The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จำปาดะ ต้นไม้แห่งขุนเขา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chawanrat_sri, 2024-03-24 05:00:11

จำปาดะ ต้นไม้แห่งขุนเขา

จำปาดะ ต้นไม้แห่งขุนเขา

Keywords: จำปาดะ ต้นไม้แห่งขุนเขา

จำปาดะ ต้นไม้แห่งขุนเขา


Champedak Champedak Champedak Champedak


คำนำ หนังสือเรื่อง "จำปาดะ ต้นไม้แห่งขุนเขา" เล่มนี้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่มี เป้าหมายเป้ พื่อให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก ตระหนัก และเห็นคุณค่าของจำปาดะ ต้นไม้พื้นถิ่นที่มีคุณประโยชน์มากมาย ควรน์ ค่าแก่การอนุรันุกษ์และสืบทอด โดยเฉพาะวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับจำปาดะของชาว อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่นับวันเริ่มจะสูญหายไปตามกาลเวลา หนังสือได้รวบรวมประวัติความเป็นมา การดูแล บำรุง รักษา ต้น ผลจำปาดะ และให้รวบรวมคุณประโยชน์ของน์ จำปาดะที่มีในอดีตและปัจจุบันเอาไว้ โดยหวังไว้ว่าเนื้อหาที่ปรากฏเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และน์ ทำให้ผู้อ่าน รู้จักจำปาดะ มากยิ่งขึ้น


01 02 03 05 06 04 07 08 ตามหาบ้านเกิด จำปาดะ 1-4 แต่เล็กจนโต โอ้จำปาดะ 9-12 สารพัดประโยชน์ จำปาดะ 29-30 แปลงกาย จำปาดะ 31-34 วิถีชุมชนคน จำปาดะ 17-20 พี่น้อง น้ จำปาดะ 5-8 โคระ จำปาดะ 13-16 ตะลุยสวน จำปาดะ 21-28


ฉันคือขนุน นะจ๊ะ จำปาดะตามหาบ้านเกิด จำปาดะเป็นพืชป่าป่ ที่ขึ้นกระจายในท้องถิ่นภาคใต้ เป็นพืชสกุลเดียวกันกับขนุน นุคือ Artocarpus ลักษณะโดยทั่วไปจึงคล้ายกับขนุนนุมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus integer (Thunb.) Merr. มีชื่อสามัญว่า Champedak ชาวใต้เรียกสั้นๆ ว่า “จําดะ” จำปาดะ 1


จำปาดะมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบคาบสมุทรมาลายู ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และเกาะนิวกินี มักพบในป่าป่ ดิบชื้น 2


ในประเทศไทยจำปาดะจะกระจายอยู่ทั่วไปในป่าแถบภาคใ ป่ ต้ตั้งแต่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต สงขลา สตูล และนราธิวาส ส่วนใหญ่มักจะอยู่บนเนินเขา ที่ระดับความสูงถึง 450 เมตร บางครั้งถึง 1,200 เมตร ประเทศไทย 3


จำปาดะ ส่วนใหญ่มีการปลูกไว้เพียงบริเวณที่พักอาศัย หรือปลูกแซมร่วมกับไม้ผล ชนิดอื่น จึงมีแนวโน้มน้ ที่จะสูญหายไปจากท้องถิ่น เพราะการแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่น ในช่วงฤดูกาลเดียวกันสูง กลุ่มคนปัจจุบันและเยาวชนรุ่นใหม่ขาดความคุ้นเคย มีการ บริโภคกันน้อยลงน้ จึงทําให้พืชท้องถิ่นชนิดนี้เริ่มหายไปจากท้องตลาด 4


5 จำปาดะ เป็นพืชใน วงศ์ขนุนนุ (Artocarpus) ซึ่งสกุลของพืชในวงศ์ขนุนนุมีประมาณ 60 ชนิด เป็นไม้พุ่มและไม้ยืนต้น เป็นพืชที่มียางสีขาวเหมือนน้ำ นม ดอกเป็นดอกช่อและผลเป็นผลรวม พี่น้อง จำปาดะ


วงศ์Artocarpus จำปาดะ สาเก ขนุนนุArtocarpus heterophyllus Artocarpus integer Artocarpus altilis สกุลไม้ผลที่มีประโยชน์มากมาย เน์ ป็นทั้งอาหาร ผัก ยารักษาโรค และอื่นๆ เนื้อในรับประทานสดหรือทำเป็นของหวาน ยอดอ่อน ผลอ่อน และเกสรดอกตัวผู้รับประทานเป็นผัก เมล็ดนำ ไปต้ม รับประทานเป็นอาหารว่าง แก่นทำเป็นสีย้อม ใบ รากแก่น และ เมล็ดเป็นยารักษาโรคได้ เนื้อในรับประทานสดหรือชุบแป้งทอด บวด ผลป้ อ่อนรับประทานเป็นผัก เมล็ดนำ ไปต้ม หรือนำ ไปใส่แกง เช่น แกงไตปลา แก่นทำเป็นสีย้อม ผลสุกและเมล็ดเป็นยารักษาโรคได้ และเปลือกไม้ของจำปาดะมีสรรพคุณ ที่ช่วยป้องป้ กันการเกิดโรคมะเร็งและช่วยรักษาโรคมาลาเรียได้ สาเก นิยมนำ ผลมาทำอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น แกงบวด สาเกเชื่อม ทำแป้งป้หรือ อื่น ๆ ใบและผล นำ มาทำอาหารสัตว์ เนื้อในสาเกให้พลังงานสูง มีคุณค่า อาหารมากมาย ทั้งแคลเซียม และวิตามินหลากหลายชนิด ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมู นุลอิสระ ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็น สาเหตุของโรคหัวใจ 6


จำปาดะเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะและมีรสหวานจัด มีน้ำ เยอะกว่าขนุนนุ เนื้อค่อนข้างนิ่ม เหนียว เคี้ยวไม่ขาดอย่างเนื้อขนุน นุปัจจุบันมีสายพันธุ์ จำปาดะที่ถูกพัฒนาให้มีความพิเศษกว่าพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมเพิ่มมากขึ้น จำปาดะขวัญสตูล (สตูล) จำปาดะสตูลสีทอง (สตูล) จำปาดะน้ำ ดอกไม้ (สตูล) จำปาดะทองเกษตร (สตูล) จำปาดะดอกโดน (สตูล) จำปาดะวังทอง (สตูล) จำปาดะกาหลง36 (สตูล) จำปาดะไร้เมล็ด (สตูล) จำปาดะขวัญสตูล เครดิตภาพ: สวนพันธุ์ไม้สตูลจำปาดะ จำปาดะทองตาปาน อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เครดิตภาพ: เทคโนโลยีชาวบ้าน จำปาดะขนุนนุต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เครดิตภาพ: องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ สวนลุงวี สวนจำปาดะขนุนเกาะยอนุ จำปาดะกาหลง36 เครดิตภาพ: สวนพันธุ์ไม้สตูลจำปาดะ 7


จำปาดะเขาแก้ว ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช สายพั พันธุ์ธุ์ ธุ์ จำ ธุ์ จำปาดะ"จำปาดะเขาแก้ว" อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจำปาดะอากาศดี เพราะอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศดีที่สุดในโลก และมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาณ์ ติ จึงเกิดความเลื่องลือชื่อว่า เป็นจำปาดะที่อร่อยที่สุดแห่งหนึ่ง จำปาดะเขาแก้ว เป็นจำปาดะโบราณ มีหลากหลายสายพันธุ์ เนื้อดี ยวงเยอะ เนื้อสวย หวานอร่อย มีมาหลายชั่วอายุบรรพชน 200-500 ปี 8


9 แต่เล็กจนโตต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร จะมี ลักษณะสีน้ำ ตาลปนเทาและมักมีจุดสีขาวตลอดทั้งต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก เพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่บนต้นเดียวกัน โดยจะ ออกตามลำต้นและตามกิ่ง ช่อดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่ กว่าช่อดอกเพศผู้ จำปาดะ เป็นผลไม้ที่ชอบความชื้นและฝนตกชุก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีวัตถุสูง ไม่ชอบพื้นที่ลุ่ม เนื่องจากไม่ทนต่อสภาวะน้ำ ท่วมขัง และสามารถปลูกแซมกับไม้ชนิดอื่นได้ดี


ยวง เป็นเนื้อหุ้มเมล็ด มีหลายสีด้วยกัน เช่น เหลืองทอง เหลืองอ่อน เหลืองนวล เหลืองอมส้มหรือชาวบ้านเรียกว่า "สีนาก" ฤดูกาลให้ผลผลิตของจําปาดะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ผลผลิตสามารถบริโภคสด และแปรรูป โอ้จำปาดะ ผลอ่อน ผลสุก ยวง เมล็ด ผล เป็นผลรวมรูปทรงกระบอกถึงทรงกลม กว้าง 10-15 ซม. ยาว 20-35 ซม. ผิวบางและเหนียว สีเขียว สีผิวเปลือกเมื่อแก่ใกล้จะสุกมีสีเหลืองอมส้ม และมีลวดลายเป็นรูปห้าเหลี่ยม มีทั้งที่นูนขึ้นหรือ แบนเรียบ ดอก เมล็ด มีทรงกลมแบน หรือยืดยาว ประมาณ 2-3 ซม. 10


