รหัสเอกสาร WF-HAT-MA-008
การใช้สารชีวโมเลกุล
ทดแทนการตัดตากุ้งขาว
อ ร อ น ง ค์ ภ ณิ ด า ป ร ะ ก า สิ ต
ลิ ข สิ ท ธิ์ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
เนื้อหา
1หลักการ
2ทำไมต้องใช้สารชีวโมเลกุล
3วิธีนำมาประยุกต์ใช้
4ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภนิดาประกาสิต
ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้ง ปะทิว
REV. 00-020622
หลัก
การ
การใช้สารชีวโมเลกุล
หลักการ
กุ้งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ซึ่งทำรายได้
จากการส่งออกปีละหลายหมื่นล้านบาท การผลิตกุ้งให้เพียง
พอกับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกจึงเป็นสิ่งที่
ต้องได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กรรมวิธีการผลิตลูกกุ้งจะใช้วิธีการตัดตาแม่พันธุ์กุ้งเพื่อ
กำจัดฮอร์โมนยับยั้งการเจริญของไข่ (Gonad inhibiting
hormone) หรือ ฮอร์โมน GIH วิธีการตัดตานี้จะเร่งให้มีการ
พัฒนารังไข่ของกุ้ง จึงทำให้มีจำนวนรอบการวางไข่สูงขึ้น ซึ่ง
มากกว่าการไม่กระตุ้น วิธีการตัดตาจึงเป็นเทคนิคที่ถูกนำมาใช้
กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน
แต่วิธีการดังกล่าวจะทำให้แม่พันธุ์กุ้งมีสุขภาพอ่อนแอ
และมีสภาพโทรม เนื่องจากการตัดตาจะมีผลกระทบต่อ
ฮอร์โมนหลายชนิดที่ผลิตที่ปมประสาทตา ส่งผลให้ปริมาณ
และคุณภาพของลูกกุ้งที่ได้ลดลงในเวลาต่อมา และไม่
สามารถนำแม่กุ้งมาใช้ซ้ำได้
ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
หลักการ
ปัญหาอีกประการของวิธีการตัดตาคือเป็นวิธีที่ทารุณ ซึ่ง
มีแนวโน้มว่าประเทศที่นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของโลก เช่น สหภาพ
ยุโรป จะมีการกำหนดมาตรฐานในการนำเข้ากุ้งที่จะต้องไม่
เป็นกุ้งที่ผลิตจากการตัดตาหรือการทารุณสัตว์
ดังนั้นถ้าสามารถยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน GIH ได้
อย่างจำเพาะแล้วส่งผลให้แม่พันธุ์กุ้งสามารถพัฒนารังไข่และ
วางไข่ได้โดยไม่ตัดตาได้ จะเป็นวิธีที่สามารถนำแม่พันธุ์กุ้ง
กลับมาผลิตลูกกุ้งได้อีกเมื่อแม่พันธุ์กุ้งมีความสมบูรณ์
ซึ่งจะช่วยลดการใช้แม่พันธุ์กุ้ง
ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลูกกุ้งลดลง อีกทั้งเป็นวิธีไม่
ทารุณ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมการ
เลี้ยงกุ้งและการส่งออกกุ้งของไทยในอนาคต
ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
ทำไ
ม ?
ต้องใช้สารชีวโมเลกุล
ทำไมต้องใช้สารชีวโมเลกุล
ในปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับหลัก
สวัสดิภาพสัตว์ Animal Welfare วิธีการตัดก้านตานี้
ถือเป็นหนึ่งใน ข้อห้ามสำคัญ ถ้ายังมีวิธีการนี้ใน
กระบวนการผลิตลูกกุ้ง ซึ่งถือเป็นต้นน้ำ เป็นหัวใจ
สำคัญสำหรับการผลิตกุ้งเนื้อ อาจทำให้ไม่สามารถส่ง
ออกกุ้งได้
ซึ่งจะเห็นได้จาก ข้อกำหนดต่างๆ ในหลายประเทศที่มี
การส่งออกกุ้งไปจำหน่าย เช่น EU และยังรวมถึง
ประกาศความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะผลิตลูกกุ้งด้วยวิธี
การเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างมี
จริยธรรมเพื่อให้สัตว์ได้รับการปฎิบัติที่ดีปราศจาก
การทารุณกรรม
ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
ทำไมต้องใช้สารชีวโมเลกุล
จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือ การใช้สารชีวโมเลกุล
โมโนโคลนอลแอนติบอดี ที่มีความ จำเพาะต่อ ฮอร์โมน
GIH มาใช้ ในการกระตุ้นให้แม่พันธุ์กุ้ง พัฒนารังไข่และ
วางไข่ได้เร็ว โดยที่ไม่ต้องตัดก้านตา
