-1- ใบงานที่ 4 ค าถามท้ายบท บทที่ 3 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลคืออะไร มีความสำคัญต่อครูอย่างไร ตอบ ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) คือ คุณสมบัติของบุคคล ด้านต่าง ๆ ของบุคคล เช่น ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม เพศ ความสนใจ แต่ละบุคคล จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ที่ทำให้แต่ละบุคคลแตกต่างกัน 1. ความแตกต่างด้านร่างกาย บุคคลเกิดมาพร้อมด้วยองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน (ยกเว้นฝาแฝดแท้) และ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีลักษณะทางร่างกายแตกต่างกัน ทั้งในด้านโครงสร้าง และรูปทรงของอวัยวะ ที่เป็นส่วนประกอบของร่างกาย และการทำงานของอวัยวะร่างกาย ความแตกต่างของรูปร่างและ รูปทรงที่ปรากฏความแตกต่างทางด้านร่างกาย ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากพันธุกรรม แต่สิ่งแวดล้อมก็มีโอกาสเข้าไปแทรกแซงที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ในกรณีของ ฝาแฝดแท้เมื่อได้รับการเลี้ยงดูการให้อาหาร ตลอดจนความรัก ความเอาใจใส่ที่แตกต่างกัน ก็อาจทำให้เกิดความแตกต่างด้านรูปร่างและรูปทรงได้เช่นกัน แนวทางแก้ไขปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านร่างกาย - เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง - สนับสนุนให้เล่นกีฬา การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย - จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือได้ปฏิบัติจริง - ให้เล่นเกม เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย - ให้เล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ - ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัสเคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้และการเรียนผ่านการแสดงบทบาทสมมุติแสดงละคร - เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง - สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง นับถือตัวเอง (self esteem) - สนับสนุนให้ทำงานเขียน บันทึกประจำวัน หรือทำหนังสือ จุลสาร - สนับสนุนให้ทำโครงงาน การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว - ให้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ตามจังหวะการเรียนเฉพาะตน - ให้อยู่กับกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง - ยุทธศาสตร์การสอนควรเน้นที่การเปิดโอกาสให้เลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ การวางแผน ชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น การศึกษารายบุคคล (Individual Study)
-2- ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา นักจิตวิทยาครู–อาจารย์เป็นต้น 2. ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางเชาว์ปัญญา ความแตกต่างทางเชาว์ปัญญา คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่เกี่ยวกับ การคิดและความสามารถในที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในเชิงนามธรรม และรูปธรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความสามารถในการแยกแยะ สิ่งต่างๆ ได้บุคคลที่เกิดในท้องพ่อแม่เดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะฉลาดเหมือนๆ กัน แต่โดยทั่วไปความฉลาดของลูกพ่อแม่เดียวกันมักจะไม่แตกต่างกันมากนัก เพื่อให้แน่ใจว่าคู่ของตน มีพันธุกรรมเกี่ยวกับสติปัญญาหรือไม่ควรตรวจสอบก่อนสมรส และนักจิตวิทยาปัจจุบันเชื่อว่า ความความสามารถทางสติปัญญาเป็นผลพวงมาจากพันธุกรรม และสามารถเสริมได้ภายหลัง ให้บุคคลเกิดพัฒนาการที่ดีได้แต่ถ้าเกิดมาแล้วปัญญาอ่อนโอกาสที่จะแก้ไขยากมาก เชาว์ปัญญา หรือสติปัญญาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คู่สมรสควรให้ความสำคัญลำดับต้นๆ ของการมีครอบครัว แนวทางแก้ไขปัญหา - ให้มีโอกาสได้ทดลองหรือทำอะไรด้วยตนเอง - ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์งานศิลปะที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ - ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ - ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ตกแต่ง - ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ - ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯลฯ - ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์วิจารณ์ฝึกกระบวนการสร้าง ความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ 3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางอารมณ์ ความแตกต่างทางอารมณ์คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะควบคุม พฤติกรรมต่าง ๆ ขณะเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การมีอารมณ์ของมนุษย์เริ่มตั้งแต่อารมณ์กลัว อารมณ์โกรธ อารมณ์รัก พอใจ ยินดีตื่นเต้น การแสดงอารมณ์ต่างๆ ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสม แต่ในความเป็นบุคคลพบว่ามีการใช้อารมณ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นการฝึกในเรื่องการควบคุมอารมณ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบัน ในการดำเนินชีวิตของบุคคลหากใช้อารมณ์มากกว่าความรู้สึก บุคคลนั้นก็จะอยู่ในสังคมยาก เป็นมนุษย์ต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าบุคคลจะต้องเก็บความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวเอง บางครั้งการเก็บอารมณ์และ ความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวของตัวเอง อาจทำให้บุคคลเกิดอาการเครียด ปวดท้องเป็น โรคกระเพาะหรือแม้กระทั่งปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ อารมณ์เป็นได้ทั้งตัวสร้างสรรค์และ
-3- ตัวทำลาย อารมณ์ขันทำให้จิตใจเบิกบาน อารมณ์เศร้าหมอง หดหู่ ทำให้คนเกิดความตึงเครียด วิตกกังวล แนวทางแก้ไขปัญหา ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่ต้องแนะนำ ให้ผเรียนแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม สมเหตุสมผล พองามหรือรู้จักที่จะควบคุม ยับยั้งพอเหมาะพอควรไม่แสดงอารมณ์จนกลายเป็น คนเจ้าอารมณ์ หรือเก็บอารมณ์จนกลายเป็นคนเฉยเมยไปไม่มีปฏิกิริยาใดๆ โดยทั่วไปบุคคลควร จะแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมตามโอกาสอันควร 4. ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางสังคม ความแตกต่างทางด้านสังคม คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะปรับตน ให้เข้ากับบุคคลและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ และของสังคมอื่น ๆ ด้วย มนุษย์ตั้งแต่เกิดมาก็ต้องอยู่ในระบบของสังคม ตั้งแต่สังคมครอบครัว สังคมเพื่อนบ้าน โตขึ้นก็เป็น สังคมโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา บุคคลต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมทั้งสิ้น แนวทางแก้ไขปัญหา - จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม ทำงานร่วมกัน - ส่งเสริมให้อภิปราย เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน - สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น - ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่การให้ทำงานร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน การเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม การจำลองสถานการณ์บทบาทสมมุติการเรียนรู้สู่ชุมชน เป็นต้น 5. ความแตกต่างระหว่างเพศ ความแตกต่างทางเพศมีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง เพศหญิงและเพศชายมีความ แตกต่างด้านฮอร์โมน ผู้ชายมีฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่ช่วยให้เขามีลักษณะภายนอก และพฤติกรรมของผู้ชาย ผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ช่วยให้ผู้หญิงมีลักษณะเป็นหญิง ฯลฯ เด็กหญิงมีแรงจูงใจในการแสวงหา ความสำเร็จน้อยกว่าผู้ชาย เด็กหญิงมักเอาความสำเร็จไปปนกับการได้รับความรัก และการยอมรับ คือ ใฝ่หาความสำเร็จเพื่อให้ได้มาซึ่งความรัก คำวิพากษ์วิจารณ์มักมีผลต่อจิตใจของเด็กหญิง มากกว่าเด็กชาย สิ่งที่เด็กชายชอบ ได้แก่แท่งไม้ยวดยานพาหนะ และบุคคลที่อยู่ในเครื่องแบบ ส่วนสิ่งที่เด็กหญิงชอบ ได้แก่ เครื่องตกแต่ง และบุคคลที่แต่งกายเป็นระเบียบความคิดของเพศชาย หนักแน่นมากกว่าความคิดของเพศหญิง ความคิดของเพศชายมุ่งในเรื่องของตนเองมากกว่า ในขณะที่ความคิดของเพศหญิง เน้นหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพศชายแสดงอาการก้าวร้าว มากกว่าเพศหญิง เพศหญิงมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำได้ดีกว่า จึงมีความสามารถ ในการติดต่อกับบุคคลอื่นได้เหมาะสม และนุ่มนวลกว่าเพศชาย
-4- แนวทางแก้ปัญหา - ให้ผู้เรียนเข้าใจในความแตกต่างระหว่างเพศ ทั้งชายและหญิง และร่วมมือกันช่วยเหลือกัน พูดคุย กับเด็กถึงข้อดีของเพศตนเอง โดยพยายามให้เด็กเป็นฝ่ายพูดมากกว่ารับฟัง เสริมความเชื่อมั่นใน ตนเองของเด็ก - ส่งเสริมให้เล่นกิจกรรมเหมาะกับเพศตนเอง แต่ในระยะแรกเด็กอาจกลัวไม่กล้า ครูอาจเลือก กิจกรรมที่มีลักษณะกลางๆ ไม่รุนแรง เช่น ศิลปะ ดนตรีหรือกีฬาที่ไม่หนักเกินไป โดยให้คลุกคลี ในกลุ่มเพศชายด้วยกัน - ครอบครัว เชิญผู้ปกครองมาพบ โดยมีหลักการพูดคุยกับผู้ปกครองดังนี้ ไม่สรุปว่า สาเหตุหลัก เป็นผลจากการเลี้ยงดู หรือพ่อแม่ทำเพราะพ่อแม่อาจรู้สึกผิด โกรธ ต่อต้าน และเป็นความเชื่อ ที่ไม่ถูกต้องด้วย ควรเน้นที่การแก้ไขที่เป็นไปได้โดยปรับความสัมพันธ์ของพ่อแม่ให้ดีขึ้น ให้พ่อ ใกล้ชิด มีกิจกรรมร่วมกับลูก และแม่ควรปรับอารมณ์ให้เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ หรือเอาลูกมาเป็นพวก ให้พ่อแม่ใช้หลักการข้างต้นด้วย