The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สูจิบัตรโครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ไทย เรื่อง เสน่ห์บางกอก เล่าบอกท่าเตียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jatuporn Chaiya, 2022-05-22 04:40:54

สูจิบัตรโครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ไทย เรื่อง เสน่ห์บางกอก เล่าบอกท่าเตียน

สูจิบัตรโครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ไทย เรื่อง เสน่ห์บางกอก เล่าบอกท่าเตียน

โครงการปริญญานพิ นธท์ างดรุ ยิ างคศิลป์ไทย
เร่อื ง “เสน่ห์บางกอก เลา่ บอกท่าเตียน”

โดยนสิ ติ ช้นั ปีที่ 4 สาขาวชิ าดุรยิ างคศลิ ปไ์ ทย ภาควชิ าดรุ ิยางคศิลป์
คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย

วันท่ี 20 พฤษภาคม 2565 เวลา 19.00 น. เป็นตน้ ไป
ผ่านทาง Page Facebook : CU FAA Thai Music Student

และ www.Charmofoldtown.com

สารคณบดี

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 ในการจัดแสดงผลงาน
โครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ไทย เรื่อง “เสน่ห์บางกอก เล่าบอกท่าเตียน”
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้รายวิชา 3503490 งานโครงการทางดุริยางคศิลป์
(SENIOR PROJECT IN MUSIC) ผลงานที่นิสิตสร้างสรรค์ขึ้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ
ของ “ว่าที่ศิลปินบัณฑิต” อันเป็นผู้ประกอบด้วยภูมิความรู้ สมดั่งคำว่า
“บัณฑติ ผมู้ ีความรู้ คคู่ ณุ ธรรม”

การจัดแสดงผลงานโครงการปริญญานิพนธ์ เป็นผลแห่งการบูรณาการองค์ความรู้
ตลอดการศึกษา สร้างสรรค์เป็นโครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ไทย เรื่อง
“เสน่ห์บางกอก เล่าบอกท่าเตียน” เพื่อเผยแพร่ความเป็นมาและความสำคัญของชุมชน
ท่าเตียน รวมถึงเรื่องเล่าคติชนของคนในชุมชน โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบของ
ดุริยางคศิลป์ไทยให้เป็นที่ปรากฏในสังคม การดำเนินโครงการปริญญานิ พนธ์นี้
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบพระคุณคณาจารย์
และผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนนิสิตในการให้ข้อมูลสัมภาษณ์และการให้
คำปรึกษา ตลอดจนสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมที่ได้อำนวยความสะดวกสถานที่สำหรับ
บนั ทึกการแสดง และผสู้ นับสนนุ จากภาคเอกชนทุกท่าน ณ โอกาสนี้

สุดท้ายนี้ ขออาราธนาอำนาจสิ่งศักดิส์ ิทธิ์โปรดปกปักรักษา ดลบันดาลให้การแสดง
ประสบผลสำเร็จ และอำนวยพรให้ประสบโชค รงุ่ เรอื งในกจิ อันประสงค์ สมปรารถนาทุก
ประการเทอญ

ศาสตราจารย์ ดร.บษุ กร บิณฑสันต์
คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั

สารหวั หน้าภาควชิ าดรุ ิยางคศลิ ป์

โครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ไทย ดำเนินการมาตัง้ แต่เปิดทำการเรียน
การสอนศาสตร์ด้านนี้มาพร้อมกับการก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยนิสิตรุ่นที่ 1
ทำการแสดงผลงานเมื่อต้นปี พ.ศ. 2530 หลังจากนั้นมีการจัดการแสดงมาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป็นการบูรณาการศาสตร์ที่นิสิตได้ทำการศึกษามาตลอด 7 ภาคการศึกษานำมา
จัดการแสดงผลงานให้ประจักษ์กับสาธารณชน เนื้อหาการจัดการแสดงมีความ
หลากหลายแตกตา่ งกนั ออกไป

สำหรับปีการศึกษา 2564 นี้ นิสิตชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 36 ดำเนินการวิจัยและจัดการ
แสดงหัวข้อ “เสน่ห์บางกอก เล่าบอกท่าเตียน” ซึ่งเป็นการนำความเป็นมา
และความสำคัญของชุมชนท่าเตียน บริบททางสังคมของชุมชนท่าเตียน รวมถึงการนำ
เรื่องเล่าของคนในชุมชนท่าเตียนมาตีความ และจัดการแสดงในรูปแบบทางดุริยางคศิลป์
ไทยให้ปรากฏ ในนามสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์สาขาวิชาดรุ ิยางคศลิ ป์ไทย คณะศิลปกรรม
ศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ตลอดจนให้คำปรึกษาชี้แนะแก่นิสิต
ทำให้การแสดงคร้ังนปี้ ระสบความสำเรจ็ ได้อกี วาระหน่ึง

สุดท้ายนี้ ขออาราธนาอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บารมีแห่งเทพสังคีตาจารย์
สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โปรดดลบันดาลให้การแสดงประสบผลสำเร็จ
และคุ้มครองปกปักรักษาให้นิสิตของสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทยทุกคนเป็นผู้คิดดี
ทำดี มีความตั้งใจเป็นคนดีของสังคม คิดประสงค์ทำสิ่งใดให้มีความสำเร็จไปในทิศทาง
ของบคุ คลที่เปน็ ผู้มธี รรมนิยมทุกประการเทอญ

รองศาสตราจารย์ ดร. ภทั ระ คมขำ
หวั หนา้ ภาควชิ าดรุ ยิ างคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

โครงการปรญิ ญานพิ นธท์ างดรุ ิยางคศิลป์ไทย เร่ือง “เสนห่ บ์ างกอก เล่าบอกท่าเตยี น”

