The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อลิษา แดงหมัด, 2022-09-16 03:10:30

กฎหมายอาญา 2

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

นำเสนอ กฎหมาย
อาญา 2
อาจารย์ วีณา สุวรรณโณ
ความผิดต่อตำแหน่ง


หน้าที่ราชการ







จัดทำโดย
นางสาวอลิษา แดงหมัด



คำนำ

หนังสือ ebook เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็ นส่วนหนึ่ งของวิชาอาญาภาคความผิด
เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องของกฎหมายอาญาภาคความผิดเกี่ยว ความผิด
ต่อตำแหน่ งหน้าที่ราชการ โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ อาทิเช่น หนังสือ

ตำราของอาจารย์ ดร. คณพล จันทร์หอมและรวมไปถึงแหล่งความรู้ทางเว็บไซต์
โดยหนังสือเล่นนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักกฎหมายในมาตรา 136-146 หลักเกณฑ์
และองค์ประกอบความผิดของแต่ละมาตรานั้นๆ และยังรวมไปถึงตัวอย่างและคำ

พิ พากษาต่ างๆ
จุดประสงค์ของผู้จัดทำ หวังเป็ นอย่างยิ่งว่าการจัดทำเอกสารฉบับนี้จะมี

ประโยชน์ต่อผู้สนใจหรือผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคความผิด ไม่
มากก็น้อย หากเกิดความผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้

สารบัญ ข

คำนำ ก
สารบัญ ข
ความผิ ดต่ อตำแหน่ งหน้าที่ ราชการ
ฐานความิ ดที่ กระทำโดยแสวงหาประโยชน์หรื อโดยทุ จริ ต 2
มาตรา 148 3
มาตรา 149 5
มาตรา 150 7

ความผิดเกี่ยวกับการ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา ทรัพย์ 8
มาตรา 147
มาตรา 151 10
มาตรา 152 11

ความผิดเกี่ยวกับการเงิน บัญชีและภาษีอากร 12
มาตรา 153 13
มาตรา 154 14
มาตรา 155 16
มาตรา 156 17

ฐานความผิดซึ่งเป็ นบททั่วไป 19
มาตรา157
20
ฐานความผิดที่เจ้าพนักงานกระทำโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่
มาตรา 158 21
มาตรา 159 22
มาตรา 160
มาตรา 161 23
มาตรา 162 24
มาตรา 163 25
มาตรา 164
มาตรา 165
มาตรา 166

1

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

ราชการ

ความผิดต่อตำแหน่ งหน้าที่ราชการเป็ นความผิดที่ควบคุมมิให้เจ้าพนักงาน
กระทำมิชอบ ด้วยหน้าที่ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็ น 3 ลักษณะ ได้แก่

(1) ฐานความผิดที่กระทำโดยแสวงหาประโยชน์หรือโดทุจริต ตั้งแต่มาตรา
147 จนถึงมาตรา 156 เป็ นความผิดร้ายแรงเพราะเจ้าพนักงานนั้นแสวงหา
ประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบ ด้วยกฎหมายแก่ตนเองหรือผู้อื่น เป็ นการสร้างความ
เสี ยหายอย่ างใหญ่ หลวงแก่ รัฐและประชาชนระวางโทษจึงสู งกว่ าฐานความผิ ดใน
กลุ่มอื่นๆ ในหมวดความผิดต่อตำาแหน่ งหน้าที่ราชการ

(2) ฐานความผิดที่เป็ นบททั่วไปของความผิดต่อตำแหน่ งหน้าที่ราชการ ได้แก่
มาตรา 157 ซึ่งมีทั้งการกระทําที่เป็ นการแสวงหาประโยชน์หรือโดยทุจริต และที่
เป็ นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ

(3) ฐานความผิดที่กระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่ ตั้งแต่มาตรา 158 จนถึงมาตรา
166 เป็ นฐานความผิดที่ไม่คำนึงถึงว่าผู้กระทำแสวงหาประโยชน์หรือโดยทุจริต
หรือไม่ แต่เจ้าพนักงาน กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่หรือใช้อำนาจใน
ทางhที่ผิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียหาย ต่อรัฐและประชาชนได้

ความผิ ดต่ อตำแหน่ งหน้าที่ ราชการ

การกระทำโดยแสวงหา บททั่ วไป การกระทำมิ ชอบ
ประโยชน์หรื อโดยทุ จริ ต (มาตรา 157) ด้วยหน้าที่

(มาตรา 147-156) (มาตรา 147-156)

2

1 . ฐานความผิดที่กระทำโดยแสวงหาประโยชน์
หรือโดยทุจริต

ฐานความผิดนี้ประกอบด้วยความผิดฐานต่างๆ 10 ฐาน แต่สามารถจำแนก
ออกเป็ นกลุ่มความผิดได้ดังนี้

(1) ความผิดเกี่ยวกับการรับผลประโยชน์ ได้แก่ ความผิดฐานเจ้าพนักงาน
ข่มขืนใจหรือ จูงใจผู้อื่น (มาตรา 148) ความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกหรือรับสินบน
(มาตรา 149) และความผิด ฐานเจ้าพนักงานเรียกหรือรับประโยชน์ก่อนรับ
ตำแหน่ ง (มาตรา 150)

(2) ความผิดเกี่ยวกับการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ได้แก่ ความผิดฐาน
เจ้าพนักงาน ยักยอกทรัพย์ (มาตรา 147) ความผิดฐานเจ้าพนักงานหาประโยชน์
จากตำแหน่ งหน้าที่ (มาตรา 151) และความผิดฐานเจ้าพนักงานเข้ามีส่วนได้เสียใน
กิจการที่จัดการหรือดูแล (มาตรา 152)

(3) ความผิดเกี่ยวกับการเงิน บัญชีและภาษีอากร ได้แก่ ความผิดฐานเจ้า
พนักงาน จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายตามหน้าที่ (มาตรา 153) ความผิดฐานเจ้า
พนักงานเรียกเก็บหรือละเว้น เรียกเก็บภาษี ค่าธรรมเนี ยมหรือเงินใดโดยทุจริต
(มาตรา 154) ความผิดฐานเจ้าพนักงานกำหนด ราคาทรัพย์สินเพื่อเรียกเก็บภาษี
โดยทุจริต (มาตรา 155) และความผิดฐานเจ้าพนักงานทำบัญชีเท็จ เกี่ยวกับการ
เสียภาษี (มาตรา 156)

1.1 ความผิดเกี่ยวกับการรับผลประโยชน์

เจ้าพนักงานที่ รับผลประโยชน์อันมิ ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจะมี ความ
ผิดตามประมวล กฎหมายอาญา ประกอบด้วย 3 ฐานความผิด ได้แก่

(1) ความผิดฐานเจ้าพนักงานข่มขืนใจหรือจูงใจผู้อื่น ตามมาตรา 148 ซึ่ง
เป็ นกรณี ที่ เจ้าพนักงานได้ทรัพย์มาจากข่มขู่หรือโน้มน้าวใจผู้อื่นให้ยอมให้
ทรัพย์สิน

(2) ความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกหรือรับสินบน ตามมาตรา 149 ซึ่งเป็ น
กรณี ที่ เจ้าพนักงานเรียกรับผลประโยชน์เป็ นการตอบแทนในการกระทำมิชอบ
ด้วยหน้าที่

