรม

อธิบาย
-ผสู้ ืบสทิ ธิ คอื ทายาทและผจู้ ัดการมรดก
-ตวั อย่างสญั ญาท่ีเปน็ บุคคลสิทธิ คอื สัญญาเชา่ ทรพั ย์
ทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์สิน ใช้บังคับกับทุกคน โดยมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน เป็นการบังคับเอา
กบั ตัวทรัพยโ์ ดยตรง กต็ ัง้ ขน้ึ โดยอำนาจแห่งกฎหมายเทา่ นน้ั เกิดแล้วไม่มีอายุความ
ทรัพยสิทธิ มี ๗ อย่างคือ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเก็บกิน จำนอง หากไม่จดทะเบียนไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิ เป็นเพียงบุคคลสิทธิ ยกเว้นจำนองเป็น
โมฆะ เชน่
-นายเอมีทรัพยสิทธิในที่ดิน ๑ แปลง แสดงว่านายเอมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงนั้น สามารถเอาสิทธินี้ไป
ยันกับบุคคลภายนอกทุกคนได้ แต่ถ้ามีเพียงบุคคลสิทธิ เช่น เช่าทรัพย์กับนายบี จะใช้ยันได้เฉพาะกับนายบี
เทา่ นัน้

การไดม้ าซงึ่ ทรัพยสทิ ธใ์ิ นอสงั หารมิ ทรัพย์

-ทรัพยสทิ ธิเกิดมาโดยอำนาจกฎหมายเทา่ น้ัน แต่บคุ คลสทิ ธิเกิดโดยอำนาจนิติกรรมกไ็ ด้

การไดอ้ สังหารมิ ทรพั ย์หรือทรพั ยสิทธิอนั เก่ยี วกบั อสงั หารมิ ทรัพยโ์ ดยนติ กิ รรม

-การได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรมนั้น จะต้องทำ
หนังสอื และจดทะเบยี นกับพนักงานเจ้าหนา้ ที่ มฉิ ะนั้นไมบ่ ริบรู ณ์(ไมใ่ ช่โมฆะ) คือ ไม่บรบิ รู ณเ์ ปน็ ทรัพยสิทธิ
แต่สมบูรณ์เป็นบุคคลสิทธิ มาตรานี้ใช้กับสัญญาประนีประนอมยอมความ(ในศาลเท่านั้น เช่น ยอมความ
ยกที่ดินเพื่อให้ถอนฟ้อง) คำพิพากษาตามยอม การตีใช้หนี้ การได้ทรัพยสิทธิในบรรพ ๔ (เช่น กรรมสิทธิ์
สิทธคิ รอบครอง ภาระจำยอม สทิ ธิอาศัย สิทธเิ หนอื พื้นดิน สทิ ธิเกบ็ กิน จำนอง

จำๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ แต่สัญญาที่มีแบบอยู่แล้วจะใช้ว่าไม่สมบูรณ์ไม่ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย ให้
แลกเปลี่ยน จำนอง อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องทำหนังสือและจดทะเบียนกับ
พนักงานเจ้าหน้าท่ี มฉิ ะนนั้ เปน็ โมฆะเลย ไม่ใชไ่ ม่สมบูรณ์

อธิบาย
-ต้องได้มาทางนิติกรรมเท่านั้น คือ ได้มาโดยการแสดงเจตนาเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน ระงับ
สงวนสทิ ธิ เรียกวา่ ความเคลอ่ื นไหวแห่งสทิ ธิ ง่าย ๆ คอื การไดม้ าโดยขอ้ ตกลง เช่น ตกลงใหม้ สี ิทธอิ าศัย ภาระ
จำยอม ตกลงใหไ้ ด้มาซง่ึ สทิ ธิเหนือพื้นดิน
เช่น นายเอทำสัญญาเช่าซื้อที่ดิน จากนายบี และชำระค่าเช่าชื้อเรียบร้อยแล้ว แต่การได้มาโดยนิติ
กรรมที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่บริบูรณ์เป็นกรรมสิทธิ์ จนกว่าไม่ได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ เมื่อบีถึงแก่ความตาย เอจึงใช้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อบีภายในกำหนด ๑ ปี สรุป เป็นการได้มาโดยนิติ
กรรม เห็นจาก สญั ญาเชา่ ซอ้ื

-คำว่า ไมบ่ รบิ ูรณ์ คอื ไม่ใช่โมฆะนะคนละเรื่อง แต่หมายถงึ ไม่เปน็ ทรัพยสิทธิ ไม่สามารถยกสิทธิต่างๆ
ที่ได้มาโดยนิติกรรมขึ้นต่อสู่กับคนภายนอกได้ เช่น เอยกที่ดินตีใช้หนี้ให้นายบีโดยไม่จดทะเบียน เอกับบีจึงมี
ความผูกพันเป็นบุคคลสิทธิ สู้ได้เฉพาะเอกับบี แต่บีไม่มีทรัพยสิทธิ หากมีซีมาเกี่ยวบีจะอ้างกับซีไม่ได้ตนมี
กรรมสทิ ธใิ นทีด่ ิน

-การสมบูรณ์เป็นบุคคลสิทธิ์ คือ ใช้ยันได้แค่คู่กรณีกับผู้สืบสิทธิ(ทายาท ผู้จัดการมรดก) ยันกับ
บคุ คลภายนอกไม่ได้

-หากจะสมบูรณเ์ ป็นทรัพยสทิ ธติ ้องจะต้องทำหนงั สือและจดทะเบียนกับพนักงานเจา้ หน้าท่ี
-คำวา่ หนังสือ คอื ทำเปน็ หนงั สือแบบ ลงลายมือช่ือทั้ง ๒ ฝ่าย
-คำว่า จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ คือ ที่ดินมีโฉนด(เจ้าพนักงานที่ดิน) ที่ดินไม่มีโฉนด นส๓
ภทบ (นายอำเภอ) เรือ(กรมเจ้าท่า นายทะเบียนเรือ) แพ(นายอำเภอ) สัตวพาหนะ(นายอำเภอ นายทะเบียน
ทอ้ งทสี่ ัตว)์ บา้ น(อำเภอ)
-นายเอตกลงใหน้ ายบีมสี ิทธิอาศัย ๕ ปี ตกลงกันดว้ ยวาจา ต่อมาตน้ ปีท่ี ๔ นายเอขายท่ดี ินใหด้ ำ สิทธิ
อาศัยเป็นทรพั ยสิทธิอย่างหนง่ึ ต้องทำหนังสือจดทะเบยี น เม่อื เอกบั บไี ม่ได้ทำ จึงได้เพยี งบุคคลสิทธิ ไม่สมบูรณ์
เป็นทรัพยสิทธิ บีจะสู้กับนายดำไม่ได้ ดำจะไล่บีไปก็ยังได้ เพราะถ้าเอทำสัญญาจดทะเบียนกับบี ดำคงไม่ซ้ือ
ที่ดนิ หรอก เพราะเปน็ ที่ดนิ มภี าระ
เช่น พลอยยกที่ดินตีใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ โดยไม่จดทะเบียน แสดงว่าเจ้าหนี้ ได้ที่ดินมาโดยไม่สมบูรณ์
เป็นทรัพยสทิ ธิ ได้แคบ่ ุคคลสิทธิ อา้ งกนั ได้แค่เจา้ หน้กี ับพลอย แมจ้ ะมกี รรมสทิ ธเ์ิ พราะพลอยยกให้แลว้ แต่อ้าง
กรรมสิทธ์ิในที่ดิน เจ้าหนี้จะอ้างได้แค่กับพลอยเท่านั้น หากอ้างกับคนอื่นคงไม่มีใครยอมรับ เพราะไม่ได้จด
ทะเบยี น ตอ่ มาพลอยเอาทีด่ นิ ไปขายให้คนอื่นคือซี มีหนงั สือจดทะเบยี นเรียบรอ้ ย แล้วซีมาอ้างสิทธิเหนือท่ีดิน
เจ้าหนี้จะสู้ซีไม่ได้เลย เพราะซีได้ทรัพยสิทธิมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซีมีทรัพยสิทธิสู้ได้กับทุกคน เจ้าหนี้มี
เพียงบุคคลสทิ ธิสู้ไดเ้ ฉพาะกบั พลอยหรอื ทายาทและผ้จู ดั การมรดก สู้กบั ซไี มไ่ ด้ มาซีตาย แดงคอื ทายาทของซีก็
มามสี ิทธติ ่อ แสดงให้เห็นว่าสิทธิทีม่ ีการจดทะเบยี น จะเป็นสทิ ธทิ ส่ี ไู้ ด้ตลอดสายทายาท
เช่น เอมีที่ดิน ๑ แปลง เอให้บีได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินตลอดชีวิต(นิติกรรมแล้ว) เช่น ให้บีมาปลูก
บ้าน ทำกิน แต่สิทธินี้ไม่ไดท้ ำหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ต่อมาเอตาย ที่ดินนี้ตกแก่ทายาท คือ แดง
ถามว่าแดงจะยกเลิกสิทธิเหนือพื้นดินของนายบี ไม่ให้บีมาทำกินบนที่ดินนี้แล้วได้หรือไม่ ตอบ แดงทำไม่ได้
เพราะแม้จะไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิเพราะไม่ได้จดทะเบียนและหนังสือ แต่สมบูรณเป็นบุคคลสิทธิ สามารถ
ใชย้ ันกบั ทายาท(ผสู้ ืบสทิ ธ)ิ คือ แดงได้ ดังนัน้ บสี ามารถใช้ชีวิตบนท่ดี ินน้ีได้ต่อไปจนกกวา่ จะตาม ตามสญั ญา
สรุป การได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยนิติกรรม หากไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงาน
เจ้าหน้าที่ จะไม่บริบูรณ์ คือ ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิ(ยันกับคนภายนอกไม่ได้) แต่สมบูรณ์เป็นบุคคลสิทธิ
สามารถยันกับคู่สัญญาหรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกได้ แต่ถ้ามีคนภายนอกมาเกี่ยวจะยันไม่ได้ ดังกรณี
ข้างตน้ แม้นายเอคู่สัญญาจะตาย แต่บคุ คลสิทธกิ ย็ ันกบั ทายาทคือแดงได้อยู่ หากมีนายดำคือบุคคลภายนอกมา
แก่บคุ คลสิทธจิ ะยันไมไ่ ดล้ ะ

การไดอ้ สังหารมิ ทรพั ยห์ รือทรพั ยสทิ ธิอันเกยี่ วกบั อสังหาริมทรพั ยโ์ ดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม

การได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียน ห้ามมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน และห้ามยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
บุคคลภายนอกผไู้ ดส้ ิทธิมาโดย

เสียค่าตอบแทน(เงิน ทรัพย์สิน แรงงาน ไม่จำเป็นต้องชำระครบแล้วหรืออาจยังไม่ชำระ แต่ตกลง
ราคากนั แลว้ หลังจากน้ันก็โอนเลย กถ็ ือว่าเสียค่าตอบแทนแล้ว)และ

โดยสุจริต(ไม่ร้วู ่าผดิ ก็สุจรติ ถา้ หากรหู้ รืออาจรู้ เช่น คนมาบอกแต่ไมเ่ ชื่อก็ถือว่าไม่สจุ ริต และ
ได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต(ต้องสุจริตจนกว่าจะจดทะเบียน เช่น กรณีระหว่างทำสัญญาไม่รู้ว่าผิด
แต่ต่อมารู้วา่ ผดิ ก็ยงั จะไปจดทะเบยี นก็ถอื ว่าจดทะเบียนโดยไมส่ จุ รติ )แลว้
ทงั้ ๓ อยา่ งนีท้ ำใหบ้ ุคคลภายนอกมสี ิทธดิ กี วา่ เจ้าของทรัพย์ท่ีไม่จดทะเบยี น เปน็ ผลให้เจ้าของทรัพย์สู้
คนภายนอกไมไ่ ด้
-ทางอื่นนอกจากนติ ิกรรม เช่น
โดยรับมรดก(เปน็ ทายาทโดยธรรมหรอื ระบุจะให้กต็ าม)
โดยคำพิพากษาของศาล(เป็นคดีที่ศาลพิพากษาตามรูปคดี เช่น ฟ้องเอาที่ดิน เป็นต้น ยกเว้นคำ
พพิ ากษาตามยอมหรือสญั ญาประนีประนอมยอมความในศาล เพราะศาลพิพากษาตามคคู่ วามหรือตามที่ตกลง
กันของคสู่ ญั ญาไม่ไดใ้ ช้กฎหมาย ทั้ง ๒ ถือวา่ ไดม้ าโดยนิตกิ รรม)
โดยการครองครองปรปักษ์( คือ การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ
หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องนาน ๑๐ ปี บุคคลนั้นจะได้กรรมสิทธ์ิ แต่ต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลมีคำสั่งค่อยนำ
คำสั่งนั้นไปจดทะเบียน จำ ครองปรปักษ์ ต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่น ทรัพย์ตัวเองครองปรปักษ์ไม่ได้ และที่ดิน
ตอ้ งมีโฉนดเท่านน้ั )
-ถ้ายังมิได้จดทะเบียน ห้ามมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน คือ ไม่สามารถที่จะทำนิติกรรมใด ๆ
เกี่ยวกับที่ดินหรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาได้เลย หากไปจดก็ทำได้ ไม่ได้กำหนดด้วยว่าไปจดทะเบียนภายในกี่ปี
เช่น นายเอได้ที่ดินมาทางมรดก ยังไม่ไปจดทะเบียนรับมรดกเปลีย่ นเป็นชื่อของตนเอง แม้ว่าจะมีสิทธิในที่ดิน
โดยชอบธรรม แต่นายเอจะทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินไม่ได้เลยจนกว่าจะไปจดทะเบียนรับมรดก จะอ้าง
สิทธิความเปน็ ทายาทต่อเจ้าท่ที ่รี ะหว่างทำนติ ิกรรมก็ไม่ได้ หากนายเอจะขายที่ดินท่รี ับมาโดยมรดก จะทำไม่ได้
เลย เพราะเขาหา้ มเปล่ยี นแปลงทางทะเบยี น หากไปจดกท็ ำได้ ไม่ได้กำหนดด้วยว่าไปจดทะเบยี นภายในกปี่ ี
-ห้ามยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จด
ทะเบยี นสิทธโิ ดยสจุ ริตแล้ว เชน่
นายเอเปน็ เจา้ ของท่ีดินพิพาทขนึ้ ศาลกับนายดำ ศาลพิพากษาให้นายดำได้กรรมสิทธใิ์ นที่ดิน เป็นการ
ทีด่ ินมาทางอืน่ นอกจากนติ ิกรรม เม่ือนายดำไดค้ ำพิพากษาศาลมาแล้ว แตย่ ังไม่ไปจดทะเบยี นท่สี ำนักงานที่ดิน
ต่อมาปรากฏว่านายเอไปขายที่ดินโดยสุจริต(คือนายเขียวไม่รู้ว่ามีคำพิพากษาศาลจนนายดำได้สิทธิ์ไป) มี
ค่าตอบแทน(นายเขียวซื้อมาจากนายเอ) จดทะเบียนโดยถูกต้องกับนายเขียวซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทำให้ชื่อ
ในโฉนดเป็นของนายเขียว ทำให้นายดำจะยกสเู้ ขียวไม่ได้

ถ้าหากนายเขียวรู้ว่าเจ้าของที่ดินแพ้คดี ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินแลว้ หรืออาจรู้ได้ เช่น มีคนมาบอกแต่
ไมเ่ ช่อื ก็ยังจะดันซื้อ ทงั้ ทมี่ ีคนมาบอกว่ามันเปน็ ของนายดำแลว้ ถือว่านายเขยี วได้มาโดยไม่สจุ ริต นายดำก็ยกสู้
นายเขียวได้

ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นทาง
เสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้
เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสจุ รติ นั้น ไม่ว่ากรณีจะ
เปน็ ประการใด ท่านวา่ จะเรยี กให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้

ทรพั ย์แผน่ ดินและที่สาธารณะประโยชน์

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินท่ีใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้
เพอื่ ประโยชนร์ ่วมกนั เชน่

(๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดย
ประการอน่ื ตามกฎหมายท่ดี ิน

(๒) ทรัพยส์ ินสำหรับพลเมอื งใชร้ ว่ มกัน เปน็ ต้นว่า ท่ีชายตลิ่ง ทางนำ้ ทางหลวง ทะเลสาบ
(๓) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อมและโรงทหาร สำนัก
ราชการบา้ นเมอื ง เรือรบ อาวุธยทุ ธภัณฑ์
-ทรัพย์สนิ ทเี่ ป็นสาธารณสมบตั ิของแผ่นดินน้ันจะโอนแก่กันไมไ่ ด้ เวน้ แตอ่ าศยั อำนาจแห่งบทกฎหมาย
เฉพาะหรือพระราชกฤษฎกี า
-หา้ มไมใ่ ห้ยกอายคุ วามข้ึนเปน็ ข้อตอ่ สู้กับแผ่นดินในเร่ืองทรัพย์สนิ อนั เปน็ สาธารณสมบัตขิ องแผน่ ดนิ
-ห้ามมใิ ห้ยึดทรัพยส์ นิ ของแผน่ ดนิ ไมว่ า่ ทรพั ย์สนิ นั้นจะเปน็ สาธารณสมบัติของแผน่ ดนิ หรือไม่
หมวด ๑ นิตกิ รรม สญั ญา
นิติกรรม คือ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติ
สมั พันธ์ขึน้ ระหวา่ งบคุ คล เพื่อจะก่อ เปล่ยี นแปลง โอน สงวน หรอื ระงบั ซึ่งสิทธิ
นิติกรรมฝา่ ยเดียว เชน่ ทำพินัยกรรม
นิตกิ รรม ๒ ฝา่ ยเรยี กวา่ สญั ญา เช่น ซอ้ื ขาย
เชน่ เอมีคำเสนอว่า ขอซ้ือปากกาหน่อย เปน็ นติ ิกรรมยังไม่เปน็ สญั ญา แตเ่ ม่ือแม่ค้ามคี ำสนองขาย คือ
ยืน่ ปากกาให้ ถอื เปน็ สัญญาซือ้ ขาย เพราะวา่ คำเสนอและคำสนองตรงกัน นติ ิกรรมจะข้ามขั้นไปเปน็ สัญญาเลย
ไม่ได้

นติ ิกรรมเป็นโมฆะ คือ

-นิตกิ รรมทมี่ ีวัตถปุ ระสงคเ์ ปน็ การตอ้ งหา้ มชดั แจ้งโดยกฎหมาย
-พ้นวิสัย
-การขัดตอ่ ความสงบเรียบรอ้ ยหรอื ศลี ธรรมอันดขี องประชาชน
-นติ ิกรรมทีไ่ ม่ทำตามแบบของกฎหมายก็เปน็ โมฆะ
แต่ นิติกรรมทีท่ ำแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอนั ดขี องประชาชน ไมเ่ ป็นโมฆะ

นิติกรรมทีเ่ ปน็ โมฆียะ คอื

-การท่ีมิได้เปน็ ไปตามบทบัญญัติของกฎหมายวา่ ด้วยความสามารถของบุคคล เช่น ผู้เยาว์ทำนิติกรรม
ซื้อบ้าน เปน็ ต้น

กำหนดอายคุ วาม

อายคุ วามน้ัน ถา้ ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมไิ ด้บัญญัติไวโ้ ดยเฉพาะ ให้มีกำหนด ๑๐ ปี
สิทธิเรยี กรอ้ งของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ ๑๐ ปี สว่ นสิทธิเรียกร้องของ
รฐั ท่จี ะเรียกเอาหนอี้ ยา่ งอื่นใหบ้ ังคับตามบทบญั ญตั ใิ นลกั ษณะน้ี
สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึน้ โดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงท่ีสุด หรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้
มีกำหนดอายคุ วาม ๑๐ ปี ท้งั นี้ ไมว่ ่าสิทธิเรยี กรอ้ งเดมิ จะมีกำหนดอายคุ วามเทา่ ใด

บรรพท่ี ๓ เอกเทศสัญญา

สัญญาแลกเปลีย่ น

-คอื สญั ญา ซึ่งคูก่ รณตี า่ งฝา่ ยต่างโอนกรรมสทิ ธิ์แห่งทรพั ยส์ นิ ใหก้ ัน ทรัพยท์ ่ีแลกต้องไม่ใชเ่ งิน
-เป็นสัญญา ๒ ฝา่ ย
-การแลกเปลี่ยน ใช้ลักษณะเดียวกับซื้อขาย ถือว่า ผู้เป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ขายในส่วน
ทรพั ย์สนิ ซึ่งตนไดส้ ่งมอบ และเป็นผู้ซือ้ ในส่วนทรัพย์สนิ ซึ่งตนไดร้ บั ในการแลกเปล่ยี นน้นั
-ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาแลกเปลี่ยน ตกลงจะโอนเงินเพิ่มเข้ากับทรัพย์สินสิ่งอื่นให้แก่อีกฝ่าย
หนึง่ บทท้งั หลายอันว่าดว้ ยราคาในลกั ษณะซ้ือขายนนั้ ใหใ้ ชถ้ งึ เงนิ เชน่ วา่ น้ันด้วย ใชใ้ นกรณที รัพย์น้ันราคาไม่
เท่ากนั เพ่ือความเป็นธรรม

-กรรมสิทธ์ิโอนทันที แม้ยังไม่ส่งมอบ แต่ถ้าเป็นสัญญาแลกเปลีย่ นมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ต้อง

รอจนเหตุการณ์ในอนาคตทเ่ี ป็นเง่อื นไขหรือเง่ือนเวลาจบลงกอ่ น กรรมสิทธิ์จึงจะโอน

แบบของสัญญาแลกเปลี่ยน

-ถา้ ทรัพย์ท่ีแลกเปล่ยี นนั้นยงั ไม่กำหนดแน่นอนวา่ จะนับแบบช่ัง ตวง วัดท่ีแน่นอน กรรมสิทธจิ์ ะไมโ่ อน
จนกว่าจะตกลงกันได้

หากทรัพย์ที่แลกเปลีย่ นน้ัน เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหารมิ ทรัพยห์ รือสงั หารมิ ทรัพย์ชนดิ พิเศษ
ตอ้ งทำเปน็ หนงั สือและจดทะเบยี นต่อเจา้ หน้าที่ มฉิ ะนัน้ เป็นโมฆะ

สังหารมิ ทรพั ยธ์ รรมดาไมจ่ ำเป็นตอ้ งมหี นงั สอื หรือจดทะเบียน
ถา้ สงั หาริมทรัพย์มรี าคาเกิน ๒ หมน่ื บาท ตอ้ งมหี นงั สือลงลายมือผู้รับผิด วางมัดจำ หรือชำระหน้ี
บางส่วนจงึ จะฟอ้ งได้

สัญญาให้

-คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น คำว่าโดยเสน่หา หมายถึง ให้เปล่า ไม่มีค่าตอบแทน และ
สญั ญาให้ ดเู จตนาเป็นสำคญั

-มีบุคคล ๒ ฝ่าย เพราะถ้าผู้ให้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวว่าได้ยกทรัพย์ให้ผู้รับ แต่ผู้รับไม่ได้แสดงเจตนา
รบั กไ็ มใ่ ชส่ ญั ญาให้ การให้โดยเสน่หาจะสมบูรณ์ เมอื่ มกี ารสง่ มอบทรัพย์สนิ

-เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เพราะผู้รับไมม่ ีหน้ีตอ่ ผู้ให้ ถ้ามีค่าตอบแทนมาเกีย่ วจะไมใ่ ช่สัญญาให้ ถ้า
ผู้รับระลกึ บุญคณุ นำสง่ ของอืน่ มาตอบแทนก็ยงั คงเปน็ สัญญาให้อยู่ ไมใ่ ชแ่ ลกเปลยี่ น

-มวี ตั ถุประสงคใ์ นการโอนกรรมสิทธ์ิ
-เจตนาต้องไม่สำคัญผิด ไม่ถูกฉ้อฉล ไม่ถูกข่มขู่ วัตถุประสงค์ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม ไม่พ้น
วิสัย
-อสังหารมิ ทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพเิ ศษต้องทำเปน็ หนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ไม่
งน้ั ไม่สมบรู ณ์
-การให้นั้นจะทำด้วยปลดหนี้ให้แก่ผู้รับ หรือด้วยชำระหนี้ซึ่งผู้รับค้างชำระอยู่ก็ได้ หรือชําระหนี้แทน
ผรู้ ับ

การถอนคืนการให้

เม่ือให้แล้ว สามารถฟอ้ งเพกิ ถอนการให้นัน้ คืนได้ หากเกดิ กรณตี อ่ ไปนี้
ผู้รับประพฤติเนรคณุ ตอ่ ผใู้ ห้ ดังกรณตี อ่ ไปนี้
๑)ถ้าผรู้ ับได้ประทษุ ร้ายตอ่ ผใู้ ห้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างรา้ ยแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(๒) ถา้ ผรู้ บั ไดท้ ำให้ผูใ้ ห้เสยี ชอ่ื เสยี ง หรือหม่ินประมาทผูใ้ หอ้ ยา่ งร้ายแรง เชน่ ลูกดา่ แมว่ า่ อแี ก่มึงจะเอาไง
(๓) ถา้ ผูร้ บั ไมย่ อมใหส้ ง่ิ ของจำเปน็ เลี้ยงชวี ิตแกผ่ ้ใู ห้ ในเวลาทีผ่ ูใ้ ห้ยากไร้ ทั้งทผ่ี ู้รับยงั สามารถจะใหไ้ ด้
ผู้รับทำผิดข้อกำหนดที่ผู้ให้วางไว้ เช่น ยกที่ดินให้โดยวางข้อกำหนดว่า ผู้รับต้องนำประโยชน์จาก
ทีด่ นิ ไปบรจิ าค ๕ ปี หากไม่ทำตามฟอ้ งเรียกคนได้
ต้องฟ้อง ภายใน ๖ เดือนหลังจากทราบเหตแุ หง่ การประพฤติเนรคุณ แต่ไม่เกิน ๑๐ ปีหลังเหตุการณ์
ประพฤติเนรคุณนั้น แต่ถ้าผทู้ ่ีรบั นนั้ ได้โอนทรพั ย์ท่ใี ห้ ไปใหบ้ คุ คลอืน่ เราจะไปตามฟอ้ งเอาจากบคุ คลนนั้ ไม่ได้
-การฟ้องน้ัน ใหฟ้ ้องต่อศาลทที่ รพั ยน์ ้นั ตั้งอยู่ เมอ่ื ถอนคืนการให้ ให้สง่ คนื ทรัพย์สนิ ตามบทว่าด้วยลาภ
มิควรได้

ผ้ทู าํ หน้าที่ถอนคนื การให้

ตวั ผ้ใู ห้เอง และ
ทายาทของผใู้ หก้ รณีผูใ้ หถ้ งึ แก่ความตายแล้ว เหตุฟอ้ งถอนคืน
-ผู้รบั การให้ได้ฆา่ ผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
-ผู้รบั การใหก้ ีดกันผใู้ หไ้ ว้มิใหถ้ อนคืนการให้ในระหวา่ งท่ผี ใู้ ห้มีชีวิตอยู่
-ผู้ใหฟ้ ้องคดีไวแ้ ล้วจึงตาย ทายาทฟ้องต่อ

กรณที ่ไี ม่สามารถถอนคืนการให้ได้แม้จะประพฤติเนรคุณก็ตาม

-การให้ที่ไม่ใช่การให้โดยเสน่หานั้น แต่เป็นการให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ให้จะถอน
การให้จากผรู้ บั เพียงผรู้ ับเนรคุณไม่ได้

-ถ้าการให้นั้น เข้าเงื่อนไขสภาพของการให้หรือเหตผุ ลพิเศษในการให้โดยเสนห่ า ไม่สามารถถอนการ
ใหค้ นื ได้ แม้ผู้รับจะเนรคุณก็ตาม คือ

-ใหเ้ ปน็ บำเหน็จสินจ้างโดยแท้ คอื การให้ในเชิงตอบแทน ที่ผรู้ ับไม่ไดร้ อ้ งขอ เช่น ค่าทปิ
-ให้ส่งิ ทมี่ ีค่าภาระตดิ พัน เรียกคนื ไดเ้ ฉพาะสว่ นติดพัน
-ใหโ้ ดยหนา้ ทธี่ รรมจรรยา คือ การใหท้ ผ่ี ้ใู หไ้ ม่มีหน้าท่ตี ามกฎหมาย ทจ่ี ะต้องให้ผู้รับ แต่ผู้ให้
ให้ไปเพราะสำนึกวา่ ควรจะให้ เช่น ลกู หน(ี้ ผ้ใู ห)้ ชำระท่ที ี่ขาดอายุความแกเ่ จา้ หนี(้ ผรู้ บั ) เพราะรูส้ กึ ผดิ
-ให้ในการสมรส เช่น ของไหว้ ของขวัญวันสมรส
-ผู้ตายไมไ่ ด้ฟ้องคดีไว้ก่อนตาย แตท่ ายาทมสี ิทธิ์ฟ้องได้หาก ผรู้ บั การให้ได้ฆ่าผ้ใู ห้ตายโดยเจตนาและ
ไมช่ อบดว้ ยกฎหมาย และผูร้ บั การให้กดี กันผู้ให้ไวม้ ใิ ห้ถอนคืนการให้ในระหวา่ งทผ่ี ใู้ ห้มีชีวิตอยู่ แต่ถา้ ผู้ตายฟ้อง
ไว้ก่อนตายทายาทมสี ิทธิฟ์ ้องตอ่ ถ้าผตู้ ายไม่ได้ฟ้องไว้ และผู้ให้ไม่ไดฆ้ า่ ผูใ้ ห้หรือกีดกนั ผู้ใหก้ ็ฟ้องไม่ได้
-เม่อื ล่วงกาํ หนดเวลา 6 เดือน นบั แต่เหตุเนรคณุ เชน่ นั้นได้ทราบถึงผมู้ ีสทิ ธิ์ถอนคนื
-เกนิ 10 ปี นบั จากเวลาทีผ่ ูร้ บั ประพฤติเนรคุณ
-เมื่อผรู้ ับประพฤติเนรคณุ แต่ผใู้ ห้นัน้ ยอมอภยั ก็ไมอ่ าจถอนได้ ประพฤตเิ นรคุณ น่นั คือ

๑)ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมาย
ลักษณะอาชญา หรือ

(๒) ถ้าผู้รบั ได้ทำใหผ้ ใู้ หเ้ สยี ชอ่ื เสยี ง หรอื หม่ินประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
(๓) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับ
ยังสามารถจะให้ได้

ความสมบูรณ์ของสญั ญา

-สมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ คือ มีการโอนการครอบครอง การส่งมอบนี้ไม่ใช่เป็นการ
ชาํ ระหนข้ี องผู้ให้อยา่ งใด แต่การโอนกรรมสิทธ์ิ และการโอนการครอบครองนั้นเป็นการแสดงเจตนาอิสระของ
ผใู้ ห้ (ถา้ เปน็ สังหารมิ ทรัพยม์ อบไดเ้ ลย แตม่ บี างอย่างต้องทำหนงั สือจดทะเบียน) หากผูใ้ ห้มิได้ส่งมอบทรัพย์สิน
ทใ่ี ห้แก่ผู้รบั ในทนั ที สญั ญาให้ไม่สมบรู ณ์โดยตกเป็นโมฆะ

- อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหนา้ ท่ีจงึ จะสมบูรณ์ โดยไม่ต้องสง่ มอบ
ขอ้ ยกเวน้ ตอ่ ไปน้ี ไม่ตรงตามหลักส่งมอบทรัพย์สินกส็ มบรู ณ์

-การให้สิทธิท่ีมีหนังสือตราสารเป็นสำคัญ เช่น โฉนดที่ดิน ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น สมบูรณ์เมื่อส่ง
มอบตราสารให้แก่ผรู้ ับ และมหี นงั สอื บอกกลา่ วแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินนั้

-การให้นั้นจะทำด้วยปลดหนี้ให้แก่ผู้รับ หรือด้วยชำระหน้ีซึ่งผู้รับค้างชำระอยู่ก็ได้ หรือชําระหนี้
แทนผู้รับ

-คำมั่นว่าจะให้ทรัพยส์ ินนัน้ ถ้าทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว(ไม่ทำไม่
มผี ลผูกพนั ) หากผ้ใู หไ้ ม่สง่ มอบทรัพย์สนิ น้ันแกผ่ รู้ บั ไซร้ ผู้รับมสี ทิ ธ์ิทจี่ ะเรียกใหส้ ่งมอบ ตวั ทรัพยส์ ิน หรือราคา
แทนทรัพย์สนิ น้นั ได้ แตไ่ มม่ สี ทิ ธ์ิทจ่ี ะเรียกค่าสนิ ไหมทดแทนได้

คำมนั่ วา่ จะให้ คือ คาํ มน่ั จะผูกพนั เฉพาะผู้ใหค้ าํ ม่นั และผู้ให้คาํ มั่นจะเปลีย่ นใจไม่ให้ในภายหลงั ไมไ่ ด้
-ถ้าผู้ใหผ้ กู ตนไว้ว่าจะชำระหน้ีเป็นคราว ๆ ท่านว่าหนน้ี นั้ เป็นอันระงับส้ินไปเมื่อผูใ้ ห้หรือผู้รบั ตาย เว้น
แต่จะขัดกับเจตนาอนั ปรากฏแตม่ ูลหนี้

การใหท้ ี่มคี ่าภาระตดิ พัน

การให้ที่มีค่าภาระตดิ พัน หมายถึง การให้ที่มีค่าภาระติดพันมากับตัวทรัพย์ที่ให้ (ผู้รับยอมให้ทรัพย์ที่
ตนรบั มามภี าระตดิ พันดว้ ย)

กฎหมายกําหนดวา่ การให้ท่ีมคี ่าภาระตดิ พัน ผู้รบั การใหต้ ้องรบั ผิดในความชํารดุ บกพร่องหรือการรอน
สิทธิเพียงเทา่ ทไ่ี มเ่ กนิ ค่าภาระติดพันดว้ ย

-ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้นั้นมีค่าภาระติดพัน และผู้รับละเลยเสียไม่ชำระค่าภาระติดพันนั้น ท่านว่าโดย
เงื่อนไขอันระบุไว้ในกรณีสิทธิเลิกสัญญาต่างตอบแทนกันนั้น ผู้ให้จะเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ให้นั้นคืนตาม
บทบัญญัติว่าด้วยคืนลาภมิควรไดน้ ัน้ กไ็ ด้ เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์นั้นไปใช้ชำระค่าภาระติดพันน้ัน แต่สิทธิ
เรยี กคนื อนั นี้ย่อมเปน็ อนั ขาดไป ถ้าบุคคลภายนอกเปน็ ผมู้ สี ทิ ธิจะเรียกให้ชำระคา่ ภาระตดิ พนั นน้ั

-ถ้าทรัพย์สินที่ให้มีราคาไม่พอกับการที่จะชำระค่าภาระติดพันไซร้ ท่านว่าผู้รับจะต้องชำระแต่เพียง
เทา่ ราคาทรัพยส์ นิ เทา่ น้นั

-ถา้ การใหน้ น้ั มีค่าภาระติดพัน ทา่ นวา่ ผ้ใู หจ้ ะต้องรับผดิ เพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิ
เช่นเดียวกันกับผ้ขู าย แต่ท่านจำกดั ไวว้ า่ ไมเ่ กนิ จำนวนค่าภาระตดิ พัน

-การใหอ้ ันจะใหเ้ ป็นผลต่อเมือ่ ผใู้ ห้ตายน้ัน ท่านให้บงั คับดว้ ยบทกฎหมายว่าดว้ ยมรดกและพนิ ยั กรรม
-การใช้สิทธิถอนคืนการให้ การกระทาํ ด้วยวธิ กี ารของการแสดงเจตนาต่อคู่สญั ญาอีกฝ่ายหนึ่ง

สรปุ ครา่ ว ๆ การใหท้ รพั ย์สินท่ีมคี ่าภาระตดิ พัน

-การใหท้ ่มี ภี าระติดพัน คอื การให้ทรพั ย์สินที่มภี าระติดมาด้วย ถือเป็นการให้ที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง
เพราะ กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้รับแล้ว อาจเป็นภาระที่มีอยู่ก่อน เช่น ผู้ให้ยกที่ดินติดจำนองให้ผู้รับ หรือสร้าง
ขึน้ มา เช่น ผู้ให้ใหเ้ งนิ ผูร้ ับ ผรู้ ับตอ้ งนำดอกเบี้ยเงนิ นน้ั ไปบริจาคปีละ ๓ ทนุ เปน็ ต้น

เช่น นางสาวเอให้ที่ดินสามไร่แก่นายบีโดยเสน่หา แต่ที่ดินไร่ที่หนึ่งอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอาศัยของ
คุณหญิงซีเป็นเวลาสามสิบปี กล่าวคือ คุณหญิงซีมีสิทธิอาศัยอยู่ในที่ดินไร่ที่หนึ่งในจำนวนสามไร่นั้นเป็นเวลา
สามสิบปี ดงั น้ี เปน็ การให้ท่ดี ินโดยมีคา่ ภาระติดพัน

ภาระติดพันต้องมีอยู่แล้วในเวลาให้ และต้องเป็นประโยชน์ที่ผูกพันอยู่กับตัวทรัพย์สินซึ่งให้เท่าน้ัน
เช่น ผู้ให้ให้ทรพั ยส์ ิน และผูร้ บั ตกลงจะเลย้ี งดผู ใู้ หไ้ ปจนกวา่ ชีวติ จะหาไม่ การเลย้ี งดไู มเ่ ปน็ คา่ ภาระตดิ พัน

หากทรพั ยท์ ี่ได้มามีภาระตดิ พนั ผ้รู ับกต็ อ้ งนำทรพั ยส์ ินน้นั เอง ออกชำระค่าภาระตดิ พันจนเสร็จสนิ้
เช่น ในกรณนี างสาวเอข้างต้น นายบตี ้องยอมใหค้ ุณหญิงซีอาศยั อยู่ในท่ดี ินไร่ทหี่ น่ึงนั้นตามระยะเวลา
ท่เี หลอื อยู่ ในกรณีเช่นนี้ นายบีคงเปน็ เจา้ ของกรรมสิทธิใ์ นที่ดินทง้ั สามไร่นน้ั อยู่ เพยี งแตน่ ายบียังไม่สามารถใช้
กรรมสิทธิเ์ หนือที่ดนิ ไร่หนึง่ ไดอ้ ย่างเต็มท่ี จนกวา่ ค่าภาระตดิ พนั จะหมดลง

-ถ้าทรพั ยท์ ่ีรับมานนั้ มรี าคาไมพ่ อชำระคา่ ภาระตดิ พัน ผู้รับต้องชำระเพียงเท่าราคาทรพั ยน์ ัน้
เอรบั ท่ดี ินมีราคา ๕ หมนื่ บาทมา แตท่ ด่ี นิ นคี้ ้างภาษี ๖ หมน่ื บาท เอตอ้ งรบั ผิดเพียง ๕ หมื่นเท่าราคา

ทรัพย์

-หากผู้รับไม่ชำระค่าติดพัน ผู้ให้อาจเรียกคืนได้ แต่เรียกคืนได้เพียง เท่าที่จะเอาไปจ่ายค่าติดพัน
เท่าน้นั

เช่น คณุ ชายกางยกบ้านสามหลัง คอื บ้านทรายดอง บ้านทรายฟอง และบ้านทรายนอง ให้แก่พจมาร
โดยเสนห่ า ทวา่ หม่อมพวงนารายณม์ ีสทิ ธิเชา่ บ้านทรายดองชว่ั ชีวิตหม่อมอยกู่ ่อนแล้ว พจมานจึงได้รับบ้านทั้ง
สามหลังมาโดยมีค่าภาระติดพัน แต่พจมารไม่ประสงค์จะให้หม่อมพวงนารายณเ์ ชา่ ต่อ จึงให้ข้าทาสบริวารขับ
ไล่หม่อมออกไป ดังนี้ คุณชายกางมีสิทธิเรียกบ้านทรายดองคืนเพ่ือนำมาให้หม่อมพวงนารายณ์เชา่ แต่ที่เหลือ
อกี สองหลัง คอื บ้านทรายฟอง และบ้านทรายนอง จะเรยี กคนื มไิ ด้

จำ ผู้รับจึงไม่จำเป็นต้องการชำระค่าภาระติดพัน เพราะมิใช่หน้าที่ และผู้ให้ก็ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้
ต้องปฏิบัติด้วย แต่ผู้ให้มีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนได้เท่าที่จะนำไปใช้ชำระค่าภาระติดพัน และการเรียกคืนนี้จะ
เป็นไปตามบทบัญญตั เิ รอ่ื งลาภมิควรได้

สรปุ คอื ผ้ใู หเ้ รียกคืนไดเ้ ฉพาะส่วนท่จี ะนำไปชำระคา่ ตดิ พนั

ภาระของผู้รบั

การชำระคา่ ภาระตดิ พนั

การชำระค่าภาระติดพันน้ี ไม่ทำให้สัญญาให้กลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไป กล่าวคือ ไม่ได้
กลายเป็นว่า ผรู้ ับมีหนา้ ทต่ี ้องทำส่ิงใดตอบแทนผ้ใู ห้ขึ้นมา เพราะผ้รู บั สามารถนำทรัพย์สินท่ีได้มาน้ันออกชำระ
ค่าภาระติดพนั อยู่แลว้ ไมไ่ ด้ต้องควกั เนอ้ื แต่ประการใด

ค่าภาระติดพนั เป็นการจำนอง

การให้อสงั หารมิ ทรัพย์ซ่งึ ติดจำนอง ซ่งึ ส่งผลสองประการ คอื
(1) ทรพั ย์สนิ อาจถูกบังคบั จำนองได้ ถ้าผู้ใหห้ รือผู้รับไม่ชำระหน้ี
(2) ถ้าผู้รบั อยากได้กรรมสทิ ธใ์ิ นเตม็ ท่ี ผูร้ บั ต้องไปปลดจำนองเอง

เช่น พี่แมวยกที่ดินมูลค่าสิบล้านบาทให้พี่ม้าโดยเสน่หา แต่เผอิญว่า ที่ดินนั้นพี่แมวจำนองไว้กับพี่มด
เพ่อื เป็นประกันการชำระหนีเ้ งนิ กแู้ ปดลา้ นบาทอยู่ก่อนแลว้ ฉะน้ัน ถา้ พ่แี มวไมช่ ำระหน้ีเงินกดู้ งั กล่าว มดก็อาจ
บงั คบั จำนองแก่ที่ดินโดยนำท่ีดนิ ออกขายทอดตลาดเอาเงนิ มาชำระหน้ีได้ หรอื ถ้าพมี่ ้าประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์
ในที่ดินน้ันเต็มที โดยไม่ต้องรีรอพี่แมวชำระหนี้อีก พี่ม้าก็อาจเข้าชำระหนี้เงินกูแ้ ทนพี่แมว เพื่อจะได้ปลดทีด่ ิน
ออกจากการจำนอง กรณีจึงเป็นการที่พี่ม้าได้รับที่ดินมาโดยมคี ่าภาระติดพัน และค่าภาระติดพันของพี่ม้า คือ
การปลดจำนอง

สัญญาซื้อขาย

คือ สัญญาท่ีบุคคล ๒ ฝ่าย คือ ผู้ขายและผู้ซื้อ ผู้ขายมีการโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้ผู้ซื้อ และผู้
ซือ้ ตอ้ งใชร้ าคาทรัพย์น้ันให้แก่ผขู้ าย

เมื่อคำเสนอตรงคำสนอง เท่ากับสัญญาเกิดแล้ว กรรมสิทธิ์ก็เกิดการโอนทันที แม้ยังไม่ส่งมอบ หรือ
ชำระไม่ครบหรือยงั ไมช่ ำระ

ยกเว้น สัญญามีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา กรรมสิทธิ์จะไม่โอน หรือซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และ
สงั หารมิ ทรพั ย์ชนิดพเิ ศษ ต้องทำเป็นหนังสอื และจดทะเบยี น จึงเกิดกรรมสิทธ์ิ

ลักษณะสำคัญของสญั ญาซ้อื ขาย

1.เป็นสัญญาที่เกิดจากบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซื้อ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ขาย สัญญาต้องมี
วัตถุประสงคช์ อบด้วยกฎหมาย คำเสนอซ้ือและขายตรงกนั บางอยา่ งตอ้ งเป็นคนไม่วกิ ลจริต ไมเ่ ปน็ ผเู้ ยาว์

2.เป็นสัญญาต่างตอบแทน หมายถึง ผู้ขายตอบแทนผู้ซื้อโดยโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพย์ ผู้ซื้อตอบแทน
ผขู้ ายโดยชำระเงิน

หากผู้ซื้อชำระเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน จะไม่ใช่สัญญาซื้อขาย แต่เป็นสัญญาแลกเปลี่ยน หรือหากไม่
ชำระราคาจะเปน็ การยมื

3.การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดาไม่มีแบบแห่งสัญญา จะสมบูรณ์เมื่อมีการตกลงซื้อ
ขายกัน ยกเว้นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดาที่มีราคาตั้งแต่ 2หมื่นบาทขึ้นไปหากมิได้ทำหนังสือลง

ลายช่ือผรู้ บั ผิด วางมดั จำ หรอื ชำระหน้ีบางส่วน อย่างใดอยา่ งหนงึ่ จะฟ้องคดีไมไ่ ด้
๔.การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ

พนักงานเจา้ หนา้ ที่ หากไมท่ ำเป็นโมฆะ
อสงั หารมิ ทรพั ย์ คอื ทรพั ย์ทเี่ คลื่อนทไี่ ม่ได้ ไดแ้ ก่

-ท่ีดิน(หากขดุ ดนิ ขึ้นมาขายเป็นสังหารมิ ทรพั ย์ เชน่ ขโมยขุดดนิ ขายเปน็ ลักทรัพย)์
-ทรัพย์ติดกับที่ดนิ ถาวร เช่น บ้าน(หากปลูกเพื่อยกขายทั้งหลงั เป็นสังหาริมทรพั ย์) ตึก ไม้ยืนต้น(อายุ
เกิน ๓ ปีขนึ้ ไป)พริกไทย พลูด่างดว้ ย
-ทรัพย์อนั เดยี วกับท่ดี นิ คือ แมน่ ำ้ ลำคลอง แร่ กรวดทราย
-สทิ ธอิ นั เก่ียวกบั ทด่ี นิ เชน่ สิทธิจำนอง สทิ ธเิ ก็บกนิ ภาระจำยอม สทิ ธอิ าศยั
สงั หาริมทรพั ย์ชนดิ พิเศษ หรอื ทรพั ย์มที ะเบยี น
-เรอื กำป่ัน ระวาง ๖ ตันขึน้ ไป และเรอื กลไฟ เรือยนต์ ระวาง ๕ ตันข้ึนไป
-แพ ที่อาศัย
-สัตวพ์ าหนะ มตี ัว๋ รปู พรรณ คอื ชา้ ง มา้ โค กระบือ