ข้อแตกต่าง ของ 2 วิธีนี้ คือ
การตัดตาเป็นการทำลายแหล่งสร้างฮอร์โมน
ส่วนการใช้สารชีวโมเลกุล GIH
สามารถผลิตฮอร์โมนออกมาได้ตามปกติ
จึงนับเป็นการพัฒนากรรมวิธีทางเลือกใหม่ที่นำมาใช้
ทดแทนการตัดก้านตากุ้ง
ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
วิธีก
าร
นำมาประยุกต์ใช้
วิธีการนำมาประยุกต์ใช้
การยับยั้งฮอร์โมน GIH เพื่อให้เกิดการพัฒนารังไข่
โดยไม่ตัดตานั้น สามารถทำได้โดยการยับยั้งการสร้าง
ฮอร์โมน GIH ที่ถูกสร้างใหม่ที่ระดับเอ็มอาร์เอ็นเอ
ด้วยอาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อฮอร์โมน GIH
หรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน GIH ที่ถูกสร้างเดิม
และที่สะสมอยู่ทั้งใน Sinus gland (SG) ในก้านตา
และกระแสเลือดที่ระดับโปรตีน
ด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่อฮอร์โมน GIH
ดังนั้นการยับยั้งฮอร์โมน GIH สามารถทำได้โดย
การนำสารชีวโมเลกุล (โมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ
ฮอร์โมน GIH หรือ อาร์เอ็นเอสายคู่ที่จำเพาะต่อฮอร์โมน
GIH) เข้าสู่กุ้งโดยการฉีดสารเข้าสู่กุ้ง หรือการนำสาร
ชีวโมเลกุลเข้าสู่กุ้งโดยการกินอาหารที่ผสมสารชีว
โมเลกุล ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
วิธีการนำมาประยุกต์ใช้
จากผลการวิจัยเบื้องต้น
พบว่าการนำสารชีวโมเลกุล
เข้าสู่กุ้งโดยการฉีดจะช่วย
ทำให้แม่พันธุ์กุ้งสามารถ
พัฒนารังไข่และวางไข่ได้
เร็วกว่าการนำสารชีว
โมเลกุลเข้าสู่กุ้งโดยผ่าน
การกิน
ประกอบกับการพัฒนากรรมวิธีการกระตุ้นการพัฒนา
รังไข่ ด้วยสารโมโนโคลนอแอนติบอดีต่อฮอร์โมน GIH
ที่เหมาะสมกับโรงเพาะฟัก คือการฉีดสารเข้าสู่แอ่ง
เลือดบริเวณอก ผ่านทางขาเดินของกุ้งคู่ที่ 2-5
โดยกรรมวิธีดังกล่าว จะกระตุ้นการพัฒนารังไข่และ
การวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำและแม่พันธุ์กุ้งขาว
อย่างต่อเนื่องโดยไม่ตัดตา
ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
ผลลัพธ์ที่ได้
ผลลัพธ์ที่ได้
จากการที่ใช้สารชีวโมเลกุลทดแทนการตัดตากุ้งขาว
ซึ่งใช้งบในการวิจัยและลงทุนขยายผล 10.8 ล้านบาท
ทำให้ได้ผลประหยัดถึง 60.7 ล้านบาท ค่า ROI อยู่ที่
552% จึงเกิดเป็นลูกกุ้ง 3W
Welfare Worthiness World Wide
สามารถผลิตลูกกุ้ง ออกมาให้สอดคล้องตามหลัก
Animal Welfare ภายใต้หลักอิสระ 5 ประการ เพื่อให้
สัตว์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีจริยธรรมและสอดคล้อง
ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของประเทศและ
ประเทศคู่ค้า
และเกิดความคุ้มค่าในแง่ของการนำงานวิจัยมาต่อยอด
ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ก่อให้เกิดความยั่งยืนใน
กระบวนการผลิต
ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622
ผลลัพธ์ที่ได้
สุดท้ายคือความ Worldwide ลูกกุ้งไทยไปไกลทั่วโลก
เป็นการสร้างมูลค่าและความแตกต่างให้กับธุรกิจสัตว์น้ำ
ในยุคที่มีการแข่งขันในตลาดสูง
เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตกุ้งของไทย
และประเทศที่มีการขยายธุรกิจให้มีความยั่งยืน และผลิต
อาหารด้วยความรับผิดชอบปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั่วโลก
เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมกุ้งไทยสู่มาตรฐานระดับโลก
สอดรับกับแนวทางการดำเนินธุรกิจ
ที่เราจะเป็นผู้นำด้านนวัตกกรมการผลิตลูกกุ้งของโลก
ภายใต้วิสัยทัศน์ของ CPF
คือ การเป็นครัวของโลก
ผู้แบ่งปันความรู้
นางสาวอรอนงค์ ภณิดาประกาสิต
Maturation
REV. 00-130622