ควรให้ความหวังอย่างเป็นจริงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็ก โดยทั่วไปในเด็กวัยเรียน ดังนั้น พ่อแม่ควรเตรียมพร้อมที่จะยอมรับลูก และมองข้ามข้อดีด้านอื่น ตลอดจนพัฒนาเด็กให้รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เพราะหากเด็กยังรู้สึกหรือแสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบน ทางเพศจนเข้าถึงวัยรุ่นพ่อแม่ควรต้องปรับปรุงทัศนะที่จะแก้ไขเป็นการยอมรับในที่สุดอาจ พิจารณาพบจิตแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็ก หากพบปัญหาในครอบครัวมาก หรือครอบครัวแสดง ความจำนงและต้องการแก้ไขอย่างจริงจัง 6. ความแตกต่างด้านความถนัดและความสนใจ ได้แก่ ความแตกต่างในด้านศักยภาพ หรือสมรรถภาพที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล โดยอาศัย สติปัญญาและความสนใจเป็นพื้นฐาน ความถนัดอาจมีมาแต่กำเนิด เนื่องจากความถนัดต้อง ใช้สติปัญญาเป็นพื้นฐาน หรืออาจมีโดยอาศัยการฝึกฝน ทำให้เกิดทักษะได้ ความแตกต่างทางความสนใจ ได้แก่ ความโน้มเอียงที่บุคคลจะเลือก หรือกระทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่ตนเองชอบ เช่น บางคนสนใจกล้วยไม้บางคนสนใจการอ่านหนังสือพิมพ์และบางคน สนใจวีดีทัศน์เป็นต้น ความสนใจจะช่วยให้นผู้เรียนรู้จักตนเอง แนวทางแก้ปัญหา - ครูสังเกตความเป็นอยู่ของผู้เรียน - ครูต้องจับจุดความสนใจต่าง ๆ ที่นักเรียนแสดงออกจากคำพูด - ศึกษากิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำ หรือประพฤติปฏิบัติ - ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น ในการเรียนการสอน-จัดให้มีการนำเสนองานที่ ผู้เรียนชอบและถนัด
-5- 2. ให้นักศึกษาอธิบายแนวคิด จุดเด่น ข้อจำกัดและความแตกต่างของทฤษฎีการเรียนรู้ แต่ละกลุ่ม (พฤติกรรมนิยม มนุษยนิยม และปัญญานิยม) ตอบ สามารถสรุปความแตกต่างของแนวความคิดระหว่างพฤติกรรมนิยม มานุษยนิยม และ ปัญญานิยมได้ ดังตารางด้านล่างนี้ พฤติกรรมนิยม มนุษยนิยม ปัญญานิยม 1.มุ่งเน้นในเรื่องของ พฤติกรรมหรือการ กระทําภายนอกซึ่ง สามารถสังเกตได้ 2.มุ่งเน้นสิ่งที่เป็น รูปธรรมซึ่งสามารถจับ ต้องได้ 3.มีความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องของความรู้ของ มนุษย์ในลักษณะ ของ สิ่งที่มีอยู่แล้วและรอให้ มนุษย์ค้นพบและเรียก กลับมาใช้ใหม่ 4.เปรียบเทียบกับจิตใจ มนุษย์เป็นเสมือน โรงงานประกอบ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่ง หมายถึงความเชื่อที่ว่า สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ มนุษย์นั้นเกิดจากการ ประกอบขึ้นของมนุษย์ นั่นเอง ไม่มีความ สลับซับซ้อน ชิ้นส่วน ในการประกอบเป็น อย่างไรผลผลิตที่ได้ก็ จะเป็นเช่นนั้น 5.มุ่งเน้นผลลัพธ์ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์(Maslow, 1962) 1.1 มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น 1.2 มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers) 2.1 การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย 2.2 ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่ แล้ว 2.3 ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็น สำคัญ 3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์(Combs) โคมส์เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน 4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles) 4.1 ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.2 การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน 4.3 มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการ 4.4 มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน 4.5 มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ 5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์(Faire) เปาโล แฟร์เชื่อใน ทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอน แบบเก่า 6. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช (Illich) อิวาน อิลลิช ได้เสนอ ความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษา ตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ 7. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil) กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มี ศักดิ์ศรีมีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี 1.มุ่งเน้นถึงสิ่งที่อยู่ ภายในจิตใจมนุษย์ 2.มุ่งเน้นในสิ่งที่เป็น นามธรรมซึ่งไม่สามารถ จับต้องได้ 3.มีความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องของความรู้ใน ลักษณะของสิ่งที่มนุษย์ จําเป็นต้อง สร้างให้ เกิดขึ้นและหากต้องนํา ความรู้กลับมาใช้อีกก็ จําเป็นจะต้องมีการ สร้างขึ้นมาใหม่ 4.เปรียบเทียบจิตใจ เป็นเสมือน คอมพิวเตอร์ซี่ง หมายถึง ความเชื่อที่ว่า สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ มนุษย์นั้นเกิดจากการ ประมวลผลภายในซึ่ง มีการทํางานที่ สลับซับซ้อนและยาก แก่การทําความเข้าใจ 5.มุ่งเน้นกระบวนการ