ความเป็นมาและความสำคัญของปญั หา

ท่าเตียนเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากอยู่ติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยา
มีทำเลเหมาะแก่การค้าขาย เรือสำเภา เรือสัญจร และเรือใบขนาดเล็กเข้ามาจอดขนถ่าย
สินค้าในชุมชนได้อย่างสะดวก จึงเป็นสถานที่สำหรับจอดเรือสำเภามาตั้งแต่ ครั้ง
กรุงศรีอยุธยา เมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พื้นที่ท่าเตียนตั้งอยู่ในเขตพระนครและเขตของ
เกาะรัตนโกสินทร์ บริเวณทิศใต้ใกล้กับปากคลองตลาด ถือเป็นทั้งย่านพาณิชยกรรม
เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ วิถีชุมชน วัฒนธรรม และการค้าขายของไทย
ทมี่ คี วามสมั พนั ธก์ บั การคมนาคมทางน้ำซง่ึ เปน็ การคมนาคมหลักในอดีต

ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี พื้นที่ท่าเตียนเป็นบริเวณพื้นที่ฟากตะวันตก
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานให้แก่พระยาราชาเศรษฐี
หัวหน้าชาวจีน และไพร่พลกองทัพจีนที่เคยช่วยรบพม่าซึ่งอพยพติดตามมาจาก
กรุงศรีอยุธยา จึงทำให้เกิดชุมชนชาวจีนขึ้นรอบบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง
(ดำรงพล อินทร์จันทร์, 2558, น.21) พื้นที่ท่าเตียนเดิมจึงเป็นพื้นที่ที่มีเศรษฐีและชาวจีน
เข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก อีกทั้งการตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งเจ้าพระยา เป็นท่าเรือจอดเรือ
สำเภา เรือใบ เรือสัญจรหลากหลาย และทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างรวดเร็ว เกิดเป็นชุมชนมีท้ังที่เป็นบ้านเรือนราษฎร พื้นที่ของวัง วัด สถานที่ราชการ
และบ้านขุนนาง (พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2559, น.8) และยังมีตลาดที่มีลักษณะ

เป็นเรือนแพ เรือเร่ ตั้งอยู่บริเวณริมน้ำ มีทั้งการขายปลีกและขายส่งอาหารแห้ง-สด
หรือรับสินค้าจากสถานที่ต่าง ๆ มาขายแก่ชาววังและชาวเมืองในพระนคร รูปแบบการ
ขายสินค้าดงั กล่าว เรียกว่า ยีป่ ๊ัว-ซาปวั๊ และเรียกแหลง่ รวมของสินค้าวา่ โชหว่ ย

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง การค้าขายกับต่างชาติเติบโต
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาความเจริญของเมือง
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการตัดถนนหลายสาย ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนจากเดิมที่เป็น
การใช้ชีวิตทางน้ำกลายเป็นการใช้ชีวิตทางบก ถนนหลายสายที่ถูกตัดผ่าน
พระบรมมหาราชวังกลายเป็นถนนที่มีความสำคัญ ตลาดท่าเตียนซึ่งอยู่ใกล้
พระบรมมหาราชวังจึงเป็นตลาดใหญ่มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวาง ทั้งยังเป็นท่าเรือสำคัญ
ในการขนถ่ายสินค้า เช่น สินค้าที่บรรทุกมาจากจีน สินค้าที่บรรทุกมาจากหัวเมืองเหนือ
และใต้ ทำใหท้ า่ เตียนเป็นศูนยก์ ลางการคา้ ขายและชุมชนท่สี ำคัญ อกี ทัง้ ยังเป็นศูนย์กลาง
ของสถานที่ราชการและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น โรงละครปริ๊นซ์เธียเตอร์
กระทรวงพาณิชย์ วังเจ้านายต่าง ๆ อาทิ วังของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)
เป็นต้น ความเจริญในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ท่าเตียนเป็นแหล่งที่มีความเจริญทาง
เศรษฐกิจและมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งพื้นที่ใกล้รายรอบยังมี
วัดที่สำคัญ คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) และ
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) ทำให้เกิดเป็นเล่าปรัมปราของชาวบ้านที่
กล่าวถึงตำนานการเกิดพื้นที่ท่าเตียนหรือที่รู้จักกันในชื่อของตำนานยักษ์วัดแจ้งและ
ยักษ์วัดโพธิ์ยกพวกมาต่อสู้กันที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนทำให้บริเวณนั้นราบเตียนไปหมด
(พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้, 2559, น.15) นับเป็นหนึ่งเรื่องราวที่มีคุณค่าทางจิตใจ สอดแทรก
คติสอนใจให้แก่ผู้คน ชาวบา้ นในชุมชนทา่ เตียนจงึ นยิ มเล่าสบื ตอ่ กนั มารุน่ สรู่ ่นุ

ปัจจุบัน การมีรถไฟฟ้าและการเข้ามาของนายทุนใหญ่ ทำให้ชุมชนท่าเตียน
กลายเป็นย่านพาณิชยกรรมเต็มรูปแบบ การตระหนักถึงคุณค่าของชุมชนของผู้คน
ได้เลือนหายไป (ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร, สัมภาษณ์, 2 กุมภาพันธ์ 2565)

แต่ชุมชนท่าเตียนยังคงเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สถานที่ต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นวัด วัง บ้านเรือน หรือตลาดที่เป็นศูนย์กลางการค้าขาย ล้วนแสดงถึงอดีต
ท่เี คยร่งุ เรืองเป็นศนู ย์กลางความเจริญของบางกอก ดว้ ยเหตผุ ลดงั กล่าวคณะนสิ ิตผ้ดู ำเนิน
โครงการฯ มีความประสงค์ที่จะนำเสนอประวัติความเป็นมาและความสำคัญของ
ชุมชนท่าเตียน รวมถึงการนำเรื่องเล่าปรัมปราตำนานยักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเรือ่ งราวความเชื่อของชาวบา้ นทีเ่ ชือ่ มโยงกับการเกิดข้ึนของชุมชนท่าเตียน
มาสร้างสรรค์เป็นโครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ไทย เพื่อส่งเสริมและ
อนรุ ักษค์ วามเป็นชุมชนทา่ เตียน ตลอดจนเผยเเพรท่ า่ เตยี นให้เป็นท่ีรจู้ กั แกส่ าธารณชน

