ฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงปลา
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนวัดโบสถ์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ฐานการเรียนรู้ปลา
จุดประสงค์
ฐานการเรียนรู้ปลานั้น เป็นฐานที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการ
เลี้ยงปลาในกระชัง และฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม การเลี้ยงปลาในกระชัง
เป็นการเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่จำกัด โดยใช้แหล่งน้ำตามธรรมชาติหรือ สร้างขึ้น
ก็ได้ ดังนั้นการที่นักเรียนมีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาในกระชังนั้นนักเรียน
สามารถนำเอาประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ปลา ไปปรับใช้เพื่อสร้าง
รายได้เป็ นอาชีพเสริมให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ต่อไปอีกด้วย
ฐานการเรียนรู้ปลา
ฐานการเรียนรู้ปลา
ปลาดุก ปลาเศรษฐกิจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิต ชูคันหอม คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ปลาดุกจะพบได้ทั่วไปใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว
กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย ปลาดุกที่พบใน
ประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด ประมาณปลายปี พ.ศ. 2530 เกษตรกรได้
นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่ งจากประเทศลาวเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย
ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ (ปลาดุกยักษ์ หรือ ปลาดุก
รัสเซีย) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตได้
รวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรค
และสภาพแวดล้อมสูงเป็ นปลาที่มีขนาดใหญ่เมื่ อเจริญเติบโตเต็มที่
แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ต่อมา
นักวิชาการไทยได้ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมข้ามพันธุ์
ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียและปลาดุกอุยเพศผู้ ได้ปลาลูกผสมเรียก
ว่า ดุกอุยเทศ หรือบิ๊กอุย ซึ่งผลที่ได้นั้นบิ๊กอุยเป็นที่นิยมเลี้ยงของ
เกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว อีก
ทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปลาดุกชนิดอื่น ๆ ทั้ง
ยังเป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก
ทำให้ปั จจุบันปลาดุกบิ๊กอุยได้รับการนิยมและเข้ามาแทนที่ตลาดปลา
ดุกด้านไปโดยปริยาย
ฐานการเรียนรู้ปลา
ลักษณะนิสัยของปลาดุก
ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มี
เกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก
ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่
ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้ าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้น
มาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่น ๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัย
อยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน
เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ อาหารที่ปลาดุกชอบกิน
ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถ
ฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมา
กินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้ าดินได้เช่นกัน
แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย
แหล่งกำเนิดของปลาดุกค่อนข้างกว้าง คือ มีอยู่ทั่วไปในน้ำจืดในเขตร้อน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ไทย
ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา และหมู่เกาะบอร์เนียว สำหรับ
ในประเทศไทยปลาดุกจะมีถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ โดยจะพบเห็นทั่วไป
ตามลำคลอง ห้วย หนอง และบึงทั่วประเทศ ส่วนตามแม่น้ำนั้นปลาดุกจะ
มีอาศัยอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก โดยธรรมชาติแล้วปลาดุกชอบอาศัยอยู่ตาม
แหล่งน้ำซึ่งพื้นดินเป็นโคลนและมีน้ำจืดสนิท ไม่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำใส อยู่
ได้ทั้งน้ำนิ่งและน้ำไหล อาศัยอยู่ในระดับน้ำที่ไม่ลึกมาก หรือแม้แต่ใน
แหล่งที่มีน้ำเพียงเล็กน้ อยก็ยังพบปลาดุกอาศัยอยู่ได้ หรือในเขตที่มีน้ำ
ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็สามารถอาศัยอยู่ได้เหมือนกัน
ฐานการเรียนรู้ปลา
1. การเตรียมพันธุ์ปลา
2.การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
3.แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจากความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้
ในเรื่องคุณภาพ
4.มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
5. มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
6.ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก
7.การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่างควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้น
บ่อ
8.ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือ
ปุยขาวเกาะ
9. ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน
ฐานการเรียนรู้ปลา
การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง
การเลี้ยงปลาดุกในกระชังเป็ นการใช้แหล่งน้ำให้เป็ นประโยชนในการเพิ่ม
อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่ง สามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกหรือเลี้ยงเป็นอาชีพ
ประจำครอบครัว เพราะจะช่วยเก็บเศษอาหารที่เหลือให้เกิดประโยชน์
และถ้าเลี้ยงในกระชังขนาดใหญ่หลาย ๆ กระชังแล้ว จะสามารถทำรายได้
ให้กับผู้เลี้ยงได้มาก และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ข้อควรคำนึงในการเลี้ยง
ปลาดุกในกระชังมีดังนี้
1. คุณภาพของน้ำต้องดี
2. เป็ นแหล่งที่มีกระแสน้ำไหลผ่านสะดวก
3. การคมนาคมสะดวก
4. ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงปลาในกระชังควรปราศจากศัตรูธรรมชาติและโจร
ผู้ร้าย
5. ฤดูการที่เหมาะสม
6.ขนาดของกระชังพอเหมาะประมาณ กว้าง 1 ½ เมตร ยาว 2 เมตร
ลึก 1.3 เมตร
ฐานการเรียนรู้ปลา
รวมภาพกิจกรรม