-6- 3. อธิบายความสำคัญและประโยชน์ของการนำหลักทฤษฎีไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตอบ 1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมนิยม ทุกอย่างต้องมีสาเหตุและเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบกับมนุษย์จึงทำให้มนุษย์มรพฤติกรรมตอบสนอง มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) รูปแบบการสอนกลุ่มพฤติกรรมนิยม 1.วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา ( CIPPA MODEL) คือ วิธีการจัดการเรียนสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการ สร้างความรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้การได้เคลื่อนไหวร่างกาย และ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่ขั้นนี้เป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือ แหล่งความรู้ต่างๆ ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล / ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นนี้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล / ความรู้ที่หามาได้ผู้เรียนสร้างความหมายของ ข้อมูล / ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น กระบวนการคิดและสรุป ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือใน การตรวจสอบความรวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้ แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความ รู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ/ หรือการแสดงผลงาน ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้าง ความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ ขั้นที่7 การประยุกต์ใช้ความรู้ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความ เข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย เพิ่มความชำนาญ ความสามรถในการ แก้ปัญหา เป็นการให้โอกาสผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ขั้นที่1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้(Construction of Knowledge)
-7- ขั้นที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้(Application) จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติ ครบตามหลัก CIPPA ประโยชน์ 1. ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาขอมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้ 2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จำนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต 3. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม 2. วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) คือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงาน อย่าง มีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ขั้นกำหนดปัญหา หรือสำรวจความสนใจ 2. ขั้นกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน 3.ขั้นวางแผนและวิเคราะห์โครงงาน 4.ขั้นลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญหา 5. ขั้นประเมินผลระหว่างปฏิบัติงาน 6. ขั้นสรุป รายงานผล และเสนอผลงาน ประโยชน์ 1.เป็นการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ปฏิบัติจริง คิดเอง ทำเอง อย่างละเอียดรอบคอบ 2. ผู้เรียนรู้จักแสวงหาข้อมูล สร้างองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง 3. ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการในการทำงาน มีทักษะการเคลื่อนไหว ทางกาย 3.วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method) คือ วิธีสอนที่ใช้การแสดงบทบาท สมมติหรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. เลือกปัญหาที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก จำยากสับสน หรือกล่าวตามสภาพจริงไม่ได้มาเป็น เรื่องที่จะแสดงบทบาท 2. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ เท่าที่ลักษณะของบุคคลจะ เอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง ประโยชน์ 1. นักเรียนได้เตรียมพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