(3) ความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกหรือรับประโยชน์ก่อนรับตำแหน่ ง ตาม
มาตรา 150 ซึ่งเป็ นกรณี รับผลประโยชน์แม้ในเวลาที่ตนเองยังไม่ได้รับตำแหน่ งนั้น

1.1.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานข่มขืนใจหรือจูงใจผู้อื่น 3
(มาตรา 148)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 148 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่ งโดยมิชอบ
ข่มขืนใจหรือ จูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์
อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุก
ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน
(2) ใช้อำนาจในตำแหน่ งโดยมิชอบ
(3) ข่มขืนใจ หรือจูงใจ

ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ – เพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่ง

ทรัพย์สิ นหรื อประโยชน์อื่ นใดแก่ ตนเองหรื อผู้อื่ น

ค. คำอธิบาย
ค.1 เป็ นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
ความผิดฐานนี้ ผู้กระทำต้องเป็ นเจ้าพนักงานที่ใช้อำนาจใน

ตำแหน่ ง แต่ได้ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบ สามารถแยกพิจารณาเป็ น 2 ข้อ ได้แก่
(1) เป็ นเจ้าพนักงานใช้อำนาจ ในตำแหน่ งหรือไม่ และ(2) การใช้อำนาจนั้นเป็ นไป
โดยมิ ชอบหรื อไม่

(1) ‘’ใช้อำนาจในตำแหน่ง” หมายถึง ใช้อำนาจที่มีอยู่โดยปกติตาม
ตำแหน่ งของเจ้าพนักงานประเภทนั้น เช่น ตำรวจใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ งจับ
คนร้าย เป็ นต้น

การใช้อำนาจนอกตำแหน่งไม่เป็ นความผิดฐานนี้ เช่น เจ้า
พนักงาน พัฒนาชุมชนมีหน้าที่พัฒนาชุมชนหลอกลวงเอาเงินประชาชน เจ้า
พนักงานที่ดินมีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดทะเบียนสิทธิและนิ ติกรรมไปรับติดต่อ
ทนายความเพื่อดำเนิ นการร้องขอจัดการมรดก ผู้ใหญ่บ้านตำบลหนึ่ งไปจับผู้ร้าย
อีกตำบลหนึ่ ง

แม้จะเป็ นเจ้าพนักงานแต่ไม่มีหน้าที่ ก็ไม่อาจมีความผิดตามมาตรา
148 ได้ จะเป็ นได้แต่เพียงผู้สนับสนุ นเท่านั้น เช่น ตำรวจผู้มีหน้าที่กับตำรวจผู้คุม
เรือนจำร่วมกัน ข่มขืนใจเพื่อให้ผู้อื่นมอบเงินให้ แม้ผู้คุมเรือนจำจะเป็ นตำรวจ แต่
ไม่มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดทั่วไป ดังนั้น ผู้คุมเรือนจำจึงมีความผิดเพียงฐานผู้
สนับสนุ น

4

(2) “โดยมิชอบ” หมายถึง โดยใช้ตำแหน่ งหน้าที่ไปในทางที่ไม่
ถูกต้อง หรือไม่สมควร ที่พบบ่อยก็คือกรณี จับกุมหรือข่มขู่ว่าจะจับกุมผู้ที่มิได้
กระทำความผิด หรือที่เรียกว่า แกล้งจับหรือแกล้งบอกว่าจะจับ

ตัวอย่าง เมื่อผลการตรวจค้นตัว ว. ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย
จึงไม่มี เหตุอันควรสงสัยว่า ว. ได้กระทำความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบ
ครองต่อไปอีก จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็ นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจจับกุม ว. สมควรที่
จำเลยที่ 1 จะต้องปล่อยตัว ว. ไป การที่ จำเลยที่ 1 ยังจับกุม ว. จากศาลาท่าน้ำนำ
ตัวไปไว้ที่สะพานข้ามคลองแสนแสบ จึงเป็ นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ค.2 ข่มขืนใจหรือจูงใจ
การใช้อำนาจในตำแหน่ งโดยมิชอบตามมาตรานี้กระทำได้ 2
ประการ

(1) “ข่มขืนใจ” (Compel) หมายถึง บังคับจิตใจ
(2) “จูงใจ” (Induce) หมายถึง ชักนำหรือเกลี้ยกล่อมให้ทำ
ตาม เช่น ตำรวจบอกแก่เจ้าของไนท์คลับว่าถ้าให้เงินก็จะไม่มายืนตรวจหน้าร้าน
ตลอดเวลาที่เปิ ดทำการ ซึ่ง การยืนตรวจหน้าร้านตลอดเวลาอาจทำให้ลูกค้ากลัว
ไม่ กล้าเข้าร้าน

ค.3 เจตนาพิเศษ - เพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่ง
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น

การกระทำความผิดตามมาตรานี้ต้องมีเจตนาพิเศษ คือ “เพื่อให้
บุคคลใด มอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น

คำว่า “ทรัพย์สิน” เป็ นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์
มาตรา “ประโยชน์อื่นใด” หมายรวมทั้งประโยชน์ในลักษณะที่เป็ นทรัพย์สินหรือไม่
เป็ นทรัพย์สิน เช่น ให้เข้าโรงเรียนได้โดยไม่ต้องสอบเข้า บุคคลผู้ถูกข่มขืนใจหรือถูก
จูงใจนั้นอาจ “มอบให้” เพราะ มีทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นอยู่แล้ว หรือ “หามาให้”
ภายหลังในกรณี ที่ยังไม่มีทรัพย์สินหรือ ประโยชน์นั้นอยู่

ก. บทบัญญัติ 5

มาตรา 149 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิ ติบัญญัติแห่ งรัฐ

สมาชิกสภา จังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน

หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับ ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่

กระทำการอย่างใดในตำแหน่ ง ไม่ว่าการนั้นจะ ชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่หนึ่ งแสน

บาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต

ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิ ติบัญญัติแห่ งรัฐ

สมาชิ กสภาจังหวัดหรื อสมาชิ กสภาเทศบาล

(2) เรียก รับ หรือยอมจะรับ

(3) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

(4) โดยมิชอบ

(5) ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่

ข.2 องค์ประกอบภายใน

(1) เจตนาธรรมดา

(2) เจตนาพิเศษ – เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด

ในตำแหน่ ง

1.1.2 ความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกหรือรับ
สินบน (มาตรา 149)

ค. คำอธิบาย

ค.1 เป็ นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิก

สภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล
มาตรานี้นอกจากกำาหนดความผิ ดแก่ เจ้าพนักงานแล้วยังขยาย

ความไปถึงสมาชิก สภานิ ติบัญญัติแห่ งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดและสมาชิกสภา
เทศบาลด้วย เพราะเป็ นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ สาธารณะเช่นเดียวกับเจ้าพนักงาน เช่น

เจ้าพนักงานรับเงินจาก ป. ช่วยเหลือ ป. ให้ไม่ต้องถูกย้าย ตำแหน่ ง” หรือสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรรับเงินจากอีกฝ่ ายหนึ่ งเพื่อช่วยลงคะแนนให้อีกฝ่ ายหนึ่ งนั้น