สถานที่จดทะเบียนซ้อื ขายอสังหารมิ ทรพั ย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพเิ ศษ
-ท่ีดินมโี ฉนด คอื หอท่ดี นิ สำนกั งานทดี่ นิ จังหวดั หรอื สาขา
-น.ส.๓ คอื ท่วี ่าการอำเภอ หรอื ก่ิงอำเภอ
-เรือ คือ กรมเจา้ ท่า
-แพและสตั ว์พาหนะ คอื ที่วา่ การอำเภอ หรอื กง่ิ อำเภอ
๕.“เป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญา คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายแลกกับ

เงนิ ตราอนั เปน็ ราคาทรัพย์สินนั้น เนอ่ื งจากสญั ญาที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสทิ ธ์ิย่อมโอนไปยังผู้ซ้ือทันที
ที่ได้ทำสัญญาโดยไม่มีใครต้องรู้เห็น กรรมสิทธิ์เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตน บางทีกรรมสิทธิ์อาจตกเป็นของผู้ซื้อ
เลย แม้จะไมม่ ีการชำระราคา หรอื ผ้ซู ื้ออาจมีสทิ ธิ์ครอบครองใชส้ อยทรัพย์นั้น แมก้ รรมสทิ ธย์ิ งั อยู่กบั ผู้ขายอยู่

ผมู้ สี ิทธข์ิ ายทรัพย์สนิ

-เจ้าของกรรมสทิ ธิ์ หากผขู้ ายไมม่ ีกรรมสิทธ์ิ ผูซ้ อ้ื ยอ่ มไม่มี ตามหลกั ผรู้ ับโอนไม่มสี ทิ ธดิ ีกวา่ ผู้โอน
-ผู้จดั การมรดก เชน่ ขายทรัพยช์ ำระหนเ้ี จ้ามรดก
-เจา้ พนกั งานบงั คบั คดี ขายทอดตลาด
-เจา้ พนักงานพทิ ักษท์ รพั ย์ ขายทรัพย์ผลู้ ้มละลาย
-ผู้ใช้อำนาจปกครอง มีสทิ ธขิ ายอสังหารมิ ทรัพยข์ องผเู้ ยาว์หากศาลอนุญาต
ตามมาตรา๑๕๗๔ ผู้ใช้อำนาจปกครอง ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ หากศาลไม่อนุญาตดิ ังน้ี
ถา้ ฝ่าฝืนไม่มผี ลผูกพันผ้เู ยาว์
-ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์
หรือสงั หาริมทรพั ย์ทอ่ี าจจำนองได้
-กระทำให้สุดส้นิ ลงทั้งหมดหรือบางสว่ น ซึ่งทรพั ยสทิ ธิของผ้เู ยาวอ์ นั เกย่ี วกับอสงั หารมิ ทรพั ย์
-ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือ
ทรพั ยสิทธอิ น่ื ใดในอสังหารมิ ทรพั ย์
-จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือ
สังหาริมทรพั ยท์ อี่ าจจำนองได้ หรือสิทธเิ รียกร้องท่ีจะให้ทรัพยส์ ินเช่นวา่ น้ันของผูเ้ ยาวป์ ลอดจากทรัพยสิทธิที่มี
อยู่เหนอื ทรพั ย์สนิ น้นั
-ใหเ้ ช่าอสงั หาริมทรพั ยเ์ กินสามปี
-กอ่ ข้อผูกพนั ใด ๆ ทีม่ งุ่ ให้เกิดผลตาม (1) (2) หรอื (3)
-ให้กยู้ ืมเงิน
-ใหโ้ ดยเสนห่ า เวน้ แต่จะเอาเงนิ ได้ของผเู้ ยาวใ์ หแ้ ทนผู้เยาวเ์ พื่อการกุศลสาธารณะ เพ่ือการสังคม หรือ
ตามหน้าทธ่ี รรมจรรยา พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผ้เู ยาว์
-รับการใหโ้ ดยเสนห่ าท่มี เี ง่อื นไขหรือค่าภาระติดพัน หรอื ไม่รับการให้โดยเสน่หา
-ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้
ผู้เยาวต์ อ้ งรับเปน็ ผูร้ ับชำระหน้ขี องบคุ คลอืน่ หรือแทนบุคคลอ่ืน
-นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ
(3)

-ประนีประนอมยอมความ
-มอบข้อพิพาทให้อนญุ าโตตุลาการวนิ ิจฉยั

ทรัพย์สินทซ่ี ้ือขาย

“ทรัพย์ หมายความว่า วตั ถมุ รี ูปรา่ ง”
“ทรัพยส์ ินหมายความรวมทง้ั ทรัพย์ และวตั ถุไมม่ รี ูปร่าง”ซ่ึงอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

ทรัพยส์ นิ ท่กี ฎหมายห้ามโอน

“ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ท่ีโอนแก่กันมิได้โดยชอบ
ด้วยกฎหมาย

1.ทรัพย์ท่ไี ม่สามารถถือเอาได้ เช่น ดวงอาทิตย์ , ดวงจนั ทร์
2. ทรัพยท์ โ่ี อนแก่กนั มิไดด้ ้วยชอบด้วยกฎหมาย คอื สาธารณสมบัตขิ องแผน่ ดนิ เชน่ ทดี่ นิ รกร้างว่าง
เปล่าและท่ดี นิ ซ่งึ มีผู้เวนคืน ชายตล่งิ ปอ้ มและโรงทหาร
สทิ ธิทก่ี ฎหมายห้ามโอน
ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามขายจำหน่าย หรือมีไว้ เช่น รูปภาพ หรือสั่งของอันมีลักษณะลามก อนาจาร
และอาวธุ
วัดและท่ธี รณีสงฆ์ ทรัพย์สินส่วนกษตั รยิ ์
ทรพั ยส์ นิ ทไี่ ด้มาในฐานะผรู้ บั พินัยกรรม

ประเภทของสญั ญาซือ้ ขาย

1“สัญญาซ้อื ขายเสร็จเดด็ ขาด คอื สญั ญาซื้อขายสำเรจ็ บริบูรณ์ ไม่ตอ้ งจดทะเบียนอะไรต่อแล้ว คือ
สัญญาที่เกิดขึ้นจากการตกลงกันของคู่สัญญา โดยผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อทันทีอย่าง
เด็ดขาดในขณะทำสญั ญา โดยไมค่ ำนงึ ถึงการสง่ มอบหรอื ชำระราคาวา่ จะทำกันเมอื่ ไร

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่ทำเป็นโมฆะ(เมื่อโมฆะต่างฝ่ายต่างแยกย้าย มีทรัพย์เหลือเท่าไหร่ก็คืนกันไป ตาม
หลักลาภมิควรได้)

สญั ญาซือ้ ขายสงั หาริมทรพั ย์เกิน ๒ หมน่ื บาท ต้องทำหนงั สือลงลายชอื่ ผู้รบั ผดิ หรือ มดั จำ หรอื ชำระ
หนบี้ างส่วน หากไมท่ ำอยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง จะบงั คบั คดีไม่ได้

๒สัญญาจะซื้อจะขาย หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ คู่สัญญายังจะต้องไปทำอะไร
ต่อไปในอีกภายหน้า สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ไม่จำเป็นต้องทำ
หนงั สือจดทะเบยี นเจา้ หน้าที่ แต่ตอ้ งทำหนังสือลงลายช่อื ผ้รู บั ผดิ หรือ มดั จำ หรอื ชำระหนี้บางสว่ น หากไม่ทำ
อย่างใดอยา่ งหนง่ึ จะบงั คับคดีไม่ได้

3.คำม่ันจะซื้อจะขาย หมายถงึ การทผี่ ู้จะซื้อหรือผจู้ ะขายได้ให้คำมั่นต่ออีกฝ่ายหนึ่งว่าจะทำการซื้อ
หรือขายทรัพย์สินที่ประสงค์จะทำการซื้อขาย ถ้าผู้รับคำมั่นได้สนองคำมั่นภายในเวลาที่กำหนดก็จะเกิดเป็น
สัญญาซื้อขาย โดยคำมั่นนั้น จะผูกพันผู้ให้คำมั่นแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ให้คำมั่นไม่อาจถอนคำมั่นของตน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถ้าผู้ให้คำมั่น มิได้กำหนดเวลาถอนคำมั่นไว้ ผู้ให้คำมั่นจะกำหนดเวลาใน
ภายหลังและถอนคำมัน่ ภายในเวลาท่กี ำหนดกไ็ ด้

คำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลง
ลายมือชื่อที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือ ได้วางประจำ(มัดจำ) หรือ มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว มีฉะนั้นจะ
ฟอ้ งร้องมิได้

4. “ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงนำเอาเหตุการณ์ใน
อนาคตที่ไม่แน่นอนมาใช้เป็นเครื่องมือเหนี่ยวรั้งการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินตามสัญญาซื้อขาย เช่น ตกลงว่า
กรรมสิทธิจ์ ะยังไม่โอนจนกวา่ ผูซ้ อื้ จะชำระราคาใหเ้ สรจ็ สิน้ ."

5. “สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลา หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงนำเอาระยะเวลาที่
แนน่ อนมาใชเ้ ป็นเครื่องมือเหน่ยี วรั้งการโอนกรรมสิทธ์ิ ทรัพย์สนิ ตามสัญญาซื้อขาย เช่น ตกลงว่ากรรมสิทธิ์
จะโอนไปยงั ผซู้ อ้ื ภายในวนั ที่ 19 สิงหาคม 2550 ."

แบบของสญั ญาซอ้ื ขาย

สำหรับกฎหมายลักษณะซื้อขาย แบบของการทำสัญญามีแบบเดียวคือ ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และ
สังหาริมทรพั ย์ชนิดพเิ ศษ ตอ้ งทำเป็นหนังสอื และจดทะเบียนต่อเจา้ หนา้ ที่ มิฉะน้ันเปน็ โมฆะ

หน้าท่ขี องผขู้ าย

“สำหรับหนี้หลักของผู้ขายที่มีต่อผู้ซื้อ คือ การโอนการครอบครอง หรือการส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
ให้แก่ผู้ซื้อ เหตุผลที่กฎหมายจำต้องกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ประการนี้ เพราะโดยหลักของสัญญาซื้อขาย
กรรมสทิ ธย์ิ ่อมโอนไปยังผู้ซอ้ื ทันทที ่ีไดท้ ำสัญญาโดยไมม่ ีใครต้องรูเ้ หน็

หากสง่ มอบเกิน และ ผซู้ อ้ื รับสว่ นทเ่ี กิน หรอื มีส่งิ ของปะปน ผ้ซู อ้ื มีสิทธดิ ังน้ี
-รบั เอาเฉพาะสว่ นที่ตกลงซอื้ ขาย
-รบั ทง้ั หมด แตจ่ ่ายราคาเพิ่ม
-ไมร่ บั เอาทรัพย์น้ันเลยทั้งทตี่ กลงซอ้ื ขาย เกิน ปะปน

ผู้ขายตอ้ งสง่ มอบทรัพยท์ ี่ไม่ชำรดุ เว้นแต่
-ผู้ซอ้ื รู้อยแู่ ลว้ ว่าชำรดุ
-ความชำรดุ นัน้ เหน็ อยแู่ ล้วเวลาสง่ มอบ ผซู้ อื้ รับไปโดยไมท่ กั ท้วง
-ผ้ซู ือ้ ไดท้ รัพยจ์ ากการขายทอดตลาด
-ผซู้ ื้อและผขู้ ายตกลงกันวา่ ไม่ตอ้ งรับผิดในความชำรดุ

ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์อันปลอดจากการรอนสิทธิ(การรอนสิทธิ หมายถึง การที่ผู้ซื้อถูก
บุคคลภายนอกมาก่อกวนขัดสิทธิในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เช่น เอยืมนาฬิกามาจากบี ต่อมาเอได้
นำนาฬิกานั้นไปขายให้ซี แสดงว่า เอส่งมอบทรัพย์อันเกินจากการอนสิทธิ์ให้ซี เพราะนาฬิกานี้เป็นของ
บุคคลภายนอกคือ บี ซึ่งมีสิทธิดีกว่า หากเป็นการยืมมาขาย สามารถยอมความได้ แต่ถ้าขโมยไม่สามารถยอม
ความได้เพราะมคี วามผดิ ฐานลกั ทรพั ย์ ) เวน้ แต่

-ผู้ซ้ือรอู้ ยแู่ ล้ววา่ เวลาซ้อื ขาย บคุ คลภายนอกมีสิทธ์ิดีกวา่ เช่น เอรอู้ ยูแ่ ลว้ ว่าบี ยืมนาฬิกาของ
ซีมาขายใหต้ น

-ถา้ การรอนสทิ ธเิ ป็นความผดิ ผู้ซือ้ คอื
ไม่มกี ารฟ้องคดี ผู้ขายพิสจู นไ์ ด้วา่ สิทธขิ องผ้ซู ้ือไดส้ ูญไปเพราะผ้ซู ้ือเอง
เมอื่ มีการฟ้อง ผู้ซอ้ื ไมเ่ รียกผ้ขู ายมาในคดี ผูข้ ายพสิ ูจนไ์ ด้ว่าหากเข้ามาจะชนะคดี
เม่อื มีการฟอ้ งคดี ผู้ขายมาในคดี แต่ภายหลังศาลยกคำร้อง เพราะผู้ซอ้ื ผดิ เอง
มีขอ้ ตกลงกันวา่ ผู้ขายไม่ตอ้ งรับผิดในการรอนสิทธิ แต่ข้อตกลงน้ีไม่คมุ้ ครองผ้ขู าย หากผขู้ ายผิดจริงหรือผู้ขาย
รู้วา่ มกี ารรอนสิทธแิ ตป่ กปิด

กรณที ่ผี ้ขู ายถูกศาลเรยี กเข้าคดี และไม่ยอมร่วมคดี ผูข้ ายผิด
สิทธิของผขู้ าย

-ผขู้ ายมีหน่วงสิทธิหน่วงทรัพย์ หากไม่จ่ายเงนิ
-หากผซู้ ้ือเป็นคนล้มละลาย หลังตกลงซอ้ื ขาย
-มสี ทิ ธ์ใิ หผ้ ูซ้ อื้ ชำระหนี้
-ริบคา่ มดั จำ เรียกค่าเสียหาย
-มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เรียกค่าเสียหาย การผิดสัญญาซื้อขาย แล้วมีการบอกเลิกสัญญา ผล
คือ สัญญาซือ้ ขายระงับ คืนเงนิ คืนทรัพย์สิน

หน้าที่ของผู้ซอ้ื

“เมื่อผู้ขายมีหน้าที่ที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ขายย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้ซื้อรับมอบทรัพย์และ
ชดใช้ราคาดังที่มาตรา 486 บัญญัติว่า ผู้ซื้อ จำต้องรับมอบ ทรัพย์สิน ที่ตน ได้รับซื้อ และ ใช้ราคา ตาม
สญั ญา

-ต้องรับมอบทรัพยส์ นิ เว้นแต่กรณีท่ีอาจอ้างมูลมาตรากฎหมายได้เชน่ ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินขาดตก
บกพร่อง หรอื ลำ้ จำนวน หรือระคนปนกับทรัพยส์ นิ อื่น