การปลูก ขุดหลุมกว้าง ลึก 1x1 เมตร ระยะห่างไม่ น้อยกน้ ว่า 5x5 เมตร เนื่องจากจำปาดะเป็นไม้ผล ขนาดใหญ่ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยปุ๋ อินทรีย์ปุ๋ยหปุ๋ มัก หรือ ปุ๋ยคอก กลบใ ปุ๋ ห้แน่น ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ จึงควร ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน การปลูกและดูแล @ต้นพันธุ์ สูงประมาณ 80 ซม.การดูแล ใส่ปุ๋ยใปุ๋ ห้เหมาะสมกับอายุและระยะการเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยไนโตเจนเ ปุ๋ พื่อบำรุงต้น ใส่ปุ๋ยโพแทสเ ปุ๋ ซียมเพื่อบำรุงผล โดยระยะเวลาการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนห ปุ๋ ลังจากเก็บผลผลิต และแต่งต้น สำหรับปุ๋ยโพแทสเ ปุ๋ ซียมใส่เมื่อเห็นดอกของ จำปาดะ การขยายพันธุ์ทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด ติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง หากใช้วิธีเพาะจากเมล็ดมักจะมี ผลผลิตใน 3 - 6 ปี แต่เสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ ถ้าเป็นวิธีอื่น ๆ จะได้ผลผลิตเร็วขึ้นประมาณใน 3-4 ปี จำปาดะจะใช้ปุ๋ยปุ๋สูตร 15-15-15 11


เรื่องเล่าจากชาวเขาแก้ว: เมื่อพ่อเล่าให้ฟัง @ปลูกจำปาดะ เป็นพืชเชิงเดี่ยว การปลูกจำปาดะในสมัยโบราณ (สมัยปู่ของปู่ ปู่) ไ ปู่ ม่ได้ ปลูกตามหลักวิชาการ แต่เกิดจากวิถีชาวบ้าน ซึ่งแรก เริ่มมีจำปาดะปลูกกินกันตามบ้านเรือนเพียงไม่กี่ต้น เน้นการน้ ทำสวน ทำไร่ ปลูกไม้อื่นเป็นหลัก เมื่อมีสัตว์ เช่น นก ลิง เข้ามากินพืช ผลไม้ที่ปลูกเอาไว้จึงได้นำ เมล็ดจำปาดะมาเป็นกระสุนของหนังสติ๊ก หรือนำ มา ขว้างปาไล่สัตว์เหล่านั้น บางส่วนก็เข้าไปในสวน บางส่วนก็เข้าไปในป่า ป่ จึงเกิดเป็นต้นจำปาดะตามป่าป่ ตามเนินเขาจำนวนมากขึ้น และถือเป็นการจับจอง อาณาเขตพื้นที่ป่าในส ป่ มัยนั้นด้วย ดังนั้นบางบ้านจะ พบว่ามีต้นจำปาดะ ปลูกสะเปะสะปะ ไม่เป็นแนวแต่ อย่างใด @สวนสมรม ปลูกไม้ผลหลาก หลายชนิด เช่น ทุเรียน ลองกอง เงาะ มังคุด สะตอ หมาก มะพร้าว ร่วมกับจำปาดะ ตัดแต่งผล เลือกผลที่มีความสมบูรณ์ไณ์ ว้ หากกิ่งไหนมีผลเยอะควรตัดออก ควรให้ติดผลเพียง 1 ผลต่อ 1 ขั้ว เพื่อลดการแย่งอาหารกัน ผลที่ได้มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์ ณ์และมี คุณภาพ ควรตัดแต่งทรงพุ่มอย่างน้อยน้ ปีละครั้ง เพื่อให้ทรง พุ่มโปร่ง แสงแดดส่องถึง ช่วยลดการเกิดโรคและแมลง 12


โคระ จำปาดะ แมลงวันทองคือศัตรูตัวสำคัญ ของผลจำปาดะ ส่วนใหญ่จะเจาะ ผลเพื่อวางไข่ทำให้ผลผลิตเสีย หาย การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ การห่อผล "โคระ" เป็นชื่อของวัสดุชนิดหนึ่ง ซึ่งจักสานมาจากใบ มะพร้าว ใช้สำหรับห่อหุ้มผลไม้ เช่น จำปาดะ และขนุนนุซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นกันมาตั้งแต่ บรรพบุรุษ เพื่อป้องป้ กันแมลง และสัตว์ต่าง ๆ มารบกวน การใช้โคระ จะนำ โคระมาสวมผลจำปาดะแล้วใช้เถาวัลย์ผูกช่วยรั้งโคระให้ติด อยู่กับผลจำปาดะ โคระใช้ได้ครั้งเดียว เริ่มห่อตอนทางมะพร้าวเขียว เมื่อจำปาดะผลโตขึ้น โคระจะขยายขนาดตามผลและสีของโคระจะเปลี่ยน เป็นสีน้ำ ตาล เมื่อทางมะพร้าวเริ่มแห้งเปื่อย ผลจำปาดะก็สุกพอดีฉีกโคระเอา ผลจำปาดะออกมาได้ง่าย ทิ้งโคระไว้ใต้โคนต้นจะเป็นปุ๋ยธรรมชาติต่อไป 13


ปัจจุบันวิถีชาวสวนได้เปลี่ยนแปลงไป มีการนำ ถุงพลาสติกสีดำมาห่อ ผลจำปาดะแทนโคระ เพราะสะดวก หาซื้อง่าย ประหยัด และช่วยให้ผล มีสีสวยเนื่องจากทึบแสง นอกจากนี้ยังมีการนำ ถุงประเภทต่าง ๆ มาห่อ ผลด้วย เช่น กระสอบถุงปุ๋ย ปุ๋ถุงกระดาษ แต่การห่อด้วยวัสดุใด ๆ ไม่มีผลต่อรสชาติของจำปาดะ จำปาดะที่ห่อด้วยโคระผิวผลจะสวยเป็นลวดลายตาราง 14