เจ้าพนักงานและสมาชิ กสภาดังกล่ าวจะต้องมี อำนาจกระทำ
การตามหน้าที่ นั้นด้วยจึงจะมีความผิด ถ้าไม่ใช่เจ้าพนักงาน หรือเป็ นเจ้าพนักงาน
ซึ่งไม่มีหน้าที่ในการนั้น ก็ไม่อาจ เป็ นตัวการในความผิดตามมาตรา 149 ได้ แต่อาจ

มีความผิดฐานเป็ นผู้สนับสนุ นได้

ค.2 การเรียกร้อง การรับ 6
องค์ประกอบด้านการกระทำ ได้แก่ เรียก รับ หรือยอมจะรับ ซึ่ง
เป็ นการกระทำที่ไม่อาจทำได้โดยชอบ

(1) การเรียก หมายถึง การเรียกร้องโดยไม่เสนอ เช่น การเรียกเงิน
จาก ผู้ขับขี่ที่ฝ่ าไฟแดง

(2) ยอมรับ หมายถึง รับมอบเอาไว้จากการเสนอให้ เช่น เมื่อผู้ขับขี่

ถูกตำรวจจับข้อหาฝ่ าไฟแดง ก็เสนอให้เงินแก่ตำรวจ แล้วตำรวจยอมรับ
(3) ยอมจะรับ หมายถึง ตกลงรับเอาไว้ตามที่มีผู้เสนอให้ แม้จะยังไม่

ได้มาก็ตาม เช่น เมื่อผู้ขับขี่ถูกตำรวจจับข้อหาฝ่ าไฟแดง ก็เสนอให้เงินตำรวจในวัน
รุ่ งขึ้นและตำรวจยอมตกลงรับ

ความผิดสำเร็จเมื่อเรียก รับ หรือยอมจะรับ แม้ว่าเรียกหรือยอมจะ
รับแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ทรัพย์สินนั้นมาก็ตาม

ค.3 ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น
สิ่งที่เจ้าพนักงานเรียก รับหรือยอมจะรับนั้น ได้แก่ “ทรัพย์สิน” หรือ
“ประโยชน์อื่นใด” ตามที่ได้อธิบายแล้วในมาตรา 148 โดยจะรับไว้ด้วยตนเอง
หรื อให้ผู้อื่ นรับไว้ก็ ได้

ค.4 โดยมิชอบ
การเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับ
ตนเอง หรือผู้อื่น ต้องกระทำ
“โดยมิชอบ” หมายความว่า โดยไม่มีอำนาจที่จะเรียก รับ หรือยอมจะรับ
ทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นได้ตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน หรือ
คำสั่งของทางราชการ ที่ชอบด้วยกฎหมาย
หากเป็ นสิ่งที่ต้องให้ตามกฎหมาย หรือเป็ นสิ่งที่รัฐอนุ ญาตให้เจ้า
พนักงาน เรียกหรือรับเอาได้ ไม่เป็ นสิ่งที่เรียกร้องหรือรับโดยมิชอบ เช่น เงิน
เดือนข้าราชการ เงินค่ารางวัล ที่กฎหมายกำหนดให้แก่เจ้าพนักงานที่จับผู้กระทำ

ความผิ ดบางอย่ าง

ค.5 ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่
ถ้อยบัญญัติที่ว่า “ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่” แสดงให้
เห็น เจตนารมณ์ของมาตรา 149 ที่ไม่ประสงค์ให้เจ้าพนักงานรับทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทําการในตำแหน่ งของเจ้าพนักงานทั้งสิ้น ไม่
ว่าการเรียก รับ หรือยอมจะรับเพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการนั้น จะเป็ นการ
ชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ เพราะมิฉะนั้นก็จะเปิ ดโอกาสให้ เจ้าพนักงานหาช่อง
ทางกระทำการทุจริตโดยไม่ผิดกฎหมายได้ เป็ นต้นว่าแกล้งทำเรื่องล่าช้าเพื่อ

ประวิงการปฏิบัติงานจนกว่าจะมีผู้มา “หยอดน้ำมัน” หรือให้ทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์ให้ปฏิบัติการ ตามหน้าที่

ค.6 เจตนาพิเศษ – เพื่อกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดใน 7

ตำแหน่ ง

ความผิดตามมาตรานี้ต้องมีเจตนาพิเศษ คือ “เพื่อกระทำการหรือ

ไม่กระทําการอย่างใดในตำแหน่ง” หมายถึง กระทำหรือไม่กระทำในขอบเขต

ตำแหน่ งหน้าที่

1.1.3 ความผิดของเจ้าพนักงานที่เรียกหรือรับผลประโยชน์
ก่อนเข้ารับตำแหน่ง (มาตรา 150)

ก. บทบัญญัติ

มาตรา 150 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงานให้กระทำการหรือไม่กระทำการใน
ตำแหน่ งเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ตนได้เรียก รับ หรือรับ
ก่อนได้รับแต่งตั้งเป็ นเจ้าพนักงานในตำแหน่ งนั้นต้องระวางโทษจำคุก จำคุกตั้งแต่
ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

ข.องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน

(2) กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ ง

ข.1 องค์ประกอบภายใน

(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ – เพื่อประโยชน์ในทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่น
ใดที่ได้เรียก รับ หรือรับ ก่อนได้รับแต่งตั้งเป็ นเจ้าพนักงานในตำแหน่ งนั้น

ค. คำอธิบาย
มาตรานี้เป็ นกรณี ที่เจ้าพนักงานกระทำการหรือไม่กระทำการใน
ตำแหน่ งเพื่อประโยชน์ในทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ตนได้เรียก รับ หรือรับ

ก่อนเข้ารับตำแหน่ ง เช่น พนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหาเพราะได้เรียก
หาผลประโยชน์ก่อนทำหน้าที่เป็ นพนักงานสอบสวนในคดีนี้

พึงสังเกตว่า ความผิดตามมาตรานี้มิได้เกิดขึ้นขณะที่เรียก รับ
หรือยอมจะรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แต่จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้า
พนักงานกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ในตำแหน่งหน้าที่
เนื่องจากเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้เรียก รับ หรือยอมจะ
รับ ก่อนรับตำแหน่ง ถ้าการกระทำหรือไม่กระทำการนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุ
อื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น 21 เช่น เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เป็ นไปตาม

กฎหมายหรือโดยชอบด้วยเหตุผล ก็ไม่เป็ นความผิด ตามมาตรา 150

8

1.2 ความผิดเกี่ยวกับการ ซื้อ ทำ จัดการ
หรือ รักษาทรัพย์


ความผิดเกี่ยวกับการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ประกอบด้วย 3 ฐาน

ความผิด ได้แก่

(1) ความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ตามมาตรา 147 เป็ นกรณี ที่
เจ้าพนักงาน เบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวไป

(2) ความผิดฐานเจ้าพนักงานหาประโยชน์จากตำแหน่ งหน้าที่ ตามมาตรา
151 เป็ น กรณี ที่เจ้าพนักงานไม่ได้เบียดบังทรัพย์ แต่หาประโยชน์จากทรัพย์นั้น