วตั ถปุ ระสงค์การวจิ ยั
1. เพอ่ื ศกึ ษาประวัตแิ ละความสำคญั ของชมุ ชนท่าเตียน
2. เพือ่ ศึกษาบริบททีเ่ กีย่ วข้องดา้ นดรุ ิยางคศลิ ปไ์ ทย
3. เพื่อนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์เป็นผลงานในโครงการปริญญานิพนธ์

ทางดุริยางคศิลปไ์ ทย เร่ือง “เสน่ห์บางกอก เล่าบอกท่าเตียน” และเผยแพร่ส่สู าธารณชน

ประโยชนท์ ่ีคาดวา่ จะได้รบั
1. ทราบประวัตแิ ละความสำคญั ของชุมชนท่าเตยี น
2. ทราบบริบททเี่ กย่ี วขอ้ งดา้ นดรุ ยิ างคศิลป์ไทย
3. สามารถนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์เป็นผลงานในโครงการปริญญานิพนธ์

ทางดรุ ยิ างคศลิ ปไ์ ทย เรือ่ ง “เสน่ห์บางกอก เล่าบอกทา่ เตยี น” และเผยแพรส่ ู่สาธารณชน

การแสดงที่ 1 เพลงโหมโรงบำเรอบรมบาท
วงมโหรีเครอื่ งคู่

การประพันธ์เพลงโหมโรงบำเรอบรมบาท สามชั้น ได้รับแรงบันดาลใจ
จากการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ท่าเตียนในสมัยกรุงธนบุรี
แสดงถึงแนวคิดเนื่องด้วยสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกพื้นที่
บางส่วนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ซึ่งเป็นบริเวณท่าเตียนในปัจจุบัน
ให้เป็นที่พักอาศัยแก่ชาวจีนในกลุ่มของพระยาราชาเศรษฐี ที่ได้รับความดีความชอบ
จากการช่วยรบในศึกพม่าและติดตามมาจากกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังสื่อถึงการเข้ามา
เพือ่ พงึ่ พระบรมสมโพธิสมภาร ก่อให้เกิดชมุ ชนทา่ เตยี นทมี่ คี วามเจริญสบื มาจนปจั จบุ ัน

คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการฯ จึงนำแรงบันดาลใจดังกล่าวมาประพันธ์
เพลงโหมโรงบำเรอบรมบาท สามชัน้ มี 2 ทอ่ น ใช้หน้าทบั สองไม้ สามชน้ั มีการใช้จังหวะ
หน้าทับ 53 จังหวะหน้าทับ เป็นเพลงสำเนียงจีน โดยอาศัยทำนองต้นราก
จากเพลงจีนบำเรอบรมบาท สองชั้น ประพันธ์ตามขนบดุริยางคศิลป์ไทย โดยใช้รูปแบบ
การประพันธ์ ด้วยวิธีการขยายทำนอง ลงจบด้วยทำนองวา ตามขนบครบกระบวนการ
บรรเลงเพลงโหมโรง วงทใ่ี ชน้ ำเสนอผลงาน คือ วงมโหรเี คร่ืองคู่

โดยศาสตราจารย์ ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ ควบคุมการฝึกซ้อมและปรับวง
รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ให้คำปรึกษาดา้ นการประพนั ธเ์ พลง

การแสดงท่ี 2 เพลงเชตพุ น เถา
วงปพ่ี ายไ์ ม้แขง็ เครอื่ งคู่

“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า
“วัดโพธิ์” เป็นวัดที่บูรพกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีไดโ้ ปรดเกล้าฯ ให้มีการสถาปนาก่อสร้าง
พระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร อีกทั้งบูรณะของที่มีมาแต่เดิม ตลอดจนให้จารึก
สรรพตำราวิทยาการมากมายลงบนหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ดังที่ปรากฏ
เห็นในปัจจุบัน ด้วยวิทยาการความรู้ต่าง ๆ มากมายที่ปรากฏภายในบริเวณวัดแห่งนี้ทำ
ให้“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” เปรียบได้กับมหาวิทยาลัยเปิดแห่ง
แรกของประเทศไทย และภายในวัดยังประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย หนึ่งในนั้นคือ
พระพทุ ธไสยาสน์ เปน็ พระพทุ ธรปู ทผ่ี ูค้ นทว่ั ไป กราบไหวแ้ ละสกั การะบชู า

คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการ ฯ จึงได้นำแรงบันดาลใจ จากการรวบรวมวิทยาการ
ความรู้ต่าง ๆ ใน “วัดโพธิ์” มาประพันธ์เปน็ เพลงเถา ใช้หน้าทับปรบไก่ ท่อน 1 มีจังหวะ
หน้าทบั 5 จังหวะหน้าทับ และทอ่ น 2 มจี งั หวะหนา้ ทบั 11 จงั หวะหน้าทับ รวมทั้งหมดมี
จังหวะหนา้ ทบั ทง้ั หมด 16 จังหวะหนา้ ทับ ซึง่ ประพันธจ์ ากเพลงต้นราก 2 เพลง โดยท่อน
ที่ 1 ประพันธ์จากทำนอง เพลงเอกบท เป็นการนำเพลงเอกบท สองชั้น มาขยายและตัด
ทอน ส่วนท่อนที่ 2 เป็นการนำกลิ่นไอของเพลงโปรยข้าวตอกมาสร้างเป็นทำนอง
วงทีใ่ ชน้ ำเสนอผลงาน คอื วงป่ีพาทย์ไมแ้ ขง็ เครอื่ งคู่

