The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นวัตกรรมเทคโนโลยี (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-04-08 11:12:46

นวัตกรรมเทคโนโลยี (1)

นวัตกรรมเทคโนโลยี (1)

การจัดการ
ข้อมูล

สารสนเทศ!

ข้อมูล
และ

สารสนเทศ!

ข้อมูล

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่
เกี่ยวข้องกับสิ่ งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่ งของ
สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการ
สื่อสาร การแปลความหมาย และการประมวลผล

สารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่าน
กระบวนการประมวลผล อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หา
ค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัย
ดำเนินงาน เป็นต้น

ข้อมูลแบ่งออก
เป็น 2 ประเภท

ข้อมูลปฐมภูมิ
(Primary data)

ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่ได้มา
จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนที่
ได้มาจกการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การ
สัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง
ข้อมูลสิ นค้าที่ได้จากการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด
ข้อมูลบัตรเอทีเอ็มที่ได้จากเครื่องอ่านแถบแม่
เหล็ก ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย
และเป็นปัจจุบัน

ข้อมูลทุติยภูมิ
(Secondary data)

ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว
โดยมีผู้ใดผู้หนึ่ ง หรือหน่วยงานได้ทำการเก็บ
รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้น
สามารถนำมาอ้างอิงได้เลย เช่น ข้อมูลจาก
ทะเบียนสะสม รายงานประจำปี สารานุกรม
และเอกสารเผยแพร่ เป็นต้น

ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
การได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี ถูก
ต้อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์
หรือตามความต้องการของผู้ใช้นั้ น
ข้ อ มู ล ที่ นำ ม า เ พื่ อ ใ ห้ ไ ด้ ส า ร ส น เ ท ศ
นั้ นควรมีคุณลักษณะ ดังนี้

มีความถูกต้อง แม่นยำ (Accuracy)

สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริง และเชื่อ
ถือได้ สารสนเทศบางอย่างมีความสำคัญ หากไม่ตรง
กับความเป็นจริงแล้ว อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายได้
สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำจะต้องเกิดจากการป้อน
ข้อมูล รวมถึงโปรแกรมที่ประมวลผลจะต้องถูกต้อง

ทันต่อเวลา (Timeline)

สานสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้งาน กล่าวคือ ข้อมูลที่ป้อนให้
กับคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหมายเลข
โทรศั พท์ของผู้ปกครองนักเรียนจะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย
หากหมายเลขโทรศั พท์ล้าสมัยก็ไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้
หากเกิดกรณี ฉุกเฉิ น

มีความสมบูรณ์ครบถ้วน (Complete)

สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความครบถ้วน สารสนเทศที่มีความครบถ้วน

เกิดจากการเก็บข้อมูลได้ครบ หากเก็บข้อมูลเพียงบางส่ วนก็จะไม่

สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น

ข้อมูลนั กเรียนจะต้องเก็บรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับนั กเรียนให้ได้

มากที่สุด เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ ชื่อผู้กครอง หมายเลขโทรศั พท์ คะแนนที่

ได้ในแต่ละวิชา เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ครูสามารถนำข้อมูลไปใช้

ประโยชน์ ได้อย่างเต็มที่

มีความสอดคล้องกับความต้องการ
ของผู้ใช้ (Relevancy)

สารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ กล่าวคือ การเก็บ
ข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งานของผู้ใช้ว่าต้องการในเรื่องใดบ้าง จึง
สามารถสรุปสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ตัวอย่าง
เช่น หากต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียนก็ต้องถามครูว่าต้องการเก็บข้อมูลใด
บ้าง เพื่อให้ครูสามารใช้ประโยชน์ได้จริง

สามารพิสูจน์ได้ (Verifiable)

สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบที่มาได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้
ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้

ระบบสารสนเทศ

ฮาร์ดแวร์

คืออุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องหรือส่ วนประกอบ

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์

คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่อง

คอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข เป็นต้น

ซอฟต์แวร์

คือ ชุดคำสั่งหรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่า โปรแกรมที่สามารถสั่ง
การให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขต
ความสามารถที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมนั้ นๆสามารถ
ทำได้ ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1) ซอฟต์แวร์ระบบ
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์

บุคลากร

คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ ซึ่งจะต้องมีความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์
ตามหน้าที่และความรับผิดชอบ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์มีหลากหลายระบบ
ดังนี้

1) ระดับผู้ใช้งาน เป็นผู้นำสารสนเทศที่ได้จากระบบสารสนเทศไปใช้งาน
2) ระดับผู้พัฒนาระบบ เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ ได้แก่ นักวิเคราะห์
ระบบ ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับหน่วย
งาน และนักเขียนโปรแกรม ทำหน้าที่เขียนคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อให้
ระบบสารสนเทศทำงาน

ข้อมูล

คือ ข้อเท็จจริงที่อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ แสง
สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ภาพ วัตถุ หรือหลายๆอย่างผสม
ผสานกัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้

กระบวนการ

คือ ขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ในการปฏิบัติงานในระบบ
สารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ กระบวนการทำงานจะ
อยู่ในรูปแบบของคู่มือการใช้งานสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้น
คู่มือจะต้องอธิบายการใช้งานระบบอย่างละเอียดและเป็นภาษาที่
เข้าใจง่าย องค์ประกอบของระบบสารสนเทศต้องทำงานสัมพันธ์
กัน ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ งไม่ได้ เพื่อให้เกิด
การประมวลผล และได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

การประมวลผลข้อมูล
สารสนเทศ

Input ข้อมูลนำเข้า

Process การประมวลผล

Output ข้อมูลออก

Thank You

นางสาวนัสรีน ดือราแม
รหัสนักศึ กษา 6320117176


Click to View FlipBook Version