โคระ : กล : รังจำปาโคระทำจากใบมะพร้าว จะเป็นใบสดหรือแห้งก็ได้ ถ้าเป็นใบแห้งต้องแช่น้ำ ก่อน 1 คืน เพื่อให้ใบคลี่สะดวกต่อการ สาน ประชากรในอำเภอลานสกาส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนผลไม้ และมีการปลูกจำปะดะกันเกือบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะในโซนตำบลเขาแก้วมีการปลูกจำปาดะกันเป็นจำนวน มาก จึงทำการสานโคระ หรือ โคร่ ตามภาษาถิ่นทางภาคใต้ แต่ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า กล หรือ รังจำปา ไว้ใส่ลูกจำปาดะตั้งแต่ลูกยังเล็กเพื่อป้องกันแมลงหรือศัตรูมา ทำลาย แต่ในปัจจุบันโคระหาดูยากมาก มาฝึกสานกลกัน 15


วิธีการทำ กล หรือ รังจำปา 1. นำ ทางมะพร้าวมาประกบเข้าด้วยกัน 2. สานเป็นลายขัดจนครบทั้ง 3 ใบ 3. ใช้ไม้กลัด กลัดใบมะพร้าวที่สานไว้ไม่ให้หลุด 4. พลิกสานด้านตรงข้ามจนครบจนถึงปลายใบมะพร้าว 5. ดึงไม่กลัดออกแล้วรวบปลายใบมะพร้าวม้วนผูกปม วัสดุ-อุปกรณ์ในการใ ณ์ ช้สาน ทางมะพร้าว จำนวน 2 ท่อน ท่อนละ 3 ใบ ใบยาวประมาณ 50 –60 ซ.ม. ก้านมะพร้าวทำไม้กลัด 2 อัน 16


วิถีชุมชน ชุ จำปาดะ เป็นอีกหนึ่งไม้ผลที่อยู่คู่กับชาวลานสกามาช้านาน แต่เข้ามาเมื่อไหร่ไม่สามารถยืนยันได้ ชัดเจน ปัจจุบันข้อมูลผู้ปลูกจำปาดะในอำเภอลานสกา มี 559 ครัวเรือน เนื้อที่ 1,213.33 ไร่ มีทั้งปลูก เชิงเดี่ยวและสมรม ตำบลเขาแก้ว 243 ครัวเรือน 628.51 ไร่ ตำบลท่าดี 201 ครัวเรือน 393.82 ไร่ ตำบลลานสกา 76 ครัวเรือน 133.50 ไร่ ตำบลกำโลน 36 ครัวเรือน 53.25 ไร่ ตำบลขุนทะเล 3 ครัวเรือน 4.25 ไร่ (ที่มา: ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร 23 พฤษภาคม ปี 2566 จำปาดะอายุเกือบสองร้อยปี สวนนางโสภา ศักดิ์ธานีตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา 17


18 รถมอเตอร์ไซค์วิบาก จึงเหมาะสำหรับการขับขี่เข้า สวนที่มีความลำบาก ในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยน้ แล้วแต่จะพบการใช้งาน รถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปแทน จำปาดะ เป็นไม้ที่ชอบเนินเขา ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวสวนเวลาจะเข้าสวน เพื่อปลูก ดูแล ใส่กล เก็บเกี่ยว หรือลำเลียงผลจำปาดะ ในอดีตชาวสวนจะอาศัยรถ มอเตอร์ไซค์วิบาก เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน เพราะความสูงของรถ และล้อที่เกาะ ติดถนน (เส้นทางเข้าสวนจะเป็นถนนดินที่มีความกว้างเท่าขนาดล้อรถเท่านั้น) คน...จำปาดะ


19 วิถีชีวิตของคนอำเภอลานสกามีความสัมพันธ์กับจำปาดะในหลายรูปแบบ ปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน เป็นเกษตรกรปลูกและขายผลสดผ่านพ่อค้าคนกลาง เป็นแม่ค้าซื้อผลสดเพื่อแปรรูปด้วยการทอดและจำหน่าย เป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรเพื่อขายผลสดไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย จีน และเวียดนาม วิวิถีถี...ความ ...ความสัสั สั ม สั มพั พันธ์ ธ์ นายพิชิต สุขย้อย (ชาว ต. เขาแก้ว) ผู้ส่งออกจำปาดะรายแรกของเขาแก้ว