(3) ความผิดฐานเจ้าพนักงานเข้ามีส่วนได้เสียในกิจการที่จัดการหรือดูแล
ตามมาตรา 152 เป็ นกรณี ที่เจ้าพนักงานเข้าไปมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับ
ทรัพย์สินของรัฐ

1.2.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ (มาตรา 147)

ก. บทบัญญัติ


มาตรา 147 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์

ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็ นของตน หรือเป็ นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอม

ให้ผู้อื่นเอาทรัพย์ นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุก

ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ งแสนบาท ถึงสี่แสนบาท

ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด

(2) เบียดบังทรัพย์นั้นเป็ นของตนหรือเป็ นของผู้อื่น หรือยอมให้ผู้

อื่ นเอาทรัพย์นั้นเสี ย

ข.2 องค์ประกอบภายใน

(1) เจตนาธรรมดา

(2) เจตนาพิเศษ – โดยทุจริต

ค. คำอธิบาย
ค.1 เป็ นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด

ตามความผิดฐานนี้ ผู้กระทำเป็ นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา
ทรัยพ์ใด ถ้าไม่มีหน้าที่ดังกล่าวนี้ แม้จะเป็ นเจ้าพนักงานก็ไม่อาจมีความผิดตาม
มาตรานี้ แต่มีความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ได้

9
หน้าที่ของเจ้าพนักงานตามมาตรานี้ มี 4 ประการ ได้แก่
(1) “ซื้อ” เช่น เจ้าพนักงานซื้อของแล้วนำของไปเป็ นของตนหรือผู้อื่น
(2) “ทำ” ได้แก่ ผลิต หรือประดิษฐ์ขึ้น เช่น เจ้าพนักงานประดิษฐ์หุ่ น
ยนต์ ในหน้าที่ราชการได้ 2 ตัว แต่เอาไปเป็ นของตนเองเสีย 1 ตัว

(3) “จัดการ” หมายถึง ดำเนิ นการโดยไม่จำเป็ นต้องครอบครอง
ทรัพย์นั้น เช่น มีหน้าที่แจกจ่ายวัสดุสิ้นเปลืองให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่ วยอื่น มีหน้าที่

ตรวจนับทรัพย์
(4) “รักษา” หมายถึง ดูแลป้องกัน ไม่ว่าจะเป็ นช่วงเวลาสั้นหรือยาว

เพี ยงใด

ค.2 เบียดบังทรัพย์นั้นเป็ นของตนหรือเป็ นของผู้อื่น
องค์ประกอบทางการกระทำข้อหนึ่ งคือ การเบียดบังทรัพย์นั้นเป็ น
ของตน หรือของผู้อื่น คำว่า “เบียดบัง” หมายถึง แสดงออกว่าเป็ นเจ้าของ
เป็ นการเอาไปที่มีลักษณะ เป็ นการตัดกรรมสิทธิ์ ดังนั้น การเอาทรัพย์ไปชั่วคราว

ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเบียดบัง เช่น เจ้าพนักงานเอาทรัพย์ไปจำนำ โดย
ตั้งใจจะไปไถ่คืน แต่ถ้าไม่เจตนาไปไถ่คืน ย่อมเป็ นการกระทำ ที่มีลักษณะอัน
เป็ นการตัดกรรมสิทธิ์ มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 147 ได้

นอกจากนี้ ถ้าหากเจ้าพนักงานนั้นได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นมา

แล้ว ย่อมไม่มีการเบียดบัง ผู้กระทำไม่มีความผิด เช่น เบิกเงินทดรองจ่ายค่า
พาหนะไปแล้ว เอาเงินนั้น ไปใช้จ่ายส่วนตัว เป็ นการยืมใช้สิ้นเปลือง กรรมสิทธิ์โอน

ไปยังผู้ยืมแล้ว ไม่มีความผิดตามมาตรา 147

ค.3 ยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย
องค์ประกอบทางการกระทำอีกข้อหนึ่ ง ได้แก่ การยอมให้ผู้อื่นเอา
ทรัพย์นั้น ไป ข้อนี้แตกต่างจากองค์ประกอบข้อแรกตรงที่ข้อแรกนั้น ผู้กระทำเป็ น
ผู้ลงมือเบียดบังไปเป็ นของ ผู้อื่นด้วยตนเอง ส่วนองค์ประกอบข้อนี้เป็ นความผิด
เพราะยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไป ซึ่ง เป็ นหน้าที่ที่ผู้กระทำงดเว้นจักต้องกระทำ
เพื่อป้องกันผล ยกตัวอย่างเช่น พลทหารซึ่งเป็ นพลขับ เป็ นเจ้าพนักงานมีหน้าที่
จัดการใช้และรักษาน้ำมันรถ ยอมให้บุคคลอื่นดูดเอาน้ำมันในรถไปแล้ว รับเงิน
จากบุคคลนั้นเป็ นค่าตอบแทนเอาเป็ นประโยชน์ส่วนตัว มีความผิดตามมาตรา

147
ค.4 เจตนาพิเศษ - โดยทุจริต

นอกจากเจตนาธรรมดาแล้ว ผู้กระทำยังจะต้องมีเจตนาทุจริต ได้แก่
การแสวงหา ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น มิ
ฉะนั้นจะถือว่าเป็ นเจตนากระทำ โดยทุจริตไม่ได้ โดยเฉพาะการเผอเรอ หลงลืม
หรื อไม่ มี ระเบี ยบจึงไม่ ได้กระทำการตามหน้าที่

1.2.2 ความผิดฐานเจ้าพนักงานหาประโยชน์จากตำแหน่ง 10

หน้าที่ (มาตรา 151)

ก. บทบัญญัติ

มาตรา 151 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา

ทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่ งโดยทุจริต อันเป็ นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล
สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจํา
คุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์

ใดๆ

(2) ใช้อำนาจในตำแหน่ ง

(3) อันเป็ นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของ

ทรัพย์นั้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน

(1) เจตนาธรรมดา

(2) เจตนาพิเศษ – โดยทุจริต

ค. คำอธิบาย
ค.1 เป็ นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด


เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ มีความ

หมาย
เช่นเดียวกับที่อธิบายไว้แล้วในมาตรา 147 ข้อสำคัญคือต้องเป็ น

เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ และใช้อำนาจในตำแหน่ ง
แสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จากตัวทรัพย์นั้น ไม่ใช่
เพี ยงแต่ มี หน้าที่ เกี่ ยวข้องกับทรัพย์นั้นเท่ านั้น

ถ้าหากผู้กระทำมิได้เป็ นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น หรือ
เป็ นเจ้าพนักงานแต่ไม่มีหน้าที่ แม้จะได้เอาทรัพย์ไป ก็ไม่มีความผิดตามมาตรา

151

ค.2 ใช้อำนาจในตำแหน่ง
เจ้าพนักงานได้ใช้อำนาจในตำแหน่ งเท่านั้นจึงจะเป็ นความผิด
กล่าวคือ เป็ นการใช้อำนาจในตำแหน่ งเกี่ยวกับการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา
ทรัพย์ เช่น นำรถยนต์ที่ตนมีหน้าที่ รักษาไปใช้ส่วนตัว ถ้าไม่ได้ใช้อำนาจในกรณี
ดังกล่าวนี้ ไม่เป็ นความผิดตามมาตรา 151