-8- 2. สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย 3. ช่วยพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม 4.การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method) คือกระบวนการที่ผู้สอนจัดการ เรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ทฤษฎี หลักเกณฑ์ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป ตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยการเสนอปัญหาเพื่อยั่วยุให้ผู้เรียน เกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ 2. ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎีหลักการ เป็นการนำเอาทฤษฎีหลักการ กฎ ข้อสรุปที่ต้องการสอน มาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎีหลักการนั้น 3. ขั้นใช้ทฤษฎีหลักการ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎีหลักการ กฎ ข้อสรุปที่ได้จากการเรียนรู้ มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้ 4. ขั้นตรวจสอบและสรุป เป็นขั้นที่ผู้เรียน จะตรวจสอบและสรุปทฤษฎีหลักการ กฎ ข้อสรุปหรือ นิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง สมเหตุสมผลหรือไม่ ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริงจึงจะเป็น ความรู้ที่ถูกต้อง 5. ขั้นฝึกปฏิบัติเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎีหลักการ กฎ ข้อสรุปพอสมควรแล้ว ผู้สอน เสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนสุขนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่หลากหลาย ประโยชน์ 1.เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่ายรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก 2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก 3.ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎีหลักการกฎข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ 5.การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction Method) คือกระบวนการที่ผู้สอนจาก รายละเอียดย่อย โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล เหตุการณ์สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่มี หลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษาสังเกต ทดลอง เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุป หลักการหรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ขั้นเตรียมการเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมหรือปูพื้นฐานความรู้ 2. ขั้นเสนอตัวอย่างเป็นขั้นที่ผู้สอนนำเสนอตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์เหตุการณ์ปรากฏการณ์ให้ ผู้เรียนได้สังเกตลักษณะและคุณสมบัติของตัวอย่างเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบสรุปเป็นหลักการ แนวคิดหรือกฎเกณฑ์
-9- 3.ขั้นเปรียบเทียบเป็นขั้นที่ผู้เรียนทำการสังเกตค้นคว้าวิเคราะห์รวบรวมเปรียบเทียบความ คล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างแยกแยะข้อแตกต่างมองเห็นความสัมพันธ์ในรายละเอียด ที่เหมือนกันต่างกัน 4.ขั้นกฎเกณฑ์เป็นการให้ผู้เรียนนำข้อสังเกตต่างๆจากตัวอย่างมาสรุปเป็นหลักการกฎเกณฑ์หรือ นิยามด้วยตัวผู้เรียนเอง 5.ขั้นนำไปใช้ในขั้นนี้ผู้สอนจะเตรียมตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์ที่การปรากฏการณ์มีความคิดใหม่ๆ ที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนใช้ในการฝึกความรู้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ใน ชีวิตประจำวันและจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประโยชน์ 1.เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้นาน 2.เป็นวิธีการที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการสังเกตคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบตามหลัก ตรรกศาสตร์และหลักวิทยาศาสตร์สรุปด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลอันจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการ เรียนรู้ซึ่งใช้ได้ดีกับทางวิชาวิทยาศาสตร์ 3.เป็นวิธีการที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้และกระบวนการซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้ 6.วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method) คือเป็นวิธีสอนที่ครู เปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิด ประสบการณ์ตรง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.ขั้นกล่าวนำ 2.ขั้นเตรียมดำเนินการ 3.ขั้นดำเนินการทดลอง 4.ขั้นเสนอผลการทดลอง 5.ขั้นอภิปรายและสรุปผล ประโยชน์ 1.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง 2.เป็นการเรียนรู้จากการกระทำเพื่อเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง 3.เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