รายได้จากการจําหน่ายจําปาดะผลสดเฉลี่ย 3,000 บาทต่อต้น รายได้จากการจำหน่ายจำปาดะทอด รายได้เฉลี่ยต่อวัน 800 บาท จำปาดะต้นหนึ่งมีผลเฉลี่ยราว 50 ลูก (บางต้นมี 100-300 ลูก) น้ำ หนักเฉลี่ยลูกละ 4 กิโลกรัม (น้ำ หนักที่คนส่วนใหญ่นิยม เพราะลูกไม่ใหญ่มากจนเกินไป) ถ้ามีน้ำ หนักในช่วง 6-10 กิโลกรัม มักจะขายออกนอกพื้นที่หรือกลุ่มแม่ค้าที่ต้องการนำ ไปทอด ราคากิโลกรัมละ 15-25 บาท (แต่ถ้านอกฤดูกาล ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 80-85 บาท) (ในช่วงฤดูกาล) รายได้จากการจำหน่ายจำปาดะ เฉลี่ย 100,000 บาทต่อปี 20 นางเกษร ถวัลย์ธรรม แม่ค้าจำปาดะทอด สูตรแป้งกรอบ อป้ ร่อยประจำตำบลเขาแก้ว


21 นางโสภา ศักดิ์ธานี บ้านคันเบ็ด ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช "ที่สวนมีต้นจำปาดะอายุเกือบ 200 ปี จำนวน 2 ต้น" "อดีตกับปัจจุบัน มีการนำ จำปาดะมาใช้ประโยชน์เหน์ มือนกัน คือ การรับประทานเนื้อจำปาดะ เป็นหลัก ทั้งทานสดและทอด อย่างอื่นไม่ค่อยพบเห็น" "จุดเด่นของจำปาดะที่อำเภอลานสกา คือ ลูกจำปาดะสีเหลือง ทอง ผิวเรียบ อร่อย หอม หวาน เนื้อไม่ใหญ่มากนัก กินสดก็ พอดี ทอดก็พอดีถ้าใหญ่มากแม่ค้าทอดจะไม่ชอบ ขายยาก เพราะต้องขายแพง" "ชอบ รัก กับจำปาดะมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น เพราะดูแลง่าย ใส่ปุ๋ยปุ๋ ปีละสองครั้งพอ ยาก็ไม่ต้องฉีด เข้าไปถางหญ้าบ้าง เล็กน้อย เน้ ป็นพืชที่เทวดาเลี้ยง เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลา" ตะลุยสวนลุ


22 นายอุทัย ถวัลย์ธรรม บ้านคันเบ็ด ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช "ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นต้นจำปาดะแล้ว คิดว่าจำปาดะอยู่กับชาวลานสกา คิดว่าไม่น้อยกน้ ว่า 100 ปี" "สวนจำปาดะแปลงนี้ อายุราว 25 ปี ซื้อเขามา เพราะครอบครัว เป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลจำปาดะไปขายต่อทั้งต่างถิ่นและ ต่างแดน และครอบครัวมีอาชีพขายกล้วยทอด มันทอด และมี จำปาดะทอดด้วย" "ที่ผ่านมาทำกลใส่ลูกจำปาดะเอง โดยการสานกลจากใบ มะพร้าว และรับซื้อจากชาวบ้านบ้างในช่วงที่สานเองไม่ทัน จำปาดะใส่กล ผิวลายจะเป็นสีเขียว ลูกสวย เรียบ ปัจจุบันใช้ถุง ดำแทนกล เพราะถุงดำใบละ 1 บาท ถุงดำใบหนึ่งใช้ปีละ 1 -3 ครั้ง แต่ใช้กล เมื่อเก็บผลก็ทิ้งเลย ราคาใบละ 1 บาทเช่นกัน ถ้าปริมาณจำปาดะออกผลเป็นจำนวนมาก การใส่ถุงดำจะหาซื้อ ได้ง่าย" "การปลูก การขาย การแปรรูป เป็นอาชีพหลักของครอบครัว ปัจจุบันจำปาดะมีปริมาณน้อยลงมาก ควรน้ ส่งเสริมให้มีการปลูกกันมากขึ้น" ชวนคุย คุ


23 นายโชค ศรีกาญจน์ บ้านอ่าวอ้ายไทร ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช "ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นต้นจำปาดะแล้ว เพราะพ่อปลูกไว้ ตอนนี้ลุงอายุ 81 ปี ดังนั้นต้น จำปาดะในสวนจึงมีอายุ 100 กว่าปีเกือบทุกต้น และคิดว่าจำปาดะอยู่คู่กับชาวลานสกาคิด ว่าไม่น้อยกน้ ว่า 200 ปี" "ปลูกเป็นสวนสมรม ร่วมกับทุเรียน มังคุด ปัจจุบันทำเองไม่ไหว ให้ลูก หลานทำ ขายได้แบ่งกันคนละครึ่ง จำปาดะออกผลมากในช่วงเดือนเก้า เดือนสิบ (กันยายน-ตุลาคม) ได้นำ จำปาดะไปทำบุญประเพณีเดือนสิบ" "อากาศดีดินดี โซนภูเขา ทำให้ปลูกจำปาดะได้ผลดีทุกต้นโตสมบูรณ์ ณ์แข็งแรง ไม่มีโรค ไม่ต้องใช้สารเคมีให้อันตราย ลูกโตผิวสวย" "จำปาดะรสชาติหอมหวาน ในช่วงเทศกาลพิธีสมโภช บวงสรวงผลไม้ นอกจากนำ ผลไม้อื่นไปแล้ว จำปาดะก็ถูกนำ ไปสมโภชด้วย" "พระเอกผลไม้ของลานสกาคงต้องยกให้ทุเรียน เพราะทำรายได้ให้เจ้าของ และปลูกกันเยอะ แต่ถ้าพระรองในห่วงเวลานี้ ก็น่าจะเป็นจำปาดะ เพราะได้รับ ความนิยม จากสมัยก่อนที่ขายไม่ได้เลย กินกันตามบ้านอย่างเดียว" ตะลุยสวนลุ