-ต้องชำระราคา
-ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงราคา หากชำรุด ผู้ซื้อถูกผู้รับจำนองหรือคนจะเรียกเอาทรัพย์นั้นขู่ว่าจะฟ้องคดี
ผ้ขู ายผิดนดั มอบทรัพย์สิน
-หากผู้ขายชำระหนี้ไมถ่ ูกต้อง ผซู้ อ้ื มสี ทิ ธิเ์ รียกค่าสนิ ไหม บอกเลิกสัญญา เรียกค่าเสยี หาย
-สทิ ธทิ์ ไี่ มร่ บั ทรพั ย์สิน หากส่งมอบทรัพย์ท่บี กพร่อง หรอื เกนิ มา

หลักฐานทจ่ี ะฟอ้ งร้องบังคบั คดี

“กฎหมายบังคับวา่ ต้องมหี ลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อท่ีต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือ ได้วางประจำ
(มัดจำ) หรือ มกี ารชำระหนีบ้ างส่วนแลว้ มีฉะนั้นจะฟ้องร้องมิได้ ไดแ้ ก่

1.สัญญาจะซื้อจะขายอสงั หาริมทรพั ยแ์ ละสงั หารมิ ทรัพย์ชนดิ พิเศษ
3.คำมนั่ ในการซ้ือขายอสังหารมิ ทรัพย์และสงั หารมิ ทรพั ยช์ นดิ พิเศษ
5.สญั ญาซอ้ื ขายสงั หารมิ ทรพั ยธ์ รรมดาทีม่ รี าคาต้ังแต่ 2หม่ืนบาทหรอื กว่าน้นั ขึ้นไป
สำหรบั หลักฐานในการฟอ้ งร้องบงั คบั คดแี ม้กฎหมายจะบญั ญัติไว้ 3 วิธี แตก่ ็มไิ ดห้ มายความว่าจะต้อง
ทำ 3 วธิ ี เพียงแต่ทำวิธีใดวธิ หี นึง่ ก็สามารถฟอ้ งร้องคดไี ดแ้ ลว้ ”
กรณีลงลายมอื ชอ่ื
เช่น เอทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบี ตกลงกันว่า อีก ๒ เดือนจะจ่ายเงินและโอนกรรมสิทธิ์กัน เอ
จึงเซ็นช่ือในสัญญา ต่อมา เอไปเจอที่ดินของนายซีซึ่งขายถูกกว่า เอจึงตัดสินใจซื้อของซี ไม่ซื้อของบีแล้ว บีมี
สทิ ธฟ์ิ อ้ งเอ เพราะเอผดิ สัญญาและลงลายมือชือ่ ไว้ แตเ่ อไม่มีสทิ ธิฟ์ อ้ งบี เพราะบีไม่ได้ลงชื่อ
กรณมี ัดจำ
หากไมป่ ฎบิ ัตติ ามมสี ทิ ธิย์ ึดมัดจำก็ได้
ใครฟ้องกไ็ ด้ ถา้ วางมัดจำ
จะรูว้ า่ วางมัดจำต้องสบื เอา
ชำระหนบ้ี างส่วน
ไมเ่ ฉพาะฝ่ายผ้ซู ื้อจ่ายเงนิ เท่านั้น แตผ่ ขู้ ายก็ชำระหน้ีบางสว่ นได้ เชน่ เอตกลงซอื้ บ้านยกท้ังหลังของบี
ด้วยเงิน ๓ หมื่นบาท(บ้านยกขายถือเป็นสังหาริมทรัพย์ และเกิน ๒ หมื่นแล้ว) วันนั้นเอจึงขนไม้บางส่วนของ
บา้ นกลบั ไป ถือวา่ บี มีการชำระหน้เี อบางส่วนแลว้
สรุปง่ายๆ หากไม่ทำตามแบบคือ มีหนังสือจดทะเบียน เท่ากับโมฆะ ถ้าไม่ได้ทำหนังสือลงลายมือ
ชอื่ ท่ตี ้องรบั ผิดเป็นสำคัญ หรอื ไดว้ างประจำ หรือ มีการชำระหนบ้ี างสว่ นแลว้ มิฉะนัน้ จะฟ้องรอ้ งมิได้
เรื่องของกู้ยืมก็เช่นกัน หากกู้ยืมเงินเกิน ๒๐๐๐ บาทหรือ ๒๐๐๑ บาทขึ้นไป หากถ้าไม่มีหนังสือลง
ลายมอื ช่อื ผรู้ ับผดิ เทา่ กับ ฟอ้ งกนั ไม่ได้

อายคุ วามในการฟอ้ งรอ้ ง

“1. ในกรณีทีผ่ ู้ขายสง่ มอบทรัพยน์ อ้ ยกว่าหรือมากกว่าทตี่ กลงตามสัญญา ผู้ซื้อต้องฟ้อง
ภายใน 1 ปี นบั แตว่ ันสง่ มอบทรพั ย์สนิ

2. ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง ผู้ซื้อต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ ได้พบเห็นความ
ชำรุดบกพรอ่ ง

ย้ำ หนึง่ ปีหลังพบความบกพร่อง ไม่ใชห่ น่ึงปีหลังสง่ มอบ เชน่ สง่ มอบ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ตอ่ มาพบว่า
บกพร่อง ๑๐ ธนั วาคม ๒๕๖๐ ต้องฟ้องภายใน ๑๐ ธนั วาคม ๒๕๖๑ การไปต่อวา่ ทว้ งถาม ไมใ่ ชก่ ารฟอ้ งคดี

3. ในกรณีทเี่ ปน็ การรอนสทิ ธิผซู้ ื้อ ผซู้ อื้ ต้องฟ้องภายใน ๓ เดือน ตามกรณี ดงั นี้
- ๓ เดือนหลังจาก คำพิพากษาเดิมถึงที่สุด เช่น ผู้ซื้อถูกบุคคลภายนอกฟ้องเรียกทรัพย์คืน ผู้ซื้อไม่ได้เรียก
ผู้ขายมาในคดี ตอ่ มาศาลใหผ้ ู้ซอ้ื แพ้ คดีส้นิ เมื่อใด ผ้ซู ้อื มีสิทธฟ์ิ อ้ งผู้ขายภายใน ๓ เดือน
- ๓ เดือนหลังจากวันท่ีประนีประนอมยอมความกัน เช่น ผู้ซื้อถูกบุคคลภายนอกฟ้องเรียกทรัพย์คืน ผู้ซื้อทำ
สัญญายอมความส่งทรัพย์คืน ผู้ซื้อมีสิทธิ์ฟ้องผู้ขายภายใน ๓ เดือนนับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอม
ความ
- ๓ เดือนหลังจากวันที่ยอมตามบุคคลภายนอก เช่น ผู้ซื้อถูกบุคคลภายนอกเรียกทรัพย์คนื อ้างว่ามีคนร้ายลกั
ทรัพย์มาขาย ผ้ซู ้อื จึงโอนทรพั ย์คนื ผู้ซ้ือมีสทิ ธฟิ์ อ้ งผ้ขู ายภายใน ๓ เดือนนับแต่วันท่ียอมตามบุคคลภายนอก

4. ผู้ขายซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรยี กค่าสนิ ค้าจากผูซ้ ือ้ ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันทีส่ ง่
มอบ

แต่หากลูกหนี้ซื้อสินค้าไปเพื่อกจิ การของฝา่ ยลูกหนี้เอง เจา้ หน้ีฟ้องไดภ้ ายใน 5 ปีนับแต่วันที่สามารถ
ใช้สทิ ธิเรียกรอ้ ง

การฟ้องคดเี ร่อื งผดิ สญั ญาซอ้ื ขายไม่มีกฎหมายบัญญตั อิ ายคุ วามไวโ้ ดยเฉพาะ อายคุ วาม 10 ปี

สญั ญาจะซอื้ จะขาย

หรือเรียกว่า สัญญาวางเงินมัดจำ เป็นสัญญาว่าจะซื้อขายกันในอนาคต ข้อผูกมัดระหว่างผู้ซื้อและ
ผู้ขายที่ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต่อกันแล้ว และสัญญาประเภทนี้ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันจริง ๆ แต่
จะมีการกำหนดระยะเวลาโอนกรรมสทิ ธ์ไิ ว้ในสัญญาแทน

ตัวอย่าง สัญญาจะซื้อจะขาย เช่น นายเอทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านกับนายบี โดยมีข้อตกลงว่าจะ
โอนกรรมสทิ ธ์ิภายใน ๒ เดือน

.สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลง
ลายมือชื่อที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือ ได้วางประจำ(มัดจำ) หรือ มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว มีฉะนั้นจะ
ฟ้องร้องมิได้ ต่างกับการทำสญั ญาซ้ือขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรพั ย์ชนิดพเิ ศษ ต้องมีการจดทะเบยี น
ตอ่ หน้าเจ้าหนา้ ท่ีเท่าน้นั หากไมจ่ ดทะเบียนจะถอื ว่าสญั ญาซื้อขายนน้ั เปน็ โมฆะ

ในสัญญาจะซื้อจะขายต้องลงลายชื่อของคู่สัญญาเป็นสำคัญ เพื่อเป็นหลักฐาน ในการฟ้องร้องบังคับ
คดีกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีลายมือชื่อของผู้ที่ต้องรับผิด รวมถึงมีลงลายมือชื่อพยานในการทำสัญญาอีกสองคน
ทั้งนกี้ ารลงลายมือชื่อน้ันต้องใช้มือในการเขยี นเทา่ นั้น จะใช้ตราประทบั หรือพิมพไ์ มไ่ ด้

หากมกี ารบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ผู้ซอ้ื ตอ้ งได้รับเงนิ มัดจำคืนทง้ั หมด หากผ้ขู ายเปน็ ฝา่ ยผิด ส่วน
ผู้ขายก็สามารถริบเงินมัดจำได้หากผู้ซื้อเป็นฝ่ายผิด หรือจะฟ้องร้องเพื่อบังคับซื้อขายก็ได้ ต่างกับสัญญาซื้อ
ขายที่เป็นโมฆะไปแล้ว ผู้ขายต้องคืนเงินให้ผู้ซื้อ หากไม่คืนก็ต้องฟ้องร้องในฐานฉ้อโกง แต่จะฟ้องร้องเพื่อ
บังคับให้ซอ้ื ขายไมไ่ ด้

สามารถบอกเลิกสัญญาจะซ้ือจะขายได้ เพราะยังไม่มีการโอนกรรมสทิ ธ์ิ โดยฝ่ายใดจะผิดหรอื ถูกและ
ต้องชดใช้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในสัญญา และยังใช้สัญญาจะซื้อจะขายในการฟ้องร้องกันได้หากถูกบอก
เลิกอย่างไม่ถูกต้อง ต่างกับสัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นแล้วหมายถึงการโอนกรรมสิทธิ์และสิ้นสดุ การซื้อขายต่อกัน
ทันที ไม่สามารถยกเลกิ ได้

สญั ญาจะซื้อจะขายโมฆะ

สญั ญาจะซ้อื จะขายท่ีไม่ระบกุ ำหนดเวลาโอนกรรมสิทธไ์ิ ว้ สญั ญาน้นั ย่อมไม่ได้มีเจตนาในการรอโอน
กรรมสทิ ธ์ิ และจะกลายเป็นสญั ญาจะซือ้ จะขายท่เี ป็นโมฆะในทันที

จำแนกสญั ญาจะซอื้ จะขายอสังหาริมทรพั ย์ได้ 2 แบบ ดงั น้ี

สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ต้องระบุเลขโฉนดที่ดิน (น.ส. 4 จ.) พร้อมรายละเอียดสิ่งปลูก
สรา้ ง (ถ้ามี) และมกั จะกำหนดระยะเวลาโอนกรรมสิทธ์ใิ นชว่ งส้ัน ๆ ประมาณ 1-3 เดือน

สัญญาจะซื้อจะขายคอนโด ต้องมีการระบุเลขหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช. 2) พร้อม
รายละเอียดโครงการและห้องที่จะซื้อขาย หากเป็นคอนโดที่เปิดขายล่วงหน้าหรือยังสร้างไม่เสร็จ ก็มักจะ
กำหนดระยะเวลาโอนกรรมสิทธ์ไิ วน้ านประมาณ 12-24 เดือน

การฟอ้ งร้องบงั คับคดี

การฟ้องร้องบังคับคดีกันตามสัญญาจะซื้อจะขาย กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานในการฟ้องร้อง
อย่างใดอย่างหนง่ึ คอื
หลกั ฐานเปน็ หนงั สือและลงลายมือชอ่ื ผรู้ บั ผดิ

หลกั ฐานเป็นหนังสือเช่นว่าน้กี ็คือสัญญาจะซ้ือจะขายที่คสู่ ญั ญาได้ทำต่อกนั ไว้ หรอื อาจเป็นเอกสารอ่ืน
ที่คู่สัญญาใช้ในการสื่อสารโต้ตอบกันโดยมีเนื้อความถึงการจะซื้อจะขายในอสังหาริมทรัพย์และมีการแสดง
เจตนาว่าจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันในภายภาคหน้า อาจมาในรูปแบบของจดหมายก็ได้ ขอแค่มี
เนอื้ ความว่าจะซ้อื ขายกนั จะโอนกรรมสทิ ธ์กิ ัน และมกี ารลงลายมอื ชื่อของผรู้ ับผิด กส็ ามารถใช้เป็นหลักฐานใน
การฟ้องร้องบังคับคดไี ด้
วางประจำ หรือ เงนิ มัดจำ

ผู้ซื้อได้วางเงินมัดจำไว้เพื่อเป็นประกันว่าจะซื้ออสังหาริมทรัพย์จากผู้ขายในภายหน้า ต้องวางมัดจำ
ในวันที่ทำสัญญาเท่านั้น หากวางเงินหลังจากวันที่ทำสัญญาจะไม่เรียกว่าเงินมัดจำ แต่อาจเป็นการชำระหนี้
บางส่วนได้ กฎหมายไม่บังคับว่าต้องวางมัดจำเท่าใด ตามแต่ที่คู่สัญญาจะตกลงกัน เม่ือมีการวางเงินมัดจำแก่
กันแลว้ หลกั ฐานการวางเงินก็สามารถใชเ้ ปน็ หลกั ฐานการฟอ้ งรอ้ งบังคับคดีได้
การชำระหนบ้ี างส่วน

คือ การที่ผูซ้ ื้อชำระราคาบางส่วนให้แกผ่ ู้ขาย อาจตกลงกันว่าจะชำระกันเป็นงวดๆ รวมถึงชำระราคา
ทั้งหมดก็ถือเป็นการชำระหน้ีบางส่วน หลักฐานการชำระเงินนั้นสามารถนำมาเป็นหลักฐานการฟ้องร้องบังคบั
คดไี ด้

สัญญาจะซื้อจะขายถือเป็นสัญญาที่สำคัญในการทำนิติกรรมซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ศาลฎีกา ได้
ตัดสินให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายด้วย รายละเอียดที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะ
ขายจึงสามารถบังคับใช้ได้ในการทำสัญญาซื้อขายกันในวันโอนกรรมสิทธ์ิ ดังนั้น การทำสัญญาจะซื้อจะขาย
นอกจากเป็นการทำเพื่อป้องกันอีกฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ยังมีผลผูกพันคู่สัญญาไปจนตลอดจนกว่าจะทำการซ้ือ
ขายการเสรจ็ สนิ้

สญั ญาซ้อื ขายผ่อนชำระ

สัญญาซื้อขายผ่อนชําระเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่กรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สินโอนไปเป็น ของผู้
ซ้อื แลว้ ตั้งแต่ทําสญั ญา เพียงแตค่ ูส่ ัญญาตกลงกนั ไว้เปน็ เง่อื นไขเพิ่มเติมวา่