11

ค.3 อันเป็ นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของ
ทรัพย์

บัญญัติว่า "อันเป็ นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือ
เจ้าของทรัพย์" หมายความว่า การกระทำตามมาตรานี้ทำให้เกิดความเสียหาย ไม่
ว่าจะมากหรือ ม น้อยก็ตาม ซึ่งเป็ นผลของการกระทำ ดังนั้น ความผิดจึงสำเร็จ
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้น อันเป็ นผล จากการใช้อำนาจในตำแหน่ ง หากยังไม่เกิด
ความเสียหาย เป็ นเพียงพยายามกระทำความผิด

ค.4 เจตนาพิเศษ - โดยทุจริต
องค์ประกอบภายในนอกจากเจตนาธรรมดาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมี
เจตนา วิธีพิเศษที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใด ๆ อย่างไม่สุจริต กล่าวคือ
แสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่สมควร ถูกกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หากไม่มี
เจตนาทุจริต แม้การกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายก็ไม่ใช่ความผิด
ตามมาตรา 151

1.2.3 ความผิดฐานเจ้าพนักงานเข้ามีส่วนได้เสียในกิจการ
ที่จัดการหรือดูแล มาตรา 152

ก.บทบัญญัติ
มาตรา 152 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด
เข้ามีส่วน ได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่ องด้วยกิจการนั้น ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่ งปี ถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสน
บาท
ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการ หรือดูแลกิจการใด
(2) เข้ามีส่วนได้เสียเนื่ องด้วยกิจการนั้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ – เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือ

ผู้อื่ น

ค. คำอธิบาย
ค.1 เป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการ หรือดูแลกิจการใด

ความผิดนี้เป็ นเช่นเดียวกับมาตราอื่น ๆ ในหมวดนี้ กล่าวคือ ผู้กระทำเป็ น เจ้า
พนักงานที่มีหน้าที่ ตามมาตรานี้ผู้กระทำมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด

12

ถ้อยบัญญัติที่ว่า “จัดการหรือดูแล” หมายความรวมทั้งดำเนิ นการ ควบคุม
หรือบริหารกิจการ ซึ่งหมายความรวมถึง “ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา” ตามมาตรา
151 ด้วย แต่ต่างกัน ตรงที่มาตรา 152 นี้ไม่ต้องเป็ นการกระทำโดยทุจริตและไม่

ต้องเสี ยหายแก่ ผู้ใด
“กิจการใด” ไม่จำกัดเพียงแต่กิจการของรัฐเท่านั้น ถ้าหากเจ้าพนักงานนั้น

เป็ นผู้จัดการดูแลกิจการของเอกชนตามอำนาจหน้าที่ ก็เป็ นความผิดตามมาตรานี้

ได้เช่ นกัน
ค.2 เข้ามามีส่วนได้เสียเนื่องด้วยกิจการนั้น
บทบัญญัติที่ว่า “เข้ามีส่วนได้เสียเนื่องด้วยกิจการนั้น” หมายถึง เข้าไป

มีประโยชน์เกี่ยวข้องในกิจการที่ตนมีหน้าที่จัดการหรือดูแล เช่น เข้าไปมีหุ้นส่วนใน
กิจการที่ค้าขาย กับกิจการที่ตนจัดการหรือดูแลอยู่นั้น ซึ่งเป็ นการขัดกันระหว่าง
ผลประโยชน์ของรัฐกับเอกชน ความผิดสำเร็จเมื่อเข้าไปมีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะได้

ประโยชน์จากการเข้าไปมีส่วนได้เสียแล้วหรือไม่ หรือจะเกิดความเสียหายแก่รัฐ
หรือผู้หนึ่ งผู้ใดหรือไม่ก็ตาม

ค.3 เจตนาพิเศษ – เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
คำว่า “เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น” หมายถึง กระทำไป
โดยให้ ตนเองหรือผู้อื่นรับประโยชน์ เช่น เจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการซื้อ
ของ กลับเป็ นผู้ขายของนั้นให้แก่ทาง ราชการเสียเองหรือเข้าหุ้นกับผู้อื่น
ซึ่งขายของนั้นให้แก่ทางราชการ จะเห็นว่าเจตนาพิเศษตาม มาตรานี้ไม่จำ

ต้องถึงกับทุจริต แต่การกระทำก็ยังคงเป็ นความผิด เพราะรัฐไม่ประสงค์
ให้เจ้าพนักงาน เข้าไปมีส่วนหรือยุ่งเกี่ยวกับการที่มีผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่ง
สุ่มเสี่ยงต่อการที่รัฐจะเสียประโยชน์หรือ เกิดความเสียหายได้ อย่างไร
ก็ตาม ถ้าหากกระทำเพื่อประโยชน์แก่รัฐ หรือทบวงการเมืองซึ่งตน สังกัด
อยู่ หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลที่ตนจัดการหรือดูแลกิจการ ไม่เป็ นความ

ผิ ด

13

1.3 ความผิดเกี่ยวกับการเงิน บัญชีและภาษีอากร

(1) ความผิดฐานเจ้าพนักงานจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายตามหน้าที่
ตามมาตรา 153

(2) ความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกเก็บหรือละเว้นเรียกเก็บภาษี ค่า
ธรรมเนี ยมหรือเงินใดโดยทุจริต ตามมาตรา 154

(3) ความผิดฐานเจ้าพนักงานกำหนดราคาทรัพย์สินเพื่อเรียกเก็บภาษี
โดยทุจริต ตามมาตรา 155 และ

(4) ความผิดฐานเจ้าพนักงานทำบัญชีเท็จเกี่ยวกับการเสียภาษี ตาม
มาตรา 156

1.3.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย
ตามหน้าที่ (มาตรา 153)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 153 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ จ่ายทรัพย์นั้นเกิน
กว่าที่ ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
หนึ่ งปี ถึงสิบปี และปรับ ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จ่ายทรัพย์
(2) จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่าย

ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ – เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น

ค. คำอธิบาย
ค.1 เป็ นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จ่ายทรัพย์
ผู้กระทำเป็ นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จ่ายทรัพย์ คำว่า “จ่ายทรัพย์”

หมายความ รวมทั้งที่เป็ นเงินและเป็ นทรัพย์สินอย่างอื่น และไม่จำต้องเป็ นการ
ชำระราคาเท่านั้น แต่อาจหมายถึง การกระจายหรือการแจกจ่ายตามหน้าที่ด้วย

ค.2 จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่าย 14

"จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่าย" คือ จ่ายเงินมากกว่าที่หน้าที่ต้อง

จ่าย ตามกฎหมายหรือตามสัญญา เช่น ราชการตั้งงบประมาณซื้อของไว้ 2,000

บาท เจ้าพนักงานต่อรอง ราคามาได้เหลือ 1,800 บาท แต่เนื่ องจากพอใจเจ้าของ

ร้าน จึงจ่ายเงินไปเต็มจำนวน 2,000 บาท ดังนี้เป็ นกรณี จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควร

จ่ าย
ถ้าจ่ายทรัพย์น้อยกว่าที่ควรจ่าย ไม่เป็ นความผิดตามมาตรานี้
ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็ นของผู้ใดไม่สำคัญ
ความผิดสำเร็จเมื่อจ่ายทรัพย์นั้นไป ไม่จำต้องคำนึงว่าการจ่ายทรัพย์นั้น

ต้อง ทำให้หนี้ระงับลงด้วย เช่น จ่ายทรัพย์ด้วยเช็ค ความผิดสำเร็จทันที ไม่ต้องรอ
ให้มี การไปขึ้นเงิ นสดก่ อน

ค.3 เจตนา
เจ้าพนักงานต้องมีเจตนาจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย ดังนั้น จึงต้องรู้
ว่าข้อเท็จจริง ดังกล่าวด้วย มิฉะนั้นย่อมไม่มีเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสาม เช่น

จ่ ายเกิ นโดยเข้าใจผิ ดพลาดไป
ค.4 เจตนาพิเศษ – เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
“เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น” หมายถึง การกระทำนั้นจะ

ทำให้ ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ เช่น ได้ส่วนแบ่ง หรือเพื่อประโยชน์สำหรับผู้อื่น
เช่น ให้ได้รับทรัพย์ มากกว่าที่ควร แต่ไม่ถึงทุจริตตามมาตรา 151

1.3.2 ความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกเก็บหรือละเว้นเรียก

เก็บภาษี ค่าธรรมเนียม หรือเงินใดโดยทุจริต (มาตรา 154)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 154 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่หรือแสดงว่าตนมีหน้าที่
เรียกเก็บหรือ ตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนี ยม หรือเงินอื่นใด โดยทุจริตเรียก
เก็บหรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษี อากร ค่าธรรมเนี ยมหรือเงินนั้น หรือกระทำการ
หรือไม่กระทำการอย่างใด เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี อากรหรือค่าธรรมเนี ยมนั้นมิ

ต้องเสีย หรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ห้าปี ถึงยี่สิบ

ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ข. องค์ประกอบความผิดที่ 1

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่หรือแสดงตนว่ามีหน้าที่เรียก

เก็บ หรือตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนี ยม หรือเงินอื่นใด

(2) เรียกเก็บหรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนี ยม

หรื อเงิ นนั้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน 15

(1) เจตนาธรรมดา

(2) เจตนาพิเศษ – ทุจริต
ค. องค์ประกอบความผิดที่ 2

ค.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่หรือแสดงตนว่ามีหน้าที่เรียก

เก็บ หรือตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนี ยม หรือเงินอื่นใด

ค.2 องค์ประกอบภายใน

(1) เจตนาธรรมดา

(2) เจตนาพิเศษ

(2.1) โดยทุจริต และ

(2.2) เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร หรือค่าธรรมเนี ยมนั้นมิ

ต้องเสี ยหรื อเสี ยน้อยไปกว่ าที่ ต้องเสี ย

หน้าที่ตามมาตรา 154 มี 2 ประการดังนี้
(1) “หน้าที่เรียกเก็บ” หมายความรวมถึงการรับเงินค่าภาษีอากร และ

น่ า จะหมายความถึงเจ้าพนักงานประเมินภาษีว่าเป็ นการเรียกเก็บด้วย
(2) “หน้าที่ตรวจสอบภาษีอากร” น่ าจะรวมถึงเจ้าพนักงานผู้

พิจารณา อุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีอากรด้วย ซึ่งความผิดอาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะมีการ
เรียกเก็บหรือละเว้นไม่เรียก เก็บภาษีอากร อันเป็ นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เรียกเก็บ

หน้าที่ทั้งสองประการข้างต้น อาจเป็ นหน้าที่ประจำหรือเป็ นหน้าที่ที่
ได้รับ มอบหมายตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายก็ได้ เช่น เป็ นเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดิน

แต่ได้รับมอบหมาย ให้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนี ยมด้วย
สิ่งที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ ได้แก่ (1) ภาษีอากร (2) ค่าธรรมเนี ยม

หรือ (3) เงินอื่นใด ซึ่งหมายถึง เงินอื่นใดที่มิใช่ค่าภาษีอากรหรือค่าธรรมเนี ยมที่มี
กฎหมายให้เก็บหรือเก็บ ได้โดยชอบ เช่น ค่าปรับ เงินตามสัญญา ถ้าเป็ นเงินที่

เรียกเก็บโดยไม่มีกฎหมาย เช่น เก็บเงินมา เป็ นค่าน้ำมันจุดตะเกียงตามถนนและ
ตลาดในชนบท ไม่อยู่ในความหมายของมาตรานี้

16

1.3.3 ความผิดฐานเจ้าพนักงานกำหนดราคาทรัพย์สิน
เพื่อเรียกเก็บภาษีโดย ทุจริต (มาตรา 155)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 155 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สิน
หรือสินค้าใดๆ เพื่อเรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนี ยมตามกฎหมาย โดยทุจริต
กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้านั้น เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่า
ธรรมเนี ยมนั้นมิต้องเสียหรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย ต้อง ระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ งแสนบาทถึงสี่แสน
บาท
ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สิน

หรื อสิ นค้าใดๆ
(2) กำาหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้านั้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ
(2.1) โดยทุจริต และ
(2.2) เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนี ยม

นั้นมิ ต้องเสี ยหรื อเสี ยน้อยไปกว่ าที่ จะต้องเสี ย

ค. คำอธิบาย
เจ้าพนักงานตามมาตรานี้เป็ นผู้มีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สินหรือ
สินค้าเพื่อ ประโยชน์ในการเรียกเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนี ยม เช่น เจ้าพนักงาน
ศุลกากร เจ้าพนักงานสรรพสามิต เจ้าพนักงานที่ดิน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
หน้าที่ ดังกล่ าวข้างต้นมี เฉพาะการกำหนดราคาทรัพย์สิ นหรื อสิ นค้า
เพื่อเรียกเก็บ ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม ไม่รวมถึงการกำหนดราคาในการ
คำนวณค่าปรับหรือเงินอย่างอื่น เช่น ค่าเสียหายค่าปรับหลักทรัพย์ที่เป็ นประกัน
ความผิดตามมาตรานี้สำเร็จเมื่อได้มีการกำหนด ราคาทรัพย์สินหรือสินค้า โดย
ไม่จำต้องพิจารณาว่าได้มีการเสียภาษีหรือค่าธรรมเนี ยมน้อยลง หรือไม่ต้องเสีย
ภาษีหรือค่าธรรมเนี ยมนั้นแล้วหรือไม่ เช่น ตีราคาสินค้านำเข้าต่ำกว่าที่เป็ นจริง
แม้ว่าจะยังไม่มีการเสียภาษีจำนวนนั้นแก่เจ้าหน้าที่ก็เป็ นความผิดสำเร็จแล้ว

17

มาตรานี้ลงโทษผู้กระทำโดยเจตนาเท่านั้น ไม่รวมถึงประมาทเลินเล่อ
หรือสำคัญ ผิดกำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าผิดพลาดไปด้วย นอกจากเจตนา
ธรรมดาแล้ว ผู้กระทำยังต้อง มีเจตนาพิเศษอีก 2 ข้อ ได้แก่ (1) โดยทุจริต และ (2)
เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนี ยม นั้น มิต้องเสียหรือเสียน้อยไปกว่า
ที่จะต้องเสีย เช่นเดียวกับที่ได้อธิบายไปแล้วในมาตรา 154