โดยอาจารย์ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน และรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ
เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการประพันธ์เพลง อาจารย์ ดร.ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงศ์
เป็นผใู้ หค้ ำปรกึ ษาทางรอ้ ง

สามชัน้ ไทป้ ระสิทธว์ิ ดั เวียงวังดัง่ สวรรค์
ท่อน 1 ทรงเสกสรรวดั โพธ์เิ พี้ยงเพียงเมืองแมน
เอกองคอ์ คั รราชบพติ ร
อุปถมั ภ์ค้ำพระศาสนป์ ราชญอ์ นันต์ จตุราชเจดียท์ ่หี วงแหน
ทอ่ น 2 งามสุดแสนศลิ ป์จนี ไทยไดร้ ะคน
ลำ้ เลศิ ศลิ ป์สถาปตั ยส์ มบัตชิ าติ
องคพ์ ระพุทธไสยาสนว์ ลิ าสแดน ทัง้ กลอนกานทเ์ กรกิ ไกรไปทกุ หน
สยามชนนบั มีโชคโลกยลยิน
สองชั้น
ทอ่ น 1 งามจำรสั คฟู่ า้ นภาสินธ์ุ
แหลง่ รวมสรรพวชิ ามหาศาล สมดังจนิ ตจ์ อมปราชญร์ าชกวี
ศาสตรก์ ารแพทย์รปู ฤๅษที ด่ี ดั ตน
ท่อน 2 งามด่ังทองตอ้ งแสงแก้วแววรังสี
ศลิ ปะ วฒั นธรรมประจำรฐั เป็นระพสี ่องแสงธรรมอา่ อำไพ
ยังเรือ่ เรอื งประเทอื งฟ้าและแดนดนิ

ช้ันเดยี ว
ทอ่ น 1
สรรพสิ่งไพศาลตระการกอ้ ง
หากศาสตรค์ งศลิ ปจ์ ักอยู่คธู่ านี

ทอ่ น 2 พระจอมเจา้ ทรงบำรุงจงุ่ ไสว
ขอเดชะบารมที ีป่ กเกลา้ ดำรงไว้คชู่ าติพลิ าสงาม

ปรชั ญาแหง่ พทุ ธธรรมประจำไทย

การแสดงท่ี 3 ตบั เรอ่ื งชมุ ชนทา่ เตียน
วงปพี่ าทย์ไมน้ วมเครอื่ งคู่ วงเคร่อื งสายผสมขิม

ตับเรื่อง ชุมชนท่าเตียน คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการฯ ได้ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่
โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนชุมชนท่าเตียน
บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งการเดินทางเข้ามาตั้งที่อยู่อาศัย
การประกอบชพี การค้าขายบนเรือนแพ ตลอดจนการเข้ามาของชาวต่างชาติ และการเป็น
ศูนย์รวมความเจริญด้านต่างๆ อันก่อให้เกิดความเจริญของชุมชนท่าเตียน มาเรียบเรียง
และสรา้ งสรรค์ เปน็ ผลงานทางดรุ ยิ างคศลิ ป์ไทย

เพลงที่นำมาบรรจุในตับเรื่องมีหลายประเภท ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ เพลงอัตราสองช้ัน
หน้าทับปรบไก่ เพลงอัตราสองชั้นหน้าทับสองไม้ เพลงฉิ่งอัตราจังหวะชั้นเดียว
เพลงอตั ราจังหวะชนั้ เดยี วประเภทหน้าทับสองไม้ (เพลงเร็ว) เพลงภาษาต่าง ๆ

ตับเรื่องชุมชนท่าเตียน ได้รับความกรุณาจากอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
(ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้ให้คำปรึกษาในด้านการประพันธ์ บทร้อง อาจารย์
ดร.ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงศ์ เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านทางขับร้อง อาจารย์ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน
และรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ เป็นผู้ให้คำปรึกษาเร่ืองการบรรจุเพลง

คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการฯ ประสงค์ให้รับผู้ฟังได้รับอรรถรสของตับเรื่อง
จึงใช้วงเครื่องสายผสมขิมและวงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลง รวมถึงนำเครื่องประกอบจังหวะ
ของจีนและเครื่องประกอบจังหวะของฝรั่ง ประกอบการบรรเลงเพื่อสื่อถึงอารมณ์เพลง
สำเนยี งจนี และเพลงสำเนยี งฝรง่ั