-10- 2. กลุ่มปัญญานิยม แนวคิดกลุ่มปัญญานิยม (Cognitive) ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานคือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการ ทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล( ประสบการณ์) การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆโดยเน้นกระบวนการ ทางปัญญาหรือความคิดสร้างความรู้ความเข้าใจให้ตนเอง 1.การสอนแบบความคิดรวบยอด คือ การมีความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะร่วมของสิ่ง เร้า(เช่นวัตถุสถานการณ์เหตุการณ์)กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถทำได้โดยการหา คุณสมบัติเฉพาะที่ สำคัญของ สิ่งนั้นเพื่อเป็นเกณฑ์ในการจำแนก สิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้เช่นความคิด รวบยอดเกี่ยวกับ โต๊ะหมายถึง สิ่งเร้า กลุ่มที่มีขาและมีพื้นที่หน้าตัดสำหรับไว้ใช้งานเขียนหนังสือ วางสิ่งของเป็นต้นความคิดรวบยอดเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งที่ใช้ในการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆการ จัดการเรียนการสอนจึงต้องให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องให้ได้มิฉะนั้นแล้วผู้เรียนจะไม่ สามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างแท้จริง กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด 1.ขั้นการสังเกต 2.ขั้นจำแนกความแตกต่าง 3.ขั้นหาลักษณะร่วม 4.ขั้นระบุชื่อความคิดรวบยอด ขั้นทดสอบและนำไปใช้ขั้นตอนการสอนความคิดรวบยอดให้นักเรียนสังเกตบอกสิ่งที่เห็น ที่เราต้องการให้เกิดความคิดรวบยอดและนำมาเปรียบเทียบหาลักษณะที่แตกต่างและเหมือนกัน จัดกิจกรรมขั้นที่1 และ 2 จำนวน 3-4 ตัวอย่าง แล้วจึงดำเนินการนำตัวอย่างทั้งหมดให้นักเรียน หาลักษณะร่วมที่เหมือนกันและจริงสอนขั้นที่ 4-5 ให้ตัวอย่างแล้ว อย่าลืมตั้งคำถามให้เด็กตอบขั้น ที่สำคัญคือ คันที่1-3 ลองคิดลองทำใช้ฝึกเด็กต่อไปจะไม่มีคำถามว่าทำไมถึงคิด 2.การสอนแบบสืบสวนสอบสวน คือ การสอนวิธีแสวงความจริงเพื่อนำไปสู่การค้นพบ กฎเกณฑ์ธรรมชาติคุณลักษณะของสิ่งต่างๆการนำกฎเกณฑ์มาใช้และสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อม ได้เป็นการสอนให้คิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหาเมื่อผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายว่าต้องการอยากรู้อะไรหรือกำลัง สืบค้นหาอะไรจึงเริ่ม ด้วยการ ตั้งปัญหา ปัญหาอาจได้มาจากเหตุการณ์จากการทดลองเริ่มจากตัวผู้เรียนเอง ขั้นที่ 2 ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกัน ทำนายคำตอบโดยอาศัยเหตุผลประกอบการทํานายอย่างมีเหตุผล เรียกว่าสมมติฐาน ขั้นที่ 3 ออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานหรือการหาวิธีการเพื่อที่จะให้ได้ผลออกมาได้ซึ่ง ไม่จำเป็นว่าผลนั้น จะตรงกับสมมติฐานหรือไม่ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้จักคิด
-11- ขั้นที่4 การดำเนินการตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นที่ 3 เพื่อพิสูจน์ว่าสมมติฐานใดเป็นไปได้ ขั้นที่ 5 สรุปผลเมื่อพบว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมีข้อมูลอะไรบ้างที่จะสนับสนุนตัดสินและสรุปผล ซึ่งจะได้คำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบคือนำผลมา อภิปราย เพื่อแปลข้อมูลนำมาเป็นข้อสรุป ขั้นที่ 6 นำผลสรุปไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อจะค้นคว้าความรู้ต่อไปขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้น นำผลสรุปไปใช้ เป็นข้อมูลเพื่อจะค้นคว้าความรู้ต่อไปนี้ถือว่าเป็นขั้นการ นำความรู้ไปใช้ ผู้สอนจะเริ่มวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนซึ่งประกอบด้วยขั้นต่ำ 4 ขั้นคือ OCPC 1 O = Observation สังเกต ผู้สอนนำสิ่งของปัญหาสถานการณ์มาให้เด็กสังเกตเกิดความเข้าใจ เด็กจะถามเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับอธิบายข้อสงสัยนั้นๆ คำถามต้องเป็นแบบ “ ใช่หรือไม่ “ เพื่อ เป็นการแยกปัญหาออกเป็น 2 ฝ่าย 2. E = Explanation อธิบาย เมื่อผู้เรียนได้ข้อมูลจากการสังเกตในขั้นแรกแล้วถ้าเด็กถามว่าทำไม จึงเป็นเช่นนั้นผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำอธิบายเกิดตั้งสมมติฐานอธิบายว่าปัญหา สถานการณ์ปรากฏการณ์นั้นๆมีอะไรเป็นมูลเหตุเหตุใดจึงเกิดผลเช่นนั้น 3. P = Prediction การทำนาย เมื่อตั้งสมมติฐานแล้วจะคาดการณ์ล่วงหน้าโดยนำความรู้ที่ได้ ไปทํานายปรากฏการณ์อื่นๆ ถ้ามีเหตุเช่นเดียวกันนั้นจะเกิดผลเป็นอย่างไร 4. C = Control and Creativity นำไปใช้และสร้างสรรค์ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดว่าสิ่งที่ ผู้เรียนพบนี้จะนำไปใช้อะไรได้บ้างเพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆที่เป็น ประโยชน์ เทคนิคการสอนแบบสืบสวนสอบสวน 1.เตรียมปัญหาที่จะต้องสืบสวนสอบสวน ปัญหานั้นอาจตั้งขึ้นเองโดยผู้สอนและผู้เรียนควรเป็น ปัญหาที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้และไม่เป็นปัญหาที่ง่ายหรือยากเกินไป 2.ผู้สอนต้องเตรียมอุปกรณ์แหล่งวิชาการที่ผู้เรียนจะไปค้นคว้า เพื่อสืบสวนสอบสวน เท่าที่สามารถ จัดหนักให้ได้ 3.ผู้สอนไม่ควรตอบคำถามผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาเสียเอง แต่ผู้สอนอาจช่วยตั้งคำถามให้ชัดเจน ยิ่งขึ้นได้ 4.ผู้สอนต้องวางตัวเป็นกลางเมื่อผู้เรียนต่างมีเหตุผลมาโต้เถียง หรือขัดแย้งกันชมเชยหรือให้รางวัล เมื่อผู้เรียนตั้งคำถามได้ดีหรือมีคำตอบที่ถูกต้องมีเหตุผล 5.ติดตามดูการค้นคว้าทดลองของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดไม่ปล่อยปละละเลยเมื่อผู้เรียนค้นคว้าออก นอกแนวทางป้องคอยแนะนำให้ถูกทางเพื่อผลสรุปที่ถูกต้อง ประโยชน์ 1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดและสติปัญญาของตนเองอยากมีอิสระ 2. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นกระบวนการ3. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