1.3.4 ความผิดฐานเจ้าพนักงานทำบัญชีเท็จเกี่ยวกับ
การเสียภาษี (มาตรา 156)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 156 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตาม
กฎหมาย โดยทุจริต แนะนำ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด เพื่อให้มี
การละเว้นการลงรายการในบัญชี ลงรายการเท็จในบัญชี แก้ไขบัญชี หรือซ่อนเร้น
หรือทำหลักฐานในการลงบัญชีอันจะเป็ นผลให้ การเสียภาษีอากรหรือค่า
ธรรมเนี ยมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ งแสนบาทถึงสี่แสน
บาท

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตาม
กฎหมาย

(2) แนะนำ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด
(3) อันจะเป็ นผลให้การเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนี ยมนั้นมิ
ต้องเสีย หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย
ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ

(2.1) โดยทุจริต และ
(2.2) เพื่อให้มีการละเว้นการลงรายการในบัญชี ลงรายการ
เท็จในบัญชี แก้ไขบัญชี หรือซ่อนเร้น หรือทำหลักฐานในการลงบัญชี

ค. คำอธิบาย 18
เจ้าพนักงานตามมาตรานี้ “มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตาม

กฎหมาย” ซึ่งหมายถึง มีอำนาจตรวจสอบบัญชีได้โดยกฎหมายกำหนดไว้ เจ้า

พนักงานผู้มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตาม กฎหมาย ได้แก่ เจ้าพนักงานตรวจเงินแผ่น

ดิน เจ้าพนักงานสรรพสามิต เจ้าพนักงานศุลกากร เป็ นต้น

องค์ประกอบในส่วนของการกระทำ ได้แก่ แนะนำ หรือกระทำการ
หรือไม่กระทำการอย่างใด โดยต้องกระทำโดยมีเจตนาพิเศษ คือ “เพื่อให้มีการ

ละเว้นการลงรายการในบัญชี ลงรายการเท็จ ในบัญชี แก้ไขบัญชี หรือซ่อนเร้น

หรือทำหลักฐานในการลงบัญชี” เช่น แนะนำให้ทำบัญชีเท็จ ก็เป็ นความผิดสำเร็จ

แล้ว แม้ยังไม่เกิดผลตามเจตนาพิเศษดังกล่าว”
นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์ประกอบการกระทำ ได้แก่ ข้อเท็จจริง

ที่ว่าการกระทำนั้น “อันจะเป็ นผลให้การเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนี ยมนั้นมิต้อง
เสีย หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย การวินิ จฉัยจึงอาศัยมาตรฐานของบุคคลทั่วไป
ว่าการกระทำนั้นจะเกิดผลเช่นใด ไม่ว่าภายหลังราษฎร จะไม่เสียค่าภาษีอากรหรือ

ค่าธรรมเนี ยม หรือเสียน้อยลงหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็ นความผิดอยู่

ฐานความผิดซึ่งเป็นบททั่วไป 19

ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิ
ชอบหรือโดยทุจริต (มาตรา157)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 157 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โดยมิชอบ เพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ
ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หนึ่ งปี ถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่
สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. องค์ประกอบความผิดที่ 1

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน
(2) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา

ฐานความผิดที่เจ้าพนักงานกระทำ

โดยมิชอบด้วยหน้าที่

ฐานความผิดที่เจ้าพนักงานกระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่ โดยไม่ได้พิจารณา
ว่าเจ้าพนักงาน แสวงหาประโยชน์หรือทุจริตหรือไม่ ประกอบด้วย

(1) ความผิดฐานเจ้าพนักงานทำให้เสียทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ของตน ตาม
มาตรา 158

(2) ความผิดเกี่ยวกับตราหรือเครื่องหมาย ได้แก่ ความผิดฐานเจ้า
พนักงานทำให้ตรา หรือเครื่องหมายที่เจ้าพนักงานประทับไว้เสียหาย (มาตรา 159)
และความผิดฐานเจ้าพนักงาน ใช้ดวงตราหรือรอยตราโดยมิชอบ (มาตรา 160)

(3) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ได้แก่ ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอม
เอกสารในหน้าที่ ของตน (มาตรา 161) และความผิดฐานเจ้าพนักงานรับรอง
เอกสารอันเป็ นเท็จ (มาตรา 162)

(4) ความผิดเกี่ยวกับการรักษาความลับ ได้แก่ ความผิดฐานเจ้าพนักงานใน
การ ไปรษณี ย์กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ (มาตรา 163) และความผิดฐานเจ้า
พนักงานกระทำการ อันมิชอบให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับ (มาตรา 164)

20
(5) ความผิดเกี่ยวกับการป้องกัน ขัดขวางหรือละทิ้งหน้าที่ ได้แก่ ความผิด
ฐาน เจ้าพนักงานป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็ นไปตามกฎหมายหรือคำสั่ง
(มาตรา 165) และความผิด ฐานเจ้าพนักงานละทิ้งหน้าที่ (มาตรา 166)

3.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานทำให้เสียทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ของ
ตน มาตรา 158

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 158 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไป
เสีย หรือ ทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใดอันเป็ น
หน้าที่ของตนที่จะปกครองหรือ รักษาไว้ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกิน หนึ่ งแสนสี่หมื่นบาท
ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน
(2) ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย

หรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น
(3) ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใด อันเป็ นหน้าที่ของตนที่จะปกครอง

หรื อรักษาไว้
ข.2 องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา

3.2 ความผิดเกี่ยวกับตราหรือเครื่องหมาย

ความผิดเกี่ยวกับตราหรือเครื่องหมาย ประกอบด้วย ความผิดฐานเจ้า
พนักงานทำให้ตรา หรือเครื่องหมายที่เจ้าพนักงานประทับไว้เสียหาย ตามมาตรา
159 และความผิดฐานเจ้าพนักงานใช้ ดวงตราหรือรอยตราโดยมิชอบ ตามมาตรา
160

3.2.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานทำให้ตราหรือเครื่องหมายที่เจ้า
พนักงานประทับไว้เสียหาย (มาตรา 159)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 159 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ดูแล รักษาทรัพย์ หรือเอกสาร
ใด กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้
ประโยชน์ หรือโดย ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้า
พนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่ทรัพย์ หรือเอกสารนั้นในการปฏิบัติการตาม
หน้าที่ เพื่อเป็ นหลักฐานในการยึดหรือรักษาสิ่งนั้น ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้า
ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข. องค์ประกอบความผิด 21

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ดูแล รักษาทรัพย์ หรือ

เอกสารใด
(2) กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยถอน ทำให้เสียหาย

ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น
(3) ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือ

หมายไว้ที่ ทรัพย์หรือเอกสารนั้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็ นหลักฐานใน
การยึดหรื อรักษาสิ่ งนั้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา

13.2.2 ความผิดฐานเจ้าพนักงานใช้ดวงตราหรือรอยตราโดย

มิชอบ (มาตรา 160)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 160 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่รักษาหรือใช้ดวงตราหรือรอย
ตรา ของราชการหรือของผู้อื่น กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยใช้ดวงตรา
หรือรอยตรานั้น หรือโดย ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือ
ประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ งแสนบาท
หรื อทั้งจำทั้งปรับ

ข. องค์ประกอบความผิด
ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่รักษาหรือใช้ดวงตราหรือรอย

ตราของราชการหรื อของผู้อื่ น
(2) กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยใช้ดวงตราหรือรอยตรา

นั้น หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น
(3) ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย

ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

22

3.3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

ความผิ ดของเจ้าพนักงานเกี่ ยวกับเอกสารประกอบด้วยความผิ ดฐานเจ้า
พนักงานปลอม เอกสารในหน้าที่ของตน ตามมาตรา 161 และความผิดฐานเจ้า
พนักงานรับรองเอกสารอันเป็ นเท็จ ตามมาตรา 162

3.3.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสารในหน้าที่ของตน
(มาตรา 161)

ก.บทบัญญัติ
มาตรา 161 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลง
ในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตน
มีหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงใน

เอกสารหรื อดู แลรักษาเอกสาร
(2) กระทำการปลอมเอกสาร
(3) โดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

3.3.2 ความผิดฐานเจ้าพนักงานรับรองเอกสารอันเป็ นเท็จ
(มาตรา 162)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 162 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือ
กรอก ข้อความลงในเอกสาร กระท่าการดังต่อไปนี้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่

(1) รับรองเป็ นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือ
ว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็ นความเท็จ

(2) รับรองเป็ นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการ
แจ้ง

(3) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจุด
เปลี่ยนแปลงข้อความเช่นว่านั้น หรือ

(4) รับรองเป็ นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์
ความจริงอันเป็ นความเท็จ
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่ งแสนสี่หมื่นบาท

ข. องค์ประกอบความผิด 23

ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร หรือกรอก

ข้อความลงในเอกสาร

(2) กระทำการดังต่อไปนี้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่

(2.1) รับรองเป็ นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือ

ว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็ นความเท็จ

(2.2) รับรองเป็ นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มี

การแจ้ง

(2.3) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจด

เปลี่ ยนแปลงข้อความเช่ นว่ านั้น

(2.4) รับรองเป็ นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่ง

พิสูจน์ ความจริงอันเป็ นความเท็จ

3.4 ความผิดเกี่ยวกับการรักษาความลับ

ความผิดเกี่ยวกับการรักษาความลับ ประกอบด้วย ความผิดฐานเจ้า
พนักงานในการไปรษณี ย์ กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ตามมาตรา 163 และ
ความผิดฐานเจ้าพนักงานกระทำการอันมิชอบ ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับ ตามมาตรา

164

3.4.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานในการไปรษณีย์กระทำการ
อันมิชอบด้วยหน้าที่ (มาตรา 163)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 163 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ในการไปรษณี ย์ โทรเลขหรือ
โทรศัพท์ กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เปิ ด หรือยอมให้ผู้อื่นเปิ ดจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณี ย์หรือ

โทรเลข
(2) ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้สูญหาย หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้เสียหาย

ทําลายหรือทําให้สูญหาย ซึ่งจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณี ย์หรือโทรเลข
(3) กัก ส่งให้ผิดทาง หรือส่งให้แก่บุคคลซึ่งรู้ว่ามิใช่เป็ นผู้ควรรับซึ่ง

จดหมาย หรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณี ย์หรือโทรเลข หรือ
(4) เปิ ดเผยข้อความที่ส่งทางไปรษณี ย์ ทางโทรเลขหรือทางโทรศัพท์

แกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ งแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง

ปรับ

ข. องค์ประกอบความผิด 24

ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ในการไปรษณี ย์ โทรเลข หรือ

โทรศัพท์

(2) กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ดังต่อไปนี้

(2.1) เปิ ด หรือยอมให้ผู้อื่นเปิ ดจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทาง

ไปรษณี ย์ หรือโทรเลข

(2.2) ทำให้เสียหาย ทําลาย ทำให้สูญหาย หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้

เสียหาย ทําลายหรือทําให้สูญหาย ซึ่งจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณี ย์หรือ

โทรเลข

(2.3) กัก ส่งให้ผิดทางหรือส่งให้แก่บุคคลซึ่งรู้ว่ามิใช่เป็ นผู้ควร

รับ ซึ่งจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณี ย์หรือโทรเลข หรือ

(2.4) เปิ ดเผยข้อความที่ส่งทางไปรษณี ย์ทางโทรเลข หรือทาง

โทรศัพท์

ข.2 องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา

3.4.2 ความผิดฐานเจ้าพนักงานกระทำอันมิชอบให้ผู้อื่นล่วงรู้

ความลับ (มาตรา 164)

ก. บทบัญญัติ

มาตรา 164 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน รู้หรืออาจรู้ความลับในราชการ กระทำ
โดย ประการใดๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับนั้น ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่ งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงานรู้หรืออาจรู้ความลับในราชการ
(2) กระทำโดยประการใดๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความ

ลับนั้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา

3.5 ความผิดเกี่ยวกับการป้องกัน ขัดขวางหรือละทิ้ง
หน้าที่

ความผิดเกี่ยวกับการป้องกัน ขัดขวางหรือละทิ้งหน้าที่ ได้แก่ ความผิด
ฐานเจ้าพนักงาน ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็ นไปตามกฎหมายหรือคำสั่ง ตาม
มาตรา 165 และความผิดฐาน เจ้าพนักงานละทิ้งหน้าที่ ตามมาตรา 166

25

3.5.1 ความผิดฐานเจ้าพนักงานป้องกันหรือขัด
ขวางมิให้การเป็ นไปตามกฎหมาย หรือคำสั่ง (มาตรา 165)

ก. บทบัญญัติ
มาตรา 165 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็ นไปตาม
กฎหมาย หรือ คำสั่ง ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็ นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัด
ขวางมิให้การเป็ นไปตามกฎหมาย หรือคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. องค์ประกอบความผิด

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็ นไปตาม

กฎหมาย หรือ คำสั่ง ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็ นไปตามกฎหมาย
(2) ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็ นไปตามกฎหมายหรือคำ

สั่ งนั้น
ข.2 องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

3.5.2 ความผิดฐานเจ้าพนักงานละทิ้งหน้าที่ (มาตรา 166)
ก. บทบัญญัติ
มาตรา 166 ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน ละทิ้งงานหรือกระทำการอย่าง
ใด ๆ เพื่อให้ งานหยุดชะงักหรือเสียหาย โดยร่วมกระทำการเช่นนั้นด้วยกันตั้งแต่
ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ งแสนบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิ ดนั้นได้กระทำลงเพื่ อให้เกิ ดการเปลี่ ยนแปลงในกฎหมาย
แผ่นดิน เพื่อ บังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ข.1 องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงาน
(2) ละทิ้งงานหรือกระทำการอย่างใดๆ
(3) โดยร่วมกระทำการเช่นนั้นด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้น

ข.2 องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา โลก
(2) เจตนาพิเศษ - เพื่อให้งานหยุดชะงักหรือเสียหาย


Click to View FlipBook Version