ปีพ่ าทยท์ ำเพลงวา

พากย์

ศรสี ิทธ์สิ รวงบวร มง่ิ เมอื งมหานคร

เทียมเทพวมิ านเมืองแมน

พสธุ าผดุ ผาดแผน เย่ยี งเวนสิ วิศษิ ฏแ์ ดน

ทวยไทท้ า้ วประสิทธ์ินครา

ขบั ทำนองเสนาะเข้าซอสามสายเพลงขับไม้บณั เฑาะว์

สขุ สนองนานัปการ สมสถานไทยถ่นิ เทิดพระป่ินปกดา้ ว

เมืองอูข่ ้าวอู่นำ้ พสิ ุทธิ์ล้ำจำเนียร นามทา่ เตยี นสถาน

เอกโอฬารโลกหลา้ ประหนึง่ สรวงเมอื งฟ้า ฝากฟ้ามาประทาน โลกเฮย

ปพ่ี าทยแ์ ละเคร่ืองสายทำเพลงชำนาญ-รัว

ร้องเพลงนกจาก สองช้นั รับปพี่ าทย์

จากบางจีนสู่ทา่ เตียนเวียนบรรจบ หลกั ฐานพบครัง้ กรุงเกา่ คนเล่าขาน

ครั้นกรุงเทพถกู สร้างเสกเอกโอฬาร ภาพสถานทา่ เตยี นกเ็ ปลย่ี นไป

ป่พี าทยเ์ พลงฉิง่ ชา้ งประสานงา ออกเพลงลา

รอ้ งเพลงไทยนอ้ ย สองช้นั เข้าเคร่ืองสาย

เรมิ่ ประกอบการคา้ ขายหลายอาชพี นัน่ เรือแจวเร่งรบี จะไปไหน

โนน่ เรอื จ้างล่องลอยจอดคอยใคร มีผู้คนมากหลายในสายชล

รอ้ งเพลงกระทงน้อย ชน้ั เดียว เขา้ ปพ่ี าทย์

ดคู กึ คักคา้ ขายหลากหลายอย่าง เช่นปลาย่างแตงอลุ ดิ ผลติ ผล

ทง้ั เรอื นแพแลรายในสายชล เดิมดำกลคสู่ ยามว่าทา่ เตียน

ความเจรญิ รดุ หนา้ เขา้ มาแลว้ เรอื กำปั่นเรือเเจวกป็ รับเปลีย่ น

เรือสำเภาเรอื ใบไดแ้ วะเวียน เขา้ เย่ียมเยียนดจุ ญาติมิตรสนทิ ใจ

รอ้ งจนี ขิมเล็ก สองชัน้ เข้าเคร่ืองสาย

เกิดพนั ธสัญญาท่เี กยี่ วข้อง ภาษีตอ้ งวดั ปากเรอื ท่านเชือ่ ไหม

การค้าขายหลายหลากมากกำไร ตลาดใหญท่ ่าเตียนเขียนเรือ่ งราว

ปีพ่ าทย์และเคร่ืองสายบรรเลงเพลงจนี ฮอ่ แฮ ชั้นเดยี ว

รอ้ งตุ๊กตา สองช้ัน เข้าเคร่อื งสาย

เศรษฐกจิ ดเี ย่ียมเปีย่ มการค้า คนเขา้ มาหลายชาตอิ าจจะกล่าว

ท้งั ชาวจีนคนฝรัง่ มที ุกคราว องั กฤษก้าวเข้ามาค้ากบั ไทย

ปพี่ าทยแ์ ละเคร่ืองสายทำเพลงจีนหยุ ฮา

ร้องฝรง่ั ควง สองชนั้ รับป่ีพาทย์

เกดิ พนั ธเบาวร์ ิงยงิ่ ยุ่งยาก ต้องลำบากวกเวียนเปลย่ี นสมัย

ท่าเตยี นตอ้ งดำเนนิ เผชิญภัย ทงั้ ภายในภายนอกบอกวนั วาน

เรือใหญแ่ ลน่ ทำคล่นื ซาดฝาดลูกบวบ เรือนเล็กยวบลอยลำนา่ สงสาร

จากเรอื นแพแลรายในสายธาร กต็ ้องพานข้นึ ต้งั ยงั แผ่นดิน

ป่พี าทย์ทำเพลงโล้ ออกเพลงรวั

รอ้ งเพลงมารช์ ช่ิงทรยู อเยยี เข้าป่พี าทย์

เปลย่ี นวิถชี ุมชนคนแปรผนั บ้านเรอื นสรรค์อย่างวิรชั ประภสั ศิลป์

จากเรอื นไทยเป็นตกึ แถวประเทืองประทนิ วถิ ถี น่ิ คงตอ้ งเปลย่ี นหมนุ เวยี นไป

ร้องเพลงกลอ่ มพญา สองชั้น รับป่ีพาทย์

เจา้ พระยาคู่ท่าเตียนเขยี นบอกเลา่ เป็นภาพเก่าความทรงจำนำวสิ ัย

เมื่อกาลเปล่ียนคนตอ้ งปรับจับจติ ใจ คงเหลือไวเ้ ป็นภาพจำนำสงั คม

ปี่พาทย์ทำเพลงเรว็ เหมราช ออกเพลงเชดิ

การแสดงท่ี 4 กำเนดิ ทา่ เตยี น

วงป่พี าทย์ไม้แขง็

การแสดงชุด "กำเนิดท่าเตียน" คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการฯ ได้รับแรงบันดาลใจ
จากเรื่องเลา่ ทางคติชนวิทยาของชุมชนทา่ เตียนท่ีเปน็ ทรี่ ู้จักโดยท่ัวไป คือ เรือ่ งเล่าการวิวาท
ระหว่างยักษ์วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) และยักษ์วัดอรุณราชวรา
ราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากพื้นที่ส่วนหนึ่งของชุมชน
ท่าเตียนได้เกิดอัคคีเพลิงขึ้น ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นเหตุพื้นที่บริเวณนี้ราบเตียน เป็นที่มา
ของคำว่า "ทา่ เตยี น" ผู้คนจงึ เรียกขานตอ่ มาจนปจั จุบนั

เรื่องราวคติชนข้างต้นเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่าและแอบแฝงด้วยกุศโลบาย ต่อเยาวชน
รุ่นหลังให้มีความเคารพในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งเป็นเรื่องราวที่ทำให้ผู้คนรู้จักและสนใจ
ในพื้นที่บริเวณท่าเตียน คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการฯ ได้นำเรื่องเล่าดังกล่าวมาสร้างสรรค์
เป็นผลงาน โดยการขับเสภากล่าวถึงเหตุการณ์เพลิงไหม้ ซึ่งใช้เพลงกราวในทางระนาดทุ้ม
โดยครูสาลี่ มาลัยมาลย์ ทางระนาดทุ้มโดยบ้านดุริยประณีต ทางฆ้องวงใหญ่โดย
หลวงประดิษฐไพเราะ และทางระนาดเอกโดยครูสนิท ลัดดาอ่อน ซึ่งเป็นการถ่ายทอด
ก า ร ต ่ อ ส ู ้ ก ั น ข อ ง ย ั ก ษ ์ ท ั ้ ง ส อ ง ฝ่ า ย แ ล ะ ก า ร ห ้ า ม ป ร า บ ข อ ง พ ร ะ อ ิ ศ ว ร
คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการฯ ประสงค์ให้ระนาดทุ้มและฆ้องวงใหญ่แทนยักษ์สองฝ่าย
ระนาดเอกแทนพระอิศวร