24 นายสุริยะ บุญมา บ้านคันเบ็ด ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช "มีต้นจำปาดะอายุ 100 ปีกว่า จำนวน 3 ต้น ทุกต้นเน้นขายเน้ มื่อสุกแล้ว ไม่นิยมตัดผลแก่ เพราะผลแก่รสชาติเมื่อสุกแล้วจะไม่หวาน เหมือนกับผลที่สุกจากต้น หอมหวานเข้มกว่า" "ปลูกเป็นสวนสมรม สืบทอดแทนพ่อ เพราะพ่อเป็นผู้ใหญ่บ้านเก่า เป็นผู้นำ ชุมชน จึงเน้นการอน้นุรันุกษ์" "ปลูกทุกสายพันธุ์ เน้นความเน้ ป็นธรรมชาติ ผลจำปาดะบางลูกโตมาก บางลูกยาวจนต้องใช้ถุงห่อซ้อนกันสองใบ" "สมัยแม่ใช้กลใส่จำปาดะ เพราะขายไม่ได้ เน้นน้ กินอย่างเดียว จึงใส่กลได้ สานไม่เยอะ แต่ปัจจุบันจำปาดะเน้นขาย และน้ มีปริมาณมาก จึงใช้ถุงดำ สะดวกกว่า" ชวนคุย คุ


25 "จำปาดะแถวท่าดี จะออกช้ากว่าแถวเขาแก้วทำให้เหมือนออกนอกฤดูไปเล็กน้อยน้ทำให้ราคาดีที่อื่นเขาขายกิโลกรัมละ 15-25 บาท ที่ท่าดีขายที่ 50 กว่าบาท" "จำปาดะดูแลน้อยกน้ ว่าผลไม้ชนิดอื่น จึงไม่ต้องยุ่งยาก ใส่ปุ๋ยปุ๋ บำรุงปีละ 2 ครั้งก็ เพียงพอ ตอนนี้ให้ชาวบ้านเขาเข้ามาดูแลทำสวนเอง เมื่อได้ผลผลิตก็แบ่งกัน คนละครึ่ง" "เวลาเข้าสวน ขนส่งจำปาดะต้องใช้รถมอเตอร์ไซต์เท่านั้น ถนนแคบกว้าง กว่าล้อรถนิดเดียว" "การปลูกสมัยก่อนเค้าไม่สนใจวิชาการใดๆ เพราะมันขายไม่ได้ เค้ากินกันในบ้าน จึงใช้การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยขว้างๆ โยนๆ ไป งอกเมื่อไหร่ค่อยไปล้อม ๆ ต้นไม้ สมัยก่อนเค้าขว้างเมล็ดจำปาดะเพื่อจับจองพื้นที่ทำกิน" "ใช้ถุงดำหุ้มผลจำปาดะแทนกล ต้นหนึ่งต้นมาจำปาดะหลายรุ่น คนดูแลเค้า ใช้การสังเกตจากเชือกที่ถูกว่าสีอะไร เป็นรุ่นไหน เวลาตัดจำปาดะขายก็ดูจาก สีเชือก" บ้านในปลิก ต.ท่าดี อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช นางหนูเปลื่อง ติจันทร์ ตะลุยสวนลุ


26 นายปราณีเจริญนาม บ้านคันเบ็ด ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช "จำความได้ก็มีจำปาดะอยู่ในอำเภอลานสกาแล้ว ต้นพันธุ์ได้มาจากวัด เพราะชาวบ้านนำ จำปาดะไปถวายพระ ถ้าลูกไหนเนื้อสวย หวาน ก็จะนำ เมล็ดลูก นั้นมาเป็นแม่พันธุ์ แต่การปลูกเมล็ดมักจะกลายพันธุ์ แม่พันธุ์ลูกใหญ่ แต่รุ่น ลูกอาจจะได้ผลเล็กก็ได้" "จำปาดะชอบให้โคนแห้ง จึงต้องตัดหญ้าให้โล่ง จำปาดะถ้าใบเริ่ม ร่วงจะเริ่มออกดอก ถ้าใบร่วงมาก จะมีลูกดกมาก" "ในสมัยก่อน จำปาดะจะเน้นการน้ กินสด แปรรูปจะน้อย น้ มีการกวน การทอด ทานสดกับน้ำ กะทิ" "ต้นจำปาดะ เป็นไม้เนื้อแข็ง จึงนำ มาทำเสาบ้าน ทำตู้ทำเตียง โต๊ะ เก้าอี้ได้" "จำปาดะในอำเภอลานสกาจะมีความแตกต่างกัน มีเนื้อหลายสี สีขาว สีเหลือง สีนาค และจำปาดะบ้านเขาแก้วกับจำปาดะบ้านในปลิกจะมีรสชาติที่แตกต่าง กัน คนทั่วไป ชาวสวนเองก็ดูแยกไม่ออก แต่แม่ค้ารับซื้อจะดูออกว่าเป็น จำปาดะบ้านเขาแก้ว หรือ บ้านในปลิก" ชวนคุย คุ