ผู้ขายยอมผ่อนผันให้ ผู้ซื้อชําระราคาภายหลังได้เป็นงวด จะเป็นจํานวนมากน้อยอย่างไรและงวดละ
เท่ากันหรอื ไม่ก็ได้ เงนิ งวดแรกเรยี กวา่ เงนิ ดาวน์

เช่น นายเอขอซื้อรถจากนายบี ในราคาหกแสนบาท ขอชำระแบ่งเป็น ๑๒ งวด งวดละ ๕ หมื่นบาท
เป็นต้น

แบบของสัญญาซื้อขายผอ่ นชาํ ระ

สัญญาซื้อขายผ่อนชําระกฎหมายไม่ได้กําหนดรูปแบบไว้เพียงแค่อาศัยหลักเกณฑ์ของสัญญา ซื้อขาย
เสร็จเดด็ ขาดมาใช้ ดงั นนั้ ถ้าเป็นสญั ญาซื้อขายผ่อนชําระทรัพย์สนิ

ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไปก็ ไม่จําเป็นต้องทําเป็นหนังสือ แต่ถ้าเป็นการซื้อขายผ่อนชําระทรัพย์สินท่ี
เป็นอสังหารมิ ทรพั ย์ หรือ สงั หาริมทรพั ยพ์ เิ ศษ จะตอ้ งทําเปน็ หนงั สอื และจดทะเบียนต่อพนกั งานเจา้ หน้าที่
เสมอ มฉิ ะน้นั จะฟ้องรอ้ งบังคับคดีกันไม่ได้

ข้อแตกต่างระหวา่ งสญั ญาเชา่ ซอ้ื และสญั ญาซ้ือขายผอ่ นชาํ ระ

กรรมสทิ ธ์ิ
ถ้าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซ้ือยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพยส์ ินท่ีเช่าซื้อ จนกว่าจะชําระราคาครบจํานวน
งวดที่กําหนดไว้ในสัญญา แต่ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายผ่อนชําระผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินที่ซื้อไปแล้ว ตั้งแต่
ขณะทําสญั ญาตามหลักเกณฑก์ ารซ้ือขายเสร็จเดด็ ขาด
แบบของสัญญา
ถ้าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ไม่ว่าทรัพย์สินที่เช่าซื้อจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์ก็ตาม
กฎหมายกําหนดไว้ให้ทําตามแบบคือต้องทําเป็นหนังสือถ้าไม่ทําเป็นหนังสือสัญญา ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
เช่าซ้ือยอ่ มเป็นโมฆะ
แต่ถ้าสัญญาซื้อขายผ่อนชําระกฎหมายกําหนดให้ทําตามแบบเฉพาะ อสังหาริมทรัพย์และ
สังหาริมทรัพย์พิเศษเท่านั้นที่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะฟ้องร้อง
บังคับคดกี นั ไม่ได้

สญั ญาขายฝาก

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซ้ือฝากทันที แต่ ผู้ขายมี
สทิ ธิไถ่ทรพั ย์สนิ น้ันคืนไดภ้ ายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่ตอ้ งไม่เกนิ เวลาท่กี ฎหมายกำหนดไว้

โดยในสว่ นของผูท้ ีเ่ ป็นฝา่ ยรบั ซื้อฝากนัน้ ก็จะมีสิทธิทีจ่ ะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการขายฝาก
สงู สุดถงึ 15% ตอ่ ปี หรือ 1.25 % ต่อเดอื นและไดร้ บั เงนิ จากการขายฝากคืนทนั ทหี ากมกี ารไถ่ถอนเกดิ ขึ้น

ตัวอย่าง นายสีนำสวนทุเรียน ไปขายกับผู้ใหญ่ผิน โดยมีข้อตกลง ในขณะทำสัญญาว่า ผู้ใหญ่ผิน
ยินยอมให้นายสีไถ่ที่ สวนทุเรียนนั้นคืนได้ภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ซื้อขายที่สวนกัน สัญญาชนิดน้ี
เรียกว่า สัญญาขายฝาก ข้อตกลงที่ว่า " ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ " ข้อตกลงนี้จะต้องมีขึ้นในขณะที่ทำสัญญา
ซื้อขายกันเท่านั้น ถ้าทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซ้ือขายกันแล้ว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาฝากขาย แต่
เป็นเพยี งคำมน่ั ว่าจะ ขายคนื เท่านั้น

ทรพั ยส์ ินท่สี ามารถขายฝากได้

ทรัพย์สินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม เช่น ที่ดิน ที่สวน ไร่นา บ้าน รถยนต์ เรือ เกวียน
โทรทัศน์ ฯลฯ ยอ่ มสามารถ ขายฝากไดเ้ สมอ

แบบของสัญญาขายฝาก

ถ้าเป็นการขายฝากอสังหารมิ ทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องทำเป็นหนงั สือและจดทะเบยี น
ตอ่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ทำตามน้ีแลว้ ถือวา่ เป็นโมฆะ สญั ญาขายฝากนี้เสียเปล่า เปน็ อันใชไ่ ม่ได้ เท่ากับว่า
ไมไ่ ดท้ ำสัญญากันเลย

ถ้าเป็นการขายฝากสงั หารมิ ทรัพย์ชนิดธรรมดา ไม่ได้กำหนดไวว้ า่ ต้องทำเปน็ หนงั สือ และจดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ) ที่มีราคาตั้งแต่ ๕๐๐ บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้อง
รับผิดชอบเป็นสำคัญ หรือต้องมีการวางมัดจำหรือจำตอ้ งมีการชำระหนี้บางส่วน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ถ้าไม่
ทำตามน้แี ลว้ กฎหมายถอื วา่ สญั ญาขายฝากรายน้ีต้องห้ามมใิ ห้มีการฟอ้ งร้องบงั คับคดี

กำหนดเวลาในการไถท่ รพั ย์สินคนื

อสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดเวลา ในการใช้สิทธิไถ่คืน ไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน
แต่ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาในการไถเ่ อาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกวา่ ๑๐ ปี กฎหมายให้ลดเวลาลงเหลือแค่ ๑๐
ปีเทา่ นนั้

ถ้าเป็นสงั หาริมทรัพย์ชนิดพเิ ศษและชนดิ ธรรมดา ต้องกำหนดเวลาไถ่คืนไมเ่ กนิ ๓ ปีนับแต่วันที่มีการ
ซื้อขายกัน แต่ถ้าไม่ได้ กำหนดเวลาในการไถ่คืนเอาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า ๓ ปี ให้ลดเวลาลงเหลือ ๓
ปี เท่าน้นั

กฎหมายกำหนดไว้ว่า กำหนดเวลาไถ่นั้น อาจทำสัญญาขยายเวลาไถ่ถอนได้ กำหนดเวลาไถ่ถอน
ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้น เดิมกฎหมายไม่อนุญาตให้ขยายเวลา แต่กฎหมายในปัจจุบัน อนุญาตให้ขยายเวลาได้
โดยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับไถ่ ส่วนทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เชน่ ท่ดี ิน บา้ น เป็นตน้ การขยายเวลาไถต่ ้องทำเป็นหนงั สือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหนา้ ที่ อย่างไรก็ดี
ระยะเวลาทขี่ ยายไปจะตอ้ งไม่เกนิ เวลา ทอ่ี าจไถ่ทรัพยไ์ ด้ ตาม ( ๑ ) หรอื ( ๒ )

สนิ ไถ่

สินไถ่ถ้าไม่กำหนดกันไว้จะไถ่ได้ตามราคาขายฝาก แต่ถ้าสินไถ่นั้น กำหนดกันไว้ กฎหมายจำกัดการ
กำหนดสินไถ่ว่าจะต้องไม่เกนิ ราคาขายฝากรวมกับประโยชน์ตอบแทนร้อยละ ๑๕ ตอ่ ปี เช่น ทรัพย์ท่ีขายฝาก
ไว้ราคา ๑๐,๐๐๐ บาท กำหนดเวลาไถ่ ๑ ปี สินไถ่ที่จะตกลงกันต้องไม่เกิน ๑๑,๕๐๐ บาท ถ้าตกลงเกินกว่า
นน้ั ผู้ขายฝากสามารถขอไถไ่ ด้ในราคา ๑๑,๕๐๐๐ บาท

ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ยอมรับไถ่ ผู้ขายฝาก มีสิทธิวางเงินสินไถ่ต่อ
สำนกั งานวางทรพั ย์ได้ และมผี ลให้ทรัพย์ทีข่ ายฝากตกเป็นกรรมสทิ ธ์ิของผู้ขอไถท่ ันที

กรณขี ายฝากอสงั หารมิ ทรัพย์

สัญญาเช่าทรัพย์

สัญญาเช่าทรัพย์ คือ สัญญา ๒ ฝ่ายซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงนำทรัพย์ของตนให้
บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่า
เพื่อตอบแทน”

ควรจำ

-ไม่มีการโอนกรรมสทิ ธิ์ในทรพั ย์สิน กรรมสิทธอ์ิ ยูก่ บั เจา้ ของทรัพย์เสมอ เชา่ จนผู้เชา่ ตายกไ็ มม่ ีการโอน
ถา้ โอนจะเป็นเช่าซอื้

-เป็นบุคคลสิทธิไม่ใช่ทรัพยสิทธิ(บังคับกันได้ ๒ ฝ่ายคือ ผู้เช่าและผู้ให้เช่า บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิ์
ยกเวน้ กรณีอสงั หารมิ ทรพั ย์ถา้ มกี ารโอน สัญญาก็โอนไปด้วย)

-เป็นสัญญาทถ่ี อื คุณสมบตั ิของผ้เู ช่าเป็นสำคญั (เป็นใครก็ไดห้ ากผู้ให้เช่ายอมรับ) ผู้เช่าตายสญั ญาระงับ
ทันที ไม่ตกแก่ทายาท

-ผู้ใหเ้ ช่า ไม่จำเป็นตอ้ งเปน็ เจ้าของกรรมสิทธ์ิ แตต่ ้องมสี ิทธิครอบครอง เช่น เช่าช่วง
-คา่ เชา่ ไม่จำเป็นต้องเปน็ เงนิ เชน่ ตกลงชำระคา่ เช่าด้วยข้าวเปลือก เม่อื มกี ารฟ้องร้อง ต้องคิดราคา
ข้าวเปลือกในเวลาท่ีฟ้อง ไม่ใช่ราคาในอดีต ต้องตกลงกันชัดเจน ว่าจะจ่ายเดือนละเท่าไหร่ ไม่ใช่ว่ามีเท่าไหร่
ใหเ้ ทา่ นน้ั
-หากไมจ่ า่ ยคา่ เชา่ อย่ฟู รี ไมใ่ ชส่ ญั ญาเช่า
-มีกำหนดเชา่ แน่นอน หรือตลอดอายุผ้เู ช่า หรอื ผู้ใหเ้ ช่า
-เชา่ สังหารมิ ทรพั ยก์ ี่ปกี ็ได้ ร้อยปยี ังได้ แต่อสงั หารมิ ทรพั ยต์ ้องหา้ มเกิน ๓๐ ปีหรอื ตลอดอายุ หากเกิน
ให้ลดเหลือ ๓๐ ปี หากเชา่ ครบกำหนดแลว้ ผใู้ ห้เช่าไม่ทักท้วง ผูเ้ ชา่ กอ็ ยตู่ อ่ มันจะกลายเปน็ เชา่ ตลอดอายุ
-เชา่ อสังหาริมทรพั ย์เกิน ๓ ปีตอ้ งมีหนังสือและจดทะเบยี น จงึ จะฟอ้ ง และบงั คบั ได้ตามกำหนด แต่ถา้
ไมจ่ ดทะเบยี นฟอ้ งได้แค่ ๓ ปี
-เชา่ อสงั หาริมทรพั ยไ์ ม่เกนิ ๓ ปี มแี ค่หนงั สือก็พอแล้ว ไมจ่ ำเป็นตอ้ งจดทะเบียน
-สงั หาริมทรพั ยช์ นดิ พเิ ศษทำเหมอื นสังหาริมทรัพยธ์ รรมดา
-สัญญาเช่าอสังหาริมทรพั ย์ ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสอื ลงลายมอื ผู้รบั ผดิ จะฟ้องไม่ได้ แต่ผลสมบูรณ์ ถ้า
เป็นสงั หาริมทรัพยแ์ ม้จะไมท่ ำเปน็ หนงั สอื หรือจดทะเบียนก็ฟ้องได้
-สัญญาเช่าทรัพย์ทำด้วยวาจาก็สมบูรณ์ แต่แค่ฟ้องไม่ได้ เช่น ฟ้องเรียกเงินค่าเชา่ ไม่ได้ แต่ถ้าฟ้องบุก
รกุ ได้
-เป็นสัญญาไม่มีแบบ วาจาก็สมบูรณ์ เพราะไม่บังคับโมฆะ โมฆียะ แค่บอกการทำหลักฐานฟ้อง ค่า
ฤชาธรรมเนียมทำสัญญาเช่าน้นั คู่สัญญาพึงออกใช้เสมอกันทง้ั สองฝา่ ย
-เป็นสญั ญาตา่ งตอบแทน
-ทรพั ย์ของผูเ้ ยาว์ ถ้าเปน็ อสังหาเกิน ๓ ปี ผแู้ ทนโดยชอบธรรมจะนำออกมาใหผ้ ูอ้ น่ื เช่าไมไ่ ด้ หากไม่ได้
รบั อนญุ าตจากศาล ถ้าไม่เกิน ๓ ปกี เ็ อาออกใหเ้ ชา่ ได้

รายละเอียด
สาระสำคัญของสญั ญาเช่าทรพั ยส์ นิ มีอยู่ 4 ประการ คือ

1. เป็นสญั ญาที่มีบุคคล 2 ฝ่าย คอื ผู้ให้เชา่ ตกลงให้ผเู้ ชา่ ได้รบั ประโยชน์ในทรพั ย์สินโดยได้รับค่าเช่า
ตอบแทน โดยตกลงจะชำระคา่ เช่า

มีหลักของนิติกรรม เช่น ผู้เยาวเ์ ช่าทรัพย์ไม่ได้ สำคัญผิดในวัตถุ เช่น ผู้ให้เช่าบอกว่ามีแอร์จนทำใหผ้ ู้
เช่าตกลงเชา่ แต่พอมาอยจู่ ริงกลบั ไมม่ ี

2.มีวัตถุแห่งการเช่าเป็นทรัพย์สิน สัญญาเช่ามิได้มีการโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินที่เช่า แต่มี
วัตถปุ ระสงคท์ จ่ี ะใหผ้ ู้เช่าได้ครอบครองทรัพย์สินทีเ่ ชา่ เพ่ือท่ีจะได้ใช้ทรพั ยส์ ินทีเ่ ช่า ดังนั้น โดยหลักแล้วผู้ให้เช่า
จึงไม่จำเป็นตอ้ งเป็นเจ้าของทรัพย์สินทีใ่ ห้เชา่ และเมื่อผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพยส์ ินท่ีเช่าแล้ว จะ
โตเ้ ถยี งว่าผู้ให้เช่าไม่มอี ำนาจใหเ้ ช่าไม่ได้

เช่าช่วง เช่น นายเอ(ผู้เช่า)นำทรัพย์ของนายบีที่ตนเช่าอยู่ ไปให้นายซีเช่าต่อได้ หากผู้ให้เช่าอนุญาต
ตามสญั ญา ทำใหน้ ายเอ มีทงั้ ฐานะผู้เช่าและผ้ใู ห้เชา่ เกดิ สัญญา ๒ ตวั

ผู้เช่าชว่ งย่อมตอ้ งรบั ผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง ในกรณีเชน่ ว่านีห้ ากผู้เช่าช่วงจะได้ใช้ค่าเช่าให้แก่ผู้เช่า
ไปก่อน ท่านวา่ ผเู้ ชา่ ชว่ งหาอาจจะยกขน้ึ เป็นขอ้ ต่อสูผ้ ใู้ หเ้ ชา่ ไดไ้ ม่