-12- 3.การสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สรุปเป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้ 1.ความรู้ของบุคคลใดคือโครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหา หรืออธิบาย สถานการณ์อีกได้ 2.นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่างๆกันโดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญา ที่มีอยู่เดิมความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น 3.ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทาง ปัญญาของนักเรียนเอง การออกแบบการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึม 1.การสร้างการเรียนรู้(Learning Constructed) 2. การแปลความหมายของแต่ละคน (Interpretation personal) 3.การเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำ (Learning active) 4.การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ (Learning Collaborative) 5.การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Learning Situated) 6.การทดสอบเชิงการบูรณาการ (Testing Integrated) 4.การสอนโดยการใช้สมองเป็นฐาน ( Brain Based Learning) คือ การเรียนรู้ที่สอดคล้อง วิถีการเรียนรู้หรือการทำงาน ของสมองทางธรรมชาติเช่นในเรื่องการเรียนการสอนจะเป็นการสอน ให้สอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองแทนที่จะสอดคล้องกับอายุ ชั้นเรียนหรือห้องเรียนเพียง อย่างเดียว เพราะเด็กที่อายุเท่ากันอาจมีสมองไม่เหมือนกันก็ได้หรือมีความสามารถแตกต่างกัน หรือความสนใจแตกต่างกันด้วย การใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวข้องกับสมอง เป็นเครื่องมือในการ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการ เรียนรู้ของมนุษย์ หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบ Brain-Based learning 1.สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ 2.สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มรวมกัน 3.เชื่อมโยงสถานที่เรียนในร่มกับนอกห้อง 4.จัดหาสถานที่หลากหลาย 5.ยืดหยุ่นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและกระตุ้นการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับสมองที่แตกต่างกัน ของแต่ละคนและภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป 6.ความปลอดภัยลดความเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะในชุมชนเมือง
-13- 5.การสอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงาน กลุ่มเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและมีความสำคัญต่อผู้เรียนการเรียนรู้ แบบนี้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถ เรียนรู้โดยการชี้นำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดโดย การแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่1 กำหนดปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆ ขั้นที่2 ทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นที่4 สังเคราะห์ความรู้ ขั้นที่5 สรุปและ ประเมินค่าของคำตอบ ขั้นที่6 นำเสนอและประเมินผลงาน ประโยชน์ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถ เรียนรู้โดยการชี้นำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิด และการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน 3. กลุ่มมนุษยนิยม แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) มีแนวคิดพื้นฐาน คือ เน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจให้เสรีภาพในการคิดเน้นความแตกต่างระหว่าง บุคคล เน้นให้บุคคลมองบวกในตนและผู้อื่น ยอมรับตนเองและผู้อื่นนำส่วนดีในตนเองมาใช้ ประโยชน์ให้เต็มศักยภาพ 1.วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method) คือ เป็นการสอนโดยที่นักเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ขั้นตอนของวิธีสอนแบบอภิปราย 1.ขั้นนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปรายเป็นขั้นการกระตุ้นหรือเร้าความสนใจของนักเรียนให้มีความสนใจ ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น 2.ขั้นอภิปราย ให้แบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายผู้อภิปรายซึ่งอยู่หน้าชั้นเรียนกับฝ่ายผู้ฟัง ประโยชน์ 1.ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2. พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล 3.ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพื่อนำมาใช้ในการอภิปราย