27 "จำปาดะแถวลานสกาจะมีปริมาณน้อยเน้ มื่อเทียบกับที่อื่น จะมีมากแถวเขาแก้ว แถวกำโลน" "ปลูกเป็นสวนสมรมร่วมกับไม้หลากหลายชนิด เช่น มังคุด กะท้อน และไม้ป่า"ป่ "จำปาดะชอบอากาศและดินแถบเชิงเขา ที่สวนก็จะติดกับเชิงภูเขา ดินจะดีมี ความอุดมสมบูรณ์ ดูแลรักษาน้อยกน้ ว่าผลไม้ชนิดอื่น จึงไม่ต้องยุ่งยาก ใส่ปุ๋ยปุ๋บำรุงปีละ 2 ครั้งก็เพียงพอ" "เพิ่งได้มีโอกาสมาดูแลทำสวนจำปาดะจริงจังราว ๆ 5 ปี หลังจากเกษียณอายุ ราชการครูมา ก็มาทำรีสอร์ทในสวนจำปาดะ" "ใช้ถุงดำหุ้มผลจำปาดะแทนกล เพราะสะดวกดี แต่ไม่ได้ทำเองจ้างคนงานมา ใส่ถุงดำให้ปีนี้ขายจำปาดะได้เยอะ เริ่มมีขายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ นอกฤดู ราคาดีกิโลละ 80 บาท" บ้านวังหงส์ ต.ลานสกา อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช นางณิชาภัทร เสนาคชวงศ์ ตะลุยสวนลุ


28 นายอุทัย ถวัลย์ธรรม ตะลุลุยสวน ชวน ลุ ยสวน ชวน ลุ คุคุยเ คุ ยเ คุ รื่รื่องรื่ องรื่ จำปาดะนายโชค ศรีกาญจน์ นางโสภา ศักดิ์ธานี นายสุริยะ บุญมา นางหนูเปลื่อง ติจันทร์ นายปราณีเจริญนาม นางณิชาภัทร เสนาคชวงศ์


สารพัดประโยชน์ ส่วนต่างๆ ของต้นจำปาดะมีสรรพคุณ จำปาดะ ในการรักษาโรคต่าง ๆ เนื้อผลอ่อน: ช่วยแก้อาการท้องเสีย แก้บิด ช่วยฆ่าเชื้อโรค ยับยั้ง การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยฝาดสมาน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมู นุลอิสระที่ช่วยต้าน การอักเสบ ทั้งยังอาจยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ มีโพแทสเซียมสูง จึงช่วยลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดได้ มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องป้ กันภาวะตาแห้ง ตาบอดกลางคืน ตาพร่ามัว เนื้อผลสุก มีใยอาหารสูง ช่วยปรับปรุงการทำงานของ ระบบเผาผลาญพลังงานและแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับไขมันและสารพิษออกไปจากร่างกาย เปลือก มีสารสกัดเอทานอล มีประสิทธิภาพ ในการต้านเชื้อมาลาเรีย 29


เมล็ดต้มเกลือ ทานกับ มะพร้าวทึนทึกคลุกเกลือ เล็กน้อยน้ เมล็ดจำปาดะ: ช่วยขับน้ำ นม ในสตรีหลังคลอดและช่วย บำรุงร่างกาย ใบอ่อน ลวกจิ้มน้ำ พริก ลำต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้เป็น วัสดุก่อสร้าง ในมาเลเซียมีการใช้รากของจำปาดะเป็น ส่วนผสมของยาสมุนไพรแบบดั้งเดิมที่ใช้ สำหรับหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร ที่มา: https://medthai.com 30


ส่องซิจ๊ะ ส่องซิจ๊ะ 31 จำปาดะ แปลงกาย เนื้อหวานฉ่ำ ของจำปาดะสามารถรับประทานสด หรือแปรรูปได้หลากหลายเมนู รับประทานสด จำปาดะกวน แกงบวดจำปาดะ จำปาดะสุก 10 ยวง หัวกะทิ 200 มิลลิลิตร หางกะทิ 250 มิลลิลิตร น้ำ ตาลมะพร้าว 80 กรัม เกลือ ½ ช้อนชา ใบเตยหอม 1 ใบ เนื้อจำปาดะ 5 กก. น้ำ ตาลทราย 300 กรัม เกลือ ½ ช้อนชา แกงบวดที่หาทานยาก ไม่มีขายในตลาดทั่วไป การถนอมอาหารที่สร้างมูลค่า