ระวัง คือ หากตนเช่าไว้ แล้วให้คนอื่นมาอยูแ่ ทน นั้นทำไม่ได้ แต่หาคนมาอยู่ด้วยกันอาจจะทำได้หาก
ผใู้ หเ้ ชา่ อนญุ าต

๑ ) ถา้ เจา้ ของกรรมสิทธ์ทิ รัพย์ไม่ทราบวา่ มีคนเอาทรัพย์ของตนไปให้คนอืน่ เช่า แลว้ เจา้ ของทรัพย์จะ
ฟ้องเอาทรัพย์คืน ผลคือ ไม่มีสิทธิ์มาฟ้องบอกเลิกสัญญาหรือฟ้องเก็บค่าเช่า แม้เป็นเจ้าของ แต่ไม่ได้เป็น
ค่สู ัญญากไ็ มม่ ีสทิ ธ์ิ เพราะการเช่าทรัพย์เป็นบคุ คลสิทธมิ์ ีผลผกู พันเฉพาะค่สู ัญญา แตม่ ีสทิ ธ์ฟิ ้องขับไลไ่ ด้

๒ ) หรือกรณี ผู้ให้เช่าคือ นายเอ ให้นายบีเช่ารถคันหนึ่ง แล้วต่อมานายเอโอนขายรถให้
บคุ คลภายนอกคอื นายซี ผลคือ นายซีไม่มสี ิทธ์ิเรยี กใหผ้ ูเ้ ชา่ คือนายบมี อบรถใหต้ นได้

สรปุ คือ การโอนกรรมสิทธ์ิในสังหาริมทรัพย์สัญญาเช่าไม่โอนด้วย ซจี ึงไมใ่ ช่คสู่ ัญญาของบี ทำให้ฟ้อง
ไม่ได้

๓ ) หรือกรณี บีเอาบ้านออกให้เอเช่า ต่อมาบีโอนขายบ้านให้เอ็ม นายเอ็มมีสิทธิ์ฟ้องขับไลใ่ ห้เอออก
จากบ้านหรือฟอ้ งเก็บคา่ เช่าได้ เพราะสญั ญาเช่ามันติดมากับกรรมสิทธ์ิ

สรุป คอื ถา้ เป็นอสงั หาริมทรัพย์ การโอนกรรมสิทธิ์ไม่ทำให้สัญญาเชา่ ระงับ ถ้าบีโอนรถไปให้เอ็มแล้ว
แสดงวา่ เปน็ การเปลยี่ นตวั ผูใ้ หเ้ ช่าเฉยๆ คือ เอม็ เป็นผู้ให้เอเช่านั่นเอง ทำใหบ้ ุคคลภายนอกมสี ิทธิฟ้องได้เพราะ
เขาเป็นเจ้าของทรพั ย์และเปน็ คูส่ ัญญาดว้ ย

3.เป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีหนี้ต่อกัน คือ ผู้ให้เช่าได้รับค่าเช่าเป็นการตอบแทน
ฝ่ายผเู้ ช่าไดร้ ับประโยชน์จากทรัพย์สินทเ่ี ชา่ และต้องจา่ ยค่าเช่า

หากสัญญาเช่าไม่มีการจ่ายค่าเช่า ก็ไม่ใช่สัญญาเช่า แต่เป็นสัญญาอื่น เช่น สัญญายืม หรือหากเป็น
การใหอ้ ยู่ในอาคารโดยไมค่ ิดค่าเชา่ กเ็ ป็นเรื่องสิทธอิ าศัย เป็นตน้

4.การเช่านน้ั มกี ำหนดระยะเวลาจำกดั มกี ารกำหนดเวลาในการเช่าเสมอ อาจกำหนดเป็นชวั่ โมง วัน
สปั ดาห์ เดอื น หรอื ปี และการเช่าตลอดอายขุ องผเู้ ช่าหรือของผู้ใหเ้ ชา่ ก็ได้

การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่าได้ไม่เกิน 30 ปี ถ้าเกิน 30 ปี มิได้ตกเป็นโมฆะแต่ให้ลดลงมาเหลือ 30
ปี และเมื่อครบกำหนด 30 ปแี ล้วคสู่ ัญญาอาจต่อสัญญาเช่ากันต่อไปอีกก็ได้ แตก่ ำหนดระยะเวลาที่ต่อออกไป
จะตอ้ งไมเ่ กนิ 30 ปี

ส่วนสงั หาริมทรัพยไ์ มม่ ีกำหนดระยะเวลาเชา่
หากไม่มกี ำหนดระยะเวลาเช่า คสู่ ญั ญามสี ิทธิบอกเลกิ สญั ญาเม่อื ไหรก่ ็ได้

หลักเกณฑ์การทำสญั ญาเช่าทรัพย์สิน

การเชา่ สงั หารมิ ทรัพย์
กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องทำตามแบบหรือจะต้องทำตามหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใด เช่านาน

เทา่ ใดก็ได้ ดงั น้นั แม้ตกลงเชา่ กันดว้ ยวาจาก็สามารถทำไดแ้ ละมีผลผูกพันคู่สัญญา
สรุป สังหาริมทรัพยแ์ ม้จะไมท่ ำเป็นหนงั สอื หรือจดทะเบยี นก็ฟอ้ งได้

การเชา่ อสังหาริมทรัพย์
-สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือผู้รับผิด จะฟ้องไม่ได้ แต่ทำด้วยวาจาก็

สมบูรณ์ แตแ่ คฟ่ อ้ งไมไ่ ด้เท่านน้ั เอง เชน่ ฟอ้ งเรยี กเงินคา่ เชา่ ไม่ได้ แตถ่ า้ ฟ้องบุกรุกได้
(1) กรณีเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี และไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเช่า

ตลอดอายุของผู้เช่าหรือของผู้ให้เช่า ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด จะฟ้องร้อง
บงั คบั คดีไมไ่ ด้

(2) กรณีเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป หรือการเช่าที่มีกำหนด
ระยะเวลาตลอดอายุของผู้เช่าหรือของผู้ให้เช่า ถา้ มไิ ด้ทำเปน็ หนังสือและจดทะเบยี นต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี จะ
ฟ้องร้องให้บงั คบั คดไี ด้เพยี ง 3 ปี

(3) กรณีเป็นสญั ญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ท่ีไม่มีการกำหนดระยะเวลาเชา่ กันไว้ หากไมไ่ ด้ทำเป็นหนังสือ
และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กม็ ผี ลใช้บังคับได้เพยี ง 3 ปี หากไมไ่ ดก้ ำหนดเวลาเช่า ผใู้ หเ้ ชา่ มสี ิทธิบ์ อก
เลกิ สญั ญาไดท้ กุ เมือ่

ควรจำ หากถ่ายวีดิโอ ภาพถ่าย เสียง ขณะทำสัญญามาอ้าง เพราะสัญญาเช่าหาย จะบังคับคดีไม่ได้
เพราะไมใ่ ช่เอกสารหนังสอื ลงลายมอื ฝา่ ยตอ้ งรบั ผดิ โทรไปบอกก็ไมไ่ ดเ้ ช่นกันเพราะไมม่ ีการลงลายมือ

ทำสัญญาเช่า ๑๒ ปี แต่ทำสัญญา ๔ ฉบับ ฉบับละ ๓ ปี เพราะไม่อยากจดทะเบียน เท่ากับฟังไม่ข้ึน
เพราะเจตนาเล่ียงเสียภาษจี ดทะเบียน จะบังคบั ไดแ้ ค่ ๓ ปเี ทา่ เดมิ

หนังสือไม่จำกัดเวลา ว่าจะทำตอนไหนก็ได้ แต่ต้องอยู่ก่อนฟ้อง หรือขณะฟ้องก็ได้ แต่จะทำหลังฟ้อง
ไม่ได้

ข้อความในหนงั สือ ไม่จำเป็นต้องเป๊ะมาก เขียนในกระดาษทิชชู่ยังได้ จดหมายก็เป็นหนังสือหลักฐาน
ขอ้ แค่เขา้ ใจว่าเชา่ เชน่ คา่ เชา่ ระยะเวลาอาศัย และลงลายมือชื่อผู้รบั ผดิ

สญั ญาเชา่ ทำหลายฉบับก็ได้ สัญญาเช่าจะเกิดจากความตั้งใจหรอื ไมต่ ั้งใจก็ได้

สรปุ การเช่าอสงั หารมิ ทรพั ย์
-ทำดว้ ยวาจา สมบรู ณ์ แต่ฟอ้ งไม่ได้
-ทำด้วยหนงั สอื เซ็นซ่ือ สมบูรณ์ ฟอ้ งได้ หากเกนิ ๓ ปีบงั คบั ใช้เพยี ง ๓ ปี เพราะไม่ได้จดทะเบยี น
-ทำหนังสือและจดทะเบียน สมบูรณ์ ฟ้องได้ บังคับได้ตามกำหนด เช่น ๒๐ ปีก็บังคับได้เต็ม หรือตลอดอายุ
แตอ่ สงั หารมิ ทรัพย์ห้ามเกิน ๓๐ ปี

หนา้ ทข่ี องผ้ใู หเ้ ช่า

คือ ต้องส่งมอบทรัพย์สินสภาพดีที่เช่า นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้มีหน้าที่อื่น ๆ อีก เช่น ต้อง
ออกคา่ ฤชาธรรมเนยี มในการทำสญั ญาจำนวนคร่งึ หน่ึง ต้องรบั ผิดในความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สนิ ทีเ่ ช่า

-ถา้ ผใู้ ห้เชา่ ส่งมอบทรพั ยส์ ินสภาพไม่ดี ผู้เชา่ จะบอกเลกิ สญั ญาก็ได้
-การส่งมอบทรัพย์สิน ความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีชำรุดบกพร่องและรอนสิทธิก็ดี ผลแห่งข้อ
สัญญาว่าจะไม่ต้องรับผดิ ก็ดี ใหบ้ ังคบั ดว้ ยบทบัญญตั ิทง้ั หลายแห่งประมวลกฎหมายนี้วา่ ดว้ ยการซื้อขายอนุโลม
ความตามควร
-ถ้าความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่านั้น ไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้องปราศจากการใช้และ
ประโยชน์ และผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ไซร้ ผู้เช่าต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้น
ก่อน ถ้าและผู้ให้เช่าไม่จัดทำให้คืนดีภายในเวลาอันสมควร ผู้เช่าจะบอกเลิกสญั ญาเสยี ก็ได้ หากว่าความชำรดุ
บกพรอ่ งน้นั ร้ายแรงถงึ สมควรจะทำเชน่ น้ัน

หนา้ ที่ผเู้ ชา่ และความรับผิดของผู้เชา่

-ผูเ้ ชา่ ไมม่ ีสิทธใิ ช้ทรพั ย์เพอ่ื ทำอย่างอื่นจากสญั ญา หรอื นอกจากทใี่ ชก้ นั ตามประเพณีนยิ มปกติ
-ผู้เชา่ ต้องดแู ลทรัพยท์ ่เี ชา่ เสมือนทรัพย์ของตน ดแู ลรักษา ซ่อมแซมเลก็ น้อย จะใชท้ ิง้ ขว้างไมไ่ ด้
-หากผู้เชา่ ใช้ทรัพยไ์ มถ่ กู วัตถุประสงคต์ ามสญั ญาหรือที่ควรจะใช้ หรือไม่ดแู ลทรพั ย์ ผู้ให้เช่ามีสทิ ธิ์บอก
เลกิ สัญญา
-ผู้เช่าต้องยอมให้ผู้ให้เช่าหรือตัวแทนของผู้ให้เช่า ตรวจดูทรัพย์สินที่เช่า เป็นครั้งคราว ในเวลาและ
ระยะอนั สมควร
-ถ้าในระหว่างเช่า มีเหตตุ ้องซอ่ มแซมทรพั ย์สินทเี่ ช่า เปน็ การเร่งด่วน และผู้ให้เชา่ ต้องการจะซ่อมแซม
ผเู้ ชา่ จะไมย่ อมให้ทำไม่ได้ แม้วา่ ตนจะไมส่ ะดวกก็ตาม
แตถ่ ้าซอ่ มแซมนานไป จนเปน็ ทรัพยส์ ินนั้นไม่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ ผ้เู ชา่ มสี ทิ ธ์ิบอกเลกิ สญั ญา
-ถา้ ทรัพยส์ ินท่ีเชา่ ชำรุด และต้องใหผ้ ้ใู ห้เช่าซอ่ มแซมหรือป้องกันทรัพย์น้นั หรือมีบุคคลภายนอกรุกล้ำ
มาในทรัพย์สินที่เช่าหรือเรียกอ้างสิทธิเหนือทรัพย์นั้น ผู้เช่าต้องแจ้งผู้ใหเ้ ช่าโดยเร็ว เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะได้ทราบ
เหตนุ นั้ อยู่ก่อนแลว้ หากไมท่ ำตามผู้เช่าตอ้ งรบั ผิด ถ้าการนั้นเกิดจากการชกั ชา้ ของผู้เช่า
-ถา้ ไมไ่ ดร้ ับอนญุ าตจากผใู้ หเ้ ช่า ผ้เู ชา่ ดดั แปลง ต่อเตมิ ทรัพยน์ น้ั ไมไ่ ด้ หากทำไปโดยไมไ่ ด้รับอนญุ าต ผู้
เชา่ ต้องรบั ผดิ ชอบ
-ถ้าไม่มีกำหนดโดยสัญญาหรือโดยจารีตประเพณีว่าต้องชำระค่าเช่าเวลาใด ท่านให้ชำระเมื่อส้ิน
ระยะเวลาอันได้ตกลงกำหนดกันไว้ทุกคราวไป กล่าวคือว่าถ้าเช่ากันเป็นรายปีก็พงึ ชำระค่าเช่าเมื่อสิ้นปี ถ้าเชา่
กนั เปน็ รายเดือนกพ็ งึ ชำระค่าเชา่ เมอื่ สน้ิ เดือน

-ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ หากเช่ารายเดือน หรือส่งเป็นระยะเวลา
ยาวกว่ารายเดือนขึ้นไป ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าก่อนว่าให้ชำระค่าเช่าภายในเวลาใด ซึ่งพึงกำหนดอย่า
ใหน้ อ้ ยกวา่ สิบหา้ วนั

-ถา้ ไมไ่ ด้ทำหนังสือลงลายมือช่ือของคูส่ ัญญาไว้ วา่ ทรพั ย์สนิ ทีใ่ ห้เช่ามีสภาพเป็นยังไง ให้สันนิษฐานว่า
ผู้เช่าไดท้ รัพยส์ นิ ทีเ่ ช่าสภาพอันซ่อมแซมดีแลว้ เมอื่ สญั ญาเลิกหรือระงับลง ผูเ้ ช่าก็ต้องสง่ คืนทรัพย์สินในสภาพ
เชน่ นั้น เว้นแต่จะพสิ ูจน์ไดว้ า่ ทรพั ยส์ นิ นนั้ มไิ ดซ้ อ่ มแซมไว้ดใี นขณะที่สง่ มอบ

-ผ้เู ช่าตอ้ งรับผิดในความเสียหายอนั เกิดแกท่ รัพย์ หากเป็นความผิดของผเู้ ช่าเอง หรือของบุคคลซ่ึงอยู่
กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วง แต่ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้น
โดยชอบ

-คดีอนั ผ้ใู ห้เช่าจะฟ้องผู้เชา่ เกยี่ วแก่สัญญาเช่านั้น ห้ามมใิ ห้ฟ้องเม่อื พ้นกำหนดหกเดือนนบั แต่วันส่งคืน
ทรพั ยส์ ินที่เช่า