การแสดงชุดกำเนิดท่าเตียน ได้รับการอนุเคราะห์จาก รองศาสตราจารย์
ดร.ภัทระ คมขำ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนวทางพร้อมให้ความอนุเคราะห์การถ่ายทอดทาง
เดี่ยวและฝึกซ้อมการแสดง วงดนตรีที่ใช้นำเสนอผลงานคือ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้สำหรับ
บรรเลงรับสง่ รอ้ งตามขนบทางดุริยางคศลิ ปไ์ ทย

ขบั เสภา

ข้นึ สามค่ำเดือนอ้ายในยามเศษ บังเกดิ เหตุเพลิงพลงุ่ ในกรุงใหญ่

ทัง้ วังเจ้าเหยา้ ราษฎร์พินาศไฟ อกเจ้าไพรเ่ ป็นระส่ำกลำ้ โศกา

คลอ้ ยหลงั มาปาฐกยกเรอื่ งเล่า จากเพลิงเผาเขา้ หักด้วยยกั ษา

ปากตอ่ ปาก หูสหู่ ู ไม่นานมา เรอื่ งววิ าทอสุราประจำแทน

กโลบายยา้ ยเรอ่ื งเน่อื งเพลงิ กาฬ ผูกตำนานขานช่ือใหล้ ือแสน

ใช้บรรยายขยายอรรถชดั ชอ่ื แดน เกิด "ท่าเตียน" เพราะยักษ์แค้นบาดหมางกนั

เดิมเปน็ เกลอ ยักษ์วดั โพธย์ิ ักษ์วดั แจ้ง ยักษว์ ดั โพธจิ์ ึงแถลงไร้เงนิ น่นั

จึงทำสตั ย์ยืมเงนิ นดั คืนวัน ใหค้ ำมน่ั แล้วบดิ พลิว้ ผิดสัญญา

ยกั ษ์วดั แจ้งแถลงทวงซงึ่ เบ้ียหวดั จากยกั ษ์วดั เชตพุ นดว้ ยโทสา

ยกั ษว์ ดั โพธ์ิไมค่ นื ซึ่งเงินตรา สองยกั ษาสรู้ บเขา้ โรมรนั

ร้องกราวใน สองชั้น รับปพ่ี าทย์

อตุ ลดุ รอบราบด้วยแรงรบ พระอิศวรเธอพบจึงสาปสรรค์

ให้ทง้ั สองเฝ้าวดั ไปช่ัวกัลป์ ท่าเตยี นน้ันพลันสงบสถาวร

การแสดงที่ 5 ระบำเพ็ญพฒั น์
วงปี่พาทยไ์ ม้นวมเคร่ืองคู่

ระบำเพ็ญพัฒน์ คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการ ฯ ได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์
จากความงดงามของวังเพ็ญพัฒน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ท่าเตียน ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างเป็นที่ประทับและพระราชทาน
ใหพ้ ระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหมนื่ พชิ ยั มหนิ ทโรดม หรอื พระองค์เจ้าเพ็ญพฒั นพงศ์

คณะนิสิตผู้ดำเนินโครงการฯ ได้นำทำนองเพลงต้นรากจำนวน 3 เพลงมาประพันธ์
เป็นเพลงระบำ เพื่อสื่อถึงความงดงามและความเจริญของท่าเตียนดังที่กล่าวข้างต้น
คือ เพลงเหมราช สองชั้น เพลงสาวคำ สองชั้น และเพลงสีนวลนอก สองชั้น
โดยใชว้ งปีพ่ าทย์ไมน้ วมเครอื่ งคู่

ระบำเพ็ญพัฒน์ ได้รับความกรุณาจากรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ
ใหค้ ำปรึกษาด้านการประพนั ธเ์ พลง

รายนามผ้บู รรเลงเพลงโหมโรงบำเรอบรมบาท สามชั้น

วงมโหรเี ครือ่ งคู่ นายณรากรณ์ ดวงสุวรรณ
ระนาดเอกมโหรี นายธนญชัย วงศ์ใหญ่
ระนาดทุ้มมโหรี นายธชั พล ทรรทรานนท์
ฆอ้ งวงใหญม่ โหรี นายพฒุ ลกั ษณ์ กองวงษ์
ฆอ้ งวงเล็กมโหรี นายกันตพงศ์ นิลายน
ซอสามสาย นายอัครพล จันทคล้าย
ซอด้วง นายจริ ภทั ร พลศักดิ์
นางสาวศิรนภา ชัยประภา
ซออู้ นายศภุ วิชญ์ สขุ เกษม
นางสาวสุจติ รา อว่ มสวสั ดิ์
จะเข้ นางสาวจตุพร ไชยยา
นายปรมะ ศรีกลดั
ขลยุ่ เพยี งออ นายธีระรตั น์ คมขำ
ขลุ่ยหลิบ นางสาวสภุ ณดิ า ขนุ ภกั นา
โทน รำมะนา นางสาวปรีณาภา ไชยวุฒิ
ฉิ่ง นายธิติวฒุ ิ โกมุทรตั นานนท์
ฉาบเลก็ นางสาวชุติกาญจน์ จริ ะราชวโร
กรบั พวง นางสาวปิยะนนั ท์ พนู ดี
โหมง่