ส่องซิจ๊ะ ส่องซิจ๊ะ 32 จำปาดะทอด แป้งป้ข้าวเจ้า 1 ถ้วย แป้งทอดกรอบ 2 ป้ ถ้วย มะพร้าวขูด 1 ถ้วย น้ำ กะทิ ½ ถ้วย น้ำ ตาลทราย ½ ถ้วย น้ำ ปูนใส ½ ถ้วย เกลือ ½ ช้อนชา งาขาวหรืองาดำ ½ ถ้วย ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ ขนมที่อยู่คู่ร้านขายกล้วยแขก เนื้อจำปาดะ 120 กรัม น้ำ ตาลทรายขาว 80 กรัม น้ำ มันรำข้าว 50 กรัม แป้งสาป้ ลีอเนกประสงค์ 100 กรัม ผงฟู 1 ช้อนชา ไข่ไก่ 2 ฟอง เค้กจำปาดะ ความร่วมสมัยระหว่างความเป็นพื้นบ้านและอินเตอร์ ข้าวต้มมัดใส้จำปาดะ เครดิตภาพ: ปลายแป้นป้ พิมพ์ ไม่มีขายในตลาดทั่วไป


ส่องซิจ๊ะ ส่องซิจ๊ะ 33 แกงคั่วจำปาดะผลอ่อน เครื่องแกงคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ เนื้อจำปาดะผลอ่อน 1 ถ้วย เนื้อสัตว์ 1 ถ้วย กะปิ 1 ช้อนโต๊ะหัวและหางกะทิอย่างละ 1 ถ้วย น้ำ ตาลทราย 1 ช้อนชา เกลือ 1 ช้อนชา ใบมะกรูด 5 ใบ พริกไทยอ่อน 3 พวง พริกชี้ฟ้าเฟ้ ขียวหรือแดง 1 เม็ด น้อยคนน้ ที่คนที่รู้จัก น้อยคนน้ ที่เคยได้กิน “รู้ว่าทำได้ แต่ป้าหมาเคยป้ กิน” (แม้อายุเกิน 60 ปี และเป็นคนลานสกามาตั้งแต่เกิด) "หมาเคยกิน" = "ไม่เคยกิน" ไข่ไก่ 3 ฟอง เนื้อจำปาดะ 300กรัม หัวกะทิ 2 ถ้วย น้ำ ตาลปี๊บ 1 ถ้วย เกลือ ½ ช้อนชา ใบเตย 2 ใบ ทองหยอดจิ๋ว 2 ช้อนโต๊ะ หม้อแกงเนื้อจำปาดะ


แกงไตปลา ใส่เมล็ดจำปาดะ ส่องซิจ๊ะ แก่นและใบ ใช้ทำสี ย้อมผ้า ส่องซิจ๊ะ น้ำ ไตปลาต้มสุก 2 ถ้วย เครื่องแกงเผ็ด 1 ช้อนโต๊ะ เนื้อปลาย่าง 1 ถ้วย เมล็ดจำปาดะ 1 ถ้วย ผักตามชอบ 1 ถ้วย ตะไคร้ 2 ต้น ใบมะกรูด 5 ใบ น้ำ ตาลทราย 2 ช้อนชา มะนาว 1 ลูก แกงพุงปลา เมนูคู่โต๊ะอาหารที่ขาดกันไม่ได้ อัตลักษณ์ชาวณ์ ปักษ์ใต้ บ้านเรา ส่องซิจ๊ะ สีย้อมผ้าจากแก่นและใบ แก่นไม้จำปาดะ 3 กิโลกรัม ใบจำปาดะ 1 กิโลกรัม น้ำ เปล่า 5 ลิตร เกลือแกง 60 กรัม ผ้าที่ต้องการย้อม อุปกรณ์สำ ณ์หรับต้ม เตา+ถ่าน 34


แนะนำ การใช้งาน โปรแกรม AR โหลดโปรแกรม V-Player ใน สมาร์ทโฟน และสแกน QR-Code ผ่าน V-Player เพื่อเข้าไป ทำงาน


ข้อมูลจำปาดะลานสกา www.lansakachampedak.com


ขอขอบคุณ เครือข่ายความข่ ร่วมมือ ที่ทำการอำเภอลานสกา สำนักงานเกษตรอำเภอลานสกา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครศรีธรรมราช เจ้าหน้าน้ที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง


สร้างสรรค์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวัลรัตน์ ศน์ รีนวลปาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลัยภรณ์ ศรเกณ์ ลี้ยง ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตยากร ไทยพันธ์ อาจารย์จีรวัฒน์ นาคน์สุวรรณ์ อาจารย์อวยพร ชูแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ เสนาน์ ดร.กฤตภาส สงศรีอินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.บำรุง ศรีนวลปาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนฐานอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิต


Click to View FlipBook Version