-ต้องชำระค่าเช่าและกฎหมายยังกำหนดให้มีหน้าที่อื่น ๆ อีก เช่น ต้องออกค่าฤชาธรรมเนียมในการ
ทำสัญญาจำนวนคร่งึ หน่ึง หน้าทเี่ กย่ี วกับการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่า หน้าทใ่ี นการสงวนรักษาและดูแลทรัพย์สิน
หน้าทค่ี นื ทรัพยส์ ินทีเ่ ช่า

ความระงบั แห่งสญั ญาเชา่

-เมอ่ื สิ้นกำหนดเวลาเชา่ ตามที่ตกลงไวใ้ นสัญญา
-เมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตาย เพราะสิทธิของผู้เช่าที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า เป็น
สทิ ธิเฉพาะตวั ของผเู้ ชา่ เทา่ นัน้ จะโอนกนั ไม่ได้ ฉะนน้ั เม่ือผเู้ ช่าตาย สญั ญาเช่าระงบั ลง ไมต่ กทอดไปยังทายาท
แต่ทำสญั ญาเช่าใหมไ่ ด้ หากผู้ให้เช่ายอมรับ
-การบอกเลิกสัญญากรณีที่มีข้อตกลงในสัญญาเช่าระบุให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะบอกเลิกสัญญา
เอาไว้เฉพาะ กจ็ ะมผี ลเมอื่ คสู่ ญั ญาฝา่ ยใดฝ่ายหนง่ึ บอกเลิก
-หากสญั ญาระงบั เมอ่ื ครบกำหนดเวลาเชา่ ไม่ต้องบอกก่อนล่วงหนา้
-การเช่าถือสวน ให้สันนษิ ฐานไวก้ อ่ นวา่ เช่ากันปีหนึ่ง
-การเชา่ นา ให้สันนิษฐาน ว่าเช่ากันตลอดฤดทู ำนาปีหนง่ึ
-ถ้าไม่กำหนดเวลาเช่าในความท่ีตกลงกันหรือสันนิษฐานเอาก็ไม่ได้ จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทุกระยะ
แตต่ ้องบอกแกอ่ ีกฝ่ายหนึง่ ใหร้ ู้ตัวกอ่ น แต่ไมจ่ ำตอ้ งบอกกล่าวลว่ งหน้ากว่าสองเดือน
-ถา้ ทรัพยส์ นิ ซึ่งใหเ้ ชา่ สูญหายไปทัง้ หมด ทา่ นว่าสัญญาเชา่ กย็ อ่ มระงับไปด้วย
-ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปแต่เพียงบางส่วนและมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้เช่า ผู้เช่าจะเรียก
ให้ลดค่าเชา่ ลงตามสว่ นทสี่ ญู หายก็ได้ ถ้าผู้เชา่ ใช้ทรัพยน์ ้ันตอ่ ไมไ่ ด้จะบอกเลิกสญั ญาก็ได้

-สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่า ไปให้คนอื่นสัญญาจะไม่ระงับ และ
ผูร้ ับโอนมสี ทิ ธแิ ละหน้าทีข่ องผู้โอนซึง่ มีต่อผูเ้ ช่านั้น เช่น

กรณี บีเอาบ้านออกให้เอเช่า ต่อมาบีโอนขายบ้านให้เอ็ม นายเอ็มมีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ให้เอออกจากบ้าน
หรอื ฟอ้ งเกบ็ คา่ เช่าได้ เพราะสัญญาเชา่ มนั ติดมากบั กรรมสิทธิ์

สรปุ คือ ถา้ เปน็ อสังหาริมทรัพย์ การโอนกรรมสิทธ์ิไม่ทำให้สัญญาเช่าระงบั ถ้าบีโอนรถไปให้เอ็มแล้ว
แสดงวา่ เป็นการเปลย่ี นตัวผ้ใู ห้เช่าเฉยๆ คือ เอม็ เป็นผู้ให้เอเช่าน่ันเอง ทำให้บคุ คลภายนอกมสี ทิ ธิฟ้องได้เพราะ
เขาเป็นเจา้ ของทรัพย์และเปน็ ค่สู ญั ญาด้วย

-เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าตามท่ีตกลงกันไว้ ถ้าผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าก็รู้แต่ไม่
ทกั ท้วงอะไร ถอื วา่ ทำสญั ญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา

-สัญญาเช่าที่นาระงับลง ถ้ามีข้าวในนา ผู้เช่ามีสิทธิครองนาต่อ จนกว่าจะเสร็จการเกี่ยวเก็บ แต่ต้อง
เสียค่าเช่า

สญั ญาเชา่ ซ้อื

-เป็นสัญญามีแบบ คือ จะทำด้วยวาจาไม่ได้ ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ เป็นโมฆะ(ทรัพย์ทั้งสังหาและ
อสังหาต้องทำแบบเดียวกัน) ไม่จำเป็นต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้เช่าซื้อจะเขียนสัญญาเอง หรือจะใช้
แบบพิมพ์ที่มีไว้กรอกข้อความลงไปก็ได้หรือจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ให้ทั้งฉบับก็ได้ แต่สัญญานั้นจะต้องลง
ลายมือชื่อของผู้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อทั้งสองฝ่ายหากมีลายชื่อของคู่สัญญาแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เอกสาร
นนั้ หาใชส่ ญั ญาเชา่ ซอ้ื ไม่

-รอชำระครบจึงจะไดก้ รรมสิทธ์ิ หากชำระไม่ครบ กรรมสทิ ธจ์ิ ะไม่โอน

-คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้
ทรพั ยส์ ินนัน้ ตกเป็นสิทธิแกผ่ ู้เชา่ หากใช้เงินจนครบตามท่ีตกลงไว้โดยการชำระเปน็ งวดๆจนครบ

-สัญญาเช่าซื้อไมใ่ ช่สญั ญาซ้ือขาย แต่เปน็ สญั ญาเชา่ ทรพั ย์บวกคำม่นั วา่ จะขาย
-ผู้ให้เชา่ ซ้อื ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธใ์ิ นทรัพยท์ ใ่ี ช้เช่า ต่างกับเช่าทรัพย์ทผี่ ู้ใหเ้ ช่าไม่ต้องมกี รรมสิทธ์ิ
-สัญญาเช่าซือ้ และสัญญาซื้อขายผ่อนมีลักษณะคล้ายกัน เรื่องชำระราคาเป็นงวดๆ ก็ตามแต่ที่ต่างกัน
เพราะการซ้อื ขายผ่อนสง่ กรรมสิทธิใ์ นทรัพยส์ ินเป็นของผู้ซ้ือทนั ทีขณะทำสญั ญาไมต่ ้องรอใหช้ ำระราคาครบแต่
สัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชำระแล้วให้ริบเป็นเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าของ
ทรัพย์สนิ ชอบท่จี ะกลับเขา้ ครอบครองทรัพยส์ นิ ทเ่ี ช่าได้
-กรณีการชำระค่าเช่าซื้อ คู่สัญญาอาจกำหนดว่า ในกรณีผู้เช่าซื้อส่งตัวแทนไปเรียกเก็บค่าเช่าซื้อ ให้
ถือวา่ เป็นเพยี งการให้ความสะดวกแก่ผู้ให้เช่าซื้อเท่านั้นมิใช่เปน็ การเปลีย่ นแปลงสถานทช่ี ำระคา่ เชา่ ซ้ือ
-ควรมีการวงเลบ็ จำนวนเงินเป็นตัวหนงั สอื เพ่อื ความชดั เจนไวด้ ้วย
-เพื่อความสะดวกและความชัดเจนในการชำระค่าเช่าซื้อ คู่สัญญาอาจกำหนดตารางการชำระเงินค่า
เช่าซอ้ื ในแต่ละงวดไวใ้ นสญั ญาด้วยก็ได้

สทิ ธแิ ละหนา้ ท่ขี องค่สู ัญญา :

-ผูเ้ ชา่ ซื้อมีสิทธไิ ด้รบั มอบทรัพย์สนิ ท่ีเช่าซื้อในสภาพดี แมว้ ่าผูใ้ หเ้ ชา่ ซ้ือจะทราบถงึ ความชำรุดบกพร่อง
หรอื ไม่กต็ าม

เชน่ ทำสัญญาเช่าซ้ือทีวีสเี ครอ่ื งหน่ึง เจ้าของร้านมีหน้าทีต่ ้องส่งมอบทวี ีสีในสภาพทสี่ มบรู ณ์ไม่มีส่วนท่ี
ผิดปกติแต่ประการใด ถ้าท่านพบว่าปุ่มปรับสีหลวมหรือปุ่มปรับเสียงก็ดีท่านต้องบอกให้เจ้าของร้านเปลี่ยน
ทวี ีสีเคร่ืองใหม่แก่ทา่ นเพราะในเรื่องนีเ้ ปน็ สทิ ธิของตนตามกฎหมายและเจ้าของร้านไม่มีสิทธทิ ่จี ะบังคับท่านให้
รับทวี ีสีทชี่ ำรดุ ได้

บอกเลิกสัญญา

ผู้ให้เชา่ บอกเลิกสญั ญา
-ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดกัน และการผิดนัดไม่ใช่เงินงวดสุดท้าย ผู้ให้เช่ามีสิทธิ์บอก

เลิกสัญญา เมื่อผิดสญั ญาเจ้าของทรพั ยส์ ินมีสิทธิจะริบบรรดาเงนิ ท่ีชำระมาแลว้ แต่ก่อนและยึดทรัพย์กลับคืนไป
ได้ ตอ่ เมื่อรอใหผ้ ุ้เช่าซอ้ื มาชำระราคาเม่ือถงึ กำหนดชำระราคาในงวดถดั ไปถา้ ไมม่ าผใู้ หเ้ ช่าซื้อริบเงินได้ แต่หาก
ผดิ นัดหลายงวดๆ แตไ่ มต่ ิดกัน ก็ไมม่ ีสทิ ธบ์ิ อกเลกิ ถา้ มกี ารกำหนดในสัญญาอาจทำได้วา่ งวดเดียวก็ผิด

-หากเป็นการผิดนัดงวดสุดท้าย ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกเลยไม่ได้ ต้องรอให้พ้นไปอีกงวดก่อน เพื่อ
ประโยชน์แก่ผูเ้ ชา่ ซือ้

เช่น เอตกลงเช่าซื้อรถจากบี ๑๐ งวด เอชำระมาแล้ว ๙ งวด งวดที่ ๑๐ คือวันที่ ๑ ตุลาคม แต่เอผิด
นัดงวดท่ี ๑๐ บีจะบอกเลกิ ยังไม่ได้ ตอ้ งรอให้พ้น ๑ พฤศจกิ ายนไปกอ่ น จงึ จะบอกเลิกได้

-การผิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ คือ ถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงินถือว่าผดิ
สัญญาเช่าซื้อของมีสิทธิบอกเลิกสญั ญาและผู้เชา่ ซ้ือมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อกี เนอื่ งจากกรรมสิทธ์ิ
ในทรัพยส์ ินยงั เปน็ ของผใู้ หเ้ ช่าซือ้ อยู่

-ผู้เชา่ กระทำผดิ สัญญาในข้อท่ีเป็นสว่ นสำคญั เจ้าของทรพั ย์สินจะบอกเลกิ สญั ญาก็ได้

กรณีผู้เชา่ บอกเลกิ

-ผูเ้ ชา่ ซือ้ มสี ิทธบิ อกเลกิ สญั ญาในเวลาใดก็ไดด้ ว้ ยการส่งมอบทรพั ย์สนิ กลบั คนื ใหแ้ ก่ผใู้ หเ้ ชา่ ซื้อ โดย
ตนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่
เจา้ ของ ถ้ามกี ารแสดงเจตนาว่า จะคนื ทรัพย์สนิ ในภายหลัง ไม่ใชเ่ ปน็ การเลิกสัญญาทสี่ มบูรณ์ ดังน้ันการบอก
เลกิ สญั ญาจะตอ้ งควบคไู่ ปกบั การส่งคืนในขณะเดียวกนั

คำ้ ประกนั

คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอก เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเม่ือ
ลกู หนี้ไม่ชำระหนนี้ นั้

-คำ้ ประกนั เป็นการประกันบคุ คล
-เมือ่ ลกู หน้ีไม่ชำระหนี้ ผ้คู ้ำประกนั ต้องชำระแทน หรือเจ้าหนม้ี ีสทิ ธิฟ้องผู้คำ้ ประกนั ใหช้ ำระได้

เช่น นายเอเป็นเจ้าหนี้ นายบีเป็นลูกหน้ี นายซีเปน็ ผคู้ ำ้ ประกัน เม่ือบีเบย้ี วไมช่ ำระ นายซีต้องมาชำระ
หน้แี ทน สรปุ คอื

-นายซีมผี ลผูกพนั กับเอ ไม่ได้ผกู พนั กับบี
-ทง้ั บแี ละซีมหี นา้ ที่เดยี วกนั คือ ชำระหน้เี อ
-ซี จะมีบทบาทเมื่อถงึ เวลาชำระหน้ี แลว้ บไี มช่ ำระ ซีต้องเปน็ ผูเ้ ขา้ ชำระหน้ีเอแทน
เมือ่ ซเี สยี เงินไปแลว้ ซีมีสทิ ธไ์ิ ปเรียกเงนิ คืนจากบีได้
-เรยี กบีว่า ลกู หนชี้ ั้นต้น
-เรยี กซีว่าผคู้ ้ำซ่งึ เป็นบคุ คลภายนอก

สัญญาค้ำประกัน ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน จะฟ้องร้องให้บังคับคดี
ไม่ได้ สัญญาค้ำประกันจะทำปากเปล่าไม่ได้ หนังสือไม่ต้องมีแพทเทินหรือรูปแบบอะไร แต่หนังสือต้องมี
ข้อความชัดเจนวา่ เปน็ การค้ำประกัน หากไม่ชดั จะอนุมานไม่ได้

จำ สัญญาค้ำประกันถ้าจะอ้างเป็นหลักฐานในคดแี พ่ง สัญญาค้ำประกันนั้นจะต้องติดอากรแสตมป์
จำนวนเงินให้ครบตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๑๘ระบุ เพราะถ้าหากสัญญาค้ำประกัน ซึ่งเป็นสัญญา
อุปกรณ์ เขยี นไว้แล้ว แตไ่ มไ่ ดต้ ิดอากรแสตมป์ เท่ากับว่าไม่สามารถนำไปเปน็ หลกั ฐานฟ้องในคดแี พ่งได้

-ต้องระบุหน้ีสัญญาที่ค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง ผู้ค้ำประกันจะรับผิดเฉพาะหนี้ หรือตามสัญญา
เท่าน้นั หากไม่ระบมุ ันอนมุ านไมไ่ ด้วา่ ผ้คู ำ้ อะ จะรบั ผิดเทา่ หน้ที ีเ่ ขาไดก้ ไู้ ว้ ต้องระบเุ วลาจะคำ้ ดว้ ย

-ผรู้ ับเรอื น คอื ผเู้ ปน็ ประกนั ของผูค้ ำ้ ประกันอกี ชัน้ หนง่ึ สรปุ ง่าย นายซมี าคำ้ ประกนั หนร้ี ะหว่างนาย
เอกับนายบี ก็เป็นการค้ำประกันที่สมบูรณ์แล้ว แต่ถ้ามีนายดี เป็นผู้ใจบุญ มาขอค้ำประกันให้นายซีอีกทีก็ได้
เรียกนายดวี ่า ผู้รบั เรือน ผรู้ ับเรอื นนใ้ี ชก้ ับคำ้ ประกันเทา่ นน้ั ใชก้ ับจำนองจำนำไมไ่ ด้


Click to View FlipBook Version