รายนามผ้บู รรเลงเพลงเชตพุ น เถา

วงปพ่ี าย์ไมแ้ ข็งเครอื่ งคู่
ปีใ่ น นายยศพล คมขำ

ระนาดเอก นายธติ วิ ฒุ ิ โกมทุ รตั นานนท์

ระนาดทุ้ม นายภาคภูมิ รุง่ เรือง

ฆอ้ งวงใหญ่ นายธัชพล ทรรทรานนท์

ฆ้องวงเล็ก นายวรินทร หอ้ ยโกศล

กลองทัด นายณรากรณ์ ดวงสวุ รรณ

กลองแขกตวั ผู้ นายณฐั วฒุ ิ วิชยั วงค์

กลองแขกตัวเมีย นายพชร ดวงใหญ่

ฉิ่ง นายวรกฤต เทยี มรตั น์

กรับ นางสาวปรณี าภา ไชยวฒุ ิ

ฉาบเล็ก นางสาวปิยะนนั ท์ พนู ดี

นักรอ้ ง นายนัทธวฒั น์ สมภกั ดี

รายนามผบู้ รรเลงตับเรือ่ งชุมชนท่าเตยี น

วงป่พี าทย์ไม้นวมเคร่อื งคู่
ระนาดเอก นายวรกฤต เทียมรตั น์

ระนาดทุม้ นายธนญชยั วงศใ์ หญ่

ฆอ้ งวงใหญ่ นายกิตติ พลู สาริกิจ

ฆ้องวงเลก็ นางสาวปรณี าภา ไชยวุฒิ

ซออู้ นางสาวชุติกาญจน์ กลั่นฤทธิ์

ขลุ่ยเพียงออ นายธรี ะรตั น์ คมขำ

ตะโพน นายเมธพี ฒั น์ ชุม่ ชนื่

กลองทดั , กลองจนี นายณัฐวุฒิ วิชยั วงค์

กลองแขกตัวผู้ นายเมธพี ัฒน์ ชุม่ ชนื่

กลองแขกตัวเมยี นายณัฐวุฒิ วิชัยวงค์

ฉิ่ง นายณรากรณ์ ดวงสวุ รรณ

สแนร์, ผา่ ง นายธชั พล ทรรทรานนท์

กรับพวง, ฉาบเล็ก นางสาวสรัสนันท์ แสวงฟองคำ

กรับพวง, แตว๋ นางสาวจตพุ ร ไชยยา

กรับพวง นางสาวสุจติ รา อว่ มสวัสดิ์

กรับพวง, มา้ ล่อ นายวรนิ ทร ห้อยโกศล

ฉาบใหญ่, ฉาบฝรัง่ นายพุฒลักษณ์ กองวงษ์

มู่อว,๋ี หยุ่ นายอัครพล จนั ทคลา้ ย

นักร้อง นายนทั ธวัฒน์ สมภักดี

นางสาวจันจริ า ละม้ายเมอื ง

นางสาวอนสุ รา กาหลง

นางสาวกชกร เรอื งท่งุ

นางสาวเมษา หิว้ พมิ าย

นายณฐวตร บุษประทุม

วงเคร่ืองสายผสมขมิ นายธีระภทั ร บตุ รเทศย์
ซอด้วง นายวโรตม์ เทศทอง
ซออู้ นางสาวปิยะนันท์ พนู ดี
จะเข้ นางสาวชุติกาญจน์ จริ ะราชวโร
ขมิ นายฉตั รชยั เทยี มแสน
ขลุ่ยเพียงออ

ผู้บรรเลงซอสามสาย เคล้าร้องร่าย
นางสาวณัฐกานต์ พุ่มเรยี บ

รายนามผบู้ รรเลงการแสดงชดุ “กำเนิดทา่ เตยี น”

วงป่พี าทย์ไม้แข็ง นายสรรเพชญ แจ้งสวา่ ง
ป่ใี น นายธิติวุฒิ โกมทุ รัตนานนท์
ระนาดเอก นายวงษว์ รชาติ วงษ์พทิ กั ษ์
ระนาดท้มุ นายพฒุ ลักษณ์ กองวงษ์
ฆอ้ งวงใหญ่ นายณฐั วุฒิ วิชยั วงค์
ตะโพน นายวรกฤต เทียมรตั น์
กลองทัด นายณรากรณ์ ดวงสวุ รรณ
ฉิ่ง

ผบู้ รรเลงเดีย่ วระนาดท้มุ
นายภาคภูมิ รุ่งเรือง
นายธนญชัย วงศ์ใหญ่

ผบู้ รรเลงเด่ียวฆ้องวงใหญ่
นายธชั พล ทรรทรานนท์

นางสาวปรีณาภา ไชยวุฒิ

ผู้ขับเสภา
นางสาวจันจริ า ละมา้ ยเมอื ง

ผูข้ ับรอ้ งเพลงกราวใน สองชัน้
นายนทั ธวัฒน์ สมภกั ดี

รายนามผ้บู รรเลงเพลงระบำเพญ็ พัฒน์

วงปี่พาทยไ์ มน้ วมเคร่อื งคู่
ระนาดเอก นายปรเมศวร์ วนะรมย์

ระนาดทุ้ม นางสาวปาณศิ า ขำสวุ รรณ

ฆอ้ งวงใหญ่ นางสาวจณิ หว์ รา ดอนคงดี

ฆอ้ งวงเลก็ นางสาวจฑุ ามาศ ภิรมย์เลิศ

ซออู้ นายประสทิ ธ์ิ ทิมสีคร้าม

ขลุ่ยเพียงออ นายฉตั รชัย เทยี มแสน

ตะโพน นายเมธพี ฒั น์ ชุม่ ชืน่

ฉิ่ง นายณรากรณ์ ดวงสวุ รรณ

ฉาบเล็ก นายศวิ กร บวั ดำ

กรบั พวง นายอัครพล จนั ทคลา้ ย

นางสาวปรณี าภา ไชยวุฒิ

โหม่ง นางสาวนพวรรณ จันทร์แสงสกุ

รายนามผู้แสดงเพลงระบำเพญ็ พฒั น์

นางสาวพาณิภคั วสิ ัย
นางสาวภัทริดา คมขำ
นางสาวสรัล โชตคิ ตุ
นางสาววรยิ า ขจรกิจโกศล
นางสาวณฐั มน พรหมจำปา
นางสาวฉัตรฑติ า อรณุ ทอง