-14- 2.วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) คือ เป็นวิธีสอนที่ครู มอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติ กิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตาม วิถีแห่งประชาธิปไตย ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน 1.ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่ กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด 2.ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ได้แก่รายละเอียดของหนังสือที่ใช้ ในการศึกษาค้นคว้า 3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย 4.ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงานในกรณีที่ครูให้สังเกตพฤติกรรมขอองนักเรียนในการ ปฏิบัติงานในกรณีนักเรียนร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการ ปฏิบัติงานผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป ประโยชน์ 1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ 2.นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตน 3.วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method) คือ เป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชา หลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่ เรียกว่า "หน่วย" ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย 1. ขั้นนำเข้าสู่หน่วย 2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม 3. ขั้นลงมือทำงาน ประโยชน์ 1.เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน เพราะการสอนแบบนี้มีกิจกรรม หลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ 2.นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกับครู 3.นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
-15- 4.วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์( Scientific Method ) คือเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ 1. ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหา 2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา 3.ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล 4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผลเป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไข้แล้ว 5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้ ประโยชน์ 1.นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม 2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย 3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ 5.การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) คือเป็นกระบวนการ เรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่นๆได้ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์สังเคราะห์และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิด ความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน 2. ขั้นเรียนรู้ประกอบด้วย 2.1 ผู้สอนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยในตอนแรก เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป 2.2 ผู้สอนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ในข้อ 2 ไปใช้เพื่อ เรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม โต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อ เป็นแนวทางในการค้นพบ 2.3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่ ขั้นนำไปใช้ประโยชน์ 1. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล 2. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 3. ผู้เรียนมีความมั่นใจ เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
-16- 6.วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method) คือ เป็นการสอนที่ครูอย่างน้อย 2 คน ร่วมมือกันเตรียมการสอนอย่างใกล้ชิดและสอนนักเรียนร่วมกันในห้องเดียวกันหรือ กลุ่มเดียวกัน ลัษณะของการสอนเป็นทีดี 1.ในห้องเรียนมีครูสอนมากกว่าหนึ่งคนรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนเริ่มตั้งแต่ กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา วิธีสอน สื่อการสอน ลงมือสอน ประเมินผล 2. ใช้วิธีสอนหลายรูปแบบ ได้แก่ การบรรยาย การค้นคว้าด้วยตนเอง การอภิปราย การแก้ปัญหา การสาธิต เป็นต้น 3. มีรูปแบบของการสอนเป็นทีม ได้แก่แบบมีผู้นำคณะ แบบไม่มีผู้นำคณะ และแบบครูผู้เรียน