คณะนสิ ติ ผู้ดำเนินโครงการปรญิ ญานพิ นธ์ทางดรุ ยิ างคศิลปไ์ ทย
เรอื่ ง “เสนห่ บ์ างกอก เลา่ บอกท่าเตยี น”

นายวรกฤต เทยี มรัตน์ ประธานโครงการ
นายธิตวิ ฒุ ิ โกมุทรัตนานนท์ รองประธาน
นายนัทธวฒั น์ สมภักดี เลขานุการ
นางสาวชุติกาญจน์ จิระราชวโร งบประมาณ
นางสาวจตุพร ไชยยา ฝา่ ยประชาสมั พันธ์/โสต
นายกนั ตพงศ์ นลิ ายน ฝ่ายประชาสัมพนั ธ์/โสต
นายณรากรณ์ ดวงสุวรรณ ฝา่ ยประชาสมั พันธ์/โสต
นางสาวศิรนภา ชัยประภา ฝา่ ยข้อมูล/งานวจิ ัย
นางสาวปยิ ะนันท์ พูนดี ฝ่ายขอ้ มูล/งานวจิ ยั
นางสาวปรีณาภา ไชยวฒุ ิ ฝ่ายข้อมลู /งานวิจัย
นางสาวดุษฎี ศรีเก้อื กลนิ่ ฝา่ ยสวสั ดกิ าร
นางสาวสุจิตรา อ่วมสวสั ดิ์ ฝ่ายสวัสดิการ
นายอคั รพล จนั ทคลา้ ย ฝา่ ยการแสดง
นายธชั พล ทรรทรานนท์ ฝา่ ยการแสดง
นายธนญชยั วงศใ์ หญ่ ฝ่ายการแสดง

นายพฒุ ลักษณ์ กองวงษ์ ฝา่ ยประสานงาน
นางสาวจันจิรา ละม้ายเมือง ฝา่ ยประสานงาน

ขอขอบคณุ

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย
สำนกั บรหิ ารศลิ ปวฒั นธรรม จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั
หอสมุดดนตรไี ทย จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั
สำนกั การสังคตี กรมศลิ ปากร
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
วัดพระเชตพุ นวิมลมงั คลาราม ราชวรมหาวิหาร
พพิ ธิ ภณั ฑก์ ารเรยี นรู้ มวิ เซยี มสยาม
อาจารยเ์ นาวรัตน์ พงษไ์ พบูลย์ (ศลิ ปนิ แห่งชาติ)
อาจารยท์ ศั นีย์ ขนุ ทอง (ศิลปนิ แหง่ ชาติ)
อาจารยป์ ๊ีบ คงลายทอง (ศลิ ปนิ แหง่ ชาต)ิ
รองศาสตราจารย์พชิ ติ ชยั เสรี
อาจารย์พฒั นี พรอ้ มสมบัติ
อาจารยส์ มชาย ทบั พร ผู้ชำนาญการดา้ นคีตศลิ ป์ไทย สำนกั การสงั คตี

กรมศิลปากร
อาจารย์ไชยยะ ทางมีศรี ข้าราชการบำนาญดุริยางคศิลป์ไทย สำนักการสังคีต

กรมศลิ ปากร
อาจารย์ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน ข้าราชการบำนาญดุริยางคศิลป์ไทย สำนักการสังคีต

กรมศลิ ปากร

อาจารย์พัชรา บัวทอง นาฏยศิลปินอาวุโส ข้าราชการบำนาญ สำนักการสังคีต
กรมศลิ ปากร

นายกรรชติ จิตระทาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารศลิ ปวฒั นธรรม
จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย

คุณฆัสรา ขมะวรรณ มกุ ดาวิจิตร ผูอ้ ำนวยการฝา่ ยวชิ าการ พพิ ธิ ภณั ฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

คณุ ทวศี กั ด์ิ วรฤทธ์เิ รอื งอุไร ผูช้ ่วยผู้อำนวยการฝ่ายนทิ รรศการและกจิ กรรม
พพิ ธิ ภณั ฑก์ ารเรยี นรแู้ หง่ ชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณุ พจตะวัน ชนิ นาสวสั ด์ิ ปราชญ์ชมุ ชนทา่ เตียน

ชาวบ้านชุมชนทา่ เตียน

ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสนั ต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย

อาจารย์ ดร.ดษุ ฎี สว่างวบิ ลู ยพ์ งศ์

อาจารยว์ ริ ัช สงเคราะห์

รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรวดี ภชู ฎาภริ มย์

ศาสตราจารย์ ดร.ขำคม พรประสิทธิ์

รองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวสั ดิ์

ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลนิ ี อาชายุทธการ
คุณชัยทัต โสพระขรรค์
คณุ พรรษพงศ์ สขิ ัณฑกนาค
คณุ กัญญารตั น์ ศิรชิ ัยคีรีโกศล
คณุ ณฐั พล แกว้ อนิ ธิ
คุณวรตั ถ์ พงษเ์ กลย้ี ง
คุณเมธพี ัฒน์ ชมุ่ ชื่น
คุณกฤตนิ คชครี ีเดชไกร
คุณพมิ พช์ นก รองกลัด
คณุ ภาคภมู ิ รงุ่ เรอื ง
คุณธรี ะรัตน์ คมขำ
นสิ ิตสาขาวชิ าดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั
นสิ ติ สาขาวิชานาฏยศิลปไ์ ทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย
คุณกายทพิ ย์ สรุ ัสวดีมณฑล
คณุ วมิ ล ธรสารสมบตั ิ
Production by Shutter Man


Click to View FlipBook Version